You are on page 1of 10

รายงานเชิงวิชาการ

การอ่านและพิจารณาวรรณคดี เรื่อง
คัมภีร์ฉันทศาสตร์ แพทย์ศาสตร์สงเคราะห์

โดย

นาย ณัฐภูมิ ดารงเลาหพันธ์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๕/๑ เลขที่ ๔


นางสาว ภัทรียา ลิปิการกุล ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๕/๑ เลขที่ ๑o
นางสาว ณัฐกร มัศยาอานนท์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๕/๑ เลขที่ ๑๑
นางสาว อุรชา วชีระวุฒิไกร ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๕/๑ เลขที่ ๒๓

เสนอ

อ. พนมศักดิ์ มนูญปรัชญาภรณ์

ภาคเรียนที่ ๒ ปีการศึกษาที่ ๒๕๖๑


โรงเรียนสาธิตนานาชาติ มหาวิทยาลัย มหิดล

รายงานนี้เป็นส่วนหนึ่งของกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้โครงงานเป็นฐาน
(Project Based Learning)
รายวิชาภาษาไทยและวัฒนธรรม ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๕
คานา

รายงานเล่มนี้เป็นส่วนหนึ่งของวิชาภาษาไทยระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๕ จัดทาขึ้นเพื่อจุดประสงค์ในการ
วิเคราะห์ และพิจารณาวรรณคดีเรื่อง คัมภีร์ฉันทศาสตร์ แพทย์ศาสตร์สงเคราะห์ ทางคณะผู้จัดทาต้องการจะ
นาเสนอข้อมูลเชิงวิชาการ ไม่ว่าจะเป็นทั้งด้านเนื้อเรื่อง กลวิธีในการประพันธ์ หรือแม้กระทั่งคุณค่าที่วรรณคดีเรื่อง
นี้ได้มอบให้ผู้อ่าน และหวังเป็นอย่างยิ่งว่าข้อมูลในรายงานเล่มนี้จะสามารถให้ประโยชน์แก่ผู้ที่สนใจและต้องการ
ทาการศึกษาเกี่ยวกับวรรณคดีเรื่อง คัมภีร์ฉันทศาสตร์ แพทย์ศาสตร์สงเคราะห์ ได้มากก็น้อย หากทางคณะผู้จัดทา
ได้ทาสิ่งผิดพลาด
ประการใดต้องขออภัยมา ณ ที่นี้ และขอน้อมรับทุกคาแนะนาไปปรับปรุง ทั้งนี้รายงานเล่มนี้สาเร็จได้ด้วย
ความช่วยเหลือของอาจารย์พนมศักดิ์ มนูญปรัชญาภรณ์ ทางคณะผู้จัดทาขอขอบพระคุณอาจารย์ที่ช่วยเป็นผู้ให้
คาแนะนาและข้อเสนอแนะเพื่อที่จะให้คณะผู้จัดทานากลับไปแก้ไขอะไรงานเล่มนี้ได้สาเร็จลุล่วง

คณะผู้จัดทา
๓๑/๕/๖๒


สารบัญ
หน้า
๑. การอ่านและพิจารณาเนื้อหาและกลวิธีในวรรณคดีและวรรณกรรม ๓
๑.๑ เนื้อเรื่อง ๓
๑.๒ โครงเรื่อง ๓
๑.๓ ตัวละคร ๓
๑.๔ ฉากท้องเรื่อง ๓
๑.๕ บทเจรจาหรือราพึงราพัน ๓
๑.๖ แก่นเรื่อง ๓
๒. การอ่านและพิจารณาการใช้ภาษาในวรรณคดีและวรรณกรรม ๔
๒.๑ การสรรคา ๔
๒.๒ การเรียบเรียงคา ๔-๕
๒.๓ การใช้โวหาร ๕-๖
๓. การอ่านและพิจารณาประโยชน์หรือคุณค่าในวรรณคดีและวรรณกรรม ๗
๓.๑ คุณค่าทางปัญญา ๗
๓.๒ คุณค่าทางศีลธรรม ๗
๓.๓ คุณค่าทางวัฒนธรรม ๗-๘
บรรณานุกรม ๙


๑. การอ่านและพิจารณาเนื้อหาและกลวิธีในวรรณคดีและวรรณกรรม
๑.๑ เนื้อเรื่อง
ตาราแพทย์ศาสตร์สงเคราะห์ได้กล่าวว่า เป็นปกติที่มนุษย์จะเสื่อมสมรรถภาพหรือมีโรคภัยไข้เจ็บ ผู้เขียน
เลือกที่จะใช้บทเปรียบเทียบเพื่อให้ผู้อ่านเข้าใจได้ง่ายขึ้น โดยได้เปรียบเทียบร่างกายกับเมือง มีหัวใจเป็นพระราชา
มีน้าดีเป็นฝ่ายวังหน้าคอยเป็นภูมิต้านทาน มีอาหารเป็นเสบียงเลี้ยงชีพ มีแพทย์เป็นทหารคอยปกป้องเมืองจาก
โรคภัย และคอยรั ก ษาส่ ว นอื่น ๆ ไว้ คัมภีร์ฉันทศาสตร์เ ป็นต าราที่รวบรวมความรู้จ ากต าราอื่น ๆ มีเนื้อ หา
ครอบคลุมหลายเรื่อง เช่น วิธีการรักษาต่าง ๆ สรรพคุณของสมุนไพร แต่จะกล่าวถึงแต่ละเรื่องแบบสั้น ๆ ได้
ใจความ เพื่อให้ผู้อ่านเข้าใจคร่าว ๆ เกี่ยวกับโรคและการรักษา ส่วนตาราแพทย์ศาสตร์สงเคราะห์จะเน้นเรื่อง
คุณสมบัติของการเป็นแพทย์ที่ดี ที่ต้องมีความชานาญความรู้ทั้งด้านวิชาการและคุณธรรม โดยรักษาศีล ยึดในไตร
รัตน์ และไม่ถูกครอบงาโดยความโลภ ความโกรธ และความหลง

๑.๒ โครงเรื่อง
ตารานี้ได้แบ่งออกเป็นคัมภีร์ต่าง ๆ โดยแต่ละเรื่องจะมีเนื้อหาต่างกัน และเน้นเนื้อหาเกี่ยวกับคุณสมบัติที่
แพทย์ควรมี การรักษาโรคต่าง ๆ และสรรพคุณของสมุนไพรหลากหลายชนิด

๑.๓ ตัวละคร
ในเรื่องคัมภีร์ฉันทศาสตร์แพทย์ศาสตร์สงเคราะห์ไม่มีตัวละครหลัก แต่ได้กล่าวถึงแพทย์และสิ่งที่แพทย์
ควรทา

๑.๔ ฉากท้องเรื่อง
คัมภีร์ฉันทศาสตร์แพทย์ศาสตร์สงเคราะห์เป็นตาราที่มุ่งเน้นการสอนและถ่ายทอดความรู้ ดังนั้นจึงไม่
ปรากฏฉากท้องเรื่องให้เห็น มีเพียงการอุปมาในช่วงหนึ่งว่า ร่างกายเปรียบเสมือนเมืองเมืองหนึ่งซึ่งมีโรคภัยไข้เจ็บ
เป็นข้าศึกเท่านั้น

๑.๕ บทเจรจาหรือราพึงราพัน
การใช้ภาษาเป็นลักษณะการบรรยาย อธิบาย ไม่พบการใช้บทเจรจาหรือราพึงราพัน มีแต่การที่ผู้แต่ง
บรรยายให้ความรู้แก่ผู้อ่านเท่านั้น

๑.๖ แก่นเรื่อง
คัมภีร์ฉันทศาสตร์แพทย์ศาสตร์สงเคราะห์ มีจุดมุ่งหมายหลักสองประการคือ ๑. ถ่ายทอดองค์ความรู้ทาง
การแพทย์อันได้แก่วิธีการวินิฉัยและรักษาโรคต่างๆ และ ๒. สอนจรรยาบรรณแพทย์ หรือคุณธรรมที่แพทย์พึงมี
คือ แพทย์ต้องศึกษาตาราให้ถี่ถ้วนและวินิฉัยรักษาโรคด้วยความไม่ประมาท ไม่โลภ ทะนงตนหรืออวดอ้างความรู้
จนการรักษาผิดพลาดและทาให้อาการของคนไข้เลวร้ายลง จึงถือเป็นกรรมหนักที่แพทย์ไม่ควรทา


๒. การพิจารณาการใช้โวหารในวรรณคดีและวรรณกรรม
๒.๑ การสรรคา
การสรรคาในวรรณคดีถือเป็นสิ่งหนึ่งที่สาคัญ เพราะจะสื่อถือ อารมณ์ ความคิด ความรู้สึกของตัวละครได้
อย่างชัดเจนงดงาม

๒.๑.๑ เลือกให้คำให้ถูกต้องตำมควำมหมำยที่ต้องกำร
ในบทประพันธ์นี้ กวีได้เลือกใช้คาศัพท์ที่สามารถถ่ายทอดความรู้สึกนึกคิดให้ผู้อ่านเข้าใจได้อย่าง
ตรงไปตรงมา ไม่จาเป็นต้องมีความหมายโดยนัยให้มากความ เช่น

แต่สักเป็นแพทย์ได้ คัมภีร์ไสยไม่จาเป็น
ครูนั้นไม่ควรเรียน จะนาตนให้หลงทาง

จากตัวอย่างคาที่ขีดเส้นใต้ สังเกตได้ว่า มีความหมายตรงตัว ซึง่ คัมภีร์ไสย มีความหมายว่า คัมภีร์


อถรรพเวทของอินเดีย ซึ่งมีเนื้อหาส่วนหนึ่งเกี่ยวกับการรักษาโรค ทาให้เกิดความกระชับ คาประพันธ์ไม่
ยืดเยื้อ

๒.๑.๒ กำรเลือกใช้คำให้เหมำะสมแก่ลักษณะของคำประพันธ์
บทประพันธ์นี้เป็นร้อยกรอง กาพย์ยานี ๑๑ ดังนั้นคาประพันธ์วรรคด้านหน้าจึงต้องมี ๕ คา และ
วรรคด้านหลังต้องมี ๖ คา เช่น

เปรียบแพทย์คือทหาร อันชานาญรู้ลาเนา
ข้าศึกมาอย่าใจเบา ห้อมล้อมรอบทุกทิศา

จากตัวอย่างคาประพันธ์ข้างบน สังเกตได้ว่ากวีเลือกใช้ กาพย์ยานี ๑๑ ซึ่งวรรคหน้าต้องมี ๕ คา


วรรคหลังต้องมี ๖ คา ซึ่งตรงตามหลักของกาพย์ยานี ๑๑ ทุกประการ

๒.๒ การเรียบเรียงคา
คือการที่เรานาใจความสาคัญไปไว้ท้ายสุดของประโยค เป็นการวางลาดับเนื้อหาให้มีความกระชับ เข้าใจ
ง่ายและตรงกับวัตถุประสงค์ของกวี โดยที่อาจจะเริ่มเรื่องด้วยเรื่องธรรดาก่อน แล้วค่อยเข้มข้นขึ้นเรื่อย ๆ จนถึง
ตอนสุดท้าย เช่น

ตัวอย่างที่ ๑
รู้น้อยอย่าบังอาจ หมิ่นประมาทในโรคา
แรงโรคว่าแรงยา มิควรถือคือแรงกรรม


ตัวอย่างที่ ๒
ใช่โรคสิ่งเดียวดาย จะพลันหายในโรคา
ต่างเนื้อก็ต่ ่างยา จะชอบโรคอันแปรปรวน

๒.๓ กำรใช้โวหำร
คือกลวิธีการใช้ภาษาในรูปแบบต่าง ๆ เพื่อให้ผู้อ่านเกิดความเข้าใจที่ลึกซึ้งและชัดเจนยิ่งขึ้น โดยโวหารที่
ถูกนามาใช้อย่างมากคืออุปมาโวหารและอุปลักษณ์โวหาร ทาให้การบรรยายเนื้อหาทางการแพทย์ในงานเขียนเรื่อง
นี้เข้าใจง่ายมากขึ้น จึงถือเป็นอีกหนึ่งจุดเด่นของวรรณกรรมเรื่องนี้
๒.๓.๑ อุปมำโวหำร
คือการเปรียบเทียบสิ่งหนึ่งเหมือนอีกสิ่งหนึ่ง ใช้เพื่อให้ผู้อ่านเกิดความเข้าใจที่กระจ่างชัดมากขึ้น
โดยใช้คาเช่น เปรียบ เหมือน ดังที่สามารถเห็นในหลายช่วงตอนอย่างในตัวอย่างด้านล่าง

ตัวอย่างที่ ๑
อนึ่งจะกล่าวสอน กายนครมีมากหลาย
ประเทียบเปรียบในกาย ทุกหญิงชายในโลกา

ตัวอย่างที่ ๒
เมื่ออ่อนรักษาได้ แก่แล้วไซร้ยากหนักหนา
ไข้นั้นอุปมา เหมือนเพลิงป่าไหม้ลุกลาม

๒.๓.๒ อุปลักษณ์โวหำร
คือการเปรียบเทียบสิ่งหนึ่งเป็นอีกสิ่งหนึ่ง ใช้เพื่อให้ทาให้ผู้อ่านเห็นภาพและเข้าใจมากขึ้นเช่นกัน
ซึ่งในวรรณกรรมนี้ สามารถเห็นการใช้อุปลักษณ์โวหารได้หลายจุด โดยใช้คาเช่น เปรียบ คือ ดังตัวอย่าง
ต่อไปนี้

ตัวอย่างที่ ๑
เปรียบแพทย์คือทหาร อันชานานรู้ลาเนา
ข้าศึกมาอย่างใจเบา ห้อมล้อมรอบทุกทิศา

ตัวอย่างที่ ๒
ปิตต คือวังหน้า เร่งรักษาเขม้นหมาย
อาหารอยู่ในกาย คือเสบียงเลี้ยงโยธา


การใช้อุปลักษณ์โวหารยังสามารถทาได้โดยใช้คาหนึ่งแสดงเป็นอีกสิ่งหนึ่งไปเลย ตัวอย่างเช่น
วรรคที่สองในกาพย์บทแรกที่กล่าวว่า กายนครมีมากหลาย ในที่นี้ ผู้แต่งเปรียบร่างกายของมนุษย์เป็นนคร
หรือเมืองเมืองหนึ่งซึ่งมีโรคต่าง ๆ เป็นข้าศึกนั่นเอง


๓. การอ่านและพิจารณาประโยชน์หรือคุณค่าในวรรณคดีและวรรณกรรม
๓.๑ คุณค่าทางปัญญา

๓.๑.๑ ให้ข้อคิดสำหรับกำรนำไปใช้ในชีวิตประจำวัน
ในคัมภีร์ฉันทศาสตร์ได้มีการกล่าวถึงจรรยาแพทย์และคุณสมบัติที่ไม่ดีของแพทย์ ไม่ว่าจะเป็น
ความประมาท ความเห็นแก่ตัว ความโลภ ความโอ้อวดหลงตัวเอง และการโทษผู้อื่น ดังนั้นการเป็นแพทย์
ที่ดีนั้นจึงจาเป็นต้องมีความรอบคอบ รับผิดชอบต่อหน้าที่ และยอมรับหากตนเองไม่สามารถทาได้ ซึ่งสิ่ง
เหล่ านี้ ห ากพิจ ารณาให้ ดีแล้ วนั้ น ก็เป็นสิ่ งที่ทุกคนในสั งคมพึงปฏิบัติในชีวิตประจาวัน ไม่เพีียงแต่ผู้ที่
ประกอบวิชาชีพแพทย์เท่านั้น ดังที่เห็นได้ดังตัวอย่าง

บางทีรู้มิทัน ด้วยโรคนั้นใช่วิสัย
ตน บ รู้ทิฏฐิใจ ถือว่ารู้ขืนกระทา
จบเรื่องที่ตนรู้ โรคนั้นสู้ว่าแรงกรรม
ไม่สิ้นสงสัยทา สุดมือม้วยน่าเสียดาย
บางทีก็มีชัย แต่ยาให้โรคนั้นหาย
ท่านกล่าวอภิปราย ว่าชอบโรคนั้นเป็นดี

๓.๑.๒ ให้ควำมรู้เรื่องศัพท์ทำงกำรแพทย์แผนโบรำณ
คัมภีร์ฉันทศาสตร์ แพทย์ศาสตร์สงเคราะห์เป็นตาราแพทย์ของไทยโบราณ ซึ่งรวบรวมการแพทย์
แผนโบราณจากตาราต่าง ๆ ที่สืบทอดมาหลายชั่วอายุคน ดังนั้นคาศัพท์ที่ใช้ภายในคัมภีร์ฉันทศาสตร์จึง
เป็นคาโบราณซึ่งอาจแตกต่างคาที่ใช้ในทางการแพทย์ปัจจุบัน ตัวอย่างเช่น ปิตต หมายถึง น้าดีจากตับ เส
มหา หมายถึง เสมหะ เป็นต้น

๓.๒ คุณค่ำทำงศีลธรรม
คัมภีร์ฉันทศาสตร์ไม่เพียงให้ความรู้ในทางการแพทย์ แต่ยังให้คติสอนใจและข้อคิดในแง่คุณธรรมและ
จริยธรรมที่ผู้ประกอบวิชาชีพแพทย์พึงมี ไม่ว่าจะเป็นการไม่ลองยากับคนไข้ การเปิดโอกาสให้แพทย์คนอื่นรักษา
การไม่โลภ การไม่ประมาท และการไม่โอ้อวดหลงตนเอง

๓.๓ คุณค่ำทำงวัฒนธรรม

๓.๓.๑ สะท้อนให้เห็นควำมเชื่อของสังคมไทย
คัมภีร์ฉันทศาสตร์นอกจากจะให้ความรู้เกี่ยวการแพทย์แล้ว ยังได้แสดงให้เห็นถึงความเชื่อใน
พระพุทธศาสนาและไสยศาสตร์ของคนในสมัยก่อนอีกด้วย ซึ่งทาให้เป็นที่ปฏิเสธไม่ได้ว่าความเชื่อเหล่านี้
ได้อยู่คู่กับคนไทยมาอย่างช้านาน ดังที่เห็นได้ในตัวอย่างต่อไปนี้


ผู้ใดจะเรียนรู้ พิเคราะห์ดูผู้อาจารย์
เที่ยงแท้ว่าพิสดาร ทั้งพุทธไสยจึ่งควรเรียน
แต่สักเป็นแพทย์ได้ คัมภีร์ไสยไม่จาเนียร
ครูนั้นไม่ควรเรียน จะนาตนให้หลงทาง


บรรณำนุกรม
ศึกษาธิการ, กระทรวง. สานักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. หนังสือเรียน รำยวิชำพื้นฐำน ภำษำไทย
วรรณคดีวิจักษ์ ชั้นมัธยมศึกษำปีที่ ๕ กลุ่มสำระกำรเรียนรู้ภำษำไทย. ลาดพร้าว : โรงพิมพ์ สกสค.,
พ.ศ. ๒๕๕๕. ๑๓๑

You might also like