You are on page 1of 3

บทที่ 1

บทนำ

ควำมสำคัญของปัญหำ

ประเทศไทยมี ป ริ ม าณขยะเพิ่ ม ขึ้ น ในทุ ก ๆ ปี โดยมี ป ริ ม าณขยะมากถึ ง 27.8 ล้ า นตั น ในปี


2561 เพิ่มขึ้น 1.64% จากปี 2560 (กรมควบคุมมลพิษ, 2561) ปริมาณขยะที่เพิ่มมากขึ้นส่วนหนึ่งมาจากการ
ใช้บริการ Food Delivery ซึ่งมีการสร้างขยะถึง 1,095,000 ชิ้นต่อปี ประกอบกับผู้บริโภค Food Delivery
ส่วนใหญ่ไม่ได้มีการจัดการขยะที่ถูกวิธี หลังการบริโภค (ศูนย์วิจัยและฝึกอบรมด้านสิ่งแวดล้อม กรมส่งเสริม
คุณภาพสิ่งแวดล้อม, 2561, น. 14) ซึ่งถือเป็นประเด็นที่สาคัญ เพราะการจัดการขยะที่ไม่ถูกวิธีจะส่งผลกระทบ
อย่างมากต่อสุขภาพของคน สิ่งแวดล้อมของเมือง และระบบเศรษฐกิจ (School of Change Makers, 2561)
ปัจจุบันการสั่งอาหารผ่านแอปพลิเคชัน หรือการใช้บริการ Food Delivery ในประเทศไทยได้รับ
ความนิยมมากขึ้น สังเกตได้จากจานวนแอปพลิเคชันที่มีให้เลือกใช้งานมากขึ้น เช่น Line Man, Food panda,
Grab Food, GET และจานวนยอดสั่งอาหารที่เพิ่มมากขึ้น โดยในปี 2561 มียอดสั่งอาหารจากแอปพลิเคชัน
Grab Food เพียงแอปพลิเคชันเดียว 3 ล้านออเดอร์ และมียอดสั่งอาหารใน 4 เดือนแรกของปี 2562 มากถึง
4 ล้านออเดอร์ หรือมากขึ้นจากเดิม 110 เท่า (สานักข่าวไทยพีบีเอส, 2562) ซึ่งแสดงให้เห็นถึงการเติบโตของ
ธุรกิจ Food Delivery ได้อย่างชัดเจน ซึ่งร้านค้าที่ให้บริการในแอปพลิเคชันสั่งอาหารจะมีการใช้บรรจุภัณฑ์
พลาสติกเพื่อบรรจุอาหารและเครื่องดื่ม รวมถึงอุปกรณ์ที่ใช้ในการรับประทานอาหาร เช่น ถุงพลาสติก กล่อง
อาหาร ถุงเครื่องปรุง ซองซอสปรุงรสต่าง ๆ ช้อนส้อมพลาสติก แก้วพลาสติก ขวดพลาสติก เป็นต้น ซึ่งการสั่ง
อาหารผ่านแอปพลิเคชัน 1 ครั้ง สาหรับ 1 เมนู จะทาให้เกิดการใช้ขยะพลาสติกมากกว่า 5 ชิ้นขึ้นไป (จิตต์
สุภา ฉิน, 2562) ดังนั้นเมื่อมีการสั่งอาหารผ่านแอปพลิเคชันเป็นจานวนมาก และผู้ใช้บริการ Food Delivery
ไม่มีส่วนร่วมในการช่ว ยลดขยะพลาสติก หรือไม่จัดการขยะพลาสติกหลังการบริโภค เช่น ทิ้งบรรจุภัณฑ์
หลังจากบริโภคโดยไม่มีการนากลับมาใช้ใหม่ ไม่คัดแยกขยะก่อนนาไปทิ้ง ทาให้ขยะพลาสติกที่สามารถนา
กลับมาใช้ใหม่หรือสามารถนาไปรีไซเคิลได้ ถูกทิ้งรวมไปกับขยะอื่น ๆ อาจไม่ได้ถูกนากลับมาใช้ประโยชน์อีก
เนื่องจากพลาสติกเป็นสารสังเคราะห์ที่ไม่สามารถย่อยสลายด้วยตัวเองได้ ทาให้มีขยะพลาสติกตกค้าง
เป็นจานวนมาก เมื่อทับถมสะสมเป็นเวลานานจะกลายเป็นกองขยะขนาดใหญ่อยู่ตามพื้นที่ต่าง ๆ ของประเทศ
ไทย ซึ่งขยะบางส่วนอาจถูกนามาเผาในที่โล่ง ทาให้เกิดสารพิษในชั้นบรรยากาศ อาจนาไปสู่การปนเปื้อนของ
แหล่งน้า ดิน รวมถึงอาหาร ผู้ที่ได้รับสารพิษจากการสูดดม ดื่มน้าและทานอาหารที่มีสารปนเปื้อน จะส่งผลให้
เกิดอันตรายต่อระบบต่าง ๆ ในร่างกาย เพิ่มความเสี่ยงในการเป็นโรคหัวใจ โรคระบบทางเดินหายใจ หอบหืด
เป็นสารก่อมะเร็งจนไปถึงทาลายระบบประสาท ตับและไต (บริษัท ไบโอฟอร์ม (ประเทศไทย) จากัด , ม.ป.ป.)
นอกจากนี้ ของเหลวอั น ตรายที่เ กิด การหมัก ที่ซึ ม ออกมาจากกองขยะยั งทาให้ เ กิด ก๊าซที่ส่ งผลกระทบต่ อ
มลภาวะทางอากาศ เช่น Carbon dioxide, Hydrogen Sulfide และ Methane (สายเมฆ พึ่งอุดม, 2561)
เมื่อเวลาผ่านไป ถุงพลาสติกที่โดนแสงแดดเป็นเวลานานจะแตกออกเป็นชิ้นเล็ก ๆ แทรกซึมลงดินและแหล่งน้า
ก่อให้เกิดอันตรายต่อสัตว์ โดยจากการศึกษาพบว่า สัตว์ทะเลหลากหลายชนิดมักตายด้วยถุงพลาสติกเพราะคิด
ว่าเป็นอาหารจึงกินเข้าไปโดยไม่รู้ตัว หากไม่มีการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงเรื่องการจัดการขยะทั้งในระดับภาครัฐ
และระดับท้องถิ่น อาจส่งผลต่อสภาพแวดล้อมจนไม่สามารถควบคุมได้ (บริษัท ไบโอฟอร์ม (ประเทศไทย)
จากัด, ม.ป.ป.)
งานวิจั ย ที่ผ่านมายั งไม่มีการศึกษาว่า ปั จจัยใดมีผ ลต่อพฤติกรรมการไม่จัดการขยะพลาสติกของ
ผู้ใช้บริการ Food Delivery แต่มีการศึกษาในเรื่องปัจจัย ที่มีผลต่อพฤติกรรมการไม่จัดการขยะมูลฝอย ซึ่ง
พบว่าปัจจัย ที่มีผลต่อพฤติกรรมดังกล่ าวมีหลายประการ ได้แก่ ประการแรก การไม่มีความรู้เกี่ยวกับ การ
จัดการขยะด้วยวิธีอื่น ๆ นอกเหนือจากการทิ้ง โดยผู้บริโภคจะใช้ วิธีการทิ้งโดยไม่มี การนามาใช้ซ้า ไม่นา
กลับมาใช้ใหม่ และไม่มีการจัดการขยะตามหลักการลาดับขั้นการจัดการขยะที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม (ผกา
มาศ รินรักษา, 2559) ประการที่สอง ปัจจัยด้านประชากรศาสตร์ โดยคนที่มีอายุน้อยไม่มีความรู้ความเข้าใจใน
ปัญหาและไม่เห็นถึงความสาคัญของการจัดการขยะ คนที่เป็นเพศชายส่วนใหญ่ต้องทางานนอกบ้าน จึงไม่ค่อย
ให้ ความส าคัญกับการดูแลรั กษาความสะอาดเรียบร้อยภายในบ้านและการจัดการขยะ และคนที่มีระดั บ
การศึกษาต่าจะมีพฤติกรรมการจัดการขยะน้อย (ปรเมษฐ ห่วงมิตร, 2549) ประการที่สาม ทัศนคติเรื่องการ
รักษาสิ่งแวดล้อมที่ไม่ดี ไม่มีความตระหนักถึงปัญหาและผลกระทบของปริมาณขยะที่เพิ่มมากขึ้น (ผกามาศ ริน
รักษา, 2559) ประการที่สี่ ปัจจัยทางสังคม โดยครอบครัวที่ ไม่มีการอบรมเลี้ยงดูมีผลทาให้มีพฤติกรรมไม่
จัดการขยะ (เสาวนิตย์ มงคลสกุณี, 2545)
นอกจากนี้ยังเป็นไปได้ว่าการที่ผู้ใช้บริการ Food Delivery ไม่จัดการขยะพลาสติกหลังการบริโภค
อาจมาจากสาเหตุอื่น ๆ ได้แก่ ประการแรก การไม่สามารถเข้าถึงข้อมูลข่าวสารที่เกี่ยวข้องกับหน่วยงานหรือ
โครงการต่าง ๆ ที่มีส่วนช่วยในการลดขยะ หรือแคมเปญที่ให้สิทธิประโยชน์ต่าง ๆ ซึ่งจะช่วยเพิ่มแรงจูงใจใน
การลดขยะได้ เช่น แคมเปญคืนขวดแก้วหรือขวดพลาสติกแล้วได้รับเงินค่าขวดคืน โครงการ EcoBricks เป็น
ต้น ประการที่สอง การไม่คานึงถึงการเลือกสั่งอาหารจากร้านค้าที่ใช้บรรจุภัณฑ์ที่ไม่สามารถนากลับมาใช้ใหม่
ได้ ประการที่สาม คนที่มีวิถีชีวิตที่เร่งรีบส่วนใหญ่ไม่มีเวลาในการคัดแยกและจัดการขยะหลังการบริโภค และ
ประการทีส่ ี่ การเข้าถึงจุดรับขยะหรือคัดแยกขยะได้ยาก เช่น จุดรับขยะหรือคัดแยกขยะอยู่ไกลจากที่พักอาศัย
มาก ไม่มีอยู่ในพื้นที่ใกล้เคียง เป็นต้น ซึ่งสาเหตุทั้ง สี่ประการข้างต้นเป็นสิ่งที่ยังไม่มีการศึกษาว่าเป็นปัจจัยที่มี
ผลต่อพฤติกรรมการจัดการขยะ ดังนั้นการทราบถึงปัจจัยที่ทาให้ผู้ใช้บริการ Food Delivery มีพฤติกรรมไม่
จัดการขยะพลาสติกหลังการบริโภค ทาให้ได้ข้อมูลที่สามารถนาไปใช้เป็นแนวทางหรือสร้างมาตรการที่ทาให้
ผู้ใช้บริการ Food Delivery มีส่วนร่วมในการจัดการขยะเพิ่มมากขึ้น นาไปสู่การลดลงของขยะพลาสติก ซึ่งจะ
ช่วยลดความเสี่ยงต่อการเป็นโรคหัวใจ โรคระบบทางเดินหายใจ หอบหืด และลดมลภาวะทางอากาศ
จากการเติบโตของตลาด Food Delivery ที่เพิ่มขึ้นและพฤติกรรมการไม่จัดการขยะพลาสติกหลังการ
บริโภค สอดคล้องกับแนวโน้มปริมาณขยะพลาสติกที่เพิ่มขึ้น ทาให้มีความสาคัญและจาเป็นที่จะศึกษาปัจจัยที่
มีผลต่อการไม่จัดการขยะของผู้ใช้บริการ Food Delivery เพื่อทาให้ผู้ใช้บริการ Food Delivery มีส่วนร่วมใน
การจัดการขยะและช่วยลดขยะพลาสติกมากขึ้น นอกจากนี้ ผลวิจัยที่ได้สามารถเป็นข้อมูลเพื่อหาแนวทางทา
ให้ผู้ใช้บริการ Food Delivery มีส่วนร่วมในการลดขยะพลาสติกรวมทั้งจัดการขยะมากขึ้น และเป็นข้อมูลเพื่อ
หาข้อเสนอแนะรูปแบบการส่งเสริมการจัดการขยะพลาสติกระหว่างประชาชนกับภาครัฐ

วัตถุประสงค์

1. เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบปัจจัยส่วนบุคคล วิถีชีวิต และปัจจัยทางสังคมระหว่างผู้ใช้บริการ Food


Delivery ที่มีพฤติกรรมการจัดการขยะพลาสติกและไม่มีพฤติกรรมการจัดการขยะพลาสติก
2. เพื่อศึกษาถึงปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการไม่จัดการขยะพลาสติกของผู้ใช้บริการ Food Delivery
ประโยชน์ที่คำดว่ำจะได้รับ

1. ทราบถึงความแตกต่างของปัจจัยส่วนบุคคล วิถีชีวิต และปัจจัยทางสังคมระหว่างผู้ใช้บริการ Food


Delivery ที่มีพฤติกรรมการจัดการขยะพลาสติกและไม่มีพฤติกรรมการจัดการขยะพลาสติก เพื่อให้
หน่วยงานที่เกี่ยวข้องหรือผู้วางนโยบายนาไปใช้ในการกาหนดแนวทางให้ผู้ใช้บริการ Food Delivery
มีพฤติกรรมจัดการขยะพลาสติก และลดปริมาณขยะพลาสติกลงได้
2. ทราบถึงปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการไม่จัดการขยะพลาสติกของผู้ใช้บริการ Food Delivery ซึ่ง
สามารถนาไปใช้เป็นข้อมูลสาหรับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องหรือผู้วางนโยบาย เพื่อกาหนดแนวทางหรือ
มาตรการที่จะส่งเสริมให้ผู้ใช้บริการ Food Delivery มีส่วนร่วมในการจัดการขยะมากขึ้น เพื่อลดขยะ
พลาสติก

ขอบเขตงำนวิจัย

ศึ ก ษาปั จ จั ย ที่ มี ผ ลต่ อ การจั ด การขยะของผู้ ใ ช้ บ ริ ก าร Food Delivery ในกรุ ง เทพมหานคร


ในช่วงเดือนสิงหาคม - กันยายน พ.ศ. 2562 เนื่องจากกลุ่มผู้ใช้บริการ Food Delivery ส่วนใหญ่ใช้บริการใน
กรุงเทพมหานคร (บริษัท ไอเมซเมกเกอร์ จากัด, 2562) อีกทั้งปัจจุบันกรุงเทพมหานครเป็นพื้นที่ที่มี การ
ให้บริการครอบคลุมมากที่สุด และมีจานวนธุรกิจผู้ให้บริการ Food Delivery มากที่สุด (รุ่งทิพย์ จรีรัตนประ
กร, 2562)

You might also like