You are on page 1of 30

การประเมินมูลค่าสินทรัพย์

การลงทุนใน
ตราสารทุน

การลงทุนในตราสารทุน  (Equity Investments)


พิมพ์ครั้งที่ 3
ศูนย์ส่งเสริมการพัฒนาความรู้ตลาดทุน
ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
62 ถนนรัชดาภิเษก เขตคลองเตย กรุงเทพฯ 10110
S-E-T Call Center 0-2229-2222 โทรสาร 0-2654-5399
www.tsi-thailand.org

ISBN 974-93053-5-3

300.-
การลงทุนใน
ตราสารทุน
(Equity
Investments)
การลงทุนในตราสารทุน (Equity Investments)
ผู้เขียน : ศูนย์ส่งเสริมการพัฒนาความรู้ตลาดทุน
ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
อำ�นวยการผลิต : ฝ่ายศูนย์การเรียนรู้ ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
ออกแบบปก : คุณวรวิทย์ ชินเจริญกิจ
พิมพ์ครั้งที่ 1 : พฤษภาคม 2548 จำ�นวน 2,000 เล่ม
พิมพ์ครั้งที่ 2 : เมษายน 2549 จำ�นวน 2,000 เล่ม
พิมพ์ครั้งที่ 3 : ตุลาคม 2556 จำ�นวน 2,000 เล่ม
ราคา : 300 บาท
ISBN 974-93053-5-3

ข้อมูลทางบรรณานุกรมของสำ�นักหอสมุดแห่งชาติ

การลงทุนในตราสารทุน. -- กรุงเทพฯ : ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย, 2556,


282 หน้า.
1. การลงทุน.  2. ตราสารการเงิน.  I. ชื่อเรื่อง.
332.6322
ISBN 974-93053-5-3

พิมพ์ที่ บริษัทอมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง จำ�กัด (มหาชน)


376 ถนนชัยพฤกษ์ แขวงตลิ่งชัน เขตตลิ่งชัน กรุงเทพฯ 10170
โทรศัพท์ 0-2422-9000, 0-2882-1010 โทรสาร 0-2433-2742, 0-2434-1385
E-mail : aprint@amarin.co.th Homepage : http://www.amarin.com

สงวนลิขสิทธิ์
ห้ามทำ�ลอกเลียนไม่ว่าส่วนใดส่วนหนึ่งของหนังสือ นอกจากจะได้รับอนุญาต
คำ�นำ�
ในตลาดการเงิน ผูท้ ตี่ อ้ งการใช้เงินและขาดแคลนเงินทุนจะออกหลักทรัพย์ทางการ
เงินหรือตราสารทางการเงินหลากหลายประเภท เพื่อระดมเงินทุนจากผู้ที่มีเงินออม ซึ่งยัง
ไม่มีความจ�ำเป็นต้องใช้เงินในปัจจุบัน โดยผู้ออมหรือผู้ลงทุนจะได้รับผลตอบแทนจากการ
ให้ยมื เงินทุนนัน้ จึงเห็นได้วา่ ตลาดการเงินสร้างทางเลือกในการลงทุนมากมายให้กบั ผูอ้ อม
หรือผู้ลงทุน ดังนั้น ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับรูปแบบและลักษณะต่างๆ ของทางเลือกใน
การลงทุน จะช่วยให้ผู้ลงทุนสามารถเลือกทางเลือกในการลงทุนที่เหมาะสมกับความเสี่ยง
และผลตอบแทนทีต่ อ้ งการได้ โดยตลาดตราสารทุนเป็นตลาดหนึง่ ทีม่ บี ทบาทส�ำคัญในฐานะ
ตลาดการเงิน ท�ำหน้าทีเ่ ป็นแหล่งระดมทุนและลงทุนของระบบเศรษฐกิจของประเทศ ท�ำให้
ประเทศสามารถจัดสรรทรัพยากรทางการเงินไปใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด
หนังสือเรื่อง การลงทุนในตราสารทุน (Equity Investments) ซึ่งจัดอยู่ในกลุ่ม
วิชาการประเมินมูลค่าสินทรัพย์ ได้รับการออกแบบเพื่อเสริมสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับ
ตราสารทุนและการลงทุนในตราสารทุน โดยเนื้อหาแบ่งเป็นสองส่วนหลัก ในส่วนแรก
เนื้อหาบรรยายครอบคลุมถึงทางเลือกในการลงทุนต่างๆ จากนั้นได้พรรณนาถึงโครงสร้าง
และหน้าที่ของตลาดหลักทรัพย์ รวมทั้งดัชนีราคาหลักทรัพย์ ซึ่งได้อธิบายถึงประโยชน์
และการสร้างดัชนีราคาหลักทรัพย์ประเภทต่างๆ นอกจากนี้ เนื้อหายังอธิบายถึงความมี
ประสิทธิภาพของตลาดทุน เพื่อให้เข้าใจความหมายและการทดสอบสมมติฐานเกี่ยวกับ
ประสิทธิภาพของตลาดในระดับต่างๆ ทั้งยังครอบคลุมถึงการประยุกต์ใช้แนวคิดนี้กับการ
บริหารกลุ่มหลักทรัพย์
ในส่วนที่สอง เนื้อหาบรรยายเกี่ยวกับหลักการส�ำคัญของการประเมินมูลค่า
หลักทรัพย์ จากนั้น อธิบายถึงการวิเคราะห์โดยใช้ปัจจัยพื้นฐาน เริ่มต้นจากการวิเคราะห์
ตลาดหุ้น การวิเคราะห์อุตสาหกรรม และการวิเคราะห์บริษัท เพื่อให้สามารถประยุกต์
ใช้กับการประเมินมูลค่าตราสารทุนได้ โดยเนื้อหาได้ครอบคลุมถึงวิธีการประเมินมูลค่า
ตราสารทุนแบบต่างๆ นอกจากนี้ ในบทสุดท้าย ยังได้บรรยายถึงการวิเคราะห์หลักทรัพย์
ทางเทคนิคแบบต่างๆ ซึ่งจะเป็นเครื่องมือส�ำคัญที่ใช้ประกอบกับการวิเคราะห์หลักทรัพย์
โดยใช้ปัจจัยพื้นฐานได้
ผู้จัดท�ำขอขอบพระคุณ คุณพันธ์ศักดิ์ เวชอนุรักษ์ และ คุณจิราพร คูสุวรรณ
เป็นอย่างสูง ทีไ่ ด้กรุณาส่งเสริมและสนับสนุนโครงการพัฒนาหลักสูตรและการจัดท�ำหนังสือ
เล่มนี้ ให้ด�ำเนินไปจนประสบความส�ำเร็จ เพื่อเป็นส่วนหนึ่งในการเสริมสร้างศักยภาพของ
ผูป้ ระกอบวิชาชีพในธุรกิจหลักทรัพย์ ให้ปฏิบตั งิ านได้อย่างมีประสิทธิภาพ และมีมาตรฐาน
ทัดเทียมกับสากล นอกจากนี้ คุณพันธ์ศกั ดิ์ เวชอนุรกั ษ์ ยังได้กรุณาด�ำรงต�ำแหน่งประธาน
คณะท�ำงานก�ำหนดมาตรฐานหลักสูตร CISA (Certified Investment and Securities
Analyst) โดยในโอกาสเดียวกันนี้ ผู้จัดท�ำขอขอบพระคุณ คณะท�ำงานก�ำหนดมาตรฐาน
หลักสูตร ประกอบด้วย คุณมาริษ ท่าราบ คุณดวงมน ธีระวิคาวี ผู้อ�ำนวยการ ฝ่าย
ก�ำกับธุรกิจจัดการลงทุน ส�ำนักงานคณะกรรมการก�ำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
คุณภัทธีรา ดิลกรุ่งธีระภพ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัทหลักทรัพย์ ดีบีเอส วิคเคอร์ส
(ประเทศไทย) จ�ำกัด และ นายกสมาคมบริษัทหลักทรัพย์ คุณภรณี ทองเย็น, CISA
ผูช้ ว่ ยกรรมการผูอ้ �ำนวยการ บริษทั หลักทรัพย์ เอเชีย พลัส จ�ำกัด (มหาชน) และ กรรมการ
สมาคมนักวิเคราะห์หลักทรัพย์ คุณสุภากร สุจิรัตนวิมล, CISA ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ
บริษัทหลักทรัพย์ เคทีบี จ�ำกัด และ กรรมการสมาคมนักวิเคราะห์หลักทรัพย์ และ ผู้ช่วย
ศาสตราจารย์ ดร. สันติ กีระนันทน์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท ทริส คอร์ปอเรชั่น จ�ำกัด
เป็นอย่างสูง ซึง่ ได้กรุณาท�ำหน้าทีพ่ จิ ารณาก�ำหนดมาตรฐานหลักสูตร โครงสร้างและเนือ้ หา
หลักสูตร รายละเอียดวิชา รวมทัง้ ต�ำราประกอบการเรียนการสอน และได้ให้ค�ำแนะน�ำทีเ่ ป็น
ประโยชน์อย่างยิ่งต่อการพัฒนาหลักสูตร
นอกจากนี้ ผู้จัดท�ำขอขอบพระคุณ สมาคมนักวิเคราะห์หลักทรัพย์ ในฐานะ
ผู้ริเริ่มและด�ำเนินการโครงการ อบรมและทดสอบความรู้ในหลักสูตร CISA และ กรรมการ
สมาคมนักวิเคราะห์หลักทรัพย์ ที่ได้กรุณาเป็นคณะกรรมการกลั่นกรองข้อสอบส�ำหรับ
หลักสูตร CISA รวมทั้งขอขอบพระคุณ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ปิยรัตน์ กฤษณามระ
คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ซึ่งได้กรุณาพัฒนาเนื้อหา
ในส่วนที่ 1 ตลาดหลักทรัพย์ และ อาจารย์ ดร. รวี ลงกานี คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัย
เชียงใหม่ ที่ได้กรุณาพัฒนาเนื้อหาในส่วนที่ 2 การลงทุนในตราสารทุน เพื่อให้ผู้สนใจ
จะศึกษาหาความรู้เกี่ยวกับทางเลือกในการลงทุนและการลงทุนในตราสารทุน ได้ใช้เป็น
แหล่งประกอบการค้นคว้าอีกแหล่งหนึ่ง อันจะเป็นประโยชน์อย่างยิ่งต่อพัฒนาการของ
ตลาดตราสารทุนของไทยต่อไป
ศูนย์ส่งเสริมการพัฒนาความรู้ตลาดทุน
ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
สารบัญ
ส่วนที่ 1 ตลาดหลักทรัพย์
บทที่ 1 ทางเลือกในการลงทุน 3
1.1 การลงทุนในสินทรัพย์ทางการเงิน 6
1.1.1 การลงทุนที่ให้ผลตอบแทนแน่นอน 7
1.1.2 การลงทุนในตราสารทุน 16
1.1.3 การลงทุนในกองทุนรวม 23
1.1.4 การลงทุนในตราสารอนุพันธ์ 26
1.2 การลงทุนในสินทรัพย์จริง 30
1.2.1 การลงทุนซื้ออสังหาริมทรัพย์โดยตรง 30
1.2.2 การลงทุนทางอ้อมโดยซื้อกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ 32
1.3 การลงทุนในสินทรัพย์ที่มีสภาพคล่องต�่ำ 32
บทที่ 2 โครงสร้างและหน้าที่ของตลาดหลักทรัพย์ 37
2.1 ความหมายของตลาด 38
2.2 ลักษณะของตลาดที่ดี 39
2.3 โครงสร้างของตลาดหลักทรัพย์ 41
2.3.1 ตลาดแรก 42
2.3.2 ตลาดรอง 52
2.4 องค์ประกอบของตลาดหลักทรัพย์ที่เป็นทางการ 58
2.4.1 สมาชิกตลาดหลักทรัพย์ 59
2.4.2 ประเภทค�ำสั่งซื้อขาย 60
2.4.3 ระบบการซื้อขายหลักทรัพย์ 68
2.4.4 การจับคู่ซื้อขาย 69
2.5 แนวโน้มการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในตลาดหลักทรัพย์ 70
2.5.1 ค่าธรรมเนียมการซื้อขายหลักทรัพย์ 71
2.5.2 ค�ำสั่งซื้อขายหลักทรัพย์รายใหญ่ 72
2.5.3 ความผันผวนของราคาหลักทรัพย์ 73
2.5.4 ระบบตลาดหลักทรัพย์ 73
บทที่ 3 ดัชนีราคาหลักทรัพย์ 77
3.1 ประโยชน์ของดัชนีราคาหลักทรัพย์ 78
3.2 การสร้างดัชนีราคาหลักทรัพย์ 80
3.2.1 ปัจจัยที่ใช้ในการสร้างดัชนีราคาหลักทรัพย์ 81
3.2.2 วิธีการสร้างดัชนีราคาหลักทรัพย์ 82
3.3 ดัชนีราคาหลักทรัพย์ประเภทอื่นๆ 93
3.3.1 ดัชนีที่มีรูปแบบเฉพาะเป็นของตนเอง 93
3.3.2 ดัชนีที่ลงทุนในตลาดหุ้นทั่วโลก 94
3.3.3 ดัชนีตราสารหนี้ 95
3.3.4 ดัชนีตราสารหนี้และตราสารทุนรวม 97
บทที่ 4 ประสิทธิภาพของตลาดทุน 99
4.1 สมมติฐานของตลาดมีประสิทธิภาพ 100
4.2 ระดับความมีประสิทธิภาพของตลาด 102
4.2.1 ความมีประสิทธิภาพในระดับต�่ำ 102
4.2.2 ความมีประสิทธิภาพในระดับปานกลาง 103
4.2.3 ความมีประสิทธิภาพในระดับสูง 104
4.3 การทดสอบสมมติฐานของตลาดมีประสิทธิภาพ 104
4.3.1 การทดสอบสมมติฐานความมีประสิทธิภาพ 105
ในระดับต�่ำของตลาด
4.3.2 การทดสอบสมมติฐานความมีประสิทธิภาพ 108
ในระดับปานกลางของตลาด
4.3.3 การทดสอบสมมติฐานความมีประสิทธิภาพ 117
ในระดับสูงของตลาด
4.4 ความผิดปกติของตลาด 118
4.5 ประสิทธิภาพของตลาดทุนและการประยุกต์ใช้ 120
4.5.1 ตลาดมีประสิทธิภาพและการวิเคราะห์ทางเทคนิค 121
4.5.2 ตลาดมีประสิทธิภาพและการวิเคราะห์โดยใช้ปัจจัยพื้นฐาน 122
4.5.3 ตลาดมีประสิทธิภาพและการบริหารกลุ่มหลักทรัพย์ 126
เอกสารอ้างอิง 131
ส่วนที่ 2 การลงทุนในตราสารทุน
บทที่ 5 ภาพรวมเกี่ยวกับการประเมินมูลค่าหลักทรัพย์ 135
5.1 หลักการส�ำคัญของการประเมินมูลค่า 135
5.1.1 การวิเคราะห์ภาพรวมของระบบเศรษฐกิจ 137
5.1.2 การวิเคราะห์ระดับอุตสาหกรรม 139
5.1.3 การวิเคราะห์ระดับบริษัท 140
5.2 หลักการพื้นฐานของการประเมินมูลค่าหลักทรัพย์ 140
บทที่ 6 การวิเคราะห์ตลาดหุ้นและการวิเคราะห์อุตสาหกรรม 145
6.1 ตัวแปรที่เกี่ยวข้องในการวิเคราะห์ตลาดหลักทรัพย์ 147
6.1.1 การประมาณก�ำไรต่อหุ้นของตลาด 147
6.1.2 ปัจจัยที่มีผลต่อกระทบต่ออัตราก�ำไร 151
6.1.3 การประมาณอัตราส่วนราคาต่อก�ำไรของตลาด 158
6.2 การวิเคราะห์ตลาดอื่นๆ ของโลก 162
6.2.1 เศรษฐกิจระดับมหภาค 163
6.2.2 การวิเคราะห์อุตสาหกรรม 167
บทที่ 7 การวิเคราะห์บริษัทและการประเมินมูลค่าหุ้นสามัญ 185
7.1 ข้อแตกต่างระหว่างการวิเคราะห์บริษัทและ 186
การประเมินราคาหุ้นสามัญของบริษัท
7.1.1 กิจการที่มีการเติบโตสูงและหุ้นที่มีการเติบโตสูง 186
7.1.2 กิจการที่มั่นคงและหุ้นที่มั่นคง 187
7.1.3 กิจการที่มีความผันผวนสูงและหุ้นที่มีความผันผวนสูง 187
7.1.4 กิจการเพื่อการเก็งก�ำไรและหุ้นเพื่อการเก็งก�ำไร 187
7.2 การวิเคราะห์บริษัท 188
7.2.1 การวิเคราะห์ในระดับมหภาคและอุตสาหกรรม 188
7.2.2 การวิเคราะห์บริษัทและกลยุทธ์ของบริษัท 189
7.3 การประเมินมูลค่าที่แท้จริง 190
7.3.1 การประเมินมูลค่าหุ้นบุริมสิทธิ 190
7.3.2 การประเมินมูลค่าหุ้นสามัญ 192
7.4 การประมาณค่าตัวแปรในการประเมินมูลค่า 215
7.4.1 ผลตอบแทนที่ต้องการ 215
7.4.2 อัตราการขยายตัว 222
7.5 ตัวอย่างการประเมินมูลค่าตราสารทุน 223
7.5.1 การหามูลค่าปัจจุบันของเงินปันผล 225
7.5.2 การวิเคราะห์อัตราส่วนทางการเงินที่เกี่ยวข้อง 226
7.5.3 การตัดสินใจในการลงทุน 237
บทที่ 8 การวิเคราะห์หลักทรัพย์ทางเทคนิค 239
8.1 สมมติฐานส�ำคัญในการวิเคราะห์หลักทรัพย์ด้วยปัจจัยทางเทคนิค 240
8.2 ประโยชน์ที่ได้จากการวิเคราะห์ทางเทคนิค 242
8.3 ปัจจัยเทคนิค : มุมมองจากนักวิเคราะห์โดยใช้ปัจจัยพื้นฐาน 244
8.3.1 หลักฐานส�ำคัญที่หักล้างสมมติฐานการวิเคราะห์ 244
ทางเทคนิค
8.3.2 ข้อกล่าวแย้งถึงกระบวนการวิเคราะห์ทางเทคนิค 245
8.4 เครื่องมือวิเคราะห์หลักทรัพย์ทางเทคนิค 246
8.4.1 การลงทุนสวนทาง 247
8.4.2 การลงทุนตามกระแสของผู้เชี่ยวชาญ 248
8.4.3 ดัชนีชี้วัดภาวการณ์ของตลาด 249
8.4.4 ทฤษฎีดาว 251
8.4.5 ค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่ 253
8.4.6 การวัดประสิทธิภาพเปรียบเทียบ 255
8.4.7 การใช้แผนภูมิแบบแท่ง 255
8.4.8 การใช้แผนภูมิแบบ Point and Figure 256
ภาคผนวก 261
เอกสารอ้างอิง 270
ส่วนที่ 1
ตลาดหลักทรัพย์
บทที่ 1
ทางเลือกในการลงทุน

วัตถุประสงค์
1. เพื่อให้เข้าใจเกี่ยวกับทางเลือกในการลงทุนที่มีอยู่ในตลาดหลักทรัพย์
2. เพือ่ ให้สามารถอธิบายถึงลักษณะทีส่ ำ� คัญและประเภทต่างๆ ของสินทรัพย์
ทางการเงินที่ซื้อขายกันอยู่ในตลาดหลักทรัพย์
3. เพือ่ ให้สามารถอธิบายถึงลักษณะทีส่ ำ� คัญและประเภทต่างๆ ของสินทรัพย์
จริง และสินทรัพย์ที่มีสภาพคล่องต�่ำ
3

ในระบบเศรษฐกิจ ตลาดเป็นสื่อกลางที่ท�ำให้ผู้ซื้อและผู้ขายมาพบกันเพื่อซื้อขาย
แลกเปลีย่ นสินค้า บริการ หรือทรัพยากรอืน่ ๆ ระหว่างกัน ตลาดทีส่ ำ� คัญในระบบเศรษฐกิจ
อาจแบ่งออกได้เป็น 3 ประเภท คือ ตลาดปัจจัยการผลิต (factor markets) ซึง่ เป็นตลาด
ที่ท�ำหน้าที่จัดสรรปัจจัยการผลิต อันได้แก่ ที่ดิน แรงงาน สินค้าประเภททุน และความ
เชี่ยวชาญเข้าสู่กระบวนการผลิต เพื่อแลกเปลี่ยนกับค่าจ้าง ค่าแรง และเงินเดือนที่ได้รับ
จากหน่วยผลิต ซึ่งโดยทั่วไป ได้แก่ ธุรกิจ และรัฐบาล ผู้บริโภคซึ่งได้รับรายได้จากปัจจัย
การผลิต จะซื้อสินค้าหรือบริการจาก ตลาดสินค้า (product markets) เช่น อาหาร ที่อยู่
อาศัย โทรทัศน์ และรถยนต์ จากหน่วยธุรกิจ ท�ำให้หน่วยธุรกิจมีรายได้จากการขายสินค้า
หรือบริการต่างๆ เหล่านัน้ ซึง่ จะสามารถน�ำไปใช้จา่ ยในการผลิตได้อกี หลังจากการจับจ่าย
ใช้สอยแล้ว ผู้บริโภคบางรายอาจจะมีเงินเหลือเก็บ เรียกว่าเงินออม ซึ่ง ตลาดการเงิน
(financial markets) จะท�ำหน้าที่ส�ำคัญในระบบเศรษฐกิจ คือ เป็นสื่อกลางในการระดม

ศูนย์ส่งเสริมการพัฒนาความรู้ตลาดทุน
เงินออมจากผู้มีเงินเหลือใช้ไปให้ผู้ที่มีความต้องการใช้เงินแต่ขาดแคลนเงินทุน ซึ่งอาจจะ
ได้แก่ ธุรกิจ รัฐบาล หรือบุคคลทั่วไป ท�ำให้ธุรกิจมีเงินไปลงทุนขยายการผลิต รัฐบาลมีเงิน
ไปใช้ในการลงทุนเพื่อสร้างสาธารณูปโภคต่างๆ และบุคคลทั่วไปมีเงินไปใช้ในการซื้อบ้าน
ที่ดิน อาหาร โทรทัศน์ และรถยนต์ ซึ่งจะมีผลท�ำให้ธุรกิจขยายตัว เกิดการเพิ่มผลผลิต
การจ้างงานสูงขึ้น ประชาชนมีรายได้เพิ่มขึ้น และมีมาตรฐานความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น อันเป็น
ผลให้เศรษฐกิจของประเทศเจริญเติบโต
ในตลาดการเงิน ผูท้ ตี่ อ้ งการใช้เงินและขาดแคลนเงินทุนไม่วา่ จะเป็น บุคคล ธุรกิจ
หรือรัฐบาล จะออกหลักทรัพย์ทางการเงินหรือตราสารทางการเงินหลากหลายประเภท
เพื่อขายให้กับผู้ที่มีเงินออมเพื่อระดมเงินทุน ผู้ออมจะลงทุนซื้อตราสารทางการเงินต่างๆ
เหล่านั้น เนื่องจากยังไม่มีความจ�ำเป็นต้องใช้เงินในปัจจุบัน การเลื่อนความต้องการใช้
เงินออกไปในอนาคต โดยเอาเงินออมให้ธุรกิจที่ขาดเงินหรือรัฐบาลไปใช้ในการลงทุนก่อน
จะท�ำให้ผู้ออมได้รับผลตอบแทนมากขึ้น ซึ่งเป็นการสร้างโอกาสในการเพิ่มความมั่งคั่งให้
ผู้ออมได้ในอนาคต จึงเห็นได้ว่า ตลาดการเงินสร้างทางเลือกในการลงทุนมากมายให้กับ
ผู้ออมหรือผู้ลงทุน ทั้งการลงทุนในระยะสั้นและระยะยาว ทั้งการลงทุนภายในประเทศและ
การลงทุนในต่างประเทศ ฉะนั้น ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับทางเลือกในการลงทุน เช่น
4 รูปแบบและลักษณะต่างๆ ของทางเลือกในการลงทุน ตลอดจนความแตกต่างระหว่างทาง
เลือกลงทุนในตลาดการเงินที่มีอยู่ทั่วโลกจึงเป็นสิ่งที่ส�ำคัญ ความรู้ความเข้าใจดังกล่าว
จะช่ ว ยให้ ผู ้ ลงทุ นสามารถเลือกทางเลือกในการลงทุนที่เหมาะสมกับ ความเสี่ยงและ
ผลตอบแทนที่ต้องการได้
เมื่อผู้ออมหรือผู้ลงทุนมีทางเลือกในการลงทุนหลากหลาย ผู้ลงทุนย่อมต้องการ
บริหารเงินออมหรือเงินลงทุนของตนให้เกิดประสิทธิภาพ การลงทุนในตลาดหลักทรัพย์
จึงเป็นทางเลือกที่ผู้ลงทุนในปัจจุบันเริ่มให้ความสนใจมากขึ้น เพราะในตลาดหลักทรัพย์มี
สินค้าหรือตราสารทางการเงินเพื่อการลงทุนหลากหลายประเภทให้เลือก แต่ก่อนที่ผู้ออม
หรือผู้ลงทุนจะตัดสินใจลงทุนก็ควรที่จะต้องท�ำความรู้จักกับตลาดหลักทรัพย์เสียก่อน
ซึ่งในช่วงระยะเวลาที่ผ่านมา เรื่องราวต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับตลาดหลักทรัพย์ทั้งในประเทศ
และต่างประเทศทั่วโลกได้กลายเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตประจ� ำวันที่คนทั่วไปมักจะได้
รับทราบจากสื่อต่างๆ เช่น ทางสถานีโทรทัศน์ ทางวิทยุ และหนังสือพิมพ์ต่างๆ อยู่เสมอ
หลายๆ คนอาจจะเข้าใจความหมายของเรื่องราวที่กล่าวถึงเหล่านั้น แต่อีกหลายคนอาจ

การลงทุนในตราสารทุน
บทที่ 1: ทางเลือกในการลงทุน
จะไม่เข้าใจว่าก�ำลังพูดกันถึงเรื่องอะไร ดังนั้น การท�ำความเข้าใจเกี่ยวกับเรื่องราวของ
ตลาดหลักทรัพย์จึงเป็นสิ่งส�ำคัญ เช่น ตลาดหลักทรัพย์คืออะไร ตลาดหลักทรัพย์ท�ำหน้าที่
อะไร ตลาดหลักทรัพย์อยูท่ ไี่ หนบ้าง โดยเฉพาะส�ำหรับผูอ้ อมทีต่ อ้ งการประสบความส�ำเร็จ
ในการลงทุนในระดับโลก ย่อมต้องติดตามข้อมูลข่าวสารจากแหล่งข้อมูลต่างๆ เพือ่ ประกอบ
การตัดสินใจลงทุนในตลาดหลักทรัพย์ รวมทัง้ ติดตามความเคลือ่ นไหวของราคาหลักทรัพย์
เพื่อลดความเสี่ยงจากการลงทุนและช่วยให้การลงทุนได้รับผลตอบแทนที่ดี ด้วยเหตุนี้
ผู้ลงทุนจึงต้องรู้จักและท�ำความเข้าใจกับดัชนีราคาหลักทรัพย์ ซึ่งเป็นตัวชี้วัดสภาวะของ
ตลาดหลักทรัพย์โดยรวม สามารถน�ำมาใช้ในการคาดคะเนทิศทางและแนวโน้มของตลาด
รวมทั้งวัดผลตอบแทนจากการลงทุนของผู้ลงทุนได้
เมื่อผู้ออมได้เข้ามามีส่วนร่วมในการลงทุนในตลาดหลักทรัพย์แล้ว การลงทุน
อย่างมีหลักการและเหตุผลจะมีส่วนช่วยให้ผู้ออมหรือผู้ลงทุนสามารถลดความเสี่ยงจาก
การลงทุน และช่วยให้การลงทุนเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพได้ ดังนั้น ผู้ลงทุนควรจะต้อง
ค้นคว้าศึกษาและวิเคราะห์ขา่ วสารข้อมูลต่างๆ ทีเ่ กีย่ วข้องกับการลงทุนอยูเ่ สมอ เนือ่ งจาก
ข่าวสารข้อมูลต่างๆ ที่เกิดขึ้นจะมีผลกระทบต่อการเปลี่ยนแปลงของราคาหลักทรัพย์
ตลอดจนผลตอบแทนของผูล้ งทุน ซึง่ อาจจะท�ำให้ผลู้ งทุนได้รบั ผลตอบแทนมากขึน้ น้อยลง
หรืออาจจะขาดทุนได้ ดังนั้น ความรู้ความเข้าใจถึงผลกระทบของข่าวสารข้อมูลในตลาด 5
การเงินที่มีต่อผลตอบแทนจากการลงทุน และความมีประสิทธิภาพของตลาดทุน จึงเป็น
สิ่งส�ำคัญที่ผู้ลงทุนทุกคนควรทราบ ทั้งนี้ เพราะในการวิเคราะห์การลงทุนไม่ว่าจะใช้วิธี
การใดๆ ทั้งการวิเคราะห์ทางเทคนิค (technical analysis) และการวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐาน
(fundamental analysis) ต่างก็น�ำแนวคิดเรื่องประสิทธิภาพของตลาดทุนมาประยุกต์ใช้
อาจจะท�ำให้ผู้ลงทุนได้รับผลตอบแทนจากการลงทุนที่ดีเท่าๆ กับตลาดหรือดีกว่า
ในอดีตที่ผ่านมา ช่องทางในการลงทุนมีให้เลือกไม่มากนัก ผู้มีเงินออมส่วนใหญ่
มักจะฝากเงินกับธนาคาร มีผลู้ งทุนส่วนน้อยทีล่ งทุนซือ้ หุน้ สามัญ ในปัจจุบนั ตลาดการเงิน
มีการเจริญเติบโตและพัฒนามากขึ้น ทั้งตลาดการเงินภายในประเทศและตลาดการเงินใน
ต่างประเทศ ท�ำให้ช่องทางในการลงทุนเปิดกว้างส�ำหรับผู้ลงทุนมากขึ้น ผู้ลงทุนมีโอกาส
เลือกช่องทางการลงทุนในรูปแบบต่างๆ ได้มากขึ้น ทั้งการลงทุนที่มีอยู่ในตลาดการเงิน
และที่ไม่ได้อยู่ในตลาดการเงิน ดังนั้น เพื่อให้ผู้ลงทุนได้มองเห็นโอกาสต่างๆ ในการลงทุน
ได้อย่างครบถ้วน ความเข้าใจเกี่ยวกับช่องทางในการลงทุนต่างๆ ในตลาดการเงิน รวมทั้ง

ศูนย์ส่งเสริมการพัฒนาความรู้ตลาดทุน
การลงทุนที่ไม่ได้อยู่ในตลาดการเงินจึงมีความจ�ำเป็นและเป็นพื้นฐานส�ำคัญส�ำหรับการ
ประเมินมูลค่าการลงทุนในแต่ละทางเลือก รวมถึงการตัดสินใจเลือกลงทุนในกลุม่ การลงทุน
ที่เหมาะสมกับความเสี่ยงและผลตอบแทนของผู้ลงทุนต่อไป
ช่องทางในการลงทุน อาจแบ่งตามประเภทสินทรัพย์ทจี่ ะลงทุนออกเป็นกลุม่ ใหญ่ๆ
ได้ 3 กลุ่ม คือ การลงทุนในสินทรัพย์ทางการเงิน (financial asset) เช่น หุ้นสามัญและ
หุน้ กู้ การลงทุนในสินทรัพย์จริง (real asset) เช่น บ้านและทีด่ นิ และการลงทุนในสินทรัพย์
ที่มีสภาพคล่องต�่ำ (low liquidity investment) เช่น ภาพเขียน งานศิลป์ต่างๆ วัตถุโบราณ
เหรียญกษาปณ์ แสตมป์ และอัญมณีที่มีค่า เป็นต้น

1.1 การลงทุนในสินทรัพย์ทางการเงิน
การลงทุนในสินทรัพย์ทางการเงินนั้น1 ผู้ลงทุนจะได้รับผลตอบแทนเป็นตัวเงิน
(money) โดยการลงทุนในสินทรัพย์ทางการเงินที่จะกล่าวถึงในบทนี้แบ่งออกได้เป็น
4 กลุ่ม ดังนี้
● การลงทุนทีใ่ ห้ผลตอบแทนแน่นอน (fixed-income investment) เช่น หุน
้ กู้ และ
6 หุ้นบุริมสิทธิ
● การลงทุนในตราสารทุน (equity investment) เช่น หุ้นสามัญ ใบส�ำคัญแสดง

สิทธิในผลประโยชน์ที่เกิดจากหุ้นสามัญ (American depository receipt) และ


ใบส�ำคัญแสดงสิทธิ (warrant)
● การลงทุนในกองทุนรวม ซึ่งบริหารโดยบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน หรือ

บริษัทจัดการลงทุน (investment company)


● การลงทุนในตราสารอนุพันธ์ (derivatives investment) เช่น สัญญาซื้อขาย

ล่วงหน้า (futures contract) และออปชัน (option)

____________________________________________
1
สินทรัพย์ทางการเงิน คือ สิทธิเรียกร้องในรายได้หรือทรัพย์สินของธุรกิจ บุคคล หรือรัฐบาล ซึ่ง
โดยทัว่ ไปทำ�ขึน้ เป็นเอกสารทีม่ ผี ลในทางกฎหมายและมักจะเรียกกันว่า ตราสารทางการเงิน ส่วนใหญ่
ออกโดยผู้ที่ต้องการกู้ยืมเงิน ตัวอย่างของสินทรัพย์ทางการเงิน ได้แก่ หุ้นสามัญ หุ้นกู้ และเงินฝาก
ธนาคาร เป็นต้น

การลงทุนในตราสารทุน
บทที่ 1: ทางเลือกในการลงทุน
1.1.1 การลงทุนที่ให้ผลตอบแทนแน่นอน
การลงทุ น ที่ ใ ห้ ผ ลตอบแทนแน่ น อน (fixed-income investment) หมายถึ ง
การลงทุนที่ผู้ลงทุนจะได้รับผลตอบแทนสม�่ำเสมอและแน่นอนภายในระยะเวลาที่ก�ำหนด
เช่น การปล่อยเงินกู้ การฝากเงินกับสถาบันการเงิน การลงทุนในตราสารการเงินประเภท
หุน้ กู้ และการลงทุนในพันธบัตรรัฐบาล เป็นต้น ผูล้ งทุนหรือผูใ้ ห้กจู้ ะมีฐานะเป็นเจ้าหนีข้ อง
ผู้กู้ยืม หรือผู้ที่ออกตราสาร ซึ่งสัญญาว่าจะจ่ายผลตอบแทนให้เป็นงวดๆ อย่างสม�่ำเสมอ
และจ่ายคืนเงินต้นภายในระยะเวลาทีก่ ำ� หนด หากลูกหนีห้ รือผูอ้ อกตราสารไม่สามารถจ่าย
ผลตอบแทนหรือจ่ายคืนเงินต้นได้ตามระยะเวลาที่สัญญาไว้ เจ้าหนี้หรือผู้ถือหลักทรัพย์
ย่อมมีสิทธิที่จะฟ้องร้องได้ การลงทุนที่จะท�ำให้ผู้ลงทุนได้รับผลตอบแทนแน่นอน อาจแบ่ง
ประเภทตามระยะเวลาของการลงทุนออกเป็นสองประเภท คือ การลงทุนทีใ่ ห้ผลตอบแทน
แน่นอนในระยะสั้น และการลงทุนที่ให้ผลตอบแทนแน่นอนในระยะยาว

การลงทุนที่ให้ผลตอบแทนแน่นอนในระยะสั้น
การลงทุนทีใ่ ห้ผลตอบแทนแน่นอนในระยะสัน้ หมายถึง การลงทุนทีผ่ ลู้ งทุนจะได้รบั
ผลตอบแทนและเงินลงทุนคืนมาภายในระยะเวลาที่ไม่นานนัก โดยทั่วไป คือ ภายในระยะ
เวลาไม่เกินหนึ่งปี โดยลงทุนในตราสารการเงินในตลาดเงิน (money market instruments) 7
ที่มีสภาพคล่องสูง และมีความเสี่ยงต�่ำ การลงทุนที่ให้ผลตอบแทนแน่นอนในระยะสั้นที่จะ
กล่าวถึง ได้แก่ การฝากเงินธนาคาร การซื้อบัตรเงินฝาก และตั๋วเงินคลัง

การฝากเงินธนาคาร
การเปิดบัญชีเงินฝากกับธนาคารไม่ว่าจะเป็นการฝากแบบบัญชีเงินฝากออม
ทรัพย์ บัญชีเงินฝากประจ�ำ หรือการฝากเงินในรูปแบบอื่นๆ กับธนาคาร หรือสถาบันการ
เงินอื่นๆ ที่รับฝากเงิน คือ การที่ผู้ลงทุนน�ำเงินไปให้ธนาคารกู้ยืมซึ่งท�ำให้ผู้ลงทุนได้รับผล
ตอบแทนแน่นอนในรูปของดอกเบี้ยจากธนาคาร การลงทุนวิธีนี้เป็นการลงทุนที่ง่ายและ
สะดวก มีสภาพคล่องสูงและมีความเสี่ยงต�่ำ ผู้ฝากเงินสามารถถอนเงินมาใช้ได้ทันทีเมื่อ
ครบก�ำหนดเวลาทีไ่ ด้ตกลงไว้กบั ธนาคารและยังได้รบั ความคุม้ ครองภายใต้โครงการประกัน

ศูนย์ส่งเสริมการพัฒนาความรู้ตลาดทุน
เงินฝากด้วย2 แต่การฝากเงินกับธนาคารนั้น ผู้ลงทุนจะได้รับผลตอบแทนค่อนข้างต�่ำ เมื่อ
เปรียบเทียบกับการลงทุนในรูปแบบอื่นๆ อย่างไรก็ดี หากผู้ลงทุนไม่มีความรู้ในเรื่องการ
ลงทุนมากนัก และต้องการการลงทุนที่มีความเสี่ยงต�่ำและมีความปลอดภัยสูง ก็ควรเลือก
วิธีการฝากเงินกับธนาคาร

บัตรเงินฝาก (certificates of deposits)


บัตรเงินฝากเป็นตราสารการเงินที่ออกโดยสถาบันการเงิน เช่น ธนาคารพาณิชย์
เพือ่ ระดมเงินออมจากผูล้ งทุนนอกเหนือไปจากการรับฝากเงิน ดังนัน้ นอกจากจะลงทุนโดย
การฝากเงินกับธนาคารตามปกติแล้ว ผูล้ งทุนยังสามารถลงทุนโดยการซือ้ บัตรเงินฝากจาก
ธนาคารพาณิชย์ทวั่ ไปได้ บัตรเงินฝากจะมีกำ� หนดระยะเวลาการไถ่ถอนทีแ่ น่นอน โดยปกติ
มีระยะเวลาตั้งแต่ 3 เดือน ถึง 2 ปี หรือ 3 ปี ผู้ลงทุนไม่สามารถไถ่ถอนบัตรเงินฝากคืนได้
ก่อนก�ำหนด แต่สามารถน�ำไปขายในตลาดรองได้ หากต้องการใช้เงินก่อนทีบ่ ตั รเงินฝากจะ
ครบก�ำหนด บัตรเงินฝากมีทงั้ ประเภททีร่ ะบุชอื่ ผูเ้ ป็นเจ้าของและไม่ระบุชอื่ มีทงั้ ประเภทที่
ไม่สามารถโอนเปลีย่ นมือได้ และสามารถโอนเปลีย่ นมือได้ บัตรเงินฝากมักจะมีการก�ำหนด
วงเงินขั้นต�่ำในการลงทุนค่อนข้างสูง ผู้ลงทุนจะได้ดอกเบี้ยในอัตราที่สูงกว่าการฝากแบบ
8 ออมทรัพย์แต่อาจใกล้เคียงหรือสูงกว่าดอกเบี้ยเงินฝากประจ�ำ อัตราดอกเบี้ยของบัตรเงิน
ฝากมีทั้งประเภทอัตราดอกเบี้ยตายตัว (fixed rate) และอัตราดอกเบี้ยลอยตัว (floating
rate) บัตรเงินฝากประเภททีม่ อี ตั ราดอกเบีย้ ตายตัวจะท�ำให้ผลู้ งทุนเกิดความเสีย่ งเมือ่ อัตรา
ดอกเบีย้ ตลาด (market rate) เกิดการเปลีย่ นแปลง ดังนัน้ ธนาคารในประเทศสหรัฐอเมริกา
จึงมีการออกบัตรเงินฝากชนิดทีม่ อี ตั ราดอกเบีย้ เปลีย่ นแปลงตามอัตราดอกเบีย้ ในตลาดเงิน
หรืออัตราดอกเบี้ยลอยตัว บัตรเงินฝากที่มีอัตราดอกเบี้ยลอยตัวนี้จะมีจ�ำนวนเงินลงทุน
ขัน้ ต�ำ่ ค่อนข้างสูงและต้องการลงทุนอย่างน้อยตัง้ แต่ 6 เดือนขึน้ ไป ผูล้ งทุนจะได้รบั ดอกเบีย้
ซึง่ เปลีย่ นแปลงทุกๆ สัปดาห์ตามการเปลีย่ นแปลงของอัตราดอกเบีย้ ตัว๋ เงินคลังของรัฐบาล
(U.S. treasury bill) ผูล้ งทุนจะไถ่ถอนบัตรเงินฝากประเภทนีจ้ ากธนาคารทีอ่ อกบัตรได้เมือ่
ครบก�ำหนด หากผู้ลงทุนต้องการไถ่ถอนบัตรเงินฝากคืนก่อนก�ำหนด อาจจะถูกปรับจาก
ธนาคารตามเงื่อนไขที่ได้ระบุไว้
____________________________________________
2
โครงการประกันเงินฝาก เป็นโครงการที่ให้ความคุ้มครองแก่ผู้ฝากเงินกับธนาคารที่เป็นสมาชิกของ
สถาบันประกันเงินฝาก โดยการค�้ำประกันการจ่ายคืนเงินฝากภายในวงเงินที่ก�ำหนดให้กับผู้ฝากเงิน
ในกรณีทธี่ นาคารสมาชิกไม่สามารถจ่ายคืนเงินฝากให้กบั ผูฝ้ ากได้ เนือ่ งจากธนาคารล้มหรือมีปญ
ั หา
โดยสถาบันประกันเงินฝากจะเป็นองค์กรที่ท�ำหน้าที่จ่ายเงินให้แทน

การลงทุนในตราสารทุน
บทที่ 1: ทางเลือกในการลงทุน
ตั๋วเงินคลัง (treasury bill)
ตั๋วเงินคลังเป็นหลักทรัพย์ระยะสั้นของรัฐบาล ซึ่งมีระยะเวลาครบก�ำหนดไถ่ถอน
ไม่เกิน 1 ปี รัฐบาลออกตั๋วเงินคลังเพื่อหาเงินมาชดเชยงบประมาณที่ขาดดุลในระยะสั้น
และช�ำระหนีท้ ถี่ งึ ก�ำหนด ตัว๋ เงินคลังเป็นตราสารทีไ่ ม่มกี ารก�ำหนดอัตราดอกเบีย้ (coupon
rate) ดังนัน้ การลงทุนในตลาดแรกท�ำได้โดยการเข้าประมูลอัตราผลตอบแทน โดยผูล้ งทุน
จะต้องเสนออัตราดอกเบี้ยที่จะให้กู้แก่รัฐบาลและปริมาณที่จะให้กู้ รัฐบาลจะจัดสรรตั๋วเงิน
คลังให้ผปู้ ระมูลทีเ่ สนออัตราผลตอบแทนต�ำ่ สุดก่อน แล้วจึงจัดสรรให้ผปู้ ระมูลทีเ่ สนออัตรา
ผลตอบแทนสูงขึ้นไปตามล�ำดับ ตั๋วเงินคลังเป็นตราสารที่ขายโดยมีอัตราดอกเบี้ยเป็น
ส่วนลด (discount basis) ผู้ลงทุนจะต้องช�ำระราคาซื้อโดยหักส่วนลดหรือดอกเบี้ยออก
จากราคาตราไว้ (par value หรือ face value) และจะได้รับช�ำระคืนเงินต้นเท่ากับราคาตรา
ไว้เมื่อครบก�ำหนด ดังนั้น ผลตอบแทนของการลงทุนในตั๋วเงินคลังจะได้จากส่วนต่างของ
ราคาซือ้ กับราคาตราไว้ ส�ำหรับในตลาดรอง ผูค้ า้ หลักทรัพย์รฐั บาล (government security
dealer) ซึ่งเข้าประมูลซื้อตั๋วเงินคลังจากตลาดแรกจะท�ำการขายตั๋วเงินคลังให้กับผู้ลงทุน
คนต่อๆ ไป ดังนั้น ผู้ลงทุนรายย่อยที่ต้องการลงทุนในตั๋วเงินคลัง จะสามารถซื้อตั๋วเงิน
คลังได้จากผู้ค้าหลักทรัพย์รัฐบาล ตั๋วเงินคลังเป็นตราสารทีป่ ราศจากความเสี่ยง (risk-free
asset) เนือ่ งจากออกโดยรัฐบาลซึง่ ถือว่าเป็นองค์กรทีม่ คี วามน่าเชือ่ ถือสูง สามารถช�ำระหนี้ 9
ได้แน่นอน จึงไม่มีความเสี่ยงจากการผิดนัดช�ำระหนี้ (default risk free) นอกจากนั้น
ยังเป็นตราสารระยะสั้นและซื้อขายง่ายในตลาดรอง จึงท�ำให้ตั๋วเงินคลังเป็นตราสารที่
ไม่ค่อยมีความเสี่ยงเรื่องสภาพคล่อง
การลงทุนที่ให้ผลตอบแทนแน่นอนในระยะยาว
ผูล้ งทุนทีต่ อ้ งการลงทุนเพือ่ ให้ได้ผลตอบแทนแน่นอนในระยะยาวจะต้องลงทุนซือ้
ตราสารการเงินในตลาดทุน (capital markets instrument) ซึง่ เป็นตราสารทีม่ รี ะยะเวลาครบ
ก�ำหนดไถ่ถอนมากกว่า 1 ปีขนึ้ ไป ตราสารในตลาดทุนทีใ่ ห้ผลตอบแทนแน่นอนในระยะยาว
มีทั้งที่เป็นตราสารภาครัฐ เช่น พันธบัตรรัฐบาล พันธบัตรองค์กรของรัฐ พันธบัตรรัฐบาล
ท้องถิ่น และตราสารภาคเอกชน เช่น หุ้นกู้ และหุ้นบุริมสิทธิ
พันธบัตรรัฐบาล (treasury bond)
พันธบัตรรัฐบาลเป็นตราสารระยะยาวทีอ่ อกโดยรัฐบาล เพือ่ หาเงินมาช�ำระหนีแ้ ละ
ใช้จ่ายในกรณีที่งบประมาณขาดดุล พันธบัตรอายุปานกลาง (treasury notes) จะมีอายุ

ศูนย์ส่งเสริมการพัฒนาความรู้ตลาดทุน
ประมาณ 1 - 10 ปี ส่วนพันธบัตรระยะยาว (treasury bond) จะมีอายุมากกว่า 10 ปีขึ้นไป
พันธบัตรรัฐบาลมีการจ่ายดอกเบี้ยปีละ 2 ครั้ง และจ่ายคืนเงินต้นเมื่อครบก�ำหนดไถ่ถอน
พันธบัตรรัฐบาลเป็นตราสารที่มีการซื้อขายกันมากที่สุดในตลาดตราสารหนี้ ผู้ลงทุน
ส่วนใหญ่ ได้แก่ ธนาคารกลางของประเทศ ธนาคารพาณิชย์ สถาบันการเงินต่างๆ กองทุน
ผู้ลงทุนต่างประเทศ และผู้ค้าหลักทรัพย์ (securities dealer) ถึงแม้พันธบัตรรัฐบาล
จะเป็นตราสารที่มีความเสี่ยงในการผิดนัดช�ำระหนี้ (default risk) ต�่ำ แต่พันธบัตรรัฐบาล
ก็ ยั ง มี ค วามเสี่ ย งในเรื่ อ งความผั น ผวนของราคา และความเสี่ ย งในเรื่ อ งสภาพคล่ อ ง
โดยเฉพาะพันธบัตรที่มีระยะเวลาไถ่ถอนยาว

พันธบัตรองค์กรของรัฐ (government agency securities)


พันธบัตรองค์กรของรัฐเป็นหลักทรัพย์ระยะยาวที่ออกโดยองค์กรต่างๆ ของรัฐ
เพือ่ ระดมทุนหรือเพือ่ วัตถุประสงค์อย่างใดอย่างหนึง่ พันธบัตรองค์กรของรัฐมีทงั้ ทีอ่ อกโดย
มีรฐั บาลค�ำ้ ประกันและไม่มรี ฐั บาลค�้ำประกัน พันธบัตรองค์กรของรัฐทีม่ รี ฐั บาลค�้ำประกันจะ
มีลกั ษณะและความเสีย่ งเท่ากับพันธบัตรรัฐบาล แต่พนั ธบัตรองค์กรทีไ่ ม่มรี ฐั บาลค�ำ้ ประกัน
จะมีความเสี่ยงสูงกว่า ดังนั้น จึงจ่ายผลตอบแทนมากกว่า
10 พันธบัตรรัฐบาลท้องถิ่น (municipals bonds)
พันธบัตรรัฐบาลท้องถิน่ เป็นตราสารระยะยาวทีอ่ อกโดยรัฐบาลประจ�ำรัฐหรือรัฐบาล
ท้องถิน่ เพือ่ ระดมทุนเป็นค่าใช้จา่ ยภายในรัฐหรือในท้องถิน่ ของตน เช่น เพือ่ ใช้สร้างโรงเรียน
ถนน และสาธารณูปโภคต่างๆ ในท้องถิ่น ในประเทศสหรัฐอเมริกา ผู้ลงทุนจะได้รับยกเว้น
ภาษีจากการลงทุน ถ้าลงทุนในพันธบัตรของรัฐทีต่ นมีถนิ่ ฐานอยู่ การได้รบั ยกเว้นภาษีทำ� ให้
พันธบัตรรัฐบาลท้องถิ่นจ่ายผลตอบแทนต�่ำกว่าพันธบัตรอื่นๆ ที่มีระยะเวลาครบก�ำหนด
ไถ่ถอนเท่ากันแต่ไม่ได้รับการยกเว้นภาษี การลงทุนในพันธบัตรท้องถิ่นมีความเสี่ยง
สูงกว่าการลงทุนในพันธบัตรรัฐบาล เนื่องจากผู้ออกพันธบัตรรัฐบาลท้องถิ่นอาจจะไม่
สามารถช�ำระหนี้ ดอกเบี้ยและเงินต้น เมื่อถึงก�ำหนดระยะเวลาไถ่ถอนได้ พันธบัตรรัฐบาล
ท้องถิ่นอาจแบ่งเป็น
● พันธบัตรรายได้ (revenue bonds) เป็นพันธบัตรรัฐบาลท้องถิ่นที่ออกเพื่อ

ระดมทุนไปลงทุนในโครงการใดโครงการหนึง่ โดยเงินทีน่ ำ� มาจ่ายดอกเบีย้ และ


จ่ายคืนเงินต้นให้แก่ผู้ถือพันธบัตรนั้น มาจากกระแสเงินสดที่เกิดจากรายได้
ของโครงการลงทุนนั้นๆ
การลงทุนในตราสารทุน
บทที่ 1: ทางเลือกในการลงทุน
● พันธบัตรผูกพันทั่วไป (general obligation bonds) เป็นพันธบัตรรัฐบาล
ท้องถิ่นที่ออกโดยใช้ชื่อเสียงของผู้ออกเป็นหลักประกัน การจ่ายช�ำระหนี้
ดอกเบี้ยและเงินต้นของพันธบัตรประเภทนี้มาจากภาษีที่เก็บจากประชาชน
ภายในรัฐนั้นๆ

หุ้นกู้ (corporate bond)


หุ้นกู้ คือ ตราสารที่จ่ายผลตอบแทนแน่นอนประเภทหนึ่งที่ออกโดยธุรกิจต่างๆ
เพื่อระดมทุนไปลงทุนในสินทรัพย์ประเภททุน เช่น โรงงาน อุปกรณ์ เครื่องมือ เครื่องจักร
หรือเพื่อเป็นทุนหมุนเวียน หุ้นกู้ทุกประเภทจะต้องมีการก�ำหนดเงื่อนไขหรือที่เรียกว่า
ข้อก�ำหนดของหุน้ กู้ (indenture) ซึง่ เป็นข้อตกลงตามกฎหมายทีร่ ะบุภาระผูกพันของผูอ้ อก
หุ้นกู้ที่มีต่อผู้ลงทุน การแบ่งประเภทของหุ้นกู้อาจท�ำได้หลายวิธีทั้งนี้แล้วแต่จะใช้หลักการ
ใดในการแบ่ง เช่น แบ่งตามอันดับความน่าเชื่อถือ ซึ่งจัดท�ำโดยสถาบันการจัดอันดับ
ความน่าเชื่อถือโดยดูจากโอกาสที่ผู้ออกหุ้นกู้จะไม่สามารถช�ำระหนี้ได้ 3 แบ่งตามระยะ
เวลาครบก�ำหนดไถ่ถอนโดยแบ่งเป็นหุ้นกู้ระยะสั้นและหุ้นกู้ระยะยาว แบ่งตามเงื่อนไข
บางประการที่ระบุไว้ในข้อตกลงของการออกหุ้นกู้ เช่น หุ้นกู้ที่มีการกันเงินส�ำรองไว้เพื่อ
การไถ่ถอนและหุ้นกู้ที่ไม่มีการกันเงินส�ำรองเพื่อการไถ่ถอน (sinking fund provision) 11
แบ่งเป็นหุ้นกู้ที่ผู้ออกสามารถไถ่ถอนคืนได้ก่อนครบก�ำหนดและหุ้นกู้ที่ไม่สามารถไถ่ถอน
คืนได้ก่อนก�ำหนด (call provision) เป็นต้น โดยประเภทของหุ้นกู้ที่จะกล่าวถึงต่อไปนี้
จะแบ่งตามระดับความเสีย่ งทีจ่ ะไม่ได้รบั ช�ำระหนี้ โดยเริม่ จากหุน้ กูท้ มี่ รี ะดับความเสีย่ งต�ำ่ สุด
ไปจนถึงสูงสุด ดังนี้

หุ้นกู้มีประกัน (secured bond)


หุ้นกู้มีประกัน เป็นหุ้นกู้ที่มีความเสี่ยงที่จะไม่ได้รับช�ำระหนี้คืนต�่ำที่สุด เนื่องจาก
เป็นหุ้นกู้ที่มีหลักทรัพย์ค�้ำประกัน หลักทรัพย์ที่น�ำมาเป็นหลักประกันอาจมีลักษณะต่างๆ
กันออกไป หุ้นกู้มีประกันจึงแบ่งประเภทตามหลักประกันได้ดังนี้

____________________________________________
3
สถาบันการจัดอันดับความน่าเชื่อถือในต่างประเทศ เช่น Moody’s Investor Service, Standard
& Poor’s Corporation, Duff & Phelps Crediting Company, Fitch Investors Service สถาบัน
การจัดอันดับความน่าเชือ่ ถือในประเทศไทย ได้แก่ Thai Rating and Information Service หรือ TRIS
หุ้นกู้ที่ถูกจัดอยู่ในอันดับที่น่าลงทุนคือ หุ้นกู้ที่มีอันดับความน่าเชื่อถือตั้งแต่ BBB ขึ้นไป

ศูนย์ส่งเสริมการพัฒนาความรู้ตลาดทุน
● หุ้นกู้ที่มีอสังหาริมทรัพย์เป็นประกัน (mortgage bond) คือ หุ้นกู้ที่ใช้สินทรัพย์
ประเภท ทีด่ นิ และอาคารเป็นหลักประกัน ในกรณีทผี่ อู้ อกหุน้ กูไ้ ม่สามารถช�ำระ
หนีไ้ ด้ สินทรัพย์ทนี่ ำ� มาเป็นหลักประกันจะถูกน�ำออกขายเพือ่ น�ำเงินมาช�ำระหนี้
● หุ้นกู้ที่มีสินทรัพย์ทางการเงินเป็นประกัน (collateral trust bond) คือ หุ้นกู้

ที่ใช้ตราสารการเงินประเภทต่างๆ เป็นหลักประกัน เช่น หุ้นสามัญ ตั๋วเงิน


และหุ้นกู้ที่มีคุณภาพดี ความเสี่ยงต�่ำ
● หุ้นกู้ที่มีสังหาริมทรัพย์เป็นประกัน (equipment trust bond) คือ หุ้นกู้ที่ใช้

สังหาริมทรัพย์บางประเภทเป็นหลักประกัน เช่น เรือ รถไฟ เครื่องบิน เป็นต้น

หุ้นกู้ไม่มีประกัน (debenture)
หุ้นกู้ไม่มีประกัน เป็นหุ้นกู้ที่ออกโดยไม่มีสินทรัพย์ใดๆ เป็นหลักประกันการช�ำระ
หนี้ การลงทุนในหุ้นกู้ประเภทนี้ ผู้ลงทุนจะต้องพิจารณาโอกาสในการช�ำระหนี้จากความ
น่าเชื่อถือ ฐานะทางการเงิน และผลประกอบการของผู้ออกหุ้นกู้เป็นหลัก ในกรณีที่ผู้ออก
หุน้ กูไ้ ม่สามารถช�ำระดอกเบีย้ และเงินต้นได้ ผูล้ งทุนจะมีสทิ ธิได้รบั ช�ำระหนีห้ ลังจากทีผ่ อู้ อก
ได้ช�ำระหนี้ให้กับผู้ถือหุ้นกู้มีประกันแล้ว
12 หุ้นกู้ด้อยสิทธิ (subordinated bond)
หุ้นกู้ด้อยสิทธิ เป็นหุ้นกู้ที่มีสิทธิเรียกร้องในทรัพย์สินของผู้ออกหุ้นกู้ หลังจากที่
ผู้ออกได้ช�ำระหนี้หุ้นกู้มีประกันและไม่มีประกันแล้ว หุ้นกู้ด้อยสิทธิอาจแบ่งเป็น หุ้นกู้ด้อย
สิทธิอันดับที่หนึ่ง หุ้นกู้ด้อยสิทธิอันดับที่สอง และหุ้นกู้ด้อยสิทธิอันดับที่สาม ซึ่งเป็นหุ้นกู้
ที่มีสิทธิได้รับช�ำระหนี้คืนหลังสุดจากทั้งสามประเภท

หุ้นกู้รายได้ (income bond)


หุ้นกู้รายได้ เป็นหุ้นกู้ที่มีการก�ำหนดอัตราดอกเบี้ยจ่ายไว้แน่นอน แต่ผู้ออกหุ้นกู้
จะจ่ายดอกเบี้ยให้ผู้ลงทุนก็ต่อเมื่อผู้ออกมีก�ำไรมากพอจ่ายเมื่อถึงก�ำหนดเวลาที่ต้อง
จ่ายดอกเบี้ย ในกรณีที่ผู้ออกไม่ได้จ่ายดอกเบี้ยในงวดใดๆ เนื่องจากมีรายได้ไม่เพียงพอ
ผู้ลงทุนจะไม่มีสิทธิฟ้องร้อง การลงทุนในหุ้นกู้ประเภทนี้ ผู้ลงทุนจึงไม่ได้รับความคุ้มครอง
เหมือนหุ้นกู้มีประกันและอาจได้รับผลตอบแทนช้ากว่าการลงทุนในหุ้นกู้แบบอื่น อย่างไร
ก็ตาม หุ้นกู้รายได้มักจะจ่ายผลตอบแทนสูงเพื่อชดเชยความเสี่ยงให้กับผู้ลงทุน เนื่องจาก

การลงทุนในตราสารทุน
บทที่ 1: ทางเลือกในการลงทุน
ได้รับความเสี่ยงมากขึ้น ตัวอย่างของหุ้นกู้รายได้ ได้แก่ พันธบัตรรายได้ของรัฐบาล
ท้องถิ่น (municipal revenue bonds)

หุ้นกู้แปลงสภาพ (convertible bond)


หุ้นกู้แปลงสภาพ เป็นหุ้นกู้ที่มีการก�ำหนดอัตราการจ่ายดอกเบี้ยไว้แน่นอน และ
จ่ายคืนเงินต้นเมื่อครบก�ำหนดไถ่ถอนเหมือนหุ้นกู้ประเภทอื่น แต่จะมีลักษณะพิเศษคือ
ผู้ถือหุ้นกู้จะได้สิทธิ (option) ที่จะแปลงสภาพจากหุ้นกู้เป็นหุ้นสามัญได้ในราคาและระยะ
เวลาทีก่ ำ� หนดไว้ ตัวอย่างเช่น ธุรกิจออกหุน้ กูแ้ ปลงสภาพทีม่ มี ลู ค่าตราไว้หนุ้ ละ 1,000 บาท
และก�ำหนดเงื่อนไขว่า ผู้เป็นเจ้าของหุ้นกู้แปลงสภาพสามารถใช้สิทธิแปลงสภาพเป็นหุ้น
สามัญของบริษัทได้ 40 หุ้น เป็นต้น หุ้นกู้แปลงสภาพเป็นที่น่าสนใจของผู้ลงทุน เนื่องจาก
มีลกั ษณะผสมผสานระหว่างตราสารทีใ่ ห้รายได้แน่นอนในฐานะเจ้าหนีก้ บั สิทธิในการแปลง
สภาพเป็นเจ้าของ เมื่อธุรกิจที่ออกหุ้นกู้มีแนวโน้มในการด�ำเนินงานที่ดีขึ้นในอนาคต การ
แปลงสภาพจะท�ำให้ผลู้ งทุนได้รบั ผลตอบแทนมากขึน้ ในฐานะผูถ้ อื หุน้ สามัญ แต่ถา้ ธุรกิจมี
ผลประกอบการทีไ่ ม่นา่ พอใจ ผูล้ งทุนก็จะไม่แปลงสภาพ และรับผลตอบแทนทีแ่ น่นอนต่อไป
ในฐานะผูถ้ อื หุน้ กู้ เนือ่ งจากผูอ้ อกหุน้ กูใ้ ห้สทิ ธิแปลงสภาพแก่ผลู้ งทุน หุน้ กูแ้ ปลงสภาพจึงมี
อัตราดอกเบี้ยต�่ำกว่าหุ้นกู้ที่ไม่มีสิทธิแปลงสภาพที่มีความเสี่ยงในระดับเดียวกัน นอกจาก 13
นั้นสิทธิเรียกร้องและอันดับความน่าเชื่อถือก็อยู่ในระดับต�่ำกว่าหุ้นกู้ที่ไม่แปลงสภาพ

หุ้นกู้ควบใบส�ำคัญแสดงสิทธิ (debenture with warrant)


หุ้นกู้ควบใบส�ำคัญแสดงสิทธิ เป็นหุ้นกู้ที่มีการก�ำหนดอัตราดอกเบี้ย และการ
ช�ำระคืนเงินต้นไว้แน่นอนเหมือนหุ้นกู้ทั่วไป แต่ผู้ลงทุนได้สิทธิตามใบส�ำคัญแสดงสิทธิ
(warrant) ที่จะซื้อหุ้นสามัญของธุรกิจจากธุรกิจที่ออกหุ้นกู้ได้ในราคาที่ก�ำหนดและภายใน
ระยะเวลาทีก่ ำ� หนด ราคาทีก่ ำ� หนดในการซือ้ หุน้ สามัญโดยทัว่ ไปจะสูงกว่าราคาหุน้ สามัญ ณ
วันทีอ่ อกหุน้ กู้ แต่จะต�ำ่ กว่าราคาทีค่ าดว่าจะเป็นในอนาคต ใบส�ำคัญแสดงสิทธิทผี่ ลู้ งทุนจะได้
รับมาเมือ่ ซือ้ หุน้ กู้ ท�ำให้การลงทุนในหุน้ กูเ้ ป็นทีน่ า่ สนใจส�ำหรับผูล้ งทุน เนือ่ งจากให้ผลู้ งทุน
มีโอกาสเป็นเจ้าของธุรกิจและได้รับผลตอบแทนเพิ่มขึ้นในอนาคต ดังนั้น อัตราดอกเบี้ย
ของหุ้นกู้ควบใบส�ำคัญแสดงสิทธิจึงต�่ำ ซึ่งเป็นผลดีต่อผู้ระดมทุนในเรื่องต้นทุนเงินทุน
นอกจากนั้น หากผู้ลงทุนใช้สิทธิตามใบส�ำคัญแสดงสิทธิในการซื้อหุ้นสามัญของธุรกิจก็จะ
ท�ำให้ธุรกิจระดมทุนได้เพิ่มขึ้นอีกในอนาคต

ศูนย์ส่งเสริมการพัฒนาความรู้ตลาดทุน
หุ้นกู้ที่ไม่ก�ำหนดอัตราดอกเบี้ย (zero-coupon bond)
หุ้นกู้ที่ไม่ก�ำหนดอัตราดอกเบี้ย เป็นหุ้นกู้ที่ไม่มีการก�ำหนดอัตราดอกเบี้ยจ่าย
ผู้ออกหุ้นกู้จะจ่ายคืนเฉพาะเงินต้นเมื่อครบก�ำหนดไถ่ถอน ดังนั้น ราคาซื้อหุ้นกู้จะได้จาก
การหาค่าปัจจุบัน (present value) ของเงินต้นโดยใช้ส่วนลด (discount rate) เท่ากับอัตรา
ผลตอบแทนที่ต้องการ (required rate of return) ตัวอย่างเช่น หุ้นกู้ที่ไม่ก�ำหนดอัตรา
ดอกเบี้ยมีราคาตราไว้ 10,000 บาท ระยะเวลาครบก�ำหนดไถ่ถอน 5 ปี ถ้าผู้ลงทุนต้องการ
ผลตอบแทนจากการลงทุน 8% ราคาซื้อขายจะเท่ากับ 6,756 บาท (สมมติฐานคือ หุ้นกู้
จ่ายดอกเบีย้ ทุก 6 เดือน ดังนัน้ ระยะเวลาการหาค่าปัจจุบนั จะเท่ากับ 10 งวด อัตราส่วนลด
จะเท่ากับ 4% ปัจจัยดอกเบี้ยเท่ากับ 0.6756)

หุ้นกู้ต่างประเทศ
ตลาดการเงินในปัจจุบนั มีลกั ษณะเป็นตลาดไร้พรมแดน ดังนัน้ นอกจากผูล้ งทุนจะ
ลงทุนในหุน้ กูท้ อี่ อกขายภายในประเทศแล้ว ผูล้ งทุนยังสามารถลงทุนซือ้ หุน้ กูท้ อี่ อกขายใน
ตลาดต่างประเทศได้ทวั่ โลก การลงทุนซือ้ หุน้ กูใ้ นตลาดการเงินต่างประเทศ ผูล้ งทุนสามารถ
ลงทุนได้ในตลาดต่อไปนี้
14
หุ้นกู้ต่างประเทศที่ออกขายในตลาดยูโร (Euromarkets)
ตลาดยูโรเป็นตลาดการเงินที่ช่วยให้ธุรกิจสามารถระดมทุนโดยการออกหุ้นกู้หรือ
กู้ยืมเงินสกุลต่างๆ นอกประเทศได้ ตลาดยูโรเป็นตลาดที่ไม่มีประเทศใดประเทศหนึ่งเป็น
เจ้าของ หุ้นกู้ที่ออกขายในตลาดยูโรจะเรียกว่า ยูโรบอนด์ (Eurobond) ดังนั้น ยูโรบอนด์
คือ หุ้นกู้สกุลเงินของประเทศใดๆ ก็ได้ที่ออกขายในตลาดการเงินนอกประเทศเจ้าของ
สกุลเงินนั้น ทวีปยุโรปเป็นตลาดที่ส�ำคัญของยูโรบอนด์ซึ่งมีศูนย์กลางอยู่ที่กรุงลอนดอน
ประเทศอังกฤษ ยูโรบอนด์มีหลายประเภท เช่น ยูโรดอลลาร์บอนด์ (Eurodollar bond)
ยูโรเยนบอนด์ (Euroyen bond) และยูโรสเตอร์ลิงบอนด์ (Eurosterling bond) เป็นต้น
ตัวอย่างเช่น บริษทั General Motor ซึง่ เป็นบริษทั ทีด่ ำ� เนินธุรกิจอยูใ่ นประเทศสหรัฐอเมริกา
ต้องการระดมทุนจากผู้ลงทุนที่อยู่ในต่างประเทศ ดังนั้น จึงออกยูโรดอลลาร์บอนด์ (หุ้นกู้
สกุลเงินดอลลาร์สหรัฐ) ขายให้กับผู้ลงทุนในตลาดลอนดอน หรือบริษัท Toyota ซึ่งเป็น
บริษัทที่ด�ำเนินธุรกิจอยู่ในประเทศญี่ปุ่นระดมทุนจากตลาดการเงินนอกประเทศโดยการ
ออกยูโรเยนบอนด์ (หุน้ กูส้ กุลเงินเยน) ขายให้กบั ผูล้ งทุนในตลาดการเงินนอกประเทศผ่าน

การลงทุนในตราสารทุน
บทที่ 1: ทางเลือกในการลงทุน
ตลาดลอนดอน ดังนั้น ผู้ลงทุนที่อยู่ในประเทศอื่นก็จะมีโอกาสลงทุนซื้อยูโรดอลลาร์บอนด์
ของบริษัท General Motor หรือลงทุนซื้อยูโรเยนบอนด์ของบริษัท Toyota ได้ในตลาดยูโร

หุ้นกู้ต่างประเทศที่ออกขายในประเทศใดประเทศหนึ่ง
นอกจากการลงทุนซือ้ ยูโรบอนด์แล้ว ผูล้ งทุนยังสามารถลงทุนซือ้ หุน้ กูท้ ผี่ รู้ ะดมทุน
น�ำไปออกนอกประเทศ โดยเลือกขายเฉพาะเจาะจงในตลาดการเงินของประเทศใดประเทศ
หนึ่งได้ (direct issuance) หุ้นกู้ดังกล่าวนี้มีชื่อเรียกต่างๆ กัน เช่น แยงกี้บอนด์ (yankee
bond) ซึง่ หมายถึง หุน้ กูส้ กุลเงินดอลลาร์สหรัฐ ทีอ่ อกโดยธุรกิจต่างชาติหรือรัฐบาลต่างชาติ
และน�ำไปขายในตลาดการเงินในประเทศสหรัฐอเมริกา ซามูไรบอนด์ (samurai bond) คือ
หุ้นกู้สกุลเงินเยนที่ออกโดยธุรกิจต่างชาติ แต่น�ำมาขายในตลาดการเงินในประเทศญี่ปุ่น
หรือบูลด็อกบอนด์ (bulldog bond) ซึง่ เป็นหุน้ กูส้ กุลเงินปอนด์สเตอร์ลงิ อังกฤษทีอ่ อกขายใน
ตลาดลอนดอนโดยธุรกิจต่างชาติ เป็นต้น ตัวอย่างเช่น รัฐบาลไทยออกแยงกี้บอนด์ขายใน
ประเทศสหรัฐอเมริกา ดังนัน้ ผูล้ งทุนในประเทศสหรัฐอเมริกา ก็จะมีโอกาสลงทุนซือ้ หุน้ กูท้ ี่
ออกโดยรัฐบาลไทย แต่ได้รบั ผลตอบแทนเป็นเงินสกุลดอลลาร์สหรัฐ ซึง่ ท�ำให้ผลู้ งทุนไม่ตอ้ ง
เผชิญกับความเสีย่ งในเรือ่ งของอัตราแลกเปลีย่ น ส�ำหรับในประเทศไทยจะเรียกหุน้ กูท้ ธี่ รุ กิจ
ต่างชาติมาออกขายในประเทศว่า บาทบอนด์ (baht bond) อีกวิธีหนึ่งของการลงทุนใน 15
หุน้ กูต้ า่ งประเทศ คือ ผูล้ งทุนซือ้ หุน้ กูส้ กุลเงินของต่างประเทศทีอ่ อกขายโดยธุรกิจในท้องถิน่
เพื่อระดมทุนจากตลาดการเงินภายในประเทศของตนเอง ตัวอย่างเช่น ผู้ลงทุนชาวไทย
ลงทุนซื้อหุ้นกู้สกุลเงินดอลลาร์สหรัฐ ของบริษัท IBM ที่ออกขายในตลาดการเงินภายใน
ประเทศสหรัฐอเมริกา การลงทุนในลักษณะดังกล่าว จะให้ประโยชน์แก่ผู้ลงทุนในการ
กระจายความเสี่ยงในการลงทุน แต่อาจจะมีความเสี่ยงในเรื่องอัตราแลกเปลี่ยนเกิดขึ้นได้

หุ้นบุริมสิทธิ (preferred stock)4


หุ้นบุริมสิทธิจัดว่าเป็นตราสารที่มีผลตอบแทนแน่นอนเนื่องจากเงินปันผลซึ่งเป็น
ผลตอบแทนของหุ้นบุริมสิทธิจะมีการก�ำหนดอัตราการจ่ายไว้แน่นอนคล้ายดอกเบี้ยของ
หุ้นกู้ ตัวอย่างเช่น หุ้นบุริมสิทธิก�ำหนดจ่ายเงินปันผลในอัตรา 5% ของราคาที่ตราไว้ หรือ

____________________________________________
4
หุ้นบุริมสิทธิเป็นตราสารประเภททุน แต่มีลักษณะหลายประการที่คล้ายตราสารหนี้ ดังนั้น จึงอธิบาย
ไว้ในหัวข้อประเภทตราสารการลงทุนที่ให้ผลตอบแทนแน่นอน

ศูนย์ส่งเสริมการพัฒนาความรู้ตลาดทุน
อาจก�ำหนดว่าจ่ายเงินปันผล 5 บาทต่อหุ้น อย่างไรก็ตาม หุ้นบุริมสิทธิมีความแตกต่าง
จากหุน้ กูต้ รงทีเ่ งินปันผลไม่ได้เป็นเงือ่ นไขทีจ่ ะต้องจ่ายเหมือนดอกเบีย้ ของหุน้ กู้ แต่ในทาง
ปฏิบัติ ธุรกิจที่ออกหุ้นบุริมสิทธิก็มักจะจ่ายเงินปันผล ทั้งนี้เพื่อรักษาชื่อเสียงของธุรกิจไว้
หุ้นบุริมสิทธิมีหลายประเภท เช่น หุ้นบุริมสิทธิชนิดไม่สะสมเงินปันผล หุ้นบุริมสิทธิชนิด
สะสมเงินปันผล และหุ้นบุริมสิทธิแปลงสภาพ เป็นต้น

1.1.2 การลงทุนในตราสารทุน
ตราสารทุน (equity instrument) เป็นตราสารที่มีลักษณะแตกต่างจากตราสารหนี้
กล่าวคือ ผู้ลงทุนในตราสารทุนจะมีฐานะเป็นเจ้าของธุรกิจที่ออกตราสาร และมีส่วนได้เสีย
หรือมีสิทธิในทรัพย์สินและรายได้ของธุรกิจ ซึ่งแตกต่างจากตราสารหนี้ที่ผู้ลงทุนจะมี
ฐานะเป็นเจ้าหนี้ธุรกิจ และไม่มีส่วนได้เสียในทรัพย์สินและรายได้ของธุรกิจที่ออกตราสาร
ผูถ้ อื ตราสารทุนจะได้รบั ผลตอบแทนเรียกว่าเงินปันผล (dividend) แต่ธรุ กิจทีอ่ อกตราสารทุน
ไม่มขี อ้ ผูกพันว่า จะต้องจ่ายเงินปันผลซึง่ แตกต่างจากการลงทุนในตราสารหนีท้ วี่ า่ ผูล้ งทุน
จะได้รับดอกเบี้ยแน่นอน ตราสารทุนที่จะกล่าวถึง ได้แก่ หุ้นสามัญ ใบส�ำคัญแสดงสิทธิใน
ผลประโยชน์ที่เกิดจากหุ้นสามัญ และใบส�ำคัญแสดงสิทธิในการซื้อหุ้นสามัญ
16 หุ้นสามัญ (common stock)
หุน้ สามัญ เป็นตราสารทุนทีท่ ำ� ให้ผลู้ งทุนมีสว่ นได้เสียในสินทรัพย์ รายได้และก�ำไร
ของธุรกิจในฐานะทีเ่ ป็นเจ้าของธุรกิจทีอ่ อกหุน้ สามัญนัน้ ถ้าธุรกิจทีอ่ อกหุน้ สามัญมีผลการ
ด�ำเนินงานดีเจ้าของจะได้รับผลตอบแทน (เงินปันผล) ในจ�ำนวนสูง ในทางตรงกันข้าม
ถ้าธุรกิจมีผลการด�ำเนินงานไม่ดีเจ้าของจะได้ผลตอบแทนน้อยหรือไม่ได้เลย โดยเฉพาะ
ในกรณีทเี่ กิดการขาดทุนธุรกิจจะไม่จา่ ยเงินปันผล ผูถ้ อื หุน้ สามัญมีสทิ ธิเรียกร้องหลังเจ้าหนี้
ดังนัน้ หากธุรกิจต้องเลิกกิจการ เจ้าหนีก้ ารค้า เจ้าหนีเ้ งินกู้ และผูถ้ อื หุน้ กูจ้ ะได้รบั ช�ำระหนี้
คืนก่อน ผูถ้ อื หุน้ บุรมิ สิทธิจะได้รบั ช�ำระหนีใ้ นล�ำดับต่อมา ส่วนผูถ้ อื หุน้ สามัญจะได้รบั ช�ำระ
เงินลงทุนคืนหลังสุด และอาจจะไม่ได้รบั เงินคืนเลยถ้าธุรกิจไม่มที รัพย์สนิ เหลือพอ ผูถ้ อื หุน้
สามัญในฐานะที่เป็นเจ้าของธุรกิจจะได้รับสิทธิในการออกเสียงเลือกกรรมการด�ำเนินงาน
ของธุรกิจ และเข้าประชุมในฐานะผูถ้ อื หุน้ เพือ่ ใช้สทิ ธิออกเสียงรับรองหรือคัดค้านนโยบาย
ของกรรมการด�ำเนินงานได้ นอกจากนัน้ ยังได้สทิ ธิในการซือ้ หุน้ เพิม่ ทุน (preemptive right)
เพื่อรักษาสัดส่วนของความเป็นเจ้าของในธุรกิจ การลงทุนในตราสารทุนจะมีความเสี่ยง
สูงกว่าการลงทุนในตราสารหนี้ซึ่งมีรายได้ที่แน่นอน
การลงทุนในตราสารทุน
บทที่ 1: ทางเลือกในการลงทุน
การแบ่งประเภทของหุ้นสามัญของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ได้มีการจัด
กลุ่มบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯ ตามประเภทของอุตสาหกรรม โดยก�ำหนด
หลักเกณฑ์ขนึ้ จากการศึกษาการจัดกลุม่ ในตลาดหลักทรัพย์ของต่างประเทศ โดยวิเคราะห์ถงึ
ความเหมาะสมและประโยชน์แก่ผู้ลงทุนในการเลือกสรรหลักทรัพย์ในการลงทุน เช่น
ในกรณีที่ผู้ลงทุนต้องการพิจารณาการลงทุนเป็นล�ำดับขั้นตอน จากกลุ่มอุตสาหกรรม
ใหญ่ไปจนถึงย่อยก็สามารถกระท�ำได้ง่ายและรวดเร็ว หรือในกรณีที่ผู้ลงทุนต้องการหา
หลักทรัพย์ที่มีความใกล้เคียงกันก็สามารถกระท�ำได้ง่ายเช่นกัน รวมทั้งเพื่อให้ผู้ลงทุน
ต่างประเทศสามารถพิจารณาเปรียบเทียบการเคลื่อนไหวของหลักทรัพย์ในระดับกลุ่ม
อุตสาหกรรมของไทยกับตลาดอืน่ ๆ ได้งา่ ย ซึง่ เป็นผลมาจากการจัดโครงสร้างอุตสาหกรรม
ของตลาดหลักทรัพย์ฯ นั้น มีหลักเกณฑ์ที่สอดคล้องกับตลาดหลักทรัพย์ของต่างประเทศ
นั่นเอง
การจัดกลุ่มบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ในอดีตได้มี
การแบ่งหมวดหมู่หุ้นสามัญของบริษัทจดทะเบียนออกเป็น 30 หมวดอุตสาหกรรม
โดยเกณฑ์การแบ่งจะพิจารณาจากรายได้หลักของแต่ละบริษัทว่ามาจากธุรกิจประเภท
ใดเป็นส�ำคัญ ตัวอย่างเช่น หมวดธุรกิจการเกษตร หมวดธนาคาร หมวดวัสดุก่อสร้าง
และเครื่องตกแต่ง เป็นต้น อย่างไรก็ตาม การจัดกลุ่มอุตสาหกรรมในลักษณะดังกล่าว 17
ยังมีข้อจ�ำกัดบางประการที่ท�ำให้ผู้ลงทุนไม่สามารถเลือกสรรหุ้นได้โดยสะดวก รวมทั้ง
ยั ง ไม่ เ อื้ อ ต่ อ การวิ เ คราะห์ ใ นระดั บ ภาคอุ ต สาหกรรม ด้ ว ยเหตุ นี้ ตลาดหลั ก ทรั พ ย์ ฯ
จึงเห็นควรที่จะมีการเปลี่ยนแปลงการจัดกลุ่มอุตสาหกรรม โดยมุ่งหวังจะให้เกิดประโยชน์
ดังต่อไปนี้
● โครงสร้างกลุ่มอุตสาหกรรมจะมีความกระชับและชัดเจนมากยิ่งขึ้น เพราะ
บริษัทที่ประกอบธุรกิจลักษณะเดียวกันจะถูกน�ำมาเรียงใกล้กัน
● อ�ำนวยความสะดวกให้แก่ผู้ลงทุนในการสรรหาบริษัทเพื่อลงทุน ในกรณีที่
ผูล้ งทุนต้องการพิจารณาการลงทุนเป็นล�ำดับขัน้ ตอน จากกลุม่ อุตสาหกรรมใหญ่
ไปจนถึงย่อยก็สามารถกระท�ำได้ หรือผู้ลงทุนที่ต้องการหาสินค้าใกล้เคียงกัน
ก็สามารถกระท�ำได้ง่าย
● ผู ้ ล งทุ น ต่ า งประเทศสามารถพิ จ ารณาเปรี ย บเที ย บการเคลื่ อ นไหวของ
หลักทรัพย์ในระดับกลุม่ อุตสาหกรรมของไทยกับตลาดอืน่ ๆ ได้ เพราะโครงสร้าง
ที่จัดใหม่นี้สอดคล้องกับที่มีอยู่ในต่างประเทศ

ศูนย์ส่งเสริมการพัฒนาความรู้ตลาดทุน
ส�ำหรับรูปแบบการจัดกลุ่มอุตสาหกรรมแบบใหม่ของตลาดหลักทรัพย์ฯ ได้เริ่มใช้
ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2547 โดยตลาดหลักทรัพย์ฯ จะเพิ่มการจัดกลุ่มในระดับใหญ่
ทีเ่ รียกว่า กลุม่ อุตสาหกรรม (industry group) ขึน้ มา เพือ่ เป็นการจัดรวมหมวดอุตสาหกรรม
ที่มีลักษณะธุรกิจที่สอดคล้องกันมาอยู่ด้วยกัน และได้ท�ำการปรับปรุงการจัดหมวดธุรกิจ
(sector) ใหม่ เพื่อให้หมวดธุรกิจมีความหมายที่ครอบคลุมและรองรับธุรกิจใหม่ๆ ที่เข้า
มาจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯ ได้อย่างเหมาะสมยิ่งขึ้น รวมทั้งยังท�ำให้การจัดกลุ่ม
อุตสาหกรรมของบริษัทที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯ สะท้อนให้เห็นถึงภาพรวมของ
อุตสาหกรรมหลักที่เป็นกลไกส�ำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศด้วย โดยจัด
เพิ่มหมวดธุรกิจที่ได้รับการก�ำหนดให้เป็นยุทธศาสตร์ของประเทศ เช่น แฟชั่น ยานยนต์
ขนส่ง และ โลจิสติกส์ ตลาดหลักทรัพย์ฯ ได้จัดกลุ่มอุตสาหกรรม (industry group)
ออกเป็น 8 กลุ่มใหญ่ ซึ่งได้รวมหมวดธุรกิจ (sector) ต่างๆ ที่มีลักษณะธุรกิจที่สอดคล้อง
กันมาอยู่ในอุตสาหกรรมเดียวกัน5 โดยมีรายละเอียดดังตารางที่ 1 - 1 แสดงรายละเอียด
การจัดกลุ่มอุตสาหกรรมและหมวดธุรกิจของตลาดหลักทรัพย์6
การแบ่งประเภทของหุ้นสามัญนั้น อาจจะแบ่งเป็นหุ้นสามัญในประเทศและ
หุ้นสามัญต่างประเทศก็ได้ แต่การแบ่งตามกลุ่มธุรกิจจะมีความเหมาะสม และมีประโยชน์
18 มากกว่าส�ำหรับการสร้างกลุ่มหลักทรัพย์ลงทุน เนื่องจากสามารถกระจายการลงทุนในหุ้น
สามัญได้อย่างครอบคลุมทั่วโลก ดังนั้น การลงทุนในหุ้นสามัญนั้น ผู้ลงทุนจึงควรพิจารณา
การลงทุนในตลาดทุนทุกๆ ตลาดทั่วโลก ไม่ใช่พิจารณาเฉพาะในเมืองใดเมืองหนึ่งหรือ
ประเทศใดประเทศหนึ่ง หรือตลาดใดตลาดหนึ่งเพียงตลาดเดียว ตัวอย่างเช่น ถ้าต้องการ
ลงทุนซื้อหุ้นสามัญของธุรกิจรถยนต์ก็ควรจะพิจารณาหุ้นสามัญของบริษัทรถยนต์ทั้งใน
ประเทศและต่างประเทศทั่วโลก เช่น ลงทุนซื้อหุ้นทั้งของบริษัท General Motors บริษัท
Ford บริษัท Honda Motors บริษัท Porsche บริษัท Daimler-Chrysler บริษัท Nissan
และบริษัท Fiat เป็นต้น

____________________________________________
5
หมวดธุรกิจในแต่ละกลุ่มอุตสาหกรรมที่ปรากฏตามสื่อต่างๆ จะมีการเปลี่ยนการเรียงล�ำดับใหม่
ตามล�ำดับตัวอักษร ส�ำหรับดัชนีของหมวดธุรกิจ (sector index) นัน้ ตลาดหลักทรัพย์ฯ จะยังค�ำนวณ
ดัชนีราคาต่อเนื่องไปดังเดิม เพียงแต่จะปรากฏในชื่อหมวดธุรกิจที่ปรับเปลี่ยนแล้วเท่านั้น
6
ปรับปรุง ณ วันที่ 4 มกราคม 2548

การลงทุนในตราสารทุน
บทที่ 1: ทางเลือกในการลงทุน
ตารางที่ 1 - 1 การจัดกลุ่มอุตสาหกรรมของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย

ลำ�ดับที่ กลุ่มอุตสาหกรรม หมวดธุรกิจ


1. กลุ่มเกษตรและอุตสาหกรรม - ธุรกิจการเกษตร
อาหาร - อาหารและเครื่องดื่ม
2. กลุ่มสินค้าอุปโภค บริโภค - ของใช้ในครัวเรือน และสำ�นักงาน
- ของใช้ส่วนตัวและเวชภัณฑ์
- แฟชั่น
3. กลุ่มธุรกิจการเงิน - ธนาคาร
- เงินทุนและหลักทรัพย์
- ประกันภัยและประกันชีวิต
4. กลุ่มวัตถุดิบและสินค้า - ปิโตรเคมีและเคมีภัณฑ์
อุตสาหกรรม - วัสดุอุตสาหกรรมและเครื่องจักร
- กระดาษและวัสดุการพิมพ์
- บรรจุภัณฑ์
- ยานยนต์
- เหล็ก 19
5. กลุ่มอสังหาริมทรัพย์และ - วัสดุก่อสร้าง
ก่อสร้าง - พัฒนาอสังหาริมทรัพย์
- กองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์
6. กลุ่มทรัพยากร - พลังงานและสาธารณูปโภค
- เหมืองแร่
7. กลุ่มบริการ - พาณิชย์
- การท่องเที่ยวและสันทนาการ
- ขนส่งและโลจิสติกส์
- การแพทย์
- สื่อและสิ่งพิมพ์
- บริการเฉพาะกิจ
8. กลุ่มเทคโนโลยี - ชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์
- เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร

ศูนย์ส่งเสริมการพัฒนาความรู้ตลาดทุน
หุ้นสามัญต่างประเทศ
ส�ำหรับการลงทุนซื้อหุ้นสามัญต่างประเทศ ผู้ลงทุนหลายคนที่มีความต้องการจะ
ลงทุนซื้อหุ้นสามัญต่างประเทศเพื่อบริหารความเสี่ยงและผลตอบแทนในการลงทุนอาจ
พบอุปสรรคเรื่องข้อมูลเกี่ยวกับทางเลือกในการลงทุนมากกว่าการซื้อหุ้นสามัญจากตลาด
ในประเทศ ช่องทางการลงทุนต่างๆ ที่จะอธิบายต่อไปนี้ จะช่วยให้ผู้ลงทุนเข้าใจถึงวิธีการ
ต่างๆ ในการซือ้ หุน้ สามัญต่างประเทศมากขึน้ การลงทุนซือ้ หุน้ สามัญต่างประเทศสามารถ
ท�ำได้หลายวิธี ดังนี้

การลงทุนซื้อใบส�ำคัญแสดงสิทธิในผลประโยชน์ที่เกิดจากหุ้นสามัญ
ธุรกิจต่างประเทศส่วนใหญ่จะไม่ได้จดทะเบียนหุ้นกับตลาดหลักทรัพย์ในประเทศ
ของเรา ดังนั้น ผู้ลงทุนในประเทศจึงไม่สามารถลงทุนซื้อหุ้นของธุรกิจต่างชาติที่ต้องการ
ได้โดยตรง การลงทุนซื้อใบส�ำคัญแสดงสิทธิในผลประโยชน์ที่เกิดจากหลักทรัพย์อ้างอิง
(depository receipts) จึงเป็นวิธีหนึ่งที่จะท�ำให้ผู้ลงทุนในประเทศสามารถลงทุนซื้อ
หุ้นสามัญต่างชาติได้ ส�ำหรับในประเทศสหรัฐอเมริกาตัวกลางทางการเงิน เช่น ธนาคาร
พาณิชย์จะลงทุนซื้อหุ้นสามัญของธุรกิจต่างชาติเก็บไว้และออกใบส�ำคัญแสดงสิทธิใน
20 ผลประโยชน์ทเี่ กิดจากหุน้ สามัญเหล่านัน้ ซึง่ เรียกว่า American Depository Receipts (ADR’s)
ขายให้ผลู้ งทุนในประเทศสหรัฐอเมริกา ดังนัน้ ผูท้ ซี่ อื้ ตราสาร ADR’s ก็จะถือว่าเป็นเจ้าของ
หุน้ สามัญของธุรกิจต่างชาติแต่ฝากไว้ทธี่ นาคาร โดยธนาคารจะเป็นผูก้ ำ� หนดว่า หุน้ สามัญ
ต่างชาติ 1 หุ้น มีราคาเท่ากับตราสาร ADR’s กี่หน่วย (เช่น 1 หุ้น = 5 หน่วย) ผู้ลงทุนจะ
ซื้อตราสาร ADR’s กี่หน่วยก็ได้ ขึ้นอยู่กับความต้องการในการลงทุนซื้อหุ้นสามัญต่างชาติ
และสามารถน�ำตราสาร ADR’s ดังกล่าวไปขายต่อได้ทั้งในตลาดหลักทรัพย์นิวยอร์ก และ
ตลาดหลักทรัพย์แนสแดกค์ (NASDAQ)7 ตราสาร ADR’s จะออกขายเป็นเงินสกุลดอลลาร์
สหรัฐ และเมื่อธนาคารได้รับเงินปันผลจากหุ้นสามัญต่างชาติที่ธนาคารเก็บรักษาไว้

____________________________________________
7
NASDAQ ย่อมาจาก The National Association of Securities Dealers Automated Quotation
System เป็นตลาดรองของตราสารประเภททุน มีลกั ษณะเป็นตลาดหลักทรัพย์เสรีหรือตลาดหลักทรัพย์
ทีไ่ ม่เป็นทางการ (over-the-counter) ไม่มสี ถานทีต่ งั้ ของตลาดทีเ่ ป็นรูปธรรม ซือ้ ขายหลักทรัพย์ทไี่ ม่ได้
จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ที่เป็นทางการ เช่น ตลาดหลักทรัพย์นิวยอร์ก การซื้อขายหลักทรัพย์
ในตลาดนี้จะกระท�ำผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ของตลาด

การลงทุนในตราสารทุน
บทที่ 1: ทางเลือกในการลงทุน

You might also like