You are on page 1of 13

เฮียนตั๋วเมือง รÂ Ïฯรต฿ฯเมืฯง

รองศาสตราจารย์ ดร.ธเนศวร์ เจริญเมือง


คณะรัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

ตั๋วเมืองคืออักษรล้านนาหรือที่เรียกกันในดินแดนลาวและอีสานว่าอักษรธรรม

จากอดีตสู่ปัจจุบัน กลุ่มคนที่พูดภาษาไทอยู่กระจัดกระจายในดินแดนของหลายประเทศ จาก


ซ้ายไปขวาของแผนที่ คนไทอาหมอยู่ในแคว้นอัสสัมของอินเดีย, ไทคําตี่ ไทพ่าเก ไทขึน (เขิน) ไทใหญ่
และไท-ยองในพม่า, ไทลื้อ ไทเหนอ ไทมาวในยูนนานของจีน, ไท-ยวนในล้านนา, ไทลาวในอีสาน, ไท
สุโขทัย-อยุธยา, ไทปักษ์ใต้, ไทในมลายู, ไทจ้วงในกวางสี กวางตุ้ง, ไทลาว, ไทขาว ไทดํา ไทแดง และภู
ไทในเวียดนาม ไทลีบนเกาะไหหลําของจีน

แม้จะยังไม่มีข้อสรุปที่ชัดเจนว่าตัวอักษรของคนไทเริ่มตั้งแต่เมื่อใด แต่วงวิชาการส่วนใหญ่เห็น
ว่าตัวอักษรของคนไทเริ่มในเวลาใกล้เคียงกันคือช่วงต้นยุคสุโขทัย ได้แก่ไทในอัสสัม ในล้านนาและ
สุโขทัย ล้านนาอยู่ใกล้มอญ คนไท-ยวนก็นําเอาตัวอักษรมอญมาดัดแปลง สุโขทัยอยู่ใกล้ขอม พ่อขุน
รามคําแหงน่าจะดัดแปลงตัวหนังสือขอมมาใช้

เมื่อมีการประดิษฐ์ตัวอักษรขึ้นมา จึงมีการบันทึกเรื่องราวย้อนหลังราว 2-3 ชั่วคน เช่น ศิลา


จารึกหลักที่ 1 ของสุโขทัยสร้างในปี พ.ศ. 1835 ระบุว่าพ่อขุนรามคําแหงประดิษฐ์ตัวอักษรในปี พ.ศ.
1826 พ่อขุนศรีนาวนําถมสร้างเชลียง-สุโขทัยในปี พ.ศ. 1760 ไทอาหมตีอัสสัมได้ในปี พ.ศ. 1772 และ
กลุ่มคนไทที่อยู่ใกล้เคียงก็ย่อมรับผลสะเทือนนําไปใช้ เช่น อักษรธรรมของล้านนาแพร่หลายเข้าไปใน
เชียงตุง เชียงรุ่ง และหลวงพระบาง ซึ่งถือเป็นบ้านพี่เมืองน้องของล้านนา ไทลื้อแห่งสิบสองปันนา
บันทึกว่าขุนเจื๋องเป็นกษัตริย์องค์แรก และสวรรคตในปี พ.ศ. 1723

พญามังรายครองเมืองเชียงแสนตั้งแต่ปี พ.ศ. 1804 สร้างเมืองเชียงรายในปี พ.ศ. 1805 ต่อมา


สร้างเมืองฝาง เข้ายึดเมืองหริภุญไชยได้ในปี พ.ศ. 1835 และสร้างเมืองเชียงใหม่ในปี พ.ศ. 1839 การ
ดัดแปลงตัวอักษรมอญเป็นอักษรธรรมน่าจะเกิดขึ้นในยุคนั้น มีการค้นพบศิลาจารึกที่ใช้ตัวอักษรธรรม
เขียนเป็นภาษาบาลีในปี พ.ศ. 1919 และอย่างช้าที่สุดในปี พ.ศ. 1912 พบจารึกหลักที่ 62 ที่วัดพระยืน
ลําพูนซึ่งระบุว่า พระมหาสุมณเถระนําศาสนาพุทธนิกายลังกาวงศ์เก่าเข้าไปเผยแพร่ในล้านนา และ
ภายหลังตัวอักษรดังกล่าวได้เปลี่ยนรูปร่างและอักษรจนกลายเป็นตัวหนังสือฝักขาม ซึ่งแพร่ออกไป
จนถึงเชียงตุง
ตัวอักษรธรรมที่เป็นภาษาไทปรากฏในจารึกครั้งแรกคือจารึกที่ฐานพระพุทธรูปวัดเชียงหมั้น
ระบุปี พ.ศ. 2008 ประเสริฐ ณ นคร วิเคราะห์ว่าตัวอักษรธรรมนี้เป็นตัวอักษรของล้านนาตั้งแต่ยุค
สร้างล้านนา ต่อมาเมื่อพระมหาสุมณเถระจากสุโขทัยได้นําศาสนานิกายลังกาวงศ์เก่าเข้าไปเผยแพร่ใน
ล้านนาเมื่อ พ.ศ. 1912 ตัวอักษรสุโขทัยก็ติดตามเข้าไปในล้านนาด้วย

“อัก ขรวิ ธี ที่ใ ช้ ยัง เป็น แบบสุ โ ขทัยอยู่ ต่ อมาตั ว หนัง สื อ สุโ ขทั ย นี้ ก ลายเป็ น อั ก ษรฝั ก ขามของ
ล้านนา มีรูปลักษณะยาวและเป็นเหลี่ยมดังปรากฏในจารึก ลพ. 9 พ.ศ. 1954 ซึ่งเดิมอยู่ที่พะเยา จารึก
หลักนี้เริ่มใช้อักขรวิธีของล้านนาเข้ามาผสม มีรายพระนามกษัตริย์ราชวงศ์มังรายสมบูรณ์กว่าหลักวัด
พระยืน
แม้เชียงใหม่จะตกไปอยู่กับพม่าใน พ.ศ. 2101 แต่จารึกในเชียงใหม่ก็ยังคงเป็นฝักขามมาจนถึง
พ.ศ. 2124 ป็นอย่างน้อย ต่อมาประชาชนนิยมใช้ตัวอักษรล้านนาอีกแบบหนึ่ง ซึ่งมีรูปลักษณะเป็นตัว
กลมๆ ดัดแปลงจากอักษรมอญเรียกกันว่าตัวอักษรพื้นเมืองหรือตัวหนังสือธรรม.....เจ้าผู้ครองนคร
เชียงใหม่สมัยรัตนโกสินทร์องค์แรกทรงพยายามนําตัวอักษรฝักขามกลับมาใช้อีก แต่ประชาชนไม่นิยมที่
จะใช้ตามเสียแล้ว.....
สันนิษฐานว่า (เมื่อพระมหาสุมณเถระนําศาสนานิกายลังกาวงศ์เก่าเข้ามาเผยแพร่) .....กษัตริย์
ล้านนาทรงบังคับให้พระสงฆ์แบบเก่ามาบวชเรียนในนิกายใหม่นี้ ตัวอักษรสุโขทัยจึงมั่นคงอยู่ในล้านนา
และกลายเป็นหนังสือฝักขามไปในที่สุด...เราไม่ทราบว่าล้านนาจะเลิกใช้ตัวหนังสือพื้นเมืองไประหว่าง
พ.ศ. 1902 ถึงประมาณ พ.ศ. 2000 หรือไม่ หรืออาจจะใช้ควบคู่กับอักษรฝักขามในระยะดังกล่าวก็
เป็นได้....หลังจากนั้นมานิยมใช้ตัวหนังสือพื้นเมืองบันทึกเรื่องราวทางศาสนาและตัวหนังสือฝักขาม
บันทึกเรื่องราวทางโลกมาจนถึงประมาณต้นรัตนโกสินทร์ จึงเลิกใช้ ตัวหนังสือฝักขามไป คงใช้แต่
ตัวหนังสือพื้นเมืองมาจนถึงสมัยรัฐนิยมได้เลิกสอนตัวหนังสือพื้นเมืองไป มาถึงบัดนี้ เกือบไม่มีพระสงฆ์
สามเณรรูปใดอ่านตัวหนังสือพื้นเมืองและตัวหนังสือฝักขามออก”

สรุปจากการวิเคราะห์ข้างต้น ได้ความเห็นสําคัญๆ ดังต่อไปนี้

1. พญามังรายดัดแปลงตัวอักษรมอญเป็นตัวอักษรล้านนา เรียกว่าตัวอักษรธรรม เนื่องจากใช้ในวัดและ


การศึกษาของวัดเป็นหลัก ภายหลังจึงเรียกว่าตัวอักษรพื้นเมืองหรือตั๋วเมือง

2. ด้วยความเลื่อมใสศรัทธาในนิกายลังกาวงศ์ใหม่ที่มาจากสุโขทัย จึงมีการนําตัวอักษรสุโขทัยมาใช้แต่
เพราะล้านนามีตัวอักษรพื้นเมืองของตนเอง จึงดัดแปลงตัวอักษรสุโขทัยกลายเป็นตัวหนังสือฝักขาม
สําหรับบันทึกเรื่องราวทางโลก ส่วนบันทึกเรื่องศาสนาใช้ตัว อักษรธรรม เลยมีคนเรียกว่าตัวอักษร
ธรรมที่แพร่ไปไกลถึง เชียงตุง-เชียงรุ่ง-ลาว-อีสาน
3. สมัยล้านนาตกเป็นเมืองขึ้นของพม่า มีการใช้ท้ังตัวอักษรพื้นเมืองบันทึกเรื่องศาสนาและตัวอักษรฝัก
ขามบันทึกเรื่องราวทางโลก

4. ตั้งแต่สมัยต้นรัตนโกสินทร์เป็นต้นมา พระเจ้ากาวิละ-เจ้าหลวงเชียงใหม่ในสมัยต้นรัตนโกสินทร์
(พ.ศ. 2324-2358) พยายามรื้อฟื้นการใช้ตัวอักษรฝักขาม แต่ประชาชนไม่นิยม จึงได้ยกเลิกการใช้
ตัวอักษรฝักขาม ใช้ตัวอักษรธรรมบันทึกเรื่องราวทั้งทางธรรมและทางโลก คนล้านนาในยุคนี้เรียก
ตัวอักษรธรรมว่า ตั๋วเมือง

ความน่าสนใจของเรื่องนี้คือ การใช้คําว่า คนเมือง ตั๋วเมือง ป๋าเวณีป๋ีใหม่เมือง ฮีตเมือง เสื้อ


เมือง ของกิ๋นเมือง ไก่เมือง ฯลฯ ทั้งหมดนี้ชี้ให้เห็นว่าคําว่าเมืองคือพื้นที่ เมืองคือพื้นเมือง คือที่นี่ นี่ไม่ใช่
สยาม และก็ไม่ใช่ลาวอย่างที่คนสยาม หรือคนยอง เรียกคนท้องถิ่น ของที่นี่ไม่เหมือนกับของสยาม หรือ
ของลาว หรือของที่มาจากที่อื่น จะเรียกแบบวิชาการว่าเป็นการสร้างอัตลักษณ์ของท้องถิ่นก็ย่อมได้ แต่
ท้องถิ่นไหนๆก็เป็นเช่นนี้ คือ จําแนกความแตกต่างระหว่างสิ่งที่มีอยู่เดิมและสิ่งที่มาภายหลัง คนเราเกิด
มายังมีชื่อมีสกุลมีของตนเองและของคนอื่น ทําไมท้องถิ่นจะมีอะไรที่เป็นของตนเองไม่ได้ แต่ที่สําคัญ
กว่ า คื อ คํ า ว่ า แตกต่ า งกั บ แตกแยกเป็ น คนละความหมายและไม่ จํ า เป็ น ต้ อ งคู่ กั น แตกต่ า งไม่ ต้ อ ง
แตกแยกก็ได้ หรือจะแตกแยกก็ได้

ตัวอักษรพื้นเมืองสร้างขึ้นในรัฐล้านนา โดยได้ดัดแปลงมาจากตัวอักษรของมอญและมีรูปแบบที่
คล้ายกับตัวอักษรของพม่าเป็นอย่างมาก และมีลักษณะแตกต่างจากตัวหนังสือของสุโขทัยและอยุธยาที่
ดัดแปลงมาจากตัวอักษรของขอม

การวิเคราะห์ของ ประเสริฐ ณ นคร ถือว่าเป็นผลงานที่มีคุณค่าต่อการศึกษาประวัติศาสตร์ของล้านนา


เพราะท่านได้ทําหน้าที่สําคัญอย่างน้อย 2 ประการคือ 1. การระบุ (Identification) เช่น ท่านระบุว่า
ตัวอักษรของคนไทมีกี่แบบ มาจากไหน ใครเป็นผู้สร้าง และเดินทางไปหากันอย่างไร และ 2. การจัด
ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยต่างๆ (Making connections) เช่น ระบุว่าตัวอักษรล้านนามาจากมอญ
ตัวอักษรสุโขทัยมาจากขอม พระมหาสุมณเถระนําพระบรมสารีริกธาตุจากสุโขทัยไปมอบให้พญากือนา
แห่งเชียงใหม่ ตัวอักษรสุโขทัยจึงเข้าไปเผยแพร่ในล้านนา และมีการดัดแปลงกลายเป็นตัวอักษรฝักขาม
พระเจ้ากาวิละต้องการรื้อฟื้นตัวอักษรฝักขาม แต่ประชาชนต้องการใช้ตัวอักษรพื้นเมืองหรือตัวอักษร
ธรรม

การวินิจฉัยของท่านมีความสําคัญในการขยายขอบเขตความรู้เกี่ยวกับตัวเมืองออกไป และทําให้เกิด 2
ประเด็นที่เกี่ยวเนื่อง คือ 1. การวินิจฉัยดังกล่าวถูกต้องหรือไม่ หากไม่ถูกต้อง อะไรคือสิ่งควรจะเป็น
และ 2. หากการจัดความสัมพันธ์เหล่านั้นถูกต้อง ท่านยังไม่ได้ทําเรื่องหนึ่ง นั่นคือ ตั้งคําถามที่ว่า ทําไม
และ อย่างไร และค้นหาคําตอบ เช่น

หนึ่ง ทําไมจึงมีการดํารงอยู่ของ 2 ภาษาในล้านนาคือตัวอักษรพื้นเมือง และตัวอักษรฝักขาม


ทําไมต้องใช้ถึง 2 ภาษา ทําไมไม่มีเพียงภาษาเดียว

สอง ภาษาทั้งสองมีบทบาทอย่างไร และมีปฏิสัมพันธ์กันอย่างไร ส่งผลต่อกันอย่างไร และ

สาม เปลี่ยนแปลงอย่างไรในช่วงที่ล้านนาเป็นอิสระ (พ.ศ. 1839-2101 รวม 262 ปี) และในช่วง


เป็นเมืองขึ้นของพม่า (พ.ศ. 2101-2317 รวม 216 ปี) และ

สี่ ทําไม ประชาชนจึงไม่นิยมกลับไปเขียนบันทึกทางโลกด้วยตัวอักษรฝักขามเช่นในอดีต ทั้งๆที่


เจ้าหลวงทรงปรารถนาจะใช้ตัวอักษรฝักขาม ทําไม จึงเกิดความเห็นที่แตกต่างกันระหว่างประชาชนกับ
เจ้าหลวง เป็นไปได้อย่างไร ที่ประชาชนผู้เป็นไพร่-ทาสจะกล้าเห็นแตกต่างและไม่ปฏิบัติตามคําสั่งหรือ
ทัศนะของชนชั้นนํา และหันไปใช้ตัวอักษรพื้นเมืองเขียนบันทึกทั้งทางธรรมและทางโลก

และสุดท้าย ที่ ดร. ประเสริฐได้สรุปว่า ในสมัยรัฐนิยม มีการเลิกสอนตัวหนังสือพื้นเมือง

“มาถึงบัดนี้ (น่าจะเป็นต้นทศวรรษ 2520) เกือบไม่มีพระสงฆ์สามเณรรูปใดอ่านตัวหนังสือ


พื้นเมืองและตัวหนังสือฝักขามออก” ท่านหมายถึงคําสั่งของกระทรวงธรรมการ (ศึกษาธิการใน
ปัจจุบัน) ที่ยกเลิกการเรียนการสอนตั๋วเมืองในวัดและโรงเรียนทุกแห่ง และห้ามการพูดภาษาคําเมืองใน
ห้องเรียนตั้งแต่ พ.ศ. 2455-56 เป็นต้นมา คําถามที่สี่ก็คือ ทําไม ต้องเลิกสอนและห้ามสอนตัวเมืองใน
วัดและโรงเรียน มีจุดประสงค์อะไรในการทําลายภาษาของคนเผ่าหนึ่ง

จากการศึ กษาของสมหมาย เปรมจิต ต์ ท่ านเห็น ว่ าทั ศนะบางประเด็นของประเสริฐ ได้รับ


อิทธิพลจากแนวคิดของยอร์ช เซเดส์ นักประวัติศาสตร์เอเชียอาคเนย์ผู้เรืองนามชาวฝรั่งเศส (George
Coedes, 1886-1969) ซึ่งสมหมายเห็นว่าเป็นแนวคิดที่ผิด

สมหมายเห็นว่า การวิเคราะห์ของเซเดส์ผิดพลาดที่เห็นว่าเมื่อพระมหาสุมณเถระไปจากสุโขทัย
ถึงล้านนาได้นําอักษรไท-สุโขทัยไปใช้ในล้านนา ทําให้ชาวล้านนาหันไปใช้ตัวอักษรดังกล่าว แต่หลังปี
พ.ศ. 2050 ชาวล้านนาเลิกใช้ตัวอักษรสุโขทัย และกลับไปใช้อักษรของไทลื้อ และหลังจากนั้นในยุคต้น
รัตนโกสินทร์ พญากาวิละได้กลับไปใช้อักษรสุโขทัยอีกครั้ง เพื่อนําล้านนา “กลับไปเป็นเมืองไทยแท้”
โดยพบตัวอักษรไทยในศิลาจารึกวัดพระสิงห์ วัดลําปางหลวง และที่อื่นๆ แต่พญากาวิละดําเนินการได้
ไม่นาน ตัวหนังสือในล้านนาก็กลับไปเป็นแบบล้านนาทั้งหมด จะเห็นว่า การวิเคราะห์ของเซเดส์ นั่นเอง
ที่เป็นที่มาของการวิเคราะห์ของประเสริฐ ดังที่ได้เสนอไปแล้ว

สมหมายเห็นว่างานของเซเดส์และประเสริฐมีปัญหาดังต่อไปนี้

1. เมื่ อ อาศั ย แต่ ง านศิ ล าจารึ ก ไม่ ไ ด้ พิ จ ารณาหลั ก ฐานอื่ น ๆ การวิ เ คราะห์ จึ ง ผิ ด พลาด

2. ให้ความสําคัญแก่ไทยภาคกลางมากเกินไป จนคิดว่าไทยภาคกลางเป็นศูนย์กลางแห่งวัฒนธรรมของ
คนไททั้งหมด ทั้งๆที่ความจริง กลุ่มคนไทแต่ละพื้นที่มีวัฒนธรรมของตนเองและมีปัจจัยแวดล้อมที่
ต่างกัน “ล้านนาอยู่ห่างจากศูนย์กลางวัฒนธรรมขอม ไม่เคยอยู่ใต้อํานาจของพวกขอม ภาษาของ
ล้านนา...จึงไม่มีคําเขมรเข้ามาปะปน...จึงได้แบบมาจากอักษรมอญโบราณ และอักษรมอญโบราณ (ซึ่ง
มีสัณฐานกลม) เป็นต้นเค้าของอักษรมอญและพม่า ตลอดจนไทเหนือ ไทใหญ่ และไท-ยวนด้วย...”

3. วิเคราะห์ผิดที่ว่าล้านนาใช้อักษรสุโขทัยและหันไปใช้อักษรของไทลื้อกลับไปกลับมา

4. วิเคราะห์ผิดที่ว่าพญากาวิละพยายามแก้ไขการกลับไปกลับมาของล้านนาด้วยการรื้อฟื้นตัวอักษร
สุโขทัย แต่ไม่สําเร็จ (การวิเคราะห์ตอนนี้ได้รับการขยายความโดยประเสริฐ) สมหมายอ้างถึงการ
สํารวจจารึกที่ฐานพระพุทธรูปในตัวเมืองเชียงใหม่ ของฮันส์ เพนธ์ในปี พ.ศ. 2513 ว่าได้สํารวจ 312
องค์ ซึ่งมีอายุต้ังแต่ พ.ศ. 2008 จนถึงปัจจุบัน พบว่า เป็นตัวอักษรล้านนา 289 องค์ ตัวอักษรฝักขาม
11 องค์ ตัวอักษรล้านนาปนตัวอักษรฝักขาม 4 องค์ ตัวอักษรพม่าปนตัวอักษรไทใหญ่ 2 องค์ ฯลฯ และ
ท่านได้เปิดเผยผลการสํารวจคัมภีร์ใบลานในเขตตัวเมืองเชียงใหม่ช่วงปี พ.ศ. 2516-2518 โดยได้
สํารวจคัมภีร์ใบลาน 37,683 ผูก มีอายุต้ังแต่ พ.ศ. 2081 เป็นต้นมา เป็นคัมภีร์ใบลานที่จารด้วยอักษร
ขอมและบาลี 3 ผูก ไม่มีจารด้วยตัวอักษรสุโขทัยเลย นอกนั้นเป็นตัวอักษรล้านนาทั้งหมด

สมหมายจึงมีความเห็นว่า

1. ตั้งแต่มีการประดิษฐ์ตัวอักษรล้านนาในช่วงต้นยุคล้านนา คนในล้านนาก็ใช้ตัวอักษรดังกล่าวเรื่อยมา

2. พระมหาสุมณเถระมาจากสุโขทัย การเขียนศิลาจารึกหลักแรกที่วัดพระยืนเป็นตัวอักษรสุโขทัยก็เป็น
เรื่องเข้าใจได้ กระทั่งท่านอาจลงมือเขียนจารึกเองด้วยซ้ํา หลังจากนั้น จึงอาจเป็นธรรมเนียมที่มีการ
จารึกเป็นตัวอักษรสุโขทัย แต่จารึกเป็นตัวอักษรล้านนาก็มีเช่นกัน แต่พบว่าจารึกที่เป็นตัวอักษรสุโขทัย
มีเป็นบางช่วง เช่นเดียวกัน ศิลาจารึกในสุโขทัยและอยุธยาที่จารึกเป็นตัวขอมก็มี ขณะที่จารึกเป็น
ตัวอักษรล้านนาก็มีมาตลอด โดยเฉพาะที่เป็นคัมภีร์ใบลาน

3. การวิเคราะห์ภาษามิใช่ดูเฉพาะจารึก แต่ควรพิจารณาสภาพของศาสนาในแต่ละยุคด้วย และพบว่า


ตัวอักษรล้านนามาจากตัวอักษรมอญ จะเห็นว่าการก่อตั้งรัฐล้านนาเกิดภายหลังการยึดครองหริภุญ
ไชยซึ่งเป็นเมืองของมอญ รับเอาพุทธศาสนาแบบมอญในหริภุญไชย นอกจากนี้ มอญที่เมาะตะมะมี
สัมพันธ์อันดีกับล้านนา พระเจ้าฟ้ารั่วแห่งเมาะตะมะยกราชธิดา ตละแม่ศรี (หรือนางปายโด) ให้แก่
พญามังราย จึงน่าเชื่อว่าพุทธศาสนาแบบมอญกรุงหงสาวดีและเมาะตะมะน่าจะเข้ามาถึงล้านนาด้วยใน
ตอนนั้น

และ 4. ตัวอักษรล้านนามีวิวัฒนาการเช่นเดียวกับตัวอักษรอื่นๆ มิได้สูญหายไปเป็นช่วงๆ ไทลื้อนํา


ตัวอักษรล้านนาไปใช้ ไม่ใช่ไท-ยวนนําตัวอักษรลื้อมาใช้ ตัวอักษรล้านนาเคยมี 32 ตัว ทั้งๆที่ตอนแรกมี
41 ตัวตามที่พระสงฆ์ในยุคแรกๆได้ไปศึกษาพุทธศาสนาที่ลังกา แต่ก็ลดลงเหลือ 32 ตัวเนื่องจากระบบ
การออกเสียงต่างกัน หลังจากนั้นในยุคพระเจ้าติโลกราชที่พุทธศาสนาเฟื่องฟูมาก มีพระจากล้านนาไป
เรียนที่ลังกามากขึ้นและมีพระลังกาเข้ามาสอนในล้านนาด้วย ทําให้มีการปรับปรุงตัวอักษรล้านนาอีก
ครั้งจนครบตามหลักภาษาบาลีของลังกาคือ 41 ตัวจนถึงปัจจุบัน

“วันที่ ๓ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๘๖ ได้เริ่มเปลี่ยนแปลงการปกครองคณะสงฆ์และระเบียบวัดใหม่ดังต่อไปนี้



(๑) ให้ยุบเลิกวัดที่ใม่เจริญและใม่มีพระ เณร
(๒) ให้ยุบเลิกภาษาพื้นเมือง
(๓) ห้ามไม่ให้เทศน์ธรรมพื้นเมือง…
(๖) วัดหนึ่งๆให้มีพระภิกษุจําพรรษาใม่ต่ํากว่า ๕ รูป...
(๘) ห้ามใม่ให้ใช้วิธีต่างๆเช่นสวดถอนบ้าน เป็นต้น
(๙) ให้ใช้ธรรมมาสโท แทนธรรมมาสพื้นเมือง…”

ข้อความข้างต้นเป็นบันทึกของพระครูธรรมรัตน์โพธิ วัดสวนหอม อ.เมือง จ. น่าน อดีตเจ้าคณะอําเภอ


เมืองน่าน (เขียนด้วยลายมือและคัดลอกตามต้นฉบับ) ซึ่งชี้ให้เห็นว่าคําสั่งห้ามอ่านเขียนตัวเมืองและ
เทศน์เป็นภาษากําเมืองภายในวัดเริ่มมีแล้วอย่างช้าที่สุดคือต้นปี พ.ศ. 2486

น่านเป็ นเมื องห่ างไกลมากจากศูนย์อํานาจของล้านนาคือ เชียงใหม่ ขณะที่ สยามได้เข้าไป


ควบคุมเชียงใหม่อย่างเต็มที่ คําถามมีว่าคําสั่งจากส่วนกลางที่มีไปถึงท้องถิ่นที่มีผลเปลี่ยนแปลงครั้ง
ใหญ่ต่อสิ่งที่ปฏิบัติเป็นประจําทุกวัน ควรจะมีถึงศูนย์อํานาจหรือถึงเมืองที่อยู่ห่างไกลก่อน หรือว่าเป็น
คําสั่งที่ส่งถึงทุกๆเมืองพร้อมๆกัน

ศรีเลา เกษพรหม นักวิชาการล้านนาคดีแห่งสถาบันวิจัยสังคม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่วิเคราะห์


ว่าน่านอยู่ห่างจากเชียงใหม่ก็จริง แต่อยู่ไม่ไกลจากศูนย์อํานาจของฝ่ายใต้ นั่นคือ สุโขทัย อยุธยาและ
กรุงเทพฯ น่านจึงต้องระมัดระวังตัวเองในการจัดความสัมพันธ์ทางการเมือง แม้ว่าน่านจะมีประชากร
เป็น คนเมื อ ง มี ความใกล้ ชิดทางวั ฒ นธรรมกั บ ล้ า นนามากกว่ า แต่ อ.ศรี เ ลา เห็น ว่ าหากรัฐ บาลที่
กรุงเทพฯมีนโยบายดังกล่าวกับน่าน กรุงเทพฯจะไม่กล้าออกคําสั่งเช่นนั้นแก่เชียงใหม่ เพราะเกรงการ
ต่อต้าน แต่กรุงเทพฯกล้าสั่งเมืองเล็กๆและห่างไกลเช่นน่านได้ อ. ศรีเลาจึงเห็นว่าในช่วงเวลาดังกล่าว
(พ.ศ. 2486) วัดในเชียงใหม่ไม่น่าจะได้รับคําสั่งเช่นวัดที่น่าน แต่จะใช้วิธีการอบรม การเรียนและการ
สอบแบบส่วนกลางเพื่อให้พระสงฆ์ต้องเรียนและใช้ภาษากรุงเทพฯมากขึ้นๆ และเหินห่างจากภาษาตัว
เมืองมากขึ้นๆ

แต่จากการสัมภาษณ์พระสงฆ์หลายรูปในเชียงใหม่ ท่านเหล่านั้นกลับเห็นตรงข้าม ด้วยเหตุผล


อย่างน้อย 3 ประการ

หนึ่ง แม้ครูบาศรีวิชัยถึงแก่มรณภาพเมื่อ 5 ปีก่อนหน้านั้น แต่การขจัดความคิดเห็นที่ขัดแย้งกับองค์กร


ปกครองสงฆ์ที่กรุงเทพฯยังคงดําเนินต่อไป

สอง นอกจากกระบวนการรวมศูนย์อํานาจขององค์กรปกครองสงฆ์ส่วนกลางจะดําเนินต่อไป นโยบาย


รัฐนิยมของรัฐบาลจอมพล ป. น่าจะทําให้การรวมศูนย์อํานาจของสงฆ์ได้รับการสนับสนุนมากขึ้นหรือ
กล่าวอีกอย่างหนึ่ง คือส่งเสริมซึ่งกันและกัน จะเห็นว่าคําสั่งการปกครองคณะสงฆ์ที่มีต่อวัดในเมือง
น่านในปี พ.ศ. 2486 แทบจะทําให้วัดและสงฆ์ในล้านนาสูญเสียลักษณะ เฉพาะของท้องถิ่นเกือบหมด
ซึ่งเป็นมาตรการขั้นต่อมา หลังจากที่ พรบ. การปกครองสงฆ์ในปี พ.ศ. 2446 ได้ยึดอํานาจการแต่งตั้ง
เจ้าอาวาสของแต่ละวัดและเจ้าคณะตําบล อําเภอ จังหวัดและภาค ไปอยู่ที่ส่วนกลาง จึงเป็นการรวม
ศูนย์อํานาจสําคัญครั้งแรก ก่อนที่จะก้าวต่อไปสู่การทําลายอัตลักษณ์ของวัดในล้านนาหลังจากนั้น แต่
ต้องประสบกับการต่อต้านของพระสงฆ์บางกลุ่ม เช่นกลุ่มของครูบาศรีวิชัย การปราบปรามลักษณะ
ท้องถิ่นของสงฆ์ในล้านนาจึงสอดรับพอดีกับการที่ครูบาศรีวิชัยจากไปในปี พ.ศ. 2481 และพระสงฆ์ที่
นับถือครูบาศรีวิชัยถูกถอดจากตําแหน่งหรือลาสิกขาหลังจากนั้น

สาม องค์กรปกครองสงฆ์สามารถผ่อนปรนในการออกคําสั่งต่อวัดในเชียงใหม่ แต่ในสภาพที่กล่าวในข้อ


1-2 คําสั่งที่มีต่อน่านและเชียงใหม่และเมืองอื่นๆในล้านนาน่าจะเหมือนกัน เพียงแต่ยังไม่สามารถหา
ข้อมูลที่ชัดเจนได้

มีแต่คําบอกเล่าที่สืบทอดกันมาจากยุคนั้นในวงการพระสงฆ์ เช่น

หลังจากครูบาศรีวิชัยถูกควบคุมตัวไปสอบสวนที่กรุงเทพฯครั้งที่ 3 ในปี พ.ศ. 2478 มีข่าว


มากมายเกี่ยวกับการจับกุมพระและเณรที่ติดตามครูบาศรีวิชัยตลอดจนการยึดเอกสารใบลานในวัด
ต่างๆ หลังจากนั้น ได้มีการห้ามเขียนอ่าน เทศน์และสอนภาษาล้านนา และจะมีการยึดคัมภีร์ใบลาน
ทั้งหมด ด้วยเหตุนี้ จึงมีข่าวว่าที่เมืองฮอด และที่สันกําแพง มีการขนหีบธรรมไปซ่อนไว้ในถ้ํา

พ่อน้ อยอิน ทร์ มั่ งใหม่ บ้ านดงมะไฟ ต.สันผักหวาน อ. หางดง ถูก ครูบาขาวปีสั่งให้ ไปเก็บ
รวบรวมคัมภีร์ใบลานตามวัดต่างๆไปซ่อน เพราะกลัวว่าจะมีคนของทางการมายึดและนําไปเผา

ที่ถ้ําแม่ปาน อ.แม่แจ่ม มีการนําหีบธรรมไปซ่อนไว้ในถ้ําเป็นจํานวนมาก ต่อมา เมื่อเข้าไป


ตรวจดูเมื่อ 4-5 ปีที่แล้ว พบว่า คัมภีร์ใบลานเหล่านั้นชํารุดหมดแล้วเพราะความชื้น พ่อหนานทอง นิปุ
นะ มัคคทายกวัดบ้านเหล่า ต.ท่าผา อ.แม่แจ่ม เข้าไปนําหีบธรรมในถ้ําแม่ปานออกมา 1 หีบ แต่ชื้นหมด
ใช้การไม่ได้

มีข่าวว่าเจ้าอาวาสวัดแห่งหนึ่งไม่ไกลจากข่วงประตูท่าแพ เมื่อได้รับคําสั่งห้ามเทศน์เป็นภาษา
ล้านนา และการทําลายประเพณีด้งั เดิมอื่นๆของวัด รู้สึกสะเทือนใจนักจึงแขวนคอจบชีวิต

ในส่วนการยกเลิกวัดที่มีพระเณรจํานวนน้อยกว่า 5 รูป เจ้าอาวาสวัดโลกโมฬีไม่สบายใจต่อ


คําสั่งดังกล่าวจึงลาสิกขา เจ้าอาวาสวัดหม้อคําตวง (ซึ่งอยู่คนละฝั่งคูเมืองเชียงใหม่) เสนอให้พระเณร
จากวัดไปอยู่ที่วัดโลกโมฬี เพื่อให้วัดโลกโมฬีดําเนินงานต่อไป แต่ทางการตอบว่าพระเณรจากวัดไม่ต้อง
ไป เพราะวัดมีมากเกินไป จึงขอให้ยุบเสียบ้าง (แนวคิดเดียวกับคําสั่งต่อเมืองน่าน)

วัดโลกโมฬี วัดกิตติ วัดหมื่นคองและวัดนางเหลียว (อยู่ในยุพราชวิทยาลัย) ต้องกลายเป็นวัด


ร้าง มีประกาศว่าวัดไหนอยากได้สิ่งที่มีอยู่ในวัดก็ให้ไปขนเอา ด้วยเหตุนี้ ธรรมาสน์ องค์พระประธานใน
วิหาร หอธรรม จึ งถูกย้ายไปวัดอื่น เช่น บางส่วนของวัดโลกโมฬี (เช่นธรรมาสน์ ) ไปอยู่ที่วัดกู่เต้ า
บางส่วนของวัดกิตติ (เช่นหอธรรมทั้งหลัง) ยกไปอยู่ที่วัดพวกแต้ม

เจ้าอาวาสวัดนางเหลียวและครูบาเจ้าหน้อย เจ้าอาวาสวัดเชียงหมั้นถูกนิมนต์ให้ลาสิกขา ฝ่าย


แรกยอม แต่ฝ่ายหลังไม่ยอมและประกาศว่าถ้าจะให้ออกจากวัดนี้ ให้คนที่นิมนต์ท่านมาจําพรรษาที่วัด
นี้ (คือเจ้าหลวงเชียงใหม่) มานิมนต์ให้ท่านออกจากวัด ท่านก็เลยได้จําวัดต่อไป เพราะไม่มีใครกล้าไป
กราบทูลเจ้าหลวง วัดเชียงหมั้นก็เลยไม่กลายเป็นวัดร้างเช่นอีกหลายวัด

นอกจากนี้ อํานาจสงฆ์ส่วนกลางยังออกคําสั่งให้พระสงฆ์ในล้านนาเปลี่ยนแปลงวิธีครองผ้าให้
เป็นแบบส่วนกลาง นั่นคือ นุ่งห่มผ้าสีเหลือง และครองผ้าแบบมัดลูกบวบ มิใช่นุ่งห่มสีหมากสุก (สีแดง
ม่วงย้อมด้วยเปลือกไม้ฝาง) และครองผ้าแบบรัดอก (ดังเช่นครูบาศรีวิชัยและพระรูปอื่นในล้านนายุค
นั้น) คําสั่งนี้มีไปถึงเจ้าอาวาสทุกวัดและเจ้าคณะอําเภอรอบนอก หากพระสงฆ์องค์ใดไม่ยอมก็ให้ลา
สิกขา พระสงฆ์หลายรูปจึงลาสิกขาด้วยเหตุนี้

ทั้งหมดนี้คือเรื่องเล่าจากพระสงฆ์หลายรูปในเขตเมืองเชียงใหม่เกี่ยวกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น
ในช่วงทศวรรษ 2480 ที่เล่าสืบต่อกันมา

จากการสัมภาษณ์พระสงฆ์ระดับเจ้าอาวาสซึ่งปัจจุบันบวชเรียนในช่วงทศวรรษ 2490-2500
คัมภีร์ใบลานที่ถูกนําไปซ่อนในถ้ํา หรือบางแห่งขุดหลุมฝังกลางวิหาร จะเป็นวัดที่มีความสัมพันธ์ใกล้ชิด
กับครูบาศรีวิชัย (ซึ่งคาดว่ามีจํานวนหลายร้อยวัด)

อย่างไรก็ตาม แม้จะมีคําสั่งห้ามเรียนเขียนอ่านตัวเมืองในช่วงทศวรรษ 2480 แต่ในช่วง 2490-


2500 พระเณรยังคงเรียนภาษาตัวเมืองตามปกติ ที่สําคัญเนื่องจากเจ้าอาวาสและพระสงฆ์ส่วนใหญ่ใน
เวลานั้น อ่ า นเขี ย นตั ว เมื อ งได้ ดีแ ละเห็น ว่ า เป็น งานที่ต้ อ งสื บ สานจึ ง สอนขะโยม (หรื อ ศิ ษ ย์ วัด) และ
สามเณร

จากการสัมภาษณ์พระสงฆ์หลายรูปได้พบตัวอย่าง เช่น สามเณรที่วัดห้วยยาง อ.เทิง เชียงราย


ในปี พ.ศ. 2494 สามเณรที่วัดสารภี อ.แม่วาง ในปี พ.ศ. 2496 สามเณรที่วัดทาขุมเงิน อ.แม่ทา ลําพูน
ในปี พ.ศ. 2501 สามเณรที่วัดศรีบุญเรือง อ.สารภี เชียงใหม่ในปี พ.ศ. 2502 สามเณรที่วัดสันป่าเลียง
ต. หนองหอย อ.เมือง เชียงใหม่ในปี พ.ศ. 2515 และสามเณรที่วัดปาง อําเภอปัว จ. น่านในปี พ.ศ.
2527 ยืนยันว่าต้องเรียนตัวเมืองกับเจ้าอาวาส เป็นการเรียนอย่างเข้มข้น และก่อนที่จะเป็นสามเณร
ต่างเป็นขะโยมที่ต้องเรียนตัวเมืองกับพระผู้ใหญ่ แต่เมื่อเวลาผ่านไป ส่วนใหญ่ยืนยันว่าได้ยินคําพูด
เสมอๆว่า “อย่าเรียนเลยตัวเมือง ไม่มีประโยชน์หรอกในอนาคตข้างหน้า” ทั้งนี้เพราะเวลานั้น ได้มีการ
จัดตั้งโรงเรียนปริยัติธรรมของวัดที่สอนสามเณรและพระโดยมีเนื้อหาหลักสูตรเช่นเดียวกับสิ่งที่สอนใน
โรงเรียนประถมและมัธยมและเป็นการสอนโดยใช้ภาษาไทยภาคกลางทั้งหมด อย่างน้อยอําเภอละ 1
แห่ง; มีการสอนหลักธรรมคําสอนและภาษาบาลีให้แก่พระ-เณร; มีการสอบนักธรรมตรี-โท-เอก และ
เรียนเพื่อสอบเปรียญแต่ละขั้น หมายความว่าผู้ใดผ่านการศึกษาเหล่านี้ (ซึ่งเป็นหลักสูตรที่กําหนดโดย
ส่วนกลางทุกอย่าง และไม่มีการใช้ภาษาตัวเมืองแม้แต่น้อย)นั่นก็คือ หนทางแห่งความก้าวหน้าในหน้าที่
การงานของสงฆ์ทุกรูป

ความสนใจต่อภาษาตัวเมืองจึงลดลงเป็นลําดับ และสถานการณ์ดังกล่าวยิ่งเลวร้ายลงมากขึ้น
เมื่ อ ทิ ด คนหนึ่ ง ที่ ต้ั ง โรงพิ ม พ์ ใ นเมื องเชี ย งใหม่ ได้ แ ปลพระธรรมคํ า สอนภาษาตั ว เมื อ งทั้ ง หมดเป็ น
ภาษาไทยและจัดพิมพ์จําหน่าย ซึ่งเท่ากับทําลายโอกาสของพระสงฆ์ที่คิดจะเรียนตัวเมืองมากขึ้น ยิ่ง
เอกสารเหล่านี้แพร่หลายไปทั่วล้านนามากเท่าใด พระสงฆ์ก็ยิ่งเรียนเขียนอ่านตัวเมืองน้อยลงๆ

จากการเปิดเผยของพระรูปหนึ่ง ท่านได้ย้ายจากวัดบริเวณชานเมือง (ต. หนองหอย) เชียงใหม่


ในปี 2517 อายุ 15 ปีเข้ามาจําวัดในเขตกําแพงเมืองเชียงใหม่เพื่อศึกษาต่อ และเดินทางไปเรียนตามวัด
ต่างๆทั้งในเชียงใหม่และกรุงเทพฯ จนสอบได้เปรียญ 4 ในปี พ.ศ. 2527 ตั้งแต่น้ันจนถึงขณะนี้ ท่านไม่มี
โอกาสได้ใช้ภาษาตัวเมืองอีกเลย แม้เวลานี้ยังอ่านได้ไม่ลืม เพราะได้เรียน 3 ปีเต็มขณะที่เป็นขะโยมและ
เณร แต่ความรู้และการเขียนก็หดหายไปมาก ส่วนพระอีกรูปหนึ่งบวชเป็นสามเณรที่วัดในอําเภอพานใน
ปี พ.ศ. 2521 พระสงฆ์ที่เป็นอาจารย์สอนตัวเมืองมีภารกิจมาก ทําให้การเรียนการสอนไม่เข้มข้น และ
เมื่อท่านเข้าเรียนในโรงเรียนปริยัติธรรมของวัดในตัวอําเภอ จนจบชั้นม.ศ. 5 แล้วย้ายมาเข้าเรียนระดับ
ปริญญาตรีของสถาบันสงฆ์ในเชียงใหม่ และสําเร็จการศึกษาระดับปริญญาโท-เอกในต่างประเทศ
ท่านก็ไม่ได้เรียนตัวเมืองอีกเลย

จากความเห็นของพระนคร ปรังอินทร์ วัดสุทธาวาส ต.สันปูเลย อ. ดอยสะเก็ด ในปัจจุบัน


จํานวนพระสงฆ์และสามเณรในล้านนาที่สามารถอ่านตัวเมืองออกน่าจะเป็นดังนี้

สามเณรที่อ่านเขียนตัวเมืองได้ มีจํานวนราวต่ํากว่า 10% ของสามเณรทั้งหมด


พระสงฆ์อายุ 20-30 ปี ที่อ่านเขียนตัวเมืองออกมีจํานวนราว 15%
---------- 30-40 ปี -------------------------- 30%
---------- 40-50 ปี -------------------------- 35%
---------- 50-60 ปี -------------------------- 50%
---------- 60 ปีขึ้นไป ------------------------- เกิน 50%
ข้อวิเคราะห์ที่ว่าหลังปี พ.ศ. 2500 เศษเป็นต้นมา มีพระเณรอ่านและเขียนตัวเมืองได้น้อยลงๆ
เป็นลําดับ ก็ดังที่ได้กล่าวไปแล้ว เมื่อต้องเรียนวิชาการที่เป็นภาษาไทยล้วนๆและยังเป็นภาคบังคับ และ
มีเอกสารที่แปลจากภาษาล้านนาเป็นภาษาไทย-กลางหมดแล้ว สามเณรจํานวนมากขึ้นเป็นลําดับจึงไม่
เห็นความจําเป็นที่จะต้องเรียนตัวเมือง หรือแม้มีคนอยากเรียน แต่ครูที่สอนตัวเมืองหรือเวลาที่มีให้กลับ
ลดน้อยลงเป็นลําดับ ส่วนพระสงฆ์และสามเณรซึ่งเคยอ่านเขียนตัวเมืองได้ ครั้นต้องเรียนรู้เอกสารที่
เขียนเป็นภาษาไทยมากขึ้นเรื่อยๆ ต้องไปรับการอบรมที่กรุงเทพฯบ่อยครั้ง ความสนใจในภาษาตะวันตก
ก็มีมากขึ้น หน้าที่การงานสูงขึ้น ภาระงานมากขึ้น แต่เวลาน้อยลง ก็นับวันจะเหินห่างตัวเมืองหรือตัว
เมืองใช้การได้ไม่ดีอีกต่อไป ส่วนพระสงฆ์ที่ร้บู ้างเล็กน้อยหรือไม่รู้เลยก็ยากนักที่จะมีโอกาสได้เรียนหรือ
เพิ่มพูนความรู้ด้านตัวเมืองให้มากขึ้น

สําหรับประชาชน เมื่อกระทรวงธรรมการออกคําสั่งห้ามการเรียนเขียนอ่านภาษาล้านนาและ
ห้ามพูดคําเมืองในห้องเรียนตั้งแต่ พ.ศ. 2456 ก็หมายความว่าเยาวชนนับตั้งแต่น้ันและเรื่อยมา
กลายเป็นผู้ใหญ่และคนชราในเวลานี้เกือบครบรอบ 100 ปี ที่หาคนอ่านออกเขียนตัวเมืองได้น้อยมาก
คนที่อ่านออกเขียนตัวเมืองได้ในห้วง 2-3 ทศวรรษที่ผ่านมาก็คือคนที่เคยบวชเรียนมาก่อน

ในช่วงกลางทศวรรษ 2500 เด็กชายสิงห์คํา บ้านเชิงดอย ตําบลเชิงดอย อ. ดอยสะเก็ดเคยเห็น


ตัวเมืองในหนังสือบางเล่มที่บ้าน เขาอยากเรียน แต่พ่อแม่ อา ลุงป้า อ่านตัวเมืองไม่ได้สักคน มีคนบอก
เขาว่าอยากเรียนให้ไปขอเรียนกับพระที่วัด ความจําเป็นที่มองไม่ค่อยเห็นบวกกับภาระการเรียนเพื่อ
ความสําเร็จในระบบการศึกษาของรัฐ วัดก็อยู่ห่างออกไป ในที่สุด เขาก็ไม่ได้เรียนจนแล้วจนรอด มี
เพียงตัวอักษรบางตัวที่เขาอ่านได้เพราะมีคนบอกให้

ต้นทศวรรษ 2530 เด็กหญิงดาวราย ตําบลสันปูเลย อ. ดอยสะเก็ด ได้เรียนตัวเมืองกับพ่อของ


เธอ พ่อที่เคยบวชเรียน เห็นความสําคัญของตัวเมืองและล้านนาและทํางานเป็นครู ดาวรายชอบเรียน
ตัวเมืองพอๆกับการเรียนที่ดีเด่นในโรงเรียนของรัฐ แต่แล้วพ่อก็จากเธอไปเมื่อเธอมีอายุเพียง 13 ปี

เมื่อเธอเรียนวิชาภาษาไทยที่สถาบันราชภัฏเชียงใหม่ เธอมีโอกาสได้เรียนภาษาล้านนาอีกครั้ง
ต่อมาวันหนึ่ง จักรยานยนต์ของเธอไปเสียที่หน้าโฮงเฮียนสืบสานภูมิปัญญาล้านนา เธอจูงรถเข้าไปในที่
แห่งนั้นด้วยความประสงค์จะซ่อมรถ สุดท้าย เธอก็ได้เรียนตัวเมืองที่นั่นกับครูอีกหลายคน ด้วยความ
เอาใจใส่ในการอ่านและหาความรู้เพิ่มเติม ดาวรายก็สามารถอ่านตัวเมืองที่อยู่ในจารึกเก่าแก่ได้อย่าง
แตกฉาน ส่งผลให้เธอได้งานทําเป็นผู้ช่วยการปริวรรตงานเขียนตัวเมืองเป็นภาษาไทย ขณะนี้ เธอ
ทํางานหาเลี้ยงชีพด้วยการปริวรรตงานเขียนตัวเมืองของสถาบันวิจัยแห่งหนึ่งในเชียงใหม่ เป็นงานเต็ม
เวลา รายได้จากการทํางานปริวรรตตัวเมืองช่วยให้เธอได้เรียนต่อระดับปริญญาตรีในโครงการวัน
เสาร์-อาทิตย์และจะจบในปีการศึกษานี้

แต่สุดท้าย ชีวิตและงานของนายสิงห์คํา เจ้าอาวาสวัดหนึ่งหน้ากําแพงเมืองเชียงใหม่ที่มาจาก


จังหวัดพะเยา เจ้าอาวาสของวัดหนึ่งในเขตกําแพงเมืองที่มาจากชานเมืองเชียงใหม่ และพระสงฆ์รูปหนึ่ง
ที่ จ บการศึ ก ษาระดั บ ปริ ญ ญาตรี ที่ วั ด ในเชี ย งใหม่ ระดั บ ปริ ญ ญาโท-เอกจากอิ น เดี ย ก็ ไ ม่ มี อ ะไรที่
แตกต่างกันเลย

ทั้งสี่เหมือนกันตรงที่ดิ้นรนขวนขวาย เรียนหนังสือที่ตนเองมีโอกาส คนแรกเข้าโรงเรียนอนุบาล


ขึ้นชั้นประถม-มัธยมและสอบเข้ามหาวิทยาลัย หาทุนเรียนต่อจนจบการศึกษาชั้นสูง 2 คนถัดมาเป็นขะ
โยมวัด บวชเป็นสามเณร ย้ายเข้ามาเรียนระดับนักธรรมในวัดเขตกําแพงเมืองเชียงใหม่ องค์หนึ่งเรียน
แล้วสอบจนจบชั้น พ.ม. จบศึกษาศาสตร์บัณฑิตและพุทธศาสตร์มหาบัณฑิต เป็นเจ้าอาวาส และกําลัง
คิดว่าจะเรียนต่อระดับปริญญาเอก อีกองค์หนึ่งเรียนที่โรงเรียนปริยัติธรรม และเรียนภาษาบาลี จน
สอบได้เปรียญ 4 ประโยค ส่วนองค์สุดท้ายเรียนที่โรงเรียนปริยัติธรรม วิทยาลัยสงฆ์ และจบปริญญา
โท-เอกจากต่างประเทศ

ทั้งสี่เหมือนกันตรงที่ต่างคนต่อสู้ไปจนถึงเป้าหมายของตนเอง และปัจจุบันมีหน้าที่การงานอัน
เป็นฟันเฟืองหนึ่งของสังคม เป็นผู้นําระดับกลางขององค์กรต่างๆในเชียงใหม่

และที่เหมือนกันอีกอย่างหนึ่งที่สําคัญคือ แม้จะมีพื้นความรู้เกี่ยวกับตัวเมืองต่างกัน คนแรก


อ่านได้ไม่กี่ตัว องค์ที่สองอ่านได้บ้างเพราะครูสอนเพียงปีเดียวก็ย้ายไปวัดอื่น จากนั้นก็ไม่มีโอกาสได้
เรียนอีก ส่วนองค์ที่สามอ่านเขียนได้ดีมาก แต่ก็เป็นช่วงที่เป็นขะโยมและเป็นสามเณร หลังจากนั้น ก็ไม่
มีโอกาสได้ใช้เลย และองค์สุดท้าย ได้เรียนเขียนอ่านน้อยนิดเมื่อบวชสามเณรช่วง 2 ปีแรก กล่าวโดย
สรุป รู้หรือไม่รู้ สังคมนี้ก็ไม่เปิดโอกาสให้ได้ใช้ตัวเมือง เพราะร้านค้ามีชื่อภาษาไทย จีนและอังกฤษ
ตลอดมา แต่ไม่เคยมีชื่อที่เป็นตัวเมือง สถานที่ราชการเพิ่งเริ่มมี 3 ภาษาคือ ไทย ตัวเมืองและอังกฤษ
เพียงไม่กี่ปีมานี้ ระบบการศึกษาที่ผ่านมา ไม่ว่าสําหรับฆราวาสหรือสงฆ์ มิได้เอื้อเฟื้อให้ใครสามารถ
เรียนตัวเมืองได้

หลายปีมานี้ มีหลายวัดที่เปิดสอนตัวเมืองในวันเสาร์และอาทิตย์เพื่อรื้อฟื้นตัวอักษรของล้านนา
เช่น วัดสวนดอก วัดพันอ้น วัดลอยเคราะห์ โดยไม่คิดค่าสอน สํานักส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม ม.ช. และ
สภาคริสตจักรที่เชิงสะพานนวรัฐก็เปิดโครงการนี้ จังหวัดต่างๆในล้านนาก็ริเริ่มโครงการนี้ มีคนไปเรียน
ห้องละหลายสิบคน นับเป็นกิจกรรมที่ควรได้รับการชื่นชมอย่างยิ่ง
ที่โรงเรียนมัธยมหลายแห่ง มีการสอนตัวเมืองเป็นวิชาเลือก ครูที่สอนเรียนรู้จากโครงการที่
กล่าวข้างต้นหรือเคยเรียนในสถาบันอุดมศึกษา บางโรงเรียนมีครูที่เคยบวชเรียนเปิดสอนตัวเมืองเป็น
วิชาเลือก แต่ครั้นได้เวลาเกษียณอายุ ก็ไม่มีใครมาสอนแทนอีก

แต่ทุกแห่งต่างเผชิญปัญหาเหมือนกัน นั่นคือ ไม่ว่าสถาบันอุดมศึกษาหรือโรงเรียนมัธยมก็ไม่มี


นโยบายเปิดสอนตัวเมืองอย่ างจริ งจัง ในระดับอุดมศึกษา ก็มีเพียงคนเรียนภาษาและวรรณกรรม
ล้านนาเท่านั้นซึ่งมีอยู่ไม่กี่คน นอกนั้น นักศึกษานับหมื่นคนในแต่ละปีไม่มีโอกาสได้เรียนแม้แต่วิชา
ประวัติศาสตร์ล้านนา อันควรจะเป็นวิชาสําหรับคนในล้านนาทุกคน

เมื่อนักเรียนจํานวนน้อยเรียนตัวเมืองในระดับมัธยมและไม่มีโอกาสได้เรียนอีกในมหาวิทยาลัย
ที่มหาวิทยาลัยมีคนเรียนด้านนี้เพียงไม่กี่คน แต่ละปีแทบไม่มีสถาบันไหนรับคนที่มีความรู้ความสามารถ
ด้านภาษาตัวเมือง คนที่เรียนตัวเมืองในโครงการวันเสาร์-อาทิตย์จบออกไปก็ไม่มีโอกาสได้อ่าน เพราะ
ไม่มีชมรม ไม่มีเอกสารตัวเมืองจําหน่ายอย่างต่อเนื่อง ไม่มีป้ายตัวเมืองตามจุดต่างๆสําหรับกิจกรรม
รายวัน มีแต่ป้ายบอกชื่ออาคาร วัดต่างๆไม่มีการจัดทําห้องสมุดสําหรับพระ-เณร และคนที่สนใจเข้าไป
หาอ่านและค้นคว้าเอกสารตัวเมืองที่เก่าแก่ ฯลฯ

เมื่อไม่มีโอกาสได้ใช้ คนที่เคยเรียนรู้ตัวเมืองก็จะค่อยๆ ลืมเลือนไป โดยเฉพาะอย่างยิ่งคนที่ได้


เรียนในโครงการฟื้นฟูตัวเมืองเพียง 2-3 ครั้งต่อสัปดาห์และเรียนเพียง 2-3 เดือน ซึ่งถือว่ารากฐานยัง
ไม่ แ ข็ง แกร่ ง และเมื่อ สถาบั น ต่ า งๆไม่ มี ตํ า แหน่ ง รองรั บ ผู้ รู้ แ ละผู้ส อนวิ ช านี้ อ ย่ า งเป็น แบบแผน กฎ
เศรษฐกิจว่าด้วยอุปสงค์-อุปทานก็จะเข้ามามีบทบาท นั่นคือ เมื่อสังคมไม่ต้องการ นักศึกษาก็ขาด
แรงจูงใจที่จะเรียน เพราะจะไม่มีงานทํา จากการมีความรู้ในวิชานี้ ตัวเมืองในปัจจุบันจึงได้รับการฟื้นฟู
ขึ้นบ้างเมื่อเทียบกับหลายสิบปีก่อน แต่ยังมีลักษณะที่อ่อนแอมาก

จะมีกี่คนเล่าเหมือนนางสาวดาวราย ที่มีพ่อตั้งใจสอนภาษาตัวเมืองให้ เธอมีโอกาสได้เรียนมาก


ขึ้นในเวลาต่อมา และเธอตั้งใจเรียนจนแตกฉานในภาษานี้ และขณะนี้ เธอมีรายได้จากการทํางาน
เกี่ยวกับตัวเมืองเต็มเวลา เธอที่เอ่ยชื่อคนหนุ่มสาวที่รู้ตัวเมืองและทํางานมีรายได้จากตัวเมืองแบบเธอ
ได้เพียงไม่กี่คน

วันนี้ จะหาโรงเรียน และวัดไหนได้บ้างที่รื้อฟื้นการเรียนการสอนภาษาตัวเมืองอย่างเป็นระบบ


และต่อเนื่องเพือ่ ไม่ให้ภาษานี้กลายเป็นอดีตหรือมีแต่ตัวหนังสือบนป้าย เพียงเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยว
หรืออวดอ้างว่าสถาบันของตนมีป้ายหน้าประตูที่ใหญ่โต แต่ไม่ได้ทําอะไรมากนักนอกเหนือจากนั้น.
@@@@@@@@@@@@@@@@@@@

You might also like