You are on page 1of 14

การศึกษาการใช้รสยาเป็นเครื่องบ่งชี้สรรพคุณยาของหมอยาไทย*

กฤษดา ศรีหมตรี**
บทคัดย่อ
วัตถุประสงค์เพื่อศึกษาภูมิปัญญาของหมอยาไทยโบราณเรื่องรสยาที่ใช้บ่งบอกสรรพคุณของยาสมุนไพร
โดยเริ่มจากการวิเคราะห์ความหมาย ความเป็นมาของรสยาจากคัมภีร์ตาราการแพทย์แผนไทย ตาราการแพทย์
อายุรเวทและตาราการแพทย์แผนจีน แล้วจาแนกประเภทรสยาที่ใช้ในการบ่งบอกสรรพคุณของยาสมุนไพร และ
ประชุมกลุ่มย่อย (focus group discussion) ตรวจสอบและอภิปรายผล
ผลการศึกษาพบว่า 1) ความเป็นมาของรสยา การนารสยามาใช้เป็นเครื่องบ่งชี้สรรพคุณของยาสมุนไพร
เป็นความชาญฉลาดของหมอยาโบราณที่ได้เรียนรู้จากการสังเกต การลองถูกลองผิด ในการปรุงยาและการใช้ยา
สมุนไพรรักษาโรคจนค้นพบความสัมพันธ์ระหว่างสรรพคุณของยาสมุนไพรกับรส กลิ่น สัมผั ส และปฏิกิริยาของ
ร่างกาย จึงได้นาเอาข้อค้นพบดังกล่าวมาใช้เป็นเครื่องมือในการศึกษาบ่งชี้สรรพคุณยาเรียกรวมกันว่ารสยา 2) นิยาม
ของรสยา หมายถึง เครื่องบ่งชี้สรรพคุณของยาสมุนไพร ประกอบด้วย รสตามปุ่มรับรส (taste) กลิ่นรส (flavour)
สัมผัสในปาก และปฏิกิริยาของร่างกายที่มีตอ่ ยา ซึ่งตรงกับแนวคิดการแพทย์แผนจีนที่จัดว่ารสชาติที่รับรู้ได้ (actual
taste sensation) เป็นตัวแสดงคุณสมบัติที่แตกต่างกันของยารส มีจานวน 5 รส ได้แก่ เผ็ดฉุน เปรี้ยว หวาน เค็ม
ขม และตรงกับแนวคิดอายุรเวท ใช้รส (Relished) ที่รับรู้ได้ด้วยลิ้นที่รวมทั้งรสชาติที่รับรู้ได้ด้วยปุ่มรับรสและสิ่งที่
ลิ้นรับสัมผัสได้ เป็นเครื่องบ่งบอกสรรพคุณยา มี 6 รส ได้แก่ หวาน เค็ม เปรี้ย ว ขม เผ็ด ฝาด 3) การจาแนก
ประเภท รสยาที่ปรากฏในคัมภีร์การแพทย์แผนไทยมี 14 อย่าง จาแนกเป็น 4 ประเภท ได้แก่ รสตามปุ่มรับรส
(taste) 4 อย่าง คือ เปรี้ยว หวาน เค็ม ขม กลิ่นรส (flavor) 1 อย่าง คือ หอม สัมผัสในปาก (oral tactile) 5 อย่าง
คือ เผ็ด ฝาด เฝื่อน จืด มัน และปฏิกิริยาของร่างกาย 4 อย่าง คือ ร้อน เย็น สุขุม เมาเบื่อ 4) วิธีการการบ่งชี้
สรรพคุณยา ใช้วิธีการชิมครอบคลุมการตรวจสอบรสในส่วนที่เป็นรสตามปุ่มรับรส รสที่เป็นสัมผัสในปาก และใน
ระหว่างการชิมนั้นมีไอระเหยส่วนหนึ่งเข้าสู่โพรงจมูกจึงสามารถรับกลิ่นได้บางส่วน รวมทั้งตรวจสอบโดยการสังเกต
ปฏิกิริยาของร่างกายที่มีต่อยาด้วย
จากผลการศึกษาสะท้อนให้เห็นว่ารสยาที่ใช้ในการบ่งชี้สรรพคุณยาสมุนไพรของหมอยาไทยโบราณมิใช่
รสตามนิยามด้านวิทยาศาสตร์แต่เป็นภูมิปัญญาที่เกิดขึ้นในระหว่างกระบวนการเตรียมยารักษาโรค และเป็นวิธีการ
บ่งชี้สรรพคุณยาที่ลดการพึ่งพาเทคโนโลยีที่มีความสลับซับซ้อน ต้นทุนสูง สามารถทาได้โดยการดมการชิมซึ่งเป็น
วิธีการที่สะดวกและลดค่าใช้จ่าย
คาสาคัญ :รสยา, สรรพคุณยา, การแพทย์แผนไทย

*
วิทยานิพนธ์หลักสูตรการแพทย์แผนไทยมหาบัณฑิต สาขาวิชาการแพทย์แผนไทย.มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย
**
นักศึกษาหลักสูตรแพทย์แผนไทยมหาบัณฑิต วิทยาลัยการแพทย์พนื้ บ้านและการแพทย์ทางเลือก มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย. E-mail Krit_stam2@hotmail.com
2

Rasa as Medicinal Herb Property’s Indicators by Thai Traditional Medical Healers. *


Kritsada Srihomtree**
Abstract
The purpose of this study was to investigate the wisdom of Thai traditional medical
healers in using Rasa to identify the herbal medical properties. The methods of this study started
with analysis of definitions and origins of Rasa from Thai Traditional Medical Textbooks, Ayurveda,
and Chinese Medicine. Then Rasa were divided into groups of properties, focus group discussion,
examination, and result discussion.
The findings of the study revealed as follows: 1) Origin of Rasa: Originated from the
healer’s wisdom and experiences that learned from the observation in herbal medicinal
composition and application until they’ve found the relationships between herbal properties
with taste, smell, touch, and body reaction. These results were used to identify herbal medicinal
properties known as Rasa ; 2) Definition: Rasa were known as the indicators for herbal medicinal
properties consisted of taste, flavor, and body reaction. This corresponded to Chinese medicine
thesis saying that the actual taste sensation was the indicator identifying five different Rasa:
pungent, sour, sweet, salty, and bitter. Moreover, it matched the concepts of Ayurveda that
perceived Rasa by tongue relishing and taste indication: sweet, salty, sour, bitter, spicy, and
astringent ; 3) Classification: There are 14 Rasa in Thai Traditional Medical Textbooks which were
classified into 4 groups as follows: (1) tastes which are sour, sweet, salty, and bitter, (2) 1 flavor
which is fragrance, (3) oral tactile sensations which are spicy, astringent, bitter, harsh, bland, and
nutty, and (4) body reaction to the tastes which are hot, cold, sukuma and drug toxic ; 4)
properties identification; because the tastes were identificated by the taste receptors, the oral
taste sensations and the herbal odors to nostrils, as well as the body reactions to drugs.
We can see from the study that the use of Rasa to indicate herbal medicinal properties
according to the ancient local healers are defined with local wisdom during the preparatory
process is the effective and convenient way to indicate the herbal medicine , as well as reducing
cost, no use of high and complex technology merely by smelling and tasting.

Keyword: Rasa, Medicinal herb property, Thai Traditional Medicine

*
This is a partialMaster research degree of Thai Traditional Medicine , 2015
**
Student of Master research degree in Traditional Medicine, School of Traditional and Alternative Medicine, ChiangraiRajabhat University 2014. E-
mail Krit_stam2@hotmail.com
3

บทนา
ในปัจจุบันประเทศไทยได้ดาเนินนโยบายด้านสุภาพตามกระแสการเปลี่ยนแปลงด้านสุขภาพในระดับโลก
โดยการนาการแพทย์แผนไทยใช้ในระบบบริการสุขภาพของรัฐเพื่อเป็นทางเลือกในการดูแลรักษาสุขภาพ สืบเนื่อง
จากวงการสุขภาพในระดับโลกโดยการนาขององค์การอนามัยโลกได้รับบทเรียนจากความล้ มเหลวของนโยบาย
สุขภาพดีถ้วนหน้าในปี 2000 (Health for All in 2000) ลาพังการแพทย์แผนปัจจุบันเพียงระบบเดียวไม่สามารถ
ตอบสนองปัญหาสุขภาพได้อย่างครอบคลุม จาเป็นต้องมีทางเลือกในการดูแลรักษาสุขภาพจึงได้นาเอากาแพทย์
พื้นบ้านหรือการแพทย์ดั้งเดิมของแต่ละประเทศมาเป็นทางเลือก
เป้าหมายของการนาเอาการแพทย์แผนไทยและการแพทย์พื้นบ้านไทยมาใช้เป็นทางเลือกในการดูแล
รักษาสุขภาพเพื่อสร้างความมั่นคงของระบบสุขภาพและการพึ่งตนเองด้านสุขภาพโดยมีความคาดหวังที่ลดค่าใช้จ่าย
ในการดูแ ลรั กษาสุข ภาพของแผนปัจจุบั น เนื่ องจากการเยีย วยารักษาโดยการแพทย์ แ ผนปัจจุบันต้องอาศั ยยา
เวชภั ณฑ์ เครื่ อง ความรู้ และผู้ เชี่ ยวชาญจากต่ างประเทศ ส่ งผลให้ ต้นทุนการรั กษาและการอัต ราการสู ญเสี ย
งบประมาณให้ต่างประเทศสูง การนาการแพทย์แผนไทยโดยเฉพาะยาไทยมาใช้ในระบบบริการสุขภาพของรัฐจึงเป็น
ความหวังในการลดต้นทุนการดูแลสุขภาพ
การส่ ง เสริ มการแพทย์ แ ผนไทยให้ มีโ อกาสในระบบบริ การสุ ข ภาพของรั ฐ อย่ า งเป็ นรู ป ธรรมได้ เ ริ่ ม
ดาเนินการตั้งแต่การตราพระราชบัญญัติสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ.2550 และการตราธรรมนูญว่าด้วยระบบสุขภาพ
แห่งชาติ พ.ศ. 2552 มีสาระที่ว่าด้ วยการแพทย์แผนไทย การแพทย์พื้นบ้าน และการแพทย์ทางเลือก กล่าวถึ ง
หลักการ เป้าหมาย และมาตรการในการที่จะให้มีระบบบริการด้วยการแพทย์ดังกล่าว ในหมวด 7 ตั้งแต่ข้อ 53 ถึง
ข้อ 67 จานวน 15 ข้อ กาหนดให้มีการส่งเสริมการแพทย์ทุกระบบอย่างเท่าเทียมกัน บริการด้านการแพทย์หลาย
ระบบรวมทั้งการแพทย์แผนไทยและการแพทย์พื้นบ้านและการแพทย์ทางเลือก ให้รัฐส่งเสริม สนับสนุน การใช้และ
การพัฒนาการแพทย์แผนไทยให้มีคุณภาพและมาตรฐาน
ถึง แม้ จะมี การส่ ง เสริ มการใช้ป ระโยชน์ จากแพทย์ แ ผนไทยตามความคาดหวัง ของสั ง คมโดยเฉพาะ
กระทรวงสาธารณสุข ผลที่เกิดขึ้นก็ยังมิใช่การใช้ประโยชน์จากแพทย์แผนไทยอย่างแท้จริง ที่สาคัญคือความคาดหวัง
กับศักยภาพของแพทย์แผนไทยยังไม่สอดคล้องกัน กล่าวคือแพทย์แผนไทยที่ทุกฝ่ายต่างคาดหวังให้มาการแก้ไข
ปัญหาสุขภาพนั้นขาดการศึกษาพัฒนาทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติ องค์ความรู้ขาดการศึกษาตรวจสอบและขาด
การทาให้เป็นวิชาการตามหลักสากลดังเช่นวิชาชีพอื่นๆ โดยเฉพาะในด้านเภสัชกรรม ขาดการศึกษาในภาคทฤษฎี
ส่งผลให้แพทย์แผนไทยยังคงใช้ยาตารับตามที่มีการบันทึกในตาราแพทย์ศาสตร์สงเคราะห์ซึ่งถูกชาระเรียบเรียงครั้ง
ล่าสุดในสมัยรัชกาลที่ 5 เป็นระยะเวลาร่วมศตวรรษ ตาราที่ยึดถืออยู่เป็นการบันทึกประสบการณ์ของแพทย์แผน
ไทยในการรักษาโรค ตารับยาที่บันทึกในตาราที่ใช้ในการรักษาโรคมีสมุนไพรอยู่หลากหลาย ซ้าซ้อนส่งผลต่อต้นทุน
ในการรักษาโรคด้วยยา เหตุเพราะส่วนประกอบของตารับยามีมาก ตัวยาสมุนไพรหลายชนิดมีราคาสูง จึงจาเป็นต้อง
จัดการกับตารับยาให้ผลิตใช้ได้สะดวกประหยัดสอดคล้องกับเป้าหมายสูงสุดในการใช้ประโยชน์จากแผนไทยเป็น
ทางเลือกสาหรับการดูแลรักษาสุขภาพนั้นคือ การลดต้นทุนการดูแลรักษาสุขภาพจากระบบการแพทย์แผนปัจจุบัน
ภายใต้แนวคิดดีกว่า ง่ายกว่า ถูกกว่า
จากความคาดหวังที่สังคมมีต่อแพทย์แผนไทยส่งผลให้ต้องมีการปรับปรุงพัฒนาการแพทย์แผนไทยใน
ด้านยาให้ยาไทยสามารถใช้ทดแทนยาแผนปัจจุบันและลดค่าใช้จ่ายจากยาแผนปัจจุบัน แต่สภาพการณ์ที่เป็นอยู่ใน
ปัจจุบั นยาไทยเป็ นยาต ารั บที่ผ ลิ ต ขึ้ นใช้ ต ามสูต รต ารั บที่บั นทึกสืบ ทอดกั นมา ขาดการปรั บปรุ ง แก้ ไขพัฒ นามี
4

ส่วนประกอบซ้าซ้ อนส่ งผลให้ต้นทุนยาสู งไม่ สอดคล้องกั บแนวทางในการแก้ปั ญหาสุ ขภา พ จึง จาเป็ นต้องมีการ
ปรับปรุงพัฒนาสูตรตารับยาสมุนไพรให้มีต้นทุนต่าลง ซึ่งการปรับปรุงสูตรตารับยาให้ได้ตามความคาดหวังคือมีราคา
ต่าลงแต่ยังคงสรรพคุณรักษาโรคได้เหมือนเดิมนั้นสามารถทาได้โดยการเข้าใจเข้าถึงหลักในการจัดยาตั้งยาของหมอ
ยาโบราณผ่านทฤษฎีรสยาที่ใช้อธิบายสรรพคุณยา
ความจาเป็ นในการศึ กษาภู มิปั ญ ญาการใช้ รสยาของหมอยาไทยโบราณในการบ่ ง ชี้ ส รรพคุ ณมี เ หตุ
เนื่องมาจากรสยาที่เป็นเครื่องบ่งชี้สรรพคุณยาสมุนไพรไทยขาดการศึกษาตรวจสอบและรายละเอียดส่งผลให้การ
วิเคราะห์ บ่ง ชี้สรรพคุณยาสมุนไพรไทยมี ข้อจากั ด และเกิดการนาเอาแนวคิดการแพทย์ แผนปัจจุบันมาอธิบาย
สรรพคุณยาสมุนไพรทดแทนรสยาโดยอธิบายและบ่งชี้สรรพคุณยาสมุนไพรตามคุณสมบัติของสารเคมีในสมุนไพร
แล้วยาที่พัฒนาตามแนวคิดดังกล่าวจึงเป็นยาแผนปัจจุบันเนื่องจากใช้ตามหลักการและทฤษฎีการแพทย์แผนปัจจุบนั
นอกจากนั้นการใช้วิธีการตรวจสอบสรรพคุณยาตามแนวคิดข้างต้นต้องอาศัยเครื่องมือและเทคโนโลยีชั้นสูงส่งผลให้
ค่าใช้จ่ายสูงขึ้นในขณะที่หมอยาไทยโบราณมีภูมิปัญญาการใช้รสยาในการตรวจสอบบ่งชี้สรรพคุณยาสมุนไพรซึ่งเป็น
วิธีการที่ถูกกว่า ง่ายกว่าและเป็นวิธีการตรวจสอบสรรพคุณที่สอดคล้องเชื่อมโยงกับทฤษฎีธาตุซึ่งเป็น ทฤษฎีที่ใช้
อธิบายร่างกายและการเจ็บป่วยของการแพทย์แผนไทยดังนั้นการศึกษาพัฒนายาไทยจึงเริ่มจากการศึกษาแนวคิด
ทฤษฎีรสยาซึ่งทฤษฎีหลักในการศึกษาสรรพคุณยาของแพทย์แผนไทย
ปัญหาที่เกิดจากความไม่ชัดเจนของรสยาเกี่ยวข้องกับการอธิบายสรรพคุณยา 3 ประเด็น คือ
1. นิยามความหมายของรสยา ถูกตีความตามกรอบของวิทยาศาสตร์ว่าเป็นรสชาติซึ่งมีเพียง 4 รส
ในขณะที่รสยาในคัมภีร์ตาราการแพทย์แผนไทยมีมากกว่า ดังนั้นจึงต้องศึกษานิยามความหมายของรสยา
2. การจาแนกประเภทรสยายา เมื่อไม่สามารถระบุได้ว่ารสยาคืออะไรก็ส่งผลถึงการจาแนกประเภท
รสยา ว่ามีกี่อย่าง อะไรบ้าง ซึ่งเป็นข้อที่ขัดแย้งกันในตาราว่ารสยามีกี่รส บางตารากล่าวว่ามี 4 รส 6 รส 8 รส 9 รส
10 รส ในส่วนนี้จึงต้องจาแนกประเภทรสยาว่ามีกี่อย่าง กี่ประเภท
3. สรรพคุณของยา รสยาเป็นตัวแทนของสรรพคุณยา และรสยาใช้เป็นเครื่องมือในการตรวจสอบ
ตั ด สิ น สรรพคุ ณ ยา ในขั้ น นี้ ศึ ก ษาสรรพคุ ณ ของยาผ่ า นรสยาว่ า รสยาแต่ ล ะอย่ า งแทนสรรพคุ ณ อะไรบ้ า ง

วัตถุประสงค์ของการวิจัย
เพื่ อ ศึ ก ษาภู มิ ปั ญ ญาของหมอยาไทยโบราณเรื่ อ งรสยาที่ ใ ช้ บ่ ง บอกสรรพคุ ณ ของยาสมุ น ไพร
กรอบแนวคิดการวิจัย
5

การเยียวยารักษาอาการเจ็บป่วยของการแพทย์แผนไทยเป็นความรู้เชิงประสบการณ์ที่เกิดจากการสังเกต
ลองผิดลองถูกจนเกิดการจัดระบบความรู้และได้อาศัยทฤษฎีธาตุของพุทธศาสตร์ในการอธิบายร่างกายและกลไกการ
เกิดการเจ็บป่วย โดยร่างกายประกอบด้วยธาตุทั้ง 4 ประการ คือ ปถวีธาตุ อาโปธาตุ วาโยธาตุ เตโชธาตุ และการ
เจ็บป่ วยเกิดจากธาตุในร่างกายทาหน้ าที่ผิด ปกติ กาเริบ หย่อน พิการ และเมื่อธาตุทาหน้ าที่ผิ ดปกติ ก็ส่ง ผลให้
ร่างกายแสดงอาการเจ็บป่วยซึ่งต้องกายยาที่มีสรรพคุณมาเยียวยารักษาอาการเจ็บป่วยนั้นโดยมีรสยาเป็นเครื่องบ่งชี้
สรรพคุณยาและสามารถเชื่อมโยงไปยังการทาหน้าที่ของธาตุ ดังนั้นรสยาจึงเป็นตัวแทนของสรรพคุณยาที่นาไปสู่
การวิเคราะห์บทบาทของยาที่มีต่อการทาหน้าที่ของธาตุซึ่งเป็นการเชื่อมโยงระหว่างทฤษฎีธาตุที่อธิบายร่างกายและ
การเจ็บป่วยเข้ากับการปฏิบัติการรักษาโรคด้วยยา และเมื่ออธิบายการกระทาได้ก็ นาไปสู่การแก้ไขปรับปรุงสูตร
ตารับยาที่มีอยู่ให้มีความเหมาะสมกับสภาพการทาหน้า ที่ของธาตุในร่างกายของผู้ป่วยแต่ละคนโดยมีรสยาเป็ น
ตัวกลางในการวิเคราะห์
วิธีการดาเนินการวิจัย
แหล่งข้อมูล
คัมภีร์ตาราการแพทย์แผนไทย
ตาราแพทย์ศาสตร์สงเคราะห์ ภูมิปัญญาทางการแพทย์และมรดกทางวรรณกรรมของชาติ
(คัมภีร์ธาตุวิภังค์, คัมภีร์ธาตุวิวรณ์, คัมภีร์วรโยคสาร, คัมภีร์ฉันทศาสตร์, คัมภีร์สรรพคุณแลมหา
พิกัด)
คัมภีร์โรคนิทาน
ตาราพระโอสถพระนารายณ์
ตาราเวชศึกษาแพทย์ศาสตร์สังเขป
ตาราประมวลหลักเภสัช
ตาราแพทย์แผนโบราณทั่วไปสาขาเภสัชกรรม
ตาราอายุรเวท
ตาราอายุรเวทศึกษา ขุนนิเทสสุขกิจ
DravyanagunaVijnyana
ตาราการแพทย์แผนจีน
ตาราศาสตร์ยาสมุนไพรจีน
การรวบรวมข้อมูล
1) รวบรวมนิยามและความเป็นมาของรสยา
2) วิเคราะห์นิยามของรสยา
3) จาแนกประเภทรสยา
4) ตรวจสอบโดยการประชุมกลุ่มย่อย
6

ผลการศึกษา
1. นิยามและความเป็นมาของรสยา
รสยาถูกนามาใช้ประโยชน์ในด้านการแพทย์โดยใช้เป็นตัวบ่งชี้สรรพคุณของยาสมุนไพร พบในการแพทย์
อย่างน้อย 3 ระบบ คือ การแพทย์แผนจีน อายุรเวท การแพทย์แผนไทย ซึ่งการใช้รสยาเป็นตัวบ่งชี้สรรพคุณยาเป็น
ความชาญฉลาดในการเรียนรู้สรรพคุณยาจากการสังเกตผลของยาระหว่างการลองผิดลองถูกในการปรุงยาและได้พบ
ความสัมพันธ์ระหว่างรสและกลิ่นของยากับสรรพคุณของยาสมุนไพรโดยยาที่มีกลิ่นรสอย่างเดียวกันมีสรรพคุณพ้อง
กัน จึงได้ใช้รสยาเป็นเครื่องมือพิสูจน์สรรพคุณยาและหมอยาโบราณโบราณจัดกลุ่มสรรพคุณยาเป็นกลุ่มตามรสยา
คาว่า รส ภาษาไทยเป็นคาที่มีรากศัพท์มาจากภาษาบาลี สันสกฤต คือ คาว่า รส (อ่านว่า ระ-สะ) ซึ่ง
หมายถึง 1) น้าหรือของเหลว 2) สิ่งที่เกี่ยวกับชิวหาประสาท 3) ความรู้สึกทางใจ
เมื่อเทียบกับรสยาในอายุรเวท คือ ระสะ (Rasa) คือ สิ่งที่รับรู้ได้ด้วยลิ้น ซึ่งรวมทั้งรสชาติที่รับรู้ได้ดว้ ยปุม่
รับ รสและสิ่ ง ที่ลิ้ นรั บ สั มผั ส ได้ คื อ ร้ อน เย็ น รวมทั้ง การรั บ รู้ ค วามสึ กเจ็บ ปวด รสยามี 6 รส ได้ แ ก่ รสหวาน
(Madhura) รสเปรี้ยว (Amla) รสเค็ม (Lavana) รสขม (Tikta) รสเผ็ด (Katu) และรสฝาด (Kashaya) (A.P.
Deshpande and SubhashRanade, 2007: 54) ซึ่งเป็นส่วนประกอบที่จะนาไปสู่การเยียวยารักษา (Swami
sadashivatirtha; 57) โดยรสทั้ง 6 รสนี้ กาเนิดจากธาตุ 5 (Six tastes originate from the five elements)
ส่งผลถ่ายทอดออกมาเป็นคุณสมบัติของรสทั้ง 6 รส (ขุนนิทเทสสุขกิจ. 2516; 270)
รสยาในการแพทย์แผนจีน คื อ เวย์ คือ รสชาติที่รับรู้ได้ (actual taste sensation) เป็นตั วแสดง
คุณสมบัติที่แตกต่างกันของยา อยู่ภายใด้ทฤษฎีหยิน-หยาง รสยาจีนได้แก่ ซิน กัน ชวน เสียน ขู่ (สถาบันการแพทย์
ไทย–จีน เอเชียตะวันออกเฉียงใต้. 2554: 28)
นิยามของรสยาในคัมภีร์ตาราการแพทย์แ ผนไทยไม่พบการบันทึกนิ ยามโดยตรงแต่ เป็นการบันทึกใน
ลักษณะที่เป็นรายการของรสยาซึ่งยกมาแสดงให้เห็นว่ารสมีอะไรบ้างซึ่งมุ่งเน้นไปในส่วนของการศึกษาสรรพคุณยา
สมุนไพร รสยาที่ถูกกล่าวถึงและมีอิทธิพลมากในการศึกษาสรรพคุณยา คือ รสยา 9 รส ในตาราเวชศึกษาแพทย์
ศาสตร์สังเขปและปรากฏในตาราประมวลหลักเภสัช รวมทั้งตาราแพทย์แผนโบราณทั่วไปสาขาเภสัชกรรมซึ่งเป็น
ตารากลางของกองการประกอบประกอบโรคศิลปะที่ใช้สอบขึ้นทะเบียนเป็นผู้ประกอบโรคศิลปะสาขาแพทย์ แผน
ไทยประเภทเภสัชกรรมไทย โดยแบ่งรสยาเป็น 2 ประเภท คือ ยารสประธาน และรสของตัวยาการกล่าวถึงรสยาใน
คัมภีร์ตาราการแพทย์แผนไทยเน้นที่การใช้รสยาเป็นตัวแทนหรือตัวบ่งชี้สรรพคุณยา ถึงแม้มิได้บันทึกนิยามโดยตรง
แต่ก็สะท้อนให้เห็นว่ารสยาที่กล่าวถึงนั้นมีลักษณะเป็นรสที่รับรู้ได้ด้วยลิ้น กลิ่น รวมทั้งยังเป็นผลของยาต่อร่างกาย
จากการประมวลนิยามของรสตาราการแพทย์แผนจีน คัมภีร์ตาราการแพทย์แผนไทย และการแพทย์
อายุรเวทพบว่ารสเป็นสิ่งสามารถรับรู้ได้ด้วยลิ้น ซึ่งตรงกับนิยามของรสในวิทยาศาสตร์ที่เป็นการรับความรู้สึกจาก
สารละลายในปากที่ไปกระตุ้นปุ่มรับรส (taste bud) โดยสารเคมีที่จะกระต้น taste cell ให้เกิดปฏิกิริยาเคมีได้นั้น
จะต้องอยู่ในสภาพสารละลายหรือละลายด้วยน้าลาย และในระหว่างการกินหรือชิมกลิ่นของอาหารก็สามารถที่จะ
เข้าไปในโพรงจมูกได้แล้วไปกระตุ้นตัวรับกลิ่นได้เช่นกัน ดังนั้นนิยามของรส สรุปได้ว่ารสคือ สิ่งที่ซึมซาบอยู่ในวัตถุ
สามารถละลายได้ในน้าลาย สามารถรับรู้ได้ด้วยการสัมผัสที่ลิ้นซึ่งมีทั้งรับรู้โดยปุ่มรับรสและประสาทสัมผัสที่ลิ้น
รวมทั้งกลิ่นที่เข้าไปกระตุ้นตัวรับกลิ่นในโพรงจมูกด้วย และเมื่อรสถูกนาไปใช้ในด้านยาเรียกว่ารสยานิยามของรสยา
จึงหมายถึง สิ่งที่ซึมซาบอยู่ในตัวยาหรือเภสัชวัต ถุ สามารถละลายน้าลายได้ รั บรู้ได้ด้วยปุ่มรับ รส สัมผัสในปาก
รวมทั้งกลิ่น ซึ่งรสยาในการแพทย์แผนจีนและการแพทย์อายุรเวทก็อยู่ในขอบเขตนี้ด้วย แต่รสยาที่ปรากฏในคัมภีร์
7

ตาราการแพทย์แผนไทยยังปรากฏรสยานอกเหนือจากข้างต้น คือ ยังมีรสยาบางอย่างเป็นรสยาที่มีลักษณะเป็น


ปฏิกิริยาการตอบสนองของร่ างกายต่อยา เช่น รสเมาเบื่อ ที่ปรากฏในคัมภีร์ฉันทศาสตร์ ตาราเวชศึกษาแพทย์
ศาสตร์สังเขป ตาราประมวลหลักเภสัช รสยาควรเพิ่มสิ่งที่ซึมซาบอยู่ในเภสัชวัตถุที่สามารถรับรู้ได้ด้วยปฏิกิริยาของ
ร่างกายด้วย กล่าวโดยสรุปนิยามของรสยาจากการประมวลและวิเคราะห์แล้วพบว่ารสยาหมายถึงสิ่งที่ซึมซาบอยู่ใน
ยาสามารถละลายได้ในน้าลายรับรู้ได้ดว้ ยลิ้นซึ่งมีทั้งปุ่มรับรส ประสาทรับสัมผัส รวมทั้งการรับรู้ด้วยกลิ่น รับรู้ได้ด้วย
ปฏิกิริยาของอวัยวะในร่างกาย
2. การจาแนกประเภทรสยา
ผลการศึกษาพบว่ามีตาราและคัมภีร์การแพทย์แผนไทยที่บันทึกรสยาไม่น้อยกว่า 10 ฉบับ ได้แก่
คัมภีร์ธาตุวิภังค์ คัมภีร์ธาตุวิวรณ์ คัมภีร์โรคนิทาน คัมภีร์วรโยคสาร คัมภีร์ฉันทศาสตร์ คัมภีร์สรรพคุณแลมหาพิกัด
ตาราพระโอสถพระนารายณ์ ตาราเวชศึกษาแพทย์ศาสตร์สังเขป ตาราประมวลหลักเภสัช และตาราแพทย์แผน
โบราณทั่วไปสาขาเภสัชกรรม เมื่อประมวลรสยาแล้วพบว่ามีรสยาถึง 26 รส และรสยาที่มีการบันทึกสรรพคุณยา
เพียง 14 รส ได้แก่ รสเปรี้ยว รสหวาน รสเค็ม รสขม รสหอมเย็น รสเผ็ด รสฝาด รสเฝื่อน รสมัน รสจืด รสเมาเบื่อ
รสร้อน รสเย็น รสสุขุม ซึ่งจาแนกเป็น 4 กลุ่ม ได้แก่ รสตามปุ่มรับรส กลิ่นรส สัมผัสในปาก และปฏิกิริยาของ
ร่างกาย ตามตารางสรุปรสยาจากคัมภีร์ตาราแพทย์แผนไทย
ตารางสรุปรสยาจากคัมภีร์ตาราแพทย์แผนไทย

ตาราแพทย์แผนโบราณทั่วไปฯ
ตาราประมวลหลักเภสัช
ตาราพระนารายณ์

ที่ รส
คัมภีร์ฉันทศาสตร์
คัมภีร์สรรพคุณฯ

ตาราเวชศึกษาฯ
คัมภีร์วรโยคสาร
คัมภีร์ธาตุววิ รณ์

คัมภีร์โรคนิทาน
คัมภีร์ธาตุวภิ ังค์

1. กร่อย ⁄ ⁄ ⁄
2. ขม ⁄ ⁄ ⁄ ⁄ ⁄ ⁄ ⁄ ⁄ ⁄ ⁄
3. ขื่น ⁄ ⁄ ⁄ ⁄ ⁄
4. คัน ⁄
5. คาว ⁄ ⁄ ⁄ ⁄
6. เค็ม ⁄ ⁄ ⁄ ⁄ ⁄ ⁄ ⁄ ⁄ ⁄
7. จืด ⁄ ⁄ ⁄ ⁄ ⁄ ⁄
8. ฉุน ⁄ ⁄
9. ชุ่ม ⁄ ⁄
10. ซ่า ⁄
11. ปร่า ⁄ ⁄
12. เปรี้ยว ⁄ ⁄ ⁄ ⁄ ⁄ ⁄ ⁄ ⁄ ⁄
8

ตาราแพทย์แผนโบราณทั่วไปฯ
ตาราประมวลหลักเภสัช
ตาราพระนารายณ์
ที่ รส

คัมภีร์ฉันทศาสตร์
คัมภีร์สรรพคุณฯ

ตาราเวชศึกษาฯ
คัมภีร์วรโยคสาร
คัมภีร์ธาตุววิ รณ์

คัมภีร์โรคนิทาน
คัมภีร์ธาตุวภิ ังค์

13. เผ็ด ⁄ ⁄ ⁄ ⁄ ⁄ ⁄ ⁄ ⁄ ⁄ ⁄
14. ฝาด ⁄ ⁄ ⁄ ⁄ ⁄ ⁄ ⁄ ⁄ ⁄ ⁄
15. เฝื่อน ⁄ ⁄ ⁄ ⁄ ⁄
16. มัน ⁄ ⁄ ⁄ ⁄ ⁄ ⁄
17. เมาเบื่อ ⁄ ⁄ ⁄ ⁄
18. เย็น ⁄ ⁄ ⁄ ⁄ ⁄ ⁄ ⁄ ⁄ ⁄
19. ร้อน ⁄ ⁄ ⁄ ⁄ ⁄ ⁄ ⁄ ⁄
20. เลี่ยน ⁄
21. สุขุม ⁄ ⁄ ⁄ ⁄ ⁄ ⁄ ⁄
22. หวาน ⁄ ⁄ ⁄ ⁄ ⁄ ⁄ ⁄ ⁄ ⁄
23. หอมเย็น ⁄ ⁄ ⁄ ⁄ ⁄ ⁄
24. เหม็น ⁄ ⁄
25. เหม็นเขียว ⁄ ⁄
26. เอียน ⁄ ⁄

จากการประมวลรสยาจากคัมภีร์ตาราการแพทย์แผนไทยแล้วพบว่ารสยาที่ถูกบันทึกไว้มีถึง 26 รส และ
รสยาในคัมภีร์ตาราการแพทย์แผนไทยที่เรียบเรียบขึ้นในยุคหลัง เช่น ตาราเวชศึกษาแพทย์ศาสตร์สังเขป ตารา
ประมวลหลั กเภสั ช ต าราแพทย์แ ผนโบราณทั่วไปสาขาเภสั ช กรรมไทย มี ปรากฏรสยาเพิ่มขึ้นจากคั มภี ร์ตารา
การแพทย์แผนไทยในยุคก่อนหน้าซึ่งมีบางรสที่ตรงกัน แสดงให้เห็นว่าองค์ความรู้เรื่องรสยาในคัมภีร์ตาราการแพทย์
แผนไทยได้มีการสะสมสืบทอดกันมาแล้วมีการบันทึกรสยาที่เป็นประสบการณ์ในการรับรู้รสของแพทย์แผนไทยใน
ยุคหลังซึ่งมีรายละเอียดปลีกย่อยเพิ่มเติมขึ้นมาอีก ดังนั้นรสยาที่สืบทอดมาจนถึงปัจจุบันจึงมีทั้งรสยาตามคัมภีร์
ตาราเดิมและที่เพิ่มเข้าไปใหม่โดยยังมิได้มีการจัดจาแนกประเภท ซึ่งการจาแนกรสยาในการศึกษาครั้งได้ใช้ช่องทาง
การรับรู้รสยาเป็นเกณฑ์ในการจาแนกโดยช่องทางในการรับรู้รสยามี 4 ช่องทาง ได้แก่ รับรู้ด้วยปุ่มรับรส รับรู้ด้วย
กลิ่นและรส รับรู้ด้วยประสาทรับสัมผัสในปาก และรับรู้ด้วยปฏิกิริยาของร่างกาย
2.1 กลุ่มรสตามปุ่มรับรส (taste) มี 4 รส ได้แก่
1) เปรี้ยว คือ รสอย่างรสของมะนาว (พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน 2542)
2) หวานรสอย่างรสของน้าตาล (พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน 2542)
3) เค็มคือ รสอย่างรสของเกลือ (พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน 2542)
9

4) ขม คือ รสอย่างรสของสะเดา (พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน 2542)


2.2 รสยาที่ผสมทั้งกลิ่นและรส (flavor) มี 1 อย่าง คือ
หอมเย็น คือ มีกลิ่นดี ตรงข้ามกับเหม็น (พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน 2542)
2.3 รสยาที่เป็นความรู้สึกที่ลิ้นและปากสัมผัสได้ (oral tactile)มี 5 อย่าง ได้แก่
1) เผ็ ด คื อ รสอย่ า งรสพริ กเป็ นอาการระคายเคื องแสบร้ อ นในปาก (พจนานุ กรม ฉบั บ
ราชบัณฑิตยสถาน 2542)
2) ฝาด คือ รสอย่างรสหมากดิบทาให้ฝืดคอกลืนไม่ลง (พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน
2542)
3) มัน คือ รสอย่างรสกะทิหรืออย่างถั่วลิสงคั่ว (พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน 2542)
4) เฝื่อน คือ รสที่เจือฝาดและขื่น (พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน 2542)
5) จืด คือ มีรสไม่เค็มไม่เปรี้ยว (พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน 2542)
2.4กลุ่มของรสยาที่เป็นปฏิกิริยาของร่างกาย (body reaction) คือ กลุ่มของรสยาที่มีการจัดขึ้นมา
เป็นพิเศษจากการสังเกตปฏิกิริยาของร่างกายหลังได้รับยาและจัดยาเป็นกลุ่มตามฤทธิ์ของยาที่แสดงออกมา เช่น รส
เมาเบื่อเกิดจากการทานยาเข้าไปแล้วมีอาการวิงเวียนคลืน่ ไส้คือเกิดอาการเมาจึงจัดว่ายานี้มีรสเมาเบื่อเป็นต้น ซึ่งรส
ยากลุ่มนี้จัดจาแนกได้ 4 อย่าง ได้แก่
1) เมาเบื่ อ คื อ ยาที่ มี ฤ ทธิ์ ท าให้ เ กิ ด อาการเมา คลื่ น ไส้ อ าเจี ย น (พจนานุ ก รม ฉบั บ
ราชบัณฑิตยสถาน 2542) ยาที่มีสรรพคุณแก้พิษ (กองการประกอบโรคศิลปะ. 2541 :144 )
2) เย็น คือ มีความรู้สึกตรงข้ามกับ ร้อน เช่นเหมือนถู กน้าแข็ง หายร้อน (พจนานุ กรม ฉบั บ
ราชบัณฑิตยสถาน 2542) ยาที่แก้ทางเตโชธาตุ (กองการประกอบโรคศิลปะ. 2541: 142)
3) ร้ อ น คื อ คื อ มี ค วามรู้ สึ ก ตรงข้ า มกั บ เย็ น เหมื อ นถู ก ไฟเป็ น ต้ น (พจนานุ ก รม ฉบั บ
ราชบัณฑิตยสถาน 2542) ยาที่มีสรรพคุณแก้ทางวาโยธาตุ (กองการประกอบโรคศิลปะ. 2541: 142)
4) สุขุม คือ ยาที่มีผลในการแก้ลมกองละเอียด ลมวิงเวียนใจสั่น (กองการประกอบโรคศิลปะ.
2541: 142)
3. สรรพคุณของยาสมุนไพรแต่ละรส
ที่ รสยา สรรพคุณยา
ซาบเส้นเอ็น ซาบทั่วสรรค์พางกาย ซาบไส้น้อย เจริญรสอาหาร กัดเสมหะ แก้อาโป
พิการ แก้เสมหะพิการ เสมหะเหนียว แก้กระหายน้าแก้ลมจุกเสียด แก้พรรดึก ระบาย
1 รสเปรี้ยว
อุจจาระ แก้ท้องผูกบารุงไฟธาตุ กระทาสารพัดที่ดิบให้สุก ทาให้ดี ลม เสลด อนุโลมตาม
ซึ่งตน ฟอกโลหิต
ซาบลาไส้ใหญ่ ซึมซาบไปตามเนื้อแก้ปฐวีธาตุพิการแก้อาโปธาตุพิการ ทาให้เสลดกาเริบ
2 รสหวาน
แก้กระหาย ทาให้ชุ่มชื่นบารุงกาลัง แก้อ่อนเพลีย
ซาบไปทุกเส้นเอ็นและกระดูก ซาบไปตามผิวหนังแก้อาโปธาตุพิการ ทาให้เสมหะกาเริบ
3 รสเค็ม แก้เสมหะเหนียว แก้เถาดานในท้อง ถ่ายน้าเหลืองและเมือกมันในลาไส้เผาโทษ เผา
เขฬะ เจริญไฟธาตุ ทาให้ดีกาเริบ รักษาเนื้อหนังบาดแผลไม่ให้เน่า ฟอกโลหิต
10

ที่ รสยา สรรพคุณยา


ซึมซาบไปตามผิวหนัง ซาบไปทุกเส้น แก้อาโปธาตุพิการ แก้โลหิต บารุงโลหิต บารุงน้าดี
4 รสขม
ทาให้ลมกาเริบ แก้เตโชธาตุ แก้กาเดา แก้ร้อน แก้กระหายน้า แก้ไข้ตัวร้อน
ซาบหัวใจบารุงตับ บารุงปอด ทาให้ชื่นใจ บารุงหัวใจ ทาให้ใจคอสดชื่น แก้อ่อนเพลีย ชู
5 รสหอมเย็น
กาลัง แก้จุกเสียดแน่น แก้ลมป่วงดับพิษร้อนบารุงครรภ์
ซาบไปตามมังสังซาบไปในผิวเนื้อและเส้นเอ็น เจริญผิวกายและผิวเนื้อ ปิดธาตุ สมาน
6 รสฝาด เนื้อหนัง แก้โรคที่เกิดเพื่อปถวีธาตุพิการทาให้ลมกาเริบ แก้ฟกบวมแก้เตโชธาตุพิการ
เจริญไฟธาตุ
7 รสเฝื่อน ปิดธาตุแก้ฟกบวม
ซาบไปในผิวหนังทุกเส้นขน ซาบกระดูกมิได้เว้น ทาให้ลมกาเริบ ทาให้กาลังน้อย แก้ลม
8 รสเผ็ด
จุกเสียด แก้พรรดึก ขับผายลมแก้เตโชธาตุพิการ ทาให้ดีกาเริบ ระงับความเกียจคร้าน
ซาบที่ข้อต่อทั้งปวง ซึมซาบไปตามเส้นเอ็น แก้เส้นเอ็นพิการ บารุงเส้นเอ็น บารุงไขข้อ
9 รสมัน บารุงเยื่อกระดูก แก้โรคเกิดเพื่อปถวีพิการทาให้เสมหะพิการบารุงไขมัน ให้ความอบอุ่น
แก่ร่างกาย
10 รสจืด แก้ทางเสมหะ ขับปัสสาวะ แก้โรคที่เกิดเพื่อเตโช ดับพิษไข้ ดับพิษปวดร้อน
แก้วาโยธาตุพิการ แก้ลมจุกเสียดแน่นเฟ้อ ขับผายลม แก้โรคลมจุกเสีย ด ขับลมให้ผาย
11 รสร้อน
หรือเรอมิชอบกาเดา บารุงเตโชธาตุ ขับเหงื่อ ช่วยย่อยอาหาร
12 รสเย็น แก้กาเดา แก้กระหาย แก้เตโชธาตุ
แก้โรคที่เกิดเพื่ออาโปพิการ แก้พิษโลหิต แก้พิษเสมหะ แก้พิษดี แก้พิษสัตว์กัดต่อย แก้
13 รสเมาเบื่อ
ผื่นคัน
14 รสสุขุม แก้ลมกองละเอียด ลมวิงเวียน ใจสั่นหวั่นไหว บารุงกาลังแก้ไข้

4. ตัวอย่างยาสมุนไพรแต่ละรส
ที่ รสยา ตัวอย่างยาสมุนไพร
มะนาว (น้าในผล) มะกรู ด (น้าในผล) มะขาม (เนื้อในฝัก) มะดัน (ผล) ชะมวง (ใบ)
1 รสเปรี้ยว
คัดเค้า (ผล) พุงดอ (ราก) มะกล่าตาช้าง (ราก) มะกล่าตาหนู (ราก) มะกอกน้า (ผล)
กรรณิการ์ (ดอก) กระจับ (ฝัก) กล้วยน้าว้า (ผลสุก) กัลปพฤกษ์ (เนื้อในฝัก) โกฐเชียง
2 รสหวาน (ราก) ขนุนละมุด (กรักหรือแก่น) ข้าวเย็นใต้ (หัว) ข้าวเย็นเหนือ (หัว) ขิงแครง (เหง้า)
เข็มแดง (ราก) ฯลฯ
ลาพันขาว (เหง้า) ลาพันแดง (เหง้า) แสมทะเล (แก่น) เหงือกปลาหมอ (ทั้งต้น) หอยขม
3 รสเค็ม (เปลือก) หอยกาบ (เปลือก) เกลือสมุทร เกลือสินเธาว์ ดินประสิวขาว ดินประสิวแดง ดี
เกลือ เบี้ยจั่น (เปลือก) ลิ้นทะเล
กกลัง กา (หัว) ก้นปิด (ราก) กระดอม (ผล) กระทงลาย (เถา, ราก) กระทุ่มนา (ใบ)
4 รสขม กอมขม (เปลือกต้น) กันเกรา (แก่น) กาลังช้างเผือก (เนื้อไม้) โกฐกะกลิ้ง (เมล็ด) โกฐ
จุฬาลาพา (ทั้งต้น)
11

ที่ รสยา ตัวอย่างยาสมุนไพร


พิมเสน เมนทอล กฤษณา (แก่น) ขลู่ (ใบ) ชะลูดขาว (เปลือกเถา) บัวจงกลนี (ดอก)
5 รสหอมเย็น
บุนนาค (ดอก) ผักชีลา (ราก) มะซาง (ดอก) มะเดื่อหอม (ราก)
มะหวด (เมล็ด) มังคุด (เปลือกผล) โมกน้อย (เปลือกต้น) โมกหลวง (เปลือกต้น) ยางนา
6 รสฝาด (เปลื อกต้ น) ราชพฤกษ์ (กระพี้) ว่า นชักมดลูก (หั ว) ว่า นนางคา (หั ว) สนเทศ (ใบ)
ส้มเสี้ยว (เปลือกต้น)
กระดังงาไทย (ต้น, กิ่ง, ใบ) กระถินเทศ (ราก) กระถินพิมาน (ราก) กระทกรก (เถา)
7 รสเฝื่อน กาลังวัวเถลิง (เนื้อไม้) ขมิ้นเครือ (เถา) ขมิ้นอ้อย (หัว,ใบ) เข็มป่า (ราก) คนทา (ราก)
คว่าตายหงายเป็น (ใบ)
จันทน์แปดกลีบ (ผล)ช้าพลู (ราก, ต้น, ดอก, ใบ) เทียนเกล็ดหอย (เมล็ด) เทียนขาว
8 รสเผ็ด (เมล็ด) เทียนข้าวเปลือก (เมล็ด) เทียนดา (เมล็ด) เทียนแดง (เมล็ด) เทียนตาตั๊กแตน
(เมล็ด) เปราะป่า (หัว) พริกไทย (เมล็ด)
ฟักข้ าว (เมล็ ด) ฟักทอง (เมล็ ด ) มะม่ วงหิ มพานต์ (เมล็ ด ) ละหุ่ง แดง (น้ามั น) ค่ า ง
9 รสมัน (เลือด) ค้ างคาวแม่ ไก่ (เลื อด) งู เหลื อม (น้ ามั น) นกกรด (น้ ามัน) นกนางแอ่น (รั ง )
เลียงผา (น้ามัน)
ดินปลวก ดินสอพอง กระเจี๊ยบแดง (เมล็ด) กระแตไต่ไม้ (หัว) กระพี้เขาควาย (เนื้อไม้)
10 รสจืด เสี้ยวดอกขาว (ดอก) ขอนดอก (แก่น) ข้าวเย็นเหนือ (ต้น, ใบ) เล็บครุฑใบเล็ก (ราก)
โด่ไม่รู้ล้มดอกม่วง (ทั้งต้น)
กระชาย (หัว) กระเทียม (หัว) กระบือเจ็ดตัว (ใบ) กระวานขาว (ดอก, ลูก) กระวานแดง
11 รสร้อน (ดอก, ลูก) กระวานเทศ (ลูก) กะเพราขาว (ทั้งต้น) กะเพราแดง (ทั้งต้น) กานพลู (ดอก
ตูม) กาลังเสือโคร่ง (เปลือกต้น)
โกฐก้านพร้าว (ราก) ขี้เหล็กบ้าน (ราก) โคกกระออม (ราก) ง่อนตากหงาย (หัว) จักร
12 รสเย็น นารายณ์ (ใบ) จั นทน์ แ ดง (แก่ น) จุก โรหิ ณี (ราก) เฉี ย งพร้ า นางแอ (เปลื อกต้ น )
ช้อยนางรา (ใบ)
ชะมดต้น (ใบ, ดอก, ต้น) ตีนเป็ดน้า (ใบ) ทองพันชั่ง (ราก) น้อยหน่า (ใบ, เมล็ด) บวบ
13 รสเมาเบื่อ เหลี่ ยม (เมล็ด ) พิกุล (กระพี้, ใบ) มดยอบ (ยางประเภทชั นน้ ามัน) มะค่ าแต้ (ปุ่ ม)
มะค่าโมง (ปุ่ม) ยางน่องเครือ (ยาง)
กระดังงาไทย (ดอก) กระลาพัก (แก่น) กรุงเขมา (ราก) เร่วใหญ่ (ต้น) ว่านสาวหลง (ใบ)
14 รสสุขุม สายน้าผึ้ง (ดอก) อบเชยญวน (เปลือกต้น) อบเชยเทศ (เปลือกต้น) อบเชยไทย (เปลือก
ต้น)

ตัวอย่างยาสมุนไพรที่มีรสต่างๆที่ยกตัวอย่างมาข้างต้นนั้นให้พอรู้ว่ารสยาแต่ละรสมีอยู่ในสมุนไพรใดแต่
ในความเป็นจริงยาสมุนไพรแต่ละชนิดมีรสที่เป็นลักษณะรสผสมหลายอย่างซึ่งสอดคล้องกับแนวคิดเรื่อง วยักตรส
กับ อนุรส ในการแพทย์อายุรเวท โดย วยักตรส คือ รสแรกที่ปรากฏ ส่ วน อนุรส คือ รสที่ปรากฏทีหลัง ดังนั้นยา
สมุนไพรหนึ่งชนิดสามารถมีรสยาได้มากกว่า 1 รส และในคัมภีร์ตาราการแพทย์แผนไทยก็มีการบันทึกรสของยา
12

สมุนไพรแต่ละชนิดในลักษณะรสผสม เช่น ผลผักชีลามีรสขมฝาดหวาน หัวกระชาย มีรสเผ็ดร้อนขม มะรุม มีรสเผ็ด


หวานขม เปลือกราชพฤกษ์มีรสขมฝาดเฝื่อน น้ามูตรมีรสเผ็ดร้อนเค็ม จันทน์ขาวมีรสขมหวานเย็น กระลาพักมีรสขม
หวานเย็นมัน สะไอมีรสขมเฝื่อนฝาดเย็น พิลังกาสามีรสเผ็ดร้อนขมฝาด
จากรายการสมุนไพรที่ยกตัวอย่างมานี้สะท้อนให้เห็นว่ารสยามิใช่รสเดี่ยวแต่ซึมซาบอยู่ในตัวยาสมุนไพร
ในลักษณะผสมหลายรสแต่การรับรู้มักจะรับรู้ที่รสหลักก่อน ดังนั้นรสยาที่ระบุในคัมภีร์ตาราการแพทย์แผนไทยจึงมี
ได้หลายรส ในการนารสยาไปใช้ประโยชน์โดยเฉพาะในการใช้จาแนกสรรพคุณยาสมุนไพรตามภูมิปัญญาของหมอยา
ไทยโบราณนั้นจึงต้องเพิ่มความระมัดระวังเนื่องจากยามีได้หลายรสจึงมีได้หลายสรรพคุณอาจทาให้ได้สรรพคุณที่ไม่
ต้องการเพิ่มเติมด้วยก็ได้

อภิปรายผล
รสยา เป็นภูมิปัญญาของหมอยาโบราณที่พัฒนามาจากประสบการณ์ในการใช้ยาและเรียนรู้จากการลอง
ผิดลองถูก ซึ่งรสของวิทยาศาสตร์มีรสที่แยกแยะได้ชัดเจนหรือรสตามปุ่มรับรส 4 รส คือ รสเปรี้ยว รสหวาน รสเค็ม
และรสขม แต่ก็ไม่ปฏิเสธว่าการรับรู้ในช่องปากบางอย่างก็นับเป็นรสด้วย เช่น รสเผ็ด นอกจากนั้นในกระบวนการรับ
รสยังอาจครอบคลุมถึงการรับกลิ่นซึ่งมีความไวต่อการรับสัมผัสมาก ดังนั้นจึงเกิดกระบวนการรับกลิ่นและรสร่วมใน
เวลาเดียวกันจนเกิดเป็นผลการตี ความรสชาติ (Flavor) ซึ่ง เป็นรสชาติ รวมทั้ง รสตามปุ่ มรับรส (Taste) กลิ่ น
(Flavor) การรับสัมผัสในปาก (Mouth feel and Texture) ดังนั้นรสยาจึงไม่ขัดแย้งกับรสในทางวิทยาศาสตร์
ความรู้เรื่องรสยาได้ถูกนาไปใช้ประโยชน์ในการศึกษาสรรพคุณ ใช้เป็นตัวบ่งชี้ เป็นเครื่องมือตรวจสอบสรรพคุณยา
สมุนไพร ถึงแม้ว่ามีรสยามากถึง 26 รส แต่พบว่ารสยาที่ถูกนาไปใช้เป็นตัวบ่งชี้สรรพคุณยามีเพียง 14 รส ได้แก่
เปรี้ยว หวาน เค็ม ขม หอมเย็น เผ็ด ฝาด เฝื่อน มัน จืด ร้อน เย็น สุขุม เมาเบื่อ ซึ่งรสยาทั้ง 14 รสนี้ส่วนใหญ่เป็นรส
ยาที่พบบ่ อยในคั มภีร์ต าราการแพทย์แ ผนไทย และบางรสที่มีการบั นทึกใช้ เ ป็นตั วบ่ง ชี้ ส รรพคุ ณยาก็ เป็ นรสที่
พัฒนาขึ้นใหม่ นอกจากนั้นยังมีรสยาในคัมภีร์ตาราที่เรียบเรียงขึ้นยุคหลังอีก 12 รส ที่ยังไม่มีการบันทึกสรรพคุณยา

สรุปผลการวิจัย
รสยาเป็นตัวบ่งชี้สรรพคุณยาสมุนไพรที่ใช้ในการรักษาอาการเจ็บป่วย เกิดจากประสบการณ์ในการลอง
ผิดลองถูกของหมอยาไทยโบราณอันเป็นธรรมชาติของการเรียนรู้ของมนุษย์ จากการลองผิดลองถูกของหมอยาไทย
โบราณเพื่อแก้ไขปัญหาการเจ็บป่วย มีการทดลองแก้ไขอาการเจ็บป่วยหลากหลายอย่าง เช่น กิน ดม ทา แช่ หรือ
การเรียนรู้จากธรรมชาติรอบตัวสังเกตจากสิ่งรอบตัว เช่น พฤติกรรมของสัตว์ เช่น สุนัขที่กินหญ้าเวลาเจ็บป่วย หรือ
การสังเกตอาหารกินได้จากรอยแทะกินของสัตว์ จนกระทั่งเกิดการสะสมความรู้และผ่ากระบวนการจัดระบบเกิด
การจัดระบบความรู้จากข้อค้นพบว่าสมุนไพรที่ใช้ในการรักษาโรคนั้นตัวยาที่มีรสเดียวกันมักมีสรรพคุณในการรักษา
โรคหรืออาการในลักษณะเดียวกัน จนเกิดการเรียนรู้สรรพคุณยาจากการลองผิดลองถูกมาเป็นการศึกษาจากรสยา
เพราะรสยาสามารถพิสูจน์จนรู้สรรพคุณได้ แต่สรรพคุณยาต้องพิสูจน์ผ่านการลองยาซึ่งเสี่ยงและมีอันตราย รสยาจึง
เป็นเครื่องมือในการศึกษาสรรพคุณที่เกิดขึ้นจากการสะสมประสบการณ์ในการใช้ยาจนเกิดมีการบันทึกความรู้จาก
ข้อค้นพบดังกล่าว
นิยามของรสจากที่ประมวลและวิเ คราะห์จากตาราการแพทย์แผนจีน การแพทย์อายุรเวท พบว่า รส
หมายถึงสิ่งที่รับรู้ได้ด้วยลิ้น และรสตามความหมายของวิทยาศาสตร์มีรสที่แยกแยะได้ชัดเจนหรือรสตามปุ่มรับรส 4
รส คือ รสเปรี้ยว รสหวาน รสเค็ม และรสขม แต่ก็ไม่ปฏิเสธว่าการรับรู้ในช่องปากบางอย่างก็นับเป็นรสด้วย เช่น รส
13

เผ็ด นอกจากนั้นในกระบวนการรับรสยังอาจครอบคลุมถึงการรับกลิ่นซึ่งมีความไวต่อการรับสัมผัสมาก ดังนั้นจึงเกิด


กระบวนการรับกลิ่นและรสร่วมในเวลาเดียวกันจนเกิดเป็นผลการตีความรสชาติ (Flavor) ซึ่งเป็นรสชาติรวมทั้ง รส
ตามปุ่มรับรส (Taste) กลิ่น (Flavor) การรับสัมผัสในปาก (Mouth feel and Texture) ดังนั้นรสจึงหมายถึงสิ่งที่
รับรู้ได้ด้วยลิ้นครอบคลุมทั้งรสตามปุ่มรับรส (taste) กลิ่นรส (flavor) สัมผัสในปาก (oral tactile)
ส่วนคาว่า ยา ตรงกับ โอสถ ในภาษาบาลี และ เภสัช ในภาษาสันสกฤต หมายถึง ของสาหรับบาบัดหรือ
บรรเทาความเจ็บปวด (พจนานุกรมไทย ฉบับราชบัณฑิตยสถาน 2493 ; 739) สิ่งที่ใช้แก้หรือป้องกันโรค หรือบารุง
ร่างกาย (พจนานุกรมไทย ฉบับราชบัณฑิตยสถาน 2542 ; อิเล็กทรอนิกส์) ดังนั้น รสยาจึงหมายถึง รสยาหมายถึงสิ่ง
ที่ซึมซาบอยู่ในยาสามารถละลายได้ในน้าลายรับรู้ได้ด้วยลิ้นซึ่งมีทั้งปุ่มรับรส ประสาทรับสัมผัส รวมทั้งการรับรู้ด้วย
กลิ่น รับรู้ได้ด้วยปฏิกิริยาของอวัยวะในร่างกาย
จากความสั มพันธ์ระหว่างรสยากั บ สรรพคุณยาที่รสยาเป็ นตั วสะท้อนสรรพคุ ณยาจึง สามารถทาให้
สามารถนาเอายาสมุ นไพรมาใช้ รักษาโรคโดยการอาศัย รสยาเป็ นเครื่องมือตรวจสอบสรรพคุ ณยาสมุนไพรและ
สามารถสร้างเป็นแนวทางสาหรับการตรวจสอบบ่งชี้สรรพคุณยาสมุนไพรโดยอาศัยอวัยวะรับรู้ของร่างกายทั้งปาก
และจมูกซึ่งเป็นวิธีการที่สามารถทาได้สะดวกและรวดเร็ว ช่วยลดการพึ่งพาเทคโนโลยีที่มี ความสลับซับซ้อนและมี
ต้นทุนสูงในการตรวจสอบบ่งชี้สรรพคุณยา และแนวคิดเรื่องรสยานอกจากนาไปใช้สาหรับตรวจสอบ่งชี้สรรพคุณยา
สมุนไพรแล้วยังสามารถนาไปแก้ปัญหาวัตถุดิบสมุนไพรขาดแคลน เป็นช่องทางในการนายาสมุนไพรชนิดอื่นมา
ทดแทนโดยอาศัยการพิจารณาจากรสยาได้

ข้อเสนอแนะ
ข้อเสนอแนะทั่วไปการศึกษาในครั้งนี้เป็นการศึกษาเชิงเอกสารเพื่อตรวจสอบยืนยันนิยามความหมาย
ของรสยาไทยที่ถูกใช้เป็นหลักในการอธิบายสรรพคุณยาพบว่ารสยามีความหมายมากกว่ารสตามปุ่มรับรสแต่ในการ
พิสูจน์ตัวยาว่าแต่ละชนิดมีรสยาใดนั้นยังต้องศึกษาเพิ่มเติมถึงวิธีการ เครื่อ งมือ ขั้นตอนในการตรวจสอบรสยาของ
สมุนไพรแต่ละชนิด จะอาศัยการชิมเพียงอย่างเดียวอาจเป็นความเสี่ยงที่จะจาแนกรสยาผิดและบ่งชี้สรรพคุณยา
ผิดพลาดได้
ข้อเสนอแนะในการวิจัยครั้งต่อไปผลการศึกษาครั้งนี้ยังมิใช่ความรู้ที่ครอบคลุมหลักการตั้งตารับยาใหม่
เนื่องจากการตั้งตารับยาใหม่นั้นต้องอาศัยความรู้หลายประการที่เกี่ยวข้อง เช่น การคัดเลือกตัวยา ความแรงของ
ฤทธิ์ยา ความเป็นพิษ กระบวนการปรุงยาดังนั้นจึงต้องมีการศึกษาวิจัยหลักการ ทฤษฎี การจัดยาตั้งยาตารับในขั้น
ต่อไป
เอกสารอ้างอิง
กองการประกอบโรคศิลปะ. (2541) สานักปลั ดกระทรวงสาธารณสุ ข. ตาราแพทย์แผนโบราณทั่วไปสาขาเภสั ช
กรรม. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์แห่งประเทศไทย
ชยันต์ พิเชียรสุนทร แม้นมาส ชวลิต และวิเชียร จีรวงส์. (2548) คาอธิบายตาราพระโอสถพระนารายณ์. พิมพ์
ครั้งที่ 2. กรุงเทพมหานคร: สานักพิมพ์อมรินทร์
ดอกรั ก พยั คศรี (ปริวรรตและเรี ยบเรี ยง). (2551) คัมภี ร์โรคนิทานตารับ ท่าปู่เ ขียว. โครงการอ่านและปริ วรรต
วรรณกรรมพื้นบ้านท้องถิ่นภาคตะวันตก ระยะที่ 1: วรรณกรรมวัดท่าพูด, ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร
14

บุ ษ บา ประภาสพงศ์ และคณะ. (2551) แพทย์ ศ าสตร์ ส งเคราะห์ ภู มิ ปั ญ ญาทางการแพทย์ แ ละมรดกทาง


วรรณกรรมของชาติ. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์ สกสค. ลาดพร้าว
พจนานุกรมไทย ฉบับราชบัณฑิตยสถาน., 2542(พจนานุกรมอิเล็กทรอนิกส์)
พระยาพิศณุประสาทเวช. (มปป.) เวชศึกษาแพทย์ศาสตร์สังเขป. โรงเรียนเวชสโมสร รศ. 127
โรงเรียนแพทย์แผนโบราณ วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม. (2520) ตาราประมวลหลักเภสัช
สถาบั นการแพทย์ ไทย–จีน เอเชี ย ตะวันออกเฉี ย งใต้ กรมพัฒ นาการแพทย์ แ ผนไทยและการแพทย์ ทางเลื อก
กระทรวงสาธารณสุ ข สถาบั น การแพทย์ ไทย–จีน เอเชี ย ตะวัน ออกเฉี ย งใต้ . (2554) ศาสตร์ ย า
สมุนไพรจีน. กรุงเทพมหานคร: ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย
A.P.Deshpande and SubhashRanade.DravyanagunaVijnyana (part I and II) Ayurvedic Medicinal
Plants.First Edition.ShivanePune: A.P. Vision Design & Print Pvt. Ltd, 2004

You might also like