You are on page 1of 9

The English conquest

Day03
Section 1

Vocabulary of the day (Oxford 3000 key words)

Combine (v.) 

Pronuncia)on: (เคิม–บายนฺ **ไม่อ่านว่า คอมบาย) 

Meaning: ‘to join or mix something together’ 

(รวมเข้าด้วยกัน, ผสม, ปน)

Example: 

Let’s combine our money and buy a pizza.

(เรามารวมเงินกันแล้วเอาไปซื้อพิซซ่าเถอะ)

The two countries combined their forces to fight the enemy. 

(ประเทศทั้งสองได้รวมกำลังเข้าเพื่อต่อสู้กับศัตรู) *Enemy (n.) ศัตรู

➡ แต่ถ้าเราจะรวม ‘สิ่งหนึ่ง’ เข้ากับ ‘อีกสิ่งหนึ่ง’ ให้มีคำว่า ‘with’ ด้วย 



Combine the meat with the ingredients before you roast it.

(รวม/ผสมเนื้อเข้ากับเครื่องปรุงก่อนที่คุณจะเอาไปย่างด้วย) 

*Ingredient (n.): เครื่องปรุง/ส่วนผสม / Roast (v.): ย่าง, ปิ้ง (grill), อบ (bake)

You must combine work with pleasure to be happy.



(คุณต้องรวมงานกับความชอบให้เป็นสิ่งเดียวกันแล้วจะมีความสุข)

*Pleasure (n.): ความสุขใจ (แต่แอดแปลว่า ความชอบ เพื่อให้เข้ากับบริบท)

➡ Combina<on คือเวอร์ชั่นคำนามของคำนี้ แปลว่า การรวมกัน, การผสมกัน



A combina<on of anxiety and sadness made me cry.

(การรวมกันของความกังวลและความเสียใจทำให้ฉันร้องไห้)

A movie, a pizza and coke are a perfect combina<on!

(หนังสักเรื่อง พิซซ่าสักถาด โค้กสักขวดเป็นอะไรที่ลงตัวมาก ๆ)
Competition (n.)

Pronuncia)on: (คอม-เพอะ-ทิ้-เชิ่น **ไม่อ่านว่า คอมเพทิชั่น)

Meaning: ‘when someone is trying to win something/someone’ 

(การแข่งขัน)

Example: 

There’s a lot of compe<<on in today’s society.

(มีการแข่งขันมากมายในสังคมปัจจุบัน)

Compe<<on for jobs is everywhere.

(การแข่งขันเพื่อแย่งงานนั้นมีอยู่ทุกที่)

➡ ถ้าคนสองคนกำลังแข่งกันอยู่ เราจะบอกว่า they are in compe<<on with



The two companies are in compe<<on with each other.

(บริษัททั้งสองกำลังแข่งขันกันอยู่)

Stop trying to win all the Lme! We are not in compe<<on 

with each other.

(หยุดพยายามจะชนะฉันตลอดเวลาได้แล้ว เราไม่ได้แข่งกันอยู่นะ)

➡ คำนี้ยังมีเวอร์ชั่นที่เป็นกริยาคือ Compete (v.)



Both Tom and John compete for Anna’s aPenLon. 

(ทั้งทอมและจอห์นแข่งกันเพื่อให้แอนน่าสนใจ) *A<en)on (n.): ความสนใจ

➡ ถ้าจะบอกว่าใครแข่งกับใคร ให้เพิ่มคำว่า with หรือ against เข้าไปด้วย



They always compete with each other.

(พวกเขามักแข่งกันเสมอ)

There’s no need to compete against me.

(ไม่จำเป็นต้องมาแข่งกับฉันหรอก)

➡ สุดท้าย Compe<tor (n.) แปลว่า คู่แข่ง 



She’s a liPle afraid because her compe<tor is very skilful.

(เธอเริ่มกลัวนิด ๆ แล้วเพราะว่าคู่แข่งของเธอนั้นช่ำชองมาก)
Calm (adj.)

Pronuncia)on:(คามฺ **ตัว l ไม่ต้องออกเสียง)

Meaning: ‘peaceful, quiet, and without worry’ 

(สงบสุข, เงียบ, ปราศจากความกังวล, ใจเย็น)
Example:

John tried to be calm, but he couldn’t stop worrying about his 

son.

(จอห์นพยายามจะใจเย็น แต่เขาก็ไม่สามารถหยุดกังวลเรื่องลูกชายได้)

You could talk to her again when she’s calm.

(ไว้คุณค่อยไปคุยกับเธอใหม่ตอนเธอใจเย็นละกัน)

➡ ฝรั่งชอบใช้ Calm down (v.) เวลาจะบอกให้ใครใจเย็น



Calm down, man. You’re worrying too much.

(ใจเย็น ๆ เพื่อน นายกังวลมากเกินไปแล้ว)

You need to calm down before you talk to your boyfriend. 

(เธอต้องใจเย็นลงก่อนที่จะไปคุยกับแฟนนะ)

➡ บางทีก็ใช้กับ Stay แปลว่า ‘อยู่ในความสงบ’



Please stay calm. I’m not going to hurt you

(กรุณาอยู่ในความสงบ ผมไม่ได้จะทำร้ายคุณ)

Everyone, stay calm! We’re not here to kill you.

(ทุกคนอยู่ในความสงบ! เราไม่ได้มาเพื่อฆ่าพวกคุณ)

➡ เวอร์ชั่นคำนาม Calm (n.) แปลว่า สถานการณ์ / ช่วงเวลาที่เงียบสงบ



I love the calm of the countryside. (ฉันชอบความสงบสุขในชนบท)

➡ The calm before the storm (idiom): ความสงบก่อนความวุ่นวาย



I like to wake up early and enjoy the calm before the storm.

(ฉันชอบตื่นเช้า ๆ เพื่อดื่มด่ำกับความสงบก่อนความวุ่นวายจะเริ่มขึ้น)
Section 2

Today’s Word group:Airport

10 คำศัพท์เกี่ยวกับสนามบินที่คนมักไม่ค่อยรู้

1) Window seat (วินโดะ ซี้ทฺ) ที่นั่งติดหน้าต่าง

2) Luggage carousel (ลักกิจ แค๊เรอะเซิล) สายพานลำเลียงกระเป๋า

3) Airsick (แอ๊ ซิคฺ) อาการเมาเครื่องบิน

4) Hangar (แฮงเกอะ) โรงเก็บเครื่องบิน

5) Lavatory (แล๊เฟอะทริ) ห้องน้ำบนเครื่องบิน

6) Aviator (เอวิเอ๊เทอะ) นักบิน

7) Air bridge (แอ๊ บริดจฺ) สะพานเทียบเครื่องบิน

8) Aisle (ไอ๊เอิลฺ) ทางเดิน

9) Windsock (วิ๊นซอคฺ) ถุงบอกทิศทางลม

10) Customs officer (คัสเทิมฺสฺ อ๊อฟิเซอะ) เจ้าหน้าที่ศุลกากร

TIP: ทุกครั้งที่ไปสนามบิน จงพยายามถามตัวเองเสมอว่า คำนี้ คำนั้นในภาษาอังกฤษ
แปลว่าอะไร และถ้าคำไหนเราไม่รู้ก็อย่ารอช้า รีบไปเปิด dicLonary เพื่อหาความ
หมาย และจดใส่สมุดคำศัพท์ไว้เลย

อย่าลืมกดฟังเสียงด้วยว่าแต่ละคำออกเสียงอย่างไรด้วย และอย่าลืมฝึกออกเสียง
ตามเสมอ! เพราะนั่นเป็นสิ่งสำคัญเลยครับ อย่างในตัวอย่างข้างบน คำที่อาจจะออก
เสียงยากก็คือ Carousel, lavatory และ bridge 


ให้เพื่อน ๆ ฝึกออกเสียงตาม DicLonary บ่อย ๆ นะครับ (แนะนำ dict ของ oxford หรือ
longman ก็ได้)
Section 3
30 second grammar rule

แกรมมาร์ 30 วิวันนี้คือเรื่อง การใช้ Can กับ Could



เวลาเราต้องการจะขอให้ใครสักคนทำอะไรบางอย่างให้เรา ให้ขึ้นต้นประโยคคำถาม
ด้วย Can you …? 

หรือถ้าอยากสุภาพหน่อย ก็เปลี่ยนมาเป็น Could you …? และเติมคำว่า please ต่อ
ท้ายประโยคก็ได้
➡ หากจะขอให้เพื่อนปิดประตูให้หน่อยก็บอกว่า

Can you close the door, please? (ช่วยปิดประตูให้หน่อยครับ)
➡ ถ้าอยากจะขอให้คุณครูช่วยพูดอีกรอบก็บอกว่า

Could you say that again? (ช่วยพูดอีกรอบด้วยครับ) 

TIP: ‘ช่วยพูดอีกรอบ’ ฝรั่งมักจะใช้ Pardon me? หรือ Come again? มากกว่า

➡ นอกจากจะแปลว่า ‘ช่วย...’ แล้ว Can ยังสามารถแปลว่า ‘ได้ไหม’ ด้วย



Can we go now? (ไปตอนนี้เลยได้ไหม)

Could you come early? (มาเช้า ๆ ได้ไหม)
➡ บางครั้งก็ใช้คู่กับ How (How can …?) แปลว่า ‘ได้อย่างไร’

How can you do this to me?! 

(คุณทำแบบนี้กับฉันได้อย่างไร?!)

How can we find a good restaurant around here?

(จะหาร้านอาหารดี ๆ แถวนี้ได้อย่างไร?)

➡ สุดท้ายคือ Could ยังใช้พูดถึงอดีตได้ด้วยเวลาเราจะบอกว่า ‘แต่ก่อนเราทำอะไร’



When I was young, I could play the piano.

(ตอนฉันเป็นเด็ก ฉันเล่นเปียโนได้ด้วยนะ)
Section 4
30 second speaking rule

สปี๊คกิ้ง 30 วิวันนี้เรามาดูเรื่อง ‘การเชื่อมเสียงสระ’ 




ลองตั้งใจฟังฝรั่งพูดดี ๆ จะพบว่า 

‘Going’ ไม่ได้ออกเสียง โก๊ว-อิ่ง แต่เขาจะพูดว่า โก๊ว-วิ่ง 

(ตัว o เชื่อมกับตัว I ทำให้เกิดเสียง w) 

และ ‘Playing’ ไม่ได้อ่านว่า เพล๊-อิ่ง แต่จะพูดว่า เพล๊-ยิ่ง 

(ตัว a เชื่อมกับตัว y ทำให้เกิดเสียง y)

TIP: เราถูกสอนมาว่าสระ (vowel) ในภาษาอังกฤษคือ A E I O U แต่จริง ๆ แล้วเรามีตัว Y ด้วย ซึ่งเราเรียกมัน
ว่า พยัญชนะกึ่งสระ (Semi-vowel)

หลักการในการเชื่อมเสียงสระมีง่าย ๆ ดังนี้

‘เมื่อสระสองตัวมาเจอกัน เราจะแทรกเสียง W หรือเสียง Y เข้าไปตรงกลาง’ มีสอง
แบบคือ

1. หากสระตัวหน้าเป็น O, U (สระโอ, อู หรือ อาว) ให้แทรกเสียง W 

How are you doing อ่านว่า ‘ฮาว-วา ยู ดู๊-วิ่ง’*ไม่ใช่ ‘ฮาว-อา ยู ดู๊-อิ่ง’ (ต้องมีเสียง W)

I Know it อ่านว่า ‘อาย โน๊ว-วิ่ท’ *ไม่ใช่ ‘อาย โน๊ว-อิท’ (ต้องมีเสียง W)

I’m going out. อ่านว่า อั่ม-โก๊ว-วิ่ง เอ้าทฺ (ต้องมีเสียง W)

TIP: W ในคำว่า Know ถือว่าไม่มีตัวตน เพราะเราไม่ได้ออกเสียง ดังนั้นในคำว่า Know it จึงถือว่าคำ
นี้ลงท้ายด้วยเสียงสระ และคำอื่น ๆ อีกหลายคำเช่น show, grow, low, how, now


2. หากสระตัวหน้าเป็น A, E, I (สระเอ, อี, หรือ อาย) ให้แทรกเสียง Y 

What are you saying อ่านว่า ‘ว้อท อา ยู เซ๊-ยิ่ง’ *ไม่ใช่ ‘ว้อท อา ยู เซ-อิ่ง’ 

I want a dayoff อ่านว่า อาย ว๊อนทฺ เออะ เด๊-ย่อฟ *ไม่ใช่ ‘อาย ว๊อนทฺ เออะ เด๊-อ่อฟ’

*Dayoff (n.): วันหยุด (อ่านว่า เด๊-ย่อฟ ไม่ใข่ เด๊-อ่อฟ)

จำไว้ง่าย ๆ สระมาเจอกับสระ ต้องมีเสียงเชื่อม ไม่ W ก็ Y ตัวใดตัวหนึ่ง! ไปเปิด


DicLonary ฟังด้วยจะดีมาก
Section 5
English in the real world (Idiom and Proverb)

Idiom of the day: Take with a grain of salt 



ตรงกับสำนวนไทยคือ ‘ฟังหูไว้หู’ 

ถ้าเรา take something with a grain of salt หมายความว่า เรารับฟังสิ่งที่ถูกพูดมา แต่
ยังไม่เชื่อทันที หรือยังไม่เชื่อทั้งหมด ต้องกลับมาวิเคราะห์สิ่งที่ได้ยินมาก่อนว่ามันจริง
เท็จแค่ไหน แล้วค่อยพิจารณาเอาว่าเราจะเชื่อหรือไม่


ภาษาอังกฤษนิยามคำนี้ไว้ว่า

‘To consider or evaluate something, such as a statement, while
keeping in mind that it may not be completely true or accurate,
typically due to the unreliability of the source.’

พิจารณาหรือประเมินบางอย่าง เช่นคำพูด ในขณะที่คิดในใจเสมอว่ามันอาจจะไม่ถูก
ต้องหรือเป็นความจริงทั้งหมด เนื่องจากข้อมูลนั้นอาจมาจากแหล่งข่าวที่มีความไม่น่า
เชื่อถือ

*Consider (v.): พิจารณา) / Evaluate (v): ประเมิน / Statement (n.): คำพูด / Keep in mind (v.): จำ
ใส่ใจ / Accurate (adj.): ถูกต้อง, แม่นยำ / Typically (adv.): โดยส่วนมาก / Unreliability (n.) ความ
ไม่น่าเชื่อถือ

เราจะบอกเพื่อนว่าอย่าเชื่อสิ่งที่จอห์นพูดเยอะมาก เพราะเขาชอบโกหก เราก็สามารถ


พูดว่า

Take what John said with a grain of salt. He makes up stories all the 

Lme. (อย่าไปเชื่อสิ่งที่เขาพูดมากเลย เขาแต่งเรื่องมาโกหกคนอื่นตลอด)

*Make up stories เป็นสำนวน แปลว่า แต่งเรื่องมาหลอก

เรากำลังจะบอกอะไรบางอย่างกับเพื่อน แต่เราก็ไม่มั่นใจว่าสิ่งที่เราพูดมันจริงเท็จแค่
ไหน เราเลยออกตัวก่อนว่า

I’m not an expert about this, so take what I say with a large grain 

of salt. (ผมไม่ได้เก่งเรื่องนี้หรอกนะ ดังนั้นก็ฟังสิ่งที่ผมพูดแบบเชื่อหูไว้หูละกัน)
Proverb of the day: Every cloud has a silver lining

แปลตรงตัวได้ว่า ที่ปลายก้อนเมฆมีเส้นแสงสีเงินเสมอ ความหมายของมันก็คือ
ในสถานการณ์แย่ ๆ จะมีสิ่งที่ดีซ่อนไว้เสมอ เหมือนดวงอาทิตย์ที่แม้ว่าจะมีก้อนเมฆ
มาบัง แต่แสงสว่างของมันก็ยังคงทำให้เกิดแสงสีเงินสะท้อนออกมาอย่างสวยงามได้
ชีวิตคนเราก็เช่นกัน แม้จะเจอเรื่องร้ายๆ เข้ามารุมเร้า เราก็ยังพบเรื่องดี ๆ ได้เสมอ 

สุภาษิตนี้จะเอาไว้พูดเพื่อให้กำลังใจกับคนที่เพิ่งเจอเรื่องราวแย่ ๆ เพื่อบอกให้เขามี
ความหวังและสู้ต่อไปนั่นเอง


ในภาษาอังกฤษนิยามคำนี้ไว้ว่า

‘every difficult or sad situa)on has a comfor)ng or more hopeful
aspect even though this may not be immediately apparent’ 

ทุก ๆ เหตุการณ์ที่ยากลำบากหรือน่าเศร้าจะมีด้านที่ดี ๆ และเต็มไปด้วยความหวัง
เสมอ แม้ว่าเราอาจจะยังหาไม่เจอโดยทันทีก็ตาม

*Aspect (n.): มุมมอง, ด้าน, แง่มุม / Even though (adv.): แม้ว่า / Immediately (adv.): โดยทันที) /
Apparent (adj.): ชัดเจน


เพื่อนกำลังเสียใจกับบางอย่าง เขาอาจกำลังเจอกับเรื่องแย่ ๆ เราเลยเข้าไปให้กำลัง
ใจเขาด้วยการบอกว่า

Example:

Don’t give up just yet. Every cloud has a silver lining.

(อย่าเพิ่งยอมแพ้เลยน่า ในเรื่องร้าย ๆ มักมีเรื่องดี ๆ ซ่อนไว้เสมอแหละ)


I believe that every cloud has a silver lining, so don’t be 

discouraged!

(ฉันเชื่อว่าเรื่องแย่ ๆ จะมีสิ่งที่ดีมอบให้กับเราเสมอ ดังนั้นอย่าเพิ่งท้อใจเลย

เพื่อน!) 

*Discouraged (ท้อแท้, หมดกำลังใจ)
Do you finish in one day? 

อ่านจบตรงเวลาไหม

A: Yes (ยินดีด้วยครับ คุณมีวินัยดีมาก)

B: No (พรุ่งนี้ต้องตั้งใจกว่านี้นะ!)

JGC.

Copyright © 2018 พ่อผมเป็นคนอังกฤษ. All rights reserved.

You might also like