You are on page 1of 93

งานนี้เผยแพร่ภายใต้ลิขสิทธิ์ Creative Commons แบบ Attribution Non-commercial Share

Alike (by-nc-sa) โดยผู้สร้างอนุญาตให้ทำซ้ำ แจกจ่าย แสดง และสร้างงานดัดแปลงจากส่วนใดส่วน


หนึ่งของงานนี้ได้โดยเสรี แต่เฉพาะในกรณีที่ให้เครดิตผู้สร้าง ไม่นำไปใช้ในทางการค้า และเผยแพร่
งานดัดแปลงภายใต้ลิขสิทธิ์เดียวกันนี้เท่านั้น

เผยแพร่ครั้งแรกบนเว็บไซต์ http://www.scribd.com และ http://www.fringer.co/

มายาคติทแี่ พร่หลายในสังคมไทย
สฤณี อาชวานันทกุล

รวมบทความจากคอลัมน์ “ประชาชน 2.0” หนังสือพิมพ์ กรุงเทพธุรกิจ และ


คอลัมน์ “Price to Pay” นิตยสาร IMAGE ระหว่างปี 2557-2561
สารบัญ
มายาคติเกี่ยวกับประชาธิปไตย ................................................................................................................. 3
1. ลักษณะของ “รัฐประหารที่เป็นประชาธิปไตย” (Democratic Coup d’Etat) ............................................ 3
2. มายาคติของการซื้อเสียง .............................................................................................................................. 6
3. ความจำเป็นของ “ความเป็นประชาธิปไตย” ในการปฏิรูป .........................................................................10
4. ราคาของ “ความมั่นคงแห่งชาติ” ...............................................................................................................14
มายาคติเกี่ยวกับกฎหมายและสิทธิเสรีภาพ ............................................................................................. 18
5. “กฎหมาย” ไม่เท่ากับ “ความยุติธรรม” ....................................................................................................18
6. เฮทสปีช กฎหมาย และความอดทนอดกลั้น: บางบทเรียนจากยุโรป ..........................................................24
7. ราคาของการเซ็นเซอร์ ...............................................................................................................................27
8. ราคาของโซเชียลมีเดีย ...............................................................................................................................31
10. “การพัฒนาเศรษฐกิจ” แยกจาก “สถาบันทางการเมือง” ไม่ได้...............................................................35
11. มายาคติเกี่ยวกับการมีส่วนร่วมของประชาชน ..........................................................................................38
12. ท้องถนนกับประชาชนผู้ด้อยโอกาส : แง่คิดจาก Ekta Parishad .............................................................41
13. ราคาของการทุจริตคอร์รัปชั่น ..................................................................................................................44
มายาคติเกี่ยวกับประชานิยม ความจน และความเหลื่อมล้ำ .................................................................... 48
14. ประชาชน ประชานิยม และประชารัฐ ......................................................................................................48
15. มายาคติเกี่ยวกับคนจน ............................................................................................................................63
16. Poor Economics: เข้าใจเศรษฐศาสตร์ความจน.....................................................................................66
17. มายาคติเกี่ยวกับความเชี่ยวชาญ ..............................................................................................................71
18. มายาคติเกี่ยวกับความเหลื่อมล้ำ ..............................................................................................................75
มายาคติเกี่ยวกับศีลธรรมและความรับผิดชอบของธุรกิจ ......................................................................... 79
19. ราคาของศีลธรรม ....................................................................................................................................79
20. ราคาของอคติ ..........................................................................................................................................83
21. มายาคติเกี่ยวกับซีเอสอาร์ .......................................................................................................................87
22. ราคาของเชื้อเพลิงฟอสซิล .......................................................................................................................90
มายาคติเกี่ยวกับประชาธิปไตย

1. ลักษณะของ “รัฐประหารที่เป็นประชาธิปไตย” (Democratic Coup d’Etat)

สามเดือนหลังรัฐประหาร 22 พฤษภาคม 2557 ท่ามกลางเสียงสนับสนุนคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.)


ที่ดูจะยังมีไม่น้อย (แต่มากน้อยเท่าไรไม่อาจรู้ได้แน่ชัด ในภาวะที่สื่อยังไม่สามารถทำหน้าที่ได้อย่างเต็มที่ภายใต้
คำสั่งเซ็นเซอร์สื่อต่างๆ นานา ของ คสช. กฎอัยการศึกยังมีผลบังคับใช้ และผลโพลหลายสำนักน่าสงสัยในวิธี
สุ่มตัวอย่าง มากกว่าจะน่าสนใจในผลโพลที่ออก) นักวิชาการและผู้มีอิทธิพลทางความคิดจำนวนไม่น้อยที่
สนับสนุนรัฐประหารในครั้งนี้ก็พยายามชี้ว่า คนไทยควร “อดทน” และ “ให้เวลา” กับคสช. เพราะรัฐประหาร
ครั้งนี้อาจนำไปสู่ “ประชาธิปไตยสมบูรณ์” ตามที่หัวหน้า คสช. ควบนายกฯ คนใหม่ได้เคยลั่นวาจาไว้หลายครั้ง
หลายครา

บทความวิชาการซึ่งมักจะถูกหยิบยกขึ้นมาอ้างเป็น “หลักฐาน” ว่ารัฐประหารครั้งล่าสุดนี้ “เป็นประชาธิปไตย”


คือ “The Democratic Coup d’Etat” เขียนโดย โอซาน โอ. วารอล (Ozan O. Varol) ศาสตราจารย์
กฎหมายจากมหาวิทยาลัย ลูวิส แอนด์ คลาร์ก สหรัฐอเมริกา ตีพิมพ์ในวารสารวิชาการ Harvard
International Law Review (ดาวน์โหลดได้จาก http://www.harvardilj.org/wp-
content/uploads/2010/05/HLI203.pdf) ในปี 2012

ในบทความชิ้นนี้ วารอลเสนอว่า รัฐประหารอาจไม่ทำลายประชาธิปไตยโดยอัตโนมัติแบบที่นักวิชาการหลาย


คนเชื่อก็ได้ จะต้องดูเงื่อนไขแวดล้อมตอนเกิดรัฐประหารและผลพวงที่เกิดขึ้นหลังจากนั้น ก่อนที่จะสรุปได้ว่า
รัฐประหาร “ทำลาย” ประชาธิปไตย หรือ “สร้างเสริม” ประชาธิปไตยให้แข็งแกร่งกว่าเดิมกันแน่

วารอลแบ่งรัฐประหารออกเป็นสองแบบ แบบแรกคือ “รุ่นเก่า” นั้นมีลักษณะตรงกันกับรัฐประหารที่


นักวิชาการส่วนใหญ่เข้าใจ คือการโค่นอำนาจรัฐเพื่อยึดอำนาจมาเป็นของตัวเอง ไม่สนใจประชาชน แต่ใน
บรรดาแบบที่สองคือ “รุ่นใหม่” ที่เกิดหลังยุคสงครามเย็น (หลังทศวรรษ 1990) นั้น วารอลพบว่าร้อยละ 74
เป็นรัฐประหารที่เขาเรียกว่า “เป็นประชาธิปไตย” (The Democratic Coup d’Etat) คือไม่ได้ทำให้
ประชาธิปไตยถดถอยเหมือนกับรัฐประหารรุ่นเก่า สามารถปูทางไปสู่รัฐบาลในระบอบประชาธิปไตยได้อย่าง
ราบรื่นภายในเวลา 5 ปี

เนื้อหาส่วนสำคัญในงานของวารอลชิ้นนี้ประมวลมาจากการสังเกตการณ์รัฐประหารและผลพวงของมันใน
ประเทศอียิปต์ ปี 2011 เมื่อเกิดปรากฏการณ์ “อาหรับ สปริง” ที่ประชาชนลุกฮือขึ้นโค่นล้มผู้นำเผด็จการ
นอกจากนี้วารอลยังอ้างถึงรัฐประหารในตุรกี ปี 1960 และรัฐประหารในโปรตุเกส ปี 1974 ว่าทั้งสามกรณีนี้
ล้วนแต่เข้าข่าย “รัฐประหารที่เป็นประชาธิปไตย” ในมุมมองของเขา
ลักษณะของ “รัฐประหารที่เป็นประชาธิปไตย” มีอะไรบ้าง? วารอลสรุปว่ามีอยู่ 7 ประการด้วยกัน เรียง
ตามลำดับความสำคัญได้ดังต่อไปนี้

ข้อแรก รัฐประหารที่เกิดขึ้นจะต้องมุ่งโค่นล้มระบอบเผด็จการ (totalitarian) หรือระบอบที่ผู้ปกครองใช้


อำนาจแบบเบ็ดเสร็จ (authoritarian) ซึ่งไม่เปิดโอกาสให้มีความหลากหลายทางการเมือง

ข้อนี้วารอลขยายความว่า “รัฐประหารใดๆ ก็ตามที่โค่นล้มรัฐบาลที่ไม่ใช่เผด็จการหรือไม่ได้ใช้อำนาจแบบ


เบ็ดเสร็จ ไม่ใช่ “รัฐประหารที่เป็นประชาธิปไตย” ภายใต้กรอบคิดนี้ รัฐประหารหลายครั้งที่ผ่านมาถูกอ้างว่าทำ
เพื่อโค่นนักการเมืองที่ผู้นำคณะรัฐประหารมองว่าคอร์รัปชั่น ไร้ประสิทธิภาพ หรือสายตาสั้น รัฐประหาร
ประเภทนี้อยู่นอกเหนือขอบข่ายของ “รัฐประหารที่เป็นประชาธิปไตย” เพราะประชาชนสามารถปลด
นักการเมืองแบบนี้เองได้ด้วยการไม่โหวตเลือกพวกเขาในการเลือกตั้ง โดยไม่จำเป็นจะต้องให้กองทัพเข้า
แทรกแซง รัฐประหารจะเป็นประชาธิปไตยได้ก็เฉพาะแต่ในกรณีที่การเลือกตั้งไม่ใช่วิธีปลดนักการเมืองที่มี
ความหมาย เพราะผู้นำทางการเมืองคนนั้นไม่ยอมสละอำนาจ [ถึงแม้จะแพ้เลือกตั้ง]”

ข้อสอง “รัฐประหารที่เป็นประชาธิปไตย” มุ่งตอบสนองต่อความต้องการของประชาชนที่ออกมาต่อต้านผู้นำ


เผด็จการหรือผู้นำที่ใช้อำนาจแบบเบ็ดเสร็จอย่างยาวนาน ปกติการต่อต้านนี้จะอยู่ในรูปของการลุกฮือขึ้น
ประท้วง พลเมืองอยากได้ประชาธิปไตย แต่ถูกกีดกันไม่ให้มีสิทธิเลือกตั้ง

ข้อสาม แม้จะเผชิญกับเสียงต่อต้านจากประชาชนจำนวนมหาศาล ผู้นำเผด็จการยังไม่ยอมลงจากตำแหน่ง

ข้อสี่ “รัฐประหารที่เป็นประชาธิปไตย” มักจะเกิดในประเทศที่บังคับให้พลเมืองต้องเกณฑ์ทหาร ส่งผลให้


กองทัพเต็มไปด้วยสมาชิกของสังคม ไม่ใช่ทหารรับจ้าง กองทัพในแง่นี้อาจได้ชื่อว่าเป็นสถาบันแห่งเดียวที่ไม่
คอร์รัปชั่นและไม่ถูกกระทบจากกลไกของรัฐซึ่งมีคอร์รัปชั่นซึมลึก

ข้อห้า กองทัพขานรับเสียงเรียกร้องของประชาชน ทำรัฐประหารเพื่อโค่นระบอบเผด็จการ

ข้อหก กองทัพจัดการเลือกตั้งที่เสรีและเป็นธรรมภายในระยะเวลาไม่นาน ประกาศวันเลือกตั้งล่วงหน้าอย่าง


ชัดเจนเพื่อสร้าง “ตลาดการเมือง” ขึ้นมาใหม่ อีกทั้งยังเป็นการส่งสัญญาณของรัฐบาลเฉพาะกาลว่า ตนมี
บทบาทจำกัดและจะอยู่ในอำนาจเพียงชั่วคราวเท่านั้น
ข้อเจ็ด ภายหลังการเลือกตั้งที่เสรีและเป็นธรรม กองทัพถ่ายโอนอำนาจให้กับผู้นำที่ชนะการเลือกตั้งโดยทันที
ไม่ว่าผู้นำที่ประชาชนเลือกจะเป็นใคร ไม่ว่านโยบายจะสอดคล้องกับนโยบายของกองทัพหรือไม่ โดยกองทัพจะ
ไม่พยายามแก้ไขหรือหลีกเลี่ยงผลการเลือกตั้ง

ผู้เขียนเห็นว่าจากลักษณะเจ็ดข้อของ “รัฐประหารที่เป็นประชาธิปไตย” ที่สรุปมาข้างต้นนั้น ชัดเจนว่า


รัฐประหาร 22 พฤษภาคม 2557 โดย คสช. ไม่เข้าข่ายในกรอบคิดของวารอลเลย – ดูข้อแรกกับข้อสองก็ไม่
เข้าแล้ว ข้อสี่ยิ่งไม่เข้าใหญ่ แต่น่าเสียดายที่นักวิชาการบางท่านพยายามบิดเบือนเนื้อหาในบทความชิ้นนี้ อ้าง
คำพูดครึ่งเดียวเพื่อตีความเข้าข้างตัวเอง

ในปี 2013 หลังจากที่กองทัพอียิปต์ออกมาทำรัฐประหารโค่นรัฐบาลของประธานาธิบดี โมฮาเหม็ด มอร์ซี วา


รอลก็ได้รับคำถามมากมายว่า รัฐประหารครั้งนี้เข้าข่าย “รัฐประหารที่เป็นประชาธิปไตย” ในกรอบคิดของเขา
หรือไม่ วารอลเขียนบทความตอบ (ดูhttp://journal.georgetown.edu/egypts-non-democratic-coup-
detat-and-turkeys-response-by-ozan-varol/) โดยมีสาระสำคัญดังต่อไปนี้

“รัฐประหาร [ปี 2013 ในอียิปต์] เข้าข่าย “รัฐประหารที่เป็นประชาธิปไตย” หรือไม่? คำตอบคือไม่ใช่ …ใน


รัฐประหารครั้งนี้ กองทัพอียิปต์โค่นประธานาธิบดีที่ชนะการเลือกตั้งเพียงหนึ่งปีก่อนหน้า ในการเลือกตั้งที่
หลายคนมองว่าเสรีและเป็นธรรม แน่นอน กองทัพในกรณีนี้ตอบสนองต่อความต้องการของประชาชนจำนวน
มหาศาลที่ออกมาประท้วงประธานาธิบดีที่ไม่ได้รับความนิยมและไม่ยอมสละอำนาจ มีเรื่องให้เราวิพากษ์
มากมายถึงสไตล์การบริหารแบบชอบอ้างเสียงข้างมากของประธานาธิบดีมอร์ซี ...แต่กองทัพลงมือก่อนเวลาอัน
ควร

ถ้าไม่นับข่าวลือต่างๆ แล้ว ก็ไม่มีสัญญาณใดๆ ณ ตอนเกิดรัฐประหารว่า มอร์ซีจะไม่ยอมสละอำนาจถ้าหากเขา


แพ้การเลือกตั้งครั้งต่อไป และไม่มีสัญญาณทีบ่ ่งชี้ว่าการเลือกตั้งภายใต้รัฐบาลของเขาจะถูกโกงแบบเดียวกับที่มู
บารักโกง ถ้าหากกองทัพไม่โค่นมอร์ซีด้วยกำลัง กลุ่มที่ต่อต้านก็อาจสามารถฉวยโอกาสจากภาวะขาดคะแนน
นิยมของมอร์ซี โค่นเขาลงจากอำนาจผ่านหีบเลือกตั้ง ความมักง่ายของกองทัพทำให้ขั้นตอนประชาธิปไตยที่ถูก
สถาปนาแล้วเกิดการลัดวงจร”
2. มายาคติของการซื้อเสียง

“การซื้อเสียง” ถูกประโคมมาช้านานว่าเป็น “ปีศาจ” ของระบอบประชาธิปไตยสมัยใหม่ เพราะแน่นอนว่าเมื่อ


นักการเมือง “ลงทุน” อะไรไป ก็ย่อมต้องอยาก “ถอนทุน” เมื่อได้อำนาจทางการเมืองหลังจากที่ชนะการ
เลือกตั้งไปแล้ว

ในเมื่อการซื้อเสียงในความหมายที่เข้าใจกันทั่วไป หมายถึงการควัก “เงินสด” ให้กับผู้มีสิทธิออกเสียง หาใช่การ


สัญญาว่าจะดำเนินการตามนโยบายหาเสียง ถ้าเราปล่อยให้การซื้อเสียงดำเนินไปอย่างแพร่หลาย ก็เท่ากับ
เปิดทางให้นักการเมืองที่ลงทุนซื้อเสียงได้เข้าไป “ถลุง” และ “กอบโกย” งบประมาณของรัฐ ซึ่งก็คือเงินภาษี
ของประชาชน มาคืนทุนของตัวเอง

อย่างไรก็ดี สังคมการเมืองไทยได้เปลี่ยนแปลงไปอย่างมากแล้วตั้งแต่ยุค “เงินผัน” สมัย ม.ร.ว. คึกฤทธิ์


ปราโมช ขึ้นเป็นนายกรัฐมนตรีในปี พ.ศ. 2518 จนนักวิชาการไทยหลายคน อาทิ ศจ. ผาสุก พงษ์ไพจิตร ชี้ว่า
“เงินไม่ได้เป็นสิ่งที่ชี้ขาดผลการเลือกตั้งอีกต่อไปแล้ว” อย่างน้อยก็ไม่ใช่การเลือกตั้งระดับชาติ

ศจ. ผาสุก อธิบายโดยยกตัวอย่างว่า “ในการเลือกตั้ง...เมื่อเดือนกรกฎาคม ปี 2554 แบบแผนของการเลือกตั้ง


มีความแตกต่างอย่างชัดเจน ...เขตการเลือกตั้งที่ติดกัน ส.ส. ที่มาจากพรรคเดียวกันมักชนะการเลือกตั้งด้วย
คะแนนเสียงถล่มทลาย [ยกตัวอย่างเช่น] ในพื้นที่ส่วนใหญ่ของภาคอีสาน ผู้สมัครจากพรรคเพื่อไทยชนะขาด
ด้วยคะแนนเสียงมากกว่าร้อยละหกสิบ ในขณะที่พรรคประชาธิปัตย์ได้คะแนนเสียงน้อยกว่าร้อยละสิบ ใน
ภาคใต้ (ยกเว้นบริเวณใต้สุด) พรรคประชาธิปัตย์ชนะด้วยคะแนนมากกว่าร้อยละหกสิบ ในขณะที่พรรคเพื่อไทย
ได้คะแนนเสียงต่ำกว่าร้อยละสิบ”

ผลการเลือกตั้งซึ่งสองพรรคใหญ่มีคะแนนเสียงห่างกันมากขนาดนี้ชี้ว่า การซื้อเสียงมิใช่ประเด็นสำคัญที่ชี้ขาด
ผลการเลือกตั้ง เพราะพรรคการเมืองไม่มีแรงจูงใจใดๆ ที่จะทุ่มเงินซื้อเสียงเพื่อให้ตัวเองชนะคู่แข่งอย่างขาด
ลอยขนาดนี้ (ทุ่มให้ชนะเพียงเล็กน้อยก็พอแล้ว)

แน่นอน สถานการณ์เปลี่ยนไปย่อมมิได้หมายความว่า การซื้อเสียงสมควรจะถูกประณามน้อยลง หรือเราควรไป


แก้กฏระเบียบให้มันกลายเป็นเรื่องถูกกฏหมายขึ้นมา

การซื้อเสียงในความหมายที่แคบที่สุด คือผู้สมัครรับเลือกตั้งจ่ายเงินสดให้กับผู้มีสิทธิออกเสียง เป็นพฤติกรรมที่


ผิดกฏหมายในทุกประเทศทั่วโลกที่ใช้ระบอบประชาธิปไตย เพราะการซื้อเสียงมีราคาจริงๆ ที่ทุกคนในสังคม
ต้องแบกรับ
บทความคลาสสิกเรื่อง “Vote Buying” (ซื้อเสียง) โดยศาสตราจารย์ด้านกฏหมาย ริค ฮาเซน (Rick Hasen)
ตีพิมพ์ในวารสาร California Law Review ปี 2000 อธิบายว่า ถึงแม้การซื้อเสียงจะถูกประณามอย่างแทบจะ
เป็นสากล แต่ละคนก็มีเหตุผลที่แตกต่างกันไปในการประณาม ฮาเซนสรุปเหตุผลที่สนับสนุนให้การซื้อเสียงเป็น
พฤติกรรมผิดกฏหมายไว้สามประการด้วยกัน ได้แก่ เหตุผลด้านความเท่าเทียมกัน เหตุผลด้านประสิทธิภาพ
และเหตุผลด้านสิทธิอันละเมิดมิได้

เหตุผลด้านความเท่าเทียมกัน (equality) บอกว่า ในเมื่อคนจนมีแนวโน้มที่จะขายเสียงมากกว่าคนรวย (เพราะ


มีความต้องการเงินมากกว่า และคนรวยมีช่องทางเข้าถึงนักการเมืองมากกว่าคนจน เช่น ผ่านการบริจาคเงิน
ให้กับพรรคการเมืองโดยตรง) ถ้าอนุญาตให้ซื้อเสียง ผลการเลือกตั้งก็อาจเอนเอียงไปเข้าข้างคนรวยได้
(นักการเมืองที่มาจากกลุ่มคนรวยสามารถเลือกซื้อเสียงคนจน เพื่อจะได้ไม่ต้องออกนโยบายช่วยคนจน ไปเอื้อ
ประโยชน์ให้กับคนรวยแทน)

เหตุผลด้านประสิทธิภาพ (efficiency) บอกว่า การอนุญาตให้ซื้อเสียงเท่ากับอนุญาตให้นักการเมืองแสวงค่า


เช่าทางเศรษฐกิจ (rent seeking) เมื่อชนะเลือกตั้งไปแล้ว แทนที่จะดำเนินนโยบายสาธารณะที่สังคมได้
ประโยชน์ (เหตุผลข้อนี้เป็นข้อที่เราคนไทยน่าจะคุ้นเคยและเห็นพ้องมากที่สุด จากการได้มองเห็นคอร์รัปชั่นเชิง
นโยบายอย่างโจ๋งครึ่มมาแล้วมากมาย)

เหตุผลด้านสิทธิส่วนบุคคลอันละเมิดมิได้ (inalienability) เป็นเหตุผลเชิงศีลธรรม นั่นคือ มองว่าเสียงที่เราทุก


คนมีเท่ากัน 1 คน 1 เสียงนั้น เป็น “สิ่งศักดิ์สิทธิ์” ที่ไม่ควรถูกขายหรือโอนให้กับคนอื่น ผู้ที่สนับสนุนเหตุผลข้อ
นี้มักมองว่า การเลือกตั้งเป็น “หน้าที่พลเมือง” หรือบางคนอาจมองถึงขั้นเป็น “หน้าที่ทางศีลธรรม” ทีไ่ ม่ทำ
ไม่ได้ การยอมให้ซื้อเสียงเท่ากับยอมให้เสียงอันศักดิ์สิทธิ์ของเราแต่ละคนกลายเป็นสินค้าที่ซื้อขายกันใน
ท้องตลาด

นอกจากนี้ นักปรัชญากฏหมายหลายคน อาทิ แคส ซันสตีน (Cass Sunstein) ยังมองต่อไปว่า การยอมให้


บุคคลรับเงินสดแลกกับการออกเสียงเป็นการบิดเบือนเป้าหมายของการไปเลือกตั้ง ทำให้เราหมกมุ่นกับ
ประโยชน์ส่วนตนเฉพาะหน้า (“หัวคะแนนพรรคไหนจ่ายเราเท่าไร”) มากกว่าประโยชน์ส่วนรวม (หรืออย่าง
น้อยก็ประโยชน์ของชุมชนหรือกลุ่มที่เราสังกัด) ที่เราคาดหวังให้นักการเมืองสร้าง มองจากมุมนี้ การยอมให้ซื้อ
เสียงจึงเท่ากับยอมให้เป้าหมายของการเลือกตั้งถูกบิดเบือนไป บั่นทอนคุณภาพของระบอบการเมืองโดยรวม

ฮาเซนนำเสนอว่า การซื้อเสียงในความหมายที่แคบที่สุด คือ การจ่ายเงินสดให้กับผู้มีสิทธิออกเสียงแลกกับ


ความคาดหวังว่าจะได้คะแนนเสียงนั้น สมควรเป็นพฤติกรรมที่ผิดกฏหมายด้วยเหตุผลทั้งสามประการข้างต้น
เขานำเสนอต่อไปว่า เราสามารถใช้ชุดเหตุผลข้างต้นเป็น “บรรทัดฐาน” ในการมองว่า พฤติกรรมใดน่าจะเข้า
ข่ายการซื้อเสียงที่ผิดกฏหมาย กล่าวคือ ก่อนจะบัญญัติให้พฤติกรรมใดๆ ผิดกฏหมาย เราก็ควรประยุกต์ใช้เหตุ
ผลได้ครบทั้งสามข้อ

ตัวอย่างพฤติกรรมที่ไม่ใช่การซื้อเสียงตรงๆ แต่หลายคนมองว่าน่าจะเข้าข่ายมีอะไรบ้าง? ตัวอย่างที่ใช้กัน


แพร่หลายได้แก่ การแลกเสียงโหวตในสภาเพื่อแลกเปลี่ยนผลประโยชน์กัน (logrolling) ระหว่าง
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (“ฉันจะยกมือสนับสนุนกฏหมายที่แกเสนอ ถ้าแกยกมือสนับสนุนกฏหมายที่ฉัน
เสนอ”) และการเสนอผลประโยชน์ที่จับต้องได้ในแคมเปญรณรงค์ให้คนออกไปใช้สิทธิเลือกตั้ง (เมืองไทยซึ่งคน
ตื่นตัวออกไปใช้สิทธิสูงมากไม่คุ้นเคยกับแคมเปญทำนองนี้ แต่ในประเทศที่อัตราการออกไปใช้สิทธิยังค่อนข้าง
ต่ำ แคมเปญลักษณะนี้พบเห็นได้ทั่วไป เช่น ในสหรัฐอเมริกา กลุ่มพ่อค้าเมือง ซาน รามอน ในมลรัฐ
แคลิฟอร์เนีย เคยจับมือกันมอบส่วนลดราคาสินค้า ลดค่าอาหารในร้านอาหาร และเปิดบัญชีออมทรัพย์ฟรี
ให้กับชาวเมืองทุกคนที่เอา “หางบัตร” หลังจากไปลงคะแนนเลือกตั้งมาแสดงให้ดู)

การแลกเสียงโหวตในสภาควรถูกจัดเป็น “การซื้อเสียงที่ผิดกฏหมาย” หรือไม่? เมื่อมองจากเหตุผลด้านความ


เท่าเทียม ไม่ชัดเจนว่าพฤติกรรมนี้ละเมิดหลักความเท่าเทียม เนื่องจาก ส.ส. แต่ละคนมีสิทธิเท่าเทียมกันในสภา
เมื่อมองจากเหตุผลด้านประสิทธิภาพ ก็ไม่ชัดเจนเช่นกันว่าการทำแบบนี้จะลิดรอนประโยชน์ส่วนรวมเสมอไป
เนื่องจากอาจเป็นวิธีที่สร้างประโยชน์ส่วนรวมก็ได้ เช่น ร่างกฏหมายที่ ส.ส. สองคนตกลงแลกกัน อาจเป็น
กฏหมายที่ดีมากทั้งคู่

สุดท้าย เมื่อมองจากเหตุผลด้านสิทธิอันละเมิดมิได้ เราก็ไม่อาจพูดว่าการแลกเสียงโหวตในสภาเป็นการ


บิดเบือนหรือบั่นทอนการเมือง เพราะ ส.ส. เจรจาแลกเสียงกันโดยที่ต่างฝ่ายต่างไม่ได้รับประโยชน์ส่วนตนใดๆ
ตอบแทน

ในเมื่อการแลกเสียงโหวตในสภา “ผ่าน” เหตุผลทั้งสามประการ ก็หมายความว่าพฤติกรรมนี้ไม่ควรเข้าข่ายที่


ผิดกฏหมาย

เราสามารถใช้เหตุผลสามประการและแนวคิดของฮาเซน เป็น “เครื่องมือ” วัดระดับความ “แย่” (ยิ่งแย่ยิ่งควร


ผิดกฏหมาย) ของพฤติกรรมต่างๆ ที่หลายคนข้องใจ เช่น ถ้าเราไม่ได้พูดถึงการเจรจา “แลก” เสียงโหวตในสภา
แต่พูดถึงการ “ซือ้ ” เสียงโหวตของ ส.ส. เช่น ถ้าหากนายทุนพรรคอยากทุ่มเงินมหาศาลให้ ส.ส. ทั้งสภายอม
ออกกฏหมายแย่ๆ ทำนอง พ.ร.บ. นิรโทษกรรมเหมาเข่ง พฤติกรรมนี้ก็ชัดเจนว่าไม่ผ่านเหตุผลทั้งสามด้าน ทั้ง
ด้านความเท่าเทียม (นายทุนทุ่มเงิน ทำให้เสียงของคนจนไร้ค่า) ด้านประสิทธิภาพ (กฏหมายนี้ไม่สร้าง
ประโยชน์ส่วนรวม) และด้านสิทธิอันละเมิดมิได้ (ส.ส. ขายความไว้วางใจของประชาชนที่เลือกเข้าสภา แลกกับ
การรับทรัพย์เข้ากระเป๋าตัวเอง)
ลองมาดูอีกพฤติกรรมที่คนไทยคุ้นเคย – ข้ออ้างที่ว่านักการเมืองสมัยนี้ “ซื้อเสียงด้วยนโยบาย” เป็นนัยว่าการ
ที่นักการเมืองนำเสนอนโยบายต่างๆ นานา จูงใจให้คนเลือกนั้น แย่พอๆ กับ “การซื้อเสียง” ด้วยเงินสด

ลองตรองดูไม่ช้าก็จะพบว่า พฤติกรรมนี้ “ผ่าน” เหตุผลทั้งสามข้อ ทั้งด้านความเท่าเทียม (ทุกคนมีสิทธิที่จะ


เลือกหรือไม่เลือกก็ได้) ด้านประสิทธิภาพ (บางนโยบายสร้างประโยชน์ส่วนรวม) และด้านสิทธิอันละเมิดมิได้
(ประชาชนไม่ได้ขายเสียงของตัวเองแลกเงิน) เป็นเครื่องยืนยันว่า การหาเสียงด้วยนโยบายไม่ใช่การซื้อเสียง
และไม่ใช่ปัญหาใดๆ เป็นเพียงครรลองปกติของระบอบประชาธิปไตยเท่านั้น

พฤติกรรมบางอย่างมีราคาที่มองไม่เห็น แต่การมองให้เห็นราคาอย่างถูกต้อง ไม่ประเมินราคาสูงเกินจริง ก็


สำคัญไม่น้อยไปกว่าการรณรงค์เรียกร้องให้คนมองเห็นมัน มิฉะนั้นเราอาจเลือกวิธีแก้ปัญหาผิดพลาด ก่อให้เกิด
โทษที่มีมูลค่าสูงกว่าต้นทุนที่เราประหยัดได้

อย่างเช่นการเรียกหารัฐประหารหรือ “รัฐบาลคนกลาง” มาแก้ปัญหาการซื้อเสียง.


3. ความจำเป็นของ “ความเป็นประชาธิปไตย” ในการปฏิรูป

ผ่านไปเกือบปีครึ่งหลังรัฐประหาร 22 พฤษภาคม 2557 คณะรัฐประหารยังเดินหน้า “ปฏิรูปประเทศ” อย่าง


ต่อเนื่อง

วันที่ 5 ตุลาคม 2558 มีการประกาศแต่งตั้งสมาชิกสภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ (สปท.) จำนวน 200 คน


ขึ้นมาทำหน้าที่แทนสภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.)

ในจำนวนนี้เป็นทหารและตำรวจมากถึง 72 คน คิดเป็นร้อยละ 36 ของ สปท. ทั้งคณะ


ในเมื่อทหารและตำรวจเป็นกลุ่มอาชีพที่มีสัดส่วนใน สปท. มากที่สุด และวันนี้ประเทศไทยอยู่ใต้การปกครอง
ของทหาร ก็สมควรที่เราจะมาสำรวจการทำงานของรัฐบาลภายใต้การครอบงำของคณะรักษาความสงบ
แห่งชาติ (คสช.) กันเล็กน้อย เพื่อดูว่าการปฏิรูปโดย สปท. นั้นน่าจะมี “ทิศทาง” อย่างไร

วันนี้คนไทยจำนวนไม่น้อยชื่นชอบการ “จัดระเบียบสังคม” ของ คสช. ซึ่งใช้อำนาจเนรมิตให้ชายหาดสวยงาม


ทางเดินสองฝั่งถนนไร้เงาหาบเร่แผงลอย และสลากกินแบ่งราคา 80 บาท
แต่ในขณะเดียวกัน นโยบายเหล่านี้มิใช่การวางรากฐานการปฏิรูปให้ “มั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน” แต่เป็นเพียงการแก้
“ปัญหา” ที่หลายคนมองว่าไม่ใช่ปัญหา

และต่อให้มองว่าเป็นปัญหา ก็มีทางเลือกในการแก้ไขมากมายนอกเหนือจากการใช้ “อำนาจพิเศษ” อย่าง


มาตรา 44

ผู้ที่ไม่เห็นด้วยกับแนวทางของ คสช. รวมทั้งผู้ทไี่ ด้รับผลกระทบจากนโยบายเหล่านี้ไม่อาจร้องเรียนกับใครได้


เพราะหลายคนเกรงว่าจะถูกนำตัวไป “ปรับทัศนคติ” หรือไม่ก็ถูกประณามว่า “ไม่รักชาติ”

เมื่อหันมาดูการดำเนินนโยบายที่มีลักษณะ “ระยะยาว” มากกว่าการจัดระเบียบสังคม ดำริที่จะจัดตั้ง single


gateway และนโยบาย “แผนแม่บทการแก้ไขปัญหาการทำลายทรัพยากรป่าไม้ การบุกรุกที่ดินของรัฐ และการ
บริหารการจัดการทรัพยากรธรรมชาติอย่างยั่งยืน” หรือชื่อเล่น “ทวงคืนผืนป่า” เป็นเพียงสองตัวอย่างของ
นโยบาย คสช. ซึ่งดูเผินๆ แตกต่างกันสุดขั้ว แต่มีจุดร่วมอย่างน้อยสองข้อที่ให้บทเรียนเราได้อย่างดีถึง
กระบวนการปฏิรูปในยุคนี้

ข้อแรก ทั้งสองนโยบายนี้มิได้มาจากการเสนอของภาคประชาชน แต่มาจากดำริของรัฐบาลหรือหน่วยงาน


ราชการ
นโยบาย single gateway ปรากฎเป็นลายลักษณ์อักษรครั้งแรกในข้อสั่งการของนายกรัฐมนตรี วันที่ 30 มิ.ย.
2558 (สืบค้นได้จากเว็บไซต์สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี http://www.cabinet.soc.go.th/) โดยให้
กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง “ดำเนินการจัดตั้ง Single
Gateway เพื่อใช้เป็นเครื่องมือควบคุมเว็บไซต์ที่ไม่เหมาะสมและการไหลเข้าของข้อมูลข่าวสารจากต่างประเทศ
ผ่านทางระบบอินเทอร์เน็ต โดยให้ตรวจสอบข้อกฎหมายที่เกี่ยวข้อง ซึ่งหากมีความจำเป็นต้องออกกฎหมาย
เพิ่มเติม ก็ให้เร่งดำเนินการให้แล้วเสร็จโดยเร็วต่อไปด้วย”

มิได้บอกให้ไป “ศึกษา” เฉยๆ แบบที่ผู้มีอำนาจหลายคนดาหน้าออกมาอ้างแต่อย่างใด

ส่วนนโยบายทวงคืนผืนป่า ริเริ่มในคำสั่ง คสช. ฉบับที่ 64/2557 ในเดือนมิถุนายน 2557 ให้หน่วยงานที่


เกี่ยวข้องดำเนินการปราบปรามและจับกุมผู้บุกรุก ครอบครอง ทำลายป่า ติดตามผลคดีป่าไม้ และฟื้นฟูสภาพ
ป่าทีส่ มบูรณ์

ข้อสอง นโยบายทั้งสองถูกวิพากษ์วิจารณ์และคัดค้านอย่างกว้างขวางจากผู้ที่ได้รับผลกระทบ หรือจะได้รับ


ผลกระทบในอนาคต แต่เสียงคัดค้านไม่ส่งผลกระทบใดๆ ต่อการดำเนินนโยบาย
ดำริที่จะจัดตั้ง single gateway ถูกคัดค้านอย่างกว้างขวางจากทุกภาคส่วน ตั้งแต่ผู้ใช้เน็ต (มีผู้ลงนามใน
แคมเปญคัดค้านบน change.org กว่า 140,000 คนในช่วงเวลาหนึ่งสัปดาห์) ผู้ประกอบการดิจิทัลทั้งไทยและ
เทศ ตลอดจนบริษัทโทรคมนาคมรายใหญ่

ส่วนนโยบายทวงคืนผืนป่าก็ถูกคัดค้านอย่างกว้างขวางจากชาวบ้านและองค์กรพัฒนาเอกชนหลายสิบแห่งที่
ทำงานกับชาวบ้าน ถึงแม้คนเมืองอาจไม่ได้ยินข่าวเท่ากับกระแสการคัดค้าน single gateway เพราะสื่อกระแส
หลักยังไม่ได้นำเสนอเรื่องนี้เท่าที่ควร

ในเดือนกันยายน 2558 กลุ่มจับตาปัญหาที่ดิน (Land Watch) เปิดรายงานเรื่องผลกระทบจากนโยบายทวงคืน


ผืนป่า (https://tlhr2014.wordpress.com/2015/09/22/landwatch_report/) ระบุว่า

“คำสั่ง คสช. ฉบับที่ 66/2557 เน้นย้ำว่าการดำเนินงานของเจ้าหน้าที่จะต้องไม่สร้างความเดือดร้อนให้กับ


ประชาชนผู้ยากไร้ และให้มีกระบวนการเจรจาเพื่อหาทางแก้ไขปัญหาในกรณีที่มีความสืบเนื่องต่อกันมา แต่
เนื่องจากมาตรการหลักของคำสั่ง คสช. คือการใช้กำลังเข้าจับกุม และทวงคืนพื้นที่เป็นหลัก ประชาชนที่อาศัย
อยู่ในเขตป่าและกำลังอยู่ในระหว่างกระบวนการแก้ไขปัญหากับภาครัฐ จึงได้รับผลกระทบอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้
ไปด้วย”
Land Watch พบว่าชาวบ้านที่ถูกข่มขู่คุกคาม ไล่รื้อ ตัดฟันทำลายพืชผล และจับกุมดำเนินคดี จากนโยบาย
ดังกล่าว มีจำนวนไม่ต่ำกว่า 681 รายทั่วประเทศ

รายงานฉบับนี้สรุปว่า “คำสั่ง คสช. ได้สร้างความเดือดร้อนอย่างมากให้กับประชาชนที่อาศัยและทำกินในเขต


ป่า ...อีกทั้งเมื่อมีการเจรจาในระดับขบวนการภาคประชาชนกับตัวแทนรัฐบาลเพื่อหาทางออกร่วมกัน คำสั่ง
คสช.ก็ยังเปิดช่องให้เจ้าหน้าที่ในระดับปฏิบัติ ดำเนินการตามที่ตัวเองเห็นสมควร ซึ่งได้สร้างความเดือดร้อน
ให้กับประชาชนมากขึ้นไปอีก”

ด้านกระบวนการ รายงานวิเคราะห์ว่า “แผนแม่บทป่าไม้นั้นจัดทำโดยกลุ่มคนเพียง 17 คน (ที่ปรึกษา 5 คน,


คณะผู้จัดทำ 12 คน) ในจำนวนนี้ มีเจ้าหน้าที่ทหารถึง 11 นาย ไม่มีสัดส่วนของตัวแทนภาคประชาชนและ
นักวิชาการสาขาอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง ...ไม่มีกระบวนการมีส่วนร่วม กระบวนการรับฟังความคิดเห็นของประชาชน
ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียแต่อย่างใด”

ยังมีอีกหลายนโยบายที่ คสช. หรือข้าราชการริเริ่ม ซึ่งกำลังเผชิญกับเสียงคัดค้าน และผู้คัดค้านก็นำเสนอ


เหตุผลและทางเลือก แต่ผู้มีอำนาจไม่สนใจ อาทิ โครงการสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหินกระบี่ เปิดเหมืองทองคำทั่ว
ประเทศ เปิดเหมืองโปแตซ และโครงการพัฒนาริมฝั่งเจ้าพระยา เป็นต้น

ผู้เขียนเห็นว่า นโยบายเหล่านี้ตั้งอยู่บนโลกทัศน์ที่คร่ำครึของรัฐราชการเมื่อค่อนศตวรรษที่แล้ว สมัยที่เชื่อกันว่า


การพัฒนาต้องทำจากศูนย์กลางเพราะประชาชนส่วนใหญ่ยังไร้การศึกษา ต้องให้ “ผู้เชี่ยวชาญ” ตัดสินใจแทน
อีกทั้งรัฐต้องเอาใจนายทุนเพราะเป็นหัวหอกในการพัฒนาเศรษฐกิจ

โลกทัศน์ “รัฐราชการ+อำนาจรวมศูนย์+เอื้อประโยชน์นายทุน+เศรษฐกิจมาก่อน” เช่นนี้ แปลกแยกแตกต่าง


อย่างรุนแรงกับโลกทัศน์ของประชาชน ผู้ไม่ได้ติดอยู่ในวิธีคิดแบบเก่า

โลกทัศน์ของประชาชนวันนี้ ไม่เพียงแต่คนไทยแต่รวมถึงการเคลื่อนไหวของภาคประชาชนทั่วโลก ถ้าจะสรุป


ง่ายๆ คือ “รัฐโปร่งใส+อำนาจกระจายศูนย์+เพิ่มพลังพลเมือง+การพัฒนาที่ยั่งยืน”

ในเมื่อโลกทัศน์ระหว่าง “ข้าราชการ+เทคโนแครต” กับ “ประชาชน” โดยรวมกำลังขัดแย้งแตกต่างกันเช่นนี้


กระบวนการปฏิรูปใดๆ ก็ตาม ที่ไม่วาง “ประชาชน” เป็นหัวใจ จึงไม่มีทางที่จะลงหลักปักฐานได้เลย

ด้วยเหตุนี้ ผู้เขียนจึงมองว่า ก้าวแรกที่จำเป็นต่อการปฏิรูปอะไรก็ตาม คือการปฏิรูป “โลกทัศน์” ของผู้ถือ


อำนาจการปฏิรูป
จากโลกทัศน์แบบอำนาจนิยมที่เชื่อว่าคนดี-คนเก่งรู้ดีที่สุด มาเป็นโลกทัศน์แบบประชาธิปไตย ให้ประชาชนมี
ส่วนร่วมอย่างแท้จริง

ผู้เขียนหวังว่า สมาชิก สปท. ที่มีโลกทัศน์แบบเก่าจะสามารถปฏิรูปตนเอง และจะมีความกล้าหาญทาง


จริยธรรมพอที่จะคัดค้านนโยบายของรัฐบาล หรือคำสั่งของ คสช. ที่ขัดกับโลกทัศน์ของประชาชน.
4. ราคาของ “ความมั่นคงแห่งชาติ”

หลายสิ่งหลายอย่างในชีวิตเป็นสิ่งที่เรารู้ดีว่ามีราคาแพง แต่กับบางเรื่องเราอาจไม่มีวันรู้เลยว่า ราคาที่เราจ่าย


นั้น “แพงเกินไป” หรือไม่ เพราะถูกชี้นำชวนเชื่อว่า เราต้องจ่ายแพงเพราะมัน “จำเป็น” ต่อการดำรงชีวิต
อย่างปกติสุข และเราไม่อาจล่วงรู้ราคาที่แท้จริงหรือแม้แต่จะตั้งคำถามกับราคาที่ต้องจ่าย ก็เพราะความ
“จำเป็น” อีกเช่นกัน

สังคมสมัยใหม่ดูเหมือนจะยอมรับกันโดยดุษณีว่า การมีกองทัพที่เข้มแข็งนั้นจำเป็นต่อการรักษา “ความมั่นคง


แห่งชาติ” แต่หลายครั้งสิ่งที่รัฐทำก็ก่อให้เกิดความสงสัยว่า ความมั่นคงแห่งชาตินั้นน่าจะหมายถึง “ความมั่นคง
ของผู้กุมอำนาจรัฐ” มากกว่าความมั่นคงของ “ชาติ” ในความหมาย “ประชาชน”

ฝ่ายความมั่นคงให้นิยาม “ความมั่นคงแห่งชาติ” ไว้อย่างไร? เอกสารวิชาความมั่นคงศึกษา (Security


Studies) ของโรงเรียนเสนาธิการทหารบก (วิชัย ชูเชิด, 2547, หน้า 15 อ้างถึงในเว็บไซต์ tortaharn.net) ให้
คำตอบไว้ว่า

“ความมั่นคงของชาติ หมายถึง สภาวการณ์หรือสภาพที่รัฐชาติ ภายใต้การนำของรัฐบาลที่มีอำนาจอธิปไตยใน


การปกครองดินแดนดังกล่าวด้วยตนเอง สามารถดำรงอยู่ด้วยความปลอดภัยจากภยันอันตรายทั้งปวง ...มีเสรี
ต่อความกดดันต่าง ๆ ซึ่งจะประกันให้อำนาจหน้าที่ของแต่ละส่วนภายในชาติดำเนินไปได้อย่างอิสระ มีความ
แน่นแฟ้นเป็นปึกแผ่น มีความแน่นอนไม่เปลี่ยนแปลงไปโดยง่าย มีความอดทนต่อแรงกดดันต่าง ๆ ที่มากระทบ
ในทุก ๆ ด้าน ทั้งด้านเอกราช อธิปไตย ในด้านบูรภาพแห่งดินแดน ในด้านสวัสดิภาพ ความปลอดภัยและผาสุก
ของประชาชน ในด้านการปกครองของประเทศ และวิถีการดำเนินชีวิตของคน อีกทั้งจะต้องมีขีดความสามารถ
ที่จะพร้อมเผชิญต่อสถานการณ์ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น”

จากนิยามข้างต้นจะเห็นว่า “ความมั่นคงของชาติ” กินความค่อนข้างกว้าง หมายรวมตั้งแต่ “ความแน่นอนไม่


เปลี่ยนแปลงไปโดยง่าย” “ความอดทนต่อแรงกดดันต่างๆ” ไปจนถึง “ขีดความสามารถ” ของรัฐชาติในการ
เผชิญหน้าสถานการณ์ต่างๆ

ก่อให้เกิดคำถามว่า การใช้จ่ายงบประมาณทางทหารที่ผ่านมาช่วยรักษา “ความมั่นคงของชาติ” ในความหมาย


ข้างต้นได้ดีเพียงใด ประชาชนจะรู้ได้อย่างไรว่าวันนี้ชาติ “มั่นคง” แล้วหรือยัง

จากมุมมองของฝ่ายความมั่นคง ราคาโดยตรงของความมั่นคงแห่งชาติ ซึ่งหลักๆ อยู่ในรูปของงบประมาณทาง


ทหารนั้น ไม่เพียงแต่จำเป็นต้องจ่าย หากแต่ยังต้องจ่ายในระดับที่ทัดเทียบกับประเทศเพื่อนบ้าน
ในปี พ.ศ. 2556 กระทรวงกลาโหมไทยได้มีการพัฒนาแผน 10 ปี ชื่อ แผนพัฒนาขีดความสามารถ
กระทรวงกลาโหม ปี 2554-2563 (Modernization Plan : Vision 2020) โดยประมาณการว่า
กระทรวงกลาโหมจะได้รับการสนับสนุนงบประมาณเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องทุกปี จนถึงปีงบประมาณ 2563 จะ
ได้รับการสนับสนุนงบประมาณคิดเป็นร้อยละ 2 ของผลผลิตมวลรวมประชาชาติ หรือจีดีพี (สัดส่วนปัจจุบันอยู่
ที่ประมาณร้อยละ 1.6 ของจีดีพี)

พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรีฝ่ายความมั่นคง และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม และ


พล.อ.อนุพงษ์ เผ่าจินดา อดีตผู้บัญชาการทหารบก (ผบ.ทบ.) สองหัวหอกนายพลผู้ผลักดันแผนนี้ เคยให้เหตุผล
ว่า “ประเทศเพื่อนบ้านมีการเพิ่มงบประมาณทางการทหารเมื่อเทียบกับสัดส่วนจีดีพีอย่างต่อเนื่อง หาก
ประเทศไทยยังคงสัดส่วนงบประมาณทางการทหารเมื่อเทียบกับจีดีพีในระดับต่ำ จะไม่สามารถสร้างดุลอำนาจ
กับประเทศเพื่อนบ้านที่มีการเสริมกำลังรบอย่างต่อเนื่องได้”

ความต้องการตามแผนนี้ เฉพาะการจัดหาอาวุธยุทโธปกรณ์นั้นมีโครงการของกองทัพบกวงเงิน 4.97 แสนล้าน


บาท กองทัพอากาศ วงเงิน 4.4 แสนล้านบาท และกองทัพเรือ 3.25 แสนล้านบาท

นักวิเคราะห์ด้านการทหารหลายฝ่ายมองว่า เศรษฐกิจที่เติบโตขึ้นและการเพิ่มแสนยานุภาพทางทหารของจีน
ประกอบกับกรณีพิพาทเรื่องเขตแดนระหว่างจีนและญี่ปุ่น ส่งผลให้ชาติอาเซียนต่างเพิ่มการใช้จ่ายด้าน
การทหารมากขึ้นเพื่อถ่วงดุลอำนาจ อีกทั้งยังเป็นการปกป้องเส้นทางขนส่ง ท่าเรือ และเขตแดนทางทะเลซึ่ง
เป็นจุดยุทธศาสตร์สำคัญทางเศรษฐกิจ

นอกจาก “ความมั่นคงแห่งชาติ” จะมีราคาที่เพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องแล้ว ประสิทธิภาพและประสิทธิผลของ


การจ่ายก็เป็นเรื่องที่อยู่นอกเหนือการรับรู้ของประชาชน – ในเมื่อ “ความลับ” รวมทั้งความลับของ
กระบวนการงบประมาณ มักถูกยกเป็นเหตุผลว่า “จำเป็น” ต่อการรักษา “ความมั่นคง” เช่นกัน

รายงานโครงการศึกษาวิจัย “การปฏิรูประบบงบประมาณของไทยเพื่อต่อต้านการทุจริต” ของ


คณะอนุกรรมการฝ่ายวิจัย สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ระบุว่า
กระทรวงกลาโหมได้รับจัดสรรงบประมาณรายจ่ายเพิ่มขึ้นมากนับตั้งแต่มีการรัฐประหารเมื่อปี พ.ศ. 2549 โดย
เพิ่มขึ้นจากประมาณ 8.1 หมื่นล้านบาท ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2549 เป็น 1.68 แสนล้านบาท ใน
ปีงบประมาณ พ.ศ. 2554 หรือกว่า 2 เท่า

คณะผู้วิจัยฯ ได้ระบุถึงคำสัมภาษณ์ของอดีตผู้บริหารสำนักงบประมาณ ที่ให้ความเห็นเกี่ยวกับงบประมาณของ


กระทรวงกลาโหมไว้ว่า
“เรื่องการจัดซื้อจัดจ้างของกองทัพ ไม่มีหน่วยงานไหนเข้าไปตรวจสอบได้ แม้แต่ สตง. [สำนักงานการตรวจเงิน
แผ่นดิน] ก็เถอะ ดังนั้นจึงมีการทุจริตสูง [ควรจะมี]กระบวนการกลั่นกรองการจัดซื้อจัดจ้างของกองทัพที่
โปร่งใส เราดูในแง่ของอาวุธว่าคุ้มค่าหรือไม่ ไม่ได้ดูเพื่อเปิดเผยความลับของประเทศ ...แต่ควรมีแผนป้องกัน
ประเทศที่กำหนดไว้ชัดเจนกว่านี้ว่าจะทำอะไร ...เพื่อให้เรารู้กรอบวงเงินคร่าวๆ ในการจัดซื้ออาวุธแล้วซอยมา
เป็นงบแต่ละปี แล้วตอบคำถามให้ได้ว่า เมื่อได้มาแล้วจะมีไว้เพื่ออะไร”

คณะผู้วิจัยฯ พบว่า หลังเกิดรัฐประหารในวันที่ 19 กันยายน 2549 งบประมาณของกระทรวงกลาโหมเพิ่มขึ้น


อย่างต่อเนื่อง และมีการแก้ไข พ.ร.บ. จัดระเบียบราชการกระทรวงกลาโหม พ.ศ. 2551 โดยให้อำนาจกับสภา
กลาโหมมากขึ้น

กฎหมายฉบับนี้กำหนดให้การดำเนินการของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมในส่วนที่เกี่ยวกับการพิจารณา
งบประมาณการทหาร และการแบ่งสรรงบประมาณของกระทรวงกลาโหม ต้องเป็นไปตามมติของสภากลาโหม
ซึ่งคณะผู้วิจัยฯ ตั้งข้อสังเกตว่า จำนวนสมาชิกของสภากลาโหมที่มีทั้งหมด 26 คน มีเพียง 2 คนมาจากฝ่าย
การเมือง คือ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม และรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงกลาโหม ในฐานะประธาน
และรองประธานสภากลาโหม ส่วนสมาชิกที่เหลือมาจากฝ่ายกองทัพ ซึ่งเป็นข้าราชการทหารทั้งหมด

เป็นที่รับรู้กันโดยทั่วไปว่า ที่ผ่านมากระบวนการจัดหาอาวุธยุทโธปกรณ์ของกระทรวงกลาโหมและกองทัพมี
ปัญหาเรื่องความไม่โปร่งใสและความไม่ชอบมาพากลหลายโครงการ เช่น โครงการจัดซื้อเครื่องตรวจจับวัตถุ
ระเบิด GT200 (ซึ่งบริษัทผู้จัดจำหน่ายในอังกฤษถูกศาลตัดสินในปี 2556 ว่าจงใจจำหน่ายสินค้าปลอม),
โครงการจัดซื้อเรือเหาะ, โครงการจัดซื้อรถหุ้มเกราะยูเครน, โครงการจัดซื้อฝูงบินกริพเพน และโครงการซื้อ
เรือฟริเกต 2 ลำ มูลค่า 3 หมื่นล้านบาท เป็นต้น

โครงการเหล่านี้นอกจากจะยังไม่มีการตั้งเรื่องสืบสวนสอบสวนใดๆ ในข้อหาทุจริตแล้ว ประชาชนยังไม่มีสิทธิ


ทักท้วงหรือเรียกร้องคำอธิบายถึง “ความจำเป็น” ในการจัดซื้ออาวุธยุทโธปกรณ์เหล่านี้

นอกจาก “ราคาทางตรง” ในรูปงบประมาณทางทหารที่เราทุกคนร่วมจ่ายในฐานะผู้เสียภาษีแล้ว “ความมั่นคง


แห่งชาติ” ยังมี “ราคาทางอ้อม” อีกหลายอย่างที่เราอาจไม่ทันสังเกตหรือเชื่อมโยงว่า เรากำลังจ่ายในราคา
ค่อนข้างแพง ในนามของความมั่นคงแห่งชาติ

ทุกวันนี้เรายินยอมกับการเสียสละสิทธิเสรีภาพบางอย่างชั่วคราวโดยไม่ปริปากบ่น เพราะมองเห็น “ความไม่


มั่นคง” ของบางสถานการณ์อย่างชัดเจน ยกตัวอย่างเช่น เรายอมสละเสรีภาพที่จะไม่เดินผ่านเครื่องเอ็กซเรย์
ก่อนขึ้นเครื่องในสนามบิน เพราะเราไม่อยากนั่งเครื่องบินที่สุ่มเสี่ยงต่อการถูกผู้ร้ายจี้กลางอากาศ
แต่อีกหลายกรณี ไม่ว่าจะเป็นการสั่งแบนเกมคอมพิวเตอร์ สั่งห้ามจัดเสวนาเรื่องการเมือง หรือการปิดกั้น
เว็บไซต์ที่มี “ข้อความไม่เหมาะสม” ก็ก่อให้เกิดคำถามว่า การละเมิดสิทธิเสรีภาพบางประการในนามของ
“ความมั่นคง” นั้น “จำเป็น” อย่างที่รัฐพยายามกล่าวอ้างหรือไม่?

ความตึงเครียดระหว่าง “สิทธิเสรีภาพ” กับ “ความมั่นคงแห่งชาติ” เช่นนี้ แง่หนึ่งอาจเป็นลักษณะที่ขาดไม่ได้


ของสังคมสมัยใหม่

ตัวอย่างเช่นในสหรัฐอเมริกา ประชาชน นักไอที และนักรณรงค์เสรีภาพเน็ตจับมือกันขับเคลื่อนขบวนการ


เรียกร้องให้รัฐแก้กฎหมายการสอดแนมประชาชน ซึ่งถูกเปิดโปงเมื่อไม่นานมานี้ว่า ดำเนินไปอย่างซึมลึกและ
กว้างขวาง ประชาชนทุกคนในประเทศถูกดักฟังและดักจับข้อมูลส่วนตัว ไม่ว่าจะอยู่ในข่าย “ผู้ต้องสงสัย”
เกี่ยวกับการก่อการร้ายหรือไม่

ขบวนการรณรงค์นี้ตั้งชื่อว่า “จำเป็นและได้ส่วน” – “Necessary and Proportionate” (ดูเว็บไซต์


https://en.necessaryandproportionate.org/) เพือ่ สะท้อนข้อเรียกร้องหลักของพวกเขาว่า อเมริกันชน
มิได้ปฏิเสธกฎหมายและการทำงานของรัฐด้านการรักษาความมั่นคง แต่รัฐจะต้องใช้อำนาจเฉพาะเท่าที่
“จำเป็น” และ “ได้ส่วน” กับระดับของอันตรายที่ประเทศกำลังเผชิญ มิใช่จำกัดสิทธิเสรีภาพของประชาชน
แบบเหมาโหลเหวี่ยงแห

ในยุคแห่ง “ความไม่แน่นอน” ที่ความอยู่รอดของชาติขึ้นอยู่กับระดับ “ความยืดหยุ่น” (resilience) ของสังคม


ในการปรับตัวให้เข้ากับสถานการณ์ใหม่ๆ และสอดรับกับความต้องการของสมาชิกที่หลากหลาย มากกว่าระดับ
“ความแน่นอนไม่เปลี่ยนแปลง” นั้น

ชาติที่อยู่รอดอาจมิใช่ชาติที่รัฐมอง “ความมั่นคงแห่งชาติ” ในนิยามเดิมๆ เรียกร้องให้ประชาชนจ่ายราคา


เดิมๆ ที่แพงลิบไม่รู้จบอีกต่อไป.
มายาคติเกี่ยวกับกฎหมายและสิทธิเสรีภาพ

5. “กฎหมาย” ไม่เท่ากับ “ความยุติธรรม”

มายาคติอีกประการที่เป็นอุปสรรคสำคัญต่อการปฏิรูปในไทย คือ มายาคติเกี่ยวกับกฎหมาย โดยเฉพาะความ


เชื่อที่ว่า กฎหมายคือสิ่งศักดิ์สิทธิ์ตายตัว ออกแล้วย่อมชอบธรรมเสมอ ดีเสมอไม่ต้องทบทวนหรือเปลี่ยนแปลง
ใดๆ เมื่อเวลาเปลี่ยนไป ดังนั้นถ้าเพียงแต่ “ทุกคนทำตามกฎหมาย” บ้านเมืองก็จะสงบเรียบร้อยรุ่งเรือง
ก้าวหน้า ฯลฯ

มายาคติเช่นนี้นอกจากจะผิดมหันต์แล้วยังเป็นอันตรายต่อการพัฒนาอย่างยิ่ง เนื่องจากข้อเท็จจริงคือ 1. “นิติ


รัฐ” กับ “กฎหมาย” ไม่ใช่เรื่องเดียวกัน 2. การบังคับใช้กฎหมายที่ล้าสมัยและสะท้อนลัทธิอำนาจนิยม มีส่วน
ซ้ำเติมความเหลื่อมล้ำและฉุดรั้งการพัฒนาที่ยั่งยืน และ 3. กฎหมายไม่ใช่แก้วสารพัดนึก แก้ปัญหาทุกเรื่อง
ไม่ได้

ใครๆ ที่สถาปนาตัวเองเป็นใหญ่ในแผ่นดิน หรือที่ภาษากฎหมายเรียกว่า “รัฏฐาธิปัตย์” ย่อมสามารถออก


กฎหมายหรือออกคำสั่งต่างๆ และอ้างว่าคำสั่งเหล่านั้นมีสถานะเป็น “กฎหมาย” (ศาลจะยอมรับหรือไม่ก็อีก
เรื่อง โดยธรรมเนียมศาลไทยนั้นยอมรับ)

แต่สังคมสมัยใหม่รู้ดีว่า ลำพังการมี “กฎหมาย” ไม่ใช่หลักประกันว่าประเทศจะก้าวหน้า

อย่าลืมว่าการทรมานจนตาย การใช้แรงงานทาส การเหยียดผิว และธรรมเนียมปฏิบัติในอดีตอีกนับไม่ถ้วน ซึ่ง


อาจมีเหตุมีผลหรือคนในอดีตรับได้ แต่คนทั่วไปวันนี้รับไม่ได้อีกแล้วเพราะมองว่าละเมิดสิทธิเสรีภาพขั้นพื้นฐาน
อย่างรุนแรง ล้วนแต่เคย “ถูกกฎหมาย” ในอดีตมาแล้วทั้งสิ้น

การผลักดันให้แก้กฎหมายที่ไม่เป็นธรรมเหล่านี้ หลายครั้งจึงเริ่มจากการ “อารยะขัดขืน”

ในเมื่อกฎหมายอาจไม่ยุติธรรม จึงมีการนิยามและเผยแพร่ความจำเป็นของ “นิติรัฐ” หรือ rule of law ซึง่


สาระสำคัญ ได้แก่ 1. รัฐจะต้องไม่ใช้อำนาจเกินขอบเขตที่กฎหมายกำหนด 2. กฎหมายจะต้องชอบด้วย
รัฐธรรมนูญ เขียนอย่างชัดเจนว่าให้รัฐล่วงล้ำเข้าไปในแดนของสิทธิเสรีภาพประชาชนในกรณีใดบ้าง และ
ภายใต้ขอบเขตใด เพื่อรักษาประโยชน์สาธารณะ ไม่ใช่ให้ล่วงล้ำ “เกินความจำเป็น” และ 3. การควบคุมไม่ให้
รัฐขัดต่อกฎหมายหรือกฎหมายขัดต่อรัฐธรรมนูญนั้นเป็นหน้าที่ของฝ่ายตุลาการซึ่งจะต้องเป็นอิสระจากฝ่าย
บริหารและนิติบัญญัติ

หลายคนบ่นว่าการปฏิรูปเกิดไม่ได้เพียงเพราะผู้มีอำนาจทางการเมืองไม่ทำในสิ่งที่ควรทำ หรือขัดขวางไม่ให้
“ผู้รู้” ได้ทำงาน ราวกับว่าทุกเรื่องเรารู้ๆ กันอยู่แล้วว่าต้องทำอะไรอย่างไร มีองค์ความรู้พร้อมมูลแล้ว รอเพียง
ผู้มีอำนาจมา “เปิดไฟเขียว” ให้ปฏิรูปเท่านั้น

ความคิดเช่นนี้อธิบายว่าเหตุใดข้าราชการและคนอื่นๆ จำนวนมากที่ยังยึดติดกับแนวคิดแบบอำนาจนิยม ถึงได้


พยายามเชียร์ให้ คสช. ใช้อำนาจเผด็จการตามมาตรา 44 ในรัฐธรรมนูญชั่วคราว กับเรื่องต่างๆ ตั้งแต่ไม้จิ้มฟัน
ยันเรือรบ

แต่ลำพังการที่ คสช. ใช้อำนาจเผด็จการออกคำสั่งต่างๆ และประกาศว่าคำสั่งเหล่านั้นมีสถานะเป็นกฎหมาย


ย่อมมิได้ทำให้คำสั่งเหล่านั้น “ชอบด้วยกฎหมาย” หรือตรงตามหลักนิติรัฐโดยอัตโนมัติ

ที่ผ่านมามีคำสั่ง คสช. จำนวนมากซึ่งล่วงล้ำแดนสิทธิเสรีภาพของประชาชน โดยที่อธิบายไม่ได้ หรือไม่เคย


อธิบาย ว่าคำสั่งเหล่านั้น “จำเป็น” อย่างไร เป็นประโยชน์ต่อสาธารณะอย่างไร

ยกตัวอย่างเช่น คำสั่ง คสช. 3/3558 และ 13/2559 (http://www.ilaw.or.th/node/4085) ให้อำนาจ


เจ้าหน้าที่ทหารจับกุมบุคคลผู้กระทำความผิดซึ่งหน้า, ควบคุมตัว, ค้น ยึด อายัด, หรือควบคุมตัวบุคคลไว้ได้ไม่
เกิน 7 วัน โดยที่ทหารไม่ต้องรับผิดใดๆ

ตัดอำนาจการตรวจสอบโดยศาลปกครองอย่างสิ้นเชิง

คำสั่งทั้งสองฉบับโดยเฉพาะ 13/2559 มีปัญหาในตัวบทมากมาย (ดูอาทิ ความเห็นของศูนย์ทนายความเพื่อ


สิทธิมนุษยชน
https://tlhr2014.wordpress.com/2016/03/31/statement_on_head_of_ncpo_order_no-132016/)

ยิ่งไปกว่านั้น หลายคนที่ถูกเจ้าหน้าที่ทหารจับกุมและควบคุมตัวหลายวันโดยอาศัยอนาจตามคำสั่งดังกล่าว ก็
มิได้ “กระทำความผิดซึ่งหน้า” ตามเงื่อนไขในคำสั่งแต่อย่างใด เพียงแต่โพสความคิดเห็นออนไลน์ก่อนหน้าจะ
โดนจับ อย่างเช่นกรณีของ วัฒนา เมืองสุข ซึ่งเพียงแต่แสดงความเห็นวิพากษ์วิจารณ์ คสช. และไม่รับร่าง
รัฐธรรมนูญ บางกรณีจับคนไปดื้อๆ เช่น การคุมตัวแอดมินเพจ ‘เปิดประเด็น’ จากสุราษฎร์ธานีมาเข้าค่าย
ทหารแห่งหนึ่งในกรุงเทพฯ เป็นเวลา 7 วัน จากนั้นทหารก็คืนคอมพิวเตอร์และโทรศัพท์มือถือให้ แต่ไม่มีการ
แจ้งข้อหาใดๆ
สูญเสียอิสรภาพไป 7 วันโดยไม่รู้ว่าทำไม และอาจสูญเสียข้อมูลส่วนตัวมากมายเพราะคอมพิวเตอร์และ
โทรศัพท์มือถือถูกยึด แต่ไม่มีสิทธิ์ไปร้องเรียนกับใครได้เลย

นอกจากคำสั่งและการบังคับใช้คำสั่ง คสช. จะขัดต่อหลักนิติรัฐแล้ว อีกประเด็นที่น่าเป็นห่วงคือ การตีความ


กฎหมายเดิมในทางที่เกินเลยและขัดต่อหลักนิติรัฐ (ใช้อำนาจเกินขอบเขตที่กฎหมายกำหนด) มากขึ้นเรื่อยๆ
โดยเฉพาะกับผู้ที่ออกมาวิพากษ์วิจารณ์การทำงานของรัฐบาล และ “ไม่มีเส้น” (ไม่รู้จักกับใครในรัฐบาล หรือ
แกนนำฝ่ายสนับสนุนรัฐบาล)

ตัวอย่างเช่น การจับผู้ใช้เฟซบุ๊กรายหนึ่งในเชียงใหม่ หลังจากที่โพสรูปขันแดงซึ่งมีข้อความจาก พ.ต.ท. ทักษิณ


ชินวัตร และโปสเตอร์ทักษิณกับยิ่งลักษณ์ ในข้อหา “ยุยงปลุกปั่น” ตามมาตรา 116 ประมวลกฎหมาย
กฎหมายอาญา ซึ่งเป็นฐานความผิดที่ตามคำสั่ง คสช. ต้องขึ้นศาลทหาร (ข่าว
http://www.thairath.co.th/content/598075)

มาตรา 116 ระบุว่า ผู้ใดกระทำให้ปรากฎแก่ประชาชนด้วยวาจา หนังสือ หรือวิธีอื่นใด อันไม่ใช่เป็นการกระทำ


ภายในความมุ่งหมายแห่งรัฐธรรมนูญ หรือไม่ใช่เพื่อแสดงความคิดเห็นโดยสุจริต

1) เพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในกฎหมายแผ่นดินหรือรัฐบาล โดยใช้กำลังข่มขืนใจ หรือใช้กำลังประทุษร้าย

2) เพื่อให้เกิดความปั่นป่วน หรือกระด้างกระเดื่องในหมู่ประชาชน ถึงขนาดที่จะก่อความไม่สงบขึ้นใน


ราชอาณาจักร หรือ

3) เพื่อให้ประชาชนล่วงละเมิดกฎหมายแผ่นดิน ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินเจ็ดปี

กฎหมายระบุชัดเจนว่า “การแสดงความคิดเห็นโดยสุจริต” เช่น วิพากษ์วิจารณ์การทำงานของรัฐบาล วิจารณ์


กฎหมายที่เห็นว่าไม่ถูกต้อง ย่อมไม่ผิดกฎหมาย

แม้แต่การกระทำที่อาจเข้าข่ายไม่สุจริต เช่น บางคนมีวาระทางการเมือง ออกมาเรียกร้องให้เปลี่ยนแปลง


กฎหมายแผ่นดินก็ไม่ผิด หากเป็นการเรียกร้องโดยสันติวิธี ไม่ใช่ “ใช้กำลังข่มขืนใจ หรือใช้กำลังประทุษร้าย”
ตาม 116(1)

ลำพังการโพสภาพขันแดงพร้อมโปสเตอร์อดีตนายก การแชร์ภาพการทุจริตโครงการอุทยานราชภักดิ์ หรือเป็น


แอดมิจเพจล้อเลียนหรือวิพากษ์วิจารณ์การทำงานของรัฐบาล ไม่ว่าจะรับจ้างใครทำหรือไม่ก็ตาม ย่อมไม่เป็น
ความผิดต่อความมั่นคงของชาติ ตามมาตรา 116 แต่อย่างใด (อ่านบทวิเคราะห์เพิ่มเติมได้จากไอลอว์
http://freedom.ilaw.or.th/blog/116NCPO)

อย่างมากการกระทำเหล่านี้ก็อาจเข้าข่ายความผิดฐาน “หมิ่นประมาท” ซึ่ง บุคคลใดๆ ก็ตามที่ถูกพาดพิง


รวมถึงนายกรัฐมนตรี ย่อมมีสิทธิฟ้องได้ตามกฎหมาย และที่ผ่านมานายกฯ หลายคนก็ใช้สิทธินี้มาแล้ว

ไม่ใช่ฟ้องผู้วิจารณ์ด้วยข้อกล่าวหารุนแรงอย่าง “ยุยงปลุกปั่น” ซึ่งเท่ากับเป็นการยกชั้นสถานะ “บุคคล” ของ


ตัวเองขึ้นมาเทียบเท่า “รัฐ” อยู่เหนือทุกสถาบันเลยทีเดียว

ตัวอย่างที่ยกมาข้างต้นน่าจะช่วยฉายภาพว่า “นิติรัฐ” กับ “กฎหมาย” นั้นไม่ใช่เรื่องเดียวกัน

ยิ่งผู้ใช้อำนาจไม่เข้าใจ และคนจำนวนมากตกอยู่ใต้มายาคติ การปฏิรูปที่แท้จริงไม่ว่าเรื่องไหนไม่เพียงแต่จะเกิด


ยากเท่านั้น แต่สังคมยิ่งจะตกหล่มถอยหลังมากกว่าเดิม เพราะกฎหมายถูกใช้เป็นเครื่องมือของอำนาจ โดยขาด
กลไกตรวจสอบและไม่คำนึงถึงสิทธิขั้นพื้นฐาน

กรณีกฎหมายประชามติ

เมื่อเห็นคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญเมื่อวันที่ 29 มิถุนายน 2559 ซึ่งลงมติเป็นเอกฉันท์ว่า “พ.ร.บ.ประชามติ


มาตรา 61 วรรคสอง ไม่ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญฯ พ.ศ. 2557 มาตรา 4” ก็เป็นเหตุให้ต้องยกเรื่องนี้ขึ้นมาอีก
ครั้งหนึ่ง

ก่อนหน้านี้ ผู้เขียนเคยเขียนว่า ““นิติรัฐ” กับ “กฎหมาย” นั้นไม่ใช่เรื่องเดียวกัน ...ยิ่งผู้ใช้อำนาจไม่เข้าใจ และ


คนจำนวนมากตกอยู่ใต้มายาคติ การปฏิรูปที่แท้จริงไม่ว่าเรื่องไหนไม่เพียงแต่จะเกิดยากเท่านั้น แต่สังคมยิ่งจะ
ตกหล่มถอยหลังมากกว่าเดิม เพราะกฎหมายถูกใช้เป็นเครื่องมือของอำนาจ โดยขาดกลไกตรวจสอบและไม่
คำนึงถึงสิทธิขั้นพื้นฐาน”

คำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญครั้งนี้ทำให้ผู้เขียนสะท้อนใจว่า แม้แต่ศาลก็อาจตกอยู่ใต้มายาคติเกี่ยวกับ
กฎหมายเช่นกัน

มาตรา 4 รัฐธรรมนูญชั่วคราว พ.ศ. 2557 ฉบับของคณะรัฐประหาร ระบุว่า “ภายใต้บังคับบทบัญญัติแห่ง


รัฐธรรมนูญนี้ ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ สิทธิ เสรีภาพ และความเสมอภาค บรรดาที่ชนชาวไทยเคยได้รับการ
คุ้มครองตามประเพณีการปกครองประเทศไทย ในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
และตามพันธกรณีระหว่างประเทศที่ประเทศไทยมีอยู่แล้ว ย่อมได้รับการคุ้มครองตามรัฐธรรมนูญนี้”
โครงการอินเทอร์เน็ตเพื่อกฎหมายประชาชน (iLaw) ผู้ยื่นคำร้องต่อผู้ตรวจการแผ่นดินขอให้ส่งเรื่องไปให้ศาล
รธน. ยืนยันว่ามาตรา 61(2) ใน พ.ร.บ. ประชามติ ขัดต่อหลักเสรีภาพ โดยอธิบายอย่างชัดเจนดังนี้ (ข่าว
http://thaipublica.org/2016/06/referendum-8/)

“การที่มาตรา 61 วรรคสอง บัญญัติถึงการกระทำอันเป็นความผิดโดยใช้ถ้อยคำที่กว้างและคลุมเครือ เช่น คำ


ว่า "รุนแรง" "ก้าวร้าว" "ปลุกระดม" ซึ่งเป็นคำที่ไม่เคยมีนิยามอยู่ในกฎหมายฉบับใดมาก่อน ทำให้ประชาชนไม่
สามารถเข้าใจได้ว่าการแสดงออกอย่างใดจะผิดกฎหมายหรือไม่ ขัดต่อหลักการของกฎหมายอาญาที่ต้องชัดเจน
แน่นอน ส่วนการแสดงออกด้วยถ้อยคำที่ "หยาบคาย" นั้น ตามปกติแล้วแม้จะเป็นสิ่งที่ไม่สมควร แต่ก็ไม่ใช่การ
กระทำที่ต้องมีโทษทางกฎหมาย ขณะที่บทกำหนดโทษของความผิดตามมาตรา 61 วรรคสอง ก็เป็นโทษที่
รุนแรงเกินไป ไม่ได้สัดส่วนกับการกระทำที่เป็นเพียงแค่การแสดงออกซึ่งความคิดเห็นโดยสงบ อัตราโทษจำคุก
ไม่เกิน 10 ปีนั้น เทียบได้กับความผิดฐานฆ่าคนตายโดยประมาท หรือฐานทำให้หญิงแท้งลูกและถึงแก่ความ
ตาย การบัญญัติมาตรา 61 วรรคสองเช่นนี้ จึงเป็นการจำกัดสิทธิเสรีภาพของประชาชนเกินขอบเขต โดยไม่มี
เหตุอันสมควร

“เราเห็นว่า บรรยากาศการพูดคุยเรื่องร่างรัฐธรรมนูญ และการทำประชามติทุกวันนี้เป็นไปอย่างเงียบเหงา


ผิดปกติ ทั้งที่ใกล้ถึงเวลาลงประชามติแล้ว โดยที่ประชาชนที่มีความคิดเห็นทั้งเห็นด้วยและไม่เห็นด้วย ต่างไม่
กล้าแสดงออก ถกเถียง หรือทำกิจกรรม ดังที่มีตัวอย่างการจับกุมดำเนินคดีกับนักกิจกรรมที่แจกเอกสารแสดง
เหตุผลไม่เห็นด้วยกับร่างรัฐธรรมนูญ และมีผู้ถูกคุมขังอยู่อย่างน้อย 7 คนในปัจจุบัน บรรยากาศเช่นนี้ย่อมไม่
ส่งผลดีต่อการทำประชามติที่จะเกิดขึ้นในวันที่ 7 สิงหาคม 2559 และมีแต่จะทำให้ผลการลงประชามติไม่เป็นที่
ยอมรับทั้งโดยประชาชนชาวไทยและประชาคมโลก”

พูดง่ายๆ คือ คำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญเท่ากับบอกเป็นนัยๆ ว่า “ประเพณีการปกครอง” ของไทยที่ผ่านมา


ไม่คุ้มครองสิทธิของเราที่จะ “ก้าวร้าว” หรือ “หยาบคาย” ฉะนั้นพฤติกรรมซึ่งเคยเป็นเรื่องของแรงกดดันทาง
สังคม ไม่ใช่เรื่องของกฎหมายเหล่านี้ จึงสามารถเข้าข่ายผิดกฎหมายได้ ไม่ขัดต่อรัฐธรรมนูญ (!)

โดยปกติ การตีความกฎหมายตามตัวอักษร และตามเจตนารมณ์ เป็นสิ่งที่ต้องทำประกอบกันเพื่อหยั่งทราบถึง


ความมุ่งหมายอันแท้จริงของกฎหมาย แต่ถ้าการตีความทั้งสองวิธีนี้ขัดแย้งกัน ต้องถือเอาการตีความตาม
เจตนารมณ์เป็นใหญ่ เพราะเจตนารมณ์ในการออกกฎหมายนั้นๆ ย่อมสำคัญกว่าลายลักษณ์อักษร

วิธีตีความกฎหมายตามเจตนารมณ์นั้น ถ้าเป็นกฎหมายที่กําหนดความผิดและโทษ จะต้องตีความอย่าง


เคร่งครัด การกระทําการใดหรืองดเว้นกระทําการใดจะถือว่าเป็นความผิดและลงโทษได้ต่อเมื่อมีกฎหมายระบุ
ไว้โดยชัดแจ้งเท่านั้น และจะตีความให้เป็นผลร้ายแก่บุคคลมิได้
หากมีตัวบทกฎหมายที่จํากัดสิทธิเสรีภาพของบุคคล จะต้องตีความอย่างเคร่งครัดเช่นกัน และจะตีความในทาง
ขยายความให้เป็นการลงโทษ หรือเพิ่มโทษให้หนักกว่าเดิมไม่ได้

ตัวอย่างการอุดช่องว่างทางกฎหมาย ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 4 วรรคที่สอง บัญญัติไว้ว่า


“เมื่อไม่มีบทกฎหมายที่จะยกมาปรับคดีได้ ให้วินิจฉัยคดีนั้นตามจารีตประเพณีแห่งท้องถิ่น ถ้าไม่มีจารีต
ประเพณีเช่นว่านั้นให้วินิจฉัยคดีอาศัยเทียบบทกฎหมายที่ใกล้เคียงอย่างยิ่ง และถ้าบทกฎหมายเช่นนั้นก็ไม่มี
ด้วย ให้วินิจฉัยตามหลักกฎหมายทั่วไป”

ผู้เขียนยกตัวอย่างหลักกฎหมายเบื้องต้นบางประการมาข้างต้น เพื่อให้ทุกท่านลองพิจารณาว่า คำวินิจฉัยของ


ศาลรัฐธรรมนูญในกรณี พ.ร.บ. ประชามติ เป็นอีกกรณีใช่หรือไม่ที่พิสูจน์ว่า “นิติรัฐ” กับ “กฎหมาย” นั้นไม่ใช่
เรื่องเดียวกัน

อีกทั้ง “ความยุติธรรม” กับ “ศาล” ก็อาจไม่ใช่เรื่องเดียวกันอีกเช่นกัน.


6. เฮทสปีช กฎหมาย และความอดทนอดกลั้น: บางบทเรียนจากยุโรป

ท่ามกลางกระแสเรียกร้องรอบใหม่ให้รัฐเข้ามามีบทบาทมากขึ้นในการกำกับสื่อออนไลน์ หลายคนอาจกำลัง
เข้าใจคลาดเคลื่อนเกี่ยวกับความหมายของ “เฮทสปีช” และบทบาทของกฎหมายในประเด็นนี้ ผู้เขียนจึงอยาก
เสริมเติมรายละเอียดเกี่ยวกับเรื่องนี้ให้แจ่มชัดยิ่งขึ้น โดยจะยกกรณีของยุโรปเป็นตัวอย่าง เนื่องจากมีบริบท
ทางประวัติศาสตร์ที่น่าสนใจโดยเฉพาะด้านการเมือง และมีประวัติการรับมือกับประเด็นนี้มาอย่างโชกโชน

เพราะเรื่องนี้ไม่ง่าย ความท้าทายของทุกประเทศ คือ จะรับมือกับเฮทสปีช อย่างไร ในทางที่ไม่ปิดกั้นการ


ไหลเวียนและแลกเปลี่ยนความคิดสร้างสรรค์ ไม่บั่นทอนความหลากหลายของความคิดเห็นในสังคม ซึ่งเป็น
หัวใจที่ขาดไม่ได้ของการพัฒนาสังคมพหุนิยมสมัยใหม่

ในระดับโลก กติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง (International Covenant on


Civil and Political Rights: ICCPR) ขององค์การสหประชาชาติ (คำอธิบายและฉบับแปลไทย
http://www.nhrc.or.th/webdoc/ICCPR.pdf) ระบุในข้อ 20(2) ว่า “การสนับสนุนให้เกิดความเกลียดชังใน
ชาติ เผ่าพันธุ์ หรือศาสนา ซึ่งยั่วยุให้เกิดการเลือกปฏิบัติ การเป็นปฏิปักษ์ หรือการใช้ความรุนแรง” เป็นสิ่งผิด
กฎหมาย

ในยุโรป สหภาพยุโรปประกาศเมื่อไม่นานมานี้ให้ประเทศสมาชิกทั้ง 27 ประเทศออกกฎหมายบัญญัติให้เฮทส


ปีชเป็นความผิดทางอาญา ส่วนศาลสิทธิมนุษยชนยุโรป (European Court of Human Rights) ก็รับรองการ
เซ็นเซอร์ของรัฐในบางกรณี และรับรองการยึดภาพยนตร์ที่ “ดูหมิ่นความรู้สึกทางศาสนา”

ศาลนี้พยายามวางหลักเกณฑ์ แยกแยะระหว่างการแสดงออกที่ “โจมตีอย่างไร้เหตุผล” (gratuitous offence)


หรือมีจุดประสงค์ที่จะ “ทำลายสิทธิของคนอื่น” กับการแสดงออกที่ “มีส่วนร่วมกับเรื่องที่เป็นประโยชน์
สาธารณะอย่างชัดแจ้ง” (contribute to a question of indisputable public interest) มีเพียงการ
แสดงออกสองแบบแรกเท่านั้นที่ผิดกฎหมาย การแสดงออกข่ายหลังไม่ผิด

อย่างไรก็ดี การวางเกณฑ์ของศาลนี้ก็ถูกวิพากษ์วิจารณ์จากนักกฎหมายบางคนว่า เป็นอัตตวิสัย (subjective)


เกินไป ส่งผลให้ศาลซึ่งควรจะทำหน้าที่ปกป้องเสรีภาพการแสดงออกแปลงร่างเป็นกองเซ็นเซอร์เสียเอง

การกำหนด “นิยาม” ของเฮทสปีชให้ชัดเจนและเฉพาะเจาะจงในกฎหมายนั้นสำคัญมาก เพราะถ้าตัวบทใน


กฎหมายคลุมเครือ เปิดช่องให้ตีความได้กว้าง ผู้มีอำนาจรัฐก็สามารถฉวยโอกาสเซ็นเซอร์หรือจับคนที่ไม่ได้จง
ใจสร้างความเกลียดชังหรือความรุนแรงใดๆ เลย เพียงแต่วิพากษ์วิจารณ์ผู้มีอำนาจหรือคนบางกลุ่มเท่านั้น
นอกจากนิยามจะสำคัญแล้ว การลงโทษผู้กล่าวเฮทสปีชที่เข้าข่ายผิดกฎหมายก็จะต้อง “ได้ส่วน”
(proportionate) กับระดับความรุนแรงของความผิดเช่นกัน ไม่อย่างนั้นก็ไม่ยุติธรรม และอาจสร้างบรรยากาศ
แห่งความกลัวให้คนเซ็นเซอร์ตัวเอง ไม่กล้าพูดอะไร กลายเป็นว่าสังคมเสียประโยชน์จากการขาดแคลนความ
หลากหลายทางความคิด

ตัวอย่างที่ดีตัวอย่างหนึ่งเรื่องหลักความได้ส่วนของบทลงโทษ ปรากฏในคำตัดสินคดี Erbakan v. Turkey ในปี


2006 ซึ่งประธานาธิบดีตุรกีร้องว่า ถูกศาลอาญาตุรกีตัดสินโดยมิชอบ ลิดรอนเสรีภาพการแสดงออกของตน
จากกรณีที่กล่าวพาดพิงผู้ไม่นับถือศาสนาอิสลามว่า “infidels” (พวกนอกรีต) ตอนที่เขาหาเสียงเลือกตั้ง

ในคำตัดสินคดีนี้ ซึ่งชี้ว่าคำตัดสินของศาลอาญาตุรกีเข้าข่ายละเมิดเสรีภาพการแสดงออกโดยมิชอบ ศาลสิทธิ


มนุษยชนยุโรประบุว่า “...ความอดทนอดกลั้นและความเคารพในศักดิ์ศรีที่เท่าเทียมกันของมนุษย์ทุกคน เป็น
รากฐานของสังคมประชาธิปไตยพหุนิยม อย่างไรก็ดี ในหลักการแล้ว สังคมประชาธิปไตยบางสังคมอาจ
เซ็นเซอร์หรือแม้แต่ห้ามการแสดงออกทุกรูปแบบซึ่งเผยแพร่ ยั่วยุ ส่งเสริม หรือสร้างความชอบธรรมให้กับ
ความเกลียดชังที่มีรากมาจากความไม่อดทนอดกลั้น ...ตราบใดที่ “กฎทางการ” “เงื่อนไข” “ข้อจำกัด” หรือ
“บทลงโทษ” ได้ส่วนกับเป้าหมายอันชอบธรรมของรัฐ” (อ่านสรุปคำตัดสินสำคัญๆ ของศาลนี้ได้จาก
http://www.echr.coe.int/Documents/FS_Hate_speech_ENG.pdf)

ความเป็นมาของกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมืองหรือ ICCPR ซึ่งเป็นกติกาหลัก


ของโลกเรื่องเฮทสปีชนั้นน่าสนใจไม่น้อย กติกานี้เริ่มระดมสมองกันในปี 1947 สมัยที่สงครามโลกครั้งที่สอง
อันมีเชื้อจากการกระพือความเกลียด เพิ่งจบไปไม่ถึงสองปี ในร่างแรก มีเพียง “การยั่วยุให้ใช้ความรุนแรง”
เท่านั้นที่เป็นสิ่งผิดกฎหมาย (เหตุผลที่ทุกคนทุกชาติเห็นตรงกันได้ว่า เป็นเหตุผลที่ชอบธรรมในการจำกัด
เสรีภาพการแสดงออก) แต่สหภาพโซเวียต โปแลนด์ และฝรั่งเศส เสนอให้เพิ่ม “การสนับสนุนให้เกิดความ
เกลียดชัง” เข้าไปด้วย

ผู้แทนจากประเทศส่วนใหญ่ในโลกตะวันตกไม่เห็นด้วยกับข้อเสนอนี้ พยายามเสนอว่า วิธีที่ดีที่สุดที่จะต่อกรกับ


ลัทธิหัวรุนแรงสุดขั้วต่างๆ ก็คือการเปิดให้คนได้อภิปรายถกเถียงกันให้ได้มากที่สุด แต่ข้อคัดค้านข้อนี้ตกไป
เพราะประเทศสมาชิกส่วนใหญ่ของสหประชาชาติโหวตเห็นชอบ สุดท้ายภาษา “การสนับสนุนให้เกิดความ
เกลียดชัง” ก็อยู่ในกติกาฉบับจริง

ปัญหาปัจจุบันของกฎหมายเฮทสปีชในประเทศต่างๆ คือ การตัดสินว่าการแสดงออกแบบไหน “สนับสนุนให้


เกิดความเกลียดชัง” หรือ “ดูถูกเหยียดหยาม” นั้นเป็นอัตตวิสัย (subjective) มาก ผู้ที่ไม่นับถือศาสนาใดๆ
เลย กับผู้ที่เคร่งศาสนาย่อมเห็นไม่ตรงกันว่า ขีดจำกัดของการล้อเลียนศาสนาควรจะอยู่ตรงไหน นอกจากนี้
กลุ่มที่มักจะได้รับการปกป้องจาก “อาชญากรรมความเกลียด” ก็มักจะเป็นกลุ่มที่มีอภิสิทธิ์ทางการเมือง อาทิ
เพราะมีสมาชิกกลุ่มเป็นผู้มีอำนาจรัฐ ส่งผลให้กลุ่มต่างๆ ไม่ได้รับการคุ้มครองอย่างเท่าเทียมกัน

ประวัติศาสตร์สอนเราว่า ประเทศที่ใช้ระบอบคอมมิวนิสต์ทั่วโลกถึงกาลล่มสลายไม่ใช่เพราะทุกประเทศบัญญัติ
ให้การเผยแพร่หรือพูดคุยเกี่ยวกับระบอบนี้เป็นอาชญากรรม แต่ส่วนหนึ่งเพราะหลายประเทศยอมให้เกิด
“การปะทะทางความคิด” ที่เข้มข้น คนส่วนใหญ่มองเห็นว่าคอมมิวนิสต์ใช้การไม่ได้ อีกทั้งยังคุกคามสิทธิ
เสรีภาพ

ย้อนไปสมัยที่ผู้นำโลกมารวมตัวกันร่างกติกา ICCPR และอนุสัญญาอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับเฮทสปีช ความทรงจำ


อันเจ็บปวดและยังสดใหม่เรื่องความโหดเหี้ยมของระบอบนาซี เป็นปัจจัยสำคัญที่ผลักดันกติกาและสัญญาต่างๆ
เหล่านี้ออกมา

แต่เราก็ไม่ควรลืมว่า เมื่อนาซีขึ้นครองอำนาจเผด็จการ เสรีภาพการแสดงออกทั้งมวลก็ถูกทำลาย โฆษณาชวน


เชื่อของนาซีกลายเป็น “ความจริงทางการ” เพียงหนึ่งเดียวที่ไม่อนุญาตให้ใครต่อต้าน ล้อเลียน หรือแม้แต่ยก
ข้อมูลอีกด้านขึ้นมา

ถึงวันนี้เรายังไม่มีหลักฐานว่า กฎหมายเฮทสปีชทั่วโลกช่วยให้คนในสังคมนั้นๆ มีความอดทนอดกลั้นกว่าเดิม


ยอมรับคนที่แตกต่างจากตัวเองมากกว่าเดิมจริงหรือไม่ ผู้เขียนเห็นว่าถ้าสังคมไทยอยากบัญญัติกฎหมายเฮทส
ปีชขึ้นมาจริงๆ เราก็ควรครุ่นคิดพิจารณาอย่างรอบด้านก่อน

ถ้าเราไม่อาจเขียนกฎหมายอย่างรัดกุม ผู้บังคับใช้กฎหมายไม่เข้าใจ กลายเป็นว่ากฎหมายตกเป็นเครื่องมือของ


คนที่ไร้ซึ่งความอดทนอดกลั้นใดๆ ใช้กฎหมายนี้ไล่ล่าปิดปากคนคิดต่าง แทนที่กฎหมายจะช่วยส่งเสริมให้คนใน
สังคมอดทนอดกลั้นกว่าเดิม ผู้เขียนคิดว่าไม่มีจะดีกว่า

เพราะสังคมที่ไร้ขื่อแป ใครอยากจะพูดอะไรก็พูดได้นั้นอันตรายก็จริง แต่สังคมสุดโต่งอีกขั้วหนึ่งซึ่งถูกครอบงำ


โดยคนที่ไร้วุฒิภาวะ ไร้ซึ่งความอดทนอดกลั้นใดๆ ไม่อนุญาตให้ใครคิดต่างจากตน ก็เป็นสังคมที่อันตรายไม่แพ้
กัน.
7. ราคาของการเซ็นเซอร์

ในยุคที่คนไทยแตกแยกแบ่งสีอย่างไม่เคยมีมาก่อน ฝ่ายหนึ่งเรียกร้องเสรีภาพและความยุติธรรมก่อนสิ่งใด
ขณะที่อีกฝ่ายเรียกร้องความรับผิดชอบและจริยธรรมก่อนสิ่งใดเช่นกัน

ในเมื่อต่างฝ่ายต่างให้น้ำหนักกับคุณค่าต่างๆ ไม่เท่ากัน โลกทัศน์และอุดมการณ์จึงแตกต่างกันโดยปริยาย แต่สิ่ง


ที่น่าเสียดายคือ หลายคนเอาชุดความเชื่อของตัวเองไปตราหน้าคนอื่นว่า “ชั่ว” และเห็นดีเห็นงามกับการ
เซ็นเซอร์ – ปิดกั้นไม่ให้คนเข้าถึงเนื้อหาบางอย่างที่รัฐมองว่าอันตราย เป็นภัยต่อความมั่นคง หรือเป็นภัยต่อ
“ศีลธรรมอันดีงาม”

ก่อให้เกิดคำถามว่า ถ้าหาก “ราคาของอิสรภาพคือความระแวดระวังชั่วนิรันดร์” ดังคำกล่าวของ เวนเดล ฟิล


ลิปส์ นักเคลื่อนไหวในขบวนการเลิกทาสชาวอเมริกันแล้วไซร้ ราคาของการเซ็นเซอร์คืออะไร?

การเซ็นเซอร์มีหลากหลายรูปแบบนับจากอดีตจวบจนปัจจุบัน ในที่นี้จะพูดถึงเฉพาะการเซ็นเซอร์โดยรัฐเท่านั้น
ไม่ใช่การเลือกเซ็นเซอร์โดยปัจเจกเอง (เช่น พ่อแม่ซื้อโปรแกรมมาเซ็นเซอร์เน็ตบนคอมพิวเตอร์ที่บ้าน เพราะไม่
อยากให้ลูกเข้าเว็บโป๊) เพราะการเซ็นเซอร์โดยรัฐส่งผลต่อประชาชนทั้งชาติ และจะเน้นเฉพาะการเซ็นเซอร์
เนื้อหาในอินเทอร์เน็ตเท่านั้น ในฐานะเวทีสื่อสารของประชาชนที่ทรงพลังสูงสุดในประวัติศาสตร์

ลองมาดู “ราคาทางตรง” ของการเซ็นเซอร์กันก่อน

ในประเทศไทย ค่าใช้จ่ายที่หมดไปกับการปิดกั้นอินเทอร์เน็ตโดยตรง มีสามระดับ ได้แก่ ระดับรัฐ (กระทรวง


ไอซีที) ระดับผู้ให้บริการ (ไอเอสพี) และระดับตัวกลางอื่น เช่น ผู้ดูแลเว็บ ในปี 2011 มีรายงานข่าวว่ากระทรวง
ไอซีทีใช้เงินงบประมาณเกือบ 1.5 ล้านบาทต่อวันในการปิดกั้นอินเทอร์เน็ต ส่วนในระดับผู้ให้บริการยังไม่เคยมี
การเปิดเผยตัวเลขที่แน่นอน แต่ประสบการณ์จากต่างประเทศ อาทิ ออสเตรเลีย บ่งชี้ว่าผู้ให้บริการมีแนวโน้ม
สูงมากที่จะส่งต่อค่าใช้จ่ายส่วนเพิ่มมายังผู้ใช้เน็ต ในรูปของการขึ้นค่าบริการ ทั้งในส่วนของค่าใช้จ่ายที่ใช้ในการ
ปิดกั้นโดยตรง และค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้อง เช่น ค่าใช้จ่ายพนักงานที่เพิ่มขึ้นจากการต้องคอยตอบการร้องเรียน
ของลูกค้าว่าเข้าถึงเนื้อหาไม่ได้

ด้วยเหตุนี้ ราคาทางตรงของการปิดกั้นอินเทอร์เน็ตนั้นถึงที่สุดแล้วจึงเป็นภาระของประชาชนคนใช้เน็ต ทั้งใน


ฐานะผู้เสียภาษี (เงินงบประมาณของกระทรวงไอซีที) และในฐานะผู้บริโภค (ค่าใช้จ่ายที่เสียให้กับผู้ให้บริการ
อินเทอร์เน็ต)
แล้ว “ราคาทางอ้อม” ของการปิดกั้นอินเทอร์เน็ตมีอะไรบ้าง?

เราอาจแบ่งราคาทางอ้อมได้เป็นสองประเภทใหญ่ คือราคาทางเศรษฐกิจ กับราคาทางสังคม

ราคาทางอ้อมทางเศรษฐกิจหลักๆ อยู่ในรูปของผลิตภาพทางเศรษฐกิจที่ลดลง จากการลดลงของความเร็วใน


การเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต รวมถึงผลลบในระยะยาวต่อนวัตกรรมและการลงทุนด้านเทคโนโลยี

ในเมื่อโครงสร้างสถาปัตยกรรมของอินเทอร์เน็ตถูกออกแบบมาให้ส่งข้อมูลอย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ
สูงสุด ระบบจึงมองการปิดกั้นต่างๆ ว่าเป็น “ปฏิปักษ์” ที่ต้องก้าวข้าม ด้วยเหตุนี้ การปิดกั้นไม่ว่าจะทำใน
รูปแบบใดก็ตามล้วนส่งผลให้ความเร็วของการเชื่อมต่อลดลงสำหรับผู้ใช้ ทุกราย ที่เป็นลูกค้าของผู้ให้บริการที่
ปิดกั้นอินเทอร์เน็ต มิใช่ช้าลงแต่เฉพาะสำหรับผู้ใช้เน็ตที่ประสงค์จะดูเนื้อหาที่ถูกปิดกั้นเพียงกลุ่มเดียวเท่านั้น

ราคาทางตรงและทางอ้อมเหล่านี้ ประกอบกับมาตรการติดตามสอดส่องอย่างเข้มข้นของรัฐซึ่งมักจะดำเนิน
ควบคู่ไปกับการปิดกั้นอินเทอร์เน็ต บั่นทอนแรงจูงใจของนักนวัตกรรม ผู้ประกอบการ และนักลงทุนในการ
ลงทุนใหม่ๆ มองว่า “ไม่คุ้ม” ที่จะลงทุนและพัฒนานวัตกรรม อีกทั้งยังทำให้ผู้ประกอบการและนักลงทุนต่าง
ด้าวไม่อยากเสี่ยงกับการเข้ามาลงทุนในประเทศที่รัฐปิดกั้นอย่างเข้มงวด หันไปมองหาทางเลือกใหม่ในประเทศ
อื่นที่มีเสรีภาพอินเทอร์เน็ตสูงกว่า

ประเด็นนี้มีผู้เสนออย่างกว้างขวาง อาทิ ในปี 2011 นางฮิลลารี คลินตัน รัฐมนตรีกระทรวงต่างประเทศ


สหรัฐอเมริกา กล่าวว่าการลิดรอนเสรีภาพอินเทอร์เน็ตคือการ “ตีกรอบจำกัดอนาคตทางเศรษฐกิจ” ของ
ประเทศ เนื่องจาก “มีต้นทุนระยะยาวซึ่งวันหนึ่งจะกลายเป็นบ่วงจำกัดการเติบโตและการพัฒนา” และตั้ง
ข้อสังเกตว่า ถึงแม้การจำกัดเสรีภาพในอินเตอร์เน็ตจะทำได้ง่าย แต่ก็ยากที่จะรักษาให้ดำเนินต่อไปอย่างราบรื่น
เพราะในโลกออนไลน์นั้นไม่มีอินเตอร์เน็ตทางเศรษฐกิจ อินเตอร์เน็ตทางสังคม หรืออินเตอร์เน็ตทางการเมือง
มีเพียงพื้นที่ขนาดมหึมาที่เรียกว่า "อินเตอร์เน็ต" อันเป็นพื้นที่ของทุกสิ่งทุกอย่างผสมปนเปกันเท่านั้น
ราคาทางเศรษฐกิจของการปิดกั้นอินเทอร์เน็ตว่าสูงแล้ว ราคาทางสังคมอาจสูงยิ่งกว่า
การเซ็นเซอร์เน็ตมีราคาทางสังคมที่เราต้องจ่าย เพราะการได้เข้าถึงข้อมูลข่าวสารและความคิดเห็นที่
หลากหลายคือหัวใจของการอภิปรายสาธารณะ และปัจจุบันไม่มีพื้นที่ใดที่จะมอบความหลากหลายนี้ได้
มากกว่าโลกออนไลน์

ยิ่งปิดกั้นอินเทอร์เน็ต โอกาสและคุณภาพของการอภิปรายสาธารณะยิ่งถดถอย

ความกังวลที่รัฐมีต่อประเด็นที่อ่อนไหวอย่างสถาบันกษัตริย์หรือการเคลื่อนไหวทางการเมือง ซึ่งนำไปสู่การปิด
กั้นแทนที่จะจัดการกับปัญหาอย่างตรงไปตรงมา รังแต่จะขัดขวางพัฒนาการของระบบภูมิคุ้มกันในสังคม การ
สรุปเอาเองว่าประชาชนจะถูก “หลอก” โดยข้อมูลเท็จหรือข้อมูลอื่นๆ จนรัฐต้องยื่นมือเข้ามาปิดกั้นไม่ให้เข้าถึง
เท่ากับการไม่เปิดโอกาสให้สังคมคิดได้ด้วยตัวเอง ซึ่งขัดกับมโนทัศน์เรื่องภูมิคุ้มกันในสังคมที่เชื่อว่า ในสังคม
หรือชุมชนหนึ่งๆมีความสามารถในการแก้ไขตนเองได้ (self-correct) ผ่านความพยายามร่วมกัน (collective
effort) ของสมาชิกในชุมชน หรือสังคมนั้นๆ
มองอีกด้านหนึ่ง สิ่งที่รัฐทำอาจไม่ใช่แค่การขัดขวางพัฒนาการเท่านั้น แต่ยังเป็นการพยายามทำลายระบบ
ภูมิคุ้มกันในสังคมที่ว่านี้ทางอ้อม การที่รัฐพร้อมตอบสนองต่อข้อร้องเรียนของผู้คนในประเด็นอ่อนไหว ในระยะ
ยาวจะทำให้สมาชิกในสังคมคุ้นเคยกับการร้องหาความรับผิดชอบจากรัฐบาลหรือผู้มีอำนาจ เมื่อไรก็ตามที่พวก
เขารู้สึกไม่สบายใจกับ “เนื้อหาไม่เหมาะสม” ต่างๆ

การปิดกั้นอินเทอร์เน็ตส่งผลให้ปัญหาที่แท้จริงซึ่งควรจะนำมาอภิปรายถกเถียงกัน มีแต่จะถูกกวาดเข้าใต้พรม
และปกปิดจากสายตา อีกทั้งยังมิได้เป็นหลักประกันใดๆ ว่าผู้กระทำผิด (ในกรณีที่ละเมิดกฎหมายอย่างชัดเจน)
จะถูกจับกุมตัว ผู้เชี่ยวชาญบางคนมองว่า การปิดกั้นนอกจากแสดงให้เห็นถึงการไม่เชื่อถือในวิจารณญาณของ
ประชาชนแล้ว ยังก่อให้เกิดการตั้งคำถามเกี่ยวกับเจตนารมณ์ที่แท้จริงของรัฐว่า ใช้มาตรการปิดกั้นอินเทอร์เน็ต
เพื่อคุ้มครองประชาชนหรือพัฒนาสังคม หรือเพื่อปกป้องอำนาจเก่าจากการถูกวิพากษ์วิจารณ์กันแน่

ราคาของการเซ็นเซอร์ไม่ใช่เรื่องนามธรรมหรืออยู่แต่ในทฤษฎีเท่านั้น แต่เป็นราคาจริงที่ผู้ใช้เน็ตและผู้ให้บริการ
ต้องจ่ายแพงขึ้นเรื่อยๆ

สิ่งที่เกิดกับเวยโป๋ โซเชียลมีเดียชื่อดังจากจีนซึ่งใกล้เคียงกับทวิตเตอร์ เป็นกรณีศึกษาเรื่องนี้ที่ดีที่สุดเรื่องหนึ่ง

เวยโป๋เปิดตัวในปี 2009 และภายในเวลาไม่ถึง 4 ปีก็เติบโตอย่างรวดเร็ว ต้นปี 2013 เวยโป๋มีผู้ใช้มากถึง 300


กว่าล้านคน หรือหนึ่งในสี่ของประชากรจีน ด้วยความที่ให้อิสระเสรีแก่ผู้ใช้ จะเข้ามาโพสในภาษาอะไรก็ได้

แต่ความนิยมของเวยโป๋จากการมอบเสรีภาพให้กับผู้ใช้ ก็ทำให้ถูกรัฐบาลจีนคุกคามและยกภาระในการ
เซ็นเซอร์มากขึ้นอย่างต่อเนื่อง ตั้งแต่ปี 2011 รัฐบาลสั่งให้ผู้ใช้ลงทะเบียนด้วยชื่อและนามสกุลจริงก่อนโพสบน
เวยโป๋ ต่อมาปี 2012 รัฐบาลออกกฎ “ห้าครั้งออก” – ระงับการเข้าถึงถ้าหากผู้ใช้คนไหนโพสเกี่ยวกับประเด็น
“อ่อนไหว” ทางการเมืองครบห้าครั้ง และในปี 2013 รัฐบาลจีนก็จับผู้ใช้เวยโป๋ที่ “เผยแพร่ข่าวลืออันเป็นเท็จ”
ออนไลน์อย่างจริงจัง

เหตุการณ์เหล่านี้ส่งผลให้ผู้ใช้เวยโป๋ลดจำนวนลงอย่างต่อเนื่อง ล่าสุดหลังจากที่รัฐบาลจีนออกกฎหมายใหม่ มี
บทลงโทษขั้นจำคุกสำหรับใครก็ตามที่โพสข้อความซึ่ง “ไม่ถูกต้องเที่ยงตรง” และถูกกระจาย (รีโพส) ต่อกัน
มากกว่า 500 ครั้ง จำนวนผู้ใช้เวยโป๋รายเดือนก็ลดลงอีก 28 ล้านคน ส่งผลให้วันนี้มีผู้ใช้รายเดือนเพียง 129
ล้านคนเท่านั้น ไม่ถึงครึ่งหนึ่งของทวิตเตอร์
นักวิเคราะห์หลายคนมองว่าความนิยมของวีแชท (WeChat) คู่แข่งของเวยโป๋ เป็นปัจจัยหนึ่งที่อธิบายว่าเหตุ
ใดเวยโป๋จึงได้รับความนิยมน้อยลง แต่ปฏิเสธไม่ได้ว่ามาตรการเซ็นเซอร์ต่างๆ ของภาครัฐส่งผลกระทบรุนแรง
ยิ่งกว่านั้นมาก

ทุกวันนี้ ปัจจัยที่สำคัญที่สุดต่อการสร้างความรู้และนวัตกรรมใหม่ๆ ในโลกยุค “เศรษฐกิจฐานความรู้” คือ


บรรยากาศ “เปิด” และ “ความร่วมมือ” อันตั้งอยู่บนฐานของการไหลเวียนความคิดอย่างเสรี เพราะความคิด
ทุกความคิด ไม่ว่าใครจะมองว่าดีหรือเลว เหมาะสมหรือไม่เหมาะสมอย่างไร ล้วนแต่มีโอกาสจุดประกายให้เกิด
การคิดต่อยอดและสร้างนวัตกรรมได้ทั้งสิ้น

ไม่นับว่าการมองเห็นและยอมรับความหลากหลายทางความคิด เป็นปัจจัยที่ขาดไม่ได้ของการสร้างฉันทามติ
เพือ่ ขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะในสังคมสมัยใหม่

ถึงที่สุดแล้ว สังคมที่ยอมรับสนับสนุนการเซ็นเซอร์โดยรัฐ จึงเป็นสังคมที่ไม่รู้จักโต ไม่อยากโต และไม่สามารถ


นำประโยชน์จากการแลกเปลี่ยนไหลเวียนของความคิด ไปพัฒนาให้เกิดสังคมประชาธิปไตย และเศรษฐกิจ
ฐานความรู้ได้อย่างแท้จริง.
8. ราคาของโซเชียลมีเดีย

บางสิ่งมีราคาที่มองไม่เห็นก็จริง แต่เรามีศักยภาพในการเปลี่ยนราคานั้นให้น้อยลงจนเหลือศูนย์ แม้แต่เลยเลข


ศูนย์จนกลับกลายเป็นมีกำไร ไม่ขาดทุนก็เป็นได้

ตอนที่โซเชียลมีเดียเริ่มฮิตในสังคมไทยใหม่ๆ (ซึ่งจะว่าไปก็ไม่กี่ปีมานี้เอง) หลายคนเกิดอาการ “เห่อ”


เทคโนโลยี เชื่อว่าการที่คนจำนวนมากได้เข้าถึงและสื่อสารกันเองผ่านเน็ตจะนำมาแต่สิ่งดีๆ ในชีวิต ใครอยากรู้
อะไรก็ถามวิกิพีเดียกับกูเกิลได้ ไม่เห็นต้องไปค้นคว้าหาอ่านหนังสือให้เสียเวลา

แต่พอมันกลายเป็นส่วนสำคัญของชีวิตประจำวัน คนไทยกว่าค่อนที่เข้าเน็ตใช้เฟซบุ๊ก ใช้อินสตาแกรมจนตัวย่อ


“ไอจี” ถูกใช้ในเนื้อข่าวโดยไม่ต้องอธิบาย เราก็เริ่มมองเห็นจุดอ่อนที่มีมานานแต่ถูกความเห่อบังตา ค่อยๆ
ตระหนักว่าการเสพแต่เนื้อหาบนโซเชียลมีเดียเป็นหลักนั้นอาจไม่ได้ทำให้เราฉลาดขึ้นและใจกว้างกว่าเดิมโดย
อัตโนมัติ เผลอๆ อาจมีส่วนทำให้เราโง่ลงและใจแคบกว่าเดิมด้วยซ้ำไป – ถ้าไม่ตั้งสติให้ดี

งานศึกษาวิจัยมากมายพบว่า เวลาที่เราโพสข้อความ (สเตตัส) ลงในเฟซบุ๊ก คนที่มาแสดงความคิดเห็นต่อจากส


เตตัสของเราจะเป็นผู้ที่แสดงความเห็นว่า “เห็นด้วย” กับเราเกินครึ่ง งานวิจัยบางชิ้นบอกว่าตัวเลขนี้สูงถึง 60
เปอร์เซ็นต์ (หมายความว่ามีคนที่แสดงความเห็นต่อท้ายสเตตัสเพียง 40 เปอร์เซ็นต์ที่ไม่เห็นด้วยกับผู้โพส) ยิ่ง
ถ้าเป็นเรื่องร้อนอย่างศาสนาหรือการเมืองที่มีการแบ่งขั้วแบ่งค่ายความคิดความเชื่ออย่างชัดเจน สัดส่วนของคน
ที่เข้ามาเออออห่อหมกอาจจะสูงถึง 80-100% เลยทีเดียว สาเหตุส่วนหนึ่งคือผู้ไม่เห็นด้วยไม่อยากจะกระโดด
ลงมาร่วมวงไพบูลย์ด้วย ไม่แสดงความเห็นต่างเพราะกลัวหรือขี้เกียจโดน “รุม” โดยผู้โพสและผองเพื่อนร่วม
อุดมการณ์ในเน็ต

พฤติกรรมแบบนี้ทำให้โซเชียลมีเดียมีแนวโน้มสูงที่จะกลายเป็น “ห้องเสียงสะท้อน” (Echo Chamber) ยิ่งเรา


พูดให้คนรู้สึกว่า “แรง” แบบ “สะใจ” เพียงใด คนยิ่งอยากกดไลค์กดแชร์ ส่งเสียงสนับสนุน เสียงสะท้อน
กลับมายิ่งดังกังวานเพียงนั้น การแลกเปลี่ยนระหว่างความคิดต่างจึงยิ่งไม่เกิด เมื่อเกิดสถานการณ์แบบนี้มากๆ
เข้าเราก็อาจหลงผิด เผลอคิดเข้าข้างตัวเองว่าคนในสังคม “ส่วนใหญ่” หรือ “โดยทั่วไป” เห็นตรงกับเรา ยิ่ง
กระตุ้นให้เรา “แรง” และสุดขั้วมากขึ้นเรื่อยๆ

งานวิจัยเกี่ยวกับโซเชียลมีเดียหลายชิ้นสรุปได้ว่า ถ้าเราขาดทักษะการคิดวิเคราะห์ (analytical skills) ซึง่


สำคัญต่อการสร้าง “ความรู้เรื่องด้านข้อมูล” (information literacy) เป็นทุนเดิมอยู่แล้ว เราก็ยิ่งมีแนวโน้มที่
จะแยกแยะข้อมูลไม่เป็น เชื่อในสิ่งที่เพื่อนหรือ “เฟรนด์” ของเราพูดในโซเชียลมีเดียว่าเป็นความจริง สิ่งที่คน
อื่นพูดเป็นความเท็จ เลือกรับข่าวสารเฉพาะจากคนที่เรานิยมชมชอบเพราะเขามีความคิดคล้ายกับเรา โลกทัศน์
แทนที่จะกว้างขึ้นกลับแคบลง เพราะคนเรามีธรรมชาติที่นักสังคมวิทยาเรียกว่า “หลักความคล้ายคลึง”
(Homophily) คือแนวโน้มที่เราจะอยากตีสนิทกับคนจากกลุ่มเดียวกัน (สีผิวเดียวกัน ชาติพันธุ์เดียวกัน พูด
ภาษาเดียวกัน ฐานะใกล้เคียงกัน ฯลฯ) มากกว่าคนต่างกลุ่ม

พูดสั้นๆ คือ โซเชียลมีเดียเปรียบเสมือนเครื่องขยายเสียง จะขยายในทางบวกหรือทางลบก็ได้ ถ้าเราแคบก่อน


เข้าโซเชียลมีเดีย เรามีแนวโน้มจะยิ่งแคบ แต่ถ้าเรากว้างเราจะยิ่งกว้าง ถ้าคนใช้เน็ตโดยรวมใจแคบลงมากกว่า
ใจกว้าง การเปิดใจรับฟังและถกเถียงกันฉันมิตรระหว่างความเห็นที่แตกต่างหลากหลาย อันเป็นหัวใจที่ขาด
ไม่ได้ในการพัฒนาสังคมประชาธิปไตย ก็ย่อมคืบคลานไปได้อย่างเชื่องช้า ถูกความเกลียดชังของคนแบ่งขั้ววิ่ง
แซงหน้า

ราคาของโซเชียลมีเดียข้างต้นไม่ได้เป็นปัญหาของประชาชนคนใช้เน็ตเท่านั้น หากแต่ในอีกด้านหนึ่ง มันคือ


ความท้าทายของสื่อมืออาชีพด้วย

อีธาน ซุคเกอร์แมน (Ethan Zuckerman) ผู้อำนวยการศูนย์สื่อพลเมือง (Center for Civic Media)


มหาวิทยาลัยเอ็มไอที นักเทคโนโลยีผู้เชี่ยวชาญเรื่องสื่อพลเมืองและพลังผ่านเน็ตของพลเมือง เขียนบทความน่า
คิดในปี 2008 เรื่อง “Serendipity, Echo Chambers, and the Front Page” (โชคดีโดยบังเอิญ ห้องเสียง
สะท้อน และหน้าหนึ่งหนังสือพิมพ์) แสดงความกังวลว่าถ้าสื่อมืออาชีพมอบอำนาจให้คนอ่านตัดสินเองว่า
“หน้าหนึ่ง” บนจอจะขึ้นข่าวเฉพาะประเภทเรื่องราวที่ตัวเองสนใจ คนอ่านจะไม่ได้รับรู้ข่าวสารแบบ “โชคดี
โดยบังเอิญที่ได้อ่าน” หรือ serendipity เลย เขาย้ำว่า “ความสามารถในการจูงมือคนอ่านไปยังเรื่องราวที่เขา
ไม่รู้มาก่อนว่าต้องอ่านนั้น เป็นฟังก์ชั่นสำคัญของหนังสือพิมพ์ และเป็นสิ่งที่เราไม่ควรออกแบบให้หายไปเมื่อ
หนังสือพิมพ์ขึ้นไปอยู่บนเว็บ เราควรรับมือกับความท้าทายว่าจะออกแบบให้เกิด “ความโชคดีโดยบังเอิญ” ใน
สื่อดิจิตอลได้อย่างไร”

อีธานจบบทความชิ้นนี้ว่า สื่อมืออาชีพทั้งหลายจะต้องสร้างสื่อที่ช่วยให้เราได้พบกับข้อมูลที่เราต้องการจริงๆ
ในแง่ความสำคัญต่อชีวิตและสังคม ไม่ใช่แค่สื่อที่ช่วยให้เราพบกับข้อมูลที่เราคิดไปเองว่าต้องการ แต่อันที่จริง
อาจไม่ต้องการเลยก็ได้

ย้อนกลับมาดูฝั่งผู้บริโภค กลุ่มผู้ใช้เน็ตที่หลายคนเป็นห่วงว่า กำลังจ่าย “ราคา” ของการใช้โซเชียลมีเดียแพงหู


ฉี่ คือกลุ่มเด็กวัยรุ่นที่เป็นยุค “เผ่าดิจิตอล” หรือที่เรียกว่า digital natives เพราะเข้าเน็ตเป็นตั้งแต่จำความได้
สายตาแทบไม่เคยละวางจากหน้าจอมือถือ แทบเล็ต หรือคอมพิวเตอร์

ผู้ใหญ่ที่หวังดีจำนวนมากขึ้นเรื่อยๆ กังวลว่าลูกหลานกำลังสูญเสียความสามารถในการ “อ่านภาษากาย” ของ


ผู้คน เพราะมัวแต่คุยผ่านหน้าจอ บางคนกลัวว่าวัยรุ่นจะสูญเสียความสามารถในการเข้าสังคม และ “อยู่กับ
ปัจจุบัน” ไม่เป็น เพราะเอาแต่ก้มหน้ามองจอ ไม่สนใจสภาพแวดล้อมรอบตัว ที่ร้ายแรงที่สุดคือ วัยรุ่นจำนวน
มากตกเป็นเหยื่อของ “อันธพาลไซเบอร์” (cyber-bullying) ไม่ว่าจะเป็นการล้อเลียนปมด้อยให้อาย ข่มขู่ว่า
จะลวนลามทางเพศ หรือคุกคามถึงตัวจริงนอกจอ

ปัญหาทั้งหมดนี้ทำให้ผู้ใหญ่จำนวนมากมองว่าโซเชียลมีเดียเป็น “ตัวการ” ที่ทำให้วัยรุ่นมีปัญหา และ “ราคา”


เหล่านี้ก็แพงเกินกว่าประโยชน์ที่เกิดจากโซเชียลมีเดีย ทว่า ดานาห์ บอยด์ ผู้เชี่ยวชาญไอทีและสังคมวิทยาที่เฝ้า
ศึกษาพฤติกรรมของวัยรุ่นอเมริกันเวลาใช้โซเชียลมีเดีย และประเมินผลกระทบของมัน ยกมือบอกว่าช้าก่อน
อย่าเพิ่งด่วนสรุป ปัญหาที่คิดว่าเกิดจากโซเชียลมีเดียนั้น แท้จริงอาจเกิดจากปัญหาเชิงโครงสร้างในสังคมที่อยู่
ลึกกว่าหน้าจอก็ได้

ในหนังสือน่าคิดเรื่อง “It’s Complicated” (เรื่องมันซับซ้อน – ตั้งชื่อตามสถานะความสัมพันธ์ยอดฮิตในเฟ


ซบุ๊ก) บอยด์เสนอให้เรามองวิธีใช้โซเชียลมีเดียของวัยรุ่นว่า เป็นความพยายามที่จะ “กอบกู”้ สิ่งที่หายไป
แทนที่จะมองว่าเป็นความ “หลงใหล” ในสิ่งใหม่ เธออธิบายว่าวัยรุ่น อย่างน้อยก็ในอเมริกา วิ่งหาโลกออนไลน์
เพื่อเติบเต็มช่องโหว่ในชีวิตของพวกเขาที่ขาดหายไป และถ้าเราอยากรู้ว่าช่องโหว่นี้คืออะไร ก่อนอื่นเราก็
จะต้องทำความเข้าใจว่า ชีวิตวัยเด็กในสังคมได้เปลี่ยนไปมากเพียงใด

บอยด์ชี้ว่า การใช้ชีวิตสมัยใหม่แบบอยู่ชานเมืองของสังคมอเมริกัน (suburbanization) ซึ่งบ้านเรือนคนอยู่ห่าง


จากกันมาก ทำให้เด็กๆ เติบโตขึ้นมาโดยไม่อยู่ใกล้ชิดกับเพื่อนฝูง ไม่เหมือนกับสมัยปู่ย่าตายาย เด็กๆ สมัยนี้จึง
ต้องพึ่งพาผู้ปกครองและรถยนต์ แต่มีความสามารถน้อยลงในการผ่อนรถของตัวเอง ปัจจัยที่สำคัญที่สุดปัจจัย
หนึ่งคือ ความเหลื่อมล้ำที่พุ่งสูงขึ้นมากในอเมริกาทำให้คนมีโอกาสน้อยลงที่จะเลื่อนฐานะทางเศรษฐกิจ บอยด์ชี้
ว่าเด็ก “เผ่าดิจิตอล” ในอเมริกาคือเยาวชนรุ่นแรกที่มีแนวโน้มว่าจะไม่มีฐานะดีกว่าพ่อแม่ของตัวเองเมื่อโตแล้ว
ทำให้พ่อแม่ยิ่งพยายามสรรหาวิธีต่างๆ มาผลักดันและหลายคนก็กดดันให้ลูกเข้ามหาวิทยาลัยให้ได้ เพราะ
การศึกษาสูงๆ ยังเป็นหนทางหลักในการเลื่อนฐานะ ส่งผลให้เด็กรุ่นนี้ต้องทำกิจกรรมจิปาถะหลังเลิกเรียน ไป
โรงเรียนกวดวิชา และอื่นๆ อีกมากมาย ทำให้ไม่มีเวลาทำตัวเป็นวัยรุ่นเท่าไรนัก

ยิ่งเผชิญกับแรงกดดัน วัยรุ่นยิ่งเครียดและอยากหาพื้นที่ของตัวเอง อยากมีเวลาว่างเป็นของตัวเองบ้าง อยาก


สังสรรค์เม้ามอยกับเพื่อนๆ แต่ในเมื่ออยู่ห่างกันและไม่ค่อยมีเวลา โซเชียลมีเดียจึงกลายเป็นพื้นที่ที่วัยรุ่นชอบ
สิงสถิต (ถ้าไม่ละเมิดความเป็นส่วนตัวมากเกินไป) เพราะเข้ามาเติมเต็มความต้องการของพวกเขาในส่วนนี้ได้
อย่างดีเยี่ยม

ฉะนั้นผู้ใหญ่จึงไม่ควรตำหนิถ่ายเดียว ควรจะเข้าใจวัยรุ่นมากขึ้น มองเห็นว่าโลกออนไลน์สำหรับวัยนี้เปรียบเป็น


“วาวล์ปล่อยความเครียด” ซึ่งแน่นอน การที่พวกเขาชอบและเรียนรู้เทคโนโลยีได้อย่างรวดเร็วไม่ได้แปลว่าจะ
เข้าใจว่ามันทำงานอย่างไร หรือรู้ว่าควรจะใช้มันอย่างไร
“ความรู้เรื่องข้อมูล” ไม่ใช่สิ่งที่ลอยลงมาเองจากฟ้า แต่เป็นสิ่งที่ต้องสอนให้มองเห็น จะได้เปลี่ยนราคาเป็นกำไร

เริ่มต้นจากการสร้างความตระหนักว่า ข้อมูลไม่ใช่ความรู้ สเตตัสไม่ใช่บทความ และการแสดงความเห็นไม่ใช่


การวิเคราะห์
มายาคติเกีย
่ วกับการพัฒนา

10. “การพัฒนาเศรษฐกิจ” แยกจาก “สถาบันทางการเมือง” ไม่ได้

ส่วนที่แล้วผู้เขียนพยายามสรุปลักษณะ “มายาคติ” เกี่ยวกับกฎหมายซึ่งเป็นอุปสรรคต่อการพัฒนา โดยเฉพาะ


มายาคติที่ว่า กฎหมายเมื่อออกแล้วย่อมดีแล้วสมบูรณ์แล้ว ไม่ต้องทบทวนใดๆ เมื่อเวลาผ่านไป ถ้าเพียงแต่ทุก
คนเคารพกฎหมายที่มีอยู่ ประเทศก็จะเจริญก้าวหน้า

แต่ในความเป็นจริง กฎหมายกับนิติรัฐไม่ใช่เรื่องเดียวกัน กฎหมายไม่ใช่แก้วสารพัดนึก และการบังคับใช้


กฎหมายที่ล้าสมัยก็อาจฉุดรั้งการพัฒนาที่ยั่งยืนไม่ให้เกิดขึ้น

หลายคนมีมายาคติเกี่ยวกับการพัฒนาว่า ประเทศไหนก็แล้วแต่สามารถพัฒนาเศรษฐกิจได้อย่างเป็นเอกเทศกับ
ระบอบการเมือง คนที่เชื่อแบบนี้มักจะยก จีน กับ สิงคโปร์ ขึ้นมาเป็นตัวอย่างของสองประเทศที่พัฒนาได้อย่าง
ก้าวกระโดด ทั้งที่ไม่เป็นประชาธิปไตย และดังนั้นจึงเชื่อว่าระบอบเผด็จการยุคนี้อย่าง คสช. จะทำให้ประเทศ
พัฒนาทางเศรษฐกิจได้

พวกเขาเชื่อต่อไปด้วยว่า เมื่อประเทศพัฒนาทางเศรษฐกิจได้ เมื่อนั้นประชาชนโดยรวมก็จะไม่หวงแหนสิทธิทาง


การเมือง หรือโหยหาประชาธิปไตยที่หายไป

แต่ในความเป็นจริง เราไม่สามารถแยกการพัฒนาเศรษฐกิจออกจากสถาบันทางการเมืองได้เลย บ่อยครั้งด้วย


ซ้ำไปที่สถาบันทางการเมืองเป็นตัวกำหนดการพัฒนาเศรษฐกิจ

หนังสือเล่มสำคัญ “Why Nations Fail” (เหตุผลที่ชาติล้มเหลว) โดยนักเศรษฐศาสตร์ระดับโลกสองท่าน คือ


ดารอน อาเซโมกลู (Daron Acemoglu) กับ เจมส์ โรบินสัน (James Robinson) (ฉบับแปลไทยใช้ชื่อ “กู้
วิกฤติชาติ บทเรียนสะเทือนโลก” จัดพิมพ์โดยสำนักพิมพ์บิงโก) กลั่นกรองประสบการณ์วิจัยรวมกันหลายสิบปี
ของผู้เขียน เรียบเรียงข้อมูลหลักฐานจากทั่วโลกมาเสนอว่า กลุ่มประเทศที่เราเรียกว่า “ประเทศพัฒนาแล้ว”
ไม่ได้ร่ำรวยเพราะบังเอิญโชคดีที่ได้ “ผู้นำที่ดี” ติดต่อกันหลายคน แต่เป็นเพราะให้ความสำคัญกับการสร้าง
“สถาบันทางเศรษฐกิจซึ่งโอบอุ้มคนทั้งสังคม” (inclusive economic institutions)

ผู้เขียนนิยาม “สถาบันทางเศรษฐกิจซึ่งโอบอุ้มคนทั้งสังคม” ว่า หมายถึง “ส่วนผสม” ของ “กลไกรัฐ” และ


“กลไกตลาด” ซึ่งมีลักษณะต่อไปนี้
1. รัฐสร้างแรงจูงใจให้คนอยากลงทุนและคิดค้นนวัตกรรมใหม่ๆ ผ่านการรับประกันสิทธิในทรัพย์สินส่วน
บุคคล และบังคับใช้กฎหมายสัญญา
2. รัฐเอื้อให้เกิดการลงทุนและการเติบโต ผ่านการจัดการศึกษาและโครงสร้างพื้นฐานให้ภาคเอกชนใช้
และ
3. รัฐถูกควบคุมโดยพลเมือง ไม่ใช่ชนชั้นนำกลุ่มเล็กๆ ตัวบ่งชี้ “อำนาจควบคุม” ของพลเมือง คือ ผู้มี
อำนาจทางการเมืองก่อตั้งสถาบันและกฎหมายซึ่งทำงานรับใช้คนส่วนใหญ่ในสังคม ไม่ใช่เอื้อประโยชน์
ให้ตัวเองและพวกพ้องรวยเอาๆ

ผู้เขียนทั้งสองได้ข้อสรุปข้างต้นผ่านการศึกษาประวัติศาสตร์การพัฒนาของประเทศทั่วโลก โดยเฉพาะประเทศ
เพื่อนบ้านหลายคู่ซึ่งมีลักษณะทางภูมิประเทศ ระดับทรัพยากร ฯลฯ คล้ายคลึงกัน แต่ระดับพัฒนาการทาง
เศรษฐกิจกลับแตกต่างกันสุดขั้ว เช่น เม็กซิโก/สหรัฐอมเริกา เกาหลีเหนือ/เกาหลีใต้ และ ซิมบับเว/บอทสวานา

อาเซโมกลูกับโรบินสันเสนอว่า ปัจจัยเดียวเท่านั้นที่อธิบายได้ว่า เหตุใดประเทศแรกในแต่ละคู่ข้างต้นถึงได้


ยากจน ประเทศหลังร่ำรวย คือ โครงสร้างเชิงสถาบันที่ถูกสร้างตลอดระยะเวลาหลายทศวรรษหรือศตวรรษที่
ผ่านมา ประเทศร่ำรวยโดยรวมให้ความสำคัญกับการสร้าง “สถาบันทางเศรษฐกิจซึ่งโอบอุ้มคนทั้งสังคม”
ในขณะที่ประเทศยากจนสร้าง “สถาบันทางเศรษฐกิจซึ่งตักตวงทรัพยากร” (extractive economic
institutions – ลองนึกภาพผู้นำเผด็จการหรือกษัตริย์มือเติบ ยักยอกเงินงบประมาณออกไปฝากบัญชีธนาคาร
ส่วนตัวในสวิสเซอร์แลนด์)

ผู้เขียนทั้งสองชี้ว่า สถาบันทางเศรษฐกิจซึ่งตักตวงทรัพยากรสามารถสร้างการเติบโตได้ในระยะสั้น เช่น เกาหลี


ใต้และรัสเซียสมัยใหม่ในยุคแรกๆ รวมถึงจีนในปัจจุบัน แต่ถ้ามองในระยะยาว ถ้าหากประเทศไม่เปลี่ยนแปลง
สถาบันให้โอบอุ้มคนทั้งสังคมมากขึ้น กระจายสิทธิทางการเมืองไปยังพลเมืองทุกคน ให้ผู้มีอำนาจทางการเมือง
ต้องรับผิดต่อประชาชน การพัฒนานั้นก็ไม่มีทางยั่งยืน ไม่มีทางขึ้นชั้น “ประเทศพัฒนาแล้ว” ซึ่งโดยนิยาม
หมายความว่าประเทศที่ประชาชนส่วนใหญ่เป็นชนชั้นกลาง มีคุณภาพชีวิตที่ดี ไม่ใช่มีแต่ชนชั้นนำกลุ่มเล็กๆ
กลุ่มเดียวที่อยู่อย่างสะดวกสบายแต่คนส่วนใหญ่ลำบาก

พูดอีกอย่างคือ สถาบันทางเศรษฐกิจซึ่งโอบอุ้มคนทั้งสังคมจะยั่งยืนก็ต่อเมื่อมีสถาบันทางการเมืองซึ่งโอบอุ้มคน
ทั้งสังคม (inclusive political institutions) มารองรับสนับสนุน

ในรายละเอียด ผู้เขียนทั้งสองอธิบายว่า สถาบันชนิดตักตวงทั้งทางการเมืองและทางเศรษฐกิจนั้นสามารถสร้าง


ความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจได้ โดยเฉพาะถ้าหากชนชั้นนำที่กุมอำนาจคาดหวังว่าพวกเขาจะได้ประโยชน์
แน่ๆ จากความเจริญ เหตุผลหลักที่ชนชั้นนำจะไม่ยอมปรับเปลี่ยนสถาบันทางเศรษฐกิจหรือการเมืองให้พัฒนา
ไปมากขึ้น คือ ถ้าหากว่าพวกเขากลัว “พลังทำลายล้างอันสร้างสรรค์” (creative destruction) ของระบบ
พูดง่ายๆ คือ กลัวว่าจะมีคู่แข่ง อย่างเช่นเศรษฐีใหม่ที่สร้างเนื้อสร้างตัวได้ มาแข่งบารมีหรือมีทรัพย์สินมากกว่า
ตัวเอง กลัวว่าจะมีอิทธิพลน้อยลงในสังคม หรือรวยน้อยลง

ด้วยเหตุนี้ ชนชั้นนำดั้งเดิมจะสนับสนุนการพัฒนาเศรษฐกิจก็ต่อเมื่อพวกเขารู้สึกมั่นคงในอิทธิพลของตัวเอง
หรือไม่ก็รู้สึกว่าไม่มีทางเลือกอื่นอีกแล้ว (เพราะเห็นแววว่าประชาชนจะลุกฮือขึ้นประท้วง ฯลฯ)

บางคนอาจแย้งว่า ประสบการณ์ของประเทศจีนดูจะไม่ตรงกับข้อเสนอของอาเซโมกลูกับโรบินสัน เพราะดู


เหมือนจีนจะพัฒนาเศรษฐกิจได้สำเร็จด้วย “การวางแผนจากส่วนกลาง” ที่กุมอำนาจทางการเมือง หรือพูดอีก
อย่างคือ สถาบันทางการเมืองซึ่งตักตวง (รวมศูนย์อำนาจ) ดูจะสามารถสร้างความเจริญทางเศรษฐกิจได้ใน
ระยะยาว ไม่ต้องกระจายอำนาจแต่อย่างใด

ต่อประเด็นนี้ อาเซโมกลูกับโรบินสันเขียนอธิบายเพิ่มเติมบนบล็อกของหนังสือ (อ่านได้จาก


http://whynationsfail.com/blog/2012/11/2/china-india-and-all-that.html) ว่า ถ้าพินิจพิเคราะห์ดีๆ
จะเห็นว่า การเติบโตทางเศรษฐกิจของจีนนั้นก้าวกระโดดก็ต่อเมื่อมีการเปลี่ยนสถาบันทางเศรษฐกิจครั้งใหญ่
จากระบบวางแผนจากส่วนกลางและกรรมสิทธิ์ร่วม (collective ownership) แนวคอมมิวนิสต์ มาเป็นระบบที่
เปิดให้มีแรงจูงใจด้านราคา (มีการแข่งขัน) และส่งเสริมการผลิตทางการเกษตรเพื่อป้อนตลาด จากนั้นก็ต่อด้วย
การปฏิรูปเศรษฐกิจและการผ่อนปรนกฎเกณฑ์มากมาย ซึ่งบางครั้งก็เอียงข้างหรือเอื้อประโยชน์คนบางกลุ่มไป
บ้าง แต่โดยรวมก็มุ่งหน้าสู่สถาบันทางเศรษฐกิจที่โอบอุ้มคนทั้งสังคมมากขึ้น กระจายกลไกแบบนี้จากภาค
เกษตรไปยังภาคเมืองและอุตสาหกรรม

นักเศรษฐศาสตร์ทั้งสองย้ำเตือนว่า การปฏิรูปเศรษฐกิจของจีนนั้นมิได้ถือกำเนิดในแผนอันชาญฉลาดจาก
มันสมองของผู้นำจีน ดังที่เรื่องเล่า “ทางการ” นำเสนอ หากแต่เกิดในความขัดแย้งทางการเมืองภายในพรรค
คอมมิวนิสต์เอง ระหว่าง เติ้งเสี้ยวผิง กับ “แก๊งสี่คน” และการปฏิรูปยุคแรกก็เกิดจากการที่พรรคคอมมิวนิสต์
พยายาม “ตามให้ทัน” สถานการณ์ในโลกจริง หลังจากที่การปฏิวัติวัฒนธรรมส่งผลให้เกิดสุญญากาศทาง
การเมืองและความสูญเสียใหญ่หลวง นานก่อนที่ เติ้งเสี่ยวผิง จะประกาศการปฏิรูป การทดลองโดยเอกชนและ
ประชาชนก็เกิดขึ้นแล้วในหลายพื้นที่ ชาวบ้านหลายหมู่บ้านยกเลิกคอมมูนและเริ่มใช้ระบบเช่าที่นา และชีวิตก็
ดีขึ้นอย่างชัดเจน เหตุการณ์เหล่านี้เท่ากับบังคับให้เติ้งกับชนชั้นนำคนอื่นๆ เริ่มผ่อนคลายกฎเกณฑ์ สนับสนุน
สถาบันทางเศรษฐกิจซึ่งโอบอุ้มคนทั้งสังคมมากขึ้น
11. มายาคติเกี่ยวกับการมีส่วนร่วมของประชาชน

ตอนที่แล้วผู้เขียนเสนอว่า ความเชื่อที่ว่าประเทศพัฒนาสามารถขึ้นชั้น “ประเทศพัฒนาแล้ว” ได้อย่างยั่งยืน


เพียงด้วยการปกครองของผู้นำ (กับเทคโนแครต) ที่ “หวังดี” และ “รู้ดี” ไม่กี่คนนั้น ได้ถูกหักล้างจากนัก
เศรษฐศาสตร์จำนวนมากขึ้นเรื่อยๆ โดยเฉพาะนักเศรษฐศาสตร์ระดับโลกสองท่าน คือ ดารอน อาเซโมกลู
(Daron Acemoglu) กับ เจมส์ โรบินสัน (James Robinson) ผู้เขียนหนังสือสำคัญเรื่อง “Why Nations
Fail” (เหตุผลที่ชาติล้มเหลว)

จากการศึกษาแบบแผนการพัฒนาตลอดระยะเวลาหลายสิบปีที่ผ่านมาของประเทศทั่วโลก อาเซโมกลูกับโรบิน
สันสรุปว่า ประเทศพัฒนาแล้วไม่ได้รวยเพราะ “ได้คนดี” แต่เป็นเพราะสามารถสร้าง “สถาบันทางเศรษฐกิจซึ่ง
โอบอุ้มคนทั้งสังคม” (inclusive) มากขึ้นเรื่อยๆ ขึ้นมาแทนที่สถาบันซึ่ง “ตักตวงทรัพยากร” (extractive)
ออกไปให้กับคนกลุ่มเดียว

ผู้เขียนทั้งสองนิยาม “สถาบันทางเศรษฐกิจซึ่งโอบอุ้มคนทั้งสังคม” ว่า หมายถึง “ส่วนผสม” ของ “กลไกรัฐ”


และ “กลไกตลาด” ที่สร้างแรงจูงใจให้คนอยากลงทุนและคิดค้นนวัตกรรมใหม่ๆ จัดการศึกษาและโครงสร้าง
พื้นฐานในทางที่เอื้อต่อการลงทุนและการเติบโต และรัฐถูกควบคุมโดยพลเมือง

ถ้านำกรอบคิดของอาเซโมกลูกับโรบินสันมาเป็น “แว่น” มองประเทศไทยวันนี้ รัฐบาลภายใต้ คสช. ก็ดูจะไม่ได้


กำลังสร้างสถาบันทางเศรษฐกิจที่ “โอบอุ้มคนทั้งสังคม” มากขึ้นแต่อย่างใด

ในทางตรงกันข้าม ร่างกฎหมายจำนวนไม่น้อยซึ่งจะมีผลกระทบต่อประชาชนอย่างกว้างขวางถ้าบังคับใช้ อาทิ


ร่าง พ.ร.บ. คอมพิวเตอร์, ร่าง พ.ร.บ. กสทช., ร่าง พ.ร.บ. การพัฒนาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม, ร่าง
พ.ร.บ. ส่งเสริมการอนุรักษ์สัตว์ป่า และร่าง พ.ร.บ. อุทยานแห่งชาติ นอกจากจะไม่เปิดให้ประชาชนมีส่วนร่วม
ในกระบวนการร่างกฎหมายอย่างเพียงพอแล้ว ยังมีเนื้อหาที่ขัดต่อหลักการพื้นฐาน และมีแนวโน้มว่าจะ “ตัก
ตวงทรัพยากร” หรือ “รวบอำนาจ” ให้ไปอยู่ในมือของรัฐหรือเอกชนบางกลุ่มมากขึ้น

กล่าวเฉพาะร่างกฎหมายที่ผู้เขียนยกมา ร่าง พ.ร.บ. คอมพิวเตอร์ จะให้คณะกรรมการกลั่นกรองของรัฐมี


อำนาจปิดกั้นเนื้อหาออนไลน์ที่เห็นว่า “ขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดี” ทั้งที่ไม่ผิดกฎหมาย และ
ให้รัฐมนตรีมีอำนาจสั่งให้ผู้ให้บริการปิดกั้นหรือลบข้อมูลที่ถูกเข้ารหัสได้
ร่างกฎหมายฉบับนี้จึงเป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาเศรษฐกิจดิจิทัล ซึ่ง “ความไว้วางใจ” เป็นหัวใจที่ขาดไม่ได้
ใครจะอยากใช้บริการถ้าหากข้อมูลลับของบุคคลหรือองค์กร รวมถึงธุรกรรมทางการเงินซึ่งถูกเข้ารหัสไว้ จะถูก
รัฐขอดูหรือปิดกั้นเมื่อไรก็ได้?

ร่าง พ.ร.บ. กสทช. (คณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ) จะ


เปลี่ยนแปลงโครงสร้างคณะกรรมการ กสทช. ในทางที่ปิดกั้นและหลากหลายน้อยลงมาก อย่างเช่นระบุว่า ผู้มี
คุณสมบัติต้องมีอายุไม่ต่ำกว่า 45 ปี ทั้งที่เทคโนโลยีสื่อและโทรคมนาคมวิ่งเร็ว คนเก่งมักเป็นคนรุ่นใหม่ แถมยัง
ปลดล็อคการกำหนดสาขาความเชี่ยวชาญ เช่น แทนที่จะกำหนดว่ากรรมการอย่างน้อยหนึ่งคนต้องมีความ
เชี่ยวชาญด้านสิทธิผู้บริโภค อย่างในกฎหมายปัจจุบัน กลับกำหนดให้นำทุกคนมาให้คะแนนเรียงกันแล้วเลือก 7
คนที่ได้คะแนนสูงสุด ซึ่งก็หมายความว่าในอนาคตเราอาจเห็นคณะกรรมการ กสทช. เป็นทหารทั้ง 7 คนก็ได้

เมื่อดูร่าง พ.ร.บ. กสทช. ประกอบกับร่าง พ.ร.บ. การพัฒนาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ฉบับล่าสุดแล้ว


ผู้เขียนก็เห็นว่า มีแนวโน้มค่อนข้างสูงที่คลื่นความถี่จะคืนกลับไปอยู่ในมือของรัฐและกองทัพ กสทช. ถูกลด
บทบาทลงเหลือเพียงหน่วยงานที่ “สนองนโยบาย” ของคณะกรรมการดิจิทัลเท่านั้น

เท่ากับว่าการ “ปฏิรูปสื่อ” ซึ่งเผชิญวิบากต่างๆ นานาในรอบ 15 ปีที่ผ่านมา อาจต้องย้อนศร 180 องศา และ


การนำคลื่นความถี่ในมือของกองทัพกับรัฐออกมากระจาย ซึ่งเป็นเหตุผลในการดำรงอยู่อันดับต้นๆ ของ กสทช.
ก็จะล้มเหลวอย่างสิ้นเชิง

ด้านทรัพยากรธรรมชาติ ร่าง พ.ร.บ. ส่งเสริมการอนุรักษ์สัตว์ป่า โดยรวมเป็นการเปิดช่องให้ค้าสัตว์ป่าผ่านการ


ทำธุรกิจสวนสัตว์สาธารณะ ตัดกลไกที่รัดกุมในการป้องกันและควบคุมการ “ฟอก” สัตว์ป่าที่ถูกจับอย่างผิด
กฎหมายต่างประเทศเข้ามาในไทย แล้วขายต่อไปยังต่างประเทศ นอกจากนี้ยังไม่มีการอนุรักษ์หรือฟื้นฟู
ทรัพยากรสัตว์ป่าในถิ่นที่อยู่อาศัย

ส่วน ร่าง พ.ร.บ. อุทยานแห่งชาติ นอกจากจะเพิ่มอำนาจให้กับอธิบดีกรมอุทยานฯ แล้ว ยังเปิดช่องให้เอกชน


เข้ามาประกอบธุรกิจในอุทยานแห่งชาติได้ถึง 30 ปี โดยไม่มีความชัดเจนว่าถ้าเกิดความเสียหายใครจะเป็นฝ่าย
ต้องรับผิดชอบ เนื้อหากฎหมายเน้นการเปิดโอกาสให้เอกชนเข้าไปใช้ประโยชน์ทางเศรษฐกิจจากพื้นที่อุทยาน
มากกว่าเปิดให้ประชาชนมีส่วนร่วมและวางกลไกตรวจสอบถ่วงดุลที่ดี

ตัวอย่างข้างต้นสะท้อนว่า ร่างกฎหมายเกี่ยวกับ “ทรัพยากร” ไม่ว่าจะเป็นคลื่นความถี่ สิ่งแวดล้อม หรือพื้นที่


แสดงออกออนไลน์ ในภาวะที่สภา “ไร้ฝ่ายค้าน” นั้น ล้วนมีทิศทางเดียวกัน นั่นคือ เปิดโอกาส “ตักตวง”
สำหรับคนกลุ่มน้อย และให้รัฐ “รวบอำนาจ” มากขึ้น
นอกจากทิศทางของกฎหมายจะเดินตรงข้ามกับการสร้าง “สถาบันทางเศรษฐกิจซึ่งโอบอุ้มคนทั้งสังคม” แล้ว
นโยบายและการดำเนินการของ คสช. ที่เกี่ยวกับทรัพยากร โดยรวมก็กำลังกีดกัน และหลายกรณีก็ถึงขั้น
“คุกคาม” ประชาชน

ปฏิเสธไม่ได้ว่าแผนพัฒนาท่าเรือน้ำลึก โรงไฟฟ้าถ่านหิน เขตเศรษฐกิจพิเศษ ฯลฯ ล้วนแต่มีวัตถุประสงค์


ส่งเสริมการลงทุน ซึ่งในตัวมันเองอาจไม่ใช่เรื่องเลวร้ายก็ได้ เรื่องเลวร้ายอยู่ใน “วิธีการ” ที่ใช้ ซึ่งอาศัยอำนาจ
เผด็จการของ คสช. ปิดปากประชาชนที่เห็นต่าง แทนที่จะรับฟังความเห็นและข้อกังวลของชุมชน เพื่อนำมา
ประกอบการพิจารณา แสวงหา “ทางเลือก” ที่ดีที่สุดในการดำเนินนโยบาย

แกนนำชาวบ้านที่เห็นต่างจำนวนมากถูกเรียกตัวไป “ปรับทัศนคติ” ตั้งแต่ชาวบ้าน จ.ร้อยเอ็ด ที่ออกมา


เคลื่อนไหวเรื่องที่ดิน กลุ่มสหพันธ์เกษตรกรภาคใต้ จ.สุราษฎร์ธานี กลุ่มคนแม่สอดรักษ์ถิ่น ที่เคลื่อนไหวคัดค้าน
เขตเศรษฐกิจพิเศษ แกนนำคัดค้านเหมือง จ.เพชรบูรณ์ ฯลฯ

นอกจากนี้ยังมีการจัดกำลังทหารไปคุ้มกันบริษัทเอกชนในพื้นที่พิพาท เช่น คุ้มครองการขุดเจาะสำรวจก๊าซใน


พื้นที่ประชิดชุมชน นามูล-ดูนสาด จ.ขอนแก่น การคุ้มกันพนักงานของบริษัทเอกชนในการไล่รื้อชุมชนชาวเลรา
ไวย์ จ.ภูเก็ต จนเกิดการปะทะอย่างรุนแรง หรือแม้แต่การใช้กำลังทหารเข้าควบคุมเวทีรับฟังความคิดเห็นหลาย
โครงการ สร้างความช้ำใจและหวาดกลัวแก่ชาวบ้าน ในกรณีของโครงการโรงไฟฟ้าถ่านหินบำเหน็จณรงค์ จ.
ชัยภูมิ ชาวบ้านกลุ่มฅนรักษ์บ้านเกิดถึงขั้นถูกทหารบังคับให้ถอดเสื้อทีแ่ สดงจุดยืนคัดค้านโครงการ

ยังไม่นับการใช้อำนาจตามมาตรา 44 อำนวยความสะดวก ไม่แยแสหลักการมีส่วนร่วมของประชาชน อย่างการ


ยกเว้นการบังคับใช้กฎหมายผังเมืองและการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมสำหรับกิจการบางประเภท
ก่อให้เกิดข้อกังขาว่า ผู้มีอำนาจคนไหน “มีเอี่ยว” กับกิจการที่ได้รับการยกเว้นหรือไม่

อย่างไรก็ดี ถ้าใครพินิจพิจารณาการยืดหยัดคัดค้านของประชาชนในหลายพื้นที่ดีๆ ก็จะพบว่า นี่ไม่ใช่การ


“เสี้ยม” ของเอ็นจีโอ เท่ากับเป็นการส่งเสียงอย่างชัดเจนว่า วันนี้หมดยุคของการมีส่วนร่วมแบบปลอมๆ
อย่างเช่นหลอกให้ไปรับของแจกแลกลายเซ็น ให้ผู้ดำเนินโครงการเอาไปอ้างว่าได้จัดเวทีรับฟังความคิดเห็นแล้ว
ทั้งที่ไม่ได้ “ตั้งใจฟัง” จริงๆ

รัฐหรือเอกชนรายใดที่ยังไม่เข้าใจว่า โลกได้ก้าวสู่ยุคที่การดำเนินโครงการต้องได้รับ “การยอมรับจากชุมชน”


หรือที่ภาษาธุรกิจสมัยใหม่เรียกว่า “license to operate” มัวแต่ยึดติดกับมายาคติที่ว่า การมีส่วนร่วมปลอมๆ
ก็พอ – ก็น่าจะเผชิญกับ “อารยะขัดขืน” ไปอีกเนิ่นนาน.
12. ท้องถนนกับประชาชนผู้ด้อยโอกาส : แง่คิดจาก Ekta Parishad

ไม่ถึงห้าเดือนหลังรัฐประหาร 22 พฤษภาคม 2557 สังคมไทยก็ได้สภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.) รอบใหม่ คราวนี้


สถาปนาภายใต้ระบอบเผด็จการทหาร หลังจากที่ล้มลุกคลุกคลานกับกระบวนการปฏิรูปกันมาหลายปี

คงต้องใช้เวลาอีกหลายเดือนกว่าเราจะได้เห็นข้อเสนอของ สปช. รวมไปถึงร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ ซึ่งหลาย


คนก็กำลังรอดูว่า จะแตกต่างจากฉบับปี 2550 หลังเกิดรัฐประหารครั้งที่แล้วอย่างไร ประชาธิปไตยที่ผู้ยึด
อำนาจอ้างว่า “เหมาะสมกับสังคมไทย” นั้นมีหน้าตาอย่างไรกันแน่

ในเวลาเดียวกัน กฎอัยการศึกก็ยังคงมีผลบังคับใช้ต่อไป การเดินขบวนหรือชุมนุมเรียกร้องรัฐ ไม่ว่าจะวาระ


อะไรก็ตาม ถูกมองว่าเป็นการชุมนุมทางการเมือง ฉะนั้นจึงละเมิดกฎอัยการศึก ไม่อนุญาตให้ทำ ประชาชนที่
ร้องเรียนหรือเสนออะไรถูกบอกให้ไปศูนย์ดำรงธรรม สายด่วน 1567 ซึ่งถูกจัดตั้งขึ้นตามคำสั่งของคณะ
รัฐประหาร

การกีดกันประชาชนออกจากท้องถนน ขีดวงอภิปรายเรื่องการปฏิรูปประเทศให้อยู่ภายในการวิ่งล็อบบี้และการ
ทำหน้าที่ของ สปช. ทำให้ผู้เขียนนึกถึงแง่คิดที่ได้รับจากการไปดูงานของ เอ็กต้า ปาริฉัตร (Ekta Parishad,
http://www.ektaparishad.com/ ชื่อในภาษาฮินดีแปลว่า “สมัชชาสามัคคี”) องค์กรเคลื่อนไหวภาค
ประชาชนของอินเดียที่ทำงานมานานกว่า 25 ปี

เดือนตุลาคม 2557 ผู้เขียนได้ไปศึกษาดูงานที่สำนักงานใหญ่ของเอ็กต้าในเมืองโภปาล โดยได้รับเกียรติให้ร่วม


เดินทางไปกับกลุ่มนักวิชาการรุ่นใหม่ไฟแรงในโครงการผู้นำแห่งอนาคต ศูนย์จิตตปัญญาศึกษา
มหาวิทยาลัยมหิดล ต้องขอขอบคุณโครงการฯ มา ณ โอกาสนี้

จุดมุ่งหมายสูงสุดของ เอ็กต้า ปาริฉัตร คือ การช่วยเหลือให้คนจนที่จนที่สุดในอินเดียสามารถดำรงชีพอย่างมี


ศักดิ์ศรี ซึ่งหมายถึงการเข้าถึงทรัพยากรที่จำเป็นต่อการดำรงชีวิต อันได้แก่ ที่ดิน แหล่งน้ำ และป่าไม้ เนื่องจาก
มองว่าทรัพยากรเหล่านี้โดยเฉพาะที่ดินไม่ใช่แหล่งรายได้อย่างเดียว แต่ยังเป็นบ่อเกิดของศักดิ์ศรี ความมั่นคง
และอัตลักษณ์ แต่ปัจจุบันคนอินเดียหลายล้านคนยังคงไม่มีที่ดินทำกิน

เอ็กต้าทำงานร่วมกับองค์กรเครือข่ายกว่าหมื่นองค์กรทั่วประเทศและสมาชิกหลายพันคน กระจายตัวกันอยู่ใน
พื้นที่ 10 แคว้นทั่วอินเดีย เน้นการทำงานระดับรากหญ้า เริ่มต้นจากการส่งคนไปลงแรงปรับปรุงสาธารณูปโภค
ในหมู่บ้าน เช่น สร้างส้วม ขุดลอกคูคลอง ฯลฯ เพื่อชี้ให้ชาวบ้านเห็นว่า มีหลายสิ่งที่พวกเขาสามารถทำเองได้
เพื่อปรับปรุงคุณภาพชีวิตของตัวเอง
เนื่องจากคนจนและคนที่ถูกกดขี่เชิงโครงสร้างหรือสังคมไม่ยอมรับ เช่น กลุ่มชาติพันธุ์ คนชายขอบ ดาลิตหรือ
จัณฑาล มักจะรู้สึกสิ้นหวังท้อแท้ในชีวิตเพราะถูกสังคมรังเกียจ นักการเมืองก็ไม่เหลียวแล การทำให้พวกเขา
ตระหนักใน “ศักยภาพ” ของตนเอง เริ่มเกิดความเชื่อมั่นในตนเอง จึงเป็นก้าวแรกที่สำคัญยิ่ง

กระบวนการหลังจากนั้นคือให้ชาวบ้านร่วมกันวิเคราะห์ปัญหาในชุมชน เชื่อมโยงปัญหาเข้ากับปัญหาระดับ
โครงสร้าง พัฒนาแกนนำจากการจัดค่ายเยาวชน จัดกิจกรรมการศึกษาต่างๆ และชี้ให้เห็นความสำคัญของการ
เรียกร้องสิทธิอันพึงมีของตน โดยยึดมั่นในหลักอหิงสาของมหาตมะคานธี

กิจกรรมสำคัญของเอ็กต้าในรอบสิบปีที่ผ่านมา คือการจัดการเดินขบวนขนาดใหญ่ไปยังกรุงเดลี เมืองหลวงของ


อินเดีย เพื่อเรียกร้องให้รัฐบาลเอาจริงกับการจัดสรรที่ดินให้กับคนจน

ในการเดินขบวนเรียกร้องสิทธิครั้งแรก ภายใต้ชื่อ “จานาเดจ” (Janadesh ภาษาฮินดีแปลว่า “คำตัดสินของ


ปวงชน”) ปี 2007 มีชาวบ้านไร้ที่ดินกว่า 25,000 คน ร่วมเดินเท้ากว่า 350 กิโลเมตร ใช้เวลากว่า 28 วัน ไปยัง
กรุงเดลี จำนวนคนที่มากขนาดนั้นทำให้สื่อมวลชนทำข่าวอย่างกว้างขวาง และเมื่อเป็นข่าว แน่นอนว่า
นักการเมืองก็ต้องออกมารับเรื่อง

แกนนำของเอ็กต้าเล่าให้พวกเราฟังว่า ผลลัพธ์ที่เป็นรูปธรรมประการหนึ่งจากการเดินขบวนครั้งนั้นคือ รัฐบาล


อินเดียยอมบังคับใช้กฎหมายสิทธิในป่าไม้ ซึ่งออกมาตั้งแต่ปี 2006 แต่ไม่เคยถูกบังคับใช้อย่างจริงจัง ทำให้คน
จนทั่วประเทศกว่า 3.6 ล้านคน ได้มีสิทธิเข้าไปทำกินในเขตป่าไม้อย่างถูกต้องตามกฎหมาย

จานาเดจครั้งต่อมาในปี 2012 นำบทเรียนจากครั้งแรกมาปรับปรุงต่อยอด คราวนี้มีผู้เข้าร่วมกว่า 100,000 คน


จาก 26 แคว้นทั่วประเทศ ทวงถามความคืบหน้าของนโยบายการปฏิรูปที่ดินซึ่งรัฐบาลสัญญาตั้งแต่ปี 2007
และส่งเสียงให้รัฐรับทราบความรุนแรงของปัญหาที่ดินซึ่งยังคงทวีความรุนแรงอย่างต่อเนื่อง

ตัวแทนองค์กรอธิบายว่า การเดินขบวนครั้งนี้สะท้อนเสาหลักของการเปลี่ยนแปลงสังคมครบทั้งสี่ต้น อันได้แก่


พลังของเยาวชน (แกนนำชุมชนรุ่นเยาว์จับมือกับแกนนำรุ่นอาวุโส) พลังของคนจน (เครือข่ายชาวบ้านที่ยากไร้
เรี่ยไรทุนรอนและปัจจัยที่ต้องใช้ด้วยตัวเอง ด้วยการเก็บออมข้าว 1 กำมือ หรือเงิน 1 รูปี ต่อหนึ่งครอบครัวต่อ
หนึ่งวัน ทุกวันก่อนถึงกำหนดการเดิน) พลังของความเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกัน (ระหว่างเดินชาวบ้านได้รับกำลังใจ
และการสนับสนุนมากมาย ตั้งแต่เงิน อาหาร ยารักษาโรค ฯลฯ รวมถึงสารสนับสนุนจากองค์กรและประชาชน
ในต่างประเทศ) และพลังของอหิงสา (ชาวบ้านเดินอย่างสงบ สันติ ย้ำว่าอหิงสาไม่ใช่เพียง “ยุทธวิธี” เท่านั้น
หากเป็น “วิถีชีวิต” ที่พึงปรารถนา)
วันนี้ เอ็กต้า ปาริฉัตร กำลังวางแผนเดินขบวนครั้งใหญ่ในปี 2020 คราวนี้จะจัดในระดับนานาชาติ โดยใน
อินเดียจะเดินเท้าจากกรุงเดลีไปยังสำนักงานใหญ่ขององค์การสหประชาชาติ กรุงเจนีวา ประเทศ
สวิสเซอร์แลนด์ เพื่อส่งเสียงเรียกร้องให้คนและรัฐทั่วโลกมองเห็นปัญหาที่คนจนทั่วโลกประสบร่วมกัน ตั้งแต่
การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ การขาดความมั่นคงทางอาหาร การไร้ซึ่งสิทธิในที่ดินทำกิน และการถูกเบียด
บังทรัพยากรธรรมชาติ รวมทั้งนำเสนอแนวคิด “เศรษฐกิจอหิงสา” (nonviolent economy) ซึ่งเน้นการ
จัดสรรทรัพยากรอย่างเป็นธรรม

ตัวแทนของเอ็กต้าอธิบายว่า งานของพวกเขาเป็นการต่อสู้เชิงอุดมการณ์ด้วย เพราะชาวบ้านที่โกรธแค้นกับการ


ตกเป็นเหยื่อมานานจำนวนไม่น้อยไม่เห็นด้วยกับแนวทางอหิงสา และอินเดียก็มีองค์กรเคลื่อนไหวจำนวนไม่
น้อยที่ชูแนวทางแบบตาต่อตา ฟันต่อฟัน

ถามว่าแนวทางอหิงสาดีกว่าอย่างไร เขาตอบว่าอหิงสาคล้ายกับยาแผนโบราณ อาจใช้เวลานานกว่ายาแผน


ปัจจุบันกว่าจะเห็นผล แต่ไม่มีผลข้างเคียง

ถามว่าแล้วถ้าหากการเดินขบวนไม่บรรลุผลสัมฤทธิ์ล่ะ เขาตอบว่าไม่เป็นไร อย่างน้อยก็ถือว่าประสบ


ความสำเร็จในการชี้ให้ชาวบ้านหลายหมื่นหลายแสนคนมองเห็นความสำคัญและพลังของการไม่ใช้ความรุนแรง
และการเดินขบวนครั้งนี้ก็เป็นการเดินขบวนทางจิตวิญญาณ (spiritual march) ด้วย ได้สวดมนต์และขัดเกลา
จิตใจตนเองระหว่างทาง

ประสบการณ์จาก เอ็กต้า ปาริฉัตร หนึ่งในองค์กรที่ถูกเสนอชื่อเข้าชิงรางวัลโนเบลสันติภาพ ปี 2014 บอกเรา


ว่า ตราบใดที่สังคมยังมีการเอารัดเอาเปรียบ ผู้เสียเปรียบบางกลุ่มไม่ถูกได้ยินและถูกกันออกจากห้องประชุม
ตราบนั้นประชาธิปไตยท้องถนนก็ยังเป็นสิ่งจำเป็น

การกีดกันคนออกจากท้องถนนจึงไม่อาจช่วยให้สังคมเป็นประชาธิปไตยกว่าเดิมได้เลย.
13. ราคาของการทุจริตคอร์รัปชั่น

ปรากฏการณ์ “มวลมหาประชาชน” นับล้านออกมาชุมนุมขับไล่รัฐบาล ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร จนสุดท้ายนายกฯ


ประกาศยุบสภาเลือกตั้งใหม่ โดยเฉพาะการชุมนุมทั่วประเทศในวันที่ 24 พฤศจิกายน และ 9 ธันวาคม 2556
นั้น ต้องจารึกว่าเป็นการแสดงพลังต่อต้านคอร์รัปชั่นและพฤติกรรม “เผด็จการรัฐสภา” หรือคอร์รัปชั่นชนิดที่
ถูกกฎหมาย ครั้งยิ่งใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์ไทย

“วิธีการ” ให้ได้มาซึ่ง “ประชาธิปไตยสมบูรณ์” ในภาษาของ สุเทพ เทือกสุบรรณ มีความเห็นที่แตกต่าง


หลากหลาย แต่จุดร่วมที่ตรงกันคือ คงไม่มีใครปฏิเสธอีกต่อไปว่า ถึงเวลาแล้วที่เราจะลงมือปฏิรูปเพื่อแก้ปัญหา
คอร์รัปชั่นอย่างจริงจัง ทั้งชนิดที่ถูกกฏหมายคือการคอร์รัปชั่นเชิงนโยบาย และชนิดที่ผิดกฏหมาย คือการ
ทุจริตติดสินบนนานัปการ

ก่อนจะแก้ปัญหาได้ตรงจุด ขั้นแรกเราต้องมองเห็น “ราคา” ของคอร์รัปชั่น โดยเฉพาะในมิติที่เรามักจะมองไม่


เห็น

ในเมื่อคอร์รัปชั่นบิดเบือนการทำงานของรัฐ จึงไม่น่ามีใครแปลกใจถ้าได้รู้ว่า เราทุกคนต้องจ่ายต้นทุนของ


คอร์รัปชั่นในแทบทุกมิติของชีวิต – ลองมาดูเฉพาะ “ราคา” ของการทุจริตคอร์รัปชั่น หรือคอร์รัปชั่นชนิดที่ผิด
กฏหมายกันก่อน

ด้านการเมือง คอร์รัปชั่นเป็นอุปสรรคสำคัญของระบอบประชาธิปไตยและนิติรัฐ สถาบันและหน่วยงานต่างๆ


ในระบอบประชาธิปไตยสูญเสียความชอบธรรม (ในแง่การเป็น “ตัวแทน” ของประชาชน) เมื่อถูกเบียดบังไปใช้
เพื่อประโยชน์ส่วนตนและพวกพ้อง ไม่ใช่เพื่อประโยชน์สาธารณะ ในประเทศกำลังพัฒนาที่สถาบัน
ประชาธิปไตยยังไม่เข้มแข็ง การพัฒนากลไกสร้างความรับผิดของผู้นำการเมืองยิ่งยากกว่าเดิมทวีคูณในภาวะที่
คอร์รัปชั่นซึมลึกและแพร่หลาย

ด้านเศรษฐกิจ คอร์รัปชั่นบ่อนทำลายความมั่งคั่งของชาติและลิดรอนโอกาสในการเติบโตอย่างยั่งยืน เพราะ


เจ้าหน้าที่ระดับสูงของรัฐมีแรงจูงใจที่จะจัดสรรทรัพยากรของประเทศตามโอกาสที่ตัวเองจะได้ทุจริต ไม่ใช่ตาม
ความต้องการของประชาชน งานวิจัยหลายชิ้นโดยเฉพาะ Paul Mauro (2541) ชี้ชัดว่า รัฐบาลของประเทศที่
คอร์รัปชั่นรุนแรงมุ่งเน้นแต่การสร้างโครงการขนาดใหญ่ (megaprojects) ที่มีมูลค่าการก่อสร้างสูงๆ และ “ดู
ดี” อาทิ เขื่อนขนาดใหญ่ โรงไฟฟ้า ท่อส่งก๊าซ หรือการจัดซื้ออาวุธยุทโธปกรณ์ราคาแพง ละเลยสาธารณูปโภค
พื้นฐานที่ดูหวือหวาน้อยกว่า แต่มีความจำเป็นเร่งด่วนมากกว่าอย่างโรงเรียนและโรงพยาบาล ยังไม่นับว่า
คอร์รัปชั่นทำให้งานออกมา “ชุ่ย” ได้โดยไม่มีใครรับผิดชอบ เพราะผู้มีอำนาจสนใจแต่ว่าตัวเองจะได้สินบน
เท่าไร (และถ้าไม่อนุมัติให้งานเสร็จก็จะไม่ได้สินบนเต็มเม็ดเต็มหน่วย)

นอกจากนี้ คอร์รัปชั่นยังกีดขวางการพัฒนาโครงสร้างตลาดที่เป็นธรรม (เป็นสนามแข่งขันที่เท่าเทียม) และ


บิดเบือนการแข่งขัน – นักธุรกิจที่ไม่ยอมจ่ายสินบนจะถูกรัฐกีดกันไม่ให้ทำธุรกิจ ส่งผลให้ภาคธุรกิจถูกครอบงำ
โดยนักธุรกิจขนาดใหญ่ที่ครองตลาดมาเนิ่นนาน ฉวยโอกาสใช้เส้นสายกับนักการเมืองครองตลาดต่อไป ถ้าไม่
กระโจนลงไปเล่นการเมืองเสียเอง

ด้านสังคม คอร์รัปชั่นบั่นทอนความไว้วางใจของประชาชนในระบบการเมือง สถาบันทางการเมือง และผู้นำ


ทางการเมือง ยิ่งประชาชนไม่ไว้ใจเพราะมีเหตุให้ไม่ไว้ใจ ก็ยิ่งมีแนวโน้มที่คนจะเบื่อการเมืองหรือเกลียดชัง
นักการเมือง ความเคยชินแปรเปลี่ยนเป็นความเฉยชา หนักข้ออาจกลายเป็นการเรียกหารัฐประหารหรือ “คน
นอก” ระบบการเมืองมาแก้ปัญหาให้ เพราะคิดว่านักการเมืองทุกคนเลวเหมือนกันหมด ไว้ใจใครไม่ได้

ด้านสิ่งแวดล้อม คอร์รัปชั่นผลักดันให้การทำลายสิ่งแวดล้อมและตักตวงทรัพยากรธรรมชาติดำเนินไปอย่างไม่
บันยะบันยัง โดยเฉพาะในเมื่อสิ่งมีชีวิตในธรรมชาติไม่มีเสียงจะทวงสิทธิในการอยู่ร่วมโลกกับมนุษย์ ประเทศ
ไหนคอร์รัปชั่นอยู่ในระดับสูง ธรรมชาติของประเทศนั้นยิ่งถูกทำลาย เมื่อบริษัทจ่ายสินบนให้เจ้าหน้าที่รัฐเอาหู
ไปนาเอาตาไปไร่ ให้บริษัทได้ประกอบธุรกิจเหมืองแร่ ตัดไม้ทำลายป่า เกษตรกรรม ฯลฯ โดยไม่ต้องใส่ใจกับ
การทำตามกฏหมายและกฏระเบียบด้านสิ่งแวดล้อม

เรามักคิดไปเองว่า ชนชั้นกลางแบกรับต้นทุนของคอร์รัปชั่นมากกว่าคนจน เพราะชนชั้นกลางโดยนิยาม


หมายถึงคนที่มีกำลังจ่ายภาษี แต่ในความเป็นจริง คนจนจ่าย “ราคา” ของการทุจริตคอร์รัปชั่นแพงกว่าคนรวย
เพราะถ้าพวกเขาไม่เสียเงินตรงๆ คอร์รัปชั่นก็ทำให้พวกเขาเสียสุขภาพ เสรีภาพ หรือแม้แต่ชีวิต

งานวิจัยชิ้นหนึ่งโดยองค์กรเพื่อความโปร่งใสสากล (Transparency International) ในปี 2008 พบว่า สินบนที่


ประชาชนในทวีปเอเชียใต้ต้องจ่ายเพื่อให้รัฐมาต่อท่อประปาให้นั้น ทำให้ค่าก่อสร้างแพงขึ้นร้อยละ 15-20 แต่ที่
แย่กว่านั้นคือ สินบนทำให้ช่างประปาทำงานชุ่ยๆ ก็ผ่าน เพราะข้าราชการอยากได้สินบน ส่งผลให้วัสดุก่อสร้าง
ที่ต้องใช้ “สูญหาย” ระหว่างทาง ส่งผลให้ระบบประปามีอายุการใช้งานสั้นผิดปกติและส่งน้ำได้น้อยลง
ประสิทธิภาพที่ด้อยลงนี้คิดเป็นต้นทุนอีกร้อยละ 20 ของค่าติดตั้งท่อ สุดท้ายเท่ากับว่าคอร์รัปชั่นสร้างต้นทุน
ทั้งหมดถึงร้อยละ 25-45 ของราคาที่ประชาชนต้องจ่าย ผลักให้ค่าใช้จ่ายเพิ่มจาก 400 เหรียญสหรัฐ เป็น
500-580 เหรียญสหรัฐ

เงินจำนวนนี้ไม่ใช่น้อยๆ เลยสำหรับประชากรในชุมชนที่ยากจนและอยู่กันอย่างแออัด
งานวิจัยเรื่องคอร์รัปชั่นกับความยากจนจำนวนมากยืนยันว่า คอร์รัปชั่นส่งผลกระทบมหาศาลต่อชีวิตของคนจน
ยกตัวอย่างเช่น ในปี 2010 ครอบครัวยากจนในเม็กซิโกหมดเงินกว่าหนึ่งในห้าของรายได้ทุกเดือนไปกับการติด
สินบนเจ้าหน้าที่ ในปีเดียวกัน งานวิจัยอีกชิ้นรายงานว่าร้อยละ 44 ของพ่อแม่ยากจนในเจ็ดประเทศ ทวีป
แอฟริกา เคยจ่ายสินบนให้กับเจ้าหน้าที่โรงเรียนรัฐเพื่อส่งลูกเรียนหนังสือ ทั้งที่การเรียนฟรีเป็น สิทธิ ตาม
กฏหมาย

ในอินโดนีเซียสมัยทศวรรษ 1990 ราวหนึ่งในห้าของข้าวสารที่แจกจ่ายในโครงการกำจัดความยากจนของรัฐ


“สูญหาย” ไปอย่างไร้ร่องรอย ในแคเมอรูนยุคปัจจุบัน มีโรงเรียนรัฐเพียงร้อยละ 19 เท่านั้นที่ห้องน้ำใช้การได้
ไม่ถึงร้อยละ 30 มีโต๊ะและเก้าอี้เพียงพอสำหรับนักเรียน

ถึงแม้เราจะบันทึกต้นทุนของคอร์รัปชั่นได้ชัดเจนขึ้นเรื่อยๆ ก็มิได้หมายความว่า เราจะมองเห็น “วิธี


แก้ปัญหา” ได้ทันที

งานวิจัยภาคสนามหลายชิ้นชี้ว่า คอร์รัปชั่นเป็น “ตลาด” ซึ่งมี “โครงสร้าง” ซับซ้อนกว่าที่เราคาดคิด


ยกตัวอย่างเช่น ในปี 2007 นักเศรษฐศาสตร์สองคน คือ เบน โอลเคน (Bel Olken) และ แพททริก บาร์รอน
(Patrick Barron) บันทึกพฤติกรรมติดสินบนเจ้าหน้าที่กว่า 6,000 ครั้ง (ด้วยการสังเกตตรงๆ) ของคนขับรถ
บรรทุกในรัฐอาเจะห์ อินโดนีเซีย ทีมวิจัยฉวยโอกาสช่วงที่รัฐบาลอินโดนีเซียประกาศสงบศึกชั่วคราวกับกอง
กำลังแบ่งแยกดินแดน ถอนกำลังทหารและตำรวจออกนอกพื้นที่ ส่งผลให้จำนวนด่านลดลงหลายสิบด่าน ศึกษา
ว่าการเปลี่ยนแปลงครั้งนี้ส่งผลอย่างไรบ้างต่อการจ่ายสินบนของคนขับรถบรรทุก

ทีมวิจัยพบว่า การเก็บสินบนหลังจากที่ทางการถอนกำลังกลายเป็นโครงสร้างแบบ “กระจายอำนาจ”


(decentralized) คือเจ้าหน้าที่แต่ละคน “ไถ” แบบต่างคนต่างทำ ไม่พูดคุยหรือสบคิดกันกำหนด “ราคา
มาตรฐาน” ของสินบน แตกต่างจากสมัยก่อนที่สินบนถูก “รวมศูนย์” (centralized) คือเจ้าหน้าที่แต่ละด่าน
รู้จักกัน ร่วมมือกันกำหนดว่าจะเก็บสินบนเท่าไร ผลลัพธ์คือ ในภาวะกระจายอำนาจ คนขับรถบรรทุกจ่าย
สินบน สูงกว่า สมัยรวมศูนย์

ผลลัพธ์นี้มีเหตุมีผลถ้าเรานึกถึงแรงจูงใจของคน ถ้าหากเจ้าหน้าที่คุมด่านที่อยู่ใกล้ปลายทางไม่รู้จักเจ้าหน้าที่คน
อื่นๆ เขาก็จะอยากไถ “แพง” กว่าเจ้าหน้าที่ประจำด่านที่อยู่ใกล้จุดตั้งต้น เพราะรู้ดีว่าถ้าคนขับรถบรรทุกไม่
ยอมจ่าย เขาก็จะต้องขับรถวกกลับไปทางเดิม แล้วก็จะถูกตำรวจด่านแรกๆ ไถอีกรอบ – เจ้าหน้าที่ด่าน
ปลายทางมีอำนาจต่อรองสูงมากเพราะมี “อำนาจผูกขาด” มากกว่าคนอื่น

ผลของงานวิจัยครั้งนี้สอดคล้องกับงานวิจัยอีกหลายชิ้นซึ่งระบุว่า การกระจายอำนาจไม่ช่วยลดระดับคอร์รัปชั่น
ในกรณีที่ “ผู้ติดตามตรวจสอบ” อย่างเช่นองค์กรปราบปรามคอร์รัปชั่นและสื่อมวลชนไม่ทำงาน หรือยังทำงาน
ได้ไม่ดีพอ การกระจายอำนาจจะช่วยลดคอร์รัปชั่นก็ต่อเมื่อสังคมมี “สภาพแวดล้อมข้อมูลข่าวสาร” ที่ดีพอแล้ว
เท่านั้น

การลดขั้นตอนในการติดต่อราชการ ลดจำนวนข้าราชการที่มีส่วนเกี่ยวข้องในกระบวนการต่างๆ ตลอดจนการ


ติดตั้งกลไกเพิ่มความโปร่งใสของภาครัฐ เพิ่มพลังของประชาชนในการติดตามตรวจสอบรัฐ และเพิ่มพลังของ
สื่อน้ำดี โดยเฉพาะสำนักข่าวสืบสวนสอบสวน จึงดูจะเป็น “วิธีการ” จัดการกับคอร์รัปชั่นชนิดที่ “ไม่ทำไม่ได้”
อีกแล้ว
มายาคติเกี่ยวกับประชานิยม ความจน และความเหลื่อมล้ำ

14. ประชาชน ประชานิยม และประชารัฐ

ในห้วงยามที่ “ประชารัฐ” กำลังถูกโหมประโคมจากรัฐบาลว่า ดีกว่า “ประชานิยม” ของพรรคการเมืองที่ถูก


โค่นลงจากอำนาจหลายขุม ผู้เขียนคิดว่าน่าจะได้เวลาทบทวนที่มา ความหมาย และบทบาทของคำว่า “ประชา
นิยม” กันใหม่

เพราะดูเหมือนวันนี้ “ประชานิยม” ได้กลายเป็น “คำด่าอัตโนมัติ” ของใครก็ตามที่ไม่ชอบการเมืองในระบอบ


ประชาธิปไตย และกลายเป็น “คำชมอัตโนมัติ” ของใครก็ตามที่ชื่นชอบพรรคไทยรักไทย พลังประชาชน หรือ
เพื่อไทย

ประชานิยมคืออะไร? ผู้เขียนคิดว่าเว็บไซต์ฐานข้อมูลการเมืองการปกครอง สถาบันพระปกเกล้า เก็บความได้


ค่อนข้างดี (http://wiki.kpi.ac.th/index.php?title=นโยบายประชานิยม) จึงจะคัดลอกบางส่วนมา
แลกเปลี่ยนกันดังนี้

“ในหนังสือ “ทักษิณา-ประชานิยม” ดร. เอนก เหล่าธรรมทัศน์ ได้จำแนก “ประชานิยม” ออกเป็น 5


ความหมายด้วยกัน ได้แก่

1) ประชานิยมในรัสเซียและอเมริกา เป็นประชานิยมในความหมายดั้งเดิมที่เกิดขึ้นในรัสเซียและอเมริกาใน
ปลายศตวรรษที่ 19 โดยมีนัยว่าหมายถึงการเปลี่ยนแปลงทางสังคมที่เห็นว่าประชาชนสำคัญที่สุด โดยทั้งใน
รัสเซียและสหรัฐอเมริกานั้นขบวนการประชานิยมที่ต้องการเปลี่ยนแปลงทางสังคมนั้นคือชาวนา ซึ่งเป็นชนส่วน
ใหญ่ของสังคม

2) ประชานิยมในละตินอเมริกา เป็นขบวนการประชานิยมที่เริ่มต้นขึ้นในอาร์เจนตินาตั้งแต่ทศวรรษ 1920 โดย


เป็นขบวนการที่มีผู้นำสูงสุดคือฮวนเปรองที่มีความโดดเด่น มีเสน่ห์ มีบารมีเป็นที่จับตาจับใจประชาชน และมี
นโยบายสงเคราะห์คนยากจนเพื่อใช้เป็นฐานเสียงและฐานนโยบายทางการเมือง มุ่งเน้นการสร้างความสัมพันธ์
ใกล้ชิดระหว่างผู้นำกับประชาชน

3) ประชานิยมในประเทศตะวันตก คือการเมืองที่มีพรรคการเมืองบางพรรคได้รับความสนับสนุนจากสามัญชน
จากนโยบายที่เป็นที่ชื่นชอบหรือมีอุดมการณ์ตรงกัน
4) ประชานิยมในฐานะแนวทางการพัฒนา ใช้เรียกแนวคิดการพัฒนาที่เน้นภาคชนบท เน้นภาคเกษตร เน้นการ
พัฒนาไร่นาขนาดเล็ก ขนาดกลางของเกษตรกรอิสระหรือสหกรณ์ที่ชาวไร่ชาวนามารวมกัน เป็นทางเลือกของ
การพัฒนาที่ไม่เน้นการพัฒนาให้เป็นเมืองแบบตะวันตกนั่นเอง

5) ประชานิยมคือการให้ความสำคัญหรือให้คุณค่าแก่ประชาชน คือการเมืองที่ให้คุณค่าแก่ประชาชน
โดยเฉพาะประชาชนทั่วไปหรือชนชั้นล่าง การเมืองที่เห็นความสำคัญของประชาชนทั่วไปจึงเป็นประชานิยม
เสมอ

ดังนั้นอาจกล่าวได้ว่า การดำเนินนโยบายทางการเมืองของรัฐบาลทักษิณนั้นไม่อาจจัดเป็นประชานิยมใน
ความหมายใดได้เคร่งครัดนัก จึงต้องพิจารณาจากหลายความหมายประกอบกันแล้วแต่เงื่อนไขหรือลักษณะ
เน้นหนักของนโยบายแต่ละด้าน ...การให้ความสำคัญกับประชาชนทั่วไปของนโยบายน่าจะเป็นลักษณะสำคัญ
ที่ถูกมองว่าเป็นนโยบายประชานิยม

...[ในทัศนะของนักวิชาการบางคน] นโยบายประชานิยมมิใช่นโยบายที่ดี แต่เป็นนโยบายที่ทำลายกลไกปกติ


ของตลาด ในขณะที่นักวิชาการอีกกลุ่มมองว่านโยบายประชานิยมเป็นการสร้างมูลค่าในทางเศรษฐกิจขึ้นจาก
การหมุนเงินเข้าใช้จ่ายในตลาดหลายรอบ จึงเหมาะแก่การกระตุ้นการใช้จ่ายของประชาชนเพื่อให้ภาพรวมของ
เศรษฐกิจดีขึ้น”

จากประวัติศาสตร์ของคำว่า populism ดังสรุปข้างต้น จะเห็นว่าคำว่า “นโยบายประชานิยม” ไม่ได้มี


ความหมายด้านบวกหรือลบในตัวมันเองแต่อย่างใด มีเพียงความหมายกลางๆ ว่า เป็นนโยบายที่ให้ความสำคัญ
กับคนส่วนใหญ่ของประเทศ ซึ่งก็หมายถึงคนจนและชนชั้นกลางระดับล่างในประเทศกำลังพัฒนา

การตัดสินว่านโยบายประชานิยมนโยบายใด “ดี” หรือ “ไม่ดี” จึงต้องพิจารณาหลายปัจจัยประกอบกัน เช่น


นโยบายนี้พุ่งเป้าไปที่คนจนจริงหรือไม่ ประโยชน์ตกถึงมือกลุ่มเป้าหมายจริงหรือไม่เพียงใด บิดเบือนกลไก
ตลาดอย่างรุนแรงจนส่งผลเสียต่อความสามารถในการแข่งขันของประเทศในระยะยาวหรือไม่ รัฐใช้เงินมือเติบ
จนส่งผลเสียต่อสถานะการคลังอย่างรุนแรงหรือไม่ ฯลฯ

รูปแบบและความสำเร็จของนโยบายประชานิยม มักขึ้นอยู่กับหลายปัจจัย ตั้งแต่อุดมการณ์ทางการเมืองที่ผู้นำ


ยึดถือ (เสรีประชาธิปไตยหรือสังคมนิยม) ลัทธิความเชื่อทางเศรษฐกิจที่ผู้ดำเนินนโยบายสมาทาน (ชื่นชมลัทธิ
เสรีนิยมใหม่ หรือต่อต้านเสรีนิยมใหม่) ระดับความแข็งแกร่งของโครงสร้างเชิงสถาบัน (รัฐเก็บภาษีได้เต็มเม็ด
เต็มหน่วยหรือไม่ มีคอร์รัปชั่นระหว่างทางมากน้อยเพียงใด มีช่องส่งประโยชน์ถึงมือกลุ่มเป้าหมายหรือไม่) และ
ระดับทรัพยากร เช่น ประเทศที่มีรายได้จากการขายน้ำมันในช่วงที่ราคาพุ่งสูงเป็นประวัติการณ์ (เวเนซุเอลา
โบลิเวีย และเอกวาดอร์) ย่อมสามารถใช้เงินดำเนินนโยบายประชานิยมได้อย่างยั่งยืนกว่าประเทศที่ไม่มีบ่อ
น้ำมัน

อุดมการณ์หรือจุดยืนของนักเศรษฐศาสตร์ก็มีส่วนสำคัญต่อการมองนโยบายประชานิยมเช่นกัน นัก
เศรษฐศาสตร์ยิ่ง “ขวา” บนไม้บรรทัดอุดมการณ์เท่าไร ยิ่งมีแนวโน้มจะตีขลุมเหมารวมนโยบายประชานิยมว่า
“เลว” ถ้าถึงขั้น “ขวาตกขอบ” ก็จะก่นด่าแม้แต่นโยบายสวัสดิการว่า เป็นประชานิยม (ในความหมายแง่ลบ
คือ ไม่คุ้มค่า บ่อนทำลายเศรษฐกิจและสังคมในระยะยาว)

เพราะนักเศรษฐศาสตร์ขวาตกขอบบูชากลไกตลาดว่าศักดิ์สิทธิ์และทำงานได้ดีกว่ารัฐในทุกกรณี เชื่อมั่นว่า
ประโยชน์ทางเศรษฐกิจจะ “ไหลริน” มาสู่คนส่วนใหญ่โดยอัตโนมัติ นโยบายอะไรก็ตามที่ส่งเสริมให้รัฐ
แทรกแซงกลไกตลาดจึงต้อง “แย่” แน่ๆ

ในทางตรงกันข้าม นักเศรษฐศาสตร์ยิ่ง “ซ้าย” ยิ่งมีแนวโน้มจะชอบนโยบายประชานิยม ถ้าถึงขั้น “ซ้ายตก


ขอบ” ก็จะชื่นชมเชิดชูนโยบายประชานิยมว่า “ดี” ไร้ที่ติ โดยไม่ใส่ใจว่ามันตรงจุดหรือไม่ ก่อผลข้างเคียงหรือ
ผลเสียมากกว่าผลดีหรือไม่

อย่างไรก็ตาม ไม่ว่าจะอยู่ค่ายไหน นักเศรษฐศาสตร์ส่วนใหญ่ถ้าไม่ใช่พวก “ตกขอบ” เห็นตรงกันได้ไม่ยากว่า


นโยบายประชานิยมที่รัฐควรทำ คือ นโยบายที่มุ่งสถาปนา “สวัสดิการระยะยาว” เพื่อลดความเหลื่อมล้ำ
มากกว่า “นโยบายเรียกคะแนนนิยมระยะสั้น”

ตัวอย่างนโยบายประชานิยมที่ประสบความสำเร็จจนเป็นกรณีศึกษาไปทั่วโลก คือ Bolsa Família (Family


Allowance) โครงการสวัสดิการสังคมของรัฐบาลบราซิล เริ่มต้นปี 2003

โครงการนี้มอบเงินอุดหนุนโดยตรงให้กับครอบครัวยากจน (มีรายได้ต่ากว่าเดือนละ 140 เรียล) เดือนละ 22


เรียล (ประมาณ 200 บาท) ต่อบุตรที่ไปโรงเรียนและฉีดวัคซีนแล้ว สูงสุดไม่เกินสามคน ครอบครัวที่ “ยากจน
มาก” (มีรายได้ไม่ถึง 70 เรียลต่อเดือน) จะได้เงินอุดหนุนเพิ่มอีกเดือนละ 68 เรียล (ประมาณ 615 บาท) อย่าง
ไม่มีเงื่อนไข

โครงการนี้เป็นนโยบายหลักในชุดนโยบายสังคมของประธานาธิบดี Luiz Inácio Lula da Silva (“ลูลา”) และ


ส่งผลสำคัญต่อชัยชนะสมัยที่สองของเขา ในการเลือกตั้งปี 2006

ปัจจุบันมีชาวบราซิลได้รับเงินจากโครงการนี้ 14 ล้านครัวเรือน หรือ 50 ล้านคน มากกว่าหนึ่งในสี่ของประเทศ


เป็นโครงการลักษณะนี้ที่ใหญ่ที่สุดในโลก สิบปีระหว่าง 2003 ถึง 2013 โครงการนี้ช่วยลดสัดส่วนชาวบราซิลที่
“ยากจนมาก” ลงครึ่งหนึ่ง จากร้อยละ 9.7 เหลือร้อยละ 4.3 ของประชากร ระดับความเหลื่อมล้ำ วัดโดยค่า
สัมประสิทธิ์จินี่ ลดลงกว่าร้อยละ 15

ผลลัพธ์ทั้งหมดนี้เกิดขึ้นด้วยการใช้เงินเพียงร้อยละ 0.6 ของจีดีพีบราซิล และราวร้อยละ 2.5 ของงบประมาณ


ภาครัฐเท่านั้น

ทั้งหมดที่กล่าวมาข้างต้นจะเห็นว่า เราพูดไม่ได้ว่านโยบายไหน “ไม่ดี” หรือ “ดี” ทันทีที่เราตัดสินว่ามันเข้าข่าย


“ประชานิยม” (พุ่งเป้าไปที่คนส่วนใหญ่) แต่ต้องพิจารณาเป็นกรณีๆ ไป

ก่อให้เกิดคำถามต่อไปว่า วันนี้สังคมไทยมีบทเรียนร่วมกันแล้วหรือยัง ถีงลักษณะของประชานิยมที่ “ดี” และ


“ไม่ดี”

“ประชารัฐ” ของรัฐบาลปัจจุบันน่าจะมีแนวโน้มเป็นเช่นไร แตกต่างจาก “ประชานิยม” จริงหรือไม่

ในยุคแบ่งขั้วแยกข้างมากขึ้นเรื่อยๆ อย่างปัจจุบัน อคติเกี่ยวกับประชานิยมเลยเถิดไปเป็นเส้นแบ่งระหว่างค่าย


ด้วย คนจำนวนมากที่ชื่นชอบพรรคไทยรักไทย/พลังประชาชน/เพื่อไทย เจ้าตำรับนโยบายประชานิยมในไทย
ยืนกระต่ายขาเดียวเหมือนพวก “ซ้ายตกขอบ” ว่า ขึ้นชื่อ “ประชานิยม” แล้วย่อม “ดี” ทั้งนั้น ส่วนใครก็
ตามที่เกลียดพรรคนี้ (รวมถึงหลายคนที่พานเกลียดนักการเมืองทุกพรรค หันมาเชียร์เผด็จการทหารแทน) ก็จะ
ก่นด่าเหมือนพวก “ขวาตกขอบ” ว่า ขึ้นชื่อว่าประชานิยมแล้วย่อม “ไม่ดี” ทั้งนั้น

เพียงแต่ให้เหตุผลต่างไปว่า ที่เลวไม่ใช่เพราะบิดเบือนกลไกตลาด แต่เพราะเป็น “นโยบายหาเสียง” ลดแลก


แจกแถมระยะสั้นที่ทำให้ประชาชนเสียนิสัย เสพติดเงิน มักง่าย ฯลฯ

ในเมื่อประชานิยมเป็นนโยบายที่ต้องใช้เงินงบประมาณ ลองมาดูความเห็นของนักเศรษฐศาสตร์ไทยกันบ้าง
เพราะพวก “ขวาตกขอบ” กับ “ซ้ายตกขอบ” (ผู้เขียนหวังว่า)น่าจะเป็นส่วนน้อยอยู่

ในปี 2555 ศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ (กรุงเทพโพลล์) เปิดเผยผลสำรวจความเห็นนักเศรษฐศาสตร์ทั่ว


ประเทศ 70 คน 29 องค์กร เรื่องนโยบายประชานิยมของรัฐบาลยิ่งลักษณ์ 1 (รายละเอียด
http://bangkokpoll.bu.ac.th/poll/result/poll593.php) ได้ข้อสรุปดังนี้
มีโครงการประชานิยมที่นักเศรษฐศาสตร์ส่วนใหญ่บอกว่า “ไม่ด”ี จำนวน 7 โครงการ โดยโครงการที่นัก
เศรษฐศาสตร์ระบุมากที่สุด 3 ลำดับแรก ได้แก่ โครงการรับจำนำข้าวเปลือก (ร้อยละ 65.7) โครงการแจกแท็บ
เลต พีซี (ร้อยละ 65.7) และโครงการรถยนต์คันแรก (ร้อยละ 58.6)

มีโครงการประชานิยมที่ “ดีแต่ใช้วิธีดำเนินโครงการที่ไม่ถูกต้อง” จำนวน 5 โครงการ โดยโครงการที่นัก


เศรษฐศาสตร์ระบุมากที่สุด 3 ลำดับแรก ได้แก่ โครงการการขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ 300 บาทต่อวัน (ร้อยละ 50.0)
โครงการจบปริญญาตรี เงินเดือนเริ่มต้น 15,000 บาท (ร้อยละ 45.7) และโครงการพักหนี้ครัวเรือนของ
เกษตรกรรายย่อยและผู้มีรายได้น้อย (ร้อยละ 40.0)
มีโครงการประชานิยมที่ “ดี” จำนวน 4 โครงการ ได้แก่ โครงการเบี้ยยังชีพคนชราแบบขั้นบันได (ร้อยละ
80.0) โครงการอินเทอร์เน็ตฟรีในที่สาธารณะ (ร้อยละ 78.6) โครงการ 30 บาทรักษาทุกโรคได้จริง (ร้อยละ
71.4) และโครงการบ้านหลังแรก (ร้อยละ 47.1)

บางโครงการผลออกมาก้ำกึ่ง เช่น โครงการเพิ่มเงินทุนกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง


อีกแห่งละ 1 ล้านบาท นักเศรษฐศาสตร์ร้อยละ 40 มองว่า “ไม่ดี” อีกร้อยละ 40 มองว่า “ดีแต่วิธีไม่ถูกต้อง”

ผลสำรวจความคิดเห็นข้างต้นชี้ชัดว่า นักเศรษฐศาสตร์ไม่ได้เห็นตรงกันทุกคน และไม่มีโครงการใดที่นัก


เศรษฐศาสตร์ร้อยละ 100 เห็นว่า “ดี” หรือร้อยละ 100 เห็นว่า “ไม่ดี” และนโยบายประชานิยมส่วนใหญ่ก็
ไม่ได้แย่ทุกมิติ หรือดีทุกมิติ บางนโยบายหลักการอาจดี แต่วิธีการไม่ดี บางนโยบายใช้เงินมหาศาลแต่รัฐไม่หา
เงินเพิ่ม พอกหนี้สาธารณะจนอาจถึงจุดอันตรายในอนาคต ฯลฯ

(ควรหมายเหตุว่า ถ้าถามนักเศรษฐศาสตร์ในวันนี้ หลายคนอาจเปลี่ยนความคิดเพราะมีข้อมูลมากขึ้นแล้ว


โดยเฉพาะข้อมูลด้านผลกระทบจากโครงการต่างๆ)

มิติหลักๆ ที่นักเศรษฐศาสตร์มองในการประเมินนโยบายประชานิยมได้แก่

1. เป้าหมาย/หลักการ: นโยบายประชานิยมควรเน้นการช่วยเหลือผู้ด้อยโอกาส คนจน หรือประชาชนส่วน


ใหญ่ เน้นสวัสดิการพื้นฐานเพื่อสร้าง “โอกาส” ไม่ใช่เอาใจชนชั้นกลางหรือบริษัทใหญ่ด้วยการลดแลกแจกแถม
ในสิ่งที่คนมีกำลังซื้อ และตลาดทำงานได้ดีพอควร

มองในแง่นี้ นโยบายรถยนต์คันแรกจึงมีปัญหาตั้งแต่ชั้นหลักการ เพราะยากที่จะอธิบายว่ารถยนต์คือสวัสดิการ


พื้นฐานอย่างไร ยังไม่ต้องไปพูดถึงว่าตลาดรถยนต์มีปัญหาตรงไหน

ต่างจากนโยบาย 30 บาทรักษาทุกโรค ซึ่งถูกต้องทั้งหลักการและกลุ่มเป้าหมาย – ให้ประชาชนทั้งประเทศได้


เข้าถึงบริการสุขภาพ ซึ่งสังคมสมัยใหม่มองว่าเป็นสวัสดิการขั้นพื้นฐาน

บางโครงการอย่างเช่นจำนำข้าวรอบหลังๆ น่ากังขาในหลักการ ถึงแม้จะจับกลุ่มเป้าหมายที่ถูกต้องคือเกษตรกร


เพราะการรับจำนำ “ทุกเมล็ด” ทำให้รัฐบาลกลายเป็นผู้รับซื้อข้าวแต่เพียงผู้เดียวโดยปริยาย นักเศรษฐศาสตร์
จำนวนมากจึงเตือนตั้งแต่ต้นว่า นอกจากจะต้องใช้เงินมหาศาลแล้ว รัฐบาลยังจะขาดทุนมโหฬารอย่างแน่นอน
เพราะกำหนดราคาขายในตลาดโลกไม่ได้ (ไทยไม่ได้ขายข้าวอยู่เจ้าเดียว และข้าวเก็บไว้นานไม่ได้ ไม่เหมือนกับ
น้ำมัน) ยังไม่นับว่าสร้างแรงจูงใจผิดๆ ให้เกษตรกรไม่สนใจคุณภาพข้าว
2. วิธีการ: ถ้าเป้าหมายผ่าน หลักการผ่าน ก็ต้องมาดู “วิธี” ดำเนินโครงการว่า ผู้ได้รับประโยชน์คือ
กลุ่มเป้าหมายจริงหรือไม่ กลุ่มเป้าหมายได้ประโยชน์เต็มเม็ดเต็มหน่วยหรือไม่ การดำเนินโครงการมี
ประสิทธิภาพและประสิทธิผลหรือไม่ เปิดช่องให้เกิดการรั่วไหลหรือทุจริตเพียงใด

ยกตัวอย่างเช่น นโยบายพักชำระหนี้ 3 ปี ฟังเผินๆ อาจดูดี เพราะมุ่งช่วยเหลือเกษตรกรที่มีหนี้สินล้นพ้นตัว แต่


ถ้าหากธนาคารเพียงแต่ “เลื่อน” กำหนดการชำระหนี้ ไม่ “หยุด” คิดดอกเบี้ยระหว่างนั้น ยังคงคิดดอกเบี้ยทบ
ต้นทบดอกไปเรื่อยๆ สุดท้ายเกษตรกรก็จะมีภาระดอกเบี้ยจ่ายมากขึ้นมากเมื่อโครงการหมดอายุลง ยิ่งถ้า
ความสามารถในการหารายได้(มาชำระหนี้)ไม่เพิ่ม สุดท้ายรัฐก็ต้องออกนโยบายพักชำระหนี้รอบใหม่ไปเรื่อยๆ
ไม่รู้จบ

3. ผลลัพธ์/ผลกระทบ: ประเด็นนี้สำคัญ แต่ไม่ใช่สิ่งที่ประเมินได้ง่าย เพราะนโยบายทุกนโยบายล้วนแต่มีความ


ไม่แน่นอน และมีปัจจัยที่เกี่ยวข้องมากมาย นักเศรษฐศาสตร์อาจใช้สมมุติฐานคนละชุด แน่นอนว่าเมื่อเวลาผ่าน
ไป นักเศรษฐศาสตร์ก็ย่อมได้ข้อมูลมากขึ้นจากโลกจริง

4. แหล่งทุน: ถ้ารัฐบาลไม่เก็บภาษีเพิ่ม หนี้สาธารณะก็ต้องเพิ่ม นักเศรษฐศาสตร์จึงกังวลกับนโยบายประชา


นิยมที่ต้องใช้เงินระดับหลายแสนล้านติดต่อกันทุกปีโดยที่รัฐไม่สนใจจะหาเงิน

“ความเสียหาย” จากนโยบายประชานิยมก็มีหลายแบบ:

1. ความเสียหายที่เกิดจากการ “ทุจริต” – แบบนี้เห็นตรงกันได้ว่าคนทำควรติดคุก (หมายถึงคนที่มีหลักฐานมัด


ว่าทุจริต ไม่ใช่ทุกคนในรัฐบาล)

2. ความเสียหายที่เกิดจากการ “ประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรง” กล่าวคือ นักเศรษฐศาสตร์จำนวนมากออกมา


เตือนแล้วว่านโยบายนี้เสียหายมหาศาลแน่ๆ แต่รัฐบาลไม่ฟัง – แบบนี้อาจเห็นตรงกันได้ว่าเราควรวางกลไก
ป้องกัน และรัฐบาลเองก็ควรแสดงความรับผิดชอบทางการเมืองถ้าเสียหายในระดับมโหฬารเป็นแสนๆ ล้าน
เช่น ปลดรัฐมนตรีเจ้าของนโยบาย ส่วนพรรคคู่แข่งก็มีสิทธิไปหาเสียงเรียกคะแนนจากประชาชน

3. ความเสียหายที่จริงๆ แล้วไม่ใช่ความเสียหาย เป็นเพียงเงินงบประมาณที่จำเป็นต้องใช้ในการดำเนินโครงการ


และผลขาดทุนหรือขาดดุลที่ “โชคร้าย” คือเกิดจากปัจจัยภายนอกที่รัฐควบคุมไม่ได้ เช่น เกิดเหตุก่อการร้าย
ฯลฯ – แบบนี้รัฐบาลไม่ผิด แต่ต้องรับความเสี่ยงทางการเมืองไป

พวกขวาตกขอบและเกลียดนักการเมืองส่งเสียงดังขึ้นเรื่อยๆ ว่า ศาลควรลงโทษรัฐบาลสำหรับความเสียหาย


แบบที่ 2 และ 3 ด้วย
คำถามคือ เราจะวางกลไกป้องกันความเสียหายแบบที่ 2 ได้อย่างไร ในทางที่ไม่จำกัดหรือริบสิทธิเสรีภาพของ
พรรคการเมืองในการออกแบบและดำเนินนโยบายประชานิยม ซึ่งปฏิเสธไม่ได้ว่าหลายนโยบายสะท้อนความ
ต้องการของประชาชนจำนวนมาก?

เรื่องทุจริตละไว้ในฐานที่เข้าใจตรงกันว่า ใครทุจริตก็ต้องรับผิด ถ้ามีมูลว่าหัวหน้ารัฐบาลหรือคนอื่นใน


คณะรัฐมนตรีมีส่วนรู้เห็นด้วย บุคคลผู้นั้นก็ต้องรับผิดตามกฎหมาย

แต่ไม่ใช่ว่าควรต้องติดคุกเพียงเพราะนโยบายประชานิยมก่อให้เกิด “ความเสียหาย” โดยเฉพาะถ้าตีความแบบ


คับแคบแนวขวาตกขอบว่า ตราบใดที่ใช้เงินงบประมาณโดยที่รัฐบาลไม่มีแผนหาเงินมาชดเชยเต็มจำนวน ก็
นับเป็น “ความเสียหาย” แล้ว

ถ้าใช้นิยามคับแคบแบบนี้ รัฐบาลก็จะทำประชานิยมไม่ได้เลย เพราะขึ้นชื่อว่าประชานิยมแล้วย่อมใช้เงิน


งบประมาณทั้งนั้น

แล้วเรามีกลไกอะไรบ้าง (นอกเหนือจากการคาดหวังให้พรรคฝ่ายค้านทำหน้าที่อย่างเข้มข้นและตรงไปตรงมา)
ที่ไม่มองแคบ ไม่ลิดรอนสิทธิของพรรคการเมืองหรือดูแคลนความต้องการของประชาชน แต่จะช่วยป้องกัน
ความเสียหายขั้นมโหฬารจากนโยบายที่แย่จริงๆ ได้?

ผู้เขียนเห็นด้วยกับกลไกสองประเภทหลักที่นักเศรษฐศาสตร์หลายท่านทยอยเสนอในรอบ 4-5 ปีที่ผ่านมา เรียก


รวมๆ ได้ว่า “การปรับปรุงกฎเกณฑ์เกี่ยวกับหนี้สาธารณะ” และ “การจัดตั้งสถาบันวิเคราะห์งบประมาณ
ประจำรัฐสภา”

เรื่องแรกคือ “การปรับปรุงกฏเกณฑ์เกี่ยวกับหนี้สาธารณะ” นั้น ที่จริงเรามีกฏเกณฑ์ต่างๆ อยู่แล้วจำนวนหนึ่ง


เช่น พ.ร.บ. วิธีการงบประมาณ พ.ศ. 2502 กำหนดว่าในแต่ละปีงบประมาณ รัฐจะกู้ได้ไม่เกิน 20% ของ
งบประมาณรายจ่ายประจำปี และไม่เกิน 80% ของงบรายจ่ายชำระคืนต้นเงินกู้ (พูดง่ายๆ คือ กู้ใหม่มาต่ออายุ
หนี้เก่าได้)

อย่างไรก็ดี กฏเกณฑ์เหล่านี้ยังมีขีดจำกัดหรือช่องโหว่หลายช่อง เช่น ไม่กำหนดเพดานหนี้ที่รัฐจะค้ำประกัน


สำหรับรัฐวิสาหกิจเกี่ยวกับการขนส่งหรือสาธารณูปโภค และรัฐบาลก็สามารถอ้าง “กรณีฉุกเฉินที่มีความ
จำเป็นรีบด่วนอันมิอาจหลีกเลี่ยงได้” (ตามรัฐธรรมนูญ 2550) ออกพระราชกำหนด (พรก.) มาเปิดโอกาสให้กู้
เงินเพิ่มเติม ในทางที่อาจขัดกับเพดาน 20% ในพ.ร.บ. วิธีการงบประมาณ เช่น พรก. กู้เงินเพื่อฟื้นฟูและ
เสริมสร้างความมั่นคงทางเศรษฐกิจ พ.ศ. 2552 (400,000 ล้านบาท) หรือ พรก. วางระบบน้ำ พ.ศ. 2555
(350,000 ล้านบาท)

วิธีปรับปรุงกฎเกณฑ์และหลักเกณฑ์ที่ควรทำ มีอาทิ 1) บัญญัติเกณฑ์ความยั่งยืนทางการคลัง โดยอาจนำ


มาตรฐานสากลมาใช้ เช่น หลักเกณฑ์ตามสนธิสัญญามาสตริท (Maastrict Treaty) ของสหภาพยุโรป กำหนด
ว่าส่วนขาดดุลทั้งหมดของรัฐในดุลเงินสดจะต้องไม่เกิน 3% ของผลผลิตมวลรวมประชาชาติ (จีดีพี) และ
อัตราส่วนหนี้สินของรัฐบาลกลางกับรัฐบาลท้องถิ่นรวมกันต้องไม่เกิน 60% ของจีดีพี ถ้าทำไม่ได้ก็ต้องมี
แนวโน้มที่ชัดเจนว่ากำลังลดลงสู่เป้าหมายนี้ 2) กำหนดให้กระทรวงการคลังประเมินผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นต่อ
หนี้สาธารณะจากนโยบายประชานิยมต่างๆ และประกาศแนวโน้มหนี้สาธารณะรวมทั้งภาระผูกพันดังกล่าวเป็น
ข้อมูลสาธารณะทุกไตรมาส และ 3) วางหลักเกณฑ์ที่ลำดับความสำคัญของการใช้เงินกู้อย่างชัดเจน เช่น ให้
ความสำคัญกับโครงการลงทุนที่มีประสิทธิภาพสูง ความเสี่ยงต่ำ มากกว่าโครงการประชานิยมระยะสั้น และ
กระจายช่วงเวลาการก่อหนี้อย่างเหมาะสม

ส่วนเรื่องที่สองคือ “การจัดตั้งสถาบันวิเคราะห์งบประมาณประจำรัฐสภา” นั้น ผู้เขียนเห็นด้วยกับข้อเสนอของ


ดร. สมชัย จิตสุชน และนักวิชาการอีกหลายท่านที่ว่า ถึงเวลาแล้วที่ไทยจะมีสถาบันอิสระเพื่อวิเคราะห์
งบประมาณ วิเคราะห์ผลกระทบจากนโยบายประชานิยมสำคัญๆ และเผยแพร่ผลการวิเคราะห์ต่อสาธารณะ
ท่านที่สนใจสามารถติดตามความคืบหน้าได้จากเว็บไซต์ “โครงการเพื่อจัดตั้งสำนักงบประมาณประจำรัฐสภา”
(http://thaipbo.org/)

ผู้เขียนสรุปหลักการและเหตุผลจากเว็บดังกล่าวได้ดังนี้ –

หลักการสำคัญประการหนึ่งของระบอบประชาธิปไตย คือ ฝ่ายนิติบัญญัติสามารถตรวจสอบการทำงานของฝ่าย


บริหารได้ แต่ในทางปฏิบัติมีข้อจำกัดที่สำคัญ กล่าวคือ สมาชิกรัฐสภาไม่มีหน่วยงานสนับสนุนด้านข้อมูลและ
การวิเคราะห์ทางการคลังและงบประมาณ ขณะที่ฝ่ายบริหารมีหน่วยงานสนับสนุนมากมาย เช่น สำนัก
งบประมาณ กระทรวงการคลัง เป็นต้น

การจัดตั้งสถาบันวิเคราะห์งบประมาณประจำรัฐสภาหรือ Parliamentary Budget Office (PBO) เป็น


แนวทางที่ประเทศต่างๆ ทั่วโลกให้ความสนใจมากขึ้นเรื่อยๆ เพื่อแก้ปัญหาความไม่เท่าเทียมกันในทางปฏิบัติ
ของอำนาจทั้งสองส่วนดังกล่าว โดยหน้าที่หลักของ PBO คือ การนำข้อมูลระดับมหภาคหรือของนโยบายที่
สำคัญและมีผลกระทบทางการคลังสูงมาวิเคราะห์และเปิดเผยผลการวิเคราะห์ต่อรัฐสภาและสาธารณะ ซึ่งก็
รวมถึงนโยบายประชานิยมด้วย
ประสบการณ์จากต่างประเทศชี้ว่า PBO จะต้องมีความเป็นอิสระอย่างรับผิดชอบ (independence with
accountability) มีความเป็นกลางทางการเมือง (ไม่ฝักใฝ่พรรคหรือกลุ่มการเมืองใด เน้นการวิเคราะห์
ผลกระทบตามหลักวิชาการ ไม่ใช่ข้อเสนอหรือข้อวิพากษ์) มีความน่าเชื่อถือและลุ่มลึกทางวิชาการ และมีความ
ยั่งยืนขององค์กร

สมาชิกรัฐสภาทั้งที่สังกัดพรรครัฐบาลหรือไม่สังกัดพรรครัฐบาลล้วนสามารถใช้ประโยชน์จากบทวิเคราะห์ของ
PBO ช่วยให้ทำหน้าที่ในรัฐสภาได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น นอกจากนี้ PBO ที่ประสบความสำเร็จทั่วโลกยัง
มีบทบาทสำคัญในการให้บริการภาคประชาชน เพราะภาคประชาชนสามารถใช้บทวิเคราะห์ที่เป็นกลาง
ทางการเมืองของ PBO ในการติดตามและตรวจสอบการทำงานของฝ่ายบริหาร

นอกจากจะติดตามโครงการ PBO ผ่านเว็บไซต์ข้างต้นแล้ว ผู้สนใจสามารถดาวน์โหลด ร่าง พ.ร.บ. PBO ได้จาก


http://thaipublica.org/wp-content/uploads/2015/11/ร่าง-พ.ร.บ.-สถาบันวิเคราะห์งบประมาณประจำ
รัฐสภา-พ.ศ.-.....pdf

มีวิธีอื่นๆ อีกมากมายที่จะช่วยตีกรอบล้อมคอกนโยบายประชานิยม เช่น กำหนดให้การจ่ายเงินแผ่นดินทุกกรณี


ต้องทำตามกฎหมายว่าด้วยงบประมาณรายจ่าย และกฎหมายว่าด้วยวิธีการงบประมาณ เพื่อปิดช่องการใช้เงิน
นอกงบประมาณ ซึ่งที่ผ่านมาหลายกรณีบานปลายเพราะทำให้ฝ่ายนิติบัญญัติ ซึ่งเป็นตัวแทนของประชาชน ไม่
สามารถตรวจสอบรัฐบาลได้อย่างเต็มที่

นอกจากนี้ การใช้เงินของรัฐวิสาหกิจซึ่งเป็นอีกช่องทางที่รัฐบาลในอดีตแทรกแซงอย่างไม่บันยะบันยัง และสั่ง


ให้ทำนโยบายประชานิยมชนิดแย่ เราก็สามารถปรับปรุงปิดช่องได้ด้วยการแก้กฎหมายรัฐวิสาหกิจ เขียนกรอบ
กติกาการใช้เงินให้ชัดเจน เช่น กำหนดว่ารัฐบาลจะสั่งให้ทำอะไรๆ นอกเหนือจากพันธกิจหลักไม่ได้ และทุกครั้ง
ต้องมีมติคณะรัฐมนตรีรองรับว่าจะชดใช้เงินให้กับรัฐวิสาหกิจเต็มจำนวน

แนวทางเหล่านี้ไม่จำกัดความคิดสร้างสรรค์ของรัฐบาล ไม่ลิดรอนสิทธิของนักการเมืองที่ได้อำนาจรัฐในการ
ดำเนินนโยบายประชานิยมเพื่อตอบสนองความต้องการของประชาชน

เพียงแต่วาง “กติกาการใช้เงิน” ที่ชัดเจน ปิดช่องที่จะเกิดความเสียหาย “ปลายเปิด” จากนโยบายประชานิยม


ชนิดแย่ ซึ่งที่ผ่านมาในอดีตรัฐบาลมักจะไม่บอกต้นทุนที่แท้จริงในการดำเนินงาน หรือไม่ก็อ้างอยู่ร่ำไปว่า “ยัง
ปิดบัญชีไม่เสร็จ” โฆษณาแต่ประโยชน์ที่ประชาชนจะได้รับเท่านั้น

วันนี้เราเริ่มเห็นแนวโน้มในการล้อมกรอบความเสียหาจากนโยบายประชานิยมแย่ๆ ตามแนวทางข้างต้น เช่น


ร่างแก้กฎหมายรัฐวิสาหกิจ และร่างกฎหมายสถาบันวิเคราะห์งบประมาณประจำรัฐสภา (ดาวน์โหลดร่างล่าสุด
ได้จาก http://thaipublica.org/wp-content/uploads/2015/11/ร่าง-พ.ร.บ.-สถาบันวิเคราะห์งบประมาณ
ประจำรัฐสภา-พ.ศ.-.....pdf) ซึ่งกำลังรอจ่อคิวเข้าสภานิติบัญญัติแห่งชาติ

คำถามต่อมาคือ แล้วร่างรัฐธรรมนูญฉบับ มีชัย ฤชุพันธุ์ ที่เรากำลังจะต้องออกไปโหวตว่าจะรับหรือไม่รับใน


เดือนกรกฎาคม 2559 มีความ “พอดี” ในแง่ของการล้อมกรอบความเสียหาย ขณะเดียวกันก็ไม่ “ห้าม” หรือ
“มัดมือชก” รัฐบาลในการดำเนินโยบายประชานิยมใดๆ หรือนักการเมืองในการหาเสียงด้วยนโยบายประชา
นิยม หรือไม่เพียงใด?

ผู้เขียนเห็นว่า ร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้ “ไม่พอดี” และน่ากังวลอย่างยิ่ง เพราะดูเหมือนจะสะท้อนมุมมองแบบ


“ขวาตกขอบ” ว่า ขึ้นชื่อว่าประชานิยมแล้วย่อม “ไม่ดี” ทั้งนั้น เพราะเอาเงินไปอุ้มหรือไปแจกคน ทั้งที่การ
แจกเงินไม่ได้แย่ในทุกกรณี ถ้าทำดีๆ ก็สร้างประโยชน์มากกว่าต้นทุนหลายเท่า ดังตัวอย่างความสำเร็จของ
Bolsa Família โครงการสวัสดิการสังคมของรัฐบาลบราซิล และโครงการ 30 บาทรักษาทุกโรคของไทย ซึ่งโด่ง
ดังและกลายเป็นกรณีศึกษาไปทั่วโลก ถึงแม้จะมีข้อบกพร่องในขั้นการปฏิบัติที่ต้องปรับปรุงต่อยอดตลอดเวลาก็
ตาม

ตัวอย่างบางมาตราในร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้ที่เกี่ยวข้องกับนโยบายประชานิยม มีอาทิ

มาตรา 58 รัฐต้องรักษาวินัยการเงินการคลังอย่างเคร่งครัดเพื่อให้ฐานะทางการเงินการคลังของรัฐมีเสถียรภาพ
และมั่นคงอย่างยั่งยืนตามกฎหมายว่าด้วยวินัยการเงินการคลังของรัฐ

มาตรา 236(5) คณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดินมีหน้าที่และอำนาจสั่งลงโทษทางปกครองกรณีมีการกระทําผิด


กฎหมายว่าด้วยวินัยการเงินการคลังของรัฐ

มาตรา 241 เพื่อประโยชน์ในการระงับหรือยับยั้งความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นแก่การเงินการคลังของรัฐ ให้ผู้ว่า


การตรวจเงินแผ่นดินเสนอผลการตรวจสอบการกระทําที่ไม่เป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยวินัยการเงินการคลังของ
รัฐและอาจก่อให้เกิดความเสียหายแก่การเงินการคลังของรัฐอย่างร้ายแรง ต่อคณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน
เพื่อพิจารณา

ในกรณีที่คณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดินเห็นพ้องด้วยกับผลการตรวจสอบดังกล่าว ให้ปรึกษาหารือร่วมกับ
คณะกรรมการการเลือกตั้งและคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ หากที่ประชุมร่วมเห็น
พ้องกับผลการตรวจสอบนั้น ให้รวมกันมีหนังสือแจ้งสภาผู้แทนราษฎร วุฒิสภา และคณะรัฐมนตรีเพื่อทราบ
โดยไม่ชักช้า และให้เปิดเผยผลการตรวจสอบดังกล่าวต่อประชาชนเพื่อทราบด้วย
มาตราทั้งหมดนี้ฟังเผินๆ อาจดูดี แต่อย่างที่สุภาษิตฝรั่งว่า “ซาตานอยู่ในรายละเอียด”

“กฎหมายว่าด้วยวินัยการเงินการคลังของรัฐ” และ “พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการตรวจเงิน


แผ่นดิน” หน้าตาเป็นอย่างไรเรายังไม่เห็น และไม่น่าจะได้เห็น เพราะบทเฉพาะกาลกำหนดให้คณะกรรมการ
ร่างรัฐธรรมนูญชุดเดียวกันนี้ยกร่าง หลังจากที่ร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้ผ่านประชามติและมีการเลือกตั้ง

นอกจากนี้ มาตรา 139 ยังระบุว่า ในการพิจารณาร่าง พ.ร.บ. งบประมาณ ของสภาผู้แทนราษฎร วุฒิสภา หรือ
ของคณะกรรมาธิการ “การเสนอ การแปรญัตติ หรือการกระทำด้วยประการใดๆ ที่มีผลให้สมาชิกสภาผู้แทน
ราษฎร สมาชิกวุฒิสภา หรือกรรมาธิการมีส่วนไม่ว่าโดยทางตรงหรือทางอ้อมในการใช้งบประมาณรายจ่าย จะ
กระทำมิได้” โดยให้ศาลรัฐธรรมนูญมีอำนาจรับเรื่องจาก ส.ส. หรือ ส.ว. หนึ่งในสิบ มาวินจิ ฉัยว่ามีการกระทำที่
ฝ่าฝืนข้อนี้หรือไม่ และกรณีที่ “คณะรัฐมนตรีเป็นผู้กระทำการหรืออนุมัติให้กระทำการ หรือรู้ว่ามีการกระทำ
ดังกล่าวแล้วแต่มิได้สั่งยับยั้ง ให้คณะรัฐมนตรีพ้นจากตำแหน่งทั้งคณะนับแต่วันที่ศาลรัฐธรรมนูญมีคำวินิจฉัย”

มาตรานี้ผู้เขียนเชื่อมั่นว่าใครอ่านก็ต้องงงมาก เพราะห้ามไม่ให้ ส.ส. ส.ว. และ กมธ. “มีส่วนไม่ว่าทางตรงหรือ


ทางอ้อมในการใช้งบประมาณ” ทั้งที่รัฐมนตรีทั้งคณะย่อมเป็น ส.ส. โดยตำแหน่ง การเขียนแบบนี้แปลว่า
รัฐมนตรีจะไม่สามารถเสนอคำขอเพิ่มงบประมาณให้กับหน่วยงานต่างๆ ได้เลย ทั้งที่เป็นอำนาจของรัฐบาลหรือ
ฝ่ายบริหาร

แถมยังให้ศาลรัฐธรรมนูญมีอำนาจถอดถอน ครม. ทั้งคณะ

ยังมี มาตรา 230(1) ให้คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) มีหน้าที่และอำนาจ


ไต่สวนกรณีที่มีผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง ตุลาการ หรือองค์กรอิสระ “ฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามมาตรฐานทาง
จริยธรรมอย่างร้ายแรง” และเมื่อไต่สวนแล้วพบว่ามีพฤติการณ์ตามนั้น มาตรา 231(1) ให้ ป.ป.ช. เสนอเรื่อง
ต่อศาลรัฐธรรมนูญเพื่อวินิจฉัย ยกเว้นกรณีผู้ถูกกล่าวหาเป็นตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ให้เสนอเรื่องต่อศาลฎีกา
แผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองเพื่อวินิจฉัย

เท่ากับว่า อำนาจถอดถอนผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง ซึ่งเคยเป็นของวุฒิสภาจากเลือกตั้งตามรัฐธรรมนูญ


2540 และของวุฒิสภาจากการสรรหา 51% ตามรัฐธรรมนูญ 2550 กลายเป็นอำนาจศาลรัฐธรรมนูญทั้งหมด
รวมทั้งอำนาจในการถอดถอนองค์กรอิสระด้วย

เท่ากับดึงศาลรัฐธรรมนูญลงมา “เล่นการเมือง” โดยตรง ทั้งที่ศาลไม่มีความยึดโยงกับประชาชน ไม่ใช่ผู้แต่งตั้ง


หรือเลือกตั้งคนที่จะถูกถอดถอน และมาตรฐานทางจริยธรรมก็ไม่ใช่อำนาจของศาลที่จะกำหนด
ยังไม่นบั ว่า มาตรา 257 และ 270 นิรโทษกรรมให้กับคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ทุกเรื่องทั้งในอดีต
ปัจจุบัน และอนาคต พูดง่ายๆ คือ คสช. จะมีอำนาจเบ็ดเสร็จเด็ดขาดจนกว่าจะมีรัฐบาลใหม่จากการเลือกตั้ง

ร่างรัฐธรรมนูญฉบับมีชัย จึง “ไม่พอดี” อย่างรุนแรงดังที่ยกตัวอย่างมาข้างต้น

ผู้เขียนเห็นว่า เนื้อหาทำนองนี้ ยังไม่นับการนิรโทษกรรมคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ทุกกรณีตั้งแต่


อดีต ปัจจุบัน ยันอนาคต ส่งสัญญาณชัดเจนว่าผู้ร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้ไม่ใว้ใจนักการเมือง ไม่ใว้ใจประชาชนใน
การตรวจสอบนักการเมือง และวาดภาพนโยบายประชานิยมว่าน่าจะต้อง “เลว” ค่อนข้างแน่ ฉะนั้นจึงหาวิธี
มัดมือชกรัฐบาลตั้งแต่ต้น

วิธีคิดที่ปรากฎในเนื้อหานี้ขัดแย้งกับข้อเท็จจริงที่ว่า นโยบายประชานิยมบางนโยบายอาจ “ดี” ก็ได้ เพราะ


สร้างประโยชน์มากกว่าเม็ดเงินงบประมาณที่ใช้หลายเท่า ตัวอย่างนโยบายในอดีตของรัฐบาลก่อนๆ ที่ผู้เขียน
เห็นว่า “ดี” ในแง่นี้ ถ้าดูภาพรวม ได้แก่ โครงการ 30 บาทรักษาทุกโรค โครงการกองทุนหมู่บ้าน โครงการเบี้ย
ยังชีพคนชรา และโครงการอินเทอร์เน็ตชุมชน เป็นต้น

อย่างไรก็ดี ในเมื่อวันนี้ฝ่ายผู้กุมอำนาจรัฐดูจะมีอคติกับคำว่า “ประชานิยม” จึงไม่น่าแปลกใจที่จะมีการโหม


ประโคม “ประชารัฐ” ว่าเป็นสิ่งที่ “ดีกว่า” ประชานิยม

วันที่ 20 กันยายน 2558 ยุทธศาสตร์ “ประชารัฐ” ปรากฎครั้งแรกต่อสาธารณะในเวที “สานพลังประชารัฐ


เพื่อเศรษฐกิจฐานราก” ที่ศูนย์ประชุมอิมแพ็ค เมืองทองธานี และมี ศ.นพ.ประเวศ วะสี กับ ดร.สมคิด จาตุศรี
พิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรี ขึ้นอธิบายเรื่องประชารัฐเพื่อเศรษฐกิจฐานราก

ใครที่คุ้นเคยกับความคิดของ “หมอประเวศ” หรืองานของมูลนิธิสัมมาชีพ ซึ่งหมอประเวศเป็นหัวเรี่ยวหัวแรง


ในการก่อตั้ง น่าจะมองออกว่า “ประชารัฐ” มิได้เป็นเพียงวาทกรรมสวยหรู แต่เป็นยุทธศาสตร์ที่หมอประเวศ
และมูลนิธิสัมมาชีพพยายามผลักดันมาแล้วนับสิบปี ตามอุดมการณ์ที่ว่า ชุมชน เอ็นจีโอ และธุรกิจ ควรมาจับ
มือกันสร้าง “สัมมาชีพเต็มพื้นที่”

แนวคิดนี้เดิมทีไม่มีรัฐเป็นพระเอก แต่เมื่อถูกหยิบมาใช้ภายใต้ระบอบเผด็จการทหาร ในภาวะที่เศรษฐกิจซบ


เซาอย่างต่อเนื่อง ประชารัฐแบบหมอประเวศจึงถูก ดร.สมคิด หยิบมาขัดสีฉวีวรรณ แปลงโฉมเป็นประชารัฐ
แบบใหม่ที่มี “รัฐ” กับ “เอกชน” เป็นพระเอก

ดังสะท้อนจากโครงสร้างของ “คณะกรรมการภาครัฐและเอกชนเพื่อขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศ” 12 ชุด


ซึ่งประกาศเมื่อปลายปี 2558 ทุกคณะมีรายชื่อหัวหน้าคณะทำงานภาคเอกชน ทำงานประกบกับรัฐมนตรี
แกนนำรัฐบาลยืนยันว่า คณะกรรมการเหล่านี้จะดำเนินการในลักษณะ “หุ้นส่วน” ระหว่างภาครัฐ เอกชน และ
ประชาชน หรือ “ประชารัฐ” เน้นการขับเคลื่อนผ่านการปฏิบัติจริง ครอบคลุม 4 เสาหลัก ได้แก่ 1. ธรรมาภิ
บาล 2. นวัตกรรมและผลิตภาพ 3. การพัฒนาทุนมนุษย์ และ 4. การมีส่วนร่วมในความมั่งคั่ง (inclusive
economy)

มูลนิธิชีววิถี (Biothai) ตั้งข้อสังเกตว่า ประชารัฐ “มีจำนวนกรรมการรวมทั้งสิ้นมากกว่า 200 คน โดยในจำนวน


นั้นมาจากภาคเอกชนถึง 73% และหากรวมกรรมการจากภาคเอกชนและภาครัฐแล้วจะมีสัดส่วนรวมกันถึง
95% โดยกลุ่มทุนยักษ์ใหญ่ของประเทศ เช่น เครือเจริญโภคภัณฑ์ เครือซิเมนต์ไทย ไทยเบฟ เข้าไปมีบทบาทใน
กรรมการชุดต่างๆ เกือบทุกชุด”

พูดง่ายๆ คือ แม้ว่าจะมีคำว่า “ประชา” ใน “ประชารัฐ” ตัวแทนภาคประชาชนกลับมีสัดส่วนเพียง 5% เท่านั้น


ซึ่งหลายคนก็ตั้งข้อสังเกตว่า เป็น “เอ็นจีโอชนชั้นนำ” คือมีเส้นสายกับภาครัฐ มิใช่ “เอ็นจีโอรากหญ้า” ที่
บางครั้งขัดแย้งกับกลุ่มทุนที่พวกเขามองว่าสร้างความเดือดร้อนให้กับชุมชน หรือแสวงประโยชน์เกินเลยจาก
ฐานทรัพยากร โดยที่รัฐก็เอาใจ

ณ วันที่เขียนอยู่นี้ เวลาผ่านไปยังไม่ถึง 3 เดือน นับจากวันที่กรรมการเข้ารับตำแหน่ง คงเร็วเกินไปที่จะ


ประเมินผลงาน หรือแม้แต่จะมองว่า “ประชารัฐ” แตกต่างจาก “ประชานิยม” หรือไม่อย่างไร ถ้าไม่นับวาท
กรรมต่างๆ ของรัฐบาลซึ่งโหมประโคมผ่านสื่อต่างๆ อยู่แล้ว

อย่างไรก็ดี ผู้เขียนคิดว่ามีคำถามสำคัญอย่างน้อยสามข้อที่ควรถาม และควรใช้เป็นกรอบตั้งต้นในการประเมิน


ประชารัฐในอนาคต

1. ประชาชนจะเชื่อมั่นได้อย่างไรว่า “ประชารัฐ” จะไม่กลายเป็นเวทีที่รัฐเอื้อประโยชน์โดยตรงให้กับเอกชน


บริษัทใดบริษัทหนึ่ง (ซึ่งก็น่าจะเป็นบริษัทที่เข้าไปมีตำแหน่งในคณะกรรมการ) โดยไม่ผ่านกลไกตลาด หรือการ
ประมูลอย่างที่ควรเป็น

เราไม่ควรลืมว่า “คอร์รัปชั่นเชิงนโยบาย” คือสาเหตุหนึ่งที่ประชาชนจำนวนมากออกมาเดินขบวนประท้วงขับ


ไล่รัฐบาลในอดีต การทำงานของคณะกรรมการประชารัฐจะป้องกันคอร์รัปชั่นแบบนี้ได้อย่างไร ในเมื่อรัฐจับมือ
กับเอกชนเฉพาะรายตั้งแต่ต้น?

ผู้เขียนมองว่า โครงสร้างการทำงานของ “ประชารัฐ” นอกจากจะเอื้อต่อการเกิดคอร์รัปชั่นเชิงนโยบายแล้ว ยัง


สุ่มเสี่ยงว่าจะเปิดโอกาสให้เจ้าสัวหรือนักธุรกิจใหญ่มาอวดกิจกรรม “ซีเอสอาร์” ของบริษัท หรือไม่ก็ใช้ช่องทาง
ดำเนินธุรกิจของตัวเอง ออกมาตรการลดแลกแจกแถมเพื่อเอาใจประชาชน ได้ทั้งเงินคือรายได้เพิ่มหรือขยาย
ฐานลูกค้า ได้ทั้งกล่องคือคำชม

2. ในเมื่อธุรกิจเข้ามาสนิทชิดเชื้อกับรัฐอย่างเป็นทางการ เราจะคาดหวังได้อย่างไรว่า รัฐและเอกชนจะส่งเสริม


สนับสนุนการปฏิรูปเพื่อแก้ “ปัญหาโครงสร้าง” ทั้งหลายที่ภาคธุรกิจมีส่วนเกี่ยวข้องโดยตรง ตั้งแต่การใช้
อำนาจเหนือตลาดได้เพราะกฎหมายป้องกันการผูกขาดยังเป็น “เสือกระดาษ” กฎหมายด้านสิ่งแวดล้อม
แรงงาน และผู้บริโภคที่ยังหย่อนยานกว่ามาตรฐานสากลในหลายมิติ ฯลฯ

ปลาย่อมมองไม่เห็นน้ำฉันใด นักธุรกิจย่อมมองไม่เห็นปัญหาเชิงโครงสร้างที่ตนมีส่วนก่อฉันนั้น

3. คณะกรรมการ “ประชารัฐ” ประกาศว่าจะทำงานเพื่อขับเคลื่อนประเทศไปสู่ความ “มั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน”


โดยอยากสร้างเศรษฐกิจที่ทุกฝ่ายมีส่วนร่วม หรือ inclusive economy แต่ทว่าที่ผ่านมา คสช. ได้ใช้อำนาจ
เผด็จการตามมาตรา 44 กระทำการหลายอย่างที่คัดง้างหรือขัดขวางแนวทางนี้อย่างชัดเจน เช่น ประกาศ คสช.
ฉบับที่ 3/2559 และ 4/2559 ยกเว้นการใช้กฎหมายผังเมืองในเขตเศรษฐกิจพิเศษและบางกิจการ อาทิ
โรงไฟฟ้า หรือ ฉบับที่ 9/2559 ยกเว้นให้โครงการของรัฐบางประเภทสามารถดำเนินการจัดหาเอกชนมา
ดำเนินการได้ ก่อนทีร่ ายงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม (อีไอเอ) จะได้รับความเห็นชอบ

คำถามคือ คณะกรรมการ “ประชารัฐ” มีจุดยืนอย่างไรต่อการใช้อำนาจเช่นนี้ของ คสช. และจะดำเนินการ


อย่างไร?
15. มายาคติเกี่ยวกับคนจน

เมื่อวันที่ 29 มีนาคม 2559 ผู้เขียนรู้สึกเป็นเกียรติที่ได้รับเชิญจากสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (ทีดี


อาร์ไอ) ไปร่วมงานสัมมนาวิชาการประจำปี 2559 เรื่อง “ปรับบทบาทรัฐไทย ให้ประชาชนได้บริการที่ดี” โดย
ร่วมวงเสวนาปิดท้ายในหัวข้อ “ปฏิรูปภาครัฐไทย เริ่มอย่างไรดี”

ผู้เขียนตอบคำถามในหัวข้อนี้สั้นๆ ว่า การปฏิรูปภาครัฐจะต้องเริ่มที่การ “ปรับทัศนคติ” ของภาครัฐเองเป็น


หลัก – หลักๆ คือ ต้องเปลี่ยนจากทัศนคติแบบ “ผู้ควบคุม” ที่คิดแบบอำนาจนิยม มาเป็น “ผู้ให้บริการ” และ
“ผู้ประสาน” ให้ประชาชนได้รับบริการที่ดี สร้างโอกาสที่เท่าเทียม โดยเปิดให้ภาคเอกชน ชุมชน และ
ประชาชนเองเข้ามามีส่วนร่วม แต่รัฐก็ต้อง “กำกับ” อย่างรัดกุม เนื่องจากประชาชนและชุมชนย่อมมีอำนาจ
ต่อรองน้อยกว่าภาคเอกชน ซึ่งมีทรัพยากร อิทธิพล และข้อมูลมากกว่ามาก

กลไกอย่างเช่น กฎหมายผังเมือง รายงานประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม (อีไอเอ) กฎหมายฟ้องคดีแบบ


รวมกลุ่ม และประชาพิจารณ์ (ซึ่งวันนี้ยังเป็นเพียงระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ยังไม่เคยมีกฎหมาย) ล้วนแต่
เป็นกลไกที่จำเป็นต่อการสร้างหลักประกันว่า ผู้มีส่วนได้เสียฝ่ายต่างๆ จะสามารถส่งเสียง ออกความเห็น มีส่วน
ร่วมกับการพัฒนาได้อย่างแท้จริง

กลไกเหล่านี้จำเป็นในหลักการ ฉะนั้นข้อเท็จจริงที่ว่ากลไกเหล่านี้มีข้อบกพร่อง เช่น กระบวนการเชื่องช้าทำให้


การพัฒนาล่าช้า ฯลฯ จึงเป็นได้อย่างมากเพียงเหตุผลที่เราจะต้องปรับปรุงแก้ไขให้มันใช้การได้ดียิ่งขึ้น ไม่ใช่
โยนมันทิ้งไปหรือทำให้มันไม่มีความหมาย

นอกจากนี้ ความท้าทายที่ใหญ่ที่สุดตอนต้นศตวรรษที่ 21 อาทิ ภัยแล้ง การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ หรือ


การสร้างเศรษฐกิจสร้างสรรค์ที่ขับเคลื่อนด้วยความรู้และนวัตกรรม ล้วนแต่เป็นสิ่งที่ใช้อำนาจ “ชี้นิ้วสั่ง” ให้แก้
หรือเกิดไม่ได้ ทำได้แต่การพยายาม “สร้างสภาพแวดล้อมที่ดี” และ “ประสานความร่วมมือจากทุกภาคส่วน”
เท่านั้น

ทัศนคติแบบ “อำนาจนิยม” ของภาครัฐไทยแต่ไหนแต่ไรมา จึงเดินสวนทางกับความต้องการของประชาชน อีก


ทั้งยังสวนทางกับกระแสโลกในศตวรรษนี้ด้วย

ผู้เขียนเห็นว่า ผู้มีอำนาจ เจ้าหน้าที่รัฐ และ “ผู้เชี่ยวชาญ” ที่ไปทำงาน “ช่วยชาติ” จำนวนมาก นอกจากจะมี


ทัศนคติที่ล้าสมัยแล้ว ยังมีความเชื่อที่ล้าสมัยหลายข้อด้วยกัน ซึ่งความเชื่อเหล่านั้นก็ประกอบกันเป็นรากฐาน
ของทัศนคติผิดๆ
ความเชื่อหลายข้อฝังลึกมาหลายชั่วอายุคน คนเชื่อก็ยึดมั่นถือมั่นว่าเป็นความจริง ถึงแม้ข้อมูลหลักฐานเชิง
ประจักษ์มากมายวันนี้จะพิสูจน์ชัดแล้วว่า เป็นเพียง “มายาคติ” หรือความเชื่อที่ไม่ใช่ความจริง

มายาคติเรื่องหนึ่งซึ่งดูจะฝังลึกมาก เมื่อดูจากแนวคิดที่จะปรับลดหรือยกเลิกสวัสดิการพื้นฐานในไทยซึ่งพัด
กระพือเป็นข่าวลือข่าวลวงอยู่เนืองๆ คือ ความเชื่อที่ว่า “ถ้ารัฐแจกเงินคนจน คนจนก็จะประพฤติตัวเหลวไหล
แบมือขอรัฐอยู่ร่ำไป”

คติพจน์ยอดฮิต “ให้เบ็ดและสอนตกปลา ดีกว่าให้ปลา” ซึ่งฟังเผินๆ ดูดี แต่ที่แท้สะท้อนมายาคติของผู้พูด


หลายคน เพราะข้อเท็จจริงคือ การแจกเงินหลายกรณีเทียบเท่ากับการให้เบ็ดมากกว่าการให้ปลา เพราะผู้รับ
สามารถนำเงินไปซื้อเบ็ดเองได้

ปัญหาคือ “ผู้เชี่ยวชาญ” หลายคนนึกไม่ถึงและไม่เชื่อว่าคนจนรู้ดีพอที่จะนำเงินไปซื้อเบ็ด จึงไม่เห็นด้วยกับการ


แจกเงิน และเลยไพล่ไปไม่เห็นด้วยกับการให้สวัสดิการพื้นฐานแนวช่วยเหลือทำนองนี้

ในความเป็นจริง ข้อมูลหลักฐานที่เพิ่มพูนขึ้นเรื่อยๆ จากทั้งประเทศร่ำรวยและประเทศยากจน โลกพัฒนาแล้ว


จรดโลกกำลังพัฒนา บ่งชี้ว่าการ “แจกเงิน” ให้กับคนจนนั้นถ้าทำอย่างถูกวิธีก็สามารถช่วยเหลือคนจนได้
มหาศาลโดยไม่บิดเบือนพฤติกรรม ไม่ทำให้คนจน “งอมืองอเท้า” ดังอคติของคนไม่จนหลายคน

วันนี้ทั่วโลกมีคนราวหนึ่งพันล้านคนที่พึ่งพา “ตาข่ายสวัสดิการ” ของรัฐ 119 ประเทศมีโครงการแจกเงินคนจน


โดยไม่มีเงื่อนไขอย่างน้อยหนึ่งชนิด อีก 52 ประเทศแจกเงินโดยผูกกับเงื่อนไขบางประการ เช่น ผู้ปกครอง
ยากจนต้องส่งลูกไปโรงเรียนจึงจะเข้าข่ายได้เงินช่วยเหลือจากรัฐ

ในปี 2015 อภิจิต แบนเนอร์จี (Abhijit Bannerjee) นักเศรษฐศาสตร์ในดวงใจคนหนึ่งของผู้เขียน ปัจจุบัน


ดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการ “ห้องแล็บปฏิบัติการความจน” (Poverty Action Lab) ที่มหาวิทยาลัยเอ็มไอที
ตีพิมพ์เผยแพร่ผลการศึกษาชิ้นสำคัญร่วมกับเพื่อนร่วมงานของเขาสามคน ชื่อรายงาน “ทลายมายาคติเรื่อง
ผู้รับสวัสดิการขี้เกียจ: หลักฐานจากโครงการแจกเงินทั่วโลก” (Debunking the Stereotype of the Lazy
Welfare Recipient: Evidence from Cash Transfer Programs Worldwide – ดาวน์โหลดได้จาก
http://economics.mit.edu/files/10849)

ในรายงานฉบับนี้ แบนเนอร์จีกับเพื่อนร่วมงานประเมินผลกระทบจากโครงการแจกเงินคนจนโดยรัฐเจ็ด
โครงการทั่วโลก ในประเทศเม็กซิโก โมร็อกโก ฮอนดูรัส นิคารากัว ฟิลิปปินส์ และอินโดนีเซีย โดยใช้วิธีทดลอง
แบบสุ่มและมีกลุ่มควบคุม (randomized controlled trial ย่อว่า RCT) ได้ข้อสรุปว่า “ไม่พบหลักฐานที่เป็น
ระบบใดๆ ว่า โครงการแจกเงินเหล่านี้ลดแรงจูงใจของผู้รับที่จะหางานทำ”

ข้อค้นพบของแบนเนอร์จีกับทีมสอดคล้องกับผลการศึกษาชิ้นอื่นๆ เช่น รายงานปี 2014 ของธนาคารโลก


(ดาวน์โหลดได้จาก http://blogs.worldbank.org/impactevaluations/do-poor-waste-transfers-
booze-and-cigarettes-no) ซึ่งสรุปผลการทบทวนวรรณกรรมเกี่ยวกับการประเมินผลกระทบของโครงการ
แจกเงินทั่วโลก พบว่าคนจนไม่ได้นำเงินที่ได้รับแจกไปใช้อย่างสิ้นเปลืองกับสุรา บุหรี่ หวย หรือสินค้าอื่นๆ ที่ไม่
ก่อให้เกิดประโยชน์แต่อย่างใด ข้อค้นพบดังกล่าวคัดง้างกับความเชื่อของคนทั่วไปอย่างชัดเจน

การประเมินผลกระทบ 44 ชิ้น ของโครงการจากทวีปแอฟริกา เอเชีย และอเมริกาใต้ ล้วนแต่ให้ผลลัพธ์


สอดคล้องกัน คณะวิจัยของธนาคารโลกสรุปผลการทบทวนวรรณกรรมว่า โครงการที่เน้นการแจกเงินให้กับสตรี
มีแนวโน้มที่จะลดการใช้จ่ายด้านสุราและบุหรี่ (ผู้หญิงมีแนวโน้มมากกว่าผู้ชายที่จะใช้เงินเพื่อลูก ไม่ใช่ใช้เพื่อ
ความสะดวกสบายของตัวเอง)

นอกจากนี้ โครงการแจกเงินส่วนใหญ่ในโลกก็ถูกออกแบบให้ส่ง “สาร” ที่ชัดเจน เช่น ในกรณีของโครงการแจก


เงินแบบมีเงื่อนไข ผู้รับเงินจะต้องส่งลูกไปโรงเรียน ตรวจสุขภาพ ฯลฯ พูดง่ายๆ คือ เงื่อนไขของโครงการ
เหล่านี้บอกคนจนอย่างชัดเจนว่า พวกเขาไม่ควรหมดเงินไปกับสุราและสินค้าสิ้นเปลืองอื่นๆ แต่ควรใช้เงินที่
ได้รับไปกับการซื้อสินค้าและบริการที่ช่วยเพิ่มสารอาหาร การศึกษา และสุขภาพของคนในครอบครัว ซึ่งส่วน
ใหญ่ก็ไปทำแบบนี้จริงๆ

ในบทสัมภาษณ์กับ นิวยอร์ก ไทม์ส์ อาจารย์แบนเนอร์จีชี้ว่า คนจำนวนมากในหลายประเทศยังเชื่อผิดๆ ว่า


“การแจกเงินทำให้คนขี้เกียจ” และเสนอต่อไปว่า ความเกลียดกลัวสวัสดิการทั่วโลกวันนี้อาจเป็นอาการที่แพร่
เชื้อมาจากสหรัฐอเมริกา เขาชี้ว่า “รัฐบาลหลายแห่งมีที่ปรึกษาทางเศรษฐกิจที่จบปริญญาจากสหรัฐอเมริกา ที่
ปรึกษาเหล่านี้มีอุดมการณ์เดียวกัน ....และอุดมการณ์ก็แพร่หลายมากกว่าข้อเท็จจริงมาก”

น่าคิดว่า ผู้มีอำนาจรัฐและที่ปรึกษาที่ไป “ช่วยชาติ” หลายคนมีมายาคติอะไรอีกบ้างเกี่ยวกับคนจน ประชาชน


และ “ความฉลาด” ของตัวเอง?
16. Poor Economics: เข้าใจเศรษฐศาสตร์ความจน

“คนจน” จนเพราะอะไร?

หลายคนตอบว่า โง่ ขี้เกียจ บางคนขยายความราวกับเป็นเหตุเป็นผลว่า “โง่ (บวก) จน (ก็เลย) เจ็บ” โดยไม่


รู้ตัวว่านี่คือวาทกรรมซึ่งถูกงานวิจัยเชิงประจักษ์จำนวนมากขึ้นเรื่อยๆ หักล้างแล้วว่า ไม่ใช่ความจริงสำหรับคน
จนส่วนใหญ่ สาเหตุที่จนและยังจนอยู่นั้น เป็นเพราะเผชิญกับปัญหาเชิงโครงสร้างต่างๆ รวมถึงความไม่เป็น
ธรรมที่ฝังรากลึกมานานรุ่นแล้วรุ่นเล่าต่างหาก

คำถามที่ว่า “วิธีไหนที่จะช่วยให้คนจนหายจนได้ดีที่สุด” เป็นคำถามที่ถกเถียงกันอย่างร้อนแรงตลอดมาในแวด


วงเศรษฐศาสตร์พัฒนา

วิวาทะทั้งหมดดูจะแบ่งได้เป็นสองค่ายที่อยู่ขั้วตรงข้ามกัน ฝั่ง “เศรษฐศาสตร์เข็มฉีดยา” นำโดยอาจารย์ เจฟ


ฟรีย์ แซคส์ (Jeffrey Sachs) เชื่อว่ารัฐบาลต่างๆ และองค์กรโลกบาลจะต้องเพิ่มเม็ดเงินช่วยเหลือคนจนอีก
มาก ส่วนฝั่งตรงข้ามนำโดย วิลเลียม อีสเตอร์ลีย์ (William Easterly) เสนอว่าต้องเปิดโอกาสให้ท้องถิ่นต่างๆ
ปฏิรูปตัวเองให้ได้มากที่สุด โครงการพัฒนาส่วนใหญ่ไร้ประโยชน์ เพราะเทคโนแครตและผู้เชี่ยวชาญไม่มีทางรู้
เรื่องปัญหาของคนจนดีเท่ากับคนจนจริงๆ

หนังสือเรื่อง Poor Economics (เศรษฐศาสตร์ความจน) โดย อภิจิต แบนเนอร์จี (Abhijit Banerjee) กับ เอส
เธอร์ ดูฟโล (Esther Duflo) สองนักเศรษฐศาสตร์พัฒนาในดวงใจของผู้เขียน ทะลุทะลวงวาทกรรมและการ
เหมารวมของทั้งสองค่ายนี้ด้วยการยกบทวิเคราะห์ทางสถิติ และผลการทดลองสายเศรษฐศาสตร์เชิงประจักษ์
มากมายมาชี้ให้เห็นว่า คนจนคิดและรู้สึกอย่างไรจริงๆ และนโยบายแก้ปัญหาความยากจนที่ได้ผลจะต้องมี
ลักษณะอย่างไรบ้าง

เพราะความคิดแบบเหมารวมกว้างๆ ว่า “เทคโนแครตไม่รู้อะไร คนจนยังไงก็ฉลาด” หรือ “เทคโนแครตรู้ดี


ที่สุด คนจนยังไงก็โง่” นั้น ไม่เคยช่วยแก้ปัญหาอะไรได้เลยในโลกแห่งความจริง

ตลอดหนังสือเล่มนี้ผู้เขียนทั้งสองยกตัวอย่างสนุกๆ มาหักล้างความเชื่อผิดๆ หลายเรื่องที่เราเคยเชื่อเกี่ยวกับคน


จน โดยเขียนเล่าด้วยภาษาที่เป็นกันเองและมีเกร็ดเล็กเกร็ดน้อยจากภาคสนามมากมาย สมกับเป็นผู้บุกเบิกการ
นำวิถีทดลองแบบสุ่มและมีกลุ่มควบคุม (randomized controlled trial ย่อว่า RCT) จากวงการแพทย์ มาใช้
กับวงการเศรษฐศาสตร์ เพื่อประเมินประสิทธิภาพและประสิทธิผลของนโยบายหรือมาตรการพัฒนาต่างๆ ว่า
ได้ผลมากหรือน้อยเพียงใด
Poor Economics ชี้ว่า เรายังไม่มี “แก้วสารพัดนึก” ที่จะบันดาลให้คนจนหายจนได้ทันทีทุกที่ทุกเวลา แต่เรา
ก็มีบทเรียนมากพอแล้วที่จะรู้ว่า เราจะช่วยยกระดับชีวิตความเป็นอยู่ของคนจนได้อย่างไร ช่วงท้ายของหนังสือ
สรุปบทเรียนหลักๆ ไว้ห้าข้อด้วยกัน

ข้อแรก คนจนมักขาดแคลนข้อมูลสำคัญๆ และเชื่อในสิ่งที่ไม่เป็นความจริง

ยกตัวอย่างเช่น พวกเขาไม่มั่นใจว่าการส่งลูกไปฉีดวัคซีนจะมีประโยชน์เพียงใด เชื่อว่าสิ่งที่ลูกๆ ได้เรียนรู้ในปี


แรกๆ ของการไปโรงเรียนนั้นไม่สลักสำคัญอะไรมาก ไม่รู้ว่าจริงๆ แล้วควรใช้ปุ๋ยในการเพาะปลูกมากน้อยขนาด
ไหน ไม่รู้ว่าเลือกผู้แทนราษฎรหรือ ส.ส. ไปแล้ว ส.ส. คนนัน้ ไปทำอะไรให้บ้างหลังจากที่ชนะการเลือกตั้ง

เมื่อใดที่ความเชื่อที่คนจนยึดมั่นมากๆ ปรากฏแล้วว่าเป็นความเชื่อที่ผิด ผลที่เกิดขึ้นก็คือคนจนก็จะไปตัดสินใจ


ผิดๆ ซึ่งบางครั้งมีผลพวงเชิงลบตามมามากมาย ลองนึกภาพเกษตรกรที่ใส่ปุ๋ยเคมีเกินปริมาณที่เหมาะสมไปสอง
เท่า

ต่อให้เป็นเรื่องที่คนจนรู้ตัวว่าพวกเขาไม่รู้ ความไม่แน่นอนที่ตามมาก็อาจส่งผลกระทบเชิงลบสะสมในระยะยาว
มหาศาล ยกตัวอย่างเช่น ความไม่แน่ใจว่าการถ่อไปสถานีอนามัยเพื่อเอาลูกไปฉีดวัคซีน (ต้องเสียเวลาและ
ค่าใช้จ่ายในการเดินทางที่สูงมากสำหรับคนจน มักหมายถึงการขาดรายได้ไปทั้งวัน) เป็นสิ่งที่ “ได้คุ้มเสีย” หรือ
เปล่า ประกอบกับธรรมชาติมนุษย์ทุกฐานะที่ชอบผัดวันประกันพรุ่ง ส่งผลให้เด็กในครอบครัวยากจนจำนวน
มากไม่ได้รับวัคซีน สุ่มเสี่ยงเป็นโรคที่ป้องกันได้

หลายโครงการพิสูจน์แล้วว่า การให้ข้อมูลง่ายๆ ที่ตรงจุดกับคนจนสามารถสร้างการเปลี่ยนแปลงได้มหาศาล


แต่ดูฟโลกับแบนเนอร์จีก็ย้ำว่า ไม่ใช่ว่าสักแต่คิดทำ “แคมเปญให้ข้อมูล” แล้วมันจะได้ผลโดยอัตโนมัติ
แคมเปญให้ข้อมูลและการศึกษาแก่คนจนที่ประสบความสำเร็จต้องมีลักษณะครบทุกข้อดังต่อไปนี้

ให้ข้อมูลใหม่ที่เฉพาะเจาะจง ซึ่งคนจนกลุ่มเป้าหมายไม่เคยรู้มาก่อน ไม่ใช่ข้อความเหมารวมแบบ “พูดอีกก็ถูก


อีก” หรือได้ยินจนชาชิน เช่น “ไม่ควรมีเซ็กซ์ก่อนแต่ง” หรือ “ควรออมเงินทุกเดือน”
ให้ข้อมูลด้วยวิธีที่เรียบง่ายและดึงดูดความสนใจ เช่น สอดแทรกในภาพยนตร์ ละครโทรทัศน์ หรือสมุดบันทึกที่
ถูกออกแบบมาอย่างดีและเข้าใจง่าย
ต้องมาจากแหล่งข้อมูลที่คนจนไว้ใจและเชื่อถือ (ในบริบทชนบทไทย คนที่เข้าข่ายนี้ในหลายชุมชนอาจเป็นผู้นำ
ชุมชนหรือปราชญ์ชาวบ้าน)
บทเรียนด้านกลับของบทเรียนข้อนี้คือ เวลาที่รัฐบาลพูดอะไรที่ทำให้คนจนเข้าใจผิด สับสน หรือโกหกซึ่งหน้า
รัฐบาลนั้นๆ ก็จะต้อง “จ่าย” ต้นทุนสูงมากในแง่ของการสูญเสียความน่าเชื่อถือ ซึ่งก็จะส่งผลต่อความ(ไม่)
อยากเข้าร่วมโครงการพัฒนาของรัฐในอนาคต (ไม่ว่าจะพร่ำพรรณนาว่าเห็นใจคนจน อยากลดความเหลื่อมล้ำ
เพียงใด)

ข้อสอง คนจนต้องแบกรับความรับผิดชอบสำหรับหลายมิติในชีวิตมากเกินไป

ยิ่งคุณมีเงิน ก็ยิ่งมีคนอื่นตัดสินใจอย่าง “ถูกต้อง” ให้กับคุณ เช่น ชนชั้นกลางได้ประโยชน์จากคลอรีนที่เทศบาล


ใส่ในน้ำประปาที่ส่งไปตามบ้าน แต่คนจนไม่มีน้ำประปาใช้ ก็เลยต้องหาทางกรองน้ำให้บริสุทธิ์เอาเอง ไม่มีเงิน
ซื้ออาหารเช้าอุดมวิตามินอย่างเช่นซีเรียลยี่ห้อต่างๆ เลยต้องกระเสือกกระสนหาทางให้ลูกๆ ได้รับสารอาหารที่
เพียงพอ (ซึ่งประเด็นที่ว่า อะไรแค่ไหนถึงจะ “เพียงพอ” ก็ไม่ใช่ความรู้ที่ใครๆ ก็เข้าใจได้ง่าย ไม่ว่าจะจนหรือ
รวย แต่คนรวยมีบริษัทผู้ผลิตซีเรียลและอาหารเสริมอื่นๆ คิดให้แทนแล้ว ขอเพียงมีเงินจ่าย) พวกเขาไม่มีกลไก
การออมอัตโนมัติ อย่างเช่นเงินบำนาญหรือเงินประกันสังคม ก็เลยต้องหาวิธีออมเงินเอง (ซึ่งการออมก็ขัดแย้ง
กับธรรมชาติพื้นฐานของมนุษย์ที่ไม่ค่อยคิดถึงอนาคต)

การตัดสินใจเหล่านี้เป็นเรื่องที่ยากมาก เพราะมันแปลว่าต้องเสียค่าใช้จ่ายหรือค่าเสียโอกาสบางอย่างทันที แลก


กับประโยชน์ที่จะเกิดในอนาคตอันไกลโพ้น และการที่คนจนต้องหาเช้ากินค่ำ ก็ทำให้ต้นทุนการตัดสินใจเหล่านี้
ยิ่งสูงขึ้นไปอีก

บทเรียนข้อนี้บอกว่า ถ้าเราจะช่วยคนจนจริงๆ สิ่งที่ต้องคิดคือ ทำให้การทำในสิ่งที่ถูกต้องนั้นเป็นเรื่องที่ “ง่าย


เหมือนปอกกล้วย” สำหรับพวกเขาให้ได้มากที่สุด โดยใช้ข้อค้นพบจากเศรษฐศาสตร์เชิงทดลองและ
เศรษฐศาสตร์พฤติกรรม เช่น ผลิตเกลือเสริมธาตุเหล็กและไอโอดีนในราคาถูกในราคาที่ทุกคนหาซื้อได้

ข้อสาม มีเหตุผลที่ตลาดบางตลาดยังไม่มีสำหรับคนจน

ยกตัวอย่างเช่น คนจนมีต้นทุนสูงมากในการจัดการเงิน ลองนึกถึงการเดินทางหลายสิบกิโลเมตรไปฝากเงิน 200


บาท สำหรับคนที่มีรายได้ไม่กี่พันบาทต่อเดือน ลำพังค่าน้ำมันหรือค่าโดยสารอย่างเดียวก็อาจจะมากกว่าเงินที่
เอาไปฝากแล้ว ยังไม่ต้องนับรายได้ของวันนั้นๆ ที่จะขาดไปเพราะเอาเวลาเดินทางไปสาขาธนาคาร – ส่งผลให้
ดอกเบี้ยที่แท้จริงที่ได้รับจากบัญชีเงินฝากธนาคารเท่ากับติดลบ และเนื่องจากยากจน จึงไม่มีหลักประกัน
สำหรับขอสินเชื่อสถาบันการเงินในระบบ ส่งผลให้ต้องกู้หนี้นอกระบบซึ่งคิดดอกเบี้ยแพงมาก

การแก้ปัญหา “ไม่มีตลาดสำหรับคนจน” ในหลายกรณีสามารถใช้นวัตกรรมทางเทคโนโลยีหรือนวัตกรรมเชิง


สถาบันมาแก้ปัญหาได้ ในหนังสือ ดูฟโลกับแบนเนอร์จีสรุปงานวิจัยเกี่ยวกับวงการ “ไมโครเครดิต”
(microcredit สินเชื่อขนาดจิ๋วที่ปล่อยให้กับคนจนโดยไม่มีหลักประกัน) ไว้อย่างสนุกสนาน และชี้ว่าระบบการ
โอนเงินอิเล็กทรอนิกส์และธนาคารผ่านมือถือ ประกอบกับเทคโนโลยีระบุตัวตน น่าจะช่วยลดต้นทุนทาง
การเงินของคนจนได้มหาศาล

แต่ในขณะเดียวกัน เราก็ต้องมองเห็นว่าบางประเทศไม่มีเงื่อนไขที่อยู่ดีๆ ตลาดจะเกิดขึ้นเองได้ (ผู้เขียนเห็นว่า


รวมประเทศไทยด้วย เนื่องจากยังไม่เห็นมีผู้ประกอบการ “ฟินเทค” หรือเทคโนโลยีทางการเงินรายใดประกาศ
ว่าจะบุกตลาดผู้มีรายได้น้อย) รัฐบาลควรก้าวเข้ามาสนับสนุน สร้างเงื่อนไขที่จำเป็นให้ตลาดเกิด เช่น อุดหนุน
คูปองการศึกษา ออกกฎบังคับให้ธนาคารจัดหาบัญชีเงินฝากแบบ “บ้านๆ” (ค่าธรรมเนียมต่ำ ไม่ต้องพ่วง
ประกัน บัตรเครดิต ฯลฯ) สำหรับคนทุกคน หรือไม่อย่างนั้นรัฐก็อาจจะให้บริการเสียเอง

ผู้เขียนทั้งสองเน้นว่า รัฐจำเป็นจะต้องกำกับดูแลตลาดเหล่านี้อย่างรอบคอบ เพื่อให้มัน “ทำงาน” สำหรับคน


จนจริงๆ ยกตัวอย่างเช่น คูปองการศึกษาจะได้ผลก็ต่อเมื่อผู้ปกครองที่ยากจนมีทางเลือก มีวิธีที่จะรู้ว่าโรงเรียน
ไหน “เหมาะสม” สำหรับลูกๆ ไม่อย่างนั้นการแจกคูปองลักษณะนี้จะกลายเป็นว่าทำให้ผู้ปกครองฐานะดีมี
ทางเลือกมากขึ้น แต่ไม่ได้ช่วยคนจนแต่อย่างใด

ดูฟโลกับแบนเนอร์จีย้ำว่า “ผู้เชี่ยวชาญ” จำนวนมากเข้าใจผิดมหันต์ตลอดมาเกี่ยวกับคนจน มองพวกเขาในแง่


ร้ายว่าจะ “ขี้เกียจ” ถ้าหากได้รับเงินหรืออะไรฟรีๆ และดังนั้นผู้เชี่ยวชาญเหล่านี้จึงมักจะไม่สนับสนุนโครงการ
แนวนี้ อย่างมากก็บอกว่ารัฐควรเก็บค่าธรรมเนียมเล็กน้อย อย่างน้อยก็ดีกว่าให้ฟรี แต่ความคิดนี้ได้รับการ
พิสูจน์แล้วจากโครงการมากมายว่าไม่ถูกต้อง แม้จะคิดจากมุม “ต้นทุนเทียบประโยชน์” (cost-benefit
analysis) เพียวๆ การส่งมอบสินค้าหรือบริการบางอย่างก็ถูกกว่าถ้าจะเก็บเงิน (เพราะการเก็บเงินมีต้นทุนการ
บริหารจัดการ และคนจนอาจไม่อยากจ่าย)

ข้อสี่ ไม่มีประเทศยากจนประเทศไหนในโลกถูกสาปว่าจะต้องล้มเหลวเสมอเพราะว่ายากจน หรือว่าเพราะเคย


โชคร้ายในประวัติศาสตร์

ผู้เขียนทั้งสองบอกว่า จริงอยู่ว่าในประเทศกำลังพัฒนา โครงการต่างๆ มักจะไร้ประสิทธิผล โครงการที่อ้างว่า


จะช่วยคนจนมักจะไม่ตกถึงมือคนจน ครูไม่ทำงานหรือสอนแย่ ถนนหนทางผุพังจากรถบรรทุกที่บรรทุกเกิน
พิกัดตามกฎหมาย ฯลฯ แต่ในหลายกรณี ความล้มเหลวไม่ได้เกิดจากทฤษฎีสมคบคิด เจตนาชั่วร้ายของชนชั้น
นำที่อยากกุมอำนาจทางเศรษฐกิจ เท่ากับเกิดจากข้อบกพร่องบางประการของการออกแบบนโยบายใน
รายละเอียด ซึ่งข้อบกพร่องที่พบบ่อยที่สุดคือ อวิชชา อุดมการณ์(ทางการเมือง) และความเฉื่อยเนือย (สรุปเป็น
“ตัว I สามตัว” ได้แก่ ignorance, ideology และ inertia)
ยกตัวอย่างเช่น พยาบาลถูกคาดหวังให้ทำงานมากมายมหาศาลที่มนุษย์ปกติไม่มีทางทำได้ (ผู้เขียนคิดว่า “ครู”
ก็เป็นอาชีพแบบนี้ในไทย) แต่แล้วก็ยังไม่เคยมีใครคิดจะไปแก้ขอบเขตหน้าที่การงานของพยาบาลให้ตรงกับ
ความจริงมากขึ้น

กระแสที่กระพือเป็นแฟชั่น ณ เวลานั้นๆ (ไม่ว่าจะเป็นเขื่อน ไมโครเครดิต หรืออะไรก็ตาม) ถูกแปลงเป็น


นโยบายรัฐโดยไม่สนใจบริบทในโลกจริงเลย แต่ข่าวดีก็คือ เราสามารถปรับปรุงการกำกับดูแลและนโยบาย
หลายเรื่องได้โดยไม่ต้องเปลี่ยนแปลงโครงสร้างทางการเมืองและสังคม โดยเฉพาะด้วยการคิดหาวิธีเพิ่มพลังของ
ประชาชนในการติดตามตรวจสอบการทำงานของรัฐบาลและรัฐบาลท้องถิ่น และสื่อสารให้ชัดเจนต่อประชาชน
ว่า จะคาดหวังอะไรได้บ้างจากบริการสาธารณะ

ข้อห้า ความคาดหวังเกี่ยวกับสิ่งที่คนทำได้และไม่ได้มักจะกลายเป็นคำพยากรณ์ที่กลายเป็นความจริงเพราะ
พยากรณ์แบบนั้น (self-fulfilling prophecy)

นักเรียนรู้สึกเหนื่อยหน่าย เลิกไปโรงเรียนหลังจากที่ครู (บางทีก็รวมพ่อแม่ด้วย) แสดงอาการดูถูกดูแคลนว่า


พวกเขา “โง่เกินกว่าจะเรียนได้” ผู้ประกอบการขนาดจิ๋วไม่พยายามชำระหนี้เพราะคิดว่าอีกไม่นานก็ต้องเป็น
หนี้อีก พยาบาลเลิกไปทำงานเพราะไม่มีใครคาดหวังแล้วว่าพวกเธอจะไปทำงาน นักการเมืองที่ประชาชนไม่
คาดหวังแล้วว่าจะรับใช้ประชาชนลงเอยด้วยการกอบโกยผลประโยชน์ ไม่อยากรับใช้ประชาชนจริง ฯลฯ

การเปลี่ยนแปลงความคาดหวังไม่ง่าย แต่ก็ใช่ว่าจะเป็นไปไม่ได้เลย และเมื่อสถานการณ์เริ่มดีขึ้นแล้ว


สถานการณ์ที่ดีขึ้นนั้นเองก็จะเริ่มหักล้างความเชื่อผิดๆ และเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของคนจำนวนมากขึ้น
เรื่อยๆ ไปในทิศทางที่ถูกต้อง

สำคัญที่เราต้องเลิกเข้าใจผิดเกี่ยวกับคนจน เลิกกลัวว่าการแจกเงินสด สิ่งของ หรือบริการ จะทำให้พวกเขางอ


มืองอเท้าไม่ทำอะไร.
17. มายาคติเกี่ยวกับความเชี่ยวชาญ

ตอนที่แล้วผู้เขียนยกตัวอย่างงานวิจัยของ อภิจิต แบนเนอร์จี (Abhijit Bannerjee) นักเศรษฐศาสตร์ในดวงใจ


อีกคน ผู้อำนวยการ “ห้องแล็บปฏิบัติการความจน” (Poverty Action Lab) ที่มหาวิทยาลัยเอ็มไอที ซึ่งสรุปใน
รายงาน “ทลายมายาคติเรื่องผู้รับสวัสดิการขี้เกียจ: หลักฐานจากโครงการแจกเงินทั่วโลก” (Debunking the
Stereotype of the Lazy Welfare Recipient: Evidence from Cash Transfer Programs Worldwide
– ดาวน์โหลด<a href="http://economics.mit.edu/files/10849">ได้จากเว็บมหาวิทยาลัย</a>) ว่า “ไม่
พบหลักฐานที่เป็นระบบใดๆ ว่า โครงการแจกเงิน[ของรัฐ]ลดแรงจูงใจของผู้รับที่จะหางานทำ”

ข้อค้นพบนี้สอดคล้องกับผลการศึกษาชิ้นอื่นๆ ที่พบว่า คนจนโดยรวมในโครงการ “แจกเงิน” ทั่วโลก ไม่ว่าจะ


แจกเฉยๆ หรือแจกแบบมีเงื่อนไข ไม่ได้นำเงินที่ได้รับไปใช้อย่างสิ้นเปลืองกับสุรา บุหรี่ หวย หรือสินค้าอื่นๆ ที่
ไม่ก่อให้เกิดประโยชน์แต่อย่างใด

(ไม่ได้แปลว่าไม่มีคนที่นำเงินไปใช้ซื้อของเหล่านี้ แต่พวกเขาเป็นเพียงคนส่วนน้อยเท่านั้น)

ความเชื่อของคนจำนวนมากที่ว่า “คนจนขี้เกียจ ยิ่งได้ของฟรียิ่งขี้เกียจ” จึงได้รับการพิสูจน์แล้วว่า เป็นเพียง


“มายาคติ” เท่านั้น

บางคนอาจเถียงหรือแถด้วยมายาคติ “เมืองไทยไม่เหมือนชาติใดในโลก” ว่า ข้อค้นพบนี้เป็นเพราะโครงการที่


อื่นถูกออกแบบมาอย่างรอบคอบแน่ๆ ไม่เหมือนโครงการแจกเงินในไทยซึ่งเป็น “ประชานิยม” ในความหมายที่
แย่ที่สุด นั่นคือ สิ้นเปลืองงบประมาณโดยที่คนไม่ได้ประโยชน์ใดๆ ในระยะยาว รังแต่จะทำให้คนจน “เสีย
นิสัย”

โครงการหนึ่งซึ่งมักจะถูกหยิบขึ้นมาเป็นตัวอย่างของโครงการแย่ๆ ในแง่นี้ คือ โครงการกองทุนหมู่บ้าน ซึ่ง


ถึงแม้จะให้ชาวบ้านกู้เงิน ไม่ได้แจกเงินให้ฟรีๆ ก็ถูกค่อนขอดว่า ให้กู้ก็เหมือนกับให้เปล่า เพราะชาวบ้านรู้ว่านี่
เป็นเงินจากรัฐบาล ไม่ต้องใช้คืนก็ได้ (และกระแสข่าวในปีแรกๆ ของโครงการนี้ก็ให้ภาพนั้นจริงๆ)

แต่ผลการศึกษาอย่างเป็นระบบพบว่า โครงการกองทุนหมู่บ้านไม่ได้ “แย่” เท่ากับความเชื่อ และชาวบ้านที่มา


กู้เงินโดยรวมก็ไม่ได้ “เสียนิสัย” ถึงแม้ว่าโครงการจะมีข้ออ่อนอยู่ไม่น้อย โดยเฉพาะปัญหาด้านการจัดทำบัญชี
ที่ยังโดยรวมยังไม่ได้มาตรฐาน และปัญหาธรรมาภิบาลของบางกองทุน เช่น กรรมการปล่อยสินเชื่อให้กับตัวเอง
หรือพรรคพวกตัวเองเท่านั้น ไม่ปล่อยให้กับลูกบ้าน
โรเบิร์ต ทาวน์เซนด์ (Robert Townsend) นักเศรษฐศาสตร์จากมหาวิทยาลัยเอ็มไอที ศึกษาโครงการกองทุน
หมู่บ้านและผลกระทบต่อครัวเรือนอย่างต่อเนื่องลึกซึ้งที่สุดคนหนึ่ง และเป็นนักวิจัยทีมเดียวที่มีข้อมูลแบบเก็บ
ตัวอย่างซ้ำ (panel data) ครอบคลุมทั้งช่วงก่อนมีโครงการกองทุนหมู่บ้าน (1997-2001) และหลังมีโครงการ
(2002-2007) โดยติดตามข้อมูลรายได้และค่าใช้จ่ายของ 900 ครัวเรือนใน 64 หมู่บ้านอย่างละเอียด ทาวน์
เซนด์สรุปร่วมกับเพื่อนร่วมงานในรายงาน “The Impacts of Credit on Village Economies” (ผลกระทบ
ของสินเชื่อต่อเศรษฐกิจในหมู่บ้าน, ดาวน์โหลด<a
href="http://www.robertmtownsend.net/sites/default/files/files/papers/published/ImpactsofC
reditonVillageEconomies.pdf">ได้จากเว็บไซต์ของเขา</a>) ตีพิมพ์ปี 2012 ว่า กองทุนหมู่บ้านช่วยเพิ่ม
อัตราการกู้ยืมของชาวบ้าน การบริโภค การเติบโตของรายได้ (จากธุรกิจและค่าจ้างแรงงาน) แต่ลดการเติบโต
ของสินทรัพย์รวม และไม่ส่งผลกระทบอย่างมีนัยสำคัญต่อการริเริ่มธุรกิจใหม่

ผู้วิจัยพบว่าการบริโภคที่เพิ่มขึ้นนั้นส่วนใหญ่อยู่ในรูปของการซ่อมแซมบ้าน (สินเชื่อกองทุนหมู่บ้านทุก 1 บาท


นำไปสู่การใช้จ่ายเงินซ่อมบ้าน 1.33 บาท) และยานพาหนะ (สินเชื่อทุก 1 บาท นำไปสู่การซ่อมยานพาหนะ
0.18 บาท) ซึ่งมีลักษณะ “คล้ายการลงทุน” ทั้งคู่ กล่าวคือ เป็นสินทรัพย์ถาวร และยานพาหนะในชนบทก็เป็น
อุปกรณ์ที่จำเป็นต่อการยังชีพ เช่น ใช้ขนส่งพืชผลทางการเกษตรไปขาย

การบริโภคสินค้าฟุ่มเฟือย เช่น บุหรี่ สุรา เพิ่มขึ้นบ้างหลังจากที่มีกองทุนหมู่บ้าน แต่ไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ


สอดคล้องกับผลการศึกษาจากต่างประเทศ

ด้านกิจกรรมที่เกี่ยวกับการผลิต ทาวน์เซนด์กับทีมพบหลักฐานว่า ค่าจ้างแรงงานและกำไรจากธุรกิจเพิ่มขึ้นจาก


โครงการกองทุนหมู่บ้าน โดยสินเชื่อกองทุนหมู่บ้านทุก 1 บาท นำไปสู่การเพิ่มขึ้นของค่าจ้าง 1.25 บาท ส่วน
กำไรจากการประกอบธุรกิจก็เพิ่มขึ้นในขนาดใกล้เคียงกัน (เป็นผลกระทบทางอ้อม ซึ่งนักเศรษฐศาสตร์เรียกว่า
“ผลกระทบทางดุลยภาพทั่วไป” หรือ general equilibrium effect)

อย่างไรก็ดี ทีมวิจัยไม่พบว่ารายได้จากข้าวหรือการขายพืชผลทางการเกษตรอื่นๆ เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ


โดยรวมรายได้ลดลงด้วยซ้ำหลังจากที่มีโครงการกองทุนหมู่บ้าน นอกจากนี้ ทีมวิจัยยังพบว่าจำนวนธุรกิจเกิด
ใหม่ จำนวนเงินลงทุน (ทั้งธุรกิจส่วนตัวและการทำการเกษตร) และเงินซื้อปัจจัยการผลิต ล้วนแต่ไม่ได้เพิ่มขึ้น
อย่างมีนยั สำคัญทางสถิติ

เราจะอธิบายผลการค้นพบในงานวิจัยชิ้นนี้ได้อย่างไร? ในฐานะที่ผู้เขียนเคยสัมภาษณ์สมาชิกและกรรมการ
กองทุนหมู่บ้านนับร้อยคนทั่วประเทศระหว่างทำงานวิจัย ผู้เขียนเห็นว่าผลการค้นพบของทาวน์เซนด์และทีมใน
รายงานข้างต้นนั้น เป็นข้อพิสูจน์ชั้นดีถึง “ความมีเหตุมีผล” ของชาวบ้าน ซึ่ง “ผู้เชี่ยวชาญ” หลายคนที่ทำงาน
ในหอคอยงาช้างมักจะมองไม่เห็น
ลองนึกภาพว่า ถ้าเราเป็นเกษตรกรธรรมดาๆ ในหมู่บ้านแห่งหนึ่ง กองทุนหมู่บ้านให้กู้เงินเพียง 20,000 บาทต่อ
ราย ระยะเวลา 1 ปี (อย่างน้อยก็ในระยะแรกซึ่งทาวน์เซนด์ศึกษา ไม่ใช่ในระยะหลังซึ่งมีการขยายโครงการและ
ยกสถานะหลายแห่งขึ้นเป็นสถาบันการเงินชุมชน มีสิทธิรับเงินฝากและปล่อยสินเชื่อในวงเงินมากกว่านี้ได้)

เงินจำนวนนี้เอาไปทำอะไรได้? แน่นอนว่ามันไม่พอสำหรับการลงทุนทำการเกษตร ซึ่งโดยเฉลี่ยต้องใช้เงินหลาย


หมื่นหรือเป็นหลักแสนต่อการเพาะปลูกหนึ่งฤดู และไม่เพียงพอสำหรับการเริ่มทำธุรกิจใหม่ด้วยเหตุผลเดียวกัน

ด้วยเหตุนี้ การนำเงินกู้ 20,000 บาท ไปซ่อมบ้าน ซ่อมรถ ใช้จ่ายในกิจกรรมทางสังคม เช่น งานศพ หรือใช้จ่าย
ฉุกเฉิน ช่วยให้บริโภคได้อย่างสม่ำเสมอระหว่างที่ยังไม่มีรายได้จากการขายผลผลิตเข้ามา (ภาษาเศรษฐศาสตร์
เรียกว่า “การเกลี่ยการบริโภค” หรือ consumption smoothing) จึงเป็นการกระทำที่ “มีเหตุมีผล” ดีแล้ว

สอดคล้องกับข้อค้นพบของทาวน์เซนด์และทีม

ฉะนั้น ถ้ารัฐอยากให้กองทุนหมู่บ้านทำหน้าที่อื่นๆ อีก เช่น กระตุ้นให้คนลงทุนริเริ่มธุรกิจใหม่ (สตาร์ทอัพ) เพิ่ม


ผลผลิตทางการเกษตร สร้างมูลค่าเพิ่มให้กับสินค้าเกษตร ฯลฯ รัฐก็ต้อง “เติม” ความรู้และทักษะเฉพาะทาง
ให้กับชาวบ้าน ซึ่งอาจทำผ่านการเติมความรู้ความเชี่ยวชาญในเรื่องเหล่านี้ให้กับ “พี่เลี้ยง” อย่างสำนักงาน
กองทุนหมู่บ้าน และหน่วยงานอื่นๆ โดยอาจไปศึกษาวิเคราะห์โมเดลที่ประสบความสำเร็จต่างประเทศ เช่น
BRAC ไมโครไฟแนนซ์สุดเจ๋งของบังกลาเทศ

และแน่นอน ต้องแก้ปัญหาธรรมาภิบาลของบางกองทุน และปรับปรุงมาตรฐานการทำบัญชีของกองทุนหมู่บ้าน


เองด้วย

ไม่ใช่คิดไปเองว่า ประโยชน์เหล่านี้เกิดขึ้นได้เองทันทีที่มีเงินลงไป และถ้ามันไม่เกิด ก็เป็นเพราะชาวบ้านโง่ นิสัย


เสีย ฯลฯ

การปรับปรุงโครงการกองทุนหมู่บ้าน จึงต้องตั้งต้นจากการตระหนักในข้อเท็จจริงที่ว่า ชาวบ้านไม่ได้ “โง่”


เพียงแต่ไม่พูดภาษาที่ “ผู้มีการศึกษา” คุ้นเคย

“ผู้เชี่ยวชาญ” มักจะเชี่ยวชาญเรื่องหลักวิชาการ วิธีบริหารจัดการ แต่โง่เรื่องการดำรงชีวิตและวิธีคิดของ


ชาวบ้าน ส่วนชาวบ้านก็เชี่ยวชาญเรื่องการเอาตัวรอด เข้าใจอย่างถ่องแท้ในบริบทของท้องถิ่น แต่โง่เรื่อง
หลักการ วิธีจัดการความรู้ เป็นต้น
ในเมื่อทั้งสองฝ่ายต่างมีสิ่งที่ตัวเอง “โง่” และสิ่งที่ตัวเอง “เชี่ยวชาญ” ทั้งคู่ก็จะต้องรับฟังซึ่งกันและกัน ก่อนที่
จะออกแบบโครงการพัฒนาอะไรก็ตามที่ส่งผลกระทบต่อท้องถิ่น

ไม่ใช่ปล่อยให้ผู้เชี่ยวชาญยึดมั่นถือมั่นว่า ตัวเอง “รู้” อยู่คนเดียว

อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์ เคยกล่าววาทะอมตะว่า

“ทุกคนล้วนเป็นอัจฉริยะทั้งนั้น แต่ถ้าคุณตัดสินปลาจากความสามารถในการปีนต้นไม้ มันก็จะเชื่อว่ามันโง่ไป


ตลอดชีวิต”.
18. มายาคติเกี่ยวกับความเหลื่อมล้ำ

บางสิ่งมีราคาที่เรามองเห็น แต่ไม่คิดเชื่อมโยงว่าเป็น “ราคา” ของมัน เพราะนึกว่าเป็นเรื่องธรรมชาติ-ธรรมดา


หรือคิดว่าเกิดจากสิ่งอื่นที่เราไม่มีทางหลีกเลี่ยง

คุณูปการอันอาจเป็นส่วนน้อยของวิกฤตการเมืองหลากสีรอบล่าสุดคือ ทำให้ “ความเหลื่อมล้ำ” กลายเป็นเรื่อง


ติดปากคนไทยทุกเพศทุกวัยทุกสาขาอาชีพ ตั้งแต่กรรมการปฏิรูป วินมอเตอร์ไซค์ จนถึงเจ้าของรถเข็นขาย
ส้มตำแถวบ้านของผู้เขียน

“ความเหลื่อมล้ำ” คำเดียวกินความกว้างขวาง แต่อาจแบ่งคร่าวๆ ได้เป็นสองประเภท คือ ความเหลื่อมล้ำด้าน


เศรษฐกิจ (รายได้ ทรัพย์สิน ฯลฯ) กับความเหลื่อมล้ำด้านสิทธิและโอกาส (สิทธิในการเข้าถึงทรัพยากร สิทธิใน
การเข้าถึงกระบวนการยุติธรรม สิทธิในการมีส่วนร่วมทางการเมือง ฯลฯ)

ระหว่างสองอย่างนี้ ความเหลื่อมล้ำด้านสิทธิและโอกาสเป็นที่ถกเถียงน้อยกว่า โดยเฉพาะสิทธิในการเข้าถึง


กระบวนการยุติธรรม เพราะดูเหมือนมนุษย์เราจะมี “สำนึกความเป็นธรรม” ระดับพื้นฐานติดตัวมาแต่กำเนิด
และสำนึกนี้ก็เข้มข้นกว่าความเห็นแก่ประโยชน์ส่วนตนด้วยซ้ำ ดังสะท้อนในผลการทดลอง “เกมยื่นคำขาด”
(ultimatum game) ซึง่ ตัง้ โจทย์วา่ ถ้าหากมีคนให้เงินเรามาฟรีๆ ก้อนหนึ่ง ให้เราเลือกว่าจะแบ่งให้อกี คน
เท่าไร โดยให้อีกคนมีสิทธิเพียงตอบรับหรือปฏิเสธ ไม่ให้ต่อรอง ถ้าตอบรับ เงินก็จะถูกแบ่งตามที่เราเสนอ แต่
ถ้าปฏิเสธ เราทั้งคู่จะไม่ได้อะไรเลย

ผลการทดลองเกมนี้นับครั้งไม่ถ้วนโดยนักเศรษฐศาสตร์และนักจิตวิทยาให้ผลไปในทิศทางเดียวกันตลอดมาว่า
ฝ่ายผู้เสนอส่วนใหญ่เลือกที่จะเสนอส่วนแบ่งที่ “เป็นธรรม” คือ 50-50 หรือใกล้เคียง แต่ที่น่าแปลกใจกว่าคือ
ฝ่ายผู้รับส่วนใหญ่ (หลายครั้งมากกว่าร้อยละ 80) เลือก “ปฏิเสธ” ข้อเสนอที่ตนได้เงินน้อยกว่าครึ่งหนึ่งมาก
เช่น 80-20 หรือ 90-10 ทั้งที่รู้อยู่แก่ใจว่า ถ้าปฏิเสธทั้งคู่จะไม่มีใครได้เงินเลยตามกติกาของเกม

ถ้าหากมนุษย์เป็น “สัตว์เศรษฐกิจ” ทุกเวลาตามความเชื่อของนักเศรษฐศาสตร์จำนวนมาก ทุกคนก็จะควรตก


ลงรับข้อเสนอ ไม่ว่าตัวเองจะได้เงินน้อยกว่าอีกฝ่ายเพียงใด เพราะถ้าปฏิเสธจะไม่ได้เงินเลย ฉะนั้นการที่คน
ส่วนใหญ่ปฏิเสธ ก็แสดงว่าสำนึกความเป็นธรรมอยู่เหนือความเห็นแก่ตัว (อยาก “ลงโทษ” คนที่ยื่นข้อเสนอไม่
เป็นธรรม แม้ตัวเองจะเสียประโยชน์ไปด้วย)
ผลการทดลองนี้และอีกหลายเวอร์ชั่นช่วยฉีกตำราเศรษฐศาสตร์ฉบับสัตว์เศรษฐกิจลงอย่างไม่มีชิ้นดี ผลักดันให้
นักเศรษฐศาสตร์สมัยใหม่หันมาให้ความสำคัญกับลักษณะที่บ่งบอกความเป็น “สัตว์สังคม” ของมนุษย์
อย่างเช่นสำนึกความเป็นธรรมกันมากขึ้น

ด้วยเหตุนี้ ความเหลื่อมล้ำด้านสิทธิและโอกาส (ซึ่งหมายรวมถึงความยุติธรรมที่ล่าช้าด้วย เพราะ “ความ


ยุติธรรมที่ล่าช้าคือความอยุติธรรม” ตามหลักนิติธรรมพื้นฐาน) จึงมี “ราคา” ที่ไม่มีมูลค่าทางการเงิน แต่อยู่ใน
รูปการรบกวนสำนึกความเป็นธรรม สะสมเป็นความรู้สึกข้องใจที่ไม่ได้รับความยุติธรรม นานวันเข้าอาจ
ยกระดับเป็นความคับแค้น พร้อมจะระเบิดอย่างคลุ้มคลั่งออกมาในรูปของการประท้วงโดยใช้ความรุนแรง ดังที่
เราได้เห็นมาแล้วนับครั้งไม่ถ้วนในประวัติศาสตร์ทุกชนชาติ

ยิ่งเราละเลยหรือหลงลืมมัน “ราคา” ของความเหลื่อมล้ำด้านสิทธิและโอกาสก็จะยิ่ง “แพง” ขึ้นเรื่อยๆ ตาม


ระดับความแค้นเคืองของผู้คนที่ไม่ได้รับโอกาสอย่างเท่าเทียม หรือไม่ได้รับประกันแม้กระทั่งสิทธิพลเมือง

ความเหลื่อมล้ำด้านสิทธิและโอกาสแทบไร้ซึ่งข้อถกเถียงเรื่องราคา ทว่าความเหลื่อมล้ำด้านเศรษฐกิจกลับเป็น
สิ่งที่นักเศรษฐศาสตร์ยังถกเถียงกันไม่สิ้นสุด

นักเศรษฐศาสตร์จำนวนมาก โดยเฉพาะสาย “บูชาตลาด” (market fundamentalists) ผู้ปักใจเชื่อว่าตลาด


จัดการเศรษฐกิจได้ดีที่สุดอย่างไม่มีเงื่อนไข รัฐอยู่เฉยๆ ดีที่สุด มองว่าความเหลื่อมล้ำด้านเศรษฐกิจเป็น “เรื่อง
ธรรมดา” ในระบบเศรษฐกิจแบบทุนนิยม เพราะมันเป็นผลพวงที่หลีกเลี่ยงไม่ได้จากการพัฒนาเศรษฐกิจ
นอกจากนี้ยังเป็นสิ่งที่ “ดี” และ “จำเป็น” เพราะมันสร้างแรงจูงใจให้คนทำงานหนัก แข่งกันคิดค้นนวัตกรรม
ใหม่ๆ ระหว่างดิ้นรนถีบตัวเองบนบันไดสังคม ถ้าหากคนทุกคนมีฐานะเท่ากันหมดก็จะทำงานอย่างซังกะตาย
ผลลัพธ์ของสังคมแบบนี้เป็นอย่างไรเราก็ได้เห็นแล้วจากประสบการณ์ของประเทศคอมมิวนิสต์ทั้งหลาย

อย่างไรก็ดี ตั้งแต่ศตวรรษที่ 21 เปิดฉาก วิกฤตเศรษฐกิจหลายระลอกซึ่งก่อความเดือดร้อนให้กับประชาชน


หลายล้านคน ก็ทำให้นักเศรษฐศาสตร์จำนวนมากขึ้นเรื่อยๆ พยายามนำเสนอข้อมูลหลักฐานว่า ความเหลื่อม
ล้ำด้านเศรษฐกิจบางระดับอาจหลีกเลี่ยงไม่ได้และจำเป็นต่อการพัฒนา แต่ถ้าหากรัฐไม่แยแส ปล่อยให้ความ
เหลื่อมล้ำถ่างกว้างมากๆ มันก็จะมี “ราคา” มหาศาลที่สังคมและเศรษฐกิจต้องจ่าย

โจเซฟ สติกลิทซ์ นักเศรษฐศาสตร์รางวัลโนเบล หัวหอกสำนัก “ซ้ายใหม่” ในสหรัฐอเมริกา พยายามอธิบาย


ประเด็นนี้ในหนังสือเรื่อง “The Price of Inequality” (ฉบับแปลไทยใช้ชื่อ “ราคาของความเหลื่อมล้ำ”
สำนวนแปลของผู้เขียน) โดยเขาเสนอว่า ความเหลื่อมล้ำด้านรายได้ในอเมริกาซึ่งสูงเป็นอันดับต้นๆ ของโลกนั้น
มิได้เกิดโดยบังเอิญ แต่เกิดจากการที่ภาคการเมืองถูกครอบงำโดยธุรกิจที่มีอำนาจผูกขาดหรือครองตลาด
โดยเฉพาะภาคการเงิน ทำให้คนรวยหยิบมือเดียวสามารถกอบโกยในทางที่คนอื่นเสียประโยชน์
สติกลิทซ์ชี้ว่า ความเหลื่อมล้ำระดับสูงสุดท้ายจะส่งผลเสียต่อประสิทธิภาพทางเศรษฐกิจ เพราะคนรวยรวยขึ้น
จากการเอื้อประโยชน์โดยรัฐมากกว่าจากการคิดค้นนวัตกรรมใหม่ๆ ที่ทำให้อเมริกาแข่งขันได้ดีขึ้น นอกจากนี้
ยังบั่นทอนระบอบประชาธิปไตย เพราะทำให้การเมืองกลายเป็น “ระบบ “หนึ่งดอลลาร์หนึ่งเสียง” มากกว่า
“หนึ่งคนหนึ่งเสียง” ….แทนที่ระบบการเมืองจะแก้ไขความล้มเหลวของตลาด มันกลับซ้ำเติมความล้มเหลว
เหล่านั้น”

ข้ามฟากไปอังกฤษ ประเทศซึ่งความเหลื่อมล้ำด้านเศรษฐกิจสูงไม่แพ้อเมริกา ริชาร์ด วิลกินสัน และ เคธ พิค


เก็ตต์ ผู้เชี่ยวชาญด้านระบาดวิทยาและสาธารณสุข สรุปผลการวิจัยของตัวเองและนักวิจัยอีกหลายร้อยคนเป็น
หนังสือเรื่อง “The Spirit Level” (ฉบับแปลไทยชื่อ “ความ(ไม่)เท่าเทียม” สำนวนแปลของผู้เขียน) ว่า ความ
เหลื่อมล้ำทางรายได้มีความสัมพันธ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติกับตัวชี้วัดด้านสุขภาพและสังคมจำนวนมาก ตั้งแต่
สุขภาพของปัจเจก ความไว้วางใจซึ่งกันและกันในชุมชน ไปจนถึงอัตราฆาตกรรม อัตราการคลอดของแม่วัยรุ่น
อัตราผู้ป่วยสุขภาพจิต ฯลฯ

สิ่งที่ทำให้ “The Spirit Level” สร้างความฮือฮาคือข้อเสนอของวิลกินสันกับพิคเก็ตต์ที่ว่า ความสัมพันธ์


ระหว่างความเหลื่อมล้ำทางรายได้กับปัญหาสุขภาพและปัญหาสังคมเหล่านี้ นอกจากจะไม่ใช่ความบังเอิญอย่าง
แน่นอนแล้ว ยังน่าจะเป็นความสัมพันธ์แบบ “เป็นเหตุเป็นผล” (causation) กันอีกด้วย นั่นคือ ความเหลื่อม
ล้ำทางรายได้ที่มากขึ้น ส่งผลให้ปัญหาสังคมเหล่านี้รุนแรงขึ้น

ผู้เขียนทั้งสองเสนอว่าสาเหตุประการหนึ่งคือ สันดานมนุษย์มิใช่ “สัตว์เศรษฐกิจ” หากเป็น “สัตว์สังคม” ผู้โหย


หาการยอมรับนับถือจากคนอื่น ฉะนั้นในเมื่อ “ความแตกต่างทางรายได้ที่ถ่างกว้างกว่าดูจะทำให้โครงสร้าง
สังคมแข็งตัวกว่าเดิม ลดทอนโอกาสของคนในการปีนบันไดสังคม” (ถ้าพ่อแม่จน ลูกก็มีแนวโน้มที่จะจนตลอด
ชีวิต) “สถานะทางสังคม” ในสังคมที่มีความเหลื่อมล้ำสูง จึงมีความสำคัญต่อการได้รับการยอมรับจากคนอื่น
มากกว่าในสังคมที่มีความเท่าเทียมกันมากกว่า

พูดง่ายๆ คือ ยิ่งสังคมมีความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจสูง วิถีชีวิตของคนแต่ละชนชั้นแตกต่างกันมาก คนยิ่งรู้สึก


ว่าต้องกระเสือกกระสนดิ้นรน อยากรวยเพื่อให้คนอื่นยอมรับ ไคว่ขว้าหาวัตถุสิ่งของต่างๆ มา “ประดับบารมี”
จะได้ “ไม่น้อยหน้าใคร”

ถ้าหากสังคมที่ “พิกลพิการ” (dysfunctional) เกิดจากความเหลื่อมล้ำจริงๆ ปัญหาที่เรามักจะมองว่าเป็น


“ปัญหาส่วนตัว” อย่างเช่นความรู้สึกแปลกแยกโดดเดี่ยว อาการซึมเศร้า และมหกรรมวัตถุนิยม ที่แท้ก็ไม่ใช่
ปัญหาส่วนตัว แต่เป็นปัญหาเชิงโครงสร้าง แก้ด้วยการบอกให้คนไปบำบัดไม่ได้ ต้องลดความเหลื่อมล้ำลง
เท่านั้น
คำถามหนึ่งที่ตามมาคือ ถ้าหากความเหลื่อมล้ำระดับสูงมีราคาแพงทั้งทางเศรษฐกิจและสังคม แล้วความเท่า
เทียมกันมีราคาอะไรที่เราต้องจ่ายหรือไม่ ต่อเรื่องนี้วิลกินสันกับพิคเก็ตต์ตั้งข้อสังเกตว่า อัตราการฆ่าตัวตายที่
ค่อนข้างสูงของสวีเดนและญี่ปุ่น สองประเทศที่มีระดับความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจต่ำที่สุดในโลก อาจสะท้อน
ว่าปัจเจกต้อง “เสียสละ” ความเป็นตัวของตัวเองบางส่วนไป อยู่ใต้แรงกดดันให้ทำตามขนบของสังคมอย่าง
เคร่งครัดเพื่อรักษาความเท่าเทียมกัน ฉะนั้นเวลาที่ชีวิตเดินไปผิดทาง หรือรู้สึกว่าตนกลายเป็น “คนนอก” คน
ในสังคมแบบนี้ก็อาจรู้สึกว่าเป็นความผิดของตัวเอง โทษตัวเองแทนที่จะโทษสังคม มีแนวโน้มที่จะฆ่าตัวตาย
มากกว่าในสังคมอื่นที่เหลื่อมล้ำกว่า เป็นปัจเจกนิยมมากกว่า

สวีเดนกับญี่ปุ่นมิใช่ประเทศที่ดีพร้อมสมบูรณ์แบบ แต่เมื่อชั่งน้ำหนักระหว่างราคาของความเหลื่อมล้ำระดับสูง
กับราคาของความเท่าเทียมกันระดับสูง แล้วหันกลับมามองดูรูปธรรมของความเหลื่อมล้ำด้านเศรษฐกิจ สิทธิ
และโอกาสในสังคมไทยทุกวันนี้ เราก็น่าจะตอบได้ไม่ยากนักว่า สังคมแบบไหนน่าอยู่กว่ากัน
มายาคติเกี่ยวกับศีลธรรมและความรับผิดชอบของธุรกิจ

19. ราคาของศีลธรรม

นักเศรษฐศาสตร์ชอบพูดว่า “โลกนี้ไม่มีอะไรฟรี” เพราะถึงแม้เราจะได้บางสิ่งมาโดยไม่เสียเงิน เราก็จะต้องเสีย


อย่างอื่นแทน ไม่ว่าเวลา มันสมอง สุขภาพกาย หรือสุขภาพจิต

ในบรรดาสิ่งที่มองเห็น “ราคา” ยากที่สุด น่าจะเป็นสิ่งที่เราคิดว่า “ดี” โดยไม่มีเงื่อนไข ไม่ว่าจะเป็นความรัก


สันติภาพ หรือแม้แต่ศีลธรรมก็ตาม

หลายคนอ่านแล้วคงนึกสงสัยว่า ศีลธรรมเป็นสิ่งดีงามมิใช่หรือ จะมี “ราคา” อะไรอีกเล่า?

ตอบอย่างพุทธก็ต้องบอกว่า การยึดมั่นถือมั่นทั้งหลาย ไม่ว่าจะในความดีหรือความเลว ล้วนแต่ไม่ดีทั้งนั้น ดังที่


ท่านพุทธทาสภิกขุสรุปใน คู่มือมนุษย์ อย่างเรียบง่ายได้ใจความว่า

“แม้ที่สุด “ความดี” ที่ใครๆ บูชากัน ถ้าหากว่าใครเข้าไปเกี่ยวข้องกับความดีในอาการที่ผิดทาง และยึดถือมาก


เกินไป ก็จะได้รับความทุกข์จากความดีนั้นๆ เช่นเดียวกัน”

ตอบอย่างวิทยาศาสตร์ ศีลธรรมและจริยธรรมทั้งมวลมีราคา เพราะชุดคุณค่าที่เราเชื่อมั่น อาจขัดแย้งกับชุดคุณ


ค่าที่คนอื่นเชื่อมั่นก็เป็นได้

พูดง่ายๆ คือ ศีลธรรมของเราและของเขาอาจ “ดี” ทั้งคู่ เพียงแต่คิดและเชื่อต่างกัน เมื่อใดก็ตามที่ความไม่


เข้าใจว่าทำไมคนอื่นจึงคิดไม่เหมือนเรา แปรเปลี่ยนเป็นความกลัวและความเกลียด มองอีกฝ่ายเป็น “อธรรม”
ที่ต้อง “กำจัด” เมื่อนั้นประวัติศาสตร์โลกก็ได้จารึกเลือดอีกหนึ่งหน้า บันทึกบทตอนที่คนนับพันหมื่นแสนล้าน
ต้องล้มตายในนามของศีลธรรม

แต่คนเรามายึดถือชุดศีลธรรมที่แตกต่างกันได้อย่างไร ทำไมบางคนถึงเป็นนักเสรีนิยม บางคนเป็นนักอนุรักษ์


นิยม บางคนยึดถือคุณธรรมแบบจอมยุทธ บางคนเป็นนักเลง บางคนเชิดชูครอบครัวเหนืออื่นใด? หลายคนอาจ
ตอบว่า น่าจะขึ้นอยู่กับการเลี้ยงดู ผสมกับสภาพแวดล้อมและประสบการณ์ตอนโต แต่ข้อค้นพบทาง
วิทยาศาสตร์ชี้ว่าความจริงซับซ้อนกว่านั้น ชี้ให้เราเห็น “ราคา” ของศีลธรรมได้อย่างลึกซึ้งมากขึ้น
นักจิตวิทยาศีลธรรม (moral psychologists) พยายามตอบคำถามว่า สำนึกทางศีลธรรมของคนเรามาจากไหน
ด้วยการค้นคว้าวิจัยทางจิตวิทยา โดยใช้ข้อค้นพบจากสาขาชีววิทยาวิวัฒนาการ ประสาทวิทยา มานุษยวิทยา
และศาสตร์อื่นๆ มาผนวกรวมเข้าเป็นองค์ความรู้เกี่ยวกับศีลธรรมและจริยธรรมของมนุษย์

นักจิตวิทยาศีลธรรมค้นพบอะไรบ้าง? โจนาฮาน เฮดท์ (Jonathan Haidt) นักจิตวิทยาศีลธรรมชื่อดัง สรุปใน


หนังสือเรื่อง The Righteous Mind (จิตดี) ว่า สำนึกทางศีลธรรมของคนเราขึ้นรูปจากประวัติศาสตร์
วิวัฒนาการของมนุษย์ พูดง่ายๆ คือ ธรรมชาติมอบ “ร่างแรก” ของพิมพ์เขียวสำนึกทางศีลธรรมให้กับเราตั้งแต่
แรกเกิด หลังจากนั้นวัฒนธรรมและประสบการณ์ส่วนตัวก็ค่อยๆ หล่อหลอมสำนึกนั้นออกมาเป็นปัจเจกที่มี
เอกลักษณ์ไม่เหมือนใคร

เฮดท์ขยายความต่อไปว่า โดยพื้นฐานแล้วเราทุกคนคือกลอคอน (Glaucon) ตัวละครใน The Republic ของ


เพลโต ผู้เสนอว่าจริงๆ แล้วเราไม่ได้อยาก เป็น คนดี แต่เราอยาก ดูเหมือน คนดีเพื่อรักษาชื่อเสียงในชุมชน
อยากให้คนอื่นมองเราดีมากกว่าร้าย เฮดท์ย้ำว่า “การคัดสรรแบบกลุ่ม” (group selection) สำคัญมาก
ธรรมชาติมนุษย์ที่ผ่านมาปรับตัวในทางที่ส่งเสริมความสามัคคีกันในกลุ่มและความเข้มแข็งของกลุ่ม ไม่ใช่
ความสำเร็จของปัจเจก รหัสพันธุกรรมของมนุษย์เราทุกวันนี้ไม่ได้ตกทอดมาถึงเราเพราะบรรพบุรุษของเรา
“บางคน” เอาชนะคนร่วมเผ่าได้ แต่เป็นเพราะเผ่าบรรพบุรุษของเรา “บางเผ่า” เอาชนะเผ่าอื่นได้ (ร่วมมือกัน
เวลาถูกโจมตีได้ดีกว่า ขับไล่คนทรยศออกนอกกลุ่มได้เข้มกว่า สมัครสมานสามัคคีกันมากกว่า) โดยเผ่าที่พ่าย
แพ้ก็ถูกลบเลือนออกไปจากประวัติศาสตร์ เหลือดีเอ็นเอไว้ให้เราดูต่างหน้าน้อยมาก

โดยเหตุที่รหัสพันธุกรรมของเราตกทอดมาจากเผ่าที่ชนะ มนุษย์เราจึงวิวัฒนาการมาเป็น “สัตว์สังคม” และชุด


คุณค่าต่างๆ ที่เราให้ความหมายในนามของคุณธรรม ศีลธรรม และจริยธรรม จึงมักจะถูกขีดวางขอบเขตอยู่ใน
“กลุ่มของเรา” เท่านั้น กลุ่มอื่นไม่นับ ระดับของกลุ่มมีตั้งแต่กลุ่มที่ย่อยที่สุดอย่างครอบครัว ไปจนถึงกลุ่มญาติ
เพื่อน หมู่บ้าน ภูมิภาค หรือประเทศ รวมถึงอาจเป็นกลุ่มที่แบ่งตามเชื้อชาติ ศาสนา ความเชื่อ ภาษา และเส้น
สมมติอื่นๆ อีกมากมาย

(ด้วยเหตุนี้ การรณรงค์เรียกร้องให้คนไทยบริจาคเงินช่วยเหลือผู้ประสบภัยร้ายในดินแดนห่างไกล อาทิ


ผู้ประสบภัยแผ่นดินไหวในเฮติ จึงยากเย็นกว่าการระดมความช่วยเหลือเมื่อเกิดเหตุร้ายในไทย เพราะความมี
น้ำใจต่อคนต่างกลุ่มเป็น “ทักษะ” ที่ต้องฝึกฝนอย่างต่อเนื่อง ต่างจากความมีน้ำใจต่อคนในกลุ่มซึ่งมีโดยสำนึก)

เหตุที่เราวิวัฒน์มาเป็นสัตว์สังคม กฏทางศีลธรรมที่เราพัฒนาจึงถูกประยุกต์ใช้กับ “คนในกลุ่ม” (in-group) คือ


คนที่เราเชื่อว่าสังกัดวัฒนธรรม เชื้อชาติ ศาสนา ฯลฯ “เดียวกัน” กับเรา ไม่ใช่ “คนนอกกลุ่ม” (out-group)
แบบจำลองวิวัฒนาการในคอมพิวเตอร์แสดงผลว่า การแบ่งแยก “คนในกลุ่ม” กับ “คนนอกกลุ่ม” เช่นนี้เป็น
ผลดีต่อการเอาตัวรอดของเผ่า แต่ก็อาจทำให้คนในกลุ่มสามัคคีกันอย่างเหนียวแน่นเกินคาด และเป็นปฏิปักษ์
ต่อคนนอกกลุ่มอย่างก้าวร้าวเกินคาดเช่นเดียวกัน นักจิตวิทยาศีลธรรมบางคน อาทิ แกรี จอห์นสัน (Gary
Johnson) และ วี.เอส. ฟัลเกอร์ (V.S. Falger) เสนอว่า ความรู้สึกนึกคิดที่เราเรียกว่า “ชาตินิยม” และ “ความ
รักชาติ” แท้จริงก็คือรูปแบบหนึ่งของการแบ่งคนออกเป็นในกลุ่มและนอกกลุ่มเช่นนี้

งานวิจัยของนักจิตวิทยาศีลธรรมอย่างเฮดท์ช่วยเผยความเร้นลับของศีลธรรมให้เราเห็นอีกหลายชั้น โดยเฉพาะ
ในระดับของการเมือง ซึ่งมีศีลธรรมเข้ามาข้องเกี่ยวอย่างหนีไม่พ้น เพราะถ้าหากศีลธรรมช่วยเราตอบคำถามว่า
“เราควรใช้ชีวิตอย่างไร” ในระดับปัจเจก การเมืองก็พยายามตอบคำถามเดียวกันในระดับที่ใหญ่กว่า คือสังคม
ทั้งสังคม

เฮดท์กับเพื่อนร่วมงานของเขาศึกษาความแตกต่างระหว่างคนที่เรียกตัวเองว่า “เสรีนิยม” (liberal) กับคนที่


เรียกตัวเองว่า “อนุรักษ์นิยม” (conservative) ในอเมริกา ผ่านการใช้แบบสอบถาม สัมภาษณ์ และการสังเกต
พฤติกรรม ทีมวิจัยพบว่านักอนุรักษ์นิยมใช้หลักเกณฑ์เกี่ยวกับคนในกลุ่มเป็นรากฐานของชุดศีลธรรมที่พวกเขา
ยึดถือ มากกว่านักเสรีนิยมมาก ชาวอเมริกันที่ระบุว่าตัวเองเป็น “เสรีนิยม” มักจะให้น้ำหนักกับคุณค่า “ความ
มีน้ำใจ” กับ “ความเป็นธรรม” มากกว่า “ความภักดี” (ต่อกลุ่ม) “ความเคารพนับถือ” และ “ความบริสุทธิ์/
ศักดิ์สิทธิ์” (เช่น ความศักดิ์สิทธิ์ละเมิดมิได้ของร่างกายมนุษย์ เป็นต้น) ในทางกลับกัน คนที่บอกว่าตัวเองเป็น
“อนุรักษ์นิยม” โดยรวมให้น้ำหนักกับคุณค่าสามอย่างหลัง มากกว่าความมีน้ำใจกับความเป็นธรรม ในบรรดา
คุณค่าพื้นฐานทั้งห้าอย่าง ทั้งสองกลุ่มให้น้ำหนักกับ “ความมีน้ำใจ” สูงสุด แต่กลุ่มอนุรักษ์นิยมให้น้ำหนักกับ
ความเป็นธรรมน้อยที่สุด ขณะที่กลุ่มเสรีนิยมให้น้ำหนักกับความบริสุทธิ์/ศักดิ์สิทธิ์น้อยที่สุด

รากฐานของความแตกต่างระหว่างคนสองกลุ่มนี้มาจากไหนในวิวัฒนาการของมนุษย์? เฮดท์เสนอว่าปัจจัยทาง
ภูมิศาสตร์น่าจะมีส่วนสำคัญ จากการที่เขาสังเกตว่าชุมชนที่สมาชิกมีความใกล้ชิดกันสูง ทั้งกลุ่มมีเชื้อชาติและ
ชาติพันธุ์เดียวกัน มีแนวโน้มที่จะเป็นอนุรักษ์นิยมอย่างเข้มข้นที่สุด ในขณะที่คนในชุมชนชายฝั่งอย่างเมืองท่า
ซึ่งมีความหลากหลายทางวัฒนธรรมสูงกว่า (มีคนอพยพจากต่างแดนขึ้นฝั่งมาอาศัยอยู่มากกว่า) มักจะเป็นเสรี
นิยมมากกว่า เพราะการต้องพบปะสังสันทน์ ค้าขายและอยู่ร่วมกับคนต่างวัฒนธรรม “จำเป็น” ต้องใช้แนวคิด
แบบเสรีนิยมมากกว่าอนุรักษ์นิยม ให้น้ำหนักกับความมีน้ำใจ (ต่อคนแปลกหน้า) และความเป็นธรรม (ระหว่าง
คนต่างกลุ่ม) มากกว่าความภักดี (ต่อกลุ่มของตัวเอง) และความบริสุทธิ์ (ของเชื้อชาติ/ชาติพันธุ์)

จิตวิทยาศีลธรรมมีข้อค้นพบอื่นที่น่าสนใจอีกมากมาย อาทิ “ความยืดหยุ่นทางศีลธรรม” (moral flexibility)


ที่เรามักจะดูแคลนกันว่าเป็นเครื่องหมายของคนเหลาะแหละไร้หลักการนั้น (เพราะเราเชื่อว่า “คนดี” คือคนที่
ยึดมั่นชุดศีลธรรมชุดใดชุดหนึ่งอย่างแน่วแน่มั่นคง) แท้จริงแล้วก็เป็น “ทักษะ” สำคัญที่จำเป็นต่อการ
ดำรงชีวิต โดยเฉพาะงานที่เผชิญหน้ากับความท้าทายทางศีลธรรมเป็นประจำ อาทิ คนแล่เนื้อสัตว์ เพชฌฆาต
และทหาร ซึ่งต้องปลิดชีวิตอื่นโดยหน้าที่ นักวิจัยพบว่า ผู้ประกอบอาชีพเหล่านี้ “ปรับ” การตัดสินใจทาง
ศีลธรรมของพวกในกระบวนการ “เข้าข้างตัวเอง” ที่นักจิตวิทยาเรียกว่า “การถอยห่างทางศีลธรรม” (moral
distancing) เพื่อทำให้จิตใจของพวกเขารับได้กับการกระทำของตัวเอง เช่น เพชฌฆาตมีแนวโน้มมากกว่าคน
อื่นที่จะตอบว่า นักโทษประหารได้ “สูญเสียคุณสมบัติสำคัญของความเป็นมนุษย์ไปแล้ว” และ “ถ้าไม่ประหาร
นักโทษอาจหนีคุกออกไปฆ่าคนอีก”

งานของนักจิตวิทยาศีลธรรมเผยให้เราเห็นว่า เราทุกคนมีแนวโน้มที่จะถอยห่างทางศีลธรรมทั้งนั้น และคนที่มี


อุดมการณ์ทางการเมืองต่างกัน แท้จริงต่างก็มี “ศีลธรรม” ที่ตนเองยึดถือ ให้คุณค่ากับคุณธรรมพื้นฐานคล้ายๆ
กัน เพียงแต่ให้น้ำหนักแต่ละเรื่องไม่เท่ากัน แต่ความแตกต่างของน้ำหนักก็เพียงพอที่จะทำให้มองโลกไม่
เหมือนกัน

ศีลธรรมมีราคาแพงลิ่วทุกเมื่อที่เรามองไม่เห็นความจริงข้างต้น เข้าใจผิดไปว่า มีแต่ “พวกของเรา” เท่านั้นที่


“มี” ศีลธรรม อีกฝ่ายเป็น “คนเลว” ที่สมควรถูก “กำจัด” ด้วยประการทั้งปวง.
20. ราคาของอคติ

หลายสิ่งหลายอย่างในโลกนี้เรารู้ดีว่าไม่พึงปรารถนาและไม่น่าพิศมัย แต่ก็ไม่ใยดีกับการพยายามมองให้เห็น
“ราคา” ของมันอย่างถ่องแท้เพื่อลดต้นทุนที่ต้องจำใจจ่าย ซ้ำร้ายยังไม่ค่อยอยากยอมรับว่าเราเองก็เป็นส่วน
หนึ่งที่ตอกตรึงราคา โดยที่ภาระในการจ่ายตกเป็นของคนอื่น

“อคติ” เป็นสิ่งที่เรารู้อยู่แก่ใจว่าไม่ดี แต่มีน้อยคนที่อยากปริปากยอมรับว่าตนมีอคติ บ่อยครั้งไม่รู้ตัวด้วยซ้ำว่ามี


ด้วยเหตุนี้การมองให้เห็นราคาของอคติจึงเป็นความท้าทายอันใหญ่หลวงสำหรับนักวิทยาศาสตร์ นักจิตวิทยา
และนักเศรษฐศาสตร์พฤติกรรม ผู้รับหน้าที่นักสืบปริศนาแห่งก้นบึ้งจิตใจของมนุษย์

นักวิจัยสืบหาราคาของอคติอย่างไร? การทดสอบที่ใช้กันแพร่หลายที่สุดวิธีหนึ่งคือ “การทดสอบการเชื่อมโยง


โดยนัย” (Implicit-Association Test ย่อว่า IAT) วัดระยะเวลาที่ผู้คนใช้ในการเชื่อมโยงคำต่างๆ ซึ่งอธิบาย
ลักษณะสีหน้าท่าทาง เข้ากับใบหน้าที่แสดงอาการดังกล่าว ในกรณีที่ถ้อยคำสื่อลักษณะเป็นบวก เช่น
“หัวเราะ” หรือ “ร่าเริง” เรามักจะใช้เวลาจับคู่คำเหล่านี้เข้ากับใบหน้าที่จิตใต้สำนึกของเราไม่ชอบ มากกว่า
เวลาที่เราใช้จับคู่คำเข้ากับใบหน้าที่เราชอบ เช่น ถ้าเราเป็นคนขาวที่มีอคติต่อคนผิวดำ เราจะมีแนวโน้มที่จะ
ชะงักเวลาเห็นภาพคนผิวดำกำลังหัวเราะ ใช้เวลาจับคู่คำว่า “ร่าเริง” เข้ากับภาพนี้นานกว่าภาพคนผิวขาวกำลัง
หัวเราะ ดังนั้นการทดสอบ IAT จึงสามารถเผยให้เห็นอคติที่ผู้เข้าร่วมการทดสอบอาจไม่รู้ว่าตัวเองมี

(ลองทำแบบทดสอบ IAT ด้วยตัวเองได้บนเว็บไซต์ https://implicit.harvard.edu/implicit/thailand/)

เมื่อไม่นานมานี้ ทีมวิจัยจากมหาวิทยาลัยชิคาโก สหรัฐอเมริกา นำโดย ยูจีน คารูโซ (Eugene Caruso) ต่อยอด


การศึกษาอคติไปอีกขั้น ด้วยการนำเทคนิควิธีจากวิชาวิจัยตลาด เรียกว่า “การวิเคราะห์องค์ประกอบร่วม”
(Conjoint Analysis) มาประยุกต์ใช้เพื่อศึกษาอคติในสถานการณ์ที่สมจริง

โดยทั่วไป นักวิจัยตลาดใช้วิธีวเิ คราะห์องค์ประกอบร่วมในการวัดว่าลักษณะเด่นของสินค้าแต่ละลักษณะมี


“มูลค่า” เท่าไรในสายตาของผู้บริโภค เพื่อให้ได้คำตอบซึ่งมีประโยชน์ทางการตลาด เช่น ผู้บริโภคจะยินดีจ่าย
เพิ่มเท่าไรถ้าอยากให้หน้าจอของมือถือรุ่นนี้ใหญ่ขึ้นอีก 1 นิ้ว ในทำนองคล้ายกัน ทีมของคารูโซรับสมัคร
นักศึกษา 101 คนมาเข้าร่วมการทดลอง ให้ทุกคนจินตนาการว่ากำลังจะเข้าร่วมเกมโชว์ตอบคำถามความรู้
รอบตัวที่มีรางวัลเป็นเงินสด ทีมวิจัยแสดงประวัติย่อของบุคคลสมมุติจำนวนมาก ขอให้ผู้เข้าร่วมโหวตเลือกว่า
อยากได้ใครเป็นสมาชิกในทีม
บุคคลเหล่านี้แตกต่างกันหลายลักษณะ มีสามลักษณะที่น่าจะเชื่อมโยงกับโอกาสที่จะชนะเกมโชว์ ได้แก่ ระดับ
การศึกษา ไอคิว และประสบการณ์การแข่งขัน นอกจากนี้ แต่ละคนยังมีรูปถ่ายที่แสดงรูปร่างว่าอ้วนท้วนหรือ
ผอมเพรียว ทีมวิจัยขอให้ผู้เข้าร่วมการทดลองแต่ละคนตอบว่า ลักษณะแต่ละอย่างสำคัญต่อการตัดสินใจมาก
น้อยเพียงใด

คำบอกเล่าของนักศึกษาที่เข้าร่วมการทดลองไม่ทำให้ใครแปลกใจ พวกเขาล้วนยืนกรานว่า “น้ำหนัก” ของ


บุคคลที่เป็นตัวเลือกเข้าทีมนั้นเป็นปัจจัยที่ “สำคัญน้อยที่สุด” ในการตัดสินใจ อย่างไรก็ดี การตัดสินใจจริงๆ ชี้
ชัดว่ามันเป็นปัจจัยที่สำคัญมากที่สุดต่างหาก – ผลการทดลองเผยว่านักศึกษายินดีเสียไอคิว 11 แต้ม หรือคิด
เป็นครึ่งหนึ่งของระยะไอคิวทั้งหมดที่มีให้เลือก แลกกับการได้สมาชิกที่ผอมกว่าเดิม

ทีมวิจัยทำการทดลองแนวนี้อีกหลายครั้ง ครั้งหนึ่งพบว่าการตัดสินใจของนักศึกษาเกี่ยวกับบริษัทที่อยากทำงาน
ด้วยนั้นสอดคล้องกับคำบอกเล่าของเจ้าตัวในสามประเด็น นั่นคือ อัตราเงินเดือน สถานที่ และจำนวนวันลาพัก
ร้อน แต่สำหรับ “เพศของเจ้านาย” ซึ่งนักศึกษากล่าวปฏิเสธว่าไม่ใช่ปัจจัยสำคัญ ผลการทดลองกลับชี้ว่าพวก
เขายินดีลดเงินเดือนตัวเองลงร้อยละ 22 แลกกับการได้เจ้านายเป็นผู้ชาย ไม่ว่านักศึกษาจะเป็นผู้ชายหรือ
ผู้หญิงก็ตาม

ผลการทดลองอื่นๆ ทำนองนี้อีกหลายชิ้นเผยให้เห็นว่า คนเราบ่อยครั้งมีอคติแต่ไม่ยอมรับว่าตัวเองมีอคติ


เพราะอคติอยู่ลึกถึงระดับจิตใต้สำนึก โดยเฉพาะอคติที่เกี่ยวกับเพศ เพศสภาพ เชื้อชาติ น้ำหนัก สีผิว ศาสนา
และความเชื่อทางการเมือง

ในเมื่อเรามักจะมองไม่เห็นอคติของตัวเอง ก็ป่วยการที่เราจะมองเห็น “ราคา” ของมัน โดยเฉพาะราคาที่เป้า


ของอคติหรือสังคมส่วนรวมต้องจ่าย เรามิได้เป็นคนจ่าย หากแต่เป็นคน “ตั้งราคา” นั้นให้แพงลิบลิ่ว

ราคาของอคติในระดับปัจเจกซึ่งอาจรุนแรงที่สุดคือ คนที่ตกเป็นเหยื่อของอคติมีแนวโน้มที่จะรู้สึกว่าตน “ด้อย


กว่า” ตามที่โดนผู้เปี่ยมอคติชี้นำ และความรู้สึกนี้ก็ส่งผล (อย่างที่เจ้าตัวไม่ตั้งใจ) ให้พฤติกรรมออกมา “ด้อย
กว่า” คนอื่นจริงๆ เท่ากับทำให้คำทำนายกลายเป็นจริง หรือที่ภาษาอังกฤษเรียกว่า “self-fulfilling
prophecy”

คนผิวดำสมัยที่การค้าทาสยังถูกกฎหมาย ผู้พิการยากจนที่ไม่ได้รับการเหลียวแล ชนพื้นเมืองซึ่งกลายเป็น


แรงงานราคาถูกในยุคล่าอาณานิคม หรือจัณฑาลในสังคมอุดมวรรณะอย่างอินเดีย – คนเหล่านี้ล้วนแต่มี
แนวโน้มที่จะทำตัว “ต้อยต่ำ” ไร้ศักดิ์ศรี มิใช่เพราะพวกเขาต่ำต้อย หากเป็นเพราะถูกปฏิบัติเยี่ยงนั้นจากผู้ที่กด
ขี่ข่มเหงด้วยอคติ
ยิ่งตกเป็นเป้าของอคติ ยิ่งมีความเสี่ยงที่จะทำตัวไร้ศักดิ์ศรี ยิ่งตอกย้ำให้ผู้กระทำถลำลึกลงในอคติของตัวเองเข้า
ไปอีกว่า คนบางกลุ่มบางจำพวกเกิดมาโง่กว่า ด้อยกว่า มีความเป็นมนุษย์น้อยกว่า ฯลฯ

ราคาของอคติในระดับปัจเจกเช่นนี้ เมื่อมารวมหมู่กันเป็นระดับสังคม ราคานั้นก็อาจแพงถึงขั้นส่งผลต่อการ


พัฒนาเศรษฐกิจสมัยใหม่ ไม่เพียงแต่กีดกันความเป็นธรรมในสังคม

ริชาร์ด ฟลอริดา (Richard Florida) นักเศรษฐศาสตร์และนักสังคมวิทยา ผู้โด่งดังจากการประดิษฐ์คำว่า “ชน


ชั้นสร้างสรรค์” (creative class) ขึ้นมาอธิบายกลุ่มคนที่เขามองว่า เป็นหัวจักรทางเศรษฐกิจที่สำคัญที่สุดใน
เศรษฐกิจฐานความรู้ที่เราอยู่ในปัจจุบัน ฟลอริดาสนใจราคาของอคติเพราะเขามองว่ามันกีดกันพัฒนาการของ
เศรษฐกิจสร้างสรรค์ เพราะคนจะสร้างสรรค์ได้ดีต้องอยู่ในสภาพแวดล้อมที่เต็มไปด้วยความหลากหลาย และ
ปัจจัยที่สำคัญเป็นอันดับต้นๆ ในการรักษาความหลากหลาย ก็คือ “การยอมรับความแตกต่าง” (tolerance)
นั่นเอง

ในปี 1998 ฟลอริดากับเพื่อนร่วมงานคือ แกรี เกตส์ (Gary Gates) ร่วมกันพัฒนา “ดัชนีเกย์” (Gay Index)
ขึ้นมาศึกษาความเชื่อมโยงระหว่างประชากรเกย์กับเศรษฐกิจในสหรัฐอเมริกา พวกเขาพบว่าเมืองที่มีประชากร
เกย์มากที่สุดนั้นมักจะเป็นเมืองที่มีอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจสูงกว่าเมืองอื่นด้วย ในมุมมองของฟลอริดา นี่
เป็นข้อยืนยันว่าเศรษฐกิจเติบโตได้ดีที่สุดในเมืองที่ยอมรับความแตกต่าง หลากหลาย และเปิดรับความคิด
สร้างสรรค์รวมถึงขั้นแหกขนบทั้งหลาย

เกย์เป็นกลุ่มคนที่ตกเป็นเหยื่อของอคติและการเลือกปฏิบัติสูงเป็นอันดับต้นๆ และอาจกล่าวได้ว่าเป็นพรมแดน
ท้ายๆ ของการต่อสู้เพื่อความหลากหลายในสังคมปัจจุบัน (ซึ่งยอมรับสิทธิของสตรี ชนกลุ่มน้อย และคนต่างสี
ผิวไปค่อนข้างมากแล้วในครึ่งศตวรรษก่อนหน้า) ด้วยเหตุนี้ เมืองที่อ้าแขนต้อนรับชุมชนเกย์จึงน่าจะเป็นเมืองที่
ยินดีต้อนรับคนทุกประเภท

ในปี 2012 ฟลอริดาประดิษฐ์ “ดัชนีอคติโลก” (Global Prejudice Index ย่อว่า GPI) ขึน้ มาจากคำตอบของ
คำถาม 4 ข้อ จากแบบสำรวจของแกลลัพ (Gallup Poll) ซึ่งสำรวจความคิดเห็นคนทั่วโลก : เมืองของคุณเป็น
เมืองที่น่าอยู่หรือไม่สำหรับ 1) ชนกลุ่มน้อยทางศาสนา 2) ชนกลุ่มน้อยทางชาติพันธุ์และสีผิว 3) เกย์และเล
สเบี้ยน และ 4) แรงงานต่างด้าว

ผลการคำนวณดัชนีอคติโลก (ดูแผนที่ได้จาก http://www.citylab.com/politics/2012/01/high-price-


prejudice/852/
) บ่งชี้ว่า ประเทศที่มีอคติค่อนข้างสูงคืออดีตสหภาพโซเวียต ทวีปตะวันออกกลาง ทวีปแอฟริกา และทวีป
เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ – ไทย อินโดนีเซีย และกัมพูชาติดอันดับประเทศที่มีอคติสูงสุด 10 อันดับแรก ตามมา
ด้วยมองโกเลีย (อันดับที่ 12) และเวียดนาม (อันดับที่ 24)

ฟลอริดายอมรับว่าเรายังไม่รู้ทิศของลูกศรเหตุปัจจัย กล่าวคือ เรายังไม่รู้ชัดว่าอคติมีส่วนถ่วงความเจริญทาง


เศรษฐกิจ หรือว่าความล้าหลังทางเศรษฐกิจส่งผลให้คนมีอคติกันแน่ แต่ที่แน่ๆ เรามองเห็นความสัมพันธ์อย่าง
ชัดเจนระหว่างระดับการพัฒนาทางเศรษฐกิจกับระดับอคติ – ประเทศที่มีอคติค่อนข้างสูงมักจะมีรายได้ต่ำกว่า
นวัตกรรมน้อยกว่า วัฒนธรรมผู้ประกอบการด้อยกว่า และมีระดับความพึงพอใจในชีวิตต่ำกว่าประเทศที่มีอคติ
น้อยกว่า

ฟลอริดาสรุปว่า อคติไม่เพียงแต่น่ารังเกียจทางศีลธรรมเท่านั้น หากยังสร้างผลเสียทางเศรษฐกิจที่ชัดเจนอีก


ด้วย

ในยุคที่เศรษฐกิจไทยต้องพึ่งพิงแรงงานต่างด้าวมากขึ้นเรื่อยๆ และเปิดประเทศเพื่อคบค้าสมาคมอย่างใกล้ชิด
มากขึ้นกับประเทศร่วม “ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน” ก็น่าคิดว่าคนไทยจะต้องจ่าย “ราคา” ของอคติทางใด
และเท่าไร – อคติที่เรายังมีต่อแรงงานต่างด้าวและประเทศเพื่อนบ้านซึ่งถูกฝังรากลึกมาเนิ่นนาน ผ่าน
แบบเรียนและกระแสคลั่งชาติซึ่งถูกโหมประโคมเป็นระยะๆ ตามแต่วาระการ “กู้ชาติ”.
21. มายาคติเกี่ยวกับซีเอสอาร์

ทุกวันนี้ “ความรับผิดชอบต่อสังคมของธุรกิจ” หรือชื่อย่อ “ซีเอสอาร์” ในประเทศพัฒนาแล้วกำลังเคลื่อนเข้าสู่


การเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญ ช้าบ้างเร็วบ้างแล้วแต่ความตื่นตัวของสังคมแต่ละประเทศ นั่นคือ จากที่ซีเอสอาร์
เคยถูกมองว่าเป็นกิจกรรมที่ “ทำก็ดี ไม่ทำก็ไม่เป็นไร” ซึ่งแยกขาดจากการทำธุรกิจหลัก กลายเป็นสิ่งที่ “ต้อง
ทำ” ในศตวรรษที่ 21 และต้องบูรณาการเข้ากับทุกมิติของการดำเนินธุรกิจ

เพราะสังคมสมัยใหม่หลายประเทศมองเห็นผลกระทบด้านลบที่เกิดจากการทำธุรกิจอย่างชัดเจนขึ้นเรื่อยๆ และ
เรียกร้องให้ภาคธุรกิจมีบทบาทนำในการแก้ไขปัญหาด้านสังคมและสิ่งแวดล้อม ทั้งที่เกิดจากตัวเอง และเกิด
จากความไม่เอาไหนของภาครัฐ

การเปลี่ยนกระบวนทัศน์ในการดำเนินธุรกิจไปสู่ “ธุรกิจที่ยั่งยืน” ที่สอดคล้องกับแนวคิด “การพัฒนาที่ยั่งยืน”


(ซึ่งนิยามกว้างๆ คือ การพัฒนาที่ไม่ลิดรอนความสามารถของคนรุ่นหลังในการตอบสนองต่อความต้องการของ
ตัวเอง) จึงกลายเป็นส่วนสำคัญที่ขาดไม่ได้ของการแสดง “ความรับผิดชอบต่อสังคม” ของธุรกิจ

พูดอีกอย่างคือ แนวคิด “ธุรกิจที่ยั่งยืน” ช่วยสร้างกรอบ “ทิศทาง” ที่ควรเดิน ให้กับการแสดง “ความ


รับผิดชอบต่อสังคม” ของธุรกิจ

อย่างไรก็ดี ความเข้าใจเรื่อง “ซีเอสอาร์” และ “ธุรกิจที่ยั่งยืน” ในไทยยังคลาดเคลื่อนอยู่มาก ทั้งในภาคธุรกิจ


โดยรวม และภาคส่วนอื่นๆ นอกโลกธุรกิจ

ในภาคธุรกิจ บริษัทจำนวนมากยังเข้าใจผิดว่า ลำพังการได้รางวัลต่างๆ ในประเทศที่เกี่ยวกับซีเอสอาร์ และการ


จัดทำ “รายงานความยั่งยืน” ตามมาตรฐานการเปิดเผยข้อมูลสากล ก็เพียงพอแล้วที่จะใช้เป็น “ข้อพิสูจน์” ว่า
ตัวเองกำลังเดินอยู่บนเส้นทางสู่ “ธุรกิจที่ยั่งยืน”

โดยหารู้ไม่ว่า รางวัลเหล่านี้ส่วนใหญ่เป็นเพียง “กุศโลบาย” กระตุ้นให้บริษัทตื่นตัว ฉุกให้ครุ่นคิดเรื่องการ


เปลี่ยนแปลงวิถีธุรกิจอย่างจริงจัง มิใช่ตราประทับรับรองว่าบริษัทนั้นๆ “ยั่งยืนแล้ว” แต่อย่างใด

ข้อพิสูจน์ว่ากำลังออกเดินบนถนนสู่ความยั่งยืนที่แท้จริง อยู่ในการเปลี่ยนวิถีธุรกิจไปในทางที่ยั่งยืนกว่าเดิม ซึ่งก็


ต้องเริ่มต้นจากการทำความเข้าใจอย่างถ่องแท้ว่า การดำเนินธุรกิจของบริษัทที่ผ่านมานั้น “ไม่ยั่งยืน” อย่างไร
มีส่วนสร้างปัญหาอะไร และผู้มีส่วนได้ส่วนเสียฝ่ายต่างๆ คาดหวังอะไรจากบริษัท
ซึ่งก็แตกต่างกันไปตามอุตสาหกรรม เพราะแต่ละอุตสาหกรรมย่อมสร้างผลกระทบไม่เท่ากัน

ยกตัวอย่างเช่น บริษัทในอุตสาหกรรมน้ำมันที่ต้องการพิสูจน์ว่ากำลังเดินบนถนนสู่ความยั่งยืน จะต้องประกาศ


แผนการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกที่มีเป้าหมายชัดเจนเป็นรูปธรรม และเพิ่มการลงทุนหรือสนับสนุน
พลังงานสะอาด ในระดับที่ไม่น้อยกว่าพันธะของรัฐบาลซึ่งประกาศต่อประชาคมโลก

บริษัทอาหารที่ต้องการพิสูจน์ว่ากำลังเดินบนถนนสู่ความยั่งยืน จะต้องประกาศแผนการจัดการห่วงโซ่อุปทานที่
ยั่งยืนที่มีเป้าหมายชัดเจน วางขั้นตอนตรวจสอบย้อนกลับ (traceability) เพื่อให้มั่นใจว่าวัตถุดิบไม่ได้มาจาก
การทำลายป่าสงวน การจับปลาเกินขนาด และมีมาตรการช่วยเหลือคู่ค้าและเกษตรกรให้เปลี่ยนผ่านไปสู่ความ
ยั่งยืนไปพร้อมกันกับบริษัท

สถาบันการเงินที่ต้องการพิสูจน์ว่ากำลังเดินบนถนนสู่ความยั่งยืน ก็จะต้องบูรณาการประเด็นผลกระทบด้านธรร
มาภิบาล สังคม และสิ่งแวดล้อม เข้าไปในกระบวนการประเมินความเสี่ยงของลูกหนี้ก่อนการอนุมัติสินเชื่อ
ธุรกิจ คุ้มครองผู้บริโภคให้ได้มาตรฐานสากล และหาวิธีสอดแทรกความรู้เรื่องทางการเงิน (financial literacy)
เข้าไปในการส่งมอบบริการทางการเงิน ไม่ใช่จัดกิจกรรมให้ความรู้เป็น “กิจกรรมซีเอสอาร์” นอกสาขา
ขณะเดียวกันเจ้าหน้าที่ก็ล่อหลอกให้ลูกค้าเป็นหนี้มากเกินควร หรือซื้อผลิตภัณฑ์ที่ไม่อยากได้ต่อไป

ถึงแม้ว่าซีเอสอาร์ในเนื้อแท้จะต้องฝังเป็นเนื้อเดียวกันกับการดำเนินธุรกิจ หรือที่กูรูบางท่านใช้คำว่า “CSR in-


process” ก็ปฏิเสธไม่ได้ว่าการทุ่มงบประมาณประชาสัมพันธ์ของบริษัทหลายแห่งให้กับการทำ “กิจกรรมซี
เอสอาร์” หรือ “CSR after-process” มีส่วนทำให้คนจำนวนมากยังเข้าใจผิดว่า “ซีเอสอาร์” มีความหมาย
เท่ากับกิจกรรมประชาสัมพันธ์ กิจกรรมการกุศล หรือกิจกรรม “คืนกำไรสู่สังคม” เท่านั้น ไม่เกี่ยวข้องใดๆ กับ
การดำเนินธุรกิจหลัก

หลายคนพอเห็นบริษัททำกิจกรรมซีเอสอาร์มากๆ ก็แซ่ซ้องสรรเสริญว่าบริษัทนั้นเป็น “บริษัทที่ดี” โดยไม่เคย


สำรวจตรวจตราหรือตั้งคำถามว่า การดำเนินธุรกิจหลักของบริษัทมีความรับผิดชอบเพียงใด ยั่งยืนเพียงใด
(กิจกรรมซีเอสอาร์นั้นหลายกิจกรรมก็สร้างประโยชน์ต่อสังคมจริงๆ แต่ประเด็นอยู่ที่ว่า ลำพังกิจกรรมซีเอสอาร์
ไม่เพียงพอต่อการตัดสินว่าบริษัทนั้น “ดี” หรือไม่เพียงใด)

ผู้เขียนเห็นว่าความเข้าใจผิดหรือมายาคติเกี่ยวกับซีเอสอาร์เช่นนี้ เป็นอุปสรรคต่อการปฏิรูปภาคธุรกิจให้มี
ความโปร่งใส เป็นธรรม สร้างสนามแข่งขันที่เท่าเทียมกว่าเดิม (กฎหมายแข่งขันทางการค้าปัจจุบันเป็นเพียง
“เสือกระดาษ” เท่านั้น) ตลอดจนยกระดับกลไกคุ้มครองผู้บริโภคและสิ่งแวดล้อมให้ได้มาตรฐานสากล
ที่เป็นอุปสรรคเพราะมันเบี่ยงเบนความสนใจของคน ออกจากประเด็นสำคัญข้างต้นที่จำเป็นต้องปฏิรูป ไปชื่น
ชมเพียงกิจกรรมซีเอสอาร์ฉาบฉวยเท่านั้น

มายาคติข้อนี้มีแนวโน้มที่จะรุนแรงกว่าเดิมในรัฐบาล คสช. เนื่องจากหลายนโยบายของรัฐบาลนี้ “ร่วมมือ” กับ


บริษัทใหญ่อย่างชัดเจน โดยเฉพาะนโยบาย “ประชารัฐ”

ก่อนหน้านี้ผู้เขียนเคยตั้งคำถามในคอลัมน์นี้ว่า ประชาชนจะเชื่อมั่นได้อย่างไรว่า “ประชารัฐ” จะไม่กลายเป็น


เวทีที่รัฐเอื้อประโยชน์โดยตรงให้กับเอกชนบริษัทใดบริษัทหนึ่ง และในเมื่อธุรกิจเข้ามาสนิทชิดเชื้อกับรัฐอย่าง
เป็นทางการ เราจะคาดหวังได้อย่างไรว่า รัฐและเอกชนจะส่งเสริมสนับสนุนการปฏิรูปเพื่อแก้ “ปัญหา
โครงสร้าง” ทั้งหลายทีภ่ าคธุรกิจมีส่วนเกี่ยวข้องโดยตรง?

ผ่านไปสามเดือน วันนี้คำตอบเริ่มชัดขึ้นเรื่อยๆ ว่า “ประชารัฐ” ดูจะกำลังกลายเป็นเวทีฉาบฉวยที่รัฐเพียงแต่


เข้ามาช่วยบริษัททำกิจกรรมซีเอสอาร์ ทั้งที่ไม่ใช่ธุระอะไรของรัฐ (สุ่มเสี่ยงจะเกิด “คอร์รัปชั่นเชิงนโยบาย”
แบบที่เราเคยเห็นในรัฐบาลก่อนๆ ด้วยซ้ำไป)

หรืออาจจะแย่กว่านั้นอีก คือ ขอให้บริษัทพะยี่ห้อ “ประชารัฐ” เวลาทำกิจกรรมซีเอสอาร์ หรือไม่ก็ให้


หน่วยงานราชการออกเงินช่วยบริษัทที่กำลังทำธุรกิจของบริษัทเอง ในทางที่มิได้แสดงความรับผิดชอบต่อสังคม
มากขึ้น หรือยั่งยืนกว่าเดิมแต่อย่างใด

ยกตัวอย่างเช่น ปลายเดือนพฤษภาคม 2559 กระทรวงเกษตรและสหกรณ์จับมือสมาคมการค้าปัจจัยการผลิต


7 สมาคม ขายปุ๋ยและสารเคมีกำจัดวัชพืชในส่วนลดพิเศษให้กับเกษตรกร โดย “ในส่วนของรัฐบาลจะช่วยค่า
ส่งเสริมทางการตลาดให้กับเอกชน แม้ช่วงนี้ทุกบริษัทมีโปรโมชัน ลด แลก แจกแถม อยู่แล้ว แต่ให้มาทำ
โครงการร่วมกัน” (ข่าวฐานเศรษฐกิจ http://www.thansettakij.com/2016/05/27/56162)

นอกจากมาตรการทำนองนี้จะไม่แตะปัญหาการใช้ปุ๋ยเคมีและสารเคมีการเกษตรเกินขนาดแต่อย่างใด ยังสุ่ม
เสี่ยงที่จะซ้ำเติมให้ปัญหารุนแรงกว่าเดิม เพราะสร้างแรงจูงใจให้เกษตรกรใช้สารเคมีมากขึ้น

“นกย่อมไม่เห็นฟ้า ปลาย่อมไม่เห็นน้ำ” ฉันใด นักธุรกิจก็มักจะมองไม่เห็นปัญหาที่ตนมีส่วนก่อฉันนั้น

ด้วยเหตุนี้ ยิ่งมายาคติเกี่ยวกับซีเอสอาร์ครอบงำสังคมไทยลึกลงเท่าไร ความเข้าใจและฉันทามติที่จำเป็นจะต้อง


เกิดเกี่ยวกับการปฏิรูปภาคธุรกิจไทย ก็จะยิ่งเลือนร่างห่างไกลออกไปเรื่อยๆ เท่านั้น.
22. ราคาของเชื้อเพลิงฟอสซิล

สิ่งจำเป็นในชีวิตหลายอย่างมีราคามหาศาลที่เราต้องจ่าย และก็จ่ายมาเนิ่นนาน แต่เราไม่รู้ตัวเพียงเพราะ


มองเห็นแต่ราคาทางตรง ซึ่งคิดเป็นส่วนเสี้ยวเดียวของราคาทั้งหมด

ในบรรดาสิ่งต่างๆ ที่มีราคาซ่อนเร้น เรามักจะมองไม่เห็นราคาเต็มของอุตสาหกรรมที่ไม่ยั่งยืน เพราะราคาส่วน


ใหญ่เป็นสิ่งที่เราจ่ายทางอ้อมตลอดมา อาทิ ผ่านเงินภาษี (ที่เราควักอย่างไม่ค่อยเต็มใจ) ค่ารักษาพยาบาลจาก
อาการเจ็บป่วย และค่าเสียโอกาสจากการที่รัฐนำเงินไปอุดหนุนอุตสาหกรรมล้าหลังให้ดำเนินต่อไป แทนที่จะ
ทุ่มเงินสนับสนุนธุรกิจก้าวหน้าที่ “เขียว” กว่าเดิม กำลังช่วยกอบกู้โลกให้ “อยู่ได้” อย่างไม่ทุกข์ร้อนมากนัก
สำหรับลูกหลานในอนาคต

(การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศทุกวันนี้ส่งผลกระทบกว้างขวางรุนแรงขึ้นเรื่อยๆ จนนักวิทยาศาสตร์ต่างลง
ความเห็นว่า เป็นไปไม่ได้ที่เราจะ “กำจัด” ปัญหานี้ มีแต่ต้อง “ปรับตัว” และหาทางบรรเทาผลกระทบ คำพูด
ทำนอง “สร้างโลกให้สดใส” จึงดูไร้ความหมาย เพราะเพียงกอบกู้ให้ดีดังเดิมก็ยากเหลือแสน)

ทุกวันนี้คนไทยเริ่มคุ้นเคยกับ “พลังงานหมุนเวียน” และหลายคนก็เริ่มมีประสบการณ์ตรงบ้างแล้ว ไม่ว่าจะเป็น


การติดตั้งแผงโซลาร์ติดหลังคา (พร้อมบ่นอุบว่าทำไมมันแพงจัง) หรือการทดลองนำขยะชีวภาพมาผลิตพลังงาน
ใช้

แต่มิใยที่หัวหอกขบวนการ “ทวงคืนพลังงานไทย” บางคนจะพร่ำบ่นว่าน้ำมันแพง ราคาของพลังงานจาก


เชื้อเพลิงฟอสซิล คือน้ำมัน ถ่านหิน และก๊าซธรรมชาติ ก็ยังคงถูกกว่าพลังงานหมุนเวียน ยังไม่นับว่าหาซื้อได้
ง่ายดาย ปั๊มน้ำมันมีอยู่มากมายทั่วประเทศ แม้ดูจะเหลือเจ้าใหญ่อยู่เพียงยี่ห้อเดียวแล้วก็ตาม

“ราคาทางตรง” กับ “ราคาทางอ้อม” ของเชื้อเพลิงฟอสซิลมีอะไรบ้าง? เหตุใดนักวิทยาศาสตร์และนักพัฒนา


พลังงานหมุนเวียนถึงได้พร่ำบอกเราว่าเรากำลังจ่ายแพงเกินไปแล้ว?

“ราคาทางตรง” ของเชื้อเพลิงฟอสซิลเป็นสิ่งคำนวณได้ไม่ยากนัก เพียงดูจากต้นทุนการขุดเจาะ จนถึง


กระบวนการผลิตและจำหน่าย ในเมื่อเชื้อเพลิงฟอสซิลเป็นแหล่งพลังงานชนิดที่มีวันหมด ยิ่งหายากราคาก็ยิ่ง
แพงตามหลักเศรษฐศาสตร์ ยกตัวอย่างเช่น ปัจจุบันแหล่งน้ำมันดิบที่ขุดขึ้นมาใช้ง่ายนั้นถูกขุดไปหมดแล้ว
แหล่งใหม่ๆ ที่ขุดเจออยู่แต่ในพื้นที่ที่เข้าถึงยาก ไม่ว่าจะเป็นทะเลลึก ลึกลงไปใต้ดิน หรือไม่ก็เป็นแหล่งที่มีขนาด
เล็กกว่าในอดีต
แหล่งทั้งหมดนี้ต้องใช้พลังงานและเงินทุนมหาศาลในการขุดขึ้นมาใช้ ยังไม่นับความเสี่ยงนานัปการ ตั้งแต่
ผลกระทบต่อระบบนิเวศ ภาวะโลกร้อน ไปจนถึงความขัดแย้งทางการเมือง เมื่อประเทศ “พัฒนาแล้ว” สรรหา
สารพัดข้ออ้างไปรุกรานประเทศรวยน้ำมันที่ยากจนกว่า

ตัวอย่างที่บอกเราว่าทุกวันนี้การขุดเจาะน้ำมัน “สุดขั้ว” เพียงใด คือตอนที่เกิดเหตุแท่นขุดเจาะน้ำมันของ


บริษัทบีพีระเบิดครั้งใหญ่ บริษัทกำลังต่อท่อขุดน้ำมันลึกลงไป 1.5 กิโลเมตรจากผิวน้ำ ตามแผนต้องขุดลงไปอีก
5.4 กิโลเมตร เท่ากับว่าเมื่อก่อสร้างเสร็จ บ่อน้ำมัน ดีพวอเตอร์ ฮอไรซัน แห่งนี้จะอยู่ลึกถึงเกือบ 7 กิโลเมตร
ว่ากันว่าสัมปทานขุดเจาะน้ำมันในอ่าวเม็กซิโกปัจจุบันจะทำให้บริษัทน้ำมันต้องขุดลึกลงไปกว่านั้นอีกถึงสอง
เท่า!

แล้ว “ราคาทางอ้อม” ของเชื้อเพลิงฟอสซิลที่เรามองไม่ค่อยเห็นมีอะไรบ้าง?

คำตอบแบ่งได้เป็นสามประเภทหลัก ได้แก่ การอุดหนุนจากภาครัฐ ต้นทุนด้านสุขภาพ ต้นทุนด้านสิ่งแวดล้อม


และต้นทุนทางการทหาร

ผู้วิพากษ์พลังงานหมุนเวียนหลายคนชอบชี้ว่า พลังงานชนิดนี้ได้รับการอุดหนุนจากภาครัฐ อย่างเช่นในประเทศ


ไทย รัฐมีนโยบายรับซื้อไฟฟ้าพลังแสงอาทิตย์ในราคาพิเศษ ดังนั้นพลังงานหมุนเวียนที่แท้จริงจึง “แพง” กว่า
ราคาที่ผู้บริโภคจ่าย

กล่าวเช่นนี้ก็ไม่ผิดเสียทีเดียว แต่ไม่ครบถ้วนและชี้ชวนให้เข้าใจผิด เพราะข้อเท็จจริงคือ แทบทุกประเทศในโลก


ที่รัฐสนับสนุนพลังงานหมุนเวียน รัฐเดียวกันก็มักจะทุ่มเงินอุดหนุนมหาศาลกว่านั้นหลายเท่าให้กับอุตสาหกรรม
พลังงานเชื้อเพลิงฟอสซิลตลอดมา ในรูปของสิทธิประโยชน์ทางภาษี การยกเว้นภาษี การตรึงราคา เงินอุดหนุน
โดยตรง และอื่นๆ อีกมากมาย

ในสหรัฐอเมริกา รัฐบาลอุดหนุนอุตสาหกรรมเชื้อเพลิงฟอสซิลคิดเป็นมูลค่าสูงถึง 409,000 ล้านเหรียญสหรัฐ


ต่อปี ขณะที่อุดหนุนพลังงานหมุนเวียน 60,000 ล้านเหรียญสหรัฐ – น้อยกว่ากันถึงเกือบเจ็ดเท่า

สถานการณ์ในไทยหนักข้อกว่านั้นอีก รายงาน Citizens’ Guide to Energy Subsidies in Thailand โดย


สถาบันการพัฒนาที่ยั่งยืนระหว่างประเทศ (International Institute for Sustainable Development: IISD)
เคยคำนวณว่า เงินอุดหนุนเชื้อเพลิงฟอสซิลจากภาครัฐ มีมูลค่ากว่า 178,000 ล้านบาทในปี 2555 เพียงปีเดียว
ในรูปของการยกเว้นภาษีสรรพสามิต การตรึงราคา และเงินอุดหนุนโดยตรง ขณะที่ในปีเดียวกัน รัฐอุดหนุน
พลังงานหมุนเวียนทุกรูปแบบ (แสงอาทิตย์ ลม พลังน้ำขนาดเล็ก ชีวมวล ฯลฯ) เพียง 7,300 ล้านบาทเท่านั้น –
น้อยกว่ากันถึง 24 เท่า
การอุดหนุนจากรัฐเหล่านี้นับเป็นราคาทางอ้อมที่เราต้องจ่ายในรูปของเงินภาษี ซึ่งรัฐนำไปอุดหนุนอุตสาหกรรม
อีกทีหนึ่ง การอุดหนุนเหล่านี้นอกจากจะสนับสนุนอุตสาหกรรมที่ก่อมลพิษให้ดำรงอยู่ต่อไปและทำให้พลังงาน
หมุนเวียนเสียเปรียบอย่างไม่เป็นธรรม ความที่มันมีมูลค่ามหาศาลและไม่ใช่ข้อมูลสาธารณะ ก็มักจะสร้าง
แรงจูงใจให้เจ้าหน้าที่รัฐหลายระดับทุจริตคอร์รัปชั่นระหว่างทางไปเข้ากระเป๋าตัวเอง ดังที่มีการค้นพบว่า ใน
อินโดนีเซีย (ประเทศที่ระดับคอร์รัปชั่นยังแย่กว่าไทย) ระหว่างปี 2544-2551 มีการทุจริตเงินอุดหนุนน้ำมันถึง
60,000 ล้านบาท

มูลค่าการอุดหนุนจากรัฐว่ามโหฬารแล้ว ราคาทางอ้อมอีกสองชนิด คือต้นทุนด้านสุขภาพและสิ่งแวดล้อม ยิ่งมี


มูลค่ามหาศาลกว่านี้อีก และเป็นต้นทุนที่ทำให้การดำรงชีวิตของประชาชนเดือดร้อน ในรูปของสุขภาพและ
สภาพแวดล้อมที่แย่กว่าเดิม ไม่ใช่แค่กระเป๋าสตางค์แฟบลง

เมื่อไม่นานมานี้ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด เผยแพร่ผลการวิจัยว่า การเผาผลาญถ่านหินใน


สหรัฐอเมริกาสร้างความเสียหายด้านสิ่งแวดล้อมและสุขภาพคิดเป็นมูลค่ากว่า 500,000 ล้านเหรียญสหรัฐทุกปี
หรือมากกว่าเงินอุดหนุนอุตสาหกรรมเชื้อเพลิงฟอสซิลทั้งระบบ (ซึ่งรวมน้ำมัน ก๊าซธรรมชาติ และถ่านหิน) ถึง
ร้อยละ 20

ถ้ารัฐบาลอเมริกันบังคับให้อุตสาหกรรมถ่านหินบวกตัวเลขต้นทุนด้านสุขภาพและสิ่งแวดล้อมที่ว่านี้เข้าไปใน
ราคาของถ่านหิน ราคาจะต้องสูงกว่าเดิมมากกว่าสองเท่า

ตัวเลขนี้ยังไม่นับผลกระทบจากการปล่อยก๊าซเรือนกระจกขึ้นสู่ชั้นบรรยากาศไปซ้ำเติมการเปลี่ยนแปลงสภาพ
ภูมิอากาศ อาทิ การเกิดภัยธรรมชาติอย่างภัยแล้ง อุทกภัย และพายุเฮอริเคนที่รุนแรงและถี่กว่าเดิม มีนัก
เศรษฐศาสตร์คำนวณว่าการบรรเทาผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศจะต้องใช้เงินราว 250,000
ล้านเหรียญสหรัฐ ต่อระดับน้ำทะเลที่สูงขึ้น 1 เมตร

ราคาทางอ้อมที่เราต้องจ่ายให้กับอุตสาหกรรมพลังงานจากเชื้อเพลิงฟอสซิลยังไม่หมดเท่านี้ ที่ผ่านมาคนไทยไม่
คุ้นกับการเชื่อมโยงต้นทุนของปฏิบัติการทางทหารเข้ากับการใช้พลังงาน เพราะอย่างน้อยพลังงานที่เราใช้ก็ไม่
ได้มาจากการไปรุกรานใคร (แต่นักการเมืองไทยจะติดสินบนรัฐบาลต่างด้าวหรือเปล่าเป็นอีกเรื่องหนึ่ง) แต่ใน
อเมริกา หน่วยวิจัยของสภาคองเกรสสหรัฐ (Congressional Research Service) คำนวณว่าต้นทุนทางการ
ทหารที่จำเป็นต่อการเปิดให้อเมริกา “เข้าถึง” แหล่งน้ำมันดิบ โดยเฉพาะในตะวันออกกลาง และอารักขา
น้ำมันกลับมาใช้ในอเมริกานั้นมีมูลค่าสูงถึง 100,000 ล้านเหรียญต่อปี ตัวเลขนี้ยังไม่นับต้นทุนของการก่อ
สงครามแถบคาบสมุทรเปอร์เซียสองครั้ง ซึ่งใช้เงินนับล้านล้านเหรียญสหรัฐ
นักวิทยาศาสตร์บางคนมองว่า เราไม่จำเป็นต้องพยายามคิดคำนวณราคาทางอ้อมทั้งหมดนี้ให้เที่ยงตรงที่สุด
เท่าที่จะเป็นไปได้ เพราะถ้าเราเปลี่ยนคำถามจาก “ราคาของเชื้อเพลิงฟอสซิลเท่ากับเท่าไร?” เป็น “ราคาของ
การสร้างโลกที่ยั่งยืนสำหรับลูกหลานของเราเท่ากับเท่าไร?” พ่อแม่ทุกคนก็อยากตอบว่า ราคาเท่าไรไม่สำคัญ
เพราะไม่ว่าแพงเท่าไรเราก็ต้องทำ ไม่มีทางเลือกอื่น

ประชาคมโลกตอนต้นศตวรรษที่ 21 ยังดูละล้าละลัง ผู้นำโลกขาดฉันทามติร่วมกันในการเปลี่ยนผ่าน


อุตสาหกรรมพลังงานทุกประเทศไปสู่พลังงานหมุนเวียน สังคมคาร์บอนต่ำ ฯลฯ ที่แท้จริง แต่ละประเทศยังต่าง
คนต่างเดิน แต่ก็เดินอย่างมีจังหวะมากขึ้น เมื่อราคาที่แท้จริงของเชื้อเพลิงฟอสซิลทั้งพอกพูน ทั้งเผยโฉมให้เรา
วัดได้อย่างชัดเจนขึ้นเรื่อยๆ ทุกครั้งที่เกิดความเสียหาย

วันนี้นักลงทุนและนักวิเคราะห์หลายคนเริ่มพูดถึง “ฟองสบู่คาร์บอน” ที่มีแนวโน้มว่าจะแตกในอนาคตอันใกล้


เพราะ “ราคาหุ้น” ของบริษัทผู้ผลิตพลังงานจากเชื้อเพลิงฟอสซิลส่วนใหญ่ขึ้นอยู่กับรายได้ที่คาดว่าบริษัทจะ
ได้รับในอนาคต จากการนำเชื้อเพลิงสำรองใต้ดินหรือใต้น้ำขึ้นมาผลิตพลังงานขาย แต่ถ้าหากเราจะหยุดยั้ง
ระดับคาร์บอนในชั้นบรรยากาศไม่ให้พุ่งสูงเกิน 450 ส่วนในล้านส่วน (ระดับที่นักวิทยาศาสตร์บอกว่า ถ้าเกิน
กว่านี้จะหยุดยั้งการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศไม่ได้) เราก็จะต้องออกกฎหมายห้ามไม่ให้บริษัทพลังงานขุด
เชื้อเพลิงสำรองส่วนใหญ่ขึ้นมา เท่ากับว่าราคาหุ้นของบริษัทพลังงานเหล่านี้แพงกว่าที่ควรจะเป็นไปหลายเท่า

ถึงที่สุดแล้ว ถ้าเราอยากให้ราคาในระบบตลาดสะท้อนต้นทุนที่แท้จริงที่เราทุกคนร่วมกันแบกรับ เราก็จะต้อง


มองเห็นและผลักต้นทุนนั้นกลับไปให้เป็นภาระของผู้ก่อปัญหา

แรงจูงใจในตลาดจะได้เดินอย่างสอดรับกับสภาพความเป็นจริงของโลก

You might also like