You are on page 1of 184

กรณีธรรมกาย

พระธรรมปฎก
(ป. อ. ปยุตฺโต)

เอกสารเพือ่ พระธรรมวินัย
กุมภาพันธ 2542
กรณีธรรมกาย
© พระธรรมปฎก (ป. อ. ปยุตฺโต)
ISBN 974-8338-93-2

พิมพครั้งที่ 1 กุมภาพันธ 2542 500 เลม


- เอกสารเพื่อพระธรรมวินัย 500 เลม

พิมพที่
สารบัญ
กรณีธรรมกาย.............................................................1
ตนเรื่อง ............................................................................................ 1
กรณีธรรมกาย ถึงขั้นจวงจาบพระธรรมวินัย..................................................1
ประพฤติวิปริตจากพระธรรมวินัย ก็ราย
แตทําพระธรรมวินัยใหวิปริต รายยิ่งกวา...................................................4
ไมควรยอมเสียพระศาสนา เพื่อรักษาตัวของตน............................................5
จับประเด็นใหชัด
วางทาทีปฏิบัติใหตรงตามตนเรื่อง.............................................................7
ปญหาของวัดพระธรรมกาย
สวนที่กระทบตอพระธรรมวินัย ..............................................................10
รูจักพระไตรปฎก ............................................................................ 13
พระพุทธศาสนาไมใชปรัชญา ......................................................................13
พระไตรปฎก คือที่สถิตของพระศาสดา .......................................................14
พระไตรปฎกสําคัญตอพระพุทธศาสนา
ยิ่งกวาที่รัฐธรรมนูญสําคัญตอประเทศชาติ..............................................16
พระไตรปฎกบาลีที่คนไทยนับถือ
คือฉบับเดิมแท เกาแก และสมบูรณที่สุด................................................18
เพราะไมรักษาคําสอนเดิมของพระพุทธเจาไว
มหายานจึงตางกันเองหางไกล ยิ่งกวาตางจากเถรวาทอยางไทย................23
ถาตีรวนพระไตรปฎกได ก็ถอนรากพระสงฆไทยสําเร็จ ................................28
เมื่อชาวพุทธยังนับถือพระไตรปฎก
ก็ยังเคารพพระพุทธเจา และมีพระศาสดาองคเดียวกัน ............................31
ถาหลักคําสอนยังมีมาตรฐานรักษา
พระพุทธศาสนาก็อยูไปไดถึงลูกหลาน ....................................................34
เพราะยังมีพระไตรปฎกเถรวาทไวเปนมาตรฐาน
พระมหายานจึงมีโอกาสยอนกลับมาหาพุทธพจนที่แท .............................37
สิ่งควรทําที่แท คือ
เรงชวนกันหันมายกเอาพระไตรปฎกของเราขึ้นศึกษา ..............................41
นิพพานเปนอนัตตา........................................................................ 46
นิพพาน ไมใชปญหาอภิปรัชญา...................................................................46
แหลงความรูที่ชดั เจนมีอยู ก็ไมเอา
กลับไปหาทางเดารวมกับพวกที่ยังสับสน.................................................51
พระพุทธเจาตรัสไวแนนอนเด็ดขาด
วาลัทธิถืออัตตา ไมใชคําสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจา ...........................55
พระไตรปฎกและอรรถกถาระบุวา นิพพานเปนอนัตตา ................................57
การหาทางตีความ ใหนิพพานเปนอัตตา.......................................................64
การใชตรรกะที่ผิด เพื่อใหคิดวานิพพานเปนอัตตา .......................................71
การจับคําความที่ผิดมาอางเปนหลักฐาน
เพื่อใหนิพพานเปนอัตตา ........................................................................73
เมื่อจํานนดวยหลักฐาน ก็หาทางทําใหสับสน................................................75
เมื่อหลักฐานก็ไมมี ตีความก็ไมได
ก็หันไปอางผลจากการปฏิบัติ..................................................................78
เพราะไมเห็นแกพระธรรมวินัย
จึงตองหาทางดิ้นรนเพื่อหนีใหพนสัจจะ...................................................80
พระพุทธศาสนา คือศาสนาของพระพุทธเจา
ตองหาคําสอนของพระองคมาเปนมาตรฐานใหได ....................................82
จะรักษาพระพุทธศาสนาได
พุทธบริษัทตองมีคุณสมบัติที่นาไววางใจ.................................................85
ความชื่อตรงตอหลักพระศาสนา และมีเมตตาตอประชาชน
คือหัวใจของการรักษาระบบไตรสิกขาไวใหแกประชาสังคม......................88
ธรรมกาย เรื่องสูงที่ไมใหญ ............................................................. 91
ธรรมกายแบบไหน
ก็มีความหมายชัดเจนของแบบนั้น ..........................................................91
ธรรมกายเดิมแทในพุทธกาล.......................................................................95
บํารุงเลี้ยงบริหารรางกายไว รูปกายก็เจริญงอกงาม
หมั่นบําเพ็ญศีลสมาธิปญญา ธรรมกายก็เติบโตขึ้นมาเอง.......................101
จะมองดูรูปกาย ก็อาศัยเพียงตาเนื้อ
แตตองมีตาปญญา จึงจะมองเห็นธรรมกาย ..........................................105
จะเอาธรรมกายของพระพุทธเจา หรือธรรมกายแบบไหน
ก็มีเสรีภาพเลือกได แตขอใหบอกไปตามตรง........................................109
อายตนนิพพาน คือดับอายตนะ .................................................... 112
“อัตตา” ไมมีโดยปรมัตถ เปนเรื่องที่ชัดเจนไปแลว .....................................112
“อายตนนิพพาน” ไมมีโดยบาลีนิยม
ก็ชัดเจนเชนกัน ....................................................................................115
อายตนนิพพาน ไมมี แตแปลใหดีก็ไดความหมาย นิพพา
นายตนะ ถึงจะใชเปนศัพทได แตไมใหความหมายที่ดี ..........................119
อายตนนิพพานแท ที่นี่ เดี๋ยวนี้..................................................................121
ใจหมดโลภโกรธหลง สวางโลงสดใส เมื่อไร
ก็ไดเห็นนิพพานของพระพุทธเจา เมื่อนั้นทันที ......................................123
เรื่องเบ็ดเตล็ด ............................................................................... 127
เรื่องเบ็ดเตล็ดที่ ๑ พระไตรปฎกบาลีอักษรโรมันของสมาคมบาลีปกรณ
ประเทศอังกฤษ เปนฉบับสากล? ..........................................................127
สมาคมบาลีปกรณพิมพพระไตรปฎกอักษรโรมันได
ก็เพราะมีพระไตรปฎกของพวกเราใหเขาคัดลอก...................................127
ถึงแมมีความเพียร แตเพราะขาดกําลังและประสบการณ
พระไตรปฎกอักษรโรมัน จึงลักลั่นไมเปนระบบ.....................................130
พระไตรปฎกบาลีฉบับสากลโดยรูปแบบ ยังไมมี
แตโดยเนื้อหา พระไตรปฎกบาลีเปนสากลตลอดมา...............................132
หันจากพระไตรปฎกแปลของ Pali Text Society
ชาวตะวันตกที่ศกึ ษาพุทธศาสนา เหออกมาสูทางเลือกอื่น ......................136
เรื่องเบ็ดเตล็ดที่ ๒ ทัศนะของนักวิชาการตะวันตก เกี่ยวกับเรื่องอัตตา
และเรื่องนิพพาน เปนอัตตา หรือเปนอนัตตา ........................................139
นักปราชญชาวตะวันตกก็นายกยองอยู
แตตองรูจักเขาใหพอดีกับที่เขาเปนจริง .................................................139
ปราชญพุทธศาสนาตะวันตกรุนเกา ยังเขาใจสับสน
ระหวางพุทธธรรม กับความคิดเดิมในวัฒนธรรมของตน.......................141
รูถึงตามทันวาคนนอกเขาคิดเขาใจไปแคไหน
แตไมใชรอใหเขามาวินิจฉัยหลักการของเรา...........................................145
พอชาวตะวันตกมาบวชเปนพระฝรั่ง
ความรูพทุ ธธรรมก็เริ่มเขาสูทางที่ถูกตอง...............................................146
นาอนุโมทนาที่แมจะชาสักหนอย
แตในที่สุดปราชญตะวันตกก็ตามจับหลักพุทธได ..................................149
บทสงทาย ..................................................................................... 155

ภาคผนวก: เอกสารของวัดพระธรรมกาย............................... 163


กรณีธรรมกาย
ตนเรื่อง

กรณีธรรมกาย ถึงขั้นจวงจาบพระธรรมวินัย
เมื่อ 9 วันที่ผานมานี้ คือวันที่ 11 มกราคม 2542 ไดมีผสื่อขาว
จากสื่อมวลชนตาง ๆ มาถามปญหาเกี่ยวกับเรื่องวัดพระธรรมกาย
และมีผสื่อขาวคนหนึ่งไดถวายหนังสือ ชื่อวา “เจาะลึกวัดพระธรรม-
กาย ขอ มูลที่ไมเคยเปดเผยที่ใดมากอน ลับสุดยอด” ตอมาไดเปด
อานดูบางบางสวน และในตอนที่วาดวยคําถามคําตอบที่นาสนใจ
เมื่อพลิกดูผานๆ ไปจนจบ ปรากฏวา 2 ขอสุดทายเปนคําถาม
เกี่ยวกับเรื่องนิพพานเปนอัตตาหรืออนัตตา และเรื่องธรรมกาย ใน
ขอเกี่ยวกับนิพพานนั้นตั้งเปนคําถามวา
“มีการถกเถียงกันวา นิพพานเปนอัตตาหรืออนัตตา ไม
ทราบจริง ๆ เปนอยางไร?”
และขอสุดทายวา
“ธรรมกาย มีในพระไตรปฎกหรือไม?”
สองขอนี้เปนเรื่องที่เกี่ยวกับหลักการ หรือหลักธรรมสําคัญของ
พระพุทธศาสนา โดยเฉพาะขอที่วาดวยเรื่อง นิพพานเปนอัตตา หรือ
อนัตตา เมื่ออานดูลักษณะการเขียนคําตอบเปนไปในเชิงที่จะทําให
2 กรณีธรรมกาย

ผอานเกิดความเขาใจไปวา หลักการสําคัญของพระพุทธศาสนา
โดยเฉพาะเรื่องนิพพานนั้น ไมชัดเจน ไมแนนอน ยังหาขอสรุปไมได
เปนเรื่องของความคิดเห็น การเขียนเชนนี้ถือไดวาถึงขั้นที่จวงจาบตอ
พระธรรมวิ นั ย เป นเรื่ องสํ าคั ญมาก และเป นเอกสารซึ่ ง จะคงอยู
ยาวนาน อาจกอผลกวางไกล จึงสมควรรีบชี้แจงไวเพื่อสรางความรู
ความเขาใจที่ถูกตอง
ตอมาอีก 2-3 วัน ก็มีพระนําเอาหนังสือพิมพมติชนรายวัน
ฉบับวันพุธ ที่ 13 มกราคม 2542 มาใหดู โดยเฉพาะหนา 12
“สุขสรรค” มีบทความเรื่อง “สายตรงจากธรรมกาย นิพพานเปน
อัตตาหรืออนัตตา” โดย พระสมชาย านวุฑฺโฒ บทความนี้เมื่ออาน
แลวจะยิ่งสรางความสับสนตอหลักการสําคัญของพระพุทธศาสนา
ที่กลาวมานั้นยิ่งขึ้น
อีก 2-3 วันตอมาก็มีรายงานขาวของหนังสือพิมพ มติชน
รายวัน ฉบับ วันอาทิตยที่ 17 มกราคม 2542 กลาวถึงอดีต
ขา ราชการชั ้น ผ ใ หญท า นหนึ ่ง ซึ ่ง เขา มาเกี ่ย วขอ งกับ การ
แกปญ หาวัด พระธรรมกาย ไดกลาวถึงปญหาบางอยางที่จะตอง
แกไ ข ตอนหนึ ่ง ไดก ลา ววา “เรื ่อ งนิพ พานเปน ความคิด ที่
หลากหลาย” การที่ทานกลาวอยางนี้ จะเปนผลจากการเผยแพร
เอกสารของวัดพระธรรมกาย หรือไมก็ตาม แตเปนเรื่องที่ตองเอา
ใจใสอยางยิ่ง ที่พูดนี้มิใชจะวากลาวขาราชการผนั้น เพราะทานไมได
ทํ าความผิ ด อะไร แต คํ าพู ด นั้ น เทา กับ เปน สัญ ญาณเตือ นภัย วา
อันตรายที่ รายแรงกําลังเกิดขึ้นกับพระพุทธศาสนา เพราะความ
สับสนหรือเขาใจผิดตอหลักการสําคัญของพระพุทธศาสนากําลัง
พระธรรมปฎก (ป. อ. ปยุตฺโต) 3

แผขยายออกไปในหมูประชาชน ซึ่งจะนําไปสูความสั่นคลอนของ
พระพุทธศาสนาถึงขั้นรากฐานเลยทีเดียว
ที่จริงนั้น หลักการสําคัญของพระพุทธศาสนามีความชัดเจน
แนนอน และไมใชเปนเพียงเรื่องของความคิดเห็น แตเปนเรื่องของ
หลักฐานที่ชาวพุทธถือกันวามาจากพระพุทธเจาโดยตรง คือมาใน
พระไตรปฎ ก และมีคัม ภีรอ รรถกถาเปน ตน อธิบ ายประกอบ ซึ่ง
ชาวพุทธทุกยุคสมัย ถือวาเปนเนื้อเปนตัวของพระศาสนา เปนหลัก
สําคัญที่สุด และไดเพียรพยายามอยางยิ่งที่จะรักษาไวให แมนยํา
ดวยการทรงจํา ศึกษาเลาเรียน และมีการสังคายนาเปนงานใหญ
หลายยุคสมัยตลอดมา
เมื่อมีเหตุการณรายเกิดขึ้นแกพระศาสนา ชาวพุทธก็ควรตื่นตัว
ขึ้นมา ชวยกันขจัดภัยและปกปองรักษาพระศาสนาไว อยางนอยก็ใช
เปนโอกาสที่จะไดศึกษา สรางเสริม หรือแมแตชําระสะสางความร
ความเขาใจในพระศาสนาที่ตนนับถือ ทําความเห็นใหถูกตอง ใหได
ชื่อวาสามารถถือเอาประโยชนจากสถานการณที่ผานเขามา และ
ผานพนปญหาไปอยางไดปญญา
ในการชี้แจงตอไปนี้ จําเปนตองพูดพาดพิง ถาขอความที่กลาว
จะเปนเหตุใหทานผเกี่ยวของไมสบายใจ ก็ขออภัยไวกอน แตขอให
ตั้ง ใจรว มกัน วา เราจะทํา การนี้เ พื่อ ดํา รงรัก ษาพระพุท ธศาสนา
ใหบ ริสุท ธิ์บ ริบูร ณที่สุด เทา ที่จ ะทํา ได เพื่อ ใหพ ระพุท ธศาสนาที่
บรรพบุรุษไดรักษาสืบตอตกทอดกันมาจนถึงเรา โดยอาศัยกํา ลัง
ความเพียรพยายาม เรี่ยวแรง ความอุตสาหะและศรัทธาเปนอยางยิ่ง
มิใหสูญเสียไป และเพื่อใหประชาชนทั้งในบัดนี้และเบื้องหนา ยัง
4 กรณีธรรมกาย

สามารถไดรับประโยชนที่แทจริงจากพระพุทธศาสนา คือ มุงเพื่อ


รักษาพระธรรมวินัยและประโยชนสุขของประชาชน

ประพฤติวิปริตจากพระธรรมวินัย ก็ราย
แตทําพระธรรมวินัยใหวิปริต รายยิ่งกวา
ป ญ หาเกี่ ย วกั บ วั ด พระธรรมกายที่ กํ า ลั ง ได รั บ การวิ พ ากษ
วิจารณกันอยนี้มีหลายเรื่อง แยกไดหลายแงหลายประเด็น เชนเรื่อง
ความประพฤติสวนตัวของพระ เรื่องการดําเนินงานขององคกร คือ
วัด และมูล นิธิ เกี่ ย วกั บ การครอบครองกรรมสิท ธิ์ใ นที่ดิ น เปน ต น
ตลอดจนการดําเนินธุรกิจตางๆ การแสวงหาเงินทอง โดยวิธีซึ่งเปนที่
สงสั ย ว า จะไม ถู ก ต อ ง ในแง ก ฎหมายบ า ง ในแง พ ระวิ นั ย บ า ง
โดยเฉพาะการยกอิทธิฤทธิ์ปาฏิหาริยขึ้นมาเผยแพรในลักษณะที่เปน
การชั ก จู ง ให ค นบริ จ าคเงิ น การใช วิ ธี กึ่ ง เกณฑ ใ ห เ ด็ ก นั ก เรี ย น
นั ก ศึ ก ษา ตลอดจนขา ราชการ เปน ตน จํ า นวนมากๆ มารว ม
กิจกรรม โดยมีเปาหมายที่นาสงสัยวาจะมงไปที่การใหบริจาคเงิน
หรือไม ตลอดจนในที่สุดก็คือ ปญหาที่เกี่ยวกับพระธรรมวินัยโดยตรง
โดยเฉพาะการแสดงหลักการของพระพุทธศาสนาเรื่องนิพพานเปน
อัตตา และเรื่องธรรมกาย
ปญหาทั้งหมดนั้น ลวนมีความสําคัญ และจะตองแกไขดวยวิธี
ที่เ หมาะสมใหถูก ตองแตล ะอยา ง แตเ มื่อพิจ ารณาในแงข องการ
ดํารงรักษาพระศาสนา ปญหาที่สําคัญที่สุด ก็คือ ปญหาเกี่ยวกับ
พระธรรมวินัย ซึ่ง กระทบถึง หลัก การของพระพุท ธศาสนา พูด ให
เขาใจงายวา การทําพระธรรมวินัยใหวิปริต ซึ่งรายแรงยิ่งกวาการ
พระธรรมปฎก (ป. อ. ปยุตฺโต) 5

ประพฤติวิปริตจากพระธรรมวินัย
ยกตัวอยางดานพระวินัย ถาพระภิกษุประพฤติผิดพระวินัย
ตองอาบัติปาราชิก เรียกวาประพฤติวิปริตจากพระธรรมวินัย ก็ตอง
แกไขโดยดําเนินการลงโทษไปเปนการสวนเฉพาะบุคคล
แตถามีพระภิกษุยึดถือประกาศขึ้นมาหรือเผยแพรวา การตอง
อาบัติปาราชิกไมผิดพระวินัย ก็เปนปญหาถึงขั้นทําพระธรรมวินัยให
วิปริต ซึ่งเปนเรื่องใหญถึงกับทําใหเกิดมีการสังคายนา
ยกตัวอยางดานธรรม ถาพระภิกษุเห็นวานิพพานเปนอัตตา
หรือไมยอมรับวานิพพานเปนอนัตตา เรียกวาเปนการเห็นผิดจาก
พระธรรมวินัย ก็ตองแกไขดวยการใหศึกษาหรือทําความเขาใจกันให
ถูกตองเปนสวนเฉพาะตัวของภิกษุนั้น
แตถ า มีพ ระภิก ษุย ึด ถือ ประกาศขึ ้น มาหรือ เผยแพรว า
พระพุทธเจาสอน หรือพระไตรปฎกแสดงหลักการวานิพพานเปน
อัตตา หรือบอกวาพระไตรปฎกที่แสดงหลักการวานิพพานเปนอนัตตา
เปนหลักฐานที่เชื่อถือไมได ก็เปนปญหาถึงขั้นทําพระธรรมวินัยให
วิปริต ซึ่งเปนเรื่องใหญถึงกับทําใหตองมีการสังคายนา

ไมควรยอมเสียพระศาสนา เพื่อรักษาตัวของตน
ยอนกลับไปขางตน ปญหาเกี่ยวกับวัดพระธรรมกายที่วา มี
หลายเรื่อง หลายแง หลายดาน หลายประเด็นนั้น มีขอนาสังเกตวา
เมื่อเรื่องเกิดขึ้นแลว ทางวัดโดยเฉพาะเจาอาวาส เงียบอย และไดมีผ
เรียกรองขอใหทานเจาอาวาสมาชี้แจง ตอมาทางวัดมีพระที่ออกมา
พูดกลาวตอบทํานองวา
6 กรณีธรรมกาย

“เรายึดแนวพระพุทธเจาจะชนะดวยความสงบนิ่ง . . .
พระพุทธเจามีผหญิงมากลาวหาวามีทองกับพระพุทธเจา
บางทีม ีค นจา งคนมารุม ดา สองขา งทาง พระองคแ ก
อยางไร พระพุทธเจานิ่งตลอด บอกไวเลยวาชนะไดดวย
ค ว า ม ส ง บ นิ่ ง แ ล ว ค ว า ม จ ริ ง ก็ ป ร า ก ฏ ใ น ที่ สุ ด
พระพุ ท ธเจ า ไม เ คยแก ข า ว อย ด ว ยความนิ่ ง สงบ และ
สุดทายก็ชนะ ความจริงจะปรากฏ เราเองก็เลยใชวิธีการ
เดียวกัน” (หนังสือพิมพมติชนรายวัน วันอาทิตยที่ 10 มกราคม
2542)
การกลาวอางเชนนี้ ตองระวังมาก เพราะจะทําใหคนเขาใจผิด
ตอพระพุทธเจา ความจริงพระพุทธเจาไมไดใชวิธีสงบนิ่งอยางเดียว
ทรงใชวิธีปฏิบัติใหเหมาะสมกับสถานการณ ที่จะใหเรื่องจบสิ้นลง
ดวยดี ดวยความถูกตองและชัดเจน
พุทธศาสนิกชนที่คนเคยวัด คงจะไดยินพระสวดมนตบทหนึ่ง
อยูเสมอ เวลามีงานเจริญพระพุทธมนตหรือสวดพระพุทธมนต กอน
ฉันเพลพระภิกษุสงฆก็จะสวดบทสวดสําคัญบทหนึ่ง เรียกกันวา บท
พาหุง หรือ พาหุง 8 บท เรียกเปนภาษาทางการวา ชยมังคลัฏฐกคาถา
บทสวดนี้ทานรวบรวมขึ้นไวเพื่อแสดงถึงวิธีที่พระพุทธเจาทรงมีชัย
ชนะผานพนเหตุการณราย โดยทรงแกปญหาดวยวิธีปฏิบัติตางๆ กัน
ดังคําบาลีวา
“พาหุ สหสฺสมภินิมฺมิตสาวุธนฺตํ . . .” เปนตน
ในเหตุการณและปญหาเหลานี้ บางเรื่องพระพุทธเจาทรงแก
ดว ยวิธ ีเ มตตา บางเรื่อ งทรงแกด ว ยขัน ติ บางเรื ่อ งทรงแกด ว ย
อิทธิปาฏิหาริย บางเรื่องทรงแกดวยวิธีแหงอาการสงบ บางเรื่องทรง
พระธรรมปฎก (ป. อ. ปยุตฺโต) 7

แกดวยความลึกซึ้งแหงการใชปญญา บางเรื่องทรงแกดวยการชี้แจง
แสดงความจริง หรือแสดงธรรม
การที่มากลาวอยางขางตนวา “เรายึดแนวพระพุทธเจา จะชนะ
ดวยความสงบนิ่ง” นั้นเปนคําที่กํากวม อาจจะทําใหผคนเกิดความ
เข า ใจว า มี เ หตุ ก ารณ อ ะไรเกิ ด ขึ้ น พระพุ ท ธเจ า ก็ ท รงนิ่ ง เฉย ซึ่ ง
นอกจากจะทําใหคนเขาใจผิดตอพระพุทธเจาแลว อาจจะเปนการ
เสื่อมเสียตอพระพุทธคุณ
สํ า หรั บ ผ ที่ ร เ รื่ อ งพุ ท ธประวั ติ ดี เมื่ อ ได ยิ น ได ฟ ง อย า งนี้
นอกจากจะตําหนิไดวาเปนการกอใหเกิดความเขาใจผิดแลว ก็ยัง
จะรสึกไดวา ทานผกลาวนั้นมงแตจะรักษาตัวเอง โดยไมคํานึงวาการ
กระทํ าของตน จะเป น การก อ ให เ กิ ด ความเสี ย หายต อ องค
พระพุทธเจาและเสื่อมเสียตอศรัทธาในพระพุทธคุณ ที่ถูกนั้น ควร
ยอมสละตั ว เราเพื่ อ รั ก ษาพระศาสนา ไม ใ ช ย อมให เ สี ย แก พ ระ
ศาสนา เพื่อรักษาตัวเรา

จับประเด็นใหชัด
วางทาทีปฏิบัติใหตรงตามตนเรื่อง
สิ่งที่จะพูดตอไปนี้ ไมใชเรื่องความคิดเห็น นี้เปนขอสําคัญที่
ตองย้ําไวกอน เพราะเอกสารของวัดพระธรรมกายที่เผยแพรออกมา
นั้น มีลักษณะที่ทําใหเกิดความสับสน เชน เอาเรื่องขอเท็จจริงบาง
หลักฐานบาง เหตุผลความคิดเห็นตางๆ บาง มาปะปนกันไปหมด
จนทําใหคนเกิดความรสึกที่มองวา แมแตพระไตรปฎกก็เปนเรื่องของ
ความคิดเห็น
8 กรณีธรรมกาย

จะตองแยกใหชัดวา ขณะนี้กําลังพูดถึงหลักฐาน กําลังพูดถึง


พระไตรปฎก เปนตน หรือกําลังพูดถึงความคิดเห็นของบุคคล
ขอเขียนตอไปนี้ หรือคําชี้แจงตอไปนี้ จะแสดงเฉพาะหลักฐาน
ที่มาในคัมภีร เริ่มดวยพระไตรปฎกและอรรถกถา ถามีความคิดเห็น
ก็จะบอกไวดวยวาเปนความคิดเห็น
มีบางทานพูดทํานองวา ควรจะปลอยใหตางคนตางทําไป
เพราะเกรงวาจะทําใหเกิดความแตกแยก เรื่องนี้จะตองระวังรักษา
ทาทีใหถูกตอง
ขอใหจําตระหนักตนเรื่องเดิมไวใหดี วาไมใชเปนเรื่องของคนที่
เป น ฝ ก เป น ฝ า ยมาโต เ ถี ย งทะเลาะกั น แต เ รื่ อ งอยู ที่ ว า มี ป ญ หา
เกิ ด ขึ้ น ในที่ แ ห ง หนึ่ ง โดยมี บุ ค คลหรื อ กลุ ม คนกลุ ม หนึ่ ง ทํ า ความ
เสียหาย หรือมีพฤติกรรมที่นาสงสัยวาจะเปนความผิดหรือเปนภัย มี
ผูพบเห็น แลวนํามารองเรียนแกเจาหนาที่ และบอกกลาวแกมหาชน
เจาหนาที่และประชาชนทั้งหลายจึงตองมาชวยกันแกไขระงับปญหา
โดยเฉพาะกรณีนี้ก็คือ มีกลุมคนที่มีพฤติการณอันทําใหเกิด
ความสงสัยกันวากําลังกระทําความเสียหายตอพระธรรมวินัย และ
ตอประโยชนสุข โดยเฉพาะผลประโยชนทางปญญาของประชาชน
จึง เปน หนา ที ่ข องชาวพุท ธและประชาชนทุก คน ที ่จ ะตอ งสนใจ
ชวยกันปกปองรักษาธรรมวินัยไว
ขอสําคัญอยูที่วา จะตองระวังรักษาทาทีที่ถูกตองนี้ไว อยาทํา
ดว ยความรู ส ึก เปน ฝก ฝา ย แตทํ า ดว ยเจตนาที ่มุ ง จะดํ า รง
พระพุทธศาสนา รักษาพระธรรมวินัยของพระพุทธเจาไวใหบริสุทธิ์
ในเรื่องพระธรรมวินัยนั้น การรักษาไวใหบริสุทธิ์บริบูรณที่สุด
พระธรรมปฎก (ป. อ. ปยุตฺโต) 9

เทาที่จะทําได เปน เรื่องสําคัญที่สุด เพราะพระพุทธศาสนาอยูไ ด


ดวยพระธรรมวินัยนั้น
ไมตองพูดถึงเรื่องใหญโต แมแตเพียงวามีภิกษุดื่มสุรา ชาวพุทธ
ก็ ต อ งสนใจหาทางแก ไ ข ไม ใ ช บ อกว า ปล อ ยท า นเถิ ด ใครอยาก
ประพฤติอยางไร ก็ตางคนตางประพฤติไ ป ถาไปวากลาวหรือทํา
อะไร เดี๋ ย วจะเกิด ความแตกแยก ถ าชาวพุ ท ธมี ทา ทีห รื อทั ศ นคติ
อยางนี้ พุทธศาสนาก็จะดํารงอยูไมได คงจะสูญไปในไมชา
ขอใหจํา ตระหนัก ไววา ที่พ ระพุท ธศาสนาดํา รงอยูยืน ยาว
มาถึงพวกเราได ก็เพราะพุทธบริษัททุกยุคทุกสมัย ถือวาการรักษา
ธรรมวิ นั ย เป น แกนกลางของการรั ก ษาพระพุ ท ธศาสนา เมื่ อ
พระพุทธเจาปรินิพพานใหมๆ เพียงมีภิกษุรูปหนึ่งพูดวา พระพุทธเจา
ปรินิพ พานแลว ตอ ไปไมมีใ ครจะคอยวา กลา ว เราจะไดทํา อะไร
โดยสะดวก พระมหากัส สปะไดฟง คํา เพีย งเทา นี้ ก็เ รง ชัก ชวน
พระอรหัน ตทั้ง หลายมาประชุม กัน สัง คายนา รวบรวมคําสั่ง สอน
ของพระพุทธเจาวางไวเปนหลักของพระศาสนา ดังปรากฏอยูใน
พระไตรปฎกสืบมา
ความจริงนั้นเปนหนึ่งเดียว และเมื่อเขาถึงความจริง คนก็จะ
เปนอันหนึ่งอันเดียวกันโดยความจริงนั้น ไมมีอะไรที่จะทําใหเปน
อันหนึ่งอันเดียวกันไดจริงเทากับความจริง
เพื่อใหพิจารณาเรื่องราวไดชัดเจน ขอโอกาสนําเอาเอกสาร
ของวัดพระธรรมกายที่ไดเผยแพร ซึ่งอางถึงขางตนนั้น มาลงพิมพ
ไวดวย (ดู ภาคผนวก) และขออภัยอีกครั้งหนึ่ง ที่บางครั้งจะตอง
ยกขึ้นมาเปนบทตั้งในการพิจารณา ทั้งนี้เพื่อใหเกิดความชัดเจน
ปญหาของวัดพระธรรมกาย
สวนที่กระทบตอพระธรรมวินัย

สํานักวัดพระธรรมกาย เผยแพรคําสอนคลาดเคลื่อนไปจาก
หลักพระพุทธศาสนาหลายประการ เชน
1. สอนวานิพพานเปนอัตตา
2. สอนเรื่องธรรมกายอยางเปนภาพนิมิต และใหมีธรรมกาย
ที่เปนตัวตนเปนอัตตาของพระพุทธเจามากมายหลายพระองค ไป
รวมกันอยูในอายตนนิพพาน
3. สอนเรื่องอายตนนิพพาน ใหเขาใจผิดตอนิพพาน เหมือน
เปนดินแดนที่จะเขาสมาธิไปเฝาพระพุทธเจาได ถึงกับมีพิธีถวายขาว
พระ ที่จะนําขาวบูชาไปถวายแดพระพุทธเจาในอายตนนิพพานนั้น
คําสอนเหลานี้ ทางสํานักสายวัดพระธรรมกายคิดขึ้นใหม เปน
ของนอกธรรมนอกวินัยของพระพุทธเจา แตแทนที่จะสอนไปตามตรง
พระธรรมปฎก (ป. อ. ปยุตฺโต) 11

วาเปนลัทธิของครูอาจารย ทางวัดพระธรรมกายกลับพยายามนําเอา
คํ า สอนใหม ของตนเข าใส แทนที่ หลั กคํ าสอนเดิ มที่ แท ของ
พระพุทธศาสนา
ยิ่งกวานั้น เพื่อหาทางใหลัทธิของตนเขาแทนที่พระธรรมวินัย
ไดสําเร็จ สํานักวัดพระธรรมกายยังไดเผยแพรเอกสาร ที่จวงจาบ
พระธรรมวิน ัย ชัก จูง ใหค นเขา ใจผิด สับ สน หรือ แมแ ตล บหลู
พระไตรปฎกบาลี ที่เปนหลักของพระพุทธศาสนาเถรวาท เชน
– ใหเขาใจวาพระไตรปฎกบาลี บันทึกคําสอนไวตกหลน หรือ
มีฐานะเปนเพียงความคิดเห็นอยางหนึ่ง เชื่อถือหรือใชเปนมาตรฐาน
ไมได
– ใหนําเอาพระไตรปฎกฉบับอื่นๆ เชน พระไตรปฎกภาษาจีน
และคําสอนอื่นๆ ภายนอกมารวมวินิจฉัยพระพุทธศาสนาเถรวาท
– ใหเ ขา ใจเขวไปวาหลัก การของพระพุท ธศาสนาเป นเรื่อ ง
อภิป รัช ญา ขึ้น ตอ การตีค วาม และความคิด เห็น ตลอดจนการ
ถกเถียงทางวิชาการ
– อางนักวิชาการตางประเทศ และการปฏิบัติของตน ดังวา
จะใชวินิจฉัยหลักพระพุทธศาสนาได
ฯลฯ
อีกทั้งสิ่งที่ยกมาอาง เชน คัมภีรของมหายาน และทัศนะของ
นักวิชาการตะวันตก ก็ไมตรงตามความเปนจริง หรือไมก็เลื่อนลอย
นอกจากนั้น ยังนําคําวา “บุญ” มาใชในลักษณะที่ชักจูง
ประชาชนใหวนเวียนจมอยูกับการบริจาคทรัพย เพื่อวัตถุประสงค
ตางๆ ชนิดที่สงเสริมความยึดติดถือมั่นในตัวตนและในตัวบุคคล อัน
12 กรณีธรรมกาย

อาจกลายเปนแนวโนมที่บั่นรอนสังคมไทยในระยะยาว พรอมทั้งทํา
พระธรรมวินัยใหลางเลือนไปดวย
พฤติการณของสํานักวัดพระธรรมกายอยางนี้ เปนการจาบจวง
ลบหลู ย่ํายีพระธรรมวินัย สรางความสับสนไขวเขวและความหลงผิด
แกประชาชน
ขอความบรรยายตอไปนี้ ไดเขียนไวเพื่อเปนทางแหงการศึกษา
ใหเกิดความเขาใจที่ถูกตอง
พรอมทั้งเปนเหมือนคําขอรองตอชาววัดพระธรรมกาย ผูยัง
เห็นแกพระพุทธศาสนา เมื่อรูเขาใจแลว จะไดหันมารวมกันทําบุญ
ที่ยิ่งใหญ และสนองพระคุณบรรพบุรุษไทย ดวยการรักษาพระธรรม
วินัยใหบริสุทธิ์สืบไป
รูจักพระไตรปฎก

พระพุทธศาสนาไมใชปรัชญา
เบื้องแรกตองรความแตกตางระหวางศาสนากับปรัชญากอน
ปรัช ญาเปน เรื่อ งของการคิด หาเหตุผ ล และถกเถีย งกัน ในเรื่อ ง
เหตุผ ลนั้น เพื่อ สัน นิษ ฐานความจริง เรื่อ งที่ถ กเถีย งนั้น อาจจะไม
เกี่ยวกับการดําเนินชีวิตที่เ ปนอย เชน นักปรัชญาอาจจะถกเถียง
กัน วา จัก รวาลหรือ จัก รภพเกิด ขึ้น เมื่อ ไรและจะไปสิ้น สุด เมื่อ ไร
โลกจะแตกเมื่อไร ชีวิตเกิดขึ้นเมื่อไร เปนตน และนักปรัชญาก็ไ ม
จําเปนตองดําเนินชีวิตตามหลักการอะไร หรือแมแตใหสอดคลองกับ
สิ่งที่ตนคิด เขาคิดหาเหตุผลหาความจริงของเขาไป โดยที่วาชีวิต
สวนตัวอาจจะเปนไปในทางที่ตรงขามก็ได เชน นักปรัชญาบางคน
อาจจะเป น คนคุ มดี คุ ม ร าย บางคนสํ า มะเลเทเมา บางคนมี ทุ ก ข
จนกระทั่งฆาตัวตาย
แตศาสนาเปนเรื่องของการปฏิบัติ เรื่องของการดําเนินชีวิต
หรือการนํามาใชใหเปนประโยชนในชีวิตจริง การปฏิบัตินั้นตองมี
หลักการที่แนนอนอยางใดอยางหนึ่ง และจะตองมีจุดหมายชัดเจน
ดว ยวา ตอ งการอะไร การที่ตอ งมีขอ ปฏิบัติที่แ นน อนและตอ งมี
จุดหมายที่ชัดเจนนั้น ผปฏิบัติก็ตองยอมรับหลักการอยางใดอยาง
หนึ่ง และก็ตอ งถามตอ ไปวา จะยอมรับ หลัก การที่บุค คลผใ ดได
14 กรณีธรรมกาย

คนพบหรือแสดงไว ซึ่งเราเรียกวาพระ “ศาสดา”


เพราะฉะนั้นผปฏิบัติคือศาสนิกชน เริ่มตนก็ตองยอมรับหรือ
เชื่อ การตรัส รห รือ การคน พบความจริง ขององคพ ระศาสดา หรือ
ยอมรับ หลัก การที่ศ าสนานั้น ไดแ สดงไว ซึ่ง เราเรีย กวา คํา สอน
เพราะฉะนั้น ศาสนิก จึง มง ไปที่ตัว คํา สอนของพระศาสดา หรือ
หลักการที่ศาสนาวางไว คําสอนของพระศาสดานั้นก็รวบรวมและ
รักษาสืบทอดกัน ไวในสิ่งที่เ รียกกันวาคัมภีร ในพระพุท ธศาสนา
เรียกคัมภีรที่รักษาคําสอนของพระพุทธเจาซึ่งเปนพระศาสดาของ
พระพุทธศาสนาวา “พระไตรปฎก”

พระไตรปฎก คือที่สถิตของพระศาสดา
คัม ภีรศ าสนา เชน ในพระพุท ธศาสนาคือ พระไตรปฎ กนี้
เปนมาตรฐาน เปนเกณฑตัดสินความเชื่อและการประพฤติปฏิบัติ
เปนที่มา เปนแหลงรักษาหลักการของศาสนานั้นๆ ถาคําสอนหรือ
หลัก การที ่แ ทข องพระศาสดาที ่ร ัก ษาไวใ นพระไตรปฎ กหรือ ใน
คัมภีรนั้น สูญสิ้นหมดไป ก็ถือวาศาสนานั้นสูญสิ้น ดังนั้น ศาสนา
ทั้งหลายจึงถือการรักษาคัมภีรศาสนาของตนเปนเรื่องสําคัญที่สุด
และพระพุทธศาสนาก็ถือวาการรักษาคัมภีรพระไตรปฎกเปนเรื่อง
ใหญที่สุด
พระพุทธเจาเองก็ตรัสไววา เมื่อพระองคป รินิพพานไปแลว
ธรรมวินัย ที่ท รงแสดงแลว และบัญ ญัติแ ลว แกส าวกทั้ง หลายนั้น
จะเปนศาสดาแทนพระองคสืบตอไป ธรรมวินัยนั้นเวลานี้อยูที่ไหน
ก็รักษาไวในพระไตรปฎก
พระธรรมปฎก (ป. อ. ปยุตฺโต) 15

ธรรมวินัย ก็คือหลักการและหลักเกณฑของพระพุทธศาสนา
ที่มาจากพุทธพจนและพุทธบัญญัติ ซึ่งเปนบรรทัดฐานที่ชัดเจน
ยิ่งหลักการที่สําคัญ อยางนิพพานซึ่งเปนจุดหมายสูงสุดของ
พระพุทธศาสนาดวยแลว ก็จะตองมีความแนนอนวาเปนอยางไร
เพราะวาศาสนิกหรือผปฏิบัติทั้งหลาย ยังไมอาจจะรไมอาจจะเขาใจ
หลักการนี้ดวยประสบการณของตนเอง พระศาสดาจึงตองแสดง
หลักการนี้ไวใหชัด เทาที่จะใชภาษาสื่อสารใหสติปญญาของผปฏิบัติ
รเขาใจได ถามิฉะนั้นผปฏิบัติ เมื่อปฏิบัติไป แทนที่จะบรรลุนิพพาน
ของพระพุทธศาสนา ก็อาจจะกลายเปนนิพพานของฮินดูไป หรือ
อาจจะเขาถึงฌานสมาบัติ แลวก็เขาใจวานี่เปนนิพพาน หรือปฏิบัติ
ไปรูสึกวาจิตไปเขารวมกับสภาวะอยางใดอยางหนึ่ง แลวก็นึกวานั้น
เปนนิพพาน เพราะฉะนั้นหลักการที่สําคัญนี้ พระศาสดาจะตองวาง
ไวอยางชัดเจนที่สุด เทาที่สติปญญาของคนที่ปฏิบัติซึ่งยังไมรไดดวย
ตนเองจะเขาใจได
พระไตรป ฎ กเป น แหล ง รวมคํ า สั่ ง สอนของพระพุ ท ธเจ า ที่
เรียกวา “ธรรมวินัย” นี้ ตั้งแตเรื่องนิพพานซึ่งเปนจุดหมายสูงสุดลง
มา ทั้งคําสอนทางปญญา อยางไตรลักษณ ปฏิจจสมุปบาท ทั้งขอ
ปฏิบัติคือไตรสิกขา ตลอดจนวินัยเชนที่เรียกวาศีล 227 ของ
พระภิกษุสงฆ ศีล 10 ของสามเณร และศีล 5 ศีล 8 ของอุบาสก
อุบาสิกา ทั้งหมดนี้อาศัยพระไตรปฎกเปนแหลงรวบรวมไว และเปน
มาตรฐานทั้งสิ้น
ควรจะยกพุท ธพจนที่ต รัส เมื่อ จะปรินิพ พาน มาย้ํา เตือ น
พุทธศาสนิกชนกันไวเสมอๆ วา
16 กรณีธรรมกาย

โย โว อานนฺท มยา ธมฺโม จ วินโย จ เทสิโต ปฺตฺโต, โส โว


มมจฺจเยน สตฺถา (ที.
ม.10/141/178)
แปลวา: “ดูกอนอานนท ธรรมและวินยั ใดที่เราไดแสดงแลว
บัญญัติแลว แกเธอทั้งหลาย,ธรรมและวินัยนั้น เปนศาสดา
ของเธอทั้งหลาย เมื่อเราลวงลับไป”

พระไตรปฎกสําคัญตอพระพุทธศาสนา
ยิ่งกวาที่รัฐธรรมนูญสําคัญตอประเทศชาติ
ถา เทีย บกับ เรื่อ งที่ช าวบา นพอจะเขาใจ พระไตรปฎ กนั้น มี
ความสํ า คัญ ตอ ศาสนิก ชนยิ ่ง กวา ที ่ร ัฐ ธรรมนูญ มีค วามสํ า คัญ
สําหรับพลเมือง คงไมมีใครพูดวารัฐธรรมนูญเปนเพียงตําราเลมหนึ่ง
หรือวาเมื่อขึ้ นศาลมีการยกรัฐธรรมนู ญมาตรานั้นมาตรานี้ขึ้น มา
กลาว หรือแมแตยกกฎหมายอาญา กฎหมายแพงมาตรานั้นมาตรา
นี้ขึ้นมาอาง คงไมมีใครพูดวา กฎหมายมาตรานั้นนี้ รัฐธรรมนูญ
มาตรานั้นนี้เปนเพียงความคิดเห็น
ที่วาพระไตรปฎกสําคัญยิ่งกวารัฐธรรมนูญ สําหรับศาสนิกชน
เพราะรัฐธรรมนูญนั้น สามารถเปลี่ยนแปลงไปโดยมติของประชาชน
ที่ผานทางองคกรนิติบัญญัติตามยุคตามสมัย แตพระไตรปฎกไม
อาจจะเปลี่ยนแปลงได เพราะเปนคําสอนขององคพระศาสดา และ
พระศาสดาก็ปรินิพพานแลว ถาพระไตรปฎกสูญหาย คําสอนของ
พระพุทธเจาก็สูญสิ้น
การที่เ รานับ ถือพระพุท ธศาสนา ก็คือ เรายอมรับ การตรัส ร
พระธรรมปฎก (ป. อ. ปยุตฺโต) 17

ของพระพุทธเจา พรอมทั้งอยากรูและนําความจริงที่พระองคตรัสรู
นั้น มาปฏิบ ัต ิ ดัง นั้น สิ่ง ที่เ ราตอ งการที ่สุด จึง ไดแ กคํ า สอนของ
พระองค เมื่อพระองคปรินิพพานแลว เราจึงถือเปนสําคัญที่สุดวา
จะรักษาคําสอนหรือคําตรัสของพระองคที่เรียกวาพุทธพจนไ วให
แมน ยํ า บริส ุท ธิ ์บ ริบ ูร ณที่ส ุด ไดอ ยา งไร เพื ่อ ใหพ ุท ธศาสนิก ชน
สามารถเขาถึงคําสอนของพระองคไดตอไป
เมื่อเรารักษาคําสอนของพระองคไวดีที่สุดแลว เราก็ใชคําสอน
ของพระองคนั้นเปนมาตรฐาน เปนเกณฑตัดสินความเชื่อและการ
ปฏิบัติที่เรียกวาพระพุทธศาสนาตอไป
ดังนั้น ในเรื่องธรรมวินัยในพระไตรปฎกนี้ แทนที่จะคิดวาจะ
ปรั บ ปรุ ง เปลี่ ย นแปลง มี แ ต ว า จะต อ งรั ก ษาไว ใ ห บ ริ สุ ท ธิ์ ให ต รง
ตามเดิมเทาที่เปนไปได
อีกประการหนึ่ง รัฐธรรมนูญเปนบทบัญญัติเพียงในดานวินัย
เชน กําหนดสิทธิเสรีภาพ หนาที่พลเมือง และหลักเกณฑในการ อย
รวมกันในสังคมเปนตน แตพระไตรปฎกนั้นบรรจุไวทั้งธรรมและวินัย
คื อ ทั้ ง แบบแผนระเบี ย บความเป น อย ข องพระภิ ก ษุ ส งฆ และทั้ ง
หลักการของพระพุท ธศาสนา ถา ศาสนิก ชนปฏิเ สธพระไตรปฎ ก
หรือ ไมย อมรับ พระไตรปฎ กก็ค ือ ไมย อมรับ พระพุท ธศาสนา
โดยเฉพาะพระพุทธศาสนาแบบนั้น เชน แบบเถรวาท แบบมหายาน
แลวแตวาจะเปนพระไตรปฎกฉบับไหน
ยิ่งถาเปนพระภิกษุ การปฏิเสธไมยอมรับพระไตรปฎก ก็คือ
การปฏิเสธไมยอมรับความเปนพระภิกษุของตนนั่นเอง เพราะเหตุวา
การบวชของภิกษุนั้นก็ดี สิ่งที่เรียกวา ศีล 227 ขอ คือสิกขาบท 227
18 กรณีธรรมกาย

ในพระวินัย ก็ดี ที่พ ระภิก ษุนั้น รัก ษาอย ก็ม าจากพุท ธบัญ ญัติใ น
พระไตรปฎก เมื่อภิกษุไมยอมรับพระไตรปฎก ก็คือปฏิเสธการบวช
และปฏิเสธศีล 227 เปนตนของตนนั้นเอง
ที่ก ลา วนี้ไ มไ ดห มายความวา จะเปน การจํา กัด สิท ธิแ ละ
เสรีภาพ พระพุทธศาสนาใหสิทธิและเสรีภาพโดยสมบูรณ แมแต
สิทธิและเสรีภาพที่จะปฏิเสธพระไตรปฎกและปฏิเสธพระพุทธเจา
แตขอสําคัญในความเปนประชาธิปไตย ก็คือความตรงไปตรงมา
เมื ่อ เราไมย อมรับ พระไตรปฎ กนี ้ เราไมย อมรับ การบวชเปน
พระภิก ษุแ บบนี ้ ก็จ ะเปน เรื ่อ งแปลกประหลาดที ่ว า เรายัง เอา
รูปแบบที่เปนบัญญัติในพระไตรปฎกนั้นมาใช
ยิ่งหลักการที่สูงขึ้นไปอยางเรื่องนิพพานก็ยิ่งสําคัญเพิ่มขึ้น
ไปอีก เพราะวาวินัยที่รักษานั้นก็เพื่อที่จะเปนฐานใหเขาถึงจุดหมาย
นั้น เอง ถา รัก ษาหลัก การอยา งนิพ พานซึ่ง เปน จุด หมายสูง สุด ไว
ไมไ ด การรัก ษาความประพฤติป ฏิบัติเ บื้อ งตน เชน วินัย ก็แ ทบจะ
หมดความหมาย

พระไตรปฎกบาลีที่คนไทยนับถือ
คือฉบับเดิมแท เกาแก และสมบูรณที่สุด
พระพุท ธศาสนาแบบที ่เ รานับ ถือ กัน อย  ซึ ่ง สืบ ตอ มาใน
ประเทศไทยนี้ เรีย กวา พระพุท ธศาสนาเถรวาท หรือ บางทีก็ถูก
เรี ย กว า หิ น ยาน ซึ่ ง ตั้ ง อย บ นฐานของคํ า สอนที่ รั ก ษามาใน
พระไตรปฎกภาษาบาลี
พระไตรปฎกภาษาบาลีของเถรวาทนี้ เปนที่ยอมรับกันวาเปน
พระธรรมปฎก (ป. อ. ปยุตฺโต) 19

คําสอนดั้งเดิมแทของพระพุทธเจา เกาแกที่สุดเทาที่จะสืบหาได แลว


รักษากันมาอยางเครงครัด ทั้งแมนยําที่สุดและครบถวนที่สุด
เวลานี้ในโลกก็รกันอยวาพระพุทธศาสนามีนิกายใหญ 2 นิกาย
คือ เถรวาท กับ มหายาน นอกจากพระพุท ธศาสนาแบบเถรวาท
อยางของเรานี้ ก็มีพระพุทธศาสนาแบบมหายาน ที่มีในประเทศแถบ
เอเชียภาคเหนืออยาง ญี่ปน จีน เกาหลี มองโกเลีย เปนตน รวมทั้ง
ทิเบตซึ่งมักจะไมยอมเรียกตนเปนมหายาน แตเรียกตนวาวัชรยาน
กลายเปน 3 นิกาย
ทั้งโลกนี้รกันอยและยอมรับกันทั่วไปวา เถรวาทเปนพระพุทธ-
ศาสนาดั้งเดิม พระไตรปฎกบาลีก็เปนพระไตรปฎกดั้งเดิม ชาวพุทธ
ฝายมหายานก็ยอมรับเชนนั้น นักปราชญที่เชี่ยวชาญดานมหายาน
นั่นแหละ พูดออกมาเองอยางเต็มปาก
ยกตัวอยางดานจีน เชน Professor Soothill ผูรวบรวม
พจนานุกรมศัพทพระพุทธศาสนาภาษาจีน เขียนไวในคํา “มหายาน”
วา
“Mahæyana . . . is interpreted as มหายาน(คําจีน) the greater
teaching as compared with หินยาน(คําจีน) the smaller, or
inferior. Hinayæna, which is undoubtedly nearer to the
original teaching of the Buddha, is unfairly described as an
endeavour to seek nirvæna through an ash-covered body, an
extinguished intellect, and solitariness; . . .”
“มหายาน . . . ไดรับการแปลความหมายใหเปนหลักธรรมที่
ยิ่งใหญกวา โดยเปรียบเทียบกับ “หินยาน” ซึ่ง(ถูกแปล
ความหมายให) เปนหลักธรรมที่เล็กนอยหรือดอยกวา. หินยาน
ซึ่งไมตองสงสัยเลยวาใกลเคียงกับคําสอนดั้งเดิมของ
พระพุทธเจามากกวา ถูกกลาวขานอยางไมเปนธรรม วาเปน
20 กรณีธรรมกาย

ความพยายามที่จะแสวงนิรวาณ(นิพพาน) ดวยอาศัยกายที่
หมกเถาธุลี ปญญาที่ดับอับแสง และการปลีกตัวหลีกเรน; . .
.”1
ตัวอยางดานญี่ปุน เชน Professor Mizuno ไดเขียนหนังสือไว
ใหรูวา
“. . . of all the sects and schools of Buddhism, Theravada
Buddhism, one of the major Hinayæna schools, is the only
one that possesses a complete canon in a single language.”2
“ในบรรดาพุทธศาสนาทั้ง หมดทุกนิกายนั้น พุ ท ธศาสนา
เถรวาท ซึ่งเปนนิกายใหญนิกายหนึ่งในสายหินยาน เปน
พุทธศาสนานิกายเดียว ที่มีพระไตรปฎกครบถวนบริบูรณ
อยูในภาษาเดียว”
ตัวอยางดานประเทศตะวันตก T. O. Ling ก็เขียนไวใน Dictionary
ของเขาทํานองเดียวกันวา
“Tipitaka The canon of Buddh. scripture in Pali, regarded as
authoritative by the Theravada; it is earliest form of Buddh.
teaching available and the most complete.”3
“ติปฏก คัมภีรหลักของพระพุทธศาสนาในภาษาบาลี ซึ่งเถร
วาทยึดถือเปนแบบแผน ติปฏกเปนคําสอนของพุทธศาสนา
แบบดั้งเดิมสุดเทาที่มีอยู และสมบูรณที่สุด”
เรื่อ งที่วา พระไตรปฎ กบาลีเ กา แก เดิม แท ครบถว นที่สุด นี้

1
William Edward Soothill and Levis Hodous, A Dictionary of Chinese Buddhist
Terms (London: Kegan Paul, Trench, Trubner & Co., Ltd., 1934), p.83.
2
Kogen Mizuno, Buddhist Sutras (Tokyo: Kosei Publishing Co., 1982), p.30.
3
T. O. Ling, A Dictionary of Buddhism (New York: Charles Scribner's Sons,
1972), p.255.
พระธรรมปฎก (ป. อ. ปยุตฺโต) 21

เปนที่รูและยอมรับกันทั่ว แตที่กาวไปไกลกวานั้น ก็คือการที่ปราชญ


มหายาน รวมทั้งในประเทศมหายานเอง ยอมรับดวยวาคัมภีรของ
ตนไม ใ ช พุ ท ธพจน แ ท จ ริ ง จนกระทั่ ง เห็ น ว า จะต อ งหั น มาศึก ษา
พระไตรปฎกบาลีของเถรวาทดวย
ยกตัวอยาง นาย Christmas Humphreys ที่เอกสารของวัด
พระธรรมกาย ยกยองใหเปน “ปราชญใหญทางพระพุทธศาสนาใน
ดินแดนตะวันตก ที่มีชื่อเสียงกองโลก” ไดเขียนไวในหนังสือตํารา
อ า งอิ ง ของเขาให รู ว า พระสู ต รของมหายานไม ใ ช คํ า ตรั ส ของ
พระพุทธเจา ดังความวา
“The Suttas of the Theravada are presented as actual sermons
of the Buddha; those of the Mahayana are frankly later
compilations put into his mouth”1
“พระสูตรทั้งหลายของเถรวาทนั้น ทานนําเสนอไวโดย
เปนพระธรรมเทศนาที่แทจริงของพระพุทธเจา; สวนพระสูตร
ทั้งหลายของมหายาน พูดกันตรงไปตรงมาก็คือคํานิพนธยคุ
หลังที่บรรจุเขาในพระโอษฐ”
ในประเทศญี่ปุน ความตื่น ตัว ของมหายานที่จ ะมาถึง ขั้น นี้
ตองผานความกระทบกระทั่งเจ็บปวดกันบาง อยางที่ Dr. Mizuno
เขียนเลาตอนหนึ่งวา
“Dr. Murakami stated that Shakyamuni is the sole historical
Buddha and that Amitabha Buddha . . . never existed . . .
clearly the statement that Shakayamuni did not expound
Mahayana teachings is consistent with historical evidence.”2

1
Christmas Humphreys, A Popular Dictionary of Buddhism (London: Curzon
Press, 1976), p. 172.
2
Mizuno, p. 129.
22 กรณีธรรมกาย

“ดร.มูรากามิ กลาววา พระศากยมุนีเปนพระพุทธเจาที่


มีอยูพระองคเดียวในประวัติศาสตร และกลาววา พระ
อมิตาภพุทธะ ที่ศาสนิกนิกายสุขาวดีทั้งหลายนับถือนั้น ไม
เคยมีจริง . . . คํากลาวที่วาพระศากยมุนีมิไดตรัสแสดงคํา
สอนของมหายานนั้น เปนการสอดคลองกับหลักฐานทาง
ประวัติศาสตรอยางแจงชัด”
Dr. Mizuno ไดเขียนถึงสภาพปจจุบันวา
“. . . in Japan it is commonly held that, for a correct
understanding, a thorough study of Mahayana Buddhism
must include both primitive and fundamental Buddhism.
The study of Pali sutras has served three important
purposes. It has helped to provide a correct understanding of
both primitive and fundamental Buddhism as the basis of
Buddhism; to advance unity and cooperation among Japanese
Buddhists of different sects, since the Mahayana Buddhist
sects all originate in the same sources—primitive and
fundamental Buddhism; and to provide agreement that
Shakyamuni was the founder of Buddhism.”1
“. . . ในประเทศญี่ปุน ไดยึดถือรวมกันวา เพื่อความ
เขาใจที่ถูกตอง การศึกษาพุทธศาสนามหายานอยางทั่วตลอด
จะตองรวมเอาพุทธศาสนา (เถรวาท) ที่ทั้งดั้งเดิมและเปน
พื้นฐานดวย”
“การศึกษาพระสูตรบาลีสนองวัตถุประสงคสําคัญ 3
ประการ คือ (1) ชวยให มีความเข าใจอยางถูก ตอ งต อ
พระพุทธศาสนา (เถรวาท) ที่ทั้งดั้งเดิมและเปนพื้นฐานนั้น
วาเปนที่ตั้งของพระพุทธศาสนา; (2) เพื่อสงเสริมเอกภาพและ

1
Ibid., p.32.
พระธรรมปฎก (ป. อ. ปยุตฺโต) 23

ความรวมมือกันในหมูชาวพุทธญี่ปุนผูนับถือนิกายตางๆ
ดวยเหตุที่พุทธศาสนามหายานทุกนิกายลวนมีกําเนิดจาก
แหลงเกิดเดียวกันคือ พุทธศาสนา (เถรวาท) ที่ทั้งดั้งเดิมและ
เปนพื้นฐานนัน้ และ (3) เพื่อใหมีความเห็นรวมกันวาพระ
ศากยมุนี เปนพระศาสดาผูประดิษฐานพุทธศาสนา”
พระพุท ธศาสนาทั้ง เถรวาทและมหายานตา งก็มีห ลัก การ
ของตนเองที่แนนอน ชัดเจน ยิ่งมหายานแตกแยกเปนนิกายยอย ๆ
มากมาย ดังเชนในญี่ปน ไมตองนับนิกายที่ลมหายสาบสูญไปแลว
ในยุคตาง ๆ ปจจุบันนี้ก็ยังมีนิกายใหญถึง 5 นิกาย และแตกเปน
นิกายยอยอีกประมาณ 200 นิกาย แตละนิกายก็มีคําสอน มีหลักการ
ตางๆ ที่แตกตางกัน และมหายานดวยกันเองนั้นแหละแตกตางกัน
ไกล บางทีแตกตางกันเองมากยิ่งกวาแตกตางกับพระพุทธศาสนา
ฝายเถรวาทดวยซ้ํา
ถาพระพุทธศาสนาฝายเถรวาทอยางของเราไมสามารถรักษา
หลักการของตนไวได ปลอยใหหลักการหรือคําสอนภายนอกอยางของ
มหายานเขามาปะปน จะไมเพียงเกิดความสับสนเทานั้น แตคําสอน
ที่แทจริงของพระพุทธเจา ที่ใครๆ หวังจากเรา ก็จะพลอยเลอะเลือน
หมดไป

เพราะไมรักษาคําสอนเดิมของพระพุทธเจาไว มหายาน
จึงตางกันเองหางไกล ยิ่งกวาตางจากเถรวาทอยางไทย
ความจริงการชําระสะสางแยกกันชัดเจนระหวางเถรวาทกับ
มหายานนั้น ไดมีมานานแลวตั้งแตกอนเกิดเปนมหายานดวยซ้ําไป
24 กรณีธรรมกาย

หมายความวา กอนจะมีนิกายมหายานนั้นมีความคิดเห็นแปลกแยก
ออกไป ซึ่งในระยะแรก เรียกวามหาสังฆิกะ แลวจึงพัฒนาขึ้นมาเปน
มหายานภายหลัง การชําระสะสางความคิดเห็นแปลกแยกเหลานี้
ทางฝายเถรวาทไดชี้แจงแสดงไวชัดเจนแลว ตั้งแตสังคายนาครั้งที่ 3
ที่พระเจาอโศกมหาราชเปนองคอุปถัมภ เมื่อ พ.ศ. 235
พระไตรปฎกภาษาสันสกฤตก็ดี จีนก็ดี ทิเบตก็ดี หรือภาษา
อะไรอื่น ก็ดีที่น อกบาลีทั้ง หมดนั้น ลว นเปน ของมหายาน หรือ
สืบเนื่องตอมาหลังสังคายนาครั้งที่ 4 (ทางมหายานถือวาเปนครั้ง
ที่ 3) ที่เมืองบุรุษปุระ ทางตะวันตกเฉียงเหนือของอินเดีย เมื่อ พ.ศ.
643 ซึ่งเปนการสังคายนาของนิกายสรวาสติวาทิน มหายานยอมรับ
การสังคายนาครั้งนี้ ตอมานิกายสรวาสติวาทิน สาบสูญไปแลว แต
มหายานพัฒนาตอมาโดยใชคัมภีรภาษาสันสกฤตอยางเดียวกับ
นิกายสรวาสติวาทิน
คัม ภีร พ ระไตรปฎ กสัน สกฤตเปน ของเกิด ภายหลัง จาก
พระไตรปฎกภาษาบาลีที่เปนของดั้งเดิม การชําระสะสางก็ดี การรู
ความแตกตางกันนั้นก็ดี เปนเรื่องที่ชัดเจนอยกอนแลว หมายความวา
พระเถระที่รวบรวมจัดทําสังคายนาพระไตรปฎกบาลีของเถรวาท
นั้น ทานรความแตกตางอยกอนแลว และทานไดสะสางไวเสร็จแลว
เราจึงไมควรจะนํากลับไปปะปนกันอีก
ยิ่งพระไตรปฎกจีนดวยแลว ก็เกิดสืบเนื่องจากพระไตรปฎก
ฉบับ สัน สกฤตนั้น อีก ตอ หนึ่ง พระไตรปฎ กจีน นั้น ไมไ ดเ กิด ขึ้น ใน
อินเดีย แตเกิดขึ้นในประเทศจีน เพราะฉะนั้นก็หางหลังฉบับภาษา
สันสกฤตออกไปอีก
พระธรรมปฎก (ป. อ. ปยุตฺโต) 25

เทาที่นักประวัติศาสตรสืบทราบได พระพุทธศาสนาที่เขาไปสู
ประเทศจีนอยางจริงจังนั้น ไดเริ่มเมื่อประมาณ พ.ศ. 608 เมื่อ
พระเจามิ่งตี่ หรือเมงตี่ ทรงสงทูต 18 คนไปสืบพระพุทธศาสนาใน
ประเทศตะวันตก คือ อินเดีย หรือชมพูทวีป ในครั้งนั้นพระกาศยปะ
มาตังคะที่เขามาประเทศจีนจากประเทศอินเดีย ไดแปลพระสูต ร
พุทธวัจนะ 42 บท ที่ฝรั่งแปลเปนภาษาอังกฤษวา The Sþtra of Forty-
two Sections ขึ้นเปนสูตรแรก

ตอมาอีกนานจึงมีการแปลคัมภีรพระไตรปฎกภาษาสันสกฤต
เปนจีนอยางจริงจังประมาณป พ.ศ. 944 เมื่อพระกุมารชีวะจาก
แควน กูจ า ในเอเชีย กลาง มาถึง นครเชีย งอานแลว ไดแ ปลคัม ภีร
ออกมาสวนหนึ่ง ตอจากนั้น เหตุก ารณใ หญอีกครั้งหนึ่งก็คือสมัย
ราชวงคถัง เมื่อหลวงจีนที่เรารจักกันดี คือพระถังซําจั๋ง หรือหลวงจีน
เหี้ ย นจั ง หรื อ ยวนฉาง ได ไ ปสื บ พระไตรป ฎ กในไซที คื อ แคว น
ตะวันตก หรือดินแดนตะวันตก ซึ่งหมายถึงชมพูทวีป ใน พ.ศ. 1172
แลวกลับมาถึงเมืองจีนเมื่อ พ.ศ. 1188 คือเกือบ พ.ศ. 1200 และได
แปลพระสูตรภาษาสันสกฤตที่นํามาจากอินเดียเปนภาษาจีน
สวนพระไตรปฎกภาษาทิเบตก็เชนเดียวกัน เพิ่งแปลมาจาก
ภาษาสันสกฤตหลัง พ.ศ. 1160 เพราะวาพระพุทธศาสนาเพิ่งเขาส
ทิเบตในชวง พ.ศ. 1160 นั้น เมื่อกษัตริยทิเบตอภิเษกสมรสกับ
เจาหญิงเนปาลและเจาหญิงจีน ที่นับถือพระพุทธศาสนา
พระไตรปฎกมหายานที่เปนหลัก ก็มีของจีนกับของทิเบตเทานี้
26 กรณีธรรมกาย

สวนพระไตรปฎกมหายานนอกจากนี้ ก็ถายทอดตอจากจีน-ทิเบต
ไปอีก อยา งของเกาหลี1 และญี่ปุน เปน ตน หรือ ไมก็เ ปน เพีย ง
กระเส็นกระสาย มีนิดๆ หนอยๆ หาเปนชิ้นเปนอันไดยาก
ที่นาเสียดายก็คือ พระไตรปฎกฉบับภาษาสันสกฤตที่เปน
ตนเดิมของมหายานนั้น ไดสูญหายไปแทบหมดสิ้น แมจะกลับไป
พบที่ฝงหรือเก็บใสสถูปเจดียไว ก็อยูในสภาพกระจัดกระจายหรือ
แหวงวิ่น
พระไตรปฎ กเดิมของสันสกฤต เกิดหลังบาลีอยแลว ยัง มา
สูญหายไปเสียอีก พระไตรปฎกฉบับภาษาจีนและทิเบตที่แปลตอ
จากฉบับ สันสกฤตนั้น ก็เ ลยแทบไมมีตน ฉบับ เดิมที่จะตรวจสอบ
การที่ จ ะสื บ หาคํ า สอนเดิ ม ที่ แ ท แ ปลให ต รงจริ ง จึ ง เป น ไปได ย าก
ดังเชนพระไตรปฎกของจีนนั้น บางเรื่องเปนพระสูตรเดียวกัน แต
เมื่อไมมีฉบับภาษาสันสกฤตที่เปนตัวเดิม ก็เลยรวมเขาชุดโดยเอาทั้ง
ฉบับแปลของพระกุมารชีวะ (ราว พศ. 944) และฉบับแปลของ
หลวงจีน เหี้ยนจัง (ราว พศ. 1188) เพิ่มความใหญโตใหแก
พระไตรปฎกของมหายาน
เปน อัน วา พระไตรปฎ กของมหายาน ตั้ง แตฉ บับ ใหญข อง
จีนและทิเบต ตลอดจนฉบับภาษาอื่นๆ ที่มีกระเส็นกระสาย ไมวา
จะพบที่ไหน เราก็พูดไดชัดเจนวาเปนของที่เกิดทีหลัง และเมื่อมอง

1
เกาหลี เคยมีพระไตรปฎกมหายานทีน่ ับวาสมบูรณมาก ซึ่งจารึกจบในรัชกาลพระเจา
มุนจง (King Munjong, พ.ศ. 1590-1625) แตถกู ทําลายเสียเมื่อครั้งมงโกลรุกราน
ใน พ.ศ. 1774 ตอมาไดทําขึ้นใหม โดยจารึกในแผนไม ใน พ.ศ. 1779
พระธรรมปฎก (ป. อ. ปยุตฺโต) 27

ในแงของการรักษาคําสอนของพระพุทธเจา ก็อยูในสภาพงอนแงน
นอกจากสืบ หาพุท ธพจนไ ดย ากแลว ก็ยัง เปน สว นที่แ ตง ใหมใ ส
พระโอษฐเขาไปอีก ตางจากพระไตรปฎกบาลีของเถรวาทที่นอกจาก
เปนของดั้งเดิมกอนกวาแลว ก็ยังมีประวัติการรักษาสืบตอมาอยาง
มั่นคง ดังที่ปราชญพุทธศาสนาไมวาที่ไหนๆ ไมตองพูดถึงตัวเราเอง
แมถึงตะวันตกและประเทศมหายานเองก็ยอมรับทั่วกัน
การที่เราเจอพระไตรปฎกอื่น ๆ นั้นก็เปนขอดีใน 2 ประการ คือ
ประการที่ 1 จะไดรวาเรื่องนั้นๆ ทางมหายานสอนวาอยางไร
และเมื่อ พูด ถึง มหายานก็ตอ งแยกนิก ายดว ยวา นิก ายไหนของ
มหายานสอนไววาอยางไร แตไมใชหมายความวาจะเอามาปะปนกัน
(มหายานดวยกันเองเขาก็ไมยอมใหตางนิกายมาปนกับเขา) แตเอา
มาเทีย บเพีย งใหรวา ในเรื่อ งนี้ เชน นิพพาน ทางเถรวาทสอนวา
อยางนี้ มหายานนิกายนี้สอนวาอยางนี้ มหายานนิกายนั้นสอนวา
อยางนั้น เพราะนิกายมหายานนั้นแตกแยกกันออกไปมาก ตาม
คําสอนของอาจารยในแตละนิกาย ดังที่เรียกชื่อมหายานอีกอยาง
หนึ่งวา อาจารยวาท (บาลีวา อาจริยวาท) มหายานเองก็ไมลงกัน
เราควรจะปลอยใหมหายานเถียงกันดีกวาที่จะไปเถียงดวย ถาเรา
เอาคําสอนมหายานจากพระไตรปฎกมหายานเขามาละก็จะยงกัน
ใหญ เพราะมหายานเองก็ยงกันอยแลว
ประการที่ 2 ยิ่งคนพบพระไตรปฎกในประเทศอื่น ๆ มากเทาไร
ก็ยิ ่ง เปน การชว ยย้ํ า ใหเ ราไดห ลัก ฐานมายืน ยัน เรื ่อ งราวที่
พระไตรปฎกบาลีของเราไดบันทึกไวชัดเจนกอนตั้งแต พ.ศ. 235
แลววาทา นไดชํา ระสะสางนิก ายแตกแยกแปลกปลอมทั้ง หลาย
28 กรณีธรรมกาย

แสดงวาลัทธิเชนนั้นเกิดขึ้นจริง ๆ ดังหลักฐานที่ไดคนพบภายหลัง
เหลานั้น

ถาตีรวนพระไตรปฎกได ก็ถอนรากพระสงฆไทยสําเร็จ
เรื่องนี้จะตองทําความเขาใจใหชัด เวลาพูดจะตองจําแนกวา
เถรวาทหรือพระไตรปฎกเถรวาทวาอยางนี้ พระไตรปฎกมหายานวา
อยางนี้ ถาไมทําอยางนี้จะสับสนปนเปเกิดปญหามากมายยงกันไม
จบ และพระพุทธศาสนาที่แทก็จะหมดไปดวย
ยกตัวอยาง ดังที่กลาวแลววาในประเทศญี่ปุนมีพุทธศาสนา
มหายานหลายนิกาย และแยกนิกายยอยเปนรอยๆ นิกาย เอาเฉพาะ
นิกายใหญ 5 นิกาย ก็สอนและปฏิบัติตางกันมากมาย
เวลานี้สิ่งหนึ่งที่พระมหายานของญี่ปุนทุกนิกายรักษาไวไมได
ก็คือเพศพรหมจรรย นิกายเซนที่วารักษาไวดวยดีมานาน เดี๋ยวนี้
ตัวอาจารยเจาสํานักก็มีครอบครัวกันไป
พระญี่ปุน บางนิก าย อยา งนิก ายชิน นอกจากมีค รอบครัว
แลว ยังทําธุรกิจ เปนเจาของโรงงานอุตสาหกรรม เปนเจาของกิจการ
ทําการคาพาณิชยตางๆ บางก็เลนการเมือง บางนิกายถึงกับตั้งพรรค
การเมือง อยางเชน นิกายโซกะงักไก ที่เปนนิกายยอยหนึ่งของนิกาย
นิจิเรน ไดตั้งพรรคการเมืองโกเมโตขึ้น
พระญี่ปุนบางนิกายนั้นในประวัติศาสตรถึงกับตั้งกองทัพของ
ตนเอง มีอํานาจทางการเมืองและทางการทหารมาก แขงอํานาจกับ
ทางฝายบานเมืองนั้น หรือแขงอํานาจกับพวกขุนนาง จนในที่สุดทาง
ฝายบานเมืองทนไมไหว ตองยกทัพเขามาปราบปราม ทําสงครามกัน
พระธรรมปฎก (ป. อ. ปยุตฺโต) 29

สวนทางพระพุทธศาสนาเถรวาทนั้น ก็อยางที่กลาวแลววา
รั ก ษาวิ นั ย แบบแผนคํ า สอนหลั ก การเดิ ม ไว อ ย า งแม น ยํ า ที่ สุ ด
เพราะฉะนั้นสภาพสับสนและเหตุการณแปลกๆ อยางนั้นจะไมเกิดขึ้น
เพราะวินัยที่พระรักษานั้น ปองกันไวอยางรัดกุมที่สุด ไมมีทางที่จะ
คลาดเคลื่อนไปได นอกเสียจากวาเราจะไมรักษาพระไตรปฎกบาลี
นี้ไว
ถาไมรจัก แยกอยา งที่วาขา งตน ตอไปก็อ าจจะมีก ารกลา ว
อาง เชนอาจจะมีพระภิกษุบางรูปพูดขึ้นมาวา เอะ! ที่ประเทศญี่ปุน
พระไตรปฎกฉบับนิกายนั้นไมเห็นมีพุทธบัญญัติขอนั้น หรือวาบาง
นิกายไมเห็นตองใหความสําคัญมากมายแกพระไตรปฎก เพราะเขา
นับถืออาจารยเปนใหญ เขาก็เปนพระพุทธศาสนาอยได เขาไมไดถือ
วินัยอยา งเรา วินั ยขอนั้นๆ ไมมีในพระไตรปฎกของญี่ปุ น เขาถื อ
อยางนั้น ๆ แลวทําไมเราจะตองมาถืออยางนี้ดวย ก็อาจจะเปนไปได
วา พระไทยตอไปจะรักษาความเปนพระภิกษุแบบเถรวาทไวไมได
จะมีครอบครัว หรือจะทําธุรกิจอุตสาหกรรม เปนเจาของโรงงาน เปน
เจาของกิจการคาขาย ทําการคาพาณิชย ตลอดจนกระทั่งมีอํานาจ
ในทางการเมือง อยางที่เคยเปนหรือเปนอยูในประเทศญี่ปนและใน
บางประเทศอื่น ๆ
ในดานหลักการทางธรรม ถาเอาพระไตรปฎกฉบับอื่นๆ มาอาง
กันสับสน ตอไปก็อาจจะมีภิกษุบางรูปพูดวา เอะ! ในประเทศญี่ปน
นั้นบางนิกายเขามีพระสูตรอื่นๆ ที่เราไมมี อยางเชน สุขาวตีวยูหสูตร
ที่เปนหลักสําคัญของนิกายโจโด และนิกายชิน ซึ่งเปนนิกายที่นักบวช
มีบุตรภรรยา และทํากิจการธุรกิจอุตสาหกรรมที่กลาวมาแลว
30 กรณีธรรมกาย

สุข าวตีว ยูห สูต รนั้น สอนวา มีส วรรคทิศ ตะวัน ตก เรีย กวา
แดนสุขาวดี ที่มีพระพุทธเจาชื่อวา อมิตาภะ ประทับอยู ใครอยากจะ
เกิดในสวรรคสุขาวดีก็ใหเอยนามพระองคใหมากที่สุดโดยเฉพาะ
เวลาตาย ก็จะไดไปอยกับพระอมิตาภะ และรอเขานิพพานที่นั่น ถา
ใครเกิดบอกวาพระสูตรนี้ไมมีในพระไตรปฎกบาลีของเรา นาจะเอา
เขามาดวยอยางนี้เปนตน จะวาอยางไร ความชัดเจนในหลักการและ
ในคัมภีรของตนเองนี้จึงเปนเรื่องที่สําคัญอยางยิ่ง
คัมภีรพระไตรปฎกบาลีของเถรวาทนั้นเปนของที่สืบมาจาก
การสังคายนาครั้งแรก จึงถือวาตนเดิมที่สุด และก็ไดชําระสะสาง
ความเห็นแตกแยกแปลกปลอม โดยเฉพาะในการสังคายนาครั้งที่ 3
สมัยพระเจาอโศกมหาราช พ.ศ. 235 นั้น เปนที่ชัดเจนจะแจงอยแลว
ว า อะไรใช อะไรไม ใ ช คํ า สอนของพระพุ ท ธศาสนาแบบเดิ ม แท ที่
เรียกวาเถรวาทนี้
จริงอยูในเรื่องปลีกยอยเล็กๆ นอยๆ อาจจะมีอะไรที่ไมชัดเจน
ไดเปนเรื่องธรรมดา เชนอยางพระเทวทัตกับพระสารีบุตร ใครจะมี
อายุม ากกวา กัน อยา งนี้ อาจจะหาหลัก ฐานไมไ ด หรือ วา ตน โพธิ์
ชื่อวาอานันทโพธิที่พระเชตวันปลูกขึ้นปไหนในระหวางพุทธกิจ 45
พรรษา ดังนี้เปนตน แตเรื่องเหลานี้ไมใชขอสําคัญ สิ่งที่สําคัญก็คือ
หลักการใหญๆ อยางที่กลาวแลว เชนนิพพานนั้นจะตองชัดเจน ทาน
ไมปลอยไวใหคลุมเครือ ดังที่กลาวแลว
ยิ่ง เปน เรื่อ งที่ผป ฏิบัติห รือ ศาสนิก ไมอ าจจะรเ ขา ใจได ถา
พระศาสดาไมวางหลักการไวใหชัดเจน คําสอนของพระองคก็แทบ
จะไมเกิดประโยชน เพราะผปฏิบัติไมรวาตนปฏิบัติอะไรอยู เปนการ
พระธรรมปฎก (ป. อ. ปยุตฺโต) 31

ปฏิบัติคําสอนของพระพุทธเจา หรือปฏิบัติคําสอนของเจาสํานักที่
คิดขึ้นเองใหม หรือปฏิบัติอะไรที่เปนความคิดเห็นสวนตัวของเขาเอง
หรือแมแตปฏิบัติลัทธิอื่นนอกพระพุทธศาสนา
จริงอย พระไตรปฎกมหายานที่แปลไปเปนภาษาจีนเปนตน
แลว อาจใหประโยชนไดบางในแงที่วา มาเทียบเคียงคําสอนเล็กๆ
นอยๆ เชนขอความในคาถาบางคาถา วามีแปลกกันอยางไร แตนั่น
ไมใ ชเ รื่องหลัก การใหญ สวนตัวหลัก การใหญนั้น ทานวางไวและ
ชําระสะสางกันชัดเจนไปแลว มีแตพูดไดวาเถรวาทสอนวาอยางนี้
มหายานสอนวาอยางนั้น หรือมหายานนิกายนี้วาอยางนี้ มหายาน
นิกายนั้นวาอยางนั้น เปนตนเทานั้น ไมใชเรื่องที่จะมาปะปนกัน

เมื่อชาวพุทธยังนับถือพระไตรปฎก
ก็ยังเคารพพระพุทธเจา และมีพระศาสดาองคเดียวกัน
ประโยชนที่พุทธศาสนิกชนตองการ คือ พระพุทธศาสนาแท
ที่เปนพระดํารัสตรัสสอนของพระพุทธเจา พระไตรปฎกเปนแหลงที่
บรรจุพระดํารัสตรัสสอนที่เราตองการนั้น และเปนที่ยอมรับทั่วกัน
รวมทั้งนักปราชญพุทธศาสนาของมหายานวา พระไตรปฎกบาลีของ
เถรวาทนี้ เปนหลักฐานแสดงพุทธวจนะที่
– ดั้งเดิมแทเกาแกที่สุด
– รักษาคําสอนของพระพุทธเจาไวไดแมนยําที่สุด
– ครบถวนสมบูรณที่สุด
ที่วานี้มิใชห มายความวา พระไตรปฎกบาลีจ ะมีพุท ธดํารัส
ครบถวนทุกถอยคําของพระพุทธเจา หรือวาทุกถอยคําในพระไตรปฎก
32 กรณีธรรมกาย

เปนพุทธดํารัส แตหมายความวาพุทธพจนเทาที่บันทึกไวได และมี


มาถึงเรา อยูในพระไตรปฎก พระไตรปฎกนั้นเรียกไดวาเปนแหลงเดียว
ที่เราจะหาคําสอนที่แทของพระพุทธเจาได
เมื่อเรานับ ถือพระพุทธศาสนา และปฏิบัติพระพุทธศาสนา
ก็คือเรายอมรับและตองการปฏิบัติตามที่พระพุทธเจาตรัสสอน ซึ่ง
หมายความวา เราจะตองไปเฝาและไปฟงพระพุทธเจาตรัสเอง ถึงจะ
มีใ คร เชน ครูอ าจารยชวยเลา ตอใหฟง ก็ไ มเ ทาไดไ ปฟง พระองค
ตรัสเอง เพราะฉะนั้น แมแตในสมัยพุทธกาล คนที่อยูเมืองไกล ไดฟง
คําสอนของพระพุทธเจาจากพระอาจารยนําเขาสูพระพุทธศาสนา
แลว ตอมาในที่สุดก็เพียรพยายามเดินทางบุกปาฝาดงแสนไกล มาเฝา
พระพุทธเจา
บัดนี้ เมื่อพระพุทธเจาปรินิพพานแลว เราจึงไมมีทางเลี่ยงที่
จะตองไปหาและไปเอาคําสอนของพระองคจากพระไตรปฎก และ
ใชคําตรัส สอนในพระไตรปฎ กนั้น เปน เกณฑตัด สิน วา สิ่ง ที่ใ ครก็
ตามเชื่อถือหรือปฏิบัติอย เปนพระพุทธศาสนาหรือไม
ใครก็ต ามที ่ก ลา วอา งวา ตนปฏิบ ัต ิไ ดโ ดยไมต อ งอาศัย
พระไตรปฎก ก็คือพูดวา ตนปฏิบัติไดโดยไมตองอาศัยพระพุทธเจา
เมื่อเขาปฏิบัติโดยไมอาศัยคําตรัสสอนของพระพุทธเจา เราจะเรียก
การปฏิบัตินั้นวาเปนพระพุทธศาสนาไดอยางไร แนนอนวานั่นเปน
การปฏิบัติลัทธิความเชื่อหรือความคิดเห็นของตัวเขาเอง หรือของ
ใครอื่นที่คิดขอปฏิบัตินั้นขึ้นมา หรืออยางดีก็เปนความที่เอามาเลา
ตอ จากพระไตรปฎ ก แบบฟง ตามๆ กัน มา ซึ ่ง เสี ่ย งตอ ความ
คลาดเคลื่อนผิดเพี้ยน
พระธรรมปฎก (ป. อ. ปยุตฺโต) 33

เวลานี้ ชาวพุทธควรจะติติงและตักเตือนกันใหตระหนักถึง
ความสําคัญของการปฏิบัติตอพระพุทธเจาใหถูกตอง เพราะมีการ
กลาวอางพระพุทธเจา หรือกลาวอางพระพุทธศาสนา (แปลวา คําสอน
ของพระพุทธเจา) กันงายๆ โดยมิไดมีการตรวจสอบวาพระองคตรัส
ไวหรือไม หรือเปนเพียงความเชื่อหรือการคิดเอาของตนเอง ซึ่งถาไม
ถือวาเปนการกลาวตูพระพุทธเจา ก็เปนการไมเปนธรรมตอพระองค
และถาไมถือวาเปนการหลอกประชาชน ก็เปนความไมใหความเปน
ธรรมแกประชาชน เชนเดียวกัน
ในเมืองไทยของเรา นาเปนหวงวากําลังมีความโนมเอียงจะ
เปนอาจริยวาทกันมาก มักมีการอางพระเถระ พระมหาเถระองคนั้น
องคนี้ จนจะกลายเปนการเอาอาจารยของตนไปตัดสินพระพุทธเจา
แทนที่จะอัญเชิญพระพุทธเจามาเปนมาตรฐานแกอาจารย
ที่จริงนั้น คําสอนของพระเถระ และครูอาจารยที่เราเรียกกันนี้
ตามเกณฑมาตรฐาน ทานไมยอมใหเรียกวาเปนอาจริยวาทเลย ทาน
ยอมใหเปนอัตตโนมติเทานั้น
คํ า สอนของพระเถระ และพระอาจารย ทั้ ง หลายนั้ น เป น
เครื่องชวยเราในการศึกษา และชวยโยงชวยสื่อเราเขาหาพระพุทธเจา
เทานั้น ไมใชเปนเกณฑวินิจฉัยหรือตัดสินพระพุทธศาสนา อยาวาแต
พระเถระและพระมหาเถระรุน หลัง ๆ เหลา นี้เ ลย แมแ ตพ ระธรรม
เสนาบดีสารีบุตร อัครสาวกสูงสุด เมื่อมีปญหาขอธรรม ก็ยังมีความ
เคารพตอองคพระศาสดา นําถวายพระพุทธเจาทรงวินิจฉัย
แมพ ระมหากัส สปเถระ พระอุบ าลีผูย อดแหง วินัย ธร และ
พระธรรมภัณฑาคาริกอานนท พรอมดวยพระอรหันตสาวก รวม
34 กรณีธรรมกาย

ดวยกัน 500 รูป ผูทันเห็นทันเฝาทันตามเสด็จพระพุทธเจา ก็พรอมใจ


กั น ยกให พ ระธรรมวิ นั ย ที่ ม าอย ใ นพระไตรป ฎ กนี้ มี ค วามสํ า คั ญ
เหนือกวาวาทะของทานนั้นๆ เอง
เมื ่ อ ชาวพุ ท ธทั ้ ง ปวงยั ง นั บ ถื อ และรั ก ษาคํ า สอนของ
พระพุทธเจาในพระไตรปฎก ก็ยังสมควรแกคําที่เรียกวาเปนผูนับถือ
พระพุทธศาสนา และมีหลักที่จะยึดเหนี่ยวใหเปนอันหนึ่งอันเดียวกัน
โดยมีพ ระพุท ธเจา องคห นึ่ง องคเ ดีย วกัน เปน แกนกลางและเปน
ศูนยรวม

ถาหลักคําสอนยังมีมาตรฐานรักษา
พระพุทธศาสนาก็อยูไปไดถึงลูกหลาน
แทที่จริง บุคคล 2 ประเภทนี้ เทากับประกาศตัวอยูโดยนัยวา
มิไดนับถือพระพุทธศาสนา มิตองพูดถึงวาจะเปนพระภิกษุหรือผ
บวชอยในพระธรรมวินัย กลาวคือ
1. ผูกลาวอางวา ตนปฏิบัติไดเอง โดยไมตองอาศัย ไมตองฟง
ไมตอ งสดับคําสอนของพระพุทธเจา
2. ผู ป ฏิ เ สธคํ า สอนของพระพุ ท ธเจ า ดั ง ที่ มี ม าถึ ง เราใน
พระไตรปฎก
ที่พูดทั้งนี้มิใชหมายความวาจะตองยอมรับคําและความทุก
อยางในพระไตรปฎก โดยมิใหสงสัยหรือไตถาม ในพระพุทธศาสนา
ไมมีการผูกขาดเชนนั้น เพราะทานเปดเสรีภาพใหแมแตที่จะปฏิเสธ
พระไตรปฎก และปฏิเสธพระพุทธเจา แลวปฏิบัติการอยางซื่อตรง
โดยสละภิกขุภาวะหรือไมอยูในพระพุทธศาสนาตอไป แตสําหรับผู
พระธรรมปฎก (ป. อ. ปยุตฺโต) 35

ที่ ยั ง นั บ ถื อ พระพุ ท ธศาสนา ก็ ต อ งปฏิ บั ติ ก ารตรงไปตรงมา


เชนเดียวกัน กลาวคือ การนับถือพระพุทธศาสนา แปลวานับถือคํา
สอนของพระพุทธเจา จึงตองเพียรหาคําสอนของพระองคผูเปนพระ
ศาสดาในพระไตรปฎก
เมื ่อ สงสัย คํ า หรือ ความใดแมแ ตใ นพระไตรปฎ ก ก็ไ ม
จํา เปน ต อ งเชื่ อ ทั น ที อ ย า งผู ก ขาด แต ส ามารถตรวจสอบก อ น
ดั ง ที่ พระพุทธเจา ไดท รงวางหลัก ทั่ว ไปไวแ ลว ซึ่ง สํา หรับ พวกเรา
บัด นี้ก็คือการใชคําสั่งสอนในพระไตรปฎก ตรวจสอบแมแตคําสั่ง
สอนในพระไตรปฎกดวยกันเอง กลาวคือ หลักมหาปเทส 4 ไดแก ที่
อางอิงใหญ หรือหลักใหญสําหรับใชอางเพื่อสอบสวนเทียบเคียง
เริ่มแตหมวดแรก ที่เปนชุดใหญ ซึ่งแยกเปน
1. พุทธาปเทส (ยกเอาพระพุทธเจาขึ้นอาง)
2. สังฆาปเทส (ยกเอาสงฆทั้งหมูขึ้นอาง)
3. สัมพหุลัตเถราปเทส (ยกเอาพระเถระจํานวนมากขึ้นอาง)
4. เอกเถราปเทส (ยกเอาพระเถระรูปหนึ่งขึ้นอาง)1
(ที.ม. 10/113/104; องฺ.จตุกฺก. 21/180/227)
นอกจากนั้น ถาเปนปญหาหรือขอสงสัยที่จํากัดลงมาในสวน
พระวินัย ก็สามารถใชหลักมหาปเทส 4 ชุดที่ 2 ตรวจสอบ ซึ่งจะไม
กลาวรายละเอียดในที่นี้ เพราะนักวินัยทราบกันดี (ดู วินย. 5/92/131)
เมื่อพิจารณากวางออกไป โดยครอบคลุมถึงคําสอนรุนหลังๆ

1
ขอ 3 และ 4 บางทีทานเรียกใหสนั้ วา คณาปเทส และ ปุคคฺ ลาปเทส ตามลําดับ (องฺ.ฏีกา
2/443)
36 กรณีธรรมกาย

หรือลําดับรองลงมา ทานก็มีหลักเกณฑที่จะใหความสําคัญในการ
วินิจฉัยลดหลั่นกันลงมา โดยวางเกณฑวินิจฉัยคําสอนความเชื่อ
และการปฏิบัติ เปน 4 ขั้น คือ (ดู ที.อ.2/172/; วินย.อ.1/271; วินย.ฎีกา
3/352)
1. สุตตะ ไดแก พระไตรปฎก
2. สุตตานุโลม ไดแก มหาปเทส (ยอมรับอรรถกถาดวย)
3. อาจริยวาท ไดแก อรรถกถา (พวงฎีกา อนุฎีกาดวย)
4. อัตตโนมติ ไดแก มติของบุคคลที่นอกจากสามขอตน
“สุตตะ” คือพุทธพจนที่มาในพระไตรปฎกนั้น ทานถือเปน
มาตรฐานใหญ หรือเกณฑสูงสุด ดังคําที่วา
“แทจริง สุตตะ เปนของคืนกลับไมได มีคาเทากับการกสงฆ
(ที่ประชุมพระอรหันตสาวก 500 รูป ผูทําสังคายนาครั้งที่ 1)
เปนเหมือนครั้งที่พระพุทธเจาทั้งหลายยังสถิตอยู” (วินย.อ. 1/272)
“เพราะวา เมื่อคานสุตตะ ก็คอื คานพระพุทธเจา” (วินย.ฎีกา.2/71)
พาหิรกสูตร (สูตรภายนอก คือสูตรที่ไมไดขึ้นสูสังคายนาทั้ง 3
ครั้งใหญ) ตลอดถึงพระสูตรของนิกายมหาสังฆิกะ (นิกายใหญที่
จั ด เป น หิ น ยานที่ สื บ ต อ จากภิ ก ษุ วั ช ชี บุ ต ร และต อ มาพั ฒ นาเป น
มหายาน) ทานก็จัดเขาเกณฑไวแลววา
“...ไมพึงยึดถือ ควรตั้งอยูในอัตตโนมตินั่นแหละ หมายความ
วา อัตตโนมติ ในนิกายของตน (เถรวาท) ยังสําคัญกวาสูตร
ที่นํามาจากนิกายอื่น” (วินย.ฎีกา 2/72)
นี้เ ปน ตัว อยา งหลัก เกณฑตา งๆ ที่พ ระเถระในอดีต ไดถือ
ปฏิบัติในการดํารงรักษาพระธรรมวินัยสืบกันมา ซึ่งแสดงใหเห็นทั้ง
พระธรรมปฎก (ป. อ. ปยุตฺโต) 37

ประสบการณในการทํางาน และจิตใจที่ใหความสําคัญแกพระธรรม
วินัย นั้น อยา งมั่น คงยิ่ง ในหลัก การ ทา นจึงรัก ษาพระพุท ธศาสนา
ใหคงอยยืนนานมาถึงเราได ชนิดที่วาแมพวกเราในปจจุบันจะไม
เอาใจใส แตก็มีโ อกาสใหค นยุค ตอ ไปที่ตื่น ตัว ขึ้น สามารถเขา ถึง
พระพุทธศาสนาไดอีก

เพราะยังมีพระไตรปฎกเถรวาทไวเปนมาตรฐาน
พระมหายานจึงมีโอกาสยอนกลับมาหาพุทธพจนที่แท
มองในทางกลับกัน ถาพระเถระในอดีตเปนอยางที่พวกเรา
เปนกันอยเ วลานี้ ก็เ ห็น ไดชัด วาพระพุท ธศาสนาคงไมอยูยืนยาว
มาถึงปจจุบันไดแน หรือถาอยูก็คงเปนคลายอยางพระมหายานใน
ญี่ปุน ที่นอกจากมีครอบครัว เปนนักธุรกิจ ฯลฯ แลวก็ยังแตกแยก
ยอยออกไปมากมายเปนรอยๆ นิกายยอย
ที่มหายานเปนอยางนี้ ก็สืบมาแตเดิม คือแตกแยกยอยกันมา
เรื่อยๆ ตั้งแตกอนเปนมหายาน คือตั้งแตยุคเดิมที่เปนหินยาน ซึ่ง
คัมภีรของเถรวาทไดบันทึกเรื่องราวไวแตตน ขอเลาโดยยอ
เมื่อพระพุทธเจาปรินิพพานแลวได 1 ศตวรรษ คือ ถึง พ.ศ.
100 ภิกษุพวกหนึ่งเรียกวา “วัชชีบุตร” ไดถือตามลัทธิอาจารย (อาจริ
ยวาท) วาการไมปฏิบัติตามพุทธบัญญัติบางอยาง รวม 10 ขอ ไม
เปนความผิด เปนเหตุใหพระเถระผูตองการรักษาพระธรรมวินัยไว
ตามเดิมแบบเถรวาท ไดจัดใหมีการสังคายนาครั้งที่ 2 ขึ้น
อยางไรก็ตาม ภิกษุวัชชีบุตรไมยอม และไดแยกตัวไปตั้งเปน
นิกายขึ้นตางหาก เรียกชื่อวา “มหาสังฆิกะ” (พวกสงฆหมูใหญ) เปน
38 กรณีธรรมกาย

อาจริย วาทกลุม แรก พอแยกออกไปแลว ปรากฏวา ลัท ธิถือ ตาม


อาจารย (อาจริยวาท) ก็เกิดมากขึ้น มหาสังฆิกะไดแตกแยกยอย
ออกไป จนกลายเปนอาจริยวาท 6 นิกายยอย
ทางดานเถรวาทเดิม ก็ไดมีอาจริยวาทแยกตัวออกไป 2 พวก
แลว 2 พวกนั้น ก็ไปแตกแยกยอยออกไปเรื่อยๆ จนกลายเปน 11
อาจริยวาท
ความแตกแยกเกิด อาจริย วาทตา งๆ มากมายนี ้ เกิด ขึ ้น
ในชวงเวลา 100 ป ดังนั้น เมื่อถึง พ.ศ. 200 จึงมีพระพุทธศาสนา
นิกายยอยรวมทั้งหมด 18 นิกาย1 เปนเถรวาทดั้งเดิม 1 กับอาจริ

1
การแตกแยกสรุปงายๆ คือ เริ่ม พ.ศ. 100 จากเถรวาท ครั้งที่ 1 พวกวัชชีบุตรแยก
ออกไป ตั้งมหาสังฆิกะ เปนอาจริยวาทแรกแลว จากมหาสังฆิกะ แตกเพิ่มอีก 2 คือ
โคกุลิกะ และเอกัพโยหาริก, จากโคกุลิกะ ก็แตกเพิ่มอีก 2 คือ ปณณัตติวาท กับ
พหุลิยะ (หรือพหุสสุตกิ ะ) แลวเกิดเจติยวาทเพิ่มซอนเขามาอีก รวมมหาสังฆิกะเอง
ดวยเปนอาจริยวาท 6
จากเถรวาทนั้น ครั้งที่ 2 เกิดอาจริยวาท แยกออกไปอีก 2 คือ มหิสาสกะ กับ
วัชชิปุตตกะ แลววัชชิปุตตกะไปแตกเพิ่มอีก 4 (คือธัมมุตตริยะ ภัทรยานิก ฉันนาคา
ริก และสัมมติยะ หรือสมิตยิ ะ) สวนมหิสาสกะ ก็แตกเพิ่มอีก 2 คือ สัพพัตถิกวาท
(=สรวาสติวาทะ) กับธัมมคุตติกะ แลวจากสัพพัตถิกวาท เกิดนิกายยอยกัสสปยะ
ซึ่งแตกเพิ่มเปนสังกันติกะ ซึ่งแตกตอออกไปเปนสุคตวาท รวมทั้งหมดเปนอาจริยวาท
ใหม 11
เมื่อนับทั้งหมด = เถรวาทเดิม + อาจริยวาทชุดแรก 6 + อาจริยวาทชุดหลัง 11
รวมเปน 18 นิกาย ( = เถรวาท 1 + อาจริยวาท 17) ทั้ง 18 นิกายนี้ ถูกมหายาน
เรียกวาหินยาน
อาจริยวาทเดิม ทีเ่ ปนหินยานทั้ง 17 นิกายสูญไปหมดแลว เหลือแตอาจริยวาท
ปจจุบนั คือมหายาน ที่พัฒนาจากมหาสังฆิกะ (อาจริยวาทแรกสุด ซึ่งก็สูญไปแลว)
พระธรรมปฎก (ป. อ. ปยุตฺโต) 39

ยวาท 17 นิกาย
โดยนัยนี้ เมื่อถึงรัชกาลพระเจาอโศกมหาราช ใน พ.ศ. 218
พระพุทธศาสนาซึ่งรุงเรืองในดานการอุปถัมภบํารุง กลับไมมีเอกภาพ
มีการสั่งสอนลัทธิแปลกแยกกันมากมายสับสน จนทําใหตองจัดการ
สังคายนาครั้งใหญอีกเปนครั้งที่ 3 ใน พ.ศ. 235 ซึ่งมีการชําระสะสาง
ทิฏฐิตางๆ ที่แตกแยกแปลกปลอม ดังที่ประมวลไวในพระไตรปฎก
เลม 37 คือ กถาวัตถุ รวม 219 หัวขอ (เรียกวา กถา) เริ่มดวยขอแรก
คือ ลัทธิถืออัตตา ของพวกนิกายวัชชีบุตร และนิกายสมิติยะ พรอม
ทั้งอัญญเดียรถียมากมาย มีความยาวเปนพิเศษถึง 83 หนา เรียก
รวมๆ วา “ปุคคลกถา”
นิกายมหาสังฆิกะเปนเจาของทิฏฐิที่ทานชําระสะสางครั้งนี้
หลายเรื่อง (ไมต่ํากวา 19 เรื่อง) ยกตัวอยาง เชน พวกมหาสังฆิกะ
บางสวน ถือทิฏฐิรวมกับพวกนิกายสมิติยะ นิกายวัชชิปุตตกะ และ
นิกายสัพพัตถิกวาท (=สรวาสติวาท) วา พระอรหันตก็เสื่อมถอยจาก
อรหั ตตผลที่ บรรลุ แล ว กลั บมาเป นปุ ถุ ชนอี กได (เรื่ องใน “ปริ หานิ
กถา”) ดังนี้เปนตน
หลังจากสังคายนาครั้งที่ 3 แลว ก็เกิดมีเอกภาพขึ้นอยางนอย
ในสวนกลางแหงมหาอาณาจักรของพระเจาอโศกมหาราช และไดมี
การสงพระศาสนทูตไปประกาศพระศาสนา 9 สาย ที่รูกันวาสายหนึ่ง
มายังทวาราวดี ซึ่งอยูในที่ตั้งของประเทศไทยปจจุบันดวย
อยางไรก็ตาม ในรอบนอกของชมพูทวีป ไกลออกไป ก็ยังมี
พระภิกษุที่ถืออาจริยวาทตางๆ ไปเผยแพรอยู จึงปรากฏตอมาวา
หลังจากสมัยพระเจาอโศกมหาราชเกือบ 4 ศตวรรษ เมื่อพระเจา
40 กรณีธรรมกาย

กนิษ กมหาราชครองแผน ดิน แถบอิน เดีย ภาคตะวัน ตกเฉีย ง


เหนือ ที่เมืองบุรุษปุระ (ปจจุบันคือ Peshawar ในปากีสถาน ไกล
ออกไปทางตะวันตกเฉียงเหนือ จากนครปาตลีบุตร ซึ่งปจจุบันคือ
Patna เมืองหลวงของพระเจาอโศกมหาราช ประมาณ 1,625 ก.ม.)
เมื่อ พ.ศ. 621 พระองคเลื่อมใสพระพุทธศาสนา ใฝพระทัยศึกษา
ธรรม ถึงกับนิมนตพระภิกษุไปสอนธรรมแกพระองคทุกวันๆ ละรูป
พระภิกษุแตละรูปสอนแตกตางกันบาง ขัดกันบาง ทําใหทรงสับสน
จนกระทั่ ง ทรงปรึ ก ษาพระภิ ก ษุ รู ป หนึ่ ง ซึ่ ง ได ถ วายคํ า แนะนํ า ให
จัดการสังคายนาขึ้นประมาณ พ.ศ. 643
สังคายนาครั้งนี้ ถือวาเปนของนิกายสัพพัตถิกวาท (สรวาสติวา
ทะ) และมีภิกษุมหายานรวมดวย ตอมาแมนิกายสรวาสติวาทะสูญ
สิ้นไปแลว เชนเดียวกับอาจริยวาทยุคแรกที่เปนหินยานหมดทั้ง 17
นิกาย (มหาสังฆิกะไดพัฒนามาเปนมหายาน) ทางฝายมหายานก็
นับเอาสังคายนาครั้งนี้ เปนครั้งที่ 3 ของตน (ไมยอมรับสังคายนา
ครั้งที่ 3 ที่พระเจาอโศกมหาราชอุปถัมภ เมื่อ พ.ศ. 235; และใน
ทํานองเดียวกันทางเถรวาทก็ไมนับการสังคายนาครั้งนี้)
พระเจากนิษ กะไดอุป ถัมภบํา รุงพระศาสนา และไดทรงสง
สมณทูตไปเผยแผพระพุทธศาสนาในเอเชียกลาง ซึ่งไดเปนแหลง
สําคัญที่ทําใหพระพุทธศาสนามหายานแพรหลายตอไปสูจีน เกาหลี
มองโกเลีย และญี่ปุน
เมื่อพระพุทธศาสนามหายาน เจริญขึ้นในประเทศเหลานั้นแลว
ก็แตกแยกนิกายและสาขายอยออกไปๆ จนในที่สุดจึงมาเห็นกันวา
ถึงจะแตกแยกไปเปนนิกายไหนๆ ก็ควรจะตองศึกษาพระไตรปฎก
พระธรรมปฎก (ป. อ. ปยุตฺโต) 41

บาลีของเถรวาท เพื่อจะไดรูหลักคําสอนตามพระพุทธพจนดั้งเดิม
และมีความเปนอันหนึ่งอันเดียวกัน อยางที่ Professor Mizuno
กลาวไวดังไดยกมาใหดูขางตน

สิ่งควรทําที่แท คือ
เรงชวนกันหันมายกเอาพระไตรปฎกของเราขึ้นศึกษา
เอกสารของวัดพระธรรมกาย แสดงการยอมรับพระไตรปฎก
บาลีของเถรวาทวา “เปนแหลงอางอิงของคําสอนในพระพุทธศาสนา
ยุคดั้งเดิมที่สําคัญที่สุด” แตเขียนตอไปวา
“แตนอกจากพระไตรปฎกบาลีแลว ยังมีคําสอนยุค
ดั้งเดิมของพระสัมมาสัมพุทธเจาอยูในคัมภีรอื่นอีกหลาย
แหลง เชน พระไตรปฎกจีน พระไตรปฎกธิเบต คัมภีร
สัน สกฤต คัม ภีรใ นภาษาคัน ธารี ภาษาเนปาลโบราณ
ภาษาถิ่นโบราณของอินเดีย เอเชียกลางและที่อื่นๆ
“การจะศึกษาใหเขาใจคําสอนของพระพุทธศาสนา
ยุคดั้งเดิมจริงๆ นั้น จึงมีความจําเปนจะตองศึกษา ใหเขาใจ
คัมภีรทั้งหลายเหลานี้ทั้งหมด นําเนื้อหาคัมภีรที่คลายกันมา
เปรีย บเทีย บกัน วิเคราะหดวยหลักทางวิชาการทั้งดาน
ภาษาศาสตร และอื่ นๆ จึ งจะได ความเข าใจที่ รอบด าน
สมบูรณ”
เอกสารของวัดพระธรรมกาย ทั้งที่นี้และที่อื่น เมื่อกลาวถึง
พระไตรปฎก จะมีลักษณะการพูดทํานองนี้ ซึ่งนอกจากสับสนแลว
ยังเปนการสรางความเขาใจผิดที่ไมควรใหอภัย เชน ออกชื่อคัมภีร
ในภาษาตางๆ มากมายใหดูนาทึ่งประหนึ่งวา แตละภาษาเหลานั้น
42 กรณีธรรมกาย

คงจะมีพุทธพจนบันทึกไวนอกเหนือจากที่เรารูกันอีกมากมาย แตแท
ที่จริงเอาเปนหลักอะไรไมได
คงจะไมตองชี้แจงใหมากและยืดยาว ขอใหทราบงายๆ สั้นๆ
วาเรื่องทั้งหมดกอนที่จะมาเปนคัมภีรอะไรตางๆ ที่ยกมาอางขางบนนี้
(ซึ่งสวนมากเปนเรื่องกระเส็นกระสาย บางอยางก็ไมใชแมแตจะเปน
คัมภีร) พระเถระผูรักษาพระพุทธศาสนา ยุค 200 กวาปแรกทานรู
เหตุการณที่เกิดขึ้นกันดี และไดชําระสะสางเสร็จสิ้นไปแลว หลังจาก
นั้น ถาจะมีการยอมรับกัน ก็เพียงพูดใหชัดวา คัมภีรนั้นๆ เปนของ
นิ ก ายไหน และนิ ก ายนั้ น สอนว า อย า งไร เช น เถรวาทว า อย า งไร
มหายานนิกายยอยนี้วาอยางไร นิกายยอยนั้นวาอยางไร ไมตองมา
สับสนกันอีก
ขอทบทวนเปนขอสรุปไววา
1. พระไตรปฎกบาลีของเถรวาทที่เรารักษาไว (แตไมคอยศึกษา
กัน) นี้ เปนที่ยอมรับกันทั่วแมโดยฝายมหายานเอง วาเปนที่รวบรวม
พระพุทธพจนที่ดั้งเดิม แมนยําตรงตามจริง และครบถวนสมบูรณ
ที่สุด
2. พระไตรปฎกฉบับอื่นๆ ก็คือ ที่เปนของมหายานนั้น แมแต
นักวิชาการตะวันตก ที่เอกสารของวัดพระธรรมกายยกยองวาเปน
“ปราชญใหญทางพระพุทธศาสนา . . . ที่มีชื่อเสียงกองโลก” ก็ยังพูดวา
“พระสูตรทั้งหลายของมหายาน พูดกันตรงไปตรงมา ก็คือคํานิพนธ
ยุคหลังที่บรรจุเขาในพระโอษฐ” ดังยกมาใหดูขางตนแลว (หนา 21)
เรารูกันดีอยูแลววา การรักษาพระพุทธศาสนานั้น เราตองการ
คําสอนที่แทจริงของพระพุทธเจา เมื่อพระสูตรของมหายานเปนของ
พระธรรมปฎก (ป. อ. ปยุตฺโต) 43

แตงใสพระโอษฐภายหลัง แลวเราจะนําเอามาสับสนปะปนทําไม
3. แมวาพระไตรปฎกมหายาน เชน ฉบับภาษาจีน จะมีคําสอน
เกาครั้งหินยานอยูดวย ก็แทบจะไมมีคุณประโยชนอะไรเปนสาระ
ที่เราจะพึงสนใจ นอกจากจะไดรูวาเคยมีพุทธศาสนานิกายนั้นจริง
และสอนวาอยางนั้นๆ ขอชี้แจงเล็กๆ นอยๆ เชน
ก) หินยานที่แตกแยกออกไปถึง 17 นิกายและไดสูญสิ้น
ไปหมดแลว เปนเรื่องเกาที่ทานสะสางเสร็จกันไปแลว ถาจะไปพบ
หลงเหลือบันทึกอยูในฉบับของจีนหรือแมภาษาอื่นๆ บาง ก็ไมใช
เรื่องแปลกอะไร
ข) ในบรรดานิกายตางๆ นั้น เถรวาทนี้เปนหลักมาแตเดิม
กอนมีการแตกแยก และแมหลังแตกแยกแลว เมื่อนิกายอื่นสูญสิ้นไป
เถรวาทก็ดํารงอยูตอมา และเปนที่รูกันวารักษาคําสอนเดิมแทของ
พระพุทธเจาไวแมนยําครบถวนที่สุด เมื่อเปนอยางนี้ ควรจะตั้งใจ
ศึกษาคําสอนที่ทานเพียรพยายามรักษาไวใหนี้แหละใหดี
ค) คําสอนของหินยานนั้น อยางของนิกายสรวาสติวาทิน
เดิม รัก ษาไวดว ยภาษาสัน สกฤต กวา จะไดแ ปลเปน ภาษาจีน ก็
พ.ศ.ใกล 1000 แลว และคัมภีรสัน สกฤตเดิมก็หายสูญไปมาก
ความนาเชื่อถือแมแตในแงที่จะรักษาคําสอนของนิกายของตนเอง
ก็เหลือนอยลงไป
พระไตรปฎกตลอดจนคัมภีรทั้งหลายอื่นๆ ที่โนนบาง ที่นี่บาง
ซึ่งที่จริงนอกจากที่รูกันอยูแลว ก็ไมไดมีมากมายอะไร ถึงแมนานๆ
จะมีก ารตื ่น เตน กัน ขึ ้น วา เกิด ไปพบอะไรขึ ้น มาเหมือ นเปน ของ
แปลกใหม โดยมากก็เปนของเกิดขึ้นรนหลังกวาแมแตคัมภีรอรรถ
44 กรณีธรรมกาย

กถาของเรา ไมตองพูดถึงที่จะเทียบกับพระไตรปฎกบาลี ถาเรามี


เวลาจะสนใจพิเศษก็ไดในแงที่วาเปนความรูทั่วไป เชน เอาไวพิสูจน
วาเปนของนิกายเกาที่สูญสิ้นไปแลวนิกายไหน เปนหลักฐานยืนยัน
เรื่องบางอยางที่ทานเลาไวในคัมภีรของเราเรื่องไหนบาง ใหความรู
ประกอบเกี่ยวกับเหตุการณและสภาพสังคม อยางไรบางไหมเปนตน
แตในแงตัวหลักการของพระศาสนาแทๆ ยากที่จะมีสาระอะไรคุมกับ
การที่จะไปใสใจ
พระไตรปฎกบาลี 45 เลม และอรรถกถา 55 เลม เพียง 100
เลมเทานี้กอน ไมนับคัมภีรภาษาบาลีเลมอื่นๆ แมแตวิสุทธิมัคค ที่
ทานรักษาไวใหเราศึกษามากมาย ขอใหตั้งใจศึกษากันจริงๆ จังๆ
บางเพียง 5 เลม 10 เลม ก็ยังจะไดรูจักพระพุทธศาสนาดีกวาจะไป
สนใจคัม ภีรภ ายนอกที่ก ระจัด กระจายเหลานั้น ซึ่ง ถา มีอ ะไรเปน
ประโยชนบาง ก็ไมตองกังวล ผูรูผูชํานาญก็จะเอามาบอกเราเอง
หรือแมตัวเราจะตองการรูก็ได แตควรจับหลักเถรวาทของตัวเองให
ชัดเสียกอน
เวลานี้ก็รูกันดี ใครๆ ก็ยอมรับวา จะรูพระพุทธศาสนาที่เปน
คําสอนแทของพระพุทธเจา ตองศึกษาพระไตรปฎกบาลีของเถรวาท
และวงการมหายานอย า งในญี่ ปุ นก็ เ ห็ น กั น แล ว ว า จะต อ งหั น มา
ศึกษาคําสอนเดิมของพระพุทธเจาในพระไตรปฎกบาลีของเราเปน
ฐาน ดังไดกลาวขางตน
สิ่งควรทําที่แนแทก็คือ ควรจะปลุกเรากระตุนเตือนพวกเรา
กันเองนี่แหละ ใหหันมาศึกษาพระพุทธศาสนาที่แท จากแหลงคํา
สอนที ่อ ย ใ กลต ัว อยู แ ลว นี ้ก ัน เสีย ที วา ธรรมะของพระพุท ธเจา ที่
พระธรรมปฎก (ป. อ. ปยุตฺโต) 45

ถูกตองเปนอยางไร ถาไมยอมศึกษาเอง ก็ชวยรักษาแหลงคําสอน


เดิมแทนี้ไว เพื่อใหคนอื่นที่เขาเห็นคุณคาจะไดมีโอกาสศึกษา โดยไม
ไปทําใหแปดเปอนเสียกอน ดวยความรูเทาไมถึงการณ ก็ยังจะเปน
บุญกุศลแกตนไดสวนหนึ่ง
นิพพานเปนอนัตตา

นิพพาน ไมใชปญหาอภิปรัชญา
ที่พูดไปแลวนั้นเปนเรื่องความสําคัญของพระไตรปฎก ตอไปนี้
ยอนกลับไปพูดเรื่องนิพพานไมใชปญหาอภิปรัชญา
เอกสารของวัดพระธรรมกาย กลาวไววา
“. . . เรื่องซึ่งอยูพนเกินกวาประสบการณของปุถุชน
คนสามัญจะไปถึงหรือเขาใจได เชน เรื่องนรก สวรรค กฎ
แหง กรรม นิพ พาน ที่ทา นเรีย กวา เปน เรื่อ งอภิป รัช ญา
หรือ เรื ่อ งที ่เ ปน อจิน ไตยนั ้น หลายๆ เรื ่อ ง เชน เรื ่อ ง
นิพพาน ในทางวิชาการสามารถตีความไดหลายนัย”
คํากลาวนั้นไมถูกตอง เพราะนิพพานไมใชทั้งเรื่องอจินไตย
และก็ไมใชเรื่องปญหาอภิปรัชญาดวย
อจินไตยมี 4 อยาง ตามพุทธพจนที่ตรัสแสดงวา
“ภิกษุทั้งหลาย อจินไตยมี 4 อันไมพึงคิด (ไมได
หมายความวาหามคิด แตถาคิด จะคิดไมออก คือเปนสิ่งที่ไม
สําเร็จดวยการคิด หรือไมสามารถเขาถึงไดดวยการคิด) ซึ่ง
เมื่อคิด จะพึงมีสวนแหงความเปนบา จิตเครียดไปเปลา 4
อยางนั้น คือ
1. พุทธวิสัย
พระธรรมปฎก (ป. อ. ปยุตฺโต) 47

2. ฌานวิสัย
3. กรรมวิบาก หรือวิบากแหงกรรม และ
4. โลกจินตา ความคิดเกี่ยวกับเรื่องโลก (องฺ.จตุกฺก. 21/77/104)
นิพพานไมอย ในอจิน ไตย 4 นี้ และก็ไ ม ไ ดเ ปนป ญ หา
metaphysics หรือ อภิปรัชญา
ปญ หา metaphysics หรือ อภิป รัช ญานั้น เปน เรื่อ งที่
พระพุทธเจาไมทรงพยากรณ คือไมทรงตอบ หรือไมทรงเสียเวลาที่
จะพยายามทํ า ใหก ระจา ง แตน ิพ พานนั ้น ตรงขา มกับ ปญ หา
metaphysics เลยทีเดียว เรื่องนี้เปนอยางไรจะไมตองบรรยายยาว
ขอใหมาดูคําสอนของพระพุทธเจา เรื่องมีวา
ครั้ง หนึ่ง เมื่อ พระพุท ธเจา ประทับ อยที่น ครสาวัต ถี ในวัด
พระเชตวัน พระภิกษุชื่อ มาลุงกยบุตร ไดเกิดความคิดขึ้นมาวา มี
แงทิฐิที่พ ระพุท ธเจา ไมท รงตอบ คือ เรื่อ งโลกเที่ย ง หรือ ไมเ ที่ย ง
(โลกในที่นี้คือ จักรภพ หรือมวลแหงทุกสิ่งทุกอยางที่แวดลอมตัว
มนุษยเราอย) โลกหรือจักรภพนี้มีที่สุด หรือไมมีที่สุด ชีวะกับสรีระ
เปน อัน เดีย วกัน หรือ ชีว ะก็อ ยา งหนึ่ง สรีร ะก็อ ยา งหนึ่ง ตถาคต
หลัง จากมรณะแลว มีอ ย หรือ วา ตถาคตหลัง จากมรณะแลว ไมมี
หรือวาตถาคตหลังมรณะมีอยก็ไมใช ไมมีอยก็ไมใช จึงคิดวาจะไป
กราบทูลพระพุทธเจาขอใหทรงตอบ ถาพระพุทธเจาตรัสตอบก็จะ
อยประพฤติพรหมจรรยตอไป แตถาพระพุทธเจาไมตรัสตอบก็จะ
บอกคืน (ลาสิก ขา) เสร็จ แลว ก็ไ ปเฝา พระพุท ธเจา กราบทูล
ความคิด ของตนอยางที่กลาวไปแลววา ถาพระพุทธเจาตอบก็จะ
อยประพฤติพรหมจรรยตอไป แตถาพระพุทธเจาไมตอบก็จะบอกคืน
48 กรณีธรรมกาย

สิกขา (คือจะลาสึก)
พระพุทธเจาไดตรัสถามวา มาลุงกยบุตร เราไดกลาวหรือเปลา
วา มาลุงกยบุตร เธอมานี่นะ มาประพฤติพรหมจรรย เราจะตอบ
เรื่องโลกมีที่สุดหรือไมมีที่สุด เปนตนนี้ มาลุงกยบุตรก็กราบทูลวา
พระพุทธเจาไมไดตรัสอยางนั้น แลวพระพุทธเจาก็ตรัสถามตอไปวา
แลวเธอเองละไดบอกเราไวไหมวา เธอจะประพฤติพรหมจรรยแลว
ใหเราตอบเรื่องโลกเที่ยงหรือโลกไมเที่ยงนี้ มาลุงกยบุตรก็กราบทูล
วาไมไดเปนเชนนั้น พระพุทธเจาก็ตรัสวาแลวอยางนี้ใครจะเปนคน
บอกคืนใครละ แลวพระองคก็ตรัสวา
ถา ใครจะพูด วา ขา พเจา จะไมป ระพฤติพ รหมจรรยใ นพระ
ศาสนาของพระพุทธเจา ตราบใดที่พระผมีพระภาคเจาไมพยากรณ
(ไมตอบ/ไมทําใหกระจาง) เรื่องโลกเที่ยงหรือโลกไมเที่ยงเปนตนนี้
ถึงคนนั้นจะตายพระตถาคตก็ยังไมไดตอบ/ยังไมไดทําใหกระจาง
แลวพระองคก็ตรัสอุปมาวา
เปรียบเหมือนวา คนผูหนึ่งถูกเขายิงดวยลูกศรอาบยาพิษที่
รายแรง เพื่อนๆ ญาติมิตรสหายก็พาหมอผาตัดมา คนที่ถูกลูกศรนั้น
ก็บอกวา ขาพเจาจะไมยอมใหผาตัดเอาลูกศรนี้ออก จนกวาขาพเจา
จะร ว า ใครเป น คนยิ ง ข า พเจ า เขาเป น คนวรรณะกษั ต ริ ย หรื อ
พราหมณ หรือแพศย หรือศูทร มีชื่อมีแซวาอยางไร เปนคนสูง เปน
คนรางเตี้ย หรือสันทัด เปนคนดํา หรือคนคล้ํา เขาอยหมูบาน นิคม
นครไหน และธนูที่ใชยิงนี้ เปนแบบไหน ชนิดไหน หัวลูกศรทําดวย
อะไร สายธนูทําดวยอะไร ปลายธนูติดขนนกชนิดไหน ดังนี้ เปนตน
กวาคนนั้นจะรสิ่งที่เขาถามเหลานี้ เขาก็ตายเสียกอนแลว
พระธรรมปฎก (ป. อ. ปยุตฺโต) 49

เหมือนกับคนที่มาบวชนี้ ถาจะรอใหพระพุท ธเจาตรัส ตอบ


คําถามอภิปรัชญาเหลานี้ พระองคยังไมทันไดตอบใหเขารูกระจาง
เขาก็ตายไปกอนแลว
ไมวาจะมีทิฏฐิวาโลกเที่ยงหรือไมเที่ยง ฯลฯ การครองชีวิต
ประเสริฐก็หาไดเกิดมีข้ึนไม ถึงจะมีทิฏฐิเหลานี้หรือไม ทุกขของคน
ก็ยังมีอยนั่นเอง และทุกขเหลานี้แหละคือสิ่งที่พระองคทรงประสงค
จะแกไขใหเสร็จสิ้นไปในปจจุบัน ฉะนั้น อะไรที่ไมทรงพยากรณก็ใหรู
วาไมทรงพยากรณ และอะไรที่ทรงพยากรณก็ใหรูวาทรงพยากรณ
เรื่องอยางที่วามานั้น เปนปญหาอภิปรัชญา คือคําถามที่วา
โลกเที่ยงหรือไมเที่ยง มีที่สุดหรือไมมีที่สุด เปนตนนั้น พระพุทธเจา
ไมทรงพยากรณ เพราะอะไรจึงไมทรงพยากรณ ก็ตรัสตอบไววา
“นี่แนะมาลุงกยบุตร ถึงจะมีทิฏฐิวา โลกเที่ยง (คงอยู
ตลอดไป) การครองชีวิตประเสริฐจะไดมีขนึ้ ก็หาไม ถึงจะมีทิฏฐิ
วา โลกไมเที่ยง การครองชีวิตประเสริฐจะไดมีขึ้นก็หาไม . . .
ถึงจะมีทิฏฐิวาโลกเที่ยง หรือโลกไมเที่ยง ความเกิด แก เจ็บ
ตาย โสกะ ปริเทวะ ทุกข โทมนัส อุปายาส (ความผิดหวัง
คับแคนใจ) ก็ยังคงมีอยู อันเปนทุกขที่เราบัญญัติใหแกไข
เสียในปจจุบันนี้ทีเดียว . . .
“อะไรเลาที่เราไมพยากรณ? ทิฏฐิวาโลกเที่ยง . . . โลก
ไมเที่ยง . . . โลกมีที่สดุ . . . โลกไมมีที่สดุ . . . ฯลฯ . . .
เราไมพยากรณ . . . เพราะไมประกอบดวยประโยชน ไมเปน
เบื้องตนแหงชีวิตประเสริฐ ไมเปนไปเพื่อนิพพิทา วิราคะ นิโรธ
สันติ อภิญญา ความตรัสร ไมเปนไปเพื่อนิพพาน
50 กรณีธรรมกาย

“อะไรเลาที่เราพยากรณ? เราพยากรณ(ตอบ/ทําให
กระจาง)วา นี้ทุกข นี้ทุกขสมุทัย (เหตุใหเกิดทุกข) นี้ทุกขนิโรธ
(ความดับแหงทุกข) นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา (ขอปฏิบัติที่
นําไปสความดับทุกข) . . . เพราะประกอบดวยประโยชน เปน
เบื้องตนแหงชีวิตประเสริฐ เปนไปเพื่อนิพพิทา วิราคะ นิโรธ
สันติ อภิญญา ความตรัสร นิพพาน” (ม.ม.13/151-
2/150-2)
จะเห็นวา พระพุทธเจาทรงสอนหรือทรงพยากรณ เรื่องที่จะทํา
ใหดับทุกขได คือนิพพานนี้ และนิพพานก็อยูในขอทุกขนิโรธ ซึ่งเปน
เรื่องที่ตรัสโดยตรง และเปนเรื่องตรงขามกับอภิปรัชญา
เพราะฉะนั้น นิพพานสําหรับชาวพุทธ ไมใชเรื่องอภิปรัชญา
แตนักปรัชญาอาจจะเอาเรื่องนิพพานนี้ไปถกเถียงในแงของปรัชญา
ของเขาก็ได สวนใครจะไปรวมวงถกเถียงเรื่องนิพพานในแงอภิปรัชญา
กับนักปรัชญาก็แลวแต แตถามัวถกเถียงอยก็ไมไดปฏิบัติ และก็ไม
บรรลุนิพพาน
นิพพานเปนเรื่องของความไรทุกข ภาวะที่ปราศจากปญหา
หรือภาวะที่ไมมีโลภะ โทสะ โมหะ ภาวะแหงความสงบ สันติ อิสรภาพ
เปนความบริสุทธิ์ เปนความสะอาด สวาง สงบ ดวยปญญาที่รเทาทัน
ความเปน จริง ของสัง ขาร หรือ โลกและชีวิต ที่เ ปน อยเ ฉพาะหนา
ตลอดเวลานี้
พระธรรมปฎก (ป. อ. ปยุตฺโต) 51

แหลงความรูที่ชัดเจนมีอยู ก็ไมเอา
กลับไปหาทางเดารวมกับพวกที่ยังสับสน
ตอไป เอกสารของวัดพระธรรมกายเขียนไววา
“เรื่องอัตตาและอนัตตานี้ เปนเรื่องหนึ่งที่มีการถกเถียง
กันมากตั้งแตยุคโบราณหลังพุทธกาลเปนตนมา และมีมา
ตลอดประวัติศาสตรพระพุทธศาสนา แมในยุคปจจุบันก็มี
นักวิชาการพระพุทธศาสนาทั้งในดินแดนตะวันตก เชน
ยุโรป อเมริกา และทางตะวันออก เชน ญี่ปุน จีน เกาหลี
ถกเถียงกันมาก ประเด็นที่ถกเถียงกันก็มีหลากหลายเชน . . .
ขอความนี้ ถาจะใหถูกตองและชัดเจน ควรพูดใหมวา
“เรื่องอัตตานี้ มีการยึดถือกันมามากตั้งแตกอ นพุทธกาล
โดยเฉพาะในลัทธิศาสนาพราหมณ และหลังพุทธกาลแลว
ศาสนาฮินดูกไ็ ดพยายามทําใหมนั่ คงยิง่ ขึ้น เห็นไดจากหลักเรื่อง
พรหมัน-อาตมัน หรือปรมาตมัน-ชีวาตมัน แตในพุทธศาสนา
นั้นทานมีทาทีที่ชัดเจน คือไมยอมรับทฤษฎีอัตตาดวยประการ
ใดๆ คือ ไมยอมรับอัตตาโดยปรมัตถ ซึ่งเปนทาทีที่ชัดเจน
อยางยิ่ง เพราะฉะนั้นจึงตองระวังไมใหลัทธิภายนอก และลัทธิ
เดิมกอนพุทธกาลที่พระพุทธเจาทรงปฏิเสธแลวนั้น กลับ
แทรกแซงเขามา”
การที่จะยืนยันหลักพุทธศาสนานี้ไวได จะตองมีความเขมแข็ง
มาก เพราะวา
1. ลัทธิอาตมัน/อัตตาเดิม ก็มีอิทธิพลมากอยูแลว
2. เปนเรื่องที่เขาใจยาก บุคคลที่เขามาในพระพุทธศาสนา
52 กรณีธรรมกาย

แมมาบวชก็อาจจะนําเอาความคิดเห็นที่ผิดเขามาได
ลัท ธิถืออัต ตาวา มีจ ริงนี้ ทา นผูรัก ษาพระธรรมวินัย ในอดีต
ถือเปนเรื่องสําคัญมากที่จะตองระวังไมใหแทรกหรือแปลกปลอม
เขามาในพระพุทธศาสนา เพราะเปนลัทธิที่มีกําลังครอบงําสังคม
ชมพูทวีปอยูกอนพระพุทธศาสนา เปนหลักการใหญที่ตรงขามกันอยู
ระหวางพระพุทธศาสนากับลัทธิศาสนาเกา ซึ่งเขาจะตองพยายาม
แผอิทธิพ ลเขามา และเปนสภาพความเชื่อของมนุษ ยที่แวดลอ ม
พระพุทธศาสนาอยูตลอดมา
พูด งา ยๆ วา พระพุท ธศาสนาทั้ง ทวนกระแสทิฏ ฐิข องลัท ธิ
ศาสนาที่มีอิทธิพลใหญ และทวนกระแสกิเลสในใจของมนุษยปุถุชน
อยางไรก็ตาม พระเถระในอดีตทานมั่นคงยิ่งนักในหลักการ
ของพระธรรมวิน ัย ดัง ที ่ป รากฏวา หลัง จากพุท ธกาลไมน าน
ประมาณ พ.ศ. 235 ในสมัย พระเจา อโศกมหาราช พระสงฆมี
พระโมคคัลลีบุตรติสสเถระเปนประธาน ไดปรารภเรื่องทิฐิความเห็น
แตกแยกแปลกปลอมเขามาในพระพุทธศาสนา ซึ่งมีจํานวนมากมาย
แยกกันไปถึง 18 นิกาย ซึ่งจะตองแกไข จึงไดจัดการสังคายนาครั้งที่
3 ขึ้นในพระบรมราชูปถัมภของพระเจาอโศกมหาราช
ในการสังคายนาครั้งนี้ พระโมคคัลลีบุตรติสสเถระ ไดรวบรวม
คําวินิจฉัยขึ้นมาคัมภีรหนึ่งชื่อวา กถาวัตถุ อยูในพระอภิธรรมปฎก
พิม พเ ปน พระไตรปฎ กบาลีอัก ษรไทยเลม ที่ 37 ซึ่ง ประมวลเอา
ความเห็นแตกแยกแปลกปลอมมาตั้งขึ้น 219 หัวขอ แลวทานก็กลาว
แก
เรื่องการถืออัตตานี้เ ปนเรื่องสําคัญที่สุดเรื่องหนึ่ง ที่เปนขอ
พระธรรมปฎก (ป. อ. ปยุตฺโต) 53

ปรารภในการที่ใหตองสังคายนา ถึงกับจัดเปนหัวขอแรกของกถาวัตถุ
นี้ เรียกวา “ปุคคลกถา”
คําวา ปุคคละ ใน “ปุคคลกถา” นี้ ทานใชแทนคําทั้งหมดที่
เกี่ยวกับการถืออัตตา อยางที่ในภาษาไทยในวงการธรรมเราพูดกัน
อยูเ สมอจนติด ปากวา สัต ว บุค คล ตัว ตน เรา เขา ดัง ที ่ทา นให
ความหมายไววา
ตตฺถ ปุคฺคโลติ อตฺตา สตฺโต ชีโว (ปฺจ.อ.
129)
แปลวา: “ในพระบาลีนั้น คําวาบุคคล ไดแก อัตตา สัตว ชีวะ”
และคําวา “อนัตตา” ทานก็ใหความหมายไวดว ยวา
อนตฺตาติ อตฺตนา ชีเวน ปุคคเลน รหิโต (ปฺจ.อ.
158)
แปลวา: “อนัตตา หมายความวา ปราศจากอัตตา ปราศจาก
ชีวะ ปราศจากบุคคล”
พวกปุคคลวาที ซึ่งถือวา บุคคล หรืออัตตา หรือสัตว หรือชีวะ
มีจริงโดยปรมัตถนี้ ทานแนะนําใหรูจักในอรรถกถาวา
เก ปน ปุคคลวาทิโนติ สาสเนว วชฺชิปุตฺตกา เจว สมิติย า จ
พหิทฺธา จ พหู อฺติตฺถยิ า (ปญจ. อ. 129)
แปลวา: “ชนเหลาไหนเปนปุคคลวาที ตอบวา ในพระศาสนา
เองไดแกพวกภิกษุวัชชีบุตร และพวกนิกายสมิติยะ และ
ภายนอกพระศาสนาไดแก อัญญเดียรถียจ ํานวนมาก”
การที่ยกเรื่องกถาวัตถุขึ้นมาก็เพื่อใหเห็นวา
1. เรื่องนิพพานเปนอัตตาหรือเปนอนัตตา และการถืออัตตา
54 กรณีธรรมกาย

ในรูปแบบตางๆ นั้น
ก) หลักการของเถรวาทมีความชัดเจน และไดปฏิเสธไว
แนนอนแลววา อัตตาไมมีจริงโดยปรมัตถ มีเพียงโดย
สมมติ
ข) ทานถือเปนเรื่องสําคัญที่จะไมทิ้งไวใหสาวกหรือศาสนิก
ทั้งหลายจะตองมาคิดเห็นและถกเถียงกันวุนวายไป
2. เปน การชี้ใ หเ ห็น วา เรื่อ งอยา งนี้ที่มีก ารถกเถีย งกัน นั้น
พระเถระผูดํารงพระศาสนา ทานมีความตระหนักรูกันอยูตลอดมาวา
อะไรเกิดขึ้น และเปนเรื่องที่ทานแสดงไวชัดเจนแลว ทานรูมาเนิ่นนาน
ในเรื่องการถือความเห็นแตกแยกแปลกปลอม ซึ่งเกิดขึ้นตั้งแตสมัย
หลังพุทธกาล เพราะสืบเนื่องมาจากลัทธิเกากอนดวย และทานก็
แยกไวชัดเจนแลว เพราะฉะนั้นถึงเราจะไปพบเห็นคัมภีร หรือแนวคิด
ทิฐิอะไรเกี่ยวกับเรื่องอัตตาอีก ก็ใหรูวาเปนเพียงหลักฐานยืนยันสิ่งที่
ทานไดชําระสะสางไวนานมาแลว
ในขณะที่หลักการของพระพุทธศาสนาที่ตนบวชเขามาชัดเจน
แนนอนอยูแลว เอกสารของวัดพระธรรมกาย กลับจะใหรอไปหวังพึ่ง
คนภายนอก ที่ทานปฏิเสธไปแลวบาง ที่เขายังอยูในระหวางศึกษา
คลําหาทางอยูบาง (เหมือนจะจับเอาองคพระศาสดามาใหผศึกษา
วินิจฉัย)
พระธรรมปฎก (ป. อ. ปยุตฺโต) 55

พระพุทธเจาตรัสไวแนนอนเด็ดขาด
วาลัทธิถืออัตตา ไมใชคําสอนของพระสัมมาสัมพุทธ
เจา
การปฏิเสธเรื่องอัตตาทานถือเปนเรื่องสําคัญเพียงไร จะเห็น
ไดจากการที่ทานยกขึ้นตั้งเปนปญหาแรก ในคัมภีรกถาวัตถุนี้ และ
อุทิศเนื้อที่ใหมากเปนพิเศษ ดังเนื้อความภาษาบาลีอักษรไทย พิมพ
ในพระไตรปฎกยาวถึง 83 หนา
จะยกตัวอยางพุทธพจนที่ทา นอางไวใน “ปุคคลกถา” มาแสดง
ใหเห็นหลักการเกี่ยวกับเรื่องอัตตา ๓ แบบ วาอยางไหนไมใชพุทธ
ศาสนา อยางไหนเปนพุทธศาสนาดังนี้
ตโยเม เสนิย สตฺถาโร สนฺโต สํวิชฺชมานา โลกสฺมึ . . . ตตฺร เส
นิย ยฺวายํ สตฺถา ทิฏเ เจว ธมฺเม อตฺตานํ สจฺจโต เถตโต ปฺ
เปติ, อภิสมฺปรายฺจ อตฺตานํ สจฺจโต เถตโต ปฺเปติ; อยํ วุจฺจ
ติ เสนิย สตฺถา สสฺสตวาโท.
ตตฺร เสนิย ยฺวายํ สตฺถา ทิฏเว หิ โข ธมฺเม อตฺตานํ สจฺจโต
เถตโต ปฺเปติ, โน จ โข อภิสมฺปรายํ อตฺตานํ สจฺจโต เถตโต
ปฺเปติ; อยํ วุจฺจติ สตฺถา อุจฺเฉทวาโท.
ตตฺร เสนิย ยฺวายํ สตฺถา ทิฏเ เจว ธมฺเม อตฺตานํ สจฺจโต
เถตโต น ปฺเปติ, อภิสมฺปรายฺจ อตฺตานํ สจฺจโต เถตโต น
ปฺเปติ; อยํ วุจฺจติ เสนิย สตฺถา สมฺมาสมฺพุทฺโธ.
(อภิ.ก. 37/188/82 และ อภิ.ปุ 36/103/179)
แปลวา: “ดูกรเสนิยะ ศาสดา ๓ ประเภทนี้มีปรากฏอยูในโลก . . .
ในศาสดา 3 ประเภทนั้น
56 กรณีธรรมกาย

1. ศาสดาที่บัญญัติ อัตตา โดยความเปนของจริง โดยความ


เปนของแท ทั้งในปจจุบัน ทั้งในเบื้องหนา นี้เรียกวาศาสดา
ที่เปนสัสสตวาท (ลัทธิมิจฉาทิฏฐิวาเที่ยง)
2. ศาสดาที่บัญญัติ อัตตา โดยความเปนของจริง โดยความ
เปนของแท เฉพาะในปจจุบัน ไมบัญญัติเชนนั้นใน
เบื้องหนา นี้เรียกวาศาสดาที่เปนอุจเฉทวาท (ลัทธิมิจฉาทิฏฐิ
วาขาดสูญ)
3. ศาสดาที่ไมบัญญัติ อัตตา โดยความเปนของจริง โดย
ความเปนของแท ทั้งในปจจุบัน ทั้งในเบื้องหนา นี้เรียกวา
ศาสดาผูสมั มาสัมพุทธะ”
โดยเฉพาะลัทธิมิจฉาทิฐิที่เรียกวาสัสสตวาทนั้น อรรถกถาได
อธิบายไวอีกวา
อตฺตานํ สจฺจโต เถตโต ปฺเปติ: อตฺตา นาเมโก อตฺถิ
นิจฺโจ ธุโว สสฺสโตติ ภูตโต ถิรโต ปฺเปติ (ป
ฺจ.อ.83)
แปลวา: “ขอความวา บัญญัติอัตตา โดยความเปนของจริง
โดยความเปนของแท หมายความวา (ศาสดาที่เปนสัสสตวาท)
บัญญัติโดยความเปนของจริง โดยความเปนของมั่นคงวา มี
ภาวะอยางหนึ่งที่เปนอัตตา ซึ่งเที่ยง (นิจจะ) คงที่ (ธุวะ) ยั่งยืน
(สัสสตะ)”
ถาจะพูดกันใหชัดลงไป ตามหลักการของพระพุทธศาสนานั้น
ไมมีเรื่องอัตตาที่จะเลยขึ้นมาใหตองพิจารณาในขั้นวา นิพพานเปน
อัตตาหรือไมดวยซ้ํา คือเรื่องอัตตานั้นจบไปตั้งแตขั้นพิจารณาเรื่อง
พระธรรมปฎก (ป. อ. ปยุตฺโต) 57

ขันธ 5 วาไมเปนอัตตา แลวก็จบ คือทานถือวาอัตตาซึ่งเปนศัพทที่


ใชแทนกันไดกับ ชีวะ หรือสัตว บุคคล ตัวตน เรา เขานี้ เปนคําที่มี
โดยสมมติ เปนภาษาสําหรับสื่อสารกันเทานั้น และในภาษาบาลี
ของพุทธศาสนาเถรวาท คําวา “อัตตา/ตัวตน” นั้นก็ใชในความหมาย
ที่เ ปนสมมติทั้งหมด ถาอานพุท ธศาสนาดวยความเขาใจถูก ตอ ง
อยางนี้ ก็ไมมีปญหาเรื่องอัตตาที่จะตองมาพิจารณากันเลยในขั้น
ปรมัตถ
สรุ ป สาระว า พุ ท ธพจน ข า งต น ตรั ส ว า ในคํ า สอนของ พระ
สั มมา-สั ม พุ ท ธเจ า อั ต ตาไม มี จ ริ ง โดยปรมั ต ถ อั ต ตามี เ พี ย งตาม
ภาษาสมมติเทานั้น
ขอย้ําวา ไมมีเรื่องอัตตาที่จะพิจารณาขึ้นมาถึงขั้นวานิพพาน
เปนอัตตาหรือไม เพราะมันจบไปกอนหนานั้นแลว

พระไตรปฎกและอรรถกถาระบุวา นิพพานเปนอนัตตา
อยา งไรก็ต าม เมื่อ ยัง จะยืน ยัน ใหไ ดวา นิพ พานเปน อัต ตา
ทานก็ใหหลักการที่ชัดเจนไว สําหรับเอามาใชเ ปนหลักฐาน ที่จะ
แสดงวานิพพานเปนอนัตตา
ขอย้ําอีกวา การชี้แจงตอไปนี้ เปนการนําหลักฐานมาแสดง
ตามที่ พ ระพุ ท ธเจ า ตรั ส ไว ซึ่ ง บั น ทึ ก ไว ใ นพระไตรป ฎ ก พร อ มทั้ ง
คําอธิบ ายประกอบในอรรถกถา ไมใชเ ปน เรื่องของความคิด เห็น
หรือ แมแ ตต ีค วาม ถา ที ่ใ ดเปน ความคิด เห็น ก็จ ะเขีย นบอกหรือ
วงเล็บไวดวย วาเปนความคิดเห็น แตคิดวาจะไมมีเรื่องความคิดเห็น
อยางมากก็มีเพียงคําอธิบายประกอบ
58 กรณีธรรมกาย

คําอธิบายประกอบก็คือ การขยายความหมายของคําออกไป
ตามหลักที่มีอยแลว เชน ถามีหลักฐานกลาวถึง อริยสัจจ 4 หาก
กลัววาคนทั่วไปจะไมเขาใจก็อาจจะวงเล็บไววา (คือ ทุกข สมุทัย
นิโรธ มรรค) อยางนี้เปนตน นี้ถือเปนการอธิบาย ไมใชความเห็น
ขอสรุปใหวา
- ในคัมภีรพระพุทธศาสนา เริ่มแตพระไตรปฎก และอรรถกถา
ไมมีหลักฐานในคัมภีรใดเลยที่กลาวถอยคําระบุลงไปวานิพพาน
เปนอัตตา
- แตหลักฐานในคัมภีรที่ระบุลงไปวานิพพานเปนอนัตตานั้นมี และ
มีหลายแหง
ขอใหทําความเขาใจกันไวกอนวา ที่วานิพพานเปนอนัตตา
คําวา “เปนอนัตตา” นั้น เปนการทับศัพทบาลีเพื่อความสะดวกในการ
กําหนดหมาย โดยสาระก็คือเปนการปฏิเสธอัตตา มิใชหมายความ
วา มีอะไรอยางหนึ่งที่เรียกชื่ อว าเปนอนั ตตา (จะแปลอนัตตานี้ว า
ไมใชอัตตา ไมเปนอัตตา หรือไมมีอัตตา ก็ไมตองเถียงกัน อยที่ความ
เขาใจใหชัด แตเมื่อวาโดยสาระก็คือ เปนการปฏิเสธความเปนอัตตา)
หลักฐานในพระไตรปฎกและอรรถกถา ที่ระบุวานิพพานเปน
อนัตตา มีมากแหง ในที่นี้จะยกมาพอเปนตัวอยาง
1. ในพระไตรปฎกเลมที่ 8 มีคําสรุประบุชัดไว ดังนี้
อนิจฺจา สพฺพสงฺขารา ทุกฺขานตฺตา จ สงฺขตา
นิพฺพานฺเจว ปณฺณตฺติ อนตฺตา อิติ นิจฺฉยา ฯ (วินย.
8/826/224)
แปลวา: “สังขารทั้งปวง อันปจจัยปรุงแตง ไมเที่ยง เปนทุกข
พระธรรมปฎก (ป. อ. ปยุตฺโต) 59

เปนอนัตตา นิพพานและบัญญัติเปนอนัตตา วินิจฉัยมีดังนี”้ 1


คัมภีรวิมติวิโมทนีไดอธิบายขอความในคาถาสรุปนี้ไววา
ปาฬิยํ นิพฺพานฺเจว ปฺตฺตีติ เอตฺถ ยสฺมา สงฺขตธมฺเม อุ
ปาทาย ปฺตฺตา สมฺมุติสจฺจภูตา ปุคฺคลาทิปฺตฺติ ปรมตฺถโต
อวิชฺชมานตฺตา อุปฺปตฺติวินาสยุตฺตวตฺถุธมฺมนิยเตน อนิจฺจทุกฺข-
ลกฺขณทฺวเยน ยุตฺตาติ วตฺตุ อยุตฺตา, การกเวทกาทิรูเปน ปน
ปริกปฺปเตน อตฺตสภาเวน วิรหิตตฺตา “อนตฺตา”ติ วตฺตุ ยุตฺตา.
ตสฺมา อยํ ปฺตฺติป อสงฺขตตฺตสามฺโต วตฺถุภูเตน นิพฺพาเนน
สห “อนตฺตา อิติ นิจฺฉยา” ติ วุตฺตา.
อวิชฺชมานาป หิ สมฺมุติ เกนจิ ปจฺจเยน อกตตฺตา อสงฺขตา เอวาติ
(วิมติวิโนทนีฏีกา 2/351)
แปลวา: “ในขอความนี้วา “นิพฺพานฺเจว ปฺตฺติ” ในพระ
บาลี อธิบายความวา ดวยเหตุที่บัญญัติมีบุคคลเปนตน อัน
เปนสมมติสัจจะ ซึ่งทานบัญญัติไวโดยอาศัยสังขตธรรม
เพราะเหตุที่เปนสิ่งไมมีจริงโดยปรมัตถ จึงไมควรจะกลาววา
ประกอบดวยลักษณะ 2 คือ อนิจจลักษณะ และทุกขลักษณะ
ซึ่งกําหนดดวยสิ่งที่ประกอบดวยอุบัติ และวินาศ (เกิด-ดับ)
แตควรจะกลาววาเปนอนัตตา เพราะปราศจากสภาวะที่เปน
อัตตา อันกําหนดดวยอาการที่เปนผกระทําและเปนผเสวย
หรือรับผลเปนตน

1
มีบางทานแปลขอความในพระไตรปฎกตรงนี้ แทนทีจ่ ะแปลวา “นิพพานและบัญญัติเปน
อนัตตา” กลับไปแปลวา “บัญญัติ คือนิพพาน เปนอนัตตา” ซึ่งเปนการแปลที่ผิดพลาด
อยางเห็นไดชัด ดังจะเห็นไดจากคําอธิบายในคัมภีรท ไี่ ดแสดงไว
60 กรณีธรรมกาย

เพราะฉะนั้น แมบัญญัติน้ี พรอมดวยนิพพานซึ่งเปน


สิ่งที่มีอย ทานกลาววา “วินิจฉัยวาเปนอนัตตา” เพราะเสมอ
กันโดยความเปนอสังขตะ
จริงอย สมมติแมไมมีอย ก็เปนอสังขตะ เพราะไมถูก
ปจจัยใดๆ กระทําขึ้น”
(นิพพานเปนอสังขตธรรมที่มีจริง สวนบัญญัติเปนอสังขตะที่
ไมมีจริง เพราะฉะนั้นอสังขตธรรมแทจริงมีอยางเดียว คือนิพพาน
แตทั้ง 2 อยางนั้นเปนอนัตตา)
2. หลักธรรมหมวดใหญที่ครอบคลุมทุกสิ่งทุกอยาง ซึ่งชาวพุทธ
รจักกันดี คืออริยสัจจ 4 นิพพานก็อยูในอริยสัจจ 4 ดวย คือเปน
จุดหมายของพระพุทธศาสนา ไดแก อริยสัจจขอ 3 ที่เรียกวา “นิโรธ”
คําวานิโรธนี้เปนไวพจน คือใชแทนกันไดกับ “นิพพาน” พระไตรปฎก
เลม 31 ระบุวาอริยสัจจ 4 ทั้งหมดซึ่งรวมทั้งนิโรธ คือนิพพานดวยนั้น
เปนอนัตตา ดังนี้
อนตฺตฏเน จตฺตาริ สจฺจานิ เอกปฏิเวธานิ . . . นิโรธสฺส
นิโรธฏโ อนตฺตฏโ. (ขุ.ปฏิ.
31/546/450)
แปลวา: “สัจจะทั้ง 4 (ทุกข สมุทัย นิโรธ มรรค) มีการตรัสรู
ดวยกันเปนอันเดียว (คือดวยมรรคญาณเดียวกัน) โดย
ความหมายวาเปนอนัตตา . . . นิโรธมีความหมายวาดับ(ทุกข)
ก็มีความหมายวาเปนอนัตตา”
อรรถกถาอธิบายวา
อนตฺตฏเนาติ จตุนฺน มฺป สจฺจานํ อตฺตวิรหิตตฺตา
พระธรรมปฎก (ป. อ. ปยุตฺโต) 61

อนตฺตฏเน.
(ปฏิสํ.อ.2/229)
แปลวา: “คําวา ‘โดยความหมายวาเปนอนัตตา’ หมายความวา
โดยความหมายวาเปนอนัตตา เพราะสัจจะแมทั้ง 4 เปนสภาวะ
ปราศจาก อัตตา”
3. อีกแหงหนึ่ง ในพระไตรปฎกเลม 31 คัมภีรปฏิสัมภิทามัคค
กลาวไววา
เอกสงฺคหิตาติ ทฺวาทสหิ อากาเรหิ สพฺเพ ธมฺมา
เอกสงฺคหิตา ตถฏเน อนตฺตฏเน สจฺจฏเน . . .
(ขุ.ปฏิ 31/242/155)
แปลวา: ที่วารวมเปนอันหนึ่งอันเดียวกัน อธิบายวา ธรรม
ทั้งปวงรวมเปนอันหนึ่งอันเดียวกันโดยอาการ 12 คือ โดย
อรรถวาเปนอยางนั้น โดยอรรถวาเปนอนัตตา โดยอรรถวา
เปนสัจจะ...”
อรรถกถาอธิบายความตรงนี้ไวใหชัดขึ้นวา
สพฺเพ ธมฺมา เอกสงฺคหิตา สงฺขตาสงฺขตธมฺมา เอเกน
สงฺคหิตา ปริจฺฉนิ ฺนา. ตถฏเนาติ ภูตฏเน, อตฺตโน อตฺตโน
สภาววเสน วิชฺชมานฏเนาติ อตฺโถ. อนตฺตฏเนาติ การก-
เวทกสงฺขาเตน อตฺตนา รหิตฏเน. (ปฏิสํ.อ.
1/343)
แปลวา: ธรรมทัง้ หลายทั้งปวงสงเคราะหเปนอันหนึง่ อัน
เดียวกัน คือ ทั้ง สังขตธรรม (สังขาร/ขันธ 5) และ
อสังขตธรรม (นิพพาน) สงเคราะห หมายความวา กําหนด
62 กรณีธรรมกาย

ไดโดยความเปนอันหนึ่งอันเดียวกัน
ที่วา “โดยอรรถวาเปนอยางนัน้ ” (ตถา) คือโดยอรรถวา
มีอย หมายความวา โดยอรรถวา มีอยตามสภาพของมัน ๆ
ที่วา “โดยอรรถวาเปนอนัตตา” คือโดยความหมายวา
ปราศจากอัตตา ซึ่งนับวาเปนผทําและผเสวยหรือรับผล...”
4. ในพระไตรปฎกเลม 17 กลาวถึงพุทธพจนวา
สพฺเพ สงฺขารา อนิจฺจา, สพฺเพ ธมฺมา อนตฺตาติ (สํ.ข.
17/233)
แปลวา: “สังขารทั้งหลายทั้งปวงไมเที่ยง ธรรมทั้งหลายทั้งปวง
เปนอนัตตา”
อรรถกถา อธิบายวา
สพฺเพ สงฺขารา อนิจฺจาติ สพฺเพ เตภูมกสงฺขารา อนิจฺจา.
สพเพ ธมฺมา อนตฺตาติ สพเพ จตุภูมกธมฺมา อนตฺตา
(สํ.อ. 2/346)
แปลวา: “พุ ทธพจนว า สังขารทั้ง หลายทั้ง ปวงไมเ ที่ ยง
หมายความวา สังขารในภูมิ 3 (กามาวจรภูมิ รูปาวจรภูมิ
อรูปาวจรภูมิ) ทั้งปวง ไมเที่ยง
พุ ท ธพจน ว า ธรรมทั้ ง หลายทั้ ง ปวงเป น อนั ต ตา
หมายความวา ธรรมในภูมิ 4 (กามาวจรภูมิ รูปาวจรภูมิ
อรู ปาวจรภูมิ และโลกุต ตรภูมิ คือ มรรค ผล นิพ พาน)
ทั้งหมดทั้งปวงเปนอนัตตา”
5. อรรถกถาที่อธิบายเรื่องเหลานี้ยังมีอีกมากมาย จะยกมา
เพียงอีก 2-3 แหงก็เพียงพอ ที่จริงเพียงแหงเดียวก็ตองถือวาพอ
พระธรรมปฎก (ป. อ. ปยุตฺโต) 63

เพราะไมมีที่ใดขัดแยง
1) สพฺเพ ธมฺมา อนตฺตาติ นิพพฺ านํ อนฺโตกริตวฺ า วุตฺตํ
(นิทฺ.อ.2/8)
แปลวา: “ข อ ความว า ‘ธรรมทั้ ง ปวงเป น อนั ต ตา’ นั้ น
พระพุทธองคตรัสรวมทั้งนิพพานดวย”
2) สพฺเพ ธมฺมาติ นิพฺพานมฺป อนฺโตกริตฺวา วุตฺตา อนตฺตา
อวสวตฺตนฏเน. (นิทฺ.อ. 1/219 และ
ปฏิสํ.อ. 1/68)
แปลวา: “ขอความวา ‘ธรรมทั้งปวง’ ตรัสไวรวมแมทั้งนิพพาน
ดวย ชื่อวาเปนอนัตตา โดยความหมายวาไมเปนไปในอํานาจ”
บางแหงใชคําวา อัตตสุญญ แปลวา วาง หรือ สูญจากอัตตา
ก็มี เชน
3) นิพฺพานธมฺโม อตฺตสฺเสว อภาวโต อตฺตสุฺโ
(ปฏิสํ.อ. 2/287)
แปลวา: “ธรรม คือนิพพาน สูญ (วาง) จากอัตตา เพราะไมมี
อัตตานั่นเอง”
4) สงฺขตาสงฺขตา ปน สพฺเพป ธมฺมา อตฺตสงฺขาตสฺส ปุคฺคลสฺส
อภาวโต อตฺตสุฺาติ. (ปฏิสํ.อ.
2/287)
แปลวา: “ก็ธรรมทั้งหลาย แมทั้งปวง ทั้งสังขตะ (สังขาร)
และอสังขตะ (นิพพาน) ลวนสูญ (วาง) จากอัตตา เพราะไมมี
บุคคล กลาวคือ อัตตา”
เอกสารของวัดพระธรรมกาย กลาววา
64 กรณีธรรมกาย

“อัตตามีนัยมากมาย ทั้งอัตตาโดยสมมติ...และอัตตา
ในระดับที่สูงขึ้น”
ขออธิบ ายสั้น ๆ วา ในที่นี้ ขอ ความในพระไตรปฎ ก และ
อรรถกถานั้น ปฏิเสธตรงไปที่อัตตาเลย ไมวาจะมีกี่นัย คือ ไมตอง
ปฏิเสธนัยไหนของอัตตาทั้งนั้น แตปฏิเสธอัตตาทีเดียวหมดไปเลย
คือปฏิเสธอัตตาวาไมมีอยจริงโดยปรมัตถ เปนอันวาไมตองไปพูด
ว า เป น อั ต ตาหรื อ ตั ว ตนแบบไหน นั ย อย า งไหน เพราะท า นไม ไ ด
ปฏิ เ สธความหมายต างๆ ของอั ตตา แต ท านปฏิ เสธที่ คํ าว าอั ตตา
ตรงไปตรงมา ทีเดียวเสร็จสิ้นไปเลยวา อัตตาโดยปรมัตถไมมี
สวนอัตตาโดยสมมติ คือตัวตนตามภาษาพูดที่ใชสื่อสารใน
ชีวิตประจําวันและในระดับศีลธรรม ก็เปนธรรมดาอยแลว ไมไดมี
ปญหาอะไร หมายความวา นอกจากอัตตาที่ทานปฏิเสธไปแลวนี้
คําที่กลาวถึงอัตตาก็เปนการกลาวโดยสมมติเทานั้น
แตที่สําคัญก็คือวา ไมมีพุทธพจน หรือขอความในอรรถกถา
หรือในคัมภีรแหงใดที่ระบุวานิพพานเปนอัตตา แตมีชัดเจนที่ระบุวา
นิพพานเปนอนัตตา
สวนคําวาอัตตาจะใชในนัยไหน อันนั้นเปนอีกเรื่องหนึ่งหรือ
เปนอีกประเด็นหนึ่งทีเดียว และก็ไมไดมีปญหาอะไรในเมื่อเรารอย
แลววาเปนการใชโดยสมมติทั้งสิ้น

การหาทางตีความ ใหนิพพานเปนอัตตา
ขอย้ําอีกครั้งหนึ่งวา
- ไมมีหลักฐานในคัมภีรใดเลยที่กลาวถอยคําระบุลงไปวานิพพาน
พระธรรมปฎก (ป. อ. ปยุตฺโต) 65

เปนอัตตา
- แตหลักฐานในคัมภีรที่ระบุลงไปวานิพพานเปนอนัตตานั้นมี และ
มีหลายแหง
ดังที่ยกตัวอยางมาแสดงแลว
เมื่อไมสามารถหาหลักฐานมาแสดงวานิพพานเปนอัตตา ผที่
หาทางจะทํ า ให นิ พ พานเป น อั ต ตา ก็ ใ ช วิ ธี ตี ค วาม หรื อ ทํ า ให เ กิ ด
ความสับสน
ขอให พิ จ ารณาข อ ความที่ เ อกสารของวั ด พระธรรมกายได
กลาวไว
“3. คําวา สพฺเพ ธมฺมา อนตฺตา ธรรมทั้งปวงเปน
อนัตตา ซึ่งเปนคําที่มีการอางอิงกันมากนี้ คําวา สพฺ
เพ ธมฺมา คือ ธรรมทั้งปวง กินความกวางเพียงใดเพราะมี
ทั้งคัมภีรชั้นอรรถกถาที่บอกวา ธรรมทั้งปวงในที่นี้ รวมเอา
พระนิพพานดวย (อรรถกถา ขุททกนิกาย จูฬนิเทส ฉบับมหา
จุฬาลงกรณราช-วิทยาลัย หนา 8; อรรถกถา ขุททกนิกาย
มหานิเทส ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย หนา 219)
และมีทั้ง คัม ภีรอรรถกถาที่บอกวา ธรรมทั้งปวงที่วาเปน
อนัตตานั้นหมายเอาเฉพาะขันธ 5 ไมไดครอบคลุมถึงพระ
นิพพาน (อรรถกถาธรรมบท ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย
ภาค 7 หนา 62 )”
คํากลาวนี้จะทําใหเกิดความเขาใจผิดหรือสับสน ถาไมเปน
เพราะตัว ผก ลา วสับ สนเอง ก็เ ปน เพราะตั้ง ใจจะทํา ใหเ กิด ความ
สับสน เปนการเสี่ยงตอการตพระธรรมวินัยเปนอยางยิ่ง ความจริง
66 กรณีธรรมกาย

คําอธิบายของอรรถกถาไมไดขัดกันเลย ขอใหดูพุทธพจนแสดงหลักนี้
ที่ทานนํามาอธิบายไว ซึ่งตางกันเปน 2 แบบ
แบบที่ 1 พุทธพจนที่แสดงแตหลักทั่วไปเปนกลาง ๆ วา
สพฺเพ ธมฺมา อนตฺตาติ (เชน สํ.ข.
17/233/164)
แปลวา: “ธรรมทั้งปวงเปนอนัตตา”
ในกรณีเ ชน นี้ คํา อธิบ ายของพระอรรถกถาจารย จะกลา ว
ครอบคลุมหมดโดยไมมีขอแมวา
สพฺเพ ธมฺมา อนตฺตาติ สพฺเพ จตุภูมกธมฺมา อนตฺตา
(สํ.อ. 2/346)
แปลวา: “พุทธพจนวา ‘ธรรมทั้งปวงเปนอนัตตา’ หมายความ
วาธรรมที่มีในภูมิ 4 ทั้งหมด เปนอนัตตา”
ขอนี้ชัดเจนไมมีขอแม ไมมีเงื่อนไขใดๆ คือ ทุกอยางรวมทั้ง
นิพพานดวย เปนอนัตตา
แบบที่ 2 พุทธพจนเฉพาะแหง ซึ่งมีขอความที่เปนเงื่อนไข
จํากัดตอทาย
สพฺเพ ธมฺมา อนตฺตาติ ยทา ปฺาย ปสฺสติ
อถ นิพพฺ ินฺทติ ทุกฺเข เอส มคฺโค วิสุทฺธิยา
(ขุ.ธ. 25/30/52; ขุ.เถร. 26/383/366)
แปลวา: “เมื่อใดบุคคลมองเห็นดวยปญญาวาธรรมทั้งปวงเปน
อนัตตา เมื่อนั้นยอมหนายในทุกข นี้เปนทางแหงวิสุทธิ”
ในกรณีนี้ อรรถกถาเถรคาถา อธิบายไวบริบูรณวา
สพฺเพ ธมฺมา อนตฺตาติ สพฺเพป จตุภูมิกา ธมฺมา อนตฺตา.
อิธ ปน เตภูมิกธมฺมาว คเหตพฺพา (เถร.อ.
พระธรรมปฎก (ป. อ. ปยุตฺโต) 67

2/283)
แปลวา: “ขอความ (พุทธพจน) วาธรรมทั้งปวงเปนอนัตตา
หมายความวา ธรรมทั้งหลายที่เปนไปในภูมิ 4 แมทั้งหมด
(คือ กามาวจรภูมิ รูปาวจรภูมิ อรูปาวจรภูมิ และโลกุตตรภูมิ
คือ มรรค ผล นิพพาน) เปนอนัตตา
แตในที่นี้ พึงถือเอาเฉพาะธรรมที่เปนไปในภูมิ 3
(สังขาร/ขันธ 5) เทานั้น”1
ที่จริงคําอธิบายนี้ก็ชัดเจนอยแลว คือ ทานแบงเปน 2 ทอน
ทอนแรก แสดงหลักทั่วไป คือตัวความจริงแทๆ ที่เปนกลาง ๆ
ซึ่งเปนความหมายที่สมบูรณวา ธรรมทั้งปวง รวมหมดทั้งภูมิ 4 ซึ่ง
รวมทั้งนิพพานดวยนั้น เปนอนัตตา
สวนทอนที่สอง จํากัดความหมายใหอยูในขอบเขตที่ตองการ
หรือตามความประสงคเฉพาะกรณี ดังจะเห็นวามีทั้งคําวา อิธ ซึ่ง
จํากัดเทศะวา “ที่นี้” หรือ “ในกรณีนี้” หรือ “ในคาถานี้” และคําวา
คเหตพฺพา ซึ่งจํากัดวัตถุประสงควา “พึงถือเอา” (หรือในอรรถกถา
ธรรมบทใชคําวา อธิปฺเปตา แปลวา “ทรงประสงคเอา”)
คําวา ในที่นี้ ก็ดี คําวา พึงถือเอา หรือทรงประสงคเอา ก็ดี
เปนคําจํากัดขอบเขต คือ อิธ “ที่นี้” ก็จํากัดสถานที่ หรือเฉพาะกรณี
และ คเหตพฺพา “พึงถือเอา” หรือ อธิปฺเปตา “ทรงประสงคเอา” ก็

1
คําอธิบายตรงนี้อรรถกถาธรรมบทจับเฉพาะทอนหลังที่ตองการวา ตตฺถ สพฺเพ ธมฺมา
ติ ปฺจกฺขันฺธาเอว อธิปฺเปตา (ธ.อ. 7/64)
แปลวา: “คําวา ‘ธรรมทั้งปวง’ ในคาถานัน้ ทรงประสงคเอาขันธ 5 เทานัน้ ”
68 กรณีธรรมกาย

จํากัดความตองการ
การใชคํา จํา กัด อยา งนี้เ ปน การบอกชัด อยแ ลว วา เปน การ
ตัดออกมาจากสวนรวมทั้งหมด โดยจับเอาเฉพาะสวนที่ประสงค
ในกรณีนั้นๆ เพราะในทางพุทธศาสนาถือวาความจริงนั้นเปนกลางๆ
ไมขึ้นตอความตองการของใคร เพราะฉะนั้นทานจึงแสดงหลักที่เปน
ความจริง กลางๆ ไวกอน แลว ทอ นหลังจึง แสดงความมง หมายที่
ตอ งการใชเ ฉพาะในกรณีนั้น ๆ หรือ เปน เรื่อ งสัม พัน ธกับ เงื่อ นไข
บางอยางในที่นั้น
พูดงายๆวา ไมวาเราจะถือเอาแคไหน จะประสงคเอาหรือจะ
เอามาใชเทาไร ความจริงก็เปนอยูของมันอยางนั้น
อยา งในกรณีนี้ ขออธิบ ายประกอบ จะเห็น วา มีคํา วา “อถ
นิพฺพินฺทติ ทุกฺเข” ซึ่งแปลวา “เมื่อนั้นยอมหนายในทุกข” ทุกขคือ
อะไร ทุก ขใ นทางธรรม วา โดยรวบยอดก็ไ ดแ กอุป าทานขัน ธ 5
ในที่นี้ อรรถกถาเองก็ไ ดอ ธิบ ายตอ ไปวา เปน วิปส สนาวิธีใ นการ
ปฏิบัติของผูพิจารณา ซึ่งหมายถึงพิจารณาเบญจขันธ แตยกหลัก
ทั่วไปที่พระพุทธเจาทรงแสดงไว 3 ขอ คือ สพฺเพ สงฺขารา อนิจฺจา,
สพฺเพ สงฺขารา ทุกฺขา, สพฺเพ ธมฺมา อนตฺตา มากลาว โดยยกเอาหลัก
นั้นมาอางเต็มตามเดิม สวนความหมายที่ตองการในที่นี้ ซึ่งใชใน
วิปสสนาวิธีนั้น จํากัดเฉพาะการพิจารณาขันธ 5 หรือพิจารณา
สัง ขาร และเมื่อ พิจ ารณาเห็น อยา งนั้น ก็ห นา ยในทุก ข รับ กัน คือ
หนายในขันธ 5 หรืออุปาทานขันธ 5 นั้น
เปนอันวาในที่นี้เปนการใชจํากัดความหมายเฉพาะขอบเขต
โดยมีเงื่อนไข แตหลักกลางก็ไมไดเสียหายไปไหน เพราะไดบอกแจง
พระธรรมปฎก (ป. อ. ปยุตฺโต) 69

ไวทอนตนอยแลว เพราะฉะนั้น คําอธิบายของทานจึงไมไดขัดกัน


แตประการใด
และถึงอยางไร คําอธิบายพุทธพจนเหลานี้ก็ไมมีการระบุวา
นิพ พานเปน อัต ตา แตต รงขา ม คํา อธิบ ายที่ป รากฏมาแลว นั้น ก็
บอกชัดวา นิพพานรวมอยในธรรมที่เปนอนัตตา
บางทา นเมื่อ หาพุท ธพจน หรือ คํา ระบุใ นคัม ภีรวา นิพ พาน
เปน อัต ตาไมไ ดแ ลว ก็เ ลยมาเอาขอ ความตรงนี้ที่วา “ในกรณีนี้
ธรรมทั้งปวงทรงประสงคเอาขันธ 5” แลวก็ไปตีความหมายเอาวา
เมื่อธรรมทั้งปวงหมายเอาขันธ 5 เพราะฉะนั้นนิพพานก็เปนอัตตา
ซึ่งก็
1. ไมมีพุทธพจน ไมมีขอความ ไมมีถอยคําที่ระบุอยางนั้น
2. ขัดตอคําอธิบายของอรรถกถาที่กลาวขางตนนั้น ซึ่งชัดอย
แลว
ขอสรุปปดทายอีกหนอยวา คําอธิบายพุทธพจน “สพฺเพ ธมฺมา
อนตฺตา — ธรรมทั้งปวงเปนอนัตตา” ที่มีขอความจํากัดขอบเขตของ
ความหมายวา “แตในที่นี้พึงถือเอาเฉพาะธรรมในภูมิ 3 (=สังขาร/ขันธ
5) เทานั้น” ก็ดี “คําวา ‘ธรรมทั้งปวง’ ในคาถานั้น ทรงประสงคเอาขันธ
5 เทานั้น” ก็ดี เปนคําอธิบายเฉพาะในกรณีของพุทธพจน “สพฺเพ ธมฺ
มา อนตฺตาติ” ในคาถาที่มี “ยทา ปฺาย ปสฺสติ” มาตอทาย
เทานั้น
แตพุทธพจน “สพฺเพ ธมฺมา อนตฺตา” ในที่อื่นๆ ซึ่งแสดงหลัก
ทั่วไป โดยไมมีขอความที่เปนเงื่อนไขหรือจํากัดขอบเขตมาตอทาย
เลยนั้น อรรถกถาอธิบายวา “ธรรมทั้งปวงเปนอนัตตา หมายความวา
70 กรณีธรรมกาย

ธรรมในภูมิ 4 ทั้งหมด เปนอนัตตา” หรือไมก็อธิบายวา “ที่วาธรรมทั้ง


ปวงเปนอนัตตานั้น พระพุทธเจาตรัสรวมทั้งนิพพานดวย” เมื่อให
ความหมายชัดเจนเด็ดขาดอยางนี้แลว ทานก็จบแคนั้น
ความหมายและเหตุผลตางๆ ของอรรถกถาทั้งหลาย จึงชัดเจน
และสอดคลองกันทั้งหมด ไมมีความขัดแยงสับสนหรือเคลือบคลุม
แตประการใด
ในหลักทั่วไปของไตรลักษณ1 พระพุทธเจาตรัสมาตามลําดับ
วา สังขาร(=ขันธ 5)ทั้งปวงไมเที่ยง สังขารทั้งปวงเปนทุกข แตพอถึง
ขอ 3 ทรงเปลี่ยนเปนวา ธรรมทั้งปวง เปนอนัตตา ถาสังขาร/ขันธ 5
เทานั้นเปนอนัตตา เมื่อพระองคตรัสผาน 2 ขอแรกมาตามลําดับอยู
แลววา สังขารทั้งปวงไมเที่ยง สังขารทั้งปวงเปนทุกข ก็ยอมตรัสตอไป
ไดเลยวา สังขารทั้งปวงเปนอนัตตา พระองคจะทรงเปลี่ยนคําใหม
ทําไมใหยุงยากลําบาก ทั้งแกพระองคเองและแกผูฟง (และอรรถกถา
ยังจะตองมาอธิบายกลับใหลําบากอีกวา ธรรมหมายเอาแคสังขาร/
ขันธ 5) การที่พระองคเปลี่ยนมาตรัสวา ธรรมทั้งปวงเปนอนัตตา ก็
แสดงอยูแลววา ขอที่ 3 คือ “ธรรมทั้งปวงเปนอนัตตา” มีอะไร
แตกตางออกไปจาก 2 ขอตน และสิ่งที่แตกตางก็คือ เปลี่ยนจากสังขาร
(สังขตธรรม/ขันธ 5)มาเปน ธรรม(สังขตธรรม+อสังขตธรรม/นิพพาน)
ฉะนั้น สังขาร(ขันธ 5)ทั้งปวงไมเที่ยง สังขาร(ขันธ 5)ทั้งปวง
เปนทุกข ธรรม(ขันธ 5+นิพพาน)ทั้งปวงเปนอนัตตา จึงมีความหมาย

1
พึงสังเกตวา “ไตรลักษณ” ก็ดี “สามัญลักษณะ” ก็ดี เปนคําที่ใชในรุนอรรถกถา สวน
ในพระไตรปฎก เรียกวา ธรรมนิยาม (ธมฺมนิยามตา)
พระธรรมปฎก (ป. อ. ปยุตฺโต) 71

ชัดเจนและสอดคลองกันทุกกรณีแลว โดยสมบูรณ

การใชตรรกะที่ผิด เพื่อใหคิดวานิพพานเปนอัตตา
นอกจากนั้น เอกสารของวัดพระธรรมกาย ยังเขียนไววา
“และนิพพานนี้เปนสิ่งที่อยพนจากกฎของไตรลักษณ
แนนอน เพราะมีพุทธพจนยืนยันวา นิพพานนั้นเปนนิจจัง
คือเที่ยงแท ยั่งยืน และเปนบรมสุข . . . นิพพานํ ปรมํ สุขํ
แปลวาพระนิพพานเปนสุขอยางยิ่ง”
อันนี้เปนเรื่องธรรมดา ไมไดมีอะไรพิเศษ เพราะรับกันอยแลว
กับ พุท ธพจนแ สดงไตรลัก ษณ แตค วรพูด ใหค รบถว นวา นิพ พาน
พนจากไตรลักษณ 2 ขอแรก คือ
ขอที่ 1 สพฺเพ สงฺขารา อนิจฺจา สังขารทั้งปวงไมเที่ยง, ในเมื่อ
นิพพานพนจากความเปนสังขาร นิพพานก็เที่ยง เปนนิจจัง ขอนี้ถูก
ขอที่ 2 สพฺเพ สงฺขารา ทุกฺขา สังขารทั้งปวงเปนทุกข, นิพพาน
ไมเปนสังขาร พนจากสังขาร เพราะฉะนั้นนิพพานก็เปนสุข ขอนี้ก็มี
หลักฐานยืนยันอยมากมาย ไมมีปญหา
แตห ลัก ฐานที่จ ะบอกวา นิพ พานเปน อัต ตานั้น ไมมี มีแ ต
ธรรมทั้งปวง เปนอนัตตา ซึ่งรวมทั้งนิพพานดวยอยแลว เพราะฉะนั้น
ขอ 3 นี้ ถึงอยางไรก็เอานิพพานเปนอัตตาไมได
เอกสารของวัดพระธรรมกาย ยังพยายามใชวิธีตรรกศาสตร
มาสรุปโดยอางพุทธพจนวา “ยทนิจฺจํ ตํ ทุกฺขํ, ยํ ทุกฺขํ ตทนตฺตา” ที่
แปลว า “สิ่ ง ใดไม เ ที่ ย ง สิ่ ง นั้ น เป น ทุ ก ข สิ่ ง ใดเป น ทุ ก ข สิ่ ง นั้ น เป น
อนัตตา” แลวก็บอกวา
72 กรณีธรรมกาย

“จึ งน าคิ ดว า ถ ามองในเชิ งกลั บกั น ในเมื่ อนิ พพาน
เที่ยง และเปนสุข เราก็จะสรุปไดวา สิ่งใดเที่ยง สิ่งนั้นเปน
สุข สิ่งใดเปนสุข สิ่งนั้นก็นาจะเปนอัตตา”
คําวา “นาจะ” นั้นเปนคําที่ทานวาเอาเอง ซึ่งไมมีทางเปนจริง
ทั้ง 2 ประการ
ประการที่ 1 มีบาลีระบุไวแลววา นิพพานเปนอนัตตา และไม
มีขอความใดระบุวานิพพานเปนอัตตา
ประการที่ 2 การใชตรรกะแบบนั้นไมถูกตอง เหมือนกับคําพูด
ในประโยคที่วา
“ชีวิตใด เคลื่อนไหวยายที่เองได ชีวิตนั้นเปนสัตว, ชีวิตที่เปน
สัตวทั้งปวงตองตาย”
แลวก็จะมาสรุปเอาวา “พืชไมเปนชีวิตที่เคลื่อนไหวยายที่เอง
ได ก็จึงไมเปนสัตว เพราะฉะนั้น พืชก็ไมตองตาย”
การสรุปอยางนี้ใชไมได เปนตรรกะที่ผิดพลาดไรผล เพราะวา
ชีวิตที่เปนพืชก็ตองตายเหมือนกัน เฉพาะขอความที่วาตองตายนี้
ครอบคลุมหมด ไมเฉพาะชีวิตที่เคลื่อนไหวยายที่เองได ที่เปนสัตว
เทานั้น เชนเดียวกับคําวา “ธรรมทั้งปวง เปนอนัตตา” ก็คลุมไม
เฉพาะสิ่งที่ไมเที่ยงเปนทุกขเทานั้น แตรวมทั้งสิ่งที่เที่ยงและเปนสุข
ดวย
ในที่สุด ที่วามาทั้งหมดก็สอดคลองกลมกลืนกัน ลงในขอสรุป
แหงพุทธพจนที่วา
สพฺเพ สงฺขารา อนิจฺจา = สังขาร (ขันธ 5/สังขตธรรม)ทั้งปวง
ไมเที่ยง
พระธรรมปฎก (ป. อ. ปยุตฺโต) 73

สพฺเพ สงฺขารา ทุกฺขา = สังขาร (ขันธ 5/สังขตธรรม)ทั้งปวง


เปนทุกข
สพฺเพ ธมฺมา อนตฺตา = ธรรม (ขันธ 5 + อสังขตธรรม)ทั้งปวง
เปนอนัตตา
ชีวิต มีความหมายกวางกวาสัตว คลุมไปถึงพืชดวย ฉันใด
ธรรม ก็มีความหมายกวางกวาสังขาร(สังขตธรรม) คลุมไปถึง
วิสังขาร (อสังขตธรรม) คือ นิพพานดวย ฉันนั้น

การจับคําความที่ผิดมาอางเปนหลักฐาน
เพื่อใหนิพพานเปนอัตตา
มีพุทธพจนอีกแหงหนึ่ง ที่บางทานชอบนําไปอางเพื่อยืนยันวา
นิพพานเปนอัตตา คือ พุทธพจนวา
ชฺา นิพฺพานมตฺตโน (ขุ.อุ.
25/77)
แปลวา: “พึงรนิพพานของตน”
ที่จริงในสุตตนิบาตก็มีพุทธพจนคลายกันวา
สิกฺเข นิพฺพานมตฺตโน (ขุ.สุ
25/422)
แปลวา: “พึงศึกษานิพพานของตน”
ที่จริงพุทธพจนนี้ก็ชัดเจนอยแลววา ไมใชนิพพานเปนอัตตา
แตมีสิ่งหนึ่งที่ทานใชคําวาอัตตา/ตน มาเปนเจาของนิพพาน สิ่งที่วา
เปนอัตตา/ตัวตนที่เปนเจาของนิพพาน คือ อัตตโน ตัวนี้ สําหรับใน
สุตตนิบาต ทานมีคําอธิบายไวในพระไตรปฎกนั่นเอง คือคัมภีรมหา
74 กรณีธรรมกาย

นิทเทส ซึ่งขยายความวา
“สิกฺเข นิพฺพานมตฺตโนติ . . . นิพฺพานมตฺตโนติ อตฺตโน
ราคสฺส นิพฺพานาย โทสสฺส นิพฺพานาย โมหสฺส นิพฺพานาย...
แปลวา: “พุทธพจนวา ‘พึงศึกษานิพพานของตน’ มี
ความหมายวา . . . นิพพานของตน คือ (พึงศึกษา) เพื่อดับ
ราคะ เพื่อดับโทสะ เพื่อดับโมหะ ของตน” (ขุ.ม.29/816 เปนตน)
และอรรถกถา (ทั้งอรรถกถาสุตตนิบาต—สุตฺต.อ 2/440 และอรรถ
กถามหานิทเทส—นิทฺ.อ.1/27) ยังเอาไปไขความอีกคลายๆ กันวา
“สิกฺเข นิพฺพานมตฺตโนติ อตฺตโน ราคาทีนํ นิพพฺ านมตฺ
ถาย อธิสีลาทีนิ สิกฺเขยฺย”
แปลวา: “พุทธพจนวา ‘พึงศึกษานิพพานของตน’ หมาย-
ความวา พึงศึกษาอธิศีลเปนตน เพื่อประโยชนในการดับกิเลส
ทั้งหลาย มีราคะเปนตน ของตน”
สวนพุทธพจนในคัมภีรอุทาน ที่วา “พึงรูนิพพานของตน” นั้น
คําวา “ของตน” อรรถกถา (อุ.อ.201) อธิบายวาไดแก มรรคญาณ
และผลญาณ ซึ่งก็ชัดอยูแลววา มรรค ก็ตาม ผล ก็ตาม ญาณ หรือ
ป ญ ญา ก็ ต าม นั้ น เป น สั ง ขตธรรม คื อ เป น สั ง ขารอย ใ นขั น ธ 5
เพราะฉะนั้น คําวาตนในที่นี้ จึงเปนอัตตาโดยสมมติอยางที่รกันอย
แลว เพราะวาเมื่อ มรรคญาณ ผลญาณ เปนสังขาร อยในขันธ 5 ก็
เปน อนัตตานั่นเองโดยปรมัตถ
เรารกันดีวา พระพุทธศาสนาเปนศาสนาแหงการพึ่งตน และ
“พึ่งตน” ก็คือ ผลักดันกระบวนการแหงเหตุปจจัย ที่เรียกวา “ธรรม”
ใหดําเนินไปสจุดหมาย พูดงายๆ วา ทําเหตุปจจัย ไมใชคอยโชค
พระธรรมปฎก (ป. อ. ปยุตฺโต) 75

หรือรอใหใครบันดาลให เพราะฉะนั้น จึงมีคําสอนที่ใหรวา พึ่งตน ก็คือ


พึ่งธรรม และในระหวางการปฏิบัติก็จะมีคําสอนที่กลาวถึงตน/อัตตา
นี้มากมาย ตลอดเวลา
เมื่ออธิบายทานก็จะบอกวา ตน/อัตตา คือ ธรรม หรือที่บางที
เรียกวา ธรรมกาย (คือประมวลแหงธรรมหรือคุณสมบัติทั้งหลาย) นี้
ไดแก โลกิยโลกุตตรธรรม บาง ไดแก โลกุตตรธรรม บาง (เชนวา พึง่
ตน พึ่งธรรม, ที.ม.10/93/119; ตน/อัตตา = ธรรม = โลกิยโลกุตตร
ธรรม, ที.อ. 3/30; ตน/อัตตา = ธรรม = โลกุตตรธรรม 9, สํ.อ. 3/277;
ตน/อัตตา = ธรรมกาย ซึ่งอยางสูงคือโลกุตตรธรรม 9, จริยา อ.324)
แลวแตขั้นตอนของการปฏิบัติ
ทั้งนี้ เปนการบอกใหรูวา ตน/อัตตานี้ เปนคําเรียกขานตาม
สมมติ ของภาษา และเปนคํ าที่ ใชในกระบวนการปฏิบั ติ หมายถึ ง
ธรรมที่ เ ป น ข อ ปฏิ บั ติ ต างๆ ตลอดจนคุ ณสมบั ติ ที่ เ ป น ผลของการ
ปฏิบัติ (คือธรรมตางๆ ในระดับสังขาร/สังขตธรรม/ขันธ 5 ที่ขางตน
ไดบอกแลววาโดยปรมัตถเปนอนัตตา)
แตไมมีการใช “ตน/อัตตา” นี้ในฐานะเปนจุดหมายที่จะไป
เขาถึง เชน ไมมีคําวาบรรลุอัตตา หรือเขาถึง/เขารวมกับอัตตา/อาตมัน
อยางลัทธิที่ถืออัตตา พูดงายๆ วา นิพพานไมใชภาวะเชนนั้น

เมื่อจํานนดวยหลักฐาน ก็หาทางทําใหสับสน
ปญ หาทั้ง หมดนี้เ กิด ขึ้น มาจากการพยายามทํา ใหสับ สน
โดยวิธีตางๆ เชน เอาหลักฐานกับความคิดเห็นของบุคคลมาปะปน
กัน เปน ตน ทุก คนจะตอ งทัน และแยกแยะใหถูก การที่จ ะวินิจ ฉัย
76 กรณีธรรมกาย

ไดแ นชัด จะตอ งไมอ อกนอกประเด็น ขอยกขอ ความในหนัง สือ


“นิพพาน—อนัตตา” (หนา 10-11) มากลาวซ้ําอีก
“ประเด็นที่พิจารณาในที่นี้ คือ พระไตรปฎกและอรรถกถาวาอยางไร
ไมไดพูดถึงความเห็นของบุคคล จึงเปนเรื่องงาย ๆ เพียงเอาคําพูดของคัมภีร
มาแสดงใหเห็นแท ๆ ลวน ๆ
เมื่อแสดงหลักฐาน ถอยคําของคัมภีรเสร็จแลว ตนเองมีความเห็น
อยางไรก็แสดงออกไป ไมเอาไปปะปนกับถอยคําของคัมภีร ผอานจึงจะไม
สับสนและไมเขาใจผิด
ตองการรอยางเดียววา คัมภีรพูดวาอยางไร ก็เอาถอยคําของคัมภีร
มาแสดงจําเพาะ แท ๆ ลวน ๆ ไมเอาถอยคําและความคิดเห็นของตนเขาไป
ปะปน
ตอจากนั้นตนมีความเห็นอยางไร ในเรื่องนั้น หรือไดเห็นผลจากการ
ปฏิบัติของตน หรือของสํานักของตนอยางไร ก็บอกแจงหรือแสดงไปตามนั้น
(ผอื่นไมจําเปนตองยอมรับและเห็นดวย)
ถอยคําหรือมติของคัมภีรนั้นๆ ตนเห็นดวยหรือไมเห็นดวย ก็มีสิทธิ
วิพากษวิจารณไปตามตรง
คัมภีรนั้นๆ ตนจะเชื่อหรือไม หรือจะวาเชื่อถือไดหรือไม ก็เปนอีก
ประเด็นหนึ่ง แตไมวาตนจะเชื่อหรือไม ขอความในคัมภีรก็เปนอยอยางนั้น”
นอกจากนี้เอกสารของวัดพระธรรมกายยังพูดเฉไฉออกไป
อีกวา
“นอกจากนี้ยังมีความจําเปนตองศึกษาใหเขาใจสภาพ
สังคมอินเดียในครั้งพุทธกาล วาผคนมีความคิดความอาน
ความเชื่ออยางไร นักวิชาการทางพระพุทธศาสนาจึงตอง
ศึกษาใหเขาใจ คําสอนของ พระเวท อุปนิษัท เชน และ
ลัทธิความเชื่ออื่นๆ ของอินเดียที่มีอิทธิพลในยุคนั้น ๆ
พระธรรมปฎก (ป. อ. ปยุตฺโต) 77

รวมทั้งศึก ษาประวัติศ าสตร และวิวัฒ นาการของ


การเผยแผพระพุทธศาสนา การแตกนิกาย ปฏิสัมพันธ
ระหวางพระพุทธศาสนานิกายตางๆ และระหวางพุทธ
กับลัทธิศาสนาอื่น การศึกษาใหเขาใจภูมิหลังทางสังคม
เศรษฐกิจ การเมือง ความเชื่อในยุคนั้นๆ นี้เอง จะทําใหเรา
ตีความเขาใจความหมายของคําสอนในพระพุทธศาสนา
ของเราเองไดถูกตองลึกซึ้งชัดเจนขึ้น”
ขอ ความนี้เ ปน คํา กลา วผิด ที่แ ละสรุป ผิด เปา เพราะกรณีนี้
เปนเรื่องของหลักการที่มีหลักฐานแนนอนอยแลว ซึ่งระบุไวชัดเจน
มาแตดั้งเดิมในพระไตรปฎก ไมใชเ ปน เรื่องของการตีความ และ
ไมใ ชเ รื่อ งความเห็น สิ่ง ที่ตอ งทํา คือ การกลา วใหต รงไปตรงมา
ตามขอความที่มีมาในคัมภีร ทานวาอยางใดก็ยกมากลาวอยางนั้น
ขอสําคัญอยูที่วา เมื่อเราไดหลักฐานของพระไตรปฎกแนชัด
แลว การศึกษาสังคมอินเดีย พรอมทั้งประวัติศาสตรและวิวัฒนาการ
ทางความคิ ด จึ ง จะเกิ ด ประโยชน ที่ แ ท จ ริ ง คื อ จะช ว ยให เ รามอง
อะไรๆ ชั ด เจนขึ้ น เช น เข า ใจขึ้ น มาว า สั ง คมอิ น เดี ย เป น อย า งไร
ศาสนาพราหมณมีอิทธิพลอยางไร และประชาชนถูกครอบงําทําให
เกิดปญหาอยางไร พระพุทธเจาจึงไดตรัสแสดงหลักการนี้ขึ้น แตตรง
ขาม ถาจับหลักการของพระพุทธศาสนา ไมชัด แลวไปศึกษา
ผิดๆ มา ตนเองก็จะเกิดความลมหลงไขวเขว แทนที่จะเขาใจสังคม
อินเดีย และเขาใจพระพุทธศาสนา ก็กลายเปนการสรางความสับสน
ยิ่งขึ้น
78 กรณีธรรมกาย

เมื่อหลักฐานก็ไมมี ตีความก็ไมได
ก็หันไปอางผลจากการปฏิบัติ
เมื่อไมมีแหลงที่มาจากคัมภีรที่จะอาง ซึ่งระบุวานิพพานเปน
อัตตา ทางสํานักธรรมกาย นอกจากจะใชวิธีตีความหรือแปลผิดพลาด
ตลอดจนอางคําสอนของลัทธินิกายอื่น และคําถกเถียงของนักวิชาการ
แลว อีกอยางหนึ่ง คือการอางวาตนไดเห็นอยางนั้นจากการปฏิบัติ
การอ า งผลจากการปฏิ บั ติ นั้ น มี ข อ พิ จ ารณา และวิ ธี ที่ จ ะ
ตรวจสอบ คือ
1. ผูที่ไดยินคําอางเชนนี้ มีสิทธิตั้งขอสงสัยไวกอนวา การเห็น
ในการปฏิบัติ ไมวาจะเห็นนิพพานหรือเห็นอะไรก็ตามนั้น อาจจะเปน
เหมือนการอางของคนที่บอกหวย วาเห็นเลขลอตเตอรี่ จากการปฏิบัติ
2. ขั้นตอไป จะตองตรวจสอบการปฏิบัติดวยหลักการซึ่งเปน
เกณฑตัดสินวา เปนการปฏิบัติที่ถูกตองหรือไม เพราะวา ถาเปนการ
ปฏิบัติที่ผิดหลักการ ผลที่ไดเห็นนั้นก็ไมถูกตอง
ในสมัยพุทธกาล ผลการปฏิบัตินั้นจะตองไดรับการตรวจสอบ
จากพระพุทธเจา เมื่อพระพุทธเจาปรินิพพานไปแลว ก็ตองตรวจสอบ
ดวยคําสอนของพระองค คือหลักการที่บันทึกไวในพระไตรปฎก
สําหรับพระพุทธศาสนาเถรวาท ถาการปฏิบัตินั้นไมเปนไป
ตามหลักการ ซึ่งปรากฏในพระไตรปฎก การปฏิบัตินั้นก็เปนเรื่องของ
การปฏิบัติไปตามทัศนะสวนตัวของบุคคลนั้น หรือไมก็เ ปน เพียง
เรื่องของสํานักนั้น หรือมีคาเทากับการปฏิบัติของฤาษีโยคี เปนตน
นอกพระพุทธศาสนา เปนแตเพียงอาศัยรูปแบบในพระพุทธศาสนา
เทานั้น
พระธรรมปฎก (ป. อ. ปยุตฺโต) 79

ทั้งๆ ที่ตนอาศัยรูปแบบที่กําหนดไวในพระไตรปฎก แตเวลา


ปฏิบัติกลับปฏิบัติไปตามความคิดเห็นของตนเอง ถาไมปฏิบัติตาม
คําสอนของพระพุทธเจา แลวจะเปนการปฏิบัติที่เรียกวาพุทธศาสนา
ไดอยางไร
3. เปน การเสี่ย งตอ การอวดอุต ริม นุส สธรรม อยา งที่ก ลา ว
แลววา ในสมัยพุทธกาลนั้น เมื่อจะตรวจสอบวาตนเองไดบรรลุธรรม
ไดเห็นนิพพานหรือไม เปนตน ก็ตองไปใหพระพุทธเจาตรัสรับรอง
ดังที่เรียกวาพยากรณ ถาภิกษุรูปใดกลาวขึ้นกับภิกษุรูปอื่น แทนที่
จะนําไปกลาวขอรับพยากรณจากพระพุทธเจา อาจจะถูกตั้งขอสงสัย
ไวกอนวาอวดอุตริมนุสสธรรม เรื่องนี้จะเห็นไดวาแมแต พระสารีบุตร
อัครสาวกเคยพูดอะไรบางอยาง ภิกษุบางรูปก็ยังตั้งขอกลาวหาวา
ทานอวดอุตริมนุสสธรรม ซึ่งตองรับคําวินิจฉัยจากพระพุทธเจา (ดูเรื่อง
ใน สํ.นิ.16/104/59)
เมื่อพระพุทธเจาปรินิพพานไปแลว การที่จะตัดสินก็คือ ตัดสิน
ดวยหลักการที่พระองคทรงวางไว ซึ่งมีอยแลวในพระไตรปฎก อยางที่
พระพุทธเจาตรัสวา
“ภิกษุเห็นรูปดวยตา . . . ไดยนิ เสียงดวยหู . . . ฯลฯ
ยอมรชัดในตัวของตัวเองวา ภายในใจของเรามีโลภะ มีโทสะ
มีโมหะหรือไม” (สํ.สฬ. 18/240/173)
การตรวจสอบตนเองอยา งนี้ จึง จะทําใหรไ ดวา บรรลุธ รรม
หรือ ไม และพระพุท ธเจา ทรงมุง ใหแ ตล ะคนสํา รวจตรวจสอบใน
ตนเอง ไมใชใหไปอวดอางแกผูอื่น
ถาเห็นโนนเห็นนี่ แลวมาอวดอางแกผอื่น บอกวาไดมรรค ไดผล
80 กรณีธรรมกาย

เห็นนิพพาน ก็ควรจะตองถูกขอใหดูในตัวของผูอวดอางนั้นเองวา
ใจยังมี โลภะ โทสะ โมหะ หรือไม พรอมกับการที่จะตองถูกตรวจสอบ
วาอาจจะเปนการอวดอุตริมนุสสธรรม
เวลานี้ไปกันไกลถึงกับมีการพูดวา ทานผนั้นผนี้ พระภิกษุรูป
นั้นรูปนี้ เปนนักปฏิบัติหรือไม โดยจะดูวาไปนั่งสมาธิหรือเปลา ไป
เขา ปา ไปนั ่ง วิป ส สนาหรือ เปลา อะไรทํ า นองนี ้ คือ ไปติด อย ที่
รูปแบบ
จริ ง อย รู ป แบบเหล า นี้ ก็ ช ว ยเป น เครื่ อ งประกอบในการ
พิจารณาขั้นตน แตถาเปนวิธีของพระพุทธเจาแทๆ ไมใชอยที่ตรงนี้
การดูวาทา นผใ ดเปน ผป ฏิบัต ิห รือ ไม ก็ดูที่พ ฤติก รรมของทา นวา
เปน ไปตามศี ลหรือ ไม แล วก็ ดูค วามเปน อย การดํ าเนิน ชีวิ ต การ
แสดงออกและอาการความเปนไปทั้งหลายที่แสดงวา มีโลภะ โทสะ
โมหะนอยหรือมากเพียงใด อันนี้คือการดูการปฏิบัติที่แทจริง ซึ่งเปน
เนื้อแทตามหลักการของพระพุทธเจา

เพราะไมเห็นแกพระธรรมวินัย
จึงตองหาทางดิ้นรนเพื่อหนีใหพนสัจจะ
ระยะหลังนี้ ทางวัดพระธรรมกายไดเผยแพรขอเขียนคํากลาว
ที่ชื่อวา “เถรบัญญัติ” ที่วาเปนของสมเด็จพระสังฆราชพระองคหนึ่ง
“เถรบัญญัติ” นั้น แสดงความไมเห็นดวยกับเรื่องนิพพานเปนอนัตตา
และเห็นวานิพพานเปนอัตตา และไดทราบวาหลังจากนั้นก็ยังได
เผยแพรทัศนะของพระเถระ และพระมหาเถระรูปอื่นๆ อีก ที่กลาว
ในเชิงวานิพพานเปนอัตตา
พระธรรมปฎก (ป. อ. ปยุตฺโต) 81

ขอ เขีย นคํา กลา วทั้ง หมดนี้ ทํา ใหไ ดขอ พิจ ารณาสํา หรับ ทํา
ความเขาใจในเรื่องนี้ เบื้องแรกที่สุด ขอเขียนคํากลาวของพระเถระ
และพระมหาเถระเหลานี้ เปนตัวอยางของสิ่งที่เรียกวาทัศนะหรือ
ความคิดเห็นตางๆ
ทัศนะหรือความคิดเห็นเหลานี้ เปนขอพิจารณาที่ชวยใหเห็น
ไดชัดวาจะนําหลักเกณฑในพระศาสนามาใชปฏิบัติอยางไร ดังนี้
1. ทั ศ นะหรื อ ความคิ ด เห็ น ตลอดจนคํ า อธิ บ ายบรรยาย
เกี่ยวกับเรื่อ งนี้ แมแตของทา นผูที่เ รีย กวา เปน ผูรูหรือเปน ปราชญ
ยัง มีอ ีก มากมาย เมื ่อ ทางวัด พระธรรมกายยกทัศ นะที ่เ ห็น วา
นิพพานเปนอัตตามาอาง ผูอื่นก็อาจจะยกทัศนะของผูรูทานอื่นที่
เห็นวานิพพานเปนอนัตตาขึ้นมาอาง เชน ยกขอเขียนคํากลาวของ
สมเด็จ พระสัง ฆราชพระองคอื่น ขึ้น มาคัด คา นมติข ององคกอ น
แลวก็จะอางกันไปอางกันมา ไมมีที่สิ้นสุด
ในการวินิจ ฉัย วา อะไรเปน ธรรม อะไรเปน วินัย อยา งนี้
ทานมีหลักเกณฑวินิจฉัย ซึ่งเปนเครื่องรักษาพระศาสนาตลอดมา
เปนเครื่องตัดสิน ดังไดยกมาแสดงขางตนแลว (หนา 35-36) คือ
มหาปเทส 4 ทั้ง 3 ชุด
สําหรับกรณีอยางนี้ ก็ใชชุดที่ 3 อันไดแก
1. สุตตะ คือ พระไตรปฎก
2. สุตตานุโลม คือ มหาปเทส (ยอมรับอรรถกถาดวย)
3. อาจริยวาท คือ อรรถกถา (พวงฎีกา อนุฎีกา)
4. อัตตโนมติ คือ มติ ทัศนะ ความเห็นของทานผูรู เปนตน
ขอ 1. ตัดสิน ขอ 2 - 3 - 4
82 กรณีธรรมกาย

ขอ 2. ตัดสิน ขอ 3 - 4


ขอ 3. ตัดสิน ขอ 4
ทัศนะ ความเห็น คําอธิบายของพระเถระ และพระมหาเถระ
ทั้งหลายเปนตน จัดเปนอัตตโนมติ (ทานไมยอมรับเปนอาจริยวาท
เพราะอาจริยวาทนั้นจับเอาขั้นเปนอาจริยวงส)
ในการวินิจฉัยเรื่องนิพพานเปนอัตตาหรืออนัตตา เมื่อมีสุตตะ
จนถึงอาจริยวาทอยูแลว ก็นํามาตัดสินทีเดียว ไมวาจะมีทัศนะของ
พระเถระ พระมหาเถระ เปนตน กี่รอยกี่พันอยาง ก็จบทีเดียว และ
ไมมีประโยชนที่จะยกมาอางตอไป
มติ ทัศนะ ความเห็น คําอธิบายของพระเถระ พระมหาเถระ
ครูอ าจารยนั้น มีไ วสํา หรับ เปน เครื่อ งชว ย หรือ เปน เครื่อ งรว มใน
การศึก ษาพระธรรมวินัย แกเ รา แตจ ะนํามาใชเ ปนเกณฑวินิจฉัย
พระธรรมวินัยไมได มีแตตองเอาธรรมวินัยมาวินิจฉัยครูอาจารย

พระพุทธศาสนา คือศาสนาของพระพุทธเจา
ตองหาคําสอนของพระองคมาเปนมาตรฐานใหได
พระพุ ทธศาสนา เป นศาสนาของพระพุ ทธเจ า และ
พุทธศาสนิกชนทุกคนก็นับถือพระพุทธเจา ซึ่งทรงเปนแหลงตนเดิม
ของคําสอน และเปนศูนยรวมของพุทธบริษัท
จะเปนครูอาจารย หรือพระเถระ พระมหาเถระองคใดก็ตาม
ถาใครมาอางวารูอยางนั้น เห็นอยางนั้น ตามทัศนะ หรือจากผลการ
ปฏิบัติ เราก็ฟงไว ถาเห็นวาเขาหลักดี ก็เอามาใชชวยการศึกษาของ
เรา แตจะเอามาตัดสินพระพุทธศาสนาไมได เพราะจะตองอัญเชิญ
หลักของพระพุทธเจามาวินิจฉัย
พระธรรมปฎก (ป. อ. ปยุตฺโต) 83

ขอใหสังเกตธรรมเนียมแตเดิมครั้งพุทธกาล เมื่อใครพบนักบวช
ที่นาเลื่อมใส แลวอยากรูธรรม และเขาไปหา เขาไมถามวา ทานสอน
วาอยางไร แตเขาถามวา “ทานบวชอุทิศใคร ใครเปนศาสดาของทาน
ศาสดาของทานมีหลักการหรือสอนวาอยางไร” (เชน วินย.4/67/73)
ขอใหดูเรื่องพระสารีบุตรกับพระอัสสชิเปนตัวอยาง พระสารี
บุตรเมื่อครั้งยังเปนปริพาชก เห็นพระอัสสชิแลวเลื่อมใส เขาไปหา
และไดถามอยางขางตน พระอัสสชิทั้งที่เปนพระอรหันตแลว ทานก็
ไมอางหรือเอาตัวทานเองเปนหลัก แตทานตอบแกพระสารีบุตร ซึ่ง
ยังเปนปริพาชกอยูวา พระพุทธเจาตรัสสอนวาดังนี้ ๆ
แมแตพระภิกษุผูมีความรูนอย เมื่อถูกถามในหลักธรรมสําคัญๆ
อยางเรื่องนิพพาน แมตนเองจะยังไมรูยังไมเขาใจยังไมบรรลุ ก็ตอบได
ตามวิธีปฏิบัติเดียวกันนี้ คือตอบวา ขาพเจาเองก็ยังไมรูเขาใจเพียงพอ
แตมีหลักการที่พระพุทธเจาตรัสสอนไวดังนี้ๆ และตามที่ขาพเจารู
เขาใจ ขาพเจามีทัศนะหรือความคิดเห็นวาดังนี้
แมบรรลุธรรมสูงสุด เปนพระอรหันตแลว หมดกิจที่ตองทํา
(ในการที่จะฝกฝนพัฒนาตน)แลว พระสาวกยุคเดิมก็ยังหันมาใช
เวลาเลาเรียนปริยัติ1 คือคําสั่งสอนของพระพุทธเจา เพื่อชวยดํารง
พระศาสนาและทํ า ประโยชน แ ก ผู อื่ น ต อ ไป ดั ง ที่ ท า นเรี ย กว า
ภัณฑาคาริกปริยัติ
แมเพียงในการปฏิบัติขั้นตนๆ เมื่อปฏิบัติไปไดพบประสบการณ

1
ปริยัตนิ ั้น ตามความหมายที่แทจริง ไมใชเปนเพียงการเลาเรียนทั่วๆ ไป แตหมายถึง
พุทธพจนที่จะพึงเลาเรียน
84 กรณีธรรมกาย

บางอย า งทางจิ ต แล ว เอาถ อ ยคํ า ศั พ ท ธ รรมที่ ต นไม ไ ด ศึ ก ษา


ความหมายตามบั ญ ญั ติ ใ ห ชั ด หยิ บ ผิ ด ศั พ ท ผิ ด คํ า มาเรี ย ก
ประสบการณของตน ก็อาจทําใหเกิดความสับสน เปนโทษแกผูอื่นที่
กําลังศึกษา ฉะนั้นทานจึงใหไมประมาทในการศึกษา เริ่มตั้งแตความ
มั่นคงถองแทในปริยัติ
เพราะฉะนั้น จึงควรสังคายนาแมแตแนวปฏิบัติทั่วไปในดาน
หลักธรรมวา เมื่อพุทธศาสนิกชนสนทนากับพระภิกษุ พึงถามเกี่ยวกับ
สิ่งที่ตนสงสัยวา พระพุทธเจาสอนวาอยางไร และพระภิกษุเมื่อจะ
ตอบคํ า ถาม ก็ค วรยกคํ า ตรัส ของพระพุท ธเจา ขึ ้น มาแสดงกอ น
แลวจึงกลาวคําอธิบาย และแสดงทัศนะของตน โดยแยกใหชัดวา
สว นใดเปน หลัก คํา สอน สว นใดเปน ความคิด เห็น หรือ ทัศ นะหรือ
ประสบการณของตน
ชาวพุทธจะตองย้ํากับตัวเองวา พระพุทธศาสนาคือศาสนา
ของพระพุทธเจา ไมใชศาสนาของพระเถระ มหาเถระ หรือบุคคลผูใด
เราจะฟงคําสอนของพระพุทธเจา เราจะแสดงหลักที่พระพุทธเจาสอน
และเราจะเอาหลักที่ทรงสั่งสอนนั้นเปนมาตรฐาน หรือเปนเกณฑ
วินิจฉัย ถาหาคําสอนของพระพุทธเจามาเปนมาตรฐานไมได ก็ตอง
ยอมรับความจริงวาพระพุทธศาสนาไดหมดไปแลว
ถาพุทธบริษัทยังปฏิบัติตามหลักที่วามานี้ ก็จะดํารงพระพุทธ-
ศาสนาไวได พรอมทั้งพุทธบริษัททั้งหมด ก็จะมีความเปนอันหนึ่ง
อันเดียวกัน
พระธรรมปฎก (ป. อ. ปยุตฺโต) 85

จะรักษาพระพุทธศาสนาได
พุทธบริษัทตองมีคุณสมบัติที่นาไววางใจ
ธรรมเนียมในการแสดงธรรมที่มีมาแตโบราณ ก็แสดงวาคน
สมัยกอนไดเอาใจใสใหความสําคัญแกหลักคําสอนในพระไตรปฎก
ตลอดมา เชน เวลาเทศน ก็จะตองตั้งบาลีนิกเขปบทขึ้นกอน คือ ยก
คาถาพุทธภาษิต หรือพุทธพจนขึ้นมาตั้งเปนกระทูแลววิสัชนาไป
กับทั้งในระหวางอธิบาย ก็มีการยกพุทธพจนอื่นขึ้นมาอางตามโอกาส
แนวปฏิบัตินี้ ไดสืบตอมาในหลักสูตรนักธรรมและธรรมศึกษา
ของคณะสงฆไทย คือ ในวิชาเรียงความแกกระทูธรรม
ที่วานี้ มิใชหมายความวาจะตองถือตามรูปแบบเกาอยางนั้น
แตเ ปน การเตือ นกัน วา รูป แบบวิธี อาจเปลี่ย นแปลงไปใหไ ดผ ล
สมกาลสมัย แตในแงสาระก็คือ ใหเปนการอธิบายธรรม ตลอดจน
แสดงทัศนะอยางอิงหลัก หรืออยางมีหลักฐาน
ที่วานี้ มิใชเปนการติดคัมภีร แตเปนการซื่อตรงตอพระพุทธเจา
หรือ เคารพองคพ ระศาสดา เมื ่อ เราจะแสดงคํ า สอนที ่เ รีย กวา
พระพุทธศาสนา ก็ตองพยายามสื่อพุทธธรรมออกไปใหได ไมใชอาง
ชื่อ พระพุท ธศาสนา แตคํ า ที ่พ ูด ไปกลายเปน เพีย งความรู ค วาม
เขาใจความคิดเห็นหรือประสบการณสวนตัว
การติดคัมภีรนั้นเปนสุดโตงอีกทางหนึ่ง ตรงขามกับการสอน
อยางเลื่อนลอย เราไมควรไปหาสุดโตง 2 อยางนั้น แตควรดําเนิน
ตามทางสายกลาง ซึ่งเปนการปฏิบัติที่ถูกตอง คือการสอนอยางมี
หลัก มีที่ไปที่มา ที่อางอิงได
การปฏิบัติอยางนี้ นอกจากเปนการชวยกันดํารงรักษาพระ-
86 กรณีธรรมกาย

พุท ธศาสนาแลว ก็เ ปน การทํา ใหมีเ อกภาพในวงพุท ธบริษัท ดว ย


นอกจากนั้นก็จะเปนเครื่องชวยเรงเรากระตุนเตือน หรือเปนเงื่อนไข
ใหพระสงฆตองเอาใจใสศึกษาพุทธพจนในพระไตรปฎก
ประโยชนพิเ ศษอีก อยา งหนึ่ง ที่จ ะพลอยไดไ ปดว ย ก็ค ือ
พุทธบริษัทจะมีความสามารถปกปองพระธรรมวินัย ปดชองทางแหง
ปรัปวาท (คําจวงจาบพระธรรมวินัย) และรักษาพระพุทธศาสนาที่
แทไวได
มิฉ ะนั้น เวลามีคํา สอนแปลกปลอมเกิด ขึ้น พุท ธบริษัท เอง
ก็ สั บ สน ถู ก คํ า กล า วอ า งพุ ท ธพจน หรื อ อ า งพระไตรป ฎ กแบบ
บิดเบือน หรือปลอมปน ก็เสียกระบวน ถาไมพลอยเขวไป ก็ตั้งรับไม
ทัน
ตัวอยางขณะนี้ ก็คือ กรณีธรรมกาย ที่เผยแพรคําสอนแปลก-
ปลอมดวยวิธีการทุกรูปแบบ เชน
– ยกเอาคํ า บาลี ใ นพระไตรป ฎ ก และในอรรถกถาเป น ต น
ขึ้นมาใช แตใสความหมายใหมตามลัทธิของตนเองเขาไปแทน
– อางพระไตรปฎก และอรรถกถาเปนตน อยางสับสนปนเป
กับลัทธิของตนบาง แปลยักเยื้องใหเขากับหรือสนับสนุนลัทธิของตน
บาง
– เมื่อติดตันดานหลักฐานในพระไตรปฎก ก็เฉออกไป
• วาพระไตรปฎกบาลีบันทึกไวตกๆ หลนๆ เชื่อถือหรือใช
เปนมาตรฐานไมได
• วาจะตองนําเอาพระไตรปฎกจีน เปนตน มารวมวินิจฉัย
• วาพระไตรปฎกเปนเพียงความคิดเห็น จะตองฟงคํา
พระธรรมปฎก (ป. อ. ปยุตฺโต) 87

วินิจฉัยของนักวิชาการ
– อ า งว า เป น เรื่ อ งที่ ปุ ถุ ช นไม อ าจรู เ ข า ใจได แต ต นได รู ไ ด
มองเห็นผลจากการปฏิบัติ
– ยกเอาทั ศ นะหรื อ มติ ข องพระเถระ มหาเถระ หรื อ พระ
อาจารย ที่ เ รี ย กว า เป น นั ก ปฏิ บั ติ ที่ พ อจะเข า แนวของตนได ม า
สนับสนุนลัทธิของตน
ถาพุทธบริษัทรูจักพระไตรปฎกบาลี และมั่นในหลักการของ
พระธรรมวินัย ที่จารึกไวในพระไตรปฎกบาลีนั้น แมมีใครมาอางหรือ
ชักจูงอยางไร ก็ไ มหวั่นไหว ไมไขวเขว และสามารถชวยกันระงับ
ปญหาได
ถาจะเปนพุทธบริษัทที่ดี ตามมาตรฐานของพระพุทธเจา ถึงขั้น
เปนที่นาไววางใจที่จะเปนศาสนทายาท รับมอบพระพุทธศาสนาจาก
พระบรมศาสดามาสืบทอดรักษาไวได จะตองมีคุณสมบัติ ตามที่
พระพุทธเจาตรัสแสดงไววา พระองคจะปรินิพพาน ตอเมื่อพุทธบริษัท
ทั้ง 4 ไมวาจะเปนภิกษุก็ตาม ภิกษุณีก็ตาม อุบาสกก็ตาม อุบาสิกา
ก็ตาม มีคุณสมบัติ 3 ประการตอไปนี้ (ที.ม.10/102/132)
1. ดานตนเอง
ก) รูเขาใจหลักธรรมคําสอนของพระพุทธเจา
ข) ปฏิบัติไดถูกตองตามหลักธรรมคําสอนนั้น
2. ดานความสัมพันธกับผูอื่น ทั้งมีความรูความสามารถ และ
มีน้ําใจเมตตา ที่จะเผื่อแผใหความรูธรรมแกผูอื่นได
3. ดานหลักการ สามารถชี้แจงแกไขปรัปวาท คือ คํากลาวราย
หรือความเขาใจคลาดเคลื่อนจากพระพุทธศาสนา
88 กรณีธรรมกาย

ความชื่อตรงตอหลักพระศาสนา และมีเมตตาตอ
ประชาชน คือหัวใจของการรักษาระบบไตรสิกขาไวใหแก
ประชาสังคม
หลักเกณฑแหงมหาปเทสที่กลาวขางตน มีความจําเปนและ
ยุติธรรม เพราะพระพุทธศาสนาไมมีการบังคับศรัทธา แตใหเสรีภาพ
แกทุก คนอยา งเปดกวางที่สุด จึงตองมีหลักเกณฑเ ปน มาตรฐาน
เหมือนอยางในสังคมประชาธิปไตย ซึ่งตองอยูดวยกฎหมายหรือกติกา
ดวยวิธีนี้ พระพุทธศาสนาตัวจริงที่เปนหลักการจึงอยูมาได ทามกลาง
ประชาชนที่มีความรูความเขาใจในพระศาสนาตางๆ กัน มากบาง
นอยบาง และมีความคิดเห็นหลากหลาย โดยที่สถาบันพระพุทธศาสนา
อยูกับเขาดวยเมตตา ไมไปบังคับเขาใหตองเชื่อและทําตาม
เมื่อมองสังคมพุทธเถรวาทในวงกวาง ก็เปนคลายอยางที่ฝรั่ง
เปนตนบางพวกมามองวา เมืองไทยเหมือนมีพระพุทธศาสนา 2 แบบ
คือ พุทธศาสนาตัวแทตัวจริง กับพุทธศาสนาแบบชาวบาน
แตนอกเหนือจากที่วานี้ ยังมีอีกอยางหนึ่งที่เขาอาจจะมองไมถึง
คือสะพานเชื่อมระหวางพระพุทธศาสนา 2 แบบนั้น
ที่วานี้หมายความวา ในขณะที่พระพุทธศาสนาแบบตัวแท
ดํ า รงรัก ษาหลัก การแหง นิพ พานที ่เ ปน สภาวธรรมอสัง ขตะไว
ประชาชนอาจจะเชื่อถือเพี้ยนออกไปไกล จนแมแตมองพระนิพพาน
เปนอมตมหานคร ดังคําประพันธเชิงกวีในภาษาบาลีและวรรณคดี
เกา ๆ ของไทย ทั้ง สองอยา งก็อ ยูคูกัน มาได โดยไมอึด อัด ขัด แยง
เพียงแตคอยระวังโดยไมประมาท ไมใหถลําไปไกล
แตขอสําคัญ ระหวาง 2 แบบนั้น ที่วามีสะพานเชื่อม ก็คือ
พระธรรมปฎก (ป. อ. ปยุตฺโต) 89

พระพุท ธศาสนาแบบตัว แทก ็จ ะคอยหาโอกาสแนะนํ า สั ่ง สอน


หลักการที่แทจริงอยูเสมอ แลวในหมูประชาชนมากมายที่แตกตาง
หลากหลายเหล า นั้ น บางคนบางส ว นก็ จ ะทยอยก า วขึ้ น มาสู
พระพุทธศาสนาแบบตัวแทตัวจริงนั้น โดยนัยนี้การพัฒนาคน และ
พัฒนาสังคมก็เกิดขึ้น
ปจจัยสําคัญที่รักษาระบบนี้ไว ก็คือ การดํารงรักษาหลักการ
ที่แ ทจ ริง ไวอ ยา งมั่น คงดา นหนึ่ง และเสรีภ าพทางปญ ญาของ
ประชาชนในบรรยากาศแหงเมตตาอีกดานหนึ่ง พรอมกับตัวประสาน
ก็คือการที่พระสงฆปฏิบัติศาสนกิจนําธรรมวินัยที่ไดเลาเรียนศึกษา
ปฏิบัติมาเผยแผสั่งสอนประชาชนโดยไมประมาท
ปญหาสําคัญที่เกิดขึ้น ซึ่งจะมาทําลายระบบที่วามานี้เสีย ก็คือ
การฉวยโอกาสหาผลประโยชนจากศรัทธาของประชาชนชาวบาน
พรอมกับทําลายตัวหลักการที่แทของพระพุทธศาสนา ซึ่งจะทําให
สะพานเชื่อมระหวางพระพุทธศาสนา 2 แบบนั้น พังทะลายขาดไป
ด วย เหลือ ไวแ ตค วามสับ สน พรอ มกับ ความสูญ สิ ้น ของ
พระพุท ธศาสนา และความเสื่ อ มสลายแห ง ประโยชน สุ ข ของ
ประชาชน
2. ความชัด เจนในการพิจ ารณาปญ หาอีก อยา งหนึ่ง ก็คือ
การแยกแยะขั ้น ตอนหนัก เบาของการกระทํ า วา แคไ หนจะ
กระทบกระเทือน หรือถึงกับทําลายพระธรรมวินัย อยางนอยจะเห็น
ไดวาสามารถแยกเปน 3 ขั้น
1) ขั้นทัศนะสวนตัว ทานผูนั้นยังไมรูไมเขาใจ หรือไมเชื่อ
และอาจจะแสดงทัศ นะออกมาเปน การไมย อมรับ ไมพ อใจ หรือ
90 กรณีธรรมกาย

นอยใจตอคําสั่งสอนในพระธรรมวินัย ซึ่งยังเปนเรื่องของการที่จะ
ชี้แจงถกเถียง และดําเนินการตางๆ ในกระบวนการของการศึกษา
2) ขั้นปฏิเสธพระศาสดา หรือปฏิเสธพระธรรมวินัย เชน
กลา ววา พระไตรปฎ กเปน หลัก ฐานที่เ ชื่อ ถือ ไมไ ด หรือ พยายาม
ทําใหผูคนเขาใจสับสนวา พระไตรปฎกบันทึกไวตกๆ หลนๆ เอาเปน
มาตรฐานไมได เพราะฉะนั้นหลักการที่มีอยูในคัมภีรจึงเชื่อถือไมได
(ขั้นนี้คือที่กลาววา ถาผูปฏิเสธเปนพระภิกษุ ก็คือปฏิเสธความเปน
พระภิกษุของตน เพราะเปนการปฏิเสธพุทธบัญญัติที่กําหนดการบวช
และศีล 227 ที่ตนรักษา)
3) ขั้น ปลอมปนพระธรรมวินัย คือ กลา วใหผิด พลาด
คลาดเคลื่อนไป เชน เมื่อพระไตรปฎกสอนวาอยางนี้ กลับบอกวา
พระไตรปฎกไมไดสอนอยางนี้ แตสอนอยางนั้น หรือนําเอาคําสอน
และบัญ ญัติภ ายนอก แมแ ตข องพุท ธศาสนานิก ายอื่น ๆ เขา มา
แทรกแซงปะปนในพระธรรมวินัยหรือในพระไตรปฎก
ขั้นที่ 2 และ 3 นี้ เรียกวา เปนการจาบจวงพระธรรมวินัย
จะเห็นวา พระเถระ และพระมหาเถระทั้งหลาย ที่แสดงมติ
ทัศนะ ความเห็นตางๆ กันไปนั้น มักอยูเพียงในขั้นที่ 1 ทานไมได
กาวลวงมาถึงขั้นที่ 2 และ 3 เมื่อพุทธศาสนิกชนรูหลักเกณฑวินิจฉัย
ในพระศาสนา ก็รับฟงดวยความเทาทันและชวยกันศึกษาตอไป
แตปญหาที่เกิดขึ้นตามเอกสารของวัดพระธรรมกาย เปนเหตุ
ใหตองแกไข ก็เพราะเปนการกระทําที่ถึงขั้นจวงจาบพระธรรมวินัย
ทั้งขั้นที่ 2 และ ขั้นที่ 3
ธรรมกาย เรื่องสูงที่ไมใหญ

ธรรมกายแบบไหน
ก็มีความหมายชัดเจนของแบบนั้น
เอกสารของวัดพระธรรมกาย กลาวอางวา
“คําวา ‘ธรรมกาย’ นี้จึงมีมาแตครั้งพุทธกาลแนนอน
โดยไม มี ข อ สงสั ย และข อ โต แ ย ง ใดๆ ที่ เ ป น ประเด็ น
ถกเถียงกันก็คือ ความหมายของคําวา ‘ธรรมกาย’ บางก็
กลาววาหมายถึงโลกุตรธรรม 9 บางก็กลาววาหมายถึง
พระธรรมคํ า สั่ ง สอนของพระพุ ท ธเจ า บ า งก็ ก ล า วว า
หมายถึงกายแหงการตรั สรู ธรรมของพระพุทธเจ า สิ่ งที่
สามารถสรุปไดอยางมั่นใจอยางหนึ่งก็คือ เราไมสามารถ
อาศัย หลัก ฐานทางคัมภีรเ ทาที่มีเหลืออยูในปจจุบันมา
เป น เครื่ อ งยื น ยั น ว า ความคิด เห็น ที ่แ ตกตา งกัน นั ้น
ความคิด อัน ใดอัน หนึ่ง ถูกตองอยางปราศจากขอโตแยง
ใดๆ”
ความจริง “ธรรมกาย” ไมใชเรื่องซับซอนสับสนอะไร และก็
ไมใ ชเ รื่อ งที่ใ ครจะมาลงมติวินิจ ฉัย เพราะเปน ขอ มูล ความจริง ที่
ปรากฏอยู และเปนเรื่องที่เราจะตองพูดไปตามที่ทานแสดง ไมขึ้นตอ
ความคิดเห็นของผูใด และหลักฐานก็ชัด ไมควรเอามาทําใหสับสน
แทจริงนั้น เรื่องนี้พูดไดงายๆ ทั้งตรงตามความเปนจริง และ
92 กรณีธรรมกาย

เขาใจกันไดชัดเจน ดังนี้
คําวา “ธรรมกาย” นั้น ตามศัพท แปลวา กองแหงธรรม ที่รวม
ที่ชุม นุม หรือที่ ป ระมวลไวแ หง ธรรม มีค วามหมายเฉพาะซึ่ง ทา น
นํามาใชตามความเปนมา ดังนี้
1. เดิมทีเดียว ครั้งพุทธกาล ตามที่บันทึกไวในพระไตรปฎก
พระพุทธเจาทรงคัดคานศาสนาพราหมณที่สอนวา พระพรหมผูเปน
เจา เปนผูประเสริฐ เลิศ สูงสุด เปนผูสรางสรรคดลบันดาลโลก และ
พราหมณเปนวรรณะประเสริฐสูงสุด เพราะเปนผูที่พระพรหมสราง
เกิดจากโอษฐพระพรหม
พระพุท ธองคไ ดต รัส ขึ้น ใหมใ นทางตรงขา มวา ธรรม คือ
ความจริง ที่มีอ ยูใ นธรรมชาตินี่แ หละ ประเสริฐ เลิศ สูง สุด เปน
เกณฑ เปน มาตรฐานแกโ ลก ไมมีใ ครสูง หรือ ทรามมาแตกํา เนิด
ตามพระพรหมกําหนด แตมนุษยทุกคนจะทรามหรือประเสริฐอยูที่
ประพฤติธรรมหรือไม แลวตรัสวา เหลาสาวกของพระองคนี้เปนผู
ที่ธรรมสรางขึ้นมา เกิดจากโอษฐของพระองคผูเปนธรรมกาย (คือ
ทรงเปนแหลงที่ประมวลไวและเปนที่หลั่งไหลออกมาแหงพระธรรม
ที่ตรัสแสดง)
พระพุท ธเจาทรงใชคําวาธรรมกาย เรียกพระองคค รั้งเดียว
ในกรณีนี้ ในสถานการณนี้ ตอ มาจึง มีก ารใชคํา วา “ธรรมกาย”
กับผูอื่นในคําประพันธเชิงสดุดี ซึ่งปรากฏในพระไตรปฎกอีก 3 ครั้ง
(ใชกับพระพุทธเจาพระองคอื่น พระปจเจกพุทธเจา และพระมหา
ปชาบดีโคตมีเ ถรี) และใชกันตอๆ มาในคัมภีรอรรถกถาเปนตน
โดยใชเทียบเคียงกับ คําวา “รูปกาย” บางทีก็ใชคูกัน บางทีก็มา
พระธรรมปฎก (ป. อ. ปยุตฺโต) 93

ตางหาก
ทานใชคําวา “ธรรมกาย” เพื่อใหเห็นวา คนเราในดานรูปกาย
ซึ ่ง เปน ที ่ร วมแหง รูป ธรรม เชน อวัย วะตา งๆ เมื ่อ เราเลี ้ย งดูก็
เจริญ เติบ โตขึ ้น มา ในทํ า นองเดีย วกัน เมื ่อ พัฒ นาธรรมคือ
คุณ สมบัติ ความดีงาม เชน ศีล สมาธิ ปญญาขึ้น คนนั้นก็มี
ธรรมกาย คื อ ประมวลหรือ ที ่ช ุม นุม แหง ธรรมที ่เ จริญ เติบ โตขึ ้น
จนกระทั่ง เปน ที่ร วมแหง ธรรมระดับ สูง สุด คือ โลกุต ตรธรรม อัน
ไดแกมรรค ผล นิพพาน
ธรรมกาย เปนคําพูดรวมๆ เชน หมายถึงโลกุตตรธรรมทั้งหมด
อยางที่วามาแลว ไมไดหมายถึงองคธรรมขอใดขอหนึ่งโดยเฉพาะ
2. ตอมาอีกหลายรอยป พระพุทธศาสนามหายาน สืบทอด
ความหมายของคําวา “ธรรมกาย” จากพุทธศาสนาหินยานนิกาย
สรวาสติวาทิน ซึ่งพระพุทธศาสนาเถรวาทไดชําระสะสางออกไปใน
การสังคายนาครั้งที่ 3 เมื่อ พ.ศ. 235 และตอมาสาบสูญไป แลว
มหายานก็ไ ดพัฒ นาความหมายของคําวา ”ธรรมกาย” ใหมี
ความสําคัญขึ้นมา ถึงขั้นเปนหลักการอยางหนึ่ง โดยใหธรรมกายนี้
เปนกายหนึ่งในกาย 3 อยางของพระพุทธเจา ซึ่งมีกายที่คิดศัพทเพิ่ม
ขึ้นมาใหมอีก 2 อยาง รวมเรียกวา “ตรีกาย” คือ
1) ธรรมกาย ไดแก ตัวสัจจภาวะ หรือแกนสภาวธรรม ซึ่ง
เปนตัวแทของพระพุทธเจา
2) สัม โภคกาย ไดแ ก กายในทิพ ยภาวะ ที่เ สวยสุข ใน
สรวงสวรรค
3) นิรมาณกาย ไดแก กายนิรมิต ที่สําแดงพระองคเพื่อ
94 กรณีธรรมกาย

บําเพ็ญพุทธกิจในโลกมนุษย
3. ตอมาหลังพุทธกาล 2 พันปเศษ พระมงคลเทพมุนี (หลวง
พอสด จนฺทสโร วัดปากน้ํา) ไดนําคํา ”ธรรมกาย” มาใชเรียก
ประสบการณบางอยาง ในระบบการปฏิบัติที่ทานจัดวางขึ้น
ถา พูด ตรงไปตรงมา ตามเรื ่อ งที่เ ปน ไป ก็ง า ย ชัด เจน แต
เอกสารของวัดพระธรรมกาย กลาววา
“คําวา ‘ธรรมกาย’ มีหลักฐานปรากฏในพระไตรปฎก
อยู 4 แหง และในคัมภีรอรรถกถาและฎีกาอีกหลายสิบ
แหง ดังรายละเอียดในหัวขอเรื่องหลักฐานวิชชาธรรมกาย
นอกจากนี้ ยังมีคัมภีรพระไตรปฎกจีนในสวนที่เปนเนื้อหา
ของหินยาน มีการกลาวถึงคําวา “ธรรมกาย” ในหลายๆ
แหง ระบุถึงความหมายของคําวาธรรมกาย และแนวทาง
การเขาถึง ไวอยางนาสนใจ แตเ นื้อหาในพระไตรปฎก
ฉบับบาลีตกหลนไป”
การกลาวทํานองนี้ เปนการสรางความสับสนขึ้นใหมในเรื่องที่
ชัดเจนอยูแลว มีทั้งการพูดในลักษณะที่จะใหเห็นวา พระไตรปฎกบาลี
เถรวาทที่ตนเองอาศัยอยู อาจจะเชื่อถือไมได หรือบกพรองยิ่งกวา
พระไตรปฎกจีน ในสวนที่เปนเนื้อหาของหินยาน ทั้งที่หินยานนิกาย
นั้น ก็ถูกชําระสะสางไปแลว และพระไตรปฎกจีนก็เปนของแปลขึ้น
ภายหลัง การที่กลาววา เอกสารของวัดพระธรรมกาย จาบจวง
พระธรรมวินัย จึงไมใชเปนการกลาวหา แตเปนการกระทําที่แสดง
ออกมาเองอยางชัดเจน
ยิ่ง กวานั้น ยัง มีก ารกระทํา ที่นา รัง เกีย จอยา งยิ่ง แฝงอยูใ น
พระธรรมปฎก (ป. อ. ปยุตฺโต) 95

คํากลาวนั้นอีก 2 ประการ (ไมตองพูดถึงเจตนาที่อยูเบื้องหลัง) คือ


1) กลาวถึงพระไตรปฎกจีนขึ้นมาอยางเลื่อนลอย ไมแสดง
เนื้อหาที่อางนั้นออกมาไดเลย อาจจะเปนการกลาวตูพระไตรปฎก
จีนนั้นดวย
2) กลาววา “ระบุถึง...แนวทางการเขาถึง (ธรรมกาย) ไวอยาง
นาสนใจ” ไมมีพระไตรปฎกฉบับใดจะตองแสดงวิธีเขาถึงธรรมกาย
เพราะคําวา “ธรรมกาย” เปนคําพูดรวมๆ หมายถึงธรรมตางๆ ที่
ประสงคจะกลาวถึงทั้งชุด หรือทั้งหมวด หรือทั้งมวล เชนโลกุตตร-
ธรรมทั้ง 9 และธรรมเหลานั้น เชน โลกุตตรธรรม 9 นั่นแหละที่ทาน
จัดวางระบบ วิธีปฏิบัติเพื่อใหเขาถึงไวเรียบรอยแลว
เมื ่อ มรรค ผล นิพ พาน มีว ิธ ีป ฏิบ ัต ิเ พื ่อ ใหบ รรลุถ ึง พรอ ม
บริบูร ณอ ยูแ ลว จึง ไมตอ งมีวิธีป ฏิบัติเ พื่อ เขา ถึง ธรรมกายขึ้น มา
ตา งหาก มีแ ตว า ผูที ่ป ฏิบ ัต ิเ ขา ถึง มรรค ผล นิพ พานแลว ก็จ ะมี
ธรรมกายที่ประกอบดวยธรรมคือ คุณสมบัติตางๆ มากมาย ตามแต
จะเลือกพรรณนา
ดังกลาวแลววา “ธรรมกาย” ไมใชหลักธรรมอันใดอันหนึ่ง
โดยเฉพาะ ทานใชขึ้นมาในความหมายพิเศษดังกลาวแลว ดังนั้น
จะทราบไวเทานี้ก็เพียงพอแลว แตถาตองการทราบเปนเครื่องประดับ
ความรู ก็ขอขยายความตอไป

ธรรมกายเดิมแทในพุทธกาล
คํา วา “ธรรมกาย” นั้น มีม าในพระไตรปฎ ก รวมทั้ง หมด
ที่มาเปนคําโดดๆ 3 ครั้ง และมาในคําสมาสคือ คําวา “พหุธมฺมกายา”
96 กรณีธรรมกาย

1 ครั้ง รวมเปน 4 ครั้ง


ที่มาเปนคําโดด 3 ครั้งนั้น มาในรูปเปน “ธมฺมกาโย” 2 ครั้ง
“ธมฺมกายํ” 1 ครั้ง
แตในทั้งหมด 4 ครั้งนั้น ครั้งที่สําคัญที่สุด คือที่มาในตัวพระ
สูตรแทๆ ซึ่งเปนขอความรอยแกว มีครั้งเดียว นอกนั้นมาในคัมภีร
อปทาน (พระไตรปฎกเลม 32-33) เปนคํารอยกรองประเภทเลาประวัติ
เชิงสรรเสริญคุณของพระพุทธเจาและพระปจเจกพุทธเจา
“ธรรมกาย” ที่มาครั้งแรก และครั้งเดียวอยางเปนเรื่องเปนราว
ในพระสูตรนั้น พระพุทธเจาทรงใชเปนพระนามเรียกพระองคเอง
และที่เรียกเปนพระนามอยางนี้ ก็เกิดจากการที่ทรงเทียบ ระหวาง
หลักการของพระพุทธศาสนา กับหลักการของศาสนาพราหมณ
เรื่อ งเกิด ขึ้น เมื่อ ครั้ง ที่พ ระพุท ธเจา ตรัส กับ วาเสฏฐะ และ
ภารัทวาชะ
วาเสฏฐะ และภารัทวาชะเปนมาณพ คือเปนพราหมณหนม
ไดเลื่อมใสในพระพุทธเจาก็เลยมาขอบวช ตอนนั้นยังเปนสามเณร
อยู วันหนึ่งพระพุทธเจาเสด็จจงกรมอย วาเสฏฐะ และภารัทวาชะ
เห็น ก็เลยเขามา แลวก็สนทนาปราศรัย
พระพุท ธเจา ตรัส ถามวา เธอสองคนมาบวชอยา งนี้ แลว
พราหมณทั้งหลายเขาไมตอวาเอาหรือ
วาเสฏฐะ และภารัทวาชะก็กราบทูลวา เขาดาอยางรุนแรง
เรีย กวา ดา จนถึง ที่สุด เลยทีเ ดีย ว พระองคก็ต รัส ถามวา เขาดา
อยางไรละ ทั้งสองก็กราบทูลวา พวกพราหมณดาวา แกทั้งสองคนนี่
เกิ ด มาดี แ ล ว ในวรรณะสู ง สุ ด เป น พราหมณ ผ ป ระเสริ ฐ เกิ ด จาก
พระธรรมปฎก (ป. อ. ปยุตฺโต) 97

โอษฐของพระพรหม พระพรหมเปนผสรางขึ้น เปนพรหมนิรมิต


เปนพรหมทายาท แลวเรื่องอะไรละ มาสละวรรรณะที่ประเสริฐนี่เสีย
แลวไปบวชเปนสมณะ เปนคนชั้นต่ํา เกิดจากพระบาทของพระพรหม
เขาดาวาอยางนี้
พระพุทธเจาก็เลยปรารภเรื่องนี้ แลวก็ตรัสวา ที่พราหมณวา
เขาเกิดจากพระพรหม พรหมเนรมิตขึ้น เกิดจากโอษฐของพระพรหม
นั้น ใครๆ ก็เห็นกันอย พวกพราหมณที่เกิดกันมานั้น ตอนกอนจะเกิด
นางพราหมณีก็มีทอง ตอมาก็คลอด พราหมณก็ออกมาจากครรภ
ของนางพราหมณี ก็เห็นๆ อย แลวบอกวาเกิดจากปากพระพรหม
พระองคไดตรัสตอไปวา ที่วาในวรรณะ 4 พราหมณเปน
วรรณะประเสริฐนั้น ความจริงคนไมใชประเสริฐที่กําเนิดหรอก จะ
เปนวรรณะไหนก็ตาม ไมวาจะเปนกษัตริย เปนพราหมณ เปนแพศย
เปนศูทร ถาประพฤติดี ทํากรรมดี ก็เปนผประเสริฐ แมแตเกิดใน
วรรณะสูง เปนพราหมณเปนตน แตถาทํากรรมชั่ว ก็เปนคนต่ําชา
เลวทราม ฉะนั้น การที่จ ะประเสริฐ หรือ ไม ไมไ ดอ ยที่ช าติกํา เนิด
แตอ ยูที่ก ารกระทํา แลว อะไรเปน ตัว วัด การกระทํา ก็ค ือ ธรรม
ธรรมนี่แหละเปนมาตรฐาน เปนเกณฑวัด ฉะนั้นไมใชพรหมสูงสุด
แตธรรมสูงสุด นี่คือขอสรุปของพระพุทธเจา
นี้ ก ็ ค ื อ การแยกให เ ห็ น ความแตกต า ง ที ่ เ ป น จุ ด ยื น ของ
พระพุทธศาสนากับศาสนาพราหมณ
ทางฝายศาสนาพราหมณถือวา พรหม เปนเทพยิ่งใหญ เปน
ผูประเสริฐเลิศสูงสุด เปนผสรางและจัดสรรบันดาลทุกสิ่งทุกอยาง
ทั้งโลกแหงวัตถุและสังคมมนุษย
98 กรณีธรรมกาย

สว นในพระพุท ธศาสนา พระพุท ธเจา ใหท รงถือ ธรรม คือ


ความจริงที่มีอยูโดยธรรมชาติ เปนใหญ เปนมาตรฐาน เปนเกณฑวัด
ทุกอยาง
ทางฝายศาสนาพราหมณถือวา พราหมณเปนผูประเสริฐ เปน
วรรณะสูงสุด เกิดจากโอษฐพระพรหม เปนผที่พระพรหมเนรมิตขึ้น
เปนทายาทของพรหม
พระพุท ธเจา ตรัส วา พราหมณห รือ คนวรรณะไหนก็ต าม
ไมไ ดสูง ประเสริฐ โดยชาติกําเนิด แตสูง ประเสริฐ ดว ยการกระทํา
ความประพฤติของตน ซึ่งจะตองเอาธรรมเปนเกณฑตัดสิน ธรรม
สูงเลิศประเสริฐสุด แมแตพราหมณนั้นก็เกิดตามธรรมดา คือ เกิด
จากครรภของนางพราหมณีเทานั้นเอง ความประเสริฐของพราหมณ
นั้น อยที่ธ รรม ถา ไมป ระพฤติธ รรมก็ต่ํา ทรามเชน เดีย วกัน ไมวา
วรรณะไหน
เพื่อเทียบกับการที่ศาสนาพราหมณสอนวาพราหมณเกิดจาก
โอษฐของพระพรหม พระพุทธเจาก็ตรัสวาพระภิกษุทั้งหลายก็เกิด
จากธรรม คือเกิดจากหลักการแหงความจริงความถูกตองดีงาม และ
ธรรมนี ้ ก็อ อกมาจากพระโอษฐข องพระองค เหลา สาวกของ
พระองคจึงชื่อวาเกิดจากโอษฐของพระพุทธเจา ในฐานะที่ทรงเปน
“ธรรมกาย” คือเปนแหลงที่รวมไวและเปนที่หลั่งไหลออกมาแหง
ธรรมนั้น
ในขณะที่ศาสนาพราหมณสอนวา พราหมณเปนพรหมนิรมิต
(ผูที่พระพรหมเนรมิตขึ้น) เปนพรหมทายาท (ทายาทของพรหม)
พระพุทธเจาตรัสวา เหลาสาวกของพระองค เปนธรรมนิรมิต (ผูที่
พระธรรมปฎก (ป. อ. ปยุตฺโต) 99

ธรรมสรางขึ้น) เปนธรรมทายาท (ทายาทของธรรม)


ขอใหดูขอความที่มาของ “ธรรมกาย” ในพระไตรปฎก ที่
เทียบคําของฝายพราหมณ กับของพระพุทธเจา ดังนี้
“พฺราหฺมณา ภนฺเต เอวมาหํสุ: พฺราหฺมโณ ว เสฏโ วณฺโณ, หี
นา อฺเ วณฺณา; พฺราหฺมโณ ว สุกฺโก วณฺโณ, กณฺหา อฺเ
วณฺณา; พฺราหฺมณา ว สุชฌ ฺ นฺต,ิ โน อพฺราหฺมณา; พฺราหฺมณา พฺรหฺมุ
โน ปุตตฺ า โอรสา มุขโต ชาตา พฺรหฺมชา พฺรหฺมนิมฺมิตา พฺรหฺมทายา
ทา . . .”
“ธมฺโม หิ วาเสฏา เสฏโ ชเนตสฺมึ ทิฏเ เจว อภิสมฺปรายฺจ
. . . ยสฺส โข ปนสฺส วาเสฏา ตถาคเต สทฺธา นิวิฏา มูลชาตา ปติฏิตา
ทฬฺหา อสํหาริยา . . . ตสฺเสตํ กลฺลํ วาจาย ภควโตมฺหิ ปุตฺโต โอรโส มุข
โต ชาโต ธมฺมโช ธมฺมนิมฺมิโต ธมฺมทายาโทติ. ตํ กิสฺส เหตํ
ตถาคตสฺส เหตํ วาเสฏา อธิวจนํ ธมฺมกาโย อิติป พฺรหฺมกาโย อิติป
ธมฺมภูโต อิติป พฺรหฺมภูโต อิติป . . .”
วาเสฏฐะ และภารัทวาชะ กราบทูลวา “ขาแตพระองคผู
เจริญ พราหมณทั้งหลายกลาวอยางนี้วา: พราหมณเทานั้นเปน
วรรณะที่ประเสริฐ วรรณะอื่นต่ําทราม พราหมณเทานั้นเปน
วรรณะขาว วรรณะอื่นดํา พราหมณเทานั้นบริสุทธิ์ วรรณะอื่น
ไมบริสุทธิ์ พราหมณเปนบุตร เปนโอรสของพระพรหม เกิด
จากโอษฐของพระพรหม พราหมณเกิดจากพระพรหม เปน
พรหมนิรมิต (ผูที่พระพรหมสราง) เปนพรหมทายาท (ทายาท
ของพระพรหม) . . .”
พระผูมีพระภาคเจาตรัสวา: ดูกรวาเสฏฐะ และภารัทวาชะ
. . . ขอที่พราหมณทั้งหลายกลาวนั้น วิญูชนทั้งหลายหา
ยอมรับไม เพราะเหตุวา ในบรรดาวรรณะทั้งสี่น้ัน ผูใดก็ตาม
เปนอรหันต หมดสิน้ อาสวะแลว . . . ผูนั้นเรียกวาเปนผูสูงสุด
100 กรณีธรรมกาย

ในวรรณะทั้งหมด ทั้งนีก้ ็เพราะธรรม หาใชเพราะอธรรมไม,


ธรรมนี่แหละประเสริฐสุด ในหมูมนุษย ทั้งในปจจุบันและ
เบื้องหนา; บุคคลผูใด มีศรัทธา ฝงราก หยั่งลง ประดิษฐาน
มั่นคงในตถาคต . . . ใครๆ ไมอาจพรากไปได, ควรเรียก
บุคคลผูนั้นวาเปนบุตร เปนโอรส เกิดแตโอษฐของพระผูมี
พระภาคเจา เปนผูเกิดจากธรรม เปนธรรมนิรมิต (ผูที่
ธรรมสราง) เปนธรรมทายาท (ทายาทแหงธรรม) ขอนั้น
เพราะเหตุไร? เพราะคําวา “ธรรมกาย” ก็ดี “พรหมกาย” ก็ดี
“ธรรมภูต” ก็ดี “พรหมภูต” ก็ดี เปนชื่อของตถาคต”
(ที.ปา. 11/51/91)
“กาย” แปลวา กอง ที่รวม ที่ชุมนุมหรือประมวลไว เมื่อเปนที่
รวมหรือเปนที่ชุมนุมประมวลไวแหงธรรมก็จึงเรียกวา “ธรรมกาย”
เพราะฉะนั้น คําวา”ธรรมกาย” ก็คือคําที่กลาวขึ้นมาเพื่อใช
เรียกพระพุทธเจา ในฐานะที่ทรงเปนแหลงที่รวมและเปนที่หลั่งไหล
ออกมาแหงธรรม คือพระพุทธเจาทรงคนพบธรรมและทรงคิดพิจารณา
จัดลําดับระบบคําสอนของพระองค แลวก็ตรัสออกมา เพราะฉะนั้น
พระองคก็เปนธรรมกาย ดังที่ทานอธิบายไววา
ตถาคโต หิ เตปฏกํ พุทฺธวจนํ หทเยน จินฺเตตฺวา วาจาย
อภินีหริ. เตนสฺส กาโย ธมฺมมยตฺตา ธมฺโมว. อิติ ธมฺโม กาโย
อสฺสาติ ธมฺมกาโย.
(ที.อ.3/50)
แปลวา: “แทจริง พระตถาคต ทรงคิดพุทธพจนทั้งไตรปฎก
ดวยพระหทัยแลว ทรงนําออกแสดงดวยพระวาจา ดวยเหตุนั้น
พระธรรมปฎก (ป. อ. ปยุตฺโต) 101

พระกายของพระองค ก็เทากับเปนธรรม เพราะแลวดวยธรรม


ธรรมเปนพระกายของพระตถาคตโดยนัยดังนี้ ฉะนั้น พระองค
จึงเปนธรรมกาย”
นี้คือความหมายที่แทจริงของคําวาธรรมกาย

บํารุงเลี้ยงบริหารรางกายไว รูปกายก็เจริญงอกงาม
หมั่นบําเพ็ญศีลสมาธิปญญา ธรรมกายก็เติบโตขึ้นมา
เอง
คําวา “ธรรมกาย” ในพระไตรปฎกอีก 3 แหงตอมา ที่วามา
ในคํารอยกรองแสดงประวัติเชิงสดุดีนั้น ก็เปนการใชเชิงเปรียบเทียบ
อีกอยางหนึ่ง ซึ่งเปนความหมายที่ใชไดกับคนอื่นๆ ทั่วไปดวย โดยใช
คูหรือใชเชิงเทียบเคียงกับคําวา “รูปกาย”
คนเรานั้น ตามปกติก็มีความเจริญเติบโตของรางกาย ที่ภาษา
บาลีเรียกวา”รูปกาย” ซึ่งแปลวา กอง หรือที่รวม หรือที่ชุมนุมแหง
รูปธรรมตาง ๆ เชน ธาตุดิน น้ํา ลม ไฟ หรืออวัยวะตางๆ เชน ผม ขน
เล็บ ฟน หนัง เนื้อ เอ็น กระดูก ตับ ไต หัวใจ ปอด เปนตน
คนเรากินอาหารเปนตน เวลาผานไป รางกายหรือรูปกายก็
เจริญเติบโตมากขึ้น ในทํานองเดียวกัน เมื่อเราศึกษาปฏิบัติธรรม
พัฒนาคุณสมบัติที่ดีงามตางๆ เชน ศรัทธา ศีล เมตตา กรุณา สติ
สมาธิ ปญญา เปนตน เพิ่มขึ้นๆ ธรรมก็เจริญเพิ่มพูนขึ้น กลายเปน
กองแหงธรรมที่ใหญขึ้นๆ คําวากองแหงธรรมหรือชุมนุมแหงธรรมนี้
เรียกวา “ธรรมกาย” คนเราเจริญเติบโตขึ้นมาทางรูปกายนั่น ดาน
หนึ่ ง แล ว แต อี ก ด า นหนึ่ ง เราก็ ค วรเจริ ญ ด ว ยคื อ ด า นธรรมกาย
102 กรณีธรรมกาย

เพราะฉะนั้นในความหมายนี้ “ธรรมกาย” ก็เลยเปนคําคกันกับ “รูป


กาย”
ธรรมกายที ่เ จริญ ขึ ้น มาถึง ขั ้น สูง สุด ในขั ้น อุด มคติก ็ค ือ ถึง
ขั้นโลกุตตรธรรม ไดแก มรรค ผล นิพพาน เพราะฉะนั้น ในขั้นสูงสุด
และในความหมายที่จําเพาะ ทานจึงใชคําวาธรรมกายนี้ ใหหมายถึง
ชุม นุมแหง ธรรมที่เ ปน โลกุต ตระ คือ มรรค ผล นิพ พาน แตก็เ ปน
คําพูดครอบคลุมรวมๆ กันไปทั้งกลุมทั้งหมด ไมใชหมายถึงหลักธรรม
ขอหนึ่งขอใดโดยเฉพาะ
คําวา ”ธรรมกาย” ที่ใชในความหมายนี้ครั้งสําคัญก็คือ คราวที่
พระมหาปชาบดีโคตมี ซึ่งเปนพระมารดาเลี้ยงและเปนพระนานางของ
พระพุทธเจา ซึ่งไดมาผนวชเปนภิกษุณีรูปแรกในพระพุทธศาสนา
เมื่อ ชราภาพแลว วัน หนึ่ง ไดม าทูล ลาพระพุท ธเจา ไปปรินิพ พาน
พระนางไดกลาวเปนคํารอยกรอง คือคาถา ตอน หนึ่งวา พระนาง
เปนพระมารดาของพระพุทธเจา แตพระพุทธเจา ก็เปนพระบิดาของ
พระนางดวยเชนเดียวกัน ขยายความวา พระนางไดเลี้ยงดูรูปกาย
ของพระพุทธเจาใหเจริญเติบโตขึ้นมา แตพระพุทธเจาก็ไดชวยทําให
ธรรมกายของพระนางเจริญเติบโตขึ้นเชนเดียวกัน คือชวยใหพระนาง
ไดปฏิบัติธรรม บําเพ็ญไตรสิกขา จนกระทั่งบรรลุ มรรค ผล นิพพาน
(ดู ขุ.อป.33/157/284)
อยางในกรณีของพระวักกลิ ที่ติดตามดูพระพุทธเจา เพราะ
หลงใหลในพระรูปโฉมของพระองค ครั้งหนึ่งพระองคไดตรัสวา
“อลํ วกฺกลิ กึ เต อิมินา ปูตกิ าเยน ทิฏเน. โย โข วกฺกลิ
ธมฺมํ ปสฺสติ, โส มํ ปสฺสติ; โย มํ ปสฺสติ, โส ธมฺมํ ปสฺสติ . . .”
พระธรรมปฎก (ป. อ. ปยุตฺโต) 103

“ดูกอนวักกลิ รางกายที่เปอยเนาไดนี้ เธอเห็นแลวจะได


ประโยชนอะไร ผใดเห็นธรรม ผนั้นเห็นเรา ผใดเห็นเรา ผนั้น
เห็นธรรม” (สํ.ข. 17/216/146)
คํา วา ผ ใ ดเห็น ธรรม ผนั ้น เห็น เรานี้ ในพระไตรปฎ กเอง
พระพุทธเจาไมไดทรงใชคําวาธรรมกายและรูปกาย แตอรรถกถา
ไดอธิบายโดยใชคําวารูปกายกับธรรมกายเขามาเทียบ เพื่อใหเขาใจ
ไดงายยิ่งขึ้น
เมื่อวาโดยสาระที่แทจริง การเห็นธรรมนั้นแหละคือการเห็น
พระพุทธเจา พระพุทธเจาไมตองการใหสาวกติดอยกับพระรูปกาย
ของพระองค แตทรงพระประสงคใหทุกคนเห็นธรรม คือเห็นความจริง
ที่พระองคตรัสร ซึ่งจะเปนการเห็นพระพุทธเจาที่แท คือเห็นความเปน
พระพุทธเจา หรือเห็นความจริงที่ทําใหพระองคเปนพระพุทธเจา เมื่อ
เราเห็นธรรม คือเห็นความจริง ก็คือเห็นสิ่งเดียวกับที่พระพุทธเจาเห็น
และดวยการเห็ นธรรม ซึ่ งเป นสิ่ งเดียวกับที่ พระองค เห็ น เราก็ เป น
พุทธะอยางที่พระองคเปน ทีนี้เมื่อเอาคําวาธรรมกายและรูปกายเขา
มาอธิบายแบบเทียบกัน ก็ทําใหรสึกเปนจริงเปนจังยิ่งขึ้น คําวาเห็น
ธรรมกายก็คือ เห็นตัวธรรมนั่นเอง
คําวา “ธรรมกาย” ที่มาอีก 2 ครั้ง ในพระไตรปฎก ก็ใชใน
ความหมายอยางนี้ แตไมไดระบุคําวา “รูปกาย” เขาคูไวดวย ครั้ง
แรกเปนคําพรรณนาพระคุณของพระปจเจกพุทธเจาทั้งหลายวาเปน
“พหุธมฺมกายา” คือทรงเหมือนกับเปนพระวรกายที่ทรงไวซึ่งธรรม
104 กรณีธรรมกาย

มากมายเปนอเนก1 (ขุ.อป.32/2/20)
อี ก ครั้ ง หนึ่ ง เป น คํ า ร อ ยกรองแสดงประวั ติ ข องพระเถระชื่ อ
อัตถสันทัสสกะ เลาถึงการที่ทานไดเคยเฝาพระพุทธเจาพระนามวา
ปทุ มุ ต ตระในอดี ต และตอนหนึ่ ง มี คํา สรรเสริ ญ พระคุ ณ ของ
พระพุทธเจาพระองคนั้นวา “ธมฺมกายฺจ ทีเปนฺตํ เกวลํ รตนากรํ”
ทรงสาดสอ งธรรมกาย อัน ลว นเปน แหลง แหง รัต นะ (คือ ธรรม
มากมาย—ไมใช “บอเกิดแหงพระรัตนตรัย” อยางที่เอกสารของ
วัดพระธรรมกาย วา) (ขุ.อป.32/139/242)
คําสรรเสริญพระคุณอยางนี้มีมากมาย และทานกลาวไวใน
แงอื่น ๆ ดว ยถอ ยคํา พรรณนาที่ห ลากหลาย สมกับ เปนคัม ภีรเ ชิง
สดุดีพระคุณ ถาไดอานคัมภีรอปทาน 2 เลมนี้ตลอดหรือผานไปทั่วๆ

1
บางทานเห็นคําพรรณนาพระคุณตอนนี้ มีขอความวา “เจริญสุญญตวิโมกข อนิมิตต-
วิโมกข และอัปปณิหิตวิโมกข ไมบรรลุความเปนพระสาวกในศาสนาพระชินเจา
นักปราชญเหลานัน้ ยอมเปนพระสยัมภูปจ เจกพุทธเจา” ดังนีแ้ ลว ก็ตคี วามเตลิดออกไป
แทจริงทีท่ านกลาวถึงการเจริญสุญญตวิโมกข อนิมติ ตวิโมกข และอัปปณิหิตวิโมกข
นั้น ก็คือวิธีหนึ่งในการพูดถึงกระบวนการปฏิบัตเิ พื่อใหบรรลุอรหัตตผล ซึ่งเปน
กระบวนการปฏิบัติโดยทั่วไป คือในการเจริญวิปสสนาโดยพิจารณาไตรลักษณนั้น
ถาการพิจารณา อนัตตลักษณะเปนตัวเดนที่ทําใหหลุดพน การหลุดพนของทาน
ผูปฏิบัตินั้นก็เรียกวา สุฺญตวิโมกข ถาการพิจารณาทุกขลักษณะเปนตัวเดนทีท่ ําให
หลุดพน ก็เรียกวาอัปปณิหติ วิโมกข ถาการพิจารณาอนิจจลักษณะเปนตัวเดนที่ทําให
หลุดพน ก็เรียกวา อนิมิตตวิโมกข การหลุดพนหรือบรรลุอรหัตตผลนี้ จะ
บรรยายดวยวิธีพูดอยางอื่นก็ได และทานที่หลุดพนแลวอยางนั้น ถาบรรลุ
อรหัตตผลโดยมิไดเปนสาวกของพระสัมมาสัมพุทธเจา ก็จัดเปนพระปจเจกพุทธเจา
สาระสําคัญมีเทานี้
พระธรรมปฎก (ป. อ. ปยุตฺโต) 105

ก็จะเขาใจลักษณะคัมภีร และไมมองคําวา “ธรรมกาย” เกินเลย


ออกนอกความหมายที่ทานตองการ

จะมองดูรูปกาย ก็อาศัยเพียงตาเนื้อ
แตตองมีตาปญญา จึงจะมองเห็นธรรมกาย
ในคั ม ภี ร รุ น รองลงมา ตั้ ง แต อ รรถกถา มี ก ารใช คํ า ว า
“ธรรมกาย” บอยขึ้น เพราะมีการพรรณนาพระคุณของพระพุทธเจา
บอยขึ้น และจํานวนคัมภีรก็มากดวย แตความหมายก็ชัด คือ มัก
ใชคูเคียงกับคําวา “รูปกาย” ยกตัวอยางสักแหงหนึ่ง
โยป โส ภควา อสี ติ อ นุ พฺ ย  ฺ ช นปฏิ ม ณฺ ฑิ ต ทฺ ว ตฺ ตึ ส มหา-ปุ
ริ ส ลกฺ ข ณวิ จิ ตฺ ต รู ป กาโย สพฺ พ าการปริ สุ ทฺ ธ สี ล กฺ - ขนฺธาทิ
คุณรตนสมิทฺธธมฺมกาโย (วิสุทฺธิ.2/7)
แปลวา: “พระผูมีพระภาคเจานั้น แมพระองคใด ทรงมี
พระรูปกายอันวิจิตรดวยมหาบุรุษลักษณะ 32 ประการ อัน
ประดับดวยอนุพยัญชนะ 80 ทรงมีพระธรรมกายอันสําเร็จ
ดวยรัตนะ คือพระคุณ เชน ศีลขันธ (กองศีล) อันบริสุทธิ์
โดยอาการทั้งปวง”
ยกตัวอยางอีกแหง แตเพราะขอความยาวมาก ขอคัดมาแสดง
เพียงบางสวน
ปาสาทิกนฺติ พตฺตึสมหาปุริสลกฺขณ . . . รูปกาย . . . ปสาทนียนฺติ
ทสพลจตุเวสารชฺชฉอสาธารณาณอฏารสอาเวณิกพุทฺธ-
ธมฺมปฺปภุตอิ ปริมาณคุณคณสมนฺนาคตาย ธมฺมกายสมฺปตฺตยิ า
106 กรณีธรรมกาย

. . . ปสาทารหํ วา.
(อุ.อ.90)
แปลวา: “(พระผูมีพระภาคเจา) ‘ผูนาเลื่อมใส’ หมายความวา
ทรงนํามาซึ่งความเลื่อมใสทั่วทุกดาน แกชนผูขวนขวายใน
การเห็นพระรูปกาย เพราะความสมบูรณ ดวยความงาม แหง
พระสรีระของพระองค อันประดับดวยมหาบุรุษลักษณะ 32
อนุพยัญชนะ 80 พระรัศมีเปลงออก 1 วาโดยรอบ และ
พระเกตุมาลา นาเลื่อมใสทั่วทุกสวน
‘ผูเปนที่ตั้งแหงความเลือ่ มใส’ หมายความวา เปนที่ตั้ง
แหงความเลื่อมใส เหมาะที่จะพึงเลื่อมใส หรือควรแกความ
เลื่อมใสของคนผูมีปญญาอันสม เพราะความสมบูรณดวย
พระธรรมกาย อั น ประกอบด ว ยมวลแห ง พระคุ ณ อั น
ประมาณมิได เริ่มแตพระทศพลญาณ เวสารัชชญาณ 4
อสาธารณญาณ 6 และพุทธธรรมที่เปนพระคุณสมบัติเฉพาะ
18 ประการ”
จากตัวอยางเล็กนอยนี้ ก็พอจะใหมองเห็นความหมายของ
คําวา “ธรรมกาย” พรอมทั้งความมุงหมายในการกลาวคํานี้ในคัมภีร
วามุงใชในการพรรณนาพระคุณสมบัติตางๆ ของพระพุทธเจาเปน
สว นมาก แตก็เ ปน พระคุณ ที่เ ราควรจะอนุวัต รตามกํา ลัง เพื่อ ให
ธรรมกาย คือ กองแหงธรรมหรือคุณสมบัติในตัวเราเจริญงอกงาม
ขึ้นดวย โดยบําเพ็ญคุณสมบัติและขอปฏิบัตินั้นๆ ขึ้นมา แตไมใช
มาปฏิบัติการอะไรอยางหนึ่ง เปนการเฉพาะ ที่เรียกวาเขาถึงธรรมกาย
ขอประมวลไวเปนความรูประกอบวา คําวา “ธรรมกาย” นี้
พระธรรมปฎก (ป. อ. ปยุตฺโต) 107

มีมาในคัมภีรตางๆ ที่เปนภาษาบาลี เทาที่รวบรวมไวตอนนี้


ก. โดยรูปศัพท 43 รูป แยกเปน
1) มาในรูปโดดๆ เฉพาะ ธมฺมกาย-ที่แจกวิภัตติตางๆ 14 รูปศัพท
2) มาในคําสมาส มีคําอื่นตอทาย 13 รูปศัพท
3) มาในคําสมาส มีคําอื่นนําหนา 16 รูปศัพท
ข. โดยหลักฐานที่มา 125 แหง แยกเปน
1) มาในพระไตรปฎก (รูปโดด 3+รูปสมาส 1) 4 แหง
2) มาในปกรณพเิ ศษ (มิลินทปญหา 1+เปฏโกปเทส 1+วิสุทธิมัคค 2) 4 “
3) มาในอรรถกถา 43 “
4) มาในฎีกาและอนุฎีกา 68 “
5) มาในคัมภีรรุนหลังนอกนี้ 6 “
(สวนเอกสาร และหลักฐานนอกภาษาบาลี ไมตองนํามากลาว)
ถาเทียบกับขอธรรมสําคัญอยาง ศีล สมาธิ ปญญา วิมุตติ ฯลฯ
ก็นับวา “ธรรมกาย” มาไมมากครั้ง แตถามองในแงวาเปนคําที่ใชใน
ความหมายพิเ ศษ ไมใ ชตัว หลัก ธรรม หลัก ฐานที่ม าเพีย งเทา นี้ก็
ไมนอย และเกินพอที่จะใหเห็นความหมายไดชัดเจน จึงมองไมเห็น
เหตุผลที่จะกลาววาตกหลนไป (ถึงจะตกหลน ก็ไมเปนเหตุใหเสีย
ความหมาย หรือกระทบอะไรตอหลักการแมแตนอย)
เปนอันวา “ธรรมกาย” นี้เปนคําพูดรวมๆ หมายถึงธรรมหลายๆ
อยาง ทั้งชุดทั้งหมวด (สมกับคําวา “กาย” ที่แปลวากอง หรือที่รวม
หรือชุมนุม) โดยเฉพาะโลกุตตรธรรมทั้งหมด คือมรรค ผล นิพพาน
ทั้ง 9
คําวา “ธรรมกาย” มีความหมายอยางที่กลาวมานี้ คือเดิม
108 กรณีธรรมกาย

นั้นไมไดเปนคําสําคัญในพระพุทธศาสนา แตเปนการกลาวขึ้นใน
สถานการณบ างอยา ง โดยเฉพาะใชใ นเชิง เปรีย บเทีย บ และขอ
สําคัญก็คือไมใชเปนหลักธรรมอันใดอันหนึ่งโดยเฉพาะ แตเปนการ
กลาวรวมๆ เชนอยาง โลกุตตรธรรม ก็หมายถึงโลกุตตรธรรมที่พูด
แบบคลุม ๆ รวมๆ ทั้งหมดทั้งชุด
อนึ่ง การเห็นธรรมกายที่วานี้ ทานก็อธิบายวาไดแกการเห็น
อริยสัจจ 4 นั่นเอง และทานก็บอกไวดวยวา การเห็นธรรมกายคือ
เห็นอริยสัจจ 4 นี้ ตองเห็นดวยปญญาจักษุ คือดวยตาปญญา เรา
เห็นรูปกายดวยตาเนื้อ แตจะเห็นธรรมกายดวยตาปญญา (ไมใชเห็น
ดว ยสมาธิ ถา เห็น ดว ยสมาธิก็จ ะเปน การเห็น นิมิต อะไรอยา งใด
อยางหนึ่ง)
สมาธินั้นเราใชเ พียงเปนตัวชวยทําใหจิตพรอมที่จะทํางาน
ในทางปญญา ซึ่งจะทําใหมองเห็นธรรมกายดวยปญญานั่นอีกทีหนึ่ง
ดวยเหตุนี้จึงไมมีคําวาวิชชาธรรมกาย เพราะธรรมกายเปนเพียง
ถอ ยคํา อยา งที่ก ลา วมาแลว ใชเ ฉพาะในบางกรณี และใชเ ชิง
เปรียบเทียบ อีกทั้งเปนคํากลาวคลุมๆ รวมๆ
ในหลัก การสํา คัญ ของพระพุท ธศาสนานั้น คํา วา “วิช ชา”
ท า นมี ห ลั ก วางไว แ ล ว ในคํ า วิ ช ชา 3 ซึ่ ง หมายถึ ง
บุพเพนิวาสานุสติญาณ จุตูปปาตญาณ และอาสวักขยญาณ หรือ
วิชชา 8 ประการ ที่ขยายออกไปอีก ซึ่งก็ไมมีคําวาวิชชาธรรมกายนี้
หมายความวา คําวา”วิชชา”ของทานมีอยแลว และวิชชาเหลานี้ก็ยัง
ปรากฏในคําสอนอยูครบถวน และเปนตัวหลักที่แทของการที่จะให
บรรลุธรรมขั้นสูงในพระพุทธศาสนา ตลอดจนบรรลุนิพพาน ไมมี
พระธรรมปฎก (ป. อ. ปยุตฺโต) 109

วิชชาอะไรที่หายไป จึงไมตองมีวิชชาอะไรมาเพิ่มเติมอีก
จะตองย้ําวา “ธรรมกาย” เปนคําพูดรวมๆ หมายถึงองคธรรม
หลายอยาง ประมวลเขาดวยกัน โดยเฉพาะมรรค ผล นิพพาน
หลักธรรมสําคัญๆ เหลานั้น มีวิธีปฏิบัติเพื่อบรรลุหรือเขาถึง
ชัด เจนจํา เพาะอยูแลว จึงไมตอ งมีวิธีป ฏิบัติเ พื่อเขา ถึง ธรรมกาย
ซอนขึ้นมาอีก

จะเอาธรรมกายของพระพุทธเจา หรือธรรมกายแบบไหน
ก็มีเสรีภาพเลือกได แตขอใหบอกไปตามตรง
เรื่องธรรมกายที่มีความหมายแตกตางกัน เปนเรื่องสัมพันธกับ
กาลเวลาที่ตางยุคตางสมัย จึงไมมีอะไรจะสับสน เรื่องธรรมกายใน
มหายานเขาก็มีชัดของเขาอยแลว และถาตองการรูวาตางกับเถรวาท
อยางไรก็ไมตองไปเที่ยวหาใหยาก จะศึกษาหาอานเมื่อไรก็หาได
มหายานเขาก็ ย อมรั บ อย ว า คํ า สอนเรื่ อ งธรรมกายนั้ น เขา
พั ฒ นากั น ขึ้ น มาหลั ง พุ ท ธกาลหลายร อ ยป และของมหายานนั้ น
ธรรมกายเปนสวนหนึ่งของหลักตรีกาย ที่ถือวาพระพุทธเจาทรงมี
3 กาย คือ ธรรมกาย สัมโภคกาย และนิรมาณกาย
ทางเถรวาทเรามีข อ ความในพระไตรปฎ กที ่ก ลา วถึง
ธรรมกายอยบาง ซึ่งมีความหมายชัดเจนอยแลว ความตางระหวาง
ธรรมกายที่เปนความหมายเดิมของพระไตรปฎกบาลี กับธรรมกาย
ที่มหายานพัฒนาขึ้นมา ก็ศึกษากันไดงาย
แตเวลานี้ยังมีธรรมกายของมหายาน กับธรรมกายของวัด
พระธรรมกาย ซึ่งมีความหมายไมเหมือนกัน อันนี้จะตองมาศึกษา
110 กรณีธรรมกาย

กันใหม คือกลายเปนเรื่องวา จะตองศึกษาความแตกตางระหวาง


ธรรมกายของมหายานซึ ่ง เปน กายหนึ ่ง ในสามของตรีก าย กับ
ธรรมกายของวั ด พระธรรมกาย ซึ่ ง ทางมหายานเขายั ง ไม เ คยได
ยิน และ ทางวัด พระธรรมกายเองยัง ไมไดพูด ถึงอีก 2 กาย คือ
สัม โภคกาย และนิร มาณกาย จึง ควรแสดงเหตุผ ลแกท างฝา ย
มหายานวา เหตุใดจึงไมมีอีก 2 กายนั้น สวนทางเถรวาทนี้ชัดเจน
อยูแ ลว ไมตอ งเถีย งกับ ใคร เพราะไมไ ดถือ ธรรมกายเปน เรื่อ ง
ใหญโตอะไร
ตรีกายนั้นเปนหลักของฝายมหายาน เทาที่ทราบก็วาพัฒนา
กันขึ้นในพุทธศาสนานิกายสรวาสติวาทิน หรือสรวาสติวาทะที่ได
สูญ ไปแลว แลวมหายานก็พัฒ นาตอ มา ซึ่งเปน เรื่อ งของผศึก ษา
พุทธศาสนามหายานเอง ไมใชเรื่องที่ทางเถรวาทจะไปพูดวาอะไร
เพราะปราชญมหายานก็ยอมรับอยเองวาเรื่องตรีกายนั้น เกิดหลัง
พุท ธกาลตั้ง หลายศตวรรษอยา งที่ก ลา วแลว วา มหายานรับ ชว ง
พัฒ นาตอ จากนิก ายสรวาสติว าทะ ซึ ่ง เวลานี ้ว า อยา งไร ก็ห า
คําอธิบายไดไ มยาก ตอมาพอถึงพุทธศาสนาแบบตันตระ
ธรรมกายก็ม าเปน อาทิพุท ธะ คือ เปน พระพุท ธเจา องคตน ซึ่ง นา
สงสัยวาจะเปนที่มาของลัทธิตนธาตุตนธรรมหรือไม
ปจจุบันนี้ องคทะไลลามะนั้น ทางพุทธศาสนาแบบทิเบตถือ
วาเปนนิรมาณกายของพระโพธิสัตวอวโลกิเตศวร พระโพธิสัตวอว
โลกิเตศวรเองก็เปนเรื่องสมัยหลังพุทธกาลมากมายหลายศตวรรษ
เรื่องอยางนี้นักปราชญศึกษากันมาเพียงพอแลว เพียงแตเรารวาเปน
คําสอนของมหายานที่เกิดขึ้นทีหลัง สวนในทางพุทธศาสนาเถรวาท
พระธรรมปฎก (ป. อ. ปยุตฺโต) 111

นั้น เรามุงที่คําสอนเดิมแทของพระพุทธเจา
คําวาธรรมกายก็เปนคําที่มีอยเดิม ทางมหายานนั่นแหละที่
จะตองมาศึกษาวา หลักคําสอนเรื่องตรีกายของตนซึ่งรวมทั้งเรื่อง
ธรรมกายนั้น ไดพัฒนาขยายความหมายขึ้นมาจากธรรมกายใน
พุทธศาสนาดั้งเดิมที่มีในพระไตรปฎกบาลีของเถรวาทอยางไร เพื่อ
จะหาความหมายเดิมแท ๆ การที่จะเอาคําสอนเรื่องธรรมกายของ
มหายานที่ เ กิ ด ขึ้ น ภายหลั ง ตั้ ง หลายศตวรรษ มาปะปนกั บ
ความหมายเดิมนั้นไมถูกตอง มีแตจะทําใหวนวายสับสนกันใหญ
ขอย้ําวา คําสอนธรรมกายของมหายาน กับคําสอนธรรมกาย
ของวัดพระธรรมกายนั้น ตางกันมากมายยิ่งกวาธรรมกายมหายาน
ตางจากธรรมกายเดิมของพระพุทธเจา
เรื่องวิชชาธรรมกายปจจุบันของสํานักวัดพระธรรมกายนั้น ก็ควร
จะกลาวลงไปตรงๆ ไมตองไปบอกวาพระพุทธเจาคนพบ หรือทรงสอน
ไวแลวหายไปจนตองมีการคนพบใหม ก็พูดไปตรงๆ วา อาจารยของ
สํานักทานไดจัดวางของทาน และไดสอนขึ้นมาในความหมายของ
ทาน เรื่องก็เทานั้นเอง เพราะวาธรรมกายที่วานี้ ก็ไมไดมีความหมาย
ตรงกั บ ธรรมกายเดิ ม ในพระไตรป ฎ ก หรื อ แม แ ต ธ รรมกายของ
มหายาน ที่เขาไดพัฒนาขึ้นมาในยุคหลังจากพระพุทธเจาปรินิพพาน
ไปหลายรอยป ควรจะมีความแจมชัดดังที่กลาวมาแลว
อายตนนิพพาน คือดับอายตนะ

“อัตตา” ไมมีโดยปรมัตถ เปนเรื่องที่ชัดเจนไปแลว


เอกสารของวัดพระธรรมกาย เขียนวา
“ลําพังการอาศัยหลักฐานทางคัมภีรเทาที่มีเหลืออยู
และศึกษาคัมภีรเพียงบางสวนเทานั้นแลวมาสรุปลงไปวา
มี ลั ก ษณะเป น อย า งใดอย า งนั้ น โดยเด็ ด ขาด พร อ มกั บ
ปฏิ เ สธทรรศนะอื่ น โดยสิ้ น เชิ ง ทั้ ง ที่ ยั ง มี ป ระเด็ น ทาง
วิชาการที่ตองศึกษาวิเคราะหอยางละเอียดรอบคอบอีก
มากอยางที่ทําอยูนั้น เปนสิ่งที่พระเถระทั้งหลายในอดีต
ของเราไม ทํ า กั น เป น การสรุ ป เกิ น เป น ผลเสี ย ต อ พระ
พุทธ-ศาสนาและอาจนํามาซึ่งความแตกแยก”
ตอมาอีกแหงหนึ่งเขียนวา
“ในขณะที่ประเด็นปญหาวา นิพพานเปนอัตตาหรือ
เปนอนัตตา ในทางวิชาการยังไมอาจสรุปลงไดนั้น สิ่งที่
ชาวพุทธพึ งทราบก็ คือ อายตนนิพพานนี้ พระสั มมาสัม
พุทธเจาทรงยืนยันวา มีอยูจริง และทรงปฏิเสธวาไมใชสิ่ง
นั้น ไมใชสิ่งนี้ เพราะอายตนนิพพานเปนสิ่งที่เกินกวาวิสัย
และประสบการณในโลกของปุถุชนใดๆ จะสามารถเขาใจได
พระธรรมปฎก (ป. อ. ปยุตฺโต) 113

. . .”
ขอสังเกตเบื้องตน ก็คือ ในตอนแรกที่พูดถึงเรื่องนิพพานเปน
อัตตาหรืออนัตตา ทั้งที่หลักฐานวานิพพานเปนอนัตตา มีหลายแหง
และสอดคลองกันทั้งหมด เอกสารของวัดพระธรรมกาย ก็พูดเฉ
ออกไปทํานองวาหลักฐานที่มีเหลืออยูเทานี้ไมเพียงพอ อางวาเปน
ขอสรุปทางวิชาการ ซึ่งยังสรุปไมได และยังอางวาพระเถระในอดีตก็
ไมวินิจฉัยอีกดวย
แตตอนหลัง พอพูดเรื่องอายตนนิพพาน ทั้งที่หลักฐานที่จะ
อางในพระไตรปฎกมีแหงเดียว กลับยกเปนขอยืนยันเต็มที่
เรื่อง “นิพพานเปนอนัตตา” หลักฐานวาอยางไรและสอดคลอง
เปนอันหนึ่งอันเดียวกันหรือไม ก็ไดยกตัวอยางมาแสดงเพียงพอแลว
“นิพพานเปนอนัตตา” เปนเรื่องของหลักฐานแสดงหลักการของ
พระธรรมวินัย และหลักฐานนั้นชัดเจน ไมใชเรื่องทัศนะความคิดเห็น
และไมเปนเพียงขอสรุปทางวิชาการ เรื่องนี้ชัดเจนแลว ไมควรอาง
เรื่องทัศนะความคิดเห็นและขอถกเถียงทางวิชาการขึ้นมาอีก
“นิพพานเปนอนัตตา” เปนเรื่องของหลักการที่แนนอนของ
พระพุทธศาสนา พระเถระในอดีตถือเปนเรื่องสําคัญยิ่งที่จะไมใหเกิด
การสอนผิดพลาด และไมใหเกิดการนําลัทธิแปลกปลอมเขามาปน
ทานจึงเอาจริงเอาจังในการชําระสะสาง ดังกรณีสังคายนาครั้งที่ 3
ที่ไดเลาไปแลว เอกสารของวัดพระธรรมกายที่วา “พระเถระทั้งหลาย
ในอดีตของเราไมทํากัน” นั้น เปนการกลาวตรงขามกับความเปนจริง
จะกลายเปนการกลาวตูพระเถระในอดีตเหลานั้น
เรื่ อ ง “พระพุ ท ธศาสนาไม ย อมรั บ อั ต ตาโดยปรมั ต ถ โดย
114 กรณีธรรมกาย

ประการทั้งปวง” เปนเรื่องของหลักการสําคัญ ซึ่งเมื่อมีปญหา


ทานก็ไดยกขึ้นมาพิจารณาและชําระสะสางเสร็จสิ้นไปแลว ถายัง
มีพระไตรปฎกหรือคัมภีรมหายานฉบับใด หรือนิกายใดวาอยางอื่น
ก็ไ มใ ชเ รื ่อ งที ่จ ะนํ า มาอา งใหส ับ สนปะปน ทํ า นองเดีย วกับ เรื ่อ ง
สวรรคแดนสุขาวดีของพระอมิตาภะ ทางพุทธศาสนานิกายชินของ
ญี่ปุนวามี ก็เปนเรื่องของนิกายชินนั้น ไมจําเปนที่พุทธศาสนาเถร
วาทจะตองมีสวรรคสุขาวดี หรือแมแตพระอมิตาภะนั้นไปดวย วิธี
พูดเพื่อแสดงหลักการก็มีอยูแลว คือ อางใหชัดลงไปวา คัมภีรของ
นิก ายนั ้น หรือ คํ า สอนของนิก ายนั ้น วา อยา งนั ้น จะไดรู ค วาม
แตกตางกัน ไมตองเอามาปะปนกัน
(ที่จริงนั้น คําสอนของพุทธศาสนามหายานทั่วไป ก็ไมปรากฏ
วา จะสอนใหน ิพ พานเปน อัต ตาหรือ อาตมัน แตป ระการใด ถา มี
มหายานนิก ายยอ ยใดสอนอยา งนั้น ทางวัด พระธรรมกายก็ควร
ยกขึ้นมาแสดงใหปรากฏ มหายานนิกายอื่นๆ จะไดแสดงเหตุผลขอ
โตแยงบาง)
เรื่อง “มติของพระพุทธศาสนาที่แทวา อัตตามีเพียงโดยสมมติ
ไมมีจริงโดยปรมัตถ” นั้น เมื่อมองดูขอสรุปของนักวิชาการทาง
ตะวันตก แมวาขอสรุปนั้นจะไมมีความสําคัญที่จะมาวินิจฉัย
หลักการของพระพุทธศาสนาได แตก็นาอนุโมทนาวา เวลานี้
นักวิชาการตะวันตกรุนใหมๆ ไดเริ่มมีความเขาใจถูกตองตรงตาม
หลักการนี้ ดัง Professor Richard Gombrich นายกสมาคมบาลี
ปกรณแ หง อัง กฤษ คนปจ จุบัน ไดเ ขีย นหนัง สือ แสดงไว (ไมต รง
กับที่ เอกสารของวัดพระธรรมกายอาง)
พระธรรมปฎก (ป. อ. ปยุตฺโต) 115

“มติข องพระพุท ธศาสนาที่แ ทวา อัต ตามีเ พีย งโดยสมมติ


ไมมีจริงโดยปรมัตถ และนิพพานก็รวมอยูในธรรมที่เปนอนัตตา” นั้น
พระไตรปฎกและอรรถกถากลาวระบุไวชัดเจนแลว การมีหลักฐาน
แสดงหลักการสําคัญๆ ของพระศาสนาไวเปนการแนนอนนี้ เปนสิ่ง
สํา คัญ ที่พุท ธบริษ ัท จะไดใ ชเ ปน มาตรฐานวัด การศึก ษาและการ
ปฏิบ ัต ิข องตน ทํ า ใหมีค วามเปน อัน หนึ่ง อัน เดีย วกัน และไมเ กิด
ความแตกแยก แตตรงขาม ถาไมมีหลักการที่ชัดเจนแนนอน หรือ
มีแลว แตไมปฏิบัติตอหลักการนั้นดวยความซื่อตรง จึงจะทําใหเกิด
ความแตกแยก
ในเรื่อ งหลัก ฐานที่แ สดงหลัก การนั้น แทที่จ ริง ถึง จะมีร ะบุ
แนนอนแหงเดียว เมื่อสอดคลองกับคําสอนและหลักการโดยรวม
ก็เ พีย งพอ แตที่ตั้ง ขอ สัง เกตในที่นี้ก็เ พราะวา เอกสารของวัด
พระธรรมกาย นั้น แสดงทาทีที่ไมสม่ําเสมอ

“อายตนนิพพาน” ไมมีโดยบาลีนิยม
ก็ชัดเจนเชนกัน
เรื่อง “อายตนนิพพาน” นั้น ถาเปนจริงตามหลักฐานที่อางก็ไมมี
ปญหา แตเรื่องไมเปนเชนนั้น เพราะถาสังเกตดูจะเห็นวา ทั้งเอกสาร
ของวัดพระธรรมกาย และพฤติการณตางๆ มุงจะใหประชาชนเขาใจ
ไปวา มีนิพพานอยางหนึ่ง ที่เรียกวา “อายตนนิพพาน” ซึ่งมีลักษณะ
เปนสถานที่ หรือเปนดินแดน
ทั้งนี้ ถึงกับมีพิธีถวายขาวพระ และมีผูเขาสมาธินําขาวบูชานั้น
ไปถวายแดพระพุทธเจาในอายตนนิพพาน
116 กรณีธรรมกาย

วา ที่จ ริง ในพุท ธพจนที่ย กมาอา งนั้น (และไมวา ในที่ไ หนๆ
รวมทั้งคัมภีรอื่นๆ ที่รองลงมาจากพระไตรปฎก) ไมมีคําวา “อาย
ตนนิพพาน” อยูเลย เพียงแตวา ในพระสูตรที่อางนั้น (ปฐมนิพพานสูตร, ขุ.
อุ.25/158/206 ) พระพุทธเจาทรงนําคําวา “อายตนะ” มาใชอธิบาย
หรือบรรยายลักษณะของภาวะดับทุกขที่เรียกวา “นิพพาน” วา
นิพพานนั้นเปนอายตนะที่ไมมีดิน น้ํา ลม ไฟ เปนตน ตามบาลีที่วา
“อตฺถิ ภิกฺขเว ตทายตนํ ยตฺถ เนว ปวี น อาโป น เตโช น วาโย น
อากาสานฺจายตนํ น วิฺาณฺจายตนํ น อากิฺจฺายตนํ น
เนวสฺานาสฺายตนํ นายํ โลโก น ปรโลโก น อุโภ จนฺทิมสุริยา
ตมหํ ภิกฺขเว เนว อาคตึ วทามิ น คตึ น ิตึ น จุตึ น อุปปตฺตึ อปฺปติฏ
ํ อปฺปวตฺตํ อนารมฺมณเมว ตํ เอเสวนฺโต ทุกฺขสฺส ฯ (ขุ.
อุ.25/158/206)
แปลวา: “ภิกษุทั้งหลาย อายตนะนั้นมีอยู ดิน น้ํา ไฟ ลม
อากาสานัญจายตนะ วิญญาณัญจายตนะ อากิญจัญญายตนะ
เนวสัญญานาสัญญายตนะ โลกนี้ โลกหนา พระจันทรและพระ
อาทิตยทั้งสอง ยอมไมมีในอายตนะนั้น ภิกษุทั้งหลาย เราไม
กลาวอายตนะนั้นวาเปนการมา เปนการไป เปนการตั้งอยู เปน
การจุติ เปนการอุปบัติ อายตนะนั้นหาที่ตั้งอาศัยมิได มิได
เปนไป หาอารมณมิได นี้แลเปนที่สุดแหงทุกข”
คําวา “อายตนะ” นั้น แปลวา แหลง แดน บอเกิด ขุม ที่เกิด ที่
ตอ ที่บรรจบ ที่ชุมนุม ที่อยู เหตุ เปนถอยคําสามัญที่ชาวบานเขาใช
กัน เชน สุวัณณายตนะ แปลวา บอทอง อรัญญายตนะ แปลวา แดน
ปา เทวายตนะ แปลวา ถิ่นเทวดา หรือในขอความเชนวา แควน
กั ม โพชเป น แหล ง ม า ทั ก ษิ ณ าบถเป น แหล ง โค เป น ต น ซึ่ ง เป น
ความหมายทางรูปธรรม
พระธรรมปฎก (ป. อ. ปยุตฺโต) 117

เมื่อนํามาใชในทางธรรม คําวา “อายตนะ” ก็จะมีความหมาย


เชิงนามธรรม โดยเฉพาะที่คุนเคยพบกันบอย ก็คือ แดนรับรู หรือ
ที่มาบรรจบกันของอินทรีย (เชน ตา) กับอารมณ (เชน รูป) และ
วิญญาณ (เชน จักขุวิญญาณ) ทําใหเกิดการรับรูขึ้น ซึ่งแยกเปน
อายตนะภายใน 6 ไดแก ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ อายตนะภายนอก 6
ไดแก รูป เสียง กลิ่น รส สิ่งสัมผัสกาย และธรรมารมณ หรือสิ่งรับรู
ทางใจ
เรื่องนี้ก็ทํานองเดียวกับคําวา “นิพพาน” เอง ซึ่งเปนคําที่
ชาวบานใชกันในความหมายสามัญเชิงรูปธรรม แปลวาการดับ เชน
“อัคคินิพพาน” คือดับไฟ หายรอน อยางสิ่งที่ถูกเผามา เมื่อดับไฟ
แลวเย็นลง แตเมื่อนํามาใชในทางธรรม ก็มีความหมายพิเศษเชิง
นามธรรม หมายถึงการดับกิเลส ดับทุกข โดยดับเพลิงกิเลส หรือ
ดับไฟโลภะ ไฟโทสะ ไฟโมหะ ไฟทุกข ไฟโศก หมดความเรารอน
สงบเย็น
สํา หรับ พระสูต รนี้ ทา นอธิบ ายดว ยความหมายทางธรรม
ตรงกับที่เราคุนๆ กันอยางขางตน คืออธิบายโดยเทียบกับความหมาย
ของอายตนะ คือ อายตนะภายใน กับอายตนะภายนอกวา เหมือนกับ
ที่รูปเปนแดนรับรู คือเปนอารมณของจักขุวิญญาณ นิพพานก็เปน
แดนรับ รู  เพราะเปน ปจ จัย โดยเปน อารมณแ กม รรคญาณ คือ
ปญญาที่ทําใหทําลายกิเลสได และผลญาณ คือปญญาที่รูภาวะ
หมดสิ้นกิเลสและกองทุกขเปนตน (พึงสังเกตวา นิพพานไมมีอารมณ
แตนิพพานเปนอารมณได) ดังอรรถาธิบายวา
“ตทายตนนฺติ ตํ การณํ, ทกาโร ปทสนฺธิกโร. นิพฺพานํ หิ มคฺ
คผลาณาทีนํ อารมฺมณปจฺจยภาวโต รูปาทีนิ วิย จกฺขุวิฺาณาทีนํ
118 กรณีธรรมกาย

อารมฺมณปจฺจยภูตานีติ การณฏเน “อายตนนฺติ วุจฺจติ.”


(อุ.อ.417)
แปลวา: “บทวา ‘ตทายตนํ’ ไดแก เหตุนั้น, ท อักษรเปน
ตัวเชื่อมคํา. จริงอยู พระนิพพานตรัสเรียกวา ‘อายตนะ’
เพราะอรรถวาเปนเหตุ โดยเปนอารัมมณปจจัยแกมรรคญาณ
และผลญาณเปนตน เหมือนรูปารมณ เปนตน เปนอารัมมณ-
ปจจัยแกจกั ขุวิญญาณ เปนตน”
คําอธิบายของทานใหความหมายชัดเจนอยูแลว ซึ่งเปนการ
บอกไปดวยในตัววา ไมใหแปลความหมาย “อายตนะ” เปนแดน
ทางรูปธรรม คือ เปนสถานที่อยางใดอยางหนึ่ง
นอกจากนั้น พุทธพจนที่ตรัสตอไปวา ไมมีดิน น้ํา ลม ไฟ ฯลฯ
จนถึง วา ไมใ ชพ ระจัน ทร พระอาทิต ย ก็เ ปน การบง บอกวา ไมใ ห
เขา ใจเอานิพ พานเปน ดิน แดนหรือ สถานที ่ใ ด และอรรถกถาก็
อธิบายย้ําเขาไปอีกวา ที่ตรัสตั้งแตไมมีดิน น้ํา เปนตน ไปจนถึงไมมี
อากาสานัญจายตนะ เปนตน ก็เปนการแสดงวา ไมใชเปนภพไหนๆ
รวมทั้งอรูปภพ และยังตรัสตอไปวา ไมมีการไป การมา จุติ อุบัติ
ฯลฯ ซึ่งเปนคําปฏิเสธเรื่องสถานที่ โลก หรือภพ ทุกอยาง ทั้งนั้น
แตทั้งที่พระพุทธเจาและพระสาวก พยายามอธิบายปฏิเสธ
เรื ่อ งดิน แดนสถานที ่ทั ้ง หลายทั ้ง ปวงอยา งนี ้ ทางสํ า นัก วัด
พระธรรมกาย ก็ตีความใหมีสถานที่และดินแดนที่เลยจากนี้ขึ้นไป
ใหได
พระพุทธเจาทรงมุงใหรูวา นิพพานเปนภาวะที่ไมใช ภพ สถาน
ดินแดนใดๆ แตวัดพระธรรมกายก็จะตีความใหนิพพานเปนดินแดน
สูงขึ้นไปอีก
พระธรรมปฎก (ป. อ. ปยุตฺโต) 119

เอาคําของทานมาใช แตมาดัดแปลงความหมายเอาตามที่
ตนตองการ
ความจริง คําวา “อายตนะ” ที่ใชในคําวา “ตทายตนะ” อยางใน
พระสูตรนี้ พระพุทธเจาทรงใชในที่อื่นๆ ในการอธิบายเรื่องอื่นๆ อีก
หลายแหง เชน ใชอธิบายวิโมกขตางๆ ซึ่งเปนภาวะจิตแหงฌานทั้งหลาย
และพระเถรีธรรมทินนาก็ไดใชคํานี้ทํานองนั้น (ม.มู. 12/511/554; ม.อุ.
14/628/404) และที่พระอานนทยกพุทธพจนมาอธิบายการปฏิบัติ
เพื่อเขาถึงอรหัตตผลสมาธิ ที่ในกระบวนการปฏิบัติ ตลอดอรูปฌาน
3 ขั้นตน ไมมีการเสวยอายตนะ มีรูปเปนตน (องฺ.นวก.23/241/445)
และอธิบายเรื่องกายสักขีโดยเรียกอนุปุพพวิหาร ทั้ง 9 วาเปน
อายตนะ (องฺ.นวก.23/247/473)

อายตนนิพพาน ไมมี แตแปลใหดีก็ไดความหมาย


นิพพานายตนะ ถึงจะใชเปนศัพทได แตไมใหความหมายที่
ดี
ได ก ล า วแล ว ว า คํา ว า “อายตนนิ พ พาน” นั้ น ไม มี ใ น
พระพุทธศาสนามากอน ทานผูใชคงจะมุงใหแปลวา “แดนนิพพาน”
แตคําวา อายตนนิพพาน ไมชวยใหไดความหมายที่ประสงค เพราะ
กลายเปนมีความหมายวา “ดับอายตนะ”
ถาจะใหนิพพานเปนดินแดนจริงๆ ก็ควรจะประกอบศัพทใหม
ใหถูกตองตามหลักภาษา จึงจะไดคําแปลที่ตองการ คือ นิพพาน+
อายตนะ เปน “นิพพานายตนะ” แปลวา แดนนิพพาน
เมื่อประกอบศัพทถูกตองตรงตามหลักภาษาบาลีแลว ก็จะมี
120 กรณีธรรมกาย

คําเทียบไวยืนยันมากมาย ดังเชน เทวายตนะ = ถิ่นแดนเทวดา


อิสสรายตนะ = ถิ่นแหงอิสรชน อรัญญายตนะ = แดนปา เปนตน
สูง ขึ้น ไปในการปฏิบัติท างจิต ก็มีคํา เทีย บ เปน ฌานระดับ
สูง สุด เลยทีเ ดีย ว ไดแ ก อรูป ฌาน 4 คือ อากาสานัญ จายตนะ
(อากาสานัญจ+อายตนะ) = แดนอวกาศอันอนันต, วิญญาณัญจายต
นะ (วิญญาณัญจ+อายตนะ) = แดนวิญญาณอันอนันต, อา
กิญจัญญายตนะ (อากิญจัญญ+อายตนะ) = แดนแหงภาวะที่ไมมี
อะไรเลย, และเนวสัญญานาสัญญายตนะ (เนวสัญญานาสัญญา+
อายตนะ) = แดนแหง ฌานที่มีสัญญาก็ไ มใ ชไ มมีสัญญาก็ไ มใ ช
แลว นิพ พานก็จะมาตอยอดสมาบัติที่สูงสุดนี้ ดูจะเขาชุดกัน แตก็
เห็นอยูวาพระพุทธเจาไดทรงปฏิเสธไวแลวในพระสูตรที่อางนั้นเอง
ฉะนั้นจะใช “นิพพานายตนะ” ก็ไมถูกตอง รูปศัพทจะชวนใหตีความ
ไขวเขวออกไปจากหลักพระพุทธศาสนา
สําหรับ “อายตนนิพพาน” นั้น ถึงจะหักแปลใหเปนวา นิพพาน
ที่เปนอายตนะ ภาษาก็ไมให และจะกลายเปนวาตองมีนิพพานที่
ไมเปนอายตนะมาเขาคู
ถาจะใชอายตนนิพพาน กันจริงๆ ก็ตองใชในความหมายที่
ถูก ตอ งตามศัพ ทวา “ดับ อายตนะ” จึง จะสอดคลอ งกับ หลัก
พระพุทธศาสนา ซึ่งก็จะมีความหมายที่ดีวา อายตนะตางๆ ทั้งตา หู
จมูก ลิ้น กาย และใจ ดับเย็น ไมเรารอน ไมลุกเปนไฟ ไมเผาลน
ถาใชในความหมายอยางนี้ ก็จะเขากับพุทธพจนใน อาทิตต-
ปริยายสูตร (วินย.4/55/63; สํ.สฬ.18/31/23) ที่ตรัสสอนเหลาชฎิล
ผูเปนนักบวชบูชาไฟวา อายตนะทั้ง 6 คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ
พระธรรมปฎก (ป. อ. ปยุตฺโต) 121

ลุก เปนไฟ รอนไปหมดแลว คือ เรารอนดวยไฟราคะ ไฟโทสะ ไฟ


โมหะ และไฟแหง ความทุก ขใ นรูป ลัก ษณต า งๆ เมื่อ เกิด ปญ ญา
มองเห็นความจริงแลวก็จะดับไฟเหลานั้นได หายเรารอน หายรอน
รน ก็จะมาเขาสความหมายที่วา อายตนะเหลานี้ คือ ตา หู . . .
จิตใจ สงบเย็นลง อยางนี้ก็พอจะนําคําวาอายตนนิพพานมาใชได
อายตนนิพ พาน ที่แ ปลวา ดับ อายตนะนี้ จะมีศัพ ทเ ทีย บ
เขาชุดกันได และเปนคําสําคัญมากดวย คือ กิเลสนิพพาน (ดับกิเลส)
ขันธนิพพาน (ดับขันธ) โดยเฉพาะขันธ กับอายตนะ เปนศัพทธรรม
ประเภทเดียวกัน มักมาตามกันอยูแลว ก็จะมีขันธนิพพาน (ดับขันธ)
ตอดวยอายตนนิพพาน (ดับอายตนะ) สอดคลองกันจริงๆ
อยางไรก็ตาม ทั้งคําวา “อายตนนิพพาน” ก็ดี “นิพพานายต
นะ” ก็ดี ก็ไมมีมากอนในพระพุทธศาสนา เพราะฉะนั้น ทางที่ดีที่สุด
ถ า เห็ นแก พระธรรมวิ นั ย ไม ประสงค จะทํ าให กระทบกระเทื อนต อ
หลักการของพระพุทธศาสนา และเปนความตรงไปตรงมา เมื่อจะใช
คําวา “อายตนนิพพาน” และใหมีความหมายตามประสงค ก็สอนให
ชั ด เจนตรงตามที ่เ ปน จริง วา คํ า นี ้ท า นพระอาจารยผู นั ้น ๆ ได
นํา มาใชใ หมีค วามหมายดัง นี้ๆ ตามหลัก การที่ทา นไดจัด วางขึ้น
ใหม ก็จะเปนการรักษาผลประโยชนทางปญญาของประชาชน มิให
เกิดความสับสน และไมเสียหาย แตถาจะใหถูกตองแทจริง เมื่อเปน
พระภิกษุก็ตองสอนใหตรงตามพระธรรมวินัย

อายตนนิพพานแท ที่นี่ เดี๋ยวนี้


ดังไดกลาวแลววา คําวา “อายตนนิพพาน” ไมเคยมีในพระ
122 กรณีธรรมกาย

พุทธ-ศาสนามากอน อยางไรก็ตาม ถาจะใชคํานี้ใหได ก็ไมใชแปลวา


แดนนิพพานหรือนิพพานที่เปนคลายดินแดน แตแปลวา “ความดับ
เย็นแหงอายตนะ” ดังกลาวแลวขางตน ซึ่งทั้งไดความหมายที่
ถูก ตอ ง ต า ม ห ลัก ภ า ษ า แ ล ะ ส อ ด ค ลอ ง กับ ห ลัก ก า ร ข อ ง
พระพุทธศาสนา
อายตนนิพพานตามหลักภาษา และในความหมายที่ถูกตอง
อยางนี้ เปนภาวะที่ชีวิตและสังคมขณะนี้กําลังตองการอยางยิ่ง
คนจํา นวนมากมีอ ายตนะ ตั้ง แต ตา หู จนถึง ใจ ที่เ รา รอ น
ถูกรุนเราดวยเพลิงราคะหรือไฟโลภะ ซึ่งทําใหรานรนจองมองหา
แตสิ่งเสพบํารุงบําเรอตน มุงแตจะแสวงหาผลประโยชนมาสนอง
ความเห็นแกตัว หาทางเอารัดเอาเปรียบเพื่อนมนุษย
คนมีอายตนะ ตา หู ฯลฯ ใจ ที่เ รารอนดวยไฟโทสะ เพราะ
ถูกขัดผลประโยชนเปนตน แลวขัดเคืองแคนใจ ทําใหคิด ประทุษราย
ผูอื่น หาทางขัดขวางและใชพลังอํานาจมาทําลายลางซึ่งกันและกัน
คนมี ตา หู จนถึง ใจ ที่เรารอนดวยไฟโมหะ ถูกกดดันครอบงํา
ดว ยความไมรูไ มเ ขา ใจและไมรูจัก แสวงปญ ญา ทํา ใหตอ งหาสิ่ง
ปลอบประโลมกลอมใจ ตลอดจนมอมเมาหลอกตัวเอง และหลอก
กั น เอง เพื่ อ ช วยให เ พลิ ด เพลิ น หลบทุ ก ข ลื มป ญ หา หรื อ อย ด ว ย
ความหวั ง รอคอยผลดลบั นดาลจากอํ านาจยิ่ งใหญ หรือสิ่ งลึ กลั บ
ภายนอก
ถาอายตนะ คือ ตา หู จนถึง จิตใจ ทั้งหมดนี้ ดับเย็นสงบลงได
ไมถูกเปลวและควันแหงไฟโลภะ โทสะ โมหะ เผาลนใหเรารอนและ
กลุมรุมบดบังใหพรามัว ก็จะแจมใส สามารถใชปญญาพิจารณา
พระธรรมปฎก (ป. อ. ปยุตฺโต) 123

แกปญหา และมองเห็นวาอะไรเปนประโยชนหรือไมเปนประโยชน
ที่แทจริง แลวทําการสรางสรรคใหสําเร็จไดอยางถูกตอง
อายตนะที่บ ริสุท ธิ์แ จม ใส สงบเย็น จากไฟกิเ ลสและเพลิง
ทุกขนั้น ก็จะมองดูเพื่อนรวมโลก ดวยความรูความเขาใจ มองเห็น
สุข ทุก ขข องเขา ทํา ใหเ กิด เมตตากรุณ าที่จ ะชว ยเหลือ เกื้อ กูล กัน
เปนทางที่จะนําโลกนี้ไปสูสันติสุข
ถาปฏิบัติศีล สมาธิ ปญญา ใหอายตนะทั้งหลาย โดยเฉพาะใจ
สงบเย็นจากไฟราคะ/โลภะ โทสะ และโมหะ ไดอยางนี้ จึงจะเขาถึง
อายตนะที่เปนนิพพานได
อายตนนิพ พานชนิด เปน แดน ที่ตัว ตนของเราไปพบไปเฝา
ตัวตนของพระพุทธเจานั้น ไมมีในพระพุทธศาสนาอยางแนนอน
แตถาเปนอายตนนิพพาน ที่เ ปนภาวะดับเย็นของอายตนะ
คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ที่พนจากความเผาลนของไฟราคะ/โลภะ
โทสะ และโมหะแลว สวางผองใสดวยปญญา และแผรังสีแหงเมตตา
กรุณาตอสรรพสัตว ก็เปนอายตนนิพพานแท ที่นี่ เดี๋ยวนี้ และอยางนี้
จึงจะเปนนิพพานของพระพุทธเจา

ใจหมดโลภโกรธหลง สวางโลงสดใส เมื่อไร


ก็ไดเห็นนิพพานของพระพุทธเจา เมื่อนั้นทันที
อายตนะเป น เพี ย งคํ า หนึ่ ง ในบรรดาคํ า มากหลายที่ ท รงใช
อธิบายความหมายของนิพพาน ไมใชมีนิพพานอยางหนึ่งที่เรียกวา
“อายตนนิพพาน”
คําสําคัญที่มิใชเพียงใชอธิบายนิพพาน แตเปนไวพจน คือใช
124 กรณีธรรมกาย

แทนกันไดกับนิพพานเลยทีเดียว ก็เชน วิมุตติ วิสุทธิ สันติ อสังขตะ


(ไมปรุงแตง) อนาทาน (ไมยึด) อนาลัย (ไมติด) อิสสริยะ (อิสรภาพ)
อโสก (ภาวะไรโศก) อาโรคยะ (ภาวะไมมีโรคทางจิตใจ) นิโรธ (ภาวะ
ที่ไมมีทุกขเกิดขึ้น) เขมะ (ความเกษม) ปรมัตถ (ประโยชนหรือ
จุดหมายสูงสุด) เปนตน และคําที่ใชเชิงอธิบาย ที่สําคัญ ก็เชน ตัณ
หักขยะ (ภาวะสิ้นตัณหา) ภวนิโรธ (ความดับภพ)
โดยเฉพาะคําที่ใชพิจารณาตรวจสอบวัดผลการปฏิบัติของตน
ที่ชัดเจน คือ ราคักขยะ โทสักขยะ โมหักขยะ (ภาวะสิ้นราคะ โทสะ
โมหะ) ดังพุทธพจนตรัสแสดงวิธีตรวจสอบในใจของตนเอง ที่เคยยก
มาอางแลวขางตน (หนา 79)
อยางนอยควรจะรูตระหนักวา นิพพานไมใชมีไวสําหรับไปดู
ไปเห็นไปชม หรือไปพบกับใครๆ แตมีไวสําหรับทําใหประจักษแจง
เปนจริงกับตัวในภาวะหมดกิเลสหมดทุกข ถาจะไปนิพพาน ก็ไมใช
เขาสมาธิเหาะไป แตไปกับความกาวหนาในการปฏิบัติที่จะทําให
โลภะ โทสะ โมหะ ลดนอยหมดสิ้น
เพราะฉะนั้นจึงตองตรวจสอบตนเองวา เมื่อปฏิบัติไปๆ ความ
โลภ ความโกรธ ความหลงในใจของเราลดนอยลงหรือไม ถากิเลส
เหลานี้ และความขุนมัวเศราหมองความทุกขไมลดหายไป ไมวาจะ
เห็นอะไร ที่ดีเลิศวิเศษแคไหน ก็ไมใชการปฏิบัติของพระพุทธเจา
แตเปนการหางออกไปจากนิพพาน เปนการไถลหลงออกนอกทาง
ถ า จะพู ด ว า เห็ น นิ พ พาน ก็ ไ ม ใ ช เ ห็ น สถานที่ ห รื อ แดนวิ เ ศษ
อัศจรรยอะไรทั้งสิ้น แตเปนการเห็นความเบาบางจางหายจนหมดไป
ของโลภะ โทสะ โมหะ ในใจของตนเอง เห็นความบริสุทธิ์หมดจด
พระธรรมปฎก (ป. อ. ปยุตฺโต) 125

ปราศจากความขุนมัวเศราหมอง ปลอดพนความโศก ความทุกขและ


ความยึดติดถือมั่นทั้งหลาย
โดยสรุป การเห็นนิพพาน มีจุดตรวจสอบที่สําคัญ คือ
1. รับรูรูปเสียงหรืออารมณใดๆ ก็มีจิตบริสุทธิ์
เห็นภาวะที่ไมมีโลภะ โทสะ โมหะ ในใจของตน
ไมใชเห็นบุคคล สถานที่ รูปภาพ หรือองคอะไรที่ดีวิเศษ
2. เปนการเห็นดวยปญญา ไมใชเห็นดวยจิตสมาธิ
3. ถึงภาวะหลุดพน โปรงโลงเปนอิสระ ไมใชจมอยูแคความ
ปลาบปลื้มดื่มด่ําติดใจ
จะตองย้ําเตือนกันอยางยิ่ง ใหมั่นอยูในหลักตรวจสอบของ
พระพุทธเจาขอนี้ คือ การมองในจิตใจของตนเองวา มีโลภะ โทสะ
โมหะ เบาบางลงหรื อ ไม อยู กั บ ความเป น จริ ง และปฏิ บั ติ ต อ
ประสบการณและสถานการณตางๆ ดวยปญญาไดดีขึ้นหรือไม หาย
ทุกขโศก และมีความสุขอยางเปนอิสระเบิกบานโดยไมตองอาศัยสิ่ง
ปลอบประโลมกลอมใจหรือพึ่งพาความหวังหรือไม ลึกๆ ในใจตรวจดู
แลวมีความมั่นคงสดใสอยางไมตองพึ่งพา และพรอมที่จะเปนที่พึ่งแก
ผูอื่นหรือไม ถายัง ก็พึงปฏิบัติในหนทางที่จะใหเปนอยางนี้ โดยไม
ตองหวงเรื่องการที่จะไดเห็นสิ่งวิเศษใดๆ
พระพุท ธเจา ไมเ คยสอนพุท ธบริษ ัท ใหไ ปตามหาตามดู
นิพพานที่ไหน นอกจากนิพพานที่เปนความสงบระงับกิเลส ไถถอน
ทุกขโศกภายใน และทําจิตใจของตนเองใหบริสุทธิ์สะอาดเปนอิสระ
อยา วา ถึง จะไปดูนิพ พานเลย แมแ ตส วรรคที่วา มีค วามสุข
พรั่งพรอม ก็ไมทรงสอนใหวุนวายกับการที่จะไปดูไปเห็น ขอสําคัญ
126 กรณีธรรมกาย

อยูที่วา เมื่อเราปฏิบัติ ดําเนินชีวิต พัฒนาตนถูกตอง สิ่งเหลานี้ก็


เปนผลดีที่เกิดขึ้นเองตามเหตุปจจัย
เรื่องเบ็ดเตล็ด

เรื่องเบ็ดเตล็ดที่ ๑ พระไตรปฎกบาลีอักษรโรมันของ
สมาคมบาลีปกรณ ประเทศอังกฤษ เปนฉบับสากล?

สมาคมบาลีปกรณพิมพพระไตรปฎกอักษรโรมันได
ก็เพราะมีพระไตรปฎกของพวกเราใหเขาคัดลอก
เอกสารของวัดพระธรรมกายไดอางวา
“แมในยุคปจจุบันก็มีนักวิชาการพระพุทธศาสนาทั้ง
ในดินแดนตะวันตก เชน ยุโรป อเมริกา และทางตะวันออก
เชน ญี่ปุน จีน เกาหลี ถกเถียงกันมาก (เกี่ยวกับเรื่องอัตตา) . .
.”
เรื่องนี้ไดตอบไปแลวเปนสวนมาก แตยังมีแงที่ควรพูดไวเปน
เรื่องเบ็ดเตล็ดอีกประเด็นหนึ่ง ซึ่งไมสูมีความสําคัญนัก คือเรื่องของ
นักวิชาการตะวันตกวามีทัศนะอยางไร
แตกอนที่จะพูดเรื่องทัศนะของนักวิชาการตะวันตกโดยตรง
ก็อยากจะพูดถึงพระไตรปฎกบาลีอักษรโรมัน ของสมาคมบาลีปกรณ
ประเทศอังกฤษ ที่เอกสารของวัดพระธรรมกายอางวา
“. . . พระไตรปฎกและอรรถกถาฉบับอักษรโรมัน ของ
สมาคมบาลีปกรณ แหงประเทศอังกฤษ (Pali Text Society)
ซึ่ง เปน พระไตรปฎ กบาลีฉ บับ สากล เปน ที่อา งอิง ของ
128 กรณีธรรมกาย

นักวิชาการพุทธศาสนาทั่วโลกในปจจุบัน”
สมาคมบาลีปกรณ คือ Pali Text Society นั้น ตั้งขึ้นในกรุง
ลอนดอนเมื่อ ค.ศ 1881 ตรงกับ พ.ศ 2424 โดย Professor T.W.
Rhys Davids แลวก็ไดพิมพพระไตรปฎก พรอมทั้งอรรถกถา
ภาษาบาลีฉบับอักษรโรมัน และคําแปลภาษาอังกฤษ มาตามลําดับ
ไดจํานวนมากทีเดียว
เบื้องตนจะตองเขาใจกันใหชัดไวกอนวา พระไตรปฎกภาษา
บาลีนั้นที่จริงมีฉบับเดียวเทานั้น คือที่รักษาสืบตอกันมาตั้งแตครั้ง
ที่พ ระอรหัน ต 500 รูป ประชุม กัน รวบรวมคํา ตรัส สอนของ
พระพุทธเจามาตั้งเปนหลักไว เมื่อหลังจากพระพุทธเจาปรินิพพาน
ได 3 เดือน ที่เรียกวาสังคายนาครั้งที่ 1 แตพระไตรปฎกบาลีฉบับนี้
เมื่อชาวพุทธในประเทศตางๆ จะนําไปรักษาและศึกษาในประเทศ
ของตนๆ ก็คัดลอกกันไปโดยใชอักษรของประเทศของตนๆ แลว ก็
เรียกวาฉบับอักษรนั้นๆ หรือฉบับของประเทศนั้นๆ เชน ฉบับอักษร
สิง หล หรือ ฉบับ ลัง กา ฉบับ อัก ษรไทย หรือ ฉบับ ไทย ฉบับ อัก ษร
พมา หรือฉบับ พมา ฯลฯ ความแตกตา งก็มีเ พีย งอัก ษรที่ใชเ ขีย น
หรือ จารึก เทา นั ้น ภาษาก็ย ัง คงเปน ภาษาบาลีต ามเดิม และ
เนื้อหาทั้งหมดก็เปนคําความเดียวกันในภาษาบาลีของเดิม
เพราะเหตุที่ทานถือวาคําสอนของพระพุทธเจาในพระไตรปฎก
บาลี นี้ เ ป น เนื้ อ เป น ตั ว ของพระพุ ท ธศาสนา เมื่ อ คั ด ลอกกั น ไป ก็
เกรงวาอาจจะมีการผิดเพี้ยนตกหลน ทานจึงคอยตรวจสอบกันอยู
เสมอๆ เวลาที่ประชุมกันตรวจสอบเปนครั้งใหญๆ อยางที่เรียกวา
สัง คายนาครั ้ง หนึ ่ง ๆ ก็ร วบรวมเอาพระไตรปฎ กบาลีที ่ม ีใ น
พระธรรมปฎก (ป. อ. ปยุตฺโต) 129

ประเทศตางๆ ทั้งหลาย มาตรวจชําระโดยสอบทานกัน


แตตอ งเขา ใจวา พระสงฆที่รว มทํา สัง คายนานั้น ไมใ ชม า
ดัด แปลงถอ ยคํา หรือ ขอ ความใดๆ ในพระไตรปฎ ก เพราะความ
มุงหมายอยูที่จะรักษาของเดิมไวใหแมนยําบริสุทธิ์บริบูรณที่สุด (ถา
ใครขืนแทรกอะไรเขาไป ก็เรียกวาเปนสัทธรรมปฏิรูป คือของเทียม
หรือของปลอม) ดังนั้น ถาพบอะไรแปลกกันในตางฉบับ แมแต
เล็กนอยที่สุด เชนอักษรตางกันตัวเดียว อยาง จ หรือ ว ทานก็จะทํา
เชิงอรรถบอกไววา ฉบับนั้นมี จ ฉบับนี้มี ว เพราะฉะนั้น ความ
แตกตางหรือพิเศษกวากัน ก็มีเพียงวา
1. ฉบับไหนพิมพทีหลัง ก็มีโอกาสไดตรวจทานหลายฉบับ ก็
ไดเปรียบที่จะบอกขอแปลก เชนบันทึกไวในเชิงอรรถวา ที่แปลกกัน
เล็กๆ นอยๆ นั้นฉบับไหนเปนอยางไร
2. เมื่อการพิมพทันสมัย อุปกรณมีประสิทธิภาพมากขึ้น ก็มี
การจัดรูปหนา จัดยอหนา วรรคตอน ตั้งหัวขอ ใหตัวอักษรหนา-บาง-เอน
ทําดัชนีตางๆ และวางระบบอางอิง เปนตน ใหใชงานสะดวกยิ่งขึ้น
แตไ มวา จะอยา งไรก็ต าม เนื้อ ตัว ของพระไตรปฎ กแทๆ ก็
ของเดิม อันเดียวกัน
เมื่อสมาคมบาลีปกรณ คือ Pali Text Society ที่กรุงลอนดอน
จะพิมพพระไตรปฎกภาษาบาลีอักษรโรมัน แตชาวตะวันตกไมเคย
มีพ ระไตรปฎ กภาษาบาลีม ากอ น เขาก็ม าคัด ลอกเอาไปจาก
พระไตรปฎกบาลีฉบับ อักษรสิงหลของลังกา ฉบับ อักษรไทยของ
ประเทศไทย และฉบับอักษรพมาของพมานี่แหละ โดยเทียบเคียง
สอบทานกัน แลวพิมพดวยอักษรโรมัน ซึ่งถาพูดงายๆ ก็คืออักษร
130 กรณีธรรมกาย

ฝรั่ง อยางที่ใชเขียนภาษาอังกฤษ เยอรมัน ฝรั่งเศส เปนตน นั่นเอง


แตเพราะปญหาเรื่องทุนและกําลังคนที่มีอยูนอย จึงตองทําอยาง
คอยเปนคอยไป โดยเลือกพิมพออกมาทีละเลมสองเลมตามความ
พรอมหรือเทาที่มีกําลัง คัมภีรใดที่เ ห็นวาสําคัญใชประโยชนมาก
และมีนักปราชญผูรูบาลีที่จะทําได ก็ทําออกมากอน โดยไมมีลําดับ
ไมเปนระบบที่จัดวางไวโดยรวมทั้งหมด

ถึงแมมีความเพียร แตเพราะขาดกําลังและ
ประสบการณ พระไตรปฎกอักษรโรมัน จึงลักลั่นไม
เปนระบบ
คัมภีรที่ Pali Text Society พิมพออกมา นอกจากไมเปนลําดับ
และไมครบถวนแลว คัมภีรไหนมีคนใชนอย พิมพออกมาแลวนานๆ
พอหมดไปก็ตองปลอยใหขาดคราว หาไดยาก และก็ไมมีระบบรวม
เป นชุ ด เช นพระสู ตรนิ กายหนึ่ งๆ ก็ แยกออกมา จั ดเป นชุ ดเฉพาะ
นิกายนั้นๆ โดยเฉพาะนิกายยอยคือ ขุททกนิกาย กระจัดกระจายมาก
นอกจากนั้น เมื่อเขาทําไปก็จึงไดเรียนรูไป บางอยางเกิดเปน
ปญหาขึ้นก็แกไขไมได
ยกตั วอย า งเช น พระสุ ต ตั น ตป ฎ ก มั ช ฌิ มนิ ก าย ซึ่ ง มี อ ยู 3
หมวด (3 ปณณาสก) ตามปรกติก็ยอมแบงเปน 3 เลม เชนใน
พระไตรปฎกบาลีอักษรไทยก็คือเลม 12-13-14 แตฉบับ Pali Text
Society เมื่อจะพิมพ ไมไดวางแผนใหดี หรือคิดพลาดไป ปรากฎวา
มัชฌิมนิกายเลม 1 รวมเอาหมวดแรกจบแลวยังเกิน เขาไปหมวด
2 ดวย แตก็ไมจบ ไดราวครึ่งเดียว เลยกลายเปนวามัชฌิมนิกาย
พระธรรมปฎก (ป. อ. ปยุตฺโต) 131

หมวด 2 คือมัชฌิมปณณาสกเขาไปอยูในเลม 1 เสียเกือบครึ่ง สวน


ที่เหลืออยูพอพิมพเปนเลม 2 ก็กลายเปนเลมเล็กๆ บางๆ
ตอมาเมื่อ Pali Text Society พิมพฉบับแปลภาษาอังกฤษ
ไดรูความบกพรอ งนี้ ก็เ ลยจัด แยกเลมของฉบับ แปล ใหต รงกับ ที่
นิยมกันทั่วไป เปนเหตุใหพระไตรปฎกฉบับ Pali Text Society ฉบับ
บาลีก ับ ฉบับ แปลภาษาอัง กฤษไมต รงกัน คือ ฉบับ แปลภาษา
อังกฤษซึ่งเปนภาค 2 เมื่อจะดูภาษาบาลี ก็กลายไปอยูในเลม 1
ครึ่งเลม และอยูในเลม 2 อีกครึ่งเลม กลายเปนความลักลั่น
อีกตัวอยางหนึ่ง เมื่อจะพิมพพระวินัยปฎกภาษาบาลี ตอนแรก
คงคิดวาจะจัดลําดับเลมอยางไรดี แลวก็ไมไดดําเนินตามแบบแผน
ของการจัด แบง คัม ภีร ที่มีม าแตเ ดิม คงจะเห็น วา วินัย ปฎ ก ตอน
มหาวรรค (ของไทยไดแกเลม 4) มีเรื่องในพุทธประวัติหลังตรัสรูใหม
กอนจะตั้งพระศาสนา ก็เลยเอาเลม 4 อยางของเรานี้ไปจัดเปน
เลม 1 เสร็จแลวเลม 1 อยางฉบับของไทยก็กลายเปนเลม 3 ของ
ฉบับ Pali Text Society แตตอมาเมื่อจะพิมพฉบับแปลภาษาอังกฤษ
คงเห็นวาที่ตนทําไปตอนพิมพพระวินัยปฎกบาลีนั้นไมถูกตอง ควร
จะทํา ตามวิธีจัด แบง ที่มีม าแตเ ดิม ก็เ ลยจัด ลํา ดับ เลม ของฉบับ
แปลใหม ทํา ใหพ ระวินัย ปฎ กฉบับ แปลภาษาอัง กฤษของ Pali
Text Society มีลําดับเลมตรงตามแบบคลายของไทย แลวก็
กลายเปนวาพระไตรปฎกบาลีสวนวินัยปฎกของ Pali Text Society
ฉบับตนเดิมภาษาบาลี กับฉบับแปลเปนภาษาอังกฤษของตนเองนั้น
ลําดับเลมลักลั่นไมตรงกัน
สวนฉบับภาษาบาลีที่จัดลําดับผิดไปนั้น ไมวาจะเปนมัชฌิม-
132 กรณีธรรมกาย

นิ ก ายก็ ต าม เป น วิ นั ย ป ฎ กก็ ต าม จะจั ด ลํ า ดั บ เล ม ใหม ก็ ทํ า ไม ไ ด


เพราะวา หนัง สือ นั้น ถูก ใชอา งอิง กัน ไปมากแลว ถา พิม พใ หม
หลักฐานที่อางอิงกันไวเดิมก็มาคนหาไมได ก็จะสับสนวุนวาย จึง
ตองปลอยไปอยางนั้น
ยิ่งขุททกนิกายดวยแลว ก็วุนวายไปหมด คือไมมีระบบ ตอง
แยกพิ ม พ เ ป น เล ม ๆ บางเล ม ก็ พ ิ ม พ ร วมกั น ไปทั ้ ง บาลี ใ น
พระไตรปฎกและอรรถกถา โดยเฉพาะบางเลมเวลาอางจะยุงยาก
หรือปนเป ตัวอยางเชน คัมภีรชาดก (Jætaka) ซึ่งรวมกัน แยกไม
ออก ระหวางชาดกที่มาในพระบาลีคือในพระไตรปฎกแทๆ กับสวนที่
เปนอรรถกถา

พระไตรปฎกบาลีฉบับสากลโดยรูปแบบ ยังไมมี
แตโดยเนื้อหา พระไตรปฎกบาลีเปนสากลตลอดมา
พระไตรปฎกบาลีอักษรโรมันของ Pali Text Society ที่จะ
เรียกไดวา”เปนสากล” ก็มีความหมายอยูอยางเดียว คือมีความ
ไดเปรียบในแงที่ใชอักษรฝรั่ง ซึ่งเรียกเปนทางการวาอักษรโรมัน
อัก ษ ร ฝ รั ่ง นั ้น ม า กับ ภ า ษ า อัง ก ฤ ษ ซึ ่ง เ กือ บ จ ะ เ ปน
ภาษากลางของโลก คนอานกันทั่วไป ชาวพุทธในประเทศตางๆ ที่
อานพระไตรปฎกภาษาบาลีนั้น อานอักษรของกันและกันไมคอย
ได อย า งพระไทยหรื อ คนไทยก็ อ า นพระไตรป ฎ กบาลี ฉ บั บ อั ก ษร
สิงหลของลังกาไมคอยได หรือจะอานฉบับอักษรพมาก็อานไมคอย
เปน คนพมาก็เชนเดียวกัน จะอานของไทยหรือของลังกาก็ไมคอย
ได คนลังกาก็อานของไทยหรือของพมาไมคอยเปน อยางนี้เปนตน
พระธรรมปฎก (ป. อ. ปยุตฺโต) 133

แ ต ค น ท ุก ป ร ะ เ ท ศ นี ้รู จ ัก อ ัก ษ ร ฝ รั ่ง เ ว ล า จ ะ เ ข ีย น เ รื ่อ ง
พระพุทธศาสนาใหคนตางชาติอาน ก็เลยมาใชพระไตรปฎกบาลี
ฉบับอักษรโรมันซึ่งเปนอักษรฝรั่ง อันนี้เปนเหตุใหฉบับของ Pali
Text Society ไดรับการอางอิงและใชกันมากกวา
แตถาวาถึงเนื้อหาขางในแลว ก็อยูที่วา ใครทํากอนทําหลัง
ฉบับที่ทําทีหลังก็ไดเปรียบ อยางที่พูดไปแลว ฉบับของ Pali Text
Society นั้นพิมพทีหลังฉบับของลังกา ไทย และพมา จึงมีโอกาส
สอบทานเทียบเคียงฉบับทั้งสามนั้น แลวทําเชิงอรรถไดมากหนอย
แตตอมาตอนหลังไทยก็ดี พมาเปนตนก็ดี ก็มีการตรวจชําระกันใหม
อยา งของพมา ก็มีฉ บับ ฉัฏ ฐสัง คีติ ซึ่ง ตรวจชํา ระสมัย ฉลอง ๒๕
พุทธศตวรรษ ชวง พ.ศ 2500 ซึ่งมีพระสงฆและนักปราชญประเทศ
ตางๆ ไปรวมประชุมมาก
ตามประวัติดังที่วามา เวลานี้พระไตรปฎกบาลีฉบับฉัฏฐสังคีติ
ของพมา ก็จ ึง ไดร ับ ความนิย มมาก เมื ่อ ใครจะตรวจชํ า ระ
พระไตรปฎกกันใหม ไมมีใครไปเอาฉบับอักษรโรมันของ Pali Text
Society เปนแบบ มีแตเขาไปเอาฉบับฉัฏฐสังคีติของพมาเปนหลัก
แลว ก็เ อาฉบับ อื ่น ๆ รวมทั ้ง ฉบับ อัก ษรโรมัน นั ้น มาเทีย บเคีย ง
ยกตัวอยางเชน พระไตรปฎกบาลีฉบับมหาจุฬาฯ เมื่อตั้งฉบับของ
ไทยเราเองเปนฐานแลว ก็สอบทานโดยใหความสําคัญแกฉบับฉัฏฐ
สังคีตินั้น หรือฉบับอักษรเทวนาครี ที่ทานโกเอ็นกาทํา สําหรับใชใน
ประเทศอินเดีย ก็เอาตามฉบับฉัฏฐสังคีติของพมาเลยทีเดียว
เพราะฉะนั้น ที่วาพระไตรปฎกบาลีอักษรโรมันของสมาคม
บาลีปกรณ หรือ Pali Text Society เปนฉบับสากลอะไรนั้น ก็จึง
134 กรณีธรรมกาย

ไมไ ดม ีค วามหมายอะไร นอกเสีย จากวา คนระหวา งประเทศได


อาศัยอักษรฝรั่งเปนสื่อที่จะไดอานกันระหวางประเทศไดเทานั้นเอง
ประเทศไทยเราเวลานี้ เมื่อทําพระไตรปฎกบาลี พรอมทั้งอรรถ
กถา ซึ่งตอนนี้มีคําแปลภาษาไทยดวยแลว เปนฉบับคอมพิวเตอร ก็
คิดวา ชาวพุท ธทั่วไปไมค วรจะตอ งไปอาศัย ฉบับ อัก ษรโรมัน ของ
ฝรั่ง ซึ่งราคาแพงมาก 1 เพีย งเพื่อ จะคน เทีย บเลขหนา คัม ภีรใ น
เวลาที่คนชาติอื่นเขาอางอิง ก็จึงใชวิธีเอาเลขหนาของฉบับอักษร
โรมันของสมาคมบาลีปกรณมาใสไวในฉบับของเราดวย พรอมกัน
นั้น ก็ส ามารถกดปุม แปลงบาลีอัก ษรไทยเปน บาลีอัก ษรโรมัน บน
หนา จอไ ดด ว ย เ พร า ะ ฉ ะ นั ้น ความจํ า เ ปน ใ น ก า ร ที ่จ ะ ใ ช
พระไตรปฎ กบาลีอัก ษรโรมัน ของสมาคมบาลีป กรณก็จึงหมดไป
แทบจะโดยสิ้นเชิง
วิธ ีที่วา มานี้แ หละ เปน หนทางสํา คัญ ที ่จ ะทํา ใหเ กิด ความ
เปนสากลที่แทจริง พระไตรปฎกบาลีนั้นเปนสากลอยูแลว คือ ของ
เถรวาทไมวาประเทศไหน ก็เปนอันเดียวกัน แตในที่นี้พูดถึงความ
เปนสากลของเลมหนังสือและตัวอักษรที่ใชอาน ในความหมายที่วา
ฉบับเดียวก็ใชเทียบกันและอางอิงไปไดระหวางทุกฉบับดวย ซึ่งเปน
โครงการที่จะทําตอไป คือจะใสเลขหนาของฉบับฉัฏฐสังคีติของพมา
และฉบับสิงหลเปนตน มารวมอยูในฉบับเดียวกันของไทยนี้ใหหมด
ถาทําครบตามที่วามานี้เมื่อไร เราใชฉบับอักษรไทยฉบับเดียว

1
พระไตรปฎกบาลีอักษรโรมัน ของ Pali Text Society มีไมครบชุด แตบางเลมรวม
อรรถกถาติดมาดวย ราคาปจจุบัน คํานวณวาไมต่ํากวา 55,000.00 บาท
พระธรรมปฎก (ป. อ. ปยุตฺโต) 135

ก็อางไปไดทั่ว หรือเจอการอางที่มาของพระไตรปฎกไมวาฉบับไหน
จะเปนอักษรโรมันของอังกฤษ หรือฉบับฉัฏฐสังคีติของพมา หรือ
ฉบับสิงหลของลังกา หรือฉบับเทวนาครีของอินเดีย ก็สามารถมา
คนหาในฉบับคอมพิวเตอรของไทยนี้ไดหมดในที่เดียว โดยเฉพาะ
การที่ไมตองใชฉบับอักษรโรมันนั้นชวยทุนกําลังเงินไดมาก เพราะวา
ฉบับอักษรโรมันนั้นราคาแพงเปนพิเศษ
ที่พูดมาใหรูวาเขามีความบกพรองผิดพลาดมากมายอยางนี้
มิใชเปนเรื่องที่จะไปเยยหยันพระไตรปฎกบาลีฉบับอักษรโรมันของ
Pali Text Society แตตรงขามเราควรจะยกยองและสงเสริมเขา
ดวยซ้ําไป เพราะวา ทั้งที่เขามีกําลังคนนอย และมีกําลังทรัพยนอย
ก็ยังมีความเพียรพยายามและตั้งใจจริงอยางนี้1 นับวานาสรรเสริญ
พวกเราเสียอีก ทั้งๆ ที่มีกําลังพุทธศาสนิกชนมาก มีกําลังเงินทอง
ในทางพระศาสนามาก แตไมคอยนํามาใชในดานที่เ ปนงานหลัก
สําคัญของพระศาสนาอยางคัมภีรนี้ จนกระทั่งตองมีเอกชนทําขึ้นมา
ในหมูพวกเรานี้ ใครมีกําลังทรัพยมาก จะไปชวยสนับสนุนเขา
ก็สมควร แตการที่จะไปใหกําลังทรัพยสนับสนุนนั้น ก็ตองเขาใจวา
ไมใชใหเพราะความนับถือ แตใหเพื่อชวยเหลือสงเสริม คือเกื้อกูลกัน

1
ในหลวงรัชกาลที่ 5 นอกจากพระราชทานพระไตรปฎกบาลีที่พิมพเปนเลมครัง้ แรกใน
ประเทศไทย ชุด 39 เลม (พ.ศ. 2431) ใหเขาแลว ยังทรงบริจาคพระราชทรัพย
อุปถัมภการพิมพหนังสือของ Pali Text Society ดวย อยางเทาที่ทราบ เมื่อเขาจะ
พิมพ Pali-English Dictionary ครั้งแรก ใน ค.ศ. 1921 (พ.ศ. 2464; พระราชทาน
ไปกอนสวรรคตใน พ.ศ. 2453) ก็ไดพระราชทานไป 500 ปอนด
136 กรณีธรรมกาย

หันจากพระไตรปฎกแปลของ Pali Text Society


ชาวตะวันตกที่ศึกษาพุทธศาสนา เหออกมาสูทางเลือก
อื่น
สว นพระไตรปฎ กฉบับ แปลเปน ภาษาอัง กฤษนั้น ก็อ ยา งที่
พูดแลววานาสรรเสริญความเพียรพยายามและความตั้งใจจริงของ
เขา นอกจากนั้น ยังนาชื่นชมระเบียบวิธีในการทํางานของเขา ซึ่ง
สืบเนื่องมาจากวัฒนธรรมทางวิชาการของตะวันตก อันทําใหผล
งานของเขามีลัก ษณะเปนวิชาการมาก และอํา นวยประโยชนแก
การศึก ษาคน ควาไมนอ ย เชน ประมวลความรูค วามคิด เกี่ย วกับ
คัมภีรเลมนั้นๆไว เปนบทนําอยางยืดยาวยิ่ง มีเชิงอรรถชวยขยาย
ความรูและชอ งทางการคน ควา ตอไป และมีร ะบบการอา งอิง ที่ดี
รวมทั้งศัพทสงเคราะห และดัชนีตางๆ
อยา งไรก็ต าม ความเปน นัก ภาษาบาลีและวัฒ นธรรมทาง
วิชาการเทานั้นยังไมพอ การที่จะแปลคัมภีรพุทธศาสนาใหถูกตอง
แมน ยํ า นั ้น ตอ งมีค วามเขา ใจหลัก ธรรม คือ เขา ใจตัว พระพุท ธ-
ศาสนาดวย ยิ่งลึกซึ้งเทาไรก็ยิ่งดี แตก็นาเห็นใจผูแปล ที่เขาทําไป
ตามกําลังสุดความสามารถ และเมื่อคนรุนหลังเรียนรูเขาใจมากขึ้น
ก็ มี ก ารแก ไ ขปรั บ ปรุ ง เรื่ อ ยมา คั ม ภี ร พ ระไตรป ฎ กฉบั บ แปลเป น
ภาษาอังกฤษของ Pali Text Society จึงไดมีการเปลี่ยนแปลงตอๆ
มา
ยกตัว อยา งคัม ภีร ม ัช ฌิม นิก ายที ่พ ูด ไปแลว เมื ่อ แปลเปน
ภาษาอังกฤษ ระยะแรกเปนฉบับที่ Lord Chalmers แปล ตอมาก็รู
กันว ามี ความผิ ด พลาดบกพรองมาก จึง แปลใหมโ ดยคนใหม คื อ
พระธรรมปฎก (ป. อ. ปยุตฺโต) 137

Miss I. B. Horner ที่กลาวถึงแลว


อยางไรก็ดี ในแงของคัมภีรแปล ตลอดจนหนังสือตํารับตํารา
ตางๆ ทางพระพุทธศาสนานี้ ระยะหลังๆเมื่อมีชาวตะวันตกมาบวช
เปนพระภิกษุในพุทธศาสนา เชนมาบวชอยูลังกา ไดเ รียนรูลึกซึ้ง
มากขึ้น คนก็หัน มายอมรับ นับ ถือ และถือตามหนัง สือตํา รับ ตํา รา
และแมแ ตห นัง สือ แปลพระไตรปฎ กและอรรถกถาของพระภิก ษุ
ชาวตะวันตกที่มาบวชเปนภิกษุในพุทธศาสนาแลวนี้มากกวา
พวกนักปราชญชาวตะวันตก เชนที่ Pali Text Society นั้น
แม จ ะมาสนใจในทางพุ ท ธศาสนา แต ห ลายท า นก็ ส นใจแบบ
นักวิชาการ โดยที่พื้นฐานเปนชาวคริสตมาแตเดิม จึงมีแนวคิด
ติดมาในแบบที่ยึดถือในอัตตา (Soul)
บางทานแมมาเปนนักปราชญภาษาบาลี ก็ยังนับถือศาสนา
คริสตอยู เพราะความที่ไ มคุนกับบรรยากาศคําสอนในพระพุทธ-
ศาสนามาแตเ ดิม ทําใหไ มสามารถเขาใจซึ้งถึงหลักธรรมคําสอน
ของพระพุทธศาสนาได
เพราะฉะนั้น คนทั้ง หลายทั ่ว ไปที่ศ ึก ษาเนื ้อ หาธรรมของ
พระพุทธศาสนา จึงหันไปใหความสนใจ คอยฟงคอยอานหนังสือ
ของพระฝรั่ง บา ง พระลัง กาบา ง ที่รูพุท ธศาสนา ยกตัว อยา งเชน
พระNyanatiloka ชาวเยอรมัน ที่ไปบวชอยูในลังกาจนกระทั่ง
มรณภาพในลังกานั้น และมีลูกศิษยซึ่งเปนชาวเยอรมันเชนเดียวกัน
ชื่อพระNyanaponika ซึ่งก็มรณภาพไปแลว ตอมาก็มีรูปอื่นๆ เชน
พระ Ñæ¼amoli ซึ่งเปนชาวอังกฤษ
Pali Text Society เอง ตอนหลังๆ นี้ เมื่อพิมพงานแปลคัมภีร
138 กรณีธรรมกาย

ภาษาบาลีเปนภาษาอังกฤษ แทนที่จะใชฝมือของพวกนักปราชญ
ตะวันตกที่อยูในเมืองฝรั่งอยางเดิม ก็หันมาพิมพคัมภีรที่พระฝรั่ง
แปลมากขึ้น อยางงานของพระ Ñæ¼amoli ภิกษุชาวอังกฤษที่บวช
อยูในลังกา ก็ไดรับการตีพิมพมาก
ยิ่ง ระยะหลัง ๆ นี้ ก็มีค วามโนม เอีย งที่วา ชาวตะวัน ตกและ
ฝรั่งที่ศึกษาพระพุท ธศาสนาจะหัน ไปใชพ ระไตรปฎ กฉบับ แปลที่
สํานักพิมพอื่นพิมพ แทนที่จะใชฉบับแปลของ Pali Text Society
อยางเชนเวลานี้ มัชฌิมนิกาย ที่พูดถึงเมื่อกี้ ก็มีฉบับของ Wisdom
Publications ซึ่งพิมพฉบับแปลของพระฝรั่งที่มาบวชอยูในลังกา
คือ Bhikkhu Ñæ¼amoli (ชาวอังกฤษ บวชป 1949 = พ.ศ. 2492
มรณภาพป 1960 = พ.ศ. 2503) และ Bhikkhu Bodhi (ชาวอเมริกัน
บวชป 1972 = พ.ศ. 2515) เปนตน แสดงถึงการที่วาวงการศึกษา
พุทธศาสนายุคหลัง ๆ นี้ ไมคอยเชื่อถือคําแปลคัมภีรของ Pali Text
Society
ยิ่งกวานั้น นักศึกษาพระพุทธศาสนา ที่เปนฝรั่งมาบวชเรียน
เหลานี้แหละ ไดพยายามทําผลงานแปลใหมกันขึ้นเอง เชนอยา ง
พระชาวอเมริกัน ชื่อ Bhikkhu Bodhi นั้น ที่มาบวชอยูในลังกา
แลวมาดําเนินการจัดพิมพหนังสือทางพระพุทธศาสนา จนกระทั่ง
เ ว ล า นี ้ไ ดเ ปน ป ร ะ ธ า น แล ะ บ ร ร ณ า ธิก า ร ข อ ง Buddhist
Publication Society ในศรีลังกา
เพราะฉะนั้น หนังสือที่เปนหลักจริงๆ ของ Pali Text Society
ก็คือ คัมภีรพ ระไตรปฎ กบาลีแ ละอรรถกถาภาษาบาลี ที่ใชอัก ษร
โรมัน ซึ่ง วงการศึก ษาภาษาบาลียัง ใชกัน อยูดว ยเหตุผ ลเพีย งวา
พระธรรมปฎก (ป. อ. ปยุตฺโต) 139

เพราะพวกนักศึกษาทั้งหลายโดยทั่วไปตองอาศัยอักษรฝรั่งเปนสื่อ
ในการที่จะติดตอระหวางกัน

เรื่องเบ็ดเตล็ดที่ ๒ ทัศนะของนักวิชาการตะวันตก
เกี่ยวกับเรื่องอัตตา และเรื่องนิพพาน เปนอัตตา หรือเปน
อนัตตา

นักปราชญชาวตะวันตกก็นายกยองอยู
แตตองรูจักเขาใหพอดีกับที่เขาเปนจริง
เอกสารของวัดพระธรรมกาย กลาวอางวา
“ปราชญใหญทางพระพุทธศาสนาในดินแดนตะวันตกที่
มีชื่อเสียงกองโลกจํานวนมาก ก็มีความเห็นวามีอัตตาที่แทจริง
อยูในคําสอนทางพระพุทธศาสนา เชน Mrs. Rhys Davids
นายกสมาคมบาลีปกรณ แหงประเทศอังกฤษ ป พ.ศ. 2465-
2485 . . . Miss I. B. Horner นายกสมาคมบาลีปกรณแหง
ประเทศอังกฤษ ป พ.ศ. 2502-2524 . . . Christmas Humphreys
. . . และอีกหลายๆ ทาน”
ขอความขางบนนี้ ใหขอมูลความจริงไมเพียงพอ และทําให
เกิดภาพความเขาใจนักปราชญตะวันตกไมถูกตอง
เรื่องของนั ก ปราชญ และนั กวิช าการฝายตะวัน ตกนี้ ถ า จะ
เขียนสั้น ๆ ใหเขาใจเขาถูกตอง อาจเลาวิวัฒนาการทางความรู
ความคิดของเขาเกี่ยวกับพระพุทธศาสนา โดยแบงเปน 3 ระยะ
140 กรณีธรรมกาย

(เปนการแบงอยางคราวๆ พอใหเขาใจไดงายเทานั้น) คือ


ระยะที่ 1 ปราชญตะวันตกยังติดความคิดเกาๆ
ปราชญในดินแดนตะวันตก แมจะรูภาษาบาลี และคนควา
เรื่องราวทางพระพุทธศาสนาไมนอย แตยังสับสน จับหลักการของ
พระพุทธศาสนายังไมได มักมองพระพุทธศาสนา โดยเฉพาะ
หลั ก ธรรมต า งๆ ภายใต อิ ท ธิ พ ลความคิ ด ของตะวั น ตกเอง หรื อ
อิ ท ธิ พ ลของศาสนาฮิ น ดู ตลอดจนแนวคิ ด ของพระพุ ท ธศาสนา
มหายาน บางก็เขาใจวา พระพุทธศาสนาสอนวามีอัตตาหรืออาตมัน
ที่แทจริงอยูในขั้นสุดทาย บางก็เขาใจวา นิพพานเปนการดับอัตตา
บางก็จะเขาใจไปทํานองวา นิพพานดับอัตตาสามัญแลวจะมีอัตตาที่
แทเหนือนั้นขึ้นไป
ระยะที่ 2 ฝรั่งมาบวชพระไดทัศนะที่ถูกตอง
ในขณะที่ป ราชญท างพระพุท ธศาสนาในดิน แดนตะวัน ตก
ยัง คงสับ สน จับ หลัก การของพระพุท ธศาสนายัง ไมไ ดนั ้น ไดมี
ชาวตะวัน ตกมาบวชเปน พระภิก ษุอ ยู ใ นประเทศพุท ธศาสนา
โดยเฉพาะศรีล ัง กา และเมื ่อ ไดศ ึก ษาถึง ตน แหลง แทจ ริง แลว ก็
เขาใจหลักธรรมไดถูกตอง เชน จับไดชัดวา พระพุทธศาสนาสอนวา
ไมมีอัตตาอยจริงโดยปรมัตถ และไดเขียนหนังสือเผยแพรพระพุทธ-
ศาสนาตามหลักการนี้มากขึ้นตามลําดับ ในระยะที่ 2 นี้ แมวาคน
ในตะวัน ตกจะยัง ตอ งอาศัย คัม ภีร พ ระพุท ธศาสนาภาษาบาลี
อักษรโรมันที่พิมพในตะวันตก แตในดานหลักธรรม ชาวตะวันตก
ไดห ัน มาฟง และอา นหนัง สือ ของชาวตะวัน ตกที ่ม าบวชเปน
พระภิกษุในประเทศพุทธศาสนาเองเหลานี้มากขึ้น
พระธรรมปฎก (ป. อ. ปยุตฺโต) 141

ระยะที่ 3 ปราชญรุนใหมในเมืองฝรั่งหันมาสูทางที่หายสับสน
นักปราชญภาษาบาลีและพุทธศาสนาในดินแดนตะวันตกเอง
ไดเรียนรูและเขาใจหลักการของพระพุทธศาสนา อยางชัดเจนถูกตอง
มากขึ้น และความสนใจในพระพุทธศาสนาเถรวาท ก็เริ่มแพรขยาย
มากขึ ้น โดยทั ่ว ไป ปรากฏวา นัก ปราชญร น ใหมใ นตะวัน ตกนั ้น
กลับ ไปโตแ ยง คัด คา นปราชญรุน เกา ในประเทศของตน และเริ่ม
เผยแพรพ ระพุ ท ธศาสนาที่ ถู ก ต อ ง เช น เขี ย นบอกชั ด ลงไปว า
พระพุ ทธศาสนาสอนวา อัต ตามีอ ยู เ พีย งโดยสมมติ ไมม ีจ ริง โดย
ปรมัตถ
ขอเลาประดับความรูความเขาใจ พอเปนสังเขปดังนี้

ปราชญพุทธศาสนาตะวันตกรุนเกา ยังเขาใจสับสน
ระหวางพุทธธรรม กับความคิดเดิมในวัฒนธรรมของตน
ระยะที่ 1 เรื่องนี้ก็สืบเนื่องจากที่พูดขางตน ดังไดกลาวแลววา
คนที่เรียกกันวานักปราชญทางพุทธศาสนาในดินแดนตะวันตกนั้น
บางก็เปนเพียงนักวิชาการชึ่งยังเปนชาวคริสตอยู บางคนถึงแมมา
เป น ชาวพุ ทธแล วก็ มี พื้ นฐานความคิ ดเดิ มติ ดมาจากศาสนาคริ สต
นอกจากนั้นในยุคแรกนี้ฝรั่งมาเอเชียในกระแสของลัทธิอาณานิคม
โดยเฉพาะอังกฤษมาพบอารยธรรมเกาแกที่อินเดีย ก็รูจักและคุนกับ
แนวคิ ด ของศาสนาฮิ น ดู ที่ ยึ ด มั่ น ในลั ท ธิ อ าตมั น พร อ มกั น นั้ น
พระพุทธศาสนาที่ฝรั่งรูจักในยุคแรกนั้นก็เปนฝายมหายานซึ่งเขาไป
ในตะวันตกกอน
ฉะนั ้น ฝรั ่ง ที ่ศ ึก ษาพุท ธศาสนายุค แรกๆ ซึ ่ง ยัง ไมคุ น กับ
142 กรณีธรรมกาย

บรรยากาศทางความคิดแบบใหม จึงยังมีอิทธิพลความคิดแบบกรีก
และศาสนาคริสตเดิมชักพามาก และมักตีค วามพระพุทธศาสนา
ตามแนวคิดฮินดู หรือไมก็แบบมหายาน
ทั้งนี้จะเห็นวา ไมวาจะเปน Max Muller ปราชญใหญทาง
ภาษาสันสกฤตก็ตาม หรือทางดานภาษาบาลี จะเปน Rhys Davids
ทั้งสามีและภรรยา กับทั้ง Miss I. B. Horner ซึ่งลวนแตไดเปน
นายกสมาคมบาลีป กรณ สืบ ตอ กัน มาก็ต าม ตลอดจนนัก ศึก ษา
หรือจะเรียกวานักปราชญพุทธศาสนาของตะวันตกหลายคน มักมี
ความคิดที่จะมองหรือจะหาทางใหพระพุทธศาสนาสอนเรื่องอัตตา
หรือยอมรับวามีอัตตาใหได
ยกตัวอยาง Miss I. B. Horner นั้น ก็อยางที่กลาวแลววาเปน
ปราชญท างภาษาบาลี แตพื้น ฐานเดิม เปน ฝรั่ง ในประเทศคริส ต
ศาสนา มีความเขาใจเกี่ยวกับเรื่องตัวตนเปนฐานความคิดที่ยึด
มั่น อย นอกจากแปลคัม ภีร ภ าษาบาลีเ ปน ภาษาอัง กฤษแลว
ครั้งหนึ่งก็เคยไปทําหนังสือรวมกับ Coomaraswamy (เพียงแคชื่อ
ก็ฉายความเปนฮินดูออกมาแลว) ใหชื่อวา The Living Thought
of Gotama the Buddha
ในตอนที่วาดวย Self (อัตตา/ตน) พุทธพจนแรกที่สองทานนี้
ยกมา ก็คือคาถาธรรมบทวา
“อตฺตา หิ อตฺตโน นาโถ”
พุทธภาษิตนี้ ชาวพุทธไทย แมแตชาวบานที่แทบจะไมไดศึกษา
อะไรเลย แตเพราะความที่คุนกับบรรยากาศในพระพุทธศาสนา และ
เปนพุทธภาษิตที่คุนหู ก็จึงแปลกันไดวา “ตนเปนที่พึ่งของตน” และ
พระธรรมปฎก (ป. อ. ปยุตฺโต) 143

เขาใจความหมายกันดีพอสมควร
แต I. B. Horner และ Coomaraswamy พอเห็นวามีคํา “อตฺตา/
ตน” อยดวยกัน 2 ครั้งในพุทธภาษิตนี้ แทนที่จะเขาใจอยางที่ชาวพุทธ
รูกัน ก็ไปนึกถึง อัตตา 2 อยาง แลวก็คงจะแปลความหมายไปตาม
แนวคิดคําสอนของฮินดู หรือเอาพระพุทธศาสนาไปโยงกับศาสนา
ฮินดู ซึ่งถือวามีอัตตา หรืออาตมัน 2 อยาง ไดแก อาตมันใหญ
เรียกวา ปรมาตมัน กับอาตมันเฉพาะบุคคล เรียกวา ชีวาตมัน
ปรากฏวา I. B. Horner กับ Coomaraswamy แปลพุทธภาษิต
ในคาถาธัมมบท ที่ 160 อตฺตา หิ อตฺตโน นาโถ . . . นี้ วา
“The Self is lord of the self . . .”1
พึงสังเกตวา Self แรกใช S ใหญ สวน self หลังใช s เล็ก
ทํานองวา อัตตาใหญ เปนนาถะของอัตตาเล็ก
ทั้งสองทานไดเจอพุทธภาษิตอีกบทหนึ่งวา
“อตฺตนา ว กตํ ปาป อตฺตนา สงฺกิลิสฺสติ
อตฺตนา อกตํ ปาป อตฺตนา ว วิสุชฺฌติ”
(ขุ.ธ.25/22/37)
ซึ่งชาวพุทธทั่วไปก็เขาใจกันไมยาก ตามคําแปลวา
“ตัวทําชั่ว ตัวก็เศราหมองเอง
ตัวไมทําชั่ว ตัวก็หมดจดเอง”
พอเจออยางนี้ ผูถือลัทธิอัตตา/อาตมัน ก็คงงงไปพักหนึ่งวา

1
Ananda K. Coomaraswamy and I. B. Horner, The Living Thought of Gotama
the Buddha (London: Cassell & Co., Ltd., 1948), p.174.
144 กรณีธรรมกาย

อัตตา/อาตมัน/ตัวตน ซึ่งเปนสิ่งเที่ยงแทถาวร จะมาทําความชั่วได


อยางไร ในที่สุดก็เลยเอาอัตตา/ตน ในกรณีนี้ไปจัดเปน อัตตาเล็ก
ทั้งสองทานไดแยกหัวขอยอยในหนังสือ ตอนที่วาดวย Self นี้
ออกเปน 3 หัวขอยอย คือ
(a) The Two Selves
(b) The Great Self แลวก็
(c) The Little Self
ใน 3 หัวขอยอยนี้ ผูรวบรวมไดยกพุทธพจนอื่นๆ มาแปลไว
อีกมากมาย ตั้งแตหนา 174 ไปถึงหนา 192 ทําใหตอนที่วาดวย Self
(อัตตา/ตัวตน) ยาวรวมเกือบ 20 หนา นี่คือตัวอยางความเขาใจ
ของคนที่เรียกวาเปนปราชญตะวันตกรุนคอนขางเกา
ฝรั่งในประเทศตะวันตกเองนั้น ยอนหลังไปไมกี่ปนี้ นอยคนนัก
จะเข าใจพุ ทธศาสนาได ถู กต อง ซึ่ งก็ ต องเห็ นใจเขา เพราะอิ ทธิ พล
ความคิ ดที่ ติ ดมาจากพื้ น ฐานวั ฒ นธรรมเดิ ม มี กํ า ลั งชั กนํ าให มอง
ผิดเพี้ยนหรือเอียงไป เอกสารของวัดพระธรรมกาย จึงไมสมควรจะไป
ยกย องนั บ ถื อเขามากนั ก ถึ ง กั บ ให เ ป น “ปราชญ ใ หญ ท าง
พระพุทธศาสนา . . . ที่มีชื่อเสียงกองโลก” ควรจะดูเพียงวา คนใด
เขาใจดีขึ้นมา ก็อนุโมทนาเขาไป
นอกจากพวกที่เขาใจวา พระพุทธศาสนาสอนวามีอัตตาใน
ขั้นสุดทายที่นอกเหนือจากขันธ 5 แลว บางพวกก็เขาใจผิดไปอีก
แบบหนึ่งวา พระพุทธศาสนาสอนวานิพพานเปนการดับอัตตา
แมแตหนังสืออางอิงใหญๆ อยาง Encyclopaedia Britannica ก็
ยังติดความเขาใจผิดๆ มาเขียนกันจนบัดนี้ เชน พูดถึงนิพพานเปนการ
พระธรรมปฎก (ป. อ. ปยุตฺโต) 145

ดับอัตตา (ที่จริงตามหลักพระพุทธศาสนา ไมมีอัตตาที่จะตองดับ) แหง


หนึ่งวา
“The approaches to the divine or sacred are various rather
than uniform . . . , it moves toward the ultimate goal: the
annihilation of the self, . . . , Nirvæ¼æ (the state of bliss) in
Buddhism, . . .”1
“วิธีเขาถึงทิพยภาวะหรือภาวะศักดิส์ ิทธิ์นั้น แตกตางกัน
หลากหลาย มากกวาจะเปนรูปแบบเดียว . . . เปนการกาว สู
จุดหมายสูงสุด คือการดับสลายอัตตา, . . . ,ไดแกนิรวาณ
(นิพพาน—ภาวะบรมสุข) ในพุทธศาสนา, . . . ,"

รูถึงตามทันวาคนนอกเขาคิดเขาใจไปแคไหน
แตไมใชรอใหเขามาวินิจฉัยหลักการของเรา
อยา งไรก็ต าม เวลานี ้ค วามคิ ด หรือ ทัศ นะเหล า นั ้ น ได
เปลี่ยนแปลงไปมากแลว ความจริงทัศนะเหลานี้ไมมีความสําคัญที่
จะตองยกมาอาง เพราะไดพูดไปแลววาเรากําลังพูดถึงหลักฐานที่มา
วาพระพุทธศาสนาเอง หรือพระพุทธศาสนาในพระไตรปฎกบาลีเถร
วาทเองนี้ แสดงหลักการของตนไวอยางไร ไมใชมาเที่ยวรอทัศนะ
ของผู อื ่น ที ่จ ะมาวิน ิจ ฉัย ใหต ัว เรา ซึ ่ง เปน การไมถ ูก ตอ ง และที่
เอกสารของวัดพระธรรมกาย กลาววา

1
Encyclopaedia Britannica (Chicago, 1988), s.v. “Religious Experience,” vol.26,
p.633.
แมจนถึงปจจุบนั ค.ศ. 1999 หัวขอนี้กย็ ังคงอยูอยางนี)้
146 กรณีธรรมกาย

“เกิดมีการอางอิงหลักฐานในคัมภีร ทั้งบาลี สันสกฤต


จีน ทิเบต และภาษาอื่นๆ มากมายอันนํามาสูขอสรุปความเห็น
นี้ แต ก็ มี นั กวิ ชาการที่ ไม เห็ นด วย ยื นยั นว าไม มี อั ตตาใน
พระพุทธศาสนาเชนกัน ตางฝายตางก็มีเหตุผลของตน”
ความจริ ง เรื่ อ งนี้ ง า ยๆ ชั ด เจน ไม สั บ สน เพราะนั ก ปราชญ
ปจจุบันเขารูกันแลววา ตองแยกแยะออกไปวาหลักการในเรื่องนี้ของ
พุทธศาสนาแบบเถรวาทเปนอยางไร แบบมหายานเปนอยางไร และใน
มหายานดวยกันนั้น นิกายไหนวาอยางไร ไมเอามาสับสนปะปนกัน
การพูดอยางนี้ ถาเปลี่ยนเอาอีกเรื่องหนึ่งเขาไปแทนก็เหมือนกับพูด
วา
“ปญหาเรื่องภิกษุควรมีครอบครัวหรือไม ก็มีการอางอิง
หลักฐานทั้งคัมภีรบาลี สันสกฤต จีน ทิเบต และในภาษาอื่นๆ
มากมาย อันนํามาสูการสรุปความเห็นของตน ตางฝายตาง
ยื นยั นทั ศนะของตน ฝ ายหนึ่ งก็ ว าภิ กษุ ควรมี ภรรยา มี
ครอบครัว อีกฝายหนึ่งก็วาไมควรมี ตางฝายตางก็มีเหตุผล
ของตน”
อยางนี้ใครๆ ก็อางได แตไมมีประโยชน

พอชาวตะวันตกมาบวชเปนพระฝรั่ง
ความรูพุทธธรรมก็เริ่มเขาสูทางที่ถูกตอง
ระยะที่ 2 ไดกลาวแลววา I. B. Horner เขาใจเรื่องอัตตาตาม
แนวคิดแบบอาตมันคลายๆ ศาสนาพราหมณ แตตอมาชาวตะวันตก
ที่เขามาบวชในพระพุทธศาสนา ก็ดี พระภิกษุในพระพุทธศาสนา
พระธรรมปฎก (ป. อ. ปยุตฺโต) 147

เถรวาทชาวประเทศนั้น ๆ เอง ก็ดี ไดแปลพุทธพจนเกี่ยวกับอัตตานี้


กันใหม อยางพุทธภาษิตวา อตฺตา หิ อตฺตโน นาโถ ก็จะแปลกัน
ทํานองนี้วา
“Oneself is one’s own protector (refuge); . . .”1
ตรงกับที่ชาวพุทธไทยทั่วไป แมแตชาวบานเขาใจกันดีอยูแลว
ที่จริงเรื่องนี้พระภิกษุชาวตะวันตกที่มาบวชในประเทศพุทธ-
ศาสนาเถรวาทนั้น มีความเห็นลงกัน ไมไดมีปญหามานานแลว มี
แตฝรั่งนักวิชาการชาวตะวันตกที่อยในเมืองของตนนั้น ที่วนวายเรื่อง
วา อัต ตาเปน อยา งไร พุท ธศาสนามีส อนเรื ่อ งอัต ตาหรือ เปลา
จนกระทั่งมาจบที่ Professer Richard Gombrich ที่จะกลาวถึง
ขางหนา จึงมาเขาสหลักพุทธศาสนาแบบเถรวาทจริง
เรื่องนิพพานเปนอัตตา หรือเปนอนัตตานี้ ชาวตะวันตกที่มาบวช
เปนพระภิกษุในพุทธศาสนาเถรวาทอยางในลังกา เชน พระ Nyanatiloka
(ชาวเยอรมัน) ทานไมสับสนไปดวย ดังตัวอยางที่ทานไดเขียนไวนาน
แลว เชนในหนังสือ Buddhist Dictionary ในคํา “Nibbæna” วา
“. . . the Buddha is known as the Anattæ-vædi . . . the
truth of Anattæ (q.v.), the egolessness and insubstantiality
of all forms of existence. Without such an understanding,
one will necessarily misconceive Nibbæna—according to
one’s either materialistic or metaphysical leanings—either
as annihilation of an ego, or as an eteral state of existence
into which an Ego or Self enters or with which it merges.”1

1
เชน Walpola Rahula, What the Buddha Taught (New York: Grove Press, 1974),
p.130.
1
Nyanatiloka, Buddhist Dictionary (Colombo: Frewin & Co., Ltd,1972), p.106.
148 กรณีธรรมกาย

พระพุทธเจาทรงมีพระนามวาเปนอนัตตวาที...หลัก
ความจริงแหงอนัตตา คือภาวะไรตัวตน และความไมมีตัวแท
แหงสภาวธรรมทั้งปวง หากไมมีความรูเขาใจเชนนัน้ คนก็
จะตองเขาใจนิพพานผิดพลาดไปตามความโนมเอียงของ
ตนที่เปนขางวัตถุนิยม หรือไมก็ขางอภิปรัชญาวา (นิพพาน)
เปนการขาดสูญของอัตตา หรือไมก็เปนภาวะเที่ยงแทถาวรที่
อัตตาหรือตัวตนเขาถึงหรือกลืนรวมเขาไป”
และอีกแหงหนึ่งในหนังสือเลมเดียวกัน คือในคําวา “Anattæ”
ทานเขียนวา
“While in the case of the first two Characteristics it is
stated that “all formations” (sabbe sankhæræ) are imper-
manent and subject to suffering, the corresponding text for
the third Characteristic states that “all things are not-self”
(sabbe dhammæ anattæ; M. 35, Dhp. 279). This is for
emphasizing that the false view of an abiding self or
substance is neither appilcable to any “formation”, or
conditioned phenomenon, nor to Nibbæna, the Uncon-
ditioned Element (asankhatæ dhætu)”1
“ในกรณีของลักษณะ 2 อยางแรก ตรัสวา “สังขารทั้งหลาย
ทั้งปวง” (สพฺเพ สงฺขารา) ไมเที่ยง และเปนทุกข สวนพระบาลี
ที่เขาชุดกัน สําหรับลักษณะที่ 3 ตรัสวา “ธรรมทั้งปวงเปน
อนัตตา” (สพฺเพ ธมฺมา อนตฺตา; มัชฌิมนิกาย สูตรที่ 35 และ
ธรรมบท คาถาที่ 279) พุทธพจนนี้ชวยย้ําวา ความเห็นผิด
วามีอัตตาหรือตัวตนที่อยูยงนั้น จะใชกับสังขารหรือสิ่งที่ปจจัย

1
Ibid., p.13.
พระธรรมปฎก (ป. อ. ปยุตฺโต) 149

ปรุงแตงใดๆ ก็ตาม หรือจะใชกับนิพพาน ที่เปนอสังขตธาตุก็


ตาม ก็ไมไดทั้งนั้น”
นี้ก็เปนตัวอยางความลงกันของพระพุทธศาสนาเถรวาท ซึ่ง
ไมมีปญหา
การที่วัดพระธรรมกายมาสอนวานิพพานเปนอัตตา ดวยวิธี
ทํา หลัก คํา สอนที่มีอ ยูเ ดิม ใหค นเขา ใจสับ สนไขวเ ขวอยา งนี้ เปน
เรื่องของความวิปริตผิดพลาดที่รายแรง ซึ่งชาวพุทธจะตองรเทาทัน
แลวรีบแกไข

นาอนุโมทนาที่แมจะชาสักหนอย
แตในที่สุดปราชญตะวันตกก็ตามจับหลักพุทธได
ระยะที่ 3 เอกสารของวัดพระธรรมกาย นั้น ตองขออภัยที่
จะกลา วดว ยคํา ที่อ าจจะรูสึก วา รุน แรงสัก หนอ ยวา มิใ ชเ ปน การ
กลาวตูเฉพาะพระธรรมวินัยเทานั้น แตยังไดกลาวตูนักปราชญและ
นักวิชาการทางพระพุทธศาสนาชาวตะวันตกดวย ขอเลาถึงความ
เขาใจของปราชญชาวตะวันตกตอไปวา
เมื่อการศึกษาพุทธศาสนาของชาวตะวันตกเดินหนาตอมา
ผานพนยุคของ Mrs. Rhys Davids, Miss I. B. Horner, Christmas
Humphreys, Edward Conze เปนตนมาแลว เวลานี้ก็ถึงนายก
สมาคมบาลี ป กรณ ค นป จ จุ บั น ชื่ อ ว า Professor Richard
Gombrich ซึ่งถามองในแงลําดับกาลเวลา ตองถือวาเปนปราชญ
ภาษาบาลีและพุทธศาสนาของตะวันตกรุนลาสุด
ปรากฏวา Richard Gombrich คัดคานทัศนะของปราชญ
150 กรณีธรรมกาย

ตะวันตกรุนกอนตน เชนคัดคาน Mrs. Rhys Davids ที่เคยเปน


นายกสมาคมบาลีปกรณมากอนอยางเรียกวาเต็มที่ โดยเฉพาะใน
เรื่องนิพพานกับอัตตา วาพระพุทธศาสนาถือวา อัตตามีจริงหรือไมนี้
เราอาจจะถือ Richard Gombrich เปนเหมือนผลสะสมแหงปญญา
ของนักวิชาการตะวันตกผูศึกษาพระพุทธศาสนา ที่ไดเดินทางมาถึง
จุดที่เปนมติใหมของนายกสมาคมบาลีปกรณปจจุบัน
ทัศนะของ Richard Gombrich ทําใหขอสรุปแหงเอกสารของ
วัดพระธรรมกาย ที่พูดไว ๒ ขอนั้น หมดความหมายไปทันที
Richard Gombrich ไดเขียนหนังสือขึ้นเลมหนึ่งชื่อวา
Theravada Buddhism พิมพครั้งแรกเมื่อป 1988 แตเดี๋ยวนี้พิมพ
หลายครั้งแลว เขาเขียนไวในหนังสือเลมที่กลาวนั้น หนา 21 วา
“Many scholars of Buddhism, both Western and Hindu,
have tried to prove that the Buddha himself did not preach
the doctrine of no-soul as it has been understood in the
Theravadin tradition . . . This amounts to a claim that this
great religious teacher has been completely misunderstood
by his followers . . .”1
“นักปราชญพุทธศาสนาจํานวนมาก ทั้งชาวตะวันตก
และที่เปนชาวฮินดู ไดพยายามที่จะพิสูจนวา พระพุทธเจาเอง
ไมไดทรงสอนหลักอนัตตา อยางที่เขาใจกันในสายความคิด
ของเถรวาท การกระทําอยางนี้เทากับเปนการตูวาเหลาสาวก
ของพระพุทธเจาเอง ไดเขาใจองคพระศาสดาของตนผิดพลาด
ไปอยางสิ้นเชิง . . .”

1
Richard F. Gombrich, Theravada Buddhism (London: Routledge & Kegan Paul
Ltd., 1994), p. 21.
พระธรรมปฎก (ป. อ. ปยุตฺโต) 151

เรื่องนี้จะตองทําความเขาใจกอนวา พวกฝรั่งรุนกอนที่ถือวา
เปนนักปราชญทางพุทธศาสนานั้น มีความเขาใจผิดเกี่ยวกับเรื่อง
นิพพานกับอัตตา แบบตางๆ แบบหนึ่งเขาใจวามีอัตตาหรือตัวบุคคล
ที่เขานิพพาน บางก็เห็นวานิพพานเปนอัตตา บางก็คิดวานิพพาน
เปนการดับอัตตา แต Richard Gombrich สรุปตางออกไป โดยคาน
พวกนักปราชญตะวันตกรุนกอนตน หรือรุนพี่ที่แลวมาทั้งหมด
ทัศนะของ Gombrich มาตรงตามหลักการของเถรวาทอยาง
แทจริง คืออัตตานั้นโดยปรมัตถไมมีอยูเลย มีแตโดยสมมติอยางเดียว
เทานั้น เมื่ออัตตามีอยูโดยสมมติ คือไมมีของจริงอยูแลว ก็ไมตอง
ไปดับอัตตาอะไรอีก เรียกวาไมมีอัตตาที่จะตองดับ หมายความวา
ดับแตความหลงผิดและความยึดมั่นในอัตตาเทานั้น เมื่อดับความหลง
ผิดและความยึดมั่นในอัตตาแลว ก็ไมมีอะไรเปนอัตตาที่จะตองพูด
ถึงอีก ดังที่ตอมาหนา 63 เขาเขียนอีกวา
“Endless misunderstanding has been caused by
Western writers, who have assumed that Nibbana is the
blowing out of the personal soul . . . there is no soul or self as
a separate entity, for such terms as soul, self, individual etc.,
are mere conventional terms . . . there can be no question of
getting rid of a soul because one has never had one . . .”1
“ไดมคี วามเขาใจผิดกันอยางไมรูจักจบสิ้น ซึง่ เกิดขึ้นจาก
นักเขียนชาวตะวันตก ผูไดยึดถือวานิพพานคือการดับอัตตา

1
Ibid., p. 63.
152 กรณีธรรมกาย

ของบุคคล2 . . . ไมมีอตั ตาหรือตัวตน ที่เปนสิ่งมีอยจ ริง


ตางหาก เพราะคําทั้งหลายทั้งปวงเชน อัตตา ตัวตน บุคคล
เปนตน เปนเพียงคําสมมติบัญญัติเทานั้น . . . ไมตองพูดถึง
การที่จะกําจัดอัตตา เพราะวา ใครๆ ก็ไมไดเคยมีอัตตากันมา
เลย”
ถามอง Richard Gombrich วาเปนผลรวมแหงความเพียร
พยายามศึก ษาและสติป ญ ญาของนัก ปราชญพ ุท ธศาสนา
ชาวตะวันตก ก็จะเห็นไดวาความเพียรพยายามศึกษาทั้งหมดนั้น
เพิ่งมาบรรลุผลที่นี่ คือมาจบที่การยอมรับหรือรจักคําสอนของพระ
พุทธ-ศาสนาที่แทจริงวา ไมยอมรับอัตตา หรือปฏิเสธลัทธิอัตตา และ
เกิดความเขาใจถูกตองขึ้นมาวา ในหลักการของพระพุทธศาสนาเถร
วาท อัต ตาเปน เพีย งคํ า สมมติท างภาษา เพื ่อ สื ่อ สารกัน ใน
ชีวิตประจําวัน แตไมมีอยจริงโดยปรมัตถ ไมวาในรูปใดๆ ไมมีอัตตา
แม แ ต ที่ จ ะต อ งไปดั บ เป น การระงั บ คํ า สรุ ป ในเอกสารของวั ด
พระธรรมกาย 2 ขอ ที่บอกวา
“ปราชญทางพุทธศาสนาที่มีผลงานมากมายเปนที่ร
จักกันทั่วโลกเหลานี้ มีความเห็นที่ตรงกันในเรื่องอัตตา นี้
2 ประเด็นใหญๆ คือ
ก.พระสัมมาสัมพุทธเจาไมเคยปฏิเสธอยางชัดเจนวา

2
ในเมืองไทย บางทีเราพูดวา “ดับอัตตา” โดยถือเปนเพียงสํานวนพูดเทานั้น คําพูดนี้
มีความหมายวาดับความยึดมั่นในอัตตา ไมไดหมายความวาดับอัตตา เพราะไมมีอัตตา
ที่จะตองไปดับ มีแตความยึดมัน่ ที่เกิดจากความหลงผิดวามีอัตตาเทานั้น
พระธรรมปฎก (ป. อ. ปยุตฺโต) 153

อัตตาที่แทจริงไมมี และไมเคยตรัสปฏิเสธวาไมมีอัตตาใด
ๆ ทั้งสิ้น ในสัจจะทุกระดับ
ข.เขาเหลานี้เชื่อตรงกันวา ในคําสอนของพุทธศาสนา
ยุคดั้งเดิมบงบอกนัยวา มีอัตตาที่แทจริง ซึ่งอยในภาวะที่
สูงกวาขันธ 5 หรือสังขตธรรม”
ตอนนี้เมื่อมาถึง Richard Gombrich ก็เลยตองพูดใหมวา
“ปราชญทางพุทธศาสนาของตะวันตกไดมีความเห็นผิด
กันมามากและยาวนาน จนกระทั่งในที่สุดนี้ ก็ไดมีความเห็น
ถูกตองวา
ก. พระสัมมาสัมพุทธเจา ปฏิเสธอยางชัดเจน วาอัตตาที่
แทจริงไมมี พระองคปฏิเสธอัตตาในระดับปรมัตถโดย
สิ้นเชิง
ข. ปราชญตะวันตกมาถึงจุดที่ยอมรับแลววา ในคําสอนของ
พระพุทธศาสนายุคดั้งเดิม ไมถือวามีอัตตาที่จะตองพูดถึง
ใด ๆ อีก นอกจากอัตตาคือตัวตนโดยสมมติเทานั้น”
เรื่องนิพพานเปนอนัตตานี้ ประเทศพุทธศาสนาฝายเถรวาท
ทั้งหลายรวมลงเปนอันหนึ่งอันเดียวกัน ไมไดมีความขัดแยงกันเลย
ปญหาไมนาจะมีขึ้นมา สวนเรื่องของนักวิชาการตะวันตกอะไรนั้น
ก็เปนเรื่องของเขา เปนความคิดเห็นอยางที่วามาแลว ซึ่งก็มาจบที่
Richard Gombrich ที่มารจักพระพุทธศาสนาตรงกับพระสงฆฝาย
เถรวาทในที่สุด
ขอใหนึกดูวาตองใชเวลาชานานเทาไร กวาปราชญตะวันตก
จะเดินทางมาถึงจุด ที่รเ ขาใจคํ าสอนของพระพุทธศาสนาอยา งนี้
154 กรณีธรรมกาย

ขณะที่ในประเทศเถรวาทนั้น เราไดรูเขาใจกันมาเปนอยางเดียวกัน
อยางนี้นานนักหนาแลว เพราะฉะนั้นการอางนักวิชาการตะวันตก
จึงไมมีความหมายอะไร
แตแมวาปราชญชาวตะวันตกจะรูถูกตองขึ้นแลว ก็ไมใชเรื่องที่
เราจะตองไปนําเขามาอางอิง เพราะประการแรก ไดกลาวแลววา
เราไมเ อาความคิด เห็น และประการที่ส อง นัก ปราชญต ะวัน ตก
เหลานี้ก็มาศึกษาจากพระไตรปฎกเถรวาทของเรา ไมใชเขาจะเปน
ผวินิจฉัยคําสอนของพระพุทธศาสนา
เมื่อ รอ ยา งนี้แ ลว ชาวพุท ธก็ค วรจะวางทา ทีใ หถูก ตอ ง คือ
ยินดีอนุโมทนาปราชญและนักวิชาการชาวตะวันตก ที่ไดเกิดความ
เขาใจถูกตองนี้ขึ้นมาไดในที่สุด และหันมากระตุนเตือนจิตสํานึกของ
พวกเรากันนี้เองวา ควรจะหันมาชวยกันรักษาพระไตรปฎก ที่เปน
แหลงคําสอนที่แทจริงของพระพุทธศาสนาไวใหแกโลกตอไป เพื่อให
คนทั้งหลาย ดังเชนนักวิชาการตะวันตกเหลานี้ ยังมีโอกาสที่จะมา
ศึกษาและรูจักพระพุทธศาสนาที่ถูกตอง
บทสงทาย

บางท า นกล า วว า “ที่ นั่ น เขาต อ งมี อ ะไรดี ซิ จึ ง มี ค นที่ มี


การศึกษาสูงๆ ไปกันมาก” คํากลาวอยางนี้ เปนขอที่ทําใหโตเถียงกัน
เพราะบางคนก็กลับ พูดแยงในทางตรงขามวา “ที่พูดนั้นนาสงสัย
ถา วา โดยอัต ราสว นแลว คนมีก ารศึก ษาสูง ไปมากจริง หรือ เปลา
ถาวิเคราะหกันใหดีจะเปนไปในทางตรงขามหรือเปลาวา ที่นั่นคนมี
การศึกษาสูงๆ สวนมากไมไป” แลวก็เลยโตเถียงกันอยูนั่นไมจบสิ้น
ที่จริง เรื่องที่นาพิจารณาคือปญหาในวงกวาง ไมเฉพาะเรื่อง
ของวั ด พระธรรมกายเท า นั้ น แต เ ป น ป ญ หาของสั ง คมทั้ ง หมด
โดยเฉพาะสังคมไทยของเรานี้
เวลานี้ อยางที่รูกันอยู เมื่อสังคมเจริญสูงทางวัตถุ คนกลับมี
ปญ หาจิต ใจมาก ในสภาพเชนนี้ วิธีแกปญหาทางจิต ดวยวิธีการ
งายๆ ทางวัตถุ ก็มากอน เชนการใชยา การพึ่งสุรา ยาเสพติด การมั่ว
สุม หรือไมก็ทํารายตัวเอง จนถึงฆาตัวตาย
คนอีกพวกหนึ่ง ที่อาจถือวาดีขึ้นมาหนอย ก็หาวิธีแกปญหา
จิตใจนั้นดวยวิธีการทางจิต ซึ่งชวยใหรูสึกวามีความหวัง มีกําลังใจ
มีสิ่งปลอบประโลมใจ หรือกลอมใจ ตลอดจนสิ่งที่ใหความรูสึกวา
ไดที่พึ่ง ซึ่งชวยใหเกิดความมั่นใจมากขึ้น หรือดึงตัวเองหลุดหลบ
ออกไปจากปญ หาหรือ ความทุก ขไ ด แมแ ตค วามรูสึก มีกํา ลัง ใจ
156 กรณีธรรมกาย

เขม แข็ง หรือ มีอํา นาจ อยา งนอ ยก็ค รึ้ม ใจขึ้น มาจากการมีสัง กัด
รวมพวกรวมหมู บางก็ออนลาทางใจ อยากมีอะไรที่ตนไวใจวางใจ
หรือ มอบใจใหแ ลว ปลอ ยตัว ไปตาม แลว แตเ ขาจะสั่ง หรือ ทํา ไป
ตามที่เขากําหนดให สิ่งที่สนองความตองการทางจิตนี้ นอกจาก
สิ่งที่ใหความหวังแลว ก็รวมไปถึงสิ่งลึกลับ ความเชื่ออํานาจดล
บันดาลตางๆ ตลอดจนสมาธิที่ใชเพื่อมุงผลทางจิต
วิ ธี ก ารทางจิ ต เหล า นี้ ถ า ไม ร ะวั ง ให ดี จะก อ ป ญ หาได ม าก
ลักษณะทั่วไป ก็คือ เปนการพึ่งพา ไมวาจะพึ่งพาดวยการผูกใจอยูกับ
ความหวัง หรือพึ่งพาความเชื่อในสิ่งลึกลับ อํานาจดลบันดาลก็ตาม
และอยูกับความกลอมใจ หรือทําใหดื่มด่ําเขาไป แลวหลบทุกขลืม
ปญหาไปได
เรื่ อ งนี้ ส อดคล อ งกั บ สภาพของสั ง คมยุ ค นี้ หรื อ สั ง คมนี้ อี ก
อยางหนึ่ง คือการที่คนทั้งหลายมักปฏิบัติตอสถานการณตางๆ ดวย
ความรู สึ ก หรื อ อารมณ มากกว า จะใช เ หตุ ผ ลหรื อ ป ญ ญา
เพราะฉะนั้นตัวแรงจูง ใจที่จะใหตัด สิน ใจทําอะไร หรือไปไหน จึง
มัก จะเปน เรื่อ งของความตอ งการทางจิต ใจ มากกวา การที่จ ะใช
ปญญา หรือตองการแสวงปญญา
การดิ้นรนหาทางออกจากปญหาจิตใจดวยวิธีการทางจิต นี้
เปน สุด โตง อีก ดา นหนึ ่ง ซึ ่ง เปน การแกป ญ หาดา นหนึ ่ง แตก ลับ
กอใหเกิดปญหาใหม ซึ่งอาจจะรายแรงและยืดเยื้อมากกวา และขอ
สํา คัญ คือ ไมเ ปน วิธีที่จ ะแกปญ หาไดจ ริง นอกจากทํา ใหเ กิด การ
พึ่งพา และเปนการกลอมใจแลว โทษที่ทางพระพุทธศาสนาถือวา
รา ยแรงมาก ก็ค ือ ทํ า ใหต กอยู ใ นความประมาท และเปน การ
พระธรรมปฎก (ป. อ. ปยุตฺโต) 157

แกปญ หาแบบชั่ว คราว หรือ กลบปญ หา ไมพน ไปจากปญ หาได


จริง เพราะเปน วิธีก ดทับ ไว ดัง ที่ทา นเปรีย บวา เหมือ นเอาหิน ทับ
หญา
พระพุทธศาสนาไมไดปฏิเสธการแกปญหาดวยวิธีการทางจิต
วิธีการทางจิตนั้น ไมใชวาผิด แตไมเพียงพอ และตองใชในขอบเขต
ที่พอดี คือพอใหจิตใจไดพัก ทําใหจิตใจผอนคลายสงบหายเรารอน
กระวนกระวายวาวุน และมีกําลังขึ้น คือเปนเครื่องเตรียมจิตใหพรอม
แลวตองตอดวยวิธีการทางปญญา เพื่อแกปญหาดับทุกขใหจบสิ้นไป
ถา เรามีปญ หาหรือ มีทุก ข วิธีก ารทางปญ ญาจะชวยใหเ รา
วางใจวางทาทีตอปญหาหรือทุกขนั้นไดถูกตอง แลวอยูกับปญหา
หรือทุกขนั้นไดอยางมีความสุข หรืออยูไดดีขึ้น และอาจจะนําเอา
ทุกขหรือปญหานั้นมาใชใหเปนประโยชนได พรอมกันนั้น ก็ไมลืม
และไมละเลยที่จะแกปญหา
ผูที่ใชวิธีการทางจิต จะตองไมลืมใชปญญา อยางนอยก็คอย
ตรวจสอบสํา รวจตัว เองวา วิธีแ กทุก ขข องเรา เปน การหลบทุก ข
หลบปญ หาหรือ เปลา เราลืม หรือ ละเลยการแกป ญ หาที ่แ ทจ ริง
หรือไม ความสุขที่เราไดนี้มากับความดื่มด่ําแบบลุมหลง ที่ไมตาง
มากนักกับความสุขของคนเสพยาหรือไม เราอยูกับความกลอมใจ
หรือ การพึ่ง พาหรือ เปลา จิต ใจของเราอยูกับ ความเปน จริง อยา ง
เปนอิสระดวยทาทีที่ถูกตองตอโลกและชีวิตหรือไม
ในที่สุด สภาพการดิ้นรนหาทางแกปญหาชีวิตจิตใจของคน
เหลา นี้ ก็เ ปน เครื่อ งฟอ ง ไมเ ฉพาะถึง สภาพจิต ใจของคนเทา นั้น
แตบง ชี้ถึง กระแสสังคม เชน คา นิย มของผูค น และศัก ยภาพของ
158 กรณีธรรมกาย

มนุษยในสังคมนั้นที่จะนําพาสังคมของตนใหกาวไปอยางไร และ
เปนปญหาทางการศึกษา ที่จะทําใหตองถามวา การศึกษาที่เราจัด
กัน อยปจ จุบัน นี้มีค วามผิด พลาดบกพรอ งอยา งไร จึง ทํา ใหค นที่
แมแตเลาเรียนกันสูงๆ กลายเปนอยางนี้ไป
อยามัวถกเถียงกัน อยามาอางกันเลยในเรื่องการศึกษาสูงๆ
แตสังคมของเรานี้ควรหันมาสํารวจตัวเองกันใหจริงจัง วาเหตุใด
เราจึงพัฒนาวัฒนธรรมทางปญญาขึ้นมาไมได
เปนที่รูกันโจงแจงชัดเจนวา คนไทยเราที่อยูในเมืองใหญๆ ที่
เจริญมากๆ นั้น เวลามีขาวเกี่ยวกับการแสดงธรรม หรือรายการทาง
ปญญา ถึงจะพยายามประชาสัมพันธ ก็หาคนสนใจไดยาก มีคนไป
ไมกี่ค น แตถามีขาวแววๆ วา มีอาจารยขลัง ชํานาญทางเสกเปา
ทํ า นายทายทัก หรือ เกี ่ย วดว ยเรื ่อ งศัก ดิ ์ส ิท ธิ ์ฤ ทธิ ์เ ดชปาฏิห าริย
อยา งนอ ยวานั่งสมาธิแลวไดเ ห็น โนนเห็นนี่ วาทานเดินทางมา
คนก็จะตื่นเตนยกหูโทรศัพทบอกตอกันเอง และไปชุมนุมคับคั่ง
พฤติกรรมทํานองนี้ เปนเครื่องบงชี้ถึงสภาพจิตใจ และลึกลง
ไปถึงภูมิธรรมภูมิปญญา แสดงวาเราอยูในขั้นของความตองการ
ทางจิตใจ และไมพัฒนาความตองการทางปญญา ถาเราพัฒนา
วัฒนธรรมทางปญญาขึ้นมาไมไ ด เราจะถือเอาประโยชนแทจริง
จากพระพุทธศาสนาไดยาก สังคมของเราจะหมุนเวียนอยูในวังวนของ
ผูตามเสพผล และจมอยูกับความลุมหลง หลอกกันไปหลอกกันมา
ยากที่จ ะฟน ตัว ขึ้นได ไมตอ งพูด ถึง วา จะเปน ผูนํา ชาวโลกในการ
แกปญหาและเสริมสรางสันติสุข
เวลานี้ ที่ พ ยายามปฏิ รู ป การศึ ก ษากั น ก็ เ พราะมองเห็ นว า
พระธรรมปฎก (ป. อ. ปยุตฺโต) 159

การศึกษาที่จัดกันมามีความผิดพลาดบกพรอง แตการที่จะปฏิรูป
การศึก ษาใหไ ดผ ลนั้น จะตอ งเห็น ชัด วา มีข อ ผิด พลาดบกพรอ ง
อยางไร
จึง ตอ งถามอยา งที่พูด เมื่อ กี้วา การศึก ษาที่เ ราจัด กัน มานี้
ผิดพลาดบกพรองอยางไร คนแมแตเลาเรียนกันสูง ๆ แลวจึง
1. ขาดความใฝรู พัฒนาวัฒนธรรมทางปญญาไมขึ้น และคิด
ไม เ ป น ไม ร จั ก แยกแยะ แยกไม อ อก แม แ ต ร ะหว า ง ข อ เท็ จ จริ ง
หลักฐาน ความเห็น และในเรื่องความเห็นก็ยังแยกไมออก ระหวาง
ความเห็ นเพื่ อ คน หาความจริ งตามเหตุ ผล กับ การหาเหตุ ผลเพื่ อ
ปกปองตัวเอง
2. แตกอนนี้เรามงใหการศึกษากันมา ในแงหนึ่งก็โดยหวังวา
เมื่อ คนมีก ารศึก ษาแลว มีอ าชีพ การงานทํา และเปน คนดี จะได
ไมตอ งทํา ความชั่ว ที่จ ะทํา ใหตอ งไปติด คุก แตเ มื่อ ใหก ารศึก ษา
กันไปมา กลั บ ได ผ ลกลายเป น ว า การศึ ก ษานี้ ทํา ให ค นฉลาด มี
ความสามารถที่จะทําความชั่วไดโดยไมตองติดคุก
3. การศึก ษานี้เ ปน อยา งไร จึงไมสามารถทําใหคนมีค วาม
เขมแข็ง ที่จะดํารงตนอยในความสุจริตได แตกลับออนแอในทาง
จริยธรรม ถูกลอชักจูงใหทําความชั่วเพื่อเห็นแกผลประโยชนไดงาย
4. การศึกษานี้เ ปน อยา งไร จึง ทําใหค นมีปญหาจิต ใจมาก
และเมื่อมีปญหาจิตใจขึ้นมาแลว ก็ไมสามารถที่จะใชปญญาแกไข
ปญหานั้นได ตองไปหาไสยศาสตร ตองไปหาอิทธิฤทธิ์ปาฏิหาริยให
มาชว ย รอผลจากอํา นาจดลบัน ดาลภายนอก หรือ หวัง พึ่ง สิ่ง
กลอมใจตางๆ
160 กรณีธรรมกาย

มีการพูดกันวา เปนการดีที่ทําใหคนจํานวนมากๆ ไปวัด ไป


รวมกิจกรรมทางศาสนา เขาไปทําความดี ดีกวาไปสํามะเลเทเมา
เขาบาร ไนทคลับ ฯลฯ เรื่องนี้จะตองพิจารณา ดวยความระมัดระวัง
โดยไมประมาท
ในทางพุทธศาสนานั้น ทานสอนใหรูวา ความชั่วมีหลายอยาง
มีทั้งความชั่วดานโลภะ ความชั่วดานโทสะ และความชั่วดานโมหะ
คนมั ก จะหลงลื ม มองข า มความชั่ ว ด า นโมหะ แม จ ะไม ทํ า
ความชั่วเพราะโลภะ แมจะไมทําความชั่วเพราะโทสะ แตอาจจะทํา
ความชั่วดวยโมหะ ซึ่งรายแรงมาก
บางครั้ง คนผูจะทําการรายดวยโลภะ อาจฉวยโอกาสใชโมหะ
ของคนอื่นๆ มาเอาโลภะเขาลอ แลวชักพาคนเหลานั้นใหทํากรรมชั่ว
อันเปนที่ตั้งแหงโมหะยิ่งขึ้นไป
ถาเปน เรื่องของความลุมหลง หรือเชื่อถือผิด ๆ จะมีผลราย
ระยะยาว และยิ่งคนไปมากก็ยิ่งนากลัววา จะทําใหเ กิดผลรายที่
แผกวางลึกซึ้งอยางยากที่จะแกไข
มี พุ ท ธพจน ว า ถ า คนที่ เ ป น หลั ก หรื อ บุ ค คลผู นํ า เป น ผู มี
มิ จ ฉาทิ ฐิ มี ค วามคิ ด เฉไฉผิ ด ทางเสี ย แล ว ก็ จ ะเป น ไปเพื่ อ ความ
พินาศหายนะของมหาชนหรือคนจํานวนมาก (ดู องฺ.เอก.20/192/44)
คุณคาของพระพุทธศาสนา มิใชเพียงเพื่อแกปญหาการปลนฆา
ฉกชิง ลักขโมย ทํารายกันภายนอก แตเพื่อแกไขตลอดขึ้นไปจนถึง
การทํารายทางปญญา และการเบียดเบียนชีวิตและสังคมชนิดแอบแฝง
ที่ลึกล้ําซอนเรนนี้ดวย
คนที่ทําความดี ตองมีความไมประมาท มิใชเพียงที่จะไมภูมิพอง
พระธรรมปฎก (ป. อ. ปยุตฺโต) 161

และติดเพลินอยูกับความดีเทาที่ทํา แตตองไมประมาทที่จะหมั่นใช
ปญญา เพื่อพัฒนากรรมดี และมิใหมีการทําความดีที่ขาดปญญา
จะตองตระหนัก ไววา เจตนาดีที่ขาดปญญา และเจตนาไมดีที่ใ ช
ความขาดปญญาของคนอื่นเปนเครื่องมือ ไดนําความเสื่อมความ
พินาศมาใหแกชีวิตและสังคมมนุษยแลวมากมายตลอดมา

ในที่สุดนี้ ชาวพุทธควรจะพิจารณาตรวจสอบตนเองใหดี วา


เราจะรักษาพระพุทธศาสนาใหดํารงอยดวยความบริสุทธิ์ไดอยางไร
มิใชกลายเปนผทําลายพระพุทธศาสนาซึ่งเปนมรดกที่บรรพบุรุษได
อุตสาหะเพียรพยายามรักษากันมาตั้งเปนพันๆ ป ชาวพุทธจะตองมี
การศึกษาอยางนอยขั้นเบื้องตน ที่จะทําใหรูตระหนักถึงความสําคัญ
ของพระธรรมวิ นั ย ที่ ท า นรั ก ษาไว ใ นพระไตรป ฎ ก และมองเห็ น
ความสั ม พั น ธ ร ะหว า งพระไตรป ฎ กนั้ น กั บ ความเป น ไปของ
พระพุทธศาสนา
ขอเลาเรื่องหนึ่งวา เมื่อหลายปมาแลว มีพระภิกษุจากประเทศ
ไทยคณะหนึ่งเดินทางไปดูการพระศาสนาที่ประเทศญี่ปน วันหนึ่งก็
ไดไปเยี่ยมวัดของสังฆราชนิกายหนึ่ง เมื่อเขาไปพบกับสังฆราชนิกาย
นั้น ก็มีหญิงสาวนําน้ําชามาตอนรับพระภิกษุไทย ไดความวา หญิง
สาวที่นําน้ําชามาตอนรับนั้น เปนลูกสาวของสังฆราชญี่ปุนนั่นเอง
ถาคนไทยไมอยากเห็นพระภิกษุไทยเปนอยางพระญี่ปน ก็จะ
ทํ า ได ด ว ยการช ว ยกั น รั ก ษาพระไตรป ฎ กบาลี ข องเถรวาทนี้ ไ ว ใ ห
บริสุทธิ์บริบูรณมั่นคง ดังเปนที่รกันอย และเปนที่ยอมรับในหมผร
ทั่ว โลกว า พระไตรป ฎ กบาลี ข องเถรวาทนี้ แ หละ เปน แหลง บรรจุ
162 กรณีธรรมกาย

รักษาคําสอนเดิมแทของพระพุทธศาสนาไว เราควรจะมีความภูมิใจ
ที่ ส ามารถรั ก ษาคํ า สอนที่ บ ริ สุ ท ธิ์ บ ริ บู ร ณ ข องพระพุ ท ธเจ า หรื อ
พระพุทธศาสนาที่ถูกตองแทจริงนี้ไวใหแกโลก เพื่อใหพระสัทธรรม
อํานวยประโยชนสุขที่ยั่งยืนแกมวลมนุษยสืบไป
ภาคผนวก
164
ภาคผนวก
เอกสารของวัดพระธรรมกาย
นิพพานเปนอัตตาหรืออนัตตา∗
บทนํา
ในระยะ 2-3 เดือนนี้ ประเด็นเรื่องนิพพานวาเปนอัตตาหรืออนัตตา ไดกลับมา
เปนหัวขอที่ถกเถียงกันอยางกวางขวางอีกครั้ง และบางทานถึงกับสรุปวา ความเห็นวา
นิพพานเปนอัตตานั้นผิดเพี้ยนจากหลักการของพระพุทธศาสนา จึงทําใหอาตมภาพมีความ
จําเปนตองออกมาใหขอมูล เพื่อใหชาวพุทธเกิดความเขาใจและมีทาทีที่ถูกตองในเรื่องนี้
จากการศึกษา โดยสวนตัว อาตมภาพมีความเชื่อวา นิพพานเปนอัตตา แต
บทความนี้ไมมีความประสงคที่จะวิเคราะหลงในรายละเอียดทางวิชาการ เพื่อยืนยันวา
นิพพานตองเปนอัตตาหรืออนัตตา แตตองการชี้ใหเห็นในภาพกวางวา เรื่องซึ่งอยูพนเกิน
กวาประสบการณของปุถุชนคนสามัญจะไปถึง หรือเขาใจได เชน เรื่องนรกสวรรค กฎแหง
กรรม นิพพาน ที่ทานเรียกวาเปนเรื่องอภิปรัชญา หรือเรื่องที่เปนอจินไตยนั้น หลายๆ เรื่อง
เชน เรื่องนิพพาน ในทางวิชาการสามารถตีความไดหลายนัย ลําพังการอาศัยหลักฐานทาง
คัมภีรเทาที่มีเหลืออยูและศึกษาคัมภีรเพียงบางสวนเทานั้น แลวมาสรุปลงไปวามีลักษณะ
เปนอยางใดอยางหนึ่งโดยเด็ดขาด พรอมกับปฏิเสธทัศนะอื่นโดยสิ้นเชิง ทั้งที่ยังมีประเด็น
ทางวิชาการที่ตองศึกษาวิเคราะหอยางละเอียดรอบคอบอีกมาก อยางที่ทําอยูนั้น เปนสิ่งที่
พระเถระทั้งหลายในอดีตของเราไมทํากัน เปนการสรุปเกิน เปนผลเสียตอพระพุทธศาสนา
และอาจนํามาซึ่งความแตกแยก สิ่งที่ชาวพุทธควรปฏิบัติคือ การตั้งใจปฏิบัติธรรม เจริญ
มรรคมีองค 8 ตั้งใจรักษาศีล เจริญสมาธิภาวนา จนเกิดปญญาความรูแจงดวยตัวของ
ตัวเอง แลวเมื่อนั้นเรายอมเขาใจประจักษชัดดวยตัวของเราเองวา นิพพานเปนอยางไร
โดยไมตองถกเถียงกันเลย

∗ จากหนังสือ
นิพพานเปนอัตตาหรืออนัตตา โดยพระสมชาย านวุฑฺโฒ วัดพระธรรมกาย
อ.คลองหลวง จ.ปทุมธานี พ.ศ.2542
166 กรณีธรรมกาย

แหลงอางอิงคําสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจา
คําสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจา ไดรับการรวบรวมไวในคัมภีรชั้นพระไตรปฎก
ซึ่งพระไตรปฎกบาลีของพระพุทธศาสนานิกายเถรวาทของเรา เปนพระไตรปฎกที่ไดรับการ
ยอมรับวา สามารถรวบรวมรักษาคําสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจาไวไดมากที่สุด เปน
แหลงอางอิงของคําสอนในพระพุทธศาสนายุคดั้งเดิมที่สําคัญที่สุด
แตนอกจากพระไตรปฎกบาลีแลวยังมีคําสอนยุคดั้งเดิมของพระสัมมาสัมพุทธ-
เจาอยูในคัมภีรอื่นอีกหลายแหลง เชน พระไตรปฎกจีน พระไตรปฎกธิเบต คัมภีรสันสกฤต
และคัมภีรในภาษาอื่นๆ
พระไตรปฎกจีน เนื้อหาสวนใหญในพระไตรปฎกจีนเปนคัมภีรมหายาน ซึ่งทุกคน
รูวาเปนคัมภีรที่แตงขึ้นในชั้นหลัง ไมใชพุทธพจนโดยตรง แตในพระไตรปฎกจีนนี้มีเนื้อหา
สวนหนึ่งเปนคําสอนของหินยาน มีความยาวประมาณ 2 ลาน 3 แสนตัวอักษร ครอบคลุม
เนื้อหาพระวินัยและพระสูตร 4 นิกายแรก โดยสวนใหญและขุททกนิกายบางสวน เนื้อหา
โดยสวนใหญคลายกับพระไตรปฎกบาลี แตแตกตางในรายละเอียดในทางวิชาการแลว
เนื้อหาพระไตรปฎกจีนสวนนี้ มีความเกาแกทัดเทียมกับพระไตรปฎกบาลี
พระไตรปฎกธิเบต เนื้อหาเปนคัมภีรมหายานและวัชรยานเปนสวนใหญ แตก็มี
เนื้อหาที่ยกเอาคัมภีรหินยานขึ้นมาอางอิงกลาวถึงเปนตอนๆ ซึ่งในการศึกษาคําสอนยุค
ดั้งเดิมของพระพุทธศาสนา เนื้อหาสวนนี้ก็มีความสําคัญ จะตองคัดแยกออกมาศึกษา
เปรียบเทียบกับคําสอนในแหลงอื่น เพื่อใหไดความเขาใจที่ถูกตองชัดเจนที่สุด ใกลเคียง
คําสอนดั้งเดิมมากที่สุด
คัมภีรสันสกฤต มีคําสอนในชั้นพระไตรปฎกเหลืออยูเพียงบางคัมภีร ไมครบทั้งชุด
แตก็มีความเกาแกสําคัญ ที่จะตองศึกษาอยางละเอียดเชนกัน
คัมภีรในภาษาอื่นๆ เชน คัมภีรในภาษาคันธาวี ภาษาเนปาลโบราณ ภาษาถิ่นโบราณ
ของอินเดีย เอเชียกลาง และที่อื่นๆ คัมภีรเหลานี้ก็มีคุณคาทางวิชาการสูงมากเชนกัน บาง
คัมภีร เชน คัมภีรธรรมบทในภาษาคันธารี ถึงขนาดไดรับการยอมรับในหมูนักวิชาการ
พระพุทธศาสนาวา เปนคัมภีรธรรมบทที่เกาแกที่สุดในโลก
การจะศึกษาใหเขาใจคําสอนของพระพุทธศาสนายุคดั้งเดิมจริงๆ นั้น จึงมีความ
จําเปนจะตองศึกษาใหเขาใจคัมภีรทั้งหลายเหลานี้ทั้งหมด นําเนื้อหาคัมภีรที่คลายกัน
มาเปรียบเทียบกัน วิเคราะหดวยหลักทางวิชาการทั้งดานภาษาศาสตรและอื่นๆ จึงจะได
ความเขาใจที่รอบดานสมบูรณ
พระธรรมปฎก (ป. อ. ปยุตฺโต) 167
นอกจากนี้ยังมีความจําเปนตองศึกษาใหเขาใจสภาพสังคมอินเดียในครั้งพุทธกาล
วา ผูคนมีความคิดความอาน ความเชื่ออยางไร นักวิชาการทางพระพุทธศาสนาจึงตอง
ศึกษาใหเขาใจคําสอนของพระเวท อุปนิษัท เชน และลัทธิความเชื่ออื่นๆ ของอินเดียที่มี
อิ ท ธิ พ ลในยุ ค นั้ น ๆ รวมทั้ ง ศึ ก ษาประวั ติ ศ าสตร แ ละวิ วั ฒ นาการของการเผยแผ
พระพุทธศาสนา การแตกนิกาย ปฏิสัมพันธระหวางพระพุทธศาสนานิกายตางๆ และ
ระหวางพุทธกับลัทธิศาสนาอื่น การศึกษาใหเขาใจภูมิหลังทางสังคม เศรษฐกิจ การเมือง
ความเชื่ อ ในยุ ค นั้ น ๆ นี้ เ อง จะทํ า ให เ ราตี ค วามเข า ใจความหมายของคํ า สอนใน
พระพุทธศาสนาของเราเองไดถูกตองลึกซึ้งชัดเจนขึ้น
มีผูเ ปรียบเทีย บไว วา พระพุท ธศาสนาเปรี ย บเหมื อ นดอกไมอัน งดงามที่บาน
สะพรั่งขึ้นอยางโดดเดนในสวนแหงหนึ่ง ซึ่งเปรียบเสมือนอินเดียในยุคนั้น หากเรามองดู
แตดอกไมดอกนั้นเทานั้น โดยไมเห็นถึงสภาพสวนนั้นหมดวาเปนอยางไร ก็เปนการมองที่
คับแคบและอาจเขาใจหลายอยางผิดไปได
หากจะยกตัวอยางทางโลกมาประกอบใหเขาใจงายขึ้นแลว เหมือนกับวา หากใน
อนาคตมีผูมาอานบทกวีของคุณจิระนันท พิตรปรีชา ในตอนที่วา
“ฉันคือกรวดเม็ดราว
แหลกแลวดวยความเศราหมองหมน
ปรารถนาจะเปนธุลีทุรน
ดีกวาทนกลั้นใจอยูใตน้ํา”
จากหนังสือ “ใบไมที่หายไป”
แลวไมรูถึงภูมิหลังของสังคมไทยในยุคนั้น ไมรูประวัติชีวิตของคุณจิระนันท พิตร
ปรีชา ไมรูเบื้องหลังความคิดของคํากวีที่เกิดขึ้นนี้ ความรูสึก ความเขาใจในความหมายของ
บทกวีเพียงตัวหนังสือของบุคคลผูนั้นก็ตื้นเขินยิ่งนัก
การศึกษาพระพุทธศาสนาใหเขาใจ เพื่อการปฏิบัติและการสั่งสอนประชาชน
ใหเปนคนดี การศึกษาพระไตรปฎกบาลีสามารถใหความรูกับเราได แตการจะลวงเลยไป
ถึงขนาดกลาระบุวา ทัศนะทางอภิปรัชญาใดใชหรือไมใชคําสอนของพระพุทธศาสนา
ยุคดั้งเดิม พรอมทั้งปฏิเสธทัศนะอื่นโดยเด็ดขาดนั้น ลําพังการศึกษาพระไตรปฎกบาลี
อยางเดียวไมเพียงพอ ผูนั้นจะตองศึกษาแหลงอางอิงคําสอนพระพุทธศาสนายุคดั้งเดิม
ทุกแหลงใหเจนจบ และเขาใจสภาพภูมิหลังของสังคมอินเดียในครั้งพุทธกาลอยางลึกซึ้ง
กอน
168 กรณีธรรมกาย

คําสอน 2 ระดับในพระพุทธศาสนา
คําสอนในพระพุทธศาสนา เราอาจแบงออกไดเปน 2 ประเภท คือ
1. คําสอนที่เปนไปเพื่อการปฏิบัติ เชน มรรคมีองค 8 ไตรสิกขา สังคหวัตถุ 4
ทิศ 6 บุญกิริยาวัตถุ 3 อิทธิบาท 4 เปนตน
2. คําสอนทางดานอภิปรัชญา คือ สิ่งที่พนเกินกวาประสบการณของปุถุชนคน
ธรรมดาจะสัมผัสรูเห็นไดโดยตรง เชน เรื่อง นรกสวรรค กฎแหงกรรม นิพพาน จักรวาล
วิทยา โครงสรางของโลก เปนตน
เรื่องทางดานอภิปรัชญาบางเรื่อง เชน โลกมีที่สิ้นสุดหรือไม ตถาคตเมื่อนิพพาน
แลวยังดํารงอยูหรือไม เมื่อมีผูถามพระสัมมาสัมพุทธเจา พระองคจะไมทรงพยากรณ คือ
ไมตอบ เพราะถาผูฟงยังไมไดปฏิบัติธรรมจนมีภูมิธรรมถึงขีดคั่นแลว ก็ไมสามารถเขาใจ
ตามไดอยางแทจริง ถาตอบไปแลวหากเขาไมเชื่อก็ยิ่งเสียหายไปใหญ ไมเกิดประโยชน
ทั้งนี้เพราะบุคคลทั่วไป จะทําความเขาใจสิ่งตางๆ โดยนําไปเปรียบเทียบกับ
ประสบการณเดิมของตน หากเปนสิ่งที่ตนไมเคยประสบพบเจอมากอน หลุดไปอีกมิติหนึ่ง
ก็ยากยิ่งนักที่จะทําความเขาใจได เหมือนการพรรณนาสีสรรความสวยงามของดอกไม
ใหคนตาบอดแตกําเนิดฟง เขายอมยากจะเขาใจได ดวยเหตุนี้เอง เมื่อกลางถึงนิพพาน
พระสัมมาสัมพุทธเจาจึงทรงยืนยันวาอายตนะนั้นมีอยู แตทรงอธิบายดวยการปฏิเสธ
วา ไมใชสิ่งนั้นสิ่งนี้ เพราะนิพพานอยูเหนือเกินกวาประสบการณของมนุษยปุถุชนจะ
เขาใจได
เพราะเหตุที่พระสัมมาสัมพุทธเจา ไมไดตรัสอธิบายเรื่องทางอภิปรัชญาไวอยาง
ละเอีย ด เพีย งแตบ อกเปน นัย ใหท ราบเทา นั ้น ความเห็น ความเขา ใจในเรื ่อ งทาง
อภิปรัชญานี้จึงมีความหลากหลายมาก สรุปยุติลงเปนอันหนึ่งอันเดียวกันไดยาก ถาใคร
ยืนกรานความเห็นในความเห็นหนึ่งวาถูกตองเด็ดขาดและปฏิเสธความเห็นอื่นทั้งหมดวาผิด
เปนสัทธรรมปฏิรูป ทําลายพระพุทธศาสนา ตองขจัดใหหมดไป พระพุทธศาสนาคงจะ
เต็มไปดวยการทะเลาะเบาะแวงและความแตกแยกระส่ําระสาย อยาวาแตเรื่องของ
นิพพานเลย แมเพียงแคเรื่องนรกสวรรค ก็มีบางทานคิดวาเปนเรื่องสวรรคในอกนรกในใจ
คือทําดีก็เย็นใจเหมือนขึ้นสวรรค ทําบาปก็รอนใจเหมือนตกนรก ไมเชื่อวามีนรกสวรรค
ที่เปนภพภูมิสถานที่หนึ่งจริง บางทานก็เชื่อวามีสวรรคนรกที่เปนภพภูมิสถานที่ มีวิมาน
เทวดานางฟาบนสวรรค มีกะทะทองแดง ไฟนรก สัตวนรก อยูในนรกจริง โดยอางถึง
พระธรรมปฎก (ป. อ. ปยุตฺโต) 169
พระไตรปฎกและอรรถกถาวา มีกลาวถึงนรกสวรรคที่เปนภพภูมินี้มากมายชัดเจน ยิ่งกวา
เรื่องนิพพานเยอะ และถาคนกลุมนี้ปฏิเสธคนกลุมแรกที่ไมเชื่อวานรกสวรรคที่เปนภพภูมิ
มีจริง หาวาเพี้ยน นอกลูนอกทางพระพุทธศาสนา ตองขจัดใหหมดไป เทานี้ก็คงเพียง
พอที่จะทําใหเกิดการแตกแยกในพระพุทธศาสนา
จริงๆ ยังมีอีกหลายเรื่องที่ในประเทศไทยไมใครมีการถกเถียงกัน แตในตางประเทศ
ก็มีการถกกันมาก เชน เรื่องการอุทิศสวนกุศล วาขัดกับหลักกฎแหงกรรม ใครทําใคร
ไดหรือไม อยูๆ จะมายกบุญใหแกกันไดอยางไร ก็มีทั้งคนเห็นดวย ไมเห็นดวย ถกกัน
มากมาย และก็หาขอยุติที่ทุกคนยอมรับโดยไมมีขอโตแยงไมได เรื่องเหลานี้ไมวาเรื่องใด
ก็ตาม หากมีใครยืนกรานความเห็นอยางใดอยางหนึ่ง ปฏิเสธความเห็นอื่นโดยสิ้นเชิง
ลวนนํามาซึ่งความแตกแยกทั้งสิ้น และเปนโทษตอพระพุทธศาสนามากกวาเปนคุณ
เมื่อเปนเชนนั้น ถามวาเราจะปลอยใหใครสอนอยางไรก็ไดตามใจชอบหรือ คําตอบ
ก็คือ ไมใช หลักสําคัญมีอยูวา ตราบใดที่ยังสอนใหทําความดีตามหลักคําสอนที่เปนไปเพื่อ
การปฏิบัติในพระพุทธศาสนา เชน เจริญมรรคมีองค 8 ไตรสิกขา ทิศ 6 บําเพ็ญบุญกิริยา
วัตถุ 3 ลด ละ เลิก อบายมุข เปนตน แมความเห็นในเรื่องอภิปรัชญาจะอางอิงบทคัมภีร
คนละจุด ตีความและมีความเห็นตางกันบาง เราก็ยอมรับซึ่งกันและกัน และรวมแรงรวมใจ
ทํางานยกระดับศีล ธรรมของผูคนในสัง คมชว ยกันได นี่คือ ความเปนประชาธิปไตย
ในพระพุทธศาสนา และเปนทาทีอันชาญฉลาดของปูยาตายายบรรพบุรุษไทย ที่รักษา
พระพุทธศาสนามาใหเราถึงปจจุบัน ทําใหพระพุทธศาสนาในประเทศไทยมีความเปน
เอกภาพสามัคคี เปนปกแผนยิ่งกวาประเทศใดๆ เปนสิ่งที่เราชาวไทยควรภาคภูมิใจ
หากเปรียบไปแลว เราทุกคนเปรียบเสมือนนักเดินทางไกลในวัฏฏสงสาร แมใน
ระหวางเดินทางอาจมีความเห็นไมตรงกันวา เปาหมายปลายทางนาจะเปนอยางไร เราก็
สามารถเดินบนเสนทางเดียวกัน ชวยเหลือเกื้อกูลกันได และหากเราเดินอยูบนเสนทางที่
ถูกตอง คือหนทางแหงอริยมรรคมีองค 8 โดยไมเลิกละกลางคันแลวละก็ ในที่สุดเราก็
ยอมจะบรรลุเปาหมายปลายทางนั้น และรูแจงกระจางชัดดวยตัวของเราเองวาปลายทาง
เปนอยางไร และทุกคนก็จะเขาใจตรงกัน โดยไมตองทะเลาะกันเลย ถาระหวางเดินทางมา
มัวถกเถียงกันวาเปาหมายปลายทางตามที่วาในลายแทงนั้นเปนอยางไร แลวเลยทะเลาะ
แตกแยก เสียเวลาเดินทาง หรือแยกทางกันเดิน เปนสิ่งไมใหประโยชน ยิ่งถาใครไมยอมเดิน
หรือเดินถอยหลัง เชนไมยอมรักษาศีล ไมเจริญสมาธิภาวนา แลวมาถกเถียงกันเรื่อง
นิพพานวาเปนอยางไร ก็คงเสียประโยชนเปลา ไมมีวันเขาถึงนิพพานนั้นไดเลย
170 กรณีธรรมกาย

ขอใหตั้งสติพิจารณาพุทธพจนตอไปนี้ใหดี
“ดูกอนภิกษุทั้งหลาย เมื่อภิกษุไมหมั่นเจริญภาวนา แมจะพึงเกิดความปรารถนา
ขึ้นอยางนี้วา โอหนอ ขอจิตของเราพึงหลุดพนจากอาสวะเพราะไมถือมั่น ก็จริง แตจิต
ของภิกษุนั้นยอมไมหลุดพนจากอาสวะเพราะไมถือมั่นไดเลย ขอนั้นเพราะเหตุไร จะพึง
กล าวได ว า เพราะไม ได เจริ ญ เพราะไม ได เจริ ญอะไร เพราะไม ได เจริ ญสติ ป ฏฐาน 4
สัมมัปปธาน 4 อิทธิบาท 4 อินทรีย 5 พละ 5 โพชฌงค 7 อริยมรรค ประกอบดวยองค 8
เปรียบเหมือนแมไกมีไขอยู 8 ฟอง 10 ฟอง หรือ 12 ฟอง ไขเหลานั้นแมไกกกไมดีให
ความอบอุนไมพอ ฟกไมได แมไกนั้นแมจะพึงเกิดความปรารถนาขึ้นอยางนี้วา โอหนอ
ขอใหลูกของเราพึงใชป ลายเล็บ เทา หรือ จะงอยปากเจาะกะเปาะไข ฟกตัว ออกมาโดย
สวัสดี ก็จริง แตลูกไกเหลานั้นไมสามารถที่จะใชปลายเล็บเทาหรือจะงอยปากเจาะกะ
เปาะไข ฟกตัว ออกมาโดยสวัสดีได ขอนั้นเพราะเหตุไร เพราะแมไกกกไมดี ใหความ
อบอุนไมพอ ฟกไมดี ฉะนั้น
ดูกอนภิกษุทั้งหลาย เมื่อภิกษุหมั่นเจริญภาวนา แมจะไมพึงเกิดความปรารถนา
อยางนี้วา โอหนอ ขอจิตของเราพึงหลุดพนจากอาสวะเพราะไมถือมั่น ก็จริง แตจิตของ
ภิกษุนั้น ยอมหลุดพนจากอาสวะเพราะไมถือมั่น ขอนั้นเพราะเหตุไร พึงกลาวไดวา
เพราะเจริญ เพราะเจริญอะไร เพราะเจริญสติปฏฐาน 4 ฯลฯ อริยมรรคประกอบดวยองค 8
เปรียบเหมือนแมไกมีไขอยู 8 ฟอง 10 ฟอง หรือ 12 ฟอง ไขเหลานั้นแมไกกกดี ใหความ
อบอุนเพียงพอ ฟกดี แมแมไกนั้นจะไมพึงปรารถนาอยางนี้วา โอหนอ ขอใหลูกของเราพึง
ใชปลายเล็บเทาหรือจะงอยปากเจาะกะเปาะไข ฟกตัวออกมาโดยสวัสดี ก็จริง แตลูกไก
เหลานั้นก็สามารถใชเทาหรือจะงอยปากเจาะกะเปาะไข ฟกตัวออกมาโดยสวัสดีได ขอนั้น
เพราะเหตุไร เพราะไขเหลานั้น แมไกกกดี ใหความอบอุนเพียงพอ ฟกดี ฉะนั้น”
(อังคุตตรนิกาย สัตตกนิบาต เลม 23 ขอ 68 หนา 126-127)

นิพพานเปนอัตตาหรืออนัตตา
เรื่องอัตตาและอนัตตานี้ เปนเรื่องหนึ่งที่มีการถกเถียงกันมากตั้งแตยุคโบราณ
หลังพุทธกาลเปนตนมา และมีมาตลอดประวัติศาสตรพระพุทธศาสนา แมในยุคปจจุบัน ก็
มี นั ก วิ ช าการพระพุ ท ธศาสนาทั้ ง ในดิ น แดนตะวั น ตก เช น ยุ โ รป อเมริ ก า และทาง
ตะวันออก เชน ญี่ปุน จีน เกาหลี ถกเถียงกันมาก ประเด็นที่ถกเถียงกันก็มีหลากหลาย
เชน
พระธรรมปฎก (ป. อ. ปยุตฺโต) 171
1. อัตตา ตัวตนที่แทจริง มีหรือไมในคําสอนของพระพุทธศาสนา มีทั้งผูที่คิดวา
มีอัตตาตัวตนที่แทจริงอยู และมีทั้งผูที่คิดวาไมมี และดูเหมือนวาผูที่มีความเห็นวามีอัตตา
นั้นจะมีจํานวนมากกวา ปราชญใหญทางพระพุทธศาสนาในดินแดนตะวันตกที่มีชื่อเสียง
กองโลกจํานวนมาก ก็มีความเห็นวามีอัตตาที่แทจริงอยูในคําสอนทางพระพุทธศาสนา เชน
Mrs. Rhys Davids นายกสมาคมบาลีปกรณ แหงประเทศอังกฤษ ป พ.ศ. 2465-
2485 [Steven Collins, Selfless Person; Imagery and thought in Theravada
Buddhism, (Cambridge; University Press, 1997), p.7],
Miss I.B.Horner นายกสมาคมบาลีปกรณ แหงประเทศอังกฤษ ป พ.ศ. 2502-
2524 [Peter Harvey, The selfless Mind, (Curzon Press, 1995), p.17.]
ทั้ง 2 ทานนี้ลวนเปนผูอุทิศตนเพื่องานพระพุทธศาสนาอยางแทจริง เปน
ผูเชี่ยวชาญทางพระพุทธศาสนาที่หาตัวจับยาก มีบทบาทสําคัญในการตรวจชําระจัดสราง
พระไตรปฎกและอรรถกถาบาลีฉบับอักษรโรมัน ของสมาคมบาลีปกรณ แหงประเทศ
อังกฤษ (Pali Text Society) ซึ่งเปนพระไตรปฎกบาลีฉบับสากล เปนที่อางอิงของ
นักวิชาการพระพุทธศาสนาทั่วโลกในปจจุบัน
Christmas Humphrey [Christmas Humphreys, Buddhism, (Penguin
Books, 1949, p.88.],
Edward Conze [Edward Conze, Buddhist Thought in lndia, (George
Allen and Unwin, 1962), p.39.]
และอีกหลายๆ ทาน ปราชญทางพระพุทธศาสนาที่มีผลงานมากมายเปนที่รูจักกัน
ทั้งโลกเหลานี้ มีความเห็นที่ตรงกันในเรื่องอัตตานี้ 2 ประเด็นใหญๆ คือ
ก) พระสัมมาสัมพุทธเจาไมเคยปฏิเสธอยางชัดเจนวา อัตตาที่แทจริงไมมี และ
ไมเคยตรัสปฏิเสธวาไมมีอัตตาใดๆ ทั้งสิ้นในสัจจะทุกระดับ
ข) เขาเหลานี้เชื่อตรงกันวา ในคําสอนของพระพุทธศาสนายุคดั้งเดิม บงบอกนัย
วา มีอัตตาที่แทจริงซึ่งอยูในภาวะที่สูงกวาขันธ 5 หรือสังขตธรรม เหตุที่พระพุทธองคไม
ตรัสตรงๆ วา มีอัตตาที่แทจริงอยู เพราะผูที่ยังไมไดปฏิบัติธรรมอาจเขาใจผิดวาเปนอัตตา
แบบเดียวกับที่ศาสนาพราหมณสอน
มี การอ างอิ งหลั กฐานในคั มภี ร ทั้ งบาลี สั นสกฤต จี น ธิ เบต ในและภาษาอื่ นๆ
มากมาย อันนํามาสูขอสรุปความเห็นนี้ แตก็มีนักวิชาการที่ไมเห็นดวย ยืนยันวา ไมมี
อัตตาในพระพุทธศาสนา เชนกัน ตางฝายตางก็มีเหตุผลของตน
172 กรณีธรรมกาย

2. ความหมายที่ถูกตองของคําวา “อัตตา” และ “อนัตตา” คืออะไร นักวิชาการ


บางสวน เมื่อพบศัพทธรรมะคําหนึ่ง ก็มีแนวโนมที่จะเขาใจวามีความหมายเดียวกันโดย
ตลอดทําใหตีความเขาใจพระไตรปฎกคลาดเคลื่อนมาก เพราะในการแสดงธรรมแตละครั้ง
พระสัมมาสัมพุทธเจาจะตรัสสอนใหตรงกับจริตอัธยาศัยและภูมิธรรมของบุคคลผูฟง
ความหมายของศัพทธรรมในแตละแหงที่พบในพระไตรปฎก จึงมีนัยที่ลึกซึ้งตางกัน
เหมือนดังที่พระเถระในอดีตกลาวไววา “บาลีมีนัยเปนรอย”
ในกรณีของศัพทวา “อัตตา” และ “อนัตตา” นี้ ก็เชนกัน คําวา “อัตตา” บางทาน
ก็ตีความวาเปนตัวตนแบบที่ศาสนาพราหมณเขาสอนกันวา มี อาตมัน อยูภายในคนแตละ
คนซึ่งเมื่อถึงที่สุดแลวตองไปรวมกับ ปรมาตมัน หรือ อาตมันใหญ ก็เลยเกรงวา ถาพุทธ
ยอมรับวามีอัตตา จะกลายเปนยอมรับศาสนาพราหมณไป ซึ่งจริงๆ เปนคนละเรื่อง อัตตา
มีนัยมากมาย ทั้งอัตตาโดยสมมุติ เชน ความรูสึกวาเปนตัวเรา ของของเรา ครอบครัวของเรา
เปนตน และอัตตาในระดับที่สูงขึ้น เชน ความรูสึกในเรื่องอัตตาของเทวดา ของพรหม ก็
ยอมตางกัน หรืออัตตาในระดับที่สูงกวานั้น เปนอัตตาที่แทจริง ที่พระสัมมาสัมพุทธเจา
ทรงสอนใหชนทั้งหลายยึดเปนเกาะ เปนที่พึ่ง ในพุทธพจนที่วา
“อตฺตทีปา วิหรถ อตฺตสรณา อนฺสรณา
ธมฺมทีปา ธมฺมสรณา อนฺสรณา”
แปลวา “เธอทั้งหลายจงมีตนเปนเกาะ จงมีตนเปนที่พึ่ง อยามีสิ่งอื่นเปนที่พึ่ง จง
มีธรรมเปนเกาะ จงมีธรรมเปนที่พึ่ง อยามีสิ่งอื่นเปนที่พึ่ง”
(ทีฆนิกาย มหาวรรค เลม 10 ขอ 93 หนา 119)
อัตตาในที่นี้ ก็ยอมมีความหมายที่แตกตางจากอัตตาในระดับสมมุติ และอัตตา
ของศาสนาพราหมณ ในการศึกษาพระไตรปฎก จึงตองวินิจฉัยแยกแยะทําความเขาใจ
ความหมายที่แทจริงของศัพทธรรมะที่พบในแตละที่ใหดี
ความหมายของคําวา “อนัตตา” ก็เชนกัน มีทั้งผูที่มีความเห็นวา อนัตตา แปลวา
ไมมีอัตตา และมีทั้งผูที่มีความเห็นวา อนัตตา แปลวา ไมใชอัตตา เหมือนคําวา อมนุษย
แปลวาไมใชมนุษย ไมไดหมายความวา ไมมีมนุษย เปนมุมมองที่ตางกันในการพิจารณา
รูปคําสมาส และเมื่อพระสัมมาสัมพุทธเจาทรงสอนวา ขันธ 5 ไมใชตัวตน ก็มีนัยใหรูวา
มีตัวตนที่แทจริง ซึ่งอยูสูงกวาขันธ 5 อยู ทรงสอนใหยึดอัตตานั้นเปนที่พึ่ง เปนสรณะ
และจะเขาถึงอัตตาที่แทจริงนั้นไดดวยการปฏิบัติ สติปฏฐาน 4 คือการตามเห็นกายในกาย
การตามเห็นเวทนาในเวทนา การตามเห็นจิตในจิต และการตามเห็นธรรมในธรรม
พระธรรมปฎก (ป. อ. ปยุตฺโต) 173
ประเด็นนี้ก็มีการถกเถียงกันมากมาย
3. คําวา สพฺเพ ธมฺมา อนตฺตา ธรรมทั้งปวงเปนอนัตตา ซึ่งเปนคําที่มีการอางอิง
กันมากนี้ คําวา สพฺเพ ธมฺมา คือ ธรรมทั้งปวง กินความกวางเพียงใด เพราะมีทั้งคัมภีร
ชั้นอรรถกถาที่บอกวา ธรรมทั้งปวงในที่นี้รวมเอาพระนิพพานดวย
(อรรถกถา ขุททกนิกาย จูฬนิเทส ฉบับมหาจุฬาราชวิทยาลัย หนา 8.;
อรรถกถา ขุททกนิกาย มหานิเทส ฉบับมหาจุฬาราชวิทยาลัย หนา 219)
และมีทั้งคัมภีรอรรถกถาที่บอกวา ธรรมทั้งปวงที่วาเปนอนัตตานั้นหมายเอาเฉพาะ
ขันธ 5 ไมไดครอบคลุมถึงพระนิพพาน (อรรถกถาธรรมบท ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย ภาค 7 หนา 62)
และนิพพานนี้ เปนสิ่งอยูพนจากกฎของไตรลักษณแนนอน เพราะมีพุทธพจน
ยืนยันวา นิพพานนั้นเปนนิจจัง คือ เที่ยงแท ยั่งยืนและเปนบรมสุข
ยสฺส อุปฺปาโท ปฺายติ วโย นตฺถิ ตสฺส ยฺทตฺถุ ปฺายติ นิพฺพานํ นิจฺจํ ธุวํ
สสฺสตํ อวิปริณามธมฺมนฺติ อสํหิรํ อสํกุปปฯ
แปลวา ความเกิดขึ้นแหงนิพพานใดยอมปรากฏ ความเสื่อมแหงนิพพานนั้น
มิไดมี ยอมปรากฏอยูโดยแท นิพพานเปนคุณชาติเที่ยง ยั่งยืน มั่นคง มิไดมีความแปรปรวน
เปนธรรมดา เพราะฉะนั้น จึงชื่อวา อันอะไรๆ นําไปไมได ไมกําเริบ
(ขุททกนิกาย จูฬนิเทส เลม 30 ขอ 659 หนา 315)
นิพพานํ ปรมํ สุขํฯ
แปลวา พระนิพพานเปนสุขอยางยิ่ง
(ขุททกนิกาย ธรรมบท เลม 25 ขอ 25 หนา 42)
และมีพุทธพจนตรัสไววา
ยทนิจฺจํ ตํ ทุกฺขํ ยํ ทุกฺขํ ตทนตฺตา...
แปลวา สิ่งใดไมเที่ยง สิ่งนั้นเปนทุกข สิ่งใดเปนทุกข สิ่งนั้นเปนอนัตตา
(สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค เลม 17 ขอ 91 หนา 56)
จึงนาคิดวา ถามองในเชิงกลับกัน ในเมื่อนิพพานเที่ยง และเปนสุข เราก็จะสรุปได
วา สิ่งใดเที่ยง สิ่งนั้นเปนสุข สิ่งใดเปนสุข สิ่งนั้นก็นาจะเปน...อัตตา
สังขตธรรม เชน ขันธ 5 อสังขตธรรม เชน นิพพาน
(อยูในกฎไตรลักษณ) (อยูพนกฎไตรลักษณ)
174 กรณีธรรมกาย

ไมเที่ยง เที่ยง
เปนทุกข เปนสุข
เปนอนัตตา อัตตา...?
ในการถกเถียงกันนั้น มีการอางอิงหลักฐานคัมภีรชั้นพระไตรปฎกในภาษาตางๆ
กัน มากมาย และมีก ารวิเ คราะหวิจัย ถึง ความสอดคลอ งโดยองคร วมกับ คํา สอนของ
พระพุทธศาสนาทั้งหมด มีการวิเคราะหถึงปญหาที่ติดตามมากับขอสรุปในแตละดาน เชน
ถาไมมีอัตตาที่แทจริงอยูเลย แลวจะอธิบายในเรื่องกฎแหงกรรมไดอยางไรวา ผลบุญ ผล
บาปที่กระทําไว จะสงผลไปในภพชาติตอไปไดอยางไร อะไรเปนตัวนําไป ก็มีผูตั้งทฤษฎีให
ความเห็นกันมากมาย แตก็ไมมีความเห็นใดไดรับการยอมรับทั้งหมด ลวนมีผูถกเถียง
หักลางกันไปมาทั้งสิ้น
การจะสรุปวา ความเห็นใดในเรื่องอภิปรัชญานี้เปนความเห็นที่ถูกตองจริงแท
แนนอนของพระพุทธศาสนา โดยปฏิเสธความเห็นอื่นอยางสิ้นเชิง วาเปนความเห็นนอก
พระพุทธศาสนานั้น เปนเรื่องใหญมาก จะตองศึกษาแหลงอางอิงทางพระพุทธศาสนายุค
ดั้งเดิมทุกแหลงเทาที่มีอยู ไมเฉพาะคัมภีรบาลีเทานั้น และตองศึกษาการถกเถียงเรื่องนี้
ในประวัติศาสตรตั้งแตสองพันกวาปกอน ซึ่งมีการเขียนเปนคัมภีรในภาษาตางๆ มากมาย
วา แตละฝายมีเหตุผลใด รวมทั้งตองศึกษาผลงานวิจัยในเรื่องนี้ของปราชญทั้งหลายใน
ยุคปจจุบันในประเทศตางๆ ตองสามารถหักลางเหตุผลของความเห็นที่แยงกับความเห็น
ตนลงใหไดทั้งหมด จนเปนที่ยอมรับ ไมมีหลักฐานเหตุผลแยงที่เปนอรรถเปนธรรมใดๆ
เหลืออยูเลย จึงจะสรุปไดและเปนที่ยอมรับ มิฉะนั้นขอสรุปของตนก็จะเปนเพียงความเห็น
อันหนึ่งในเรื่อ งนั้น ๆ เทา นั้น จะถือ เปน ขอ สรุป วา พระพุท ธศาสนาตอ งสอนอยา งนี้
เทานั้นไมได
จากการศึกษาประวัติศาสตรพระพุทธศาสนา สิ่งที่อาจสรุปไดประการหนึ่งก็คือ เรา
ไมสามารถอาศัยหลักฐานทางคัมภีรเทาที่มีเหลืออยูในปจจุบัน มาสรุปยืนยันความถูกตองของ
ความเห็นในเรื่องนิพพานวาเปนอัตตาหรืออนัตตา โดยไมมีประเด็นใหผูอื่นโตแยงคัดคานได
หากประเด็นเรื่องนิพพานเปนอัตตาหรืออนัตตานี้ เปนที่สนใจของชาวพุทธไทยมาก
ก็นาสนใจวา เรานาจะลองจัดสัมมนาทางวิชาการพระพุทธศาสนานานาชาติ เชิญปราชญ
ใหญผูเชี่ยวชาญทางพระพุทธศาสนายุคดั้งเดิมจากทั่วโลกมาแสดงความเห็น วิเคราะห
วิจัยเรื่องนี้กันเปนการใหญในประเทศไทยดูสักครั้ง
พระธรรมปฎก (ป. อ. ปยุตฺโต) 175

ทาทีที่ถกู ตองของชาวพุทธ
ในขณะที่ประเด็นปญหาวา นิพพานเปนอัตตาหรืออนัตตา ในทางวิชาการ ยังไม
อาจสรุปลงไดนั้น สิ่งที่ชาวพุทธพึงทราบก็คือ อายตนนิพพานนี้ พระสัมมาสัมพุทธเจาทรง
ยืนยันวา มีอยูจริง และทรงอธิบายดวยการปฏิเสธวาไมใชสิ่งนั้น ไมใชสิ่งนี้ เพราะอายตน
นิพพานเปนสิ่งที่เกินกวาวิสัยและประสบการณในโลกของปุถุชนใดๆ จะสามารถเขาใจได
ดังความในพระไตรปฎกฉบับสยามรัฐ เลมที่ 25 ขอที่ 158 ปฐมนิพพานสูตร ความวา
“ดูกอนภิกษุทั้งหลาย อายตนะนั้นมีอยู ดิน น้ํา ไฟ ลม อากาสานัญจายตนะ
วิญญาณัญจายตนะ อากิญจัญญายตนะ เนวสัญญานาสัญญายตนะ โลกนี้ โลกหนา
พระจันทร และพระอาทิตยทั้งสอง ยอมไมมีในอายตนะนั้น ดูกอนภิกษุทั้งหลาย เรายอม
ไมกลาวซึ่งอายตนะนั้นวาเปนการมา เปนการไป เปนการตั้งอยู เปนการจุติ เปนการอุบัติ
อายตนะนั้นหาที่ตั้งอาศัยมิได มิไดเปนไป หาอารมณมิได นี้แลเปนที่สุดแหงทุกข”
ดังนั้นสิ่งที่เราชาวพุทธพึงเชื่อมั่น ก็คือ อายตนนิพพานนั้น พระสัมมาสัมพุทธ
เจา ทรงยืนยันวามีอยูจริง และเปนที่สุดแหงทุกข เปนเปาหมายสูงสุดในการสรางความดี
ของชาวพุทธทั้งหลาย และเมื่อทราบดังนั้นแลวก็ขอใหขวนขวายทําความดี ดวยการเจริญ
มรรคมีองค 8 ปฏิบัติตามหลัก ศีล สมาธิ ปญญา เมื่อเราปฏิบัติจนสามารถเขาถึงอายตน
นิพพานนั้นไดแลว เรายอมตระหนักชัดดวยตัวของเราเองวา นิพพานนั้นเปนอัตตาหรือ
อนัตตา ดีกวาการมานั่งถกเถียงกันโดยไมลงมือปฏิบัติ

พระสมชาย านวุฑฺโฒ
วัดพระธรรมกาย
แพทยศาสตรบัณฑิต จุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย
พุทธศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยโตเกียว
Doctor Candidate (Buddhist Studies)
Dip. in Chinese : Dip. in Japanese
1 มกราคม 2542

You might also like