You are on page 1of 2

การวิเคราะห์วรรณคดีตามทฤษฎีเชิงสังคม

เรื่อง นิราศนริทร์

บทวรรณคดีที่เลือก

ถอดคาประพันธ์
กวีบรรยายถึงเหตุการณ์ในยุคนั้นๆที่ศาสนากาลังรุ่งเรืองอย่างมาก ในสมัยนั้นศาสนาแพร่หลายไปทั่ว
เหมือนกับแสงอาทิตย์ ผู้คนได้ฟังธรรมอยู่เสมอทั้งเช้าและค่า มีเจดีย์สูงมากมายได้ถูกสร้างขึ้น ทาให้บ้านเมือง
เปรียบเหมือนกับสวรรค์
วัด โบสถ์ ศาลา มีความกว้างขวางและใหญ่โต เสียงระฆังดังไปทั่วในยามค่าคืน และแสงจากโคมส่องพระ
กายไปทั่วฟ้ากลบแสงของดวงจันทร์

การวิเคราะห์ตามแนววรรณกรรมกับสังคม

1. ภาพสะท้อนของสังคมจากบทประพันธ์ข้างต้น
จากคาประพันธ์สามารถวิเคราะห์ได้ว่า บ้านเมืองในสมัยนั้นมีความรุ่งเรืองในด้านศาสนามาก โดยกล่าวถึงวัด โบสถ์
และศาลาที่ถูกสร้างขึ้นมากมาย ประชาชนก็รับฟังธรรมและใช้ชีวิตอยู่ในเมืองพุทธ บทประพันธ์นี้ยงั แสดงถึงความ
เชื่อของคนไทยที่เชื่อว่าสวรรค์มีจริง และมองว่าสวรรค์เป็นสถานที่ที่สวยงาม
2. อิทธิพลของสังคมที่มีต่อเนื้อเรื่องในบทประพันธ์ข้างต้น
จากคาประพันธ์สามารถวิเคราะห์ได้ว่า จากที่เห็นว่าสังคมในสมัยนั้นมีความรุ่งเรืองทางศาสนาอย่างมากและอีกทั้ง
ยังเชื่อว่าสวรรค์มีจริง ผู้แต่งจึงประพันธ์บทที่แสดงถึงบรรยากาศหรือสิ่งแวดล้อมที่สื่อถึงความรุ่งเรืองทางศาสนา
ออกมา อย่างเช่น ในบทประพันธ์ได้กล่าวถึงวัด เจดีย์และโบสถ์ที่ถูกสร้างอย่างยิ่งใหญ่ และสวยงามเหมือนอยู่บน
สวรรค์ สิ่งเหล่านี้แสดงถึงสภาพแวดล้อมในยุคนั้นๆ

3. อิทธิพลของบทประพันธ์ที่อาจมีต่อผู้อ่าน หรือสังคม
จากคาประพันธ์สามารถวิเคราะห์ได้ว่า บทประพันธ์อาจมีผลกระทบต่อความคิดต่อผู้อ่านหรือสังคมในบางด้าน
เช่น จากที่บทประพันธ์แสดงให้เห็นถึงความเจริญรุ่งเรืองของบ้านเมือง อาจทาให้ผู้อ่านมีความคิดที่อยากจะรักษา
ความสวยงามของบ้านเมืองพุทธนี้ไว้ โดยการดูแลรักษาซ่อมแซมวัด เจดีย์และโบสถ์ต่างๆไว้ ไม่ทาลาย เพื่อให้
บ้านเมืองสวยงามเหมือนอยู่บนสวรรค์หรือไว้เป็นมรดกให้รุ่นหลังๆได้ชมเชย

สุภวรรณ จิ๋วประดิษฐ์กุล 1205

You might also like