You are on page 1of 14

เสี้ยวหนึ่งของเรื่องราวมอญในมุมมองของผูสืบเชื้อสายมอญ

A Part of Mon Story in the View of Mon Descendant


จิรากรณ คชเสนี*
Jiragorn Gajaseni

บทคัดยอ

การนําเสนอครั้งนี้มีจุดเริ่มตนจากแรงกระตุนสวนตัวที่มีพื้นฐานจากความสนใจใครรูเรื่องราวของมอญ ครอบครัวและ
บรรพบุรุษของตน โดยเฉพาะอยางยิ่งตนตระกูลคชเสนีอันไดแก พญาเจง (เจาพระยามหาโยธา นราธิบดีศรีพิไชย
ณรงค) งานชิ้นนี้ไมสามารถนับไดวาเปนงานวิจัยทางประวัติศาสตรไมวาจะพิจารณาจากผูดําเนินการหรือระเบียบ
กระบวนการวิจัย การเก็บรวบรวมเรื่องราวมาจากเอกสารที่เกี่ยวของและนาเชื่อถือที่รวบรวมสะสมอยูในหอประวัติส
กอตตแลนด เมืองเอดินเบอระห ซึ่งเปนแหลงรวบรวมเอกสารทั้งหมดที่จัดทําหรือพิมพหนึ่งในสองแหงของสหราช
อาณาจักร

ภายหลังการพายแพภายใตการบดขยี่ของเจาอลองพญา ซึ่งนําไปสูการสูญเสียอิสรภาพของอาณาจักรมอญ นําไปสูการ


ทําลายรางทุกสิ่งทุกอยางที่เปนมอญอยางเปนระบบ ดังนั้นจึงมีมูลเหตุจูงใจที่นาเชื่อไดวาประวัติศาสตรที่แทจริงของ
มอญจะตองถูกบิดเบือนไปอยางรุนแรง

ที้ตั้งของรัฐมอญตามแผนที่ปจจุบันของประเทศพมานั้นเปนหนึ่งในสิ่งที่นาจะไดรับการบิดเบือนแกไขและไมสะทอน
บานเกิดเมืองนอนที่แทจริงของชาวมอญ หลักฐานที่ปรากฏในแหลงตางๆ ที่มีความนาเชื่อถือสามารถนําไปสูการ
อนุมานไดวาอาณาจักรมอญที่แทจริงครอบคลุมดินแดนสามเหลี่ยมปากแมน้ําอิระวดี สะโตง และสาละวิน อาณาจักร
มอญนับเนื่องลงมาตั้งแตเสนรุงที่ 19 ½ องศาเหนือลงมาครอบคลุมพื้นที่อาวมะตะมะ (มะตะบัน) โดยมีเทือกเขา
พะโคกั้นแบงดินแดนระหวางอาณาจักรมอญกับอาณาจักรพมาทางตอนเหนือ ดินแดนมอญถือไดวามีศักยภาพทาง
เกษตรกรรมเปนอูขาวอูน้ําที่หลอเลี้ยงสังคมมอญที่มีความเจริญรุงเรืองตลอดเวลากวา 2500 ป

เรื่องราวที่สนใจคือเรื่องที่เกี่ยวของกับตัวพญาเจงโดยตรง จากประวัติตระกูลคชเสนี พญาเจงเปนหลานของเจาหงสาว


ดีคนสุดทายไดแกเจาพินยาทะละ ซึ่งถูกประหารในป พ.ศ. 2318 เพื่อเฉลิมฉลองการมีอํานาจเหนือมอญของ
อาณาจักรพมา พอพญาเจงเปนเจาเมืองเมียววดีทางตอนเหนือภายใตการปกครองของอาณาจักรพมา ตัวพญาเจงได
เปนเจาเมืองอัตรัน (เตริน) ทางตอนใต ซึ่งตั้งอยูในจุดยุทธศาสตรเนื่องจากเปนจุดเดินทัพเขามายังดานพระเจดียสาม
องค ระหวาง พ.ศ. 2314-2317 พญาเจงนําชาวมอญตอสูเพื่ออิสรภาพของมอญ ซึ่งประสพความลมเหลว และ
ตองอพยพครัวเรือนชาวมอญเขามาพึ่งพระบรมโพธิสมภารของอาณาจักรสยามในสมัยพระเจาตากสินมหาราช ตอมา
ไดรับหนาที่ควบคุมกองมอญในกองทัพสยามในสมรภูมิทุกแหงจนสิ้นอายุไข หนาที่ดังกลาวไดรับการสงผานไปยัง
บุตรชายคนโตชื่อทอเรียะ ซึ่งในที่สุดไดรับพระมหากรุณาโปรดเกลาแตงตั้งเปนเจาพระยามหาโยธาสืบตอจากบิดา
ตามประวัติสกุลคชเสนีกลาวไววา พระเจาบรมวงศเธอ กรมพระนเรศรวรฤทธิ์และเจาจอมมารดากลิ่น ไดนําอัฐิของ
พญาเจงที่บรรจุไวเดิมที่เจดียประธานที่วัดเชิงทา ไปบรรจุไวที่แทนพระประธานในโบสถวัดชนะสงคราม เมื่อ พ.ศ.
2459

อีกเรื่องราวหนึ่งคือความตั้งใจของอังกฤษในการกอตั้งอาณาจักรมอญภายหลังจากเสร็จศึกสงครามอังกฤษ-พมา
ระหวาง พ.ศ. 2367-2369 ดวยเหตุผล 3 ประการคือ การใชยุทธศาสตร “แบงแยกแลวปกครอง” การควบคุม
เสนทางเดินเรือในมหาสมุทรอินเดีย และการครอบครองทรัพยากรและการคาขาย ขาว เครื่องเทศ และไมสักเปน
สําคัญ ในสงครามดังกลาวอังกฤษมีพันธมิตรที่สําคัญคือกองทัพสยาม โดยมีกรมพระราชวังบวรมหาสุรสิงหนารถ
เปนแมทัพ และเจาพระยามหามหาโยธา (ทอเรียะ) เปนผูนําทัพหนา การรบดังกลาวมีการตอตานนอยมากในดินแดน
ทางตอนใตที่เคยเปนอาณาจักรมอญมากอน ดวยเหตุผลคือมอญทุกคนรูดีวาเจาพระยามหามหาโยธา (ทอเรียะ) เปน
ใคร ซึ่งนําไปสูชัยชนะอยางเบ็ดเสร็จของกองทัพอังกฤษเหนืออาณาจักรพมา

คําถามที่สําคัณที่สุดคือ “ทําไมความตั้งใจ (ที่ดีมากที่จะตั้งอาณาจักรมอญขึ้นมาใหม) จึงลมเหลว” ซึ่งมีแหลงที่จะ


อธิบายเหตุผลตือคําถามดังกลาว 3 แหลง

แหลงที่หนึ่งมาจากศาสตราจารย หมองทินออง ซึ่งเปนนักประวัติศาสตรที่มีชื่อเสียงชาวพมาใหเหตุผลวา “ชาวมอญ


ไมตองการเห็นอังกฤษเขามามีอิทธิพลเหนือดินแดนตน และในขณะเดียวกันชาวมอญที่ยังคงอยูในดินแดน
ดังกลาวนั้นเปนฝายเดียวกับพมา ขณะที่เพื่อนรวมชาติสวนหนึ่งเปน "พันๆ คน" ไดละทิ้งบานเกิดเมืองนอนไป
สวามิภักดิ์กับสยามประเทศกอนหนานั้น”

แหลงที่สองมาจากประวัติตระกูลคชเสนี ซึ่งสวนใหญรวบรวมมาจากงานพระนิพนธของเสด็จในกรมพระยาดํารงรา
ชานุภาพ จากประวัติศาสตรหรือเรื่องราวดังกลาวมีวา “อังกฤษทราบวาชาวมอญนิยมเคารพเจาพระยามหาโยธา (ทอ
เรียะ) ซึ่งสืบเชื้อสายมาจากเจาหงสาวดีคนสุดทายและมีความสามารถจนไดรับแตงตั้งใหมีตําแหนงสําคัญในกองทัพ
ของสยาม ยิ่งกวาผูใดทั้งหมด จึงคิดเกลี้ยกลอมเจาพระยามหาโยธา (ทอเรียะ) ไปเปนเจาหงสาวดี แตการทาบทามไม
เปนผลสําเร็จเพราะเจาพระยามหาโยธา (ทอเรียะ) ไดแสดงความซื่อสัตยและจงรักภักดีตอพระมหากษัตริยและ
ราชอาณาจักรสยาม อังกฤษอินเดียจึงเลิกลมความคิดที่จะตั้งประเทศมอญขึ้นมาใหม”

แหลงที่สามมาจากงานของเซอร อารเธอร เพอยร ซึ่งดํารงตําแหนงผูสําเร็จราชการอังกฤษประจําพมาคนสุดทาย ซึ่งมี


ประสบการณและความรูความเขาใจอยางลึกซึ้ง ซึ่งตลอดเลาที่ผานมาไดทําหนาที่เหมือนเปนสะพานเชื่อมตอระหวาง
จักรวรรดิอังกฤษกับพมา เหตุผลประการแรกของเซอร เพอยร เนนความสําคัญไปในประเด็นที่วา ผูที่กลาวอางสิทธิที่
จะขึ้นเปนเจาอาณาจักรมอญซึ่งอยูในแผนดินมอญขณะนั้นไมไดมีเชื้อสายมาจากเจาหงสาวดีองคกอนๆ ขณะเดียวกัน
ก็มีการพิจารณาความเหมาะสมของนายทหารระดับแมทัพในกองทัพสยามซึ่งมีเชื้อชาติมอญ เหตุผลประการที่สองที่
อางถึงคือดินแดนที่เคยอยูในอาณาจักรมอญเดิมนั้นมีการผสมระหวางเชื้อชาติมอญกับพมาจนเปนไมสามารถแยกเชื้อ
ชาติตอไปได เหตุผลประการที่สามคืออังกฤษเกรงวาจะเปนการกระตุนความไมพอใจของราชสํานักอังวะ และเหตุผล
ประการที่สี่คือสยามไมไดใหความสนใจหรือสนับสนุนการกอตั้งอาณาจักรมอญ
ไดมีการวิเคราะหเหตุผลและการกลาวอางดังกลาวเอาไวในบทความฉบับสมบูรณและในการนําเสนอครั้งนี้

แตแมจะประสบความลมเหลวในการกอตั้งอาณาจักรมอญขึ้นใหม ในที่สุดเมื่อเกิดสงครามระหวางอังกฤษอินเดียกับ
พมาครั้งที่ 2 ในป พ.ศ. 2395 ซึ่งสิ้นสุดดวยชัยชนะของอังกฤษอินเดียและการประกาศผนวกพะโคหรือหงสาวดีซึ่งก็
คือศูนยกลางของอาณาจักรมอญในอดีตเขาเปนสวนหนึ่งของอังกฤษอินเดีย และเปนการผนวกดินแดนเพียงดินแดน
เดียวเทานั้น โดยไมรวมดินแดนสวนอื่นที่เหลือที่เปนอาณาจักรพมาทั้งหมด ที่ยืนยันถึงความสําคัญเปนอยางยิ่งของ
ดินแดนอาณาจักรมอญที่มีตออังกฤษ

ที่ตั้งของอาณาจักรมอญ
ประวัติศาสตรมอญนาเชื่อไดวามีความคลุมเครือเนื่องจากเมื่ออาณาจักรมอญหรืออาณาจักรพะโค (Pegu) ตก
อยูภายใตการปกครองของอาณาจักรพมาในสมัยของเจาอลองพญา (Alaung Paya= the Incarnation of Buddha) เมื่อป
พ.ศ. 2294 (Nisbet 1901 Vol.1:5) ซึ่งเปนครั้งสุดทายของความเปนอาณาจักรอิสระ กองทัพของเจา
อลองพญาไดทําลายลางเมืองพะโค ซึ่งเปนเมืองเดียวกับหงสาวดี (Hanthawadi) จนสิ้นซาก ซึ่งรวมถึงหนอเนื้อเชื้อไข
ของเจาหงสาวดี บันทึกทางประวัติศาสตร และรากฐานศิลปวัฒนธรรมของความเปนมอญจนสิ้น ซึ่งเปนความปกติที่
เกิดขึ้นในดินแดนตางๆ ตลอดมา ที่ชาติซึ่งเปนผูชนะสงครามการตอสูตองทําเพื่อลบลางความเปนอาณาจักรและกลืน
ชาติพันธุของฝายผูแพที่เปนปฏิปกษกันมาในทางประวัติศาสตรใหสิ้นซากไป ดังนั้นจึงมีเหตุอันควรที่ทําใหเชื่อไดวามี
การบิดเบือนขอเท็จจริงทางประวัติศาสตร สังคมและการเมืองของดินแดนเหนือลุมน้ํา
อิระวดี (Irawadi) สะโตง (Sittang) และสาละวิน (Salwin) เปนระบบมาตลอดเวลาอยางตอเนื่องนับตั้งแตอาณาจักร
พมามีอิทธิพลเหนืออาณาจักรมอญ (Phyre, 1884) ทําใหการติดตามประวัติศาสตรของชนชาติมอญที่ถูกตองอยาง
ตอเนื่องมีความเปนไปแทบไมได
จากความเห็นของนิสเบท (Nisbet, 1901) ที่อางถึงพงศาวดารพมาที่เรียกวา ยะสะวิน (Yazawin) มีความเห็น
วาแผนดินในลุมแมน้ําดังกลาว เคยมีอาณาจักรที่สําคัญคืออาณาจักรอาระกัน (Arakan) อาณาจักรพะโค และอาณาจักร
ทวาย (Tavoy) ซึ่งครอบคลุมดินแดนที่ติดชายทะเลตั้งแตอาวเบงกอลทางทิศตะวันตกลงมาจนถึงอาวเมาะตะมะทางทิศ
ตะวันออกเรียงตามลําดับ ลึกเขาไปภายในแผนดินเปนที่ตั้งของ อาณาจักรแปร (Prome) อาณาจักรตองอู (Toungoo)
และอาณาจักรอังวะ (Ava) ซึ่งอยูทางตอนเหนือของลุมน้ําอิระวดี อาณาจักรเหลานั้นตางเปนอิสระไมขึ้นตอกัน ใน
ขณะเดียวกันก็ทําสงครามระหวางอาณาจักรเพื่อแยงชิงความเปนใหญอยูตลอดเวลา จะยกเวนก็แตเพียงอาณาจักรทวาย
ที่อยูลึกลงไปทางตอนใตและอาณาจักรอาระกันที่อยูทางฝงตะวันตกของแมน้ําอิระวดีซึ่งมีเทือกเขาอาระกันโยมา
(Arakan yoma) ที่สลับซับซอนกั้นอยูทางตะวันออก ที่ไดรับผลกระทบจากการศึกสงครามนอยกวาอาณาจักรอื่นๆ
เนื่องจากที่ตั้งทางภูมิศาสตร แตในที่สุดแลวอาณาจักรอาระกันก็ตกอยูภายใตการปกครองของอาณาจักรอังวะเมื่อ
โบดอพญา (Bodaw Paya) นํากองทัพพิชิตเมืองเมียวกู (Myauku) หรือ เมียวฮวง (Myohuang) ซึ่งเปนเมืองหลวงของ
อาณาจักรอาระกัน ขณะเดียวกันอาณาจักรทวายในที่สุดก็ตกอยูภายใตการปกครองของอาณาจักรพะโค สวนอาณาจักร
แปรก็ตกอยูภายใตการปกครองของอาณาจักรอังวะ ในที่สุดแลวดินแดนเหนือลุมน้ําอิระวดี ลุมน้ําสะโตงและลุมน้ํา
สาละวินก็เหลือแตเพียงอาณาจักรพะโคหรืออาณาจักรมอญซึ่งปกครองดินแดนทางตอนใตของลุมน้ําและครอบคลุม
ชายฝงทะเลทางใตทั้งหมด และอาณาจักรอังวะกับอาณาจักรตองอู (ซึ่งมีปญหาวาเปนเชื้อชาติเดียวกันหรือแตกตางกัน)
ซึ่งจะเรียกชื่อรวมกันในที่นี้วาอาณาจักรพมา ซึ่งปกครองดินแดนทางตอนเหนือของลุมน้ําอิระวดีและลุมน้ําสะโตง
(Nisbet 1901 Vol.1:3) เมื่อกองทัพอังกฤษในอินเดียรบชนะกองทัพพมาในสงครามครั้งที่สองเมื่อป พ.ศ. 2396 และ
ประกาศผนวกเอาดินแดนพะโคเขาไวเปนสวนหนึ่งของอาณานิคมอังกฤษในตะวันออกไกลเมื่อวันที่ 28 มกราคม พ.ศ.
2396 นั้น (Hall 1932:4-5) (ขณะที่อาณาจักรอังวะหรือประเทศพมานั้นกลายเปนประเทศเมืองขึ้นของอังกฤษ-ผูเขียน)
ยังไมไดมีการกําหนดเขตแดนเอาไวแนนอน แตเมื่อลอรดดาลเฮาส (Lord Dalhousie) ซึ่งเปนผูสําเร็จราชการ
(Governer-General) ในอินเดียขณะนั้นไดสงกัปตัน อารเธอร เพอยร (Captain Arthur Phayre) ซึ่งถือวาเปนผูที่มี
ประสพการณสูงในดินแดนแหงนี้และยังสามารถพูดภาษาพื้นเมืองได มาเปนผูวาการพะโคและเปนผูเจรจากับราช
สํานักอังวะนั้น กัปตันเพอยรเสนอความเห็นในจดหมายโตตอบฉบับที่ 7 ที่มีไปถึงลอรดดาลเฮาสวา “การกําหนด
ดินแดนพะโคที่ประกาศผนวกไปแลวนั้นควรจะอยูที่ทางใตของเมืองที่เรียกวา อะคุกตอง (Akouk toung) ซึ่งอยูหาง
จากเมืองแปรลงไปทางใตประมาณ 25 ไมล ดวยเหตุผลวาเปนที่ตั้งของอาณาจักรของมอญซึ่งเปนที่เขาใจและรับรูกัน
เปนอยางดีมาตั้งแตโบราณกาล (Hall 1932:14-16)” และสามารถ “กําจัดความขัดแยงของเขตแดนที่อาจจะเกิดขึ้นใน
อนาคตไดเปนอยางดีเนื่องจากขอเท็จจริงทางประวัติศาสตร ซึ่งแมแตราชสํานักอังวะก็จําเปนตองยอมรับ”
ดังนั้นถาพิจารณาโดยใชแผนที่ของประเทศพมาในปจจุบันมาประกอบก็พอจะอนุมานไดวา อาณาจักรมอญ
มีดินแดนตั้งแตเสนรุงที่ 191/2 องศาเหนือลงมา (Nisbet 1901, Vol.2:48) ครอบคลุมดินแดนชายทะเลทั้งหมดของอาว
เมาะตะมะ โดยมีเทือกเขาพะโคโยมา (Pegu yoma) กั้นเขตแดนระหวางอาณาจักรมอญกับอาณาจักรพมาไว
ศูนยกลางของอาณาจักรมอญตั้งอยูบริเวณดินดอนสามเหลี่ยมปากแมน้ําอิระวดี สะโตงและสาละวินที่ไหล
ลงอาวเมาะตะมะ กลุมชนที่ตั้งถิ่นฐานอยูในพื้นที่ดังกลาวซึ่งชาวตางชาติรูจักกันในนามของ "ตะเลง (Talaing)" เปน
ที่มาของขอสรุปวาพวกตะเลงนี้สืบเชื้อสายตอเนื่องมาจากกลุมชนที่อพยพจากทางตอนใตของอินเดียเขามาตั้งถิ่นฐาน
ในบริเวณดังกลาว และสรุปตอไปอีกวาเปนบรรพบุรุษของชาวมอญ แตประเด็นที่นาสงสัยคือกลุมชนที่ตั้งถิ่นฐานใน
บริเวณดังกลาวนั้นเรียกตนเองวา "มอญ" ไมใช "ตะเลง" และที่ยิ่งไปกวานั้นคือคําวา ตะเลง นี้ไมเคยปรากฏอยูในภาษา
มอญ ซึ่งเปนภาษาทองถิ่นดั้งเดิมเลย (Phayre, 1884:29) จึงทําใหเกิดคําถามขึ้นวา มอญและตะเลงเปนคนกลุมเดียวกัน
หรือไม และมีสมมุติฐานตอไปวา มอญนาจะเปนกลุมชนพื้นเมืองของบริเวณนั้น ขณะที่ตะเลงเปนพวกที่อพยพเขามา
อยูใหม แตไดผสมรวมกับชาวมอญพื้นเมืองทองถิ่นดั้งเดิมจนเปนเนื้อเดียวกัน
วิเคราะหจากนิเวศวิทยาภูมิทัศนของพื้นที่ตั้งของศูนยกลางอาณาจักรมอญ ลักษณะภูมิทัศนเชนนี้มีศักยภาพ
ทางเกษตรกรรมที่ไมมีขีดจํากัดและมักจะเปนภูมิทัศนซึ่งเปนที่ตั้งถิ่นฐานถาวรและเปนแหลงอารยธรรมหลักของ
มนุษยชาติ ซึ่งจะเห็นไดในบริเวณ ลุมน้ําไนลในอาฟริกา ลุมน้ําไทรกรีส-ยูเฟรตีส ในตะวันออกกลาง ลุมน้ําคงคา-
สินธุ-พรหมบุตร ในอินเดีย ตามลําดับ เนื่องจากศักยภาพทางเกษตรกรรมตามธรรมชาติและการไดรับการแลกเปลี่ยน
ในทางวัฒนธรรมจากแหลงอารยธรรมดังกลาวโดยเฉพาะอินเดีย ดังนั้นจึงมีความสมเหตุสมผลที่จะสันนิษฐานวา
บริเวณดินดอนสามเหลี่ยมปากแมน้ําอิระวดี สาละวินและสะโตงดังกลาวจะตองเปนที่ตั้งของอาณาจักรที่มีความ
รุงเรืองในทางอารยธรรมมาตั้งแตอดีต เมื่ออังกฤษอินเดียผนวกดินแดนของอาณาจักรมอญเขาเปนสวนหนึ่งของ
ดินแดนนั้น อังกฤษอินเดียมีความเห็นวาดินแดนของอาณาจักรพมาซึ่งอยูลึกเขาไปในแผนดินนั้นไมสามารถผลิตขาว
เลี้ยงตัวเองได แตตองพึ่งพาอาศัยผลผลิตขาวจากดินแดนตอนลาง และถาไมใชเพราะการกอบโกยตักตวงผลประโยชน
การกดขี่ขมเหงและบริหารที่ผิดพลาดของชาวพมาที่เขามาปกครองดินแดนนี้แลว ดินแดนแหงนี้คือแหลงเกษตรกรรม
ที่อุดมสมบูรณที่สุดแหงหนึ่งของโลก (Hall 1901:xLix)
ขาวคือสินทรัพยจากแผนดินที่มีความสําคัญที่สุดจากดินแดนอาณาจักมอญ มีบันทึกวาระหวางป พ.ศ. 2432-
2442 มีผลผลิตขาวที่สงออกไปจากดินแดนแหงนี้ไปยังตางประเทศและดินแดนพมาที่อยูลึกเขาไปในแผนดินประมาณ
1,500,000 ตัน หรือเฉลี่ยปละ 150,000 ตัน (Nisbet 1901, Vol.1:431) ในสมัยกอนสงครามโลกครั้งที่ 2 ประเทศพมาเคย
สงขาวเปนสินคาออกมากเปนอันดับหนึ่งของโลก ซึ่งไมตองสงสัยเลยวาจะตองผลิตจากดินแดนของอาณาจักรมอญ
แหงนี้แนนอน
นอกจากขาวแลว ไมสักก็เปนผลผลิตที่สําคัญ เหตุผลสําคัญที่อังกฤษอินเดียกําหนดใหเสนรุงที่ 19 1/2 องศา
เหนือเปนเขตดินแดนพะโคที่ผนวกเขาไวเปนสวนหนึ่งของอังกฤษอินเดีย ซึ่งนอกจากเปนดินแดนของอาณาจักรมอญ
โบราณแลว ดินแดนบริเวณเทือกเขาพะโคโยมาซึ่งอยูระหวางเสนรุงที่ 19 1/2 เหนือถึง 20 1/2 เหนือเปนบริเวณที่
เรียกวาปานิงยาน (Ningyan forest) ซึ่งเปนแหลงไมสักที่สมบูรณที่สุดของดินแดนแหงนี้ ไมสักเปนที่ตองการอยางสูง
ของชาวยุโรปในยุคนั้นเพื่อใชในการตอเรือ เนื่องจากน้ํามันที่อยูในเนื้อไมจะปองกันไมใหเหล็กหรือตะปูที่ตอกยึดเขา
ไปในเนื้อไมเกิดเปนสนิมขึ้น ซึ่งเหมือนกับไมโอค นิสเบทเองซึ่งเคยมีตําแหนงเปนผูอํานวยการอนุรักษปาไมในพมาก็
ลงความเห็นวาปาไมสักในดินแดนมอญนี้ ถามีการจัดการอยางถูกตองตามหลักวิชาการแลวจะเปนแหลงผลิตไมสักที่
สําคัญของโลก (Nisbet 1901, Vol.2:82) ระหวาง พ.ศ. 2436-2442 มีซุงไมสักสงออกจากเมืองรางกุงและมะละแหมง
เฉลี่ยปละประมาณ 210,000 ตัน (Nisbet 1901 ,Vol.1:427)

การกอตั้งอาณาจักรมอญ
โดยอางถึงพงศาวดารมอญ (Mon Chronical) นิสเบท (Nisbet 1901 Vol.1:4) กลาววาทิหะราชา (Thiha Raja)
ซึ่งมาจากชมพูทวีป ไดกอตั้งอาณาจักรมอญขึ้นโดยมีเมืองสะเทิม (Thaton) หรือสุวรรณภูมิ (SuvarnaBhumi) ซึ่ง
หมายถึงอาณาจักรสุวรรณภูมิที่รูจักกันเปนอยางดี ตามความเห็นของหมองทินออง (Htin Aung) เปนเมืองหลวง ทิหะ
ราชาตายในปเดียวกับที่พระพุทธเจาปรินิพพาน จึงอนุมานไดวาอาณาจักรมอญมีกําเนิดรวมสมัยกับพระพุทธเจาเมื่อ
กวา 2500 ปที่แลว อาณาจักรมอญที่เมืองสะเทิมมีกษัตริยปกครองติดตอกันมา 59 องค เปนเวลากวา 1500 ป และ
สิ้นสุดเมื่อเจามนู (Manuha) พายแพตอเจาอนุรุธ (Anawratazaw) แหงอาณาจักรอังวะเมื่อประมาณป พ.ศ. 1593 แต
ในขณะที่ศูนยกลางแหงอํานาจของอาณาจักรมอญอยูที่เมืองสะเทิมนั้น ก็มีการแผขยายความเจริญของอาณาจักรมอญ
ออกไปทางฝงตะวันตกของลุมน้ําสาละวิน โดยมีเมืองหงสาวดีหรือเมืองพะโคซึ่งสรางขึ้นในราวป พ.ศ. 1116 เปน
ศูนยกลางอีกแหงหนึ่ง ตามพงศาวดารเมืองหงสาวดีกลาววาเมืองหงสาวดีมีเจาเมือง 7 คน ครองเมืองระหวาง พ.ศ.
1116 ถึง พ.ศ. 1324 แตภายหลังจากนั้นเปนเวลาประมาณ 500 ป ไมมีการกลาวถึงการเมืองการปกครองเมืองหงสาวดี
ซึ่งนิสเบทสันนิษฐานวาเกิดจากความขัดแยงระหวางอิทธิพลของพุทธศาสนาและศาสนาพราหมณ ที่ทําใหการบันทึก
ทางพงศาวดารขาดหายไป อาจจะสันนิษฐานตอไปไดวาเมือง
หงสาวดีกลายเปนศูนยกลางของอาณาจักรมอญภายหลังจากการเสียเมืองสะเทิมใหแกพมา แตในเวลาตอมาไมนานนัก
เมืองหงสาวดีและอาณาจักรมอญก็ตกอยูภายใตอาณาจักรพมาเปนเวลาประมาณ 230 ป
อาณาจักรมอญไดรับการกอบกูใหพนจากแอกของอาณาจักรพมาอีกครั้งหนึ่งโดยเจาวเรฬุ (Wareru)หรือเจา
ฟารั่ว (มะกะโท ในบริบทพงศาวดารสยาม-ผูเขียน) ในป พ.ศ. 1820 โดยมีเมืองเมาะตะมะเปนศูนยกลางของอาณาจักร
ในตอนเริ่มตนและตอมาไดยายมายังเมืองหงสาวดี และมีเจาปกครองอาณาจักรติดตอกันจนถึงเจาทะกาวุธ
(Takarwutbu) ซึ่งเปนองคที่16 จึงถูกเจาตะเบงชะเวตี้ (Tabeng Shwete) แหงอาณาจักรตองอูรบชนะในป พ.ศ. 2083
หลังจากนั้นอีกเปนเวลา 200 ป ในป พ.ศ. 2283 เจาพุทธเกตุเวเม็ง (Buddhakethi Gwemeng) รวบรวมกําลัง
ชาวมอญขับไลพมาออกไปจากดินแดนแหงอาณาจักรมอญไดอีกครั้งหนึ่ง สรางอาณาจักรที่เปนอิสระโดยมีเมืองหง
สาวดีเปนศูนยกลาง แตก็เปนเวลาสั้นๆ เพียง 17 ป เมื่อเจาพินยาทะละขึ้นครองอาณาจักรเปนองคที่สองตอมาจนถึงป
พ.ศ. 2300 ก็ถูกเจาอลองพญาแหงอาณาจักรตองอูรบชนะ ทําใหอาณาจักรมอญตกอยูภายใตอํานาจพมาอีกครั้งหนึ่ง
จะเห็นไดอยางชัดเจนวาการตอสูเพื่อความเปนอิสระภาพของมอญจากอํานาจของอาณาจักรพมามีอยู
ตลอดเวลาในประวัติศาสตรของชนชาติมอญ การตอสูครั้งสําคัญที่ตัดสินใหเกิดประเทศพมาตอเนื่องมาจนถึงปจจุบัน
และเปนความลมสลายของอาณาจักรมอญไปจากแผนที่โลกคือ ในป พ.ศ. 2314 เมื่อเจามังระจัดกองทัพเพื่อจะเขามาตี
กรุงธนบุรีอีกครั้งหนึ่งนั้น กองทัพที่เขามาประกอบดวยทหารมอญเปนกําลังสําคัญ ขณะที่กําลังเดินทัพเขามาและยังอยู
ในดินแดนของอาณาจักรมอญเกาซึ่งนาจะอยูระหวางมืองอัตรันกับดานพระเจดียสามองคนั้น ทหารมอญไดกอการ
กบฎตอแมทัพพมา ฆาทหารที่เปนชาวพมาแลวเดินทัพยอนกลับเขาตีเมืองรางกุง ซึ่งพมาไดสรางขึ้นเพื่อหวังใหเปน
เมืองศูนยกลางทางใต แตปรากฏวาไมสําเร็จ (Nisbet 1901 Vol.1:10) ซึ่งไมไดมีการใหเหตุผลวาทําไม แตใน
ขณะเดียวกันก็มีเหตุที่แสดงวาการตอสูเพื่ออิสระภาพของชาวมอญในครั้งนั้นดําเนินอยูอยางรุนแรง ตอเนื่องและยืดเยื้อ
เพราะกวาที่เจามังระจะจัดการเฉลิมฉลองความเปนปกแผนของอาณาจักรพมาโดยการยกยอดฉัตรของเจดียชเวดากอง
ขึ้นใหมในป พ.ศ. 2317 (ซึ่งเปนประเพณีที่เจาครองอาณาจักรพมากระทําเมื่อทําสงครามเอาชนะอาณาจักรมอญได ซึ่ง
ปรากฏขึ้นในสมัยเจาอโนระธา เจาตะเบงชะเวตี้ และเจาอลองพญา) ก็เปนเวลาใหหลังถึง 3 ป ซึ่งเปนชวงเวลาที่ตรงกับ
การอพยพของครัวมอญ (ซึ่งนาจะเปนกองทัพมอญที่แพในสงครามตอสูเพื่ออิสระภาพมากกวา-ผูเขียน) เขามาพึ่งพระ
บรมโพธิสมภารในสมัยกรุงธนบุรีใน พ.ศ. 2317 โดยมีพญาเจง เจาเมืองอัตรัน (เตริน) เปนหัวหนาใหญ พรอมกับผูนํา
อีก 3 คนคือ พญาอู ตละเกลี้ยง ตละเกล็บ ซึ่งตอมาไดเขารับราชการสนองคุณแผนดินสยามอยางเต็มกําลัง ตัวพญาเจง
เองนั้นไดรับพระมหากรุณาธิคุณโปรดเกลาจากพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟาจุฬาโลกใหเปนจาพระยามหาโยธา
นราธิบดีศรีพิไชยณรงค และเปนตนสกุลคชเสนี (หนังสือลําดับสกุลคชเสนี)
ขอสันนิษฐานที่นาจะสมเหตุสมผลตอไปไดวาตัวพญาเจงเองเปนผูนําในการตอสูเพื่อเอกราชครั้งนั้นเพราะ
ตามประวัติของพญาเจงกลาววาเปนลูกของเจาเมืองเมียวดี (Myawadi) ซึ่งเปนนองชายของเจาพินยาทะละ กษัตริยมอญ
องคสุดทายที่ถูกกักขังเปนตัวประกันนานถึง 18 ปในสมัยของเจาอลองพญา (ในที่สุดเจาพินยาทะละก็ถูกประหารชีวิต
ในตนสมัยของเจามังระ) เมื่อคราวที่เจาอลองพญารบชนะเจาพินยาทะละไดแลว ก็ไดเผาทําลายเมืองพะโคจนสิ้น
ดังนั้นจึงสันนิษฐานไดวาเชื้อสายของเจามอญเกือบทั้งหมดคงประสพชะตากรรมไมแตกตางไปจากตัวเจาพินยาทะละ
เอง หรืออาจจะเลวรายไปกวานั้น แตไมมีหลักฐานปรากฏวาครอบครัวของพญาเจงรอดพนจากชะตากรรมนั้นไปได
อยางไร ซึ่งอาจจะเปนไปไดวาไดถูกกวาดตอนไปเปนตัวประกันในคราวเสียเมืองนั้นดวยรวมทั้งตัวพญาเจงเองใน
ขณะที่อายุยังนอย และอาจจะสันนิษฐานตอไปวาบิดาของพญาเจงไดมีโอกาสเขารับราชการและสรางประโยชนตอ
อาณาจักรพมาในฐานะที่เปนเจาเมืองเมียวดีซึ่งอยูตอเขตแดนอาณาจักรสยามทางเหนือบริเวณเมืองแมสอด และอาจจะ
ไมไดแสดงความทะเยอทะยานในการทําการกอบกูอาณาจักรมอญออกมาใหเห็น การแตงตั้งมอญใหมีตําแหนงในราช
สํานักและกองทัพพมานั้นเปนเรื่องปกติและอาจจะเปนกุศโลบายทางการเมืองการปกครองของราชสํานักพมาที่มีตอ
มอญ ตัวอยางเชนเมื่อเจาตะเบงชะเวตี้เอาชนะมอญที่เมืองพะโคไดก็สถาปนาเจาหญิงมอญใหเปนราชินีคนที่ 1 (Chief
Queen) และแตงตั้งมอญอื่นๆ ใหมีตําแหนงทั้งในราชสํานักและกองทัพพมา (Htin Aung, 1967:111) สวนตัวพญาเจงก็
คงไดมีโอกาสเขารับราชการในกองทัพพมาตามบิดา จนในที่สุดไดรับการแตงตั้งใหเปนเจาเมืองเตรินหรืออัตรัน
(Attaran) ภายหลังจากคุมกองมอญสมทบกับทัพพมาเขาไปตีเมืองหลวงพระบาง
จากความดีความชอบและการแสดงออกที่ดูเหมือนกับจงรักภักดีตอราชสํานักพมานั้น จึงทําใหพญาเจงรอด
พนชะตากรรมไมเหมือนเชื้อสายเจามอญคนอื่น แตคงจะไมไดหมายความวาความรูสึกตอตานพมาและความตองการ
ตอสูเพื่ออิสระภาพของมอญจะจางหายไปตามกาลเวลา เพราะเมื่อมีโอกาสเกิดขึ้นครั้งที่พมาเดินทัพผานดินแดนมอญ
เพื่อเขามาตีกรุงธนบุรี พญาเจงก็ไมไดปลอยใหโอกาสผานไปโดยไมยอมเสี่ยงชีวิตตอสูเพื่อความเปนอิสระของ
อาณาจักรมอญอีกครั้งหนึ่งโดยการกอการกบฎขึ้นในกองทัพพมา ซึ่งโอกาสที่จะประสพความสําเร็จมีนอยมาก ถา
พญาเจงไมไดรับความเคารพนับถือจากชาวมอญในฐานะที่เปนหลานของเจาหงสาวดีองคสุดทายแลว การกอการกบฏ
ภายในกองทัพพมาคงไมสําเร็จอยางงายดายเหมือนที่เกิดขึ้น
เมืองเตรินหรืออัตรันดูตามแผนที่แลวเปนเมืองเล็กๆ ตั้งอยูบนฝงขวาของแมน้ําอัตรัน ซึ่งเปนแมน้ําสายสั้นๆ
ซึ่งมีตนน้ําอยูที่เทือกเขาตะนาวศรีและไหลลงอาวเมาะตะมะ ซึ่งดูเหมือนไมมีความสลักสําคัญอันใด ขณะเดียวกันก็คง
เปนความตั้งใจของพมาที่จะใหเปนเชนนั้นดวยเหตุผลทางดานการเมืองและความมั่นคง แตเมืองอัตรันถาพิจารณาตาม
หลักยุทธศาสตรแลวมีความสําคัญมาก เพราะแมน้ําอัตรันนั้นมีจุดเริ่มตนที่เทือกเขาซึ่งอยูไมหางจากดานพระเจดียสาม
องคซึ่งกั้นพรมแดนระหวางสยามกับพมา ในสมัยโบราณนั้นจะเห็นไดวาเสนทางการเดินทัพมักจะใชแมน้ําเปนหลัก
ดังนั้นเมืองอัตรันจึงอาจจะสันนิษฐานไดวาเปนจุดรวมทัพของพมากอนที่จะเดินทางเขามายังสยามประเทศ ดวยเหตุผล
ดังนี้คือ เมื่อพระเจามังระจะนําทัพเขามาตีกรุงธนบุรีนั้น ขณะนั้นเมืองหลวงของอาณาจักรพมาอยูที่เมืองชะเวโบ
(Shwebo) ซึ่งอยูทางตะวันตกเฉียงเหนือของเมืองมันฑะเล ถาพิจารณาเสนทางการเดินทัพที่สั้นที่สุดโดยอยูในดินแดน
พมามากที่สุดไดแก การเดินทัพผานเมืองอังวะ ตองอู เมาะตะมะ และเดินตามลําน้ําอัตรันเขาสูดานพระเจดีย 3 องค
รวมระยะทางตามแผนที่ประมาณ 540 ไมล ซึ่งตองผานเมืองอัตรันโดยไมมีทางหลีกเลี่ยง และเนื่องจากดินแดนของ
อาณาจักรมอญนั้นอยูบริเวณดินดอนสามเหลี่ยมปากแมน้ําที่ไหลลงอาวเมาะตะมะ ดังนั้นจึงเปนอูขาวอูน้ํา เปนที่พัก
กําลังพลและรวบรวมเสบียงของกองทัพพมาในขั้นตอนสุดทายกอนเขาสูสมรภูมิรบในสยามประเทศ

สงครามอังกฤษ-พมา กับโอกาสในการกอบกูอาณาจักรมอญ และความเกี่ยวของกับพญาเจง


โอกาสของการกอตั้งอาณาจักรมอญที่เปนอิสระครั้งลาสุดนาจะเปนเมื่ออังกฤษในอินเดียไดทําสงครามกับ
พมาครั้งแรกระหวางป พ.ศ.2367-2369 เนื่องจากความขัดแยงทางพรมแดนระหวางพมากับอินเดีย ซึ่งสิ้นสุดลงดวยการ
เซ็นสนธิสัญญายันดาโบ (Treaty of Yandabo) ในเดือนกุมภาพันธ พ.ศ.2369 นั้น ศาสตราจารย หมอง ทิน ออง
(Maung Htin Aung) ชาวพมาซึ่งเคยเปนอธิการบดีของมหาวิทยาลัยรางกุงระหวางป พ.ศ. 2489-2491 และเปน
ผูเชี่ยวชาญทางประวัติศาสตรพมามีความเชื่อวา นโยบายเกี่ยวกับอาณานิคมของอังกฤษในขณะนั้นพยายามที่จะ
หลีกเลี่ยงการผนวกดินแดนเขามาในจักรวรรดิ์อังกฤษโดยตรง แตใชนโยบาย "แบงแยกแลวปกครอง" โดยการตั้ง
ประเทศขึ้นมาใหมใหอยูภายใตการกํากับดูแลของอังกฤษ ซึ่งเปนความเห็นที่ตรงกับบันทึกของเซอรเพอยร ซึ่ง
ตําแหนงสุดทายคือผูสําเร็จราชการของอังกฤษในพมาที่กลาววา “จุดมุงหมายของอังกฤษในการทําสงครามกับพมา
ไมไดตองการผนวกดินแดน แตตองการผลประโยชนจากทรัพยากรและการควบคุมการเดินเรือในมหา สมุทรอินเดีย
ทั้งหมด (Phayre, 1823:232)” ซึ่งถาวิเคราะหทางการเมืองก็จะเห็นไดวาดวยสาเหตุของความขัดแยงที่พรมแดนระหวาง
อินเดียกับพมาเทานั้น อังกฤษยังไมนาจะมีเหตุผลอยางเพียงพอที่จะประกาศผนวกดินแดนของอาณาจักรมอญและพมา
เขาเปนสวนหนึ่งของอังกฤษอินเดีย แตในขณะเดียวกันก็มีความสมเหตุสมผลถาอังกฤษจะทําตนเปนผูปลดปลอยหรือ
อยางนอยที่สุดก็เปนผูรวมปลดแอกโดยการกอตั้งอาณาจักรมอญขึ้นมาใหม ซึ่งจะทําใหอังกฤษไดชื่อวาเปนผูปลดแอก
ของพมาออกไปจากชาวมอญ และไดรับการสนับสนุนจากมอญ ซึ่งรวมไปถึงอาณาจักรสยามซึ่งเปนพันธมิตรรวมรบ
ในสงครามครั้งนั้น และที่สําคัญที่สุดคืออาณาจักรมอญที่จะตั้งขึ้นใหมในดินแดนมอญเดิมนั้นคือ “ประตูสูการคาทาง
ทะเลอันดามัน” เนื่องจากอยูติดกับปากแมน้ําและทะเล ที่เชื่อมโยงระหวางอินเดียกับมลายูซึ่งเปนจุดยุทธศาสตรของ
อังกฤษในเวลานั้น ดังนั้นเมื่อสิ้นสุดสงครามดังกลาวโดยที่ฝายอังกฤษเปนผูชนะ จึงมีความพยายามที่จะแยกดินแดน
ทางตอนใตซึ่งอยูติดทะเลในอาวเมาะตะมาะซึ่งเคยเปนอาณาจักมอญและยังคงมีประชากรสวนใหญเปนเชื้อสายมอญ
ตั้งขึ้นเปนประเทศมอญ สวนดินแดนที่ติดทะเลในอาวเบงกอลซึ่งเคยเปนอาณาจักรอาระกันเดิมกอตั้งประเทศอาระกัน
(Htin Aung 1967:216, Phayre 1823:232)
แตความพยายามดังกลาวไมเปนผลเนื่องจากศาสตราจารย หมอง ทิน ออง ใหเหตุผลวาเปนเพราะ “ชาวมอญ
ไมตองการเห็นอังกฤษเขามามีอิทธิพลเหนือดินแดนตน และในขณะเดียวกันชาวมอญที่ยังคงอยูในดินแดนดังกลาวนั้น
เปนฝายเดียวกับพมา ขณะที่เพื่อนรวมชาติสวนหนึ่งเปน "พันๆ คน" ไดละทิ้งบานเกิดเมืองนอนไปสวามิภักดิก์ ับ
สยามประเทศกอนหนานั้น” ซึ่งคงเปนครั้งที่พญาเจงเปนผูนําในการอพยพ
ความเห็นตรงนี้นาสงสัยในความถูกตองเที่ยงตรงตามหลักฐานและความเปนจริงทางประวัติศาสตร และนา
เคลือบแคลงไปกวานั้นวาในความเปนจริงแลวนาจะเปนความลําเอียงเนื่องจากความเปนชาตินิยมของ
ศาตราจารยหมอง ทิน ออง ซึ่งเปนชาวพมา เพราะถาพิจารณาจากความเปนจริงตามบริบททางประวัติศาสตรแลว มอญ
กับพมาก็คงเปรียบเสมือนน้ํากับน้ํามันที่ไมมีวันจะรวมกันไดเปนเนื้อเดียวกัน ไมวาจะมีความพยายามมากสักเทาใด
เวลาเพียง 69 ปที่สูญเสียอิสระภาพเมื่ออาณาจักรมอญถูกทําลายลงอยางสิ้นเชิงในสมัยของเจาอลองพญาเมื่อป พ.ศ.
2300 คงไมมีมอญคนใดที่จะลืมความเปนจริงที่เจ็บปวดภายในเวลาอันสั้นเชนนี้วา กษัตริยมอญองคสุดทายคือ เจาพิน
ยาทะละ ถูกจับไปเปนเชลยและในที่สุดก็ถูกประหารชีวิตในป พ.ศ. 2318 ในสมัยของเจามังระ เนื่องในคราวที่มีการ
ฉลองเจดียชะเวดากอง ในเมืองรางกุง นอกจากนี้หลังจากรบชนะมอญ เจาอลองพญายังกําหนดใหเรียกมอญวาตะเลง
ซึ่งมีความหมายวา "เชื้อชาติที่อยูใตฝาเทา (Down-trodden race)" (Nisbet 1901 Vol.1:6) ซึ่งเปนการขมเหงย่ํายีทาง
เชื้อชาติอยางถึงที่สุด
ในประวัติศาสตรของมอญทุกยุคทุกสมัย เมื่อใดที่ตกอยูภายใตการปกครองของอาณาจักรพมา จะตองมีความ
พยายามที่จะตอสูเพื่ออิสระภาพอยูตลอดมา ดังนั้นจึงไมนาจะมีความเปนไปไดที่จะมีมอญคนใดปลอยโอกาสทองที่จะ
ไดกลับมาเปนประเทศอีกครั้งหนึ่งที่เสนอขึ้นโดยอังกฤษนี้หลุดลอยไป
แตคําถามที่สําคัญก็คือทําไมอังกฤษจึงไมประสพความสําเร็จในการกอตั้งประเทศมอญ
ขอสันนิษฐานที่เปนไปไดคือเชื้อสายเจามอญที่สืบตอลงมาจากเจาพินยาทะละคงสิ้นสุดลง ภายหลังจากที่
พญาเจงพายแพในสงครามกอบกูอิสระภาพ อพยพกองทัพและครอบครัวเขาไปพึ่งพระบรมโพธิสมภารของ
ราชอาณาจักรสยามในตนสมัยกรุงธนบุรี ความตรงนี้สอดคลองกับประวัติของเจาพระยามหาโยธา (ทอเรียะ) บุตร
เจาพระยามหาโยธา (พญาเจง) ซึง่ เกิดในเมืองมอญ และอพยพเขามาพรอมกับพญาเจง ที่วาเปนผูมีบทบาทสําคัญใน
การติดตอกับเซอร อารชิบอลด แคมเบลล (Sir Archibald Campbell) แมทัพอังกฤษในเรื่องที่ไทยจะชวยอังกฤษทํา
สงครามกับพมา (ระหวางพ.ศ. 2367-2369) ซึ่งเปนสงครามระหวางอังกฤษกับพมาครั้งแรก เจาพระยามหาโยธา (ทอ
เรียะ) ไดรับหนาที่เปนแมทัพหนาของกองทัพกรมพระราชวังบวรมหาสุรสิงหนาทที่จะเขาไปชวยทําสงครามกับพมา
ซึ่งตรงกับที่มีการกลาวไวในสนธิสัญญายันดาเบาภายหลังจากอังกฤษอินเดียรบชนะพมาวา
"สยามเปนพันธมิตรที่แนบสนิท" (Htin Aung 1967:217)” แมภายหลังจะมีการแสดงความเห็นวากองทัพสยามไมได
มีสวนรวมรบในสงครามครั้งนี้เลย เพียงแตมีการรวบรวมกําลังพลเพื่อแสดงแสนยานุภาพอยูระหวางเขตแดนพมากับ
สยามเทานั้น (Phayre 1923:230) ซึ่งไมนาจะตรงกับความเปนจริงที่เกิดขึ้น เพราะในระหวางสงครามดําเนินอยูใน
ดินแดนมอญปรากฏวาการตีเมืองตางๆ ซึ่งเคยอยูในอาณาจักรมอญสําเร็จอยางงายดาย แมแตเมืองพะโคเองปรากฏวา
กองทัพอังกฤษสามารถเขายึดเมืองไวไดโดยไมมีการตอตานเลย (Phayre 1823:243) ความสําเร็จเชนนี้ไมนาจะเปนไป
ไดถาปราศจากความชวยเหลือสนับสนุนจากกองทัพสยามและโดยเฉพาะอยางยิ่งระดับผูนําทัพไมวาจะเปนเจาพระยา
มหาโยธา (ทอเรียะ) หรือพระยารัตนจักร (สมิงสอดเบา ซึ่งก็เปนมอญในระดับผูนํา ที่อพยพครัวเรือนเขามาพึ่งพระ
บรมโพธิสมภารในสมัยรัชกาลที่ 2) ที่ตางก็มีเชื้อสายมอญ นอกจากนี้ยังปรากฏในประวัติศาสตรสงครามครั้งนั้นวา
ระดับผูนํากองทัพสยามบางคนซึ่งมีเชื้อสายมอญไดทําการเกลี้ยกลอมชาวมอญในอาณาจักรมอญเดิมทั้งหมดให
ตอตานพมารวมกับกองทัพอังกฤษและกองทัพสยาม (Phayre 1823:166) ซึ่งความนี้ตรงกับขอความในประวัติศาสตร
ไทยรบพมาในครั้งกรุงรัตนโกสินทร (ประชุมพงศาวดาร ภาคที่ 6 เลม 7) วา “เจาพระยามหาโยธา (ทอเรียะ) ไดใหพระ
ยารัตนจักร เปนผูคุมกองมอญลวงหนาไปสืบเหตุการณในพมา โดยกองทัพใหญภายใตการนําของเจาพระยามหาโยธา
(ทอเรียะ) ตั้งรออยูที่ดานหลุมชาง แขวงเมืองโทรโยค” พระยา
รัตนจักรซึ่งไดเขาไปสืบขาวและกลับมารายงานเจาพระยามหาโยธา (ทอเรียะ) วา “หัวเมืองมอญรายทางตางขอออน
นอมตอกองทัพสยาม ยิ่งไปกวานั้นถาเจาพระยามหาโยธา (ทอเรียะ) ยกทัพออกไปเมื่อใดก็จะจัดทัพมอญใหอีก 3,000
คนเพื่อชวยรบพมา” เจาพระยามหาโยธา (ทอเรียะ) จึงรีบยกกองทัพออกไปยังเมืองเตริน เจาเมืองเตรินและเมือง
ใกลเคียงก็พากันออนนอมยอมอยูในบังคับบัญชาของเจาพระยามหาโยธา (ทอเรียะ) เหตุผลที่สําคัญมาจากเจาพระยา
มหาโยธา (ทอเรียะ) เปนบุตรของเจาพระยามหาโยธา (เจง) ซึ่งเคยเปนเจาเมืองเตรินและเปนเหลนของเจาหงสาวดีองค
สุดทาย จึงทําใหเจาพระยามหาโยธา (ทอเรียะ) สามารถวากลาวหัวเมืองมอญที่อังกฤษยังขึ้นไปไมถึงไดหมด จนใน
ที่สุดจึงมีการเคลื่อนทัพสยามเขาไปตั้งมั่นอยูที่เมืองเมาะตะมะซึ่งอยูทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือของเมืองเตริน จนพมา
ยอมแพตออังกฤษ กองทัพสยามจึงไดยกกลับ
เหตุผลอีกประการหนึ่งที่กองทัพสยามไมยอมเดินทัพลึกเขาไปทางตอนเหนือของพมาเนื่องจากวาอังกฤษจะ
ใหเจาพระยามหาโยธา (ทอเรียะ) ปฏิบัติตามคําสั่งและเดินทัพตามที่นายพลอังกฤษสั่ง ซึ่งฝายสยามเห็นเปนการเสีย
เกียรติยศมาก จึงไมยอมยกทัพขึ้นไป นอกจากนี้ในความเห็นของอังกฤษใหความสําคัญกับการไดรับเงินตอบแทนการ
รวมรบของกองทัพสยาม เหมือนกับเห็นวากองทัพสยามเปนทหารรับจาง (Wilson 1852:231) ซึ่งเปนการลบหลุ
เกียรติยศเปนอยางยิ่ง
เมื่ออังกฤษอินเดียรบชนะพมาในสงครามครั้งนี้และไดครอบครองหัวเมืองชายทะเลเอาไวทั้งหมด อังกฤษมี
ความคิดที่จะตั้งอาณาจักรมอญขึ้นมาใหมโดยอยูภายใตเงาของอังกฤษ และไดพยายามสรรหาตัวเชื้อสายเจาหงสาวดี
เพื่อจะตั้งใหเปนเจาปกครอง แตปรากฏวาหาไมได อังกฤษทราบวาชาวมอญนิยมเคารพเจาพระยามหาโยธา (ทอเรียะ)
ซึ่งสืบเชื้อสายมาจากเจาหงสาวดีคนสุดทายและมีความสามารถจนไดรับแตงตั้งใหมีตําแหนงสําคัญในกองทัพของ
สยาม ยิ่งกวาผูใดทั้งหมด จึงคิดเกลี้ยกลอมเจาพระยามหาโยธา (ทอเรียะ) ไปเปนเจาหงสาวดี (หนังสือลําดับสกุลคช
เสนี) ซึ่งถาพิจารณาจากมุมมองทางการเมืองของอังฤษแลวก็มีความเหมาะสมเปนอยางยิ่งเนื่องจากเหตุผลวาเจาพระยา
มหาโยธา (ทอเรียะ) รับราชการอยูในกองทัพสยาม ดังนั้นถาไดเปนเจาหงสาวดี อาณาจักรมอญและอาณาจักรสยามก็
จะเปนพันธมิตรกัน และเมื่อรวมอํานาจทางทหารระหวาง 2 อาณาจักรแลวจะสมดุลหรือเหนือกวาอาณาจักรพมา เปน
ผลใหเกิดความมั่นคงทางการเมืองในภูมิภาคขึ้น และทําใหอังกฤษสามารถเนนผลประโยชนทางเศรษฐกิจซึ่งเปน
เหตุผลหลักของตนในดินแดนแถบนี้ โดยไมจําเปนตองคงกําลังทหารเอาไวในอาณาจักรมอญ ขณะเดียวกันก็สามารถ
นํากําลังทหารไปใชในอินเดียซึ่งมีความสําคัญตออังกฤษสูงกวาและมีความลอแหลมสูงกวาอยางเทียบกันไมได
จากบันทึกของกัปตัน เฮนรี เบอรนี ที่ไดเสนอแนะไปยังเซอร อารชิบอลด แคมเบลล ก็สนับสนุนวา
เจาพระยามหาโยธา (ทอเรียะ) เปนผูที่เหมาะสมในบัลลังกเมืองหงสาวดี ดวยเหตุผลที่วา
“(เจาพระยา) มหาโยธาไมเพียงแตจะเปนบุคคลที่มีสติปญญาและอุปนิสัยใจคอดีเปนที่ยอมรับ มี
ความสามารถจะดูแลรักษาอาณาจักรใหมไดเทานั้น แตยังเปนบุคคลที่ไมนาจะยินยอมใหพมากลับเขามามีอํานาจในพะ
โค (หงสาวดี) อีกตอไป หากเปรียบเทียบกับพวกหัวหนาชาวตะเลงอื่นๆ ที่เคยรับราชการอยูในอังวะมาแลว หรือที่เคย
เติบโตมาภายใตอํานาจของอังวะ……….(เจาพระยา)มหาโยธาผูนี้ไมเพียงแตจะมีความสามารถและพลังเหนือกวา
ผูอื่นเทานั้น ยังเปนนายทหารที่มีฝมือดีที่สุดในราชการสยาม และเปนแมทัพที่ถูกสงไปทําการรบกับพมาบอยที่สุด
และเปนผูที่พมาเกรงกลัวที่สุด ” (Burney 1910-14: 240-241)
แตการทาบทามไมเปนผลสําเร็จเพราะเจาพระยามหาโยธา (ทอเรียะ) ไดแสดงความซื่อสัตยและจงรักภักดี
ตอพระมหากษัตริยและราชอาณาจักรสยาม (หนังสือลําดับสกุลคชเสนี) อังกฤษอินเดียจึงเลิกลมความคิดที่จะตั้ง
ประเทศมอญขึ้นมาใหม
ประวัติศาสตรตรงนี้ก็มีความคลุมเครือเปนอยางยิ่ง เพราะความเห็นของเซอรเพอยรกลาววาสาเหตุที่อังกฤษ
ไมตั้งประเทศมอญขึ้นเนื่องมาจากสาเหตุรวมหลายประการ
ประการที่หนึ่งที่อางถึงคือผูที่กลาวอางสิทธิที่จะขึ้นเปนเจาอาณาจักรมอญซึ่งอยูในแผนดินมอญขณะนั้น
ไมไดมีเชื้อสายมาจากเจาหงสาวดีองคกอนๆ ขณะเดียวกันก็มีการกลาววามีการพิจารณาความเหมาะสมของนายทหาร
ระดับแมทัพในกองทัพสยามซึ่งมีเชื้อชาติมอญที่ปรากฏชื่อวา "นายพลรณณรงค" (General Ron Na Ron) เพื่อพิจารณา
แตงตั้งเปนเจาหงสาวดี ซึ่งในที่สุดก็ตกไปเนื่องจากสาเหตุวาเปนขาราชสํานักของสยาม ที่เคยมีตําแหนงเปนเพียงเจา
เมืองเล็กๆ ในเขตแดนมอญกอนหนาที่จะเขาไปสวามิภักดิ์กับราชอาณาจักรสยาม และไมไดมีเชื้อสายของเจาหงสาวดี
องคกอนๆ คําถามที่เกิดขึ้นคือ ใครคือนายพลรณณรงค ตามประวัติศาสตรสงครามของฝายอังกฤษ แมทัพรณณรงค
เปนผูมีจดหมายไปถึงกัปตันเฟนวิค ที่เมืองมะตะบัน ชี้แจงการเคลื่อนทัพของสยามวาไดออกเดินทางจากเมือง
กาญจนบุรีตรงมายังเมืองหงสาวดีแลว (Wilson 1852:230) แตจากขอความในประวัติศาสตรไทยรบพมาในครั้งกรุง
รัตนโกสินทร (ประชุมพงศาวดาร ภาคที่ 6 เลม 7) วาเจาพระยามหาโยธา (ทอเรียะ) เปนผูที่มีบทบาทสําคัญในการ
ติดตอกับเซอร อารชิบอลด แคมเบลล แมทัพอังกฤษในสงครามครั้งนี้ ทั้งนี้โดยไดรับคําสั่งจากราชสํานักสยาม เรื่องที่
สยามจะชวยอังกฤษทําสงครามกับพมา ซึ่งมีปรากฏอยูในเอกสารของอังกฤษดวยเชนกัน (Wilson 1852:191) ที่กลาววา
“มีการติดตอเพื่อความรวมมือในการทําสงครามจากรัฐมนตรีของสยาม (the Siamese Minister) และจากนายพล
(รณรงค)" คําถามที่นาสงสัยและกอใหเกิดความสับสนขึ้นก็คือ ใครคือรัฐมนตรีของสยาม เปนความเขาใจและตีความ
ผิดของผูทําบันทึกที่สรุปเอาวาเจาพระยามหาโยธาซึ่งเปนผูนําทัพไทย เปนรัฐมนตรีของสยามหรือไม
ขณะเดียวกันอังกฤษไดสงจดหมายมาเชิญผูแทนสยามไปเจรจาดวยที่เมืองเมาะตะมะ เจาพระยามหาโยธา
(ทอเรียะ) จึงไดสงจมื่นราชามาตยและพระยาพระราม (ซึ่งเปนนองชายคนหนึ่งในพี่นองรวมบิดาทั้งหมด 5 คนของ
เจาพระยามหาโยธา (ทอเรียะ) ตําแหนงพระยาพระรามนี้เปนตําแหนงทางทหารในกองทัพสยามของนายทหารที่มีเชื้อ
สายมอญ ซึ่งคูกับพระยาเกียรติ) เปนผูแทนไปพบกับแมทัพอังกฤษเพื่อเจรจาเรื่องการรบ ซึ่งหมายความไดวานายพล
รณณรงคที่อังกฤษหมายถึงอาจจะคือตัวเจาพระยามหาโยธา (ทอเรียะ) เอง หรืออาจจะเปนพระยาพระรามที่เดินทางเขา
ไปเจรจา ซึ่งไมนาจะใช เพราะพระยาพระรามผูเปนนองคงไมกระทําการใดๆ นอกเหนือจากคําสั่งของเจาพระยามหา
โยธา (ทอเรียะ) ผูเปนพี่และผูนําทัพ หรืออาจจะเปนพระยารัตนจักร ซึ่งถูกสงเขาไปสืบขาวในดินแดนมอญ ซึ่งก็มี
ความเปนไปไดเชนเดียวกัน
แตขอสันนิษฐานวาเจาพระยามหาโยธาคือนายพลรณณรงคมีความเปนไปไดนอยที่สุด เนื่องจากถาเจาพระยา
มหาโยธาจะมีจดหมายติดตอกับอังกฤษก็คงจะตองติดตอกับเซอร อารชิบอลด แคมเบลล แมทัพอังกฤษ โดยตรง และ
เนื่องจากเปนคําสั่งของราชสํานักสยาม คงเปนไปไมไดที่จะมอบจดหมายใหกับนายทหารอังกฤษคนอื่นที่มีชั้นยศต่ํา
กวาอยางเทียบกันไมได เนื่องจากเปนการกระทําที่ถือวาเสียเกียรติยศ ขณะเดียวกันตัวเจาพระยามหาโยธา (ทอเรียะ)
เอง ซึ่งเปนบุตรของเจาพระยามหาโยธา (เจง) แมเกิดในเมืองมอญ แตไดอพยพเขามาพรอมกับบิดาตั้งแตอายุยังหนุม
ซึ่งไมตรงกับความของอังกฤษที่กลาววานายพลรณณรงคเคยมีตําแหนงเปนเจาเมืองเล็กๆ ในเขตแดนมอญมากอน
เหตุผลประการที่สองที่อางถึงคือดินแดนที่เคยอยูในอาณาจักรมอญเดิมนั้นมีการผสมระหวางเชื้อชาติมอญ
กับพมาจนไมสามารถแยกเชื้อชาติตอไปได ซึ่งไมนาจะเปนความจริง เพราะมอญมีอารยะธรรมสูงมาอยางยาวนาน มี
ภาษาพูดและภาษาเขียนเปนของตนเอง การตกอยูภายใตอิทธิพลของพมาจากการเสียอาณาจักรครั้งหลังสุดจนถึง
สงครามครั้งนี้เปนระยะเวลาประมาณ 67 ปเทานั้น พมาคงไมนาจะประสพความสําเร็จในนโยบายการกลืนชาติไดเร็ว
ถึงขนาดนั้น
เหตุผลประการที่สามคืออังกฤษเกรงวาจะเปนการกระตุนความไมพอใจของราชสํานักอังวะ ซึ่งขาดความ
สมเหตุสมผลที่จะมาสนับสนุน เนื่องจากอาณาจักรอังวะพายแพตออังกฤษอยางราบคาบไปแลว
เหตุผลประการที่สี่คือสยามไมไดใหความสนใจหรือสนับสนุนการกอตั้งอาณาจักรมอญ (Wilson 1852:232)
ซึ่งคานกับความที่วา "ภายหลังจากเซอร อารชิบอลด แคมเบลล เดินทัพออกจากเมืองรางกุงไดสองวัน ผูนํามอญกลุม
หนึ่งก็เดินทางมาถึงรางกุง แสดงตนวาเปนผูแทนในการเจรจาเรื่องอิสระภาพของพะโค และมีการพิสูจนทราบตอมาวา
เปนทหารในกองทัพสยาม" (Wilson 1852:171) การเจรจาครั้งนั้นไมประสพผลเนื่องจากไมไดเปนการเจรจากับแมทัพ
อังกฤษโดยตรง และอังกฤษไมยอมเจรจาดวยเนื่องจากกลุมผูนํามอญกลุมนี้ไมมีอํานาจสิทธิ์ขาดในการตัดสินใจ
คําถามที่เกิดขึ้นก็คือผูนํามอญกลุมนี้คือกลุมของจมื่นราชามาตยและพระยาพระรามซึ่งเจาพระยามหาโยธา (ทอเรียะ)
เปนผูสงไปเจรจาเรื่องการรวมรบกับกองทัพอังกฤษหรือไม และหัวขอการเจรจาเรื่องอิสระภาพของพะโคที่ปรากฏขึ้น
นั้น เปนนโยบายของราชสํานักสยาม หรือเปนความพยายามกอบกูอาณาจักรมอญขึ้นมาใหมของกลุมผูนํามอญเอง ซึ่ง
คงไมมีวันหาคําตอบที่มีหลักฐานยืนยันแนนอน
ยอมแนนอนที่การตั้งอาณาจักรมอญขึ้นมาใหมนั้นเปนประโยชนตออังกฤษอยางยิ่ง แตถาพิจารณาจาก
มุมมองฝายสยามแลวไมนาจะเปนยุทธศาสตรที่ถูกตอง ดวยเหตุผลที่สําคัญคือ การเสียไพรบานพลเมืองไปเปนอันมาก
อาจจะกวาแสนคน อีกประการหนึ่งถาในอนาคตมอญกลับกลายเปนศัตรู สยามประเทศก็จะตองตกที่นั่งลําบากที่ตอง
เจอศึก 2 ดานทั้งพมาที่เปนศัตรูคูแคนทางประวัติศาสตรดั้งเดิม กับมอญที่มีรูตื้นลึกหนาบางในสยามเปนอยางดี
ขอสรุปที่ชัดเจนก็คือ
1.มีความพยายามจากฝายอังกฤษที่จะกอตั้งอาณาจักรมอญขึ้นมาใหมภายหลังสงครามระหวางอังกฤษกับพมาระหวาง
ป พ.ศ. 2367-2369 อยางแนนอน
2.แผนการตั้งอาณาจักรมอญเปนอิสระไดกระทําเปนความลับ โดยฝายอังกฤษ โดยไมไดปรึกษาหารือหรือแจงใหราช
สํานักสยามทราบหรือรับรู เนื่องจากไมตองการใหสยามไดลวงรูยุทธศาสตรที่อาจจะนําไปใชตอรองผลประโยชนใน
การเขารวมรบกับอังกฤษ
3.มีความสนใจ ความริเริ่มและความพยายามในการกอตั้งอาณาจักรมอญจากฝายสยาม ซึ่งอาจจะไมใชจากราชสํานัก
แตมาจากกลุมผูนํามอญในกองทัพสยาม ซึ่งก็นาจะดําเนินไปอยางลับๆ เชนกัน
4.แมสยามจะเปนพันธมิตรอันแนบสนิทในสงครามระหวางอังกฤษกับพมา แตก็มีความคับของใจและไมพอใจจนยาก
ที่จะทําความตกลงในประเด็นตางๆ และที่สําคัญอยางยิ่งคือการกอตั้งอาณาจักรมอญขึ้นมาใหม ที่แมวาจะเปนรัฐกัน
ชนระหวางสยามกับพมา แตก็ยังตองตกอยูภายใตการกํากับของอังกฤษ ซึ่งยอมตองกลายเปนหอกขางแครของสยาม
ในอนาคตเพิ่มขึ้น แทนที่จะเปนแตเฉพาะพมาเทานั้น
5.ราชสํานักสยามไมตองการเสียไพรพลเปนจํานวนมากและแมทัพที่มีความสามารถสูง ไปสูอาณาจักรใหม
ผูที่นาจะรูดีที่สุดคือ เซอร อารชิบอลด แคมเบลล แมทัพอังกฤษในสงครามครั้งนี้ ในระหวางที่สงครามเพิ่ง
เริ่มขึ้นในดินแดนมอญ เซอรแคมเบลลเองเปนผูที่ประกาศชักชวนใหชาวมอญรวมตัวกันลุกขึ้นตอตานพมา รวมกับ
กองทัพอังกฤษ และยังไดกลาวเปนเชิงวาจะใหความสําคัญกับผูนํามอญและจะพิจารณาความเปนอิสระของชาวมอญ
จากการกดขี่ขมเหงของพมา (Wilson 1853:169) ซึ่งบันทึกการศึกสงคราม (War archive) ของเซอรอารชิบอลด แคม
เบลล นาจะเปนเอกสารสําคัญที่จะทําใหเรื่องราวทั้งหมดกระจางขึ้นมา
แตอังกฤษอินเดียยังคงใหความสําคัญกับดินแดนในอาณาจักรมอญนี้เปนอยางสูง เพราะนอกจากความ
พยายามที่จะตั้งอาณาจักรมอญขึ้นเปนประเทศใหมโดยแยกตัวออกมาจากพมาในคราวสิ้นสุดสงครามอังกฤษอินเดีย-
พมาครั้งแรก ซึ่งไมประสพความสําเร็จดังกลาว แตในที่สุดเมื่อเกิดสงครามระหวางอังกฤษอินเดียกับพมาครั้งที่ 2 ในป
พ.ศ. 2395 ซึ่งสิ้นสุดดวยชัยชนะของอังกฤษอินเดียและการประกาศผนวกจังหวัดพะโคซึ่งก็คือศูนยกลางของ
อาณาจักรมอญในอดีตเขาเปนสวนหนึ่งของอังกฤษอินเดีย (Hall 1932:4-5) และเปนการผนวกดินแดนเพียงดินแดน
เดียวเทานั้น โดยไมรวมดินแดนสวนที่เปนอาณาจักรพมาทั้งหมด

ลําดับเหตุการณสําคัญในพงศาดารและประวัติศาสตรมอญ
สมัยพุทธกาล พอคามอญ 2 คน ไดรับพระเกสาจากองคพระสัมมาสัมพุทธเจา นํามาบรรจุไวในเจดีย ซึ่งใน
ภายหลังคือมหาเจดียชเวดากอง
ประมาณ 30-50 ปกอนพุทธศักราช ทิหะราช ไดกอตั้งอาณาจักรมอญขึ้นโดยมีเมืองสะเทิมเปนเมืองหลวง
พ.ศ. 0 ทิหะราชตายในปเดียวกับที่พระพุทธเจาปรินิพพาน
พ.ศ. 0-1600 อาณาจักรมอญที่เมืองสะเทิมมีกษัตริยปกครองติดตอกันมา 59 องค และมีขอสันนิษฐานวาเมือง
สะเทิมเปนศูนยกลางของอาณาจักรสุวรรณภูมิ (Htin Aung 1967:5-7) ดวยเหตุผลวาเมืองสะเทิมในขณะนั้นเปนเมือง
ชายทะเลที่เปนเมืองทาศูนยกลางของการติดตอจากตะวันออกกลางมายังอินเดีย และเปนจุดที่จะเดินทางขึ้นบกขามไป
ยังอาวไทยเพื่อเดินทางไปจีน และอางพงศาวดารพมาและสิงหลที่กลาววาเมืองหลวงของอาณาจักรสุวรรณภูมินั้นเปน
เมืองทาติดกับทะเล ซึ่งสอดคลองกับที่ตั้งของเมืองสะเทิม
พ.ศ. 282 เจาชายจากเมืองสะเทิม (Thaton) ชื่อทัมละ (Thamala) และเมืองวิมาละ (Wimala) รวมกันสราง
เมืองพะโคหรือเมืองหงสาวดี บนเกาะซึ่งเพิ่งโผลขึ้นมาเหนือน้ําที่บริเวณปากแมน้ําอิระวดี และกลายเปนศูนยกลาง
แหงอํานาจและความรุงเรืองของอาณาจักรสุวรรณภูมิในชวงเวลาตอมา
พุทธศตวรรษที่ 7 อาณาจักรสุวรรณภูมิมีความเจริญสูงที่สุด โดยรวมอาณาจักรทวาราวดีซึ่งมีศูนยกลางอยูที่
เมืองละโวหรือลพบุรี และอาณาจักรหริภุญชัยซึ่งมีศูนยกลางอยูที่เมืองหริภุญชัยหรือลําพูนเขามารวมอยูดวย
อาณาจักรมอญที่เมืองสะเทิม อาณาจักรทวาราวดีและอาณาจักรหริภุญชัย ซึ่งใชภาษาเดียวกัน มีเชื้อชาติตนกําเนิด
รวมกัน และมีศาสนาพุทธเปนศูนยกลางของความเชื่อ รวมเปน "สหพันธรัฐรามัญ (Ramanya Desa)" ที่มีความหมายวา
"ดินแดนของมอญ (Land of the Mons)" (Htin Aung 1967:25)
พ.ศ. 1116-1324 เมืองหงสาวดีมีเจาเมือง 7 คนครองติดตอกัน
พ.ศ. 1600 เจามนู (Manuha) พายแพตอเจาอนุรุธ (Anawratazaw) แหงอาณาจักรอังวะ ซึ่งไดนําอักษรมอญ
ไปปรับใชกับภาษาพมา นอกจากนี้ยังนําเอาพระสงฆจากเมืองมอญไปทําการปรับเปลี่ยนศาสนาของชาวพมาจากนิกาย
มหายานมาเปนหินยานตามแบบมอญ (Hall 1955:124) ซึ่งหมายความวาวัฒนธรรมของพมามีรากฐานจากวัฒนธรรม
มอญ
พ.ศ. 1600-1830 อาณาจักรมอญตกอยูภายใตอํานาจการปกครองของอาณาจักรอังวะ
พ.ศ. 1830-1849 อาณาจักรมอญเปนอิสระในสมัยเจาวเรฬุ หรือเจาฟารั่ว โดยมีเมืองเมาะตะมะเปนศูนย
กลางการปกครอง หลังจากนั้นประมาณ 60 ปก็มีการยายเมืองหลวงไปยังกรุงหงสาวดี
พ.ศ. 1849-1853 เจาขุนลอ (Hkun Law) นองของเจาฟาวเรฬุขึ้นครองอาณาจักร
พ.ศ. 1853-1867 เจาซอโอ (Saw O) หลานเจาขุนลอขึ้นครองอาณาจักร
พ.ศ. 1867-1874 เจาซอเซียน (Saw Zein) นองสาวเจาซอโอขึ้นครองอาณาจักร
พ.ศ. 1874-? เจาพินยะอีลอ (Binnya E Law) ลูกของเจาขุนลอขี้นครองอาณาจักร
หลังสมัยของเจาพินยะอีลอไมปรากฏหลักฐานที่แนนอน
พ.ศ. 1896-1928 เจาพินยะอู (Binnya U) ลูกของเจาพินยะอีลอ ขี้นครองอาณาจักร
พ.ศ. 1928-1966 เจาราชาดาริต (Razadarit) หรือเจาราชาธิราชขึ้นครองอาณาจักร
พ.ศ. 1966-1969 เจาพินยะธรรมราชา (Binnyadhammaraza) ขึ้นครองอาณาจักร
พ.ศ. 1969-1989 เจาพินยะรัน (Binnya Ran) ขึ้นครองอาณาจักร
พ.ศ. 1989-1993 เจาพินยะวารุ (Binnya Waru) ขึ้นครองอาณาจักร
พ.ศ. 1993-1996 เจาพินยะยัน (Binnya Kyan) ขึ้นครองอาณาจักร
พ.ศ. 1996 เจาเลิกมันทอ (Leik Munhtaw) ขึ้นครองอาณาจักร
พ.ศ. 1996-2015 เจานางชินสอบู (Shin Saw Bu) ขึ้นครองอาณาจักร
พ.ศ. 2015-2035 เจาธรรมเจดีย (Dhammazedi) ขึ้นครองอาณาจักร
พ.ศ. 2035-2069 เจาพินยะรัน (Binnya Ran) ขึ้นครองอาณาจักร
พ.ศ. 2069-2072 เจาทะคะยุต (Takayutpi) ขึ้นครองอาณาจักร
พ.ศ. 2072-2083 ตกอยูภายใตอํานาจของเจาตะเบงชะเวตี้ (Tabinshwehti) ของอาณาจักรพมา (ตองอู)
พ.ศ. 2083-2084 สมิงซอทุธ (Smim Sawhtut) ทําสงครามตอสูเพื่ออิสระภาพ
พ.ศ. 2084 สมิงทอ (Smim Htaw) นองของเจาทะคะยุตประกาศขึ้นเปนเจาครองอาณาจักรมอญ
พ.ศ. 2084-2283 ตกอยูภายใตอํานาจของอาณาจักรพมา โดยพายแพแกเจาบุเรงนอง (Bayinnaung)ในป
พ.ศ. 2084
พ.ศ. 2283-2290 สมิงทอพุทธเกตุ (Smim Htaw Buddhaketi) ทําสงครามตอสูเพื่ออิสระภาพไดสําเร็จ
และขึ้นครองอาณาจักรมอญ
พ.ศ. 2290-2300 เจาพินยาทะละ (Binnya Dala) ขึ้นครองอาณาจักรมอญ
พ.ศ. 2300 เจาพินยาทะละ พายแพแกเจาอลองพญา ซึ่งไดเผาทําลายเมืองหงสาวดีจนสิ้นซาก และ
สรางเมืองรางกุง (Rangoon) ขึ้นเพื่อหวังจะใหเปนศูนยกลางของดินแดนรอบอาว
เมาะตะมะแทนเมืองหงสาวดี
พ.ศ. 2314-2317 สงครามตอสูเพื่ออิสระภาพจากอาณาจักรพมาในสมัยเจามังระ ซึ่งไมประสพผลสําเร็จ
และตามมาดวยการอพยพของชาวมอญเขามาพึ่งพระบรมโพธิสมภารของอาณาจักร
สยามในสมัยพระเจากรุงธนบุรี โดยการนําของพญาเจง และหัวหนาอีก 3 คนคือ
พญาอู ตละเกลี้ยง ตละเกล็บ
พ.ศ. 2300-ปจจุบัน ตกอยูภายใตอํานาจของอาณาจักรพมาและประเทศพมา (ในปจจุบัน)
บรรณานุกรม
สุจริตลักษณ ดีผดุง วิจิตร เกิดวิสิษฐ อรรถจินดา ดีผดุง และสุเอ็ด คชเสนี 2538 มอญ สถาบันวิจัยภาษาและวัฒน
ธรรมเพื่อพัฒนาชนบท มหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา นครปฐม 123 หนา
หนังสือลําดับสกุลคชเสนีกับโบราณคดีมอญ พิมพในงานพระราชทานเพลิงศพมหาอํามาตยตรีพระยาพิพิธมนตรี
(ปุย คชเสนี) พ.ศ. 2482
สมเด็จกรมพระยาดํารงราชานุภาพ 2505 ไทยรบพมา สํานักพิมพคลังวิทยา กรุงเทพ
Burney, Henry. 1910-1914. The Burney Papers. 15 Volumes. The Committee of Vajiranana National Library,
Bangkok.
Hall, G.G.E. 1932. The Dalhousie-Phayre Correspondence 1852-1856. Oxford University Press. 426 pp.
Htin Aung, Maung. 1967. A History of Burma. Columbia University Press, New York. 363 pp.
Nisbet, J. 1901. Burma under British Rule and Before. Volume 1-2. Archibald Constable, Wesminster.
Phayre, Sir Arthur P. 1884. History of Burma. Trubner and Co., London.
Wilson, H.H. 1852. Narrative of the Burmese War. Wm. H. Allen, and Co., London.

*อดีตรองศาสตราจารย ประจําภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร จุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย


อดีตผูอํานวยการบริหาร กรีนพีซเอเซียตะวันออกเฉียงใต
*(former) Associate Professor, Department of Biology, Faculty of Science, Chulalongkorn University
(former) Executive Director, Greenpeace Southeast Asia

You might also like