You are on page 1of 12

รายงานเชิงวิชาการ

การอ่านและพิจารณาวรรณคดีเรื่อง คัมภีร์ฉันทศาสตร์ แพทยศาสตร์ สงเคราะห์

นางสาวณัฐรัชต์ เกษร ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๕/๔ เลขที่ ๘


นายศกรชน เมตตาริกานนท์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๕/๔ เลขที่ ๑๑
นางสาวปริยากร นิธิกุลตานนท์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๕/๔ เลขที่ ๑๓
นางสาวณกมล แสนสุขทวีทรัพย์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๕/๔ เลขที่ ๑๘

เสนอ
อ.พนมศักดิ์ มนูญปรัชญาภรณ์

ภาคเรียนที่ ๒ ปีการศึกษา ๒๕๖๐


โรงเรียนสาธิตนานาชาติ มหาวิทยาลัยมหิดล

รายงานนี้เป็นส่วนหนึ่งของกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้โครงงานเป็นฐาน (Project Based Learning)


รายวิชาภาษาไทยและวัฒนธรรม ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๕
คานา

รายงานเล่มนี้จัดทาขึ้นเพื่อเป็นส่วนหนึ่ง ของวิชาภาษาไทยและวัฒนธรรมระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๕
เพื่อให้ได้ศึกษาหาความรู้ในเรื่อง คัมภีร์ฉันทศาสตร์ แพทยศาสตร์ สงเคราะห์ และเป็นโปรเจ็คจบของ ปีการศึกษา
๒๕๖๐/๒

ผู้จัดทาหวังว่านักเรียน คุณครู และผู้อ่านรายงานจะได้รับความรู้ที่ผู้จัดทาเรียบเรียงและวิเคราะห์สรุปให้


เพื่อเป็นประโยชน์สูงสุดของทุกคน

๖ มิถุนายน ๒๕๖๑

คณะผู้จัดทา
สารบัญ

๑. การอ่านและพิจารณาเนื้อหาและกลวิธีในวรรณคดีและวรรณกรรม……...……………………….....…..หน้า ๑
๑.๑ เนื้อเรื่อง หรือเนื้อเรื่องย่อ
๑.๒ โครงเรื่อง
๑.๓ แก่นเรื่องหรือสารัตถะของเรื่อง
๒. การอ่านและพิจารณาการใช้ภาษาในวรรณคดีและวรรณกรรม………………...…………………….…....หน้า ๒
๒.๑ การสรรคา
๒.๒ การเรียบเรียงคา
๒.๓ การใช้โวหาร
๓. การอ่านและพิจารณาประโยชน์หรือคุณค่าในวรรณคดีและวรรณกรรม………………………………….หน้า ๖
๓.๑ คุณค่าด้านอารมณ์
๓.๒ คุณค่าด้านคุณธรรม
๓.๓ คุณค่าด้านอื่นๆ
๔. บรรณานุกรม…………………………………………………………………………………….…………..……………….หน้า ๘

การอ่านและพิจารณาเนื้อหาและกลวิธีในวรรณคดีและวรรณกรรม

๑. เนื้อเรื่องย่อ
ในคั ม ภี ร์ ฉั น ทศาสตร์ แพทย์ศ าสตร์ส งเคราะห์นั้น ได้ พูด ถึ ง ความส าคั ญ ของหมอในสมั ยก่ อน โดย
เปรียบเทียบร่างกายของมนุษย์เหมือนกายนคร ที่มีหัวใจเหมือนกษัตริย์ ผู้ปกครองเมือง มีน้าดีเหมือนวังหน้า
คอยกันข้าศึกกล่าวคือโรคภัยไข้เจ็บ และอาหารที่เปรียบเหมือนกองเสบียงไพร่พล แพทย์มีหน้าที่ดูแลหัวใจ
น้าดีและอาหาร เพื่อไม่ให้โรคร้ายมาจู่โจม แพทย์ต้องทาการตรวจและวินิจฉั ยเป็นอย่างดี มิฉะนั้นอาจทาให้
ผู้ป่วยเสียชีวิตได้
ผู้ ที่ จ ะศึ ก ษาแพทย์ ศ าสตร์ นั้ น จ าเป็ น ต้ อ งใส่ ใ จและมี ค วามละเอี ย ดอ่ อ นเพื่ อ ที่ จ ะศึ ก ษาค าภี ร์
อถรรพเวทที่มีต้นตารับมาจากอินเดียเพื่อที่จะรักษาโรคต่างๆได้อย่างชานาญ การมีโรคนั้นถือว่าเป็นกรรมหนัก
ที่เกิดมาจากความโลภ การที่จะรักษาต้องจาแนกชนิดโรคให้เป็น ถ้าหากมีความรู้ไม่พอห้ามลองทาเด็ดขาด แต่
ละโรคมียาเฉพาะ หากใช้ผิดอาจผมความหายนะได้ ถ้าหากมั้นใจโรคแล้วรักษาไม่ได้ก็อาจจะมาจากอ านาจ
ภูตผีก็เป็นได้ เพราะฉะนั้นการเป็นหมอต้องรอบรู้และมีความละเอียดในการรักษา

๒. โครงเรื่อง
คาภีร์ฉันทศาสตร์แพทย์ศาสตร์สงเคาระห์มีโครงเรื่องเป็นการกล่าวถึง ความสัมพันธ์ระหว่างร่างกาย
มนุษย์และแพทย์ที่เป็นผู้รักษา ซึ่งในตัวเรื่องได้กล่าวถึงวิธีการรักษาของแพทย์โดยใช้ยาและคุณสมบัติ ที่แพทย์
ควรมีก่อนที่จะรักษาผู้ป่วย นับว่าเป็นเหมือนกับหนังสือพื้นฐานของแพทย์สมัยก่อนที่ต้องศึกษาเพื่อที่จะเป็น
หมอทาการรักษาคนอื่น

๓. แก่นเรื่องหรือสารัตถะของเรื่อง
ูแต่
ผ้ งคาภีร์ฉันทศาสตร์แพทย์ศาสตร์ต้องการที่จะสื่อถึงข้อดีในการรักษาผู้ป่วยโดยไม่หวังผลประโยชน์
แต่ในขณะเดียวกันก็ยังมีแพทย์บางกลุ่มที่หวังแต่จะได้รับผลประโยชน์จากคนไข้โดยไม่สนใจจุดประสงค์ในการ
เป็นแพทย์ที่แท้จริง

การอ่านและพิจารณาการใช้ภาษาในวรรณคดีและวรรณกรรม

๑. การสรรคา
การที่กวีจะเลือกใช้คาในการนามาแต่งนั้น จะต้องคานึงถึงความเหมาะสมกับเนื้อเรื่องและฐานันดร
ศักดิ์ของตัวละครในเรื่องเป็นสาคัญ อีกทั้งยังต้องคานึงถึงความสอดคล้องกับรูปแบบของร้อยแก้วหรือร้อยกรอง
ที่นามาเขียน โดยการใช้เลือกถ้อยคาที่ทาให้เกิดคุณค่า มีความไพเราะ และเหมาะสมกับเนื้อเรื่อง ดังนี้

๑.๑ เลือกใช้คาให้ถูกต้องตรงตามความหมายที่ต้องการ
ผู้แต่งได้เลือกคาที่สื่อความหมายและความคิด ได้อย่างเหมาะสม ทาให้เข้าใจง่ายจากการอ่านในครั้ง
แรก ดังตัวอย่าง

รู้แล้วอย่าอวดรู้ พินิจดูอย่าหมิ่นเมิน
ควรยาหรือยาเกิน กว่าโรคนั้นจึ่งกลับกลาย
ถนอมทาแต่พอควร อย่าโดยด่วนเอาพลันหาย
ผิโรคนั้นกลับกลาย จะเสียท่าด้วยผิดที

จากกลอน ๒ บทตัวอย่างข้างต้น คาที่กวีเลือกนามาใช้นั้นสามารถสื่อความหมายได้อย่างชัดเจน ใช้คา


ที่เข้าใจง่ายและไม่มีความหมายเชิงลึกที่ผู้อ่านต้องตีความเพิ่มเติม

๑.๒ เลือกใช้คาให้เหมาะสมกับเรื่องและฐานะของบุคคลในเรื่อง
การเขียนตาราแพทย์ศาสตร์สงเคราะห์ฉบับสมบูรณ์นั้นจัดทาโดยพระยาพิศณุประสาทเวช (คง ถาวร
เวช) ซึ่งตัวท่านมีความเห็นว่าประชาชนหรือชาวบ้านที่ป่วยไข้ควรทาการรักษาตนเองโดยการหาความรู้จากการ
อ่านตาราแพทย์ ภาษาที่ใช้จึงมีความธรรมดา เลือกใช้ศัพท์ชาวบ้านในการเรียกชนิดยา และมีสานวนที่ชาวบ้าน
ใช้กันอย่างแพร่หลายในยุคสมัยนั้น ดังตัวอย่าง

บ้างได้แต่ยาผาย บรรจุถ่ายจนถึงดี
เห็นโทษเข้าเป็นตรี จึ่งออกตัวด้วยตกใจ
บ้างรู้แต่ยากวาด เที่ยวอวดอาจไม่เกรงภัย
โรคน้อยให้หนักไป ดังก่อกรรมให้ติดกาย

“ยาผาย” หมายถึงยาขับลมทางทวาร และ “ยากวาด” คือยาปรุงบดที่ประสมน้าแล้วนามากวาดที่


โคนลิ้นหรือในลาคอ

“เห็นโทษเข้าเป็นตรี” หมายถึงการที่มีอาการป่วยเข้าขั้นตรีโทษ กล่าวคืออาการหนักมากขนาดที่ว่า


เลือด ลม และเสมหะเป็นพิษในเวลาเดียวกัน ดังสานวนที่ชาวบ้านใช้ว่า “อาการเข้าขั้นตรีทูต” ซึ่งคาว่า ตรีทูต
น่าจะแปลงมาจาก ตรีทูษ ที่เพี้ยนมาจาก ตรีโทษ

๑.๓ เลือกใช้คาให้เหมาะสมแก่ลักษณะของคาประพันธ์
คาประพันธ์ของคัมภีร์ฉันทศาสตร์ แพทย์ศาสตร์สงเคราะห์ มีลักษณะ เป็นกาพย์ยานี ๑๑ การแต่ง
กาพย์ยานี ๑๑ นั้น มีข้อจากัดในการใช้คา โดยจะต้องเลือกใช้คาที่มีจานวนจากัด แต่สามารถสื่อความหมายได้
กว้างขวาง และชัดเจน ดังตัวอย่าง

ใช่โรคสิ่งเดียวดาย จะพลันหายในโรคา
ต่างเนื้อก็ต่างยา จะชอบโรคอันแปรปรวน

ผู้แต่งเลือกใช้สานวน “ต่างเนื้อก็ต่างยา” ซึ่งหมายถึงการที่การที่แต่ละคนก็ใช้ยาต่างชนิดกันไป

๑.๔ เลือกใช้คาโดยคานึงถึงเสียง

ก) คาที่เล่นเสียงสัมผัส
ผู้แต่งได้ใช้คาที่คานึงถึงเสียงสัมผัสพยัญชนะ ดังตัวอย่าง
โรคนั้นคือโทโส จะภิยโยเร่งวัฒนา
แพทย์เร่งกระหน่ายา ก็ยิ่งยับระยาเยิน

ข) คาที่เล่นเสียงหนักเบา
ผู้แต่งมีการเลือกใช้คาครุ-ลหุ กล่าวคือการเล่นน้าหนักเสียงของคา ดังตัวอย่าง
คัมภีร์กล่าวไว้หมด ไยมิจดมิจาเอา
ทายโรคแต่โดยเดา ให้เชื่อถือในอาตมา

ค) คาซ้อน
คาซ้อน คือการที่นาคามูลที่มีความหมายเหมือนหรือคล้ายคลึงกัน หรือตรงกันข้ามกันมา
ประสมกันเพื่อให้เกิดคาใหม่ที่มีความหมายที่เจาะจงหรือต่างไปจากเดิม โดยผู้แต่งได้เลือกคาที่มีพยัญชนะต้นที่
เหมือนกันมาแต่ง ดังตัวอย่าง

ใช่โรคสิ่งเดียวดาย จะพลันหายในโรคา
ต่างเนื้อก็ต่างยา จะชอบโรคอันแปรปรวน

บางทีก็ยาชอบ แต่เคราะห์ครอบจึ่งหันหวน
หายคลาดแล้วทบทวน จะโทษยาก็ผิดที

ง) คาไวพจน์
คาไวพจน์ คือ คาที่มีความหมายเดียวกันแต่มีรูปแบบการเขียนและอ่านที่แตกต่างกันออกไป โดยอาจ
เป็นภาษาอื่น
ปิตต คือวังหน้า เร่งรักษาเขม้นหมาย
อาหารอยู่ในกาย คือเสบียงเลี้ยงโยธา

ปิตต มาจากภาษาบาลี ซึ่งแปลว่าน้าดีจากตับ โยธ- หรือ โยธา นั้นหมายถึง พลรบ หรือทหาร

๒. การเรียบเรียงคา
ภายหลังจากการเลือกคาข้างต้น ลาดับต่อมานั้นคือการเรียบเรียงคาให้มีความไพเราะและเหมาะสม
กับลักษณะคาประพันธ์ โดยผู้แต่งจะต้องเรียบเรียงคาอย่างเหมาะสม ในการนามาแต่งกาพย์ยานี ๑๑ โดยมี
กลวิธีการเขียนที่แตกต่างกันไป ดังนี้

๒.๑ เรียงคา วลี หรือประโยคที่มีความสาคัญเท่าๆ กัน เคียงขนานกันไป


คัมภีร์ฉันทศาสตร์ แพทย์ศาสตร์สงเคราะห์นั้นถูกเขียนขึ้นโดยเรียบเรียงเนื้อหาภาพรวมของ
ความสาคัญของการแพทย์ โดยผู้แต่งค่อยๆบรรยายไปทีละประเด็น ทั้งนี้ ทุกประเด็นมีความสาคัญเท่ากัน
ทั้งหมด ดังตัวอย่าง

ผู้ใดจะเรียนรู้ พิเคราะห์ดูผู้อาจารย์
เที่ยงแท้ว่าพิสดาร ทั้งพุทธ์ไสยจึ่งควรเรียน
แต่สักเป็นแพทย์ได้ คัมภีร์ไสยไม่จาเนียร
ครูนั้นไม่ควรเรียน จะนาตนให้หลงทาง

จากกลอน ๒ บทข้างต้นนั้น ผู้แต่งกาลังกล่าวถึงการทีูที


่ผ้ ่จะศึกษาแพทย์ศาสตร์นั้นจาเป็นต้องใส่ใจ
และมีความละเอียดอ่อนเพื่อที่จะศึกษาคาภีร์อถรรพเวทที่มีต้นตารับมาจากอินเดียเพื่อที่จะรักษาโรคต่างๆได้
อย่างชานาญ

๒.๒ เรียบเรียงประโยคให้เนือ้ หาเข้มข้นขึ้นไปตามลาดับดุจขั้นบันไดจนถึงขั้นสุดท้ายที่สาคัญที่สุด


การเรียบเรียงเช่นนี้ปรากฏอยู่ในบทประพันธ์ในส่วนที่ผู้แต่งต้องการชี้แจงวิธีการป้องกันโรคภัยไข้เจ็บ
ดังตัวอย่าง

หนทางทั้งสามแห่ง เร่งจัดแจงอยู่รักษา
ห้ามอย่าให้ข้าศึกมา ปิดทางได้จะเสียที

๒.๓ เรียบเรียงถ้อยคาให้เป็นประโยคคาถามเชิงวาทศิลป์
คาถามเชิงวาทศิลป์ กล่าวคือ คาถามที่ผู้แต่งได้กล่าวถึง แต่ไม่ได้หวังคาตอบแต่อย่างใด เพียงแต่เป็น
การทาให้ผู้อ่านได้คิดตามหรือมีความต้องการที่จะนาเสนอความคิดบางอย่าง ในบทประพันธ์นี้ ผู้แต่งได้กล่าว
ถามในเชิงเอือมระอา กับการที่ผู้คนมักทานายโรคด้วยตนเองโดยไม่อิงในคัมภีร์ที่มีเขียนไว้ ซึง่ ทาให้เกิดการ
ผิดพลาดในการวินิจฉัยโรครวมไปถึงการรักษา ดังตัวอย่าง

คัมภีร์กล่าวไว้หมด ไยมิจดมิจาเอา
ทายโรคแต่โดยเดา ให้เชื่อถือในอาตมา

การใช้โวหาร

๑. การเปรียบเทียบสิ่งหนึ่งเหมือนกับอีกสิ่งหนึ่ง
การเปรียบเทียบสิ่งหนึ่งเหมือนกับอีกสิ่งหนึ่ง หรือ การใช้อุปมาโวหาร คือการใช้คาแสดงการ
เปรียบเทียบสิ่งหนึ่งกับอีกสิ่ง โดยใช้คาเชื่อม เหมือน ราวกับ ดุจ ดั่ง เป็นต้น ดังตัวอย่าง

เมื่ออ่อนรักษาได้ แก่แล้วไซร้ยากนักหนา
ไข้นั้นอุปมา เหมือนเพลิงป่าไหม้ลุกลาม

๒. การเปรียบเทียบสิ่งหนึ่งเป็นอีกสิ่งหนึ่ง
การเปรียบเทียบสิ่งหนึ่งเป็นอีกสิ่งหนึ่ง หรือ การใช้อุปลักษณ์โวหาร คือมีคาแสดงการเปรียบเทียบ
“คือ” และ “เป็น” ซึ่งแตกต่างจากอุปมาโวหาร ที่ใช้คาแสดงการเปรียบเปรยชัดเจน เช่น ดุจ ดั่ง เป็นวิธีการ
เขียนเพื่อให้ภาษามีความกระชับและสื่อความหมายได้ชัดเจน ดังตัวอย่าง

ดวงจิตคือกระษัตริย์ ผ่านสมบัติอันโอฬาร์
ข้าศึกคือโรคา เกิดเข่าฆ่าในกายเรา
เปรียบแพทย์คือทหาร อันชานาญรู้ลาเนา
ข้าศึกมาอย่าใจเบา ห้อมล้อมรอบทุกทิศา

ผู้แต่งได้อุปลักษณ์พระมหากษัตริย์ กล่าวคือเป็นดวงจิตเป็นศูนย์กลางของเมือง มีแพทย์และน้าดีที่


เปรียบเสมือนเป็นทหาร มีหน้าที่ปกป้องร่ายกายของเราจากโรคภัยต่างๆ ซึ่งกล่าวคือข้าศึก แพทย์จึงมีหน้าที่
รักษาหัวใจน้าดีและอาหารไว้ไม่ให้โรคต่างๆมารุมเร้า

การอ่านและพิจารณาประโยชน์หรือคุณค่าในวรรณคดีและวรรณกรรม

๑. คุณค่าด้านเนื้อหา
รูปแบบการแต่งคัมภีร์ฉันทศาสตร์ แพทยศาสตร์สงเคราะห์ เป็นหนังสือที่รวบรวมความรู้จากตารา
อื่นๆ เกี่ยวกับแพทยศาสตร์ ซึ่งผู้แต่งเลือกใช้คาประพันธ์ประเภท กาพย์ยานี ๑๑ เริ่มด้วยบทไหว้ครูและ
จรรยาบรรณของแพทย์ ผู้แต่งใช้คาประพันธ์ประเภทร่ายให้ความรู้เกี่ยวกับการรักษาโรคของแพทย์แผนไทย
สาระสาคัญของเรื่อง คือ ความสาคัญของแพทย์และคุณสมบัติที่แพทย์พึงมี ซึ่งจะช่วยรักษาโรคได้ผล
มากกว่ารู้เรื่องยาอย่างเดียว
โครงเรื่อง มีการลาดับความเริ่มต้นด้วยบทไหว้ครู เป็นการไหว้พระรัตนตรัย ไหว้เทพเจ้าของพราหมณ์
และไหว้ครูแพทย์ ต่อด้วยความสาคัญของแพทย์ จรรยาบรรณแพทย์ คุณสมบัติที่แพทย์พึงมี และตอนท้าย
กล่าวถึงทับ ๘ ประการ คือ อาการของโรคชนิดหนึ่งที่แทรกซ้อนกับโรคอื่น
กลวิ ธี ก ารแต่ ง เนื้ อ หาจั ด เป็ น ต าราเฉพาะด้ าน เน้ น การอธิบ ายเป็ นส่ ว นใหญ่ จึ ง ใช้ อุ ป มาโวหาร
เปรียบเทียบ เช่น

จะกล่าวถึงคัมภีร์ฉัน ทศาสตร์บรรพ์ที่ครูสอน
เสมอดวงทินกร แลดวงจันทร์กระจ่างตา

๒. คุณค่าด้านวรรณศิลป์
๑.การสรรคา
๑.๑ การใช้ถ้อยคาที่เหมาะสมแก่เนื้อเรื่อง ความหมายตรงไปตรงมา เช่น
บางหมอก็กล่าวคา มุสาซ้ากระหน่าความ
ยกตนว่าตนงาม ประเสริฐยิ่งในการรักษา
บางหมอก็เกียจกัน ที่พวกอันแพทย์รักษา
บ้างกล่าวเป็นมารยา เขาเจ็บน้อยว่ามากครัน
บ้างกล่าวอุบายให้ แก่คนไข้นั้นหลายพัน
หวังลาภจะเกิดพลัน ด้วยเชื่อถ้อยอาตมา
๑.๒ การใช้สานวนไทย ช่วยอธิบายให้ชัดเจนมากขึ้น เช่น
เรียนรู้คัมภีร์ไสย สุขุมไว้อย่าแพร่งพราย
ควรกล่าวจึ่งขยาย อย่ายื่นแก้วให้วานร

๒. การใช้โวหาร
ทาให้ผู้อ่านเข้าใจความหมายและเห็นภาพชัดเจนยิ่งขึ้น เช่น

อนึ่งจะกล่าวสอน กายนครมีมากหลาย
ประเทียบเปรียบในกาย ทุกหญิงชายในโลกา
ดวงจิตคือกระษัตริย์ ผ่านสมบัติอันโอฬาร์
ข้าศึกคือโรคา เกิดเข่นฆ่าในกายเรา
เปรียบแพทย์คือทหาร อันชานานรู้ลาเนา
ข้าศึกมาอย่างใจเบา ห้อมล้อมรอบทุกทิศา

๓. คุณค่าด้านสังคม
๑. สะท้อนให้เห็นความเชื่อของสังคมไทย ฉันทศาสตร์มีความหมายว่า ตารา (ศาสตร์) ที่ แ ต่ ง เ ป็ น
สูตร (ฉันท์) ตามอย่างตาราการแพทย์ในคัมภีร์อาถรรพ์เวทซึ่งเป็นพระเวทหนึ่งในศาสนาพราหมณ์ จึงมีเรื่อง
เกี่ยวกับไสยศาสตร์ด้วย จึงมักพบคาว่า “คัมภีร์ไสย์”ปรากฏอยู่ในคาประพันธ์
ตัวอย่าง
เรียนรู้ให้ชัดเจน จบจังหวัดคัมภีร์ไสย์
ตั้งต้นปฐมใน ฉันทศาสตร์ดังพรรณนา

แต่ในคัมภีร์ฉันศาสตร์ มีการประสานความเชื่อความคิดต่างๆ ทางสังคมและทางพระพุทธศาสนาเข้า


ด้วยกัน เนื้อหามีคาบาลีแสดงให้เห็นตลอด ทาให้ได้รับความรู้เกี่ยวกับคาศัพท์ทางพระพุทธศาสนา เช่น มิจฉา
(ความผิด) พิริยะ (ความเพียร) วิจิกิจจา (ความลังเล) อุทธัจ(ความฟุ้งซ่าน) วิหิงษา (เบียดเบียน) อโนตัปปัง
(ความไม่สะดุ้งกลัวต่อบาป) อธิกรณ์ (โทษ)

๒. สะท้อนให้เห็นคุณค่าเรื่องแพทย์แผนไทย ถ้าพิจารณาในส่วนที่กล่าวถึงทับ ๘ ประการ จะเป็นได้


ว่าแพทย์แผนไทยเป็นวิธีการรักษาโรคอีกวิธีหนึ่ง เป็นแพทย์ทางเลือกที่มีความจาเป็นในการรักษาโรค เราจะ
คิดว่าเป็นเรื่องที่ล้าสมัยไม่ได้ เพราะเวชกรรมแผนโบราณเป็นที่ยอมรับเชื่อถือมาช้านาน ก่อนที่จะรับเอาวิทยา
การแพทย์แผนใหม่มาจากชาติตะวันตกมาใช้ ซึ่งปัจจุบันการค้นคว้าวิจัยทางแพทย์ จะกลับมาให้ความสนใจ
ในการรักษาด้วยยาสมุนไพรตามแบบโบราณ โดยถือว่าเป็นทางเลือกทางหนึ่งในการรักษาโรคในปัจจุบัน

๓. ให้ข้อคิดสาหรับการน าไปใช้ใ นชี วิ ตประจาวัน สามารถนาข้อคิด ที่ไ ด้จ ากการศึ กษาคั ม ภี ร์


ฉันทศาสตร์ไปใช้ได้ทุกอาชีพ ไม่ว่าจะเป็นบุคคลในอาชีพใด ถ้าไม่มีความประมาท ความอวดดี ความริษยา
ความโลภ ความเห็นแก่ตัว ความหลงตัวเอง และการมีศีลธรรมประจาใจ ย่อมได้รับการยกย่องจากบุคคลต่างๆ

โดยเฉพาะในวิชาชีพแพทย์ซึ่งเกี่ยวข้องกับความเป็นความตายของชีวิต ต้องเป็นผู้ที่รอบรู้จริง และ


รับผิดชอบต่อผู้ป่วย ปฏิบัติด้วยความรอบคอบ ไม่ประมาท โดยมีคาสอนในทางพระพุทธศาสนาเป็นแนวทางใน
การชี้นา

๔. ให้ความรู้เรื่องศัพท์ทางการแพทย์แผนโบราณ
คาว่า “ธาตุพิการ” หมายถึง ธาตุทั้งสี่ (ดิน น้า ลม และไฟ) ในร่างกายไม่ปกติ ทาให้เกิดโรคต่างๆ
ขึ้นตามกองธาตุเหล่านั้น
คาว่า “กาเดา” หมายถึง อาการไข้อย่างหนึ่งเกิดจากหวัดเรียกว่า “ไข้กาเดา” อาการของโรคจะมี
เลือดไหลออกทางจมูก เรียกว่าเลือดกาเดา
คาว่า “ปวดมวน” หมายถึง การปั่นป่วนในท้อง

บรรณานุกรม
สมมาตร์ มีศิลป์. หนังสือเรียน รายวิชาพื้นฐาน ภาษาไทย วรรณคดีวิจักษ์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๕.
กรุงเทพฯ : สกสค. ลา ดพร้าว, ๒๕๕๕, ๑๔๐ หน้า.

You might also like