You are on page 1of 18

คณากร กานต์ธีรดา 5741207424

รายงาน “ภาษาในฐานะเครื่อ งมือ การสร้างรัฐ ชาติในประเทศเอเชีย ตะวัน ออกเฉีย งใต้ ”


รายวิชา 2401356 การปกครองและการเมืองของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

ภาษาเป็นสิ่งที่มนุษย์ใช้อย่างทั่วไปในฐานะสื่อกลางของการสื่อสาร แต่ภาษานั้นเป็นมากกว่านั้นอย่าง
มาก เพราะภาษามีแง่มุมของวิชาการ วัฒนธรรม และการเมือง รวมถึงเป็นเครื่องแสดงถึงความสัมพั นธ์ ข อง
บุคคลในสังคม1 ภาษาจึงเป็นหลักหมายของการใช้อานาจเชิงสัญ ลักษณ์ระหว่างผู้ปกครองและผู้ใต้ปกครอง 2
รัฐชาติสมัยใหม่ก็ได้รับคานิยามข้างตนมาใช้เช่นเดียวกัน กล่าวคือผู้ที่มีอานาจสูงสุดคือผู้ควบคุมการใช้ภาษา
ภายในรัฐ และการเป็นรัฐที่ใช้ภาษาเดี ยว หรือ Monolingual State แสดงถึงส่วนสาคัญในการสร้างรั ฐ ชาติ
สมัยใหม่
รัฐที่มีภาษาเดียว (Monolingual state) เป็นแนวคิดดั้งเดิมจากทางตะวั นตกแสดงถึง ส่ว นสาคั ญ ใน
ฐานะการสร้างรัฐชาติสมัยใหม่ ซึ่งหลังจากยุคอาณานิคมในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ภูมิภาคนี้ได้มุ่งหน้าสู่การ
เป็นรัฐที่มีภาษาเดียว แม้ว่าทุกประเทศต่างมีประชาชนที่ใช้ภาษาที่หลากหลายก็ตาม3 อย่างไรก็ดี หากกล่าวถึง
กระบวนการสร้ างรัฐชาติแล้ ว ยั ง มี ปัจ จัย อย่างอื่ นที่นอกเหนื อจากภาษา เช่ นการเมืองภายใน มหาอานาจ
ภายนอก ภาวะผู้นา กลุ่มผลประโยชน์ ฯลฯ ซึ่งอยู่นอกเหนื อขอบเขตของรายงานชิ้นนี้ จึงขอละไว้จากการ
ค้นคว้า
ทวี ป เอเชี ย ตะวั นออกเฉี ย งใต้ ขึ้นชื่ อว่ า เป็ น ภู มิ ภาคที่ เต็ ม ไปด้ ว ยความหลากหลายทางเชื้ อชาติ
วัฒนธรรม สังคม และแน่นอนว่าทางภาษา ในช่วงก่อนสมัยใหม่ รัฐต่าง ๆ อยู่ร่วมกันในลักษณะของ Mandala
ในส่ ว นภาคพื้นทวี ป คื ออานาจรัฐที่เข้ มแข็ง ในศูนย์กลางและอ่ อนลงเมื่ออยู่ไกลออกไป โดยไม่มีเขตแดนที่
แน่นอน และลักษณะของ Thalassocracy ในส่วนของหมู่เกาะ ซึ่งอาณาเขตไม่จากัดอยู่แค่บนบก แต่ขยาย
อิทธิพลออกไปในน่านน้าที่ตนมีอิทธิพลทางด้านการค้า เมื่อชาติตะวันตกเริ่มเดินเรือเข้ามาในภูมิภาค เริ่มต้น
จากการค้าขาย ไปสู่การล่าอาณานิคม แนวคิดเรื่องของรัฐชาติที่มีรัฐบาล อานาจอธิปไตย ประชาชน และการ
ปกครองอยู่ในดินแดนที่มีเส้นแบ่งชัดเจน ก็เข้ามามีบทบาทเป็นอย่างมาก และในที่สุดก็ทาการตีเส้นและแบ่ ง
ภูมิภาคนี้ออกเป็นประเทศต่าง ๆ กลายเป็น 11 ประเทศในปัจจุบัน หลังจากได้รับเอกราชจากเจ้าอาณานิคม
แนวคิ ด เรื่ องรัฐชาติสมัยใหม่ก็มีความแข็ งแกร่ งขึ้น เมื่ อรั ฐบาลต้องทาปกครองเขตแดนเหล่านี้ ด้วยตัวเอง ก็
พบว่าหลายประเทศขาดความสอดคล้อง เต็มไปด้วยภาษาทีห่ ลากหลาย 4 ทุกประเทศจึงต้องหาทางสร้างรัฐชาติ
สมัยใหม่ของตัวเองผ่านข้อจากัดที่แตกต่างกัน และภาษาได้กลายเป็นส่วนสาคัญที่ประสานเข้ากับการสร้างรัฐ
ชาติ อย่ างหลี กเลี่ย งไม่ ได้5 จึ ง มี ความจ าเป็นที่จ ะทาความเข้ าใจกระบวนการสร้างชาติด้วยการใช้ภาษาเป็น

1
เครื่องมือ ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ในเชิงเปรียบเทียบ เพื่อให้สามารถเข้าใจที่มาและเหตุผลของการ
เป็นรัฐชาติ และวาทกรรมการสร้างชาติของแต่ละประเทศในปัจจุบัน
อย่างไรก็ตาม เมื่อพิจารณาในรายละเอียดจะพบว่า การมองว่าประเทศต่าง ๆ มีแนวทางการสร้างรัฐ
ชาติด้วยภาษาเดียวนั้นเป็นเพียงความเชื่อปรัมปราและเป็นการเหมารวมมากเกินไป เพราะในความเป็นจริ ง
ประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ประกอบไปด้วยรัฐที่มี ทั้งภาษาเดียวและหลายภาษา หรือระบุอย่างชัดเจน
ในรัฐธรรมนูญว่าเคารพในความหลากหลายของภาษา จึงเป็นที่น่าสนใจว่า แนวคิดที่แตกต่างกันในการใช้ภาษา
เป็นเครื่องมือในการสร้า งชาติประกอบด้วยอะไรบ้าง และอะไรเป็นปัจจัยที่ทาให้ประเทศต่าง ๆ ใช้แนวทางที่
แตกต่างกัน โดยการศึกษานั้นจะสนใจในปัจจัยทางด้ านความหลากหลายของประสบการณ์ทางประวัติศาสตร์
ลักษณะทางสังคมวิทยา สัดส่วนประชากร ความเข้มแข็งของอานาจรัฐ และอื่น ๆ ในเชิงเปรียบเทียบทั้ง 10
ประเทศ ยกเว้นประเทศไทย เพื่อให้เห็นภาพที่ชัดเจนในการใช้ภาษาในกระบวนการสร้างชาติดังกล่าว
จุ ด ประสงค์ของรายงานฉบับนี้ คื อ การแสดงให้เห็ นว่ าประเทศในทวี ปเอเชี ย ตะวั นออกเฉี ย งใต้มี
แนวทางในการสร้างรัฐชาติหลายรูปแบบ ไม่ใช่เพียงรูปแบบของรัฐภาษาเดียว ท่ามกลางความหลากหลายทาง
ชนชาติและภาษา โดยรายงานจะแบ่งออกเป็น 3 ส่วน ซึ่งเป็นจาแนกประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉี ย ง
ใต้ ออกเป็น 3 กลุ่ ม ได้ แก่ ประเทศที่ประสบความสาเร็จในการมุ่ง สู่รั ฐภาษาเดีย ว นั่ นคื อประเทศบรูไนและ
ประเทศกั มพู ชา ประเทศที่ ไม่ป ระสบความสาเร็ จ ในการมุ่ ง สู่ รัฐภาษาเดีย ว นั่ นคื อประเทศลาว ประเทศ
เวียดนาม ประเทศเมียนมาร์ ประเทศมาเลเซีย ประเทศอินโดนีเซีย และประเทศฟิลิปปินส์ และสุดท้ายคื อ
ประเทศที่ใช้แนวทางรัฐหลายภาษาในการสร้างชาติ นั่นคือประเทศติมอร์ตะวันออก และประเทศสิงคโปร์

ประเทศที่ป ระสบความส าเร็จ ในการมุ่ง สู่ร ัฐ ภาษาเดีย ว


ประเทศในเอเชียตะวันออกเฉีย งใต้ส่ว นใหญ่ต่างมีความพยายามในการมุ่งสู่รัฐภาษาเดี ยวทั้งสิ้ น แต่
ประเทศที่ประสบความสาเร็จมีเพียง 3 ประเทศเท่านั้น ได้แก่ ประเทศไทย ประเทศบรูไน และประเทศกัมพูชา
โดยรายงานฉบับนี้จะขอละประเทศไทยไว้ และกล่าวถึง 2 ประเทศหลังเท่านั้น โดยสิ่งที่ทาให้ทั้ง 2 ประเทศ
ประสบความสาเร็จในการเป็นรัฐภาษาเดียว ส่วนหลักมาจากความสามารถของผู้นาในการกาหนดนโยบายทาง
ภาษาเพื่อผลประโยชน์ของตน6 ซึ่งแม้ว่าประเทศเหล่านี้จะมีชนกลุ่มน้อยอาศัยอยู่ ทางรัฐบาลก็ไม่ได้มีนโยบาย
ในการยอมรับ ภาษาท้ องถิ่ นเหล่า นั้ นอย่า งเป็ นทางการ และถื อภาษาประจ าชาติเป็ นภาษาเดี ย วและเป็น
สื่อกลางของการสื่อสาร
ประเทศบรูไนเป็นประเทศเดียวในทวีปเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ภาคพื้นสมุทรที่ประสบความสาเร็จใน
การมุ่งสู่รัฐภาษาเดียว โดยภาษาดังกล่าวได้แก่ Bahasa Melayu หรือภาษามาเลย์ เป็นภาษาประจาชาติอย่าง

2
เป็นทางการ (official language) เพียงภาษาเดียวตั้งแต่ ค.ศ.1959 โดยมีภาษาอังกฤษเป็นอีกหนึ่ง ภาษาที่ มี
การนาไปใช้อย่ างแพร่หลาย แต่ ใ นขณะเดีย วกั นรัฐบาลได้ร องรับภาษาท้องถิ่นทั้ง หมด 7 ภาษา แต่ ภาษา
เหล่านั้นถูกจากัดไว้ในฐานะสาเนี ยงหนึ่ง ของภาษากลาง นั่นก็คือภาษามาเลย์นั่นเอง จึงกล่าวได้ว่า Bahasa
Melayu เป็นภาษาที่มีอิทธิพลสูงสุดในประเทศบรูไน7
ภาษามาเลย์นั้นเป็นสื่อกลางในการสื่อสารของคนในชาติ จนมีคากล่าวในประเทศบรูไนว่า “Bangsa,
Bahasa and Negara” (Race, Language and Nation)8 แต่ ท่ า มกลางความพยายามในการเป็นรัฐภาษา
เดียว ในความเป็นจริงบรูไนก็เป็ นสังคมหลายภาษา โดยประชาชนบางส่วนมีการใช้ ภาษาถึ ง 4 รูปแบบ ใน
ชีวิตประจาวัน ได้แก่ภาษาท้องถิ่นของตัวเอง ภาษามาเลย์ถิ่นบรูไน (Brunei Malay) ภาษามาเลย์มาตรฐาน
(Standard Malay) และภาษาอังกฤษ9 ด้วยความหลากหลายทางภาษาที่สามารถสังเกตได้ชัดเหล่านี้ รัฐบาล
บรูไน ซึ่งปกครองด้วยระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์อิสลามมาเลย์ จึงใช้วิธีการรวมศูนย์อานาจผ่านผู้นาชาว
บรู ไ นมาเลย์ จนท าให้เกิ ด การถดถอยของความหลากหลายทางภาษาประจ าชาติพั นธุ์ (ethnolinguistic
diversity) และเปลี่ยนมาสู่การใช้ภาษามาเลย์ 10 ดั่งที่รัฐบาลได้กล่าวไว้ว่า “คนบรูไนเกินหนึ่งในสี่ไม่ได้ใช้ภาษา
มาเลย์เป็นภาษาแม่ แต่ทุกชนชาติต้องหลอมรวมเข้าสู่ภาษามาเลย์ ”11 จากการสารวจ ชาวบรูไนร้อยละ 95 ใช้
ภาษามาเลย์เป็นสื่อกลางในการสื่อสาร จึงกล่าวได้ว่า ชนกลุ่มน้อยทุกคนมี ภาษามาเลย์ เป็นภาษาที่สองหรื อ
อื่นๆ12
ความสาเร็จของการเป็นรัฐภาษาเดียวส่วนหนึ่งมาจากการศึกษา โดยภาษาที่ใช้ในการศึกษาภาคบังคับ
เป็ นภาษามาเลย์ และภาษาอั ง กฤษมาตั้ง แต่ต้ น จากการวางรากฐานของประเทศอั ง กฤษเจ้ าอาณานิคม
จนกระทั่งในปี ค.ศ.1985 ระบบการศึกษาได้กลายเป็นสองภาษาอย่า งเป็ นทางการ ได้แก่ภาษามาเลย์ และ
ภาษาอังกฤษ หรือ Dwibahasa นั่นคือนักเรียนจะใช้ภาษามาเลย์เป็นภาษาสื่อกลางในการสอน ผนวกกับการ
เรียนคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์เป็นภาษาอังกฤษ ก่อนที่ในการศึกษาขั้นสูง ภาษาอังกฤษจะถูกใช้ในการ
เรียนการสอนมากยิ่งขึ้น13 ระบบการศึกษาแบบสองภาษานี้เองเป็นการตอกย้าอานาจของภาษามาเลย์ แต่ ใ น
ขณะเดียวกันก็ให้ความสาคัญกับภาษาอังกฤษในฐานะเครือ่ งมือในการเลื่อนขึ้นทางสังคม14 ระบบเดียวกันนี้เอง
ได้ สร้ างความไม่เท่าเทีย มระหว่างนักเรีย นในชนบทและนักเรีย นในเขตเมื องที่มีโอกาสใช้ภาษาอั งกฤษนอก
ห้องเรียนมากกว่า และทาให้พวกเขามีโอกาสที่จะประสบความสาเร็จในทางเศรษฐกิจและสังคมมากกว่า 15
อีกส่วนที่สาคัญไม่แพ้กัน คือ รูปแบบการปกครองแบบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ที่รวบรวมอานาจอยู่ที่
ศูนย์กลาง บวกกับความเป็นรัฐสวัสดิการที่พึ่งตนอยู่กับการค้าขายน้ามัน ทาให้ประเทศบรูไนเป็น ประเทศทีม่ ี
แรงต้านจากชนกลุ่มน้อยไม่มาก ประเทศที่มีขนาดเล็กนี้จึงสามารถจัดการกับความหลากหลายทางชนชาติได้
อย่างมีประสิทธิภาพ ภาษามาเลย์และภาษาอังกฤษจึงกลายเป็นภาษาที่มีบทบาทสูงสุด ทั้งในด้านการศึกษา
ระบบราชการ และการสื่อสารมวลชน ผู้ที่พูดทั้งสองภาษานี้จึงมีความได้เปรียบต่อความก้าวหน้าทางสังคมเป็น

3
อย่างมาก16 กล่าวได้ว่า ประเทศบรูไนประสบความสาเร็จในการเป็นรัฐภาษาเดียว มีตัวตนเดียว มีการเมือง
และวั ฒนธรรมเป็นหนึ่ ง เดีย ว แม้ ว่ า ภาษาอั ง กฤษจะมีบทบาทสู งมากในทุกแง่ มุมของ ชาวบรู ไน เนื่ องจาก
ความสั ม พั นธ์อันดี ต่อเจ้ าอาณานิ คมเดิมและการตระหนั กถึ ง ความสั ม พันธ์ ของภาษาอั ง กฤษในการทาให้
ประเทศบรูไนมีจุดยืนในเวทีการค้าโลก
อีกหนึ่งประเทศที่ประสบความสาเร็จในการสร้างรัฐภาษาเดียวคือประเทศกัมพูชา ประเทศกัมพูชา
แม้ว่าในฐานะอาณาจักรเขมรจะเจริญรุ่งเรืองเป็นอย่างมาก แต่ ประวัติศาสตร์ของการเป็นอาณานิคมมาอย่าง
ยาวนานก็เป็นดั่งยุคมืดของกัมพู ชา ซึ่งอยู่ในฐานะรัฐบรรณาการของทั้งสยามและเวียดนาม ก่อนจะตกเป็ น
ประเทศอาณานิคมของประเทศฝรั่งเศส และถูกรุกรานจากเวียดนามในช่วงสงครามเย็น ซึ่งทั้งหมดครอบคลุม
เวลาตั้งแต่ศตวรรษที่ 14 จนถึงศตวรรษที่ 2017 เมื่อกัมพูชาได้สถานะของการเป็นรัฐอย่างสมบูรณ์ สิ่งที่สาคัญ
ที่สุดคือการสร้างรัฐชาติสมัยใหม่ทมี่ ีความเป็นหนึ่งเดียว และภาษาเขมร ในฐานะภาษาที่เก่าแก่และสาคัญทีส่ ดุ
ภาษาหนึ่ง ก็กลายเป็นเครื่องมือสาคัญในการสร้างรัฐชาติสมัยใหม่ของประเทศกัมพูชา
ภาษาเขมรเกิดขึ้นตั้งแต่สมัยศตวรรษที่ 7 โดยภาษาเขมรโบราณเป็นภาษาที่สาคัญของอาณาจักรเจน
ละ และยั ง เป็ นภาษาที่ใช้ สื่อสารอย่ างแพร่หลายในเอเชี ย ตะวันออกเฉี ย งใต้ภาคพื้ นทวี ป ก่ อนที่ จะถู กลด
ความสาคัญลงจากการผงาดขึ้นของภาษาไทย ลาว จาม และเวียดนาม 18 ในยุคอาณานิคม ประเทศฝรั่งเศสได้มี
ส่ ว นสาคั ญ ในการก่อสร้างวัฒนธรรมและสั งคมเขมร นั่ นคื อมี ส่วนสาคัญในการทาภาษาเขมรให้เป็นระบบ
(standardization) และตี พิ ม พ์ พ จนานุ กรม ฝรั่ ง เศสยั ง ได้ ย กอั ง กอร์ วั ด ขึ้ นมาเป็ นสั ญ ลั กษณ์ ป ระจ าชาติ
หลักฐานแห่งความเจริญทางวัฒนธรรมในอดีตนี้เองยิ่งตอกย้าวาทกรรมความศิวิไลซ์ของวั ฒนธรรมเขมร ชน
ชาติเขมรจึงไม่ได้เป็นเพียงแค่ชนชาติหนึ่งในท้องถิ่น แต่เป็นผู้สืบทอดดั้งเดิมของอาณาจักรเขมร 19 ฝรั่งเศสเป็น
ผู้วางรากฐานการศึกษา ผลักดันภาษาเขมรให้เป็นภาษากลางในการสื่อสารทีช่ าวเขมรทุกคนควรอ่านออกเขียน
ได้ ซึ่งได้รับการสานต่อโดยพระบาทสมเด็จพระนโรดม สีหนุ ต่อมา20
ชนกลุ่มมากในเขมรคือ คแมร์-กรอม หรือเขมรต่า เป็นชนชาติที่รัฐบาลประสบความสาเร็จในการใช้
ภาษาเขมรเป็นภาษาเดียว แต่ในส่วนของ คแมร์-ลือ หรือเขมรสูง ซึ่งอยู่ในที่ราบสูงของประเทศกัมพูชา ยังมีคน
จานวนหนึ่งที่ไม่ได้พูดภาษาเขมร รัฐบาลกัมพูชาจึงมีความพยายามในการผนวกพลเมืองกัม พูชาให้เป็ นหนึ่ ง
เดียว ด้วยการชู ชาติ ศาสนา และกษัตริย์ เป็นคติประจาชาติ ซึ่งชาติในที่นี้หมายถึงชาติเขมร และการนิยาม
ประเทศกัมพูชาในฐานะ Srok-Khmer หรือดินแดนแห่งชนชาติเขมร (The Land of Khmer)21 จึงทาให้ภาษา
เขมรกลายเป็นภาษาที่เป็นทางการของกัมพูชาในปัจจุบัน22
สิ่ ง หนึ่ ง ที่ น่าสนใจสาหรับ ประเทศกั มพู ชา คื อยุ ค สมั ย คอมมิ วนิ สต์และการยึ ดครองของเวียดนาม
เวียดนามได้เข้ามามีอิทธิพลต่ อระบบการศึกษาและสังคมของกัม พูชา แต่ประเทศเวียดนามในขณะนั้ น กลั บ
ไม่ ไ ด้ผูกขาดอานาจด้วยการนาเข้ าภาษาเวียดนามเข้ามาในกั มพู ชา และเลื อกที่จะคงภาษาเขมรเอาไว้เป็น

4
สื่อกลางในการสื่อสาร ทั้งนี้ก็เพื่อปลูกฝังแนวคิดสังคมนิยมผ่านภาษากัมพูชาและลดแรงต้านจากสังคมไปพร้อม
กัน23
ความพิเศษของประเทศกัมพูชาอย่างหนึ่งคื อการเป็ นประเทศที่มีความหลากหลายทางชนชาติ น้ อย
โดยชนชาติเขมรมีสัดส่วนถึงร้ อยละ 90 24 ความเป็นชนกลุ่มมากที่มีสัดส่วนสูง ขนาดนี้ทาให้รัฐบาลชู นโยบาย
ชาตินิยมซึ่งมีวาทกรรมที่มองข้ามความหลากหลายทางชาติพันธุ์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ภาษาเขมรจึงมีผู้พูดถึง
ร้อยละ 96 ในประเทศกัมพูชา ในส่วนนี้เอง ประเทศกัมพูชาประสบความสาเร็จในการสร้างชาติผ่านวาทกรรม
ชาตินิยมที่เชิดชูอาณาจักรเขมรโบราณอันรุ่ งโรจน์ อิทธิพลของฝรั่งเศสในยุค อาณานิคม สัดส่วนของชนชาติ
เขมรซึ่งมีจานวนมากเป็นต้นทุนเดิม และอิทธิพลในการรวมศูนย์อานาจของผู้นาประเทศผ่านการเปลี่ย นผ่ า น
ทางการเมืองและการตกเป็นอาณานิคม
จากที่กล่าวเบื้องต้น ประเทศต่าง ๆ ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ส่วนมากมีความพยายามในการสร้างรัฐ
ชาติสมัยใหม่ที่ใช้ภาษาเดียว แต่มีเพียงสองประเทศเท่านั้นที่ประสบความสาเร็จในการกระทาดังกล่าวอย่ า ง
สมบู ร ณ์ นั่ นคื อประเทศบรูไ นและประเทศกัมพู ชา สิ่ ง ที่ ทั้งสองประเทศมีร่ว มกั น คื อความสามารถในการมี
อานาจเหนื อของชนกลุ่ มมากหรือผู้ กาหนดนโยบาย ที่ กดขี่ ชนกลุ่ มน้ อยต่าง ๆ ไม่ ใ ห้สามารถมีบทบาททาง
การเมือง และใช้ภาษาถิ่นเดิมของตนในการสื่อสาร การเรียน หรือ การติดต่อราชการได้ จนในที่สุด ชนกลุ่ ม
น้อยต้องยอมละทิ้งวัฒนธรรมเดิมและเปลี่ยนภาษา (Language Shift) เข้าสู่ภาษาประจาชาติ เพื่อให้สามารถ
ดารงอยู่ในสังคมได้เป็นปกติ และเงื่อนไขของการเป็นรั ฐที่มีเชื้ อชาติเดีย ว (Monoethnicity) ที่ชนกลุ่มมากมี
จานวนมากกว่าร้อยละ 90 เป็นเงื่อนไขในเบื้องต้นที่ทาให้ประเทศทั้งสองมีสถานะเป็นรัฐภาษาเดียว

ประเทศที่ไ ม่ป ระสบความส าเร็จ ในการมุ่ง สู่ร ัฐ ภาษาเดีย ว


แน่นอนว่าแนวคิดเรื่องรัฐชาติสมัยใหม่ ที่เป็ นหนึ่ง เดีย ว นั่นคือมีภาษาเดียว เป็นแนวทางที่มีอิท ธิ พ ล
สูงสุดในหมู่ผู้กาหนดนโยบายในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยเฉพาะในสมัยของการสร้างรัฐชาติหลังจาก
ประเทศต่าง ๆ ได้ รั บเอกราชหลั ง สงครามโลกครั้งที่ 2 แต่ ไ ม่ ใช่ ทุกประเทศที่จ ะประสบความสาเร็จในการ
กระทาดังกล่าว ประเทศต่อไปนี้จึงมีการปรับนโยบายในการยอมรับหลายภาษาเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งในการสร้าง
รัฐชาติ โดยระบุข้อความไว้ในรัฐธรรมนูญ กาหนดภาษาประจาชาติเพียงภาษาเดียว แต่ก็กาหนดภาษาอื่น ๆ
เป็ นภาษาทางการเพิ่ ม เติ ม ประเทศเหล่ า นี้ ด าเนิ นนโยบายการสร้ างชาติเป็ นรั ฐหลายภาษา เนื่ อ งจาก
ความสามารถของชนกลุ่มมากซึ่ งไม่มีอานาจสูง สุดในการครอบงาทั้งประเทศ และกดขี่ชนกลุ่มน้ อย แต่กลับ
ต้องดึงภาษาอื่น ๆ เข้ามาสร้างความชอบธรรมให้กับรัฐบาลของเชื้อชาติที่มีอานาจครอบงา แต่ในขณะเดียวกัน
ก็ยังมีนโยบายที่ชัดเจนในการมุ่งสู่รัฐภาษาเดียว ท่ามกลางเงื่อนไขที่แตกต่างกัน ของแต่ละประเทศ โดยประเทศ

5
เหล่านี้มีอยู่ 6 ประเทศด้วยกัน ได้แก่ ประเทศลาว ประเทศเวียดนาม ประเทศเมียนมาร์ ประเทศฟิลิปปินส์
ประเทศมาเลเซีย และประเทศอินโดนีเซีย
ประเทศลาวเป็นประเทศหนึ่งที่เต็มไปด้วยความหลากหลายทางชาติพันธุ์ แม้ว่าชนชาติลาวและภาษา
ลาวจะเป็นภาษาที่มีอิทธิพลสูงสุดมาตั้งแต่การตั้งถิ่นฐานของชนกลุ่มลาว ไปจนถึงสมัยอาณาจักรล้านช้า งใน
ศตวรรษที่ 13 และปัจจุบันกลายเป็นภาษาทางการเพียงหนึ่งเดียว แต่รัฐบาลก็ยอมรับภาษาถิ่นกว่า 48 ภาษา
ซึ่งบางสานักจาแนกได้ถึง 200 ภาษาเมื่อใช้ห ลักเกณฑ์ที่ต่างกัน25 ในส่วนนี้จึงแสดงให้เห็นว่าประเทศลาวมี
ความหลากหลายทางชนชาติและภาษา โดยที่รัฐบาลกลางไม่สามารถผสมกลมกลืนความหลากหลายนี้ให้เป็น
หนึ่งเดียวได้ ความท้าทายของประเทศลาวจึงอยู่ที่การเสริมสร้างและผลิตซ้าแนวคิดชาตินิยม หรือการทาให้
เป็นลาว (Lao-ization) ผ่านระบบการศึกษา และการบูรณาการทางเศรษฐกิจและสังคม 26
การทาให้เป็นลาวผ่านระบบการศึกษานั้ น เป็นนโยบายของรั ฐบาลในการผลั กดันภาษาลาวให้ เป็ น
ภาษาที่ใช้ในการศึกษา โดยทางทฤษฎีนั้นคือการนานักเรียนและครูที่พูด 2 ภาษา ได้แก่ภาษาถิ่นที่แตกต่างกัน
และภาษาลาว มาเจอกั น และในที่สุดนั กเรี ยนจะเลิ กพู ดภาษาท้องถิ่ น และพู ดแต่ภาษาลาว 27 ในทศวรรษ
1960 และ 1970 รั ฐบาลลาวได้ใ ช้ แนวทางสองภาษา (ภาษาถิ่ นและภาษาลาว) เป็ นแนวทางในการจัด
การศึ กษาในเขตอานาจรั ฐซึ่ งพรรคคอมมิวนิ สต์สามารถยึดครองได้ เพื่ อการเผยแพร่ลัทธิสังคมนิ ยมอย่างมี
ประสิทธิภาพ แต่หลังจากชัยชนะในปี ค.ศ. 1975 ภาษาลาวได้กลายเป็นสื่อกลางในการศึกษาเพียงภาษาเดียว
เท่านั้น และภาษาถิ่นต่าง ๆ ไม่ได้รับอนุญาตให้เป็นสื่อกลางในการสื่อสารโดยรัฐบาลอีกเลย 28 โดยไม่สนใจต่อ
แรงกดดันจากต่างชาติในการให้ความเคารพกับภาษาแม่ (Mother Tongue) ในการศึกษา29
โครงการทางด้านการศึกษาหนึ่งของรัฐบาลลาวคือการรับสมัครครู ฝึกหัด ซึ่ง เป็นชนกลุ่ม น้ อยในลาว
โดยบทบาทของครูเหล่านี้คือการใช้ ภาษาถิ่ นในการอธิบายและแปลคาในช่ว งแรกของการเรี ยน และเลิ กใช้
ภาษาถิ่นในการศึกษาขั้นที่สูงขึ้น ด้วยความคาดหวังว่าภาษาถิ่นต่าง ๆ เมื่อไม่มีความจาเป็นก็จะเลิกใช้ไปเอง30
วิธีการนี้ทาให้ครูที่พูดภาษาถิ่นใช้ภาษาลาวในการสอน แต่ยังคงมีการพูดภาษาถิ่นนอกห้องเรียน และใช้สาหรับ
การอธิบาย ผลคือนักเรียนไม่สามารถใช้ภาษาลาวในชีวิตประจาวันหรือใช้ในประโยคทีซ่ ับซ้อนได้ 31 นอกจากนี้
โครงการดังกล่าวก็ไม่ประสบความสาเร็จในทางปฏิบัติ เนื่องจากผู้สมัครมีจานวนน้อยเพราะมีความสามารถไม่
เพียงพอตามคุณสมบัติที่กาหนดไว้32
ด้วยชนกลุ่มมากที่มีจานวนเพียงแค่ร้อยละ 60 และชนกลุ่มน้อยซึ่งมีความเข้มแข็ง และยังแสดงออก
ถึงแรงต่อต้านกับรัฐบาลอยู่เสมอ ภาษาที่ยังคงมีการใช้ในหมู่ ชนกลุ่มน้อยจึงยังคงเป็นที่แพร่หลาย เช่นภาษาขมุ
หรือภาษาม้ง ซึ่งแม้รัฐบาลลาวจะมีนโยบายชาตินิยมในการสร้างรัฐชาติดว้ ยการทาให้เป็นลาว โดยมีภาษาลาว
เป็นส่วนสาคัญของนโยบายดังกล่าว แต่ก็ยังไม่ประสบความสาเร็จเท่าทีค่ วร และเป็นปัญหาต่อการรวมอานาจ
เข้าสู่ศูนย์กลางของประเทศลาวต่อไป

6
ประเทศในอินโดจีนอีกหนึ่งประเทศซึ่งยังไม่ประสบความสาเร็จในการเป็นรัฐภาษาเดียวคื อ ประเทศ
เวีย ดนาม แม้ว่าชนชาติเวียดหรือขิ่นจะเป็นชนชาติที่มีอิทธิพลสูงสุดด้วยสัดส่วนประชากรกว่าร้อยละ 87 ชน
กลุ่มน้อยก็ยังมีคงมีอยู่มาก และมีแรงขับเคลื่อนทางสังคมที่ เห็นได้ชัด รัฐบาลจึงได้ยอมรับภาษาถิ่น 10 ภาษา
ให้เป็นภาษาที่ใช้ในการสื่อสาร โดยระบุว่า “ภาษาเวียดนามจะถูกสอนและเรียนเพื่อส่งเสริม การอยู่ร่วมกันของ
ชาติ... ในขณะที่ชนกลุ่มน้อยมีสิทธิในการรักษาภาษาแม่ และใช้ภาษาถิ่นในการธารงไว้ซึ่งวัฒนธรรมและมูลค่า
ประจาชนชาติ”33
ในศตวรรษที่ 13 ประเทศเวียดนามได้ใช้ภาษาจีนและตัวอักษรฮั่นเป็นภาษาทางการเพียงภาษาเดียว
ก่ อนจะคิ ด ค้ น Nom ซึ่ ง เป็ นการดั ดแปลงภาษาจี นดัง กล่ าว เพื่ อแสดงถึ ง ออกถึ ง การเป็ นอิ สระจากระบบ
การศึ กษาและอิ ทธิ พลจากประเทศจี น มิ ชชั นนารีศ าสนาคริ สต์นิกายเยซูอิกเดินทางเข้ ามาถึ งเวี ยดนามใน
ศตวรรษที่ 17 และแนะนา Quoc Ngu ซึ่งเป็นการนาเสียงในภาษาเวียดนามมาเขียนด้วยตัวอักษรโรมัน ภาษา
เวียดนามแบบ Quoc Ngu นี้ถูกใช้อย่างแพร่หลาย โดยขบวนการชาตินิยมของเวี ยดนามได้สนับสนุนวิ ธี การ
เขียนแบบนี้เพราะเป็นที่นิยมและเรียนรู้ง่ายเพื่อเพิ่มการอ่านออกเขียนได้ในประเทศ 34 ในปี ค.ศ. 1858-1945
การเข้าครอบครองโดยฝรั่งเศสทาให้อิทธิพลของภาษาจีนแทบหมดไปและถูกแทนที่ด้วยภาษาฝรั่ง เศส แม้ว่า
ภาษาเวี ย ดนามจะสามารถรั กษาสถานะของการเป็ นสื่อกลางของการสื่ อสารได้อยู่ บ้าง และหลั ง จากการ
ประกาศอิ สรภาพ ภาษาเวี ย ดนามก็ กลายเป็นภาษาประจาชาติ และสื่ อกลางทางการสื่ อสารและระบบ
การศึกษา35
ในยุคสมัยของการแบ่งแยกเวียดนามเหนือและเวียดนามใต้ เวียดนามเหนือมีความต้องการในการใช้
ภาษาเวี ย ดนามเป็นสื่ อกลางของการรวมประเทศและแสดงออกถึ งอั ต ลักษณ์ของชาวเวี ย ดนาม ในขณะที่
เวียดนามใต้ได้หนั ไปสู่สังคมสองภาษา ได้แก่ภาษาเวียดนามและภาษาอังกฤษ ซึ่งถูกบังคับใช้ในระบบราชการ 36
การรวมประเทศใน ค.ศ. 1975 ทาให้ภาษาเวียดนามกลายเป็นภาษาประจาชาติโดยสมบูรณ์ และได้รับการ
สนับสนุนโดยรัฐบาลกลางเสมอมา แม้ว่าการส่งเสริมการใช้ภาษาแม่จะถูกตราเป็นกฎหมายโดยรั ฐบาล การ
นาไปใช้นั้นกลับเป็นไปได้ไม่ดีนัก โดยรัฐบาลยังคงมุ่งหน้าที่จะใช้ภาษาเวียดนามเป็นสื่อกลางในการศึกษาและ
ละเลยภาษาของชนกลุ่มน้ อย37 แม้ว่าความพยายามจากส่วนกลางจะมีความชัดเจน รัฐบาลเวียดนามก็ยังไม่
สามารถกาจัดอิทธิพลของชนกลุ่มน้อยได้อย่างครบถ้วน ซึ่งเห็นได้จากการใช้ภาษาถิ่นของชนชาติต่าง ๆ ที่ยังคง
พบเห็นอยู่ในปัจจุบัน
อีกหนึ่งประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ภาคพื้นที่ทวีปที่ประสบปัญหาในความหลากหลายทางชาติ
พันธุ์ และปัญหาของชนกลุ่มน้อยมากที่สุด คือประเทศเมียนมาร์ โดยชนเผ่าพม่า (Bamar) รวมกันเป็นร้อยละ
68 ของประเทศ และรายล้อมไปด้วยอีก 7 ชนชาติ ซึ่งมีมลรัฐของตน ต่างคนต่างพูดภาษาของตัวเองและมี ผู้
พูดอยู่จานวนมาก เช่นภาษามอญมีผู้พูดกว่า 8 ล้านคน และภาษาฉานมีผู้พูดกว่า 6 ล้านคน ใน 8 ภาษาหลักนี้

7
อยู่ ใ นกว่ า 3 ตระกู ลภาษา จึ ง เรี ยกได้ว่าประเทศเมี ย นมาร์เป็นประเทศที่มีความหลากหลายทางภาษาและ
วัฒนธรรมสูงสุดแห่งหนึ่งในโลก38 รัฐบาลกลางซึ่งเป็นชนชาติพม่าจึงต้องเผชิญความท้าทายอย่างมากในการ
รวมประเทศมุ่งสู่รัฐภาษาเดียว
การทาความเข้าใจสถานการณ์ของประเทศเมียนมาร์ในปัจจุบันจะต้องย้อนไปในสมัยอาณานิคมของ
อั ง กฤษในฐานะจังหวั ดหนึ่ งของอิ นเดีย วิ ธี การที่รัฐบาลอั งกฤษจัดการกับพม่าคือการบัง คับชนเผ่าพม่าพูด
ภาษาอังกฤษและทาให้ภาษาอังกฤษเป็นภาษาทางการเพียงภาษาเดียว ในขณะที่อังกฤษปล่อยให้ชนกลุ่มน้อย
ต่าง ๆ ใช้ภาษาของตนได้อย่างอิสระ มิชชันนารีบางส่วนยังช่วยประดิษฐ์ตัวอักษรเขียนให้กับภาษาถิ่นเหล่านัน้
อีกด้วย39 ภาษาได้เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งในกระบวนการทางการเมืองหลังจาก 1920 University Act ซึ่งเป็นการ
ใช้ภาษาอังกฤษขั้นสูงในการสอบเข้ามหาวิทยาลัย ซึ่งนักเรียนชาวพม่าส่วนใหญ่ไม่สามารถทาตามมาตรฐานนี้
ได้40 การเคลื่อนไหวทางการเมืองของนักศึกษากรณีดังกล่าวไม่ประสบความสาเร็จเท่าที่ควร แต่ได้เปิดประตู
ให้กับขบวนการ DBA (Do Bama Asiayone - Our Bamar Association) ด้วยคาแถลงทีว่ ่า “Bama country
is our country. Bama literature is our literature. Bama language is our language. Love our
country. Praise our literature. Respect our language.” 41 หรือเป็นการชูภาษาพม่าให้เป็นภาษาประจา
ชาติเพียงหนึ่งเดียว โดย DBA คือส่วนประกอบของคนรุ่นใหม่ นักศึกษา ผู้ต่อต้านอาณานิคม และนักชาตินิยม
ซึ่งขบวนการดังกล่าวนาไปสู่การประกาศเอกราชของเมียนมาร์ในเวลาต่อมา 42
หลังจากการประกาศเอกราช ชนชั้นนาชาวพม่าได้นาภาษาพม่ามาใช้ในฐานะภาษาประจาชาติ โดย
ในช่วงต้นไม่ได้ถูกต่อต้านโดยชนกลุ่มน้อย เพราะมองว่าเป็นหลักการที่ถูกต้องแล้วและเป็นการขจัดอิทธิพลของ
เจ้าอาณานิคมเดิมด้วย43 ทว่าเมื่อเวลาผ่านไป ชนกลุ่มน้อยเริ่มค้นพบว่ารัฐบาลกลางละเลยการให้ความสาคัญ
กับภาษาถิ่นของตน มีการใช้ภาษาพม่าในฐานะเครื่องมือของการแสดงความชอบธรรม และแรงสนับสนุนจาก
ชาวพม่าซึ่งถือเป็นชนกลุ่มมากในประเทศ 44 ดังนั้นจากที่กล่าวเบื้องต้น จะพบว่าชาติที่มีความหลากหลายสูง
อย่างเมียนมาร์ก็ไม่ประสบความสาเร็จในการมุ่งสู่รั ฐภาษาเดียวเนื่ องจากแรงกดดันจากชนกลุ่มน้ อย แม้ว่าผู้
กาหนดนโยบายจะมีความทะเยอทะยานในการสร้างชาติด้วยภาษาเดียวก็ตาม
เมื่อมองออกมานอกภาคพื้นทวีป ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉี ยงใต้ในส่ว นที่ เป็นหมู่ เกาะต่างประสบ
ปั ญ หาในการจัด การกั บชนกลุ่ ม น้ อยไม่ ต่า งกั บ สามประเทศก่ อนหน้ า ซึ่ ง ท าให้ป ระเทศเหล่ านี้ ไ ม่ประสบ
ความสาเร็จในการเป็นรัฐภาษาเดียว แม้ว่าจะเป็นความต้องการของชนชั้นนาก็ตาม หนึ่งในประเทศดังกล่าว
ได้แก่ ประเทศมาเลเซีย โดยประเทศมาเลเซียเป็นประเทศที่มีความหลากหลายทางเชื้อชาติและวัฒนธรรม
โดยประกอบไปด้วยชาวมาเลย์ 65% และชาวจีน ซึ่งเป็นผู้มีบทบาทนาทางเศรษฐกิจกว่า 26% และชาวอินเดีย
7%45 ด้วยลักษณะทางภูมิศาสตร์ที่เป็นเกาะ กลุ่มคนในพื้นที่ต่างๆ จึงมีการใช้ภาษาที่แตกต่างกันไปด้วย สิ่งที่
ประเทศมาเลเซียใช้ในการสร้างชาติที่มีปึกแผ่นนั้น จึงผ่านนโยบายทางภาษาที่เข้มข้น

8
นโยบายทางภาษาระดับชาติของมาเลเซียได้พัฒนาขึ้นเพื่ อเน้ นความสาคัญของภาษามาเลย์ในฐานะ
ภาษาทางการและภาษาประจาชาติ โดยการนาไปใช้ของนโยบายเหล่านี้มีความจริงจังเป็นอย่างมาก เพื่อแสดง
ถึงความเป็นหนึ่งเดียวของประเทศ ซึ่งครอบคลุมไปสู่สถาบันระดับชาติ ระบบการศึกษา และระบบกฎหมาย 46
นโยบายที่สาคัญที่สุดอันหนึ่งคื อ Bumiputera หรือบุตรแห่งแผ่นดิน ซึ่งหมายถึงคนมาเลย์ และคนท้องถิ่ น
ดั้งเดิมซึ่งไม่ได้นับถือศาสนาอิสลาม (Orang Asli) รวมกันกว่าร้อยละ 65 คนกลุ่มนี้จะได้รับสิทธิพิเศษและได้รบั
การปกป้องอย่างดีจากรัฐและกษัตริย์ (Yang di-Per-tuan Agong)47 ส่วนคาว่าคนมาเลย์นั้นได้รับการนิยามว่า
เป็นคนที่พูด Bahasa Malaysia มีวิถีปฏิบัติของมาเลย์ และนับถือศาสนาอิสลาม 48 ทั้งนี้ยังเปิดโอกาสให้คนที่
ไม่ ไ ด้ มีเชื้ อสายมาเลย์ แต่กาเนิ ดเป็นคนมาเลย์ได้ (Masuk Melayu - Become Malay) แค่ เพี ย งปฏิบัติตาม
ข้อกาหนดสามข้อด้านบนเท่านั้น49
อย่างไรก็ตาม ประเทศมาเลเซียก็ยังไม่ประสบความสาเร็จในการเป็นรั ฐภาษาเดียว ชาวจีนที่พูดจี น
ฮกเกี้ยน และชาวอินเดียที่พูดภาษาทมิฬ ก็ยังคงปฏิบัติ ตามวิถีชีวิตของตัวเองอยู่ มีโรงเรียนที่สอนภาษาของ
ตัวเอง และวัฒนธรรมที่แข็งแรง แม้ไม่รับการรับรองในรัฐธรรมนูญก็ตาม 50 และในขณะเดียวกันความขัดแย้ง
ทางชาติพันธุ์ก็ยังเป็นปัญหาของมาเลเซีย อยู่ เสมอ นอกจากนี้ อีกหนึ่งภาษาที่มีความสาคัญกับชาวมาเลย์ ใ น
ปัจจุบัน คือภาษาอังกฤษ ซึ่งอยู่ในฐานะภาษาที่สองที่สาคัญที่สุดของประเทศมาเลเซียและใช้อย่างแพร่ห ลาย
ในการศึกษาขั้นพื้นฐานและขั้นสูง แต่นโยบายของรัฐบาลยังคงให้ความสาคัญกับภาษามาเลย์ ทั้งสองภาษานี้ จงึ
อยู่ควบคู่กันในระบบการศึกษาแบบสองภาษา 51
อีกประเทศซึ่งมีอาณาบริเวณใกล้เคียงกันกับประเทศข้างต้น นั่นคือ ประเทศอินโดนีเซีย โดยประเทศ
อินโดนีเซียถือเป็นหนึ่งในประเทศที่มีความหลากหลายทางชาติพั นธุ์และความหลากหลายทางภาษาสู ง ที่ สุด
ประเทศหนึ่ง หลังจากได้รับเอกราชหลังสงครามโลกครั้งที่สอง อินโดนีเซียเป็นอีกประเทศที่ รับแนวทางความ
เป็ นหนึ่ ง เดี ย วของประเทศผ่ านการเป็ นรัฐภาษาเดี ยว และภาษาอิ นโดนี เซี ย (Bahasa Indonesia) ก็ เป็ น
ผลลัพธ์ของแนวคิดนั้น52 แต่ความแตกต่างของอินโดนีเซียกับมาเลเซียคือการเลือกใช้ภาษาประจาชาติจากชน
กลุ่มน้อย ซึ่งนิสิตจะกล่าวต่อไป
ประเทศอินโดนีเซียมีภูมิหลังทางภาษายึด โยงกับประเทศเจ้า อาณานิคมเป็ นเวลานาน ในศตวรรษที่
16 มีการพัฒนาภาษาผสมระหว่างภาษามาเลย์ท้องถิ่นและภาษาโปรตุเกส (Portuguese-based Creole) เพื่อ
การติดต่อค้าขายและสื่อสารระหว่างสองชาติ และในศตวรรษที่ 17 ดัตช์ได้เห็นความสาคัญของภาษามาเลย์ใน
ฐานะภาษาสื่อกลาง ที่ใช้ติดต่อสื่อสารกันระหว่างประเทศอาณานิค มและเจ้า อาณานิคม 53 ในช่วงนี้ชนชาติ
ต่างๆ ก็มีการใช้ภาษาเป็นของตัวเอง โดยเฉพาะภาษาชวาที่มีผู้ใช้มากที่สุดในอินโดนีเซีย จนกระทั่งในช่วงต้น
ของศตวรรษที่ 20 ขบวนการชาตินิยมอินโดนีเซี ยก็ ก่อตั้งขึ้ น ขบวนการนี้ได้ใช้ภาษามาเลย์ เป็นสื่อกลางการ
สื่ อสารระหว่ างกั น การประชุ ม ผู้นาขบวนการชาตินิย มได้ร่ วมกั นสาบานว่ า “พวกเรา บุ ต รและบุตรีแห่ง

9
อินโดนีเซีย รับรู้แผ่นดินแม่อินโดนีเซียเพียงหนึ่งเดียว... รับรู้ชาติอินโดนีเซียเพียงหนึ่งเดียว... ยึดถือภาษาแห่ง
การรวมเป็นหนึ่งเดียวกันคื อภาษาอินโดนีเซี ย ”54 ภาษาอินโดนิเซี ยคือภาษามาเลย์ที่ได้รับการปรับปรุง แล้ ว
นั่นเอง ในเวลาต่อมา ภาษาอินโดนีเซียได้รับสถานะของการเป็นภาษาประจาชาติและภาษาทางการภายหลั ง
การได้รับเอกราช55
สิ่งที่น่าสนใจในกรณีของประเทศอินโดนีเซียจึง เป็นที่มาของความสาเร็จของการนาภาษาอินโดนี เ ซี ย
มาใช้ เป็ นภาษาประจ าชาติ แม้ ว่ า จะเป็ นภาษาของชนกลุ่ ม น้ อยก็ ตาม ในปี ช่ว งทศวรรษ 1930 ประเทศ
อิ นโดนี เซี ย ประกอบไปด้วยผู้พู ดภาษาชวากว่า 47% และมี ผู้พูดมาเลย์ เพียง 1.66% เท่ า นั้น 56 เหตุ ผลสอง
ประการที่นักเคลื่อนไหวชาตินิยมไม่เลือกภาษาชวาเป็น ภาษาประจาชาติเนื่องจากภาษาชวาเป็นภาษาที่มลี าดับ
ศักดิ์ เรียกใช้ตามสถานะทางสังคมของผู้พูดและผู้ฟัง จึงเป็นภาษาที่ไม่เหมาะสมสาหรับการชูความเท่าเทีย ม
และประชาธิปไตย นอกจากนี้การนาภาษาชวามาใช้จะทาให้เกิดสัญลักษณ์ของความมีอานาจเหนือของชนชาติ
ชวาด้วย ภาษาอินโดนีเซีย ซึ่งในขณะนั้นยังเป็นภาษามาเลย์ จึงเป็นแนวทางที่นักเคลื่อนไหวชาตินิยมเลือกใช้
โดยการนาภาษามาเลย์ ซึ่งเป็นสื่อกลางในการสื่อสารข้ามชนชาติอยู่แล้ว มาปรับปรุงโดยใส่คาศัพท์ของภาษา
ท้องถิ่นเข้าไป และทาให้เป็นมาตรฐาน จึงกลายเป็น Bahasa Indonesia ซึ่งมีความเป็นกลาง และตอบรับกับ
ความเป็นหนึ่งเดียวของรัฐชาติสมัยใหม่ได้เป็นอย่างดี57 ซึ่งเป็นโครงสร้างรัฐพื้นฐานสาหรับการต่อกรกับดัตช์ได้
อย่างมีประสิทธิภาพ
อย่างไรก็ตาม อินโดนีเซียประสบกับแรงต้านจากชวา หรือชนชาติอื่น ๆ หรือไม่ คาตอบคือไม่มีแรง
ต้านจากภาษาถิ่นต่าง ๆ เนื่องจากชนชาติต่าง ๆ เรียนรู้ที่จะเปลี่ยนภาษา (language shift) ตามสถานการณ์
ในสังคมของผู้พูดและผู้ฟังในขณะนั้น กล่าวคือชาวอินโดนีเซีย สามารถใช้ทั้งภาษาอิ นโดนีเซีย ภาษาถิ่น และ
ภาษาต่ างชาติ (เช่ นภาษาอั ง กฤษ) ให้ ถูกต้ องตามเงื่ อนไขทางสัง คมขณะนั้ น ทั้ ง สามภาษาจึง เป็นทั้งภาษา
ทางการ ภาษาในวงสนทนาทั่วไป ภาษาในการสื่อสาร และภาษาทางด้านศิลปะและวัฒนธรรม 58
ดั ง นั้ นจึ งกล่ าวได้ว่ า ประเทศอิ นโดนี เซี ยมี ความพิ เศษในการเป็นรัฐภาษาเดียวที่ให้ความเคารพต่อ
ภาษาท้องถิ่นอย่างเต็มใจ โดยอนุญาตให้มีการใช้ได้ในชีวิตประจาวันและในสื่อสารมวลชน แต่เมื่อกล่าวถึงกรณี
ของระบบราชการหรือระบบการศึกษา ภาษาอิ นโดนี เซี ยจะกลายเป็นภาษาหลั กภาษาเดียวที่ใช้ อย่างเป็น
ทางการ แต่ถึงกระนั้น การที่รัฐบาลยินยอมให้ภาษาท้องถิ่นคงอยู่ได้นั้นก็เกิดจากความสาเร็จของรัฐบาลกลาง
ในการกดทับภาษาดังกล่าวอย่างแนบเนียน และหลอมหลวมกลุ่มคนต่าง ๆ เข้าสู่ระบบที่รัฐบาลกลางมีอานาจ
ในศูนย์กลาง ภาษาถิ่นต่าง ๆ เหล่านี้เมื่อระบบการศึกษาได้ขัดเกลาผู้คนในยุคหลัง ๆ ให้เข้าสู่ภาษาอินโดนีเซีย
ภาษาถิ่นเหล่านี้ก็มีโอกาสที่จะตายไปได้เอง ประเทศอินโดนีเซียก็จะประสบความสาเร็จในการมุ่งสู่รั ฐภาษา
เดียวอย่างสมบูรณ์แบบ

10
ป ระเทศฟิลปิ ปินส์ นั้ นก็ ถือเป็ นอี กกรณีหนึ่ง ที่มีความพิ เศษเฉพาะตัว นั่ นคื อเป็นประเทศที่ประสบ
ความสาเร็จในการเป็นรัฐภาษาเดียว แต่ก็มีเงื่อนไขของการเป็นรัฐหลายภาษาควบคู่ไปด้วย จากการที่ใช้ภาษา
ฟิลิปปิโนเป็นภาษาประจาชาติ และใช้ภาษาฟิลิปปิโนและภาษาอังกฤษเป็นภาษาทางการ
โดยประวัติศาสตร์ของการตกเป็นอาณานิคมอย่างยาวนานส่งผลกระทบต่อภาษาที่ใช้ในประเทศเป็น
อย่ า งมาก โดยใน ค.ศ. 1565-1898 เจ้ า อาณานิ ค มสเปนไม่เคยนาภาษาของตนมาใช้ อย่ างเป็ นทางการ
เนื่องจากชนชั้นนาสเปนมองว่าการใช้ภาษาท้องถิ่นจะทาให้คนฟิลิปปินส์เปลี่ยนศาสนาได้รวดเร็วกว่า หลังจาก
สเปนออกจากดิ นแดนไป สหรัฐอเมริกาก็เข้ามาแทนที่ และได้ใช้ภาษาอังกฤษเข้ามาเป็ นภาษากลางในการ
สื่ อสารทั นที นอกจากนี้ สหรัฐอเมริกายั งมี ส่วนสาคั ญในการจัดการศึกษาให้กับชาวฟิ ลิปปินส์ ท า ให้การรู้
ภาษาอังกฤษเติบโตขึ้นมาก ภาษาอังกฤษกลายเป็นภาษาในราชการ ทาให้ผู้ที่รู้ภาษาอังกฤษมีโอกาสในการ
เติบโตในหน้าที่การงานสูงมาก59
ในช่วงท้ายของสมัยอาณานิคมสหรัฐอเมริกา ทศวรรษ 1930 คนฟิลิปปินส์มีความจาเป็นที่จะต้องหา
ภาษาประจาชาติเพื่อเป็นหนทางต่อการประกาศเอกราชต่อสหรัฐอเมริกา 60 ดังนั้นเมื่อมองเข้ามาในประเทศ จึง
ค้นพบว่า มี 3 ภาษาหลักๆ ที่มีการใช้อย่างแพร่หลายในประเทศ ได้แก่ภาษา Tagalog ในทางตอนกลางของ
ประเทศ ภาษา Iloco ทางตอนเหนือของประเทศ และภาษา Cebuano ทางตอนใต้ของประเทศ และไม่มี
ภาษาใดที่ มีจ านวนผู้ พู ดจ านวนมากอย่ า งเห็นได้ชัด โดย Tagalog กั บ Cebuano แทบจะมี ผู้พูด จานวน
เท่ากัน61 ในปี ค.ศ. 1937 สถาบันภาษาแห่งชาติ (National Language Institute) ได้ก่อตั้งขึ้น และเป็นส่วน
สาคัญในการเลือกภาษาตากาล็อกเป็นภาษาแห่งชาติ ซึ่งเป็นภาษาแม่ของเมืองหลวง และสถานที่ทาการของ
รัฐบาล รวมถึงรัฐบาลของเจ้าอาณานิคม และที่สาคัญคือเป็นภาษาที่ชนชั้นนาทุกคนในขณะนั้นใช้อยู่ 62
ภาษาตากาล็อกในฐานะภาษาประจาชาติประสบกับแรงต้านจากหลายทาง โดยเฉพาะในชนชาติทาง
ใต้ หรือมินดะเนา รัฐบาลจึงแก้ปัญหาโดยการเปลี่ยนชื่อเป็น พิลิปปิโน (Pilipino) ในปี ค.ศ. 195963 โดยความ
พยายามในการพัฒนาภาษานี้ให้กลายเป็นภาษาใหม่ ที่มีการรวมเอาจุดเด่นของภาษาท้องถิ่นต่าง ๆ เข้าด้วยกัน
เพื่อให้กลายเป็นภาษาของชาวฟิลิปปินส์ทุกคน ในนามของ ฟิลิปปิโน (Filipino)64 ซึ่งมาตรการดังกล่าวระบุไว้
รั ฐธรรมนู ญ ปี ค.ศ. 1972 ว่ า “สภาแห่ งชาติจะต้องพั ฒนาภาษาฟิ ลิปปิโนในฐานะภาษาประจ าชาติ... ซึ่ ง
ระหว่างนี้ให้ใช้ภาษาอังกฤษและภาษาพิลิปปิโนเป็นภาษาทางการ”65 ในจุดนี้จะเห็นได้ว่าประเทศฟิลิปปินส์มี
ความพยายามในการใช้ภาษาเป็นเครื่องมือในการรวมชาติ แต่ไม่ประสบความสาเร็จนัก ในขณะที่ภาษาอังกฤษ
ยังคงเป็นภาษาที่มีอิทธิพลสูงเรื่อยมาตั้งแต่ต้นศตวรรษที่ 20 ซึ่งเห็นได้จากระบบการเรียนการสอนแบบสอง
ภาษา (ภาษาอังกฤษในการสอนคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์ และพิลิปปิโนในวิชาอื่น ๆ) ซึ่งรัฐบาลประกาศใช้
อย่างเป็นทางการใน ค.ศ. 1974 66 มาตรการดังกล่าวเป็นวิธีหนึ่งในการยกระดับภาษาพิลิปปิโน ภาษาประจา
ชาติ ให้ทัดเทียมกับภาษาอังกฤษ ซึ่งเป็นสื่อกลางในการสื่อสาร 67

11
ในปี ค.ศ. 1987 ภาษาฟิ ลิปปิโนกลายเป็นภาษาประจาชาติในที่สุด ภาษาดังกล่ าวเป็นภาษาที่ไม่
ผูกขาดชนชาติใดชนชาติหนึ่ง และเป็นสื่อกลางในการสื่อสารเคียงคู่กับภาษาอังกฤษ 68 ในปัจจุบัน ด้วยช่องทาง
ของระบบการศึกษาแบบสองภาษา การสื่อสารมวลชน และวัฒนธรรมสมัยนิยม ประชาชนส่วนมากได้ยอมรับ
ภาษาฟิลิปปิโนให้เป็นภาษาประจาชาติ แม้ยังคงมีการต่อต้านอยู่บ้างก็ตาม นอกจากนี้ภาษาฟิลิปปิโนยั ง เป็ น
ภาษากลางในการสื่อสารของชาวฟิลิปปินส์ทุกชนชาติที่กระจายออกไปตามส่วนต่าง ๆ ของโลก69
จากที่กล่าวเบื้องต้น จะเห็นได้ว่า ประเทศส่วนมากในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มีความพยายามในการ
รวมศูนย์อานาจ และสร้างรัฐชาติสมัยใหม่ด้วยการเป็นรัฐภาษาเดียว แต่กลับไม่ประสบความสาเร็จเท่าที่ควร
เนื่ องจากแรงต้านของชนกลุ่ มน้ อย ที่ ยั ง คงมีบทบาททางการเมื อง เศรษฐ กิ จ และสั ง คม จะเห็ นได้ชัดจาก
ประเทศลาวและประเทศเมียนมาร์ ซึ่งชนกลุ่มน้อยมีความเข้มแข็งในการต่อต้านการรวมศูนย์ของรัฐบาลกลาง
ดังนั้น มาตรการหนึ่งที่ทุกประเทศมีร่วมกัน นั่นคือการประกาศการยอมรับความหลากหลายทางภาษา และ
อนุ ญ าตให้ใช้ภาษาท้องถิ่ นเพื่ อรักษาอั ตลั กษณ์และวั ฒนธรรมของชนกลุ่ ม น้อย โดยมั กระบุในรัฐธรรมนูญ
มาตรการดังกล่าวแสดงให้เห็นว่ารัฐบาลมีความพยายามในการลดแรงกดดันจากชนกลุ่ม น้ อย ทาให้พวกเขา
สามารถธารงอยู่ได้ในระบบสังคมและรัฐชาติสมัยใหม่ และในขณะเดียวกันก็เป็นการแสดงออกถึ งความชอบ
ธรรมของรั ฐบาลในการท านุ บ ารุง ชนกลุ่ ม น้ อย แต่ เมื่ อมองดู ใ นรายละเอี ย ด จะพบว่ า ทุ กประเทศต่างมี
เป้าประสงค์สุดท้ายในการมุ่งสู่รัฐภาษาเดียว ซึ่งเห็นได้จากการจัดการเรียนการสอน และการออกนโยบายที่
เอื้อประโยชน์กับผู้ใช้ภาษาประจาชาติ พร้อมกับกดขี่ภาษาของชนกลุ่มน้อยไปพร้อมกัน

ประเทศที่ใ ช้แ นวทางรัฐ หลายภาษาในการสร้า งชาติ


ประเทศต่าง ๆ ข้างต้นต่างมีความพยายามในการมุง่ สู่รัฐภาษาเดียว แต่ประเทศเล็ก ๆ ทั้งสองประเทศ
ต่อไปนี้ กลับไม่ได้มีความพยายามเป็นรัฐภาษาเดีย วตั้งแต่ต้ น แต่ เลือกที่จะใช้แนวทางรัฐหลายภาษาในการ
สร้างชาติ ซึ่งได้แก่ประเทศติมอร์ตะวันออก และประเทศสิงคโปร์ ทั้งสองประเทศต่างมีเงื่อนไขในการสร้างรัฐ
หลายภาษาที่ทั้งเหมือนกันและแตกต่างกัน จึงเป็นตัวอย่างที่สาคัญในแสดงให้เห็นถึงฐานคิดที่แตกต่างกั น ใน
การสร้างชาติของสองประเทศนี้เปรียบเทียบกับประเทศอื่น ๆ ในภูมิภาค
ประเทศติมอร์ตะวันออก หรือติมอร์-เลสเต ในทางด้านภูมิรัฐศาสตร์ ตั้งอยู่ในสถานที่ซึ่งสองตระกูล
ภาษามาเจอกันและเกิดการแลกเปลี่ยนทางภาษากัน ติมอร์ตะวันออกจึงเต็มไปด้วยความหลากหลายทางภาษา
เชื้อชาติ แม้ว่าประเทศจะมีขนาดเล็กมากก็ตาม โดยมีภาษาประจาชาติสองภาษา ได้แก่ภาษาโปรตุเกสและ
ภาษาเตตุม และภาษาที่ใช้ในการทางานอีกสองภาษาได้แก่ภาษาอังกฤษ และภาษาอินโดนีเซีย พร้อมกับการ
ยอมรับภาษาถิ่นกว่า 16 ภาษา 70

12
ประเทศติมอร์ตะวันออกได้รับสถานะของประเทศเอกราชในปี ค.ศ. 2002 ท่ามกลางการสังเกตการณ์
ของสหประชาชาติ การสร้างชาติของติมอร์ตะวันออกจึงมีเงื่อนไขที่แตกต่างออกไปจากประเทศอื่น ๆ โดยชน
ชั้นนาของติมอร์ตะวันออกมีความต้องการที่จะผลักดันภาษาโปรตุเกสให้เป็นภาษาประจาชาติเ พียงภาษาเดียว
ซึ่งเป็นภาษาที่กลุ่มคนเหล่านี้ใช้ในชีวิตประจาวัน71 ภาษาโปรตุเกสจึงกลายเป็นเครื่องมือในการคงไว้ซึ่งอานาจ
ของชนชั้ นนาได้ เป็นอย่ างดี ในขณะที่คนรุ่นใหม่ที่ได้ รับการศึกษาเป็นภาษาอิ นโดนี เซี ย กลั บมองว่าภาษา
โปรตุเกสไม่สามารถตอบโจทย์การเข้าสู่ ระบบตลาดโลก จึงมีความต้องการให้ใช้ภาษาอังกฤษมากกว่า เพื่อการ
สื่อสารในระดับโลก72
การใช้ภาษาโปรตุเกสเป็นภาษาประจาชาติ เพียงภาษาเดีย วเป็ นการละเลยวั ฒนธรรมและชาติ พั นธุ์
ติมอร์ตะวันออก73 รัฐบาลจึงหันไปหาภาษาเตตุม (Tetum) ภาษาถิ่นซึ่งเป็นส่วนผสมของภาษาอินโดนีเซียและ
ภาษาโปรตุเกส มีการใช้อย่างแพร่หลายในเมืองหลวงดีลี และมีภาษาสาเนียงถิ่นของเตตุมกระจายอยู่ตามภาค
ต่าง ๆ ของติมอร์ตะวันออก แม้ว่า เตตุมจะไม่ใช่ภาษาที่มีคนใช้มากที่สุด แต่ก็มีความเป็นกลางเพียงพอในการ
ใช้ เป็ นภาษาประจ าชาติ และกลายเป็ นเครื่ องมื อของติ ม อร์ ต ะวั นออกในกา รใช้ เพื่ อแทนที่ อิท ธิ พ ลของ
อินโดนีเซีย74 ผ่านการประนีประนอมผลประโยชน์ของหลายฝ่าย เตตุมจึงกลายเป็นภาษาประจาชาติควบคูไ่ ป
กับภาษาโปรตุเกสในที่สุด ดั่งที่ปรากฏในรัฐธรรมนูญ75 นอกจากนี้ภาษาอินโดนีเซียซึ่งมีผู้ใช้อยู่จานวนมาก และ
เป็นภาษากลางในการสื่อสารในภูมิภาค ก็ได้ รับสถานะเป็นภาษาในการทางานเช่นเดียวกัน
ผลลั พ ธ์ ของนโยบายทางภาษาของประเทศติมอร์ตะวันออกแสดงให้เห็นว่า การเมืองภายในมีส่วน
สาคัญในการกาหนดนโยบายของประเทศ ซึ่งในที่นี้ การประนีประนอมผลประโยชน์ของกลุ่มอานาจในติม อร์
ตะวันออกนาไปสู่การเป็นสังคมหลายภาษา นั่นคือภาษาโปรตุเกส เตตุม อังกฤษ และอินโดนีเซีย ทั้งนี้การที่
ประเทศติมอร์ตะวันออกไม่ได้มุ่งสู่การเป็นรัฐภาษาเดียวนั้นมีเหตุผลอยู่สองประการ อย่างแรกคือฐานของการ
สร้างชาติที่ขึ้นอยู่กับการรวมทุกกลุ่ มที่มีความหลากหลายทางภาษาเข้าสู่ระบบการเมื องเดียวกั น การที่กลุ่ ม
ผลประโยชน์ทุกฝ่ายมีพื้ นที่ (ซึ่งในที่นี้คือภาษา) ของตัวเองในเวทีระดับประเทศ จึงเป็นการสร้างความชอบ
ธรรมให้กับรัฐบาลกลาง ในการต่อกรกั บประเทศอิ นโดนีเซี ย และแสดงออกถึง การเป็นตัว แทนที่ได้รับการ
สนับสนุนจากทุกกลุ่มในประเทศ ซึ่งถือได้ว่าเป็นการรวมชาติในรูปแบบหนึ่ ง และเหตุผลประการทีส่ อง คือการ
แสดงออกถึ ง ภาพลั กษณ์ที่ เป็นสากล ประชาธิปไตย เคารพความหลากหลายของกลุ่ มคนในสั งคม ซึ่ ง เป็น
อิทธิพลของการจัดระบบการเมืองการปกครองของสหประชาชาติในตอนต้นของการได้รับเอกราช การกระทา
ดังกล่าวทาให้ประเทศเกิดใหม่อย่างติมอร์ตะวันออกได้รับความชอบธรรมในเวทีระหว่างประเทศ แม้ว่าในเนื้อ
แท้ นโยบายภาษาของติมอร์ตะวันออกก็ยังสะท้อนถึงกลุ่มผลประโยชน์ที่มีอานาจเหนือในประเทศ และกดขี่ชน
กลุ่มน้อยอื่น ๆ ที่ใช้ภาษาถิ่นของตนอยู่ดี

13
ประเทศสุดท้ายก็คือประเทศสิงคโปร์ ประเทศเกิดใหม่ซึ่งแยกตัวออกมาจากมาเลเซี ย มีนโยบายทาง
ภาษาที่ชัดเจนและไม่เหมือนใคร นั่นคือการยอมรับและชู สี่ภาษาที่ แตกต่างกันเข้ามาประกอบกั นเป็น สั ง คม
วั ฒนธรรมที่เป็นหนึ่ ง เดียว อั นได้ แก่ ภาษาอั ง กฤษ ภาษาจีน ภาษามาเลย์ และภาษาทมิ ฬ ซึ่ ง เหตุ ผลของ
ปรากฏการณ์ดังกล่าวมาจากเงื่อนไขทางการเมืองทั้งสิ้น
จากการสารวจประชากรในปี ค.ศ. 2010 พบว่า สัดส่วนประชากรของประเทศสิงคโปร์มคี นจีนร้อยละ
74.1 คนมาเลย์ ร้อยละ 13.4 คนอินเดียร้อยละ 9.2 และอื่น ๆ ซึ่งประกอบไปด้วยคนยุโรป ญี่ปุ่น และอื่น ๆ
อีกร้อยละ 3.376 เมื่อมาถึงการสร้างชาติ พรรค PAP (People’s Action Party) ภายใต้การนาของลีกวนยู ได้
ท าการสร้างตัว ตนของรั ฐชาติสิงคโปร์ผ่านความหลากหลายเหล่ านี้ เพื่อความอยู่รอดและลดแรงกดดันทาง
การเมือง77 ผลลัพธ์ของกระบวนการสร้างรัฐที่มีหลายเชื้อชาติ หลายภาษา หลายวัฒนธรรม จึงออกมารูปแบบ
ของนโยบายความเท่าเทียมกันของสี่ภาษาให้กลายเป็นภาษาทางการของสิงคโปร์ โดยมีภาษามาเลย์เป็นภาษา
ประจาชาติเพียงภาษาเดียว เพื่อแสดงออกถึงความเป็นส่วนหนึ่งในดินแดนแม่ 78
วิธีการของสิงคโปร์จึงอยู่ที่การสร้างตัวตนสองภาษาในประชาชนทุกคน นั่นคือภาษาอังกฤษและภาษา
แม่ ภาษาอังกฤษจะช่วยให้ประชาชนสามารถแข่งขันได้ในเศรษฐกิจโลก เป็นสื่อกลางในการสื่อสารระหว่างชาติ
พั นธุ์ เพื่ อความเข้าใจกั นและความร่ วมมือ และภาษาแม่จ ะทาให้ชาวสิง คโปร์ ที่มี ภูมิฐานมาจากชาติพันธุ์ที่
หลากหลายมีความผูกพั นกั บมรดกทางวัฒนธรรมดั้งเดิมของตน79 ไม่ มี ภาษาแม่ภาษาใดที่มีความสาคัญไป
มากกว่าภาษาแม่อื่น80
การสร้างภาพลักษณ์ของประเทศที่เคารพในความหลากหลาย ต่างจากประเทศมาเลเซียซึ่งตนแยกตัว
ออกมา ทาให้รัฐบาลประสบความสาเร็จในการสร้างความชอบธรรมและบรรทัดฐานในการปกครองของตน
โดยเป็ นการป้ องกั นภั ย คุ กคามทางเมื องที่ ดี ที่ สุด รั ฐบาลได้ ใ ช้ โอกาสในการตั้ ง ประเทศใหม่ และความ
หลากหลายทางชาติพันธุ์ เป็นประโยชน์ในการออกแบบรัฐชาติที่เสียงของชนกลุ่มน้อยถูกซ่อนไว้อย่างสมบู ร ณ์
ภายใต้การนโยบายหลากชาติพั นธุ์-หลากภาษาของรั ฐบาล ทั้งนี้ยังแสดงถึงสถานะทางสังคมในเวทีระหว่ า ง
ประเทศ ที่ มี เป็ นจุดเชื่ อมระหว่างตะวันตกและตะวันออก และความทันสมัย ซึ่ ง ล้ ว นแต่ เป็นต้นทุนที่ทาให้
ประเทศสิงคโปร์ประสบความสาเร็จทางด้านเศรษฐกิจ และปราศจากความขัดแย้งทางชาติพันธุ์ที่เห็นได้ชัด
จากที่ กล่ าวเบื้องต้นในกรณีของสองประเทศในเอเชี ยตะวั นออกเฉี ยงใต้ ซึ่ ง มี ลักษณะเป็นรัฐหลาย
ภาษา มีท่าทีและแนวคิดที่ต่างออกไปจากประเทศอื่น ๆ ที่มีแนวโน้มไปทางการเป็นรัฐภาษาเดียว เนื่องจาก
เงื่อนไขของประเทศนั้น ๆ ที่มีความเฉพาะเจาะจง เป็นประเทศเกิดใหม่ ที่ต้องอาศัยความชอบธรรมจากการ
ยอมรับหลายภาษา ในส่วนนี้จึงเป็นจุดสะท้อนหนึ่งว่า ความหลากหลายทางชาติพันธุ์ ภาษา วัฒนธรรม สังคม
ทาให้การกล่าวรวบยอดทั้งภูมิภาคนั้นต้องทาอย่างระมัดระวัง ในกรณีนี้จะเห็นได้ว่าไม่ใช่ทุกประเทศที่ตอ้ งการ

14
เป็นรัฐภาษาเดียว แต่ทุกประเทศต่างใช้ภาษาเพื่อเป็นเครื่องมือในการสร้างรัฐชาติสมัยใหม่ ภายใต้เงื่อนไขที่
แตกต่างกันไปของแต่ละประเทศ

สรุป
จากการค้นคว้าพบว่า ประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ส่วนมากได้มีแนวทางตามรัฐชาติสมั ย ใหม่
และมีความพยายามในการสร้างรัฐชาติที่มีภาษาเดียว ท่ามกลางความหลากหลายทางภาษาและวัฒนธรรม จึง
ทาให้ชนกลุ่มน้อยของหลาย ๆ ประเทศต้องเปลี่ยนภาษาของตนให้เข้ากับระบบของส่วนกลาง โดยการเปลี่ยน
ภาษาเหล่านี้มาพร้อมกับกดทับในสิทธิและเสียงของชนกลุ่มน้อย และสร้างความชอบธรรมและอานาจผูกขาด
ทางการเมืองให้รัฐบาลกลางซึ่งเป็นเจ้าของภาษากลาง ประเทศที่ชนกลุ่มน้อยไม่มีความแข็งแกร่งหรือมีจานวน
น้อย รัฐบาลก็จะประสบความสาเร็จในการใช้ ภาษาเดี ยวในการสร้างรั ฐชาติ แต่ในประเทศที่ชนกลุ่ม น้ อยมี
ความแข็งแกร่ง มีสิทธิเสียงทางการเมือง และมีจานวนมาก ก็ทาให้รัฐบาลต้องทาการยอมรับภาษาของชนกลุม่
น้อย เพือ่ เป็นการลดแรงกดดันทางการเมืองและสร้างความชอบธรรมให้กับรัฐบาล แต่ในขณะเดียวกันก็ยังคง
ออกนโยบายที่ให้สิทธิประโยชน์กับผู้ใช้ภาษาประจาชาติมากกว่า
จากการค้นคว้ าพบว่ าไม่ ใช่ ทุกประเทศที่มีความต้ องการเป็ นรัฐภาษาเดีย วทั้งหมด ประเทศอย่าง
สิงคโปร์และติมอร์ตะวันออกมีความชัดเจนในการเป็นสังคมหลายภาษา โดยการสร้างชาติของทั้งสองประเทศนี้
ตั้ ง อยู่ บ นแนวคิ ด ที่แตกต่ างออกไปจากอี ก 8 ประเทศที่เหลื อ นั่ นคื อการสร้ า งความชอบธรรมจากความ
หลากหลายทางชาติพันธุ์และภาษา จึงเกิดการประนีประนอมไปสู่การสร้างรัฐที่มีหลายภาษา อย่างไรก็ตาม
อาจกล่าวได้ว่า ด้วยเงื่อนไขที่แตกต่างออกไป นั่นคือการที่ประเทศมีความหลากหลายมาก ๆ และเป็นประเทศ
เกิดใหม่ที่ไม่มีต้นทุนทางภาษาที่แข็งแรง ทาให้ทั้งสิงคโปร์และติมอร์ตะวันออกไม่ สามารถสร้างหรือหยิ บ ยก
ภาษาใดภาษาหนึ่งมาเป็นภาษาประจาชาติ ภาษาเดียวได้ จึงต้องเลี่ยงไปใช้วิธีการของการเป็นรัฐหลายภาษา ซึ่ง
ท าให้ รั ฐบาลมี ค วามชอบธรรมไม่ ต่ างกั นและสามารถบรรลุ ผลในการด าเนิ นกิ จ กรรมทางการเมื องใน
ระดับประเทศและระหว่างประเทศโดยปราศจากแรงต้านทานของชนกลุ่มน้อย กล่าวคือ ภาษายังคงเป็นส่วน
สาคั ญ ในการสร้ างรัฐชาติข องประเทศสิ ง คโปร์ และติมอร์ตะวั นออก แต่ ทั้ งสองประเทศมองว่ารัฐบาลจะไม่
ประสบความสาเร็จในการเป็นรัฐภาษาเดียว จึง เลือกใช้วิธีการอื่น
เราอาจกล่าวได้ว่า สิ่งที่เป็นอุปสรรคของการทาความเข้าใจภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉี ยงใต้ก็คือ การ
เหมารวม หรื อ Generalization เนื่ องจากประเทศต่ าง ๆ นอกจากจะมี ค วามหลากหลายทางชาติพันธุ์
วัฒนธรรม และภาษาเป็นทุนเดิมอยู่แล้ว ภูมิภาคนี้ยังได้ตกเป็นเหยื่อของการล่าอาณานิคมจากประเทศต่าง ๆ
ที่มีนโยบายต่อประเทศอาณานิคมที่แตกต่างกัน ประสบการณ์ทางประวัตศิ าสตร์เหล่านี้ยิ่งทาให้ภูมิภาคเอเชีย

15
ตะวันออกเฉียงใต้มีต้นทุนทางสังคมที่แตกต่างกัน อย่างไรก็ตาม กระแสโลก และแนวคิดเรื่องรัฐชาติสมัยใหม่
ก็ส่งผลกระทบต่อประเทศในภูมิภาคนี้ไปในทิศทางเดียวกัน นั่นคือการสร้างชาติด้วยภาษา แต่เพราะข้อจากัด
และเงื่อนไขที่แตกต่างกันไปจากที่กล่าวเบื้องต้น ผลลัพธ์และวิธีการของแต่ละประเทศก็ จึงแตกต่างกันออกไป
ด้วย การศึกษาในระดับประเทศเชิงรายละเอียดจึงมีความจาเป็นและทาให้เข้าใจภูมิภาคนี้อย่างถ่องแท้
ท้ายที่สุด ภาษาอังกฤษนั้นมีบทบาทสาคัญในฐานะเครื่องมือเพื่อความก้าวหน้าในสังคม รัฐบาลที่เห็น
ด้วยกับกระแสโลกนี้จึงมีนโยบายทางด้านภาษาและระบบการศึกษาที่สอดแทรกภาษาอังกฤษเข้ามาเพื่อตอบ
รับกับการเปลี่ยนแปลงดังกล่าว โดยประเทศอย่างฟิลิปปินส์หรือบรูไนก็มีระบบการศึกษาแบบสองภาษา และ
ประเทศอย่างสิงคโปร์และติมอร์ตะวันออกก็ได้บรรจุภาษาอั งกฤษไว้ เป็นภาษาทางการและภาษาที่ ใช้ในการ
ทางานตามลาดับ แสดงถึงการให้ความสาคัญกับภาษาอังกฤษ ซึ่งเป็นตัวบ่งชี้ความเจริญและความเป็นสมัยใหม่
ในปัจจุบัน

1
Mooney, Annabelle ... et al. Language, Society and Power: An Introduction. 3rd ed. London :
Routledge, 2011. 1-2.
2
Ibid. 16-17.
3
Lee Hock Guan and Leo Suryadinata, ed. Language, Nation and Development in Southeast Asia.
Singapore : Institute of Southeast Asian Studies, 2007. 1-2.
4
Sercombe, Peter and Tupas, Ruanni, ed. Language, Education and Nation-Building: Assimilation and
Shift in Southeast Asia. Houndmills, Baskingstoke, Hampshire : Palgrave Macmillan, 2014. 1.
5
Ibid. 2
6
Clayton, Thomas. Education and the Politics of Language: Hegemony and Pragmatism in
Cambodia, 1979-1989. Hong Kong : Comparative Education Research Centre, The University of Hong
Kong, 2000. 30.
7
Sercombe. Language, Education and Nation-Building. 30.
8
Ibid.
9
Ibid. 30-31.
10
Ibid. 31.
11
Ibid.

16
12
Ibid.
13
Ibid. 33-35.
14
Ibid. 37.
15
Ibid.
16
Ibid. 37-38.
17
Ibid. 45-47.
18
Ibid. 46.
19
Ibid. 47.
20
Ibid.
21
Ibid. 47-48.
22
Ibid. 48.
23
Clayton. Education and the Politics of Language. 165-166.
24
Sercombe. Language, Education and Nation-Building. 49.
25
Ibid. 106-107.
26
Ibid. 107-108.
27
Ibid. 106-107.
28
Ibid. 114.
29
Ibid.
30
Ibid. 115.
31
Ibid. 117-120.
32
Ibid. 115.
33
Ibid. 232.
34
Ibid. 232-233.
35
Ibid. 233.
36
Ibid. 234-235.
37
Ibid. 236-237.
38
Ibid. 148-149.
39
Lee Hock Guan. Language, Nation and Development in Southeast Asia. 151.
40
Ibid. 151-152.
41
Ibid. 152.
42
Ibid. 152-155.
43
Ibid. 172.
44
Ibid.
45
Sercombe. Language, Education and Nation-Building. 131.
46
Mead, Richard. Malaysia's National Language Policy and the Legal System. New Haven,
Connecticut : Yale University Southeast Asia Studies, 1988. 22.
47
Sercombe. Language, Education and Nation-Building. 131-133.

17
48
Ibid. 132.
49
Ibid.
50
Ibid. 134.
51
Ibid. 134-135.
52
Ibid. 87-88.
53
Ibid. 90.
54
Lee Hock Guan. Language, Nation and Development in Southeast Asia. 40.
55
Ibid. 41.
56
Ibid. 40.
57
Ibid. 39-40.
58
Ibid. 43.
59
Sercombe. Language, Education and Nation-Building. 167-168.
60
Ibid. 168.
61
Tan Ta-Sen. Language Policies in Insular Southeast Asia: A Comparative Study. Singapore :
Chopmen Enterprises, 1978. 12.
62
Sercombe. Language, Education and Nation-Building. 169.
63
Ibid.
64
Tan Ta-Sen. Language Policies in Insular Southeast Asia. 13.
65
Ibid.
66
Sercombe. Language, Education and Nation-Building. 172.
67
Ibid.
68
I-bid. 173.
69
Ibid. 174.
70
Ibid. 68.
71
Ibid. 74.
72
Ibid.
73
Ibid. 75.
74
Hal Hill & Joao M. Saldanha, ed. East Timor: Development Challenges for the World's Newest
Nation. Singapore : Institute of Southeast Asia Studies, 2001. 159-163.
75
Sercombe. Language, Education and Nation-Building. 74.
76
Ibid. 181.
77
Chan Heng Chee. Singapore: The Politics of Survival, 1965-1967. Singapore : Oxford University Press,
1971. 49.
78
Ibid.
79
Sercombe. Language, Education and Nation-Building. 181.
80
Ibid.

18

You might also like