You are on page 1of 15

บทนำ

ย้อนไปเมือ่ ประมาณ 60 ปีทแ่ี ล้ว ในช่วงสงครามโลกครัง้ ที่ 2 หนึง่ ในวิกฤติ


ที่ประเทศไทยประสบปัญหาในช่วงนั้น คือ การขาดแคลนน้ำมัน ในช่วงนั้นจึง
มีการใช้น้ำมันจากพืชที่มีชื่อว่า “ สบู่ดำ” เป็นน้ำมันเชื้อเพลิงสำหรับเครื่องยนต์
แต่หลังสงครามโลกยุติลงน้ำมันเชื้อเพลิงที่เรียกว่าน้ำมันปิโตรเลียมถูกนำมาใช้กัน
อย่างฟุ่มเฟือย จนทำให้พืชสบู่ดำถูกลืมตั้งแต่นั้นมา
อันทีจ่ ริง การใช้นำ้ มันพืชกับเครือ่ งยนต์ไม่ใช่เรือ่ งใหม่ เนือ่ งจากเมือ่ ปี 2443
ดร.รูดอล์ฟ ชาวเยอรมัน ได้ประดิษฐ์คิดค้นเครื่องยนต์ดีเซลเครื่องแรกของโลก
โดยใช้น้ำมันจากถั่วลิสงเป็นเชื้อเพลิง จนกระทั่งเป็นต้นแบบของเครื่องยนต์ดีเซล
และพัฒนามาใช้กับน้ำมันปิโตรเลียมในปัจจุบัน
เมื่อปี พ.ศ. 2522 เกิดวิกฤตน้ำมันแพงอีกครั้ง ทำให้มีผู้ทดสอบการใช้
น้ำมันสบูด่ ำกับเครือ่ งยนต์คโู บต้า รุน่ ET70 ในช่วงความเร็วรอบระหว่าง 1,500 - 2,300
รอบต่อนาที เป็น เวลา 1,000 ชั่วโมง พบว่าสามารถใช้ทดแทนน้ำมันดีเซลได้โดย
ไม่ต้องใช้ส่วนผสมไม่ทำให้เครื่องยนต์เสียหาย ส่วนการรวบรวมผลการวิเคราะห์
ทางกายภาพและเคมีของน้ำมันสบูด่ ำ พบว่า เป็นน้ำมันพืชทีม่ ศี กั ยภาพทางเชือ้ เพลิง
ที่ดีใกล้เคียงกับน้ำมันดีเซลหลายประการ อาทิเช่น มีค่าคุณสมบัติในการจุดติดไฟ
(cetane no.) 51 ในขณะที่มาตรฐานดีเซลกำหนดไม่ต่ำกว่า 47 และค่าพลังงาน 41
MJ / kg ในขณะที่ค่าพลังงานของดีเซล 42.6 MJ / kg เป็นต้น ซึ่งเป็นคุณสมบัติที่
ช่วยยืนยันความเป็นไปได้ในการนำไปใช้เป็นน้ำมันเชื้อเพลิงสำหรับเครื่องยนต์ได้
อย่างไรก็ตาม ในขณะนีก้ รมส่งเสริมการเกษตรได้แนะนำให้นำน้ำมันสบูด่ ำ
มาใช้กบั เครือ่ งยนต์ดเี ซลสูบเดียว (เครือ่ งยนต์เกษตร) เท่านัน้ เนือ่ งจากเป็นเครือ่ งยนต์
ที่มีระบบไม่สลับซับซ้อนและซ่อมบำรุงง่ายโดยให้ใช้ตามคำแนะนำเพื่อบรรเทา
ความเดือดร้อนของเกษตรกรทีเ่ กิดจากราคาน้ำมันเชือ้ เพลิงทีส่ งู ขึน้ มากอย่างรวดเร็ว
และหากเกษตรกรสามารถพัฒนาให้มกี ระบวนการผลิตไบโอดีเซลใช้ทดแทนน้ำมัน
ดีเซลในชุมชนได้ก็จะเกิดเป็นระบบเศรษฐกิจพอเพียงตามแนวพระราชดำริของ
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้เป็นอย่างดี นอกจาก นี้สบู่ดำยังเป็นพืชทางเลือกที่
ภาคอุตสาหกรรมให้ความสนใจในการใช้เป็นวัตถุดบิ สำหรับผลิตไบโอดีเซลทดแทน
การใช้น้ำมันดีเซลอีกชนิดหนึ่งด้วย

กรมส่งเสริมการเกษตร
1.การผลิตพืช
ชือ่ สามัญ : Physic nut หรือ Purging nut
ชือ่ วิทยาศาสตร์ : Jatropha curcas L.
ชือ่ อืน่ ๆ : ภาคกลาง เรียก สบูด่ ำ
ภาคเหนือ เรียก มะหุง่ ฮัว้
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เรียก มะเยา หรือสีหลอด
ภาคใต้ เรียก หงเทศ
ภาษายาวีทอ้ งถิน่ ทางภาคใต้ เรียก ยาเคาะ
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
เป็นไม้ยืนต้น อายุยืนไม่น้อยกว่า 20 ปี ทรงพุ่มขนาดกลาง สูงประมาณ
2 - 7 เมตร ใบเป็นใบเดียวคล้ายใบฝ้ายแต่หนากว่า ขอบใบมีหยักตืน้ ๆ 3 - 5 หยัก
ดอกมีขนาดเล็กสีเหลือง จำนวน 70 - 120 ดอกต่อช่อ ออกดอกถึงติดผลใช้เวลา
ประมาณ 60 วัน มี 7 - 15 ผลต่อช่อดอก ผลอ่อน สีเขียว ผลแก่มีสีเหลืองถึงดำ
ทรงกลม เปลือกหนา ส่วนใหญ่มี 3 พู เมล็ดมีสีดำ เนื้อในมีสีขาว
การให้ผลผลิต
* ต้นจากการเพาะเมล็ด จะให้ผลผลิตหลังปลูกประมาณ 6- 8 เดือน
* กิ่งปักชำจะให้ผลผลิตเร็วกว่าต้นจากการเพาะเมล็ด
* ในสภาพพื้นที่ปลูกที่อาศัยน้ำฝน สบู่ดำจะให้ผลผลิตตลอดช่วงฤดูฝน
เฉลี่ยต้นละ 1 กิโลกรัม
* หากมีการให้น้ำ สบู่ดำจะให้ผลผลิตตลอดทั้งปี และให้ผลผลิตสูงขึ้น
การขยายพันธุ์
1. วิธีการเพาะเมล็ด สามารถทำได้หลายวิธี อาทิเช่น
1.1 การเพาะเมล็ดลงในถุงพลาสติก แนะนำดังนี้
(1) ใช้ถุงพลาสติก ขนาด 5 x 8 นิ้ว
(2) บรรจุดินผสมที่มีอัตราส่วนผสมของทราย ขี้เถ้าแกลบ
ขุยมะพร้าว ปุ๋ยคอก ประมาณ 3:3:1:1
(3) วางเมล็ดลงในดินผสมให้ลกึ ประมาณ 3 เซนติเมตร ให้ตง้ั เมล็ด
ขึ้นโดยให้จุดขาวที่ปลายเมล็ดอยู่ด้านล่างเมื่อเมล็ดงอกแล้วจะทำให้ลำต้นของต้น
กล้าตั้งตรง
1.2 การเพาะเมล็ดลงในแปลงเพาะกล้า เป็นวิธีเตรียมกล้าที่ประหยัด
ต้นทุน แต่ควรมีการเตรียมแปลงปลูกให้พร้อมก่อนการย้ายกล้า เพือ่ ให้ตน้ กล้าหลัง
ปลูกมีการฟื้นตัวเร็วขึ้นมีวิธีการดังนี้
(1) เตรียมแปลงเพาะกล้า ขนาดกว้าง 1.2 เมตร ยาวตามความ
เหมาะสม อาจใช้อิฐบล็อก วางเป็นแนวขอบของแปลงเพาะก็ได้
(2) ใส่ดินผสมลงในแปลงที่เตรียมไว้ ความสูงของดินผสมใน
แปลงควรไม่น้อยกว่า 15 เซนติเมตร รดน้ำให้ดินผสมมีความชื้นพอสมควร แล้ว
จึงทำแนวสำหรับวางเมล็ดตามแนวยาวของแปลง ให้แนวห่างกันประมาณ 15
เซนติเมตร (จะได้ 8 แถว )
(3) ใช้ไม้กดเป็นหลุมเล็ก ๆ ลงบนหน้าดิน ลึกประมาณ 3
เซนติเมตร แต่ละหลุมห่างกันประมาณ 10 เซนติเมตร
(4) วางเมล็ดลงในหลุมที่เตรียม ให้ตั้งขึ้นโดยให้จุดขาวที่ปลาย
เมล็ดอยู่ด้านล่าง เมื่อใส่เมล็ดครบทุกร่องแล้วให้กลบดินผสมด้านบนของเมล็ด
แล้วรดน้ำ หลังจากทำการเพาะเมล็ดแล้วประมาณ 5 - 10 วัน เมล็ดจะเริ่มงอก
ให้ทำการดูแลรักษาอย่างต่อเนื่อง
(5) เมื่อต้นกล้ามีความสูงประมาณ 30 เซนติเมตร จึงย้ายไปปลูก
ในพื้นที่ปลูกได้
(6) ก่อนถอนต้นกล้าให้รดน้ำแปลงเพาะกล้าเพื่อให้ดินร่วนซุยจะ
ช่วยให้ระบบรากไม่กระทบกระเทือนมาก
การเพาะเมล็ดทุกวิธีควรทำการพรางแสงประมาณ 50 เปอร์เซ็นต์ เพื่อให้
ต้นกล้ามีการเจริญเติบโตที่ดี และควรทำการปรับสภาพต้นกล้าให้แข็งแรงด้วยการ
เปิดให้ต้นกล้าได้รับแสงก่อนการย้ายปลูกประมาณ 3 - 5 วัน
2. วิธีการปักชำ
2.1 เลือกท่อนพันธุ์จากต้นแม่ที่มีลักษณะที่ดี ให้ผลผลิตสูง
ต้นสมบูรณ์ แข็งแรง ไม่มีโรคแมลงรบกวน ช่วงที่มีสีเขียวปนเทา
2.2 ตัดให้มีความยาวประมาณ 30 เซนติเมตร (ด้านโคนตัดเฉียง
และด้านบนตัดตรง เพื่อป้องกันการสับสนทิศทางของท่อนพันธุ์ )
2.3 ปักชำท่อนพันธุ์ลงในถุงพลาสติกขนาด 5 x 8 นิ้ว ที่บรรจุดินผสม
หรือปักชำลงในแปลงเพาะชำที่เตรียมไว้เหมือนกับการเพาะเมล็ด ลึกประมาณ 10
เซนติเมตร
2.4 รดน้ำให้ชุ่ม การดูแลรักษาทำเหมือนกับวิธีการเพาะเมล็ด
2.5 ประมาณ 40 - 45 วัน สามารถนำไปปลูกในแปลงปลูกได้
3. วิธีการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื้อ
เป็นวิธีการขยายพันธุ์ที่สามรถผลิตต้นกล้าได้ปริมาณมาก ในเวลา
อันสั้นและตรงตามพันธุ์ที่ต้องการ
การปลูก
- การปลูกเพือ่ ให้ได้ผลผลิตเป็นทีน่ า่ พอใจ ต้องมีการปฏิบตั ดิ แู ลรักษาทีเ่ หมาะสม
- ควรเลือกพื้นที่ปลูกที่มีการระบายน้ำได้ดี ไม่ท่วมขัง เป็นที่โล่งแจ้ง
เพื่อให้ต้นที่ปลูกรับได้รับแสงแดดเต็มที่
- กรณีทป่ ี ลูกเป็นแปลง ควรมีการไถปรับพืน้ ที่ และยกร่องเพือ่ การระบายน้ำที่ดี
มีความสูง อย่างน้อย 30 เซนติเมตร ระยะห่างระหว่างแถวประมาณ 4 เมตร ระยะห่าง
ระหว่างต้นประมาณ 3 เมตร หลุมปลูกลึกประมาณ 30 - 50 เซนติเมตร ใส่ปยุ๋ คอก
และวัสดุปรับปรุงดินอื่น ๆ เช่น โคโลไมต์ แล้วจึงทำการปลูกต้นกล้าที่เตรียมไว้
กดดินให้แน่น รดน้ำให้ชุ่ม
- กรณีที่เป็นการปลูกแบบหัวไร่ปลายนา สารมารถขุดหลุมปลูกได้เลย
โดยเลือกจุดที่จะปลูกให้เหมาะสม ระยะห่างระหว่างต้นไม่ควรน้อยกว่า 3 เมตร
เพื่อไม่ให้เกิดร่มเงาซึ่งจะมีผลกระทบต่อผลผลิต
การปฏิบัติดูแลรักษา
การจัดทรงพุม่ และการตัดแต่งกิง่ เป็นวิธกี ารหนึง่ ทีเ่ กษตรกรสามารถทำได้
ด้วยตนเอง ไม่ยุ่งยากและยังช่วยให้ต้นสบู่ดำมีผลผลิตเพิ่มขึ้น และสะดวกในการป
ฏิบัติงานโดยมีแนวทางการปฏิบัติ ดังนี้
(1) ตัดยอดครัง้ ที่ 1 เมือ่ ต้นกล้าจากการเพาะเมล็ดหรือจากกิง่ ปักชำมีความสูง
ประมาณ 50 เซนติเมตร ตัดยอดออกให้เหลือความสูงประมาณ 35- 40 เซนติเมตร
สำหรับกิ่งปักชำต้องตัดกิ่งข้างออกให้เหลือเพียงยอดเดียว และยอดนั้นเจริญเติบโต
จนทำให้ต้นมีความสูงประมาณ 50 เซนติเมตรจากผิวดินก่อน
(2) หลังจากตัดยอดครัง้ ที่ 1 แล้ว จะมีการแตกยอดใหม่จำนวนมาก ให้เลือก
ไว้ประมาณ 3 ยอด ทำมุมเท่า ๆ กัน โดยให้พจิ ารณาช่วงห่างของกิง่ ทีเ่ หลือ่ มกันขึน้ ไป
ตามลำดับ อย่าเลือกกิ่งที่อยู่ตรงข้ามกัน เพราะจะทำให้กิ่งเกิดการฉีกขาดได้ง่าย
กิ่งล่างสุดควรอยู่ห่างจากผิวดินอย่างน้อย 15 เซนติเมตร
(3) ตัดยอดครัง้ ที่ 2 เมือ่ ยอดทีเ่ ลือกไว้มคี วามยาวประมาณ 35 เซนติเมตรขึน้ ไป
โดยตัดให้เหลือประมาณ 20 - 25 เซนติเมตร ทั้งนี้ ให้พิจารณาจุดที่จะตัด ต้องอยู่
เหนือตาที่ต้องการ ประมาณ 5 เซนติเมตร (ควรเป็นตาที่อยู่ด้านข้าง)
(4) หลังตัดยอดครัง้ ที่ 2 จะมีการแตกยอดใหม่จำนวนมาก ให้เลือกไว้ 2 ยอด
ต่อกิ่ง โดยกิ่งแรกจะเป็นกิ่งที่เจริญจากตาบนสุด ส่วนอีกกิ่งจะเป็นกิ่งที่เจริญจากตา
ทีอ่ ยูด่ า้ นล่างลงไปในทิศตรงข้าม และควรมีชว่ งห่างจากยอดบนสุดประมาณ 2 - 3 ตา
จะทำให้มีกิ่งหลักเหลือประมาณ 6 กิ่ง
(5) หลังปลูกครบ 1 ปี จึงตัดแต่งกิง่ เพือ่ ห้าต้นสบูด่ ำมีทรงพุม่ เตีย้ และโปร่ง
ได้รบั แสงแดดทัว่ ถึงทัง้ ต้น ลดการระบาดของโรคและแมลง ดูแลรักษา และเก็บผลผลิต
ได้งา่ ย
5.1 สภาพปลูกทีม่ กี ารให้นำ้ ตลอดทัง้ ปี ให้ตดั กิง่ หลักออกครัง้ ละครึง่ หนึง่
ของจำนวนกิง่ หลักทัง้ หมด โดยตัดกิง่ เว้นกิง่ ตัดห่างจากโคนกิง่ ประมาณ 10 เซนติเมตร
เมือ่ ยอดแตกใหม่ให้เลือกไว้เพียงยอดเดียวเพือ่ ทดแทนกิง่ หลักเดิม หลังจากนัน้ 2 - 3
เดือน จึงตัดกิง่ หลักทีเ่ หลืออีกครึง่ หนึง่ ออกทำเช่นเดียวกับการตัดครัง้ แรกควรทำการ
ตัดแต่งทุกปี จะทำให้ออกดอกติดผลสม่ำเสมอตลอดทั้งปี
5.2 สภาพปลูกทีไ่ ม่มกี ารให้นำ้ ต้องอาศัยน้ำฝนอย่างเดียว ให้ตดั แต่งกิง่
หลักออกทัง้ หมด ตัดห่างจากโคนกิง่ ประมาณ 10 เซนติเมตร เพือ่ ให้ตน้ สร้างทรงพุม่
ใหม่ ควรทำในช่วงฤดูแล้วซึ่งเป็นระยะที่ต้นสบู่ดำพักตัว มีการเจริญเติบโตน้อย
การใส่ปยุ๋
- รองก้นหลุมด้วยปุ๋ยหมักหรือปุ๋ยคอกอัตรา 3 - 5 กิโลกรัมต่อต้น
- เมื่อต้นอายุได้ 2 เดือนขึ้นไป หรือต้นที่ทำการตัดแต่งกิ่งใหม่ควรใส่ปุ๋ย
เคมีที่มีอัตราส่วนตัวหน้าสูง เช่น 3 : 1 : 1 จำนวน 150 กรัม / ต้น
- สำหรับต้นทีก่ ำลังให้ผลผลิตแล้ว ควรใส่ปยุ๋ เคมีทม่ี อี ตั ราส่วนตัวหน้าและ
ตัวท้ายสูง เช่น 2 : 1 : 3 จำนวน 250 - 300 กรัม / ต้น 3 เดือน
- หลังการตัดแต่งกิ่ง ควรมีการใส่ปุ๋ยทุกครั้ง และให้น้ำอย่างสม่ำเสมอ
- ควรใส่ปุ๋ยคอกร่วมกับปุ๋ยเคมีทุกครั้ง
- ในกรณีของพื้นที่ในเขตที่ดินมีสภาพเป็นกรดควรมีการปรับสภาพความ
เป็นกรดก่อนการให้ปุ๋ย ด้วนโดโลไมต์หรือปูนขาวก่อนประมาณ 10 วัน
- ปริมาณและความถี่ในการใส่ปุ๋ยสามารถปรับได้ตามความเหมาะสมของ
ดินสภาพพื้นที่ และปริมาณผลผลิต
การให้นำ้
- ต้นทีป่ ลูกลงแปลวง สัปดาห์แรกควรให้นำ้ ทุกวัน
- ต้นทีใ่ ห้ผลผลิต ควรมีการให้นำ้ อย่างสม่ำเสมอโดยเฉพาะอย่างยิง่ ในช่วงแล้ง
การเก็บเกี่ยวผลผลิต
* ควรเลือกเก็บผลทีแ่ ก่จดั และเปลือกผลยังไม่แตก
* สบูด่ ำจะทยอยออกดอกหลังปลูกประมาณ 6 เดือน
* กรณีเก็บผลผลิตในช่วงฤดูฝนหลังเก็บต้องรีบทำให้ผลแห้งโดยเร็วทีส่ ดุ
มิฉะนัน้ จะทำให้เมล็ดเกิดความเสียหาย
การเก็บรักษาผลผลิต
* หลังกะเทาะเปลือก ให้ผง่ึ แดดหรือผึง่ ในทีร่ ม่ จนแห้งสนิท
* เก็บรักษาเมล็ดที่แห้งแล้วในถุงตาข่าย วางบนชั้นในที่ที่มีอากาศถ่ายเท
ได้สะดวก

โรค แมลง และการป้องกัน


โรคและแมลงทีส่ ำคัญ
* โรครากเน่า เนือ่ งจากน้ำท่วมขัง
* แมลงทีพ่ บส่วนใหญ่ ได้แก่ เพลีย้ หอย เพลีย้ แป้ง เพลีย้ ไฟ และ
ไรขาว มักพบมากใน ช่วง แล้ง อากาศแห้ง แมลงจะดูดน้ำเลีย้ งจากช่อดอก ช่อผล
ถ้าพบระบาดมาก จำเป็นต้องทำการป้องกันกำจัด มิฉะนัน้ จะทำให้ผลผลิตได้รบั
ความเสียหาย
การป้องกันกำจัด
เพลีย้ อ่อน เพลีย้ หอย
* เมือ่ พบมีการระบาดมาก ควรใช้สารเคมี เช่น อิมดิ าโคลปริด มาลาไธออน
เป็นต้น
* ถ้าระบาดเพียงเล็กน้อย อาจใช้ยาฉุนแช่นำ้ 1 คืน แล้วกรองเอาเฉพาะน้ำ
ผสมกับผงซักฟอกเล็กน้อยฉีดพ่น
เพลีย้ แป้ง
* เมือ่ พบมีการระบาดมาก ควรใช้สารเคมี เช่นเดียวกับเพลีย้ อ่อน แต่ให้ผส
มไวท์ออยด้วยจะช่วยให้สารเคมีดดู ซึมเข้าในตัวแมลงได้ดขี น้ึ
เพลีย้ ไฟ
* เมือ่ พบมีการระบาดมาก ควรใช้สารเคมี เช่น อิมดิ าโคลปริด โฟซาโลน
อะบาเมคติน เป็นต้น
* ฉีดพ่นน้ำในทรงพุม่
ไรต่าง ๆ
* ถ้าระบาดมากควรใช้สารเคมีปอ้ งกันกำจัด เช่น โปรปาไจท์
เฮกซีไทอะซอกช์ เป็นต้น
* ฉีดพ่นน้ำให้ทรงพุม่
ศัตรูธรรมชาติ
* ด้วงเต่าตัวห้ำ ควบคุมเพลีย้ อ่อน เพลีย้ แป้ง เพลีย้ หอย ไรศัตรูพชื
* แมลงช้างปีกใส ควบคุมเพลีย้ อ่อน เพลีย้ แป้ง เพลีย้ หอย เพลีย้ ไฟ
ไรแดง แมลงหวีขาว
* เชือ้ ราบิวเวอเรีย ควบคุม เพลีย้ ไฟ เพลีย้ อ่อน ไร่แดง หนอนชนิดต่าง ๆ


พืชสมุนไพร
* สะเดา ใช้สะเดาบดหยาบ 1 กก. หรือบดละเอียด 700 กรัม แช่นำ้ 20
ลิตร ทิง้ ไว้ 1 คืนกรองเอาเฉพาะส่วนทีเ่ หลวผสมสารจับใบหรือผงชักฟอกฉีดพ่นฉีด
พ่นทันที ใช้พน่ ในช่วงเย็น ควบคุมเพลีย้ ต่าง ๆ และหนอนอืน่ ๆ
* หางไหล (โล่ตน้ิ ) นำรากอายุ 2 ปีขน้ึ ไป หรือต้น มาบดให้ละเอียด
แช่นำ้ อัตรา 1 กก.ต่อน้ำ 20 ลิตร หมักไว้ 2 วัน กรองเอกกากออก นำของเหลว
ผสมสารจับใบหรือผงฟักฟองฉีดพ่นทันทีใช้พน่ ในช่วงเย็น ควบคุมเพลีย้ ต่าง ๆ
และแมลงกินใบ

2.การผลิตและการใช้น้ำมันสบู่ดำ
การใช้ประโยชน์จากน้ำมันสบู่ดำ
การใช้น้ำมันสบู่ดำกับเครื่องยนต์เกษตร (เครื่องยนต์ดีเซลสูบเดียว)
น้ำมันสบูด่ ำทีผ่ า่ นการกรองสามารถใช้กบั เครือ่ งยนต์ดเี ซลสูบเดียวทีเ่ ป็นต้น
กำลังของเครือ่ งจักรกลเกษตรได้ เช่น รถไถเดินตาม เครือ่ งสูบน้ำ เครือ่ งตีนำ้ ในบ่อ
เลีย้ งกุง้ เป็นต้น
แม้วา่ น้ำมันสบูด่ ำทีผ่ า่ นการกรองสามารถทีจ่ ะนำมาใช้เป็นน้ำมันเชือ้ เพลิง
ทดแทนการใช้นำ้ มันดีเซลในเครือ่ งยนต์สบู เดียว (เครือ่ งยนต์เกษตร ) ได้ โดยไม่ตอ้ ง
มีสว่ นผสมใด ๆ ก็ตาม แต่ดว้ ยคุณสมบัตขิ องน้ำมันสบูด่ ำทีม่ คี วามหนืดสูงกว่าน้ำมัน
ดีเซล จึงทำให้เครือ่ งยนต์ตดิ ยากในขณะเครือ่ งยนต์เย็น จึงจำเป็นต้อง ใช้นำ้ มันดีเซล
เป็นน้ำมันเชือ้ เพลิงในการติดเครือ่ งยนต์ระยะเริม่ ต้นก่อน เมือ่ เครือ่ งยนต์ตดิ แล้วจึงใช้
น้ำมันสบูด่ ำเดินเครือ่ ง และเพือ่ ให้เครือ่ งยนต์ถกู หล่อเลีย้ งด้วยน้ำมันดีเซลเมือ่ เวลาพัก
เครือ่ งในตอนกลางคืน โดยควรติดตัง้ วงจรเพิม่ เติม
ข้อแนะนำในการใช้น้ำมันสบู่ดำกับเครื่องยนต์เกษตร
1. ใช้นำ้ มันสบูด่ ำกับเครือ่ งยนต์ดเี ซลสูบเดียวเท่านัน้
2. เมือ่ เริม่ ติดเครือ่ งยนต์ควรใช้นำ้ มันดีเซลเดินเครือ่ งประมาณ 1 - 2 นาที
เมือ่ เครือ่ งยนต์เริม่ ร้อนแล้วจึงเปลีย่ นมาเดินเครือ่ งด้วยน้ำมันสบูด่ ำ
3. ก่อนดับเครือ่ งยนต์ทเ่ี ดินเครือ่ งด้วยน้ำมันสบูด่ ำ ควรเปลีย่ นมาใช้
น้ำมันดีเซลเดินเครือ่ งประมาณ 1 - 2 นาที เพือ่ ช่วยในการสตาร์ทครัง้ ต่อไป
และรักษาเครือ่ งยนต์
4. น้ำมันทีห่ บี แล้วถ้าเก็บไว้นานจะมีความเป็นกรดสูงขึน้ และอาจมีผลเสียต่อ
เครือ่ งยนต์ จึงไม่ควรหีบเก็บไว้นาน
5. การสัมผัสน้ำมันสบูด่ ำในปริมาณมาก อาจมีการระคายเคืองต่อผิวหนัง
หากสัมผัสต่อเนือ่ งเป็นระยะเวลานานอาจเป็นอันตรายได้ จึงควรป้องกันการสัมผัส
โดยการสวมถุงมือ และล้างมือให้สะอาด หลังการสัมผัสทุกครัง้
การใช้น้ำมันสบู่ดำเป็นไปโอดีเซล
น้ำมันสบูด่ ำสามารถนำมาใช้เป็นวัตถุดบิ ในการผลิตไบโอดีเซลได้เป็นอย่าง
ดีเนื่องจากมีคุณสมบัติเชิงเชื้อเพลิงที่สำคัญใกล้เคียงกับน้ำมันดีเซลหลายประการ
เช่น มีค่าคุณสมบัติในการจุติดไฟ ( Cetane No.) 51 ในขณะที่มาตรฐานดีเซล
กำหนดไม่ต่ำกว่า 47 ค่า combustion point 191 ในขณะที่ดีเซลกำหนดไม่ต่ำกว่า
52 และค่าพลังงาน 41 MJ / kg ในขณะที่ค่าพลังงานของดีเซล 42.6 MJ / kg
เป็นต้น นอกจากนี้ การหีบสกัดน้ำมันและกระบวนการผลิตไบโอดีเซลจากน้ำมัน
สบูด่ ำมีขน้ั ตอนทีง่ า่ ยไม่สลับซับซ้อนผลิตเพือ่ ใช้เองในชุมชนทีห่ า่ งไกลได้ สามารถ
เกิดระบบการผลิตและใช้น้ำมันเชื้อเพลิงทนแทนดีเซลแบบพึ่งพาตนเองในชุมชน
ได้ในระดับหนึ่ง สบู่ดำจึงเป็นทางเลือกหนึ่งที่จะสร้างความยั่งยืนด้านพลังงานให้
แก่ชุมชน และอาจเป็นวัตถุดิบหลักในอุตสาหกรรมการผลิตไบโอดีเซลในอนาคต
ได้
การใช้น้ำมันสบู่ดำด้านอื่นๆ
น้ำมันสบูด่ ำนอกจากจะใช้เป็นเชือ้ เพลิง ทดแทนน้ำมันดีเซลกับเครือ่ งยนต์
เกษตรแล้ว ยังสามารถนำไปใช้ประโยชน์ในด้านอืน่ ๆ อีก เช่น
- ใช้เป็นน้ำมันเชือ้ เพลิงสำหรับตะเกียงไส้
- ใช้เป็นเชือ้ เพลิงสำหรับเตาหุงต้ม (แบบเตาฟู)่
- ใช้ทำสบู่
เอกสารอ้างอิง
กวิศร์ วานิชกุล. 2546. การจัดทรงต้นและการแต่งไม้ผล. ภาควิชาพืชสวน
คณะเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, กรุงเทพฯ. 212 หน้า.

กรมวิชาการเกษตร. 2545. แมลงศัตรูพชื และการป้องกันกำจัด. กองกีฏและสัตวทิยา.


279 หน้า.

กรมวิชาการเกษตร. 2544. การควบคุมแมลงศัตรูพชื โดยชีววิธเี พือ่ การเกษตรยัง่ ยืน.


กองกีฏและสัตววิทยา. 317 หน้า.

กระทรวงเกษตรและสหกรณ์. 2548. สบูด่ ำ. กรมส่งเสริมการเกษตร. 16 หน้า.

ชัยพร สารคริต. 2545. การสร้างสวนผลไม้. กรุงเทพมหานคาร.


สำนักพิมพ์เกษตรสาส์น. 159 หน้า.

มาตรฐานน้ำมันดีเซล กระทรวงพลังงาน. 2548

มาตรฐานน้ำมันไบโอดีเซล กระทรวงพลังงาน. 2548

รวี เสรฐภักดี. 2528. การสร้างสวนไม้ผล. กรุงเทพมหานคร. โรงพิมพ์มติ รสยาม.


20 หน้า.

ระพีพนั ธ์ ภาสบุตร. สุขสันต์ สุทธิผลไพบูลย์. 2525. ผลการวิจยั ค้นคว้าการใช้


น้ำมันสบูด่ ำเป็นพลังงานทดแทนเครือ่ งยนต์ดเี ซล. 41 หน้า.
คณะผูจ้ ดั ทำ
นายเรวัติ ฤทธาภรณ์
นายปรีชา สมบูรณ์ประเสริฐ

หัวหน้าคณะทำงาน
นางดาเรศร์ กิตติโยภาส

คณะทำงาน
นายไมตรี ปรีชา
นายทวีศกั ดิ ์ ด้วทอง
นางสาวแสนสุข รัตนผล
นายนเรสน์ รังสิมนั ตศิริ
นายจงรัก งามดี
นางสาวนฤมล ลดาวัลย์ ณ อยุธยา

จัดทำเป็นหนังสืออิเล็คทรอนิกส์ โดย
ศูนย์วทิ ยบริการเพือ่ ส่งเสริมการเกษตร
สำนักพัฒนาการถ่ายทอดเทคโนโลยี
กรมส่งเสริมการเกษตร
ถ.พหลโยธิน เขตจตุจกั ร กรุงเทพฯ 10900
โทร. 0-2579-5517
E-Mail : esc2553@hotmail.com

You might also like