You are on page 1of 13

รายงานเชิงวิชาการ

การอ่านและพิจารณาวรรณคดีเรื่อง มหาเวสสันดรชาดก กัณฑ์มัทรี

โดย
นางสาวสุวภัทร พรมฮวด ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5/1 เลขที่ 14
นายภูมิรพี สูญจันทร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5/1 เลขที่ 18
นางสาวธภัทรา ธนูพราน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5/1 เลขที่ 21
นางสาวศริญทิพย์ วังตาล ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5/1 เลขที่ 22

เสนอ
อ.พนมศักดิ์ มนูญปรัชญาภรณ์

ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2562


โรงเรียนสาธิตนานาชาติ มหาวิทยาลัยมหิดล

รายงานนี้เป็นส่วนหนึง่ ของกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้โครงงานเป็นฐาน
(Project Based Learning)
รายงานวิชาภาษาไทยและวัฒนธรรม ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5

1
คานา
รายงานเรื่องนี้เป็นส่วนหนึ่งของวิชาภาษาไทยและวัฒนธรรม ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่5 โดยมีจุดประสงค์
ไว้เพื่อให้ศึกษาหาความรู้ในเรื่องการอ่านและพิจารณาเนื้อหา การใช้ภาษา และคุณค่าในวรรณกรรมเรื่อง มหา
เวสสันดรชาดก กัณฑ์มัทรี
ทั้งนี้ทางคณะผู้จัดทาหวังเป็นอย่างยิ่งว่ารายงานเล่มนี้จะให้ความรู้และเป็นประโยชน์ต่อทั้งผู้อ่าน นักเรียน
และนักศึกษา หากมีข้อผิดพลาดประการใด ขออภัยใน ณ ที่นี้ด้วย

คณะผู้จัดทา
31/05/2019

2
สารบัญ หน้า
1. การอ่านและพิจารณาเนือ้ หาและกลวิธีในวรรณคดีและวรรณกรรม 1
1.1 เนื้อเรื่อง 1
1.2 โครงเรื่อง 1
1.3 ตัวละคร 1
1.4 ฉากท้องเรื่อง 2
1.5 บทเจรจาหรือราพึงราพัน 3
1.6 แก่นเรื่อง 3
2. การอ่านและพิจารณาการใช้ภาษาในวรรณคดีและวรรณกรรม 4
2.1 การสรรคา 4
2.2 การเรียบเรียงคา 5
2.3 การใช้โวหาร 6
3. การอ่านและพิจารณาประโยชน์หรือคุณค่าในวรรณคดีและวรรณกรรม 6
3.1 คุณค่าด้านวรรณศิลป์ 7
3.2 คุณค่าด้านสังคม 8
3.3 คุณค่าด้านศีลธรรม 9
3.4 คุณค่าด้านความเชื่อ 9
4. บรรณานุกรม 10

3
1. การอ่านและพิจารณาเนือ้ หาและกลวิธีในวรรณคดีและวรรณกรรม
1.1 เนื้อเรื่อง
ตั้งแต่ที่พระนางมัทรีเสด็จออกจากอาศรมเพื่อเข้าไปหาของป่า จิตใจก็พะวงเกี่ยวกับ พระโอรสและ
พระธิดาทั้งสองอยู่ตลอด หรือก็คือพระชาลีและพระกัณหา เนื่องจากระหว่างที่พระนางกาลังเสด็จ ก็ทรงเห็นสิ่ ง
แปลกๆเกิดขึ้น เช่น ดอกไม้กลายเป็นผลไม้ ท้องฟ้ากลับกลายเป็นมืดมัว และท้องฟ้ากลับกลายเป็นสีแดง สิ่ง
แปลกๆเกิดขึ้นโดยตลอด ทาให้พระนางหวั่นพระทัย พระนางจึงทรงรีบเก็บผลไม้และเดินทางกลับ แต่ระหว่างทาง
พระนางมัทรีได้พบกับ พญาไกรสรราชสีห์ พญาเสือโคร่ง และพญาเสือเหลือง ที่ขวางเส้นทางกลับอยู่ทาให้พระนาง
ไม่สามารถเสด็จต่อไปได้ และไม่ว่าพระนางจะอ้อนวอนอย่างไรสัตว์ทั้งสาทตนฏ้ไม่ยอมหลีกทาง จนกระทั่งฟ้ามืด
เทวดาทั้งสามที่แปลงกายมาจึงยอมปล่อยไป
พระนางมัทรีจึงรีบวิ่งกลับไปที่พระอาศรม แต่เมื่อไม่เห็นลูกทั้งสองพระนางจึงไปถามพระเวสสันดร โดย
ตอนแรก พระเวสสันดรทรงไม่ตอบคาถามของพระนาง แต่เพื่อตัดความทุกข์ของพระนาง พระองค์ทรงตรัสว่า
กล่าวพระนางเรื่องที่กลับบ้านดึกเพราะคิดนอกใจพระองค์ พระนางมัทรีเสียพระทัยมากจนสลบไป และหลังจาก
ตื่นขึ้นมา พระเวสสันดรได้บอกความจริงว่าได้พระราชทานลูกทั้งสองให้ชูชกไปแล้ว หากยังมีวาสนาต่อกันคงได้พบ
กันอีกและขอให้พระนางมัทรีทรงอนุโมธนาในการบาเพ็ญทานของพระองค์ พระนางจึงอนุโมทนาด้วย

1.2 โครงเรื่อง
มีสามีภรรยาคู่หนึ่งอาศัยอยู่ในป่าพร้อมกับลูกทั้งสอง โดยวันหนึ่งสามีผู้นั้นได้ยกลูกทั้งสองให้กับคนอื่นใน
ขณะที่ภรรยาไม่อยู่ เมื่อภรรยากลับมาไม่เห็นลูก นางเสียใจมาก จนสุดท้ายที่สามีได้บอกเหตุผลว่าอยากทาทาน
นางจึงอนุโมทนาบุญด้วย
1.3 ตัวละคร
1.3.1 พระเวสสันดร
ทรงเป็นผู้ที่มีจิตเป็นกุศล ทรงให้ทานแก่ผู้ที่ต้องการ ถึงแม้ว่าสิ่งนั้นจะสาคัญกับพระองค์เช่นกัน
… อันสองกุมารนี้พี่ให้เป็นทานแก่พราหมณ์แต่วันวานนี้แล้ว
พระน้องแก้วเจ้าอย่าโศกศัลย์
จงตั้งจิตของเจ้านั้นให้โสมนัสศรัทธา
ในทางอันก่อกฤษดาภินิหารทานบารมี…

1.3.2 พระนางมัทรี
เป็นแม่ที่ดีของลูก ทรงรักและห่วงลูกของตนมาก
…พระทัยนางให้หวั่นหวาดพะวงหลังตั้งพระทัยเป็นทุกข์ถึงพระเจ้าลูกมิลืมเลย
เดินพลางทางเสวยพระโศกพลาง
พระนัยเนตรทัง้ สองข้างไม่ขาดสดายพระอัสสุชล…

เป็นภรรยาที่ดีของสามี คอยสนับสนุนสามีของตน และมีจิตใจที่อ่อนโยนและมีจิตเป็นกุศล


… พระพุทธเจ้าข้าอันสองกุมารนี้

1
เกล้ากระหม่อมฉานได้อุตสาหะถนอมย่อมพยาบาลบารุงมา
ขออนุโมทนาด้วยปิยบตรทานบารมี
ขอให้น้าพระหฤทัยพระองค์จงผ่องแผ้วอย่ามีมัจฉริยธรรมอกุศล
อย่ามาปะปนในน้าพระทัยของพระองค์เลย…

1.4 ฉากท้องเรื่อง
ฉากท้องเรื่องในมหาเวสสันดรชาดก กัณฑ์มัทรีนั้นมีฉากท้องท้องเรื่องอยู่ในป่าและเขาวงกต ซึ่งเป็นฉาก
ที่พระนางมัทรีตามหาลูกทั้งสองคนในป่า ฉากแรกคือฉากในป่าที่เทวบุตรสามองค์เนรมิตกายเป็นสัตว์ร้ายทั้งสาม
เพื่อขวางทางพระนางมัทรีและฉากที่พระนางมัทรีเข้าไปตามหาลูกในป่าจนหมดสติไปหลังจากที่กลับอาศรมแล้วไม่
เจอลูก นอกจากนี้ฉากในเรื่องยังข้องเกี่ยวกับความโศรกเศร้าของพระนางมัทรีอีกด้วย

“เหตุไฉนไม้ที่ผลเป็นพุ่มพวง ก็กลายกลับเป็นดอกดวงเดียรดาษอนาถเนตร แถวโน้นก็แก้วเกดพิกุลแกมกับ


กาหลงถัดนั่นก็สายหยุดประยงค์และยมโดย พระพายพัดก็ร่วงโรยรายดอกลงมูนมองแม่ยังได้เก็บดอกมาร้อยกรอง
ไปฝากลูก เมื่อวันวานก็เพี้ยนผิดพิสดารเป็นพวงผลผิดวอกลแต่ก่อนมา
(สพฺพา มุยฺหนฺเม ทิสา)ทั้งแปดทิศก็มืดมิดมัวมนทุกแห่งหน ทั้งขอบฟ้าก็ดาษแดงเป็นสายเลือดไม่เว้นวายหาย
เหือดเป็นลางร้ายไปรอบข้าง”

บทนี้เป็นฉากที่ในป่าที่ธรรมชาติในป่าผิดปกติไปเป็นส่วนในพระนางมัทรีวิตกกังวล

“อย โส อสฺสโม โอพระอาศรมเจ้าเอ๋ยน่าอัศจรรย์ใจ แต่ก่อนดูนี่สุกใสด้วยสีทอง เสียงเนื้อนกนี่ร่าร้องสาราญรังเรียก


คู่คูขยับขัน ทั้งจักจั่นพรรณลองไนเรไรร้องอยู่หริง่ ๆ ระเรื่อยโรย โหยสาเนียงดั่งเสียงสังคีตขับประโคมไพร โอเหตุ
ไฉนเหงาเงียบเมื่อยามนี้ ทั้งอาศรมก็หมองศรีเสมือนหนึ่งว่าจะเศร้าโศก เออชะรอยว่าพระเจ้าลูกจะวิโยคพลัดพราก
ไปจากอกพระมารดาเสียจริงแล้กระมังในครั้งนี้

บทนี้เป็นฉากที่พระนางมัทรีกลับอาศรมแล้วรู้สึกว่าจากที่เคยสดใสกลับเงียบเหงาทาให้
พระนางแน่ในว่าสองกุมารน่าจะจากไปแล้ว

1.5 บทเจรจาราพึงราพัน

“ ...( นนุ มทฺทิ ) ดูกรนางนาฏ พระน้องรัก ( ภทฺเท ) เจ้าผู้มีพักตร์อันผุดผ่องเสมือนหนึ่งเอาน้าทองมา


ทาบทับประเทืองผิว ราวกะว่าจะลอยลิ่วเลื่อนลงจากฟ้า ใครได้เห็นเป็นขวัญตาเต็มจะหลงละลายทุกข์ปลุกเปลื้อง
อารมณ์ชายให้เชยชื่น จะนั่งนอนเดินยืนก็ต้องอย่าง ( วราโรหา ) พร้อมด้วยเบญจางคจริตรูปจาเริญ โฉม
ประโลมโลกล่อแหลมวิไลลักษณ์ ( ราชปุตฺตี ) ประกอบด้วยเชื้อศักดิ์สมมุติวงศ์พงศ์กษัตรา เออก็เมื่อเช้าเจ้าจะ
เข้าป่าน่าสงสารปานประหนึ่งว่าจะไปมิได้ ทาร้องไห้ฝากลูกมิรู้แล้ว ครั้นคลาดแคล้วเคลื่อนคล้อยเข้าสู่ดง ปาน

2
ประหนึ่งว่าจะหลงลืมลูกสละผัวต่อมืดมัวจึ่งกลับมา ทาเป็นบีบน้าตาตีอกว่าลูกหาย ใครจะไม่รู้แยบคายความคิด
หญิง ถ้าแม้นเจ้าอาลัยอยู่ด้วยลูกจริง ๆ เหมือนวาจา ก็จะรีบกลับเข้ามาแต่วี่วันไม่ทันรอน เออนี่เจ้าเที่ยวพเนจร
นอนตามสนุกใจ ชมนกชมไม้ในไพรวันสารพันที่จะมี ทั้งฤๅษีสิทธ์วิทยาธรคนธรรพ์ เทพารักษ์ผู้มีพักตร์อันเจริญ
เห็นแล้วก็น่าเพลิดเพลินไม่เมินได้ หรือเจ้าปะผลไมประหลาด รสสดสุกทรามเสวยไม่เคยกิน เจ้าฉวยชิมชอบลิ้นก็
หลงฉันอยู่จึ่งช้า…”

ฉากนี้เป็นฉากที่พระเวสสันดรตัดพ้อที่พระนางมัทรีกลับอาศรมมาผิดเวลา

“( สา มทฺที ) ส่วนสมเด็จพระยอดมิ่งเยาวมาลย์มัทรี เมื่อได้สดับคาพระราชสามีบริภาษณานาง ที่


ความโศกก็เสื่อมสร่างสงบจิตเพราะเจ็บใจ จึ่งก้มพระเศียรลงกราบไหว้แล้ววันทนาพลาง นางจึ่งทูลสนอง
พระราชบัญญัติว่า พระพุทธเจ้าข้า ควรมิควรสุดแท้แต่จะทรงพระกรุณาโปรดที่โทษานุโทษเป็นล้นเกล้า ด้วย
ข้าพระพุทธเจ้ากลับมาเวลาค่า ทั้งนี้เพราะเป็นกระลีขึ้นในไพรวัน พฤกษาทุกสิ่งสารพันก็แปรปรวนทุกประการ
ทั้งพื้นป่าพระหิมพานต์ก็ผัดผันหวั่นไหวอยูว่ ิงเวียนเปลี่ยนเป็นพยับมืดไม่เห็นหน ข้าพระบาทนี่ร้อนรนไม่หยุดหย่อน
แต่สักอย่าง แต่เดินมายังเกิดประหลาดลางขึ้นในกลางพนาลี พบพญาราชสีห์สองเสือทั้งสามสัตว์สกัดหน้าไม่มาได้
ต่อสิ้นแสงอโณทัยจึ่งได้คลาเคลื่อน ใช่จะเป็นเหมือนพระองค์ดารินั้นก็หามิได้ พระพุทธเจ้าข้า ตั้งแต่เกล้า
กระหม่อมฉันตกมาเป็นข้าน้อย พระองค์เห็นพิรุธร่องรอยร้าวรานที่ตรงไหน ทอดพระเนตรสังเกตไว้แต่ปางก่อน
จึงเคืองค่อนด้วยคาหยาบยอกใจเจ็บจิตเหลือกาลัง พระคุณเอ่ยจะคิดดูมั่งเป็นไรเล่าว่า มัทรีนี้เป็นข้าเก่าแต่ก่อน
มาดั่งเงาตามพระบาทาก็เหมือนกัน นอกจากนั้นที่แน่นอนคือ นางไหนอันสนิทชิดใช้แต่ก่อนกาล ยังจะติดตาม
พระราชสมภารมาบ้างละหรือ ได้แต่มัทรีแสนดื้อผู้เดียวดอก ไม่รู้จักปลิ้นปลอกพลิกไพล่เอาตัวหนี มัทรีสัตยา
สวามิภักดิ์รักผัวเพียงบิดาก็ว่าได้ ถึงจะยากเย็นเข็ญใจก็ตามกรรม...”
ฉากนี้เป็นฉากที่พระนางมัทรีโต้ตอบพระเวสสันดรหลังจากที่พระเวสสันดรตัดพ้อว่ากลับ
ผิดเวลาว่าไปหาของป่าแล้วพบกับสัตว์ทั้งสาม

“( ทชฺชา สปฺปุริโส ทาน ) มัทรีเอ่ย อันอริยสัตบุรุษเห็นปานดั่งตัวพี่ฉะนั้น ถึงจะมีข้าวของสัก


เท่าใด ๆ ( ทิสฺวา ยาจกมาคเต ) ถ้าเห็นยาจกเข้ามาใกล้ไหว้วอนขอไม่ย่อถ้อในทางทาน จนแต่ชั้นลูกรักยอด
สงสารพี่ยังยกให้เป็นทานได้ อันสองกุมารนี้ไซร้เป็นแต่ทานพาหิรกะภายนอกไม่อิ่มหนา พี่จะใคร่ให้อัชฌัติ
กทานอีกนะเจ้ามัทรี ถ้าแม้นมีบุคคลผู้ใดปรารถนาเนื้อหนังมังสังโลหิตดวงหทัยนัยนเนตรทั้งซ้ายขวา พี่ก็จะ
แหวะผ่าให้เป็นทานไม่ย่อท้อเพียงนี้มัทรีเอ่ย จงศรัทธาด้วยอนุโมทนาทานในกาลบัดนี้เถิด”

ฉากนี้เป็นฉากที่พระเวสสันดรบอกกลับพระนางมัทรีว่ายกลูกให้กับชูชกไปแล้ว

1.6 แก่นเรื่อง
ในกัณฑ์มัทรีนั้นหลักๆแล้วจะพูดถึงความรักที่แม่มีต่อลูก จากความเศร้าโศรกของพระนางมัทรีและฉากที่
พระนางมัทรีเข้าไปป่าไปเพื่อตามหาลูกจนหมดสติไป

3
การพิจารณาการใช้ภาษาในวรรณคดีและวรรณกรรม

ในการประพันธ์วรรณคดีหรือวรรณกรรมนัน้ กวีต้องใช้ความประณีตในการเลือกสรรถ้อยคาที่ ประณีต


และเหมาะสมนาเสนอต่อผู้อ่านผ่านงานเขียนของตน การใช้ภาษาในการประพันธ์ที่เลือกสรร มาแล้ว นามาจัดวาง
อย่างเหมาะสม และคานึงถึงความสละสลวยของคาด้วยดังนี้

1. การสรรคา

กวีนั้นจะต้องเลือกใช้คาให้ตรงตามความต้องการ เหมาะสมกับเนื้อเรื่องและฐานะของบุคคลใน เรื่อง


ตลอดจนสอดคล้องกับลักษณะของคาประพันธ์ นอกจากนี้ยังต้องเลือกสรรคาให้เกิดความงาม ความไพเราะ
ทางด้านเสียง รวมทั้งให้เหมาะสมกับบริบทในเรื่องด้วย ดังต่อไปนี้

เลือกใช้คาให้เหมาะสมกับเรื่องและฐานะของบุคคลในเรื่อง

เมื่อสมเด็จพระมัทรีเธอกราบทูลพระราชสามีสักเท่าใดๆ ท้าวเธอมิได้ตรัสปราศรัยจานรรจา นางยิ่งกลุ้ม


กลัดขัดพระอุราผะผ่าวร้อน ข้อนพระทรวงทรงพระกันแสงว่าเจ้าแม่เอ่ย แม่มิเคยได้เคืองแค้นเหมือนหนึ่งครั้ง
นี้ เมื่อจากบุรีทุเรศมา ก็พร้อมหน้าทั้งลูกผัวเป็นเพื่อนทุกข์ สาคัญว่าจะเป็นสุขประสายากเมื่อยามจน ครั้นลูก
หายทั้งสองคนก็สิ้นคิด บังคมทูลพระสามีก็มิได้ตรัสแต่สักนิดสักหน่อยหนึ่ง ท้าวเธอก็ขึงขังตึงพระองค์ ดูเหมือน
พระขัดเคืองเต็มเดือดด้วยอันใด นางก็เศร้าสร้อยสลดพระทัย ดั่งเอาเหล็กแดงมาแทงใจให้เจ็บจิตนี่เหลือทน
อุปมาเหมือนคนไข้หนักแล้วมิหนายังแพทย์เอายาพิษมาวางซ้าให้เวทนา เห็นชีวานี้คงจะไม่รอดไปสักกี่วัน
พระคุณเอ่ย วาสนามัทรีไม่สมคะเนแล้ว พระทูลกระหม่อมแก้วจึ่งชิงชังไม่พูดจา ทั้งลูกรักดังแก้วตาก็หายไป
อกเอ๋ยจะอยู่ไปไยให้ทนเวทนาอุปมาเสมือนหนึ่งพฤกษาลดาวัลย์ย่อมจะอาสัญลงเพราะลูกเป็นเที่ยงแท้

จากตัวอย่างข้างต้น กวีได้มีการเลือกสรรคาให้เหมาะสมกับฐานะของตัวละครซึ่งเป็นกษัตริย์ กวีได้ใช้คา


ราชาศัพท์เมื่อผู้แต่งต้องการกล่าวถึงการกระทาของตัวละครหรือคานามต่างๆ อย่างเช่นตรัสซึ่งหมายความว่าพูด,
พระอุระซึ่งหมายความว่าอก หรือ พระทัยหมายความว่าใจ

เลือกใช้คาให้ถูกต้องตรงตามความหมายที่ต้องการ

พระนัยนเนตรก็พร่าง ๆ อยู่พรายพร้อย ในจิตใจของแม่ยังน้อยอยู่นิดเดียว ทั้งอินทรีย์ก็เสียว ๆ สั่น


ระรัวริก แสรกคานบันดาลพลิกพลัดลงจากพระอังสา ทั้งขอน้อยในหัตถาที่เคยถือ ก็เลื่อนหลุดลงจากมือไม่เคย
เป็นเห็นอนาถ

4
จากตัวอย่างข้างต้น กวีได้เลือกใช้คาที่มีความหมายถูกต้องตามที่ต้องการ เช่น กวีได้เลือกใช้คาว่าอนาถ
เพื่อให้พระนางมัทรีฟงั ดูน่าสงสารและดูน่าสลดใจมากกว่าคาว่าน่าเศร้าหรือน่าสังสาร ทั้งยังฟังดูเสนาะหูมากกว่า
อีกด้วย

เลือกใช้คาโดยคานึงถึงเสียง

กวีมีการเล่นเสียงสัมผัสพยัญชนะและสระทาให้เกิดความไพเราะและเสนาะหูขณะอ่านได้ ทาให้บท
ประพันธ์มีความน่าหลงไหลและน่าฟัง

พระนัยนเนตรก็พร่างๆ อยู่พรายพร้อย ในจิตใจของแม่ยังน้อยอยูน่ ิดเดียว ทั้งอินทรีย์ก็เสียว ๆสั่นระรัวริก


แสรกคานบันดาลพลิกพลัดลงจากพระอังสา ทั้งขอน้อยในหัตถาที่เคยเลย โอ้อกเอ๋ยมหัศจรรย์จริง ยิ่งคิดก็ยิ่งกริ่ง ๆ
กรอมพระทัยเป็นทุกข์ถึงพระลูกรักทัง้ สองคน เดินพลางนางก็รีบเก็บผลาผลแต่ตามได้ ใส่กระเช้าสาวพระบาท
บทจรดุ่มเดินมาโดยด่วน พอประจวบจวนพญาพาฬมฤคราช สะดุ้งพระทัยไหวหวาดวะหวีดวิ่งวนแวะเข้าข้างทาง
พระทรวงนางสั่นระรัวริกเต้นดัง่ ตีปลา

จากมหาเวสสันดรชาดกกัณฑ์มัทรีข้างต้น กวีได้มีการใช้สัมผัสระหว่างและในวรรคเพื่อให้มี
ความไพเราะมากชึ้นเช่น วิ่งวนแวะ และ คาว่าพร้อยและน้อย

2. การเรียบเรียงคา

เมื่อได้คาที่เลือกสรรแล้ว ก็ต้องนาคาเหล่านั้นมาเรียบเรียงอย่างไพเราะเหมาะสม เพื่อให้ได้จังหวะโดย


คานึงถึงกฎเกณฑ์ทางด้านฉันทลักษณ์ ซึ่งกลวิธีของผู้ประพันธ์ในการ เรียบเรียงคาดังต่อไปนี้

เมื่อสมเด็จพระมัทรีเธอกราบทูลพระราชสามีสักเท่าใด ๆ ท้าวเธอมิได้ตรัสปราศรัยจานรรจา นางยิ่งกลุ้ม


กลัดขัดพระอุราผะผ่าวร้อน ข้อนพระทรวงทรงพระกันแสงว่าเจ้าแม่เอ่ย แม่มิเคยได้เคืองแค้นเหมือนหนึ่งครั้ง
นี้ เมื่อจากบุรีทุเรศมา ก็พร้อมหน้าทั้งลูกผัวเป็นเพื่อนทุกข์ สาคัญว่าจะเป็นสุขประสายากเมื่อยามจน ครั้นลูก
หายทั้งสองคนก็สิ้นคิด บังคมทูลพระสามีก็มิได้ตรัสแต่สักนิดสักหน่อยหนึ่ง ท้าวเธอก็ขึงขังตึงพระองค์ ดูเหมือน
พระขัดเคืองเต็มเดือดด้วยอันใด นางก็เศร้าสร้อยสลดพระทัย ดั่งเอาเหล็กแดงมาแทงใจให้เจ็บจิตนี่เหลือทน
อุปมาเหมือนคนไข้หนักแล้วมิหนายังแพทย์เอายาพิษมาวางซ้าให้เวทนา เห็นชีวานี้คงจะไม่รอดไปสักกี่วัน
พระคุณเอ่ย วาสนามัทรีไม่สมคะเนแล้ว พระทูลกระหม่อมแก้วจึ่งชิงชังไม่พูดจา ทั้งลูกรักดังแก้วตาก็หายไป
อกเอ๋ยจะอยู่ไปไยให้ทนเวทนาอุปมาเสมือนหนึ่งพฤกษาลดาวัลย์ย่อมจะอาสัญลงเพราะลูกเป็นเที่ยงแท้ ถ้าแม้น
พระองค์ไม่ทรงเลี้ยงมัทรีไว้ จะนิ่งมัธยัสถ์ตัดเยื่อใยไม่โปรดบ้าง ก็จะเห็นแต่กเลวระร่างซากศพของมัทรี อัม
โทรมตายกายกลิ้งอยู่กลางดง เสียเป็นมั่นคงนี้แล้วแล

5
จากมหาเวสสันดรชาดกกัณฑ์มัทรีข้างต้นกวีได้ เรียบเรียงประโยคให้เนื้อหาเข้มข้นโดยการเรียงเรียงคา วลี
หรือประโยคที่มีความสาคัญและเข้มข้นเท่าๆ กัน เคียงขนานกันไป

3. การใช้โวหารภาพพจน์

ในร่ายยาวมหาเวสสันดรชาดกกัณฑ์มัทรี กวีได้มีการใช้โวหารภาพพจน์ต่างๆไม่ว่าจะเป็นอุปมา บุคคลวัต


อุปลักษณ์ และ สัทพจน์ ในการทาให้คาประพันธ์มีคุณค่าทางด้านวรรณศิลป์ อ่านง่าน และไพเราะดังนี้

อุปมา

พอประจวบจวนพญาพาฬมฤคราช สะดุ้งพระทัยไหวหวาดวะหวีดวิ่งวนแวะเข้าข้างทาง พระทรวงนางสั่น


ระรัวริกเต้นดัง่ ตีปลา ทรงพระกันแสงโศกาไห้พิไรร่าว่ากรรมเอ๋ยกรรม

บทประพันธ์ข้างต้นมีการใช้อุปมาซึ่งเป็นการเปรียบเทียบเป็นการกล่าวเปรียบเปรยโดยนัยโดยใช้คาว่า ดุจ,
ดั่ง, ราว, เสมือน กวีใช้คาว่าดั่งเปรียบเทียบพระทรวงของนางมัทรีที่สั่นเหมือนปลาที่สั่นเมื่อโดนตี

อุปลักษณ์

บุญพี่นี้น้อยแล้วนะเจ้าเพื่อนยาก เจ้ามาตายจากพี่ไปในวงวัด เจ้าจะเอาป่าชัฏนี่หรือมาเป็นป่าช้า จะเอา


บรรณศาลานี่หรือมาเป็นบริเวณพระเมรุทอง จะเอาแต่เสียงสาลิกาอันร่าร้องนี้หรือมาเป็นกลองประโคมใน จะเอา
แต่เสียงจักจั่นและเรไรร่าร้องนั่นหรือมาต่างแตรสังข์และพิณพาทย์ จะเอาแต่เมฆหมอกนั้นหรือมากั้นเป็นเพดาน
จะเอาแต่ยูงยางในป่าหิมพานต์มาต่างฉัตรเงินและฉัตรทอง จะเอาแต่แสงพระจันทร์อันผุดผ่องมาต่าง
ประทีปแก้วงามโอภาส.
บทประพันธ์ข้างต้นมีการใช้อุปลักษณ์ซึ่งเป็นการเปรียบเทียบเป็นการกล่าวเปรียบเปรยโดยนัยโดยใช้คาว่า
เป็น เช่น กวีใช้คาว่าเป็นในการเปรียบเทียบเสียงร้องไห้ของผู้หญิงเป็นกลองบูชายกย่อง และ เปรียบเทียบเมฆ
หมอกเป็นเพดานกั้น

บุคคลวัต

โอ พระอาศรมเจ้าเอ๋ยน่าอัศจรรย์ใจ แต่ก่อนดูนี่สุกใสด้วยสีทอง เสียงเนื้อนกนี่ร่าร้องสาราญรังเรียกคู่คู


ขยับขัน ทั้งจักจั่นพรรณลองไนเรไรร้องอยู่หริ่งๆ ระเรื่อยโรย โหยสาเนียงดั่งเสียงสังคีตขับประโคมไพร โอ…เหตุ
ไฉนเหงาเงียบเมื่อยามนี้ ทั้งอาศรมก็หมองศรีเสหมือนหนึ่งว่าจะเศร้าโศก เออ ชะรอยว่าพระเจ้าลูกจะวิโยคพลัด
พรากไปจากอกพระมารดาเสียจริงแล้วกระมังในครั้งนี้

6
จากมหาเวสสันดรชาดกกัณฑ์มัทรี กวีได้มีการนาบุคคลวัตซึ่งเป็นการสมมุติสิ่งไม่มีชีวิตให้มีกิริยาอาการ,
ความรู้สึก,ความคิดและการแสดงออก กวีได้มีการเปรียบเทียบอาศรมมีความความโศกเศร้าและแสดงเป็นลางบอก
เหตุว่าพระนางจะเสียลูก

สัทพจน์

“แต่ย่างเหยียบเกรียบกรอบก็เหลียวหลัง”
“สมเด็จอรไทเธอเที่ยวตะโกนกู่กู๋ก้อง”
“เสียงนกนี่ร่าร้องสาราญรังเรียกคู่คูขยับขันทั้งจักจั่นพรรณลองไนเรไรร้องอยู่หริ่งๆ ระเรื่อยโรย”

จากมหาเวสสันดรชาดกกัณฑ์มัทรี กวีได้มีใช้สัทพจน์ซึ่งเป็นการเลียนเสียงธรรมชาติในการทาให้บท
ประพันธ์ลื่นไหลและเสนาะหูมากขึ้น

3. การอ่านและพิจารณาประโยชน์หรือคุณค่าในวรรณคดีและวรรณกรรม
3.1 คุณค่าด้านวรรณศิลป์

การเล่นคา
ในเรื่องมหาเวสสันดรชาดก กัณฑ์มัทรี นั้นมีลักษณะเด่นด้านวรรณศิลป์ในการเล่นเสียง สัมผัส
ของ พยัญชนะ สระ และคาซ้า อยู่มาก

ตัวอย่าง สัมผัสพยัญชนะ

“ก็กลายกลับเป็นดอกดวงเดียรดาษอนาถเนตร”

สัมผัสพยัญชนะนั้นจะเกิดขึ้นต่อเมื่อใช้พยัญชนะที่มีเสียงเดียวกันมาต่อติดกันหลายๆคา ซึ่งในตัวอย่าง
ข้างบนนี้เราสามารถเห็นได้ว่าคาว่า “ก็” ”กลาย” และ ”กลับ” นั้นสัมผัสกัน เช่นเดียวกับ “ดอก” “ดวง” “เดียร”
และ “ดาษ”

อีกตัวอย่างของสัมผัสพยัญชนะ
“พระพายราเพยพัดมาฉิวเฉื่อย เรไรระรี่เรื่อยร้องอยู่หริ่งๆ”

“พระ” และ “พาย” กับ “เพย” และ “พัด” สัมผัสกัน ซึ่งเช่นเดียวกับ “เร” “ไร” “ระ” “รี”่
“เรื่อย” “ร้อง” และ “หริ่งๆ”

7
ตัวอย่างสัมผัส สระ
“นางก็ถึงวิสัญญีสลบลงตรงหน้าฉาน ปานประหนึ่งว่าพุ่มฉัตรทองอันต้องสายอัสนีฟาดระเนนเอนก็ล้มลงตรงหน้า
พระที่นั่งเจ้า นั้นแล”

“หน้า” “ฉาน” “ปาน” กับ “เนน” “เอน ”

3.2 คุณค่าด้านสังคม
ในกัณฑ์มัทรีมีการสะท้อนให้เห็นถึงค่านิยมของคนไทยในสมัยก่อน เช่น

ตัวอย่าง

“อดอารมณ์เสียเจ้าเป็นแต่เพียงเมียควรหรือมาหมิ่นได้ ถ้าแม้นพี่อยู่ในกรุงไกรเหมือนแต่ก่อนเก่า หากว่าเจ้าทา


เช่นนี้ กายของมัทรีก็จะขาดสะบั้นลงทันตาด้วยพระกรเบื้องขวาของอาตมานี้แล้วแล”

ในตัวอย่างนี้คือการสะท้อนให้เห็นถึงค่านิยมของสังคมไทยในสมัยก่อนที่ ภรรยานั้นอยู่ต่ากว่าสามี เป็น


เหมือนเพียงสมบัติของสามีไม่ควรมาต่อว่าหรือหมิ่น

3.3 คุณค่าด้านศีลธรรม

“ นางก็เศร้าสร้อยสลดพระทัยดั่งเอาเหล็กแดงมาแทงใจให้เจ็บจิตนี่เหลือทน อุปมาเหมือน คนไข้หนักแล้ว


มิหนายังแพทย์เอายาพิษมาวางซ้าให้เวทนา ”

ในวรรคนี้ได้แสดงถึงคสวามรักและความเป็นห่วงที่นางมัทรืผู้เป็นแม่มีต่อลูก พอนางมัทรีกลับมาบ้านแล้ว
หาลูกไม่เจอพอถามพระเวสสันดรก็ไม่ตอบก็เลยรู้สึกเสียใจที่ลูกหายไป

3.4 คุณค่าด้านความเชื่อ

“ พลางพิศดู ผลาผลในกลางไพรที่นางเคยได้อาศัยทรงสอยอยู่เป็นนิตย์ผิดสังเกต เหตุไฉนไม้ที่มีผลเป็นพุ่ม


พวง ก็กลายกลับเป็นดอกดวงเดียรดาษอนาถเนตร แถวโน้นก็แก้วเกดพิกุลแกมกับกาหลง ถัดนั่นก็ สายหยุด
ประยงค์และยมโดย พระพายพัดก็ร่วงโรยรายดอกลงมูนมอง แม่ยังได้เก็บเอาดอกมา ร้อยกรองไปฝากลูกเมื่อ
วันวาน ก็เพี้ยนผิดพิสดารเป็นพวงผล ผิดวิกลแต่ก่อนมา ”

8
สะท้อนให้เห็นถึงความเชื่อของคนไทยที่ว่าเมื่อมีอะไรผิดเพี้ยนไปจากสิ่งปกตินั้นแสดง ให้เห็นถึงรางร้ายทีุ่
จะเกิดขึ้น ซึ่งในวรรคเหล่านี้พระนางมัทรีขณะอยู่ในป่าได้พบหลายสิ่งที่ผิดเพี้ยนไปจากปกติ เช่น ที่ที่อยู่ของผลไม้
ปกติได้กลายเป็นดอกไม้น่าเกลียด? เลยทาให้นางมัทรีรู้สึกไม่สบายใจ

9
บรรณานุกรม

คณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน, สานักงาน. วรรณคดีวิจกั ษ์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๕. กรุงเทพฯ :


สกสค. ลาดพร้าว, ๒๕๕๕. ๑๓๑ หน้า.
ภาสกร เกิดอ่อน. ภาษาไทยวรรณคดีไทยและวรรณกรรม ม.๕ [ออนไลน์].
เข้าถึงเมื่อ ๒๔ พฤษภาคม ๒๕๖๒. สืบค้นได้จาก
http://academic.obec.go.th/textbook/web/images/book/1458265003_example.pdf
มหาเวสสันดรชาดก กัณฑ์มัทรี [ออนไลน์]. เข้าถึงเมื่อวันที่ ๒๙ พฤษภาคม ๒๕๖๒. สืบค้นได้จาก
https://sites.google.com/site/wannakadeem5/mha-wessandr-chadk-kanth-math-ri

10

You might also like