You are on page 1of 18

รายงานเชิงวิชาการ

การอ่านและพิจารณาวรรณคดีเรื่อง ลิลิตตะเลงพ่าย

โดย

นางสาวสริตา จันทร์โอธาร ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5/1 เลขที่ 1


นายพีระพัศ จริยะรัตนรัชต์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5/1 เลขที่ 3
นางสาวปันดา กมลศักดาวิกุล ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5/1 เลขที่ 7
นางสาวบุญสิตา พวงกุหลาบ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5/1 เลขที่ 16

เสนอ

อ.พนมศักดิ์ มนูญปรัชญาภรณ์
ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2561
โรงเรียนสาธิตนานาชาติ มหาวิทยาลัยมหิดล

รายงานนี้เป็นส่วนหนึ่งของกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้โครงงานเป็นฐาน (Project Based Learning)


รายวิชาภาษาไทยและวัฒนธรรม ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5
คำนำ

รายงานเล่มนี้เป็นส่วนหนึ่งของวิชาภาษาไทยระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๕ จัดทำขึ้นเพื่อจุดประสงค์ ในการ


วิเคราะห์และพิจารณาวรรณคดี เรื่อง ลิลิตตะเลงพ่าย ทางคณะผู้จัดทำต้องการจะนำเสนอ ข้อมูลเชิงวิชาการไม่ว่า
จะเป็นทางด้านเนื้อเรื่อง, กลวิธีในการประพันธ์หรือแม้กระทั่งคุณค่าที่วรรณคดี เรื่องนี้ได้มอบให้ผู้อ่านและหวังเป็น
อย่างยิ่งว่าข้อมูลในรายงานเล่มนี้จะสามารถให้ประโยชน์แก่ผู้ที่สนใจ และต้องการทำการศึกษาเกี่ยวกับวรรณคดี
เรื่อง ลิลิตตะเลงพ่าย ได้ไม่มากก็น้อยหากทางคณะผู้จัดทำได้ ทำสิ่งผิดพลาดประการใด ต้องขออภัยมา ณ ที่นี้
และขอน้อมรับทุกคำแนะนำไปปรับปรุง
ทั้งนี้ รายงานเล่มนี้สำเร็จได้ด้วยความช่วยเหลือของ อาจารย์พนมศักดิ์ มนูญปรัชญาภรณ์ ทางคณะ
ผู้จัดทำขอขอบพระคุณอาจารย์ที่ช่วยเป็นผู้ให้คำแนะนำและข้อเสนอแนะเพื่อที่จะให้คณะผู้จัดทำนำกลับ ไปแก้ไข
รายงานเล่มนี้ได้สำเร็จลุล่วง

คณะผู้จัดทำ
สารบัญ

คำนำ

การอ่านและพิจารณาเนื้อหาและกลวิธีในวรรณคดีและวรรณกรรม 1
1.1 เรื่องย่อ 1
1.2 โครงเรื่อง 2
1.3 ตัวละคร 2
1.4 ฉากท้องเรื่อง 3
1.5 บทเจรจาหรือรำพึงรำพัน 4
1.6 แก่นเรื่องหรือสารัตถะของเรื่อง 4
2. การอ่านและพิจารณาเนื้อหาการใช้ภาษาในวรรณคดีและวรรณกรรม 5
2.1 สรรคำ 5
2.2 การเรียบเรียงคำ 7
2.3 การใช้โวหาร 11
3. การอ่านและพิจารณาประโยชน์หรือคุณค่าในวรรณคดีและวรรณกรรม 12
3.1 คุณค่าด้านอารมณ์ 12
3.2 คุณค่าด้านอื่น ๆ 13
บรรณานุกรม 15
1. การอ่านและพิจารณาเนื้อหาและกลวิธีในวรรณคดีและวรรณกรรม

1.1 เรื่องย่อ
เริ่มต้นจากข่าวที่ว่าสมเด็จพระมหาธรรมราชาได้ทรงสวรรคต เมื่อข่าวนี้ได้ยินไปถึงหูของพระเจ้าหงสาวดี
นันทบุเรง พระองค์จึงคิดได้ว่าเหตุการณ์นี้อาจทำให้เกิดการแย่งราชบัลลังก์กันระหว่างสมเด็จพระนเรศวรกับ
สมเด็จพระเอกาทศรศถ คิดได้ดังนั้นพระเจ้าหงสาวดีนันทบุเรงจึงมีรับสั่งให้จัดเตรียมกองทัพโจมตีกรุงศรีอยุธยานำ
โดยโอรสซึ่งคือพระมหาอุปราชาและพระมหาราชเจ้านครเชียงใหม่เพื่อเป็นการประกาศเตือนสงครามไว้ก่อน
ความคิดนี้ได้รับการเห็นชอบจากเหล่าขุนนางทั้งหลายเป็นอย่างมาก หากแต่พระมหาอุปราชาเพิ่งได้รับคำทำนาย
จากโหรมาว่าพระองค์กำลังจะมีดวงถึงฆาตจึงกราบทูลพระบิดาไปเช่นนั้น ทางพระเจ้าหงสาวดีนันทบุเรงทราบเช่น
นั้นก็ทรงพูดประชดประชันทำให้พระมหาอุปราชาเกรงและไม่กล้าขัดพระทัยพระบิดา จำใจต้องยกทัพไปที่ กรุงศรี
อยุธยาในที่สุด พระเจ้าหงสาวดีนันทบุเรงได้ประทานโอวาท ๘ ประการแก่พระมหาอุปราชาดังนี้
๑. อย่าหูเบาเชื่ออะไรง่าย ๆ
๒. อย่าตามใจตนเอง
๓. ควรเอาใจทหาร
๔. อย่าไว้ใจคนขี้ขลาด
๕. ควรศึกษาการจัดทัพให้รอบรู้
๖. ศึกษาตำราพิชัยสงคราม
๗. ให้รางวัลทหารที่ดี
๘. รู้จักพากเพียร
อีกด้านหนึ่งสมเด็จพระนเรศวรกำลังจัดเตรียมทัพเพื่อที่จะไปตีกัมพูชาเป็นการแก้แค้นที่ทางฝ่ายนั้นเคย
พยายามจะมาตีไทยระหว่างศึกกับพม่า แต่แล้วเมื่อระองค์ทราบข่าวที่พม่ายกทัพมาก็ต้องถอยออกจากกัมพูชา
เพื่อที่ จะกลับมาเผชิญกับพม่าทันที พระมหาอุปราชายกทัพมาด้วยทหาร ๕ แสนคน เข้ายึดกาญจณบุรีได้อย่าง
ง่ายดาย แล้วเดินทัพต่อไปทางพนมทวน จากนั้นได้เกิดลมเวรัมภาซึ่งเป็นลางร้ายพัดจนัตรพระมหาอุปราชาหกลง
มา พระองค์ตัดสินใจตั้งค่ายพักที่ตำบลตระพังตรุ ฝั่งของสมเด็จพระนเรศวรและสมเด็จพระเอกาทศรถ ณ ขณะนั้น
ก็ กำลังเคลื่อนทัพทางน้ำมาขึ้นบกที่อำเภอป่าโมกข์บังเกิดศุภนิมิตขึ้น พระองค์เคลื่อนต่อไปสุดท้ายตั้งทัพพักที่
อำเภอ หนองสาหร่าย จากนั้นพระนเรศวรได้ทราบว่ามีฝั่งพม่ามาลาดตระเวณอยู่แถวๆนี้ พระองค์จึงคิดว่าไม่ช้าก็
เร็ว กรุงศรีอยุธยาจะถูกตีแน่ พระนเรศวรทรงรับสั่งให้กองทัพหน้าบุกเข้าไปโจมตีพม่าและถอยออกมาเพื่อลวงให้
อีกฝั่ง ประมาท แต่แล้วช้างที่พระนเรศวรและพระเอกาทศรถดันเกิดตกมันวิ่งมั่วไปจนอยู่กลางวงทัพของพม่า
นายกอง ต่างก็ตามกันมาไม่ทัน ดังนั้นพระนเรศวรจึงคิดท้าพระมหาอุปราชาให้ทำยุทธหัตถีกัน สุดท้ายพระนเรศวร

1
ได้รับ ชัยชนะเช่นเดียวกับพระเอกาทศรถที่สู้กับมังจาชโร ศึกครั้งนี้ทัพพม่าได้แตกพ่ายแพ้กลับไป พระนเรศวรยังได้
ตรัส สั่งให้มีการสร้างสถูปเจดีย์ขึ้นหลังจากศึกเพื่อเป็นการให้เกียรติพระมหาอุปราชา

1.2 โครงเรื่อง
เรื่องราวเกี่ยวกับพระมหากษัตริย์ของทั้งสองเมือง โดยมีเรื่องราวโดย ละเอียดเกี่ยวกับการวางแผนและ
ยุทธวิธีของทั้งสองฝั่ง

1.3 ตัวละคร
ฝ่ายไทย
● สมเด็จพระนเรศวรมหาราช (พระองค์ดำ)
สมเด็จพระนเรศวรมหาราชเป็นกษัตริย์องค์ที่ ๑๘ ของกรุงศรีอยุธยา พระองค์เป็นกษัตริย์นักรบที่เก่งกาจ
ได้ประกาศอิสรภาพจากประเทศพม่าภายหลังจากที่ตกเป็นเมืองขึ้น ๑๕ ปี ทำการรบชนะพม่าทุกครั้งเช่น การทำ
สงครามยุตถหัตถี ทำให้พม่าเกรงกลัวไม่กล้ามารุกรานอีกเป็นเวลากว่า ๑oo ปี
● สมเด็จพระเอกาทศรถ (พระองค์ขาว)
สมเด็จพระเอกาทศรถเป็นน้องของสมเด็จพระนเรศวรมหาราชได้ทรงออกศึกทำสงครามร่วมกับ สมเด็จ
พระนเรศวรมหาราชและได้ทรงครองราชย์เป็นกษัตริย์ ๑๙ ต่อจากสมเด็จพระนเรศวรมหาราช หลังจากครองราชย์
ได้ ๕ ปี ก็สวรรคตเมื่อพระชนมายุได้ ๕o พรรษาเศษ
● พระมหาธรรมราชา
พระมหาธรรมราชามีชื่อเดิมว่า ขุนพิเรนทร์เทพเจ้ากรมตำรวจรักษาพระองค์ เมื่อปี พ.ศ.๒o๙๑ ทรงได้รับ
สถาปนาขึ้นเป็นสมเด็จพระมหาธรรมราชาครองเมืองพิษณุโลกและหัวเมืองฝ่ายเหนือ พระองค์มี พระราชโอรสและ
พระราชธิดารวมกัน ๓ พระองค์ คือพระสุพรรณเทวี สมเด็จพระนเรศวรมหาราช และสมเด็จ พระเอกาทศรถ
● สมเด็จพระวันรัต
สมเด็จพระวันรัตมีบทบาทย์สำคัญในการทูลขอพระราชทายอภัยโทษให้กับแม่ทัพนายกองในความผิดที่
ตามเสด็จสมเด็จพระนเรศวรมหาราชไม่ทันในการบกับพม่าทำให้ทุกคนได้รับการยกเว้นโทษไม่ต้องถูกประหารชีวิต

ฝ่ายพม่า
● พระเจ้าหงสาวดี (นันทบุเรง)

2
พระเจ้าหงสาวดี (นันทบุเรง) เดิมชื่อมังชัยสิงห์ราช ทรงเป็นพระโอรสของพระเจ้าบุเรงนองได้ทรงขึ้นเป็น
กษัตริย์ของพม่าต่อจากพระเจ้าบุเรงนอง แต่พระองค์ไม่สามารถสร้างความยิ่งใหญ่ให้กับพม่าได้และสุดท้ายถูกลอบ
วางยาพิษจนสิ้นพระชนม์
● พระมหาอุปราชา
พระมหาอุปราชาเป็นพนะโอรสของพระเจ้าหงสาวดี (นันทบุเรง) ทรงเป็นเพื่อนเล่นสมัยยังเยาว์วัยของ
สมเด็จพระนเรศวรมหาราช ในสมัยที่พระองค์ประทับอยู่ที่กรุงหงสาวดี พระองค์ได้ทำสงครามหลายครั้งและ ครั้ง
สุดท้ายได้ยกทัพ ๕ooooo มาตีประเทศไทยและพระองค์สิ้นพระชนม์ในการทำยุตถหัตถี

1.4 ฉากท้องเรื่อง
ฉากท้องเรื่องตามที่ปรากฏในวรรณคดีเรื่องลิลิตตะเลงพ่ายนั้นได้มีการอ้างอิงสถานที่จริงโดยเป็น
เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นภายในพม่าและการเดินทัพของพระมหาอุปราชาจากพม่าไปสู่กาญจนบุรี รวมถึงการทำ ยุทธ
หัตถีระหว่างพระมหาอุปราชาและพระนเรศวรมหาราช ผู้แต่งได้ทำการพรรณนาฉากและ บรรยากาศของเรื่อง ได้
สมจริง โดยฉากท้องเรื่องทั้งหมดมีดังนี้
· กรุงหงสาวดี เมืองหลวงของพม่า
· อยุธยา เมืองหลวงของไทย
· พลับพลาค่ายหลวง ตำบลป่าโมก ที่พระนเรศวรทรงพระสุบิน
· ด่านเจดีย์สามองค์ เขตแดนระหว่างไทยกับพม่า อำเภอสังขละบุรี กาญจนบุรี
· กาญจนบุรี เมืองหน้าด่านของไทยที่พระมหาอุปราชายกทัพเข้ามาก่อน
· ตำบลตระพังตรุ สุพรรณบุรี ที่พระนเรศวรทรงทำยุทธหัตถีกับพระมหาอุปราชา

3
1.5 บทเจรจาหรือรำพึงรำพัน
บทรำพึงรำพันของพระมหาอุปราชาถึงนาง
มาเดียวเปลี่ยวอกอ้า อายสู
สถิตอยู่เอ้องค์ดู ละห้อย
พิศโพ้นพฤกษ์พบู บานเบิก ใจนา
พลางคะนึงนุชน้อย แน่งเนื้อนวลสงวน
สลัดไดใดสลัดน้อง แหนงนอน ไพรฤๅ
เพราะเพื่อมาราญรอน เศิกไสร้
สละสละสมร เสมอชื่อ ไม้นา
นึกระกำนามไม้ แม่นแม้นทรวงเรียม
สายหยุดหยุดกลิ่นฟุ้ง ยามสาย
สายบ่หยุดเสน่ห์หาย ห่างเศร้า
กี่คืนกี่วันวาย วางเทวษ ราแม่
ถวิลทุกขวบค่ำเช้า หยุดได้ฉันใด
ฯลฯ
คำประพันธ์ข้างต้นเป็นบทนิราศ หรือ บทพรรณนาการเดินทางขณะที่พระมหาอุปราชาจำเป็นต้องจากนางสนม
เพื่อไปตีกรุงศรีอยุธยา บทนิราศนี้แสดงถึงทั้งความเศร้า ความรัก ความอาวรณ์ ความคิดถึงที่พระมหาอุปราชา มี
ต่อนางสนม ผู้ประพันธ์ได้นำเอาธรรมชาติที่พบเจอระหว่างการเดินทางมาประพันธ์เชื่อมโยงกับความรู้สึกของ พระ
มหาอุปราชา รวมถึงการใช้คำถามเชิงวาทศิลป์และ การเล่นคำซ้ำ

1.6 แก่นเรื่องหรือสารัตถะของเรื่อง
ผู้ประพันธ์เรื่องลิลิตตะเลงพ่ายต้องการสะท้อนให้เห็นถึงความรักชาติ ความกล้าหาญและ ความเสียสละ
ของบรรพบุรุษไทย นอกจากนี้ยังทำให้ผู้อ่านตระหนักถึงพระราชภารกิจของกษัตริย์ไทย ในสมัยก่อนที่ต้องทำ
สงครามปกป้องอธิปไตยของไทยและปกครองบ้านเมืองให้ร่มเย็นเป็นสุข ซึ่งวรรณคดีเรื่องนี้ถูกใช้เป็นการปลุกใจ ให้
คนไทยรักและเทิดทูนแผ่นดินไทยมากยิ่งขึ้น

4
2. การอ่านและพิจารณาเนื้อหาการใช้ภาษาในวรรณคดีและวรรณกรรม
2.1 สรรคำ
2.1.1 การใช้คำที่เหมาะกับเนื้อเรื่องและฐานะของบุคคล
เบื้องนั้นนฤนาถผู้ สยามินทร์
เบี่ยงพระมาลาผิน ห่อนพ้อง
ศัสตราวุธอรินทร์ ฤๅถูก องค์เอย
เพราะพระหัตถ์หากป้อง ปัดด้วยขอทรง

โคลงบทนี้ได้เลือกใช้คำที่ให้เกียรติอย่างสูงเนื่องจากเป็นบทเกี่ยวกับพระมหากษัตริย์สามารถทำให้เห็น
ภาพได้ชัดและมีความไพเราะ เช่น
นฤนาถ หมายถึง กษัตริย์
สยามินทร์ หมายถึง กษัตริย์แห่งสยาม
พระมาลา หมายถึง หมวก
พระหัตถ์ หมายถึง มือ

2.1.2 การใช้คำโดยคำนึงถึงเสียง
2.1.2.1 มีการใช้คำสัมผัสสระและพยัญชนะในคำประพันธ์ทุกบทและมีบางบทที่ใช้คำสัมผัส
พยัญชนะแทบทั้งวรรค เช่น
กรตระกองกอดแก้ว เรียมจักร้างรสแคล้ว
คลาดเคล้าคลาสมร
จำใจจรจำจากสร้อย อยู่แม่อย่าละห้อย
ห่อนช้าคืนสม แม่แล

2.1.2.2 ใช้คำเลียนเสียงธรรมชาติ เช่น


“….เจ้าพระยาไชยานุภาพ เจ้าพระยาปราบไตรจักร ตรับตระหนักสำเนียง เสียงฆ้องกลองปืนศึก
อึกเอิกก้องกาหล เร่งคำรนเรียกมัน ชันหู ชูหางเล่น แปร้นแปร๋แลคะไขว่.”

2.1.2.3 ใช้คำอัพภาส คือ การซ้ำอักษรลงหน้าคำศัพท์เพราะความไพเราะ เช่น


“…สาดปืนไฟยะแย้ง แผลงปืนพิษยะยุ่ง พุ่งหอกใหญ่คะคว้าง ขว้างหอกซัดคะไขว่ไล่คะคลุกบุก
บัน เงื้อดาบฟันฉะฉาด ง่าง้าวฝาดฉะฉับ…”
5
2.1.3 การใช้คำโดยคำนึงถึงคำพ้องเสียง และคำซ้ำ สร้างความน่าพิศวงในบทประพันธ์จากการนำคำพ้อง
ความหมายมา รวมกัน และสร้างอารมณ์ การะทบ ใจผู้อ่านด้วยการเปรยว่า ดอกสายหยุดตอนบ่ายก็หยุด
ส่งกลิ่น แต่ความรักนั้นถึงบ่ายแล้วก็ยังไม่หยุด
สายหยุดหยุดกลิ่นฟุ้ง ยามสาย
สายบ่หยุดเสน่ห์หาย ห่างเศร้า
กี่คืนกี่วันวาย วางเทวษ ราแม่
ถวิลทุกขวบค่ำเช้า หยุดได้ฉันใด

6
2.2 การเรียบเรียงคำ
ลักษณะการเรียบเรียงคำหรือการประพันธ์ของลิลิตตะเลงพ่ายนั้นถูกแต่งให้เป็นลิลิตสุภาพประกอบด้วย
ร่ายสุภาพและโคลงสุภาพ โคลงก็จะมีแยกออกไปอีกเป็นโคลงสองสุภาพ โคลงสามสุภาพ และโคลงสี่สุภาพ
ลักษณะทั้งหลายถูกเลือกสรรมาแต่งสลับกันและเชื่อมสัมผัสไปเรื่อยๆระหว่างบท

ร่ายสุภาพ

ร่ายสุภาพเป็นร่ายชนิดหนึ่งที่ ๑ วรรค มี ๕ คำ ๑ บท มี ๕ วรรคขึ้นไป มีการส่งสัมผัสท้ายวรรคหน้า และ


มีคำที่ ๑ ๒ หรือ ๓ ในวรรคถัดไปเป็นตัวรับ เวลาจบจะต้องจบด้วยโคลงสองสุภาพเท่านั้น

ตัวอย่าง

ศรีสวัสดิเดชะ ชนะราชอรินทร์ ยินพระยศเกริกเกรียง เพียงพกแผ่นฟากฟ้า

หล้าหล่มเลื่องชัยเชวง เกรงพระเกียรติระย่อ ฝ่อใจห้าวบมิหาญ ลาญใจแกล้วบมิกล้า

บค้าอาตม์ออกรงค์ บคงอาตม์ออกฤทธิ์ ท้าวทั่วทิศทั่วเทศ ไท้ทุกเขตทุกด้าว

น้าวมกุฎมานบ น้าวพิภพมานอบ เถลิงพระเกียรติฟุ้งฟ้า ลือตรลบแหล่งหล้า

โลกล้วนสดุดี

แผนผังและคำเอกคำโท

7
โคลงสองสุภาพ

สำหรับโคลงสองสุภาพนั้นหนึ่งบทจะมี ๓ วรรค วรรคที่ ๑ และ ๒ จะสามารถมีได้ ๕ คำ วรรคที่ ๓ มีเพียง ๔ คำ


รวมกันแล้ว ๑ บทจะมี ๑๔ คำ สามารถเติมคำสร้อยตอนท้ายได้ ๒ คำ

ตัวอย่าง

พระฟังความลูกท้าว ลาเสด็จศึกด้าว
ดั่งเบื้องบรรหาร

แผนผังคำเอกคำโท

8
โคลงสามสุภาพ
ลักษณะของโคลงสามสุภาพนั้นจะประกอบด้วยหนึ่งบทมีได้ ๔ วรรค ๑ วรรคมี ๕ คำ ยกเว้นวรรคสุดท้าย
จะมีเพียง ๔ คำ สามารถใส่คำสร้อยตอนท้ายได้อีก ๒ คำ

ตัวอย่าง

ล่วงลุด่านเจดีย์ สามองค์มีแห่งหั้น
แดนต่อแดนกันนั้น เพื่อรู้ราวทาง

แผนผังคำเอกคำโท

9
โคลงสี่สุภาพ

โคลงสี่สุภาพมีลักษณะคือหนึ่งบทจะมี ๔ บาท ๑ บาทมี ๒ วรรค วรรคหน้าและวรรคหลังถูกแบ่งเป็นวรรคหน้ามีได้


๕ คำ วรรคหลังมีเพียง ๒ คำ ยกเว้นบาท ๔ ที่มีวรรคหลัง ๔ คำ ทั้งบาทที่ ๑ และ บทที่ ๓ ยังสามารถมีคำสร้อย
เพิ่มได้อีกบาทละ ๒ คำ

ตัวอย่าง

กระเต็นกระตั้วตื่น แตกคน
ยูงย่องยอดยูงยล โยกย้าย
นกเปล้านกปลีปน ปลอมแปลก กันนา
คล่ำคล่ำคลิ้งโคลงคล้าย คู่เคล้าคลอเคลีย

แผนผังและคำเอกคำโท

10
2.3 การใช้โวหาร
- อุปมาโวหาร
บุญเจ้าจอมภพขึ้น แผ่นสยาม
แสยงพระยศยินขาม ขาดแกล้ว
พระฤทธิ์ดั่งฤทธิ์ราม รอนราพณ์ แลฤๅ
ราญอริราชแผ้ว แผกแพ้ทุกภาย

อุปมาโวหาร หมายถึง การเขียนที่ยกสิ่ง ๆ หนึ่งขึ้นมาประกอบข้อความเพื่อเปรียบเทียบสิ่งหนึ่ง เหมือนกับ


อีกสิ่งหนึ่ง ให้เกิดความเข้าใจและเห็นภาพมากขึ้น โดยใช้คำเชื่อมได้หลากหลาย เช่น เหมือน ดุจ ดั่ง ราว ประดุจ
เฉก ปาน เล่ห์ เพี้ยง ฯลฯ แต่บางครั้งอาจจะไม่มีคำเชื่อมก็เป็นได้ จากคำประพันธ์ข้างต้น สามารถสังเกต เห็นการ
ใช้อุปมาโวหารได้ชัดจากคำว่า ดั่ง ที่อยู่วรรคแรกของบาทที่สาม ประพันธ์ไว้ว่า พระฤทธิ์ดั่งฤทธิ์ราม ซึ่งมี
ความหมายว่าสมเด็จพระนเรศวรมีฤทธิ์เหมือนพระรามยามต่อสู้กับทศกัณฐ์

- พรรณนาโวหาร
พลอยพล้ำเพลียกถ้าท่าน ในรณ
บัดราชฟาดแสงพล พ่ายฟ้อน
พระเดชพระแสดงดล เผด็จคู่ เข็ญแฮ
ถนัดพระอังสาข้อน ขาดด้าวโดยขวา

พรรณนาโวหาร หมายถึง โวหารที่กล่าวถึงความงามของสถานที่ ธรรมชาติ หรือความรู้สึก ของตัวผู้พูดเอง ทำให้


ผู้อ่านเกิดจินตภาพ อารมณ์ ความรู้สึกร่วมกับบทประพันธ์นั้น ๆ จากคำประพันธ์นี้ได้มีการใช้คำแสดงให้เห็น ภาพ
การต่อสู้อย่างกล้าหาญระหว่างการสู้รบของฝั่งพระนเรศวรและพระมหาอุปราชา ช้างทรงของพระนเรศวรได้ล่าง
พระนเรศวรฟันพระมหาอุปราชด้วยพระแสงของ้าวขาดสะพายแล่งสิ้นพระชนม์บนคอช้าง

- อติพจน์โวหาร
พระคุณตวงเพียบพื้น ภูวดล
เต็มตรลอดแหล่งบน บ่อนใต้
พระเกิดพระก่อชนม์ ชุมชีพ มานา
เกรง บ่ ทันลูกได้ กลับเต้าตอบสนอง

11
อติพจน์โวหาร หมายถึง การกล่าวเกินจริง เพื่อสร้างอารมณ์และความรู้สึกที่รุนแรงเกินจริง จากบทรำพึงนี้
พระมหาอุปราชาเจรจากับพระเจ้านันทบุเรง ซึ่งคือพระราชบิดา กล่าวว่าพระคุณของบิดานั้นมีมากกว่าผืนแผ่นดิน
และยิ่งใหญ่กว่าสวรรค์ชั้นฟ้าหรือบาดาล ซึ่งเป็นการกล่าวเกินจริง

3. การอ่านและพิจารณาประโยชน์หรือคุณค่าในวรรณคดีและวรรณกรรม
3.1 คุณค่าด้านอารมณ์

ตัวอย่างเช่น
มาเดียวเปลี่ยวอกอ้า อายสู
สถิตอยู่เอ้องค์ดู ละห้อย
พิศโพ้นพฤกษ์พบู บานเบิก ใจนา
พลางคะนึงนุชน้อย แน่งเนื้อนวลสงวน

จากบทประพันธ์นี้ แสดงให้เห็นถึงอารมณ์รัก คิดถึงและอาลัยของพระมหาอุปราชาที่รู้สึกต่อพระสนม


พระมหาอุปราชาจำต้องจากคนรักมายกทัพต่อสู้กับไทย เนื่องจากขัดคำสั่งของพระเจ้าหงสาวดี นันทบุเรง ไม่ได้ ซึ่ง
บทประพันธ์นี้ทำให้ผู้อ่านคล้อยตามและมีความรู้สึกร่วมกันกับพระมหาอุปราชา

3.2 คุณค่าด้านคุณธรรม
เรื่องลิลิตตะเลงพ่ายแสดงให้เห็นถึงความกตัญญูกตเวทีดั่งเช่นบทที่มหาอุปราชารำพึงรำพันกับตัวเองว่า

ณรงค์นเรศด้าว ดัสกร
ใครจักอาจออกรอน รบสู้
เสียดายแผ่นดินมอญ มอด ม้วยแฮ
เหตูบ่มีมือผู้ อื่นต้านทานเข็ญ

แสดงให้เห็นว่านอกจากจะห่วงใยพระบิดาว่าใครจะมารบแทนพระองค์แล้ว ยังแสดงถึงความกตัญญูต่อ
บ้านเมือง กลัวจะมีสิ่งร้ายเกิดขึ้นกับบ้านเมืองอีกด้วย นี่ยังแสดงให้เห็นถึงความซื่อสัตย์ของบรรดาทหารและ ขุนกรี
ที่จงรักภักดีต่อชาติบ้านเมือง ไม่มีใครทรยศต่อบ้านเมืองตัวเองเลย ซึ่งจะช่วยให้แผ่นดินเป็นปึกแผ่นมั่นคง

12
3.3 คุณค่าด้านอื่น ๆ

3.3.1 คุณค่าด้านวรรณศิลป์
วรรณคดีเรื่องลิลิตตะเลงพ่ายเป็นต้นแบบของการแต่งวรรณคดีเฉลิมพระเกียรติที่สมบูรณ์ครบถ้วนทั้งด้าน
เนื้อหาการใช้สำนวนโวหารและกลวิธีการแต่ง การที่ผู้แต่งนำข้อเท็จจริงจากประวิติศาสตร์มาผสมผสานกับเนื้อหาที่
สร้างสรรค์จากจินตนาการอย่างกลมกลืนทำให้วรรณคดีเรื่องนี้มีความสมจริงมากยิ่งขึ้น อีกทั้งการเลือกสรรคำและ
โวหารที่ใช้อย่างประณีตและเหมาะสมก็ทำให้ผู้อ่านสามารถเข้าใจเนื้อหาของเรื่องได้โดยไม่ติดขัด ในด้านของการ
ดำเนินเนื้อหาวรรณคดีเรื่องลิลิตตะเลงพ่ายการดำเนินเรื่องที่สะเทือนอารมณ์และเร้าใจผู้อ่าน มีทั้งเหตุการณ์ยาม
ทุกข์โศกก็ใช้คำที่สื่ออารมณ์เศร้าได้อย่างลึกซึ้ง, เหตุการณ์ตอนกวีชมความงานของธรรมชาติ ก็สามารถสร้างความ
รื่นรมย์ให้แก่ผู้อ่านและเหตุการณ์ตอนทำศึกสงครามใช้คำที่แสดงความฮึกเหิมในการต่อสู้ ตัวอย่างเช่น

สองโจมสองจู่จ้วง บำรู
สองขัตติยสองขอชู เชิดด้ำ
กระลึงกระลอกดู ไวว่อง นักนา
ควาญขับคชแข่งค้ำ เข่นเขี้ยวในสนาม ฯ

3.3.2 คุณค่าด้านสังคม
เนื้อหาของวรรณคดีเรื่องนี้ได้รับการกลั่นกรองและเล่าอย่างดีโดยที่กวีพยายามคงข้อเท็จจริงใน
พงศาวดารไว้ทั้งหมดไม่ว่าจะเป็นจำนวนกองทัพหรือเส้นทางในการเดินทัพ แม้แต่ชื่อของแม่ทัพต่าง ๆ กวีก็ล้วนคง
ไว้เช่นเดียวกับที่ถูกบันทึกไว้ในประวัติศาสตร์
นอกจากนี้ยังสามารถแสดงถึงหลักจิตวิทยาและความเป็นผู้นำได้ในบางตอนของเรื่อง เช่น ตอนที่ เรื่องเล่า
ถึงฉากสมเด็จพระนเรศวรมหาราชและสมเด็จพระเอกาทศรถถูกสถานการณ์บังคับให้เข้าไปในวงล้อมของ ข้าศึก
สมเด็จพระนเรศวรมหาราชทรงมีสติคิดแก้ไขสถานการณ์โดยใช้กลวิธีเชิญชวนให้พระมหาอุปราชาออกมาทำ ศึก
ยุทธหัตถี พระองค์ตรัสเชิญโดยที่เริ่มจากการกล่าวสรรเสริญความยิ่งใหญ่และอำนาจของพระมหาอุปราชา จากนั้น
ก็กล่าวเพิ่มอีกว่าการสู้ด้วยยุทธหัตถีนั้นเป็นการละเล่นของกษัตริย์ชาตินักรบ การทำศึกยุทธหัตถีกับ สมเด็จพระ
นเรศวรมหาราชครั้งนี้จะต้องถูกเล่าลือไปอีกนานด้วยความกล้าหาญของพระอุปราชา เมื่อโดนพูดขนาด นั้นแล้ว
พระมหาอุปราชาจึงจำใจต้องทำศึกด้วยเพื่อปกป้องศักดิ์ศรีเชื้อสายกษัตริย์ของตนเอง ฉากนี้สามารถแสดง ถึงความ
ฉลาดและมีไหวพริบของสมเด็จพระนเรศวรมหาราชได้เป็นอย่างดี

13
อีกฉากหนึ่งเป็นฉากของแม่ทัพนายกองขอภัยโทษจากสมเด็จพระนเรศวรมหาราชที่เดินทัพตามมาไม่ทัน
แทนที่จะทำให้เรื่องดูแย่ กลับกลายเป็นว่าฉากนี้สนับสนุนให้ชัยชนะของสมเด็จพระนเรศวรมหาราชในครั้งนี้ดู
ยิ่งใหญ่ขึ้นมากกว่าเก่าเพราะท่านสามารถชนะศึกกับกองทัพพม่าได้ด้วยตัวคนเดียว สุดท้าสมเด็จพระนเรศวร-
มหาราชผ่อนความโกรธในพระองค์และลดหย่อนการลงโทษให้แก่เหล่าแม่ทัพนายกองทั้งหมด
ด้วยเหตุผลทั้งหมดที่กล่าวมาข้างต้น วรรณคดีเรื่องนี้ได้กลายเป็นเรื่องที่คนไทยนิยมอ่านมาจนถึงปัจจุบัน
และปลุกความรักชาติในตัวคนไทยที่ได้อ่าน มีการใช้วรรณคดีเรื่องนี้ไปในด้านต่างๆไม่ว่าจะเป็นการสอนแก่เหล่า
ทหารและเยาวชนหรือการถูกนำไปวิจัยอย่างลึกซึ้ง

14
บรรณานุกรม

กระทรวงศึกษาธิการ, กระทรวง. สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. หนังสือเรียน รายวิชาพื้นฐาน


ภาษาไทย วรรณคดีวิจักษ์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๕. ลาดพร้าว : โรงพิมพ์ สกสค. ๒๕๕๑. ๑๓๑ หน้า

ชนิดา ฉิมนาคพันธ์. ลิลิตตะเลงพ่าย [ออนไลน์].


เข้าถึงเมื่อวันที่ ๒๙ พฤษภาคม ๒๕๖๒. สืบค้นได้จาก
https://sites.google.com/site/lilittalengphay88/3-laksna-kha-praphanth

jasminebow. คุณค่าที่ได้รับจากเรื่องลิลิตตะเลงพ่าย [ออนไลน์].


เข้าถึงเมื่อวันที่ ๒๔ พฤษภาคม ๒๕๖๒. สืบค้นได้จาก
https://literaturethai.wordpress.com/2012/07/01/คุณค่าที่ได้รับจากเรื่-4/

kruaphichitblog. วิเคราะห์ลิลิตตะเลงพ่าย [ออนไลน์].


เข้าถึงเมื่อวันที่ ๒๙ พฤษภาคม ๒๕๖๒. สืบค้นได้จาก
https://teachertonthai.wordpress.com/2017/10/28/first-blog-post/

15

You might also like