You are on page 1of 15

ข้อมูลทั่วไปและประวัติความเป็นมาของชุมชนบ้านจำารุง

บ้านจำารุงตั้งอยู่ที่ หมู่ที่ 7 ตำาบลเนินฆ้อ อำาเภอแกลง จังหวัดระยอง เป็นชุมชน


ดั่งเดิมที่เกิดขึ้นเมื่อ 150 ปีก่อน เดิมเป็นหมู่บ้านเล็ก ๆ ประมาณ 30 ครัวเรือน ผู้คนที่มา
อยู่อาศัยในช่วงเริ่มต้น ได้อพยพมาจากบริเวณชายทะเล บ้านถนนกระเพรา ตำาบลเนิน
ฆ้อ(ชื่อเรียกในปัจจุบัน) โดยได้พากันย้ายถิ่นจากที่เดิมมาเพื่อที่จะหาที่ทำากินใหม่ที่นี่ (
ย้ายจากที่เดิมประมาณ 4 กิโลเมตร) เป็นการย้ายมาทางทิศตะวันตก จากคำาบอกเล่าทราบ
ว่า ในการย้ายครั้งนี้ เป็นการย้ายข้ามทุ่งนาเข้าสู่ป่าดิบ ทำาให้ชื่อหมู่บ้านใหม่มีชื่อว่า “บ้าน
ป่าเรไร” ต่อมาได้มีการหักร้างถางพงเพื่อปรับพื้นที่ในการทำาไร่ ทำานา ซึ่งเป็น
บริเวณหน้าวัดจำารุงในปัจจุบัน และเนื่องจากบ้านจำารุงมีลักษณะพื้นที่เป็นที่ราบลุ่ม มีนำ้า
ท่วมขังตลอดปี จึงมีการเรียกพื้นที่บริเวณนั้นว่า “จำารุ” (เป็นภาษาถิ่นของคนชอง) มี
ความหมายว่า ปากช่องทางนำ้าไหลลงทุ่ง หรือบึง แต่ต่อมาเรียกเพี้ยนเป็นคำาว่า “จำารุง”
ชาวบ้านจำารุงส่วนใหญ่ที่ตั้งรกรากดั้งเดิม ตั้งแต่สมัย ปู่ ย่า ตา ยาย มีตระกูลใหญ่ 5
ตระกูล คือ ตระกูลดีนาน ตระกูลรัตนพงศ์ ตระกูลไกรทอง ตระกูลก่อเกื้อ และตระกูล
เจือจุน ซึ่งปัจจุบันตระกูลเหล่านี้ได้มีลูก มีหลาน และแต่งงานจนเป็นเครือญาติกันเป็น
ส่วนใหญ่
ลักษณะพื้นทีข่ องหมู่บ้านเป็นที่ราบลุ่มมีเนิน เหมาะแก่การทำานา ทำาสวนผลไม้
และสวนยางพารา สภาพของดินมีความอุดมสมบูรณ์ ในทุ่งนา ดินจะมีลักษณะเป็น ดิน
เหนียวสีดำา ทำานาได้ผลดี สภาพดินบนเนิน มีสีแดงมันปู เหมาะแก่การทำาสวนผลไม้และ
สวนยางพารา การปลูกบ้านเรือนของชาวบ้านอยู่รวมเป็นกลุ่มก้อน โดยปลูกบริเวณริม
ทุ่งเป็นหลัก ต่อมาเมื่อการหักร้างถางป่าบนเนิน เพื่อทำาสวนผลไม้และสวนยางพารา จึง
ได้ขยายแยกครอบครัว มาปลูกบ้านในสวนผลไม้บนเนินมากขึ้น
ความเป็นเครือญาติของคนในหมู่บ้านจำารุง ทำาให้หมู่บ้านจำารุงมีแรงยึดเหนี่ยว
ทางสังคมในระดับสูง ชาวบ้านจะมีความรู้สึกผูกพันต่อกันและกัน มีความเกรงใจกัน มี
ค่านิยมทีผ่ กู พันกับหมูบ่ า้ น และต้องการเสียสละเพือ่ หมูบ่ า้ นของตนเอง สังเกตได้จากการ
ร่วมมือกันพัฒนาหมูบ่ า้ น พัฒนาถนนหนทาง แหล่งนำ้าสาธารณะ วัด ทีส่ าธารณประโยชน์
ในวันสำาคัญ จะพบได้ว่า ชาวบ้านจะมาช่วยกันอย่างพร้อมเพรียง
บ้านจำารุง
หมู่บ้านที่ใช้แนวทางเศรษฐกิจพอเพียงเป็นแนวทางในการพัฒนาชุมชน

บ้านจำารุงในปัจจุบัน เป็นชุมชนขนาดกลางที่มีผู้คนอยู่ประมาณ 569 คน


(ประมาณ 151 ครัวเรือน) ได้รับการยอมรับจากนักพัฒนาว่ามีความน่าสนใจ น่าศึกษา
เรียนรู้ในมิติของชุมชนเข้มแข็ง ชุมชนต้นแบบ ผู้นำามีความเสียสละ มีแนวทางการพัฒนา
ของตนเองโดยใช้ทุนทางสังคมที่ได้จากการเรียนรู้ ที่มุ่งเน้นการพึ่งพาตนเอง มากกว่า
20 ปี มีกลุ่มกิจกรรมกว่า 24 กลุ่ม มีประสบการณ์ต่างๆมีบุคลากรที่มีความเสียสละ มี
องค์ความรู้ในตัวอง มีภูมิปัญญาท้องถิ่น มีประเพณีวัฒนธรรม และมีสื่อทางเลือกในการ
สื่อสารของตนเอง

กิจกรรมการดำาเนินงานของชุมชนที่เกี่ยวข้องกับปรัชญา เศรษฐกิจพอเพียง
ความมีเหตุผล
หมู่บ้านจำารุง เน้นการมีส่วนร่วมของคนในชุมชน โดยจัดให้มีเวทีสภาหมู่บ้าน
และจะมีการจัดการประชุมสรุปงานทุกเดือน เพื่อวางแผนและทิศทางการทำางานใน
แต่ละเดือน โดยเปิดโอกาสให้ชาวบ้านเสนอประเด็นปัญหาและร่วมแสดงความคิดเห็น
แลกเปลี่ยนความรู้ การแลกเปลี่ยนทัศนคติ ลักษณะเช่นนี้ ส่งผลดีต่อการแก้ไขปัญหา
และการหาแนวทางป้องกันปัญหาของชุมชน ที่ผ่านมาจะพบว่า กระบวนการตัดสินใจ
ของสภาหมู่บ้านจะใช้แนวทางการตัดสินใจแบบมีส่วนร่วมมากที่สุด และในกรณีที่มี
ประเด็นความขัดแย้งในเวทีสภาหมู่บ้าน ก็จะใช้หลักประชาธิปไตยหรือเสียงส่วนมากมา
ตัดสินปัญหา ยกเว้นในกรณีที่มีความขัดแย้งมากๆ ก็จะมีการเลื่อนวาระนั้นออกไป เพื่อ
จะรอไปคุยในเดือนถัดไป ซึ่งจะเห็นได้ว่า ชาวบ้านจำารุงได้สร้างกลไกเพื่อแก้ไขปัญหา
ความขัดแย้ง โดยให้เวลาแก่สมาชิกทุกคนได้มีโอกาสทบทวนไตร่ครองกับปัญหาที่เกิด
ขึ้นอย่างรอบครอบ ลักษณะเช่นนี้ทำาให้การทำางานต่างๆและกิจกรรมของชุมชนสามารถ
ดำาเนินการลุล่วงไปได้ด้วยดี
ความพอประมาณ
บ้านจำารุง มีสภาพความเป็นอยู่ที่เน้นการพึ่งพาตนเอง จนเป็นที่ยอมรับและเป็น
ตัวอย่างที่ดี มีผู้มาศึกษาดูงาน แลกเปลี่ยนความรู้ตลอดทั้งปี ทั้งนี้หมู่บ้านจำารุงได้มีการส่ง
เสริมให้คนในชุมชนนำาผักพื้นบ้านมารับประทาน รวมถึงชวนเชิญนักท่องเที่ยวที่เข้ามา
ในชุมชนได้บริโภคผักพื้นบ้านเหล่านี้ จนกลายเป็นสัญลักษณ์ของชุมชนที่ได้ชื่อว่า “เป็น
แหล่งอาหารที่ปลอดภัย” ที่มีนักท่องเที่ยวรู้จักและคุ้นเคยอย่างกว้างขวาง ในการศึกษาได้
พบว่า การดำาเนินงานของกลุ่มกิจกรรมต่าง ๆ ในบ้านจำารุง มีความหลากหลาย
ครอบคลุมในเกือบทุกมิติของวิถีชีวิตของคนในชุมชน อาทิ
กลุ่มผู้สูงอายุ ได้มีการรวมตัวกันเพื่อร่วมกันผลิตข้าวซ้อมมือ บรรจุในร้านค้าของ
ชุมชน เพื่อส่งเสริมให้คนในชุมชนมีสุขภาพที่ดี โดยมีโรงสีข้าวของชุมชนเอง และมีการ
ผลิตข้าวซ้อมมืออย่างต่อเนื่อง นอกจากนั้น ชุมชนยังได้มีการนำาเศษแกลบรำาส่งให้กับ
กลุ่มเกษตรพื้นบ้านในหมู่บ้านเพื่อใช้ในการทำาปุ๋ยชีวภาพ และนำาปลายข้าวขายให้กับ
กลุ่มผู้เลี้ยงตะพาบนำ้า
กลุ่มธนาคารขยะได้มีการดำาเนินงานมาอย่างต่อเนื่อง ทั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อ
กระตุ้นให้คนในชุมชนได้เห็นคุณค่าของ เศษของที่เหลือใช้ แม้แต่ขยะก็มีการรวมกลุ่ม
กันจัดตั้งธนาคารขยะเพื่อรักษาสิ่งแวดล้อม มีการรับซื้อ และคัดแยกขยะที่สามารถนำาไป
ใช้ประโยชน์ได้ จากการศึกษาได้พบว่า กิจกรรมดังกล่าวทำาให้เยาวชนและคนในชุมชน
ได้มีค่านิยมที่ถูกต้องเกี่ยวกับขยะ และสิ่งของเหลือใช้ในชุมชน
กลุ่มสตรีอาสา เป็นกลุ่มที่จัดตั้งขึ้นเพื่อทำาการแปรรูปผลผลิตทางการเกษตร เช่น
ทุเรียนทอด ขนุนทอด นอกจากนี้ยังมีการผลิต กะปิ นำ้าปลา เพื่อใช้ในครัวเรือน และผลิต
ที่เหลือจากการบริโภคก็มาจำาหน่ายให้กับผู้มาดูงาน

การมีภูมิคุ้มกันที่ดี
การมีภูมิคุ้มกันที่ดีในตัวต่อการมีผลกระทบใดๆอันเกิดจาการเปลี่ยนแปลง
ภายนอกและภายใน คือ การเตรียมตัวพร้อมรับผลกระทบและการเปลี่ยนแปลงด้านต่าง
ที่จะเกิดขึ้น โดยคำานึงถึงความเป็นไปได้ของสถานการณ์ต่างๆที่คาดว่าจะเกิดขึ้นทั้งใน
อนาคตอันใกล้และไกล บ้านจำารุงมีประสบการณ์ในการเรียนรู้การทำางานที่มุ่งเน้นการ
พึง่ พาตนเองมาตั้งแต่ปี 2529 ด้วยกระบวนการที่ค่อยเป็นค่อยไปไม่ข้ามขั้นตอน รวม
ทั้งมีการถ่ายทอดประสบการณ์ในการทำางานจากรุนสู่ร่น ณ วันนี้ได้ผู้นำารุ่นที่ 4 มาเป็น
แกนหลัก มีเครือข่ายชุมชนบ้านจำารุงเป็นหลักในการประสานกับภาคีภายนอก มีการ
ปรับตัวมาโดยตลอดโดยเน้นกระบวนการเรียนรู้ของชุมชนเป็นหลัก เมื่อมีมีแนวทางการ
ทำางานจากภายนอกเข้ามาไม่ว่าจะเป็นทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน ภาคีความร่วมมือต่างๆ ทุก
เรื่องจะมีการไตร่ตรอง ด้วยการนำาเรื่องราวเข้ามาหารือในเวทีสภาหมู่บ้านเพื่อช่วยกัน
กำาหนดให้สอดคล้องกับชุมชน

การตัดสินใจและการดำาเนินกิจกรรมต่างๆจำาเป็นต้องอาศัยเงื่อนไข 2 ประการ
ได้แก่
1.เงื่อนไขความรู้ บ้านจำารุง ได้นำาภูมิปัญญาท้องถิ่น มาปรับใช้โดยมีความเชื่อ
มั่นในวิถีชุมชน ชุมชนบ้านจำารุงมีการปรับตัวมาโดยตลอด มีการจัดการความรู้ที่ใช้ใน
การดำาเนินชีวิต เชื่อมโยง วางแผนและการตัดสินใจโดยใช้ข้อมูล มาโดยตลอดตั้งแต่ปี
2543 มีการเก็บข้อมูลครัวเรือนและนำามาสังเคราะห์จนตกผลึก เกิดเป็นกิจกรรมต่างๆ
บ้านจำารุงมีการรองรับความรู้ ประสบการณ์ วิชาการจากหน่วยงานต่างๆ รวมไปถึง
แนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงจากองค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว มาตั้งแต่ปี 2529 จน
เกิดเป็นทักษะในชุมชน ความมีจิตอาสาของคนจำารุง ทำาให้องค์ความรู้เหล่านั้น ซึมซับ
อยู่กับคนจำารุง เป็นองค์ความรู้ที่ทรงคุณค่าสั่งสมอยู่ในชุมชน
2. เงื่อนไขคุณธรรม ผู้คนในบ้านจำารุงมีคุณธรรมเรื่องหนึ่ง คือ การเสียสละ
ซื่อสัตย์ เห็นแก่ประโยชน์ส่วนรวม เห็นได้จากร้ายค้าชุมชนมีผลประกอบการที่มีกำาไร
ทุกปี มีการบริหารจัดการโดยทุกคนเป็นเจ้าของร่วมกัน ถ้าทุกคนไม่มีคุณธรรมเรื่อง
ความซื่อสัตย์สุจริต กิจกการการค้าก็ไม่ประสบความสำาเร็จ
ภาคผนวก
การเปลี่ยนแปลง
ประมาณปี 2510 เริม่ มีการเปลี่ยนแปลงในทุ่งนาบ้านจำารุง นายหนุ่ม ดีนาน ซึ่ง
เป็นทั้งหมอแผนโบราณ และผู้นำาทางความคิด ได้ซื้อรถไถนาควายเหล็ก คันแรกเข้ามา
ในทุ่งนาบ้านจำารุง โดยให้เหตุผลว่ารถไถดูแลง่าย ไม่จุกจิก แค่เติมนำ้ามัน ก็สามารถ
ทำางานได้ทั้งวัน ไม่เหน็ดเหนื่อย ต่างจากวัว ควายที่ต้องหาหญ้า หานำ้าให้กิน ทำางานก็
ทำาได้เพียงครึ่งวันเช้า รถไถทำางานได้มากกว่า
เมื่อมีรถไถคันแรก คันที่สองก็ตามมา การนำา วัว ควาย ไปช่วยกันลงแขกไถนา
เริ่มหายไป ชาวบ้านเริ่มหันไปใช้บริการรถไถนาที่เข้ามารับจ้างมากขึ้น ควายตัวสุดท้าย
ได้ถูกขายในปี 2529 ในทุง่ นามีการเปลี่ยนแปลง บนเนินที่มีการทำาสวนผลไม้และสวน
ยางพารา ก็มีการเปลี่ยนแปลงเช่นกัน ป่ายางที่ชุ่มชื้นมีพืชผัก สมุนไพร กลับกลายเป็น
สวนยางที่ปลูกยางเพียงอย่างเดียว ห้ามปลูกอย่างอื่นปน โดยได้รับการสนับสนุนจาก
กองทุนสงเคราะห์การทำาสวนยาง
สวนผลไม้ดั้งเดิมที่มีลักษณะเป็นสวนผสม ปลูกหลายอย่าง ถูกมองว่าไม่ถูกต้อง
ตามหลักวิชาการ โบราณครำ่าครึ ต้องเป็นการปลูกแบบสมัยใหม่ คือปลูกแบบพืช
เชิงเดี่ยวถึงจะถูกต้อง สารเคมีเข้ามามีบทบาทในการประกอบอาชีพในชีวิตมากขึ้น
การศึกษาในอดีต ต้องเดินทางข้ามทุ่งนา เพื่อไปเรียนหนังสือที่วัดเนินฆ้อ ซึ่งอยู่
ห่างจากบ้านจำารุงไปทางทิศตะวันออก ประมาณ 4 กิโลเมตร
ต่อมาประมาณปี 2475 ได้มีการจัดตั้งโรงเรียนวัดจำารุง ขึ้นจากการอนุเคราะห์
ของพระครูเล็ก อินทโชโต เจ้าอาวาสวัดจำารุง ชาวบ้านจึงมีโอกาสในการการศึกษามาก
ขึ้น จนจบการศึกษาภาคบังคับ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 และชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 เป็นต้น
มา
ปี 2517 ไฟฟ้าเข้าหมู่บ้าน ทุกคนดีใจเห็นความเจริญของหมู่บ้าน ไฟฟ้าสว่างไสว
เครื่องใช้ไฟฟ้าตามเข้ามา โทรทัศน์ ตู้เย็น หม้อหุงข้าว ฯลฯ ทั้งเงินสด และผ่อน ขณะ
เดียวกัน ด้านการศึกษา ลูกหลานได้รับการส่งเสริมให้เรียนต่อมากขึ้น ด้วยความหวังว่า
จะได้เป็นเจ้าคนนายคน แรงงานในชุมชนเริ่มขาดแคลน เพราะลูกหลานที่ส่งไปเรียนไม่
สามารถที่จะทำางานในทุ่งนา ในสวนยาง และสวนผลไม้ได้
วัฒนธรรม ประเพณี ขาดการสืบทอด เริ่มหายไปทีละอย่างสองอย่าง ผู้คนใน
ชุมชนเริ่มต่างคน ต่างอยู่ การทำามาหากินเน้นเรื่องเงินเป็นหลัก การพึ่งพาช่วยเหลือกัน
แบบสมัยก่อน เหลือน้อยมาก
ปี 2529 ผู้ใหญ่เยือน ผลงาม ถูกขอร้องจากแกนนำาหมู่บ้าน นำาโดยครูแฉ่ง
ไกรทอง ครูใหญ่โรงเรียนวัดจำารุง ให้มารับหน้าที่เป็นผู้ใหญ่บ้าน เพื่อที่จะร่วมกันแก้
ปัญหา ผู้ใหญ่เยือน ผลงาม ตอบตกลง จึงเริ่มมีการพูดคุยถึงปัญหาต่าง ๆ เช่น การขาดงบ
ประมาณในการพัฒนาต่าง ๆ ประชาชนขาดการรวมตัวกัน ผู้คนต่างคนต่างอยู่ เห็น
ประโยชน์ส่วนตัวมากกว่าประโยชน์ส่วนรวม
ในช่วงนี้ทางราชการได้กำาหนดนโยบาย สุขภาพดีถ้วนหน้า กำาหนดให้ 4
กระทรวงหลัก ลงมาช่วยทำางานในพื้นที่ระดับหมู่บ้าน ทุกหมู่บ้านต้องผ่านเกณฑ์ที่
กำาหนด เช่น มีส้วมทุกหลังคาเรือน มีหอกระจายข่าว หรือเสียงตามสาย มีที่อ่าน
หนังสือพิมพ์ มีศูนย์สาธิตการตลาด ฯลฯ
มีเจ้าหน้าที่สาธารณสุขสถานีอนามัยบ้านจำารุง ชื่อ หมอบานเย็น ดีนาน ได้
ประสานงานและนำานโยบายดังกล่าวมาปฏิบตั ิ มีการเรียกประชุมชาวบ้าน ปรึกษาหารือกัน
จัดตั้งคณะทำางานและช่วยประสานงาน วางแผนว่าจะต้องจัดตั้งศูนย์สาธิตการตลาด (
ร้านค้าชุมชน) ขึน้ มาก่อน และผลักดันนโยบายอื่นตามไป โดยมีความต้องการที่จะนำาผล
กำาไรจากการขายสินค้า มาจัดตั้งเป็นกองทุนพัฒนาหมู่บ้าน เพราะมีฐานคน คือ อสม.
และกองทุนยาอยู่แล้ว
หมอบานเย็น ดีนาน ได้ประสานงานและพาคณะทำางานไปดูงานในหลายพื้นที่ที่
ประสบความสำาเร็จ และมีชื่อเสียง ในปี 2530 การระดมทุนจึงเริ่มขึ้น แกนนำาหมู่บ้าน
อสม.ได้ช่วยกันทำางาน โดยขอร้องให้ทุกครอบครัวซื้อหุ้นร้านค้าชุมชนครอบครัวละ 1
หุ้น เป็นอย่างน้อยและไม่เกิน 20 หุ้น (หุ้นละ 50 บาท) การระดมทุนครั้งแรกขายหุ้นได้
665 หุ้น เป็นเงิน 33,250 บาท ศูนย์สาธิตการตลาด (กิจกรรมร้านค้าชุมชน) จึงเริ่มขึ้นและ
เป็นกิจกรรมแรกของชุมชนที่ ทุกคนเป็นเจ้าของอย่างแท้จริง
การดำาเนินกิจกรรมร้านค้าชุมชน ได้เติบโตขึ้นทุกคนในชุมชนให้ความสนใจ
กิจกรรมร้านค้าชุมชน ผู้คนในชุมชนมีความรู้สึกเป็นเจ้าของร้านค้า มีงบพัฒนาชุมชน
ของตัวเองที่เรียกว่างบ “กองทุนพัฒนาบ้านจำารุง” ในช่วงตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา
ชุมชนได้ผ่านประสบการณ์การเรียนรู้มาพอสมควร มีความเข้มแข็ง รู้ว่าจะอะไรเหมาะ
กับชุมชน อะไรไม่เหมาะกับชุมชน มีการปรับการทำางานเพื่อให้สอดคล้องกับวิถีชีวิต
ความเป็นอยู่มาโดยตลอด จากศูนย์สาธิตการตลาดในช่วงเริ่มต้น เป็นกองทุนพัฒนา
หมู่บ้านในช่วงต่อมา
ต่อมาปี 2542 นายอุดม และนางกาญจนา คล่องใจ ได้บริจาคที่ดินจำานวน 1 ไร่
และบ้านสองชั้นอีก 1 หลัง ให้เป็นสมบัติสาธารณะของชุมชน จึงได้ดำาเนินการก่อสร้าง
อาคารหลังใหม่ โดยได้รับงบประมาณเบื้องต้นจากโครงการมิยาซาว่า และต่อมาได้รับ
งบสนับสนุน ต่อยอดจากโครงการจากกองทุนเพื่อสังคม (SIF) จากกองทุนพัฒนา
หมู่บ้าน จึงได้ปรับเปลี่ยนเป็นศูนย์การเรียนรู้ของชุมชนและผู้สูงอายุ
เมื่อความเจริญเข้ามาในหมู่บ้าน ทำาให้ชาวบ้านในชุมชนมีวิถีชีวิตเปลี่ยนแปลง
ไป

บ้านจำารุงวันนี้
บ้านจำารุง มีการจัดทำาแผนแม่บทชุมชนของหมู่บ้าน ทำาให้เกิดการ
เคลื่อนตัวของกิจกรรมในชุมชนหลากหลาย และได้รับการยอมรับว่า เป็นชุมชนที่มี
ความเข้มแข็ง ในแวดวงนักพัฒนา เป็นต้นแบบให้กบั ชุมชนอืน่ ๆ มีความพร้อมในด้านขอ
งบุคคลากร ทีม่ คี วามสามารถในหลาย ๆ ด้าน มีความเสียสละ มีคณ
ุ ภาพ เห็นแก่ประโยชน์
ส่วนรวม โดยวัดได้จากการที่ชมุ ชน มีกิจกรรมต่าง ๆ มากมาย ถึง 23 กิจกรรมหลัก มี
ผู้คนมาเยี่ยมชม ศึกษาดูงาน ดูกิจกรรมต่าง ๆ เพื่อนำาไปเป็นแนวทางในการดำาเนินงาน
ของกลุม่ องค์กรที่มาศึกษาดูงานตลอดทั้งปี ดังนี้
1. ศูนย์การเรียนรูข้ องชุมชนและผูส้ งู อายุ ซึง่ ถือเป็นสำานักงานของชุมชนบ้านจำารุง
เป็นทีร่ วมตัวดำาเนินกิจกรรมต่าง ๆ ของชุมชนมีอายุ 20 ปี ผ่านกระบวนการเรียนรูม้ าอย่าง
ยาวนาน ณ วันนี้ ต้องถือว่า “เป็นหัวใจของหมูบ่ า้ น” บ้านจำารุง มีจดุ เริม่ ต้นจากการทีแ่ กนนำา
ต้องการทีจ่ ะมีเงินไว้พฒั นาหมู่บ้าน โดยไม่ต้องอาศัยงบประมาณจากรัฐ จึงเกิดแนวคิดที่
จะทำากิจกรรมเพื่อหารายได้ มีการพูดคุย จึงได้ข้อสรุปว่า จะทำาร้านค้าชุมชนเพื่อที่จะให้
ชุมชนมีรายได้
2. ร้านค้าชุมชน เป็นกิจกรรมแรกของชุมชนที่ทุกคนเป็นเจ้าของอย่างแท้จริง
ในช่วงแรกใช้พื้นที่บ้านของนายณรงค์ กว้างขวาง กรรมการหมู่บ้านเป็นสถานที่ขาย
สินค้าและกิจกรรมต่างๆ โดยใช้ทุนของผู้ถือหุ้น 33,250 บาท ซื้อสินค้ามาวางจำาหน่ายใน
ร้านแล้วขายให้กับสมาชิก ช่วงเริ่มต้นกิจกรรมร้านค้าชุมชน(ศูนย์สาธิตการตลาด)ถือ
เป็นการเรียนรู้อย่างแท้จริง เพราะบ้านจำารุงเรามีความถนัดในเรื่องของการผลิตด้าน
การเกษตร ทำานา ทำาสวน ทำาไร่พอให้มาค้าขายกลับกลายเป็นเรื่องสับสนพอสมควร
หนึ่งปีแรก (ปี 2530-2531)เราใช้วิธีการให้ผู้ถือหุ้นผลัดเปลี่ยนหมุนเวียนมาขายสินค้าทุก
อย่างไปได้ด้วยดีร้านค้าชุมชนได้รับการตอบสนองจากสมาชิก ด้วยการมาซื้อสินค้าและ
ช่วยกันดูแล ปิดบัญชีงบดุลครั้งแรกในส่วนของร้านค้าชุมชนมีกำาไรกว่า 50000 บาท
สามารถแบ่งปันกำาไรให้ผู้ถือหุ้นและแบ่งกำาไร 30 เปอร์เซ็นต์ ให้ดำาเนินการจัดตั้ง
กองทุนพัฒนาหมู่บ้านจำารุง ตามที่ได้คุยกันไว้ในเบื้องต้นของการร่วมมือกันทำากิจกรรม
การทำางานพัฒนาด้านต่างๆ จึงประสบความสำาเร็จง่ายขึ้นเพราะมีเงินจากกองทุนพัฒนา
บ้านจำารุง ไว้ใช้จ่ายในการทำางานเบื้องต้น และที่สำาคัญคนในชุมชนเห็นประโยชน์ของ
การรวมตัวกันในสังคมชุมชน
พอเข้าปีที่ 2 (ปี 2531-2532) เริม่ จะสบปัญหา เพราะเมื่อถึงเวลาตัวแทนผู้
ถือหุ้นมาขายสินค้า ปรากฏว่าไม่มาขายทำาให้แกนนำาต้องขายแทน อย่างไรก็ตามก็ผ่าน
ไปได้อีกปี พอปิดงบบัญชีปีที่ 2 มีกำาไรทุกคนในชุมชนเริ่มเห็นความสำาคัญของการรวม
ตัวขึ้น และมีความรู้สึกเป็นเจ้าของร่วมกันมากขึ้น
ในปีที่ 3 (ปี 2532-2533) เราได้ย้ายจากบ้านนายณรงค์ กว้างขวางมา
ก่อสร้างอาคารใหม่ในที่ดินของนายสนิท-นางศรีนวล คล่องใจ โดยเจ้าของที่ดินอนุญาต
ให้ปลูกสร้างและดำาเนินกิจกรรมต่อไปโดยไม่คิดค่าตอบแทน มีการพัฒนาปรับปรุง
เปลี่ยนแปลงหลายอย่าง เช่น ในการขายสินค้าเราจ้างคนขาย 1 คนทุกอย่างดำาเนินไปได้
ด้วยดี หมอบานเย็น ดีนาน ได้ประสานงานกับสำานักงานสาธารณสุขจังหวัดระยองขอรับ
การมสนับสนุนเป็นเงินกู้ปลอดดอกเบี้ย 30,000 บาท มาเพิม่ ทุนให้กับร้านค้าชุมชน ทุก
คนในชุมชนให้ความสนใจกิจกรรมร้านค้าชุมชน ผู้คนในชุมชนมีความรู้สึกเป็นเจ้าของ
ร้านค้า มีงบพัฒนาชุมชนของตัวเองที่เรียกว่างบ “กองทุนพัฒนาบ้านจำารุง”
ในช่วงระหว่าง ปี 2533-2539 ได้เกิดกลุ่มกิจกรรมต่างๆ เกิดขึ้นตามมาอีก
หลายกิจกรรม ทั้งการสนับสนุนจากภาครัฐและกิจกรรมที่ชุมชนคิดขึ้นมาเอง ทุก
กิจกรรมจะมารวมตัวกันที่ร้านค้าชุมชน ซึ่งชาวบ้านเรียกกันว่า “กองทุนพัฒนาหมู่บ้าน”
เปิดทำาการวันที่ 30 กันยายน 2530

3. กองทุนพัฒนาหมู่บ้าน เป็นแหล่งทุนของชุมชนในการขับเคลื่อนงานต่าง ๆ
ขาดเหลือต้องอาศัยแหล่งทุนที่นี่ โดยมีจุดเริ่มต้นจากการที่เมื่อ 17 ปีที่แล้ว เวลาที่ชุมชน
ต้องการพัฒนาหมู่บ้าน ไม่มีงบประมาณ ต้องใช้วิธีเรี่ยไรเงินนำามาพัฒนา คณะกรรมการ
หมู่บ้านในขณะนั้น จึงคิดว่าต้องสร้างกองทุนพัฒนาขึ้นมาให้ได้ โดยใช้วิธีทำาร้านค้า
ชุมชนเพื่อให้ชุมชนมีรายได้
4. กลุ่มแม่บ้านการเกษตร เป็นกลุ่มที่ตั้งขึ้นตามแรงผลักดันของกรมส่งเสริม
การเกษตร ตัง้ ขึ้นเมื่อปี พ.ศ.2536 เนื่องจากชาวบ้านประสบปัญหาผลผลิตทางการเกษตร
ตกตำ่า กลุ่มสตรีในหมู่บ้านจึงรวมตัวกันหาวิธีเพิ่มมูลค่าผลผลิต ให้มรี าคาดีขึ้น และเก็บ
ผลผลิตไว้ได้นาน ได้รวบรวมสมาชิก จำานวน 20 คน ขอความร่วมมือจากเจ้าหน้าที่ส่ง
เสริม จัดหาวิทยากร มาอบรมการแปรรูปผลผลิตทางการเกษตร มีการฝึกทำาทุเรียนทอด
ทุเรียนกวน ฝึกอบรมการผสมแม่ปุ๋ยไว้ใช้ในสวนผลไม้ และสวนยางพารา และจำาหน่าย
ให้กับผู้ที่สนใจ ปัจจุบันมีสมาชิก 30 คน มีเงินทุน 80,000 บาท
5. ชมรมอินทโชติการุณย์ เริม่ เมื่อปี 2535 จากแกนนำาเยาวชน ประมาณ 10 คน
นำาโดย จ่าเอกอภิยศ บูรณะเรข ร่วมกันคิดว่าเยาวชนควรจะมีกิจกรรมของตัวเอง มีเวที
พบปะพูดคุยกัน จากแกนนำาเยาวชน ประมาณ 10 คน นำาโดย จ่าเอกอภิยศ บูรณะเรข
ร่วมกันคิดว่า เยาวชนควรจะมีกจิ กรรมของตัวเอง มีเวทีพบปะพูดคุยกัน ต่อมาเมือ่ รวมตัวกัน
แล้ว มีคนในชุมชนเห็นว่าตัวเองน่าจะมีกลุม่ สังกัดบ้าง จึงขยายตัวจากเยาวชน มาเป็นทุก
คนในชุมชนทีต่ อ้ งการมาร่วมเมือ่ มีคนมาร่วมมากขึน้ จึงเกิดกิจกรรมการบริการต่าง ๆ ตาม
มา เช่นการบริการในงานสาธารณะในชุมชน ในช่วงนีม้ กี ารพูดคุยกันว่าน่าจะมีการช่วยเหลือ
กันในรูปของ ฌาปนกิจสงเคราะห์สมาชิกด้วย เมื่อสมาชิกตายหรือพ่อแม่สมาชิกตาย
สมาชิกชมรมได้ออกมาช่วยกันบริการงานศพ เมื่อมีกิจกรรม ประเพณีอื่น ๆ ในชุมชน
ทางคณะกรรมการหมู่จึงได้มอบหมายให้สมาชิกชมรมมาช่วยกันทำางาน ปัจจุบันมี
สมาชิก 120 คน และมีเงินของชมรม 40,000 บาท
6. ชมรมเปตองอินทโชติอำาเภอแกลง
กีฬาเปตองเป็นกีฬาที่หน่วยงานทหาร (จ่าเอกอภิยศ บูรณเรข) นำาเข้ามาเล่นในหมูบ่ า้ น
โดยสอนวิธกี ารเล่นให้แก่ชาวบ้านประชาชนมีความสนใจในการเล่นกีฬาเปตองจึงนัดกันตัง้
เป็น ชมรมเปตองอินทโชติ ปี พ.ศ. 2538 ประชาชนส่วนใหญ่นยิ มจะมาเล่นกันทีศ่ นู ย์การ
เรียนรูข้ องชุมชนบ้านจำารุง โดยใช้สนามซึง่ อยูด่ า้ นข้างของศูนย์ ฯ เป็นทีท่ ำากิจกรรม มีจำานวน
ชาวบ้าน ทัง้ ผูส้ งู อายุ เยาวชน นักกีฬาวันละประมาณ 20-30 คน มาเล่นประลองมือทุกวัน และ
เมือ่ มีการพัฒนาฝีมอื ดีขนึ้ จึงได้จดั ส่งเข้าแข่งขันในทีต่ า่ ง ๆ
7. กลุม่ ผูใ้ ช้นำ้า เป็นกลุ่มที่ตั้งขึ้นตามปัญหาของหมู่บ้าน (ปี 2537) เนื่องจาก
หมูบ่ า้ นจำารุงเป็นหมูบ่ า้ นทีป่ ระกอบอาชีพเกษตรกรรมเป็นหลักปลูกผลไม้เป็นจำานวนมาก มัก
ประสบปัญหาการขาดแคลนนำ้ารดสวนผลไม้ กลุ่มชาวสวนผลไม้ จึงรวมตัวจัดตั้งเป็นก
ลุ่มผู้ใช้นำ้า เมื่อปี พ.ศ. 2537 โดยจัดตัง้ เพือ่ มาจัดระเบียบการใช้นำ้าของชาวสวน และ
ปรับปรุงแหล่งนำ้าในหมูบ่ า้ นไม่ให้ตนื้ เขิน การดำาเนินงานมีเจ้าหน้าที่พัฒนากรมาเป็นที่
ปรึกษาและสนับสนุนงบประมาณส่วนหนึ่งนำามาเป็นทุนในการดำาเนินงานสร้างอาชีพ
ให้กับสมาชิก
8. กลุ่มธนาคารขยะและสิ่งแวดล้อม จัดตั้งขึ้นเมื่อปี 2548 จากการที่กลุ่มผู้ใช้นำ้า
ซึ่งมีภาระหน้าที่ในการดูแลรักษาสภาพแวดล้อมในชุมชน ได้มีการหารือกันเวทีสภา
หมู่บ้าน และเสนอแนวทางการจัดการเรือ่ งขยะว่าควรมีการจัดตัง้ ธนาคารขยะเพือ่ รับผิดชอบ
เรือ่ งของขยะ ในชุมชน ทีป่ ระชุมเห็นดีดว้ ย จึงมอบหมายให้คณะทำางานกลุม่ ผูใ้ ช้นำ้าดำาเนิน
การ มีการระดมทุน เบือ้ งต้น ด้วยการขายหุน้ ให้กบั สมาชิกทีส่ นใจ โดยใช้ฐานคนของกลุม่ ผู้
ใช้นำ้า เมือ่ ปิดการขายหุน้ มีสมาชิก 91 ราย ได้เงินทุนเริม่ ต้น 9,100 บาท ทางเครือข่ายองค์กร
ชุมชนบ้านจำารุง สมทบอีก 30,000 บาท (โครงการพลิกฟื้นวิถีชุมชน ปี 47-48) ปัจจุบนั
เปิดซือ้ ทุกวันพุธ เวลา 13.00–16.00 น. มีคณะทำางานของกลุม่ ธนาคารขยะ โดย กลุ่มผู้ใช้นำ้า
เป็นพี่เลี้ยงในการทำางาน

9. กลุ่มที่พักชุมชน โฮมเสตย์ เกิดจาการที่กลุ่มผู้ใช้นำ้า ได้ขยายงานการสร้าง


อาชีพเสริมให้กับสมาชิกของกลุ่ม เพื่อต้องการให้บ้านสมาชิกมีความสะอาด สวยงาม
และเป็นสถานที่รองรับผู้ที่มาศึกษาดูงานที่บ้านจำารุง โดยเริ่มตั้งแต่ปี 2547 รวมกลุม่ กัน
เรียนรูเ้ รือ่ งของการบริหารจัดการกลุม่ การจัดทีพ่ กั จัดทำาป้ายประชาสัมพันธ์ ออกอากาศ
ทางวิทยุชุมชน เริ่มมีผู้สนใจและเข้ามาพัก และได้รับการสนับสนุนจากสถาบันพัฒนา
องค์กรชุมชน ในการพัฒนาคน และต่อยอดกิจกรรมในชุมชน ทำาให้ขบวนการทำางาน
เข้มแข็งขึ้นมาตามลำาดับ ทุกวันนี้มีผู้คนมาเรียนรู้ ศึกษาดูงานและพักในชุมชนอย่าง
ต่อเนื่อง
10. ชมรมผู้สูงอายุ ก่อตั้งเมื่อ วันที่ 5 เมษายน พ.ศ.2543 โดยความริเริ่มจากเจ้า
หน้าที่สถานีอนามัยบ้านจำารุง เปิดรับสมาชิกอายุตงั้ แต่ 50 ปีขนึ้ ไป มีกจิ กรรมต่าง ๆ ทีท่ ำาได้
แก่ ประชุมทุกวันที่ 5 ของเดือน ออกกำาลังกาย ตรวจสุขภาพเบื้องต้น วัดความดัน ชั่ง
นำ้าหนัก ผลิตข้าวซ้อมมือ และอบสมุนไพร กิจกรรมการอบสมุนไพรนี้ ได้ดำาเนินการ
โดยผู้สูงอายุ เก็บค่าบริการครัง้ ละ 10 บาท เปิดให้บริการในช่วงฤดูหนาวของทุกปี ดำาเนินการ
ทุกวัน เว้นวันพระ
กิจกรรม
- การทำาข้าวซ้อมมือ ชมรมผูส้ งู อายุได้รว่ มกันผลิตอุปกรณ์ตา่ ง ๆ ในการสและข้าว
ซ้อมมือด้วยตนเอง โดยขายให้กับสมาชิกและประชาชนในหมู่บ้าน
- มีการจัดตั้งชมรมฌาปณกิจสงเคราะห์ของผูส้ งู อายุ โดยสมาชิกจะเสียค่าสมัคร 50 บาท
และเก็บเงินคนละ 100 บาท กรณีที่สมาชิกเสียชีวิต ปัจจุบันมีสมาชิกทั้งสิ้น 75 คน มี
วงเงินในการดำาเนินงานประมาณ 50,000 บาท
11. กลุ่มพัฒนาอาชีพ ก่อตั้งเมื่อวันที่ 25 พฤษภาคม พ.ศ.2544 มีจำานวนสมาชิก
35 คน เป็นกลุ่มที่ตั้งขึ้นหลังจากได้งบประมาณจากกองทุนเพื่อสังคมจำานวน 150,000
บาท เพื่อนำามาสร้างอาชีพให้กบั สมาชิก มีการจัดหาวิทยากรมาอบรม ให้ความรูก้ บั สมาชิก
ในเรือ่ งการบรรจุหบี ห่อ การจัดหาตลาด การแปรรูปผลผลิตทางการเกษตร จัดหา
อุปกรณ์ในการทำากิจกรรมของกลุม่ เช่น ตูอ้ บอบแห้ง ตูอ้ บขนม เครือ่ งกวนทุเรียน
และเครื่องบรรจุหีบห่อ สำานักงานส่งเสริมการวิจยั ได้มาอบรมการทำาเงาะตากแห้ง และทำา
ขนมเค้กทุเรียน และทำาผงทุเรียนอบแห้ง ให้กับสมาชิก
12. กลุ่มเกษตรพืน้ บ้าน ก่อตัง้ ขึน้ เมือ่ วันที่ 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2545 มีสมาชิก 10 คน
เป็นกลุม่ ทีส่ นใจเรือ่ งเกษตรแบบผสมผสาน การทำาปุย๋ หมัก สกัดสารชีเพือ่ ไล่แมลง
ไว้ใช้ในกลุ่ม นำ้าหมักชีวภาพ และจำาหน่ายให้กับผู้สนใทำาแปลงสาธิตการปลูกผัก
ปลอดสารพิษ และได้เก็ผลผลิตปลอดสารขายให้กับร้านส้มตำาจำารุง ใครที่มากิน
ส้มตำาจำารุง ที่มีรสชาติที่อร่อยแล้ว ยังได้รับประทานพืชผักปลอดสารพิษอีกด้วย
13. กลุม่ เยาวชน ก่อตั้งเป็นทางการเมื่อวันที่ 25 กรกฎาคม พ.ศ.2543 กรรมการ
หมู่บ้าน ได้ของบประมาณ จากองค์การบริหารส่วนตำาบลเนินฆ้อ จำานวน 15,000 บาท
มาดำาเนินการจัดอบรมให้กับเยาวชนในหมู่บ้าน ให้รักหมู่บ้านห่างไกลยาเสพติด เยาวชน
จึงได้จัดตั้งกลุ่มเยาวชนขึ้น
14. กลุ่มกองทุนเงินล้าน (กทบ.) เป็นกลุม่ เงินทุนชุมชนทีไ่ ด้รบั งบประมาณ
สนับสนุนจากรัฐบาลเมือ่ ปี พ.ศ. 2544 เป็นกองทุนเพือ่ ให้สมาชิกกูย้ มื เงิน เพือ่ ไปประกอบ
อาชีพมีการ ประชุมประชาคมเพือ่ คัดเลือกคณะกรรมการเข้ามาดำาเนินงานและให้ชาวบ้านที่
สนใจเข้าร่วมสมัครสมาชิก มีจำานวนสมาชิก 150 คน มีการประชุมทุก 3 เดือน วงเงินกู้
ให้กู้ได้ครั้งละ ไม่เกิน 20,000 บาท ผ่อนชำาระเป็นรายเดือน อัตราดอกเบี้ยร้อยละ 6 ต่อปี
มีสัจจะออมทรัพย์แล้วกว่า 30,000 บาท
15. กลุม่ วิทยุชมุ ชน เป็นกลุม่ ทีจ่ ดั ตัง้ ขึน้ ใหม่ในหมูบ่ า้ น ตามนโยบายของกองทุนเพือ่
สังคม เพื่อต้องการให้ประชาชนที่มีความสนใจในการทำางานภาคสื่อ มีโอกาสได้ทำา
วิทยุของชุมชนเองจึงได้ดำาเนินการพัฒนาเสียงตามสายเดิม ปรับตัวมาเป็นคณะทำางานวิทยุ
ชุมชน มีจำานวนสมาชิกเริม่ ต้น 15 คน ได้เข้ารับการอบรม เข้าร่วมเวทีของการเรียนรู้
ปัจจุบนั ออกอากาศทุกวัน ๆ ละ 3 ชัว่ โมง ตัง้ แต่เวลา 12.00 น. ถึงเวลา 15.00 น. ครอบคลุม
พื้นที่ประมาณ 10 ตำาบล ออกอากาศในระบบ FM ความถี่ 103.75 MHz มีรัศมี 15
กิโลเมตร มีการอบรมชาวบ้านที่สนใจ มาผลิตรายการวิทยุ และอบรมช่างเทคนิคให้
สามารถดูแลรักษาเครื่องส่งได้ กลุ่มวิทยุชุมชนจะทำาหน้าที่บริหารจัดการ การผลิต
รายการ และชักชวนคนมาผลิตรายการ มีผผู้ ลิตรายการถึงทุกวันนีก้ ว่า 100 คน มีรายการที่
ออกอากาศไปแล้วและกำาลังออกอากาศมากกว่า 100 รายการ
16. กลุ่ มอาสาสมั ครสาธารณสุ ขประจำา หมู่ บ้ าน ได้มกี ารจัดตัง้ ขึน้ ตามนโยบาย
กระทรวงสาธารณสุข มีการคัดเลือก อสม. ครัง้ แรกเมือ่ ปี พ.ศ. 2522 มีสมาชิกจำานวน 15 คน
เป็นกลุม่ ทีค่ วามเข้มแข็งในระดับต้น ๆ ของหมู่บ้าน อสม. มีหน้าที่ดูแลสุขภาพของ
ประชาชน เป็นผู้ช่วยหมอ เป็นผู้รณรงค์กิจกรรมสาธารณสุขด้านต่าง ๆ ร่วมประชุม
แก้ไขปัญหาหมู่บ้าน ปัจจุบนั มีศนู ย์สาธารณสุขมูลฐานชุมชน เป็นทีท่ ำาการ อสม. (อยู่
ภายในอาคารศูนย์การเรียนรู้) เปิดให้บริการทุกวันศุกร์ เวลา 13.00 น.-16.00 น. โดย
อสม.จะมาปฏิบัติงานครั้งละ 3 คน ผลัดเปลี่ยนกันมาปฏิบัติงาน
17. กลุ่มรักษ์วัฒนธรรมท้องถิ่น เป็นกลุม่ ทีม่ อี ยูด่ งั้ เดิมในชุมชนมากว่า 50 ปี แต่ไม่ได้
มีการจัดตัง้ เป็นระบบ ได้แต่มกี ารรวมตัวกันตามสภาพของการทำากิจกรรม ต่อมาเมือ่ มีวทิ ยุ
ชุมชนเกิดขึน้ จึงมีการนำาเรือ่ งราวของ ศิลปะท้องถิน่ ศิลปินพืน้ บ้าน ออกมาพูดคุยผ่านรายการ
วิทยุชมุ ชน จึงเกิดแนวคิดกันว่าน่าจะทำาให้เป็นระบบ โดยเริ่มจากการรวมตัวของ
กิจกรรมกลองยาว เครื่องสาย หมอทำาขวัญ เพลงท้องถิ่น ในปี2547 ทางกลุม่ ได้ประสาน
กับโรงเรียนวัดจำารุง เพือ่ ทีจ่ ะนำาเรือ่ งราวของกลุม่ เข้าถ่ายทอดให้กับเด็กนักเรียน
18. กลุ่มสตรีอาสาพัฒนาบ้านจำารุง จัดขึ้นตามนโยบายกรมการพัฒนาชุมชน ที่
ต้องการให้สตรีในชุมชน ได้ใช้เวลาว่างจากอาชีพหลักของครอบครัว มารวมตัวกัน
ประกอบอาชีพเสริม และมีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็นในชุมชน ร่วมกันพัฒนา
ชุมชนและพัฒนาศักยภาพของสตรีเองให้มีความรู้ ความสามารถในการที่จะแก้ไขปัญหา
ของชุมชนร่วมกันกับแกนนำาชุมชน มีสมาชิกจำานวน 70 คน ทำากิจกรรมนำ้าปลา กะปิ
นำ้ายาล้างจาน นำ้ายาซักผ้า
19. กองทุนสวัสดิการบ้านจำารุง เป็นกลุ่มที่ตั้งขึ้นใหม่ในปี 2548 เนื่องจากที่
ประชุมสภาหมู่บ้านมีความเห็นว่า ควรจะจัดเงินในชุมชน มาช่วยสมาชิกในชุมชน เป็น
ช่วงเวลาที่เครือข่ายองค์กรชุมชนบ้านจำารุง ได้ทำางานร่วมกับสถาบันพัฒนาองค์กร
ชุมชน จึงมีการนำาแนวคิดการทำางานเรื่องสวัสดิการชุมชนมาสู่ชุมชน เบื้องต้นได้นำาเงิน
จากกองทุนเงินล้าน 10,000 บาท มาจัดตั้งกองทุนสวัสดิการบ้านจำารุง และเปิดรับ
สมาชิกในชุมชน โดยให้สมาชิกสมทบปีละ 360 บาท กองทุนจะดูแลรับผิดชอบ 12
เรื่องที่รัฐดูแลไม่ทั่วถึง ซึ่งกำาลังอยู่ในช่วงของการเรียนรู้การพัฒนาเพื่อให้สอดคล้องกับ
วิถีชุมชน
20. กลุ่มชาวนา การทำานาของชุมชนบ้านจำารุง ได้ห่างหายไปจากชุมชนเรื่อยมา
จึงมีแนวคิดในการที่จะฟื้นฟูเรื่องของการทำานาปลอดสาร เรื่องของการผลิตข้าว ให้
สอดคล้องกับความต้องการของโรงสีชมุ ชนของกลุม่ ผูส้ งู อายุ การฟืน้ ฟูวฒ ั นธรรมวิถี
ชาวนา ให้เยาวชนรุ่นหลังได้รู้ในเรื่องของการทำานา ประวัติศาสตร์การทำานา ของ
ชุมชนบ้านจำารุง จึงมีการหารือกันในสภาหมู่บ้าน และได้ประสานงานกับสถาบัน
พัฒนาองค์กรชุมชนในการฟื้นฟูวิถีชาวนา เพื่อรวมกลุ่มกันในการดำาเนินงานให้เป็นไป
ตามวิถีชุมชน
21. กลุ่มธนาคารชุมชนบ้านจำารุง เกิดจากการที่กลุ่มสัจจะออมทรัพย์ผู้ใช้นำ้า มี
การออมทรัพย์กันมาอย่างต่อเนื่องทุกเดือน จนสมาชิกรับรู้ร่วมกันว่า ทุกวันที่ 1 ของ
เดือน ทุกคนจะมาออมเงิน โดยมีเวลา 1 ชัว่ โมง จนมีคำาขวัญของกลุ่มว่า “หนึ่งเดือน
หนึ่งวัน หนึ่งชั่วโมง” จึงมีการหารือกันในสภาหมู่บ้านว่าควรจะพัฒนาเป็นธนาคาร
ชุมชน และให้เครือข่ายองค์กรชุมชนบ้านจำารุง เป็นผู้ประสานงานในการนำาความรู้สู่
การดำาเนินงานธนาคารชุมชน โดยมีเป้าหมายไว้ในปี 2549 คงเปิดดำาเนินการได้ ซึง่ ขณะนี้
กลุ่มผู้ใช้นำ้าได้อนุมัติในหลักการไปแล้ว แต่งตั้งนายบรรจบ ตั้งมั่น เป็นผู้รับผิดชอบ
การทำางาน สถานที่และอุปกรณ์เครือข่ายได้ดำาเนินการให้ไปแล้ว คงจะเปิดดำาเนินการ
อย่างเต็มรูปแบบประมาณปลายปี 2549
22. กลุม่ แปรรูปผลผลิต เป็นการแปรรูปผลผลิตการเกษตรต่าง ๆ ในชุมชน ต่างคน
ต่างทำา - ต่างคนต่างขาย จึงคิดกันว่าควรจะรวมตัวกันในการดำาเนินกิจกรรมเป็นกลุ่ม
เพื่อให้มีมาตรฐานในการผลิต มีการเรียนรู้ซึ่งกันและกัน ส่วนสินค้าที่ผลิตเครือข่ายจะ
ช่วยหาตลาดให้ ปัจจุบนั สินค้าได้วางขายทีร่ า้ นส้มตำาจำารุง สามารถทำารายได้ให้สมาชิกได้
เป็นอย่างดี เมื่อมีผู้มาศึกษาดูงานที่ศูนย์การเรียนรู้บ้านจำารุง สมาชิกจะนำาสินค้ามาขาย
สร้างรายได้เข้าชุมชน

23. เครือข่ายองค์กรชุมชนบ้านจำารุง เป็นองค์กรของชุมชนบ้านจำารุง ทำาหน้าที่


เชื่อมประสานงานกับ กลุ่มองค์กร ภาคีพัฒนา ทั้งภาครัฐ ท้องที่ ท้องถิ่น เอกชน และ
ตัวแทนกลุ่มกิจกรรมต่าง ๆ ในชุมชนจะมาเจอกันทุกสิ้นเดือน เพื่อสรุปการทำางานร่วม
กัน ปัจจุบันชุมชนบ้านจำารุง กำาลังพัฒนาในเรื่องของการเป็นศูนย์ข้อมูลชุมชนท้องถิ่น
ร่วมกับมหาวิทยาลัยชีวิตจัดตั้งมหาวิทยาลัยบ้านนอกเพื่อการเรียนรู้ ของสังคม ณ ที่ศูนย์
การเรียนรู้บ้านจำารุง
24.กลุ่มรวมซื้อรวมขายยางพารา เป็นกลุ่มกิจกรรมที่เกิดขึ้นจากการพูดคุยผ่าน
เวทีสภาหมู่บ้าน โดยมีแนวคิดว่าพวกเราประกอบอาชีพทำาสวนยางพาราแต่ไม่สามารถ
ต่อรองหรือกำาหนดราคายางพาราที่เป็นธรรมได้ ถูกเอารัดเอาเปรียบเรื่องเครื่องชั่งที่ไม่
ได้มาตรฐาน ปี 2548 ได้รับการส่งเสริมจากสถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (องค์การ
มหาชน) ต่อมามีการรวมตัวขึ้นเป็นกลุ่มรวมซื้อรวมขายยางพารา โดยใช้ทุนเบื้องต้น
จากการส่งเสริมของสถาบันพัฒนาองค์กรชุมชนและการระดมทุนกันเองในชุมชนเปิด
กิจการโดยมีทุกคนมีเจ้าของอย่างแท้จริง ปัจจุบันมีสมาชิก 199 คนทั้งที่เป็นชาวสวน
ยางพาราและไม่เป็นชาวสวนยางพาราช่วยกันบริหารจัดการกลุ่ม มีคณะทำางานจากการ
เลือกของสมาชิก มีทุนดำาเนินการหมุนเวียนต่อวัน 400, 000 บาท เกิดประโยชน์ทั้ง
ทางตรงทั้งทางอ้อมต่อสมาชิกทั้งตำาบล 3 ตำาบล

You might also like