You are on page 1of 58

การต่อต้าน

การทำ�ลายพระพุทธศาสนา
เรื่องที่ชาวพุทธทุกคนควรรู้
โดย ท่านอาจารย์โกเอ็นก้า

จัดพิมพ์โดย มูลนิธิส่งเสริมวิปัสสนากรรมฐานในพระสังฆราชูปถัมภ์
การต่อต้าน
การทำ�ลายพระพุทธศาสนา
เรื่องที่ชาวพุทธทุกคนควรรู้
โดย ท่านอาจารย์โกเอ็นก้า

จัดพิมพ์โดย มูลนิธิส่งเสริมวิปัสสนากรรมฐานในพระสังฆราชูปถัมภ์
การต่อต้านการทำ�ลายพระพุทธศาสนา
เรื่องที่ชาวพุทธทุกคนควรรู้
โดย ท่านอาจารย์โกเอ็นก้า
ISBN : ๙๗๘-๖๑๖-๙๐๓๑๗-๖-๕
มูลนิธฯิ อนุญาตให้น�ำ หนังสือนี้ (ไม่รวมภาพประกอบ) ไปใช้เผยแพร่เป็นธรรมทานในรูปแบบ
อื่นๆ ต่อไปได้ เช่น นำ�ไปอ่านบันทึกเสียง ฯลฯ ภายใต้เงื่อนไขดังนี้
1. อ้างอิงแหล่งที่มา ได้แก่ ชื่อผู้เขียนและชื่อหนังสือ
2. ห้ามนำ�ข้อความจากหนังสือนี้ไปใช้เพื่อการค้า หรือเพื่อผลประโยชน์ตอบแทนด้วยการเผย
แพร่ทุกรูปแบบ
3. ห้ามเพิ่มเติม ตัดทอน ดัดแปลง หรือแก้ ไขข้อความจากต้นฉบับ
ทั้งนี้ขอให้แจ้งความประสงค์แก่มูลนิธิฯ ก่อนดำ�เนินการใดๆ เนื่องจากหนังสือส่วนใหญ่มี
ลิขสิทธิ์ของต่างประเทศ

จัดพิมพ์โดย
มูลนิธิส่งเสริมวิปัสสนากรรมฐานในพระสังฆราชูปถัมภ์
๔๒/๖๖๐ หมู่บ้านเค.ซี.การ์เด้นโฮม ถ.นิมิตใหม่
เขตคลองสามวา กทม. ๑๐๕๑๐
โทร. ๐-๒๙๙๓-๒๗๑๑ (ในเวลาราชการ)
อีเมล : dhamma.th@gmail.com
เว็บไซต์ : www.thai.dhamma.org
การต่อต้าน
การทำ�ลายพระพุทธศาสนา
สารบัญ
บันทึกของผู้เรียบเรียง
สัมพันธไมตรีกับประเทศเพื่อนบ้าน 1
- การประกาศว่าพระพุทธเจ้าเป็นอวตารของพระวิษณุ 2
- การประกาศว่าประเพณีพระเวทเป็นต้นกำ�เนิดของ 6
คำ�สอนของพระพุทธเจ้า
- เราจำ�เป็นต้องเข้ากับชาวอินเดียที่นับถือศาสนาพุทธให้ได้ 12
ข้อความบางตอนจากคัมภีร์ปุราณะต่างๆ ที่อ้างว่า 17
พระพุทธเจ้าคือพระวิษณุอวตารลงมา
- ข้อความอื่นๆ ที่อ้างว่าพระพุทธเจ้าเป็นอวตารของพระวิษณุ 22
แถลงการณ์ร่วมของศังกราจารย์กับท่านอ.โกเอ็นก้า 27
สัมพันธไมตรีระหว่างชาวฮินดูและชาวพุทธ 29
ความปรารถนาดีอันเกื้อการุณย์ 33
- ความกรุณา 33
- การส่งเสริมสัมพันธภาพกับหมู่เพื่อนบ้านที่นับถือศาสนาพุทธ 37
- การสนทนากับท่านศังกราจารย์ 43
บันทึกของผู้เรียบเรียง
เมื่อปลายปี พ.ศ. ๒๕๓๘ ได้มีเหตุการณ์สำ�คัญทางด้านพระ
พุทธศาสนาเกิดขึ้นในประเทศไทย เมื่อพุทธบริษัทชาวไทยได้ร่วม
แรงร่วมใจกันต่อต้านการจัดประชุม World Buddhist Conference ที่
กำ�หนดจะจัดขึ้นที่ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทยในระหว่างวันที่
๕-๗ กุมภาพันธ์ ๒๕๓๙ ในหัวข้อเรื่อง “ศาสนาพุทธและศาสนา
ฮินดู” โดยมูลนิธิ World Buddhist Cultural Foundation ซึ่งเป็นมูลนิธิ
ทีต่ ั้งอยู่ในประเทศอินเดีย มี ดร. บี.เค. โมดิ เป็นประธานบริหาร เป็น
ผูจ้ ดั ร่วมกับสมาคม Vishnu Hindu Parishad ความมุ่งหมายของการ
ประชุมตามทีอ่ า้ งไว้คอื “เพือ่ กระชับความสัมพันธ์ฉนั ท์พนี่ อ้ งระหว่าง
ชาวเอเชียทีม่ พี นื้ ฐานในเรือ่ งความเลือ่ มใสทางศาสนา ต้นกำ�เนิด และ
ประเพณีสืบทอดร่วมกัน” ความมุ่งหมายอื่นนอกจากนี้ก็เพื่อวิจัย
ความคล้ายคลึงกันของทัศนคติทางปัญญาและสังคมของพระพุทธ
ศาสนาและศาสนาฮินดู
เหตุใดพุทธบริษัทชาวไทยจึงต่อต้านการประชุมนี้ ? ก็เพราะ
มีเหตุที่เชื่อได้ว่าการประชุมครั้งนี้มีเบื้องหลังที่ไม่สุจริต ผู้จัดการ
ประชุมมีความมุง่ หมายทีจ่ ะทำ�ลายพระพุทธศาสนา ประธานบริหาร
ของ World Buddhist Cultural Foundation หรือมูลนิธิวัฒนธรรมพุทธ
ศาสนาแห่งโลก คือนาย บี.เค. โมดินนั้ เป็นนักธุรกิจใหญ่เจ้าของกลุม่
อุตสาหกรรมชั้นนำ�หนึ่งในห้าอันดับแรกของอินเดีย นับถือศาสนา
ฮินดู มีความรู้ลึกซึ้งในประเพณีพระเวท และได้เขียนหนังสือชื่อ
Hinduism, the Universal Truth ออกเผยแพร่ โดยอธิบายเรื่องราว
ความเชือ่ ในศาสนาฮินดูเปรียบเทียบกับทฤษฎีทางวิทยาศาสตร์ เพือ่
เป็นการแสดงความยิ่งใหญ่ของศาสนาฮินดู และได้นำ�ออกเสนอใน
การประชุมระดับโลก “World Vision 2000” ที่กรุงวอชิงตัน ดี. ซี.
ความสำ�คัญของหนังสือเล่มนีอ้ ยูท่ คี่ �ำ อธิบายเรือ่ งอวตารทัง้ ๑๐ ปาง
ของพระวิษณุหรือพระนารายณ์ โดยเน้นเรือ่ งพระพุทธเจ้าเป็นอวตาร
ปางที่ ๙ ของพระวิษณุ และระบุไว้ด้วยว่าพระพุทธเจ้า คือส่วนหนึ่ง
ของศาสนาฮินดู เป็นชาวฮินดูตั้งแต่วันประสูติจนปรินิพพาน และ
พระธรรมคำ�สอนของพระองค์ล้วนมีที่มาจากคัมภีร์พระเวทต่างๆ
ของฮินดู
นอกจากนี้ สมาคม Vishnu Hindu Parishad (VSP) ซึ่งร่วม
จัดการประชุม ก็ยังเป็นที่รู้จักกันดีว่าเป็นองค์กรของชาวฮินดูหัว
รุนแรงทีก่ อ่ เหตุจลาจลเผาสุเหร่าบาบรี (Babri Masjid) ของชาวมุสลิม
ที่เมืองอโยธยา รัฐอุตตรประเทศ เมื่อเดือนธันวาคม ๒๕๓๕ จนเกิด
เป็นการต่อสู้ระหว่างศาสนา ผู้คนล้มตายเป็นจำ�นวนมาก เป็นเหตุ
ให้ถูกทางรัฐบาลอินเดียถอนใบอนุญาต
การมาจัดการประชุมในไทยครั้งนี้เป็นการจัดครั้งที่ ๒ หลัง
จากได้เคยจัดในหัวข้อเดียวกันนีม้ าแล้วครัง้ หนึง่ ทีส่ ารนาถ พาราณสี
ในประเทศอินเดีย เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๓๗ โดยมีผู้เข้าร่วมประชุมส่วน
ใหญ่เป็นชาวฮินดูและผู้นำ�ชาวฮินดู มติของที่ประชุมในครั้งนั้นมี
ลักษณะที่เห็นได้ชัดว่า มีเจตนาที่จะแสดงว่าพระพุทธศาสนาเป็น
สาขาของศาสนาฮินดู โดยบิดเบือนหลักการสำ�คัญๆ ในพระพุทธ
ศาสนาให้ ส อดคล้ อ งกั บ ศาสนาฮิ น ดู เช่ น มี ม ติ ว่ า หลั ก กรรมใน
พระพุทธศาสนามีรากฐานมาจากคัมภีรพ์ ระเวท วิญญาณหรือความ
รูแ้ จ้งอารมณ์ในพระพุทธศาสนาคืออาตมันของศาสนาฮินดู โมกษะ
ของฮินดูคือนิพพาน ปรมาตมันคือสุญญตา เป็นต้น และยังมีมติ
ยืนยันด้วยว่าพระพุทธเจ้าคืออวตารของพระวิษณุ (พระนารายณ์)
เช่นเดียวกับการประชุมที่สารนาถ การประชุมที่จะจัดขึ้นใน
ประเทศไทยในครั้งนั้น มีบรรดาผู้นำ�และนักบวชฮินดูเตรียมเดินทาง
มาร่วมประชุมเป็นจำ�นวนมาก และได้ก�ำ หนดพิธกี ารไว้อย่างใหญ่โต
โดยเริ่ ม ตั้ ง แต่ เ ดื อ นพฤศจิ ก ายน ๒๕๓๘ ศั ง กราจารย์ สวามี
ทิพยนันท์ ธีรัฐ แห่งภันปุระ ปีฐ จะออกเดินเท้าแสวงบุญที่เรียกว่า
“บทยาตรา” จากอินเดียมาไทย โดยผ่านทางประเทศพม่า เพื่อมา
เข้าร่วมประชุม เป็นที่น่าสังเกตว่าไม่มีองค์กรพุทธศาสนาในอินเดีย
องค์กรใดให้ความร่วมมือหรือเข้ามาเกี่ยวข้องด้วยเลย
อย่างไรก็ดี ประเทศพม่าได้ปฏิเสธทีจ่ ะอนุญาตให้ศงั กราจารย์
เดินเท้าผ่านเข้าประเทศเพือ่ มายังประเทศไทย แม้ผู้จดั ประชุมจะได้
วิง่ เต้นเพือ่ ให้รฐั บาลพม่ายอมให้ผา่ น โดยอ้างว่าศังกราจารย์ตอ้ งการ
ขอโทษชาวพุทธแทนศังกราจารย์คนแรก ที่ได้พยายามทำ�ลายล้าง
พระพุทธศาสนาและอ้างเอาศาสนาพุทธไปเป็นส่วนหนึ่งของศาสนา
ฮินดูเมือ่ พันกว่าปีมาแล้ว รวมทัง้ จะประกาศว่าพระพุทธเจ้ามิใช่เป็น
อวตารปางหนึง่ ของพระนารายณ์ และพระพุทธศาสนาก็ไม่ใช่เป็นส่วน
หนึ่งของศาสนาฮินดูด้วย แต่ทั้งนี้ได้มีผู้ตั้งข้อสังเกตว่าทางผู้จัดการ
ประชุมมิได้แจ้งข้อเสนอเหล่านี้เป็นลายลักษณ์อักษรแต่อย่างใด
การที่พุทธบริษัทชาวไทยได้ร่วมแรงร่วมใจกันต่อต้านการ
จัดการประชุมอย่างจริงจังในครัง้ นัน้ ทำ�ให้การจัดการประชุมจำ�ต้อง
ล้มเลิกไป แต่ผู้จัดการประชุมก็หาได้ยอมแพ้ง่ายๆ ไม่ ยังพยายาม
ที่จะรื้อฟื้นจัดการประชุมขึ้นใหม่อีก คราวนี้ได้ไปจัดที่สิทธัตถะนคร
(Siddhartha Nagar) ใกล้ๆ กับลุมพินี สถานทีป่ ระสูตขิ องพระผูม้ พี ระ
ภาคเจ้าในประเทศเนปาล ในระหว่างวันที่ ๑๙-๒๑ พฤศจิกายน
๒๕๔๒ โดยได้พยายามที่จะเชื้อเชิญองค์กรพุทธศาสนาจากที่ต่างๆ
ให้ไปร่วมประชุมด้วยเช่นเคย แต่ก็ไม่มีองค์กรชาวพุทธที่แท้จริง
ให้ความร่วมมือ นอกจากองค์กรพุทธอุปโลกน์
ท่านอาจารย์ สัตยา นารยัน โกเอ็นก้า วิปัสสนาจารย์ผู้มีชื่อ
เสียงของอินเดีย ก็เป็นผู้หนึ่งที่นาย บี.เค. โมดิพยายามทุกวิถีทางที่
จะเชือ้ เชิญให้ไปร่วมการประชุมมาโดยตลอด นับตัง้ แต่การจัดประชุม
ครั้งแรกที่สารนาถ เมืองพาราณสี ท่านอาจารย์โกเอ็นก้าผู้นี้เป็น
ชาวอินเดียที่ถือกำ�เนิดในประเทศพม่า และได้มีโอกาสฝึกปฏิบัติ
วิปัสสนากรรมฐานกับท่านอาจารย์อูบาขิ่น วิปัสสนาจารย์ชาวพม่า
จนเกิดศรัทธาแรงกล้าในพระธรรมคำ�สอนของพระพุทธองค์ จึงได้
บากบัน่ ศึกษาทัง้ ด้านปริยตั แิ ละปฏิบตั จิ นแตกฉานลึกซึง้ ถึงกับท่าน
อาจารย์อูบาขิ่นได้แต่งตั้งให้ท่านเป็นอาจารย์สอนวิปัสสนา โดยมุ่ง
หวังที่จะให้ท่านเป็นผู้นำ�พระพุทธศาสนากลับไปลงหลักปักฐานใน
ประเทศอิ น เดียอีก ครั้งหนึ่ง ซึ่งท่านก็ไ ด้ปฏิ บัติ ตามปณิ ธานของ
อาจารย์ของท่าน ด้วยการเผยแผ่การปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานใน
ประเทศอินเดีย จนทำ�ให้พระพุทธศาสนากลับเป็นที่รู้จักอย่างแพร่
หลายขึ้นในปัจจุบนั ผู้ปฏิบตั ิชาวอินเดีย โดยเฉพาะพวกทีไ่ ด้รบั การ
ศึกษาสมัยใหม่ ได้พบว่าพระพุทธศาสนามีค�ำ สอนอันมีเหตุผลพิสจู น์
ได้ และให้ผลทันทีโดยมิพักต้องรอไปถึงชาติหน้า ด้วยผลของการ
ปฏิบัติที่ผู้ปฏิบัติได้รับโดยลำ�ดับ ทำ�ให้สามารถชำ�ระจิตให้บริสุทธิ์
สะอาดและได้พบกับสันติสุขที่แท้จริง ต่างก็พากันบอกต่อๆ กันไป
การปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานจึงแพร่หลายไปพร้อมๆ กับความรู้
ความเข้าใจในพระธรรมคำ�สอนของพระพุทธเจ้า
ด้วยเหตุดังกล่าว กลุ่มผู้นำ�ชาวฮินดูที่เป็นตัวตั้งตัวตีในการ
จัดการประชุม จึงพยายามทุกวิถที างทีจ่ ะให้ทา่ นรับคำ�เชิญ ยอมเข้า
ร่วมการประชุม เพือ่ ผลในการโฆษณาชวนเชือ่ ว่า พวกตนได้รบั ความ
สนับสนุนและการยอมรับจากฝ่ายชาวพุทธ แต่ทุกครั้งที่ได้รับการ
เชื้อเชิญ ท่านอาจารย์โกเอ็นก้าจะปฏิเสธที่จะเข้าไปเกี่ยวข้อง ด้วย
แลเห็นความไม่จริงใจของกลุ่มชาวฮินดูเหล่านั้น ซึ่งท่านก็มิได้ลังเล
ทีจ่ ะแจ้งให้กลุ่มฮินดูทราบอย่างตรงไปตรงมา พร้อมกับเรียกร้องให้
แก้ไขความเข้าใจทีผ่ ดิ พลาดและยุตกิ ารดำ�เนินการทีไ่ ม่สจุ ริตเสีย แต่
ก็ไม่ได้รับการนำ�พา
จวบจนเมื่อการประชุมครั้งที่ ๒ ประสบกับความล้มเหลวใน
ประเทศไทย กลุ่มฮินดูเหล่านี้จึงเตรียมการจัดประชุมอีกครั้งหนึ่งที่
ลุมพินี ผู้จัดการประชุมได้พยายามอีกครั้งหนึ่งที่จะเชิญท่านให้เข้า
ร่วมการประชุมด้วย ท่านเห็นเป็นโอกาสอันดีที่จะได้ประกาศความ
จริงให้ชาวโลกได้รบั รู้ พร้อมๆ กับดึงประชาชนให้หนั กลับมามีความ
เข้าใจในแก่นแท้ของพระพุทธศาสนาอย่างถูกต้อง ท่านจึงส่งสารไป
ชี้แจงให้ผู้จัดการประชุมเข้าใจว่า เจตนาที่ไม่สุจริตและท่าทีของผู้นำ�
ชาวฮินดูทมี่ งุ่ หมายจะครอบงำ�ชาวพุทธ และการบิดเบือนข้อเท็จจริง
เพื่อหวังกลืนพระพุทธศาสนาในประเทศเพื่อนบ้านนั้นเอง ที่ทำ�ให้
เกิดปฏิกริ ยิ าต่อต้าน และเป็นเหตุให้การประชุมล้มเหลว นอกจากนี้
ท่านยังได้เรียกร้องให้ผู้นำ�สูงสุดของศาสนาฮินดู คือศังกราจารย์ยุค
ปัจจุบันออกมาประกาศยอมรับความผิดพลาดในอดีต ที่ได้มีการ
เจาะจงโจมตีทำ�ลายล้างพระพุทธศาสนา และโฆษณาชวนเชื่อว่า
พระพุทธเจ้าคืออวตารปางหนึ่งของพระวิษณุและสอนธรรมเพื่อให้
คนหลงผิด
ในที่สุดศังกราจารย์แห่งสำ�นักกาญจี กัมมโกฏิ ปีฐ ซึ่งเป็น
หนึง่ ในตำ�แหน่งศังกราจารย์ทงั้ หมดสีต่ �ำ แหน่ง ได้มาพบท่านอาจารย์
โกเอ็นก้า เมื่อวันที่ ๑๑ พฤศจิกายน ๒๕๔๒ ณ สำ�นักงานมหาโพธิ
สมาคมที่สารนาถ การพบปะครั้งประวัติศาสตร์นี้ใช้เวลา ๒ ชั่วโมง
เต็ม (๑๓.๐๐น.-๑๕.๐๐น.) และได้ออกแถลงการณ์ร่วมกันในวันนั้น
โดยศังกราจารย์ผู้นี้ยอมรับว่า การกล่าวร้ายป้ายสีพระพุทธเจ้าใน
คัมภีร์ฮินดูต่างๆ นั้นเป็นความไม่ถูกต้อง และไม่ควรที่จะเผยแพร่อีก
ต่อไป รวมทัง้ ได้ยอมรับว่าการแบ่งระบบชัน้ วรรณะตามลัทธิฮนิ ดูนน้ั
เป็นความไม่ถูกต้องอีกเช่นกัน
ท่านอาจารย์โกเอ็นก้าได้กล่าวว่า ท่านมิได้ต้องการทีจ่ ะก่อให้
เกิดความขัดแย้งในหมู่ชาวฮินดูกับชาวพุทธแต่อย่างใด ท่านเพียง
ต้ อ งการที่ จ ะให้ ทั้ ง สองฝ่ า ยได้ เ ข้ า ใจว่ า การโฆษณาชวนเชื่ อ ว่ า
พระพุทธเจ้าคือพระนารายณ์อวตารมานัน้ เป็นเรือ่ งทีไ่ ม่ถกู ต้อง และ
การที่ชาวฮินดูส่วนใหญ่กล่าวเช่นนั้น ก็เนื่องจากความรู้เท่าไม่ถึง
การณ์ หาได้เกิดจากเจตนาร้ายแต่อย่างใดไม่ หากคนเหล่านั้นได้
รับคำ�อธิบายทีถ่ กู ต้องด้วยท่าทีทเี่ มตตามีความหวังดีตอ่ กัน และด้วย
ความอดกลั้นไม่ไปชวนทะเลาะแล้ว ชาวฮินดูเหล่านั้นก็จะยอมรับ
ความจริงได้ ท่านยังได้กล่าวอีกว่า เป็นเรื่องน่ายินดีที่ผู้นำ�สำ�คัญๆ
ชาวฮินดูได้มที า่ ทีทโี่ อนอ่อนในการแสวงหาไมตรีกบั ชาวพุทธ ซึง่ ท่าน
หวังว่าทั้งสองฝ่ายจะมีความสัมพันธ์ที่ดีต่อกันสืบต่อไป แม้ท่านจะ
รูด้ วี า่ การลบล้างความเข้าใจผิดๆ ของชาวฮินดูทมี่ ตี อ่ พระบรมศาสดา
จะเป็นเรื่องที่ยากลำ�บาก และยังจะต้องใช้เวลาอีกยาวนานมาก
ก็ตาม แต่อย่างน้อยที่สุดท่านก็เชื่อว่า ความพยายามครั้งนี้บังเกิด
ผลที่ดี
หนังสือเล่มน้อยนีจ้ งึ เป็นเอกสารทีม่ คี ณุ ค่าทางประวัตศิ าสตร์
พระพุทธศาสนาทีส่ �ำ คัญยิง่ ฉบับหนึง่ เพราะเป็นบันทึกความพยายาม
ในการทีจ่ ะแก้ค�ำ สอนทีบ่ ดิ เบือนในคัมภีรฮ์ นิ ดู อันเป็นเหตุให้พระพุทธ
ศาสนาต้องล่มสลายไปจากประเทศอินเดีย และทำ�ให้เกิดความเชือ่
อย่างผิดๆ ในหมู่ชาวอินเดียมาเป็นเวลาร่วมพันปี
ผู้เรียบเรียงขอขอบคุณมูลนิธิส่งเสริมวิปัสสนากรรมฐานใน
พระสังฆราชูปถัมภ์ ที่เล็งเห็นความสำ�คัญของบันทึกเหตุการณ์นี้
และได้จัดพิมพ์ขึ้นเป็นรูปเล่มเพื่อให้เป็นหลักฐานทางประวัติศาสตร์
พระพุทธศาสนาต่อไป
การเรียบเรียงหนังสือนีไ้ ด้รบั ความช่วยเหลือร่วมมือจากหลาย
ท่าน คุณกนกวรรณ สุวรรณเศรษฐ์ และคุณสุธริ า แสงเจริญตระกูล
ได้ทำ�หน้าที่แปลเอกสารเบื้องต้นให้ ซึ่งทำ�ให้งานของผู้เรียบเรียง
สะดวกขึน้ มาก ดร.จิรพัฒน์ ประพันธ์วทิ ยาแห่งศูนย์สนั สกฤตศึกษา
มหาวิทยาลัยศิลปากร ได้กรุณาสละเวลาอันมีค่าของท่านช่วยแปล
ข้อความภาษาสันสกฤตจากคัมภีร์ปุราณะต่างๆ ที่ท่านอาจารย์
โกเอ็นก้าหยิบยกขึน้ มาอ้างอิง ซึง่ จะทำ�ให้ชาวพุทธไทยทีไ่ ม่ทราบเรือ่ ง
ชัดเจนได้เข้าใจถึงเจตนาที่แท้จริงของผู้เขียนคัมภีร์ ไม่ใช่ได้ยินว่า
ฮินดูนับถือพระพุทธเจ้าว่าเป็นพระนารายณ์อวตารปางหนึ่ง ก็เข้าใจ
เอาว่าเขายกย่องพระพุทธเจ้าให้เป็นเทพเจ้าของเขา นอกจากนี้
ผู้เรียบเรียงยังได้รับความเมตตาจากพระกันตสีโลแห่งวัดบวรนิเวศ
วิหาร ช่วยอ่านต้นฉบับทั้งหมด ทั้งพากย์ภาษาไทยและอังกฤษ และ
ให้คำ�แนะนำ�ที่มีค่าเพื่อให้หนังสือเล่มนี้มีความสมบูรณ์ยิ่งขึ้น
ผู้เรียบเรียงขอขอบคุณและกราบขอบพระคุณท่านที่ได้กล่าว
ข้างต้น ซึง่ มีสว่ นสำ�คัญทำ�ให้หนังสือสำ�เร็จลงได้ หวังว่าท่านผูส้ นใจ
ศึกษาประวัติศาสตร์พระพุทธศาสนาจะได้รับประโยชน์จากหนังสือ
เล่มนี้ตามสมควร

สุทธี ชโยดม ผู้เรียบเรียง


๒๐ พฤษภาคม ๒๕๔๓
สารที่ท่านอาจารย์โกเอ็นก้ามีไปถึงคณะผู้จัดการประชุม
ในโอกาสที่ได้รับเชิญให้ไปร่วมการประชุมฮินดู-พุทธสัมพันธ์
ซึ่งจัดขึ้น ณ สิทธัตถะนคร ลุมพินี ประเทศเนปาล
๑๙-๒๑ พฤศจิกายน ๒๕๔๒

สัมพันธไมตรีกับประเทศเพื่อนบ้าน
ข้าพเจ้ามีความยินดีในเจตนารมณ์ของดร.บี.เค. โมดิ ทีจ่ ะฟืน้ ฟู
สัมพันธไมตรีกบั ประเทศเพือ่ นบ้านของเรา เพราะเป็นประเด็นทีต่ รง
กับใจของข้าพเจ้ามาก ข้าพเจ้าเองก็ได้พยายามท�ำในสิ่งเดียวกันนี้
เท่าที่จะท�ำได้เป็นเวลาหลายปีมาแล้ว อย่างไรก็ตาม แม้ว่าความ
ตั้งใจนั้นจะดีมาก แต่ถ้าวิธีด�ำเนินการไม่ถูกต้อง ก็กลับจะท�ำให้
สัมพันธไมตรีเสื่อมทรามลงไป แทนที่จะดีขึ้น เราจึงต้องระมัดระวัง
ให้มาก ประชาชนในประเทศเพือ่ นบ้านของเรานัน้ เป็นธรรมดาทีจ่ ะ
ต้องมีความผูกพันอย่างลึกซึ้ง มีความรัก ความนับถือและความ
ภาคภูมใิ จในประเทศและศาสนาของตน การสร้างสัมพันธไมตรีกบั
ประเทศเพื่อนบ้านจึงเป็นเรื่องละเอียดอ่อน ซึ่งจะต้ องใช้ ค วาม
ระมัดระวังมาก เมื่อใดการกระท�ำของเราก่อให้เกิดความสงสัยขึ้น
ในใจของเรา เช่น สงสัยว่าเราก�ำลังพยายามพิสูจน์ว่า เราเหนือกว่า
และยิง่ ใหญ่กว่าเขา หรือว่าเขาต�ำ่ ต้อยกว่าเรา และเราก�ำลังพยายาม
ที่จะครอบง�ำเขา ไม่ว่าจะเป็นความพยายามที่จะครอบง�ำทางด้าน
2 m การต่อต้านการทำ�ลายพระพุทธศาสนา

การเมือง วัฒนธรรม หรือศาสนาก็ตาม ปฏิกิริยาตอบโต้อย่างเป็น


ศัตรูจะต้องเกิดขึ้นเป็นธรรมดา แม้ว่าอินเดียจะเป็นประเทศที่ใหญ่
โตทั้งในด้านเนื้อที่และจ�ำนวนประชากร แต่อินเดียก็ควรจะเล็งเห็น
ประโยชน์พอทีจ่ ะลดละอหังการของตน และปฏิบตั ติ ่อประเทศเพือ่ น
บ้านทั้งหลายด้วยไมตรีจิตอย่างผู้ที่เท่าเทียมกัน ประเทศอินเดียไม่
ควรจะกระท�ำการใดๆ ที่ท�ำให้ประเทศเพื่อนบ้านรู้สึกต�่ำต้อย ด้วย
การแสดงตนว่าเหนือกว่า หากทัศนคติของการประชุมฮินดู-พุทธ
สัมพันธ์นไี้ ม่เปลีย่ นแปลง ก็เป็นการยากทีจ่ ะกระชับสัมพันธไมตรีกบั
ประเทศเหล่านี้ได้ ข้าพเจ้าได้ใช้ชีวิตของข้าพเจ้ากว่าครึ่งชีวิตใน
ประเทศพม่าและในประเทศใกล้เคียงอื่นๆ ข้าพเจ้าจึงเข้าใจความ
รู้สึกนึกคิดของคนในประเทศเหล่านี้ดี

การประกาศว่าพระพุทธเจ้า
เป็นอวตารของพระวิษณุ
เราควรที่จะศึกษาให้เข้าใจว่าข้อความดังต่อไปนี้ คือเหตุที่
ทำ�ให้เกิดปฏิกิริยาต่อต้านอย่างรุนแรง
๑. พระพุทธเจ้าคือพระวิษณุอวตารลงมา ซึ่งพระวิษณุนั้นได้
อวตารมายังโลกนี้ครั้งแล้วครั้งเล่า และหลังจากที่อวตารมาเป็น
พระพุทธเจ้าแล้ว พระวิษณุก็จะอวตารลงมาอีก มิใช่จะเป็นเพียง
กัลกีในชาติต่อไปเท่านั้น แต่ยังจะอวตารลงมาอีกทุกครั้งที่คำ�สอน
การต่อต้านการทำ�ลายพระพุทธศาสนา m 3

ของศาสนาฮินดูตกอยูใ่ นอันตราย ทัง้ นี้ ด้วยจุดประสงค์ทจ่ี ะสถาปนา


ศาสนาฮินดูขึ้นมาใหม่ เรื่องเช่นนี้จะให้ผู้คนในประเทศเพื่อนบ้าน
ยอมรับได้อย่างไร ในเมื่อพระพุทธเจ้าผู้ตรัสรู้ชอบด้วยพระองค์เอง
เป็นผู้ที่ได้บำ�เพ็ญพระบารมีอย่างอเนกอนันต์จนนับชาติไม่ถ้วน เพื่อ
ความหลุดพ้นจากสังสารวัฏฏ์ พระโพธิสัตว์สิทธัตถะ โคตมะทรง
เป็นพระโอรสของพระเจ้าสุทโธทนะ และเมือ่ เติบใหญ่กไ็ ด้เสด็จออก
แสวงหาสัจธรรม พระองค์ได้ทรงบำ�เพ็ญเพียรอย่างยิ่งยวด เพื่อที่
จะนำ�เอาวิธีการปฏิบัติวิปัสสนาซึ่งสูญสิ้นไปแล้ว ให้กลับคืนมาสู่
ประเทศอินเดียอีกครั้งหนึ่ง และเมื่อทรงค้นพบแล้ว ก็ได้ทรงใช้วิธี
การปฏิบัตินี้ในการขจัดการปรุงแต่งตลอดจนกิเลสทั้งมวล จนได้
บรรลุธรรมและหลุดพ้นจากวังวนแห่งชาติภพ หลังจากที่ได้ทรง
บรรลุพระสัมมาสัมโพธิญาณ ก็ทรงเปล่งพระวาจาด้วยความโสมนัส
ยินดีว่า “อยํ อนฺติมา ชาติ ”- ชาตินี้เป็นชาติสุดท้ายของเรา “นตฺถิ
ทานิ ปุนพฺภโวติ ” – เราจะไม่เกิดอีกแล้ว เช่นนี้แล้วเหล่าพุทธ-
ศาสนิกชนจะทนฟังคำ�บิดเบือนที่ว่า พระพุทธเจ้าจะกลับมาเกิดอีก
ได้อย่างไร ? ความเชื่อในเรื่องการหลุดพ้นจากการเวียนว่ายตาย
เกิด จะอยูร่ ว่ มกับความคิดทีว่ า่ มีการเกิดแล้วเกิดอีกได้อย่างไร ? ไม่
ว่าจุดมุ่งหมายของการเกิดใหม่จะประเสริฐเลิศเลอสักเพียงใดก็ตาม
การเกิดใหม่กค็ อื การเกิดใหม่ ฉะนัน้ เราจึงต้องมีความเข้าใจว่า เรา
กำ�ลังกรีดแผลฉกรรจ์อันสุดจะทนได้ลงในหัวใจเพื่อนบ้านของเรา
เมือ่ เรากล่าวว่า พระพุทธเจ้าคือพระวิษณุอวตารลงมา คำ�พูดเช่นนี้
แปลความหมายได้วา่ พระพุทธวจนะนัน้ เป็นเท็จ และคำ�สัง่ สอนของ
4 m การต่อต้านการทำ�ลายพระพุทธศาสนา

พระองค์ ซึง่ สามารถช่วยให้ผปู้ ฏิบตั หิ ลุดพ้นจากสังสารวัฏฏ์ได้ ก็เป็น


เท็จด้วย แท้จริงนั้นคำ�สอนของพระพุทธเจ้าเป็นที่ยอมรับของคน
เป็นจำ�นวนนับพันล้านตัง้ แต่ครัง้ ทีย่ งั ดำ�รงพระชนม์อยู่ และการเปล่ง
วาจาด้วยความเบิกบานของบรรดาพระสาวกเป็นพันๆ รูป ผู้ซึ่งได้
บรรลุความหลุดพ้นด้วยการปฏิบตั ติ ามคำ�สอนของพระองค์ ก็ยงั คง
ปรากฏอยู่ในคัมภีร์พระบาลี อันเป็นสมบัติทางจิตวิญญาณอันหาค่า
มิได้ที่ได้ตกทอดมาตราบเท่าทุกวันนี้
๒. ที่ เ จ็ บ ปวดและเลวร้ า ยยิ่ ง ไปกว่ า นั้ น ก็ คื อ การอ้ า งว่ า
พระพุทธเจ้าหาได้อวตารมาจากคุณสมบัติในภาคที่ดีงามของพระ
วิษณุไม่ แต่เป็นการประมวลเอาภาคที่เลวร้ายของพระวิษณุมา
เป็นการอวตารของ มายา โมหะ (ความหมายตามพยัญชนะคือ ความ
หลอกลวงและความโง่เขลา) ทีถ่ อื กำ�เนิดมาเพือ่ หลอกลวงหว่านล้อม
เหล่าอสูรมิให้เดินไปในทางที่ถูกต้อง และเพื่อป้องกันมิให้พวกอสูร
ประกอบพิธีกรรมทางพระเวท ทั้งนี้ก็เพื่อให้แน่ใจว่าพระอินทร์และ
เทวดาอื่นๆ (ที่เป็นบริวารของพระวิษณุ) จะได้ปกครองสวรรค์ต่อไป
อย่างปลอดภัยและมัน่ คง ผูท้ ศ่ี รัทธาในพระพุทธเจ้าจะอดทนอดกลัน้
ต่อเรือ่ งราวทีม่ งุ่ เหยียดหยาม และดูหมิน่ พระพุทธเจ้าและคำ�สัง่ สอน
ของพระองค์ได้อย่างไร ข้อพิสูจน์ในเรื่องนี้ก็คือปฏิกิริยาไม่พอใจที่
เกิดขึ้นในประเทศไทยเมื่อ ๒-๓ ปีที่ผ่านมา และที่เป็นข้อพิสูจน์ที่
ชัดเจนยิง่ ขึน้ ไปอีกก็คอื ปฏิกริ ยิ าทีม่ ตี อ่ ภาพยนตร์โทรทัศน์ของบริษทั
โซนี่ ทีไ่ ด้สร้างเรือ่ งอันเป็นเท็จด้วยการใส่บทสนทนาทีช่ วั่ ร้ายระหว่าง
มาร (ซาตาน) และพระนางมหามายา พระพุทธมารดา ปฏิกิริยาต่อ
การต่อต้านการทำ�ลายพระพุทธศาสนา m 5

ต้านภาพยนตร์ดังกล่าวนี้รุนแรงมากเสียจนกระทั่ง หัวหน้าคณะ
รัฐบาลทหารในประเทศพม่าต้องส่งคำ�เตือนอย่างแข็งกร้าวไปยัง
บริษัทโทรทัศน์โซนี่ แจ้งให้บริษัทโซนี่หยุดสร้างภาพยนตร์ชุดนี้ เรา
ควรจะต้องเรียนรู้จากบทเรียนเหล่านี้ และจะต้องหยุดยั้งความ
ดือ้ รัน้ ในการพยายามทีจ่ ะพิสจู น์วา่ พระพุทธเจ้าคือพระวิษณุอวตาร
ลงมา และจะต้องมีความสุขุมรอบคอบพอที่จะไม่รื้อฟื้นความผิด
พลาดเก่าๆ และสร้างบาดแผลในใจให้แก่ชาวพุทธในประเทศเพื่อน
บ้านอีกต่อไป เพราะถ้าเรายังคงพยายามที่จะยืนยันว่าพระพุทธเจ้า
คือพระวิษณุอวตารลงมา แล้วสัมพันธไมตรีกับประเทศเหล่านี้จะดี
ขึ้นได้อย่างไร ?
๓. พุทธศาสนิกชนทั้งหลายยิ่งจะรู้สึกเจ็บปวดมากขึ้นไปอีก
เมื่อมีผู้พูดว่า พระวิษณุจะอวตารเป็นกัลกีในการอวตารครั้งที่ ๑๐
และจุดมุ่งหมายเพียงประการเดียวของการอวตารครั้งนี้ ก็เพื่อที่จะ
ทำ�สงครามกับชาวพุทธ และไม่ใช่เฉพาะชาวพุทธในประเทศอินเดีย
เท่านั้น แต่จะรวมไปถึงในประเทศเพื่อนบ้านต่างๆ รวมทั้งประเทศ
จีนด้วย ทั้งนี้เพื่อกวาดล้างชาวพุทธให้หมดไป เพราะการอวตารมา
เป็นกัลกี ก็เพือ่ ทีจ่ ะก่อสงครามเช่นเดียวกับสงครามระหว่างพระราม
กับทศกัณฐ์ โดยกัลกีจะชนะและฆ่าชาวพุทธทัง้ หมด รวมทัง้ หัวหน้า
ของชาวพุ ท ธที่ ชื่ อ ชิ น ะ (พระนามของพระพุ ท ธเจ้ า ) กั บ พระเจ้ า
สุทโธทนะและพระนางมหามายาด้วย เราหวังที่จะกระชับสัมพันธ-
ไมตรีกับประเทศเพื่อนบ้านด้วยการสนับสนุนทฤษฎีการอวตาร ที่มี
รากฐานมาจากเทพนิยายทีต่ อ่ ต้านพระพุทธเจ้าและต่อต้านชาวพุทธ
6 m การต่อต้านการทำ�ลายพระพุทธศาสนา

เช่นนั้นหรือ ? ถ้าไม่มีการพูดถึงเรื่องโป้ปดมดเท็จเหล่านี้เสียตั้งแต่
ต้นได้ก็จะเป็นการดี เพราะการกระทำ�เช่นนี้ก็เปรียบเสมือนการขุด
หลุมฝังศพเก่าๆ ขึ้นมา ทำ�ให้งูและแมลงป่องที่มีพิษร้าย อันเป็นผล
พวงของการแข่งขันในอดีตระหว่างชาวฮินดูกับชาวพุทธ โผล่พ้นดิน
ขึ้นมาอีก เป็นการเปิดบทที่ชั่วร้ายในหน้าหนังสือประวัติศาสตร์ขึ้น
มาใหม่ ในขณะที่ปัญหาใหญ่สำ�หรับเราในปัจจุบันก็คือ จะปิดบทนี้
อย่างระมัดระวังได้อย่างไร ข้าพเจ้าประหลาดใจมากที่ดร.โมดิไม่
ทราบแผนการณ์ชั่วร้ายที่อยู่เบื้องหลังการกำ�เนิดของนิทานลวงโลก
เรือ่ งนี้ การจัดการประชุมฮินดู-พุทธสัมพันธ์ขน้ึ มา รังแต่จะทำ�ให้มี
คนทีม่ คี วามเชือ่ ในเรือ่ งพระพุทธเจ้าเป็นอวตารปางหนึง่ ของพระวิษณุ
เพิ่มขึ้น แล้วคนเหล่านี้ก็จะพยายามที่จะยืนยันความเชื่อนี้ต่อไปอีก
ด้วยความหลงผิด ซึง่ ก็เท่ากับเป็นการวางยาพิษให้แก่ความสัมพันธ์
ระหว่างอินเดียกับประเทศเพื่อนบ้านโดยแท้

การประกาศว่าประเพณีพระเวท
เป็นต้นกำ�เนิดของคำ�สอนของพระพุทธเจ้า
ข้าพเจ้าได้อ่านรายงานการประชุมเมื่อครั้งก่อนอย่างคร่าวๆ
และได้พบว่านักวิชาการชาวอินเดียทุกคนที่เข้าร่วมประชุม ต่าง
พยายามทีจ่ ะพิสจู น์วา่ คำ�สอนของพระพุทธเจ้านัน้ มีตน้ กำ�เนิดมาจาก
ประเพณีพระเวท และนักวิชาการเหล่านั้นก็ยืนกรานว่าชาวพุทธ
การต่อต้านการทำ�ลายพระพุทธศาสนา m 7

ทั้งหลายควรจะยอมรับทฤษฎีนี้ แต่ประเทศเพื่อนบ้านจะยอมรับ
ความคิดนี้ได้อย่างไร ? และทำ�ไมเขาจึงจะต้องยอมรับ เขาน้อมรับ
คำ�สอนของพระพุทธเจ้าในฐานะที่เป็นประเพณีสมณะอันไม่ขึ้นต่อ
ประเพณีอนื่ ใด แล้วเราจะหวังให้เขาล้มเลิกความเชือ่ ของเขาทัง้ หมด
และพระธรรมที่ทรงสอนเป็นสิ่งที่ขอยืมมาจากประเพณีพระเวทเช่น
นั้นหรือ ? ในเมื่อความจริงนั้นเป็นตรงกันข้าม พระพุทธองค์ทรง
เป็นนักวิทยาศาสตร์ผู้ยิ่งใหญ่ที่ไม่มีใครเทียบเทียมได้ ทรงค้นพบว่า
กิเลสตัณหานั้นหาได้เกิดจากผัสสะ หรือการกระทบกันของอายตนะ
ภายในกับภายนอก อย่างที่เชื่อกันในสมัยนั้นหรือที่ยังเชื่อกันอยู่แม้
ในปัจจุบันนี้ไม่ พระองค์ทรงพบความจริงที่ไม่มีใครเคยรู้มาก่อนว่า
เมื่ออายตนะภายในและภายนอกกระทบกัน เวทนาหรือความรู้สึก
ทางกายจะเกิดขึ้น แล้วโลภะกิเลสหรือโทสะกิเลสก็จะเกิดขึ้นตอบ
สนองต่อความรูส้ กึ ทางกายนัน้ จากการทีไ่ ด้ทรงค้นพบความสัมพันธ์
ระหว่างจิตกับกาย และการมีปฏิกริ ยิ าต่อกันและกันของจิตและกาย
นี้แหละ ทำ�ให้ทรงพบหนทางปฏิบัติซึ่งมีคุณค่าใหญ่หลวงต่อมวล
มนุษยชาติ เป็นวิธีการปฏิบัติซึ่งให้ผลทันที ไม่ว่าจะเป็นในสมัย
พุทธกาลหรือในสมัยนี้ วิธกี ารปฏิบตั อิ นั เป็นวิทยาศาสตร์ทสี่ ามารถ
ขจัดกิเลสในจิตใจโดยใช้ความรู้สึกทางร่างกาย ซึ่งพระพุทธองค์ได้
ทรงกล่าวไว้ว่าแม้พระพุทธเจ้าพระองค์อื่นๆ ก่อนหน้านี้ ก็ได้ใช้วิธี
การเดียวกันนี้เพื่อความหลุดพ้น พระพุทธองค์ทรงเป็นผู้ค้นพบ
หนทางอันนำ�ไปสู่ความดับทุกข์ที่ได้สูญหายไป และได้ทรงนำ�กลับ
มามอบให้แก่มวลมนุษยชาติอกี ครัง้ หนึง่ จึงเป็นไปไม่ได้ทพี่ ทุ ธบริษทั
8 m การต่อต้านการทำ�ลายพระพุทธศาสนา

ผู้รู้ข้อปฏิบตั ินี้จะยอมรับว่า คำ�สอนของพระองค์เอามาจากประเพณี


พระเวท พระวาจาที่ทรงกล่าวเมื่อได้บรรลุธรรมนั้น ประชาชนใน
ประเทศเพื่อนบ้านยังได้นำ�มาเป็นบทสวดมนต์ที่ใช้สวดกันอยู่ทุกวัน
นี้ว่า “ปุพฺเพ อนนุสฺสุเตสุ ธมฺเมสุ จกฺขํขุง อุทปาทิ” ซึ่งแปลว่า “จักษุ
เกิดขึ้นแล้วในธรรมอันเราไม่เคยได้ยินได้ฟังมาก่อน” ฉะนั้น จะพูด
ได้อย่างไรว่า พระพุทธองค์ได้ทรงขอยืมสิ่งที่พระองค์ไม่เคยได้ยิน
ได้ฟังไปจากพระเวท
ยังมีอีกเหตุการณ์หนึ่งที่เน้นย�้ำความจริงทางประวัติศาสตร์
เกีย่ วกับเรือ่ งนี้ นัน่ คือหลังจากทีไ่ ด้ตรัสรูพ้ ระสัมมาสัมโพธิญาณแล้ว
พระพุทธเจ้าได้เสด็จไปยังเมืองสารนาถ (มฤคทายวัน) ระหว่างทาง
อุปกะซึง่ เป็นอาชีวก (นักบวช) ได้แลเห็นพระองค์ รัศมีแห่งการตรัสรู้
ที่แผ่ออกมาบนพระพักตร์อันงดงามและสงบเย็นของพระพุทธเจ้า
ท�ำให้เกิดความประทับใจ อุปกาชีวกจึงทูลถามพระองค์ว่า
“โก วา เต สตฺถา ” – ใครเป็นศาสดาของท่าน
“กสฺส วา ตวํ ธมฺมํ โรเจสี ” – ท่านชอบธรรมะของใคร
พระพุทธเจ้าทรงตอบว่า
“วิมุตฺโต สยํ อภิญญาย ” – เราหลุดพ้นแล้วด้วยปัญญาอัน
ยิง่ เอง
“น เม อาจริโย อตฺถิ ” – อาจารย์ของเราไม่มี
“เอโกมหิ สมฺมาสมฺพุทฺโธ ” – เราผู้เดียวเป็นสัมมาสัมพุทธะ
ผู้ที่ตรัสรู้เอง (สยัมภู) เท่านั้น จึงจะเรียกว่าสัมพุทธะ พระ
พุทธเจ้าทรงค้นพบหนทางไปสู่ปรมัตถธรรมด้วยพระองค์เอง โดยที่
การต่อต้านการทำ�ลายพระพุทธศาสนา m 9

ไม่มีครูหรือผู้น�ำ ทาง และก็ได้ทรงบรรลุปรมัตถธรรม หนทางอันนำ�


ไปสู่ความหลุดพ้นที่พระสัมมาสัมพุทธะทรงค้นพบและทรงประกาศ
เพื่อให้คนทั้งหลายได้พ้นทุกข์นี้ ได้สูญสิ้นไปกับกาลเวลา เมื่อพระ
โพธิสตั ว์พระองค์ใดได้ทรงค้นพบและเผยแผ่แนวทางนัน้ อีกครัง้ พระ
โพธิสัตว์พระองค์นั้นจะได้ชื่อว่าเป็นพระสัมมาสัมพุทธะ หนทางที่
พระพุทธเจ้าพระองค์ก่อนหน้านี้ คือพระสัมมาสัมพุทธกัสสปะ ได้
ทรงประกาศไว้ ได้สญ ู หายไปจากโลกแล้ว พระโคตมสัมมาสัมพุทธ
เจ้าได้ทรงค้นพบอีกครัง้ และได้ทรงนำ�มาแสดงแก่คนทัง้ ปวง จึงเป็น
ธรรมดาอยู่เองที่พุทธบริษัททั้งหลายจะต้องทนไม่ได้ เมื่อมีการพูด
เท็จว่า พระมหาสมณะโคดมพุทธเจ้าทรงได้ความรู้จากประเพณี
พระเวท แทนการกล่าวเท็จดังกล่าว หากจะพูดว่าประเพณีอันมี
คุณค่าทางจิตวิญญาณทั้งสองต่างเป็นอิสระต่อกัน และในบางสมัย
ก็ มี อิ ท ธิ พ ลต่อกันและกัน ก็จะเป็นคำ�กล่าวที่เป็นความจริ งและ
ยอมรับได้ง่ายกว่า
ประเพณีทางจิตวิญญาณต่างๆ ที่มีความคิดเห็นและทัศนคติ
แตกต่างกันได้เกิดขึ้นและเจริญงอกงามที่นี่ ย้อนหลังไปสองพันหก
ร้อยปีก็ได้มีประเพณีต่างๆ มากมายที่รุ่งเรืองอยู่ที่นี่ และในจ�ำนวน
นี้ก็มีประเพณีส�ำคัญที่เก่าแก่มากอยู่ ๒ ประเพณี ประเพณีหนึ่ง
คือประเพณีสมณะ และอีกประเพณีหนึ่งคือประเพณีพราหมณ์
ประเพณี ทั้ ง สองต่ า งก็ มี จุ ด มุ ่ ง หมายที่ จ ะให้ ม นุ ษ ย์ ห ลุ ด พ้ น จาก
วัฏฏสงสาร แต่วิธีการนั้นแตกต่างกัน ประเพณีสมณะให้ความ
ส�ำคัญกับการหลุดพ้นด้วยการเพียรปฏิบตั ดิ ว้ ยตนเอง แต่ประเพณี
10 m การต่อต้านการทำ�ลายพระพุทธศาสนา

พราหมณ์ให้ความส�ำคัญกับความเชือ่ ทีว่ า่ ต้องสวดอ้อนวอนพระเจ้า


หรือพระพรหมจึงจะหลุดพ้นได้ พระพุทธเจ้าทรงเป็นผูน้ �ำทีย่ งิ่ ใหญ่
แห่งวัฒนธรรมของสมณะ เมื่อเสด็จออกจากพระราชวังเพื่อค้นหา
สัจธรรมนัน้ เมือ่ ข้ามพรมแดนแห่งอาณาจักรของพระองค์ ก็ได้ทรง
ปลงพระเกสา พระมัสสุ และพระทาฒิกะของพระองค์ และได้ทรง
ฉลองพระองค์ตามประเพณีสมณะในสมัยนั้น และนี่คือเหตุผลที่
ทรงได้รับถวายพระนามว่าสมณโคดมหรือมหาสมณะ ทั้งสองกลุ่ม
นีม้ คี วามขัดแย้งไม่พอใจกันอยู่ และฝ่ายหนึง่ ก็ต้องการท�ำให้อกี ฝ่าย
หนึ่งด้อยลง พวกพราหมณ์พากันเรียกและหัวเราะเยาะพวกสมณะ
ว่า “สมณะโล้นพวกนีเ้ ป็นพวกต�ำ่ ด�ำ และเกิดจากเท้าของพระพรหม”
พระพุทธองค์เองก็เคยถูกเหยียดหยามด้วยถ้อยค�ำเหล่านี้หลายครั้ง
และเหล่าสมณะก็จะหัวเราะเยาะพวกพราหมณ์ดว้ ยการเรียกว่า “เจ้า
พวกหัวชฎา” แม้พระพุทธองค์จะทรงเป็นศาสดาของเหล่าสมณะ
แต่พระองค์ก็ทรงเพียรพยายามตลอดพระชนม์ชีพของพระองค์เพื่อ
ขจัดความเกลียดชังซึ่งกันและกัน พระองค์มิได้ทรงให้ความส�ำคัญ
กับเครื่องนุ่งห่มภายนอก และทรงให้ค�ำจ�ำกัดความของพราหมณ์
และสมณะอย่างเดียวกัน คือเป็นผู้ที่ได้ช�ำระจิตใจจนบริสุทธิ์โดย
สิ้นเชิง พระองค์ได้ทรงพิสูจน์ว่า ประเพณีทั้งสองมีจุดมุ่งหมาย
เหมือนกัน แต่วิธีการนั้นแตกต่างกันอย่างแน่นอน พระพุทธองค์
ทรงเป็นศาสดาผูย้ งิ่ ใหญ่แห่งประเพณีสมณะ และตามประเพณีของ
พระองค์นั้น พระองค์ได้ทรงประกาศว่า พระองค์ไม่สามารถที่จะ
ประทานนิพพานให้แก่ใครได้ เช่นเดียวกับพระพุทธเจ้าพระองค์
การต่อต้านการทำ�ลายพระพุทธศาสนา m 11

ก่อนๆ ทรงท�ำได้แต่เพียงชี้ทางให้เท่านั้น ทรงเป็นผู้ชี้หนทางที่จะถึง


ความพ้นทุกข์ มิใช่เป็นผู้ให้ความพ้นทุกข์ บุคคลจะต้องเพียร
พยายามด้วยตนเองเพื่อความหลุดพ้นของตนเอง “ตุมฺเหหิ กิจจํ
อาตปฺปํ อกฺขาตาโร ตถาคตา” ไม่มีผู้ใดที่จะหลุดพ้นได้ด้วยความ
ช่วยเหลือหรือความกรุณาของผูอ้ นื่ ความกรุณานัน้ ก็คอื เมือ่ บุคคล
ได้เดินไปตามหนทางนี้จนถึงจุดหมายแล้ว ก็ชี้ทางนั้นให้แก่ผู้อื่น
ตรงกันข้ามกับประเพณีพราหมณ์ (ซึ่งข้าพเจ้าอยากจะเรียกว่า
ประเพณีสวดอ้อนวอนมากกว่า) ซึง่ เชือ่ อย่างมัน่ คงว่า ความหลุดพ้น
สามารถท�ำได้ด้วยความกรุณาของผู้อื่น
เราไม่จ�ำเป็นต้องกล่าวว่าประเพณีหนึง่ ดีกว่าอีกประเพณีหนึง่
แต่เราจะต้องยอมรับการด�ำรงอยู่อย่างอิสระของประเพณีทั้งสอง
เราไม่สามารถจะแสร้งท�ำลืมประวัตศิ าสตร์ดว้ ยการปฏิเสธไม่ยอมรับ
ความแตกต่างของประเพณีทั้งสอง หากเราต้องการที่จะปรับปรุง
สัมพันธไมตรีกับประเทศเพื่อนบ้าน เราก็จะต้องยอมรับว่าประเพณี
สมณะที่เขานับถือนั้นทัดเทียม หรืออาจจะเหนือกว่าประเพณีการ
สวดอ้อนวอน การคาดหวังว่าผู้ที่นับถือประเพณีสมณะจะยอมรับ
ประเพณีการสวดอ้อนวอนนัน้ เป็นความคิดทีผ่ ดิ อย่างสิน้ เชิง ทัง้ สอง
ประเพณีนี้เป็นสมบัติอันล�้ำค่าของประเทศอินเดีย หากเราให้ความ
ส�ำคัญกับประเพณีทั้งสองอย่างเท่าเทียมกัน ก็จะไม่มีการแบ่งแยก
หรือความขัดแย้ง แต่การยืนกรานว่า ค�ำสอนของพระพุทธองค์เป็น
ผลพวงจากประเพณีพระเวท ย่อมก่อให้เกิดความขัดแย้งแตกแยก
อย่างแน่นอน ดังนั้น ข้าพเจ้าจึงเชื่อว่า หากจะให้เกิดผลดี เราควร
12 m การต่อต้านการทำ�ลายพระพุทธศาสนา

ที่จะเปลี่ยนหลักการของการประชุมครั้งนี้ โดยให้ความส�ำคัญอย่าง
เท่าเทียมกันแก่ประเพณีทั้งสอง และให้ความร่วมมือกับประเทศ
เหล่านี้ นั่นแหละจึงจะเป็นการสร้างความผาสุกสวัสดี เราควรรู้ได้
ด้วยสามัญส�ำนึกของเราว่า เราจะไม่สามารถพัฒนาสัมพันธไมตรีกบั
ใครได้ หากเราไปแสดงให้เขารู้สึกว่า เราเห็นว่าเขาด้อยกว่าเรา
อาจมีบางคนจากประเทศเหล่านี้ที่มาเข้าร่วมการประชุม ซึ่ง
เขาอาจจะมาเพราะความสัมพันธ์ทางการทูต หรืออาจจะมาด้วย
ความรู้เท่าไม่ถึงการณ์ และก็อาจไม่ได้แสดงความเห็นคัดค้านใดๆ
แต่ในอนาคตเมื่อเขาได้เรียนรู้ความจริง เขาก็จะต้องคิดว่าเขาถูก
หลอก และเมื่อนั้นแหละเขาก็จะกลับกลายเป็นศัตรูของเรา แม้แต่
ผู้ที่ไม่ได้เข้าร่วมประชุมในครั้งนี้ ก็จะต้องกลายเป็นศัตรูทันทีเมื่อได้
ยินเรือ่ งนี้ ข้าพเจ้าเชือ่ แน่วา่ การประชุมเช่นนีจ้ ะไม่บงั เกิดผลดีในระยะ
ยาว หากไม่มีความจริงใจ ความซือ่ ตรงทีป่ ราศจากมารยาแล้ว ผล
ของการประชุมก็จะออกมาในทิศทางที่ตรงกันข้าม

เราจำ�เป็นต้องเข้ากับชาวอินเดีย
ที่นับถือศาสนาพุทธให้ได้
หากความสัมพันธ์กบั มวลชนชาวอินเดียทีป่ ระกาศตนเป็นชาว
พุทธไม่ดขี นึ้ ประเทศเพือ่ นบ้านย่อมไม่อาจจะยอมรับว่า การประชุม
ครั้งนี้จัดขึ้นด้วยเจตนาอันบริสุทธิ์ เพราะปัญหานั้นมิได้อยู่แต่เพียง
การต่อต้านการทำ�ลายพระพุทธศาสนา m 13

แค่การปลอบประโลมใจประเทศเพือ่ นบ้านเท่านัน้ แต่ยงั อยู่ในความ


เป็นเอกภาพและบูรณภาพ (หรืออะไรก็ตามที่ยังเหลืออยู่) ของ
ประเทศนีด้ ว้ ย โดยเป็นผลมาจากเสียงประท้วงในความโหดร้าย ไม่มี
มนุษยธรรมของการแบ่งแยกสถานะสูงตำ�่ ทางสังคมของประเทศเรา
เราไม่สามารถปฏิเสธความโหดร้ายทีเ่ กิดขึน้ กับคนส่วนหนึง่ ในสังคม
ทีถ่ กู ประกาศว่าเป็นพวกทีแ่ ตะต้องไม่ได้ (หรือจัณฑาล –ผูเ้ รียบเรียง)
ระบบการแบ่งชั้นวรรณะที่มีรากฐานมาจากชาติก�ำเนิด ซึ่งต่อมา
ท�ำให้เกิดวรรณะอื่นๆ ขึ้นอีกหลายๆ วรรณะ ได้พิสูจน์ให้เห็นชัดเจน
แล้วว่าเป็นอันตรายต่อเกียรติยศชื่อเสียงของประเทศ และจะยังคง
เป็นเช่นนั้นอยู่ต่อไปในอนาคต ข้าพเจ้ามีความยินดีที่ได้ทราบจาก
ดร.โมดิวา่ ท่านศังกราจารย์ได้น�ำเรือ่ งนีไ้ ปพิจารณาอย่างจริงจัง และ
ท่านมีความรู้สึกว่า เราควรขจัดการแบ่งแยกชั้นวรรณะอันเนื่องมา
จากชาติก�ำเนิดนี้ออกไป การประชุมนี้จะมีประโยชน์มากหากจะ
ด�ำเนินไปตามแนวทางนี้
สิ่งที่ข้าพเจ้าได้ยินได้ฟังเกี่ยวกับท่านศังกราจารย์แห่งกาญจี
ล้วนเป็นสิ่งที่น่ายินดี ข้าพเจ้าได้ทราบว่า ท่านเป็นคนฉลาด มีความ
คิดเปิดกว้าง และมีสายตายาวไกล ท่านเป็นผู้ที่มีใจเปิดกว้างไม่มี
อคติเลยแม้แต่น้อย ท่านต้องการท�ำงานเพื่อความเป็นเอกภาพและ
บูรณภาพของชาติ ในการสนทนาแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกับท่าน
ข้าพเจ้ามีความปรารถนาทีจ่ ะรูว้ า่ ท่านรับรองและส่งเสริมทฤษฎีเรือ่ ง
การอวตารตามทีป่ รากฏอยู่ในคัมภีร์ปรุ าณะทัง้ หลายหรือไม่ ในเมือ่
ท่านก็ทราบดีว่าได้มีการกล่าวถึงพระพุทธเจ้าในคัมภีร์เหล่านั้นไว้
14 m การต่อต้านการทำ�ลายพระพุทธศาสนา

อย่างไรบ้าง เมื่อครั้งที่ข้าพเจ้าไปเยือนย่างกุ้ง เพื่อนของดร.โมดิได้


ให้สญั ญากับข้าพเจ้าว่า ท่านศังกราจารย์ซงึ่ มีก�ำหนดการจะเดินเท้า
ไปยังประเทศไทยโดยผ่านทางประเทศพม่า จะกล่าวเสนอให้เราทั้ง
หลายลืมสิง่ ทีเ่ กิดขึน้ ในอดีต และพร้อมกันนัน้ ก็จะแสดงความเสียใจ
กับเรื่องที่เกิดขึ้นในอดีตเหล่านั้นด้วย ข้าพเจ้าไม่สู้ศรัทธาในค�ำ
สัญญาเหล่านั้นนัก แต่คนทั้งสองก็ได้ให้ค�ำมั่นต่อหน้าอดีตรัฐมนตรี
ช่ วยว่ า การการศาสนาคือพันตรีจียุ่น ซึ่งปัจจุบันด�ำรงต�ำแหน่ ง
ประธานพุทธสมาคมเถรวาทแห่งสาธารณรัฐสังคมนิยมเมียนมาร์
ด้วย แต่ในที่สุดเหตุการณ์นี้ก็มิได้เกิดขึ้น ข้าพเจ้ายังสงสัยอยู่ว่า ถึง
แม้ท่านศังกราจารย์จะเป็นผู้ที่มีความคิดอ่านเปิดกว้าง ท่านจะ
สามารถท�ำสิ่งที่เปรียบเสมือนการพรมน�้ำเย็นแห่งไมตรีลงในหัวใจ
ของเพื่อนบ้านของเราได้หรือไม่ และเพื่อนบ้านของเราจะยินดีกลับ
มาเป็นมิตรกับประเทศอินเดียหรือไม่ ซึง่ ถ้าเหตุการณ์นสี้ ามารถเกิด
ขึ้นได้จริงก็จะเป็นประโยชน์อย่างมหาศาลกับประเทศอินเดีย
การแบ่งประชาชนในชาติออกเป็นวรรณะต่างๆ รวมทัง้ วรรณะ
ย่อยๆ อีกมากมาย ตามระบบวรรณะซึง่ มีรากฐานมาจากชาติก�ำ เนิด
นั้น ได้ทำ�ให้เกิดอันตรายต่อเสถียรภาพของประเทศ แล้วเราจะไม่
สามารถทำ�อะไรที่เป็นรูปธรรมเพื่อขจัดระบบวรรณะได้เทียวหรือ ?
ข้าพเจ้าปรารถนาทีจ่ ะพบกับท่านศังกราจารย์เพือ่ ขอทราบความคิด
เห็นของท่านในสองเรือ่ งนี้ เพือ่ ทีข่ า้ พเจ้าจะได้ตดั สินใจได้วา่ ข้าพเจ้า
ควรจะเข้าร่วมการประชุมครั้งนี้หรือไม่ เพราะข้าพเจ้ายังมีความ
สงสัยอยูอ่ ย่างมากเกีย่ วกับการประชุมฮินดู-พุทธสัมพันธ์น้ี ตราบใด
การต่อต้านการทำ�ลายพระพุทธศาสนา m 15

ที่วิธีการผูกไมตรีกับประเทศเพื่อนบ้านยังไม่ได้รับการแก้ไข หรือ
ถือว่าเป็นเรื่องยากที่จะแก้ไข ข้าพเจ้าก็อยากจะอยู่นอกการประชุม
มากกว่า เพราะการเข้าไปเกี่ยวข้องกับการประชุมจะไม่มีประโยชน์
หรือเป็นเรือ่ งทีน่ า่ ยินดีส�ำ หรับข้าพเจ้าเลย อีกทัง้ มันก็ไม่ใช่ธรรมชาติ
ของข้ า พเจ้ า ที่ จ ะเข้ า ไปเกี่ ย วข้ อ งกั บ การโต้ เ ถี ย งขั ด แย้ ง กั น ด้ ว ย
ข้าพเจ้าอยากจะทุ่มเทพละกำ�ลังและเวลาของข้าพเจ้าไปกับงานที่
กำ�ลังทำ�อยู่มากกว่า เพราะเป็นงานที่จะเสริมสร้างบูรณภาพของ
ประเทศ และช่วยทำ�ให้เกิดความสัมพันธ์ที่ดีกับเพื่อนบ้าน รวมทั้ง
นำ�ความสุขมาสู่โลกอีกครั้งหนึ่ง อย่างไรก็ตาม ในการที่จะพบปะ
สนทนากับท่านศังกราจารย์นั้น ข้าพเจ้าไม่ต้องการให้การพบครั้ง
ประวัติศาสตร์นี้เป็นการพบปะที่เปล่าประโยชน์ ฉะนั้น ข้าพเจ้าจึง
ต้องการทราบความคิดเห็นของท่านเสียก่อนที่จะได้พบกับท่าน
ข้ า พเจ้ า ปรารถนาอย่ า งยิ่ ง ที่ จ ะเห็ น ศาสนาทุ ก ศาสนามี
สัมพันธภาพที่อบอุ่นและจริงใจต่อกัน เราไม่ควรให้ความสำ�คัญกับ
ประเด็นความขัดแย้ง แต่ควรจะให้ความสำ�คัญกับศีล ความประพฤติ
อันซื่อตรง เที่ยงธรรม ความอดกลั้น ความบริสุทธิ์ของจิตใจ และ
ความเมตตาซึ่ ง เกิ ด จากจิ ต ที่ บ ริ สุ ท ธิ์ ความกรุ ณ าและความรั ก
ประเพณีสมณะของพระพุทธเจ้าและประเพณีพระเวทสามารถที่จะ
มีความสัมพันธ์อันดีต่อกันได้ ด้วยการให้ความสำ�คัญต่อสิ่งเหล่านี้
และถ้าสามารถทำ�ได้ ก็จะไม่ทำ�ให้เกิดผลดีแต่เฉพาะกับประเทศ
เพื่อนบ้านที่อินเดียได้มีสัมพันธไมตรีมานมนานหลายๆ ศตวรรษ
เท่านั้น แต่ยังเป็นผลดีแก่โลกทั้งโลกด้วย การประชุมที่ลุมพินีก็จะ
16 m การต่อต้านการทำ�ลายพระพุทธศาสนา

ประสบความสำ �เร็จ เกียรติยศและความรุ่งเรืองก็จะปรากฏแก่


ดินแดนอันศักดิ์สิทธิ์ของประเทศเนปาล ดินแดนอันพระโพธิสัตว์
สิทธัตถะได้อุบัติขึ้น ณ บริเวณเทือกเขาหิมาลัย ท่ามกลางเหล่า
ศากยวงศ์ และแก่ดินแดนอันศักดิ์สิทธิ์ของประเทศอินเดียอันเป็น
ดินแดนที่พระองค์ได้ตรัสรู้ด้วย

จากกัลยาณมิตร เอส. เอ็น. โกเอ็นก้า


๒๙ กันยายน ๒๕๔๒
ข้อความบางตอนจากคัมภีร์ปุราณะต่างๆ
ที่อ้างว่าพระพุทธเจ้าคือพระวิษณุอวตารลงมา
แม้ว่าทฤษฎีเรื่องการอวตารของพระวิษณุจะมีมาก่อนแล้ว
แต่เรื่องการอวตารของพระวิษณุมาเป็นพระพุทธเจ้าเริ่มจากคัมภีร์
วิษณุปรุ าณะ ต้นเรือ่ งมีอยูว่ า่ พวกเทวดาแพ้สงครามทีท่ �ำ กันมานาน
ระหว่างเทวดากับอสูร พวกเทวดาจึงพากันไปเฝ้าพระวิษณุและเล่า
ปัญหาให้พระวิษณุฟัง โดยได้แสดงความชื่นชมพระวิษณุในภาคที่
ดีงาม และต่อมาก็แสดงความชื่นชมในภาคที่ชั่วร้ายของพระวิษณุ
ด้วย โดยกล่าวว่า
พวกเราขอคารวะรูปของท่านอันเหมือนงูมลี นิ้ สองแฉก ซึง่ ไม่มกี าร
ให้อภัย มีแต่ความโหดร้ายและจมลึกอยู่ในความเพลิดเพลิน (แห่งกาม)
และกล่าวต่อไปว่า
พวกเราขอคารวะรูปที่เป็นสัตว์อันมืดดำ�ของพระองค์
และกล่าวอีกว่า
ทมฺภปฺรายมสมฺโพธิติติกฺษาทมวรฺชตมฺ
ยทฺ รูปํ ตว โควินฺท ตสฺไม ไทตฺยาตฺมเน นมะ
ข้าแต่พระโควินทะ (วิษณุ) พวกเราขอนมัสการพระองค์ที่มีรูปเป็น
อสูร อันเต็มไปด้วยความหลอกลวง ไม่รู้แจ้ง ไม่มีความอดกลั้น และไม่
ยับยั้งตน
18 m การต่อต้านการทำ�ลายพระพุทธศาสนา

เกฺรารมํ มายามยํ โฆรํ ยจฺ จ รูปํ ตวาสิตมฺ


นิศาจราตฺมเน ตสฺไม นมสฺ เต ปุรุโษตฺตม
ข้าแต่พระองค์ผู้เป็นยอดบุรุษ พวกเราขอคารวะรูปที่มีจิตใจเป็น
ปีศาจนั้นของพระองค์ ที่ดุร้าย เต็มไปด้วยมายา (การหลอกให้หลงเชื่อ)
ที่น่ากลัว และมืดมน
หลังจากทีไ่ ด้ยนิ คำ�กล่าวบูชาดังนี้ พระวิษณุกป็ รากฏพระองค์
ขึ้นต่อหน้าพวกเทวดา พวกเทวดาจึงเล่าปัญหาของพวกตนให้แก่
พระวิษณุ
สฺวรฺณธรฺมาภิรตา เวทมารฺคานุสาริณะ
น ศกฺยาสฺ เต ่ รโย หนฺตุมสฺมาภิสฺ ตปาวฺฤตาะ
พวกศัตรู (อสูร) เหล่านี้ปฏิบัติตามธรรมะของพระเวทและระบบ
วรรณะ พวกมันมีตบะป้องกันตัว ดังนั้นจึงยากที่จะชนะและฆ่ามันให้
ตายได้
อิตฺยุกฺโต ภควำ�สฺ เตภฺโย มายาโมหํ ศรีรตะ
สมุตฺปาทฺย ทเทา วิษฺณุ ปฺราห เจทํ สุโรตฺตมานฺ
เมือ่ ได้รบั แจ้งดังนัน้ พระวิษณุจงึ ได้สร้างรูปมายาโมหะ (รูปทีห่ ลอก
ลวงและทำ�ให้ โง่งมงาย) จากร่างของพระองค์ แล้วมอบให้แก่พวกเทพ
พร้อมกับตรัสว่า
มายาโมโห่ ขิลานฺ ไทตฺยำ�สฺ ตานฺ โมหยิษฺยติ
ตโต วธฺยา ภวิษฺยนฺติ เวทมารฺคพหิษฺกฺฤตาะ
รูปมายาโมหะจะหลอกพวกแทตย์ (อสูร) เหล่านัน้ ทัง้ หมด และจะ
การต่อต้านการทำ�ลายพระพุทธศาสนา m 19

ทำ�ให้พวกมันไม่ปฏิบัติตามวิถีทางพระเวท ดังนั้นพวกท่านก็จะกำ�จัด
พวกมันได้
ตทฺ จฺฉต น ภีะ การฺยา มายาโมโห ่ ยมคฺรตะ
คจฺฉนฺ ตทฺโยปการาย ภวตำ� ภวิตา สุราะ
เทพทัง้ หลายจงกลับไปเถอะ อย่ากลัวเลย มายาโมหะนีจ้ ะนำ�หน้า
ไปและจะคอยให้ความช่วยเหลือพวกท่าน และแล้วมายาโมหะก็เริ่มออก
ฤทธิ์
นานาปฺรการวจนํ ส เตษำ� ยุกฺติโยชิตมฺ
ยา ตถา ตฺรยีธรฺม ตสฺย ชุษฺเฏ ยถา ยถา
มายาโมหะได้ทำ�ให้พวกอสูรออกไปจากวิถีทางของพระเวท โดย
ใช้วาทะหลอกลวงนานาประการ
มายาโมเหน เต ไทตฺยา ปฺรกาไรรฺ พหุภิสฺ ตถา
วฺยุตฺถาปิตา ยถา ไนษา ตฺรยี กศฺจิทโรจยตฺ
มายาโมหะได้ ใช้วธิ กี ารต่างๆ มากมาย ทำ�ให้พวกอสูรเหล่านัน้ ไม่
ชอบพระเวททั้งสาม จนกระทั่งเลิกนับถือพระเวท
ตอนจบของนิยายเรือ่ งนี้ได้โยงไปยังอีกเรือ่ งหนึง่ ซึง่ มีผลร้าย
ต่อประเทศของเรา ตามเรื่องที่เล่านี้ ผู้ใดพูดคุย หรือรับประทาน
อาหาร หรือคลุกคลี หรือแตะต้อง หรือแม้แต่มองใบหน้าของผู้ที่
หลุดไปจากมรรคาของพระเวท ด้วยอำ�นาจของมายาโมหะก็จะเป็น
บาปมหันต์ และจะต้องตกนรกอีกหลายชาติ นี่คือที่มาของวรรณะ
จัณฑาล ซึ่งก่อให้เกิดผลร้ายต่อประเทศอินเดีย
20 m การต่อต้านการทำ�ลายพระพุทธศาสนา

เรือ่ งราวทีพ่ ระพุทธเจ้าอวตารมาจากปางชัว่ ร้ายของพระวิษณุ


มีกล่าวซำ�้ แล้วซำ�้ อีกในคัมภีรป์ รุ าณะอืน่ ๆ ท�ำให้ประชาชนเริม่ ดูหมิน่
พระผู้มีพระภาคและค�ำสอนของพระองค์

จาก อัคนิมหาปุราณะ
วกฺเษ พุทฺธาวตารํ จ ปฐตะ ศฺฤณฺวโตรฺถทมฺ
ปุรา เทวาสุรา ยุทฺเธ ไทตฺไยรฺ เทวาะ ปราชิตาะ
ข้าพเจ้าจะพูดถึงการอวตารเป็นพระพุทธเจ้า ซึง่ จะทำ�ให้ผอู้ า่ นและ
ผู้ฟังสมปรารถนาต่อไป ในสมัยก่อนได้เกิดสงครามระหว่างเทพและอสูร
พวกเทพพ่ายแพ้พวกอสูร
มายาโมหสฺวรูโป ่ เสา ศุทฺโธทนสุโต ่ ภวตฺ
พระวิษณุได้ถือกำ�เนิดเป็นพระโอรสของพระเจ้าศุทโธทนะในรูป
มายาโมหะ

จาก มัตสยปุราณะ
กรฺตุ ธรฺมวฺยวสฺถานมสุราณำ� ปฺรณาศนมฺ
พุทฺโธ นวมโก ชชฺเญ ตปสา ปุษฺกเรกฺษณะ
เทวสุนฺทรรูเปณ ไทฺวปายนปุระสระ . ๒๔๗
เพื่อที่จะก่อตั้งธรรมะและเพื่อทำ�ลายล้างพวกอสูร พระวิษณุผู้มี
พระเนตรงามเหมื อ นดอกบั ว ได้ ถื อ กำ � เนิ ด (อวตาร) ครั้ ง ที่ เ ก้ า เป็ น
พระพุทธเจ้า
การต่อต้านการทำ�ลายพระพุทธศาสนา m 21

จาก ปัทมมหาปุราณะ
สมุตฺปาทฺย ทเทา ตสฺย ปฺราห เจทํ พฺฤหสฺปติมฺ
มายาโมโห ่ ยมขิลำ�สฺ ตานฺ ไทตฺยานฺ โมหยิษฺยติ
เมือ่ ได้สร้างมายาโมหะและได้มอบให้แก่เขาแล้ว พระวิษณุได้ตรัส
กับพระพฤหัสบดี (ผูเ้ ป็นครูของเทวดา) ว่า มายาโมหะนีจ้ ะทำ�ให้พวกอสูร
ทั้งหมดหลงผิด
ภวตา สหิตะ สรฺวานฺ เวทมารฺคพหิษฺกฺฤตานฺ
พวกอสูรจะถูกทำ�ให้ ไม่นับถือวิถีทางของพระเวท

จาก ศรีมัทภาควตะปุราณะ
(โรงพิมพ์คตี า โครัขปุระ ปฺรถมขณฺฑ, ปฺรถมสฺกนฺเธ, อธฺยาย ๓
หน้า ๕๖ - ตอนที่หนึ่งบทที่ ๓ หน้า ๕๖)
ตตะ กเลา สมฺปฺรวฺฤตฺเต สมฺโมหาย สุรทฺวิษมฺ
พุทฺโธ นามฺนาชนสุตะ กีกเฎษุ ภวิษฺยติ
เมื่อถึงกลียุค ท่านจะถือกำ�เนิดเป็นพระพุทธเจ้า พระโอรสของ
พระเจ้าอชนะในแคว้นมคธ (พิหาร) เพื่อหลอกพวกอสูรที่เป็นข้าศึกของ
พวกเทพ
นโม พุทฺธาย ศุทฺธาย ไทตฺยทานวโมหิเน
ข้าฯ ขอไหว้พระพุทธเจ้า ผู้ซึ่งจะประกาศทางบริสุทธิ์และความไม่
เบียดเบียน เพื่อหลอกพวกแทตย์และทานพ
ข้อความตอนอื่นๆ ที่อ้างว่า
พระพุทธเจ้าเป็นอวตารของพระวิษณุ
พระพุทธเจ้าถูกเรียกว่ามารในคัมภีร์ปุราณะต่างๆ ที่เชื่อถือ
กันว่าเป็นฮินดูธรรมที่แท้จริง
ใน ภวิษยปุราณะ
พลินา เปฺรษิโต ภูเมา มยะ ปฺราปฺโต มหาสุระ
ศกฺยสิหคุรุรฺ เคโย พหุมายาปฺรวรฺตกะ
พลิได้สง่ อสูรผูย้ งิ่ ใหญ่ชอื่ มยะไปยังโลก เพือ่ สร้างความหลอกลวง
และหลงผิดเป็นอันมาก เมื่อมาถึงจะมีชื่อว่าศากยสิงหคุรุ
ส นามฺนา เคาตมาจารฺยา ไทตฺยปกฺษวีวรฺธกะ
สรฺวตีรฺเถฺ เตเนว ยนฺตฺราณิ สฺถาปิตานิ ไว
หรืออีกนามหนึง่ ว่าเคาตมาจารย์ เป็นผูท้ �ำ ให้พวกอสูรเจริญรุง่ เรือง
เขาได้สร้างสถาบันในสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ทั้งหลาย
เตษามโธคตา เย ตุ เพาทฺธาศฺ จาสํ สมนฺตตะ
ศิขาสูตฺรวิหีนาศฺ จ พภูวุรฺ วรฺณสงฺกราะ
พวกที่หลงผิดไปเป็นชาวพุทธ สละผมและสายอุปวีต (เครื่องบ่ง
บอกวรรณะ) พวกเขาจะแต่งงานกันโดยไม่ค�ำ นึงถึงวรรณะ และจะตกนรก
ด้วยการสมรสนอกวรรณะของตน
การต่อต้านการทำ�ลายพระพุทธศาสนา m 23

ทศโกฏฺยะ สฺมฺฤตา อารฺยา พภูวูรฺ เพาทฺธมารฺคิณะ


ชนชาติอารยะกลายเป็นพุทธบริษัทนับสิบโกฏิ

จาก วาลมีกิรามายณะ
(รามเกียรติ์ของฤาษีวาลมีกิ โรงพิมพ์คีตา โครัขปุระ อโยธยา
กาณฑะสรฺค ๑๐๙, โศฺลก ๓๔)
ยถา หิ โจระ ส ตตะ หิ พุทฺธสฺ ตถาคตํ นาสฺติกมาตฺรวิธิ
ตสฺมาทฺ ธิ ยะ ศกฺยมตะ ปฺรชานำ� ส นาสฺติเก นาภิมุขา พุธะ สฺยาต
เช่นเดียวกับทีโ่ จร (ผูท้ อี่ ยูต่ รงข้ามพระเวท) และผูท้ ปี่ ฏิบตั ติ ามวิถี
ทางของพระพุทธเจ้าควรจะได้รบั โทษ เราก็ควรจะรวมพระพุทธเจ้า (ตถาคต
ผู้ ไม่นบั ถือพระเวท) และผู้ ไม่นบั ถืออืน่ ๆ เช่น พวกจารวากไว้ในกลุม่ นีด้ ว้ ย
ดังนั้น เพื่อความสุขของประชาชน พระราชาพึงลงโทษพวกที่ไม่นับถือ
พระเวทเหล่านั้น โดยใช้วิธีการแบบเดียวกับที่ลงโทษโจร และพราหมณ์
ทัง้ หลายควรจะอยูห่ า่ ง และไม่ (เกีย่ วข้อง) แม้แต่จะพูดจากับพวกคนเหล่า
นี้ที่ยังไม่ถูกลงโทษ

จาก กัลกีปุราณะ
ทฺวิตียำ�ศ ษษฺโฐ ่ ธฺยาย (บทที่ ๖ ของส่วนที่ ๒ ของเรื่อง)
ได้ มี ก ารบรรยายเกี่ ย วกั บ เมื อ งกิ ก าตะปุ ร าม ซึ่ ง ถู ก กั ล กี
(อวตารของพระวิษณุ) โจมตีไว้ว่า
24 m การต่อต้านการทำ�ลายพระพุทธศาสนา

พุทฺธาลยํ สุวิปุลํ เวทธรฺมมพหิษฺกฺฤตมฺ . ๔๑


เมืองใหญ่นเี้ ป็นหลักแหล่งของชาวพุทธ ในเมืองนีห้ า้ มการนับถือ
คำ�สอนของพระเวท
ศฺรุตฺวา ชิโน นิชคไณะ กลฺเกราคมนํ กฺรุธา
อกฺเษาหินีภฺยำ� สหิต่
เมื่อได้ยินว่ากัลกีมา ชินะ (พระนามหนึ่งของพระพุทธเจ้า) พร้อม
ด้วยกองทัพใหญ่สองกองทัพได้ออกจากเมือง
เร เพาทฺธา ! มา ปลายธฺวํ นิวรฺตฺตธฺวํ รณางฺ คเณ . ๓
เฮ้ย พวกชาวพุทธ ! อย่าหนีจากสนามรบ มารบกับข้า
ชินํ นิปติตํ ทฺฤษฺฏฺวา เพาทฺธา หาเหติ จุกฺรุศุะ
กลฺเกะ เสนาคณา วิปฺรา ชหฺฤษุรฺ นิหตรารยะ
เมือ่ เห็นพระชินะตาย กองทัพชาวพุทธพากันร้องไห้ครำ�่ ครวญ ข้าแต่
พราหมณ์ทงั้ หลาย เมือ่ ได้ฆา่ เหล่าศัตรูแล้ว ทหารของกัลกีตา่ งก็ดอี กดีใจ
ส ตุ ศุทฺโธทนสฺ เตน ยุยุเธ ภีมวิกฺรมะ . ๓๑
ส่วนพระเจ้าศุทโธทนะ ผู้มีความเก่งกล้าอันน่ากลัวได้รบกับพระ
กัลกีนั้น
มหามายาได้เข้ามาช่วยพระเจ้าศุทโธทนะด้วย แต่เนื่องจาก
พระนางมหามายาที่จริงก็คือตัวมหามายาของพระวิษณุ พระวิษณุ
จึงได้รวมพระนางมหามายาไว้ในตัวของพระองค์ และได้กำ�จัดพระ
เจ้าศุทโธทนะ เมื่อทั้งสองถูกกำ�จัดแล้ว
การต่อต้านการทำ�ลายพระพุทธศาสนา m 25

นิรีกฺษฺย กลฺกีะ เพาทฺธาสฺ ตฺรสุรฺ ธรฺมนินฺทกาะ


พวกชาวพุทธ ซึ่งเป็นผู้ประทุษร้าย (ฮินดู) ธรรมะ เมื่อเห็นกัลกี
ต่างพากันตกใจ

บทที่ ๑ ของส่วนที่ ๓ ของเรื่อง


ทตฺตฺวา โมกฺษํ มฺเลจฺฉเพาทฺธปฺริยาณำ� กฺฤตฺวา ยุทฺธํ ไภรวํ
ภีมกรฺมฺมา
หตฺวา เพาทฺธานฺ มฺเลจฺฉสํฆำ�ศฺ จ กลฺกิสฺ เตษำ� ชฺโยติะ สฺถานมา-
ปูรฺยฺย เรเช . ๔๔
พระกัลกีผู้มีการกระทำ�อันน่าสะพรึงกลัว เมื่อได้ทำ�สงครามเสร็จ
และได้ฆา่ หมูค่ นนอกศาสนาทีเ่ ป็นชาวพุทธและพวกวิปริต ได้เผาศพพวก
เขาในที่เผาศพ และได้ปลดปล่อยบรรดาสตรีของพวกคนนอกศาสนาที่
เป็นชาวพุทธ (กัลกี) ได้รุ่งเรืองด้วยเกียรติยศแล้ว
เย ศฺฤณฺวนฺติ วทนฺติ เพาทฺธนิธนํ มฺเลจฺฉกฺษยมฺ
สาทรานลฺ โลกาะ โศกหรํ สทา ศุภกรํ ภกฺติปฺรทํ มาธเว
เตษาเมว ปุนรฺ น ชนฺมมรณํ สรฺวารฺถสมฺปตฺกรํ
มายาโมหวินาศนํ ปฺรติทินํ สํสารตาปจฺฉิทมฺ . ๔๔
คนทีฟั่ งและอ่านเรือ่ งความพินาศของคนวิปริตและการสิน้ ซากของ
ชาวพุทธแล้ว จะหมดทุกข์ จะได้สิ่งดีงาม จะเพิ่มพูนความภักดีต่อพระ
กฤษณะ (ปางหนึ่งของพระวิษณุ) จะไม่เกิด และดังนั้นจะไม่ตายอีก ผู้ที่
ได้ยนิ ได้ฟังเรือ่ งนีจ้ ะได้ทกุ สิง่ ทีต่ อ้ งการในโลก ความหลอกลวงและความ
26 m การต่อต้านการทำ�ลายพระพุทธศาสนา

หลงผิดจะละลายหมดสิ้นไป และจะไม่ต้องประสบกับความทุกข์ในการ
เวียนว่ายตายเกิดอีก

บทที่ ๑๑ ของส่วนที่ ๓ ของเรื่อง


เย ภกฺตฺยาตฺร ปุราณสารมมลํ ศฺรีวิษฺณุภาวาปฺลุตํ
ศฺฤณฺวนฺตีห วทนฺติ สาธุสทสิ เกษฺเตฺร สุตีรฺถาศฺรเม
ทตฺตฺวา คำ� ตุรคํ คชํ คชวรํ สฺวรฺณํ ทฺวิชายาทราตฺ
วสฺตฺราลงฺการไณะ ปฺรปูชฺย วิธิวนฺ มุกฺตาสฺ ตุ เอโวตฺตมาะ . ๓๑
อุดมบุคคลผู้อยู่ในสมาคมที่ดี หรืออยู่ ณ สถานที่ศักดิ์สิทธิ์
ปูชนียสถาน หรือในอาศรมนักบุญใดๆ เมือ่ ได้บชู าเหล่าพราหมณ์ดว้ ยผ้า
และเครื่องประดับ ให้ โค ม้า ช้างธรรมดา ช้างชั้นดี และทองแก่พราหมณ์
ด้วยความเคารพแล้ว และได้เอ่ยบทสรรเสริญหรือฟังคัมภีร์ปุราณะเล่มนี้
ซึ่งเป็นยอดของคัมภีร์ทั้งหมดด้วยความจงรักภักดีในองค์พระวิษณุ ก็จะ
ต้องเข้าถึงความหลุดพ้นอย่างแน่นอน
จินตนิยายทีล่ ดคุณค่าของพระพุทธเจ้าและพระธรรมคำ�สอน
ของพระองค์เหล่านี้แพร่หลายไปได้ทั่วประเทศ ก็เพราะผลของการ
หลอกล่อที่ยั่วใจอย่างนี้นั่นเอง
แถลงการณ์ร่วมของ
ท่านชคัทคุรุ ศังกราจารย์ ศรีชเยนทระ สวัสติจี
แห่งสำ�นักกาญจี กัมมโกฏิ ปีฐ
และวิปัสสนาจารย์ สัตยา นารยัน โกเอ็นก้า
ณ สำ�นักงานมหาโพธิสมาคม, สารนาถ พาราณสี
เวลา ๑๕.๓๐ น. วันที่ ๑๑ พ.ย. ๒๕๔๒
แถลงการณ์ร่วมฉบับนี้เกิดขึ้นภายหลังจากที่ได้มีการพูดคุย
กันฉันมิตรระหว่างท่านชคัทคุรุ ศังกราจารย์ ศรีชเยนทระ สวัสติจี
แห่งสำ�นักกาญจี กัมมโกฏิ ปีฐ กับวิปัสสนาจารย์ คุรุจี ศรีสัตยา
นารยัน โกเอ็นก้า
ทั้งสองเห็นพ้องกันและตั้งความปรารถนาว่า ประเพณีเก่าแก่
ทั้งสอง (คือพระเวทและสมณะ) จะได้มีสมั พันธไมตรีอนั ดีต่อกันและ
มีความปรองดองกัน หากจะมีความเข้าใจผิดอันใดเกิดขึ้นเกี่ยวกับ
ความสัมพันธ์ระหว่างประเพณีทงั้ สองในหมูป่ ระเทศเพือ่ นบ้าน ก็ควร
จะทำ�การชำ�ระสะสางเสียให้กระจ่างโดยเร็ว
ข้อที่เห็นพ้องต้องกันมีดังนี้ :
๑. วรรณคดี (ในอินเดีย) ที่แต่งขึ้นในอดีตบางเล่มจะด้วย
เหตุผลกลใดก็ตาม ได้ประกาศว่าพระพุทธเจ้าเป็นอวตารหนึ่งของ
พระวิษณุ พร้อมทั้งป้ายสีพระองค์ต่างๆ นานา ซึ่งได้สร้างความ
ขุ่นเคืองให้แก่ประเทศเพื่อนบ้านเป็นอันมาก เพื่อเป็นการสร้าง
สัมพันธไมตรี เราทัง้ สองมีความเห็นว่าสิง่ ทีเ่ กิดขึน้ แล้วในอดีตทีผ่ า่ น
28 m การต่อต้านการทำ�ลายพระพุทธศาสนา

มา (ไม่สามารถทีจ่ ะไปแก้ไขอะไรได้ แต่) ก็ควรทีจ่ ะลืมเลือนเสีย และ


จะต้องไม่โฆษณาเผยแพร่ความเชื่อเช่นนั้นอีก
๒. ประเทศเพื่อนบ้านมีความเข้าใจผิดว่า สมาคมฮินดูแห่ง
ประเทศอินเดียกำ�ลังจะจัดการประชุมเพือ่ แสดงตนว่ามีอทิ ธิพลเหนือ
พุทธศาสนิกชน เพือ่ แก้ความเข้าใจผิดดังกล่าว เราขอประกาศว่าทัง้
พระเวทและสมณะเป็นประเพณีเก่าแก่ของอินเดีย ต่างก็มเี กียรติภมู ิ
ของตน การทีฝ่ า่ ยใดฝ่ายหนึง่ พยายามแสดงตนว่าสูงส่งกว่าอีกฝ่าย
รังแต่จะก่อให้เกิดความเกลียดชังและความมุง่ ร้ายต่อกัน ฉะนัน้ เรือ่ ง
เช่นนีจ้ งึ ไม่ควรเกิดขึน้ อีกในภายภาคหน้า โดยประเพณีทงั้ สองนีค้ วร
ที่จะได้รับความเคารพนับถืออย่างเท่าเทียมกัน
๓. คนทุกคนไม่ว่าผู้ใดก็ตาม จะมีสถานภาพอันสูงส่งในสังคม
ได้ก็เพราะเป็นผู้ที่ท�ำความดี คนที่มีสถานภาพอันต�่ำต้อยในสังคม
คือคนที่ประกอบกรรมชั่ว ฉะนั้น ผู้ที่ประกอบกรรมดี และได้พาก-
เพียรขจัดกิเลส เช่น ราคะ โทสะ ความถือดี อวิชชา ความโลภ ความ
ริษยา และอัตตาของตน จึงถือว่าเป็นผูท้ มี่ สี ถานภาพสูงในสังคม และ
มีสิทธิที่จะมีชีวิตอยู่อย่างสุขสงบ
เราทัง้ สองเห็นพ้องต้องกันในสามประเด็นข้างต้นนี้ และขอตัง้
ความปรารถนา ขอให้ผู้ที่นับถือลัทธิศาสนาต่างๆ ทุกคนในอินเดีย
เป็นมิตรต่อกัน และขอให้ประเทศเพื่อนบ้านจงมีสัมพันธไมตรีอันดี
ต่ออินเดียด้วยเช่นกัน
สารจากวิปัสสนาจารย์ เอส. เอ็น. โกเอ็นก้า
ต่อที่ประชุมนานาชาติ
เรื่องสัมพันธไมตรีระหว่างชาวฮินดูและชาวพุทธ
เทือกเขาหิมาลัยอันศักดิส์ ทิ ธิไ์ ด้รบั เกียรติคณ
ุ อันไพศาลยิง่ ขึน้
ไปอีก จากการที่ได้เป็นที่ประสูติของพระบรมโพธิสัตว์ ซึ่งมีพระนาม
ว่าสิทธัตถะ ผู้ซงึ่ ต่อมาได้บรรลุพระอภิสมั โพธิญาณ เป็นพระสัมมา
สัมพุทธเจ้า และได้ทรงชี้มรรคาแห่งสันติและความสุขให้แก่เหล่า
นรชน ขอชื่นชมในมงคลอันเลิศของประเทศเนปาล !
พระบรมโพธิสตั ว์พระองค์นนั้ ได้บรรลุพระสัมมาสัมโพธิญาณ
ณ พุทธคยา ในประเทศอินเดีย ขอชืน่ ชมในมงคลอันเลิศของประเทศ
อินเดีย ดร. บี. เค. โมดิ ได้จดั การประชุมนานาชาติขึ้นมา ด้วยความ
มุ่ ง หวั ง ที่ จ ะสถาปนาสั ม พั น ธไมตรี ร ะหว่ า งประเพณี ส มณะและ
ประเพณี พ ระเวท แต่ จ ากรายงานการประชุ ม บางตอน ทำ � ให้
พุทธศาสนิกชนในประเทศเพื่อนบ้านของอินเดียเกิดความสงสัยว่า
การที่คณะผู้จัดการประชุมประกาศว่าพระพุทธเจ้าคือพระวิษณุ
อวตารลงมานั้น ผู้จัดกำ�ลังพยายามที่จะทำ�ให้วิมุตติธรรมและพระ
อภิสมั โพธิญาณของพระพุทธเจ้าต้องมัวหมองลงไป และการทีค่ ณะ
ผู้ จั ด ประชุ ม พยายามพิ สู จ น์ ว่ า พระธรรมคำ � สอนทั้ ง หมดของ
พระพุทธเจ้าได้แบบอย่างมาจากประเพณีพระเวท ก็เพื่อเป็นการ
บอกให้รู้เป็นนัยๆ ว่าประเพณีพระเวทนั้นเหนือกว่า ความสงสัย
30 m การต่อต้านการทำ�ลายพระพุทธศาสนา

เหล่านี้ก่อให้เกิดความเป็นศัตรูมากกว่าความเป็นมิตร
แต่โชคดีทขี่ ้าพเจ้าได้มีโอกาสหารือในเรือ่ งนี้อย่างละเอียดกับ
ท่านศังกราจารย์แห่งกาญจี กัมมโกฏิ ปีฐ ด้วยความเข้าใจอันดีต่อ
กัน ท่านศังกราจารย์เห็นด้วยกับข้าพเจ้าเป็นอย่างยิ่งว่า เราไม่ควร
จะเอาใจใส่กับเรื่องในคัมภีร์โบราณของอินเดีย ที่อ้างว่าพระผู้มีพระ
ภาคทรงเป็นองค์อวตารของพระวิษณุ และได้กลบเกลื่อนบิดเบือน
คำ�สอนของพระองค์ ไม่ว่าคัมภีร์เหล่านั้นจะถูกเขียนขึ้นมาด้วยเหตุ
ผลกลใดก็ตาม ท่านศังกราจารย์ยังกล่าวด้วยว่า ตัวท่านเองไม่เห็น
ด้วยกับข้อความเหล่านั้น และท่านก็มีความเชื่อว่าพระพุทธเจ้านั้น
คือมนุษย์ผเู้ ลิศ ท่านเห็นด้วยกับข้าพเจ้าว่าทัง้ ประเพณีพระเวทและ
สมณะนั้นล้วนเป็นประเพณีเก่าแก่ ซึ่งมีเอกลักษณ์และศักดิ์ศรีของ
ตนเองโดยไม่ขึ้นแก่กัน และในกาลข้างหน้าก็ควรที่จะระมัดระวัง
มิให้มีการสร้างเรื่องหรือรับรองข้อความใดๆ ที่ส่อว่าประเพณีหนึ่ง
เหนือกว่าอีกประเพณีหนึ่ง
ท่านศังกราจารย์และข้าพเจ้าเห็นพ้องต้องกันว่า ไม่ว่าผู้ใดก็
สามารถที่จะมีสถานะอันสูงส่งในสังคมได้ หากผู้นั้นสามารถที่จะ
ขจัดกิเลสออกจากจิตของตนได้ บุคคลจะได้รบั เกียรติเป็นทีย่ กย่อง
ในสังคมก็ด้วยการท�ำความดีมีจิตที่บริสุทธิ์ ผู้ที่ได้ชื่อว่าเป็นชนชั้น
ต�่ำของสังคม คือผู้ที่หลงระเริงอยู่กับการท�ำความชั่วและมีจิตที่หนา
แน่นด้วยกิเลส ท่านศังกราจารย์ได้เน้นว่า กฎแห่งกรรมและผลของ
กรรมนั้น เป็นที่ยอมรับทั้งในประเพณีพระเวทและประเพณีสมณะ
การพบปะพูดจากันในบรรยากาศที่เป็นมิตร และผลสรุปที่
การต่อต้านการทำ�ลายพระพุทธศาสนา m 31

ได้ในตอนท้ายนับว่าเป็นเหตุการณ์ประวัติศาสตร์ที่จะทำ�ให้ทั้งสอง
ประเพณีมคี วามใกล้ชดิ กันยิง่ ขึน้ และจะผูกพันกันต่อไปด้วยไมตรีจติ
มิตรภาพ
การแลกเปลี่ยนความคิดเห็นระหว่างท่านศังกราจารย์กับ
ข้าพเจ้านี้ ทำ�ให้ ดร. บี. เค. โมดิ มีความยินดีมาก เพราะทำ�ให้ความ
พยายามของท่านในการจัดประชุม มีแนวทางที่ชัดเจนขึ้น ขอให้
ดร. โมดิจงได้รับผลสำ�เร็จจากความเพียรพยายามอันดีงามนี้
ความเมตตา กรุณา มุทิตา และอุเบกขาเป็นคุณสมบัติอัน
ประเสริฐสูงสุด สำ�หรับความกรุณานั้นมีความสำ�คัญเป็นพิเศษ
เพราะความกรุณาที่แท้จริงนั้นย่อมเกิดจากจิตใจอันบริสุทธิ์ ซึ่งมิใช่
เป็นคุณสมบัตเิ ฉพาะของชุมชนใดชุมชนหนึง่ หรือประเพณีใดประเพณี
หนึ่ง บุคคลจะเกิดความกรุณาได้ก็เพราะเขาปราศจากกิเลสในจิต
สังคมใดที่เต็มไปด้วยผู้คนที่มีใจกรุณา สังคมนั้นย่อมเป็นสังคมที่มี
เกียรติสูง ด้วยเหตุนี้บุคคลจึงควรที่จะพากเพียรพยายามสร้างสม
คุณสมบัตินี้ให้เกิดขึ้นในตน ในเมื่อคุณสมบัตินี้มิได้เป็นเอกสิทธิ์
เฉพาะของชาวฮินดู หรือชาวพุทธ หรือเชน หรือซิกข์ หรือปาร์ซี
หรือมุสลิม หรือคริสต์ แต่เป็นสิทธิและหน้าที่ของคนทุกคนโดยไม่
จำ�กัดชั้นวรรณะหรือลัทธิศาสนาใดๆ ขอให้ผู้คนทั้งปวงจงได้ใช้วิธี
การอันเก่าแก่นี้ในการชำ�ระจิตให้บริสุทธิ์ และทำ�จิตให้เต็มเปี่ยมไป
ด้วยคุณธรรมอันประเสริฐ เพือ่ ความสุขของตนเองและเพือ่ ความสุข
ของผู้อื่นด้วย
บรรดาอริยชนทั้งหลายในโลกนี้ ซึ่งรวมทั้งผู้ที่มิได้มาจาก
32 m การต่อต้านการทำ�ลายพระพุทธศาสนา

ประเพณีทั้งสอง ล้วนได้ชื่อว่าเป็นอริยบุคคล เพราะต่างก็มีความ


กรุณาอันเกิดจากจิตที่บริสุทธิ์ เราทุกคนขอนอบน้อมบูชาท่านผู้มี
ใจกรุณาทั้งหลายทั่วโลกจากทุกๆ ศาสนา
ขอให้เราทั้งหลายจงตั้งความหวังว่า ด้วยผลจากการประชุม
ครั้งนี้ ประวัติศาสตร์จะได้เริ่มเปิดหน้าใหม่นับแต่นี้ไป และผลที่ได้
รับจากการประชุมนี้ จักเป็นประโยชน์มใิ ช่เฉพาะแต่กบั ประเทศทีถ่ ือ
ปฏิบตั ติ ามประเพณีพระเวทและสมณะเท่านัน้ แต่รวมถึงมนุษยชาติ
ทั้งมวลด้วย ข้าพเจ้าขอส่งความปรารถนาดีด้วยใจจริงมายังที่
ประชุมนี้ทไี่ ด้จดั ขึ้นทีล่ มุ พินี ดินแดนอันศักดิส์ ิทธิข์ องประเทศเนปาล
ขอเนปาลจงระลึกด้วยความภาคภูมใิ จในอดีตอันสูงส่งของตน
ขออินเดียจงระลึกด้วยความภาคภูมิใจในอดีตอันสูงส่งของตน ขอ
ให้มวลมนุษยชาติจงมีความสุข มีสันติ และได้พบกับความหลุดพ้น
โดยทั่วกัน

จากกัลยาณมิตร เอส. เอ็น. โกเอ็นก้า


บทความต่อไปนี้แปลจากต้นฉบับเดิมของท่านอาจารย์โกเอ็นก้าที่ได้สรุปเรื่องข้างต้น
และนำ�ออกเผยแพร่ในประเทศอินเดีย โดยนำ�ลงพิมพ์ในวารสาร Vipassana Patrika
ฉบับ ธ.ค. ๒๕๔๒ และทางมูลนิธิส่งเสริมวิปัสสนากรรมฐานในพระสังฆราชูปถัมภ์
ได้นำ�ลงพิมพ์ใน “จุลสารวิปัสสนา” ฉบับที่๑ ปีที่ ๑๓ ม.ค.-มี.ค. ๒๕๔๓

ความปรารถนาดีอันเกื้อการุณย์
เมื่อไม่นานมานี้ได้มีการจัดการประชุมระหว่างประเทศขึ้นที่
ลุมพินี สถานทีป่ ระสูตขิ องพระพุทธเจ้าในประเทศเนปาล โดยมีเรือ่ ง
ความกรุณาเป็นหัวข้อในการประชุม วัตถุประสงค์ก็คือเพื่อสร้าง
สัมพันธภาพในหมู่ประเทศเพื่อนบ้านของอินเดียที่นับถือพระพุทธ
ศาสนา

ความกรุณา
กรุณา หรือความปรารถนาที่จะช่วยผู้อื่นให้พ้นทุกข์ เป็น
สภาวะจิตที่สูงส่งยิ่งของมนุษย์ เช่นเดียวกับ เมตตา หรือความรักที่
ปราศจากความเห็นแก่ตวั มุทติ า ความเบิกบานแช่มชืน่ เมือ่ เห็นผูอ้ น่ื
มีความสุข และอุเบกขา การวางใจเป็นกลางไม่เอนเอียงด้วยความ
ชอบหรือชัง กรุณา เป็นหนึ่งใน พรหมวิหาร (ธรรมประจำ�ใจอัน
ประเสริฐ ๔ ประการ) การเอาแต่พูดคุยถกเถียงหรือสรรเสริญใน
เรือ่ งความกรุณาเพียงอย่างเดียว ไม่อาจช่วยให้เราเข้าถึง พรหมวิหาร
34 m การต่อต้านการทำ�ลายพระพุทธศาสนา

ที่แท้จริงได้ แม้การยอมรับเรื่องความกรุณาในระดับเชาวน์ปัญญา
ว่าเป็นธรรมอันประเสริฐสูงส่งจะเป็นสิ่งที่ดี แต่มันก็ไม่อาจช่วยให้
เราเข้าถึงพรหมวิหารอันแท้จริงได้อีกเช่นกัน พรหมวิหาร คือธรรม
เครื่องอยู่ของพรหม (ผู้ที่อยู่ในลำ�ดับชั้นสูงสุดของบรรดาสรรพสัตว์)
เป็นหลักในการประพฤติปฏิบัติอันสูงส่ง เป็นคุณสมบัติของการ
ปฏิบัติธรรม หากจิตเต็มเปี่ยมไปด้วยคุณลักษณะแห่งพรหมดังว่า
เราจึงจะเรียกว่า พรหมวิหาร แต่จิตจะเปี่ยมไปด้วยเมตตา กรุณา
มุทิตา และอุเบกขา ได้ ก็ต่อเมือ่ กิเลสทั้งหลายทั้งปวงถูกขจัดออกไป
จากจิตในระดับลึกที่สุดแล้วโดยสิ้นเชิง จิตที่บริสุทธิ์เช่นว่า และ
สภาวะอันประเสริฐซึง่ เกิดจากจิตดังกล่าวนัน้ เป็นผลสืบเนือ่ งมาจาก
การปฏิบัติธรรม
การดำ � เนิ น ชี วิ ต ในครรลองธรรมหมายความว่ า อย่ า งไร ?
หมายถึ ง การดำ � เนิ น ชี วิ ต อย่ า งมี ศี ล ธรรม คื อ ละเว้ น จากการก่ อ
พฤติกรรมอันเป็นการรบกวนและทำ�ลายความสุขสงบของผู้อื่น ทั้ง
โดยทางกายและวาจา
การจะตั้งมั่นอยู่ในศีลในธรรมได้นั้น จำ�เป็นที่จะต้องสามารถ
ควบคุมจิตของตนเองให้ได้เป็นอย่างดีเสียก่อน ดังนัน้ เราจึงต้องฝึก
จิตให้จดจ่อแน่วแน่อยู่กับสิ่งที่เป็นกลางๆ ซึ่งจะไม่ก่อให้เกิดราคะ
(ความคิดสุข) หรือโทสะ (ความขุ่นเคือง) โดยมีรากฐานอยู่กับความ
จริงที่ได้ประสบด้วยตนเองและปราศจากอวิชชา
ทว่าลำ�พังเพียงแค่การทำ�จิตให้ตั้งมั่นด้วยการจดจ่ออยู่กับ
สิ่งที่เป็นกลางๆ เพียงอย่างเดียวนั้นยังไม่พอ จำ�เป็นจะต้องพัฒนา
การต่อต้านการทำ�ลายพระพุทธศาสนา m 35

ปัญญาที่ระดับลึกของจิตด้วย โดยอาศัยประสบการณ์โดยตรงที่ได้
พบในการปฏิบตั ิ จนสามารถตัง้ มัน่ อยูใ่ นปัญญาทีไ่ ด้ประจักษ์แจ้งด้วย
ตนเองนี้ การปฏิบัติดังกล่าวจะช่วยขจัดรูปแบบนิสัยเก่าๆ ของจิต
ทีค่ อยแต่จะสร้างสม สังขาร หรือปฏิกริ ยิ าตอบโต้ อันเต็มไปด้วยราคะ
และโทสะอันเกิดแต่อวิชชา
ในขณะทีป่ ญ ั ญาค่อยๆ ชำ�ระรูปแบบนิสยั เก่าๆ นี้ กิเลสความ
ไม่บริสทุ ธิเ์ ก่าๆ ทีส่ งั่ สมไว้กจ็ ะถูกขจัดออกไป ในขณะเดียวกันก็ไม่มี
การสร้างสังขารใหม่ๆ ขึ้นมาอีก ในที่สุดจิตก็จะหลุดพ้นจากกิเลส
สิ่งแปดเปื้อนต่างๆ คงเหลืออยู่แต่ความบริสุทธิ์ ซึ่งจะทำ�ให้จิตเต็ม
เปี่ยมไปด้วย เมตตา กรุณา มุทิตา และอุเบกขา อันเป็นคุณลักษณะ
ของพรหมโดยธรรมชาติ
แต่ตราบใดทีค่ วามไม่บริสทุ ธิเ์ ก่าๆ ยังคงสัง่ สมอยูใ่ นจิต ทัง้ ยัง
มีการเพิ่มพูนขึ้นใหม่อยู่เรื่อยๆ จิตก็ย่อมไม่เกิด พรหมวิหาร อัตตา
มี บ ทบาทสำ �คัญ ในการก่อให้เ กิด กิเ ลสความไม่ บริ สุทธิ์ทั้ งหลาย
ตราบใดที่จิตยังมีความเห็นแก่ตัว ถือตัวเองเป็นใหญ่ ถึงแม้คนผู้นั้น
จะพูดคุยยกย่องถึง พรหมวิหารสี่ อย่างเลิศลอย ก็ไม่อาจบ่มเพาะ
พรหมวิหาร ที่แท้จริงขึ้นในตนเองได้
ยิ่งจิตหลุดพ้นจากกิเลสความไม่บริสุทธิ์มากเท่าใด พรหม
วิหาร ก็จะพัฒนามากขึน้ เท่านัน้ หากผูป้ ฏิบตั หิ ลุดพ้นโดยสิน้ เชิง เขา
ก็จะดำ�รงตนอยู่ใน พรหมวิหาร ฉะนั้น ในการพัฒนา พรหมวิหาร
หรือความมีเมตตา กรุณา มุทิตา และอุเบกขา เราจึงจำ�เป็นอย่าง
ยิ่งที่จะต้องตั้งมั่นอยู่ใน ศีล สมาธิ และปัญญา
36 m การต่อต้านการทำ�ลายพระพุทธศาสนา

ไม่มีใคร ไม่ว่าจะอยู่ในชาติชั้นวรรณะ สีผิว ชุมชน สังคม หรือ


ศาสนาใด ที่จะผูกขาด ศีล สมาธิ และปัญญาไว้ได้แต่เพียงผู้เดียว
เพราะการปฏิบัตินั้นเป็นสิ่งสากล ที่คนทุกคนสามารถที่จะบ่มเพาะ
ขึ้นได้ด้วยความพากเพียรพยายามของตน ผู้ที่ได้เจริญ ศีล สมาธิ
ปัญญาขึ้นในตน และได้ชำ�ระจิตให้บริสุทธิ์ จะเปี่ยมล้นไปด้วยความ
รัก ความกรุณา และความปรารถนาดีโดยธรรมชาติ เช่นเดียวกับ
การที่กิเลสภายในจิตอันไม่บริสุทธิ์ ไม่อาจจะถูกแบ่งแยกได้ว่าเป็น
กิเลสของชาวฮินดู มุสลิม พุทธ หรือเชน ความรัก ความกรุณา
ความปรารถนาดี และคุณลักษณะอันเป็นกุศลต่างๆ ของจิตอัน
บริสทุ ธิ์ ก็ไม่อาจปิดฉลากแบ่งแยกออกเป็นลัทธิได้ ไม่ว่าผู้ใดก็อาจ
มีกิเลสหรือมีจิตอันเป็นกุศลได้เหมือนๆ กัน
ในเมื่อหลักธรรมอันบริสุทธิ์คือ ศีล สมาธิ และ ปัญญา นั้น
เป็นสากล ปรมัตถ์ ดำ�รงอยูต่ ลอดไป ไม่ขน้ึ อยูก่ บั กาลเวลา ไม่วา่ จะ
เป็นที่ใดในโลก พรหมวิหาร อันเกิดจากการปฏิบัติตามหลักธรรม
ดังกล่าวจึงเป็นสากล ปรมัตถ์ ดำ�รงอยู่ตลอดไป ไม่ขึ้นอยู่กับกาล
เวลา ตลอดทั่วทุกแห่งหนในโลกเช่นกัน ทุกศาสนาไม่ว่าจะเป็น
ฮินดู พุทธ เชน ซิกข์ มุสลิม คริสเตียน ปาร์ซี หรือยิว ต่างก็ไม่
ปฏิเสธความสำ�คัญของศีล การทำ�จิตให้ตั้งมั่นเป็นสมาธิ และการ
ชำ�ระจิตให้บริสทุ ธิ์ รวมทัง้ ผลทีไ่ ด้รบั จากการปฏิบตั ติ ามหลักธรรม
เหล่านี้ ซึ่งก็คือความกรุณาและความปรารถนาดีต่อมวลมนุษย์
สั ง คม ชุ ม ชน และลั ท ธิ นิ ก ายต่ า งๆ ย่ อ มมี วิ ธี ก ารแสดง
ความเคารพบูชา ตลอดจนมีสถานที่สักการะ พิธีกรรม เทศกาล
การต่อต้านการทำ�ลายพระพุทธศาสนา m 37

คำ�ปฏิญาณ และวันถืออดอาหารที่แตกต่างกัน ความเชื่อทาง


ปรัชญาก็แตกต่างกัน แท้จริงแล้วชุมชนหรือลัทธิต่างๆ ล้วนเกิดขึ้น
จากรากฐานของความแตกต่างดังกล่าว แต่หลักการในการมีชีวิต
ที่มีศีลธรรม มีจิตที่ตั้งมั่น มีปัญญา มีความรักความกรุณา ความ
ปรารถนาดีนั้น เป็นสากลเหมือนกันหมดในทุกสังคม ชุมชน และ
ศาสนา ธรรมะอันเป็นสากลที่ก่อให้เกิดความกรุณานี้ จึงเป็นที่
หลอมรวมทุกลัทธิศาสนาเข้าไว้ด้วยกัน แม้ผู้คนทั้งหลายจะยัง
ยึดมั่นอยู่ในขนบธรรมเนียมลัทธินิกายของตน แต่ก็ยังสามารถเป็น
อันหนึ่งอันเดียวกันได้ ด้วยการฝึกปฏิบัติตนจนสามารถตั้งอยู่ใน
พรหมวิหารธรรม

การส่งเสริมสัมพันธภาพ
กับหมู่เพื่อนบ้านที่นับถือศาสนาพุทธ
ด้ ว ยเหตุ ที่ ก ารปฏิ บั ติ ต ามหลั ก ธรรมอั น เป็ น สากลคื อ ศี ล
สมาธิ ปัญญา และผลทีไ่ ด้รบั คือ พรหมวิหารธรรม นัน้ เป็นธรรมที่
อิงอาศัยกันอยูอ่ ย่างแยกออกจากกันไม่ได้ มันจึงมีบทบาททีส่ �ำ คัญ
ยิง่ ในการทีจ่ ะหลอมรวมทัศนะทีแ่ ตกต่างกัน ฉะนัน้ สัมพันธภาพอัน
ใกล้ชดิ ระหว่างอินเดียกับประเทศเพือ่ นบ้าน ย่อมสามารถทีจ่ ะพัฒนา
และส่งเสริมให้กระชับแน่นได้อย่างแน่นอน โดยอาศัยฐานแห่งหลัก
38 m การต่อต้านการทำ�ลายพระพุทธศาสนา

การอันเป็นสากลนี้
แต่ความพยายามในการสร้างสัมพันธภาพกับประเทศเพื่อน
บ้านของเราจะไม่เป็นผล และยังจะก่อให้เกิดความมุ่งร้ายและความ
เป็นปฏิปักษ์ขึ้นได้ หากเราไม่ใส่ใจที่จะระมัดระวังในเรื่องต่อไปนี้
๑. การที่มีผู้กล่าวอ้างว่าพระพุทธเจ้าคือพระวิษณุอวตารลง
มา โดยเข้าใจว่าการอ้างเช่นนัน้ เป็นการยกสถานภาพของพระพุทธเจ้า
ให้เทียบเท่ากับพระรามและพระกฤษณะ เพื่อให้พระพุทธเจ้าได้รับ
การสักการะบูชานั้น เป็นการสร้างความผิดพลาดอย่างมหันต์โดย
ไม่รู้ตัว เพราะความเป็นจริงนั้นเขากำ�ลังดูหมิ่นพระพุทธองค์อย่าง
ร้ายแรง พระผูม้ พี ระภาคเจ้านัน้ ได้ทรงหลุดพ้นจากวัฏจักรแห่งการ
เวียนว่ า ยตายเกิ ด อย่ า งสิ้ น เชิ ง แล้ ว หลั ง จากที่ ไ ด้ ท รงบรรลุ พ ระ
โพธิญาณอันประเสริฐ และทรงประกาศว่า อยํ อนฺติมา ชาติ - นี่คือ
ชาติครั้งสุดท้ายของเรา นตฺถิทานิ ปุนพฺภโวติ - ไม่มีชาติใหม่สำ�หรับ
เราอีกต่อไป เช่นนีแ้ ล้วจะให้บรรดาผูท้ ศ่ี รัทธาในองค์พระสมณโคดม
ยอมรับว่า พระพุทธองค์ผู้ทรงหลุดพ้นแล้วจากสังสารวัฏฏ์ เป็น
อวตารภาคหนึ่งของพระวิษณุผู้อวตารตนเองครั้งแล้วครั้งเล่าได้
อย่างไร
ดูเหมือนว่าความเชือ่ ในเรือ่ งอวตารนีจ้ ะมีต้นตอมาจากคัมภีร์
ปุราณะทัง้ หลาย โดยเริม่ แรกนัน้ เรือ่ งราวทีอ่ ธิบายไว้วา่ พระพุทธเจ้า
ทรงเป็นอวตารของพระวิษณุ ถูกแต่งขึน้ ในคัมภีรว์ ษิ ณุปรุ าณะ แล้ว
คัมภีร์ปุราณะอื่นๆ ก็ได้ลอกเลียนกันต่อๆ ไป ต้นตอความเชื่อดัง
กล่าวเป็นการสบประมาทอันน่าละอายอย่างยิ่ง ซึ่งไม่เพียงแต่จะ
การต่อต้านการทำ�ลายพระพุทธศาสนา m 39

ท�ำให้เพื่อนบ้านของเราผู้เป็นพุทธบริษัทรู้สึกขุ่นเคืองใจเท่านั้น แต่
ยังสร้างความเจ็บปวดให้พวกเขาราวกับถูกศรพิษเสียดแทงหัวใจอีก
ด้วย ตามเนือ้ เรือ่ งในคัมภีร์วษิ ณุปรุ าณะนัน้ พระพุทธองค์มไิ ด้ทรง
เป็นอวตารที่มาจากภาคที่ดีของพระวิษณุเสียด้วยซ�้ำไป แต่มาจาก
ภาคที่ไม่ดี โดยเป็นภาคที่ประกอบไปด้วยอวิชชาและความหลง
(มายาโมหะ) ซึง่ การอวตารในภาคนีม้ จี ดุ มุง่ หมายเพือ่ ทีจ่ ะหลอกลวง
ชักจูงบรรดาผู้ที่นับถือพระเวท ให้หันมาต่อต้านพระเวท เพื่อไม่ให้
คนเหล่านีส้ ามารถขึน้ สูส่ วรรค์ อันจะท�ำให้อาณาจักรของพระอินทร์
และเทวดาอื่นๆ ในสรวงสวรรค์ต้องสั่นคลอน การแต่งเรื่องเช่นนี้
นอกจากจะเป็นการกล่าวร้ายต่อองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
แล้ ว ยั ง เป็ น การให้ ร ้ า ยต่ อ พระธรรมค�ำสอนของพระองค์ ด ้ ว ย
พระพุทธองค์ทรงสอนวิธกี ารปฏิบตั วิ ปิ สั สนาอันเก่าแก่ ซึง่ ทลายม่าน
หมอกแห่งอวิชชาลง และปลดปล่อยผู้คนให้หลุดพ้นจากวัฏฏสงสาร
ทั่ วทั้ง โลกต่ างแซ่ซ้องในพระมหากรุณาธิคุณ การแอบอ้ างว่ า
พระองค์ทรงเป็นอวตารของโมหะและอวิชชา ชักน�ำผูค้ นไปสูน่ รกด้วย
การหลอกลวง นอกจากจะเป็นการบิดเบือนความจริงอย่างสิ้นเชิง
แล้ว ยังเป็นการสบประมาทล่วงเกินอย่างรุนแรงด้วย ฉะนั้น ความ
ผิดพลาดแต่ครัง้ เก่าก่อนในการใส่ไคล้วา่ พระพุทธเจ้าเป็นอวตารของ
พระวิษณุ ซึ่งมีสาเหตุมาจากความเป็นปฏิปักษ์ไม่ลงรอยกันของทั้ง
สองฝ่าย จึงไม่สมควรที่จะบังเกิดขึ้นอีกเพื่อประโยชน์สุขของคนทุก
ฝ่าย
นอกจากนี้ ความเชือ่ ทีว่ า่ กัลกีซงึ่ เป็นอวตารปางทีส่ บิ ของพระ
40 m การต่อต้านการทำ�ลายพระพุทธศาสนา

วิษณุจะมาทำ�ลายล้างชาวพุทธให้สิ้นซาก ยังเป็นการสบประมาท
ล่วงเกินที่หนักยิ่งขึ้นไปอีก เราจะต้องรู้ว่าการกล่าวเรื่องเช่นนี้จะ
เป็นการทำ�ร้ายจิตใจผู้ที่มีความศรัทธาอย่างล้นพ้นในพระศาสดา
เป็นอย่างมาก และถ้าเราต้องการที่จะปรับปรุงความสัมพันธ์กับ
ประเทศเพื่อนบ้านของเราจริงๆ เราก็จะต้องหยุดยั้งความคิดอัน
เป็นมิจฉาทิฏฐิในเรื่องที่พระวิษณุอวตารเป็นพระพุทธเจ้าโดยทันที
ทั้งนี้เพื่อประโยชน์ของทุกฝ่าย
๒. ยังมีอีกเรื่องที่ท�ำร้ายความรู้สึกของเหล่าประเทศเพื่อน
บ้ า นของเราเป็ น อย่ า งยิ่ ง เมื่ อ เราอ้ า งว่ า พระธรรมค�ำสอนของ
พระพุทธเจ้านัน้ ล้วนน�ำมาจากพระเวททัง้ สิน้ และพระพุทธองค์มไิ ด้
ทรงให้สิ่งใดใหม่แก่ชาวโลกเลย การบิดเบือนความจริงเช่นนี้สร้าง
ความเจ็ บ ปวดให้ แ ก่ ช าวพุ ท ธเป็ น อั น มาก เพราะความจริ ง นั้ น
พระพุทธองค์ทรงเป็นผูน้ �ำของประเพณีสมณะ พระองค์มไิ ด้ให้ความ
ส�ำคัญกับการสวดอ้อนวอน แต่ทรงให้ความส�ำคัญกับความเพียร
ความอุตสาหะอย่างยิ่งยวด ทรงกล่าวอย่างชัดแจ้งว่า “ตถาคตมิใช่
เป็นผู้มอบความหลุดพ้น แต่เป็นผู้ชี้หนทางแห่งความหลุดพ้น” ซึ่ง
แสดงให้เห็นถึงความแตกต่างอย่างเด่นชัดระหว่างประเพณีพระเวท
และสมณะ ดังนั้น การกล่าวว่าสิ่งที่ทรงสอนมิใช่เป็นของพระองค์
จึงเป็นความเห็นทีผ่ ดิ โดยสิน้ เชิง พระองค์ได้ทรงอธิบายรายละเอียด
ของความสัมพันธ์ระหว่างกายและจิต “เพราะ (มีปฏิกริ ยิ าตอบโต้กบั )
ความรู้สึกที่เกิดขึ้นร่างกาย กิเลสความไม่บริสุทธิ์จึงเกิดขึ้นกับจิต
และจะพอกพูนขึน้ เรือ่ ยๆ แต่ถา้ เราเฝ้าสังเกตความรูส้ กึ ทีเ่ กิดขึน้ นัน้
การต่อต้านการทำ�ลายพระพุทธศาสนา m 41

ด้วยใจอันเป็นอุเบกขา สังขารเก่าๆ ก็จะหลุดลอกไป และสังขารใหม่


ก็จะไม่เกิดขึน้ ” นีแ่ หละคือสิง่ อันประเสริฐสุดทีพ่ ระพุทธเจ้าทรงมอบ
ให้แก่ชาวโลก วิธีการปฏิบัติวิปัสสนาเพื่อความหลุดพ้นที่ทรงสอน
นี้นับเป็นการค้นพบทางวิทยาศาสตร์อันมีค่ายิ่ง มิใช่เพียงเพื่อชาว
อินเดียและเนปาลเท่านั้น หากเพื่อมนุษยชาติทั่วทั้งโลกด้วย ฉะนั้น
การกล่าวว่าพระพุทธเจ้าและประเพณีสมณะของพระองค์ แอบอิง
เอาค�ำสอนมาจากประเพณีพระเวท จึงเป็นการบิดเบือนความจริงที่
ผูศ้ รัทธาในพระพุทธเจ้าไม่อาจจะยอมรับได้ ฉะนัน้ หากไม่กล่าวเรือ่ ง
ที่บิดเบือนความจริงเช่นนี้ได้ก็จะเป็นสิ่งที่ดีที่สุด ขอเพียงให้พูดตาม
ความเป็นจริงว่าทั้งประเพณีสมณะและพระเวทต่างก็เป็นประเพณี
เก่าแก่ของอินเดียทีไ่ ม่มอี ะไรเกีย่ วข้องกัน ประเพณีทงั้ สองนีไ้ ด้แพร่
หลายอยู่ในอินเดียพร้อมๆ กันมาเป็นเวลานานหลายศตวรรษแล้ว
จึงต่างก็มีอิทธิพลต่อกันในบางระดับ แต่การกล่าวว่าประเพณีหนึ่ง
สืบทอดมาจากอีกประเพณีหนึง่ เพือ่ ให้อกี ฝ่ายตำ�่ ต้อยด้อยค่ากว่านัน้
เป็นเรือ่ งทีไ่ ม่ถกู ต้อง และรังแต่จะท�ำให้ผทู้ อี่ ยูใ่ นประเพณีนนั้ มีความ
รู้สึกที่แปลกแยกเป็นปฏิปักษ์
๓. การจะสร้างความมั่นใจให้แก่พุทธศาสนิกชนในประเทศ
เพือ่ นบ้านได้นน้ั จำ�เป็นทีจ่ ะต้องพัฒนาสัมพันธภาพระหว่างผูท้ น่ี บั ถือ
พระเวทหรือชาวฮินดูกับบรรดาชาวพุทธในอินเดียให้ดีขึ้น โดยจะ
ต้องไม่ให้มีความมุ่งร้ายหมายขวัญต่อกันเลยแม้แต่น้อย หากทำ�ได้
ดังนี้แล้ว ไม่เพียงแต่เพื่อนบ้านของเราจะรู้สึกพอใจเท่านั้น แต่ยังจะ
เป็นการช่วยรักษาเอกภาพและความเป็นปึกแผ่นของประเทศอินเดีย
42 m การต่อต้านการทำ�ลายพระพุทธศาสนา

เอาไว้ด้วย
ระบบการแบ่งแยกคนออกเป็นชัน้ วรรณะตามก�ำเนิดจนท�ำให้
เกิดชนชั้นต่างๆ ขึ้นมา เป็นสิ่งที่บั่นทอนประเทศอินเดียเป็นที่ยิ่ง !
และทีร่ า้ ยก็คอื ระบบเช่นว่านีย้ งั คงยึดถือสืบเนือ่ งมาจนกระทัง่ ปัจจุบนั
การให้ความส�ำคัญต่อการถือก�ำเนิดในวรรณะใดวรรณะหนึง่ ไม่วา่ จะ
ด้วยเหตุผลใดก็ตาม เป็นเรื่องที่ไม่ถูกต้องแม้ในอดีตที่ผ่านมา และ
หากจะพิจารณาสถานการณ์ที่ไม่มั่นคงในปัจจุบัน ความเชื่อถือว่า
ใครคนใดคนหนึง่ สูงส่งหรือต�ำ่ ต้อยกว่าคนอืน่ ๆ โดยชีข้ าดจากก�ำเนิด
ของเขา ก็นบั ว่าเป็นอันตรายต่อประเทศอย่างยิง่ ความเชือ่ ดังกล่าว
กัดกร่อนความส�ำคัญของธรรมะ ท�ำลายคุณค่าของศีลธรรมและ
มาตรฐานทางจริยธรรม คนๆ หนึ่งอาจมีสถานภาพสูงส่งในสังคม
เพียงเพราะเกิดมาจากท้องมารดาซึ่งอยู่ในวรรณะสูง ทั้งๆ ที่ตัวเอง
อาจได้ ก ่ อ กรรมท�ำชั่ ว ไว้ ม ากมาย ขณะที่ ค นอี ก คนหนึ่ ง อาจมี
สถานภาพในสังคมต�่ำต้อยเพียงเพราะถือก�ำเนิดในวรรณะต�่ำ แม้
คนๆ นัน้ จะใช้ชวี ติ อยู่ในครรลองแห่งธรรมก็ตาม ระบบเช่นนีข้ ดั แย้ง
กับหลักแห่งธรรมะโดยสิ้นเชิง เป็นเรื่องน่าเศร้าอย่างยิ่งที่การถือ
ก�ำเนิดจากท้องของแม่ที่อยู่ในวรรณะใดวรรณะหนึ่ง กลายเป็นเรื่อง
ที่ส�ำคัญกว่าการมีชีวิตอยู่ในครรลองครองธรรม บัดนี้ ถึงเวลาแล้ว
ที่จะต้องเปลี่ยนแปลงระบบนี้อย่างจริงๆ จังๆ เสียที คนจะยิ่งใหญ่
หรือสูงส่งได้ก็ด้วยการกระท�ำดี และจะต�่ำต้อยด้อยค่าก็ด้วยการ
กระท�ำทีไ่ ม่ดขี องตน แม้แต่ผทู้ ตี่ ำ�่ ต้อยทีส่ ดุ ในหมูผ่ ตู้ ำ�่ ต้อย ก็ควรจะ
สามารถที่จะก้าวขึ้นสู่สถานภาพที่สูงส่งในสังคมได้ หากเขากระท�ำ
การต่อต้านการทำ�ลายพระพุทธศาสนา m 43

แต่ความดีและละเว้นความชัว่ หากระบบเช่นนีต้ งั้ มัน่ ขึน้ มาได้ ธรรมะ


ก็จะได้รบั การเชิดชูอย่างแท้จริง และจะช่วยท�ำลายพิษร้ายของระบบ
วรรณะที่แผ่ขยายไปทั่วประเทศลงได้ ความปรองดองระหว่าง
ประชาชนทั้ ง สองศาสนาในประเทศนี้ก็ จ ะมี ม ากขึ้ น ซึ่ ง จะท�ำให้
ประเทศเพื่อนบ้านพลอยได้รับผลดีไปด้วย

การสนทนากับท่านศังกราจารย์

ก่อนที่จะมีการจัดการประชุมขึ้นที่ลุมพินีนั้น ข้าพเจ้าได้มี
โอกาสพู ด คุ ย กั บ ท่ า นศั ง กราจารย์ ใ นประเด็ น ข้ า งต้ น ที่ ส ารนาถ
ข้ า พเจ้ า รู้ สึ ก ยิ น ดี เ ป็ น อย่ า งยิ่ ง ที่ ท่ า นมี ค วามเห็ น พ้ อ งต้ อ งกั น กั บ
ข้าพเจ้าทั้งสามประเด็น ท่านศังกราจารย์และข้าพเจ้าได้เปิดแถลง
ข่าวให้กบั นักข่าวในพืน้ ทีแ่ ละออกแถลงการณ์รว่ มกัน โดยมีใจความ
ย่อๆ ดังนี้
เราหวังว่าปัญญาชนในประเทศนีจ้ ะเห็นชอบกับสิง่ (ทีจ่ ะกล่าว
ต่อไป) นี้ และให้ความร่วมมือด้วย เพื่อประโยชน์แก่ประเทศของเรา
เอง และเพื่อเป็นการปรับปรุงสัมพันธไมตรีกับประเทศเพื่อนบ้าน
ด้วย นัน่ คือการทีใ่ ห้ความบริสทุ ธิแ์ ละความยิง่ ใหญ่ธรรมะ (แทน
ที่จะเป็นความแตกต่างระหว่างลัทธิศาสนา) ได้ยืนหยัดขึ้นอีก
ครั้งหนึ่ง เพื่อประชาชนจากลัทธิความเชื่อต่างๆ ทั้งหลายใน
ประเทศนี้ จะได้ปฏิบตั ติ ามหลักธรรมอันเป็นสากลและได้ช�ำ ระ
44 m การต่อต้านการทำ�ลายพระพุทธศาสนา

จิตของตน จนสามารถบ่มเพาะความรักอันบริสทุ ธิ์ ความกรุณา


และความปรารถนาดีขึ้นมาได้เป็นอันมาก ซึ่งจะช่วยเพิ่มพูน
สันติสุข ความปรองดอง และความเจริญรุ่งเรืองขึ้นภายใน
ประเทศ เพราะในความบริสุทธิ์ของธรรมะนั้นเอง คือความดี
งามของคนทั้งปวง ความสุขของคนทั้งปวง และความหลุดพ้น
ของคนทั้งปวง

You might also like