You are on page 1of 12

Intrinsically Safe ในระบบ FieldBus

Industrial Technoloqy Review 110


มิถุนายน 2546
ทวิช ชูเมือง

พื้นที่อันตราย (Hazardous Area ) / เสนโคงการจุดประกายไฟ (Ignition Curves)/


ระบบจํากัดพลังงาน (Intrinsically Safe System) / ระบบจํากัดพลังงานในระบบควบ
คุม / ระบบจํากัดพลังงานแบบ FISCO /

อุตสาหกรรมกระบวนการผลิต ทั้งอุตสาหกรรมปโตรเคมี, การกลั่นน้ํามัน และ


กาซ ในขั้นตอนการผลิตสวนมากจะมีกาซติดไฟได (Flammable Gases) มีโอกาสที่
จะเกิดการรั่วไหลออกมาแพรกระจายอยูรอบ ๆ กระบวนการผลิตหรือรอบบริเวณถัง
เก็บ ซึ่งกาซติดไฟเหลานี้ สามารถระเบิดหรือเกิดการลุกไหมได เมื่ออยูในสภาวะที่
เหมาะสม เชนมีอัตราสวนความหนาแนนของกาซติดไฟและออกซิเจนที่เหมาะสมและมี
แหลงกําเนิดพลังงานที่พอเพียงตอการลุกไหม ซึ่งพลังงานเหลานี้อาจจะมาจากอุปกรณ
ไฟฟาตาง ๆ ที่อยูในพื้นที่บริเวณนั้น สามารถแสดงรูปสามเหลี่ยมการลุกไหม (Fire
Triangle) ไดดังรูปที่ 1

รูปที่ 1 สามเหลี่ยมการลุกไหม
วิธีการปองกันการระเบิดหรือลุกไหม อันเนื่องมาจากกาซติดไฟเหลานี้ สามารถ
กระทําไดโดยการควบคุมตัวแปรตัวใดตัวหนึ่งเพื่อไมใหครบองคประกอบของการลุก
ไหม ดังนั้นจึงตองมีการแบงบริเวณพื้นที่กระบวนการผลิตออกเปน 2 เขตคือ
1. พืน
้ ทีป
่ ลอดภัย (Safe Area) สวนมากจะเปนบริเวณพื้นที่ในอาคารควบคุม
(Central Control Room) และเปนบริเวณที่กาซติดไฟที่รั่วไหลออกมาไมสามารถแพร
กระจายเขาไปถึง
2. พืน
้ ที่อน
ั ตราย (Hazardous Area) สวนมากจะเปนบริเวณพื้นที่ในกระบวน
การผลิตหรือบริเวณที่มีโอกาสเกิดการรั่วไหลของกาซติดไฟออกมาไดตลอดเวลา
การแบงเขตพื้นที่อันตรายจะมีมาตรฐานสากลสําหรับใชในการแบง อาทิเชน
API RP 500 หรือ NFPA article 500 เมื่อทําการแบงเขตพื้นที่ในกระบวนการผลิต
แลว ถามีอุปกรณไฟฟาหรืออุปกรณเครื่องมือวัดที่ตองการนําไปติดตั้งอยูในพื้นที่
อันตราย จะตองมีการปองกันไมใหอุปกรณไฟฟาหรืออุปกรณเครื่องมือวัดตาง ๆ เหลา
นี้ เปนแหลงกําเนิดประกายไฟหรือแหลงกําเนิดพลังงานพอเพียงตอการเกิดลุกไหมถา
เกิดการรั่วไหลของกาซติดไฟออกมา สําหรับวิธก ี ารปองกันนั้นสามารถออกแบบระบบ
เครื่องมือวัดหรือเลือกใชอปกรณตามมาตรฐานสากลไดหลายวิธี อาทิเชน การปองกัน
การระเบิด (Explosion Proof : Ex d), การจํากัดพลังงาน (Intrinsically Safe : Ex i),
การไลกาซติดไฟออกไปจากแหลงพลังงาน (Pressurized : Ex p) เปนตน การปอง
กันในรูปแบบจํากัดพลังงานและการปองกันการระเบิดจะพบเห็นการใชงานไดบอยครั้ง
ในระบบเครื่องมือวัด ในบทความนี้จะแสดงเขตพื้นที่อันตรายและกาซติดไฟประเภท
ตาง ๆ แสดงหลักการทํางานของระบบจํากัดพลังงานหรือที่เรียกกันวา ระบบ I.S.
(Intrinsically Safe System) การใชงานระบบ Intrinsically Safe ในระบบการควบ
คุมพื้นฐานและระบบการควบคุม FieldBus นอกจากนั้นแลว จะนําเสนอหลักการ
ทํางานของระบบ Intrinsically Safe ในระบบ FieldBus อีกรูปแบบหนึ่งที่เรียกวา
FISCO (Fieldbus Intrinsically Safe Concept)

พื้นทีอ
่ น
ั ตราย (Hazardous Area )

ในอุตสาหกรรมกระบวนการผลิตมีโอกาสที่จะเกิดการรั่วไหลของกาซติดไฟออก
มาไดตลอดเวลาและกาซติดไฟยังมีอยูหลายชนิดขึ้นอยูกับกระบวนการผลิต ดังนั้นจึง
ตองมีการกําหนดเขตพื้นที่อันตรายตามระยะเวลาการรั่วไหลและชนิดของกาซติดไฟที่
รั่วไหลออกมาในพื้นที่อันตราย มาตรฐานที่ใชในสหรัฐอเมริกาและแคนาดา นอกเหนือ
จากการแบงกลุมกาซติดไฟแลว ยังมีการแบงกลุมสารไวไฟที่เปนฝุนและเสนใยอีกดวย
พื้นที่อันตรายที่ถูกกําหนดขึ้นจะใชเปนแนวทางในการเลือกใชอุปกรณเครื่องมือวัด
และกําหนดลักษณะการติดตั้งอุปกรณเครื่องมือวัดในพื้นที่อันตรายเหลานั้น เพื่อให
เหมาะสมกับพื้นที่อันตรายและเหมาะสมกับวิธีปองกันการระเบิดหรือลุกไหมที่เลือกใช
ซึ่งการแบงเขตพื้นที่อันตรายตามมาตรฐานสากล สามารถแบงเขตพื้นที่อันตรายได
เปน 2 กลุม ดังนี้
IEC & CENELEC USA & CANADA

ZONE 0 คือ บริเวณที่กาซติดไฟ Division 1 คือ บริเวณที่กาซติดไฟ


สามารถรั่วไหลออกมาได สามารถรั่วไหลออกมาได
ZONE 1 คือ บริเวณที่กาซติดไฟ
สามารถรั่วไหลออกมาได
่ มี Division 2 คือ บริเวณที่สารไวไฟ
ZONE 2 คือ บริเวณที่ปกติจะไม
การรั่วไหลของกาซติด สามารถรั่วไหลออกมาได
อุปกรณตาง ๆ ใน
กระบวนการผลิต
การแบงกลุม
 ของสารไวไฟในแตละพืน
้ ที่
การแบงกลุมของสารไวไฟจะแบงตามปริมาณพลังงานที่ตองการสําหรับการติด
ไฟ
IEC & CENELEC USA & CANADA
การแบงกลุมของกาซติดไฟ จะแบง การแบงกลุมของกาซติดไฟ จะแบง
ไดดังนี้ ไดดังนี้
Group IIC : Acetylene Class I, Group A : Acetylene
Group IIC : Hydrogen Class I, Group B : Hydrogen
Group IIB : Ethylene Class I, Group C : Ethylene
Group IIA : Propane Class I, Group D : Propane
Group I : Methane การแบงกลุมของฝุนติดไฟ จะแบง
ไดดังนี้
Class II, Group E : Metal Dust
Class II, Group F : Carbon
Dust
Class II, Group G : Flour,
Starch, Grain
การแบงกลุมของเสนใยติดไฟ จะ
แบงไดดังนี้
Class III : Fiber
การแบงกลุม
 อุณหภูมข
ิ องอุปกรณทใ
ี่ ชในพืน
้ ทีอ
่ ันตราย
การแบงกลุมอุณหภูมิของอุปกรณจะแยกตามคาอุณหภูมิที่ผิวของอุปกรณ เมื่อ
เกิดความผิดปกติขึ้นกับอุปกรณที่อุณหภูมิรอบขางที่ 40OC สามารถแบงไดดังนี้
การแบงกลุมอุณหภูมิของอุปกรณจะแยก
ตามคาอุณหภูมิที่ผิวของอุปกรณ เมื่อ
เกิด ความผิดปกติขึ้นกับอุปกรณที่อุณหภูมิ
รอบขางที่ 40OC สามารถแบงไดดังนี้
T1 450 OC
T2 300 OC
T3 200 OC
T4 135 OC
T5 100 OC
T6 85 OC

กลับดานบน
เสนโคงการจุดประกายไฟ (Ignition Curves)

เปนกราฟที่ใชแสดงคาแรงดันและกระแสไฟฟาที่สามารถยอมใหใชไดในแตละ
กลุมกาซสําหรับวงจรไฟฟาที่มีความตานทานเพียงอยางเดียว (Purely Resistive
Circuit) ขอมูลแรงดันและกระแสไฟฟาที่แสดงในกราฟนี้ เปนขอมูลที่ไดจากการ
ทดลองและมีการยอมรับสําหรับการนําไปใชงานกันอยางกวางขวาง [3] การทดลอง
กระทําโดยทําการปดและเปดหนาสัมผัสที่มีการตอวงจรไฟฟาในกลองปดที่มีการปลอย
กาซติดไฟไหลเขาไปและกลองปดนี้ตองสามารถทนตอการระเบิดจากภายในได
อุปกรณนี้จะเรียกวา Spark Test Apparatus ดังแสดงในรูปที่ 2 ในการนําขอมูลจาก
กราฟนี้ไปใชงานจริงตองมีการคูณดวยคาตัวแปรความปลอดภัยที่ 1.5 ของกระแสที่
แสดงในกราฟ แสดงกราฟเสนโคงการจุดประกายไฟไดดังรูปที่ 3

รูปที่ 2 วงจรไฟฟาที่มีความตานทานเพียงอยางเดียวและ Spark Test


Apparatus

รูปที่ 3 เสนโคงการจุดประกายไฟ

การจุดประกายไฟอันเนื่องมาจากคาคาปาซิแตนซ (Capacitance) ของวงจรจะ


ขึ้นอยกับแรงดันไฟฟาที่ใชงานโดยคาคาปาซิแตนซจะเปนคาคาปาซิแตนซรวมของวง
จร การจุดประกายอันเนื่องมาจากคาอินดักแตนซ (Inductance) ของวงจรจะขึ้นอยูกับ
คากระแสของวงจร และคาอินดักแตนซจะถูกกําหนดอยูในรูปแบบอัตราสวนกับความ
ตานทาน (L/R Ratio) เพราะเมื่อความยาวของสายไฟยาวขึน
้ จะทําใหคาความตาน
ทานมีคาเพิ่มขึ้นดวย

กลับดานบน

ระบบจํากัดพลังงาน (Intrinsically Safe System)

ระบบจํากัดพลังงานเปนระบบการปองกันอุปกรณเครื่องมือวัดในพื้นที่อันตรายที่มี
การใชกันอยางกวางขวางในปจจุบันหรือที่เรียกวา ระบบ I.S. หลักการทํางานของ
ระบบจํากัดพลังงานจะเปนการปองกันไมใหพลังงานจากพื้นที่ปลอดภัยออกไปยังพื้นที่
อันตรายเกินกวาที่กําหนด หรือเกินกวาพลังงานที่สามารถทําใหเกิดประกายไฟในพื้นที่
อันตรายจนเปนสาเหตุใหเกิดการลุกไหมหรือระเบิดเมื่อมีกาซติดไฟรั่วไหลออกมา
ระบบจํากัดพลังงานจะตองมีอุปกรณที่เรียกวา Barriers ติดตั้งอยูในวงจรเสมอและตอง
ติดตั้งอยูในพื้นที่ปลอดภัย เพราะ Barriers จะเปนตัวที่ใชจํากัดพลังงานไมใหออกไปยัง
พื้นที่อันตราย ดังแสดงในรูปที่ 4

รูปที่ 4 Barriers ในระบบจํากัดพลังงาน

จากรูปที่ 4 จะเห็นวา Barriers จะมีสวนประกอบพื้นฐานหลัก ๆ อยู 3 สวนคือ ฟวส


(Fuse), ซีเนอรไดโอด (Zener Diode) และความตานทาน (Resistor) ในการใชงาน
ตองทําการตออุปกรณการวัดกับ Barrier ใหถูกตอง สําหรับอุปกรณตาง ๆ ในระบบ I.S
จะมีจุดตอสายไฟสําหรับดาน Hazardous Area เปนสีฟา จากวงจรในรูปที่ 4 จะพบวา
พลังงานสูงสุดที่สามารถจายออกไปยังพื้นที่อันตราย คํานวณไดโดยการลัดวงจรดาน
Hazardous Area และสามารถคํานวณพลังงานสูงสุดจะไดเทากับ แรงดันไฟฟาของซี
เนอรไดโอดคูณกับความตานทาน (UZ * R) จากกราฟเสนโคงการจุดประกายไฟทําให
สามารถกําหนดคากระแสในแตละกลุมกาซที่จะนําไปใชงานได
สวนฟวสกับซีเนอรไดโอดจะเปนสวนที่ใชปองกันแรงดันไฟฟาสูง ๆ ไมใหออกไปยังพื้น
ที่อันตราย โดยการทํางานของซีเนอรไดโอดสามารถแสดงไดดงั รูปที่ 5
รูปที่ 5 การทํางานของซีเนอรไดโอด
จากรูปที่ 5 เมื่อมีความผิดพลาดในสวนพื้นที่ปลอดภัยแลวทําใหเกิดมีแรงดันไฟฟา
ที่สูง ๆ กวาแรงดันไฟฟาใชงานปกติ ซึ่งแรงดันไฟฟาสูง ๆ นี้สามารถที่จะออกไปยังพื้นที่
อันตรายและอาจเปนสาเหตุใหเกิดประกายไฟได ซึ่งแรงดันไฟฟาที่คาสูง ๆ นี้จะทําใหซี
เนอรไดโอดทํางานและซีเนอรไดโอดจะเริ่มนํากระแสและจะนํากระแสจนกระทั่ง กระแส
ที่ไหลผานตัวซีเนอรไดโอดมีคามากกวาคากระแสที่ฟวสทนไดจะทําใหฟวสขาด โดยคา
กระแสของฟวสตองกําหนดใหเหมาะสมกับกระแสที่ซีเนอรไดโอดทนได สามารถแสดง
การปองกันแรงดันไฟฟาเกินไดดังรูปที่ 6

รูปที่ 6 การปองกันแรงดันไฟฟาเกิน
ระบบ I.S ยังมีการแบงชนิดของ Barriers ออกไปเพื่อใหเหมาะสมกับพื้นที่
อันตรายที่จะนําไปใชงานไดเปน 2 ชนิดคือ Barriers ชนิด "ia" สามารถนําไปใชกับ
อุปกรณเครื่องมือวัดที่ติดตั้งอยูในพื้นที่อันตราย Zone 0, 1 และ 2 และอีกชนิดหนึ่งจะ
เปน Barriers ชนิด "ib" สามารถนําไปใชกับอุปกรณเครื่องมือวัดที่ติดตั้งอยูในพื้นที่
อันตราย Zone 1 และ 2 แตไมสามารถนําไปใชกับ Zone 0 ได
สามารถแสดงขอดีของระบบจํากัดพลังงานไดดังนี้
• มีคาใชจายต่ํา

• สวนหอหุมอุปกรณ (Enclosure) ไมตอ


 งออกแบบพิเศษ
• มีความปลอดภัยตอผูปฏิบัติงานเพราะมีแรงดันไฟฟาทํางานต่ํา

• สามารถใชกับพื้นที่อันตรายที่เปน Zone 0 ได

• สามารถซอมบํารุงขณะที่วงจรยังจายไฟอยู

นอกจาก Barrier จะถูกแบงออกตามพื้นที่ในการนําไปใชงานแลว Barrier ยังจะ


ถูกแบงออกตามลักษณะอุปกรณภายในของ Barriers ไดอีก 2 ชนิดคือ

1. ซีเนอร Barriers จะมีการทํางานดังรายละเอียดที่ไดกลาวไปแลวขางตน แสดง


รูปของ ซีเนอร Barriers ไดดังรูปที่ 7

รูปที่ 7 ซีเนอร Barriers

นอกจากขอดีที่ไดกลาวไปแลว ซีเนอร Barriers จะมีขอเสียดังนี้


• มีขอจํากัดของแรงดันไฟฟาที่ใชงาน

• ตองการ I.S กราวดที่มีคณ


ุ ภาพดี

2. Galvanic Isolator จะมีการทํางานที่คลายคลึงกับซีเนอร Barriers แตจะแตก


ตางกันตรงอุปกรณภายในที่มีการเพิ่มตัวแยกสวน (Isolator) ระหวาง I.S Circuit และ
Non-I.S Circuit ดังรายละเอียดแสดงไดดังรูปที่ 8

รูปที่ 8 Galvanic Isolator

นอกจากขอดีของระบบจํากัดพลังงานที่ไดกลาวไปแลว Galvanic Isolator ยังมี


ขอดีเมื่อเปรียบเทียบกับ ซีเนอร Barriers ดังนี้

• มีการแยกสวนกันระหวาง I.S Circuit และ Non-I.S Circuit

• ไมมีขอจํากัดของแรงดันไฟฟาที่ใชงาน

• ไมตองการ I.S กราวด

กลับดานบน

ระบบจํากัดพลังงานในระบบควบคุม

ในอุตสาหกรรมการผลิตตาง ๆ จะมีระบบควบคุมและอุปกรณเครื่องมือวัดที่ถูกติด
ตั้งอยูในกระบวนการผลิตเปนสวนใหญ และเปนที่ทราบกันดีวาอุตสาหกรรมการผลิตที่
เกี่ยวกับการกลั่นน้ํามัน, กาซ และปโตรเคมี พื้นที่ในกระบวนการผลิตจะถูกกําหนดให
เปนพื้นที่อันตราย (Hazardous Area) ดังนั้นอุปกรณเครื่องมือวัดที่จะนําเขาไปติดตั้ง
ในกระบวนการผลิตเหลานี้ จะตองมีการปองกันไมใหอุปกรณเครื่องมือวัดเหลานี้เปน
แหลงกําเนิดประกายไฟหรือพลังงานที่พอเพียงตอการลุกไหมเมื่อเกิดการรั่วไหลของ
กาซติดไฟ
จากหลักการทํางานของระบบจํากัดพลังงานที่ไดแสดงรายละเอียดในหัวขอที่
ผานมา สามารถนําระบบการปองกันแบบนี้มาใชงานกับระบบการควบคุมพื้นฐานหรือที่
รูจักกันดีคือ ระบบ DCS (Distributed Control System) ที่มีสวนประกอบหลัก ๆ ดังนี้
อุปกรณการวัดและควบคุมที่ติดตั้งอยูในกระบวนการผลิต (Field Devices), ตูสําหรับ
ตัวควบคุม (Controller Cabinet), ตูสําหรับตอสาย (Marshalling Cabinet) และสวน
ติดตอกับผูปฏิบัติงาน (Human Machine Interface) ดังแสดงในรูปที่ 9 สําหรับการนํา
ระบบการจํากัดพลังงานไปใชงานนั้น อุปกรณเครื่องมือวัดทุกตัวจะตองมี Barriers ติด
ตั้งอยูในพื้นที่ปลอดภัยหรือในตูตอสาย (Marshalling Cabinet) และอุปกรณทุกตัวจะ
ตองมีคุณสมบัติตามขอกําหนดของการใชงานในระบบ I.S (I.S Certified Devices)
ดังแสดงรายละเอียดการใชงานในรูปที่ 10

รูปที่ 9 ระบบควบคุมพื้นฐาน
รูปที่ 10 การใชงาน Barriers กับระบบควบคุมพื้นฐาน
ในทํานองเดียวกันระบบจํากัดพลังงานยังสามารถนําไปใชงานกับระบบการควบ
คุมแบบ FieldBus [1] โดยใช Barrier เพียงตัวเดียวกับสายบัสที่ใชเปนจุดตอของ
อุปกรณ แตการใชงานในรูปแบบนี้จะมีขอจํากัดของจํานวนอุปกรณที่จะนํามาตอเขา
กับสายบัสนัน
้ จะขึ้นอยูกับความสามารถในการจายกระแสของตัว Barrier ที่ออกไปยัง
สายบัส สามารถแสดงการใชงานในระบบ Fieldbus ไดดังรูปที่ 11

รูปที่ 11 การใชงานระบบจํากัดพลังงานกับระบบ FieldBus


จากรูปที่ 11 จะเห็นไดวาในสายบัสเสนเดียวสามารถจะมีอุปกรณการวัดและควบ
คุมตออยูไดหลายตัว โดยจํานวนอุปกรณที่จะนํามาตอนั้นจะขึ้นอยูกับความสามารถใน
การจายกระแสของบัส ซึง่ สามารถหาคากระแสบัสสําหรับการใชงานในระบบ I.S ได
โดยจะกําหนดใหมีคาตัวแปรตาง ๆ ดังนี้
1. สายบัสจะใชสายไฟตามมาตรฐาน Fieldbus Type A โดยมีคาความตานทาน
ตอตัวนําเปน 24 ( /Km เมื่อคิดเปนลูปจะไดความตานทานเปน 48 ( /Km หรือ 0.048 (
/m

2. อุปกรณการวัดจะทํางานไดที่แรงดันไฟฟาต่ําสุดเทากับ 9 VDC

3. กําหนดให Barrier สําหรับใชใน Zone 0 และกาซกลุม IIC มีแรงดันไฟฟา


ดานขาออกมีคาเปน 19 VDC และมีความตานทานภายในเทากับ 105 (
สามารถหาคากระแสสูงสุดตอความยาวของสายไฟไดดังนี้
กระแส (mA) = (แรงดันไฟฟาดานขาออก - 9V) / (ความตานทานภายใน +
ความตานทานสายไฟ)
และสามารถแสดงกราฟความสัมพันธระหวางกระแสและความยาวของสายไฟได
ดังรูปที่ 12
รูปที่ 12 กราฟความสัมพันธระหวางกระแสและความยาวของสายบัส
จากรูปที่ 12 จะพบวาเมื่อความยาวของสายบัสยาวขึ้นจะทําใหความสามารถใน
การจายกระแสของบัสลดลง ถากําหนดใหมีอุปกรณการวัดแบบ FieldBus ตออยูที่
ปลายของสายบัสที่ระยะความยาว 750 เมตร จากกราฟรูปที่ 12 จะเห็นไดวาจะมีคา
กระแสที่บัสจายไดเพียง 70 mA สําหรับการใชงานในระบบ Fieldbus อุปกรณจะมี
การดึงกระแสจากสายบัสประมาณ 15- 20 mA ตออุปกรณขึ้นอยูกับอุปกรณที่เลือกใช
ดังนั้นจํานวนอุปกรณการวัดแบบ Fieldbus ที่สามารถตอเขากับสายบัสในระบบ I.S
จะไดสูงสุดประมาณ 3-4 ตัว

กลับดานบน

ระบบจํากัดพลังงานแบบ FISCO

จากหัวขอที่ผานมาจะเห็นวาการนําระบบจํากัดพลังงานไปใชกับระบบ Fieldbus
จะมีขอจํากัดเกี่ยวกับความสามารถในการจายกระแสของบัสเมื่อมีความยาวของบั
สมาก ๆ จึงทําใหจํานวนอุปกรณตอบัสถูกจํากัด ดังนั้นจึงมีการนําเสนอแหลงจาย
กระแสไฟสําหรับสายบัสที่เรียกวา FISCO (Fieldbus Intrinsically Safe COncept)
[2] เพื่อนํามาใชงานกับระบบ Fieldbus ในแบบ I.S โดยการใชงานแหลงจายไฟแบบ
FISCO จะคลายกับการใชงาน Barrier แตสายบัสและอุปกรณที่จะนํามาตอกับแหลง
จายไฟแบบ FISCO จะมีขอกําหนดตาง ๆ ดังนี้

* ระบบบัสตองเปนไปตามมาตรฐาน IEC-1158-2
* อุปกรณที่ตออยูกับบัสจะตองดึงกระแสจากบัสเทานั้น
* อุปกรณแตละตัวตองกินกระแสไฟฟาต่ําสุดที่ 10 mA และในชวงการสง
สัญญาณกระแสจะแกวงอยูในชวง ( 9 mA
* ความยาวของบัสสูงสุดเทากับ 1,000 เมตร
* สายบัสตองมีคาตัวแปรตาง ๆ ดังนี้ ความตานทาน = 15-150 (/km, คาอินดัก
แตนซ = 0.4-1 mH/km, คาคาปาซิแตนซ = 80-200 (F/km
* Bus Terminator มีความตานทาน = 90 - 100 (, คาคาปาซิแตนซ = 0- 2.2 (F

รูปที่ 13 การใชงาน FISCO

รูปที่ 14 สัญญาณกระแสตามขอกําหนดของ FISCO

แหลงจายกระแสในรูปแบบ FISCO จะมีกราฟคุณลักษณะการจายกระแสเปน


แบบสี่เหลี่ยมคางหมูหรือสี่เหลี่ยมมุมฉาก (Trapezoidal หรือ Rectangular) โดยจะมี
ชุดสําหรับควบคุมกระแสใหคงที่ เมื่อมีการดึงกระแสเพิ่มขึ้นแรงดันไฟฟาจะยังคงมีคา
คงที่จนถึงคากระแสสูงสุดที่กําหนดไว ตัวอยางแหลงจายไฟแบบ FISCO สําหรับการ
ใชงานในกลุมกาซ IIC ชนิด "ib" จะมีคาแรงดันไฟฟาดานขาออกสูงสุดเปน 15 V และ
มีแรงดันไฟฟาทํางานที่ 13.5 V และจากรายงานของ PTB report W-39 [2] จะ
กําหนดคากระแสสูงสุดไวที่ 128 mA ดังนั้นสามารถเขียนกราฟคุณลักษณะของแหลง
จายไดดังรูปที่ 15

รูปที่ 15 กราฟคุณลักษณะแหลงจายไฟแบบ FISCO ชนิด "ib"

จากขอกําหนดสัญญาณกระแสของอุปกรณการวัดในแบบ FISCO จะใชกระแส


ที่ชวงเวลาปกติเปน 10 mA ดังนั้นเมื่อนําแหลงจายแบบ FISCO ไปใชงานกับระบบ
FieldBus ที่มีระยะความยาวของสายบัสเปน 750 เมตร จะสามารถจายกระแสได
ประมาณ 110 mA ดังนั้นจํานวนอุปกรณที่สามารถนําไปตอกับสายบัสแบบนี้จะมี
จํานวนไดเทากับ 10 ตัว ซึ่งจํานวนอุปกรณการวัดจะมีจํานวนมากกวาการใช Barrier
แบบเกา ในปจจุบันแหลงจายไฟแบบ FISCO สามารถนําไปใชงานกับระบบควบคุม
FieldBus ที่มีใชกับอุปกรณเครื่องมือวัดทั้งสองรูปแบบคือ FOUNDATION FieldBus
และ PROFIBUS-PA
จากหลักการของระบบการปองกันการเกิดประกายไฟในรูปแบบจํากัดพลังงาน
หรือ ระบบ Intrinsically Safe (I.S) จะมีขอกําหนดในการนําไปใชที่ตองพิจารณาอยู
หลายขอ ดังนั้นในการนําระบบนี้ไปใชงานทั้งในการควบคุมแบบทั่วไปและแบบ
FieldBus จะตองมีการคํานวณคาตัวแปรใหเหมาะสมกันระหวางอุปกรณการวัดและ
Barriers นอกจากนั้นแลวชนิดของ Barriers ก็จําเปนตองเลือกใหเหมาะสมเชนกัน
ปญหาที่พบบอยครั้งในการใชงานระบบ I.S จะเปนคาแรงดันไฟฟาที่ดานขาออกของ
Barrier มีคาต่ําเกินไปจนทําใหอุปกรณการวัดบางชนิดหยุดทํางาน เมื่อมีการดึง
กระแสจากระบบมากขึ้น

You might also like