You are on page 1of 19

รายงานเชิงวิชาการ

การอ่านและพิจารณาวรรณคดีเรื่อง สามัคคีเภทคาฉันท์

โดย

รมิตา เฉลิมชุติเดช ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๕ เลขที่ ๒


ธนกร มาลีสุทธิ์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๕ เลขที่ ๔
ปุณฑริก ทยาวิทิต ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๕ เลขที่ ๘
อิงครัต วาจาพัฒนา ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๕ เลขที่ ๙

เสนอ

อ.พนมศักดิ์ มนูญปรัชญาภรณ์

ภาคเรียนที่ ๒ ปีการศึกษา ๒๕๖๐


โรงเรียนสาธิตนานาชาติ มหาวิทยาลัยมหิดล

รายงานนี้เป็นส่วนหนึ่งของกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้โครงงานเป็นฐาน (Project Based Learning)


รายวิชาภาษาไทยและวัฒนธรรม ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๕
คานา

รายงานเล่มนี้ถูกจัดตั้งขึ้นเพื่อเป็นส่วนหนึ่งของวิชาภาษาไทยและวัฒนธรรมระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่
๕ โดยนาเสนอแก่อาจารย์ พนมศักดิ์ มนูญปรัชญาภรณ์ เพื่อให้ได้ศึกษาหาความรู้ในเรื่องสามัคคีเภทคาฉันท์
ทั้งด้านการพิจารณาเนื้อหา และการใช้ภาษาเป็นกลวิธีในการแต่ง ตลอดจนถึงประโยชน์และคุณค่าของ
วรรณคดี อีกทั้งเป็นประโยชน์แก่การเรียนในอนาคตของตัวนักเรียนเอง
ผู้จัดทาหวังเป็นอย่างยิ่งว่า รายงานเล่มนี้จะเป็นประโยชน์กแก่ผู้อ่าน นักเรียน หรือนักศึกษาที่
ต้องการจะศึกษาในเรื่องสามัคคีเภทคาฉันท์ หากมีข้อแนะนาหรือข้อผิดพลาดประการใด ผู้จัดทาขอน้อมรับไว้
และ ขออภัยมา ณ ที่นี้ด้วย

คณะผู้จัดทา
บทนา

ในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๖ ได้เกิดวิกฤตการณ์ต่างๆ มากมาย


เช่น กบฏ ร.ศ. ๑๓๐ และ สงครามโลกครั้งที่ ๑ เป็นต้น ประกอบกับการพัฒนาทางด้านการศึกษาของชาวไทย
ทาให้เกิดความตื่นตัวทางความคิด และความคิดเห็นที่แตกต่างกันในการดาเนินบ้านเมืองเป็นหลายฝ่าย จึงทา
ให้ความมั่นคงของบ้านเมืองสั่นคลอน เนื่องจากภาวะดังกล่าวจึงทาให้กวีต่างๆได้แต่งวรรณคดีปลุกใจให้เกิด
ความรักชาติ และความสามัคคี สามัคคีเภทคาฉันท์ ซึ่งเป็นเรื่องที่สอดคล้องกับสถานการณ์ของบ้านเมืองที่
เกิดขึ้นในขณะนั้น จึงถูกแต่งขึ้นเพื่อชี้ความสาคัญของการรวมเป็นน้าหนึ่งใจเดียวกัน เพื่อเสริมสร้างความมั่นคง
และความปลอดภัยของบ้านเมืองให้สงบสุข
สารบัญ

เรื่อง หน้า

คานา ก
บทเกริ่นนา
การอ่านและพิจารณาเนื้อหาและกลวิธีในวรรณคดีและวรรณกรรม
เนื้อเรื่อง ๑
โครงเรื่อง ๑
ตัวละคร ๑
ฉากท้องเรื่อง ๓
บทเจรจาหรือราพึงราพัน ๔
แก่นเรื่อง ๔
การอ่านพิจารณาการใช้ภาษาในวรรณคดีและวรรณกรรม
การสรรคา ๕
การเรียบเรียงคา ๙
การใช้โวหาร ๑๐
การอ่านและพิจารณาประโยชน์หรือคุณค่าในวรรณคดีและวรรณกรรม
คุณค่าด้านอารมณ์ ๑๒
คุณค่าด้านคุณธรรม ๑๓
คุณค่าด้านอื่นๆ ๑๓
บรรณานุกรม ๑๔
บทเกริ่นนา

ในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๖ ได้เกิดวิกฤตการณ์ต่างๆ


มากมาย เช่น กบฏ ร.ศ. ๑๓๐ และ สงครามโลกครั้งที่ ๑ เป็นต้น ประกอบกับการพัฒนาทางด้านการศึกษา
ของชาวไทย ทาให้เกิดความตื่นตัวทางความคิด และความคิดเห็นที่แตกต่างกันในการดาเนินบ้านเมืองเป็น
หลายฝ่าย จึงทาให้ความมั่นคงของบ้านเมืองสั่นคลอน เนื่องจากภาวะดังกล่าวจึงทาให้กวีต่างๆได้แต่งวรรณคดี
ปลุกใจให้เกิดความรักชาติ และความสามัคคี สามัคคีเภทคาฉันท์ ซึ่งเป็นเรื่องที่สอดคล้องกับสถานการณ์ของ
บ้านเมืองที่เกิดขึ้นในขณะนั้น จึงถูกแต่งขึ้นเพื่อชี้ความสาคัญของการรวมเป็นน้าหนึ่งใจเดียวกัน เพื่อเสริมสร้าง
ความมั่นคงและความปลอดภัยของบ้านเมืองให้สงบสุข
๑. การอ่านและพิจารณาเนือ้ หาและกลวิธีในวรรณคดีและวรรณกรรม
๑.๑. เนื้อเรื่อง
พระเจ้าอชาตศัตรูแห่งแคว้นมคธ มีพระประสงค์ในการขยายอาณาจักรให้กว้างขวางกว่าเดิม
แต่ทว่ามีแคว้นวัชชีของเหล่ากษัตริย์ลิจฉวี ที่เป็นแคว้นที่ใหญ่และเจริญกว่าแคว้นใดในสมัยนั้น ผู้ได้
สามารถครอบครองแคว้นนี้ได้ ย่อมแสดงถึงความยิ่งใหญ่ของกษัตริย์องค์นั้น การทาสงครามกับแคว้น
ไม่ใช่เรื่องง่าย เนื่องจากเหล่ากษัตริย์แห่งแคว้นวัชชีมีความสามัคคีสูง จึงปราบได้ยาก วัสสการพ
ราหมณ์ปุโรหิตที่ปรึกษาของพระเจ้าอชาตศัตรูกราบทูลให้ใช้อุบายในการตีแคว้นวัชชีโดยอาสาไปเป็น
ไส้ศึกในแคว้นวัชชี แต่พระองค์ทรงกริ้วจึงเนรเทศวัสสพราหมณ์ออกไป วัสสการพราหมณ์มุ่งหน้าไป
เมืองเวสาลีเพื่อทาตามแผนของตนให้สาหรับ ในตลอดระยะเวลา ๓ ปี วัสสการพราหมณ์สร้างความ
แคลงใจในหมู่พระกุมารจนลามไปถึงเหล่ากษัตริย์ทั้งหลาย เมื่อตีกลองประชุมก็ไม่มีวี่แววว่ากษัตริย์
องค์ใดมาเข้าประชุม วัสสการพราหมณ์จึงลอบส่งข่าวไปทูลพรเจ้าอชาตศัตรู จนทาให้ยกทัพมาตีได้
สาเร็จ
๑.๒. โครงเรื่อง
ความสามมัคคีเป็นคุณธรรมที่สาคัญอย่างหนึ่งในการปกครองประเทศชาติบ้านเมือง การที่
บ้านเมืองขาดความสามัคคีนั้นจะนาพามาซึ่งความหายนะและความวอดวายในบ้านเมือง
๑.๓. ตัวละคร
เหล่ากษัตริย์ลิจฉวีแห่งแคว้นวัชชี
เคยเป็นตัวอย่างของความสามัคคี และนับถืออปริหานิยธรรม โดนเน้นสามัคคีธรรม
เป็นหลักขาดวิจารณญาณและไม่ยึดถือหลักเหตุผลมีความระแวงและทะนงตน ยึดมั่นและนับ
ถือใน อปริหานิยธรรม โดยมีทั้งหมด ๗ ประการ ด้วยกันคือ
๑ มีการหมั่นประชุม
๒)มีความพร้อมเพรียงในการทากิจที่พึงจะทาเช่นการเข้าออกประชุม
๓)ถือหลักการเดิมที่ตั้งเอาไว้ตามวัชชีธรรม
๔)เคารพนับถือและเชื่อฟังเหล่าผู้ใหญ่
๕)ไม่ข่มเหงเหล่ากุลสตรีและกุลกุมารี
๖)เคารพสักการะบูชาเจดีย์ของวัชชี ทั้งภายในและภายนอก
๗)ให้ความคุ้มครอง ป้องกัน แก่พระอรหันต์ทั้งหลาย
พระเจ้าอชาตศัตรู
เป็นกษัตริย์ที่มีความเมตตาต่อประชาชนของท่าน ทรงคอยทานุบารุงบ้านเมืองให้
รุ่งเรือง มีมหรสพเพื่อความบันเทิง อีกทั้งมีพระราชดาริเพื่อแผ่พระบรมเดชานุภาพ เป็นผู้ที่
รู้จักเลือกใช้บุคคลให้เหมาะสมกับงานที่ได้รับ จะทาให้งานสาเร็จด้วยดี โดยเลือกให้วัสสกา
รพราหมณ์เป็นผู้ไปยุแยงเหล่าโอรสให้แตกคอกัน ผู้อ่านสามารถเห็นถึงบุคลิกภาพเหล่านี้ได้
จากในเรื่อง เช่น
ความเมตตา
แว่นแคว้นมคธนครรา- ชคฤห์ฐานบูรี
สืบราชวัตวิธทวี ทศธรรมจรรยา
เลื่องหล้ามหาอุตตมลาภ คุณภาพพระเมตตา


แผ่เพียงชนกกรุณอา ทรบุตรธิดาตน

การพัฒนาและทานุบารุงบ้านเมือง
หอรบจะรับริปุผิรอ รณท้อหทัยหมาย
มุ่งยุทธย่อมชิวมลาย และประลาตมิอาจทน
พร้อมพรั่งสะพรึบพหลรณ พยุห์พลทหารชาญ
อามาตย์และราชบริวาร วุฒิเสวกากร
เนืองแน่นขนัดอัศวพา หนชาติกุญชร
ชาญศึกสมรรถสุรสมร ชยเพิกริปูภินท์
กลางวันอนันตคณนา นรคลาคละไลเนือง
กลางคืนมหุสสวะประเทือง ดุริยศัพทดีดสี
บรรสานผสมสรนินาท พิณพาทย์และเภรี
แซ่โสตสดับเสนาะฤดี อุระล้าระเริงใจ
พระประสงค์ในการแผ่พระบรมเดชานุภาพ
สมัยหนึ่งจึ่งผู้ภูมิบาล ทรงจินตนาการจะแผ่อานาจอาณา
ให้ราบปราบเพื่อเกื้อปรากฎ ไผทไพศาลรัฐจังหวัดวัชชี
ความรอบคอบ
ศึกใหญ่ใคร่จะพยายาม รบเร้าเอาตามกาลังก็หนักนักหนา
จาจักหักด้วยปัญญา รอก่อนผ่อนหาอุบายทาลายมูลความ

วัสสการพราหมณ์จากแคว้นมคธ
เป็นผู้ที่มีความฉลาดและสติปัญญาที่ดีและมีความสามารถทางวาทศิลป์และเล่ห์
เหลี่ยมทางวาจา สามารถยุยงคนให้ไว้ใจได้เพื่อพลิกแพลงสถานการณ์และที่สาคัญคือมีความ
จงรักภักดีต่อพระเจ้าอชาตศัตรูและบ้านเมืองของตนเป็นอย่างมาก จากในเรื่องสามัคคีเภทคา
ฉันท์ ผู้อ่านสามารถเห็นถึง บุคลิกภาพและนิสัยของวัสสการณ์พราหมณ์ได้ ดังนี้
ความรอบรู้ในด้านศิลปศาสตร์
อันอัครปุโรหิตาจารย์ พราหมณ์นามวัสสการฉลาดเฉลียวเชี่ยวชิน
กลเวทโกวิทจิตจินต์ สาแดงแจ้งศิลปศาสตร์ก็จบสบสรรพ์
ความเสียสละต่อบ้านเมือง
ไป่เห็นกะเจ็บแสบ ชิวแทบจะทาลาย
มอบสัตย์สมรรถหมาย มนมั่นมิหวั่นไหว
หวังแผนเพื่อแผ่นดิน ผิถวิลสะดวกใด
เกื้อกิจสฤษฎ์ไป บมิเลี่ยงละเบี่ยงเบือน


มีความจงรักภักดี
โดยเต็มกตัญญู กตเวทิตาครัน
ใหญ่ยิ่งและยากอัน นรอื่นจะอาจทน
หยั่งชอบนิยมเชื่อ สละเนื้อและเลือดตน
ยอมรับทุเรศผล ขรการณ์พะพานกาย
ไป่เห็นกะเจ็บแสบ ชิวแทบจะทาลาย
มอบสัตย์สมรรถหมาย มนมั่นมิหวั่นไหว
ความเฉลียวฉลาด
เปรียบปานมหรรณพนที ทะนุที่ประทังความ
ร้อนกายกระหายอุทกยาม นรหากประสบเห็น
เอิบอิ่มกระหยิ่มหทยคราว ระอุผ่าวก็ผ่อนเย็น
ยังอุณหมุญจนะและเป็น สุขปีติดีใจ
วัชชีบวรนครสรร พจะขันจะเข้มแขง
รี้พลสกลพิริยแรง รณการกล้าหาญ
มาคธไผทรฐนิกร พลอ่อนบชานาญ
ทั้งสิ้นจะสู้สมรราญ ริปุนั้นไฉนไหว
ดั่งอินทโคปกะผวา มุหฝ่าณกองไฟ
หิ่งห้อยสิแข่งสุริยะไหน จะมิน่าชิวาลาญ
ความรอบคอบ
วัชชีภูมีผอง สดับกลองกระหึมขาน
ทุกไท้ไป่เอาภาร ณกิจเพื่อเสด็จไป
ต่างทรงรับสั่งว่า จะเรียกหาประชุมไย
เราใช่คนใหญ่ใจ ก็ขลาดกลัวบกล้าหาญ
๑.๔. ฉากท้องเรื่อง
สามัคคีเภทคาฉันท์ เป็นเรื่องที่ได้นามาจากประเทศอินเดียจึงมีการแต่งบทชมต่าง เพื่อเป็น
การพรรณาความงดงาม เช่น บทชมเมืองราชคฤห์แห่งแคว้นมคธของพระเจ้าอชาตศัตรู ดัง
ตัวอย่างเช่น
อาพนพระมนทิรพระราช สุนิวาสน์โรหาร
อัพภันตรไพจิตรและพา หิรภาคก็พึงชม
เล่ห์เลื่อนชะลอดุสิตฐา นมหาพิมานรมย์
มารังสฤษฏิ์พิศนิยม ผิจะเทียมก็เทียบทัน
สามยอดตลอดระยะระยับ วะวะวับสลับพรรณ
ช่อฟ้าตระการกลจะหยัน จะเยาะยั่วทิฆัมพร
บราลีพิลาศศุภจรูญ นภศูลประภัสสร
หางหงส์ผจงพิจิตรงอน ดุจกวักนภาลัย
รอบด้านจระหง่านจุตรมุข พิศสุกอร่ามใส

กาญจน์แกมมณีกนกไพ ฑุรย์พร่างพะแพรวพราย
บานบัฏพระบัญชรสลัก ฉลุลักษณ์เฉลาลาย
เพดานก็ดารกะประกาย ระกะดาษประดิษฐ์ดี
เพ่งภาพตลอดตะละผนัง ก็มลังเมลืองศรี
มองเห็นสิเด่นประดุจมี ชิวแม่นกมลครอง

๑.๕. บทเจรจาหรือราพึงราพัน
กล่าวถึงการแกล้งต่อว่าของพระเจ้าอชาตศัตรูที่มีใส่วัสสการพราหมณ์ในขณะที่ท้วงติงเรื่องการออกศึก
ซึ่งมี การกระแทกกระทั้นแสดงถึงอารมณ์โกรธ
เอออุเหม่นะมึงชิช่างกระไร
ทุทาสสถุลฉะนี้ไฉน ก็มาเป็น
ศึก บ ถึงและมึงก็ยังมิเห็น
จะน้อยจะมากจะยากจะเย็น ประการใด
อวดฉลาดและคาดแถลงเพราะใจ
ขยาดขยั้นมิทันอะไร ก็หมิ่นกู

๑.๖. แก่นเรื่อง
เนื่องจากในสถานการณ์บ้านเมืองในขณะนั้น ผู้แต่งได้แต่งเรื่องสามัคคีเภทคาฉันท์
เพื่อจะแสดง โทษของการแตกสามัคคีนาไปสู่ความหายนะและความไม่ และการรู้จักใช้
สติปัญญาเพื่อเอาชนะศัตรู โดยไม่ต้องใช้กาลัง ไม่ต้องเสียเลือดเนื้อ อีกทั้งการ รู้จักการ
เลือกใช้บุคคลที่เหมาะกับงานที่ทา และการถือทิฐิก็สามารถนาไปสู่ความเสียหายต่อส่วนรว
การแตกความสามัคคีของหมู่คณะซึ่งนาไปสู่หายนะ
จากในเรื่องสามัคคีเภทคาฉันท์ เหล่าโอรสของกษัตริย์ลิจฉวีถูกวัสสการพรหามณ์ยุ
แยงให้แตกกัน จน สามารถ ทา ให้ ฝั่งของพระเจ้า อชาตศัตรูสามารถใช้โอกาสนี้ในการโจมตี
แคว้นวัชชี


๒. การอ่านและพิจารณาการใช้ภาษาในวรรณคดีและวรรณกรรม
๒.๑. การสรรคา
นายชิต บุรทัต มีความเชี่ยวชาญอย่างมากในการเเต่งคาประพันธ์เรื่อง สามัคคีเภทคาฉันท์ โดยเขา
เลือกใช้คาที่อ่านเเละเข้าใจง่าย เเละใช้ฉันท์ประเภทต่างๆสลับกันอย่างเหมาะสม นอกจากนี้ สามัคคีเภทคา
ฉันท์ยังเป็นวรรณคดีที่ได้รับการยกย่องว่ามีความไพเราะงดงาม เป็นที่นิยมอ่านเเละจดจากันได้หลายตอน
เนื่องจากกวีเลือกสรรถ้อยคามาใช้ได้เป็นอย่างดี มีเสียงไพเราะอันเกิดจากสัมผัสใน ทั้งสัมผัสพยัญชนะเเละ
สัมผัสสระ
๒.๑.๑. ใช้คาง่ายๆ ในการเล่าเรื่อง
กวีใช้คาที่เรียบง่าย ทาให้ผู้อ่านสามารถเข้าใจได้อย่างไม่ยากเย็น เเละทาให้ดาเนินเรื่องได้
รวดเร็ว ดังเช่น
ราชาลิจฉวี ไป่มีสักองค์
ที่ทรงจานง เพื่อจักเสด็จไป
ต่างองค์ดารัส เรียกนัดทาไม
ใครเปนใหญ่ใคร กล้าหาญเห็นดี
เชิญเทอญท่านต้อง ขัดข้องข้อไหน
ปฤกษาปราไส ตามเรี่องตามที
แต่ส่วนเราใช่ เปนใหญ่แลมี
ใจอย่างผู้ภี รุกห่อนอาจหาญ

๒.๑.๒. ใช้คาง่ายๆ ในการบรรยายและพรรณนาดัวละคร


นอกจากการใช้คาที่เรียงง่ายในการเล่าเรื่องราวต่างๆเเล้ว กวียังสามารถบรรยายสถานการณ์
เเละอธิบายตัวละครให้เห็นภาพได้กระชับเเละชัดเจน ดังเช่น

ข่าวเศิกเอิกอึง ทราบถึงบัดดล
ในหมู่ผู้คน ชาวเวสาลี
แทบทุกถิ่นหมด ชนบทบูรี
อกสั่นขวัญหนี หวาดกลัวทั่วไป
ตื่นตาหน้าเผือด หมดเลีอดสั่นกาย
หลบลี้หนีตาย วุ่นหวั่นพรั่นใจ
ซุกครอกซอกครัว ซ่อนตัวแตกไภย
เข้าดงพงไพร ทิ้งย่านบ้านตน


๒.๑.๓. เลือกใช้คาให้เหมาะสมแก่ลักษณะของคาประพันธ์
นายชิต บุรทัตเลือกใช้ฉันท์ในการเล่าเรื่องราวของวัสสการพราหมณ์เเละตัวละคร
ต่างๆในเรื่อง โดยเลือกคาได้อย่างถูกต้องตามฉันทลักษณ์ประเภทต่างๆ มีการใช้คาครุเเละลหุ
ซึ่งเป็นลักษณะสาคัญของฉันท์เเละยังมีคาบาลี สันสกฤตปรากฏให้เห็นอยู่มากตามลักษณะ
ทั่วไปของฉันท์
๒.๑.๔. เลือกใช้ประเภทของฉันท์ตามอารมณ์ตอนนั้นๆ
วสันตดิลกฉันท์ ๑๔
กวีเลือกใช้วสันตดิลกฉันท์ ๑๔ ซึ่งมีลีลานุ่มนวลในการเเต่งบทชมต่างๆ เพื่อ
พรรณนาภาพอันงดงาม เช่น บทชมความงามของเมืองราชคฤห์ในเเคว้นมคธของ
พระเจ้าอชาตศัตรู ดังนี้
อาพนพระมณฑิรพระราช สุนิวาศน์วโรฬาร์
อัพกันตร์ก็ไพจิตระพา หิรภาคก็พึงชม
เช่นหลั่งชลอดุสิตะเท วสถานพิมานพรหม
มารังสฤษดิ์ศิริอุตม ผิวะเทียบก็เทียมทัน
สามยอดยะเยี่ยมยละระยับ วะวะวับสลับพรรณ์
ช่อฟ้าตระการกละจะหยัน จะเยาะยั่วทิฆัมพร
บราลีพิลาศศุภจรูญู นพศูลประกัศร
หางหงส์ผจงพิจิตระงอน ดุจะกวักนภาลัย
รอบด้านตระหง่านจตุรมุข พิศะสุกอร่ามใส
กาญจน์แกมมณีกนกะไพ ฑุริย์พร่างพะแพรวพราย
บานบัฏพระบัญชระสลัก ฉลุลักษณ์เฉลาลาย
เพดาลก็ดารกะประกาย ระกะดาดประดิษฐ์ดี
เพ่งภาพตลอดตละผนัง ก็มะลังมะเลืองสี
ยิ่งดูก็เด่นประดุจะมี ชิวะแม้นกมลครอง

อีทิสังฉันท์ ๒๐
กวีใช้อีทิสังฉันท์ ๒๐ ซึ่งมีลีลากระแทกกระทั้นแสดงอารมณ์โกรธ เช่น ตอน
ที่พระเจ้าอชาตศัตรูเเสร้งบริภาษวัสสการพรามหม์ เมื่อเขาทัดทานเรื่องการศึก ดังนี้
เอออุเหม่นะมึงชิช่างกระไร
ทุทาษสถุลฉนี้ไฉน ก็มาเปน
ศึกบถึงและมึงก็ยังมิเห็น
จะน้อยจะมากจะยากจะเย็น ประการใด
อวดฉลาดและคาดแถลงเพราะใจ
ขยาดขยั้นมิทันอะไร ก็หมิ่นกู


อุปัฏฐิตาฉันท์ ๑๑
ใช้ตอนกษัตริย์ลิจฉวีแตกสามัคคีวัสสการพราหมณ์ส่งข่าวทูลพระเจ้าอชาต
ศัตรู ดังเช่น
เห็นเชิงพิเคราะห์ ชนะคล่องประสบสม
พราหมณ์เวทอุดม ธ ก็ลอบแถลงการณ์
วิชชุมมาลา ฉันท์ ๘
ฉันท์นี้มีลีลากระชั้น คึกคัก ปรากฏเมื่อพระเจ้าอชาตศัตรูยกทัพมาตีแคว้น
วัชชี
ตื่นตาหน้าเผือด หมดเลือดสั่นกาย
หลบลี้หนีตาย วุ่นหวั่นพรั่นใจ
ซุกครอกซอกครัว ซ่อนตัวตัวแตกภัย
เข้าดงพงไพร ทิ้งย่านบ้านตน
ภุชงคประยาดฉันท์ ๑๒
ฉันท์นี้มีลีลางดงามปรากฏเมื่อวัสสการพราหมณ์เริ่มทาอุบายทาลายสามัคคี
กุมารราชมิตรผอง ก็สอดคล้องและแคลงดาล
พิโรธกาจวิวาทการณ์ อุบัติเพราะขุ่นเคือง
วิชชุมมาลาฉันท์ ๘
ฉันท์นี้มีลีลากระชั้นคึกคัก ปรากฏเมื่อพระเจ้าอชาตศัตรูยกทัพมาตีแคว้น
วัชชี
จึ่งให้ตีกลอง ป่าวร้องร้องทันที
แจ้งข่าวไฟรี รุกเบียนบีฑา
เพือ่ หมู่ภูมี วัชชีอาณา
ชุมนุมบัญชา ป้องกันฉันใด
๒.๑.๕. เลือกใช้คาโดยคานึงถึงเสียง
เล่นเสียงสัมผัสสระ
มีการเล่นเสียงสระ เช่น “ประมาณ - กาล” “อนุกรม -นิยม” ดัง
ตัวอย่างเช่น
ล่วงลุประมาณ กาลอนุกรม
หนึ่ง ณ นิยม ท่านทวิชงค์
เล่นเสียงสัมผัสพยัญชนะ
ในสามัคคีเภทคาฉันท์มีการเล่นเสียงสัมผัสพยัณชนะอย่างไพเราะ เช่น
“คะเนกล – คะนึงการ” “ระวังเหือด – ระแวงหาย” ดังตัวอย่าง
ทิชงค์ชาติ์ฉลาดยล คเนกลคนึงการ
กษัตริย์ลิจฉวีวาร ระวังเหือดระแวงหาย


เล่นเสียงหนักเบา
ในการเเต่งกาพย์สุรางคนางค์ 28 กวีผู้ประพันธ์ได้เพิ่มลักษณะบังคับ ใช้คา
ครุสลับกับคาลหุให้มีเสียงสั้นยาวเปนจังหวะคล้ายฉันท์ ตัวอย่างเช่น
สะพรึบสะพรั่ง ณ หน้าและหลัง
ณ ซ้ายและขวา ละหมู่ละหมวด
ก็ตรวจก็ตรา ประมวญกะมา
ก็มากประมาณ
๒.๑.๖. การดัดเเปลงฉันท์
นายชิต บุรทัตได้เพิ่มสัมผัสบังคับคาสุดท้ายของวรรคเเรกกับคาที่ 3 ของ
วรรคสองในฉันท์ 11 เเละฉันท์ 12 ทาให้มีเสียงสัมผัสไฟเราะขึ้นเเละเป็นที่นิยมเเต่ง
มาจนถึงปัจจุบัน เช่น
เฉยดู บ รู้สึก และมินึกจะเกรงแกลน
ฤๅคิดจะตอบแทน รณทัพระงับภัย


๒.๒ การเรียบเรียงคา
๒.๒.๑. เรียงคา วลี หรือประโยคที่มีความสาคัญไว้ตอนท้ายของบท
จะเห็นได้ว่าตอนช่วงกลางๆของเรื่องเมื่อขณะที่วัสสการพราหมณ์ได้กาลังยุยงให้
พระโอรสของเหล่ากษัตริย์ผิดคอและแตกสามัคคีกัน ผู้แต่งได้เลือกสรรคามาและได้เรียบเรียง
ทาให้สามารถเข้าใจใจความสาคัญได้จาก การอ่านเเค่ประโยคสุดท้าย เช่น
ทวิชแถลงว่า พระกุมารโน้นขาน
ยุบลกะตูกาล เฉพาะอยู่กะกันสอง
กุมารพระองค์นั้น ธ มิทันจะไต่ตรอง
ก็เชื่อ ณ คาสอน พฤฒิครูและวู่วาม
สังเกตได้ว่าถึงอ่านเพียงประโยคสุดท้ายของบท ก็ทาให้สามารถเข้าใจเนื้อหาของกลอนได้
๒.๒.๒. เรียบเรียงคา วลี หรือประโยคที่มีความสาคัญเท่าๆ กัน เคียงขนานกันไป ดังตัวอย่างต่อไปนี้
ต่างก็ตระหนก มนอกเต้น
ตื่น บ มิเว้น ตะละผู้คน
ท่วบุรคา มจลาจล
เสียงอลวน อลเวงไป
จากตัวอย่างสามารถเห็นได้ว่าทุกๆคาในประโยคในกลอนข้างต้นนี้มีความสาคัญเท่าๆกัน ซึ่ง
แสดงให้เห็นถึงความวุ่นวายความตื่นตระหนกของประชาชนเมื่อพระเจ้าอชาตศัตรูยกทัพมาตียังแคว้น
วัชชี
๒.๒.๓.เรียบเรียงประโยคให้เนื้อหาเข้มข้นขึ้นไปตามลาดับดุจขั้นบันไดจนถึงขั้นสุดท้ายที่สาคัญที่สุด
พิจารณาตัวอย่าง ต่อไปนี้
ต่างทรงสาแดง ความแขงอานาจ
สามัคคีขาด แก่งแย่งโดยมาน
ภูมิศลิจฉวี วัชชีรัฐบาล
บ่ ชุมนุมสมาน แม้แต่สักองค์ ฯ
จากตัวอย่างสามารถเห็นได้ว่าเนื้อเรื่องค่อยๆมีความลาดับความสาคัญขึ้นเรื่อยๆจนไปสาคัญ
ที่สุดในตอนจบซึ่งในกลอนข้างต้นนี้เราสามารถเห็นได้ว่าเหล่ากษัตริย์ลิจฉวีต่างคนต่างแสดงอานาจ
ของตนหลังจากที่ความสามัคคีได้ หมดไปซึ่งสิ่งเหล่านนี้ทาให้สุดท้ายแล้วไม่มีแม้ความร่วมมือกันอีก
ต่อไป ซึ่งความร่วมมือกันระหว่างกษัตริย์เหล่านั้นเป็น ปัจจัยสาคัญให้แคว้นวัชชีสามารถีแตกได้ยาก


๒.๓ การใช้โวหาร
โวหาร หมายถึง ถ้อยค้าที่ใช้ในการสื่อสารที่เรียบเรียงเป็นอย่างดี มีวิธีการ มีชั้นเชิงและมี
ศิลปะ เพื่อสื่อให้ผู้รับสารรับสารได้อย่างแจ่มแจ้ง ชัดเจนและลึกซึ้ง รับสารได้ตามวัตถุประสงค์ของผู้
ส่งสาร การใช้โวหาร คือ การพลิกแพลงภาษาที่ใช้พูดและเขียนให้แปลกออกไปจากที่ใช้อยู่เป็นปกติ
ก่อให้เกิดภาพ กระทบใจ ความรู้สึกและอารมณ์ต่างกับการใช้ภาษาอย่างตรงไปตรงมา
๒.๓.๑ การเปรียบเทียบสิ่งหนึ่งเหมือนกับอีกสิ่งหนึ่ง อุปมา
การนาของสองสิ่งที่มีลักษณะคล้ายกันมาเปรียบเทียบกันโดยมีคาว่า ดุจ
เหมือน คล้าย ปานประหนึ่ง เป็นคาเชื่อม สิ่งที่นามาเปรียบเทียบเรียกว่าอุปมา สิ่ง
ที่เปรียบเป็นเรียกว่าอุปไมย
ในตอนแรกกษัตริย์ฉวีได้เป็นตัวอย่างของหมู่เหล่าที่มีความสามัคคี
เช่นเดียวกับกับกิ่งไม้ที่รวมกันเป็นกา ซึ่ง ยากในการที่จะทาลายได้ ความว่า
แม้มากกิ่งไม้ ผิวใครจะใคร่ลอง
มัดกากระนั้นปอง พลหักก็เต็มทน
เเละตอนพระเจ้าอชาตศัตรูกริ้ววัสสการพราหมณ์
กลกะกากะหวาดขมังธนู
บห่อนจะเห็นธวัชริปู สิล่าถอย

วัสสการพราหมณ์เปรียบน้าพระราชหฤทัยกษัตริย์ลิจฉวี
เมตตาทยาลุศุภกรรม อุปถัมภการุณย์
สรรเสริญเจริญพระคุณสุน ทรพูนพิบูลงาม
เปรียบปานมหรรณพนที ทะนุที่ประทังความ
ร้อนกายกระหายอุทกยาม นรหากประสบเห็น
เอิบอิ่มกระหยิ่มหทยคราว ระอุผ่าวก็ผ่อนเย็น
ยังอุณหมุญจนะและเป็น สุขปีติดีใจ

การกล่าวถึงความรุ่งเรืองของแคว้นมคธ ดังเช่น
เมืองท้าวสิเทียบทิพเสมอ ภพเลอสุราลัย
เมืองท้าวแหละสมบุรณไพ บุลมวลประการมา

๑๐
๒.๓.๒ การเปรียบเทียบแบบอุปลักษณ์
ได้แก่การเปรียบเทียบโดยนัย ไม่กล่าวเปรียบเทียบตรง ๆ อย่าง
อุปมาอุปไมย แต่ผู้อ่านก็พอจะจับเค้าได้จากคาที่ผู้แต่งใช้ เช่น ตอนวัสสการพรา
หมณ์กล่าวเปรียบเทียบทหารของแคว้นวัชชีกับทหารของแคว้นมคธ ว่า
หิ่งห้อยสิแข่งสุริยะไหน จะมิน่าชิวาลาญ
ผู้อ่านย่อมจะเข้าใจได้ว่าหิ่งห้อยนั้นหมายถึงกองทัพมคธ ส่วนสุริยะนั้น
หมายถึงกองทัพวัชชี
ตัวอย่างที่สองคือ ตอนพระเจ้าอชาตศัตรูทรงเปรียบเทียบการแตกสามัคคี
ของกษัตริย์ลิจฉวี ว่า
ลูกข่างประดาทา รกกาลขว้างไป
หมุนเล่นสนุกไฉน ดุจกันฉะนั้นหนอ
๒.๓.๓ บุคคลวัต เป็นการสมมุติสิ่งต่างๆ ให้มีกิริยาอาการ มีความรู้สึกเหมือนมนุษย์ เช่น
วัชชีผู้มีผอง สดับกลองกระหึมขาน
ทุกไท้ไป่เอาภาร ณ กิจเพื่อเสด็จไป
บทประพันธ์ที่กล่าวมานั้น ได้นาคากริยา “ขาน” ซึ่งหมายถึงการกล่าว เรียก หรือ
พูดตอบของมนุษย์ มาใช้กับกลองที่เป็นสิ่งของ เพื่อสร้างจินตภาพให้เห็นว่ากลองเป็น
สิ่งมีชีวิต และแสดง ให้เห็นว่าเสียงของกลองเป็นสิ่งที่ใช้เรียกหรือพูด ให้ผู้ฟังได้ยินอย่าง
ชัดเจน
๒.๓.๔ อติพจน์ เป็นการกล่าวผิดไปจากที่เป็นจริง เช่น
ตื่นตาหน้าเผือด หมดเลือดสั่นกาย
หลบลี้หนีตาย วุ่นหวั่นพรั่นใจ
ซุกครอกซอกครัว ซ่อนตัวแตกภัย
เข้าดงพงไพร ทิ้งย่านบ้านตน
บทประพันธ์ดังกล่าวมาจากตอน พรเจ้าอชาตศัตรูยกทัพมาตีแคว้นวัชชี โดย
ผู้ประพันธ์ได้ใช้การกล่าวเกิน ความจริงซึ่งก็คืออาการตื่นตระหนกใจ โดยในสองวรรคแรก
“ตื่นตาหน้าเผือด หมดเลือดสั่นกาย” แสดงให้เห็นว่า ชาววัชชีตื่นตกใจกับการรุกรานของ
พระเช้าศัตรูเป็นอย่างมากจนหน้าซีดเหมือนเลือดหมดตัว ซึ่งการใช้โวหารนี้นอกจากจะทาให้
เห็นถึงภาพที่ชัดเจนขึ้นแล้วยังทาให้ผู้อ่านเข้าถึงอารมณ์ของเนื้อเรื่องมากขึ้นด้วย

๒.๓.๕ นามนัย เป็นการใช้ชื่อส่วนประกอบที่เด่นของสิ่งหนึ่งแทนสิ่งนั้นๆทั้งหมด เช่น


แม้มากผิกิ่งไม้ ผิวใครจะใคร่ลอง
มัดกากระนั้นปอง พลหักก็เต็มทน
เหล่าไหนผิไมตรี สละลี้ ณ หมู่ตน
กิจใดจะขวายขวน บ มิพร้อมมิเพรียงกัน”
ในประโยคที่ว่า “แม้มากผิกิ่งไม้ ผิวใครจะใคร่ลอง มัดกากระนั้นปอง พลหักก็เต็ม
ทน” โดยธรรมชาติแล้ว กิ่งไม้กิ่งเดียวสามารถหักได้ด้วยมือเปล่า ในทางกลับกันกิ่งไม้ที่ถูกมัด
เป็นกา ต่อให้ใช้พลกาลังมหาศาลก็ไม่สามารถ หักมันได้ แสดงให้เห็นว่านายชิต บุรทัตใช้
๑๑
ลักษณะเด่นของกาของกิ่งไม้ซึ่งก็คือ สามารถแตกหักได้ยากเพื่อแทน ความสามัคคีและเป็น
หนึ่งเดียวกันในหมู่คณะ และในภาพรวมนามนัยนี้แปลได้ความว่า เมื่อผู้ร่วมมือกัน จะก่อเกิด
เป็นความสามัคคีที่ปัญหาหรือแรงภายนอกก็ไม่สารถที่จะทาลายความสามัคคีนี้ลงได้

๓. การอ่านและพิจารณาประโยชน์หรือคุณค่าในวรรณคดีและวรรณกรรม
๓.๑ คุณค่าด้านอารมณ์
กวีสามารถทาให้ผู้อ่านมีความรู้สึกคล้อยตามบทต่างๆระหว่างการอ่านได้อย่างดี เช่น รู้สึก
สงสาร ฮึกเหิม และ กล้าหาญ ยกตัวอย่างเช่น
น้อมคุณพระคเณศวิเศษศิลปธร
ฃเวทางคบวร กวี
เป็นเจ้าแห่งวิทยาวราภรณศรี
สุนทรสุวาที วิธาน

กวีสามารถทาให้ผู้อ่านรู้สึกหึกเหิม กล้าหาญแล้วคล้อยตาม ซึ่งสามารถให้ได้จากตอนที่แคว้น


มคธจัดทัพ เพื่อไปตีเมืองเวสาลี
จะดีจะงาม
เพราะเข้าสนาม ประยุทธไกร
เหมาะนามทหาร ละคร้านไฉน
และสมกะใจ บุรุษมัญ
ก็โห่และฮึก
ประหัฐคึก ประกวดประชัน
ณ ท้องพระลาน ประมาณอนันต
อเนกสรร พเตรียมคระไล
กวีแสดงให้เห็นถึงอารมณ์โกรธของตัวละครตัวอย่างเช่นตอนที่พระเจ้าอชาตศัตรูแสร้ง
บริภาษวัสสการพราหมณ์
เอออุเหม่นะมึงชิช่างกระไร
ทุทาสสถุลนี้ไฉน ก็มาเป็น
ศึก บ ถึงและมึงกผ้ยังมิเห็น
จะน้อยจะมากจะยากจะเย็น ประการใด
จะอวดฉลาดและคาดและคาดแถลงเพราะใจ
ขยายขยั้นมิทันอะไร ก็หมิ่นกู

๑๒
๓.๒ คุณค่าด้านคุณธรรม
ในเรื่องสามัคคีเภทคาฉันท์ผู้อ่านสามารถเห็นถึงคุณค่าด้านคุณธรรมได้จากหลายๆฉากภายใน
ตัวเรื่องตัวอย่างแรกที่สามารถเห็นได้ชัดเจนคือความจงรักภักดีของวัสสการพราหมณ์ีมี ท่ ต่อพระเจ้า
อชาตศัตรูและบ้านเมืองเนื่องจากวัสสการพราหมณ์ยอมเสียสละและยอมลาบาก ในการเข้าไปอยู่ใน
หมู่ของศัตรูเพื่อประโยชน์ของบ้านเมืองของตนโดย ใช้ความอดทนในการเก็บความลับ เพื่อที่จะทาให้
แผนการในการทาศึกลุล่วงได้ด้วยดี
ผู้อ่านยังได้รับรู้ว่าคนเราไม่ควรตัดสินใจเชื่อผู้อื่นง่ายๆ มิฉะนั่นจะเป็นเหมือนเมืองเวสาลีซึ่ง
ถูกตีแตกเนื่องมาจากการที่พระกุมารหลงเชื่อคาอุบายจากวัสสการพราหมณ์นอกจากนี้ผู้อ่านยัง
สามารถเห็นได้ชัดเจนจากการแตกแยกในด้านควาสามัคคีของคนในเมื่อเวสาลี ซึ่งเน้นให้เห็นถึงโทษ
ของการแตกความสามัคคี
๓.๒. คุณค่าด้านอื่นๆ
คุณค่าด้านอื่นๆที่สามารถเห็นได้จาก วรรณคดีเภทคาฉันท์มีหลักๆ ๒ ด้านดังนี้ คุณค่าทาง
ปัญญา และ คุณค่าด้านการใช้ภาษา ในวรรณคดีเภทคาฉันท์เราจะเห็นได้ว่า วัสสาการพราหมณ์ใช้
ปัญญาที่ตนเองมีในการทาให้คนในเมืองเวสาลี มีความแคลงใจซึ่งกันและกัน จึงทาให้ฝ่ายของพระ
กุมารแตกสามัคคีและเกิดความขุ่นเคืองกันเอง จนสุดท้ายวัสสาการพราหมณ์ก็สามารถตีเมืองเวสาลี
ได้โดยอย่างง่ายดาย จากตัวอย่างนี้แสดงให้เห็นถึงคุณค่าทางด้านสติปัญญาที่ปรากฏอยู่ในเรื่อง
วรรณคดีสมามัคคีเภทคาฉันท์ โดยการใช้สติปัญญาตริตรองแก้ไขปัญหาต่างๆโดยไม่ใช้กาลังในการเข้า
สู้ ในด้านคุณค่าการใช้ภาษา สามารถเห็นได้จากการที่กวีใช้ฉันทลักษณ์ได้อย่างงดงามเหมาะสม โดย
เลือกฉันท์ชนิดต่างๆมาใช้สลับกันตามความเหมาะสมกับเนื้อเรื่อง จึงเกิดความไพเราะสละสลวย
ยกตัวอย่างเช่นการที่กวีเพิ่มสัมผัสบังคับคาสุดท้ายของวรรคแรกกับคาที่๓ ของวรรคที่๒ ในฉันท์ที่ ๑๒
ซึ่งสัมผัสแหน่งนี้ไม่เคยมีผู้ได้ใช่มาก่อนทาให้ ฉันท์กลุ่มนี้มีความไพเราะขึ้น

๑๓
บรรณานุกรม

ศึกษาธิการ, กระทรวง. หนังสือเรียนรายวิชาพื้นฐานภาษาไทย วรรณคดีวิจักษ์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6. พิมพ์ครั้งที่ 5.


สกสค. ลาดพร้าว, 2555. 131 หน้า

๑๔

You might also like