You are on page 1of 3

มาตรฐานระบบลิฟต์ดับเพลิง วสท.

032012/F-61

ภาคผนวก ฌ
ส่วนงานร่วมกับอาคาร (Building Interface)

ฌ.1 ทั่วไป
บทนี้เป็นการแนะนาข้อกาหนดที่ไม่ได้ ระบุในข้อแนะนาการออกแบบอาคารที่มี ลิฟต์ดับเพลิง การออกแบบ
ต้องดาเนินการตามพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร และกฎกระทรวง
ข้อกาหนดด้านล่างนี้ไม่เป็นส่วนของการออกแบบลิฟต์ และควรจะอยู่ในการออกแบบอาคาร
- ความต้องการของลิฟต์ดับเพลิง หากต้องการให้มี จะต้องระบุ จานวน ที่ตั้ง ขนาด ความเร็วพิกัด
- การป้องกันของพื้นที่ด้านหน้าของประตูหน้าชั้น และบริเวณเชื่อมต่อระหว่างพื้นที่ปลอดภัยและบันไดกัน
ไฟ
- การแยกกันของปล่องลิฟต์
- คุณลักษณะของระดับความต้านทานอัคคีภัยของประตูหน้าชั้น
- การจัดการน้า - ดูภาคผนวก จ
- แหล่งจ่ายไฟฟ้า – ดูภาคผนวก ค
- การควบคุมควัน เช่น ระบบการอัดอากาศ
- การระบุตาแหน่งลิฟต์
ฌ.2 การอนุมัติของหน่วยงานดับเพลิง
ลักษณะของอาคารควรตกลงกับหน่วยงานดับเพลิงก่อนจะตัดสินใจการออกแบบลิฟต์ ดับเพลิง รายละเอียด
ดังต่อไปนี้
- ชั้นที่จอดของลิฟต์ดับเพลิง
- กรณีมีห้องโดยสารที่มีทางเข้า 2 ทาง ประตูห้องโดยสารที่จะต้องปิดระหว่างการปฏิบัติการดับเพลิง
- ชั้นที่เข้าปฏิบัติการดับเพลิง และตาแหน่งของสวิตช์ลิฟต์พนักงานดับเพลิง
- วิธีการช่วยเหลือ และวิธีที่อ้างถึงในข้อกาหนด 6.4 ให้ระมัดระวังเมื่อระยะระหว่างชั้นมากกว่า 6.00 เมตร
ซึ่งอาจต้องมีประตูฉุกเฉินระหว่างชั้น
มีข้อแนะน าว่า รายการดัง กล่ าวข้างต้น ควรมีเอกสารยืนยันกับ หน่ว ยงานดับเพลิ ง พร้อมทั้งแผนผั งแสดง
ตาแหน่ง และชั้นจอดของลิฟต์ดับเพลิง
ความต้องการ และคาสั่งเพิ่มจากหน่วยงานดับเพลิง ให้ ใช้ร่วมกับมาตรฐานนี้ด้วยและไม่ถือเป็นข้อขัด แย้ง
เกี่ยวกับข้อกาหนดของลิฟต์
ฌ.3 ข้อกาหนดของลิฟต์ดับเพลิง
ข้อกาหนดนี้ กาหนดจานวน ที่ตั้ง ขนาด และความเร็วพิกัดของลิฟต์ดับเพลิง ซึ่งพิจารณาจากพระราชบัญญัติ
ควบคุมอาคาร และกฎกระทรวง และแนวคิดการดับเพลิง (ภาคผนวก ก)
ลิฟต์ดับเพลิงควรระบุตาแหน่งที่ทาให้ พนักงานดับเพลิงเข้าไปถึงชั้นต่างๆ ได้ ด้วยความยาวสูงสุดของสาย
ดับ เพลิ ง เช่น 30.00 เมตร ระยะนี้ จ ะกาหนดที่ตั้ง และจานวนลิ ฟต์ที่ใช้งาน นอกจากนี้เส้ นทางจากลิฟต์
ดับเพลิงทีช่ ั้นทางเข้าเพื่อปฏิบัติการดับเพลิงควรเชื่อมโยงกับเส้นทางหนีไฟที่นาออกสู่ภายนอกอาคาร

ภาคผนวก ฌ ส่วนงานร่วมกับอาคาร ฌ-1


มาตรฐานระบบลิฟต์ดับเพลิง วสท. 032012/F-61

ข้อกาหนดนี้ควรกาหนดขนาดห้องโดยสารเล็กที่สุดเพื่อสอดคล้องกับแนวทางการดับเพลิง ย่าวน้อยไม่ต่ากว่า
630 กิโลกรัม (เพื่อส่งพนักงานดับเพลิง และอุปกรณ์ดับเพลิง) และหากไม่กาหนดขนาดห้องโดยสาร เล็กที่สุด
แล้ว ควรกาหนดขนาดห้อง โดยสารกว้างอย่างน้อย 1,100 มิลลิเมตร ลึกอย่างน้อย 1,400 มิลลิเมตร และ
ประตูเปิด 800 มิลลิเมตร
ลิฟต์ขนาดใหญ่กว่าอาจต้องการรองรับเตียง หรือ เปล เก้าอี้ล้อหมุน หรือสาหรับทีมดับเพลิงที่มีขนาดใหญ่
กว่าและอุปกรณ์มากกว่า
ลิฟต์ดับเพลิงจะต้องจอดทุกชั้น และมีความเร็วตามพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร และกฎกระทรวง โดยหาก
ลิฟต์วิ่งผ่าน หลายชั้นโดยไม่จอด ทาให้ระยะระหว่างชั้นจอดเพื่อไปยังพื้นที่ปลอดภัยมากเกินไป ต้องพิจารณา
ให้เหมาะสม กับวิธีการช่วยเหลือผู้โดยสารและพนักงานดับเพลิงจากห้องโดยสารที่ค้างอยู่
ฌ.4 การป้องกันพื้นที่หน้าประตูหน้าชั้น
เพื่อการทางานที่ปลอดภัยของลิฟต์ดับเพลิง และการดับเพลิงควรมีพื้นที่ปลอดภัยตั้งอยู่ภายนอกของประตู
หน้าชั้นจอดแต่ละชั้น โดยพื้นที่ที่ต้องการปกป้องลิฟต์จากผลของอัคคีภัย ซึ่งมีความสาคัญเพื่อลิฟต์ยังคง
ดาเนินการได้อย่างน่าเชื่อถือขณะทางานดับเพลิง
พืน้ ที่หน้าประตูหน้าชั้นจอดลิฟต์ควรมีขนาดกว้างเพียงพอสาหรับนักดับเพลิงและการประกอบอุปกรณ์โดยไม่
เปิดประตูของพื้นที่ปลอดภัย และหากพื้นที่ปลอดภัยตั้งอยู่บนเส้นทางหนีไฟสาหรับผู้อาศัยในอาคาร พื้นที่นั้น
ควรกว้างเพียงพอเพื่อสามารถหนีไฟได้โดยไม่รบกวนการปฏิบัติการดับเพลิง
ไม่สามารถตั้งสมมติฐานให้พนักงานดับเพลิงสามารถใช้ลิฟต์เพื่อหนีจากพื้นที่ปลอดภัยได้ ดังนั้นจึงต้องมีบันได
หนีไฟจากพื้นที่ปลอดภัยนาไปสู่พื้นที่ปลอดภัยอื่น
ฌ.5 การแยกปล่องลิฟต์
ปล่องลิฟต์จะต้องถูกแยกจากอาคารเพื่อให้เป็นปล่องลิฟต์เดี่ยวตามแนวตั้ง
โครงสร้างของปล่องลิฟต์ควรมีอัตราทนไฟตามพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร และกฎกระทรวง โดยที่อัตรา
ทนไฟไฟควรมีฉนวน และความคงทนนานเพียงพอที่จะทาการดับไฟ (ไม่น้อยกว่า 2 ชั่วโมง)
พื้นที่ปลอดภัยด้านนอกประตูหน้าชั้นจอดควรเป็นพื้นที่กันไฟ ดูภาคผนวก ฉ
พื้นทีร่ ะบบเครื่องลิฟต์ โดยเฉพาะแผงควบคุมอุปกรณ์ฉุกเฉินนั้น ต้องสามารถเข้าถึงได้จากปล่องลิฟต์หรือจาก
เส้นทางป้องกันไฟ
ฌ.6 ความต้านทานไฟของบานประตูม้วน และประตูกันไฟ
ห้องโดยสารที่มีประตูมากกว่าหนึ่งชุด ทาให้มีความเป็นไปได้ ที่ประตูจะเปิดมากกว่าหนึ่งชุดทั้งโดยตั้งใจ หรือ
โดยความผิ ด พลาด ดั ง นั้ น จึ ง มี ค วามเสี่ ย งสู ง ในการที่ ไ ฟจะผ่ า นจากประตู ห นึ่ ง ไปยั ง อี ก ประตู ห นึ่ ง และ
สถานการณ์นี้เป็นอันตรายที่จะต้องป้องกัน
ขณะดับเพลิงมีการเลือกประตูด้านหน้าหรือด้านหลังในแต่ละชั้นสาหรับนักดับเพลิงเพื่อออกจากลิฟต์ ประตู
ลิฟต์ที่ยังคงทางานอยู่ไม่ประสงค์จะให้เปิดในระหว่างดับเพลิง จะต้องมีประตูม้วนเปิดปิดอัตโนมัติ ซึ่งจะปิดที่
อย่ างช้าที่สุ ด เมื่อไขกุญ แจสวิตช์ลิ ฟต์ ดับเพลิ ง สิ่ งจาเป็นคือ ประตูดังกล่ าวจะมีฉนวนและความแข็ ง แรง
เทียบเท่ากับโครงสร้างปล่องลิฟต์

ภาคผนวก ฌ ส่วนงานร่วมกับอาคาร ฌ-2


มาตรฐานระบบลิฟต์ดับเพลิง วสท. 032012/F-61

ฌ.7 การควบคุมควันไฟ
มีหลายวิธีที่สามารถใช้ในการควบคุมควัน ไฟ ไม่ว่าจะใช้วิธีใด จะต้องมีการหารือเพื่อให้แน่ใจว่าจะไม่มีผลต่อ
การใช้งานลิฟต์ดับเพลิง โดยเฉพาะการใช้การอัดอากาศเพื่อควบคุมควันมีหลายประเด็นซึ่งต้องมี การพิจารณา
(ดูบทนา)
- ในกรณีที่ควบคุมควัน ไฟไม่ให้เข้าสู่ปล่องลิฟต์พนักงานดับเพลิงโดยระบบอัดอากาศ ผลต่างของความดัน
ระหว่างประตู หน้าชั้น จอดลิฟต์ควรมีการหารือเพื่อให้แน่ใจว่าประตูสามารถเปิดปิดได้ในสภาวะความ
แตกต่างของความดันที่สุงที่สุด (ดูบทนา)
- อากาศที่ใช้อัดในปล่องลิฟต์สามารถใช้ที่อุณหภูมิปกติตามความเหมาะสมของอาคาร
ฌ.8 การแสดงตาแหน่งลิฟต์
ในสถานการณ์ซึ่งพนักงานดับเพลิงอาจไม่คุ้นเคยกับตาแหน่งที่ตั้งของลิฟต์ดับเพลิง เมื่อเข้าไปในอาคารต้อง
มองหาตาแหน่งของลิฟต์ ตาแหน่งของระบบเครื่องลิฟต์ โดยเฉพาะในกรณีที่จะต้องขับลิฟต์ขณะที่ไม่มีไฟฟ้า
จ่าย จะต้องมีวิธีการปฏิบัติและสัญลักษณ์เพื่อให้พนักงานดับเพลิงได้รับข้อมูลอย่างรวดเร็วทันทีที่เข้าถึงชั้น
ปฏิบัติการดับเพลิง

ภาคผนวก ฌ ส่วนงานร่วมกับอาคาร ฌ-3

You might also like