You are on page 1of 4

โครงการพัฒนาความชํานาญดานไฟฟากําลัง คณะวิศวกรรมศาสตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร 1

สนามไฟฟาสูง การเกิดโคโรนาและการปองกัน

โคโรนา (Corona) เปนปรากฎการณที่เกิดเบรกดาวนบางสวน (partial breakdown) โดยมีสนามไฟฟา


บางสวนสูงจนเกินกวาสนามไฟฟาวิกฤติของอากาศ ( 30 kV/ซม. ที่ 760 มม.ปรอท 20oC ที่ ความชื้น 11
กรัม/ม.3) ทําใหอากาศเปลี่ยนสภาพจากฉนวนเปนตัวนํา แตอากาศไมไดเปลี่ยนสภาพเปนตัวนําทั้งหมด
จึงไมเกิดเบรกดาวน แตเกิดโคโรนา

สนามไฟฟา
มาทําความเขาใจกับสนามไฟฟาของอิเล็กโทรดแบบตางๆกันเพื่อใหเขาใจเรื่องโคโรนามากขึ้น
รูปที่ 1 แสดงสนามไฟฟาของอิเล็กโทรดแบบตางๆกัน
ปอนแรงดันไฟฟา

ปอนแรงดันไฟฟา

ก. สนามไฟฟาสม่ําเสมอ ข. สนามไฟฟาไมสม่ําเสมอ
รูปที่ 1 สนามไฟฟาแบบตางๆ

รูปที่ 1 ก. แสดงสนามไฟฟาสม่ําเสมอสําหรับระนาบขนาน (parallel plane) พิจารณาจาก


จํานวนเสนแรงสนามไฟฟาไมวาที่จุดใดๆจะมีจํานวนเสนสนามไฟฟาเทากัน นั่นก็คือ สนามไฟฟามีคา
เทากันในทุกจุด สวนรูปที่ 1 ข. แสดงสนามไฟฟาไมสม่าํ เสมอสําหรับตัวอยางระนาบแบบกาน-ระนาบ
(rod-plane gap) ซึ่งพิจารณาจากจํานวนเสนสนามไฟฟามีจํานวนมากที่ปลายแหลม และมีจํานวนเบา
บางลงที่ระนาบเรียบที่ปลายอีกขั้ว นัน่ คือ สนามไฟฟาทีป่ ลายแหลมมีคาสูง
ในรูปที่ 1 ก. เมื่อปอนแรงดันไฟฟาสูงขี้นเรื่อยจนสนามไฟฟาในชองวางสูงกวาสนามไฟฟา
วิกฤติของอากาศ (สมมุติใหมีคา 30 kV/ซม.) ก็จะทําใหสนามไฟฟาทุกจุดในชองวางเกินกวา
สนามไฟฟาวิกฤติอากาศก็เปลี่ยนสภาพจากฉนวนเปนตัวนําทั้งหมดในชองวาง และเกิดเบรกดาวนโดย
ไมเกิดโคโรนา

รศ.ดร.ชํานาญ หอเกียรติ 12/02/49


โครงการพัฒนาความชํานาญดานไฟฟากําลัง คณะวิศวกรรมศาสตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร 2

ในรูปที่ 1 ข. เมื่อปอนแรงดันไฟฟาสูงขึ้นเรื่อยจนสนามไฟฟาที่ปลายแหลมสูงเกินกวา
สนามไฟฟาวิกฤติของอากาศ โดยที่สนามไฟฟาในสวนอื่นของชองวางต่ํากวาสนามไฟฟาวิกฤติของ
อากาศ ก็ทําใหอากาศเฉพาะบริเวณปลายแหลมเปลี่ยนสภาพจากฉนวนเปนตัวนํา หรือที่เรียกวาเกิดไอ
ออไนเซชั่น (ionization) สวนอากาศบริเวณอืน่ ๆยังเปนตัวนําอยู อยางนี้เราเรียกวาเกิดเบรกดาวน
บางสวน (partial breakdown) ไมเกิดอารกหรือสปารกทั้งหมด แตอากาศบริเวณปลายแหลมแตกตัว ได
ยินเสียง เห็นแสงโคโรนา และโดยทัว่ ไปการเกิดโคโรนาจะมีโอโซน หรือ O3 เกิดขึน้

ทําไมหลังฝนตกไดยินเสียงโคโรนาไดงา ยที่สายสงหรือสถานีไฟฟายอย
หลังฝนตกใหมๆมีหยดน้ําเกาะที่สายหรือทีต่ ัวนําในสถานีไฟฟายอยอืน่ ๆ ดังแสดงในรูปที่ 2
หยดน้ําที่เกาะเมื่อมีสนามไฟฟาทําใหมีรูปรางเปลี่ยนไปเปนปลายแหลมทําใหสนามไฟฟาที่ปลายแหลม
สูงกวาปกติ และเกิดโคโรนาเพราะสนามไฟฟาที่ปลายแหลมของหยดน้ําสูงเกินกวาสนามไฟฟาวิกฤติ
ของอากาศ แตถาเปนสนามไฟฟารอบตัวนําในสภาพปกติทจี่ ายไฟฟาและไมมีหยดน้ําเกาะอยูไมควร
เกิดโคโรนาเพราะโคโรนาทําใหเกิดกระแสไหลออกจากระบบ และเปนความสูญเสียทางไฟฟา

สายตัวนํา สายตัวนํา

เมื่อมีสนามไฟฟา หยดน้ําถูกแรง
หยดน้ําเกาะใตสายสง
ดึงลงมาจนเปนปลายแหลม และ
เมือยังไมมีสนามไฟฟา
เกิดสนามไฟฟาสูงมากที่ปลาย
และเกิดโคโรนาไดงาย
รูปที่ 2 รูปรางหยดน้ําในสภาพที่ไมมีสนามไฟฟาและอยูภายใตสนามไฟฟา

เมื่อมีหยดน้ําทําใหเกิดโคโรนาไดงายหลังฝนตกเสร็จใหมๆ และเมื่อมีเบรกดาวนบางสวนดัง
แสดงในรูปที่ 2 ข.ก็ทําใหหยดน้ําเหือดแหงไปและในที่สุดหยดน้ําก็หายไปและไมเกิดโคโรนา

การลดโคโรนา
ในสภาพที่สนามไฟฟามีคาสูงมากที่จุดใดๆในระบบไฟฟา เราสามารถลดสนามไฟฟาให
นอยลงเพื่อไมใหเกิดโคโรนาได โดยพยายามแกไขใหสนามไฟฟาออนลง พิจารณาจากรูปที่ 1 ข. มา

รศ.ดร.ชํานาญ หอเกียรติ 12/02/49


โครงการพัฒนาความชํานาญดานไฟฟากําลัง คณะวิศวกรรมศาสตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร 3

เขียนใหมเปนรูปที่ 3 ก. ซึ่งมีสนามไฟฟาสูงที่ปลายแหลม และแกไขดวยการนําอิเล็กโทรดที่มีลักษณะ


เปนทรงโคงมาใสและตอเขากับขั้วปลายแหลม จะเปลี่ยนเสนแรงสนามไฟฟาดังแสดงในรูปที่ 3 ข. ทํา
ใหสนามไฟฟาลดลง
เชื่อมตอตัวนําระหวางตัวนํา
ปลายแหลมและตัวนําทรงโคง
คลายครึ่งทรงกลม

ก. สนามไฟฟาปลายแหลม ข. สนามไฟฟาปลายแหลมที่เปลี่ยนไปเมื่อ
เติมทรงกลมโคงเขาไป
รูปที่ 3 สนามไฟฟาปลายแหลมเปลี่ยนแปลงไปไดดว ยทรงกลมโคง

รูปที่ 3 เปนหลักการของการลดโคโรนา และในทางปฏิบัติกใ็ ชหลักการดังกลาว ซึ่งเห็นได


ทั่วไปในสถานีไฟฟาแรงดัน 230, 500 kV เชน การใช corona ring ที่รอยตอตางๆดังแสดงในรูปที่ 4

อุปกรณไฟฟาหรือตัวนํา

จุดตอที่ทําใหเกิดสนามไฟฟาสูง

อุปกรณไฟฟาหรือตัวนํา

ก. จุดตอระหวางอุปกรณไฟฟา ข. จุดตอ ตอเขากับวงแหวนโคโรนา


ซึ่งมีสนามไฟฟาสูง
รูปที่ 4 จุดตอระหวางอุปกรณมีสนามไฟฟาสูงลดสนามไฟฟาไดโดยใชวงแหวนโคโรนา

รศ.ดร.ชํานาญ หอเกียรติ 12/02/49


โครงการพัฒนาความชํานาญดานไฟฟากําลัง คณะวิศวกรรมศาสตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร 4

สนามไฟฟาซึง่ ใชวงแหวนโคโรนาสําหรับลดสนามไฟฟาไดแสดงไวในรูปที่ 5 ซึ่งเปนรูป


เดียวกันกับรูปที่ 4 แตแสดงสนามไฟฟาของจุดตอเมื่อยังไมมีวงแหวนและกรณีที่มีวงแหวนโคโรนา
แลว

เสนสนามไฟฟา

อุปกรณไฟฟาหรือตัวนํา

อุปกรณไฟฟาหรือตัวนํา
วงแหวนโคโรนา

ก. สนามไฟฟาเมื่อไมมวี งแหวนโคโรนา ข. สนามไฟฟาเมื่อมีวงแหวนโคโรนา


รูปที่ 5 สนามไฟฟาเมื่อมีและไมมีวงแหวนโคโรนา

รศ.ดร.ชํานาญ หอเกียรติ 12/02/49

You might also like