You are on page 1of 11

รายงานเชิงวิชาการ

การอ่านและพิจารณาวรรณคดีเรื่อง สามัคคีเภทคำฉันท์

โดย

นางสาวณฐวีร์ ศรีฟ้า ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๕/๕ เลขที่ ๑๙

นายอินทัช สุวรรณาภรณ์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๕/๕ เลขที่ ๒๐

นางสาวชัญญา เทศรัตนวงศ์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๕/๕ เลขที่ ๒๑

นายวิชญ์พล อุทุมพร ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๕/๕ เลขที่ ๒๔

เสนอ

อ. พนมศักดิ์ มนูญปรัชญาภรณ์

ภาคเรียนที่ ๒ ปีการศีกษา ๒๕๖๒

โรงเรียนสาธิตนานานชาติ มหาวิทยาลัยมหิดล

รายงานนี้เป็นส่วนหนึ่งของกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้โครงงานเป็นพื้นฐาน (Project Based Learning)

รายงานวิชาภาษาไทยและวัฒนธรรม ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๕
2

คำนำ
รายงานเล่มนี้จัดทำขึ้นเพื่อเป็นส่วนยิ่งของวิชาภาษาไทยและวัฒนธรรมระะดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่๕
โดนมีจุดประสงค์ในการศึกษาความรู้และวิเคราะห์วรรณคดีไทยเรื่องสามัคคีเภทคำฉันท์เพื่อเป็นประโยชน์ต่อ
การเรียนของตัวนักเรียนเอง และนักเรียนท่านอื่น
ผู้จัดทำหวังเป็นอย่างยิ่งว่ารายงานเล่มนี้จะเป็นประโยชน์แก่ผู้อ่านที่ต้องการศึกษาวรรณคดี
เรื่องสามัคคีเภทคำฉันท์ หากมีข้อแนะนำหรือข้อผิดพลาดใด ผู้จัดทำขอน้อมรับไว้ และขออภัยมา ณ ที่นี้

คณะผู้จัดทำ
๒๔ พฤษภาคม ๒๕๖๒
3

สารบัญ
คำนำ 2
สารบัญ 3
1. การอ่านและพิจารณาเนื้อหาและกลวิธีในวรรณคดีและวรรณกรรรม 4
1.1 เนื้อรื่อง 4
1.2 โครงเรื่อง 4
1.3 ตัวละคร 4-5
1.4 ฉากท้องเรื่อง 5
1.5 บทเจรจาหรือราพึงราพัน 5
1.6 แก่นเรื่อง 5

2. การอ่านและพิจารณาการใช้ภาษาในวรรณคดีและวรรณกรรม
2.1 การสรรคำ 6
2.2 การเรียบเรียงคำ 6-8
2.3 การใช้โวหาร 8-9

3. การอ่านและพิจารณาประโยชน์หรือคุณค่าในวรรณคดีและวรรณกรรม 9
3.1 คุณค่าด้านอารมณ์ 9
3.2 คุณค่าด้านคุณธรรม 9
3.3 คุณค่าด้านสังคม 9
3.4 คุณค่าด้านวัฒนธรรม 9
3.5 คุณค่าด้านการใช้ภาษา 10
บรรณานุกรม 11
4

1. การอ่านและพิจารณาเนื้อหาและกลวิธีในวรรณคดีและวรรณกรรรม
1.1 เนื้อเรื่อง

พระเจ้าอชาตศัตรูแห่งแคว้นนมคธทรงมีพราหมณ์ชั้นสูงเป็นที่ปรึกษาชื่อวัสสการพารหมณ์เป็นผู้รอบ
รู้ศิลปศาสตร์และมีสติปัญญาเฉียบแหลม เมื่อพระเจ้าอชาตศัตรูมีพระประสงค์ในการขยายอาณาจักรให้กว้าง
ขวางแคว้นที่ทรงเป็นที่หมายตาคือแคว้นวัชชีของเหล่ากษัตริย์ลิจฉวีที่เป็นแคว้นขนาดใหญ่และเจริญกว่าแคว้น
ใดในสมัยนั้นผู้ได้ครอบครองแคว้นนี้น่อมแสดงถึงความยิ่งใหญ่ของกษัตริย์พระองค์นั้นการทำสงครามกับแคว้น
วัชชีไม่ใช่เรื่องง่ายเพราะกษัตริย์ลิจฉวีมีความสามัคคีปรองดองและมั่นคงมากวัสสการพราหมณ์มีอุบายในการตี
แคว้นวัชชีโดยอาสาเป็นเป็นไส้ศึกไปยุยงทำให้เหล่ากษัตริย์ลิจฉวีแตกความสามัคคีโดยที่พระเจ้าอชาตศัตรู
แกล้งทำเป็นลงโทษวัสสการพราหมณ์อย่างหนักแล้วเนรเทศออกจากเมืองวัสสการพราหมณ์มุ่งหน้าไปเมืองเวส
าลีเพื่อขอรับราชการ ด้วยความเป็นผู้มีวาทศิลป์ รู้จักใช้เหตุผลโน้มน้าวใจ จึงทำให้เล่ากษัตริย์ลิจฉวีไว้วางใจ
วัสสการพราหมณ์ก็ดำเนินอุบายขั้นต่อไป คือการทำให้เหล่าพระกุมารเข้าใจว่าพระกุมารพระองค์อื่นนำปม
ด้อยของตนไปเล่าให้ผู้อื่นทราบทำให้เสียชื่อเหล่ากุมารจึงนำความไปกราบทูลพระบิดา ซึ่งต่างก็เชื่อถือ
พระโอรสของพระองค์ ทำให้เกิดความขุ่นเคืองกันทั่วไปในหมู่กษัตริย์ลิจฉวี หลังจากนั้นวัสสการพราหมณ์
ทดสอบความสามััคคีของเหล่ากษัตริย์ลิจฉวีโดยการตีกลองนัดประชุม แต่ไม่มีกษัตริย์พระองค์ไหนเข้าร่วม
ประชุมวัสสการพราหมณ์ เห็นว่าแผนของตนนั้นสำเร็จจึงลอบส่งข่าวไปให้พระเจ้าอชาตศัตรูลิจฉวี ให้ทรง
ยกทัพมาตีแคว้นวัชชี เหล่ากษัตริย์ลิจฉวีไม่คิดวางแผนป้องกันภัยจึงทำให้กองทัพของแคว้นมคธตีแคว้นได้
อย่างง่ายดาย

1.2 โครงเรื่อง

กษัตริย์ของแคว้นมคธต้องการที่จะขยายอำนาจไปยังแคว้นใกล้เคียงแต่แคว้นวัชชีมีกษัตริย์ที่ยึดมั่นใน
อปริหานิยธรรมทำให้มีความสามัคคีปรองดอง กษัตริย์แคว้นมคธจึงได้ออกอุบายส่งพราหมณ์ที่ปรึกษาไปเป็น
ไส้ศึกเข้าไปทำลาย ความสามัคคีของแคว้น แล้วยกทัพเข้าโจมตี

1.3 ตัวละคร

พระเจ้าอชาตศัตรู:
• ทำให้บ้านเมืองเจริญรุ่งเรื่องและให้พสกนิกรอยู่อย่างสงบสุข
• ต้องการแผ่ขยายอิทธิพลของแคว้น และต้องการยกทัพไปตีแคว้นวัชชี
• มีความเชื่อใจวัสสการพราหมณ์ให้ช่วยคิดแผนการและกลอุบายเพื่อจะได้ตีแคว้นวัชชีและยึด
มาได้สำเร็จ
วัสสการพราหมณ์
• เป็นพราหมณ์ปุโรหิตของแคว้นมคธ
• เป็นคนฉลาดเฉลียว รอบคอบ
• มีความเสียสละ
• มีความจงรักภักดี
5

• รอบรู้ในด้านศาสตร์ศิลป์
• รักชาติและเสียสละเพื่อบ้านเมือง
กษัตริย์ลิจฉวี
• ยึดมั่นในหลักอปริหานิยธรรม๗ ประการ หรือธรรมอันไม่เป็นที่ตั้งแห่งความเสื่อม
• ขาดความรอบคอบ วิจารณญาณและสติ
• หูเบาเชื่อทำง่าย
• มีทิฐิสูง

1.4 ฉากท้องเรื่อง

สามัคคีเภทคำฉันท์เป็นเรื่องที่เราได้รับมาจากอินเดีย จึงพยายามอธิบายฉากเป็นประเทศอินเดีย
กวีได้พูดเกี่ยวกับอินเดียในสมัยของพระเข้าอชาตศัตรู แต่ก็แฝงกลิ่นอายความเป็นไทยอยู่ เช่น การพรรณนา
ชมบ้านเมืองเกี่ยวกับบ้านเมืองที่ไพเราะทั้ง จังหวะ และลีลา
ช่อฟ้าตระการกลจะหยัน จะเยาะยั่วทิฆัมพร
บราลีพิลาศศุภจรูญ นภศูลประภัสสร
หางหงส์ผจงพิจิตรงอน ดุจกวักนภาลัย

1.5 บทเจรจาหรือรำพึงรำพัน

เป็นบทที่แสดงถึงความจงรักภักดีของวัสสการพราหมณ์ที่มีต่อพระเจ้าอาชาตศัตรู
โดยเต็มกตัญญู กตเวทิตาครัน
ใหญ่ยิ่งและยากอัน นรอื่นจะอาจทน
หยั่งชอบนิยมเชื่อ สละเนื้อและเลือดตน
ยอมรับทุเรศผล ขรการณ์พะพานกาย
ไป่เห็นกะเจ็บแสบ ชิวแทบจะทำลาย
มอบสัตย์สมรรถหมาย มนมั่นมิหวั่นไหว
1.6 แก่นเรื่อง

แก่นเรื่องหลัก

• การไม่มีความสามัคคีสามารถนำไปสู่ความหายนะ

แก่นเรื่องรอง
• การใช้สติปัญญาเอาชนะฝ่ายตรงข้ามการรู้จักเลือกใช้บุคคลที่เหมาะกับงานที่ทำ
• การถือทิฐิสามารถนำไปสู่ความเสียหายต่อส่วนรวม
6

2. การอ่านและพิจารณาการใช้ภาษาในวรรณคดีและวรรณกรรม
2.1 การสรรคำ

ผู้แต่งได้เลือกสรรหาคำเพื่อเสียงสัมผัสทั้งเสียงสัมผัสพยัญชนะและสระ เช่น
• การเล่นเสียงพยัญชนะ
ทิชงค์ชาติฉลาดยล คะเนกลคะนึงการ
กษัตริย์ลิจวีวาร ระวังเหือดระแวงหาย
มีการเล่นเสียงพยัญชนะคำว่า “คะเนกล - คะนึงการ” กับ “ระวังเหือด - ระแวงหาย”
• สัมผัสสระ
พระราชบุตรลิจ ฉวิมิตรจิตเมิน
ณ กันและกันเหิน คณะห่างก็ต่างถือ
มีการเล่นเสียงสระคำว่า “ลิจ-มิตร” กับ “เมิน-เหิน”

• การเล่นเสียงหนักเบา
ดั่งนั้น ณ หมู่ใด ผิบไร้สมัครมี
พร้อมเพรียงนิพันธ์นี วิวาทระแวงกัน
ผู้แต่งได้กำหนดเสียงหนักเบาไว้เพื่อทำให้รู้สึกถึงรสไพเราะของเนื้อความได้

• การใช้คำที่ง่ายซึ่งทำให้ผู้อ่านสามารถเข้าใจได้ง่าย
ราชาลิจฉวี ไป่มีสักองค์
อันนึกจำนง เพื่อจักเสด็จไป
ต่างองค์ดำรัส เรียกนัดทำไม
ใครเป็นใหญ่ใคร กล้าหาญเห็นดี

• การเลือกใช้คำให้หลากหลาย
ขุนคอคชคุมกุมอัง
สกรายท้ายยังขุนควาญประจำดำรี
ขุนคชขึ้นคชชินชาญ คุมพลคชสารละตัวกำแหงแข็งขัน
คำว่า คช ดำรีและคชสาร ล้วนหมายถึงช้างทั้งสิ้น

2.2 การเรียบเรียงคำ

• สารสำคัญไว้ท้ายสุด
“ทิชงค์ชาติฉลาดยล คะเนกลคะนึงการ
กษัตริย์ลิจฉวีวาร ระวังเหือดระแวงหาย”
ผู้แต่งได้ประพันธ์ฉันท์บทนี้ให้มีความหนักแน่น และความกระชับของเนื้อหา โดยการลำดับ
เรื่องให้จบด้วยใจความสำคัญของบท
7

• เรียงคำ วลี หรือประโยคที่มีความสำคัญเท่า ๆ กัน เคียงขนานกันไป


พระราชบุตรลิจ ฉวิมิตรจิตเมิน
ณ กันและกันเหิน คณะห่างก็ต่างถือ
ทะนงชนกตน พลล้นเถลิงลือ
ก็หาญกระเหิมฮือ มนฮึก บ นึกขาม ฯ
ผู้แต่งเลือกเรียงคำที่มีความหมายคล้ายๆกัน เช่น เมิน เหิน ห่าง แสดงถึงการเป็น
ความรู้สึกและอารมณ์เดียวกันและคงความสำคัญเท่ากัน
• เรียบเรียงประโยคให้เนื้อหาเข้มข้นขึ้นไปตามลำดับดุจขั้นบันไดจนถึงขั้นสุดท้ายที่สำคัญที่สุด
“เหี้ยมนั้นเพราะผันแผก คณะแตกและต่างมา
ถือทิฐิมานสา หสโทษพิโรธจอง
แยกพรรคสมรรคภิน ทนสิ้น บ ปรองดอง
ขาดญาณพิจารณ์ตรอง ตริมหลักประจักษ์เจือ
เชื่ออรรถยุบลเอา รสเล่าก็ง่ายเหลือ
เหตุหาก ธ มากเมือ คติโมหเป็นมูล
จึ่งดาลประการหา ยนภาวอาดูร
เสียแดนไผทสูญ ยศศักดิเสื่อมนาม”
ผู้แต่งได้กล่าวถึงความวุ่นวานที่เพิ่มขึ้นตามลำดับเนื้อหาที่ผู้ประพันธ์เรียงลำดับโดยกล่าวถึงผลลัพธ์ปัจ
จุบัน ตามมาด้วยสาเหตุ จากความขัดแย้งในหมู่คณะกลายเป็นความแตกหักของ บ้านเมือง

• เรียบเรียงประโยคให้เนื้อหาเข้มข้นขึ้นไปตามลำดับแต่คลายความเข้มข้นลงในช่วงหรือประโยค
สุดท้ายอย่างฉับพลัน
“ควรชมนิยมจัด คุรุวัสสการพราหมณ์
เป็นเอกอุบายงาม กลงำกระทำมา
พุทธาทิบัณฑิต พิเคราะห์คิดพินิจปรา
รภสรรเสริญสา ธุสมัครภาพผล
ว่าอาจจะอวยผา สุกภาวมาดล
ดีสู่ห ณ หมู่ตน บ นิราศนิรันดร
หมู่ใดผิสามัค คยพรรคสโมสร
ไปปราศนิราศรอน คุณไร้ไฉนดล”
ผู้แต่งประพันธ์โดยใช้การเรียบเรียงประโยคไปตามลำดับเพื่อให้ผู้อ่านเข้าใจและติดตามลำดับ
ของเหตุการณ์ได้ดียิ่งขึ้น ทว่ายังมีการตัดบทของเรื่องในตอนท้ายอย่างฉับพลัน
• การเรียบเรียงถ้อยคำให้เป็นประโยคคำถามเชิงวาทศิลป์
“อย่าติและหลู่ ครูจะเฉลย
เธอน่ะเสวย ภัตกะอะไร
ในทินนี่ ดี ฤ ไฉน
พอหฤทัย ยิ่งละกระมัง”
8

ตอนวัสสการพราหมณ์เริ่มทำอุบายทำลายสามัคคีใช้บทเจรจาที่ไม่ต้องการคำตอบแต่ใช้ความ
สามารถของวัสสการพราหมณ์ในการเสนอเเนวคิด

2.3 การใช้โวหาร
คือการพลิกแพลงภาษาทีใช้พูดและเขียนให้แปลกออกไปจากที่ใช้อยู่เป็นปกติ ก่อให้เกิดภาพกระทบใจ
ความรู้สึก และอารมณ์ต่างกับการใช้ภาษาอย่างตรงไปตรงมา

• อุปมาโวหาร เป็นการกล่าวเปรียบเทียบเพื่อให้ผู้อ่านเข้าใจและเห็นภาพชัดเจนยิ่งขึ้น เช่น


“กลกะกากะหวาดขมังธนู บห่อนจะเห็นธวัชริปูสิล่าถอย”
วัสสการพราหมณ์เปรียบน้ำพระราชหฤทัยกษัตริย์ลิจฉวี

• อุปลักษณ์โวหาร การเปรียบเทียบโดยนัย ไม่กล่าวเปรียบเทียบตรง ๆ แต่ผู้อ่านสามารถจับเค้า


ได้จากคำที่ผู้แต่งใช้ เช่น
“ลูกข่างประดาทา รกกาลขว้างไป
หมุนเล่นสนุกไฉน ดุจกันฉะนั้นหนอ”
ตอนพระเจ้าอชาตศัตรูทรงเปรียบเทียบการแตกสามัคคีของกษัตริย์ลิจฉวี

• บุคคลวัต เป็นการสมมุติสิ่งต่างๆ ให้มีกิริยาอาการ มีความรู้สึกเหมือนมนุษย์ เช่น


“วัชชีภูมีผอง สดับกลองกระหึมขาน
ทุกไท้ไป่เอาภาร ณ กิจเพื่อเสด็จไป”
ผู้แต่งนำคำกริยา “ขาน” ซึ่งหมายถึง พูด ตอบ ของมนุษย์มาใช้กับกลองที่เป็นสิ่งของ เพื่อสร้าง
จินตภาพให้เห็นว่ากลองเป็นสิ่งมีชีวิต
• อติพจน์ เป็นการกล่าวผิดไปจากที่เป็นจริง เช่น
“ตื่นตาหน้าเผือด หมดเลือดสั่นกาย
หลบลี้หนีตาย วุ่นหวั่นพรั่นใจ
ซุกครอกซอกครัว ซ่อนตัวแตกภัย
เข้าดงพงไพร ทิ้งย่านบ้านตน”
จากตอนพระเจ้าอชาตศัตรูยกทัพมาตีแคว้นวัชชี ผู้แต่งใช้การกล่าวเกินความจริงซึ่งก็คืออาการตื่น
ตระหนกใจในสองวรรคแรก แสดงให้เห็นว่าชาววัชชีตื่นกระหนกตกใจกับการุรกรานของพระเจ้าอชาตศัตรู
เป็นอย่างมากจนหน้าซีดเหมือนเลือดหมดตัว ซึ่งทำให้ผู้อ่านสามารถเห็นภาพได้ชัดเจน และรับรู้ถึงอารมณ์
ของเนื้อเรื่อง
• นามนัย เป็นการใช้ชื่อส่วนประกอบที่เด่นของสิ่งหนึ่งแทนสิ่งนั้นๆทั้งหมด เช่น
“แม้มากผิกิ่งไม้ ผิวใครจะใคร่ลอง
มัดกำกระนั้นปอง พลหักก็เต็มทน
เหล่าไหนผิไมตรี สละลี้ ณ หมู่ตน
กิจใดจะขวายขวน บ มิพร้อมมิเพรียงกัน”
9

ในบทแรกล่าวถึง หากมีกิ่งไม้เพียงกิ่งเดียวก็สามารถหักได้ด้วยมือเปล่า แต่เมื่อเป็นกิ่งไม้ที่ถูก


มัดอยู่เป็นกำ ต่อให้ใช้แรงมากแค่ไหนก็ไม่สามสารถหักมันได้ ผู้แต่งได้ใช้ลักษณะเด่นของกิ่งไม้เพื่อแทน
ความสามัคคีเป็นหนึ่งเดียวกัน ในหมู่คนที่ปัญหาภายนอกก็ไม่สามารถทำลายความสามัคคีนี้ได้

3. การอ่านและพิจารณาประโยชน์หรือคุณค่าในวรรณคดีและวรรณกรรม
3.1 คุณค่าด้านอารมณ์
คือคุณค่าด้านวรรณศิลป์ เช่น การใช้คำ เพื่อให้ผู้อ่านสามารถเข้าใจและจินตภาพตามเนื้อเรื่องได้
• สร้างอารมณ์ผู้อ่านให้เกิดอารมณ์หวาดกลัว ตื่นเต้น ตกใจ เช่น
ต่างก็ตระหนก มนอกเต้น
ตื่น บ มิเว้น ตะละผู้คน
ทั่วบุรคา มจลาจล
เสียงอลวน อลเวงไป

• ทำให้ผู้อ่านเกิดอารมณ์ชื่นชมยินดี เช่น
เห็นเชิงพิเคราะห์ช่อง ชนะคล่องประสบสม
พราหมณ์เวทอุดม ธ ก็ลอบแถลงการณ์

3.2 คุณค่าด้านคุณธรรม
• ไม่ควรนำความคิดของตนมาเป็นหลัก
• สามัคคีเภทคำฉันท์มีคุณค่าด้านคุณธรรมที่สำคัญคือคุณธรรมที่ชาวแคว้นวัชชียึดมั่น ซึ่งก็คือ
“อปริหานิยธรรม”
ผู้อ่านสามารถนำคุณธรรมนี้มาเป็นแบบอย่างในการดูแลบ้านเมืองให้มีความสงบสุข
สามารถนำไปปรับใช้ได้ เป็นหนึ่งองค์ประกอบของระบบการทำงาน

3.3 คุณค่าด้านสังคม
• เน้นโทษของการแตกความสามัคคีในหมู่คณะ
• ด้านจริยธรรม เน้นถึงหลักธรรม อปริหานิยธรรม ซึ่งเป็นธรรมอันไม่เป็นที่ตั้งแห่งความเสื่อม
• เน้นถึงความสำคัญของการใช้สติปัญญาตริตรอง และแก้ไขปัญหาต่าง ๆ โดยไม่ต้องใช้กำลัง

3.4 คุณค่าทางวัฒนธรรม
• ได้ทราบถึงวิถีชีวิตของคนสมัยก่อนที่จะทำการตีกลองเมื่อมีปัญหาที่ต้องการแก้ไขหรือร้องทุก
ข์ของตน อีกทั้งยังสามารถเป็นสัญญาณในการเรียกนัดต่างๆ จากบท
ให้ลองตีกลองนัด ประชุมขัตติย์มณฑล
เชิญซึ่งส่ำสากล กษัตริย์สู่สภาคาร
10

3.5 คุณค่าด้านการใช้ภาษา
นิทานสุภาษิตเรื่องสามัคคีเภทคำฉันท์ถูกประพันธ์ด้วยภาษาที่กระชับ เข้าใจง่าย
ผู้แต่งได้เลือกใช้ฉันท์หลากหลายรูปแบบที่มีสอดคล้องกับสิ่งที่ต้องการจะสื่อ อีกทั้งยังใช้โวหารมากมายทำให้
ผู้อ่านได้เห็นถึงวิธีการใช้ภาษาให้สละสลวยและตรงตามความหมายที่ต้องการจะสื่อได้ชัดเจนยิ่งขึ้น
11

บรรณานุกรม
วิเคราะห์เรื่องสามัคคีเภทคำฉันท์. (2556, ธันวาคม 16). Retrieved พฤษภาคม 24, 2062,
from สามัคคีเภทคำฉันท์: http://samakkeepeatchant.blogspot.com/2013/12/blogpost_3427.html

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. หนังสือเรียนรายวิชาขั้นพื้นฐานภาษาไทย วรรณคดีจักษ์


ม.6. พิมพ์ครั้งที่5.กรุงเทพฯ : สกสค.ลาดพร้าว, 2557. 169 หน้า

You might also like