You are on page 1of 2

โรคผิวหนัง

โรคที่เกิดกับผิวหนัง มีสาเหตุต่างๆมากมายหลายประการ อาจเกิดจากการติดเชื้อ หรือไม่มีการติดเชื้อ


ก็ได้ โรคผิวหนังบางชนิดมีรอยโรคที่ผิวหนังคล้ายคลึงกันทั้งๆที่มีสาเหตุแตกต่างกัน และในทางตรงกันข้ามรอย
โรคที่ไม่เหมือนกันอาจจะมีสาเหตุของโรคเหมือนกันก็ได้
นอกจากนี้ โรคผิวหนังที่พบในสัตว์อาจเกิดจากสาเหตุใดสาเหตุหนึ่งเพียงอย่างเดียวหรือมีหลายๆ
สาเหตุร่วมกันก็ได้ โรคผิวหนังอาจจำาแนกได้ตามสาเหตุของโรคดังต่อไปนี้
1.โรคผิ วหนังที่ มี ส าเหตุ จ ากปรสิ ต เช่น โรคผิว หนั งที่ เ กิ ด จากเชื้อ ดี โ มเดกซ์ (Demodex) ขี้เรื้ อ นซาร์ ค อพติ ค
(Sarcoptes) Otodectes เห็ บ หมัด เหา รวมถึงพยาธิ โปรโตซัว และแมลงหลายชนิ ด ปรสิ ต เหล่านี้ ทำา ให้ เกิ ดโรค
ผิวหนังได้โดยตรง บางตัวทำาให้เกิดอาการแพ้ที่ผิวหนังร่วมด้วย
2.โรคผิวหนังที่เกิดจากแบคทีเรีย เช่น Staphylococcus intemedius ซึ่งมีลักษณะคล้าย Staphylococcus aureus
ทำาให้เกิดรอยโรคที่ชั้นต่างๆของผิวหนัง
3.โรคผิวหนังที่เกิดจากเชื้อรา มีเชื้อราอยู่ 3 ชนิดที่พบว่ากว่า 95% เป็นสาเหตุของโรคผิวหนัง คือ Microsporum
canis, Microsporum gypseum และ Trichophyton mentagrophytes ส่วน Malassezia patchydermatis จัดเป็นยีสต์ ที่มี
คุณสมบัติหลายอย่างคล้ายเชื้อราและก่อให้เกิดโรคที่ผิวหนังได้เช่นกัน
4.โรคผิวหนังที่เกิดจากการแพ้ แบบต่างๆ ความผิดปกติที่เกิดจากการแพ้มีหลายแบบ คือ โดยการสัมผัส
(Allergic contact dermatitis) โดยการสู ด ดมเข้ า ทางการหายใจ (Inhalant allergy) แพ้ อ าหารบางชนิ ด (Adverse
reaction to food) และเกิดจากการแพ้ยา (Drug eruption)
5.โรคผิวหนังเนื่องจากระบบภูมิคุ้มกันผันแปร ถ้าสภาพภูมิคุ้มกันร่างกายมีความผิดปกติ อาจทำาให้ผิวหนัง
แสดงอาการผิ ด ปกติ พบได้ ห ลายแบบ เช่ น Lupus erythematous, Pemphigus foliaceus, Pemphigus vulgaris,
Alopecia areata และ Discoid lupus erythematosus
6.โรคผิวหนังที่เนื่องจากระบบฮอร์โมน การที่ร่างกายมีฮอร์โมนบางชนิดมากเกินไปอาจทำา ให้เกิดความผิด
ปกติ ที่ ผิ ว หนั ง พบได้ ใ นกรณี ต่ อ ไปนี้ คื อ Hypothyroidism, Hyperadrenocorticism, Growth hormone responsive
dermatosis และ Sex hormone disease แบบต่างๆ
7.โรคผิวหนังเนื่องจากการขาดธาตุอาหาร สภาพการให้อาหารที่ไม่เหมาะสม ร่างกายขาดธาตุอาหารบาง
อย่างอาจทำาให้ผิวหนังผิดปกติได้ พบได้หลายแบบ เช่น การขาดโปรตีน การขาดกรดไขมัน การขาดวิตามินเอ
การขาดวิตามินอี และ การขาดธาตุสังกะสี เป็นต้น
8.โรคผิวหนังเนื่องจากพันธุกรรม สุนัขบางพันธุ์อาจมีความบกพร่องทางพันธุกรรม โดยมีความต้านทานน้อย
ต่อการเกิดโรคผิวหนัง กล่าวคือ เป็นโรคได้ง่ายและรักษายากหรือมักเกิดความผิดปกติที่ผิวหนังง่ายกว่าสุนัขสาย
พันธุ์อื่น สุนัขพันธุ์ขนสั้นหลายชนิดมีความต้านทานต่อการโรคผิวหนังตำ่าและรักษาได้ยาก
9.โรคเนื้องอกที่ผิวหนัง โดยเนื้องอกอาจเป็นแบบที่ร้ายแรงหรือแบบร้ายแรงแพร่กระจายเร็ว เนื้องอกที่ผิวหนังมี
มากายหลายชนิด เช่น Lipoma, Liposarcoma, Lymphosarcoma, Mammary tumor, Mast cell tumor, Basal cell tumor,
Papillomatosis และ Transmissible venereal tumor
10.โรคผิ ว หนั ง จากสาเหตุ อื่ น นอกจากที่ ก ล่ า วมาแล้ ว เช่ น Acral lick dermatitis, Keratinization disorder และ
Metabolic dermatitis เป็นต้น
รอยโรคที่ผิวหนัง
รอยโรคเริ่มแรก
1. Macule หมายถึ ง ผิ ว หนั ง ที่ มี สี เ ปลี่ ย นไป อาจมี ลั ก ษณะเป็ น Hypopigmentation, Hyperpigmentation,
Depigmention หรือ Erythema ผิวเรียบ มีขอบเขตชัดเจน ขนาดตำ่า กว่า 1 เซนติเมตร แต่ถ้ามีขนาดเกิน 1
เซนติเมตร เรียกว่า Patch อาจเกิดจากความผิดปกติของฮอร์โมน นอกจากนี้อาจพบในสุนัขอายุน้อยหลายพันธุ์
และจะเปลี่ยนเป็นสีปกติเมื่อโตเต็มไว แต่ก็อาจปรากฏกลับขึ้นอีกเมื่ออายุมากขึ้น หรืออาจเกิดจากโรคขาดเม็ดสี
เป็นต้น
2. Papule หมายถึง ผิวหนังที่มีลักษณะเป็นตุ่มแข็งนูนกลม ออกมาทางด้านนอกของผิวหนัง มีขนาดตำ่ากว่า 1
เซนติเมตร แต่ถา้ มีขนาดเกิน 1 เซนติเมตร เรียกว่า Plaque มักเกิดขึ้นเนื่องจากมีเซลล์อักเสบมาแทรก หรือมีการ
บวมนำ้าหรือเกิด hypertrophy ที่ชั้นหรือใต้ชั้น Epidermis มักพบในโรคผิวหนังเนื่องจากปรสิต หรือโรคที่เกี่ยวกับ
การแพ้แบบต่าง แต่ถ้าตุ่มนี้มีส่วนลงลึกไปยังใต้ผิวหนัง เรียกว่า Nodule
3. Vesicle หมายถึง ผิวหนังที่มีลักษณะนูนกลมเกิดที่ชั้นหรือใต้ชั้น Epidermis มีขนาดตำ่า กว่า 1 เซนติเมตร
ภายในมีนำ้าใส (Serous fluid) แต่ถ้ามีขนาดเกิน 1 เซนติเมตร เรียกว่า Bulla Vesicle นั้นมักไม่ปรากฏให้เห็นอยู่
นาน จะแตกและแปรสภาพค่อนข้างเร็ว สาเหตุมักเกิดจากการระคายเคือง, ปัญหา autoimmune และโรคไวรัส
4. Wheal คล้าย Papule แต่ภายในมีลักษณะอุ้มนำ้า มีขอบคม มักเกิดจากปัญหาการแพ้แบบต่างๆ เช่น แมลง
กัดต่อย แพ้ยา แพ้อาหาร และการระคายเคือง
5. Pustule คล้าย Vesicle แต่ภายในบรรจุด้วยหนอง มักเกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรีย หรือโรคผิวหนังเนื่องจาก
autoimmune หรือติดเชื้อรา
รอยโรคที่มีการเปลี่ยนแปลงไปแล้ว
1. Scale หมายถึง เซลล์ชั้นนอกของผิวหนังที่ตายแล้ว พบปกคลุมผิวหนัง อาจพบลักษณะแห้งหรือชุ่มไขมัน
เกิดจากความผิดปกติในการสร้างเคอราติน ส่วน Crust เป็นสารที่ถูกขับออกมาสะสมบริเวณผิวหนัง อาจเป็น
พวกหนอง ซีรั่ม เลือด รวมทั้ง scale
2. Excoriation หมายถึง รอยถลอกตื้นๆที่ผิวหนัง ที่มักเกิดจากการกระทบกระแทก ถ้ารอยถลอกเป็นร่องลึก
เรียกว่า Fissure
3. Ulcer หมายถึง แผลหลุมที่ลงลึกไปถึงชั้น Dermis ขนาดและรูปร่างไม่แน่นอน ส่วน Scar หมายถึง การเกิด
Connective tissue เข้าแทนที่แผลส่วนที่เนื้อเยื่อที่มีการเสียหาย
4. Lichenification หมายถึง การที่ผิวหนังมีการหนาตัวขึ้น และมีเซลล์ที่ตายแล้วของชั้น Epidermis มักมีสีเข้ม
มากกว่าปกติ มักเกิดจากการอักเสบเรื้อรัง มีการเกาอย่างต่อเนื่อง และในโรคที่มีการแพ้นำ้าลายหมัด
5. Hyperkeratosis หมายถึง การที่ผิวหนังมีการหนาตัวขึ้นในชั้น Stratum corneum สามารถพบได้ตามส่วน
ต่างๆของร่างกาย เช่น การขาดแร่ธาตุสังกะสี
6. Comedo หมายถึงการขยายตัวของ ตุ่มขน (Hair follicle) เนื่องจากมีการสะสมของ Cornified cells และ ไข
มัน

You might also like