You are on page 1of 16

คำอธิบายของวลีที่วา “เงินงอกงาม เพื่อธรรมงอกเงย”

.........................
ว.วชิรเมธี

ความเปนมา
) ) หลังจากที่ “เจาหนาที่” ผูดูแลเครือขายสังคมออนไลนหรือเว็บมาสเตอรของสถาบัน
วิมุตตยาลัย นำเอาวลี “เงินงอกงาม เพื่อธรรมงอกเงย” ซึ่งคัดขอความมาจากธรรมบรรยายฉบับ
เต็มเรื่อง “หัวใจเศรษฐี” (ซึ่งบรรยายหลายครั้งตางกรรมตางวาระ) มาเผยแผในเฟซบุคของผูเขียน
ไดไมนาน ก็มีความเห็นตาง และเห็นดวยมากมาย ในสวนความเห็นดวยนั้นไมเปนปญหาอยูแลว
แตในสวนของความเห็นตางนั้น ผูเขียนเห็นวา มีบางคนเขาใจขอความที่ผูเขียนตองการจะสื่อสาร
ออกไปในทางที่ผิดและนำไปพูดจาใหเจตนารมณที่แทของขอความนั้นเบี่ยงเบนออกไปไกล และ
บางคนทำทาจะจุดประเด็นใหกลายเปนปญหาลุกลากใหญโตไปในทางสังคมและการเมือง ซึ่ง
ถือวา การตีความและทาทีที่เลยเถิดเชนนั้น ไมใชจุดมุงหมายของวลีที่ยกมาอาง ทั้งไมใชจุดมุง
หมายในการเผยแผพระพุทธศาสนาของผูเขียนเลยแมแตนอย เมื่อเห็นวา จะตีความเลยเถิดและ
เขาใจผิดกันออกไปมากทำนอง “ฟงไมไดศัพท จับมากระเดียด” ผูเขียน (ซึ่งตามปกติยอมรับ
ความเห็นแตกตางไดเสมอ และยินดีตอการวิพากษวิจารณที่สงเสริมบรรยากาศทางธรรมทาง
ปญญาดวยเจตนาบริสุทธิ์ ดังนั้น จึงไมคอยไดชี้แจงหรือรวมถกวิวาทะใดๆ กับใครในเวทีไหน
ก็ตามที่จุดกันขึ้นมา) ก็จึงขอถือโอกาสนี้ชี้แจง ทำความเขาใจ ใหตรงกันไว กอนที่เจตนารมณที่ดี
จะถูกเขาใจผิดและบิดผันใหกลายเปนเรื่องเสียหายอยางที่ไมควรจะเกิดขึ้น ดังตอไปนี้

“เงินงอกงาม เพ่ือธรรมงอกเงย”
สอนเรื่องหาเงิน เก็บเงิน ใชเงิน เหนือเงิน ไมใชเรื่องบูชาเงิน

พุทธศาสนากับการวางทาทีตอเงิน
) ) ตามปกติชาวโลกสวนใหญยอมเห็น “เงิน” วาเปนสิ่งสำคัญ บางคนใหความสำคัญ
กับเงินมากถึงกับยกเงินใหเปน “พระเจา” เหนือสิ่งอื่นใด ในสำนวนไทยที่เราคุนชินก็มีขอความวา
“มีเงิน ก็ใชผีโมแปงได” อยางนี้เปนตน ยิ่งในสังคมไทยของเราในชวงหลังมานี้ คานิยมเห็นเงินเปน
ใหญ เห็นเงินเปนพระเจา เห็นเงินเปนคุณคาสูงสุดของชีวิตยิ่งแพรหลาย และคานิยมบูชาเงินอยาง
ไมลืมหูลืมตานี้ก็ไดกลายมาเปนสวนหนึ่งของการยอมรับคานิยมคอรัปชั่นวาเปนเรื่องปกติในสังคม
จนคอรัปชั่นอันเกิดแตความเห็นแกเงินเปนใหญไดกลายเปนวัฒนธรรมกระแสหลักของสังคมที่คน
ไทยไมรูสึกสะอิดสะเอียนกันอีกตอไปแลว (สำรวจกี่ครั้ง กลุมตัวอยางก็บอกวา ยอมรับคอรัปชั่นได
เพราะใครๆ เขาก็ทำกัน)
) ) แตในพุทธศาสนา ทานไมไดประเมินคาของเงินเอาไวสูงสงดังหนึ่งเงินเปนพระเจา
หรือดังหนึ่งเงินเปนคุณคาสูงสุดของชีวิตที่มนุษยทุกคนตองทุมเทชีวิตเพื่อแสวงหาหรือเพื่อครอบ
ครองใหไดมากที่สุด ทั้งไมไดถือวาเงินเปนเกณฑตัดสินคุณคาของการประสบความสำเร็จในชีวิต
(เพียงอยางเดียว) แตอยางใด แตในทางพุทธศาสนานั้นทานถือวาเงินเปนไดทั้ง “อสรพิษ” และ
เปนไดทั้ง “ปจจัย” (เครื่องอำนวยความสะดวกในการดำรงชีวิต)
) ) ที่กลาววา “เงิน เปนอสรพิษ” ก็เพราะหากหาเงิน เก็บเงิน ใชเงิน กันไมเปน
กระบวนการการเกี่ยวของกับเงินทั้งหมดนี้ ก็จะทำใหชีวิตตองเดือดรอน วุนวาย เหนื่อยหนักหนา
สาหัส บาดเจ็บลมตาย สุขภาพเสื่อมโทรม ขัดแยงแตกแยก กอสงคราม เปนตนวา หากหาเงินไม
เปน เชน หาดวยวิธีการทุจริตเปนตนวา ลักขโมย ฉอราษฎรบังหลวง คายาเสพติด ฯลฯ การหาเงิน
ดวยวิธีที่ฉอฉลอยางนี้ผูหาก็ยอมจะไมมีความสุขทั้งในขณะหา ขณะใช และหากถูกจับได ก็ตองไป
ใชชีวิตอยูในคุกตะรางอยางยาวนาน หากเก็บเงินไมเปน บริหารไมฉลาด เงินก็จะกลายมาเปนขอ
พิพาทระหวางคนที่เกี่ยวของ ดังเราไดเห็นพี่นอง คนในครอบครัวเดียวกัน ญาติกัน เพื่อนกัน
ทะเลาะกัน ฆากัน หักหลังกัน เพราะอยากไดเงิน และหากใชไมเปน เชน ใชเงินนั้นซื้อหายาเสพติด
ใชเงินนั้นเลนการพลัน ใชเงินนั้นทำผิดกฎหมาย ผลของการใชเงินก็จะยิ่งทำใหชีวิตตกต่ำดำมืด
หนักขึ้นไปอีก นี่ยังไมนับวา เพราะการเห็นเงินเปนใหญ จึงทำใหทรัพยากรของโลกถูกพราผลาญ
ไปอยางมหาศาลและรวดเร็วจนโลกประสบปญหามากมาย (ซึ่งขอยกไวไมนำมากลาวถึง เพราะ
เกินความจำเปนในที่นี้)
) ) การหาเงิน เก็บเงิน ใชเงิน ไมเปน การตกเปนทาสของเงินดวยความเขลาอันเปน
ที่มาของความเดือดรอนในชีวิตอยางนี้แหละ ทานจึงกลาววา “เงิน คือ อสรพิษ” เพราะมันยอนมา
ขบกัดชีวิตของผูครอบครองไดอยางหนักหนาสาหัส

) ) ในคัมภีรพระธรรมบทมีเรื่องเลาที่แสดงวา “เงิน คือ อสรพิษ” ดังตอไปนี้


) )
) ) “ชาวนาคนนั้น ไถนาอยูแหงหนึ่ง ไมไกลกรุงสาวัตถี คืนนั้นพวกโจรหมูหนึ่งขโมย
ทรัพยของตระกูลมั่งคั่งตระกูลหนึ่งไดทรัพยมาก ไดแบงทรัพยกันที่นาของชาวนาคนนั้น (เวลา
กลางคืน) บังเอิญถุงเงินถุงหนึ่งตกอยู รุงเชาชาวนาไปไถนาตามปกติ ไมเห็นถุงเงินนั้น
) ) เชาวันนั้น พระตถาคตเจาแผขายพระญาณไปตรวจดูหมูสัตวที่พระองคควรโปรด
ไดเห็นอุปนิสัยแหงโสดาปติมรรคของชาวนานั้นและเหตุทั้งปวงอันจักเกิดขึ้นแกชาวนา พระองค
ทรงเห็นวาไมมีใครอื่นที่จะเปนพยานของชาวนาไดนอกจากพระองค จึงมีพระอานนทเปนปจฉา
สมณะเสด็จไปยังที่นั้น
) ) ชาวนาเห็นพระศาสดาแลวมาถวายบังคม แลวไปไถนาอยางเดิม พระศาสดาเสด็จ
ไปที่ถุงเงิน ตรัสกับพระอานนทวา
) ) “อานนท เธอเห็นอสรพิษนั่นหรือไม?”​
) ) “เห็นพระเจาขา อสรพิษราย” พระอานนททูลตอบ
) ) พระศาสดาตรัสเพียงเทานี้แลวหลีกไป ชาวนาไดยินเสียงนั้นจึงคิดวา “ที่นี้ เราไป-
มาอยูเสมอทั้งกลางวันกลางคืน อสรพิษจักเปนอันตรายแกเรา” ดังนี้แลว ถือดามปฏักไปหมายจะ
ตีงู เห็นถุงทรัพยบรรจุทรัพยไวพันหนึ่ง ดีใจวาพระศาสดาตรัสบอกทรัพยใหโดยนัย จึงถือเอาทรัพย
นั้นไป เอาฝุนกลบไวแลวไถนาตอไป
) ) เจาของทรัพยตื่นขึ้นเวลาเชา เห็นวาทรัพยหายไปจึงชวนกันเดินตามรอยเทาของโจร
เห็นรอยเทามาหยุดที่นาของชาวนาคนนั้น และมีรองรอยการแบงทรัพยกัน เห็นรอยเทาของชาวนา
จึงเดินตามรอยเทาไป เห็นรอยเทาไปหยุดอยู ณ ที่แหงหนึ่ง มีรอยขุดคุยดิน เอาฝุนกลบไว จึงคุย
ฝุนดูก็เห็นถุงทรัพย​ พวกเขาโบยตีชาวนาดวยทอนไมแลวนำตัวไปแสดงแดพระราชาในฐานะขโมย
ทรัพยเปนอันมาก
) ) พระราชาทรงสดับเรื่องราวโดยตลอดเวลา รับสั่งใหประหารชีวิตชาวนานั้นเสีย
) ) พวกราชบุรุษมัดชาวนานั้นไพลหลัง เฆี่ยนดวยหวาย นำไปสูที่ประหารชาวนากลาว
อยูอยางเดียววา
) ) “อานนท เห็นอสรพิษนั่นไหม?”
) ) “เห็นพระเจาขา อสรพิษราย”
) ) พวกราชบุรุษสงสัยในคำของเขา จึงถามวา เหตุไรจึงกลาวคำของพระศาสดาและ
พระอานนท เขาบอกวาตองไดเฝาพระราชาเสียกอนแลวจักบอก พวกราชบุรุษนำเขาไปเฝาพระ
ราชา เมื่อพระราชาตรัสถามจึงทูลเลาเรื่องทั้งปวงถวาย พระราชาทรงดำริวา “ชาวนานี้อางพระ
ศาสดาและพระอานนทเปนพยาน นาจะมีเหตุอะไรสักอยางหนึ่ง” ดังนี้แลวใหพักการลงโทษ
ชาวนาไวกอน ทรงพาเขาไปเฝาพระศาสดาในเวลาเย็น ทูลถามเรื่องราวตางๆ พระศาสดาตรัสตอบ
ตรงตามที่ชาวนาเลาถวายทุกประการ
) ) พระราชาตรัสวา
) ) “ขาแตพระองคผูเจริญ หากชาวนานี้ไมอางพระองคคงตายไปแลว แตเพราะเขา
กลาวคำที่พระองคตรัสกับพระอานนทครั้งแลวครั้งเลา เขาจึงไดชีวิตรอดมา”
) ) พระศาสดามีพระประสงคจะเทศนาโปรดทั้งพระราชาและชาวนาจึงตรัสวา
) ) “มหาบพิตร อาตมภาพกลาวคำเพียงเทานั้นแลวหลีกไป มหาบพิตร กรรมใดทำ
แลวเดือดรอนภายหลัง บัณฑิตยอมไมทำกรรมนั้น” ดังนี้แลวตรัสพระคาถาความวา
) ) “บุคคลทำกรรมใดแลว ตองเดือดรอนภายหลัง” เปนอาทิ มีนัยดังพรรณนามาแลว
แตตน.

) ) นี่คือ ที่มาและความหมายของคำวา “เงิน คือ อสรพิษ”


M )
) ) การหาเงิน เก็บเงิน ใชเงิน วางทาทีตอเงินอยางไมถูกตอง เงินจะกลายเปนอสรพิษ
มาขบกัดชีวิตไดทุกเมื่อ ในมุมมองของพุทธศาสนาทานจึงสอนวา ตองรูจักหาเงิน เก็บเงิน และใช
เงิน อยางมีสติ อยางมีปญญา อยาใหเงินยอนกลับมากัดเจาของจนตองมีชีวิตดวยความเดือดรอน
วุนวายทุกขตรมขมไหมเหมือนอยูในนรก หลักการตรงนี้ ขอเขียนใหจำกันงายๆ วา
) ) “สตางค ที่ใชอยางปราศจากสติ จะกลายเปนศัตรู”
) )
) ) มีคำสอนมากมายที่สอนใหรูจักหา รูจักเก็บ รูจักใชเงิน เชน ในหลักหัวใจเศรษฐี
ทานสอนวา ตองรูจักหาเงินโดย
) ) ๑.ขยันหา
) ) ๒.รักษาดี
) ) ๓.มีกัลยาณมิตร
) ) ๔.ใชชีวิตอยางพอเพียง (รูประมาณในการใชจาย)
) ) ในหลัก “กามโภคี” ทานก็สอนวา ในการหาเงินนั้นตอง “แสวงหาอยางชอบธรรม
และใชอยางรูเทาทัน เปนอิสระ” โดยทานอธิบายวา
) ) “...แสวงหาโดยชอบธรรม ไมทารุณขมขี่ ไดมาแลวเลี้ยงตนใหอิ่มหนำ
เปนสุข แจกจายแบงปนและใชทำกรรมดี อีกทั้งไมสยบมัวเมา ไมหมกมุน บริโภคโภคะ
(ทรัพยสิน) เหลานั้นอยางรูเทาทัน เห็นโทษ มีปญญาทำตนใหเปนอิสระหลุดพน เปนนาย
เหนือโภคทรัพย”
Q Q ขอใหสังเกตขอความขางตนนี้ใหดี ย้ำกันชัดๆ อีกทีหนึ่งวา ในการหาเงินนั้น
) ) - แสวงหาโดยชอบธรรม ไมทารุณขมขี่ (=วาดวยวิธีการหาเงิน)
) ) - ไดมาแลวเลี้ยงตนใหอิ่มหนำเปนสุข (=วาดวยการใชเงินเพื่อตน)
) ) - แจกจายแบงปนและใชทำกรรมดี =วาดวยการใชเงินเพื่อคนอื่น/สังคม/คุณภาพ
ชีวิต)
) ) - อีกทั้งไมสยบมัวเมา ไมหมกมุน (=วาดวยการวางทาทีทางจิตใจ ไมเห็นเงินเปน
พระเจา)
) ) -บริโภคโภคะ (ทรัพยสิน) เหลานั้นอยางรูเทาทัน เห็นโทษ มีปญญาทำตนใหเปน
อิสระ หลุดพน เปนนายเหนือโภคทรัพย (=วาดวยการวางทาทีทางปญญา คือ ในที่สุด ใหยกจิตใจ
ใหหลุดพนจากการตกเปนทาสของเงินอยางสิ้นเชิงในลักษณะ เงิน คือ ของใช ไมใชของฉัน หรือดีิ
ยิ่งกวานั้นก็ลอยพนจากการพัวพันกับเงินไปเลยเหมือนพระอริยบุคคลทั้งหลายที่ไดบรรลุมรรค ผล
นิพพาน มีชีวิตเบิกบานโดยไมตองเกี่ยวของกับเงินอีกตอไป)
) )
) ) การหาเงิน เก็บเงิน ใชเงิน (=การวางทาทีตอเงิน การจัดวางฐานะของเงิน การให
ความหมายกับเงินในชีวิต) ในพุทธทัศน ก็เปนอยางที่กลาวมาขางตนนี้

) ) มาดูฐานะของเงินในอีกความหมายหนึ่งที่ทานกลาววา “เงิน คือ ปจจัย” (เครื่อง


อำนวยความสะดวกในการดำรงชีวิต) หมายความวาอยางไร
) )
) ) คำวา “ปจจัย” หมายถึง เครื่องอิงอาศัยในการดำรงชีวิต
) ) ตามปกติคำวา “ปจจัย” ยอมหมายถึง ปจจัยสี่ เชน (๑) เครื่องนุงหม (๒) อาหารการ
กิน (๓) ที่อยูอาศัย (๔) ยารักษาโรค เมื่อเราบอกวา พุทธศาสนาถือวา เงิน คือ ปจจัย ก็
หมายความวา เงินเปนเพียง “เครื่องมือ” อยางหนึ่งในการดำรงชีวิตเทานั้น ไมไดเปน “เปาหมาย
สูงสุด” ของการดำรงชีวิตแตอยางใด (ในพุทธศาสนาทานถือวา เปาหมายสูงสุดของชีวิต คือ
นิพพาน ไมใชเงินอยางที่มีบางคนพยายามจะบอกวา ผูเขียนสอนใหเขาใจไปในทำนอง
น้ัน ซึ่งเปนการตั้งใจเบี่ยงเบนเจตนารมณของผูเขียนโดยปราศจากความเขาใจพื้นฐานทาง
พุทธศาสนาอยางสิ้นเชิง)
) ) ดังนั้น หากจะมีใครกลาววา “พุทธศาสนาสอนวา เงิน คือ เปาหมายสูงสุดของชีวิต”
) ) นี่ยอมเปนความเขาใจที่ผิดตอพุทธศาสนา
) ) หรือหากจะมีใครกลาววา ผูเขียน (ว.วชิรเมธี) สอนวา “เงิน คือ เปาหมายสูงสุดของ
ชีวิต” หรือ “เงินเปนใหญ” และ/หรือ “เงินสำคัญที่สุด” ก็ยอมเปนความเขาใจผิดในสองสถาน คือ
(๑) เขาใจผิดตอพุทธศาสนา ซึ่งไมไดสอนเชนนี้ และ (๒) เขาใจผิดตอตัวผูเขียน (ซึ่งยอมสอนพุทธ
ธรรมตามหลักพุทธศาสนา)
) ) ที่ผูเขียนสอน แสดงธรรม หรือเขียนวา “เงินงอกงาม เพื่อธรรมงอกเงย” นั้น
หมายความวาอยางไร
) ) คำตอบก็คือ ผูเขียนตองการชี้วา ในพุทธศาสนานั้น เรามองวา เงินไมใชสิ่ง
สำคัญสูงสุดของชีวิต เงินไมใชพระเจา เงินไมใชคำตอบสุดทายสำหรับทุกสิ่งทุกอยาง แต
เงินเปนเพียงปจจัยเครื่องอาศัยในการดำรงชีวิตใหราบรื่นเทานั้น ดวยเหตุนี้ ถาเรามีเงิน ก็
ควรรูจักเปลี่ยนเงินใหเปน “ธรรม” ซึ่งหมายถึง “คุณภาพชีวิตของตน เชน ปญญา สุขภาพ
ความดีงาม คุณภาพชีวิตของคนอื่น ของสังคม และของโลก” เพื่อใหจำงายๆ ก็จึงเขียนไวติด
ตนไมที่วัดวา
) ) “เงินงอกงาม (นำไปสู) ธรรมงอกเงย”
) ) หรือ “เงินงอกงาม เพื่อ ธรรมงอกเงย”
) ) และ/หรือ “เงินงอกงาม ธรรมงอกเงย”
) ) พิจารณาใหดีๆ จะเห็นวา ขอความดังกลาวนี้ ไมไดสอนใหมีเงิน แลวจบที่เงิน แต
วลีขางหนาเปนเหตุ วลีขางหลังเปนผลอยูในตัวอยางชัดเจน แทบไมเปดชองใหตีความวา “เงินเปน
ใหญ” ตรงไหนเลย ถาอานกันอยางพินิจจะเห็นวา ขอความนี้มีความชัดเจนอยูในตัวเองแลววา ผู
เขียนตองการสื่อสารอะไร อยางไรก็ตาม ตอไปอาจตองเขียนใหยืดยาวขึ้นวา “เงินงอกงาม เพื่อให
ธรรมงอกเงย” หรือ “ถามีเงิน กรุณาเปลี่ยนเงินใหเปนคุณภาพชีวิต” แตเขียนอยางนี้ คงไมเรียกวา
“คมธรรมประจำวัน” เพราะผูอานแทบไมไดใชสมองในการคิดเชิงวิเคราะห
) ) กลาวโดยสรุป วลีที่วา “เงินงอกงาม เพื่อธรรมงอกเงย”
) ) ผูเขียนมุงหมายจะสื่อสารวา “หากมีเงิน ตองรูจักเปลี่ยนเงินใหเปนธรรมะ อัน
ไดแกคุณภาพชีวิต คุณงามความดี สติปญญา ความกาวหนาในทางธรรมทางจิตวิญญาณ
การศึกษาหาความรูความจริง การบำเพ็ญประโยชนสุขแกตน แกสังคม แกเพื่อนมนุษย
และแกโลก” อยางนี้เปนตน ไมใชมีเงินแลวก็หยุดอยูกับเงิน โดยเขาใจผิดๆวา พอมีเงิน
แลว ก็ประสบความสำเร็จในชีวิตแลว พอมีเงินแลว ก็หยุดการพัฒนาตนเองแลว หรือ พอ
มีเงินแลว ก็ไมจำเปนตองขวนขวายทำอะไรอยางอื่นอีก หรือไมอยากใหคิดวา ใครมีเงิน
คนนั้นคือพระเจา และหรือไมอยากใหเชื่ออยางผิดๆ วา เงินคือพระเจา เงินเปนใหญ เงิน
คือทุกสิ่งทุกอยาง เงินเทานั้นที่ครองโลก เงินสำคัญที่สุด ซึ่งนี่เปน “คา (ที่ไมนา) นิยม” ที่
ไมถูกตอง
) ) สิ่งที่ผูเขียนตองการจะถายทอด ก็คือ ตองการใหคนวางทาทีตอเงินอยางถูกตองใน
ฐานะที่เงินเปนเพียง “ปจจัย” อยางหนึ่งในบรรดาปจจัยอีกหลายๆ อยางของการดำรงชีวิตเทานั้น
อยาใหคา อยาใหความสำคัญกับเงินมากเกินไป จนกลายเปนสรณะสูงสุดของชีวิต ดวยเหตุนี้
ถึงไดบอกวา “เงินงอกงาม” (ถาหากมีเงิน) ก็เพื่อ “ธรรมงอกเงย” (จงเปลี่ยนเงินน้ันเปนคุณภาพ
ชีวิตในทางที่สรางสรรค) สาระสำคัญก็มีอยูแคนี้ แตเวลานี้ มีบางคนเขาใจผิดกันไปไกล เหมือน
กำลังพูดกันอยูคนละเรื่อง เหมือนคนหนึ่งถามวา “ไปไหนมา” อีกคนกลับตอบวา “สามวา กับสอง
ศอก” ซึ่งไมเกี่ยวของกันเลย
) ) เพื่อไมอยากใหเขาใจผิดมากไปกวานี้ วาแนวคิด “เงินงอกงาม เพื่อธรรมงอกเงย”
นั้นมีความหมายอยางไรแน ผูเขียนขอยกเอา “เรื่องจริง” ในสมัยพุทธกาลของอภิมหาเศรษฐีชื่อ
อนาถปณฑิกะ (บิล เก็ตส แหงสมัยพุทธกาล) มาเลาใหฟงอยางหมดจดโดยไมตัดทอนคำแปล
จากตนฉบับในภาษาบาลีเลย ดังตอไปนี้
) )
) ) อนาถปณฑิกมหาเศรษฐี ใชเงินจางลูกไปฟงธรรม

) ) “นายกาละแมจะเปนบุตรของอนาถปณฑิกเศรษฐีก็จริง แตหามีศรัทธาในพระ
รัตนตรัยเชนเศรษฐีไม เขาไมปรารถนาไปเฝาพระศาสดาทั้งที่อารามและที่บานของตน ไมตองการ
ฟงธรรม ไมตองการขวนขวายปฏิบัติบำรุงพระสงฆ แมมารดาบิดาออนวอนอยูเนืองๆ ก็หาเชื่อฟง
ไม
) ) อนาถปณฑิกเศรษฐีผูบิดาคิดวา “เจากาละนี้ เมื่อมีความเห็นผิดอยูอยางนี้จะตอง
ตกนรกอยางแนนอน เมื่อเรายังรูเห็นอยู ไมควรที่เขาจะตกนรก เราควรออกอุบายใหเขามีความเห็น
ชอบ ก็บุคคลผูไมอยากไดทรัพย ดูเหมือนจะไมมีในโลกนี้ เราควรทำลายทิฏฐิผิดๆ แหงบุตรของเรา
เสีย”
) ) เศรษฐีจึงพูดกับนนายกาละผูบุตรวา
) ) “พอ เจาจงรักษาอุโบสถ ไปวิหารแลวฟงธรรมเถิด เสร็จแลวเราจักใหกหาปณะ
๑๐๐ แกเจา”
) ) นายกาละใหพอรับคำถึง ๓ ครั้ง แลวจึงยอมรักษาอุโบสถ ไปสูวิหารอันเปนที่
ประทับของพระศาสดา แตหาไดฟงธรรมไม เขาเลือกนอนที่ใดที่หนึ่งอันผาสุกแกตน แลวรุงขึ้นรีบ
กลับบานแตเชาตรู
) ) ฝายเศรษฐีบิดาของเขาเห็นลูกชายกลับมาก็รีบบอกคนใชใหนำอาหารอันประณีต
มาใหโดยเร็ว แตนายกาละไมยอมบริโภค จนกวาจะไดกหาปณะกอน เศรษฐีจึงยอมมอบเงิน ๑๐๐
กหาปณะให เขาจึงยอมบริโภคอาหาร
) ) วันรุงขึ้นเศรษฐีขอใหเขาไปฟงธรรม และใหจำพระพุทธพจนใหไดสักบทหนึ่ง โดย
ยืนฟงตอพระพักตรของพระสัมมาสัมพุทธเจา หากทำไดดังนั้นจะไดรางวัล ๑,๐๐๐ กหาปณะ นาย
กาละรับดวยความยินดี
) ) เขาไปยืนฟงธรรมเฉพาะพระพักตรพระศาสดา พระพุทธองคทรงทราบเรื่องที่นาย
กาละรับจางบิดามาฟงธรรม จึงทรงบันดาลใหเขาจำไมไดแมแตบทเดียว เขาจึงตั้งใจฟงมากขึ้น
เพื่อจำใหไดสักบทหนึ่ง ฟงไปๆ ไดบรรลุโสดาปตติผล
) ) พอรุงขึ้น เขากลับบานพรอมภิกษุสงฆมีพระพุทธเจาทรงเปนประมุข มหาเศรษฐีเห็น
แลวรำพึงวา “วันนี้ลูกเรานารักจริง เราชอบใจ”
) ) เมื่ออังคาสพระสงฆมีพระพุทธเจาเปนประมุข เศรษฐีก็สั่งใหอาหารแกบุตรชาย
เหมือนกัน นายกาละนั้นคิดอยูตลอดเวลาวา ขอบิดาอยาไดใหทรัพยแกตนเฉพาะพระพักตรของ
พระศาสดาเลย และขอพระศาสดาอยาไดทรงลวงรูถึงเรื่องที่ตนรักษาอุโบสถและฟงธรรมเพื่อคา
จาง แตความจริงเรื่องนี้พระศาสดาทรงทราบแลวตั้งแตวันวาน
) ) เมื่อพระศาสดาเสวยเสร็จแลว มหาเศรษฐีใหคนวางหอกหาปณะพันหนึ่งตรงหนา
บุตร พรอมพูดวา
) ) “กาละ นี่คาจางสำหรับเจาที่รักษาอุโบสถและฟงธรรม”
) ) นายกาละรูสึกละอายอยางยิ่ง จึงพูดวา “พอ ผมไมรับกหาปณะเหลานี้ีดอก” แม
บิดาจะออนวอนหลายครั้ง ก็หารับไม
) ) เศรษฐีไดทูลเลาเรื่องทั้งปวงใหพระศาสดาทรงทราบ พระพุทธองคตรัสวา “ที่เปน
อยางนั้นเพราะบุตรของทานไดรับแลวซึ่งสิ่งอันประเสริฐกวาสมบัติแหงจักรพรรดิราช
ประเสริฐกวาความเปนใหญในโลกทั้งปวงนั่นคือ โสดาปตติผล” ดังนี้แลวตรัสพระคาถาวา
) ) “โสดาปตติผลประเสริฐกวาความเปนจักรพรรดิ กวาการไปสูสวรรคและกวา
ความเปนใหญในโลกทั้งปวง”
)
) ) เรื่องบุตรของอนาถปณฑิกเศรษฐีที่ใชกุศโลบาย “จางลูกไปฟงธรรม” (เพราะเขารูดี
วา คนทั้งโลกนั้นเห็นเงินลวนตาโต รวมทั้งลูกของเขา) จนลูกไดฟงธรรมจากพระพุทธเจาแลวบรรลุ
ธรรมกลายเปนพระอริยบุคคลระดับโสดาบัน และในที่สุด เขาก็มีจิตหลุดพนจากการเห็นแกเงิน
อยางสิ้นเชิง
) ) นี่คือ ตัวอยางหรือคือที่มาของคำกลาวที่วา “เงินงอกงาม เพื่อ ธรรมงอกเงย” (ถามี
เงิน จงเปลี่ยนเงินเปนคุณภาพชีวิต ซึ่งในกรณีนี้ ทานเศรษฐีใชเงินซึ่งเปนโลกิยทรัพย เปนรางวัล
จูงใจใหลูกไดอริยทรัพย คือ มรรค ผล นิพพาน ซึ่งเปนแกนสารอันแทจริงของชีวิต)
) ) มรรค ผล นิิพพาน ทำใหลูกของเศรษฐีกลายเปนคนใหม มีชีวิตใหม ไดคุณภาพ
ชีวิตใหมอยางสิ้นเชิง
) ) นี่เอง เราถึงเรียกกันวา “เงินงอกงาม เพื่อ ธรรมงอกเงย”
) ) คนโบราณนั้น ทานฉลาด ทานรูวาเงินนั้นตองรูจักใช ไมใชปลอยตัวปลอยใจใหตก
เปนทาสของเงิน ตัวทานเศรษฐีเอง ก็บริจาคเงินมหาศาลแกคนยาก คนจน คนอนาถา จนสังคม
ยกยอง นับถือ เปลี่ยนชื่อจากเดิมวา “สุทัตตะ” ใหเปน “อนาถปณฑิกมหาเศรษฐี” หากทานเศรษฐี
ไมเปลี่ยนเงินเปนบุญ ไมเปลี่ยนทุนเปนธรรม ดวยการนำเงินมาบริจาคชวยเหลือสังคม ไหนเลย
ทานจะกลายเปนมหาเศรษฐีที่มีแตคนรัก แมทุกวันนี้ พุทธศาสนาจะผานมาแลว ๒๕๕๕ ป แตชื่อ
ของทานเศรษฐีก็ยังคงอยูคูพุทธศาสนา ในพระสูตรจำนวนมาก มักระบุถึงชื่อของมหาเศรษฐีวาง
เรียงเคียงกับพระนามของพระพุทธองคอยูเสมอในฐานะที่เขาเปนผูเปลี่ยน “เงิน เปน ธรรม” ดวย
การสรางวัดถวายใหเปนอารามสำหรับหมูสงฆ หากเราอานพระสูตรก็จะพบขอความทำนองนี้
ปรากฏอยูมากมาย เชน “สมัยหนึ่ง ขณะที่พระผูมีพระภาคประทับอยู ณ อารามชื่อเชตวัน ซึ่งเปน
อารามที่อนาถปณฑิกมหาเศรษฐีสรางถวาย...”
) ) วลี “เงินงอกงาม เพื่อ ธรรมงอกเงย”
) ) มีความหมายอยางที่กลาวมานี้ ผูเขียนมุงชี้ใหเห็น การรูจักใชเงิน ไมใชชวน
ใหบูชาเงิน ตองการย้ำใหเปลี่ยนเงินเปนคุณภาพชีวิตที่ประเสริฐเลิศล้ำ ไมใชย้ำใหเปลี่ยน
เงินเปนพระเจาใหเราเคารพบูชาแตอยางใด
) ) บางทีตัวอยางที่กลาวมาอาจจะเกาและไกลไปหนอย ขอเลาอีกสักตัวอยางหนึ่ง ซ่ึง
เปนเรื่องของอภิมหาเศรษฐีในชั่วยุคสมัยของเรานี่เอง นั่นก็คือ เรื่องราวของ “จอหน ดี ร็อกกี้เฟล
เลอร” อัครมหาเศรษฐีคนหนึ่งของสหรัฐอเมริกา ที่รูจักใชคติ “เงินงอกงาม เพื่อ ธรรมงอกเงย”
มาสรางสรรคพัฒนาชีวิตจนไดรับความยกยองนับถือไปทั่วโลก
) ) เรื่องราวของมหาเศรษฐีใจบุญคนนี้ มีดังนี้ (คัดจากหนังสือ “อริยสัจ ๔” โดย
อาจารยวศิน อินทสระ หนา ๒๖๗-๒๗๑)

) ) จอหน ดี ร็อคกี้เฟลเลอร
M M ผูเปลี่ยนเงินเปนบุญ เปลี่ยนทุนเปนธรรม
M M
) ) “ยอหน. ดี. รอคกี้เฟลเลอร (บิดา) มีเงินถึงหนึ่งลานเหรียญเมื่ออายุเพียง ๓๔
(สามสิบสี่) ป และเมื่ออายุ ๔๓ (สี่สิบสาม) ป ไดเปนผูตั้งบริษัทผูกขาดในการคาน้ำมันที่ยิ่งใหญ
ที่สุดในโลก คือบริษัทน้ำมันสแตนดารดออยล (Standard Oil) แตพออายุ ๕๓ (หาสิบสาม) ป
สุขภาพของเขาเสื่อมโทรมมาก เพราะนิสัยชอบทุกขรอนเครงเครียดของเขา ผูเขียนประวัติของเขา
คนหนึ่งกลาววา “เมื่อรอคกี้เฟลเลอรอายุ ๕๓​ ป รูปรางหนาตาของเขาเหมือนมัมมี่”
) ) “เมื่ออายุ ๕๓​ ป เปนโรคเครื่องยอยอาหารพิการอยางรุนแรง จนผมรวง ขนตาและ
อื่นๆ ก็รวง ขนคิ้วยังเหลืออยูเพียงหยอมแหยม
) ) “แพทยบอกวา ที่เขาหัวลานเชนนี้สืบเนื่องมาจากประสาทออนกำลัง เขาสะดุงกลัว
มาก จนเขาตองสวมฝาครอบผาบางๆ ปดศีรษะอยูตลอดเวลา ตอมาเขาซื้อผมปลอมชนิดสีเงินมา
สวม ราคาชุดละหารอยเหรียญ และสวมผมปลอมตอมาจนตลอดชีวิต
) ) “เดิมที รอคกี้เฟลเลอรเปนผูมีอนามัยดี แข็งแรง ปราดเปรียว ครั้นพออายุได ๕๓ ป
ไหลของเขาตก เดินกระยองกระแยง ทั้งนี้สืบเนื่องจากการทำงานหักโหมหนัก วิตกทุกขรอนไมรูจัก
สิ้นสุด โมโหโทโสดุดาไมเวนแตละวัน กลางคืนนอนไมหลับ ขาดการบริหารรางกายและพักผอน
หยอนใจ
) ) “ดูเถิด มหาเศรษฐีแทๆ ทำไมจึงกลายเปนผูไรความสุขไปได แมวาขณะนั้นเขาเปน
มหาเศรษฐีที่ร่ำรวยที่สุดในโลก เขาดำรงชีวิตอยูดวยอาหารที่คนยากคนจนไมอยากจะแตะตอง
รายไดของเขาเวลานั้นตกสัปดาหละหนึ่งลานเหรียญ แตคาอาหารประจำวันของเขาทุกมื้อตกเพียง
สัปดาหละสองเหรียญเทานั้น
) ) “รอคกี้เฟลเลอรอยากใหคนทั้งหลายรักเขา แตปรากฏวามีคนชอบเขามีเพียงไมกี่
คน คนสวนมากเกลียดเขาไมตองการติดตอเกี่ยวของกับเขาไมวาในทางธุรกิจหรือในทางใดๆ แม
นองชายของเขาเองก็เกลียดเขา จนถึงกับพาลูกๆ ออกไปจากบานประจำตระกูลซึ่งรอคกี้เฟลเลอร
สรางขึ้น นองชายของเขาพูดวา “ฉันไมยอมใหสายเลือดของฉันตองอาศัยอยูในแผนดินที่เปนของ
เจายอหน.ดี.”
) ) “เสมียนพนักงานของเขาก็ไมชอบเขา หวาดกลัวเขาไปตามๆ กัน เพราะรอคกี้เฟล
เลอรเปนคนขี้ระแวง เขาเปนคนไววางใจมนุษยดวยกันนอยที่สุด
) ) “ปรากฏวาในบริเวณบอน้ำมันตางๆในรัฐเพ็นซิลเวเนีย รอคกี้เฟลเลอรเปนคนที่ถูก
เกลียดชังมากที่สุดในโลก คูแขงขันของเขาซึ่งถูกทำลายยอยยับไปแลวดวยวิธีตางๆ ตางเคียดแคน
ชิงชังเขาและอยากจะแขวนคอเขาเปนที่สุด มีจดหมายแชงชักหักกระดูกรวมทั้งขูเข็ญจะเอาชีวิต
หลั่งไหลมาสูสำนักงานของเขานับไมถวน เขาตองการองครักษจำนวนหนึ่งเพื่อปองกันชีวิต
) ) “ลงทาย เขาไดประจักษความจริงวา ตัวเขาหนีความเปนมนุษยไปไมพน เขาไม
สามารถทนทานตอความเกลียดชังของคนหมูมากซึ่งอยูรอบตัวเขา และไมสามารถทนทานตอ
ความทุกขรอนซึ่งมีอยูประจำได ผลก็คือสุขภาพของเขาเสื่อมโทรมลงเรื่อยๆ เขาตองเผชิญกับศัตรู
ใหมคือความเจ็บปวย อาการของเขาคือนอนไมหลับ เครื่องยอยอาหารพิการ จิตใจของเขาสุมอยู
ดวยความทุกขรอนกระสับกระสาย
) ) “แพทยไดบอกความจริงกับเขาวา ขอใหเขาเลือกเอาอยางหนึ่ง คือ ธุรกิจการเงิน
หรือชีวิต และจะตองตัดสินใจเลือกอยางรวดเร็วดวย ถาเขาเลือกเอาชีิวิตไว ขอใหเลิกงานดาน
ธุรกิจอยางเด็ดขาด มิฉะนั้นเขาจะตองตายอยางแนนอน

) ) “เขาเลือกเอาชีวิตไว แพทยไดวางกฎ ๓ ขอใหเขาปฎิบัติอยางเครงครัด คือ


) ) ๑. อยาวิตกทุกขรอนในสิ่งหนึ่งสิ่งใดทุกๆ กรณี
) ) ๒. พักผอนดวยการออกกำลังกายขนาดเบากลางแจง
) ) ๓. ระวังเรื่องอาหารประจำวัน อยากินเมื่อยังไมหิว

) ) “รอคกี้เฟลเลอร ปฏิบัติตามกฎเหลานี้ ผลก็คือ เขารอดตาย เขาหยุดงานดานธุรกิจ


แตหันมาสนใจเรื่องของเพื่อนบาน และเลนกีฬาในรมเล็กๆ นอยๆ
)
) ) “ระหวางที่รอคกี้เฟลเลอรทรมานจากโรคนอนไมหลับและหยุดงานธุรกิจแลวนั้น
เขามีเวลาเหลือเฟอที่จะคำนึงถึงสิ่งตางๆ เขาเริ่มคิดถึงผูอื่น เขาเลิกคิดถึงเรื่องการกอบโกย
เงิน แตเขากลับคิดวาเขาจะตองใชเงินจำนวนสักเทาใด จึงจะสามารถสรางความสุขให
ปวงมนุษยในโลกได

) ) “ดวยเหตุผลดังกลาวมา เขาเริ่มบริจาคเงินจำนวนลานๆ เพื่อสาธารณกุศล

) ) “วิทยาลัยเล็กๆ แหงหนึ่งบนฝงทะเลสาบมิชิแกน ซึ่งกำลังจะถูกธนาคารยึด แตได


กลายเปนมหาวิทยาลัยแหงชิคาโก เพราะการชวยเหลือของเขาโดยการบริจาคเงินหลายลาน
เหรียญ เขาบริจาคเงินชวยเหลือการศึกษาของชาวนิโกร

) ) “เขาเองอีกนั่นแหละ บริจาคเงินหลายลานเหรียญในการปราบพยาธิปากขอจนหมด
ไปจากภาคใตของสหรัฐอเมริกา เขาไดตั้งมูลนิธิอันยิ่งใหญเพื่อเปนประโยชนแกโลก นั่นคือ รอคกี้
เฟลเลอรมูลนิธิ ซึ่งมีวัตถุประสงคที่จะตอสูกับโรคภัยไขเจ็บ และเพื่อความสุขสวัสดีของปวงมนุษย
ทั่วโลก

) ) “ไมเคยปรากฏมากอนเลยในประวัติศาสตร วาจะมีองคกรใดไดบำเพ็ญประโยชน
แกมนุษยอยางกวางใหญไพศาลเหมือนรอคกี้เฟลเลอรมูลนิธิ รอคกี้เฟลเลอรมูลนิธิเปนสิ่งแปลก
และใหมของโลก เขาใหทุนเพื่อการศึกษาคนควาสิ่งตางๆ มากมาย รวมทั้งในวงการแพทยดวย
เราตองขอบคุณเขาในเรื่องยาหลายชนิด เชน เพนนิซิลิน, ยาในการรักษาเยื่อหุมสมองอักเสบ เขา
รวมบริจาคในการตอสูทำลายโรคมาเลเรีย วัณโรค ไขหวัดใหญ โรคคอตีบ และโรคอื่นๆ อีกมาก ซึ่ง
ระบาดอยูทั่วโลก

) ) “สำหรับรอคกี้เฟลเลอรเอง ไดรับผลจากการปฏิบัติเชนนั้นของเขาอยางดียิ่ง คือได


รับสันติสุขทางใจอยางลนเหลือ ไดรับความยกยองนับถือไปทั่วโลก

) M “ยอหน. ดี. รอคกี้เฟลเลอร ผูซึ่งกำลังจะตายเมื่ออายุ ๕๓ ป กลับเปนผูมีอายุ


ยืนถึง ๙๘ (เกาสิบแปด) ป อยางนาอัศจรรย ทั้งนี้เพราะเขาไดเปลี่ยนชีวิตของเขาจาก
ความหนาเลือดเห็นแกไดเอารัดเอาเปรียบมาเปนผูเสียสละ บำเพ็ญประโยชนเพื่อความ
สุขของเพื่อนมนุษยดวยกัน และตัวเขาเองก็กลายเปนผูมีความสุขความสงบแหงจิต เขา
เปลี่ยนคนเกลียดชังใหรักใครเพราะเขาเปลี่ยนแปลงแนวคิด การกระทำของเขากอน รวม
ความวาเปลี่ยนแปลงตัวเขาเอง ทำตัวเขาใหเปนประโยชนแกคนทั้งหลาย ทำความดีและ
เพิ่มพูนความดีอยูเรื่อยๆ
M M ความสำเร็จในชีวิตอยางแทจริงอยูตรงนี้...”
) )
บิล เก็ตส
วอรเร็นท บัฟเฟตต ก็ถือคติ “เงินงอกงาม เพื่อธรรมงอกเงย”
) )
) ) ความจริงหลังจากจอหน ดี ร็อกกี้เฟลเลอร แลวก็ยังมีมหาเศรษฐีอีกเปนอันมากใน
เวทีโลกที่รูจักเปลี่ยนเงินเปนคุณภาพชีวิตของตน ของคนอื่น ของสังคม ไมวาจะเปนจอหน สมิธ ที่
บริจาคเงินมหาศาลใหสรางพิพิธภัณฑสมิธโซเนียนไวที่กรุงวอชิงตัน ดี.ซี. จอหน ฮารเวิรด ที่บริจาค
ที่ดินสรางมหาวิทยาลัยฮารเวิรด ประเทศสหรัฐอเมริกา หรือแอนดรู คารเนกี้ ที่บริจาคเงินมหาศาล
สรางหองสมุดกระจายไปทั่วโลกหลายพันแหง จนมีผูขนานนามวามิสเตอรหองสมุด ในยุคพวกเรา
ในเวลาน้ีมหาเศรษฐีอยางบิล เก็ตส ก็เปนตัวอยางที่นายกยองของการเปลี่ยนเงินเปนคุณภาพชีวิต
(ของคนอื่น ของสังคม ของโลก) ดวยการตั้งมูลนิธิในชื่อของตนและภริยาโดยมีวัตถุประสงคเพื่อ
ชวยเหลือเกื้อกูลชาวโลกในหลายๆ เรื่อง ลาสุดไมกี่ปมานี้เอง ทั้งบิล เก็ตส และวอเรนท บัฟเฟตต
ก็รวมกันริเริ่มโครงการ “Giving Pledge” (คำมั่นสัญญาวาจะให) ดวยการเชิญชวนมหาเศรษฐี
ใจบุญอยูแลว และควรจะใจบุญ (จากการเชิญชวนของพวกเขา) มารวมกันทำสัญญาวาจะบริจาค
ทรัพยสินของตนเพื่อบำเพ็ญประโยชนแกชาวโลก งานของของทั้งสองคนไดรับการตอบรับที่ดีจาก
มหาเศรษฐีมากมายที่มี “จิตสำนึกสาธารณะ” อยากรวมกันสรางสรรคพัฒนาสังคมและโลก
วอรเรนท บัฟเฟตต เคยใหสัมภาษณถึงจุดยืนในเรื่องนี้ของเขาวา
) ) “...สำหรับตัวเขาแลว การสะสมของมีคาทางวัตถุตางๆ ไมสูมีความสำคัญ เพราะ
สิ่งเหลานั้นนั่นแหละ คือ โซรัดคอของผูสะสม สำหรับเขาแลวสิ่งที่มีคายิ่งกวาวัตถุประดามีก็คือ
สุขภาพและผองเพื่อน” หรือ
N N “...ทรัพยที่บริจาคไปนั้น แมจะเก็บไวก็ไมทำใหตนและลูกๆ มีความสุขเพิ่มขึ้น ตรง
กันขาม เมื่อบริจาคออกไป มันจะทำใหมนุษยจำนวนมาก มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น”
N N ลาสุดแมแตมารค ซักเกอรเบิรก ผูกอตั้งเฟซบุค ก็เพิ่งบริจาคเงินมหาศาลเพื่อการ
ปฏิรูปการศึกษาของสหรัฐอเมริกา
) ) สตีฟ โวซเนียก ผูรวมกอตั้งบริษัทแอปเปลกับสตีฟ จอบส ก็เชนเดียวกัน เขานิยม
เปลี่ยน “เงิน เปนธรรม” ดวยการถือคติวา
) ) “...เงินทองไมมีความหมายสำหรับผมสักเทาไหร ผมนำมันไปบริจาคใหกับองคกร
การกุศล พิพิธภัณฑ เด็กๆ หรือทุกทุกที่ที่ผมใหได...”
N N เจ็ท ลี ซูเปอรสตารแหงเอเชีย ก็ตั้งมูลนิธิชื่อ “หนึ่งหยวน” ขึ้นมาเพื่อสราง
สาธารณประโยชนใหแกชาวโลก โดยเขารณรงคในหมูคนจีนและผูที่ชื่นชมเขาทั้งในอเมริกาและ
ยุโรปเพื่อกระตุนใหชาวโลกมองเห็นปญหาของคนที่ยังดอยโอกาสในสังคม โดยเขากลาววา “ผม
อยากจะเปลี่ยนความดังมาสรางความดี” และ “ผมไมไดขอเงินคุณ แตผมขอหัวใจ (ที่เห็นแก
สังคม) ของคุณ...”
) ) ในเมืองไทยของเราก็มีคนที่ประสบความสำเร็จจำนวนมาก ดำเนินอยูบนเสนทาง
ของการ “เปลี่ยนเงินใหเปนคุณภาพชีวิต” หรือการถือคติ “เงินงอกงาม เพื่อธรรมงอกเงย” ดวยการ
บริจาคเงินที่ตนหามาไดโดยชอบธรรมสำหรับสรางกุศลแกมหาชน เชน คุณกำพล วัชรพล ผูกอ
ตั้งหนังสือพิมพไทยรัฐ ก็บริจาคเงินสรางและสงเสริมการศึกษาของเยาวชนไทยทั่วประเทศผาน
โรงเรียนไทยรัฐวิทยา ที่กระจายอยูทั่วประเทศจากเหนือจรดใต ดร.กฤษฎา จางใจมนต
เจาของกาแฟ เนเจอรกิฟ ก็บริจาคที่ดินกวา ๕๐๐ ไร เพื่อสรางวัด คุณยายทัศนีย บุรุษพัฒน
อดีตเจาของโรงเรียนปริญญาทิพย ก็บริจาคที่ดิน ๑๐๐ ไรเพื่อสรางวัด คุณธนาชัย ธีรพัฒนวงษ
อดีตประธานกรรมการเครือเนชั่นฯและผองเพื่อนที่เปนนักธุรกิจรวมกันอุปถัมภการบรรพชา
สามเณรภาคฤดูรอนปละหลายพันรูป สรางโรงเรียนปริยัติธรรมอีกหลายสิบแหง ใหทุนการศึกษา
เด็กยากจนในโรงเรียน ในมหาวิทยาลัยครอบคลุมทั่วประเทศอีกปละหลายพันทุน คิดเปนเงิน
มหาศาลตอปและทั้งหมดนี้ทานทำเงียบๆ มาตลอดอยางตอเนื่อง
) ) ลาสุดนายเอี่ยม คัมภิรานนท ขอทานเศรษฐีแหงวัดไรขิง ก็บริจาคเงิน
๑,๐๐๐,๐๐๐ บาท (หนึ่งลานบาท) คืนใหแกวัดไรขิง ที่ตนไดอาศัยขอทานมาตลอดชีวิต ดวยการ
ใหเหตุผลวา ตนไดรับมามากพอแลว ควรจะคืนสิ่งดีๆ ใหกับวัดบาง จนบัดนี้ คุณปูเอี่ยม กลาย
เปนคนดังที่ไดรับการยกยองใหขึ้นหนาหนึ่งหนังสือพิมพทุกฉบับตอเนื่องยาวนานกวาสองอาทิตย
และมีคนสรรเสริญไปทั่วประเทศ
) ) นี่คือ ตัวอยางวา หากคนทั่วไปมองเงินวาเปนเพียง “ปจจัย” เครื่องอาศัยของชีวิต
ไมยึดติดถือม่ันวาเงินเปน “พระเจา” หรือ “สรณะที่พึ่งอันสูงสุด” เขาก็จะสามารถใชเงินนั้น
สรางสรรคประโยชนตน ประโยชนทาน ไดอยางมหาศาลเพียงไร
) ) คติ “เงินงอกงาม เพื่อ ธรรมงอกเงย”
) ) ไมใชเรื่องเสียหาย แตเปนเรื่องสรางสรรคแทๆ โดยมีนัยอยางที่กลาวมานี้เอง ลอง
จินตนาการดูวา ถาคนสวนใหญในโลก รูจักหา รูเก็บ รูจักใช รูจักให โดยถือวา เงินเปนเพียงปจจัย
สนับสนุนใหมีคุณภาพชีวิตที่ดีทั้งแกตนและแกคนอื่น โลกของเราจะนาอยูเพียงไร
) )
บทสรุป
) ) เปนอันวา เทาที่เขียนชี้แจงมาตั้งแตตน เชื่อวา ผูอาน ผูที่คิดตาง ผูที่พยายาม
ตีความวลี “เงินงอกงาม เพื่อธรรมงอกเงย” ของผูเขียนไปในทางตรงกันขาม หรือตีความไปใน
ทำนองบิดเบือนใหผูเขียนเสียหาย กอใหเกิดความเขาใจผิดๆ หรือแมบางทานที่เขียนชี้นำไปใน
ทำนองกอใหเกิดความเกลียดชัง หวังราย บาดหมาง สรางประเด็นที่เกินกรอบของการแสดงความ
คิดเห็นในเชิงสรางสรรคจนกลายเปนการกนดา ฯลฯ ก็คงจะเขาใจไดตรงกันเสียที วาความหมาย
ที่แทของคมธรรมประจำวันดังกลาวนั้น หมายความวาอยางไร มีขอบเขตแคไหน มีเจตนารมณ
อยางไร เมื่อเขาใจตรงกันแลว ก็ถือวา เราไดรวมกันแสวงหาปญญา แสวงหาความรู แสวงหาขอ
เท็จจริงรวมกัน โดยนัยนี้ทำใหตางฝายตางก็ไดประโยชนดวยกันทั้งคู ทั้งฝายที่เห็นดวย และฝายที่
เห็นตาง ขอย้ำเพียงวา ความคิดเห็นแตกตางที่แสดงออกมาอยางจริงใจนั้น เปนสิ่งที่ดีงาม แตขอ
ติงเพียงนิดเดียววา ลำพังการมีความคิดเห็นอยางเดียวนั้นยังไมเพียงพอ แตตองมีความรูจริงใน
สิ่งที่ตนจะแสดงความคิดเห็นมาประกอบดวย ดังนั้น ทางที่ดี กอนแสดงความคิดเห็น ขอใหชวย
กัน “หาความรูใหแน ใชแคคิดเอา” มิเชนนั้นแลว การใชเสรีภาพทางปญญาจะกลายเปนการกน
ดา แสดงอารมณ ยุใหรำตำใหรั่ว มากกวาแสดงความคิดเห็น ซึ่งเปนเรื่องของการใชวิธีการและ
การใชทาทีทางปญญาในเชิงสรางสรรค
) ) อยาใหมารค ซักเกอรเบิรก ตองมานั่งเสียใจวา เขาอุตสาหพัฒนาเฟซบุคขึ้นมาดวย
ปญญาเชิงสรางสรรค สำหรับเปนรากฐานและเครือขายใหคนทั่วโลกใชในทางสรางสรรคเพื่อ
พัฒนาโลกนี้ใหดีกวาเดิม แตเราคนไทยกลับนำเทคโนโลยีขั้นสูงนี้มาใชเพียงเพื่อ “ใสราย-กนดา-
ลาแมมด” กันเทานั้นเอง
) )
หมายเหตุ : เรื่องสืบเนื่อง
) ) ในชวงสองปมานี้ มีผูที่ติดตามขอเขียน บทความ รายการโทรทัศน ที่ผูเขียนเคยให
สัมภาษณไวในตางกรรมตางวาระ นำเอา “ขอคิดความเห็น” ของผูเขียน ซึ่งพูด “ฉบับเต็ม” หรือ
“ฉบับสมบูรณ” ที่มีบริบท (ขอความแวดลอม) จำเพาะเรื่อง จำเพาะสถานการณที่ถา “ฟงใหตลอด
ครบถวนกระบวนความ” ตลอดสาย ก็จะเขาใจในเนื้อหาทั้งหมดครบถวน แทบไมเหลือชองให
ตีความเปนอื่นในทางเสียหาย หรือเขาใจผิด มา “ตัดตอ-ดัดแปลง-ตกแตง” เพียงบางตอน บาง
คำ บางบท ใหผิดเพี้ยนไปจากตนฉบับเดิม ทั้งนี้ จะดวยเจตนาแบบใดก็แลวแต แลวจากนั้นก็
“เขียนชี้นำ” เพื่อสรางความเขาใจผิดเพี้ยนไปจากฐานขอมูลเดิม ทำใหมีผูพลอยเขาใจผิดจากหลัก
ธรรมแทๆ ที่ตองการสื่อสารอยูเสมอ ดังน้ัน ผูเขียน จึงขอชี้แจง ไวในที่นี้วา การแสดงความคิด
เห็นนั้นเปนเสรีภาพพื้นฐานที่ทุกคนมีสิทธิ์กระทำไดอยูแลว ความคิดเห็นที่แตกตางที่หากทำดวย
เจตนาดีและมีความรับผิดชอบ ก็ไมใชเรื่องเสียหาย แตขอใหขอคิดเพียงวา “กอนแสดงความ
คิดเห็น และสงตอความคิดเห็นนั้นๆ ควรหาความรูใหถองแทแนชัด” เสียกอน ไมใชเห็น
บางคำ บางภาพ บางขอความ ที่ถูก “ตัดตอน” ออกมาเผยแพร ก็รุมกระหน่ำแสดงความคิดเห็น
เหมือนปลาปรันยาฮุบเหยื่อดวยความตะกรุมตะกราม ขาดสติ อยางนอยที่สุด ควรใช
วิจารณญาณกอนการแสดงความคิดเห็น ตองศึกษาบริบทแวดลอมของขอมูลตางๆ ที่ตนจะเขียน
ถึง พูดถึง วาเกิดขึ้นในสภาพแวดลอมแบบใด ตองไมลืมวา ในขณะที่เรากำลัง “ตัดสินคนอื่น” เรา
ก็กำลังเปดเผยสติปญญาของเราใหคนอื่นไดเห็นดวยเชนกันวา วิธีท่ีเราคิด วิธีที่เราแสดงออก มัน
สะทอนระดับการศึกษา อุปนิสัยและสติปญญาของเราวามีอยูอยางไร และกำลังใชสิ่งที่มีอยูนั้น
ดวยคุณภาพระดับไหน โฆษณาเรื่อง “พอใบ” ของไทยประกันชีวิต นาจะเปนตัวอยางที่ดีของคนที่
ชอบตัดสินคนอื่นจาก “ภาพบางภาพ คำบางคำ” ไดเปนอยางดี วา ไมควรดวนตัดสินอะไรจาก
การเห็นเพียง “เงา” หรือ “เศษเสี้ยวของความจริง” แลวก็รวมกระจายความเห็น ความเขาใจที่ผิด
กันอยางงายดาย เราคนไทยไมควรสนุกกับการแสดงความคิดเห็นเทานั้น แตควรสนุกกับการ
แสวงหาความรูกอนที่จะเชิดชูความเห็นดวย
) ) อยางไรก็ตาม สำหรับทานที่รักและสนุกกับการชอบใหความเห็นในประเด็นตางๆ
ในโลกโซเชียลเน็ตเวิรค ผูเขียนขอมอบหลักกาลามสูตร อันเปนการวาง “ทาทีทางปญญา” ตอการ
เสพขอมูลขาวสารในยุคไอที ไวใหพิจารณา ดังตอไปนี้ (เพื่อที่จะไดไมถูกทวมทับดวย “ขยะขอมูล
ปฏิกูลขาวสาร” และเผยแพรขอคิดความเห็นอยางมักงาย)
) ) ทาทีในการบริโภคขอมูลขาวสารยุคไอที

) ) ๑. อยาปลงใจเชื่อQ ดวยการฟงQ Q ตามๆ กันมา


Q Q ๒. อยาปลงใจเชื่อQ ดวยการถือQ Q สืบๆ กันมา
Q Q ๓. อยาปลงใจเชื่อQ ดวยการเลาลือQ Q ตอๆ กันมา
Q Q ๔. อยาปลงใจเชื่อQ ดวยการอางตำรา
Q Q ๕. อยาปลงใจเชื่อQ ดวยการใชตรรกศาสตร
Q Q ๖. อยาปลงใจเชื่อQ ดวยการอนุมาน
Q Q ๗. อยาปลงใจเชื่อQ ดวยการคิดตรองตามแนวเหตุผล
Q Q ๘. อยาปลงใจเชื่อQ ดวยการมองวา เขากันไดกับความเชื่อของตน
Q Q ๙. อยาปลงใจเชื่อQ ดวยการมองวา โดยรูปลักษณนาจะเปนไปได
Q ๑๐. อยาปลงใจเชื่อQ ดวยการนับถือวา สมณะนี้เปนครูของเรา

) ) ตอเมื่อใดก็ตาม รู เขาใจ ดวยตนเองวา ธรรม (เรื่อง) เหลานั้น เปนอกุศล เปนกุศล


มีโทษ ไมมีโทษ เปนตน จึงควรละ หรือปฏิบัติตามนั้น (องฺ.ติก.๒๐/๕๐๕/๒๔๑)

ว.วชิรเมธี
๒๒ มีนาคม ๒๕๕๕

You might also like