You are on page 1of 12

รายงานเชิงวิชาการ



การอ่านและพิจารณาวรรณคดีเรื่อง คัมภีร์ฉันทศาสตร์ แพทย์ศาสตร์สงเคราะห์


โดย

นายอัฐวุฒิ อนันต์ญาภา ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5/9 เลขที่ 1
นายพัสกร บุญเกิด ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5/9 เลขที่ 3
นางสาวชนิกา ภู่พัทธยากร ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5/9 เลขที่ 15

เสนอ

อ.พนมศักดิ์ มนูญปรัชญาภรณ์


ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2561

โรงเรียนสาธิตนานาชาติ มหาวิทยาลัยมหิดล


รายงานนี้เป็นส่วนหนึ่งของกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้โครงงานเป็นฐาน (Project Based Learning)

รายวิชาภาษาไทยและวัฒนธรรม ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5
รายงานเชิงวิชาการ


การอ่านและพิจารณาวรรณคดีเรื่อง คัมภีร์ฉันทศาสตร์ แพทย์ศาสตร์สงเคราะห์


โดย

นายอัฐวุฒิ อนันต์ญาภา ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5/9 เลขที่ 1
นายพัสกร บุญเกิด ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5/9 เลขที่ 3
นางสาวชนิกา ภู่พัทธยากร ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5/9 เลขที่ 15

เสนอ

อ.พนมศักดิ์ มนูญปรัชญาภรณ์


ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2561

โรงเรียนสาธิตนานาชาติ มหาวิทยาลัยมหิดล


รายงานนี้เป็นส่วนหนึ่งของกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้โครงงานเป็นฐาน (Project Based Learning)

รายวิชาภาษาไทยและวัฒนธรรม ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5

คำนำ

รายงานฉบับนี้เป็นส่วนหนึ่งของวิชาภาษาไทยและวัฒนธรรม ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โดยมีจุด


ประสงค์เพื่อการศึกษาความรู้ท่ีได้จากวิเคราะห์คำประพันธ์เรื่องคัมภีร์ฉันทศาสตร์ แพทย์ศาสตร์สงเคราะห์ ซึ่ง
รายงานนี้มีเนื้อหาเกี่ยวกับการอ่านและพิจารณาเนื้อหาและกลวิธี การใช้ภาษา และประโยชน์หรือคุณค่าใน
วรรณคดีและวรรณกรรมที่ได้รับจากบทประพันธ์

ทั้งนี้ทางคณะผู้จัดทำหวังเป็นอย่างยิ่งว่ารายงานเล่มนี้จะให้ความรู้และเป็นประโยชน์ต่อผู้ที่ได้มาศึกษา
เป็นอย่างดี และทางคณะผู้จัดทำขอขอบคุณผู้ที่มีส่วนช่วยให้รายงานเล่มนี้สำเร็จมา ณ โอกาสนี้ด้วย

คณะผู้จัดทำ


สารบัญ

หน้า
1. การอ่านและพิจารณาเนื้อหาและกลวิธีในวรรณคดีและวรรณกรรม 1
1.1 เนื้อเรื่อง หรือเนื้อเรื่องย่อ 1
1.2 โครงเรื่อง 1
1.3 บทรำพึงรำพัน 1
1.4 แก่นเรื่อง 2
2. การอ่านและพิจารณาการใช้ภาษาในวรรณคดีและวรรณกรรม 2
2.1 การสรรคำ 2
2.2 การเรียบเรียงคำ 3
2.3 การใช้โวหาร 3
3. การอ่านและพิจารณาประโยชน์หรือคุณค่าในวรรณคดีและวรรณกรรม 5
3.1 คุณค่าด้านอารมณ์ 5
3.2 คุณค่าด้านคุณธรรม 5
3.3 คุณค่าด้านอื่นๆ 6
บรรณานุกรม 7
Z1

1. การอ่านและพิจารณาเนื้อหาและกลวิธีวรรณคดีและวรรณกรรม
1.1 เนื้อเรื่อง
ในคัมภีร์ฉันทศาสตร์ แพทย์ศาสตร์สงเคราะห์ กวีได้เปิดเนื้อเรื่องโดยการเปรียบร่างกายของมนุษย์ทุก
คน ทั้งชายหญิงเสมือนเมืองเมืองหนึ่ง โดยมีหลายองค์ประกอบในเมืองนั้น มีหัวใจคือพระราชา มีน้ำดีเป็น
ภูมิคุ้มกัน ข้าศึกหรือโรคภัย มีอาหารเป็นเสบียงเพื่อเลี้ยงผู้คนในประเทศ และท้ายสุด มีแพทย์ที่คอยปกป้อง
ร่างกายและ องค์ประกอบต่างๆที่กล่าวมาจากโรคภัยนานาชนิดเสมือนทหาร จากนั้น ผู้แต่งก็กล่าวถึงความ
สำคัญของ การวินัจฉัยโรคร้ายอย่างแม่นยำและทันกาล เพราะมิฉะนั้นอาจใช้วิธีการรักษาที่ผิดและรักษาได้
ไม่ทันกาล จนทำให้ ผู้ป่วยมีโอกาสเสียชีวิตได้ หลังจากนั้นผู้แต่งได้กล่าวตักเตือนถึงแพทย์ที่อวดรู้ว่าอย่าได้ดูถูก
โรคร้าย ว่าเป็นเรื่องที่สามารถรักษาให้หายได้อย่างง่ายดาย เพราะหากเกิดผิดพลาดขึ้นมาจะไม่เป็นการดีต่อ
ตัวผู้ป่วย และตัวแพทย์เอง แพทย์ที่ไม่ได้เรียนตำราหรือมีความรู้อย่างถ่องแท้จึงควรที่จะศึกษาจากคัมภีร์พุทธ
ไสย์ให้เข้าใจจนกระจ่างเสียก่อนที่จะทำการรักษา

1.2 โครงเรื่อง
อาชีพแพทย์เป็นอาชีพที่ต้องมีจรรยาบรรณ ผู้รักษาต้องมีความชำนาญและความรู้อย่างถ่องแท้ การ
รักษาของแพทย์ต้องดำเนินการด้วยความแม่นยำและรวดเร็ว มิเช่นนั้นผู้ป่วยอาจถึงแก่ชีวิตได้ ดังนั้น อาชีพ
แพทย์จึงเป็นอาชีพที่มีความซับซ้อนและมีความสำคัญต่อบ้านเมืองเป็นอย่างมาก

1.3 บทเจรจารำพึงรำพัน
บทของกาพย์ยานี 11 ดังต่อไปนี้ คือตัวอย่างของบทรำพึงรำพันที่ผู้เขียนได้แต่งขึ้นเพื่อต้องการที่จะ
สื่อความรู้และความในใจให้ผู้อ่านได้ทราบและเข้าใจ

เมื่ออ่อนรักษาได้ แก่แล้วไซร้ยากนักหนา
ไข้นั้นอุปมา เหมือนเพลิงป่าไหม้ลุกลาม

จากตัวอย่างข้างต้น กวีได้รำพึงรำพันว่าอาการโรคร้ายต่างๆสามารถรักษาให้หายขาดได้ หากความ


รุนแรง ของโรคยังไม่มากนัก แต่ถ้าไข้ลุกลามมานานแล้ว การรักษาย่อมเป็นไปได้ยาก กวีจึงเปรียบโรคร้าย
เสมือนไฟป่า ที่ถ้าดับไฟได้ทันกาล ไฟก็จะดับด้วยความง่ายดายและรวดเร็ว แต่ถ้าไฟลุกลามจนอาณาเขตกว้าง
ขวางแล้ว การจะดับย่อมเป็นไปได้ยากที่จะไม่ทิ้งความเสียหาย หรือถึงขั้นขนาดไม่เป็นผลสำเร็จ คือไฟไหม้ทั้ง
ป่า ก็เปรียบดั่งร่างกายที่ระบบล้มเหลวทั้งหมด จนนำไปสู่การเสียชีวิต

โรคคือครุกรรม บรรจบจำอย่างพึ่งทาย
กล่าวเล่ห์อุบายหมาย ด้วยโลภหลงในลาภา
Z2

จากตัวอย่างข้างต้น ผู้แต่งได้กล่าวตักเตือนแพทย์ที่เห็นแต่โชคลาภเป็นสำคัญ มีความโลภหลงมัวเมา


ในเงินทอง ว่าโรคร้ายคือกรรมหนัก อย่าได้วินิจฉัยอาการอย่างไร้หลักการ เพื่อหลอกคนไข้ให้เชื่อใจ และเอาแต่
ทรัพย์สินเงินทองมาด้วยการแลกกับความลำบากของผู้ป่วย

บ้างรู้แต่ยากวาด เที่ยวอวดอาจไม่เกรงภัย
โรคน้อยให้หนักไป ดังก่อกรรมให้ติดกาย

จากตัวอย่างข้างต้นผู้แต่งได้ทำการยกตัวอย่างแพทย์ที่มีไม่มีความเชี่ยวชาญในประเภทและชนิดของ
ยา ที่ได้ให้ยาแก่ผู้ป่วยผิดไป ผู้แต่งจึงได้ตัดสินว่าแพทย์จำพวกนี้ชอบด่วนสรุปชนิดของโรคและให้ชนิดของยา ที่
ผิดเพี้ยนไปโดยไม่คำนึงถึงภัยคุกคามที่มีโอกาสจะตามมา ผู้แต่งยังต้องการจะสื่ออีกด้วยว่า หากเกิดอะไรไม่ดี
ขึ้นกับผู้ป่วย แพทย์ผู้นั้นจะติดตราบาปไปอีกยาวนาน
บทรำพึงรำพังที่ได้กล่าวมาทั้งหมด ทำหน้าที่ในการสื่อสารความที่กวีต้องการจะบอกได้อย่างมี
ประสิทธิภาพและช่วยในการสร้างอรรถรสให้กับผู้อ่าน บทรำพึงรำพันจึงเป็นส่วนประกอบที่สำคัญใน การ
ประพันธ์บทประพันธ์นี้ขึ้นมา

1.4 แก่นเรื่อง
แก่นเรื่องของเรื่องนี้มีอยู่สองประเด็นหลัก คือ อาชีพแพทย์มิใช่อาชีพที่ทำเพื่อหวังแต่ผลกำไร มิใช่
อาชีพที่คนเห็นแก่ตัวจะสามารถทำและเกิดประโยชน์ได้ แต่เป็นอาชีพที่มีไว้รักษาคนให้พ้นจากโรคภัยไข้เจ็บ
และความตาย อีกทั้งแพทย์ยังเป็นอาชีพที่ต้องมีความชำนาญ เป็นบุคคลที่สำคัญต่อร่างกาย สังคม และ บ้าน
เมืองเป็นอย่างมากเพราะพวกเขาสามารถวินิจฉัยโรคด้วยความถูกต้องแม่นยำในเวลาอันรวดเร็ว และสั่งยาได้
ตรงกับโรคนั้นๆ ก่อนที่โรคร้ายจะขยายตัวและทวีความรุนแรงมากขึ้นจนถึงขั้นอันตรายแก่ชีวิต

2. การอ่านและพิจารณาการใช้ภาษาในวรรณคดีและวรรณกรรม
2.1 การสรรคำ
กวีเลือกใช้คำที่เหมาะสมกับบริบทและสารที่ต้องการจะสื่อไปถึงผู้อ่านผ่านบทประพันธ์นี้ โดยการ
เลือกสรรคำที่มีความหมายเฉพาะ ตรงกับเนื้อหาสำคัญของสาร ประกอบกับคำที่มีความหมายชัดเจน เพื่อ
ความถูกต้องในส่งสาร รวมถึงการคงไว้ซึ่งความไพเราะและความสุนทรีย์ในการอ่านของผู้อ่าน ดังต่อไปนี้

2.1.1 กวีเลือกใช้คำที่เหมาะสมกับเรื่อง และมีความหมายถูกต้องตามที่ต้องการ


ในบทประพันธ์นี้ กวีได้เลือกใช้คำศัพท์และสำนวนที่ใช้เฉพาะในการแพทย์ มีความหมายที่ตรงไปตรง
มา แทนการบรรยายหรือพรรณารายละเอียดโดยนัยให้มากความ เช่น

บ้างจำแต่เพศไข้ สิ่งเดียวได้สังเกตมา
กองเลือดว่าเสมหา กองวาตาว่ากำเดา
Z3

จากตัวอย่าง คำที่ขีดเส้นใต้ทั้งสองคำล้วนเป็นคำศัพท์ทางการแพทย์ว่าด้วยประเภทอาการของไข้
โดยคำว่า “กองเลือด” หมายถึงประเภทโรคเลือด และ คำว่า “กองวาตา” หมายถึงประเภทโรคลม แทนการ
อธิบายอาการของโรคทั้งสอง ซึ่งทำให้เกิดความกระชับ เนื้อหาในบทประพันธ์ไม่ยืดเยื้อ

2.1.2 กวีเลือกใช้คำที่เหมาะสมแก่ลักษณะของคำประพันธ์
เนื่องจากกวีประพันธ์คัมภีร์ฉันทศาสตร์ แพทย์ศาสตร์สงเคราะห์นี้ในรูปแบบของร้อยกรอง คำบางคำ
ที่กวีเลือกใช้นั้นจึงไม่ใช่คำสามัญที่พบได้ทั่วไปในร้อยแก้ว แต่เป็นคำที่มีความหมายเหมือนกันและ มีเสียงที่แตก
ต่างออกไป เหมาะแก่การใช้ในร้อยกรอง เช่น การใช้คำว่า “ทิศา” แทนคำว่า “ทิศ” “กระษัตริย์” แทนคำว่า
“กษัตริย์” และคำว่า “โกรธา” แทนคำว่า “โกรธ” เป็นต้น เพื่อสร้างสัมผัสคล้องจองระหว่างวรรค ตาม
ฉันทลักษณ์บังคับของกาพย์ยานี 11 และเพิ่มความไพเราะทางด้านเสียงให้กับบทประพันธ์อีกด้วย

2.2 การเรียบเรียงคำ
2.2.1 การเรียบเรียงถ้อยคำให้เป็นประโยคคำถามเชิงวาทศิลป์
กวีมีการสอดแทรกการเรียบเรียงคำให้เป็นกลายเป็นคำถามเชิงวาทศิลป์ เป็นคำถามที่ไม่ได้ประสงค์ให้ผู้อ่านนั้น
ตอบคำถามโดยตรง แต่ต้องการให้ยอมรับความจริงในแนวที่คิดที่กวีนำเสนอ ดังในตัวอย่าง

คัมภีร์กล่าวไว้หมด ไยมิจดมิจำเอา
ทายโรคแต่โดยเดา ให้เชื่อถือในอาตมา

กวีได้ตั้งคำถามแก่ผู้อ่านว่าในตำรานั้นก็มีข้อมูลบอกอยู่ชัดเจน ทำไมถึงไม่จดจำจากตารา แต่กลับใช้


การคาดเดา ในการวินิจฉัยโรค ซึ่งเป็นการกระทำที่ประมาทและอาจส่งผลร้ายแรงต่อตัวผู้ป่วยได้อีกด้วย

2.3 การใช้โวหาร
บทประพันธ์เรื่องคัมภีร์ฉันทศาสตร์ แพทย์ศาสตร์สงเคราะห์นี้มีการใช้โวการภาพพจน์ต่างๆ เพื่อก่อให้
เกิดภาพที่ชัดเจน สุนทรียภาพ และความประทับใจตราตรึงใจแก่ผู้อ่าน ซึ่งจะนำไปสู่ความเข้าใจ ในเนื้อหา
อย่างลึกซึ้งมากยิ่งขึ้น ดังต่อไปนี้

2.3.1 อุปลักษณ์ หรือการเปรียบเทียบสิ่งหนึ่งเป็นอีกสิ่งหนึ่ง


กวีมีการใช้โวหารนี้อย่างชัดเจนที่สุดในตอนต้นของเรื่องที่กวีต้องการจะเกริ่นนำในเรื่องของร่างกายและโรค
ดังนี้
Z4

อนึ่งจะกล่าวสอน กายนครมีมากหลาย
ประเทียบเปรียบในกาย ทุกหญิงชายในโลกา
ดวงจิตคือกระษัตริย์ ผ่านสมบัติอันโอฬาร์
ข้าศึกคือโรคา เกิดเข่นฆ่าในกายเรา
เปรียบแพทย์คือทหาร อันชำนาญรู้ลำเนา
ข้าศึกมาอย่าใจเบา ห้อมล้อมรอบทุกทิศา
ให้ดำรงกระษัตริย์ไว้ คือดวงใจให้เร่งยา
อนึ่งห้ามอย่าโกรธา ข้าศึกมาจะอันตราย
ปิตตํ คือ วังหน้า เร่งรักษาเขม้นหมาย
อาหารอยู่ในกาย คือเสบียงเลี้ยงโยธา

จากตัวอย่างข้างต้น กวีได้ใช้คำว่า “คือ” ในการเปรียบเทียบแสดงคุณสมบัติที่เหมือนกันของสองสิ่ง


นั้นเพื่อให้ ผู้อ่านได้เห็นภาพมากยิ่งขึ้น เช่น การเปรียบเทียบดวงใจเป็นกษัตริย์ที่มีความสำคัญที่สุด เป็น
ศูนย์กลางร่างกาย โรคภัยไข้เจ็บเป็นข้าศึกที่จะ เข้ามาทำลายร่างกายของเรา แพทย์เป็นทหารที่จะคอยปกป้อง
เรายามที่มีภัยเข้ามาน้ำดีเป็นวังหน้าที่จะคอยเป็นภูมิคุ้มกัน และอาหารเป็นเสบียงที่จะหล่อเลี้ยงร่างกาย รวม
ทั้งการเปรียบเทียบ โดยละคำว่า “คือ” เอาไว้ในวรรครับของบทแรกที่เปรียบร่างกายของคนเสมือนนครหรือ
เมืองหนึ่ง

2.3.2 นามนัย หรือการใช้คำที่บ่งลักษณะหรือคุณสมบัติมาแสดงความหมายแทนสิ่งนั้นทั้งหมด


ยกตัวอย่างเช่นการใช้คำว่า “เนื้อ” เพื่อแสดงถึงร่างกายของคนหรือตัวคน ดังในบทประพันธ์ที่ว่า

ใช่โรคสิ่งเดียวดาย จะพลันหายในโรคา
ต่างเนื้อก็ต่างยา จะชอบโรคอันแปรปรวน

ซึ่งในความเป็นจริงแล้วกวีได้สอดแทรกลูกเล่นในการประพันธ์วรรคนี้ขึ้นมาโดยการอ้างอิงถึงสำนวน
ไทยที่เป็นที่รู้จักกันดีอย่าง “ลางเนื้อชอบลางยา” แล้วนำมาดัดแปลงให้เข้ากับบริบทของเรื่องและง่ายต่อการ
เข้าใจมากขึ้น แต่ก็ยังคงโครงสร้างเดิมของสำนวนเอาไว้ ดังนั้น “ต่างเนื้อก็ต่างยา” จึงมีความหมายว่าต่างคนก็
ต่างถูกกับยาบางอย่างที่แตกต่างกันออกไป ฉนั้นการพิจารณายาที่สมควรจะใช้รักษา นั้นจะต้องขึ้นอยู่กับตัว
บุคคลด้วย
Z5

3. การอ่านและพิจารณาประโยชน์หรือคุณค่าในวรรณคดีและวรรณกรรม

3.1 คุณค่าด้านอารมณ์
3.1.1 สร้างความประทับใจและซาบซึ้งแก่ผู้อ่าน
กวีได้เน้นย้ำถึงความสำคัญของแพทย์และยารักษาโรค รวมถึงการแสดงถึงความยากลำบากของการ
เป็นแพทย์ที่ต้องใช้ความพยายามมุมานะและความละเอียดสูง ต้องมีการศึกษาในด้านต่างๆให้แม่นยำและ
ถี่ถ้วน ก่อนที่จะมาวินิจฉัยและรักษาผู้ป่วย อีกทั้งกวียังได้กล่าวในบทประพันธ์อีกว่าเพียงรู้แค่ตำราก็ยังคงไม่พอ
ต้องอาศัยประสบการณ์ด้วย ทั้งนี้ทั้งนั้นนอกจากจะเป็นการเตือนใจแพทย์เองแล้ว ยังสร้างความประทับใจ ใน
สายอาชีพทางการแพทย์แก่ผู้อ่านอีกด้วย เนื่องจากแพทย์เป็นองค์ประกอบสำคัญของสังคมถ้าไม่มีแพทย์ก็
เปรียบเหมือนเปิดทางให้ข้าศึกมาบุกเมือง ดั่งเช่น

เปรียบแพทย์คือทหาร อันชำนาญรู้ลำเนา
ข้าศึกมาอย่าใจเบา ห้อมล้อมรอบทุกทิศา

3.2 คุณค่าด้านคุณธรรม
3.2.1 ปลูกฝังความซื่อสัตย์แก่ผู้อ่าน
กวีได้ยกเรื่องของจรรยาบรรณแพทย์ขึ้นมาในบทประพันธ์คัมภีร์ฉันทศาสตร์ แพทย์ศาสตร์สงเคราะห์
และยกตัวอย่างเกี่ยวกับแพทย์ที่ไม่มีความซื่อสัตย์ มีความโลภจึงทำให้เกิดการตัดสินใจที่ผิดพลาดซึ่งส่งผลไม่ดี
แก่ตัวคนไข้และตัวแพทย์เอง จึงเป็นการปลูกฝังความซื่อสัตย์ให้แก่ผู้อ่าน ทำให้เกิดการนำไปประยุกต์ใช้กับชีวิต
ของตนเอง โดยการมีจรรยาบรรณในทุกอาชีพ ไม่เพียงแค่เฉพาะแต่อาชีพแพทย์

3.2.2 การควบคุมอารมณ์ของตัวเอง

ให้ดำรงกระษัตริย์ไว้                คือดวงใจให้เร่งยา
อนึ่งห้ามอย่าโกรธา                  ข้าศึกมาจะอันตราย

นอกจากกวีจะกล่าวถึงความซื่อสัตย์และ กวียังได้อธิบายถึงความสำคัญของการควบคุมอารมณ์ตัวเอง
ว่าเป็นปัจจัยสำคัญในการรักษา แต่ในความเป็นจริงแล้วกวีต้องการที่จะส่งสารที่มีความสำคัญมากกว่านั้นคือ
การควบคุมอารมณ์ตัวเองนั้นส่งผลดีต่อตัวผู้อ่านเองเป็นอย่างมาก ส่งผลที่ดีต่อจิตใจถือว่าเป็นการเตรียมความ
พร้อมในการทำสิ่งต่างๆอย่างมีสติ ฉนั้นผลลัพท์ของการกระทำนั้นๆจะออกมาเป็นที่น่าพึงพอใจและมี
ประสิทธิภาพ
Z6

3.3 คุณค่าด้านสังคม
3.3.1 สะท้อนให้เห็นความเชื่อในสังคมไทย
ความเชื่อเรื่องภูติผีปีศาจและเวรกรรมได้ถูกแสดงในบทประพันธ์ สะท้อนให้เห็นว่าคนไทยมีความเชื่อ
ที่หนักแน่นเกี่ยวกับศาสนา และนำความเชื่อนั้นมาเชื่อมโยงกับสิ่งที่เกิดขึ้นในชีวิตประจำวันเป็นประจำ เช่น

อวดยาครั้นให้ยา แต่เคราะห์ครอบจึงหันหวน
กลับกล่าวว่าแรงผี ที่แท้ทำไม่รู้ทำ

ตัวอย่างนี้แสดงให้เห็นว่าเมื่อเกิดเหตุการณ์ไม่ดีขึ้น อย่างเช่นการรักษาโรคที่ไม่ประสบความสำเร็จ
รับประทานยาแล้วก็ยังคงไม่หาย คนไทยก็นั้นจะโทษว่าเป็นฝีมือของภูติผีปีศาจ ทั้งๆที่หากพิเคราะห์พิจารณา
แล้วจะพบว่าเป็นความผิดตั้งแต่การสั่งยาให้คนไข้แล้ว

โรคคือครุกรรม บรรจบจำอย่าพึงทาย
กล่าวเล่ห์อุบายหมาย ด้วยโลภหลงในลาภา

ตัวอย่างนี้แสดงให้เห็นว่าเนื่องจากคนไทยส่วนมากมีความเชื่อและหวาดกลัวเกี่ยวกับเรื่องเวรกรรม กวี
จึงมีการเปรียบเทียบโรคภัยไข้เจ็บเป็นกรรมหนัก เพื่อให้คนไทยตระหนักถึงความน่ากลัวของโรค ไม่ประมาท
คิดว่าอาการป่วยนั้นจะสามารถรักษาให้หายได้อย่างง่าย

3.3.2 ให้ความรู้เกี่ยวกับการแพทย์และจรรยาบรรณแพทย์
กวีแสดงตัวอย่างของวิธีการรักษาโรคทางการแพทย์ในรูปแบบต่างๆ รวมถึงการใช้คำศัพท์เฉพาะใน
การแพทย์ ทำให้ผู้อ่านได้รับความรู้เกี่ยวกับแพทย์และยารักษาโรคมากยิ่งขึ้น ทั้งจากการอ่านบทประพันธ์และ
ส่งเสริมให้เกิดการค้นคว้าเพื่อความเข้าใจเพิ่มเติม
Z7

บรรณานุกรม

ศึกษาธิการ, กระทรวง. หนังสือเรียนรายวิชาพื้นฐานภาษาไทย วรรณคดีวิจักษ์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5.


พิมพ์ครั้งที่ 5. สกสค. ลาดพร้าว, 2555. 131 หน้า

You might also like