You are on page 1of 3

การศึกษากระบวนการโลจิสติกส์ในการส่งออกเม็ดพลาสติกไปจีน(2548)

วันเสาร์ที่ 16 กรกฏาคม 2005 เวลา 12:13 น.

หัวข้องานวิจัย:  การศึกษากระบวนการโลจิสติกส์ในการส่งออกเม็ดพลาสติกไปจีน

ผู้วิจัย: นายนพรัตน์ กลัดเจริญ (2548) ( nopparat.k@gmail.com )

บทคัดย่อ:
        การค้นคว้าอิสระเรื่อง “การศึกษากระบวนการโลจิสติกส์ในการส่งออกเม็ดพลาสติกไปจีน” นี้ เป็นการศึกษาวิจัยเชิงพรรณนา (Descriptive Research)
เพื่อศึกษาถึงสภาพปัจจุบันของอุตสาหกรรม และระบบโลจิสติกส์ในการส่งออกเม็ดพลาสติกของบริษัทในกลุ่มอุตสาหกรรมปิโตรเคมีของไทย
ตลอดจนนำเสนอแนวทางในการพัฒนาระบบโลจิสติกส์ของการส่งออกเม็ดพลาสติกไปยังประเทศจีน
โดยมีขอบเขตการศึกษาเฉพาะผลิตภัณฑ์เม็ดพลาสติกประเภทโพลิเอทิลีน (HS 39.01), โพลิโพรพิลีน  (HS 39.02), โพลิไวนิลคลอไรด์ (HS 39.04) และโพลิอะซีทัล
โพลิคาร์บอเนต โพลิเอสเทอร์อื่นๆ  (HS 39.07) การดำเนินการศึกษาวิจัยเป็นการศึกษาข้อมูลทุติยภูมิจากรายงานข้อมูลทางสถิติตลอดจนเอกสารวิจัยที่เกี่ยวข้อง
เพื่อเป็นข้อมูลประกอบการคัดเลือกกลุ่มตัวอย่างของสินค้ารวมถึงผู้ประกอบการอุตสาหกรรม และการเก็บรวบรวมข้อมูลปฐมภูมิจากการสัมภาษณ์เชิงลึก (Depth
Interview) ในลักษณะ Semi-Structure Interview
กับผู้ประกอบการในกลุ่มอุตสาหกรรมปิโตรเคมีที่เป็นผู้ผลิตและส่งออกเม็ดพลาสติกที่ทำการศึกษาไปยังประเทศจีน
        ผลการศึกษาพบว่า ปริมาณการส่งออกเม็ดพลาสติกไปยังประเทศจีน คิดเป็นสัดส่วนประมาณร้อยละ 30-65 ของปริมาณการส่งออกของผู้ผลิต บรรจุภัณฑ์ที่ใช้
คือ ถุงกระดาษเคลือบพลาสติกขนาดบรรจุถุงละ 25 กิโลกรัม การเดินพิธีการทางศุลกากรเป็นแบบ One Stop Service ที่ท่าเรือแหลมฉบังเพียงจุดเดียว
มีทั้งที่ดำเนินการเองและโดยผู้รับเหมา ไม่มีปัญหาในการส่งออกถึงขั้นที่เป็นคอขวด (Bottle Neck) ทางด้านกระบวนการศุลกากร
การขนส่งสินค้าภายในประเทศเพื่อส่งออกจะใช้รถบรรทุกทำการบรรทุกตู้คอนเทนเนอร์ขนาด 20 ฟุต ซึ่งบรรจุสินค้าเม็ดพลาสติกหนักประมาณ 18 ตัน
ขนส่งไปยังท่าเรือแหลมฉบัง โดยรถบรรทุกที่ใช้ในการขนส่งสินค้าทั้งหมดเป็นของผู้รับเหมาที่เป็น Third Party Logistics
        การส่งออกเม็ดพลาสติกไปยังประเทศจีนใช้การขนส่งโดยทางเรือทั้งหมด ท่าเรือหลักในการส่งออก คือ ท่าเรือแหลมฉบัง จังหวัดชลบุรี
และท่าเรือปลายทางที่สำคัญของจีน ได้แก่ ท่าเรือเมืองกวางโจว (หวงพู่ หนานชาง ไท่ผิง) ที่อยู่ทางจีนตอนใต้ และท่าเรือเมืองเซี่ยงไฮ้
การขนส่งสินค้าจากท่าเรือไปยังแหล่งอุตสาหกรรมการผลิตพลาสติกของจีนจะใช้รถบรรทุกในการขนส่ง
โดยมีระยะเวลาตั้งแต่ลูกค้าทำการสั่งซื้อสินค้าจนกระทั่งได้รับสินค้าโดยเฉลี่ยประมาณ 15-30 วัน ทั้งนี้ ใช้ระยะเวลาในการขนส่งสินค้าประมาณ 8-13 วัน
ต้นทุนค่าขนส่งสินค้าคิดเป็นสัดส่วนประมาณ 3-5% ของมูลค่าสินค้า โดยมีค่าใช้จ่ายต่อตู้คอนเทนเนอร์ขนาด 20 ฟุต ประมาณ 15,000-31,000 บาท
(ขึ้นอยู่กับแต่ละท่าเรือปลายทางในการส่งสินค้า)
        ประเทศจีนเป็นตลาดสำคัญสำหรับอุตสาหกรรมเม็ดพลาสติก มีอัตราการเจริญเติบโตของ อุตสาหกรรมพลาสติกภายในประเทศประมาณ 10-15% ต่อปี
แหล่งอุตสาหกรรมพลาสติกที่สำคัญอยู่ทางบริเวณจีนตอนใต้โดยเฉพาะบริเวณ Pearl River Delta
ตลาดเม็ดพลาสติกในจีนมีโอกาสสูงในการขยายตัวอย่างต่อเนื่องจนถึงปี 2552
และคาดว่าอุตสาหกรรมการผลิตเม็ดพลาสติกของจีนจะพัฒนาจนสามารถเพิ่มกำลังการผลิตได้เพียงพอกับความต้องการใช้ภายในประเทศ
และอาจมีปริมาณที่มากพอสำหรับการส่งออก จะทำให้จีนเปลี่ยนสถานะจากประเทศผู้นำเข้าเป็นประเทศผู้ส่งออกเม็ดพลาสติกที่สำคัญของโลก
        หนึ่งในข้อเสนอแนะจากผู้ประกอบการเพื่อเป็นการเสริมสร้างประสิทธิภาพของระบบโลจิสติกส์ในการส่งออก คือ
รัฐบาลควรสร้างและพัฒนาเส้นทางรถไฟจากแหล่งอุตสาหกรรมไปยังท่าเรือแหลมฉบัง และส่งเสริมให้มีการใช้งานอย่างมีประสิทธิภาพ เนื่องจากมีสินค้าหลายชนิด
เช่น เม็ดพลาสติก ยางสังเคราะห์ และผลิตภัณฑ์ปิโตรเคมีอื่นๆ เหมาะสมที่จะขนส่งทางรถไฟ
และควรมีการพัฒนาให้มาบตาพุดเป็นแหล่งรวบรวมสินค้าอุตสาหกรรมดังกล่าว
ทั้งจากสินค้าในพื้นที่นิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุดและพื้นที่อุตสาหกรรมใกล้เคียงในจังหวัดระยอง เพื่อขนส่งโดยทางรถไฟต่อไปยังท่าเรือแหลมฉบัง
รวมถึงควรพัฒนากิจการพาณิชย์นาวีและมีการจัดตั้งสายการเดินเรือของประเทศไทยเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการจัดการโลจิสติกส์
และลดต้นทุนด้านโลจิสติกส์ของภาคอุตสาหกรรมเพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันสำหรับการส่งออกสินค้าของไทย

1/3
การศึกษากระบวนการโลจิสติกส์ในการส่งออกเม็ดพลาสติกไปจีน(2548)
วันเสาร์ที่ 16 กรกฏาคม 2005 เวลา 12:13 น.

Abstract:
        “A Study of Outbound Logistics for Plastic Pellets to China” is a descriptive research that aim to study current situation of the industry
and outbound logistics of plastic pellets to China, and suggests ways to develop the logistics system. Petrochemical products were
selected to study that are Polyethylene, Polypropylene, Polyvinyl Chloride, Polyacetals and Polycarbonate. The Methodology of this study
can be divided into 2 parts that are secondary data collection and primary data collection. The secondary data were importantly used to
set up the populations and samples for the study. The Depth interview method such as semi-structure interview was used to collect the
primary data gathered from the experts of the petrochemical firms.
        It was found that there are about 30-65 percents of the petrochemical products exported to China. Twenty-five-kilogram bags are
used as a container for the plastic pellets. The products are transported from the companies’ warehouse to the Laem Chabang port with
trucks provided by third party logistics providers. The trucks are 18-ton loaded with utilizing a 20-feet container. There are no any
obstructions in the customs process whether the owners or the third party logistics were proceeded. The customs process is “One Stop
Service” provided at the Laem Chabang port.
       The products are shipped from the Laem Chabang port to the Guangzhou port in the southern of China and the Shanghai port. Then,
they were transported to industrial zones by trucks. Total lead time from ordering to goods receiving was about 15 to 30 days. In the
meantime, the lead time of transportation was about 8 to 13 days. Transportation cost was 3 to 5 percents of the products’ price and it
was about 15,000 to 31,000 THB per TEU that depend on the destination ports.
       China is an important market in plastic industry. It has the growth rate about 10 to 15 percents per year. Main industrial zone of plastic
industry is in the southern of China and key area is the “Pearl River Delta”. Market situation in China has a strong potential to grow and
expand continuously until 2009. Then, the plastic industry will be completely developed. It can therefore supply for the whole domestic
demands, and may export to other countries. Finally, China could be a net or key exporter.
       The Thai government should construct and develop a rail system to consolidate products at the industrial zone and transport to the
sea port. Moreover, the government should also develop the merchant maritime activity and invest on having own shipping company in
order to improve competitive advantages of exporting Thai products.

คำสำคัญ:   เม็ดพลาสติก/อุตสาหกรรมปิโตรเคมี/โลจิสติกส์/การส่งออก/เขตการค้าเสรี/จีน

Keywords: Plastic Pellets/Petrochemical Industry/Logistics/Export/Free Trade Area/China

{jpageviews 00 none}

2/3
การศึกษากระบวนการโลจิสติกส์ในการส่งออกเม็ดพลาสติกไปจีน(2548)
วันเสาร์ที่ 16 กรกฏาคม 2005 เวลา 12:13 น.

3/3

You might also like