You are on page 1of 23

รายงานเชิงวิชาการ

การอ่านและพิจารณาวรรณคดีเรื่อง สามัคคีเภทคำฉันท์

โดย

นางสาววิชญาดา วรรณะ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5/6


เลขที่ 22
นางสาวอภิษฎา ฉัตร์ชลบุษย์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5/6
เลขที่ 3
นางสาวชญาภรณ์ เหล่าวัฒนชัย ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5/6
เลขที่ 8

เสนอ
อ.พนมศักดิ์ มนูญปรัชญาภรณ์

ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2560


โรงเรียนสาธิตนานาชาติ มหาวิทยาลัยมหิดล

รายงานนี้เป็นส่วนหนึ่งของกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้โครงงานเป็นฐาน
(Project Based Learning)
รายวิชาภาษาไทยและวัฒนธรรม ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5
คำนำ

รายงานฉบับนี้จัดทำขึ้นเพื่อเป็นส่วนหนึ่งของรายวิชาภาษาไทย
ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โดยมีจุดประสงค์เพื่อศึกษาหาความรู้จาก
วรรณคดีเรื่อง สามัคคีเภทคำฉันท์ ไม่ว่าจะเป็นด้านการอ่านและการ
พิจารณาเนื้อหา รวมถึงกลวิธีในการแต่งและการใช้ภาษา ตลอดจน
ประโยชน์และคุณค่าด้านต่างๆที่สอดแทรกอยู่ในวรรณคดีเรื่องนี้ ทั้งนี้
จึงต้องอาศัยการอ่านและการพิจารณาอย่างละเอียดถี่ถ้วนเพื่อทำให้เกิด
ความเข้าใจอย่างถูกต้องโดยอาศัยกระบวนการวิเคราะห์และตีความ
เนื้อหาต่างๆได้มีการศึกษารวบรวมจากแบบเรียนวรรณคดีวิจักษ์
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 รวมถึงเนื้อเรื่องเต็มของสามัคคีเภทคำฉันท์ จาก
ห้องสมุดดิจิทัลวชิรญาณ ซึ่งเป็นโครงการที่จัดทำขึ้นเพื่อรวบรวมหนังสือ
ต่างๆในเทศไทยในรูปแบบหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ นอกจากนี้ผู้จัดทำ
ต้องขอขอบคุณอาจารย์พนมศักดิ์
มนูญปรัชญาภรณ์ ผู้ให้ความรู้และคำแนะนำเพื่อนำมาแก้ไขรายงานเล่ม
นี้ให้ออกมาถูกต้องสมบูรณ์ที่สุด อีกทั้งยังหวังเป็นอย่างยิ่งว่ารายงาน
ฉบับนี้จะเป็นประโยชน์ต่อผู้อ่านหรือผู้ที่ต้องการศึกษาเรื่องสามัคคีเภท
คำฉันท์ หากมีข้อแนะนำ หรือข้อผิดพลาดประการใด ผู้จัดทำขอน้อมรับ
ไว้ และขออภัยมา ณ ที่นี้ด้วย
คณะผู้จัดทำ
5 มิถุนายน 2560
สารบัญ

1. การอ่านและพิจารณาเนื้อหาและกลวิธีในวรรณคดีและวรรณกรรม
1.1 เนื้อเรื่อง
1
1.2 โครงเรื่อง
1
1.3 ตัวละคร
1-4
1.4 ฉากท้องเรื่อง
4-5
1.5 บทเจรจาหรือรำพึงรำพัน
5-6
1.6 แก่นเรื่องหรือสารัตถะของเรื่อง
6-7
2. การอ่านและพิจารณาการใช้ภาษาในวรรณคดีและวรรณกรรม
2.1 การสรรคำ
7-9
2.2 การเรียบเรียงคำ
9-11
2.3 การใช้โวหาร
11-12
3. การอ่านและพิจารณาประโยชน์หรือคุณค่าในวรรณคดีและ
วรรณกรรม
3.1 คุณค่าด้านอารมณ์
12-13
3.2 คุณค่าด้านคุณธรรม
13-14
1

การอ่านและพิจารณาเนื้อหาและกลวิธีในวรรณคดีและวรรณกรรม
1. เนื้อเรื่อง
พระเจ้าอชาตศัตรู กษัตริย์ผู้ปกครองแคว้นมคธ ที่มีราชคฤห์เป็นเมือง
หลวง ทรงมีพระประสงค์จะขยายอาณาจักรให้กว้างขวาง โดยหมายตา
แคว้นวัชชีของกษัตริย์ลิจฉวี อันปกครองและตั้งมั่นอยู่ในธรรมที่เรียกว่า
อปริหานิยธรรม คือ ธรรมอันไม่เป็นที่ตั้งแห่งความเสื่อม ซึ่งเน้นความ
สามัคคีเป็นหลัก ดังนั้นการจะทำสงครามจึงต้องใช้ปัญญามิใช่กำลัง
อย่างไรก็ตามพระเจ้าอชาตศัตรูทรงมีปุโรหิตที่ปรึกษาคนสนิทชื่อ วัส
สการพราหมณ์ เนื่องด้วยวัสสการพราหมณ์ เป็นผู้รอบรู้ด้านศิลปศาสตร์
และมีสติปัญญาอันเฉียบแหลม ทั้งสองจึงปรึกษาเพื่อหา กลอุบาย
ทำลายความสามัคคีของกษัตริย์ลิจฉวีโดยการเนรเทศวัสสการพรา
หมณ์ออกจากแคว้นมคธเพื่อเดินทางไปยังเมืองเวสาลี ด้วยความเป็นที่
เป็นผู้มีวาทศิลป์ รู้จักใช้เหตุผลโน้มน้าวใจ จึงทำให้เหล่ากษัตริย์รับ วัส
สการพราหมณ์ไว้ในราชสำนัก โดยให้ทำหน้าที่พิจารณาคดีความและ
ถวายพระอักษรเหล่าพระกุมารทั้งหลายจนเป็นที่ไว้ใจ ครั้นได้โอกาส
คาดคะเนว่าพวกกษัตริย์ไว้วางใจตน ก็เริ่มทำอุบายให้ศิษย์แตกร้าวกัน
จนเกิดการวิวาท แล้วนำความนั้นขึ้นกราบทูลชนกของตน เมื่อเป็นเช่น
นั้นความร้าวรานก็ลามไปถึงบรรดากษัตริย์ที่เชื่อถ้อยคำโอรสของตน
โดยปราศจากการไตร่ตรองใดๆ จนกระทั่งผ่านไป ๓ ปี สามัคคีธรรมใน
หมู่กษัตริย์ ลิจฉวีก็สูญสิ้นไป เมื่อนั้น พระเจ้าอชาตศัตรูจึงได้กรีธาทัพสู่
เมืองเวสาลี สามารถปราบแคว้นวัชชีลงได้อย่างง่ายดาย

2. โครงเรื่อง
ในครั้งโบราณกาล กษัตริย์องค์หนึ่งมีพระประสงค์จะขยายอาณาจักร
ออกไปยังแคว้นที่มีความเข้มแข็งเพราะมีคุณธรรมในความสามัคคี
พระองค์จึงส่งปุโรหิตคนสนิทเข้าไปยุแหย่ให้เหล่ากษัตริย์ผู้ปกครอง
แคว้นเกิดความแตกแยกและขัดแย้งกัน ท้ายที่สุดแล้วแผนการก็สำเร็จ

3. ตัวละคร

พระเจ้าอชาตศัตรู
!2

จากเรื่องสามัคคีเภทคำฉันท์ ตอนพระเจ้าอชาตศัตรูยกทัพมาตี
แคว้นวัชชี ชี้ให้เห็นว่าพระองค์ทรงมีความเฉลียวฉลาด มีความ
แข็งแกร่ง รู้จักใช้คนที่ทำให้ความต้องการที่จะแผ่พระบรมเดชานุภาพ
ของตนเองสำเร็จผล
“จอมทัพมาคธราษฎร์ ธ ยาตรพยุหกรี
ธาสูวิสาลี นคร
โดยทางอันพระทวารเปิดนรนิกร
ฤารอจะต่อรอน อะไร”

บทประพันธ์นี้แสดงให้เห็นว่าเมื่อจอมทัพแห่งแคว้นมคธกรีฑาทัพ
เข้าเมืองเวสาลี ประตูเมืองนั้นก็เปิดอยู่โดยไม่มีผู้คนหรือทหารต่อสู้
ประการใด

เพราะความละเอียดรอบคอบเช่นนี้ ทำให้การยึดแคว้นวัชชีเป็นไป
อย่างง่ายดาย โดยที่ทัพของตนไม่ต้องเสียเลือดเสียเนื้อ หรือเปลืองแรง
ในการต่อสู้ พระองค์มีความสามารถในการนำรบ เมื่อปราบปรามแล้วก็
เสด็จยังเมืองราชคฤห์อันยิ่งใหญ่ดังเดิม

“ไป่พักต้องจะกะเกณฑ์นิกายพหลโรย
แรงเปลืองระดมโปรย ประยุทธ์
ราบคาบเสร็จ ธ เสด็จลุราชคฤหอุต
ดมเขตบุเรศดุจ ณ เดิม”

วัสสการพราหมณ์
เป็นผู้ที่ยอมเสียสละ ออกจากบ้านเมืองมายาวนานและเสี่ยงไปอยู่
ในหมู่ศัตรู ต้องใช้ความอดทนและรักษาความลับเพื่อให้อุบายสัมฤทธิ์
ผล เพราะจากคำประพันธ์ข้างต้นแผนการนี้ยาวนานถึง ๓ ปี

“ครั่นล่วงสามปีประมาณมา สหกรณประดา
ลิจฉวีรา ชทั้งหลาย
สามัคคีธรรมทำลาย มิตรภิทนะกระจาย
สรรพเสื่อมหายน์ ก็เป็นไป”
!3

เป็นผู้ที่มีความรอบคอบไม่ประมาท เมื่อแผนการคาดว่าจะสัมฤทธิ์
ผล เพราะสังเกตเห็นความแตกแยกและต้องการตรวจสอบว่ากษัตริย์ลิจ
ฉวีแตกสามัคคีกันอย่าแท้จริง จึงลองตีกลองนัดประชุม ปรากฏว่าไม่มี
กษัตริย์องค์ใดเข้ามาประชุมเลย จึงทำให้มั่นใจได้ว่าแต่เหล่ากษัตริย์
ต่างมีความขุ่นเคืองให้อีกฝ่ายอย่างแท้จริง

“วัชชีภูมีผอง สดับกลองกระหึมขาน
ทุกไท้ไป่เอาภาร ณ กิจเพื่อเสด็จไป
ต่างทรงรับสั่งว่า จะเรียกหาประชุมไย
เราใช่คนใหญ่ใจ ก็ขลาดกลัวบกล้าหาญ”

จากนั้นรีบกราบทูลพระเจ้าอชาตศัตรู แสดงให้เห็นว่ามีคุณสมบัติ
ที่น่ายกย่องด้านการจงรักภักดีต่อพระเจ้าอชาตศัตรูและบ้านเมือง

“เห็นเชิงพิเคราะห์ช่อง ชนะคล่องประสบสม
พราหมณ์เวทอุดม ธ ก็ลอบแถลงการณ์
ให้วัลลภ ชน คม ดลประเทศฐาน
กราบทูลนฤบาล อภิเผ้า มคธไกร”

นอกจากนี้ยังเป็นเลิศและน่าชื่นชมในด้านการทำอุบาย ดังคำ
ประพันธ์ที่กล่าวไว้หลังจากพระเจ้าอชาตศัตรูได้แผ่นดินวัชชีอย่าง
ง่ายดาย

“ควรชมนิยมจัด คุรุวัสสการพราหมณ์
เป็นเอกอุบายงาม กลงำกระทำมา”

เหล่าโอรสของกษัตริย์ลิจฉวี
ไม่เชื่อใจซึ่งกันและกัน และสามารถถูกยุแหย่ได้ง่าย สามารถ
เห็นได้จากการที่พระโอรสองค์อื่นๆไม่เชื่อสิ่งที่พระโอรสองค์หนึ่งที่ถูก
เรียกเข้าไปคุยกับวัสสการพราหมณ์พูด แม้สิ่งที่ตรัสมาเหล่านั้นจะ
เป็นเรื่องจริงทุกประการ
!4

“กุมารนั้นสนองสา รวากย์วาทตามเลา
เฉลยพจน์กะครูเสา วภาพโดยคดีมา
กุมารอื่นสงสัย มิเชื่อในพระวาจา
สหายราช ธ พรรณนา และต่างองค์ก็พาที
ไฉนเลยพระครูเรา จะพูดเปล่าประโยชน์มี
เลอะเหลวนักละล้วนนี รผลเห็น บ เป็นไป”

เหล่าโอรสถูกวัสสการพราหมณ์เรียกไปคุยเรื่องที่ไร้สาระไม่มี
ประโยชน์ เมื่อซักถามก็ไม่เชื่อใจซึ่งกันและกัน จึงทำให้แตกความ
สามัคคี

กษัตริย์ลิจฉวี
เป็นตัวอย่างของหมู่เหล่าที่มีความสามัคคีและตั้งมั่นในอปริหานิย
ธรรม ประดุจกิ่งไม้ที่รวมกันเป็นกำ ซึ่งยากที่ใครจะหักทำลายลงได้ ดัง
คำประพันธ์ที่ว่า

“แม้มากผิกิ่งไม้ ผิวใครจะใคร่ลอง
มัดกำกระนั้นปอง พลหักก็เต็มทน”

เหล่ากษัตริย์ร่วมกันปกครองแคว้นวัชชีมานาน ทรงมีฐานะเสมอ
กันและยกย่องให้เกียรติกันเสมอ ก่อนกระทำกิจใดๆย่อมต้องมีการ
ปรึกษาหารือ จนมีพละกำลังดั่ง “มัดกำกิ่งไม้”

ถึงแม้จะรักษาความสามัคคีมาช้านาน เมื่อวัสสการพราหมณ์
ดำเนินการยุยงเหล่าโอรส

“ขุ่นมนเคือง เรื่องนฤสาร
เช่นกะกุมาร ก่อนก็ระดม
เลิกสละแยก แตกคณะกลม
เกลียว บ นิยม คบดุจเดิม”
!5

จากบทประพันธ์ข้างต้น เป็นฉากหลังเสร็จสิ้นการเรียนกับวัสสกา
รพราหมณ์ เหล่ากุมารก็ปรึกษาหารือ ถามไถ่ว่าพระอาจารย์พูดเรื่อง
อะไรบ้าง ต่างตอบตามความจริง แต่ไม่เชื่อกันเพราะคิดแล้วไม่สมเหตุ
สมผล แต่ละองค์เริ่มขุ่นเคืองใจซึ่งกันและกัน และไม่สนิทสนมกลม
เกลียวกันเหมือนแต่ก่อน ทั้งนี้เกิดเป็นจุดเริ่มต้นของความขัดแย้ง จน
กระทั่ง

“ต่างองค์นำความมิงามทูล พระชนกอดิศูร
แห่ง ธ โดยมูล ปวัตติ์ความ
แตกร้าวกร้าวร้ายก็ป้ายปาม ลุวรบิดรลาม
ทีละน้อยตาม ณ เหตุผล
ฟั่นเฝือเชื่อนัยดนัยตน นฤวิเคราะหเสาะสน
สืบจะหมองมล เพราะหมายใด”

โอรสแต่ละองค์นำเรื่องกราบทูลชนกของตน ความแตกสามัคคี
ค่อยๆลามไปถึงบรรดากษัตริย์ ที่ต่างขาดวิจารณญาณและเชื่อในคำ
ของโอรสอย่างไร้ข้อกังขา

จนท้ายที่สุดเมื่อพระเจ้าอชาตศัตรูยกทัพมา เหล่ากษัตริย์ลิจฉวีก็
มาถึงซึ่งความล่มจม เหตุเพราะความแตกแยก ยึดมั่นในความคิดและ
ทิฐิของตน จนขาดปัญญาที่จะพิจารณาไตร่ตรอง ดังคำประพันธ์เมื่อตอน
ที่พระเจ้าอชาตศัตรูยกทัพมาตีแคว้นวัชชี กล่าวว่า

“เหี้ยมนั้นเพราะผันแผก คณะแตกและต่างมา
ถือทิฐิมานสา หสโทษพิโรธจอง
แยกพรรคสมรรคภิน ทนสิ้น บ ปรองดอง
ขาดญาณพิจารณ์ตรอง ตริมลักประจักษ์เจือ”

4. ฉากท้องเรื่อง
สามัคคีเภทคำฉันท์เป็นเรื่องราวจากอินเดีย ซึ่งมีเค้าโครงเรื่อง
จากพระไตรปิฎกในสมัยพระเจ้าอชาตศัตรูแห่งแคว้นมคธ กวีของ
อินเดียจึงพรรณนาฉากให้เข้ากับบ้านเมืองในสมัยนั้น อย่างไรก็ตามเมื่อ
!6

ไทยรับวรรณคดีเรื่องนี้เข้ามา นายชิต บุรทัต ผู้ซึ่งเป็นกวีไทย ได้ปรับ


แต่งฉาก ให้มีความเป็นไทย ตัวอย่างฉากจากวสันตดิลก ฉันท์ ๑๔
“ภาพเทพพนมวิจิตระยิ่ง นรสิงหะลำยอง
ครุฑยุตภุชงค์วิยะผยอง และเผยอขยับผัน”

บทร้อยกรองข้างต้นพรรรณนาถึงความสวยงามของภาพบนผนัง
มีการกล่าวถึงนรสิงห์และครุฑยุดนาคที่ประหนึ่งว่ากำลังขยับบินอย่าง
องอาจ

“โดยรอบมหานคระเล่ หะสิเนรุปราการ
มั่นคงอรินทระจะราญ ก็ระย่อแล้วท้อหนี”

โดยรอบมหานครมีกำแพงเมืองที่มั่นคงดั่งเขาพระสุเมรุล้อมรอบ
อยู่

“เนืองแน่นขนัดอัศวะพา หนะชาติกุญชร
ชาญศึกสมรรถะณสมร ชยะเพิกริปูภินทร์”

เมืองเนืองแน่นไปด้วยม้าศึก และช้างศึกที่ชำนาญสงคราม เผยให้


เห็นถึงความสนุกสนานในแผ่นดินอันรุ่งเรืองและงดงาม

“สามยอดตลอดระยะระยับ วะวะวับสลับพรรณ
ช่อฟ้าตระการกลจะหยัน จะเยาะยั่วทิฆัมพร”

มีการกล่าวถึง “ช่อฟ้า” ซึ่งเป็นสิ่งที่อยู่บริเวณยอดสุดของหน้าบัน


ในสถาปัตยกรรมไทย เนื่องจากช่อฟ้าเป็นนัยที่หมายถึงการบูชาพระ
รัตนตรัย และทวยเทพบนสวรรค์ เหตุนี้พญานาคจึงถูกใช้เป็นส่วนต่างๆ
ในศิลปะการก่อสร้างของไทย เนื่องจากมีความเชื่อที่ว่าเป็นสัตว์ที่
คุ้มครองพระพุทธศาสนา

“บานบัฏพระบัญชรสลัก                       ฉลุลักษณ์เฉลาลาย

เพดานก็ดารกะประกา ระกะดาษประดิษฐ์ดี”
!7

มีการกล่าวถึงหน้าต่างไทยที่ได้รับการสลักอย่างสวยงาม อีกทั้งยัง
มีดวงดาวต่างๆบนเพดานเหมือนในวัดไทย
นอกจากนี้ยังมีการบรรยายฉากถึงความวุ่นวายเมื่อแคว้นของพระ
เจ้าอชาตศัตรูเดินทางมาถึงเมือง
เวสาลี ประชาชนต่างแตกตื่นและหลบเข้าป่า มีส่วนทำให้ผู้อ่านคล้อย
ตามและสัมผัสถึงความหวาดกลัวที่แผ่กระจายไปทั่วทั้งเมือง ชาวบ้าน
ต่างพากันอพยพครอบครัวเพื่อหนีภัย ทิ้งบ้านเรือนเข้าไปหลบหนีในป่า
“ข่าวเศิกเอกอึง ทราบถึงบัดดล
ในหมู่ผู้คน ชาวเวสาลี
แทบทุกถิ่นหมด ชนบทบูรี
อกสั่นขวัญหนี หวาดกลัวทั่วไป
ตื่นตาหน้าเผือด หมดเลือดสั่นกาย
หลบลี้หนีตาย วุ่นหวั่นพรั่นใจ
ซุกครอกซอกครัว ซ่อนตัวแตกภัย
เข้าดงพงไพร ทิ้งย่านบ้านตน”

5. บทเจรจาหรือรำพึงรำพัน
“เอออุเหม่นะมึงชิช่างกระไร

ทุทาสสถุลฉะนี้ไฉน ก็มาเป็น
ศึกบ่ถึงและมึงก็ยังมิเห็น

จะน้อยจะมากจะยากจะเย็น ประการใด
อวดฉลาดและคาดแถลงเพราะใจ

ขยาดขยั้นมิทันอะไร ก็หมิ่นกู”

จากตัวอย่างข้างต้น ซึ่งเป็นฉากจากอีทิสังฉันท์ ๒๐ สามารถวิเคราะห์


ได้ว่าพระเจ้าอชาตศัตรูเป็นผู้ที่มีความเฉลียวฉลาด ท่านทรงรับฟังกล
อุบายตามคำกราบทูลของวัสสการพราหมณ์ ทรงกระทำเหมือนว่าทรง
ขัดเคืองพระราชหฤทัยได้สมจริง ทรงเกรี้ยวกราดเเละตวาดด้วยเสียงที่
น่าเกรงขาม ทำใหัคนเชื่อได้ง่าย
!8

“ต่างทรงรับสั่งว่า จะเรียกหาประชุมไย
เราใช่เป็นใหญ่ใจ ก็ขลาดกลัว บ กล้า
หาญ
ท่านใดที่เป็นใหญ่ และกล้าใครมิเปรียบ
ปาน
พอใจใคร่ในการ ประชุมชอบก็เชิญเขา
ปรึกษาหารือกัน ไฉนนั้นก็ทำเนา
จักเรียกประชุมเรา บ แลเห็นประโยชน์เลย”

บทร้อยกรองข้างต้นแสดงให้เห็นถึงการตัดพ้อ และการประชด
ประชันของเหล่ากษัตริย์ที่แตกความสามัคคีกัน ทุกพระองค์ต่างทรง
รับสั่งว่า จะเรียกประชุมเพื่ออะไรในเมื่อเราไม่ได้เป็นใหญ่ ใครคิดว่า
ตัวเองใหญ่ไม่มีใครเปรียบเทียบได้ก็จงประชุมไป ถึงตัวเราจะไปก็ไม่
เห็นว่าจะเกิดประโยชน์ใดๆ

6. แก่นเรื่อง
เเก่นหลักของเรื่องสามัคคีเภทคำฉันท์คือโทษของการเเตกความ
สามัคคีซึ่งทำให้เกิดความหายนะในหมู่คณะ
แก่นเรื่องรอง อื่นๆที่สนับสนุนเเก่นเรื่องหลักให้เด่นชัดมีหลาย
ประการ ได้เเก่

การรู้จักเลือกใช้บุคคลให้เหมาะสมกับงานจะทำให้งานสำเร็จด้วยดี
“ทิชงค์ชาติฉลาดยล คะเนกลคะนึงการ
กษัตริย์ลิจฉวีวาร                  ระวังเหือดระแวงหาย

เหมาะแก่การณ์จะเสกสรร ปวัตน์วัญจโนบาย
มล้างเหตุพิเฉทสาย            สมัครสนธิ์สโมสร”

บทประพันธ์ข้างต้นเเสดงให้เห็นว่าวัสสการพราหมณ์เป็นผู้ที่มีสติ
ปัญญาหลักเเหลมเเละสามารถคิดกลอุบายได้เเยบยล ซึ่งเเสดงให้เห็น
ว่าพระเจ้าอชาตศัตรูเลือกใช้บุคคลได้เหมาะสมกับงานทำให้สุดท้าย
เเล้วประสบผลสำเร็จ
!9

การใช้สติปัญญาเอาชนะฝ่ายศัตรูโดยไม่ต้องเสียเลือดเนื้อ
“ไป่พักต้องจะกะเกณฑ์นิกายพหลโรย
แรงเปลืองระดมโปรย ประยุทธ์
ราบคาบเสร็จ ธ เสด็จลุราชคฤหอุต
ดมเขตบุเรศดุจ ณ เดิม”

จากบทประพันธ์ข้างต้นเเสดงให้เห็นว่ากลอุบายของวัสสการพรา
หมณ์ ทำให้ฝ่ายกษัตริย์ลิจฉวีแตกความสามัคคีกัน เมื่อกองทัพของพระ
เจ้าอชาตศัตรูมาถึงก็สามารถยึดครองแคว้นได้อย่างง่ายดาย โดยไม่
ต้องเสียเลือดเสียเนื้อ

การถือความคิดของตนเป็นใหญ่และทะนงตนว่าดีกว่าผู้อื่นย่อมทำให้
เกิดความเสียหายต่อส่วนรวม
“เหี้ยมนั้นเพราะผันแผก คณะแตกและต่างม
ถือทิฐิมานสา                    หสโทษพิโรธจอง
แยกพรรคสมรรคภิน ทนสิ้นบปรองดอง
ขาดญาณพิจารณ์ตรอง            ตริมลักประจักษ์เจือ”

จากบทประพันธ์ข้างต้นเเสดงให้เห็นถึงการเเตกสามัคคี ต่างคน
ต่างยึดมั่นในความคิดของตน ซึ่งนำมาซึ่งความพินาศของบ้านเมือง

การใช้วิจารณญาณใคร่ครวญก่อนที่จะตัดสินใจทำสิ่งใดย่อมเป็นการดี
“เชื่ออรรถยุบลเอา รสเล่าก็ง่ายเหลือ
เหตุหากธมากเมือ                คติโมหเป็นมูล

จึ่งดาลประการหา ยนภาวอาดูร
เสียแดนไผทสูญ                ยศศักดิเสื่อมนาม”

บทประพันธ์ข้างต้นเเสดงให้เห็นว่าการเชื่อคนง่าย ไม่ไตร่ตรองให้
ดีก่อนจะเชื่อ หรือปฏิบัติตามคำพูดของผู้อื่น จะนำมาซึ่งความฉิบหาย
เสียเเผ่นดิน ชื่อเสียง เเละเกียรติยศ

การอ่านและพิจารณาการใช้ภาษาในวรรณคดีและวรรณกรรม
!10

1. การสรรคำ
เลือกใช้คำให้เหมาะสมกับเรื่องและฐานะของบุคคลในเรื่อง
“ราชาลิจฉวี     ไป่มีสักองค์
อันนึกจำนง เพื่อจักเสด็จไป
ต่างองค์ดำรัส เรียกนัดทำไม
ใครเป็นใหญ่ใคร กล้าหาญเห็นดี”

จากคำประพันธ์ข้างต้น มีการใช้คำราชาศัพท์ ซึ่งก็คือคำว่า


“ดำรัส”ที่แปลว่าการพูดของกษัตริย์ และคำว่า “เสด็จ”ที่หมายถึง ไป ซึ่ง
เป็นฉากที่กษัตริย์ลิจฉวีแสดงความคิดเห็นว่าเหตุใดพระองค์จึงต้องไป
รวมตัวประชุม แม้ว่าเสียงกลองนัดจะดังขึ้น ตัวอย่างนี้ชี้ให้เห็นว่าผู้แต่ง
ใช้คำราชาศัพท์ ได้อย่างถูกต้องและเหมาะสมกับฐานะและสถานภาพ
ของกษัตริย์ เนื่องจากเป็นชนชั้นที่มีคำศัพท์เฉพาะตน

เลือกใช้คำให้เหมาะสมแก่ลักษณะของคำประพันธ์
“เอออุเหม่นะมึงชิช่างกระไร
ทุทาสสถุลฉะนี้ไฉน ก็มาเป็น
ศึกบ่ถึงและมึงก็ยังมิเห็น
จะน้อยจะมากจะยากจะเย็น ประการใด
อวดฉลาดและคาดแถลงเพราะใจ
ขยาดขยั้นมิทันอะไร ก็หมิ่นกู”

จากตัวอย่างข้างต้น ซึ่งเป็นฉากจากอีทิสังฉันท์ ๒๐ สามารถวิเคราะห์


ได้ว่าพระเจ้าอชาตศัตรูทรงกระทำเหมือนว่าทรงขัดเคืองพระราชหฤทัย
ได้สมจริง ทรงเกรี้ยวกราดเเละตวาดด้วยเสียงที่น่าเกรงขาม ทำให้คน
เชื่อได้ง่าย มีการใช้คำที่กระแทกกระทั้นเหมาะสมกับบทประพันธ์ที่กำลัง
ดุเดือด

“อำพนพระมนทิรพระราช สุนิวาสน์วโรฬาร์
!11

อัพภันตรไพจิตรและพา      หิรภาคก็พึงชม


เล่ห์เลื่อนชะลอดุสิตฐา นมหาพิมานรมย์
มารังสฤษฏ์พิศนิยม            ผิจะเทียบก็เทียมทัน
สามยอดตลอดระยะระยับ      วะวะวับสลับพรรณ
ช่อฟ้าตระการกลจะหยัน       จะเยาะยั่วทิฆัมพร
บราลีพิลาศศุภจรูญ             นภศูลประภัสสร
หางหงส์ผจงพิจิตรงอน         ดุจกวักนภาลัย”

มีการใช้คำที่มีลีลานุ่มนวลในการแต่งบทชมต่างๆเพื่อพรรณนา
ภาพอันงดงาม ดังเช่น บทชมเมืองราชคฤห์ในแคว้นมคธของพระเจ้า
อชาตศัตรูข้างต้น

เลือกใช้โดยคำนึงถึงเสียง
- คำเลียนเสียงธรรมชาติ
“วัชชีภูมีผอง สดับกลองกระหึมขาน
ทุกไท้ไป่เอาภาร ณ กิจเพื่อเสด็จไป”
จากบทประพันธ์ข้างต้น มีการใช้คำเลียนเสียงธรรมชาติ ซึ่งก็คือ
เสียง “กระหึม” ตอนตีกลองเรียกประชุมเป็นคำที่ก่อให้เกิดความรู้สึก
ฮึกเหิม

- คำที่เล่นเสียงสัมผัส
ผู้ประพันธ์เลือกสรรถ้อยคำแล้วนำมาเรียงร้อยอย่างดี ทั้งนี้ทำให้เกิด
เสียงอันไพเราะเนื่องจากการเล่นเสียงสัมผัสใน อีกทั้งเสียงสัมผัส
พยัญชนะและสัมผัสสระ เช่น 

“แตกร้าวกร้าวร้ายก็ป้ายปา ลุวรบิดรลาม
ทีละน้อยตาม   ณ เหตุผล
ฟั่นเฝือเชื่อนัยดนัยตน   นฤวิเคราะหเสาะสน
สืบจะหมองมล     เพราะหมายใด”
!12

สัมผัสสระ ร้าว-กร้าว-ร้าย-ป้าย วร-ดร


ฟั่น-นัย เฝือ-เชื่อ เคราะห-เสาะ
สัมผัสพยัญชนะ
ร้าว-ร้าย ป้าย-ปา ลุ-ลาม
นัย-ดนัย เสาะ-สน
หมอง-มล
- คำที่เล่นเสียงหนักเบา
ในการแต่งกาพย์สุรางคนางค์ ๒๘ นายชิต บุรทัต ได้เพิ่มลักษณะ
บังคับ ใช้คำครุ แต่งสลับกับคำลหุ ทำให้มีเสียงสั้นยาวเป็นจังหวะคล้าย
ฉันท์ ตัวอย่างเช่น

“สะพรึบสะพรั่ง ณ หน้าและหลัง
ณ ซ้ายและขวา ละหมู่ละหมวด
ก็ตรวจก็ตรา ประมวลกะมา
สิมากประมาณ”

- คำพ้องเสียงและคำซ้ำ
“สามยอดตลอดระยับระยับ วะวะวับสลับพรรณ
ช่อฟ้าตระการกลจะหยัน จะเยาะยั่วทิฆัมพร”
มีการใช้สัมผัสพยัญชนะและสัมผัสสระรวมถึงการใช้คำซ้ำว่าระยับระยับ

2. การเรียบเรียงคำ
1. เรียงข้อความที่บรรจุสารสำคัญไว้ท้ายสุด
ผู้เขียนต้องการเน้นย้ำถึงใจความสำคัญของเรื่องที่ว่า ความหวาดระแวง
เป็นสิ่งสำคัญที่จะทำให้แผนการยึดครองแคว้นวัชชีของพระเจ้าอชาต
ศัตรูสำเร็จ จึงขึ้นต้นด้วยแผนอันชาญฉลาดของวัสสการพราหมณ์เพราะ
เป็นสิ่งที่จะส่งผลให้ความสามัคคีนั้นเหือดหายไป
“ทิชงค์ชาติฉลาดยล คะเนกลคะนึงการ
กษัตริย์ลิจฉวีวาร ระวังเหือดระแวงหาย”
!13

2. เรียงคำ วลี หรือประโยคที่มีความสำคัญเท่าๆกัน เคียงขนาน


กันไป

“ต่างทรงสำแดง ความแขงอำนาจ
สามัคคีขาด แก่งแย่งโดยมาน
ภูมิศลิจฉวี วัชชีรัฐบาล
บ่ ชุมนุมสมาน แม้แต่สักองค์”

ผู้ประพันธ์ใช้คำว่า “สำแดง” “ความแขงอำนาจ” และ “สามัคคี


ขาด” ตามลำดับ เนื่องจากทุกคำส่งผลไปในเชิงลบ และมีความหมาย
เท่ากันๆ เพราะคำว่าสำแดงหมายถึง การแสดง หรือทำให้เห็นฤทธิ์ของ
ตน เป็นการไม่ยอมกันเหมือนความแขงอำนาจ หรือถืออำนาจที่ตนเอง
เป็นใหญ่ไม่ผ่อนปรนให้กัน เหล่ากษัตริย์ต่างแสดงความเพิกเฉย
ปราศจากความสามัคคี ปรองดองในจิตใจ
3. เรียบเรียงประโยคให้เนื้อหาเข้มข้นขึ้นไปตามลำดับดุจขั้น
บันไดจนถึงขั้นสุดท้ายที่สำคัญที่สุด

“เหี้ยมนั้นเพราะผันแผก คณะแตกและต่างมา
ถือทิฐิมานสา หสโทษพิโรธจอง
แยกพรรคสมรรคภิน ทนสิ้น บ ปรองดอง
ขาดญาณพิจารณ์ตรอง ตริมหลักประจักษ์เจือ
เชื่ออรรถยุบลเอา รสเล่าก็ง่ายเหลือ
เหตุหาก ธ มากเมือ คติโมหเป็นมูล
จึ่งดาลประการหา ยนภาวอาดูร
เสียแดนไผทสูญ ยศศักดิเสื่อมนาม”

บทประพันธ์ข้างต้นเป็นส่วนขอคติธรรม ที่แสดงลำดับเหตุการณ์ที่
สำคัญ โดยเริ่มการที่กษัตริย์แต่ละองค์ยึดมั่นใจความคิดของตน ขาด
!14

ปัญญาที่จะพิจารณาไตร่ตรองและเชื่อถ้อยคำของพระโอรสอย่าง
ง่ายดาย เมื่อความโกรธเข้าควบคุม ก็นำมาซึ่งความฉิบหาย เสียทั้ง
แผ่นดิน และชื่อเสียงเกียรติยศที่เคยมีมา โดยสรุปแล้วเป็นการสรุป
เนื้อหาจากตอนต้นซึ่งเป็นต้นเหตุของความโกรธเคือง จนถึงตอนจบที่
พ่ายแพ้ให้กับกรุง ราชคฤห์

4.เรียบเรียงประโยคให้เนื้อหาเข้มข้นขึ้นไปตามลำดับแต่คลาย
ความเข้มข้นลงในช่วงหรือประโยค สุดท้ายอย่างฉับพลัน

นายชิต บุรทัต ประพันธ์โดยใช้การเรียบเรียงประโยคไปตาม


ลำดับ เพื่อให้ผู้อ่านติดตามลำดับของเหตุการณ์ และเข้าใจเนื้อเรื่องได้ดี
มากขึ้นแต่ทว่าผู้เขียนได้มีการตัดบทหรือคลายความเข้มข้นของเรื่องใน
ตอนท้ายอย่างฉับพลัน ดังที่ปรากฏในบทประพันธ์นี้ โดยตอนแรกกล่าว
ถึงการที่วัสสาการพราหมณ์นั้นน่า
ชื่มชนในด้านการทำอุบายครอบครองแคว้นวัชชีซึ่งเกิดความวุ่นวายใน
เมืองเป็นอย่างมาก หากแต่บรรทัดต่อมาได้คลายความเข้มข้นลงโดย
กล่าวถึงพระพุทธเจ้าและผลของความพร้อมเพรียงกัน

“ควรชมนิยมจัด คุรุวัสสการพราหมณ์
เป็นเอกอุบายงาม กลงำกระทำมา
พุทธาทิบัณฑิต คิดพินิจปรา
รภสรรเสริญสา ธุสมัครภาพผล
ว่าอาจจะอวยผา สุกภาวมาดล
ดีสู่ห ณ หมู่ตน บ นิราศนิรันดร
หมู่ใดผิสามัค คยพรรคสโมสร
ไปปราศนิราศรอน คุณไร้ไฉนดล”
5. เรียบเรียงถ้อยคำให้เป็นประโยคคำถามเชิงวาทศิลป์
“ลุห้องหับรโหฐาน ก็ถามการณ์ ณ ทันใด
มิลี้ลับอะไรใน กถาเช่น ธ ปุจฉา
จะถูกผิดกระไรอยู่ มนุษย์ผู้กระทำนา
และคู่โคก็จูงมา ประเทียบไถมิใช่หรือ”
!15

“อย่าติและหลู่ ครูจะเฉลย
เธอน่ะเสวย ภัตกะอะไร
ในทินนี่ ดี ฤ ไฉน
พอหฤทัย ยิ่งละกระมัง”

บทเจรจานี้เป็นบทที่วัสสการพราหมณ์ถามเหล่ากุมาร ซึ่งเป็นบท
เจรจาที่ไม่ได้ต้องการคำตอบแต่อย่างใด วัสสาการพราหมณ์ใช้ความ
สามารถทางวาทศิลป์ของตนเองในการเสนอแนวคิดของเรื่องทั่วไปให้
กับ
พระกุมารซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของอุบายดังปรากฎในตัวอย่างข้างต้น

3. การใช้โวหาร
อุปมาโวหาร
“กุมารลิจฉวีขัตติย์ ก็รับอรรถอออือ
กสิกเขากระทำคือ ประดุจคำพระอาจารย์”

จากบทร้อยกรองข้างต้นเป็นฉากที่พระกุมารลิจฉวีก็รับสั่งเห็นด้วย
ว่าชาวนาก็คงจะกระทำดังคำของพระอาจารย์ซึ่งก็คือวัสสาการ
พราหมณ์ ในที่นี้เป็นการเปรียบเทียบว่าการกระทำประดุจดังคำพระ
อาจารย์

“ขุ่นมนเคือง เรื่องนฤสาร
เช่นกะกุมาร ก่อนก็ระดม
เลิกสละแยก แตกคณะกลม
เกลียว บ นิยม คบดุจเดิม”

จากบทร้อยกรองข้างต้นพระกุมารลิจฉวีต่างระแวงใจในกันและ
กัน ต่อมาก็แตกความสามัคคีและไม่มีเป็นน้ำหนึ่งน้ำใจเดียวกันเหมือน
แต่ก่อน ในที่นี้เป็นการเปรียบเทียบว่าความสามัคคีนั้นไม่เหมือนเดิมอีก
ต่อไป

บุคคลวัต
!16

“วัชชีภูมีผอง สดับกลองกระหึมขาน
ทุกไท้ไปเอาภาร ณ กิจเพื่อเสด็จไป”

กริยา “ขาน” นั้นหมายถึง การกล่าวเรียก ซึ่งเป็นกริยาของมนุษย์


โดยบทประพันธ์ได้นำกริยานี้มาใช้กับกลองซึ่งเป็นสิ่งของ ที่ไม่มีชีวิตแต่
หากทำกริยาดังเช่นมนุษย์เพื่อสร้างจินตภาพให้เห็นว่าเสียงของกลอง
สามารถใช้เรียกหรือพูดให้ผู้ฟังได้ยินอย่างชัดเจน

สัญลักษณ์
“แม้มากผิกิ่งไม้ ผิวใครจะใคร่ลอง
มัดกำกระนั้นปอง พลหักก็เต็มทน
เหล่าไหนผิไมตรี สละลี้ ณ หมู่ตน
กิจใดจะขวายขวน บ มิพร้อมมิเพียงกัน”

โดยธรรมชาติแล้วกิ่งไม้กิ่งเดียวสามารถหักได้ง่ายด้วยมือเปล่า
หากแต่มัดรวมกันแล้ว การใช้กำลังมหาศาลก็มิอาจทำลายได้ ดั่งเช่น
ในบรรทัดที่กล่าวว่า “มัดกำกระนั้นปอง พลหักก็เต็มทน” ในที่นี้ผู้เขียน
ได้นำกิ่งไม้มาใช้เป็นสัญลักษณ์ของความสามัคคี ช่วยอธิบายให้เห็นว่า
หากมีความสามัคคีในหมู่คณะ เมื่อร่วมมือกันก็จะแข็งแกร่ง แม้แต่กำลัง
ภายนอกก็ไม่สามารถทำลายความเป็นน้ำหนึ่งน้ำใจเดียวกันนี้ลงได้

อติพจน์
“ตื่นตาหน้าเผือด หมดเลือดสั่นกาย
หลบลี้หนีตาย วุ่นหวั่นพรั่นใจ
ซุกครอกซอกครัว ซ่อนตัวแตกภัย
เข้าดงพงไพร ทิ้งย่านบ้านตน”

บทประพันธ์ข้างต้นมาจากตอนที่พระเจ้าอชาตศัตรูยกทัพมาตี
แคว้นวัชชี โดยวรรคที่กล่าวว่า “ตื่นตาหน้าเผือด หมดเลือดสั่นกาย”
หมายความว่า ชาววัชชีตื่นตกใจกับการรุกรานของพระเจ้าอชาตศัตรู
เป็นอย่างมากจนหน้าซีดเหมือนเลือดหมดตัว ซึ่งเป็นการกล่าวเกินจริง
!17

แต่หากช่วยทำให้เห็นภาพที่ชัดเจนและเข้าถึงอารมณ์ของเนื้อเรื่องมาก
ขึ้น

การอ่านและพิจารณาประโยชน์หรือคุณค่าในวรรณคดีและ
วรรณกรรม

1. คุณค่าด้านอารมณ์
“พวกราชมัลโดย พลโบยมิใช่เบา
ดหัตถแห่งเขา ขณะหวดสิพึงกลัว
บงเนื้อก็เนื้อเต้น พิศเส้นสรีร์รัว
ทั่วร่างและทั้งตัว ก็ระริกระริวไหว
แลหลังละลามโล หิตโอ้เลอะหลั่งไป
เพ่งผาดอนาถใจ ระกะร่อยเพราะรอยหวาย
เนื่องนับอเนกแนว ระยะแถวตลอดลาย
เฆี่ยนครบสยบกาย สิริพับพะกับคา”

บทประพันธ์ข้างต้นมีการใช้คำหนักเบาของฉันท์ลักษณ์ได้เข้ากันกับ
อารมณ์ ซึ่งเป็นสิ่งที่ช่วยดึงอารมณ์ของผู้อ่านให้เข้ากับสถานการณ์
เหตุการณ์ดังกล่าวเป็นตอนที่วัสสการพราหมณ์โดนสั่งโบย ทำให้เกิด
ภาพของแผ่นหลังที่โดนโบย มองเห็นเนื้อเต้นระริก เลือดไหลเปรอะไป
ทั่วจนเป็นริ้วรอยน่าอนาถใจ จึงทำให้ผู้อ่านเห็นภาพ แล้วก็เกิดความ
รู้สึกเจ็บปวดและสงสารในสิ่งที่วัสสการพราหมณ์โดนกระทำ

2. คุณค่าด้านคุณธรรม

คุณค่าทางด้านสามัคคี ซึ่งเป็นคุณค่าหลักของวรรณคดีเรื่องนี้ ไม่ว่าจะ


เป็นบ้านเมืองหรือผู้คนในสังคม หากสูญเสียคุณค่าด้านนี้ไปก็ยาก
ประสบความสำเร็จ เพราะการจะทำการใดในชีวิตนั้นไม่สามารถทำได้
ด้วยตัวคนเดียว ตัวอย่างเช่น คำประพันธ์ต่อไปนี้ ซึ่งเป็นฉากที่กองทัพ
ของพระเจ้าอชาตศัตรูเอาชนะแคว้นวัชชีได้โดยไม่ต้องเปลืองแรง และ
!18

ทำให้กษัตริย์ลิจฉวีเสียบ้านเมืองไปอย่างง่ายดาย เนื่องจากสูญเสีย
ความสามัคคีที่รักษาไว้มานาน
“ไป่พักต้องจะกะเกณฑ์นิกายพหลโรย
แรงเปลืองระดมโปรย ประยุทธ์
ราบคาบเสร็จ ธ เสด็จลุราชคฤตอุต
ดมเขตบุเรศดุจ ณ เดิม”

มีความหนักแน่ไม่เชื่อคนง่าย  เช่น กษัตริย์ถูกวัสสการพรามหณ์ใช้


อุบายยุแหย่ให้แตกความสามัคคี
ก็พ่ายแพ้ศัตรูได้โดยง่ายดาย

“ครูวัสสการแส่ กลแหย่ยุดีพอ
ปั่นป่วน บ เหลือหลอ จะมิร้าวมิรานกัน”

ความแตกสามัคคี ทำให้บ้านเมืองไม่สงบสุขเเม้ว่าจะทำกิจอันใดก็ย่อม
ไม่ประสบผลสำเร็จ เช่น ความแตกสามัคคีกันในราชวงศ์ทำให้บ้าน
เมืองไม่สงบและทำให้ข้าศึกโจมตีได้ง่าย

“เหล่าไหนผิไมตรี สละลี้ ณ หมู่ตน


กิจใดจะขวายขวน บ มิพร้อมมิเพรียงกัน
  อย่าปรารถนาหวัง สุขทั้งเจริญอัน
มวลมาอุบัติบรร ลุไฉน บ ได้มี”

หลักธรรมอปริหานิยธรรม 7 ซึ่งเป็นหลักธรรมที่ส่งผล ให้เกิดความ


เจริญของหมู่คณะ ปราศจากความเสื่อมได้ เช่น การเข้าประชุมโดย
พร้อมเพรียงกัน ทำให้ทราบข้อมูลที่เหมือนและตรงกัน และไม่ทำให้เกิด
การความเข้าใจผิดกัน

“ควรชนประชุมเช่น คณะเป็นสมาคม
สามัคคิปรารม ภนิพัทธรำพึง”
!19

บรรณานุกรม

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ.
กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย.
วรรณคดีวิจักษ์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ สกสค.
ลาดพร้าว, 2557. 169 หน้า
ห้องสมุดดิจิทัลวชิรญาณ. สามัคคีเภทคำฉันท์ [ออนไลน์]. เข้าถึงเมื่อวัน
ที่ 30 พฤษภาคม 2561. สืบค้นได้จาก
http://vajirayana.org/สามัคคีเภทคำฉันท์

You might also like