ประเภทการลงทุน PDF

You might also like

You are on page 1of 15

การลงทุนในรูปแบบต่างๆ

ในฐานะผู้บริโภคสามารถนาเงินออมของตนไปลงทุนเพื่อให้เกิดประโยชน์
ด้วยเหตุนี้จึงต้องศึกษารูปแบบต่าง ๆ ของการลงทุนและผลตอบแทนที่อาจ
ได้รับ ดังนี้
1. การฝากเงินกับธนาคาร ถือว่าเป็นการลงทุนที่มั่นคงมาก ผู้บริโภค
สามารถฝากเงินประเภทต่าง ๆ กับธนาคารพาณิชย์หรือธนาคารออมสิน
เป็นการใช้เงินออมลงทุนที่ได้รับผลตอบแทนแน่นอนและไม่เสี่ยงภัย
จานวนเงินออมจะมียอดสูงขึ้นตลอดเวลา การฝากเงินกับธนาคาร ทาได้
หลายประเภท คือ
• 1.1) ประเภทสะสมทรัพย์ แต่ละธนาคารจะเรียกชื่อบัญชีเงินฝากประเภทนี้
แตกต่างกัน เช่น สินมัธยัสถ์ สินทวี ฯลฯ เป็นการฝากเงินที่มีกําหนดและจํานวน
เงินฝาก แต่ละงวดแน่นอนโดยเมื่อครบกําหนดเวลา 5 ปี 10 ปี 20 ปี จึงจะถอน
เงินคืนพร้อมทั้งต้น และดอกเบี้ยได้ตามอัตราและยอดเงินเป้าหมายที่กําหนดไว้
• 1. 2) ประเภทออมทรัพย์ ธนาคารออมสินเรียกเงินฝากประเภทนี้ว่า ประเภท เผื่อ
เรียก สามารถฝากและถอนเงินได้ตามความต้องการ การฝากเงินประเภทนี้จะ
ได้รับดอกเบี้ยในอัตราที่กําหนด
1.3) ประเภทฝากประจํา เป็นการฝากที่กําหนดเวลาฝากและดอกเบี้ยไว้ให้ทราบ
แน่นอน โดยปกติธนาคารกําหนดไว้ 3 ระยะ คือ
• (1) ฝากประจํา 3 เดือน เป็นการฝากที่มีกําหนดระยะเวลา 3 เดือนขึ้นไปจึงจะ
ถอนคืนได้ และกําหนดวงเงินไว้ครั้งละไม่ต่ํากว่า 1,000 บาท เงินฝากประเภท
นี้มีเฉพาะธนาคารพาณิชย์เท่านั้น
(2) ฝากประจํา 6 เดือน กําหนดเวลาฝากเงินไม่ต่ํากว่า 6 เดือน
(3) ฝากประจํา 12 เดือน สําหรับผู้มีความสามารถในการออมและต้องการได้
ประโยชน์จากดอกเบี้ยในอัตราสูง เมื่อฝากครบกําหนด 12 เดือนจึงจะได้รับ
ดอกเบี้ย
• 2. การฝากเงินกับสถาบันการเงินอื่น
สถาบันการเงินที่ประกอบธุรกิจประเภทเงินทุน ได้แก่ บริษัทเงินทุน บริษัท
เครดิตฟองซิเอร์ ทรัสต์ เป็นสถาบันการเงินที่จดทะเบียนเป็นบริษัทจํากัดบริษัท
เงินทุนแตกต่างกับบริษัทเครดิตฟองซิเอร์ คือ บริษัทเงินทุนจัดหาทุนเพื่อบุคคลอื่น
ซึ่งกระทําโดยการกู้ยืมเงินจากประชาชนทั่วไป วิธีการกู้ยืมที่กฎหมายกําหนดให้
ปฏิบัติ บริษัทเงินทุนต้องออกตั๋วสัญญาใช้เงินให้แก่ผู้บริโภคที่นําเงินมาฝากเป็น
หลักฐานในการกู้ยืม ส่วนบริษัทเครดิตฟองซิเอร์เป็นสถาบันการเงินที่ดําเนินธุรกิจ
เกี่ยวกับการให้กู้ยืมเงินโดยวิธีรับจํานองอสังหาริมทรัพย์หรือรับซื้อฝาก
อสังหาริมทรัพย์ตามสัญญาขายฝาก
การฝากเงินสถาบันการเงินทั้ง 2 รูปแบบนี้ แม้ว่าผู้ฝากจะได้รับผลตอบแทนสูง
กว่าธนาคารพาณิชย์ แต่ความนิยมในการใช้บริการฝากเงินกับธนาคารยังสูงอยู่
ทั้งนี้เพราะ
• ก. บริการของบริษัทเงินทุนและบริษัทเครดิตฟองซิเอร์เริ่มมีบทบาทในตลาด
การเงินของไทยไม่นาน ประชาชนจึงไม่เชื่อมั่นในความมั่นคงของบริษัทเงินทุน
เท่าธนาคารพาณิชย์
ข. โดยวิธีปฏิบัติ ธนาคารพาณิชย์จะนําเงินฝากไปลงทุนต่อเฉพาะในกรณีที่มีความ
เสี่ยงน้อย และการให้กู้เงินของธนาคารพาณิชย์ส่วนใหญ่จะเป็นการให้กู้ระยะสั้น
และมีหลักทรัพย์ประเภทอสังหาริมทรัพย์ค้ําประกัน นอกจากนี้ธนาคารพาณิชย์ยัง
มีสาขามากสามารถรวบรวม เงินฝากได้ง่ายและจํานวนมาก แต่บริษัทเงินทุนให้
กู้ยืมแก่ธุรกิจอุตสาหกรรมระยะยาวทําให้ มีความเสี่ยงสูง ในภาวะเศรษฐกิจที่
ปรวนแปรอยู่ตลอดเวลาอาจเกิดภาวะเงินเฟ้อ ค่าของเงินลดลง และประชาชนผู้ซื้อ
ตั๋วสัญญาใช้เงินต้องการเงินคืนเพื่อนําไปลงทุนอย่างอื่นที่ให้ผลตอบแทนสูงกว่า
เช่น ซื้อที่ดิน ทองคํา ฯลฯ
• ค. บริษัทเงินทุนมักนําเงินไปลงทุนในหลักทรัพย์ประเภททุน เช่น ที่ดิน อาคาร
ร้านค้า ฯลฯ ถ้าราคาหลักทรัพย์ตกต่ําก็อาจประสบภาวะล้มเหลวต้องเลิกล้มกิจการ
ไปในที่สุด ผู้ฝากเงินก็อาจไม่ได้รับทุนคืน และบริษัทผู้ออกหลักทรัพย์ก็จะต้อง
ล้มละลายเช่นเดียวกัน
• 3. การซื้อสลากออมสินพิเศษ เป็นการออมทรัพย์ที่ดีประเภทหนึ่ง ซึ่งผู้บริโภคซื้อ
สลากอมสินพิเศษจากธนาคารออมสินเท่าใดก็ได้ ธนาคารออมสินจะออกสลาก
ออมสินพิเศษเป็นหลักฐานในการฝากเงินให้ สลากหน่วยหนึ่ง มีราคา 50 บาท
ผู้บริโภคมีโอกาส 2 ชั้น คือ ผู้ฝากมีสิทธิถูกรางวัลสลากออมสินพิเศษถึง 35 ครั้ง
ซึ่งจะมีการออกรางวัลเดือนละครั้ง และเมื่อครบกําหนด 3 ปี ผู้บริโภคจะได้รับ
เงินคืนพร้อมทั้งดอกเบี้ยตามอัตราที่กําหนดไว้
• 4. การซื้อพันธบัตรรัฐบาล ถือว่าการลงทุนออมทรัพย์ที่มั่นคงและให้ผลตอบแทน
แน่นอน มีการเสี่ยงภัยน้อยที่สุดทั้งยังไม่ต้องเสียภาษีเงินได้ พันธบัตรรัฐบาลเป็น
ตราสารที่รัฐบาลค้ําประกัน มีหลายชนิด ซึ่งกําหนดเวลาไถ่ถอนคืนให้แก่
ประชาชนที่ซื้อเพื่อการออมทรัพย์ระยะยาวและจ่ายดอกเบี้ยคืนให้ 6 เดือน ต่อครั้ง
ตลาดอายุของพันธบัตรฉบับนั้น ๆ ผู้บริโภคสามารถเรียกเงินคืนได้เมื่อต้องการ
หรือเมื่อครบกําหนด
• 5. การทําประกันชีวิต การทําประกันชีวิตช่วยให้สามารถออมทรัพย์หรือสะสม
ทรัพย์ได้ทุก ๆ ปี เป็นประจํา ช่วยให้รู้จักประหยัดเพื่อชีวิตอนาคตข้างหน้าโดยมี
กําหนดเวลาที่แน่นอนและมีระเบียบแบบแผนในการสะสมทรัพย์อย่างดียิ่ง

6. การซื้อหุ้นในตลาดหลักทรัพย์ ตลาดหลักทรัพย์คือ ตลาดซื้อขายหุ้น เป็นคํา


เฉพาะมิได้หมายถึงสถานที่ใดสถานที่หนึ่ง แต่หมายถึงกิจการธุรกิจหรือสถาบันที่
ดําเนินธุรกิจหลักทรัพย์ทําหน้าที่เป็นตัวแทนซื้อขายหลักทรัพย์ หลักทรัพย์ที่ซื้อ
ขายกัน ได้แก่ หุ้นสามัญ หุ้นบุริมสิทธิ หุ้นกู้ และพันธบัตรรัฐบาล
• 1) แหล่งซื้อขายหลักทรัพย์ การซื้อขายหลักทรัพย์ในธุรกิจหลักทรัพย์มี 2 แหล่ง
คือ
• (1) ตลาดหลักทรัพย์ที่ออกใหม่ (Primary Market) เป็นแหล่งที่มีการ
เสนอขายหลักทรัพย์ (หุ้น) ที่ออกใหม่แก่ประชาชนทั่วไป เมื่อธุรกิจและ
อุตสาหกรรมต้องการขยายทุนเพิ่มการเสนอขายหุ้นอาจทําโดยบริษัทผู้ออก
หลักทรัพย์นั้น หรือบริษัทที่ดําเนินธุรกิจหลักทรัพย์ และราคาที่เสนอขายก็อาจสูง
กว่ามูลค่าที่ตราไว้ก็ได้ เพราะกฎหมายไม่อนุญาตให้ออมทรัพย์ใหม่ในราคาต่ํากว่า
มูลค่าที่ตราไว้
• (2) ตลาดซื้อขายหลักทรัพย์ (Secondary Market) เป็นแหล่งที่มี
การติดต่อซื้อขายหลักทรัพย์ซึ่งเคยผ่านการซื้อขายในตลาดแรกมาแล้ว การซื้อ
ขายแลกเปลี่ยนหลักทรัพย์เป็นเพียงการติดต่อซื้อขายระหว่างผู้ถือหลักทรัพย์
กับบุคคลอื่นที่ต้องการหลักทรัพย์นั้น ซึ่งเป็นเพียงการโอนกรรมสิทธิ์ใน
หลักทรัพย์ให้ถูกต้องตามกฎหมายเท่านั้น
• 2) ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย การซื้อขายหลักทรัพย์เป็นการตกลงกันเอง
ระหว่างผู้ซื้อกับผู้ขาย หรือกระทําผ่านสถาบันธุรกิจหลักทรัพย์ แต่การติดต่อซื้อ
ขายกันเองก็ดีหรือซื้อขายผ่านตัวแทนก็ดี อาจก่อให้เกิดความเสียหายแก่ฝ่ายผู้ซื้อ
หรือฝ่ายผู้ขายหรือทั้งสองฝ่าย รัฐบาลจึงดําริจัดตั้งตลาดหลักทรัพย์ แห่งประเทศ
ไทยขึ้นเมื่อวันที่ 30 เมษายน พ.ศ. 2518 ปัจจุบันตั้งอยู่ที่ 62 ถ.รัชดาภิเษก
เขตคลองเตย กรุงเทพมหานคร

ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยจะเป็นแหล่งกลางให้บริษัทสมาชิกที่เป็น
ตัวแทนใน การซื้อขายหลักทรัพย์มาตกลงทําการซื้อขายหลักทรัพย์ประเภทที่
ตลาดหลักทรัพย์ได้พิจารณายินยอมให้ทําการซื้อขายกันในตลาดหลักทรัพย์ได้
การจัดตั้งตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย รัฐบาลมีความมุ่งหมายเพื่อควบคุม
สถานภาพของธุรกิจหลักทรัพย์ให้มีความมั่นคงเป็นที่เชื่อถือ ให้ทําการซื้อขาย
หลักทรัพย์เป็นไปอย่างมีระเบียบแบบแผนในราคายุติธรรม ไม่เปลี่ยนแปลง ขึ้นลง
อย่างฮวบฮาบ
• 3) วิธีซื้อขายหุ้นในตลาดหลักทรัพย์ ก่อนที่ผู้บริโภคจะเอาเงินออมไปลงทุนซื้อ
หลักทรัพย์ ควรจะศึกษาก่อนว่าผู้ซื้อหุ้นส่วนใหญ่ได้แก่บุคคลใดบ้าง
• (1) บุคคลที่ซื้อขายหุ้น ผู้ที่ซื้อขายหุ้นผ่านตัวแทนในตลาดหลักทรัพย์ แบ่งตาม
วัตถุประสงค์ของผู้ซื้อหุ้นได้ 2 ประเภท คือ

• ผู้ลงทุน จะซื้อหลักทรัพย์และถือหลักทรัพย์ไว้เป็นระยะยาวเพื่อหวังเงินปันผล
ดอกเบี้ย หรือสิทธิประโยชน์อื่น ๆ ที่พึงได้จากการเป็นเจ้าของหลักทรัพย์นั้น ๆ

• นักเก็งกําไร จะซื้อหลักทรัพย์และถือหลักทรัพย์ไว้เป็นระยะสั้น ๆ หรือเพียง


ผ่านมือเท่านั้น โดยมากจะรีบขายทันทีถ้าได้ราคาสูงกว่าราคาที่ซื้อไว้ หรือจะรีบ
ขายเมื่อเห็นว่าไม่มีทางได้รับกําไรจากการซื้อขายหลักทรัพย์ หรือให้ตนเอง
ขาดทุนน้อยที่สุด
• การซื้อหรือขายหุ้นในตลาดหลักทรัพย์ ผู้บริโภคจะต้องไปติดต่อกับบริษัทที่ทํา
หน้าที่เป็นตัวแทนในการซื้อขายหุ้น บริษัทที่ทําหน้าที่เป็นตัวแทนซื้อขายหุ้นใน
ตลาดหลักทรัพย์เรียกว่าโบรกเกอร์ (Broker) บริษัทเหล่านี้จดทะเบียนเป็น
บริษัทสมาชิกของ ตลาดหลักทรัพย์ และมีบริษัทอื่นที่ทําหน้าที่เป็นตัวแทนซื้อขาย
หุ้นเช่นเดียวกัน แต่มิได้เป็นบริษัทสมาชิกของตลาดหลักทรัพย์ เรียกว่า
• ซับโบรกเกอร์ (Sub broker) จะติดต่อให้โบรกเกอร์ ซื้อขายหุ้นให้อีกทอด
หนึ่ง
• การขายหุ้น ผู้บริโภคที่ซื้อหุ้นในตลาดหลักทรัพย์ ถ้าประสงค์จะขายหุ้นเนื่องจาก
เห็นว่าได้ราคาสูงหรือมีความจําเป็นเร่งด่วนต้องใช้เงินสดเพื่อทําประโยชน์อย่าง
อื่น ก็เสนอขายหุ้นในตลาดหลักทรัพย์ได้ การเสนอขายต้องระบุราคาขายลงไป
ตายตัว เช่น ราคาหุ้นละ 350 บาท หรือระบุราคาขายเป็นช่วงก็ได้ บริษัทก็จะไป
เสนอขายในตลาดหลักทรัพย์ตามจํานวนและราคาหุ้นที่ผู้บริโภคต้องการขาย เมื่อ
ขายได้แล้วก็แจ้งให้ทราบ ผู้บริโภคก็ต้องส่งมอบใบหุ้นให้บริษัทพร้อมกับลงนาม
ในตราสารเพื่อการโอนหุ้น หลังจากนั้นบริษัทก็จะจ่ายชําระค่าหุ้นที่ขายได้ ในการ
นี้จะต้องชําระค่าธรรมเนียมในการให้บริการในฐานะตัวแทนขายให้แก่บริษัท
สมาชิกและชําระค่าภาษีที่เรียกเก็บจากผู้ขายในอัตราที่รัฐบาลกําหนดไว้รวมกัน
เท่ากับร้อยละ 0.5 ของมูลค่าหุ้นทั้งหมดในราคาที่ขายได้

You might also like