You are on page 1of 88

จุลสารความมั่นคงศึกษา

พฤศจิกายน 2556 ฉบับที่ 132-133

การขยายบทบาททางทหาร
ของจีนในทะเลจีนใต้
​China’s Military Expansion
in the South China Sea

มณฑล ยศสมศักดิ์
เขียน
สุรชาติ บำ�รุงสุข
บรรณาธิการ

สนับสนุน​การ​พิมพ​โดย
สถาบัน​การ​ขาวกรอง
​สำ�นัก​ขาวกรอง​แหงชาติ
จุลสารความมั่นคงศึกษา ฉบับที่ 132-133
การขยายบทบาททางทหารของจีนในทะเลจีนใต้
พิมพค​ รั้ง​ที่หนึ่ง พฤศจิกายน 2556
จำ�นวน​พิมพ 1,000 เล่ม
การพิมพ์ได้รับการสนับสนุนจากสถาบันการข่าวกรอง สำ�นักข่าวกรองแห่งชาติ
เจาของ โครงการความมั่นคงศึกษา
ตู้ ปณ. 2030 ปณฝ. จุฬาลงกรณ์
กรุงเทพฯ 10332
E-mail : newsecproject@yahoo.com
: newsecproject@gmail.com
Website : http://www.newsecurity.in.th
โทรศัพท์และโทรสาร 0-2218-7275

บรรณาธิการ รศ. ดร. สุรชาติ บำ�รุงสุข


ผูชวย​บรรณาธิการ นางสาว กุลนันทน์ คันธิก
ประจำ�กอง​บรรณาธิการ นางสาว นพมาศ ศิริเลิศ
นาย กิตติพศ พุทธิวนิช
ที่ปรึกษา พลเอก วุฒินันท์ ลีลายุทธ
พลเรือเอก อมรเทพ ณ บางช้าง
พลโท ภราดร พัฒนถาบุตร
พิมพท​ ี่ บริษัท สแควร์ ปริ๊นซ์ 93 จำ�กัด
59, 59/1, 59/2 ซ.ปุณณวิถี 30 ถ.สุขุมวิท 101
แขวงบางจาก เขตพระโขนง กรุงเทพฯ 10260
โทร. 0-2743-8045 แฟกซ์. 0-2332-5058

สารบัญ
ï คำ�นำ� 1
ï บทนำ� 3
ï สภาวะแวดล้อม นโยบายและยุทธศาสตร์ของจีน 6
ในศตวรรษที่ 21
- สภาวะแวดล้อมในศตวรรษที่ 21
- การเจริญเติบโตของจีน
- นโยบายด้านความมั่นคงและนโยบายต่างประเทศของจีน
- หลักนิยมของกองทัพเรือของจีน (PLA Navy Doctrine)
ï ความสำ�คัญของทะเลจีนใต้ 19
- ภูมิรัฐศาสตร์ของทะเลจีนใต้
- ความสำ�คัญของทะเลจีนใต้
- ความขัดแย้งและการอ้างสิทธิ์ในทะเลจีนใต้
- เหตุผลที่ประเทศต่างๆ ใช้อ้างสิทธิ์ในทะเลจีนใต้
ï บทบาทของจีนในทะเลจีนใต้ 47
- ผลประโยชน์และความขัดแย้งของจีนในทะเลจีนใต้
- การพัฒนากำ�ลังอำ�นาจทางทหารของจีน
- การขยายสมุททานุภาพ
- การพัฒนาและการใช้กำ�ลังทางเรือของจีน
- จีนกับมหาอำ�นาจต่างๆ ในทะเลจีนใต้
ï บทสรุป 73
ï บรรณานุกรม 78
คำ�นำ�
“ความน่าอันตรายก็คือ จุดที่สหรัฐอเมริกาและจีน
ถูกลากเข้าสู่การแข่งขันสะสมอาวุธ อันจะนำ�ไปสู่
การสร้างบรรยากาศของความกลัว เหมือนเช่นที่
เคยเกิดขึ้นมาแล้วในยุคสงครามเย็น”
Martin Jacques
When China Rules the World (2009)

ในสถานการณ์การแข่งขันของรัฐมหาอำ� นาจใหญ่ในเวทีโลกนั้น
ปฏิเสธไม่ได้ว่า ทะเลจีนใต้เป็นหนึ่งในพื้นที่สำ�คัญ ทั้งในบริบทของการ
ต่อสู้แย่งชิงทรัพยากร การแย่งชิงเขตอำ�นาจอธิปไตย ตลอดรวมถึงการ
สถาปนาอำ�นาจเหนือพื้นที่ทางยุทธศาสตร์ ในสภาพเช่นนี้ทำ�ให้จุดพิพาท
ในทะเลจีนใต้ตกอยู่ในการจับตาของรัฐต่างๆ ทั้งที่เป็นคู่พิพาทและรัฐ
มหาอำ�นาจภายนอกภูมิภาค การต่อสู้แข่งขันในการสถาปนาอำ�นาจเหนือ
หมู่เกาะสแปรตลีย์และพาราเซลเป็นตัวอย่างที่ดีในกรณีนี้ ผลที่เกิดขึ้นใน
บริบทของความขัดแย้งเช่นนี้ย่อมทำ�ให้อาณาบริเวณทะเลจีนใต้กลายเป็น
“hot spot” ที่สำ�คัญของการเมืองโลกไปโดยปริยาย
แต่เดิมนั้นบทบาทของการแข่งขันในการสถาปนาอำ�นาจในบริเวณ
ทะเลจีนใต้ แม้จะถูกยอมรับว่าเป็นจุดสำ�คัญที่อาจนำ�พามหาอำ�นาจใหญ่
ให้เข้ามาเป็นคู่แข่งขันนั้น อาจจะมีความจำ�กัดอยู่มาก ซึ่งก็อาจเป็นเพราะ
ขีดความสามารถของสมุททานุภาพของจีนนั้นมีความจำ� กัดอยู่พอสมควร
ดั ง ที่ ค รั้ ง หนึ่ ง เคยมี คำ � ล้ อ อำ � นาจทางทหารของกองทั พ จี น ว่ า เป็ น ดั ง
“พิพิธภัณฑ์ทหารเคลื่อนที่ได้” แต่ปัจจุบันด้วยระดับการพัฒนาเศรษฐกิจที่
เติบโตอย่างมาก ส่ิงที่เห็นคู่ขนานก็คือ การขยายตัวเติบใหญ่ของขีดความ-
สามารถทางทหารของจีน
สภาพเช่นนี้ยังเห็นได้ในอีกมุมหนึ่งก็คือ พัฒนาการของเทคโน-
โลยี ท หารของจี น ก็ ข ยายตั ว อย่ า งมากเช่ น กั น จนวั น นี้ ก องทั พ จี นไม่ ใ ช่

1 การขยายบทบาททางทหารของจีนในทะเลจีนใต้
“พิพธิ ภัณฑ์ทหาร” อีกต่อไป ในทางตรงข้าม เรากลับเห็นการนำ�ยุทโธปกรณ์
สมรรถนะสูงในแบบต่างๆ เข้าประจำ�การ และหนึ่งในระบบอาวุธสำ�คัญที่
กลายเป็นสัญญาณถึงการก้าวกระโดดของกองทัพจีนก็คือ การนำ�เอาเรือ
บรรทุกเครื่องบินเข้าประจำ�การในกองทัพเรือจีน แม้เรือดังกล่าวจะมีเพียง
ลำ�เดียว แต่ก็บ่งบอกถึงความเปลี่ยนแปลงอย่างมีนัยสำ�คัญต่อการแข่งขัน
ทางทะเลในบริเวณทะเลจีนใต้
ดังนั้นหัวข้อการวิจัยเรื่อง “การขยายบทบาททางทหารของจีนใน
ทะเลจีนใต้” ของ นาวาตรี มณฑล ยศสมศักดิ์ จึงถือว่าเป็นประเด็นที่เป็น
ประโยชน์อย่างมาก ทั้งต่อผู้ที่สนใจปัญหายุทธศาสตร์ทางทะเล และผู้สนใจ
ปัญหานี้ในกรอบของวิชาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ ฉะนั้นโครงการฯ
จึงขอขอบคุณ นาวาตรี มณฑล ยศสมศักดิ์ และภาควิชาความสัมพันธ์-
ระหว่างประเทศ คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ที่อนุญาตให้
โครงการความมั่นคงศึกษานำ�สารนิพนธ์ในหัวข้อดังกล่าวมาตีพิมพ์เผยแพร่
สำ�หรับความเห็นที่ปรากฏในจุลสารนี้เป็นความเห็นส่วนบุคคล ไม่
เกี่ยวข้องกับหน่วยงานใดๆ ทั้งสิ้น

โครงการความมั่นคงศึกษา

การขยายบทบาททางทหารของจีนในทะเลจีนใต้ 2
การขยายบทบาททางทหารของจี
 นในทะเลจีนใต้1

นาวาตรี มณฑล ยศสมศักดิ์

ï บทนำ� ï

ยุคเริ่มต้นของศตวรรษที่ 21 การเผชิญหน้าโดยตรงของประเทศ
ต่างๆ โดยเฉพาะประเทศมหาอำ�นาจอาจมีแนวโน้มลดลง แต่ในอีกด้าน
หนึ่งการเติบโตของประเทศต่างๆ ยังคงต้องพึ่งพาทรัพยากร รวมทั้งอำ�นาจ
ทางเศรษฐกิจเป็นสำ�คัญ ส่งผลให้ความต้องการครอบครองทรัพยากรของ
ประเทศต่างๆ โดยเฉพาะรัฐมหาอำ�นาจ ทวีความสำ�คัญขึ้นอย่างมาก
ประเทศจีนเป็นประเทศหนึ่งที่มีบทบาทสำ�คัญต่อระบบกลไกของ
โลก เพราะจีนเป็นประเทศขนาดใหญ่ที่มีประชากรมากที่สุดในโลก ทำ�ให้
จีนกลายเป็นฐานเศรษฐกิจที่สำ�คัญ ประกอบกับจีนได้พยายามพัฒนาตนเอง
ในทุกๆ ด้าน เพื่อที่จะก้าวขึ้นมามีบทบาทในฐานะรัฐมหาอํานาจรัฐหนึ่งนั้น
ในปัจจุบันจีนเป็นประเทศที่มีการพัฒนาด้านเศรษฐกิจอย่างรวดเร็ว จนก้าว
ขึ้นมาเป็นประเทศที่มีอิทธิพลทางด้านเศรษฐกิจและความมั่นคงทางการ
เมือง ซึ่งการพัฒนาที่รวดเร็วของจีนนั้นต้องพึ่งพาการขนส่งพลังงานและ
สินค้าทางทะเลเป็นส่วนใหญ่ ประเด็นด้านความมั่นคงปลอดภัยของเส้น-
ทางเดินเรือจึงเป็นผลประโยชน์ทางทะเลที่สำ�คัญของจีน โดยน่านน้ำ�ที่เป็น
ผลประโยชน์สำ�คัญของจีนครอบคลุมตั้งแต่ ทะเลเหลือง ทะเลจีนตะวัน-
ออก ทะเลจีนใต้ ช่องแคบมะละกา มหาสมุทรอินเดีย อ่าวเอเดน รวม
ไปถึงช่องแคบฮอร์มุช ซึ่งจีนถือว่าเป็นเส้นทางเดินเรือที่สำ�คัญ นอกจาก-
นั้นผลประโยชน์ทางทะเลของจีนยังรวมถึงความต้องการครอบครองพื้นที่

1
ปรับปรุงจาก มณฑล ยศสมศักดิ์, “การขยายบทบาททางทหารของจีนในทะเลจีนใต้,”
สารนิพนธ์รัฐศาสตรมหาบัณฑิต ภาควิชาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์
มหาวิทยาลัย ปีการศึกษา 2555.

3 การขยายบทบาททางทหารของจีนในทะเลจีนใต้
หมู่เกาะในน่านน้ำ�ที่จีนประกาศอ้างสิทธิ์เป็นอาณาเขตทางทะเลของจีน โดย
พลเรือตรี ยิน โจว ประธานกรรมาธิการด้านข่าวสารกองทัพเรือจีนระบุว่า
ยุทธศาสตร์ความมั่นคงทางทะเลของจีน ครอบคลุมความมั่นคง การพัฒนา
และการจัดการปัญหาความขัดแย้งทางทะเล โดยมีเป้าหมายสำ�คัญคือ การ
รักษาความมั่นคง เส้นทางการขนส่ง และกรณีการเกิดข้อพิพาททางทะเล
และเพื่อให้บรรลุเป้าหมายดังกล่าวจึงทำ�ให้จีนให้ความสำ�คัญกับการเร่ง
พัฒนาขีดความสามารถทางทหาร เฉพาะอย่างยิ่งกองทัพเรือ2
การพัฒนาด้านกำ�ลังรบด้านนาวิกานุภาพ (Sea Power) ของจีน
ที่มุ่งเสริมสร้างและปรับปรุงกองทัพเรือให้มีขีดความสามารถมากขึ้น ก่อให้
เกิดประเด็นที่น่าสนใจคือ การใช้ยุทธศาสตร์ที่ให้ความสำ�คัญกับการปกป้อง
ผลประโยชน์แห่งชาติและความมั่นคงทางทะเล ทั้งในพื้นที่ทะเลชายฝั่งและ
ในพืน้ ทีน่ อกเหนือจากน่านน้�ำ ทีจ่ นี มีอ�ำ นาจอธิปไตยและสิทธิอธิปไตย หรือที่
เรียกกันว่า “From coast to sea far defense”3 สำ�หรับอาณาเขตทาง
ทะเลทีม่ กี ารอ้างสิทธิข์ องจีน ประกอบด้วยพืน้ ทีส่ องส่วนทีส่ �ำ คัญคือ ทะเลจีน
ตะวันออก ซึ่งมีอาณาเขตติดกับ เกาหลีใต้ ญี่ปุ่น และไต้หวัน ซึ่งเป็นเส้น-
ทางออกสู่มหาสมุทรแปซิฟิกของจีน ในทะเลจีนตะวันออกนี้มีประเด็นที่
สำ�คัญคือ ปัญหาหมู่เกาะเตี้ยวหยู ซึ่งเป็นดินแดนพิพาททางทะเลระหว่าง
จีนกับญี่ปุ่น สำ�หรับพื้นที่ส่วนที่สอง คือ ทะเลจีนใต้ เป็นทะเลปิดที่อยู่ทาง
ตะวันตกของมหาสมุทรแปซิฟิก ครอบคลุมอาณาบริเวณตั้งแต่ช่องแคบ
ไต้หวัน ไปจนถึง ช่องแคบมะละกา ประเทศสิงคโปร์ มีเนือ้ ทีม่ ากกว่า 880,000
ตารางกิโลเมตร4

2
สถาบันวิชาการป้องกันประเทศ, “จีนเสริมสร้างศักยภาพของกองทัพเรือเพื่อรองรับผล
ประโยชน์ทางทะเล,” (2 มิถุนายน 2554): 5.
3
Commander Sandeep Dewan, “Chinese Navy: From Coastal To Far
Sea Defense,” [Online], 12 August 2012. Available from: http://www.eurasiare-
view.com/11052010- chinese-navy-from-coastal-to-far-sea-defence/.
4
เขียน ธีระวิทย์, นโยบายต่างประเทศจีน. (กรุงเทพฯ: สำ�นักงานกองทุนสนับสนุนการ
วิจัยและศูนย์จีนศึกษา สถาบันเอเชียศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2541), หน้า 399.

การขยายบทบาททางทหารของจีนในทะเลจีนใต้ 4
ภาพที่ 1 : แผนที่ทะเลจีนใต้

ที่มา: สำ�นักงานคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ, “ทะเลจีนใต้ และหมู่


เกาะสแปรตลีย์ชนวนแห่งความขัดแย้งด้านสิทธิครอบครอง,” นโยบายพลังงาน. 51
(มกราคม-มีนาคม 2544), หน้า 4.

พื้ น ที่ ดั ง กล่ า วมี ค วามสำ � คั ญ เนื่ อ งจากเป็ น เส้ น ทางขนส่ ง ทางเรื อ
ซึ่งคิดเป็นหนึ่งในสามของโลกจากการขนส่งทางเรือทั้งหมด นอกจากนี้
มีทรัพยากรใต้ทะเลอีกจำ�นวนมาก หมู่เกาะในทะเลจีนใต้โดยมากเป็น
กลุ่มเกาะ มีจำ�นวนหลายร้อยเกาะและในบางพื้นที่ที่ไม่มีคนอยู่อาศัย ซึ่ง
เกาะที่เป็นกรณีพิพาทของจีนกับประเทศต่างๆ คือ หมู่เกาะพาราเซลและ
หมู่เกาะสแปรตลีย์ แม้ในพื้นที่จะประกอบด้วยหินโสโครก สันดอน เกาะ
และเกาะขนาดเล็กที่อยู่ห่างไกล ไม่มีการตั้งถิ่นฐานของประชากร และไม่มี

5 การขยายบทบาททางทหารของจีนในทะเลจีนใต้
ความสำ�คัญทางเศรษฐกิจในตัวเอง แต่มีความสำ�คัญในการกำ�หนดเขตแดน
ระหว่างประเทศ รวมทั้งเป็นแหล่งสำ�คัญในทางการคมนาคม กิจการประมง
และจากการสำ�รวจพบน้ำ�มันดิบและก๊าซธรรมชาติจำ�นวนมาก จึงทำ�ให้
บริเวณหมู่เกาะพาราเซลและหมู่เกาะสแปรตลีย์ กลายเป็น
จุดยุทธศาสตร์และแหล่งทรัพยากรที่สำ�คัญในอนาคต ทำ�ให้แต่ละ
ประเทศอ้างสิทธิ์ในการครอบครองทับซ้อนกัน ในขณะที่การดำ�เนินนโยบาย
ความมั่นคงทางทะเลของจีน เป็นตัวกำ�หนดบทบาทจีนที่มีความสำ�คัญมาก
ขึ้นในเวทีโลกต่อพื้นที่ในทะเลจีนใต้ที่มีความสำ�คัญทางยุทธศาสตร์และ
ทรัพยากร ประกอบกับมหาอำ�นาจจากภายนอกที่มิได้อยู่ในพื้นที่ก็ต้องการ
คานอำ�นาจของจีน โดยให้การสนับสนุนประเทศต่างๆ ที่อ้างสิทธิ์ทับซ้อน
กับจีน เพื่อมิให้การขยายอำ�นาจของจีน สามารถดำ�เนินการได้ตามใจชอบ
จึงส่งผลให้มีสถานการณ์ตึงเครียดเกิดขึ้นในทะเลจีนใต้

ï สภาวะแวดล้อม นโยบาย
และยุทธศาสตร์ของจีนในศตวรรษที่ 21 ï

 สภาวะแวดล้อมในศตวรรษที่ 21
สถานการณ์สภาวะแวดล้อมในศตวรรษที่ 21 การเมืองโลกมีแนว-
โน้มเปลี่ยนแปลงไปสู่ระบบหลายขั้วอำ�นาจ เป็นผลจากการเปลี่ยนแปลง
ของศู น ย์ ก ลางเศรษฐกิจโลกที่ทำ�ให้เกิด มหาอำ � นาจใหม่ ขึ้ นมา เกิ ด การ
พัฒนาไปสู่ความมีเสถียรภาพและลดความตึงเครียดลง เนื่องจากองค์-
ประกอบหลายประการ เช่น ความขัดแย้งด้านลัทธิอุดมการณ์หมดไป การ
ลดนโยบายการเผชิญหน้าของมหาอำ�นาจ การลดอาวุธและการลดความ
เสี่ยงจากสงครามนิวเคลียร์ นอกจากนี้สหประชาชาติก็ได้เข้ามามีส่วนใน
การแก้ปัญหาความขัดแย้งต่างๆ ที่เกิดขึ้นในแต่ละภูมิภาคของโลกมากขึ้น
แต่ปัญหาความขัดแย้งในเรื่องการจัดสรรทรัพยากรและผลประโยชน์ทาง
เศรษฐกิจกลับมีการขยายตัวมากขึ้น พร้อมกับความขัดแย้งทางด้านเชื้อชาติ
ศาสนา และเขตแดน ซึ่งส่งผลกระทบต่อการดำ�เนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจ

การขยายบทบาททางทหารของจีนในทะเลจีนใต้ 6
ในหลายประเทศ รวมทัง้ ปัญหาภัยธรรมชาติทีม่ คี วามรุนแรงขึน้ มีผลกระทบ
ต่อความมั่นคงของโลกโดยรวมเป็นอย่างมาก ในขณะเดียวกันพบว่า ปัญหา
ความมั่นคงใหม่ที่เรียกว่า ปัญหาความมั่นคงของสังคม (Social Security)
และความมั่นคงของมนุษย์ (Human Security) เริ่มเป็นภัยคุกคามใหม่ที่
สำ�คัญ ได้แก่ การลักลอบค้ายาเสพติด การหลบหนีเข้าเมืองโดยผิดกฎหมาย
การค้ามนุษย์ และแรงงานเถื่อน อาชญากรรมทางเศรษฐกิจที่เกิดกับระบบ
การค้ า เสรี ปั ญ หาความพยายามแบ่ ง แยกดิ น แดนของกลุ่ ม ชนที่ มี ค วาม
แตกต่างด้านเชื้อชาติหรือศาสนา ล้วนส่งผลกระทบต่อการดำ�เนินกิจกรรม
ทั้งทางด้านเศรษฐกิจและความมั่นคงของประเทศต่างๆ
ในขณะที่ ส ถานการณ์ ค วามมั่ น คงของภู มิ ภ าคเอเชี ย ตะวั น ออก
เฉียงใต้ ซึ่งเป็นอีกหนึ่งพื้นที่ยุทธศาสตร์ที่สำ�คัญของโลกในศตวรรษที่ 21
เนื่องจากเป็นแหล่งทรัพยากร แหล่งการค้าการลงทุน ตลาดแรงงาน ตลอด
รวมถึงเป็นเส้นทางการขนส่งทางเรือที่สำ�คัญ ทำ�ให้เกิดการขยายอิทธิพลของ
ประเทศมหาอำ�นาจและประเทศต่างๆ ซึ่งต่างแข่งขันและการขยายอิทธิพล
ทั้งในรูปแบบของการใช้พลังอำ�นาจทางทหารและทางเศรษฐกิจ เพื่อให้
ได้ ม าซึ่ ง ประโยชน์ ข องตน โดยเฉพาะสหรั ฐอเมริกายัง คงเป็ น ประเทศ
มหาอำ�นาจที่มีทั้งบทบาททางการเมืองและการรักษาความมั่นคงของภูมิภาค
อย่างโดดเด่นในภูมิภาคนี้ นอกจากนี้ความพยายามขยายอิทธิพลของจีน ที่
กำ�ลังเติบโตทั้งด้านเศรษฐกิจและการทหารแผ่ขยายอำ�นาจกระจายออกไป
โดยในพื้นที่เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ จีนมีการอ้างสิทธิ์ทับซ้อนทางทะเลกับ
หลายประเทศในบริเวณทะเลจีนใต้ ในขณะที่อินเดียก็กำ�ลังขยายบทบาท
ทั้งทางทหารและทางเศรษฐกิจเข้ามาในภูมิภาค เพื่อคานกับอิทธิพลของจีน
เช่นกัน สำ�หรับความสัมพันธ์ระหว่างประเทศในภูมิภาคนั้น มีพัฒนาการของ
กลุ่มประเทศอาเซียนที่กำ�หนดการจัดตั้ง “ประชาคมอาเซียน” (ASEAN
Community) ในปี ค.ศ. 2015 ที่มุ่งเน้น 3 เสาหลัก ได้แก่ ประชาคม
การเมืองและความมั่นคงอาเซียน (ASEAN Political and Secu-
rity Community - APSC) ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (ASEAN
Economic Community - AEC) และประชาคมสังคมและวัฒนธรรม

7 การขยายบทบาททางทหารของจีนในทะเลจีนใต้
อาเซียน (ASEAN Socio-Cultural Community - ASCC) ซึ่ง
การเป็นประชาคมจะทำ�ให้อาเซียนมีความเชื่อมโยงกันมากขึ้น ทั้งทางการ-
เมือง ความมั่นคง เศรษฐกิจ และสังคม ซึ่งนำ�ไปสู่การเสริมสร้างพัฒนาการ
ทางการเมืองและเศรษฐกิจของกลุ่มประเทศสมาชิก รวมทั้งเพิ่มโอกาสการ
ติดต่อเชื่อมโยงผ่านเส้นทางคมนาคมในภูมิภาค แม้ว่าจะยังคงมีปัญหาความ
ไม่เข้าใจและความหวาดระแวงทีอ่ าจทำ�ให้เกิดความขัดแย้งระหว่างประเทศ
สมาชิก แต่สามารถจำ�กัดขอบเขตและระดับความรุนแรงให้อยู่ในเฉพาะ
พื้นที่ โดยเป็นผลจากการเสริมสร้างความสัมพันธ์และความร่วมมือที่ใกล้-
ชิดระหว่างประเทศในภูมิภาค และการเสริมสร้างความสัมพันธ์ทางการทูต
เชิงป้องกัน รวมถึงทิศทางความร่วมมือในภูมิภาคที่มุ่งสู่การเป็นประชาคม
ระหว่างประเทศ

 การเติบโตทางเศรษฐกิจของจีน
การเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจเป็นจุดเริ่มต้นของการเติบโตของ
จีน จนก้าวขึ้นมามีบทบาทในระดับระหว่างประเทศมากขึ้น มีส่วนสำ�คัญต่อ
การสนับสนุนบทบาทของจีนในการแก้ไขปัญหาต่างๆ ในกรอบขององค์การ
สหประชาชาติให้เป็นที่ยอมรับมากขึ้น ซึ่งจีนได้กำ�หนดนโยบายต่างประเทศ
ที่มีความประสานสอดคล้องกับขีดความสามารถของประเทศและตามแผน
พัฒนาประเทศ ดังจะเห็นได้จากความสำ�เร็จในการพัฒนาอุตสาหกรรมของ
จีนที่ต้องแสวงหาแนวทางในการสร้างความมั่นคงด้านพลังงาน ควบคู่กับการ
แสวงหาตลาดเศรษฐกิจในภูมิภาคต่างๆ เช่น การขยายตลาดสู่ทวีปแอฟริกา
และละตินอเมริกา เป็นต้น โดยจีนแสดงท่าทีและจุดยืนในการดำ�เนินความ
สัมพันธ์ระหว่างประเทศกับประเทศเพื่อนบ้านที่มีปัญหาความขัดแย้งในการ
อ้างกรรมสิทธิ์เหนือดินแดนทั้งทางบกและทางทะเล ในรูปแบบของ “พัก
การโต้แย้ง ร่วมกันพัฒนา”5 ซึ่งสอดคล้องกับการชูนโยบายการเติบโตอย่าง

5
เฉียนฉีเซิน (เขียน), อาทร ฟุ้งธรรมสาร (แปล), สถานการณ์โลกกับการทูตจีน.
(กรุงเทพฯ: สำ�นักพิมพ์มติชน, 2555), หน้า 160.

การขยายบทบาททางทหารของจีนในทะเลจีนใต้ 8
สันติและไม่ปรารถนาที่จะเป็นมหาอำ�นาจครอบงำ�ประเทศใดๆ

 นโยบายด้านความมั่นคงและนโยบายต่างประเทศของจีน
นโยบายความมั่นคงแห่งชาติเป็นกรอบนโยบายหลักที่นำ�มากำ�หนด
เป็ น นโยบายด้ า นการต่ า งประเทศของจี น ซึ่ งในการดำ � เนิ น นโยบายมี
วัตถุประสงค์เพื่อรักษาเอกราชและอธิปไตยของชาติ การสร้างสรรค์สภาวะ
แวดล้อมที่เกื้อกูลต่อการปฏิรูปอย่างเปิดเผยและทันสมัย ตลอดจนเพื่อ
ดำ�รงสันติภาพของโลกและส่งเสริมการพัฒนาร่วมกัน6 โดยจุดมุ่งหมายของ
นโยบายต่างประเทศจีนคือ ต้องการสร้างจีนเดียวที่มีความแข็งแกร่งเป็น
อิสระ และก้าวขึ้นมาเป็นหนึ่งในมหาอำ�นาจในโลก โดยมิได้มีความคิดที่
จะเป็นเพียงหนึ่งเดียวในโลก นอกจากนี้ในช่วงศตวรรษที่ 20 ที่ผ่านมา
นโยบายของจีนมีพื้นฐานมาจากความคิดที่ว่าจีนตกเป็นเหยื่อของการรุกราน
จากชาติตะวันตกและญี่ปุ่น ส่งผลให้จีนมองว่าการรักษาอธิปไตยของชาติ
เป็นสิ่งสำ�คัญยิ่ง นโยบายต่างประเทศของจีนที่โดดเด่นคือ บทบาทความ
รับผิดชอบในฐานะที่เป็นหนึ่งในสมาชิกถาวรของคณะมนตรีความมั่นคง
แห่งสหประชาชาติและหนึ่งในมหาอำ�นาจด้านเศรษฐกิจ ด้วยการดำ�เนิน
นโยบายอย่างระมัดระวัง มิให้เป็นที่หวาดระแวงต่อนานาประเทศ โดยไม่
แทรกแซงกิจการภายในของประเทศอื่น และมุ่งเน้นยุติข้อพิพาทโดยสันติ-
วิธี พยายามขยายจุดร่วมที่มีผลประโยชน์ร่วมกัน7 ซึ่งทำ�ให้จีนสามารถเข้า-
ถึงทุกประเทศในทุกระบอบการปกครอง

6
Embassy of the People’s Republic of China in the United States of
America, “Main Characteristics of China’s Foreign Policy,” [Online]. Available
from: http://www.china-embassy.org/eng..htm [20 December 2012].
7
วิบูรณ์ ตั้งกิจภาภรณ์, นโยบายความมั่นคงของจีนในโลก 3 ยุค: จีนกับความมั่นคง
โลก. (กองวิชาประวัติศาสตร์ โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า, 16 กันยายน 2548), หน้า 40.

9 การขยายบทบาททางทหารของจีนในทะเลจีนใต้
ยุทธศาสตร์ความมั่นคงทางทะเลของจีน8
ภายใต้สภาวะแวดล้อมปัจจุบันและอนาคต ปัญหาที่จะมีผลกระทบ
ต่อความมั่นคงทางทะเลในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และทะเลอันดามัน ซึ่ง
จะมีผลกระทบต่อความมั่นคงทางทะเลของไทยด้วยนั้น มีแนวโน้มการใช้
กำ�ลังทางทหารเพื่อตัดสินแก้ไขปัญหาค่อนข้างต่ำ� อย่างไรก็ตาม โอกาสที่จะ
เกิดความขัดแย้งขึ้นระหว่างจีนกับประเทศในภูมิภาคและมีการใช้กำ�ลังเข้า
แก้ไขปัญหาก็ยังคงมีอยู่ ดังนั้นแล้วยุทธศาสตร์ความมั่นคงทางทะเลของจีน
จึงมีลักษณะสำ�คัญ ได้แก่
- การเสริมสร้างกำ�ลังรบของกองทัพให้มีขีดความสามารถในการ
ป้องกันผลประโยชน์ทางทะเล และบริเวณอาณาเขตยุทธศาสตร์ของจีน รวม
ทั้งสนับสนุนการพัฒนาเศรษฐกิจและการดำ�เนินการทางการทูตที่เหมาะสม
- การเสริมสร้างความไว้วางใจ ผลประโยชน์ร่วม ความเสมอภาค
การพัฒนาความร่วมมือทางการทหาร และการสร้างความเข้าใจอันดีระหว่าง
กองทัพมิตรประเทศ และประสานความร่วมมือกับประเทศต่างๆ เพื่อลด
ความหวาดระแวงในภัยคุกคามจากจีน ขณะเดียวกันก็มุ่งเน้นการแก้ไข
ความขัดแย้งโดยสันติและหลีกเลี่ยงการใช้กำ�ลัง
- การส่งเสริมและสนับสนุนกิจการพาณิชย์นาวี ประกอบด้วย
เรือพาณิชย์ สิ่งอำ�นวยความสะดวกและท่าเรือ ในการขนส่งทางทะเล ใน
ทะเลจีนใต้ อ่าวเบงกอล และทะเลอันดามัน ตลอดจนสร้างเครือข่าย
คมนาคมขนส่งทางอื่น การเชื่อมโยงกับประเทศเพื่อนบ้านและมิตรประเทศ
เพื่อให้สามารถสนับสนุนภารกิจด้านความมั่นคงและการรักษาผลประโยชน์
ทางเศรษฐกิจและทางทะเลของชาติในภาวะปกติและไม่ปกติ
- การป้องกันและรักษาระบบการคมนาคมขนส่งทางทะเลที่สำ�คัญ
ของประเทศให้สามารถใช้ประโยชน์ได้อย่างเต็มที่และต่อเนื่อง
จากยุทธศาสตร์ที่กล่าวมาข้างต้นนี้ จีนสามารถนำ�เครื่องมือ ได้แก่

8
นาวาเอก วิศาล ปัณฑวังกูร, “สาธารณรัฐประชาชนจีนกับความมั่นคงทางทะเลของไทย
ในทศวรรษหน้า,” (เอกสารประจำ�ภาค วิทยาลัยการทัพเรือ รุ่นที่ 39), หน้า 54.

การขยายบทบาททางทหารของจีนในทะเลจีนใต้ 10
กำ�ลังรบของกองทัพเรือและกองทัพอากาศ เรือพาณิชย์ งบประมาณ และ
ความช่วยเหลือในการสร้างสิ่งอำ�นวยความสะดวก สิ่งก่อสร้างพื้นฐาน รวม
ทั้งการดำ�เนินการทางการทูต ซึ่งหากจีนสามารถพัฒนาเศรษฐกิจให้เติบโต
ได้ตามเป้าหมาย ย่อมจะทำ�ให้จีนมีงบประมาณเสริมสร้างกำ�ลังกองทัพ หรือ
กล่าวได้ว่า ยุทธศาสตร์ดังกล่าวไม่มีข้อจำ�กัดด้านทรัพยากรในการดำ�เนิน
การ ดังนั้นภายในปี ค.ศ. 2020 กองทัพเรือจีนจะสามารถขยายการปฏิบัติ-
การ จากการปฏิบัติการนอกเขตชายฝั่งไปสู่การปฏิบัติการทุกสาขาในทะเล
เปิด และมีขีดความสามารถในการต่อต้านการโจมตีด้วยอาวุธนิวเคลียร์
China’s String of Pearls Strategy9
ความต้องการความมั่นคงปลอดภัยในการลำ�เลียงน้ำ�มันเชื้อเพลิง
ทางทะเล นำ�ไปสู่การกำ�หนดยุทธศาสตร์ที่เรียกว่า “China’s String of
Pearls Strategy” หรือ “ยุทธศาตร์สร้อยไข่มุก” ซึ่งเป็นการสร้างความ
สัมพันธ์ทางยุทธศาสตร์ตามเส้นทางคมนาคมทางทะเลจากตะวันออกกลางไป
ยังทะเลจีนใต้ เพื่อรองรับการขยายตัวทางเศรษฐกิจและภารกิจของกองทัพ
เรือที่จะขยายการปฏิบัติการในการคุ้มครองและปกป้องผลประโยชน์ของจีน
ในการคุ้มครองการขนส่งน้ำ�มันเชื้อเพลิงและผลประโยชน์ทางยุทธศาสตร์
การดำ�เนินการประกอบด้วยการสร้างฐานทัพเรือที่ท่าเรือกวาดาร์ (Gwa-
dar) ในปากีสถาน ฐานทัพเรือ Sittwe ในพม่า Hambantota ใน
ศรีลังกา ท่าเรือ Chittagong ในบังกลาเทศ และการทำ�ข้อตกลงทาง
ทหารกับกัมพูชา รวมถึงการวางแผนขุดคลองกระ (หรือคลองไทย)10 ใน
ประเทศไทย นอกจากนี้มีการสร้างท่าเรือและโรงกลั่นน้ำ�มันเพื่อใช้เป็น
ฐานทัพหน้าในการรักษาความมั่นคงด้านพลังงาน โดยมีไทยเป็นส่วนหนึ่ง

9
Christopher J. Pehrson, “String of Pearls: Meeting the Challenge of
China’s Rising Power across the Asian Littoral,” Research Strategic Studies
Institute, United States of America. July 2006. p. 3. [Online]. Available from:
http://www.strategicstudiesinstitute.army.mil/pdffiles/pub721.pdf
10
AFP, “String of Pearls Military Plan to Protect China’s Oil: US Re-
port,” January 18, 2005.

11 การขยายบทบาททางทหารของจีนในทะเลจีนใต้
ของยุทธศาสตร์ และจะกลายเป็นศูนย์กลางการเดินเรือที่สำ�คัญของโลก
โดยจีนเป็นผู้ลงทุนให้

ภาพที่ 2 : China’s String of Pearls

ที่มา : “China’s String of Pearls,” [Online]. Available from: http://


www.marinebuzz.com/ marinebuzzuploads/ WeekendViewUpdated
ChineseStringofPearls_AC3/ Chinese_string_of _pearls.jpg [30 March
2013].

สำ�หรับการลำ�เลียงน้�ำ มันเชือ้ เพลิงทางทะเลทีต่ อ้ งการความปลอดภัย


ในระหว่างเส้นทางนั้น เครื่องมือที่จีนเลือกใช้ก็คือ การทูตและการทหาร
โดยจีนใช้เครื่องมือทางการทูตผ่านการให้ความช่วยเหลือทางเศรษฐกิจ
หรือความช่วยเหลือทางการทหาร โดยไม่คำ�นึงว่าประเทศนั้นจะปกครอง
โดยระบอบใด หรือมีการละเมิดสิทธิมนุษยชนหรือไม่ เนื่องจากจีนถือว่า
เป็นกิจการภายใน ซึ่งจีนจะไม่เข้าไปยุ่งเกี่ยว ทำ�ให้จีนสามารถใช้เครื่องมือ
นี้เสริมหรือทดแทนเครื่องมือทางทหาร โดยเฉพาะกำ�ลังทางเรือที่จีนกำ�ลัง

การขยายบทบาททางทหารของจีนในทะเลจีนใต้ 12
เสริมสร้างทั้งจำ�นวนและขีดความสามารถ แต่มีข้อจำ�กัดเรื่องการปรากฏตัว
อันจะก่อให้เกิดความหวาดระแวง โดยจีนได้อ้างเสมอว่า จีนไม่มีนโยบาย
ก้าวก่ายประเทศใด ทั้งยังมีนโยบายที่สำ�คัญเพื่อสร้างความเชื่อใจและความ
เข้าใจต่อกันบนพื้นฐานของการเคารพต่อกัน 5 ข้อ ได้แก่11
1. การเคารพต่ออธิปไตยและบูรณภาพแห่งดินแดนซึ่งกันและกัน
2. การไม่ก้าวร้าวต่อกัน
3. การไม่ แ ทรกแซงต่ อ กิ จ การภายในประเทศของกั น และกั น
(Noninterference)
4. การมีความเสมอภาคและผลประโยชน์ร่วมกัน
5. การอยู่ร่วมกันโดยสันติ มีการพัฒนาความสัมพันธ์ทางการทูต
เศรษฐกิจ และการแลกเปลี่ยนทางวัฒนธรรมกับประเทศอื่นๆ
จีนกล่าวเสมอว่า จีนไม่ตอ้ งการเห็นประเทศใดๆ เอาวิถกี ารปกครอง
ของตนไปบังคับให้ประเทศอื่นปฏิบัติตาม และจีนไม่คิดขยายกำ�ลังทหาร
วางกำ�ลังทหารหรือตั้งฐานทัพทางทหารในต่างประเทศ12 ไม่เข้าครอบครอง
ดินแดนในต่างประเทศเลย และจะยังไม่สร้างโครงข่ายฐานทัพและท่าเรือ
ขนาดใหญ่ในต่างประเทศ อย่างเช่นที่บางประเทศกำ�ลังทำ�อยู่13 และถึงแม้
จะเคยมีชาวจีนที่ทำ�งานในต่างประเทศถูกคุกคามและสังหาร จีนก็ยังคง
หลีกเลี่ยงการวางกำ�ลังทหารในต่างประเทศ แม้ว่าผลประโยชน์ของจีนจะ

11
L. Geng, “Sino-Myanmar Relations: Analysis & Prospects,” [Online].
Available from: http://www.international-relations.com/CM7-2WB/Sino-Myan-
mar.htm [28 February 2013] ; Daniel J Kostecka, “Places and Bases: The Chinese
Navy’s Emerging Support Network in the Indian Ocean,” Naval War College
Review. 64, 1 (Winter 2011): 62.
12
Li Jijun , “Traditional Military Thinking and the Defensive Strategy
of China,” [Online]. Available from: http://www.fas.org/nuke/guide/china/doc-
trine/china-li.pdf [12 February 2012].
13
People’s Daily, “China’ s Foreign Policy,” [Online]. Available from:
http://pcopledaily.com.cn/ [28 February 2013].

13 การขยายบทบาททางทหารของจีนในทะเลจีนใต้
อยู่ในภาวะเสี่ยงก็ตาม
ยุทธศาสตร์น่านน้ำ�ทะเลลึกของจีน
การป้องกันเส้นทางขนส่งทางทะเล ซึ่งเป็นการลำ�เลียงวัตถุดิบจาก
แหล่งต่างๆ ไปยังท่าเรือจีนจะต้องพึ่งพากองกำ�ลังทางเรือของตนเอง จีน
จึงวางแผนพัฒนากำ�ลังทางเรือของตนเองอย่างเป็นขั้นเป็นตอน เริ่มต้นจาก
จากแนวทางเชิงตั้งรับป้องกันชายฝั่ง (Brown-Water Navy) มาเป็น
Active Green Water Defence Strategy14 ในปี ค.ศ. 1997 และ
มุ่งสู่ยุทธศาสตร์น่านน้ำ�ทะเลลึก (Blue Water Navy) ในศตวรรษที่ 21
การพัฒนายุทธศาสตร์น่านน้ำ�ทะเลลึกของจีนนั้น สอดคล้องกับ
การที่ จี นได้ ข ยายอิ ท ธิ พ ลทางทะเลไปยั ง มหาสมุ ท รอิ น เดี ย โดยจี น วาง
สมดุลทางภูมิรัฐศาสตร์กับประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เอเซีย-
ใต้ ตะวันออกกลาง และแอฟริกา ด้วยการเสริมสร้างอำ�นาจทางทะเลใน
ทะเลจีนใต้ เห็นได้จากการติดต่อขอเช่าท่าเรือและฐานทัพในประเทศต่างๆ
ที่อยู่ในมหาสมุทรอินเดียตามยุทธศาสตร์สร้อยไข่มุก และการปฏิบัติการ
ทางการทหารนอกดินแดนจีนในปี ค.ศ. 2008 ด้วยการส่งกำ�ลังเรือรบไป
ปฏิ บั ติ ภ ารกิ จ ปราบปรามโจรสลั ด ที่ โ ซมาเลี ย นั้ น เป็ น การแสดงถึ ง การ
ปรับเปลี่ยนภารกิจจากการปกป้องอำ�นาจอธิปไตยของจีน ไปสู่การเตรียม
ความพร้อมในการปกป้องเครือข่ายผลประโยชน์ของจีนในภูมิภาคต่างๆ
ทั่วโลก ซึ่งเป็นการปรับยุทธศาสตร์ในการปกป้องอธิปไตยบริเวณชายฝั่ง
ออกไปเป็นการป้องกันในทะเลระยะไกล (From Coastal to Far
Sea Defence) เพื่อรักษาเส้นทางคมนาคมทางทะเล (Sea Lines of
Communication-SLOCs) ให้ปลอดภัย ซึ่งปรับเปลี่ยนจากเดิมที่
เป็ นการเตรี ยมความพร้อมบริเวณชายฝั่งและการเตรียมกำ � ลังในปัญหา
ระหว่างจีนกับไต้หวันเท่านั้น
ในปี ค.ศ. 2010 จีนได้ขยายขอบเขตปฏิบัติการ โดยได้ทำ�การฝึก
14
Green-Water Navy หมายถึง ขีดความสามารถในการปฏิบัติการทางทะเลที่อยู่
ระหว่าง Brown-Navy Water กับ Blue-Navy Water กล่าวคือสามารถปฏิบัติการห่างจากฝั่ง
ได้ แต่ไม่สามารถออกไปปฏิบัติการในน่านน้ำ�ลึกได้

การขยายบทบาททางทหารของจีนในทะเลจีนใต้ 14
ปฏิบัติการทางเรือบริเวณตอนใต้ของญี่ปุ่น โดยไม่ได้แจ้งให้แก่รัฐชายฝั่ง
ต่างๆ ซึ่งพื้นที่ที่ทำ�การฝึกนี้เป็นเส้นทางที่สหรัฐฯ ใช้เดินทางผ่านกรณีที่
เกิดวิกฤติการณ์การเผชิญหน้าระหว่างจีนกับไต้หวัน ส่งผลให้ญี่ปุ่นดำ�เนิน
การประท้วงทางการทูตต่อจีน แต่กระทรวงการต่างประเทศจีนแจ้งว่าเป็น
เพียงการฝึกในน่านน้ำ�สากล และประเทศต่างๆ ก็ไม่ควรมองว่าการฝึก
ของกองทัพเรือจีนมีนัยเป็นอย่างอื่น หลังจากนั้นในปี ค.ศ. 2012 จีนได้
เพิ่มงบประมาณด้านการทหารขึ้นอีกร้อยละ 11.2 หรือประมาณ 110 พัน
ล้านเหรียญสหรัฐ ซึ่งเป็นการเพิ่มงบประมาณด้านการทหารอย่างต่อเนื่อง15
และต่อมาในปี ค.ศ. 2013 จีนยังคงเพิ่มงบประมาณด้านการทหารอีกร้อยละ
11.2 หรือประมาณ 115 พันล้านเหรียญสหรัฐ16 ในการสร้างและพัฒนาเรือ
ดำ�น้ำ� เรือผิวน้ำ� ขีปนาวุธต่อต้านเรือผิวน้ำ� รวมถึงการปรับปรุงเรือบรรทุก
เครื่องบิน “เหลียวหนิง” มาขึ้นระวางประจำ�การในเดือนกันยายนปี ค.ศ.
201217 ซึ่งเป็นเรือบรรทุกเครื่องบินลำ�แรกของจีน และนับได้ว่าเป็นเรือ
ที่สนองต่อยุทธศาสตร์น่านน้ำ�ทะเลลึกของจีนอย่างเต็มรูปแบบ

 หลักนิยมของกองทัพเรือของจีน (PLA Navy Doctrine)18


ยุทธศาสตร์การป้องกันเชิงรุก (Active Defense Strategic
15
Chris Buckley, “China Boosts Defense Budget 11 Percent after U.S.
‘Pivot,’” [Online]. Available from: http://www.reuters.com/ article/2012/03/04/
us-china-defence-idUSTRE82302O20120304 [24 April 2012].
16
โรแซนน์ เกอริน, “จีนเพิ่มงบประมาณค่าใช้จ่ายทางการทหารปี 2556” [Online].
Available from: http://apdforum.com/th/article/rmiap/articles/online/features/
2013/03/15/china-military-budget [27 March 2013].
17
โรแซนน์ เกอริน, “จีนใฝ่ฝันพัฒนากองทัพเรือน่านน้ำ�สีคราม,” [Online]. Available
from: http://apdforum.com/th/article/rmiap/articles/online/features/2013/01/29/
china-blue-water [29 January 2013].
18
United States of America Office of Naval Intelligence, China’s Navy
2007. p. 23. [Online]. Available from: http://www.fas.org/irp/agency/oni/chi-
nanavy2007.pdf. [29 January 2013].

15 การขยายบทบาททางทหารของจีนในทะเลจีนใต้
Guidelines) กองทัพจีนมีการจัดโครงสร้างกองทัพที่เหมือนกันทุกเหล่า-
ทัพ แยกกันไม่ออกจนกว่าจะถึงระดับของการปฏิบัติ ทำ�ให้กองทัพเรือจีน
ได้รับยุทธศาสตร์ ตลอดจนแนวความคิดในการปฏิบัติของกองทัพจีนมาเป็น
กรอบเช่นเดียวกับเหล่าทัพอื่น ซึ่งการป้องกันเชิงรุกเป็นกรอบในการเตรียม
ความพร้อมตั้งแต่ยามสงบของทุกเหล่าทัพ19
การป้องกันไกลฝั่ง (Offshore Defense) การเตรียมกำ�ลัง
กองทัพจีนแต่เดิมนั้น อยู่บนพื้นฐานที่ต้องการป้องกันการโจมตีของกองทัพ
สหภาพโซเวียตจากทางทิศเหนือ ทำ�ให้กองทัพเรือจีนในอดีตมีบทบาทเพียง
เพื่อสนับสนุนการรบทางบกและใช้ยุทธศาสตร์ “Coastal Defense” มา
ตลอด จนกระทั่งสภาวะแวดล้อมด้านความมั่นคงเปลี่ยนแปลงไป กองทัพ
จีนได้กำ�หนดยุทธศาสตร์ทางทหารขึ้นใหม่ จึงเป็นโอกาสให้กองทัพเรือจีน
ขยายบทบาทเพื่อรองรับยุทธศาสตร์ใหม่ โดยมีแนวคิดเรื่อง “ไกลฝั่ง” ที่
หมายรวมถึงทะเลเหลือง ทะเลจีนตะวันออก ทะเลจีนใต้ หมูเ่ กาะสแปรตลีย์
น่ า นน้ำ �โดยรอบไต้ ห วั น หมู่ เ กาะริ ว กิ ว และทะเลทางตอนเหนื อ ของ
มหาสมุทรแปซิฟิก20 แนวความคิดในการป้องกันไกลฝั่งของกองทัพเรือจีน
ซึ่งจะตอบสนองต่อยุทธศาสตร์การป้องกันเชิงรุก ได้รับการปรับเปลี่ยนจาก
การเตรียมกำ�ลังสำ�หรับปฏิบัติการใกล้ฝั่งเพื่อสนับสนุนการรบทางบก มา
เป็นการปฏิบัติการในระยะไกลจากฝั่ง เพื่อรักษาผลประโยชน์แห่งชาติทาง
ทะเล โดยเรียกว่า “ยุทธศาสตร์การป้องกันไกลฝั่ง” (Offshore Defense
Strategy) ซึ่งนับว่าเป็นแนวความคิดทางยุทธศาสตร์อย่างกว้างๆ โดยคำ�ว่า
“การป้องกันไกลฝั่ง” ได้ก่อให้เกิดการกำ�หนดแนวความคิดในการปฏิบัติ
การภายใน “Two Island Chains” หรือครอบคลุมเขตเศรษฐกิจ
จำ�เพาะของจีนไปจนถึงระยะประมาณ 1,800 ไมล์ จากชายฝั่งของจีน และ
ครอบคลุมทะเลจีนตะวันออก ตลอดจนเส้นทางคมนาคมทางทะเลในเอเชีย
ตะวันออก กล่าวคือ The First Island Chain เป็นแนวที่ลากครอบคลุม

19
Ibid., p. 24.
20
Ibid., p. 26.

การขยายบทบาททางทหารของจีนในทะเลจีนใต้ 16
หมู่เกาะคูริล ญี่ปุ่น หมู่เกาะริวกิว ไต้หวัน ฟิลิปปินส์ และอินโดนีเซีย
(แนวระหว่างบอร์เนียว - นาตูนา) ส่วน The Second Island Chain
เป็นแนวเหนือ-ใต้จากหมู่เกาะคูริล ผ่านญี่ปุ่น โบนินส์ มาเรียน่า แคโล-
ไลน์ และอินโดนีเซีย
จากที่กล่าวข้างต้น แสดงให้เห็นว่าการป้องกันไกลฝั่งของจีนไม่มี
ข้อจำ�กัดในทางภูมิศาสตร์ ระยะทางใกล้หรือไกลแต่อย่างใด โดยจีนมี
ความพยายามในการยกระดับขีดความสามารถในการปฏิบัติการใน First
Island Chain และเพิ่มขีดความสามารถในการป้องปรามนิวเคลียร์ การ
ต่อต้านการโจมตีจากนิวเคลียร์ จากนั้นจึงพัฒนาขีดความสามารถในการ
ปฏิบัติการรบในมหาสมุทร เพื่อที่ในอนาคตกำ�ลังรบทางทะเลของจีนจะมี
ขีดความสามารถก้าวเป็นกองเรือทะเลลึก เพือ่ ใช้ก�ำ ลังรบทางทะเลทีเ่ ข้มแข็ง
เป็นเครื่องมือในการถ่วงดุลอำ�นาจกับประเทศต่างๆ ในภูมิภาค โดยมีแนว-
ความคิดในการปฏิบัติ ดังนี้21 
1) การป้องปราม (Deterrence) แนวความคิดในการป้องปราม
ในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกโดยจะดำ�เนินการใน 3 ลักษณะ คือ
- การป้องปรามด้วยอาวุธนิวเคลียร์ โดยใช้นิวเคลียร์ป้องปราม
การรุกรานจากประเทศที่มีอาวุธนิวเคลียร์ พร้อมทั้งประกาศนโยบายการ
ใช้อาวุธนิวเคลียร์อย่างชัดเจน
- การป้องปรามด้วยอาวุธตามแบบ โดยกระทำ�ต่อเป้าหมายที่มี
คุณค่าทางยุทธการสูงของฝ่ายตรงข้าม
- การป้องปรามโดยใช้พันธมิตรทางทหาร การที่กองทัพเรือจีนมี
ความสัมพันธ์และความร่วมมือทางทหารที่ใกล้ชิดกับกองทัพเรือรัสเซีย ซึ่ง
กำ�ลังฟื้นฟูสถานะของตนเองในเวทีโลก

21
Matthew Hickley, “Chinese Sub Pops Up Undetected Near U.S.S.
Kitty Hawk During Exercise,” National Terror Alert. (10 November 2007)
[Online]. 2007 Available from: http://www.nationalterroralert.com/updates/
2007/11/10/ chinese-sub-pops-up-undetected-nearuss-kitty-hawk-during-exer-
cise/ [20 November 2012].

17 การขยายบทบาททางทหารของจีนในทะเลจีนใต้
ภาพที่ 3 : China’s the First and Second Island Chains

ที่มา : U.S. Department of Defense, Military Power of People’s


Republic of China. Annual Report of Congress, 2009, (Washington
: Office of the Secretary of Defense, 2009), p. 18.

2) การป้องกันทางลึก (Defense in Depth) การใช้กำ�ลังรบ


ทางทะเลตั้งแต่ The Second Island Chain เข้ามายังฝั่งประเทศจีน
ในลักษณะแนวป้องกันตามคุณลักษณะและขีดความสามารถของกำ�ลังรบ
ทางทะเล ทั้งนี้เพื่อเพิ่มการควบคุมพื้นที่ในทะเล
3) การแผ่กำ�ลังอำ�นาจทางทะเล (Power Projection) ด้วยการ
ปฏิบัติการเคลื่อนย้ายกำ�ลัง โดยกำ�ลังรบทางทะเล การปฏิบัติการทางเรือ
ที่ตอบสนองผลประโยชน์ของชาติ ภายใต้กรอบแนวคิดของสหประชาชาติ
โดยมุ่งเน้นการใช้กำ�ลังรบทางทะเลเพื่อป้องกันการพิพาท หรือเพื่อบังคับ
ให้เกิดสันติภาพ แนวความคิดนี้สามารถใช้โดยไม่จำ�กัดพื้นที่ ทั้งนี้ขึ้นอยู่

การขยายบทบาททางทหารของจีนในทะเลจีนใต้ 18
กับพื้นที่ปฏิบัติการและอำ�นาจที่ได้รับจากสหประชาชาติ
4) การแสดงกำ � ลั ง ทางเรื อ (Presence) ด้ ว ยการเดิ น ทาง
เยี่ยมเยียนท่าเรือในต่างประเทศ การฝึกและการปฏิบัติการเป็นประจำ�ใน
พื้นที่ที่มีผลประโยชน์เพื่อป้องปราม
โดยแนวทางยุทธศาสตร์ทั้ง 4 ข้อ จีนเชื่อว่าจะนำ�ไปสู่ความสำ�เร็จ
มีกำ�ลังอำ�นาจทางทะเล โดยภายในปี ค.ศ. 2020 จีนมุ่งเน้นการปฏิบัติใน
พื้นที่ฝั่งมหาสมุทรแปซิฟิกเป็นสำ�คัญ ซึ่งครอบคลุมพื้นที่ที่มีความขัดแย้ง
ในการอ้างกรรมสิทธิ์ในทะเลจีนใต้

ï ความสำ�คัญของทะเลจีนใต้ ï

 ภูมิรัฐศาสตร์ของทะเลจีนใต้
ทะเลจี นใต้ เ ป็ น ทะเลปิ ด ที่ เ ป็ น ส่ ว นหนึ่ ง ของมหาสมุ ท รแปซิ ฟิ ก
ครอบคลุมอาณาบริเวณตั้งแต่ประเทศสิงคโปร์ไปจนถึงช่องแคบไต้หวัน
รวมทั้งอ่าวตังเกี๋ยและอ่าวไทย อาณาเขตของทะเลจีนใต้มีพื้นที่ทั้งหมด
ประมาณ 3.5 ล้านตารางกิโลเมตร โดยทะเลจีนใต้เป็นตัวเชื่อมมหาสมุทร
แปซิฟิกเข้ากับมหาสมุทรอินเดีย หรือที่เรียกว่าเส้นทางตะวันออก-ตะวันตก
และเชื่อมออสเตรเลีย-นิวซีแลนด์เข้ากับเอเชียตะวันออกเฉียงเหนือ หรือที่
เรียกว่าเหนือ-ใต้ โดยเส้นทางนีจ้ ะผ่านช่องแคบมะละกา (Malacca) ซุน-
ดา (Sunda) และลอมบ็อก (Lombok) ลักษณะโดยรวมของภูมิศาสตร์
ในทะเลจีนใต้มีลักษณะเป็นหมู่เกาะประมาณ 250 เกาะ ประกอบด้วย
หมู่เกาะหลัก 3 หมู่เกาะและกลุ่มเกาะขนาดเล็ก 2 กลุ่มตามขนาด คือ22
1) หมู่เกาะสแปรตลีย์ (Spratleys Islands) หรือหนานชา
(Nansha) ในภาษาจีน และเจื่องซา (Truong Sa) ในภาษาเวียดนาม

22
นาวาเอก ธีระยุทธ นอบน้อม, “ปัญหาทะเลจีนใต้กับผลกระทบด้านความมั่นคงของ
ไทย,” บทความทางวิชาการ นักศึกษาวิทยาลัยการทัพเรือ รุ่นที่ 45, กองทัพเรือ. หน้า 1.

19 การขยายบทบาททางทหารของจีนในทะเลจีนใต้
ตั้งอยู่ใจกลางทะเลจีนใต้ เป็นหมู่เกาะที่ใหญ่ที่สุดในทะเลจีนใต้ โดยรวม
ถึงเกาะ สันดอน และโขดหินในจำ�นวนที่ไม่สามารถบอกได้แน่นอน แต่มี
มากกว่า 175 แห่ง หมู่เกาะสแปรตลีย์นี้มีพื้นที่ประมาณ 729,000 ตาราง-
กิโลเมตร หรือคิดเป็นร้อยละ 38 ของพื้นที่ทะเลจีนใต้ โดยประเทศที่อ้าง
อธิปไตยทั้งหมู่เกาะคือ จีน ไต้หวัน เวียดนาม ส่วนมาเลเซียและบรูไน
อ้างอธิปไตยบางส่วน โดยเวียดนามครอบครองเกาะมากที่สุดคือ 27 เกาะ
จีนครอบครอง 7-9 เกาะ ฟิลิปปินส์ครอบครอง 9 เกาะ มาเลเซียครอบ-
ครอง 3 เกาะ ส่วนไต้หวันครอบครองเกาะอีตู อบา (Itu Aba) หรือ
เกาะไตปิง (Taiping Island) ซึ่งเป็นเกาะที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในบรรดา
หมู่เกาะสแปรตลีย์
หมู่เกาะนี้มีความสำ�คัญทางยุทธศาสตร์คือ อยู่ใกล้เส้นทางคมนาคม
หลักทีจ่ ะเป็นทางผ่านระหว่างมหาสมุทรอินเดีย (ผ่านช่องแคบมะละกา) กับ
มหาสมุทรแปซิฟิก และเป็นแหล่งทรัพยากรที่สำ�คัญทางเศรษฐกิจ ซึ่งจาก
การสำ�รวจของบริษัทจีนคาดว่ามีก๊าซธรรมชาติจำ�นวนมากถึง 25 ล้านคิวบิก
และน้ำ�มันดิบประมาณ 105 ล้านบาร์เรล ดังนั้นหากประเทศใดได้กรรมสิทธิ์
เหนือหมู่เกาะนี้ทั้งหมด ย่อมจะมีอาณาเขตทางทะเล (Maritime Zones)
ที่กว้างออกไปอีก 200 ไมล์ทะเล ซึ่งเป็นพื้นที่มหาศาลเกือบครอบคลุมพื้นที่
ทะเลจีนใต้ทั้งหมด
2) หมู่เกาะปราตัส (Pratas Islands) หรือดงชา (Dongsha)
ในภาษาจีน ซึ่งไต้หวันครอบครองอยู่ และจีนก็อ้างว่าตนเองมีสิทธิ์ครอบ-
ครองด้วยเช่นกัน
3) หมู่เกาะพาราเซล (Paracel Islands) หรือซีชา (Xisha
Islands) ในภาษาจีน และฮว่างซา (Hoang Sa Islands) ในภาษา
เวียดนาม ประเทศที่อ้างอธิปไตยเหนือหมู่เกาะพาราเซล ได้แก่ จีน ไต้หวัน
และเวียดนาม โดยปัจจุบนั หมูเ่ กาะพาราเซลอยูภ่ ายใต้อ�ำ นาจการบริหารของ
ไหหนาน (Hainan) ของจีน โดยในอดีตเวียดนามเคยครอบครองหมู่เกาะ
พาราเซล แต่ต้องสูญเสียให้กับจีนหลังกรณีพิพาทกันในปี ค.ศ. 1974
4) แมคเคิลแบงค์ (Macclesfield Bank) หรือจงชา (Zhong-

การขยายบทบาททางทหารของจีนในทะเลจีนใต้ 20
sha Island) ในภาษาจีน อ้างสิทธิ์โดยจีน ไต้หวัน และฟิลิปปินส์ มีพื้นที่
ประมาณ 6,448 ตารางกิโลเมตร ตั้งอยู่ทางตะวันออกของหมู่เกาะพารา-
เซล ทางตะวันตกเฉียงใต้ของหมู่เกาะปราตัส และทางเหนือของหมู่เกาะ
สแปรตลีย์
5) สกาโบโร โชล (Scarborough Shoal) หรือปานาตัก โชล
(Panatag Shoal) ในภาษาตากาล๊อก อ้างสิทธ์ิโดยจีน ไต้หวัน และ
ฟิลิปปินส์ โดยสกาโบโร โชล ตั้งอยู่ระหว่างแมคเคิลแบงค์กับเกาะลูซอน
ของฟิลิปปินส์
จะเห็นได้ว่าในทะเลจีนใต้มีถึง 6 ประเทศคือ จีน เวียดนาม
ฟิลิปปินส์ ไต้หวัน มาเลเซีย และบรูไน ที่อ้างกรรมสิทธิ์หรือยืนยันอำ�นาจ
อธิปไตยของตนเหนือพื้นที่ดังกล่าว จนเกิดเป็นพื้นที่ทับซ้อนหลายแห่ง ใน
ขณะที่หลายพื้นที่ของทะเลจีนใต้ ก็มีหลายประเทศที่อ้างสิทธิ์หรืออำ�นาจ
อธิปไตยทับซ้อนกันไปมาด้วย ทำ�ให้ในปัจจุบันภูมิศาสตร์แห่งนี้ทวีความ
สำ�คัญมากยิ่งขึ้น ทั้งในแง่เศรษฐกิจ พื้นที่ทางด้านยุทธศาสตร์ และด้าน
ความมั่นคง

 ความสำ�คัญของทะเลจีนใต้
ด้านการเมืองและความมั่นคง
ทะเลจีนใต้มีอาณาเขตติดต่อกับจีน เวียดนาม มาเลเซีย บรูไน
ฟิลิปปินส์ และไต้หวัน ทั้งยังตั้งอยู่บนเส้นทางเดินเรือที่สำ� คัญระหว่าง
มหาสมุทรอินเดียกับเอเชียตะวันออก ในยามสงคราม ทะเลจีนใต้เป็นพื้นที่
มีประโยชน์ทางด้านยุทธวิธี โดยในระหว่างสงครามโลกครั้งที่สอง ญี่ปุ่น
ได้ยึดเกาะ Itu Aba ในหมู่เกาะสแปรตลีย์และใช้เป็นฐานทัพเรือดำ�น้ำ�
เพื่อเข้าโจมตีฟิลิปปินส์ ประกอบกับทะเลในบริเวณทะเลจีนใต้มีระดับ
ความลึกน้ำ�ทะเลมาก เหมาะต่อการปฏิบัติการของเรือดำ�น้ำ� ดังนั้นจึงเป็น
จุดยุทธศาสตร์ที่มีความสำ�คัญอย่างมาก
สำ � หรับ จีน นั้นมองว่ า หมู่ เ กาะพาราเซลและสแปรตลี ย์ ว่ า มีค วาม
สำ�คัญทางยุทธศาสตร์ในอันที่จะต่อต้านการขยายอิทธิพลของมหาอำ�นาจอื่น

21 การขยายบทบาททางทหารของจีนในทะเลจีนใต้
ในภูมิภาคนี้ เพราะจะสามารถตรวจการณ์ความเคลื่อนไหวของเรือรบต่างๆ
ได้เป็นอย่างดี การเข้ายึดครองหมู่เกาะพาราเซลและบางเกาะในหมู่เกาะ
สแปรตลีย์ของจีน ยังเป็นการป้องกันไม่ให้เวียดนามหรือมหาอำ�นาจอื่น
ตั้งฐานทัพในบริเวณนี้อีกด้วย
นับตั้งแต่จีนยึดหมู่เกาะพาราเซลไว้ทั้งหมดในเดือนกรกฎาคม ค.ศ.
1974 จีนได้ใช้เกาะวู้ดดี้ (Woody) เป็นฐานทัพและสถานีประมง ซึ่ง
สามารถตรวจการณ์กดดันเวียดนาม และตรวจสอบดูการเคลื่อนไหวของกอง
ทัพเรือสหภาพโซเวียตในช่วงสงครามเย็น จีนได้ฝึกซ้อมการรบร่วมเรือ
และอากาศอยู่เสมอ และใช้เป็นฐานปฏิบัติการต่อระยะไปสู่การยึดครอง
เกาะต่างๆ ในหมู่เกาะสแปรตลีย์ ซึ่งจีนถือว่าเป็นดินแดนของจีนมาตั้งแต่
โบราณกาล
ส่วนเวียดนามเชื่อว่าจีนมีแผนจะครอบครองทะเลจีนใต้ทั้งหมด
แทนที่สหรัฐฯ เพื่อบีบบังคับทางการเมืองต่อประเทศในเอเชียตะวันออก
เฉียงใต้ และใช้เป็นฐานก้าวกระโดดทางทหารเพื่อครอบครองพื้นที่ทาง
ทะเลและใช้ประโยชน์จากทรัพยากรทางทะเล โดยหากจีนสามารถครอบ-
ครองทะเลจีนใต้ได้ ก็จะสามารถโอบรัดเวียดนามจากฝั่งทะเลจีนใต้อย่าง
ง่ายดาย นอกเหนือจากโอบล้อมด้านพรมแดนจีน-เวียดนาม ทางภาคพื้น-
ดิน23 ในขณะที่เวียดนาม มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ และบรูไน ต้องการครอบ-
ครองหมู่เกาะและพื้นที่ทางทะเลดังกล่าว เพื่อขยายแนวป้องกันประเทศ
จากชายฝั่งทะเลให้กว้างไกลออกไปมากยิ่งขึ้น เป็นการป้องกันมิให้ศัตรู
ได้ครอบครองดินแดนและพื้นที่ทางทะเลดังกล่าว โดยอาศัยกฎหมายทะเล
ด้านการปฏิบัติการทางทหาร นโยบายทางการเมืองและการทูต เพื่อปฏิเสธ
หลักฐานทางประวัติศาสตร์ของจีน
ดังนั้นเวียดนาม มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ บรูไน และอินโดนีเซีย จึง
ขัดขวางหรือไม่ต้องการให้จีนครอบครองพื้นที่ต่างๆ ในทะเลจีนใต้ ด้วย

23
Mark J. Valencia, Southeast Asian Oil under Trouble Waters. (Sin-
gapor: Oxford University Press, 1985), p. 88.

การขยายบทบาททางทหารของจีนในทะเลจีนใต้ 22
เหตุผลทางด้านยุทธศาสตร์ การเมือง ความมั่นคง และเศรษฐกิจ
ด้านการคมนาคม
จากพื้ น ที่ ท างภู มิ ศ าสตร์ ข องทะเลจี น ใต้ ที่ เ ป็ น ส่ ว นหนึ่ ง ของ
มหาสมุทรแปซิฟิก ทั้งยังเป็นเส้นทางคมนาคมที่สำ�คัญครอบคลุมอาณา-
บริเวณตั้งแต่ประเทศสิงคโปร์ไปจนถึงช่องแคบไต้หวัน รวมทั้งอ่าวตังเกี๋ย
และอ่าวไทย ซึ่งโดยรวมอาณาเขตของทะเลจีนใต้มีพื้นที่ทั้งหมดประมาณ
3.5 ล้านตารางกิโลเมตร ยิ่งไปกว่านั้นทะเลจีนใต้ได้เชื่อมมหาสมุทรแปซิฟิก
เข้ากับมหาสมุทรอินเดีย หรือที่เรียกว่าเส้นทางตะวันออก-ตะวันตก ผ่าน
ทางช่องแคบมะละกา ซึ่งจุดที่มีความกว้างน้อยที่สุดอยู่ที่ 1.7 ไมล์ทะเล24
ทะเลจีนใต้ยังเป็นเส้นทางที่สั้นที่สุดในการลำ�เลียงน้ำ�มันจากตะวันออกกลาง
สู่เอเชีย โดยผ่านทะเลจีนใต้ไปยังจีน ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ รวมถึงประเทศต่างๆ
ริมขอบมหาสมุทรแปซิฟิก25 โดยในแต่ละปีมีสถิติเรือผ่านเข้าออกช่องแคบ
มะละกา เพื่ อ เดิ น ทางติ ด ต่ อ ระหว่ า งมหาสมุ ท รอิ น เดี ย และทะเลจี นใต้
มากกว่า 50,000 ลำ� ซึ่งเมื่อเปรียบเทียบแล้วจะมีจำ�นวนมากกว่าการผ่าน
คลองสุเอซถึงสองเท่า และมากกว่าคลองปานามาประมาณ 3 เท่า26 ทั้งนี้มี
สถิติการขนส่งน้ำ�มันดิบผ่านช่องแคบมะละกาที่ 13.6 ล้านบาร์เรลต่อวันในปี
ค.ศ. 200927 และในปี ค.ศ. 2012 ที่ 15 ล้านบาร์เรลต่อวัน รองลงมาจาก
ช่องแคบฮอร์มุซ ซึ่งในอนาคตจากความต้องการน้ำ�มันที่เพิ่มขึ้นของประเทศ
ต่างๆ ในสมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (ASEAN) และ
เอเชียตะวันออก จะทำ�ให้การจราจรทางทะเลในช่องทางนี้หนาแน่นมาก
ขึ้นกว่าเดิม นอกจากนี้ ทะเลจีนใต้ยังเชื่อมออสเตรเลีย-นิวซีแลนด์เข้ากับ

24
Lehman Brothers, Global Oil Choke Points. (New York: Lehman
Brothers Inc., 2008), p. 10.
25
U.S. Energy Information Administration, “Strait of Malacca,” [Online].
Available from: http://205.254.135.7/countries/regions-topics-cfm?fips=WOTC [28
February 2013].
26
Lehman Brothers, Global Oil Choke Points, p. 10.
27
U.S. Energy Information Administration, “Strait of Malacca”

23 การขยายบทบาททางทหารของจีนในทะเลจีนใต้
เอเชียตะวันออกเฉียงเหนือ หรือที่เรียกว่าเหนือ-ใต้ ประเทศใดสามารถ
ครอบครองหมู่เกาะสแปรตลีย์และหมู่เกาะต่างๆ ในทะเลจีนใต้ได้ จะ
สามารถควบคุมเส้นทางเดินเรือของประเทศต่างๆ ที่ผ่านช่องแคบมะละกา
ไปยังฟิลิปปินส์ ไต้หวัน เกาหลีใต้ ญี่ปุ่น และวลาดิวอสต๊อกได้ทั้งหมด ซึ่ง
ในปัจจุบันช่องแคบมะละกามีความหนาแน่นของการคมนาคมทางทะเลเป็น
อันดับสองของโลก28 และเปรียบเสมือน “เส้นชีวิต” ของกองเรือพาณิชย์
ของญี่ปุ่น ขณะเดียวกันสหรัฐฯ ซึ่งเป็นประเทศมหาอำ�นาจที่มีกองเรือใหญ่
ที่สุดในโลก ต้องอาศัยเส้นทางช่องแคบมะละกาและทะเลจีนใต้เป็นเส้นทาง
ผ่านระหว่างมหาสมุทรอินเดียกับฐานทัพต่างๆ ในฟิลิปปินส์ เกาหลีใต้ และ
ญี่ปุ่น นอกจากนี้ทะเลจีนใต้ยังมีความสำ�คัญต่อการบินพาณิชย์ของประเทศ
ต่างๆ ในภูมภิ าคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้กบั ส่วนอืน่ ๆ ของโลก มีสายการบิน
จำ�นวนมากต้องเดินทางผ่านน่านฟ้าของทะเลจีนใต้ ซึ่งหากทะเลจีนใต้อยู่
ในกรรมสิทธิ์ของประเทศใด ย่อมจะทำ�ให้มีอำ�นาจในการควบคุมน่าน-
ฟ้าเหนือทะเลจีนใต้ด้วย
ด้านทรัพยากร
เป้าหมายด้านทรัพยากรธรรมชาติในพื้นที่ทะเลจีนใต้ที่สำ�คัญที่สุด
คือ น้ำ�มัน เนื่องจากมีการค้นพบน้ำ�มันบริเวณพื้นที่ชายฝั่งทะเลจีนใต้ของ
ประเทศต่างๆ หลายแห่ง มีการประมาณกันว่ามีปริมาณน้ำ�มันสำ�รองที่ได้
รับการยืนยันแล้ว (proven reserves) สูงถึง 7.7 พันล้านบาร์เรล ใน
ขณะที่ปัจจุบันมีการผลิตรวมของทั้งภูมิภาคอยู่ที่ระดับกว่า 1.8 ล้านบาร์เรล
ต่อวัน โดยการผลิตน้ำ�มันของมาเลเซียมีปริมาณเกือบครึ่งหนึ่งของปริมาณ
การผลิตรวมของภูมิภาค ทำ�ให้มีการคาดการณ์กันว่า บริเวณทะเลจีนใต้
จะเป็นแหล่งที่อุดมไปด้วยทรัพยากรน้ำ�มันอีกแหล่งหนึ่ง และกลายเป็น
อ่าวเปอร์เซียแห่งที่สองของโลก แม้ว่าในปัจจุบันจะยังไม่มีการตรวจสอบ
28
สำ�นักงานคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ, “ทะเลจีนใต้และหมู่เกาะสแปร
ตลีย์ ชนวนแห่งความขัดแย้งด้านสิทธิครอบครอง,” นโยบายพลังงาน. 51 (มกราคม-มีนาคม 2544)
[Online]. Available from: http://www.eppo.go.th/vrs/VRS51-07-Spratly.html [20
March 2013].

การขยายบทบาททางทหารของจีนในทะเลจีนใต้ 24
และยืนยันตัวเลขปริมาณน้ำ�มันสำ�รองที่แท้จริงในพื้นที่ดังกล่าวอย่างเป็น
ทางการ แต่ความต้องการน้ำ�มันและความคาดหวังว่าจะค้นพบน้ำ�มันและ
ก๊าซธรรมชาติในปริมาณมาก เป็นปัจจัยสำ�คัญที่ผลักดันให้ประเทศต่างๆ
อ้างกรรมสิทธิ์และส่งกำ�ลังทหารเข้าไปครอบครองเกาะต่างๆ ในทะเลจีนใต้
ตามขีดความสามารถทางทหารเท่าที่กำ�ลังกองทัพของตนทำ�ได้
การสำ�รวจหาน้ำ�มันในทะเลจีนใต้ได้เริ่มกระทำ�เป็นครั้งแรกในปี
ค.ศ. 1968 โดยองค์การ Economic Commission for Asia and
the Far East (ECAFE) ต่อมาในปี ค.ศ. 1969-1970 บริษัทสำ�รวจ
น้ำ�มันของสหรัฐฯ ชื่อ Ray Geophysical of the United States
ทำ�การสำ�รวจน้ำ�มันนอกชายฝั่งทะเลเวียดนามและได้รายงานการค้นพบ
น้ำ�มันในทะเลจีนใต้ ในปี ค.ศ. 1971 รัฐบาลเวียดนามใต้จึงประกาศเขต
ไหล่ทวีปและกำ�หนดเส้นมัธยฐาน (Median Line) กับอินโดนีเซีย โดย
เวียดนามใต้ได้ประกาศให้เกาะ Natuna และเกาะ Anambus ไว้ใน
เขตของตนเองด้วย โดยอ้างว่าบริเวณดังกล่าวเป็นเขตพิเศษไม่ควรใช้เส้น
มัธยฐานและควรทำ�การเจรจาตกลงกัน ทำ�ให้อนิ โดนีเซียประท้วงคำ�ประกาศ
ของเวียดนามและมีการเจรจาเกิดขึ้นหลายครั้ง แต่ไม่ประสบความสำ�เร็จ
ซึ่งอินโดนีเซียอ้างกรรมสิทธิ์เหนือเกาะ Natuna โดยได้ตั้งฐานทัพเรือบน
เกาะดังกล่าว เพื่อใช้เป็นฐานทัพป้องกันการขุดเจาะน้ำ�มันของตนทางด้าน
ตะวันตกของเกาะ Natuna โดยไม่สนใจคำ�คัดค้านของเวียดนาม พร้อม
ยังขู่ว่าหากเวียดนามใช้กำ�ลังกับสถานการณ์ดังกล่าว อินโดนีเซียจะป้องกัน
อย่างเต็มที่
ต่อมาในปี ค.ศ. 1973 รัฐบาลเวียดนามใต้ประกาศแบ่งเขตสัมปทาน
การสำ�รวจขุดเจาะน้ำ�มันนอกชายฝั่งเวียดนามใต้แก่บริษัทต่างชาติที่สนใจ
โดยมีบริษัทน้ำ�มันของสหรัฐฯ ญี่ปุ่น และแคนาดา รับสัมปทานขุดเจาะ
และได้ค้นพบน้ำ�มันจำ�นวนหนึ่งนอกฝั่งเวียดนามใต้ใกล้เขตของอินโดนีเซีย
ประกอบกับวิกฤตการณ์น้ำ�มันในปี ค.ศ. 1973 และในปี ค.ศ. 1979 ได้
กระตุ้นให้มีการสำ�รวจน้ำ�มันนอกภูมิภาคตะวันออกกลางมากขึ้น ประเทศที่
ต้องนำ�เข้าน้ำ�มันอย่างเช่นเวียดนามและฟิลิปปินส์ จึงเร่งสำ�รวจหาน้ำ�มันใน

25 การขยายบทบาททางทหารของจีนในทะเลจีนใต้
ทะเลจีนใต้ และหาเหตุผลในการอ้างกรรมสิทธิ์ หรือแม้แต่ประเทศที่ผลิต
น้ำ�มันอยู่แล้ว เช่น มาเลเซีย บรูไน และจีน ต่างก็ต้องการค้นหาน้ำ�มันและ
ก๊าซธรรมชาติเพิ่มเติม เพื่อสำ�รองไว้ใช้และจำ�หน่ายในอนาคต จึงส่งผล
ให้การแข่งขันอ้างกรรมสิทธิ์ในทะเลจีนใต้ทวีความรุนแรงมากยิ่งขึ้น
ในปี ค.ศ. 1975 รัฐบาลฮานอยได้รับชัยชนะเหนือเวียดนามใต้้
และตั้งเงื่อนไขเกี่ยวกับการสำ�รวจน้ำ�มันที่เข้มงวดมากกว่ารัฐบาลเก่าของ
เวียดนามใต้ ทำ�ให้บริษัทสำ�รวจน้ำ�มันยุติการสำ�รวจ ประกอบกับไม่พบ
ปริ ม าณน้ำ � มั น มากพอในเชิ ง เศรษฐกิ จ ทำ �ให้ เ วี ย ดนามหั นไปตกลงกั บ
โซเวียตในการค้นหาน้ำ�มัน ด้วยการตั้งบริษัทร่วมกันทำ�การสำ�รวจนอก
ชายฝั่งเวียดนามใต้ โดยเฉพาะบริเวณนอกฝั่งปากแม่น้ำ�โขง และในที่สุด
ปี ค.ศ. 1984 เรือสำ�รวจของโซเวียตได้ค้นพบน้ำ�มันในระดับน้ำ�ลึก 3,000
เมตร พบน้ำ�มันที่หลุม Bach Ho หรือ White Tiger Field ซึ่งอยู่
ทางตะวันออกเฉียงใต้ของนครโฮจิมินห์ และสามารถทำ�การผลิตน้ำ�มันได้
80,000 บาร์เรลต่อวัน ทำ�ให้ในปี ค.ศ. 1990 เวียดนามได้ส่งออกน้ำ�มัน
ร้อยละ 80 ของที่ผลิตได้ให้กับญี่ปุ่น ซึ่งมีมูลค่ามากกว่า 400 ล้านเหรียญ-
สหรัฐ เพื่อนำ�เงินตราเข้าประเทศ29
ต่อมาเวียดนามได้ให้สมั ปทานแก่บริษทั น้�ำ มันประเทศตะวันตกและ
ญี่ปุ่นเพื่อทำ�การสำ�รวจและพัฒนาบ่อน้ำ�มัน โดยค้นพบน้ำ�มันที่หลุม Dai
Hung หรือ The Big Bear Rong (Dragon) ซึ่งมีหลุมใหญ่ที่สุด ชื่อ
Thanh Long (the Blue Dragon) ตั้งอยู่ติดกับหลุม Dai Hung
มีประมาณการว่าเวียดนามอาจมีน้ำ�มันในทะเลนอกชายฝั่งรวม 200-400
ล้านตัน เทียบเท่ากับปริมาณน้ำ�มันสำ�รองของออสเตรเลียและมาเลเซีย30
แต่ทางรัฐบาลเวียดนามมองว่าน้ำ�มันน่าจะมีปริมาณมากถึง 2.8 พันล้านตัน
ดังนั้น รายได้การส่งออกน้ำ�มันของเวียดนามจึงมีความสำ�คัญและมีปริมาณ
สูงขึ้นเรื่อยๆ เพิ่มจากร้อยละ 7.2 ของ GDP ในปี ค.ศ. 1985 เป็นร้อยละ
29
Ron Moreau, “Hello, Vietnam,” Newsweek. June 10, 1991, p. 37.
30
Tran Hoong Kin, Economy of Vietnam: Reviews and Statistics.
(Hanoi: Statistic Publishing House, 1992), p. 62.

การขยายบทบาททางทหารของจีนในทะเลจีนใต้ 26
51.1 ในปี ค.ศ. 1990 และเวียดนามวางแผนเพิ่มปริมาณการผลิตน้ำ�มันให้
ได้ 7 ล้านตันในปี ค.ศ. 1995 และเพิ่มเป็น 20 ล้านตันในปี ค.ศ. 2000 ซึ่ง
มีมูลค่าถึง 2 พันล้านเหรียญสหรัฐ31 ปริมาณน้ำ�มันจำ�นวนมหาศาลพบที่หลุม
Blue Dragon ของเวียดนามนับว่าเป็นหลุมที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในเอเชีย
และติดกับบริเวณ WAB-21 ซึ่งจีนได้ให้สัมปทานแก่บริษัท Crestone
Energy Corp. ของสหรัฐฯ ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1992 เวียดนามและจีนจึงเกิด
ความขัดแย้งกันในการช่วงชิงพื้นที่ดังกล่าว
ข่ า วการค้ น พบน้ำ � มั น บริ เ วณชายฝั่ ง เวี ย ดนามทำ �ให้ บ ริ ษั ท น้ำ � มั น
ตะวันตกต่างสนใจต้องการสำ�รวจชายฝั่งตะวันตกของฟิลิปปินส์ด้วย ใน
ระหว่างปี ค.ศ. 1970-1975 จึงได้มีการสำ�รวจบริเวณ Red Templer
Brown และ Southern Banks ด้านตะวันตกของเกาะพาลาวันของ
ฟิลปิ ปินส์ มีการค้นพบหลุมก๊าซธรรมชาติในบริเวณ Templer Banks หลัง
จากนั้นทั้งจีนและเวียดนามได้ประท้วงการขุดสำ�รวจน้ำ�มันของฟิลิปปินส์ว่า
มีการละเมิดอำ�นาจอธิปไตยของตน ทำ�ให้กระทรวงต่างประเทศของสหรัฐฯ
ประกาศเตือนมิให้บริษัทน้ำ�มันของสหรัฐฯ เข้าไปขุดเจาะน้ำ�มันและก๊าซ-
ธรรมชาติบริเวณดังกล่าว ฟิลิปปินส์จึงใช้บริษัทสำ�รวจของตนเองออกสำ�รวจ
ทางด้านตะวันตกเฉียงเหนือของเกาะพาลาวัน แต่ไม่มีการค้นพบหลุมน้ำ�มัน
หรือก๊าซขนาดใหญ่ที่น่าสนใจ
มาเลเซียได้ค้นพบน้ำ�มันนอกชายฝั่งรัฐซาราวักและซาบาห์มาตั้งแต่
ปี ค.ศ. 1964 ต่อมาได้พบน้ำ�มันและก๊าซธรรมชาติขนาดใหญ่นอกชายฝั่ง
รั ฐ ตรั ง กานู มาเลเซี ย จึ ง มี ร ายได้ จ ากการผลิ ต น้ำ � มั น และก๊ า ซธรรมชาติ
ส่งออกต่างประเทศเป็นจำ�นวนมาก ในปี ค.ศ. 1975 มาเลเซียมีรายได้จาก
การขายน้ำ�มันและก๊าซธรรมชาติเป็นมูลค่า 726.9 ล้านเหรียญริงกิต และได้
เพิ่มขึ้นเป็น 10.64 พันล้านเหรียญริงกิตในปี ค.ศ. 199032
สำ�หรับบรูไน ซึ่งประเทศขนาดเล็กมีพื้นที่เพียง 5,765 ตาราง-
31
Ibid., p. 63.
32
Lu Nig, Flashpoint Spratlys. (Singapore: Dolphin Trade Press Pte
Ltd., 1995), p. 50.

27 การขยายบทบาททางทหารของจีนในทะเลจีนใต้
กิโลเมตร และมีประชากรน้อยกว่าหนึ่งล้านคน หลังได้รับเอกราชจาก
อังกฤษในปี ค.ศ. 1984 บริษัทน้ำ�มัน Shell ได้เข้าไปสำ�รวจน้ำ�มันในบรูไน
ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1913 และมีการขุดพบน้ำ�มันครั้งแรกในปี ค.ศ. 1929 จาก
นั้นได้มีการสำ�รวจอย่างจริงจังในปี ค.ศ. 1957 และได้พบน้ำ�มันและก๊าซ-
ธรรมชาติจำ�นวนมากนอกชายฝั่งในทศวรรษที่ 1960 และ 1970 จึงทำ�ให้
บรูไนกลายเป็นอาณานิคมของอังกฤษที่มีความมั่งคั่งที่สุดแห่งหนึ่งในโลก
รายได้หลักที่สำ�คัญของบรูไนมาจากการขายน้ำ�มันและก๊าซธรรมชาติ จึง
ทำ�ให้บรูไนต้องรักษาอาณาเขตเศรษฐกิจจำ�เพาะของตนอย่างเหนียวแน่น
เช่นเดียวกับมาเลเซียและประเทศอื่นๆ
ประเทศสุ ด ท้ า ยที่ เ กี่ ย วข้ อ งแต่ มี ค วามสำ � คั ญ มากที่ สุ ด คื อ จี น
เนื่องจากจีนมีความต้องการสำ�รวจน้ำ�มันบริเวณอ่าวตังเกี๋ยและทางตอนใต้
ของเกาะไหหลำ� ในปี ค.ศ. 1974 จีนและเวียดนามได้ทำ�การตกลงกันแบ่ง
เขตแดนในอ่าวตังเกี๋ย แต่หลังจากนั้นทหารจีนได้ทำ�การยึดหมู่เกาะพารา-
เซลด้านตะวันตก โดยการขับไล่ทหารของเวียดนามใต้ออกไปได้สำ�เร็จ ใน
ขณะนั้นฮานอยไม่กล้าวิจารณ์จีนอย่างเปิดเผย เพราะยังต้องการความช่วย-
เหลืออยู่ แต่มีความเห็นว่าจีนควรแก้ปัญหาโดยการเจรจา
ในปี ค.ศ. 1979 จีนได้ทำ�การสำ�รวจน้ำ�มันนอกชายฝั่งเกาะไหหลำ�
และได้ค้นพบน้ำ �มัน 2 หลุมบริเวณใกล้เส้นเขตแดนที่เป็นกรณีพิพาท
ระหว่างจีนกับเวียดนาม จีนจึงได้ประกาศเขตสัมปทานให้บริษัทตะวัน-
ตกเข้าไปสำ�รวจขุดเจาะ ซึ่งดูเหมือนว่าจีนพยายามดึงสหรัฐฯ เข้ามาเป็น
เครื่องมือในการแก้ไขปัญหาพรมแดนโดยให้สัมปทานแก่บริษัทน้ำ�มันของ
สหรัฐฯ และเป็นการป้องกันไม่ให้บริษัทสหรัฐฯ เข้าไปรับสัมปทานทางฝ่าย
เวียดนาม เวียดนามได้ทำ�การประท้วงเขตสัมปทานของจีนและขู่ว่าจีนและ
บริษัทตะวันตกต้องรับผิดชอบร่วมกัน แต่จีนไม่ได้ให้ความสนใจ โดยต่อมา
ในปี ค.ศ. 1982 จีนก่อตั้งบริษัทน้ำ�มัน China National Offshore
Oil Corporation (CNOOC) ทำ�สัมปทานบริเวณรอบเกาะไหหลำ�และ
หมู่เกาะพาราเซล และให้สัมปทานบริษัทสำ�รวจของสหรัฐฯ เข้าสำ�รวจใน
บริเวณดังกล่าว พบก๊าซธรรมชาติบริเวณตอนใต้ของเกาะไหหลำ�ประมาณ

การขยายบทบาททางทหารของจีนในทะเลจีนใต้ 28
2.9 พันล้านลูกบาศก์ฟุตในปี ค.ศ. 1983 ซึ่งในปลายปีเดียวกัน เรือสำ�รวจ
Glomar Java Sea ถูกพายุใต้ฝุ่นพัดพาเข้าไปในเขตเวียดนาม ทำ�ให้
จีนต้องส่งกองเรือมาคุ้มกันทะเลจีนใต้ ส่งผลให้เกิดการเผชิญหน้ากับเรือ
ของเวียดนามและโซเวียต
ในปี ค.ศ. 1993 เวียดนามและฟิลิปปินส์ให้สัมปทานน้ำ�มันแก่
บริษัทต่างชาติเพิ่มขึ้น โดยเวียดนามให้สัมปทานแก่บริษัท Mobil Oil
ของสหรัฐฯ สำ�รวจในพื้นที่ติดกับเขตสัมปทานของบริษัท Crestone ทำ�ให้
จีนและเวียดนามเกิดการโต้แย้งเพราะต่างอ้างกรรมสิทธิ์ทับซ้อนกัน ส่วน
ฟิลิปปินส์ได้ให้สัมปทานแก่บริษัทสำ�รวจน้ำ�มันในบริเวณ Reed Bank ทาง
เหนือของหมู่เกาะสแปรตลีย์ ซึ่งเวียดนาม มาเลเซีย และฟิลิปปินส์ ต่าง
ค้นพบน้ำ�มันในเขตพื้นที่ที่ตนอ้างกรรมสิทธิ์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งมาเลเซีย
ได้ขุดเจาะน้ำ�มันถึง 90 หลุม คิดเป็นปริมาณครึ่งหนึ่งที่ขุดเจาะน้ำ�มันใน
ทะเลจีนใต้ ส่วนเวียดนามค้นพบน้ำ� มันเป็นปริมาณมากในหลุม Blue
Dragon และ Big Bear อยู่ติดกับสัมปทานของบริษัท Crestone และ
พบน้ำ�มันในหลุม White Tiger และ Dragon นอกชายฝั่งสามเหลี่ยม
แม่น้ำ�โขง ส่วนฟิลิปปินส์พบน้ำ�มันในเขต Reed Bank ในขณะที่จีนยัง
ไม่พบน้ำ�มันในหมู่เกาะสแปรตลีย์ ซึ่งถึงแม้ว่าจีนจะผลิตและมีน้ำ�มันสำ�รอง
ปริมาณมาก แต่ที่ผ่านมาจีนใช้น้ำ�มันเพื่อพัฒนาเศรษฐกิจจำ�นวนมากและ
ส่งออกบางส่วน ทำ�ให้ต้องนำ�เข้าน้ำ�มันจากต่างประเทศเนื่องจากปริมาณการ
ผลิตไม่เพียงพอต่อความต้องการ จำ�เป็นต้องหาแหล่งน้ำ�มันเพิ่มขึ้น รวม-
ทั้งลงทุนเพิ่มปริมาณการผลิตเพื่อพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ ซึ่งจีนมี
ความหวังว่าจะพบแหล่งน้ำ�มันในทะเลจีนใต้ในอนาคต
นอกเหนือจากน้ำ�มันแล้ว ก๊าซธรรมชาติ ยังเป็นทรัพยากรธรรมชาติ
ที่มีอยู่มากที่สุดในทะเลจีนใต้ โดยพบมากในประเทศบรูไน อินโดนีเซีย
มาเลเซีย ไทย เวียดนาม และฟิลิปปินส์ จากการสำ�รวจประมาณกันว่า
ร้อยละ 60-70 ของทรัพยากรไฮโดรคาร์บอนในภูมิภาคเป็นก๊าซธรรมชาติ
ซึ่งมีแนวโน้มว่าก๊าซธรรมชาติ จะเป็นพลังที่ก้าวขึ้นมามีความสำ�คัญเทียบ-
เท่ากับน้ำ�มันในอนาคต

29 การขยายบทบาททางทหารของจีนในทะเลจีนใต้
ด้านการประมง
การเพิ่มปริมาณประชากรของประเทศต่างๆ และการลดลงของ
ปริมาณสัตว์น้ำ�ในแหล่งประมงดั้งเดิมจากผลของการทำ�ประมงมากเกินไป
ทำ�ให้ทะเลจีนใต้ยังคงเป็นแหล่งประมงที่ค่อนข้างอุดมสมบูรณ์ เพราะเป็น
แหล่งที่มีทั้งปลาที่อพยพเคลื่อนย้ายและปลาที่เจริญเติบโตอยู่ในบริเวณนั้น
ตลอดทั้งปี ประมาณว่ามีปลาชนิดต่างๆ ประมาณ 1,787 ชนิดในทะเลจีนใต้
และให้ผลผลิต 7.5 ตันต่อตารางกิโลเมตร33 ทะเลจีนใต้จึงเป็นแหล่งประมง
ที่สำ�คัญที่สุดของฟิลิปปินส์34 นอกเหนือจากที่เป็นแหล่งประมงที่สำ�คัญของ
เวียดนามและจีนมาตั้งแต่อดีต
โดยสรุป ทะเลจีนใต้เป็นพืน้ ทีท่ ีม่ คี วามสำ�คัญทัง้ ทางด้านยุทธศาสตร์
การคมนาคมและเศรษฐกิ จในภู มิ ภ าค และยั ง ส่ ง ผลรวมถึ ง มหาอำ � นาจ
ภายนอกอย่างสหรัฐฯ อดีตสหภาพโซเวียต และญี่ปุ่น จึงทำ�ให้ทะเลจีนใต้
ได้รับความสนใจเป็นอย่างมาก โดยหากเกิดกรณีพิพาทและมีการสู้รบด้วย
กำ�ลังทหารจะมีผลกระทบต่อความมั่นคง ความปลอดภัย และผลประโยชน์
ของชาติต่างๆ ทั้งในภูมิภาคและชาติมหาอำ�นาจ 

 ความขัดแย้งและการอ้างสิทธิ์ในทะเลจีนใต้
ความขัดแย้งในทะเลจีนใต้เป็นความขัดแย้งที่มีมานานตั้งแต่ใน
อดีต แต่ความขัดแย้งที่สำ�คัญ และพื้นที่ที่มีความขัดแย้งหรือเกิดข้อพิพาท
กันมากที่สุดคือ หมู่เกาะพาราเซลและหมู่เกาะสแปรตลีย์ ซึ่งเป็นหมู่เกาะ
ที่อยู่กลางทะเลจีนใต้ โดยหมู่เกาะพาราเซลนั้นถูกอ้างสิทธิ์โดยไต้หวันและ
เวียดนาม แต่ปัจจุบันอยู่ในการควบคุมของจีนตั้งแต่ปี ค.ศ. 1974 และจีน
พยายามอ้างสิทธิ์ในส่วนทะเลและทรัพยากรใต้ดินของหมู่เกาะ ส่วนหมู่เกาะ
สแปรตลีย์ถูกอ้างสิทธิ์โดยหลายประเทศ ได้แก่ จีน เวียดนาม ไต้หวัน
33
Francisco A. Magno, “Environmental Security in the South China
Sea,” Security Dialogue. 28, 1 (1997): 104.
34
Alieen San Pablo-Baviesa, “The Kalayaan Island in Philippines
Policy,” Panorama. 2 (1999): 47.

การขยายบทบาททางทหารของจีนในทะเลจีนใต้ 30
ฟิลิปปินส์ มาเลเซีย และบรูไน ซึ่งการอ้างสิทธิ์มีทั้งแบบรวมทั้งหมู่เกาะ
และบางส่วนของหมู่เกาะ โดยทุกประเทศที่กล่าวมาต่างอ้างอิงข้อมูลทาง
ประวัติศาสตร์เพื่อสร้างความชอบธรรมให้กับประเทศตนในการครอบครอง
พื้นที่ทะเลจีนใต้ ทำ�ให้ทะเลจีนใต้ยังคงเป็นพื้นที่พิพาทของหลายประเทศ
และเป็นความอ่อนไหวทางการเมืองของประเทศในภูมิภาคตะวันออกเฉียง-
ใต้ตั้งแต่อดีตต่อเนื่องจนถึงปัจจุบัน โดยมีเหตุการณ์สำ�คัญ ดังนี้
- ค.ศ. 1946 จีนในสมัยพรรคก๊กมินตั๋ง ได้แสดงความเป็นเจ้าของ
เหนือหมู่เกาะสแปรตลีย์ ด้วยการสำ�รวจและปักธงที่ “เกาะไถ้ผิงเต่า” หรือ
“เกาะอิตูอาบา” ซึ่งเป็นเกาะเดียวที่มีน้ำ�จืดและมนุษย์สามารถอยู่ได้
- ค.ศ. 1956 นายโธมัส โคลมา นักธุรกิจชาวฟิลิปปินส์ ออกสำ�รวจ
บริเวณโขดหินรกร้างบริเวณทะเลจีนใต้ ตลอดจนยื่นข้อเสนอให้รัฐบาล
ฟิลิปปินส์เข้ามาจัดการในหมู่เกาะรกร้างทางทิศตะวันตกของเกาะปาลาวัน
แต่รัฐบาลไม่สนใจ นายโคลมาจึงตั้งสมาคมเพื่อจัดการ พร้อมทั้งเขียน
แผนที่ และตั้งชื่อหมู่เกาะบริเวณนั้นว่า “กาลาอายาน”
- ค.ศ. 1958 จีนอ้างกรรมสิทธิ์เหนือทะเลจีนใต้ โดยประกาศ
อาณาเขต 12 ไมล์ทะเล ทำ�ให้เวียดนามใต้ไม่เห็นด้วย จึงส่งเรือเข้าไป
ยึดบางส่วนของหมู่เกาะสแปรตลีย์ รวมทั้งทางใต้ของหมู่เกาะพาราเซล
- ค.ศ. 1969 หน่วยงานของสหประชาชาติคือ Economic Com-
mission for Asia and the Far East (ECAFE) เริ่มเข้าสำ�รวจ
น้ำ�มันในทะเลจีนใต้ และพบว่ามีก๊าซธรรมชาติและน้ำ�มันจำ�นวนมากใน
พื้นที่ดังกล่าว
- ค.ศ. 1971 รัฐบาลเวียดนามใต้ทำ�การประกาศเขตไหล่ทวีปและ
กำ�หนดเส้นมัธยฐาน (Median Line) กับอินโดนีเซีย แต่เวียดนามใต้
ได้ประกาศรวมเกาะ Natuna และเกาะ Anambus ไว้ในเขตของตนเอง
โดยอ้างว่าบริเวณดังกล่าวเป็นเขตพิเศษไม่ควรใช้เส้นมัธยฐาน ควรทำ�การ
เจรจาตกลงกัน
- ค.ศ. 1973 หลังจากสหรัฐฯ พ่ายแพ้ในสงครามเวียดนาม จีน
จึงส่งกองทัพมายึดหมู่เกาะสแปรตลีย์ทั้งหมด อีกทั้งยังเป็นการปะทะทาง

31 การขยายบทบาททางทหารของจีนในทะเลจีนใต้
ทหารครั้งแรกระหว่างเวียดนามใต้กับจีน พร้อมทั้งประกาศว่า “สแปรตลีย์
เป็นของจีน” ในขณะที่อินโดนีเซียยังคงประท้วงคำ�ประกาศของเวียดนาม
และได้มีการเจรจาหลายครั้งแต่ไม่ประสบความสำ�เร็จ อินโดนีเซียถือว่า
เกาะ Natuna เป็นของตน และได้ตั้งฐานทัพเรือบนเกาะดังกล่าว เพื่อใช้
เป็นฐานทัพป้องกันการขุดเจาะน้ำ�มันของตนบริเวณด้านตะวันตกของเกาะ
Natuna โดยไม่ฟังคำ�คัดค้านของเวียดนาม โดยอินโดนีเซียยังขู่ว่าหาก
เวียดนามโจมตี ตนจะป้องกันอย่างเต็มที่
- ค.ศ. 1974 จีนและเวียดนามได้ทำ�การตกลงกันแบ่งเขตแดน
ในอ่าวตังเกี๋ย แต่หลังจากนั้นจีนก็ส่งทหารทำ�การยึดหมู่เกาะพาราเซลด้าน
ตะวันตกโดยการขับไล่ทหารของเวียดนามใต้ออกไปได้สำ�เร็จ ในวันที่ 19
มกราคม ค.ศ. 1974 จีนส่งกองทัพเรือและกองทัพอากาศในเกาะไหหลำ�เข้า
ปฏิบัติการยึดพื้นที่ในเกาะ จีนได้ใช้เวลาปฏิบัติการ 100 นาทีในวันที่ 19
มกราคม และในวันต่อมาก็สามารถยึดหมู่เกาะพาราเซลได้ทั้งหมด พร้อม-
ทั้งจับทหารเวียดนามใต้ไป 48 คนและที่ปรึกษาชาวอเมริกันอีก 1 นาย ซึ่ง
ในขณะนั้นฮานอยไม่กล้าวิจารณ์จีนอย่างเปิดเผย เพราะยังต้องการความ-
ช่วยเหลืออยู่ แต่มีความเห็นว่าจีนควรแก้ปัญหาโดยการเจรจา
- ค.ศ. 1975 หลังเวียดนามรวมประเทศได้ด้วยกำ�ลังในเดือน
เมษายน ค.ศ. 1975 จึงรับเอามรดกการพิพาทดินแดนส่วนนี้กับจีนไปด้วย
เวียดนามได้ส่งเรือไปยึดหมู่เกาะสแปรตลีย์เกือบทั้งหมด ยกเว้น “เกาะ
ไถ้ผิง” ของไต้หวัน ซึ่งทำ�ให้เวียดนามขัดแย้งกับจีนประเด็นเขตแดนอ่าว-
ตังเกี๋ย โดยได้เปิดการเจรจาแต่ไม่เป็นผลสำ�เร็จ เนื่องจากเวียดนามอ้าง
สนธิสัญญา Sino-French Convention on the Delimitation of
the Frontier between China and Tonkin ซึ่งระบุเส้น 108ํ 3’
13” E เป็นเส้นแบ่งเขตแดน และอ้างว่าอ่าวตังเกี๋ยเป็นอ่าวประวัติศาสตร์
ทางด้ า นจี น อ้ า งว่ าไม่ เ คยแบ่ ง อ่ า วตั ง เกี๋ ย และเส้ น เขตแดนที่ เ วี ย ดนาม
อ้างได้ล้ำ�เข้ามาทางเกาะไหหลำ�ของจีน ซึ่งไม่ยุติธรรมและไม่อาจยอมรับ
ได้ นอกจากนี้เวียดนามยังอ้างหลักเขตไหล่ทวีปยาวไปจรดเขต 12 ไมล์
ทะเลอาณาเขตของจีน ซึ่งจีนในขณะนั้นกำ�ลังมีปัญหากับสหภาพโซเวียต

การขยายบทบาททางทหารของจีนในทะเลจีนใต้ 32
จึงไม่ตอบโต้เวียดนาม และเวียดนามยังประกาศเป็นพันธมิตรกับสหภาพ-
โซเวียตอีกด้วย
- ในวันที่ 10 มิถุนายน และ 7 ตุลาคม ค.ศ. 1977 จีนและเวียดนาม
ได้เปิดการเจราขึ้นอีก 2 ครั้ง แต่ก็ล้มเหลว เพราะเวียดนามยืนยันการใช้
สนธิสัญญาเดิม
- ค.ศ. 1978 ฟิลิปปินส์ประกาศให้หมู่เกาะบางส่วนของสแปรตลีย์
ซึ่งฟิลิปปินส์เรียกว่าหมู่เกาะ Kalayaan รวมทั้งเกาะ Amboyna เป็น
กรรมสิทธิ์ของฟิลิปปินส์
- ค.ศ. 1979 นาย Ferdinand Marcos ประธานาธิบดีฟิลิปปินส์
ออกกฎกฤษฎีกาว่าด้วยการยึดครองหมู่เกาะ Kalayaan อย่างเป็นทางการ
พร้ อ มกั บ ส่ ง ทหารเข้ า ยึ ด ครอง ส่ ง ผลให้ เ กิ ด กระแสคั ด ค้ า นจากไต้ ห วั น
จีน และเวียดนาม ในวันที่ 26 เมษายน 1979 จีนได้เสนอให้มีการเจรจา
สันติภาพ โดยมีหลักการในการแบ่งปันอ่าวตังเกี๋ย โดยใช้หลักไหล่ทวีป
และเขตเศรษฐกิจตามหลักกฎหมายทะเล โดยจีนยินดีจะแบ่งกึ่งกลางอ่าว-
ตังเกี๋ย แต่เวียดนามยืนกรานที่จะปฏิเสธข้อเสนอดังกล่าว ในเดือนกรกฎาคม
จีนทำ�การประกาศอาณาเขตอ่าวตังเกี๋ยโดยยึดแนวเส้นมัธยฐาน และได้
ทำ�การสำ�รวจน้ำ�มันนอกชายฝั่งเกาะไหหลำ�และได้ค้นพบน้ำ�มัน 2 หลุมใกล้
เส้นเขตแดนที่เป็นกรณีพิพาทระหว่างจีนกับเวียดนาม และเกิดเหตุการณ์
เรือปืนของเวียดนามได้ยึดเรือบรรทุกสัมภาระ 2 ลำ�ของจีน ต่อมาจีนได้
ประกาศเขตสัมปทานให้บริษัทตะวันตกเข้าไปสำ�รวจขุดเจาะ ดูเหมือนว่า
จีนพยายามดึงสหรัฐฯ เข้ามาเป็นเครื่องมือในการแก้ไขปัญหาพรมแดน
โดยให้สัมปทานแก่บริษัทน้ำ�มันของสหรัฐฯ และในเดือนธันวาคม ค.ศ.
1979 รัฐบาลมาเลเซียได้ประกาศเขตไหล่ทวีปของตน ซึ่งได้ครอบคลุม
เกาะ Amboyna ที่ยึดครองโดยทหารเวียดนาม และเกาะ Terumbu
Laksanmana ซึ่งยึดครองโดยทหารฟิลิปปินส์ นอกจากนี้เขตไหล่ทวีปที่
มาเลเซียประกาศยังซ้ำ�ซ้อนกับเขตเศรษฐกิจของบรูไน อินโดนีเซีย และ
เวียดนาม
- ค.ศ. 1980 มาเลเซียประกาศเขตเศรษฐกิจจำ�เพาะ 200 ไมลท์ ะเล

33 การขยายบทบาททางทหารของจีนในทะเลจีนใต้
- ค.ศ. 1982 สหประชาชาติประกาศใช้กฎหมายทางทะเล ค.ศ.
1982 เกิดเหตุการณ์เรือรบของเวียดนามได้บังคับเรือขุดเจาะของบริษัท
Total ให้ย้ายออกไปจากเส้นแบ่งเขต ทำ�ให้จีนประท้วงการกระทำ�ของ
เวียดนามว่าฮึกเหิม เพราะมีเรือรบของสหภาพโซเวียตคอยให้การสนับสนุน
ในระหว่างสงครามจีน-เวียดนาม สหภาพโซเวียตได้ส่งกองเรือจำ�นวนหนึ่ง
เข้าประจำ�อยู่อ่าวตังเกี๋ย เพื่อป้องกันมิให้จีนเข้าโจมตีจากชายฝั่งทะเล
และภายหลังได้มีการเพิ่มกำ�ลังทหารเรือและอากาศของสหภาพโซเวียต
เข้าประจำ�การอยู่ที่ฐานทัพในอ่าวคัมรานห์และฐานทัพดานัง ซึ่งจีนถือว่า
เป็นภัยคุกคามต่อความมั่นคงของตนเป็นอย่างยิ่ง หลังจากนั้น ในวันที่ 12
พฤศจิกายน ค.ศ. 1982 เวียดนามได้ประกาศเส้นฐาน (base line) และ
ทะเลอาณาเขตฝั่งตะวันตกของเส้นพรมแดนตามสัญญา ค.ศ. 1887 ว่า
เป็นน่านน้ำ�ประวัติศาสตร์และน่านน้ำ�ภายในของเวียดนาม ส่วนฟิลิปปินส์
ประกาศเขตเศรษฐกิจจำ�เพาะ 200 ไมล์ทะเล เข้าไปยังพื้นที่ทะเลจีนใต้
ซึ่งบรูไนได้ประกาศเขตประมง 200 ไมล์ทะเล
- ค.ศ. 1983 บริษัทสำ�รวจของสหรัฐฯ ได้พบก๊าซธรรมชาติบริเวณ
ตอนใต้ของเกาะไหหลำ�ประมาณ 2.9 พันล้านลูกบาศก์ฟุต วันที่ 26 ตุลาคม
ปีเดียวกันนี้ เรือสำ�รวจ Glomar Java Sea ถูกพายุใต้ฝุ่นพัดพาเข้าไปใน
เขตเวียดนาม ทำ�ให้จีนต้องส่งกองเรือมาคุ้มกันทะเลจีนใต้ทำ�ให้ต้องเผชิญ-
หน้ากับเรือของเวียดนามและโซเวียต จีนสร้างฐานทัพเรือที่ Yulin บน
เกาะไหหลำ�และสร้างสนามบินบนเกาะวู้ดดี้ หมู่เกาะพาราเซลเพื่อป้องกัน
ฐานขุดเจาะน้ำ�มันในทะเลจีนใต้ และฐานสำ�หรับยึดครองเกาะต่างๆ ใน
หมู่เกาะสแปรตลีย์ ซึ่งจีนถือว่าเป็นของตนทั้งหมด และในปีเดียวกัน
มาเลเซียส่งทหารเข้ายึดเกาะจำ�นวน 3 เกาะ และสร้างอาคารบนเกาะ
เอลิสัน รีฟ
- ค.ศ. 1984 บรูไนอ้างเขตเศรษฐกิจจำ�เพาะ 200 ไมล์ทะเล ทำ�ให้
มีพื้นที่ครอบครองทับซ้อนกับพื้นที่ของจีน มาเลเซีย เวียดนาม และไต้หวัน
โดยเฉพาะอย่างยิ่งบรูไนได้อ้างกรรมสิทธิ์เหนือเกาะ Louisa Reef ที่
ครอบครองโดยมาเลเซีย

การขยายบทบาททางทหารของจีนในทะเลจีนใต้ 34
สำ�หรับความขัดแย้งในทะเลจีนใต้ในยุคปัจจุบัน กลายเป็นปัญหา
ความขัดแย้งที่โดดเด่นที่สุดในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งจีนเป็น
ประเทศใหญ่ที่สุดในบรรดาคู่พิพาท และจีนไม่ใช่ประเทศเดียวที่ใช้กำ�ลัง
เข้ายึดเกาะต่างๆ โดยจีนเป็นหนึ่งในสองประเทศเท่านั้นที่ใช้กำ�ลังเข้ายึด
เกาะที่มีชาติอื่นยึดครองอยู่ก่อน โดยการสังหาร ขับไล่ หรือจับตัวไปด้วย
การใช้กำ�ลัง ทำ�ให้จีนตกเป็นเป้าของความหวาดระแวงของประเทศคู่พิพาท
มากกว่าคู่พิพาทอื่นๆ35 ฉะนั้นปัญหานี้ย่อมเป็นประเด็นในนโยบายต่าง-
ประเทศของจีน ที่เริ่มเป็นรูปธรรมมากขึ้นตั้งแต่ ค.ศ. 1988 เมื่อทหาร-
เรือเวียดนามปะทะกับทหารเรือจีน โดยจีนได้เรือฟริเกต 6 ลำ�ยิงเรือรบ
เวียดนามจม 3 ลำ� โดยลูกเรือเวียดนามเสียชีวิต 70 คน ที่บริเวณเกาะ
จอห์นสัน รีฟ ใกล้แนวปะการังแห่งหนึ่งของทะเลจีนใต้ หรือที่เรียกว่า
Fiery Cross Reef ซึ่งฟิลิปปินส์ได้อ้างสิทธิ์ทับซ้อนกับจีน จากนั้นจีน
ได้ออกกฎหมายที่ชื่อว่า “Law on the Territorial Sea and Con-
tinuous Zone of the People’s Republic of China” ระบุว่า
หมู่เกาะพาราเซลและหมู่เกาะสแปรตลีย์อยู่ในภายใต้อธิปไตยของประเทศ
จีน ทำ�ให้จีนสามารถส่งกองกำ�ลังเข้าไปปกป้องอำ�นาจอธิปไตยและขับไล่
ผู้บุกรุกได้ รวมทั้งระบุด้วยว่าหากใครต้องการเดินทางผ่านน่านน้ำ�ดังกล่าว
จำ�เป็นต้องขออนุญาตจากทางการจีน ซึ่งส่ิงที่เกิดขึ้นตามมาก็คือ การปะทะ
กันทางทหารในน่านน้ำ�ทะเลจีนใต้มาตลอดเกือบทุกปี
- วันที่ 30 มิถุนายน ค.ศ. 1989 ไต้หวันได้สร้างอนุสาวรีย์แสดง
กรรมสิทธิ์ไว้บนเกาะตงซา ซึ่งเป็นเกาะที่ใหญ่ที่สุด
- ในปี ค.ศ. 1990 รัฐบาลไต้หวันได้ประกาศให้หมู่เกาะตงซา
(Pratas) และเกาะไถ้ผิง (Itu Aba) อยู่ภายใต้การบริหารของเทศบาล
เมืองเกาสูง
- ในปี ค.ศ. 1991 จีนได้สร้างสนามบินลานบินยาวประมาณ 2,600
เมตร บนเกาะหยงซิ่ง (Woody Island)

35
เขียน ธีระวิทย์, นโยบายต่างประเทศจีน, หน้า 386.

35 การขยายบทบาททางทหารของจีนในทะเลจีนใต้
- ค.ศ. 1992 เวียดนามกล่าวหาว่าจีนฝึกกองกำ�ลังทหารในเขตน่าน-
น้ำ�เวียดนาม และนำ�ทหารขึ้นบกในพื้นที่ครอบครองของเวียดนาม ซึ่งใน
ปีเดียวกันจีนได้จับกุมเรือบรรทุกสินค้าของเวียดนามประมาณ 20 ลำ�ที่
แล่นออกมาจากฮ่องกง โดยในเดือนกุมพาพันธ์ ค.ศ. 1992 จีนได้ออก
กฎหมายฉบับใหม่เกี่ยวกับทะเลอาณาเขตและเขตต่อเนื่อง กฎหมายฉบับนี้
เน้นย้ำ�การอ้างกรรมสิทธิ์ของจีนเหนือหมู่เกาะพาราเซล หมู่เกาะสแปรตลีย์
Macclesfield Bank, Pratas, Pescadores และ Diaoyutai ต่อมา
ในเดือนพฤษภาคม จีนให้สัมปทานสำ�รวจน้ำ�มันบริษัทอเมริกัน Crestone
Energy Corporation เพื่อสำ�รวจน้ำ�มันในบริเวณตะวันตกฉียงใต้ของ
หมู่เกาะสแปรตลีย์บริเวณ Vanguard Bank ใน Wan An Reef นอก
ชายฝั่งเวียดนาม ซึ่งเวียดนามก็อ้างว่าเป็นดินแดนของตน
- ค.ศ. 1995 จีนได้เข้ายึดครองแนวปะการังมิสชีฟ (Mischief
Reef) ซึ่งอยู่ห่างจากฟิลิปปินส์ไปทางตะวันตกราว 150 ไมล์ ซึ่งทั้ง
เวียดนามและฟิลิปปินส์ได้อ้างสิทธิ์ไว้เช่นกัน โดยรัฐบาลฟิลิปปินส์พยายาม
ส่งทหารไปขับไล่คนงานและถอดหมุดเครื่องหมายเขตดินแดนของจีนออก
แต่ไม่สำ�เร็จ โดยในเดือนกุมภาพันธ์-มีนาคม ค.ศ. 1995 กองกำ�ลังทาง
เรือของฟิลิปปินส์ได้เข้าปฏิบัติการทำ�ลายสิ่งก่อสร้าง (กองหิน กำ�แพง
ซีเมนต์ รั้ว) 5 แห่ง บริเวณใกล้กับ Mischef Reef ที่จีนครอบครอง
(คือ Pennsylvania Reef, Jackson Atoll, Seconal Thomas
Reef, First Thomas Reef และ Half Moon Shoal) และในวันที่
25 มีนาคม กองทัพเรือฟิลิปปินส์ได้จับเรือประมง 4 ลำ�ของจีนพร้อมลูก-
เรือ 62 คน ใกล้กับ Alicia Annie Reef ทางใต้ใกล้กับ Mischief
Reef ซึ่งมีเรือรบจีนอยู่ใกล้ๆ บริเวณที่เกิดเหตุ แต่มิได้ปฏิบัติการตอบโต้36
- ค.ศ. 1996 เรือรบไต้หวันและเรือรบจีนเปิดฉากยิงกันนานกว่า
90 นาที ในบริเวณเกาะแคมโพเนส (Campones)
- ค.ศ. 1997 กองทัพเรือฟิลิปปินส์สั่งให้เรือจีนออกจากเขตสันดอน

36
Far Eastern Economic Review. 6 April 1995, p. 14.

การขยายบทบาททางทหารของจีนในทะเลจีนใต้ 36
Scarborough Shoal และปักธงชาติฟิลิปปินส์พร้อมทั้งหมุดปักแสดง
เขตดินแดนไว้ ส่วนจีนได้ส่งเรือเข้าไปลาดตระเวนในบริเวณเกาะพานาตะ
(Panata) และเกาะโกตา (Kota) ซึ่งฟิลิปปินส์อ้างสิทธิ์เป็นเจ้าของ
- ค.ศ. 1998 กองทัพเรือฟิลิปปินส์จับกุมลูกเรือจีนใกล้บริเวณ
เขตสันดอนสการ์บอรอฟ และมีเหตุการณ์เรือเวียดนามยิงเรือประมงของ
ฟิลิปปินส์ใกล้บริเวณแนวปะการังพีเจียน (Pigeon Reef)
- ค.ศ. 1999 มาเลเซียเข้ายึดแนวปะการังแห่งหนึ่งที่ฟิลิปปินส์เคย
อ้างสิทธิ์เป็นเจ้าของ
- ค.ศ. 2000 ทหารเรือฟิลิปปินส์สังหารชาวประมงจีนและจับกุม
อีก 7 คน ใกล้กับเกาะปาลาวัน หลังจากที่ชาวประมงได้ข้ามเข้ามายัง
น่านน้ำ�ที่ฟิลิปปินส์อ้าง
- ค.ศ. 2001 ทหารเวี ย ดนามยิ ง เครื่ อ งบิ น ทหารของกองทั พ
ฟิลิปปินส์จากบริเวณที่ไม่เปิดเผย และรัฐบาลเวียดนามเริ่มงานก่อสร้าง
ซ่อมแซมรันเวย์เครื่องบินบนเกาะแห่งหนึ่งในหมู่เกาะสแปรตลีย์ที่ยังมี
ข้อพิพาทกันอยู่ โดยรัฐบาลเวียดนามอ้างว่าเป็นไปเพื่อจุดประสงค์การ
ท่องเที่ยว
- ค.ศ. 2007 เรือรบจีนขับไล่เรือประมงของเวียดนามออกจาก
บริเวณหมู่เกาะสแปรตลีย์ และจมเรือประมงเวียดนาม 3 ลำ�
- ค.ศ. 2009 จีนประกาศอย่างเป็นทางการจะไม่มกี ารประนีประนอม
เรื่องอำ�นาจอธิปไตยเหนือหมู่เกาะในทะเลจีนใต้
- ค.ศ. 2012 ในเดือนเมษายนเกิดการเผชิญหน้าระหว่างเรือรบ
ฟิลิปปินส์กับเรือลาดตระเวนจีน 2 ลำ� บริเวณซึ่งเป็นเขตที่ฟิลิปปินส์อ้าง-
สิทธิ์ ทำ�ให้ในเดือนพฤษภาคม นางฟู่หยิง รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวง
การต่างประเทศจีน ได้เรียกทูตฟิลิปปินส์ประจำ�กรุงปักกิ่งเข้าพบเพื่อตำ�หนิ
สิ่งที่เกิดขึ้นเมื่อเดือนเมษายน ส่งผลให้ทั้งสองประเทศสั่งห้ามการประมง
ทุกชนิดในบริเวณ Scarborough Shoal
ในเดื อ นกรกฎาคม จี น ส่ ง เรื อ รบชั้ น เจี ย งหู เ ข้ าไปบริ เ วณเกาะ
ฮาซา ซึ่งเป็นเขตเศรษฐกิจจำ�เพาะที่อ้างโดยฟิลิปปินส์ และเกิดการเกยตื้น

37 การขยายบทบาททางทหารของจีนในทะเลจีนใต้
ในบริเวณดังกล่าว ก่อให้เกิดกระแสความตึงเครียดอย่างมากระหว่างจีน
กับฟิลิปปินส์ อย่างไรก็ตามสถานการณ์คลี่คลายลง เนื่องจากเรือดังกล่าว
ได้รับความช่วยเหลือจากหน่วยกู้ภัยและแล่นกลับไปยังประเทศจีน พร้อม-
กันนั้นเวียดนามได้ออกกฎหมายใหม่ให้อำ�นาจการปฏิบัติหน้าที่ของทหาร
เรือของตนในพื้นที่หมู่เกาะสแปรตลีย์และพาราเซล ซึ่งทางด้านคณะ-
กรรมการกลางการทหารของจีนจัดตั้งกองกำ�ลังรักษาตนเองบนเกาะซานชา
ทำ�ให้เกิดกระแสทักท้วงจากทางฟิลิปปินส์และเวียดนาม โดยทางการจีนได้
ตอบโต้การประท้วงด้วยการเรียกเจ้าหน้าที่ทูตระดับสูงของสหรัฐฯ เข้าพบ
เพื่อย้ำ�ถึงอธิปไตยของจีนเหนือน่านน้ำ�ทะเลจีนใต้
ต่อมาในเดือนกันยายน ค.ศ. 2012 นาย Benigno Simeon
Aquino ประธานาธิบดีฟิลิปปินส์ ได้ออกแถลงการณ์ระบุถึงการเปลี่ยนชื่อ
พื้นที่ทางทะเลที่อยู่ทางด้านทิศตะวันตกของฟิลิปปินส์ จาก “ทะเลจีนใต้”
เป็น “ทะเลฟิลิปปินส์ตะวันตก” และในเดือนสิงหาคม รัฐมนตรีช่วยว่าการ
กระทรวงต่างประเทศของจีน นางฟู่หยิง ได้ให้สัมภาษณ์กับนักข่าวซินหัว
เกี่ยวกับประเด็นทะเลจีนใต้ โดยเฉพาะเรื่องความสัมพันธ์จีน-อาเซียน
ว่า จีนไม่ประสงค์จะเห็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงต่างประเทศอาเซียน
ไม่สามารถออกแถลงการณ์ร่วมรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ
อาเซียน ครั้งที่ 45 ได้ แต่เหตุการณ์ดังกล่าวเกิดจากประเทศสมาชิกบาง
ประเทศที่อ้างสิทธิ์ทับซ้อนกันในทะเลจีนใต้ มีความพยายามยัดเยียดแนว
ความคิดของตนเข้าไปในแถลงการณ์ ซึ่งเป็นแถลงการณ์ร่วมของอาเซียน
ซึ่งในประเด็นอำ�นาจอธิปไตยนั้น จีนมีหลักฐานทางประวัติศาสตร์และ
กฎหมายที่ชัดเจน และไม่อาจโต้เถียงได้ แต่อย่างไรก็ดี จีนพร้อมที่จะ
วางข้อพิพาทไว้ก่อนและร่วมมือกับประเทศผู้อ้างสิทธิ์ในการร่วมกันพัฒนา
พื้นที่ที่มีการอ้างสิทธิ์ทับซ้อนกันในทะเลจีนใต้ และจีนยังต้องการให้ทุก
ฝ่ายทราบว่า ข้อพิพาทในทะเลจีนใต้มิใช่ข้อพิพาทระหว่างจีนกับอาเซียน
เป็นเพียงข้อพิพาทระหว่างจีนกับประเทศสมาชิกบางประเทศเท่านั้น จีน
จึงพร้อมที่จะร่วมหารือกับประเทศที่เกี่ยวข้องเพื่อคลี่คลายปัญหาข้อพิพาท

การขยายบทบาททางทหารของจีนในทะเลจีนใต้ 38
ด้วยสันติวิธี37
ในพฤศจิกายน ค.ศ. 2012 การประชุมรัฐมนตรีว่าการกระทรวง
การต่างประเทศอาเซียน ครั้งที่ 45 ณ กรุงพนมเปญ ก็ไม่สามารถออก
แถลงการณ์ ร่ ว มกั นได้ เนื่อ งจากฟิลิป ปินส์แสดงท่ า ที แ ข็ ง กร้ า วต่ อ กรณี
ทะเลจีนใต้ และต้องการให้มีการแก้ไขปัญหาดังกล่าวในระดับพหุภาคี
มากกว่ า ทวิ ภ าคี ซึ่ ง สวนทางกั บ ความต้ อ งการของจี น และจี นได้ อ อก
“หนังสือเดินทาง” แบบใหม่โดยพิมพ์แผนที่จีน ครอบคลุมพื้นที่ทั้งหมด
ของทะเลจีนใต้ รวมไปถึงพื้นที่พิพาทระหว่างจีนกับอินเดีย ต่อมามณฑล
ไห่หนาน ซึ่งอยู่ทางตอนใต้ของจีน ได้ออกกฎระเบียบใหม่ซึ่งให้อำ�นาจแก่
ตำ�รวจท้องถิน่ ในการขึน้ เรือต่างด้าว รวมถึงขับไล่เรือทีเ่ ข้าสูน่ า่ นน้�ำ ทางทะเล
ของมณฑลนี้ ซึ่งจะมีผลบังคับใช้ตั้งแต่ ค.ศ. 2013

 เหตุผลที่ประเทศต่างๆ ใช้อ้างกรรมสิทธิ์ในทะเลจีนใต้
ในการใช้อ�ำ นาจอธิปไตยเหนือดินแดนทีพ่ พิ าททีม่ กี ารอ้างกรรมสิทธิ์
ทับซ้อนกันนั้น หลักที่นำ�มาใช้ในการพิสูจน์ที่สำ�คัญคือ ประวัติการใช้สิทธิ
ครอบครอง หลักการในกฎหมายระหว่างประเทศที่อาจใช้อ้างอิง และการ
ใช้อำ�นาจครอบครองอย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งเหตุผลสุดท้ายดูเหมือนจะมี
ความสำ�คัญเป็นอันดับหลังสุด แต่ในโลกของความเป็นจริงกลับเป็นตรง-
กันข้าม
จีน ในการอ้างกรรมสิทธิ์เหนือดินแดนในหมู่เกาะในทะเลจีนใต้นั้น
จีนได้อ้างหลักฐานทางประวัติศาสตร์และเหตุการณ์ระหว่างประเทศที่อ้างอิง
กฎหมายระหว่างประเทศ ที่จีนได้มีบันทึกและเอกสารทางประวัติศาสตร์ใน
ภาษาจีนจำ�นวนมากมายที่กล่าวถึงหมู่เกาะในกาลสมัยต่างๆ ในจำ�นวนนี้มีไม่
น้อยที่มีคุณค่าแก่การที่นำ�มาวิเคราะห์ว่า ความจริงจีนเคยอ้างกรรมสิทธ์การ
เป็นเจ้าของมาตั้งแต่เมื่อไร และเคยครอบครองดินแดนส่วนใดของหมู่เกาะ

37
รายงานการพัฒนาข้อพิพาทในทะเลจีนใต้, สำ�นักงานผู้ช่วยทูตทหารไทย ปักกิ่ง, 8
สิงหาคม 2555. หน้า 2.

39 การขยายบทบาททางทหารของจีนในทะเลจีนใต้
เหล่านี้ ในด้านประวัติศาสตร์ จีนอ้างเอกสารบันทึกประวัติศาสตร์ แผนที่
โบราณวัตถุที่ปรากฏบนเกาะต่างๆ ที่ไม่มีชาติอื่นใดที่อ้างกรรมสิทธิ์เหนือ
ดินแดนในบริเวณสามารถหาหลักฐานอ้างอิงได้เท่ากับจีน โดยทางการจีน
อ้างว่าคนจีนที่อาศัยอยู่บริเวณชายฝั่งที่ติดต่อกับทะเลจีนใต้ค้นพบหมู่เกาะ
พาราเซลและหมู่เกาะสแปรตลีย์ ตั้งแต่สมัยราชวงศ์ฮั่น (2 ศตวรรษก่อน
คริสต์ศักราช) อีกทั้งในสมัยสามก๊ก (ค.ศ. 1368-1662) และราชวงศ์ชิง
(ค.ศ. 1662-1911) มีบันทึกเกี่ยวกับหมู่เกาะต่างๆ มากมาย จุดอ่อนใน
เชิงพิสูจน์กรรมสิทธิ์ของจีนอยู่ที่การขาดข้อมูลเพียงพอที่จะพิสูจน์ว่า จีน
ในสมัยนั้นๆ ใช้อำ�นาจครอบครองดินแดนในฐานะที่เป็นดินแดนของจีน
อย่างไรก็ตาม ประเทศอื่นที่อ้างกรรมสิทธิ์ทับซ้อนกับจีนต่างไม่มีหลักฐาน
ที่ดีกว่าหลักฐานของจีน โดยเอกสารจีนนิยมอ้างถึงขุนนางที่เป็นขันทีใน
ราชสำ�นักราชวงศ์หมิงนามว่าเจิ้งเหอ ว่าได้คุมกองเรือที่ไห่โตไปเยี่ยมแวะ
หมู่เกาะในทะเลจีนใต้บางครั้งบางคราวระหว่างปี ค.ศ. 1403-1433 ซึ่ง
เป็นกองเรือของทางราชการ แต่เป็นลักษณะของการเดินทางไปเยี่ยมแวะ
เกาะต่างๆ หรือผ่านไป โดยถือว่าดินแดนเหล่านั้นเป็นส่วนหนึ่งของจีน แต่
ก็ไม่มีการยืนยันที่ชัดเจน มีเพียงแผนที่เดินเรือในบันทึกของการเดินทาง
เป็นทางการของเจิ้งเหอ กำ�หนดให้หมู่เหล่านั้นเป็นของจีน38
หลักฐานที่สนับสนุนข้ออ้างของจีนที่มีน้ำ�หนัก และไม่มีชาติอื่นใด
โต้แย้งการอ้างกรรมสิทธิ์ของจีนในขณะนั้นๆ คือ แผนที่ที่ทางการจีนทำ�ขึ้น
ในสมัยราชวงศ์ชิง ปี ค.ศ. 1755 ค.ศ. 1810 ค.ศ. 1817 และ ค.ศ. 1909
ซึ่งแผนที่เหล่านี้มีคำ�อธิบายประกอบ เป็นแผนที่ของทางราชการ เมื่อ
พิจารณาเอกสารที่กล่าวถึงการตรวจพื้นที่ ก็เป็นการตรวจของราชการ มี
กล่าวถึงศิลาจารึกของทางการ เอกสารและแผนที่เหล่านั้นมีคุณค่าในฐานะ
ที่เป็นหลักฐานทางประวัติศาสตร์ โดยเอกสารทางการของจีนได้อ้างว่าใน
ปี ค.ศ. 1911 ผู้ปกครองมณฑลกว่างตงระบุให้หมู่เกาะพาราเซลอยู่ภายใต้

38
Ahmed Toledo, “A Century of Wrangling Yields No Clear Claim,”
The Nation. April 1994, A13.

การขยายบทบาททางทหารของจีนในทะเลจีนใต้ 40
การบริหารขององค์กรบริหารเกาะไหหลำ� และในปี ค.ศ. 1921 กระทรวง
มหาดไทยที่ปักกิ่งได้อนุมัติให้พ่อค้าในมณฑลกว่างตงออกจับปลา ปลูก
ต้นไม้ และทำ�เหมืองที่หมู่เกาะพาราเซล ฯลฯ ซึ่งในกรณีนี้ไม่ได้พูดถึง
หมู่เกาะอื่นๆ ในทะเลจีนใต้
ในมุมมองด้านกฎหมายระหว่างประเทศ เหตุการณท์ างประวัตศิ าสตร์
ทีม่ คี วามหมายสำ�คัญเกีย่ วกับฐานะทางกฎหมายระหว่างประเทศของหมูเ่ กาะ
ในทะเลจีนใต้ มีประเด็นที่สำ�คัญสรุปได้ ดังนี้
1. ในปี ค.ศ. 1883 คณะสำ�รวจของรัฐบาลเยอรมนีปรากฏตัวใน
ทะเลจีนใต้ ได้มีการประท้วงจากรัฐบาลจีน แสดงว่าจีนเป็นประเทศเดียว
ในขณะนั้นที่อ้างกรรมสิทธิ์เป็นเจ้าของดินแดนในทะเลจีนใต้ และใน ค.ศ.
1887 ฝรั่งเศสกับจีนได้ลากเส้นปักเขตแดนกับจีนในทะเลจีนใต้ โดยใช้เส้น
ละติจูด 105 E แบ่งให้พื้นที่ทางตะวันออกเป็นของจีน ซึ่งรวมทั้งหมู่เกาะ
พาราเซลและสแปรตลีย์ด้วย39
2. จีนอ้างว่ามีหลักฐานการกล่าวของอดีตนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรี
ว่าการกระทรวงการต่างประเทศของฝรั่งเศส นาย Aristide Briand ที่
ได้กล่าวเมื่อวันที่ 22 สิงหาคม ค.ศ. 1921 ว่า หมู่เกาะสแปรตลีย์มีจีนเป็น
ผู้ครอบครอง และต่อมาในปี ค.ศ. 1929 ผู้รักษาราชการข้าหลวงใหญ่ของ
ฝรั่งเศสประจำ�อินโดจีนก็ได้ยืนยันเช่นนั้น
3. ในเดือนกันยายน ค.ศ. 1931 เมื่อจีนถูกญี่ปุ่นรุกราน ฝรั่งเศสแจ้ง
ต่อจีนว่าหมูเ่ กาะพาราเซลเป็นของฝรัง่ เศส ฝ่ายจีนได้มบี นั ทึกโต้แย้งลงวันที่
30 พฤศจิกายน ค.ศ. 1932 ถึงกงสุลฝรั่งเศสประจำ�กวางโจวและกระทรวง
การต่างประเทศของฝรั่งเศส และเมื่อฝรั่งเศสได้ส่งกำ�ลังไปยึดเกาะต่างๆ
จำ�นวน 9 เกาะในหมู่เกาะสแปรตลีย์ จีนได้ทำ�การประท้วง หลังจากนั้น
ญี่ปุ่นได้ยึดหมู่เกาะพาราเซลและหมู่เกาะสแปรตลีย์ ในปี ค.ศ. 1939 เมื่อ
ญี่ปุ่นพ่ายแพ้สงครามโลก จีน (ก๊กมินตั๋ง) ได้ส่งเรือรบไปรับมอบอำ�นาจ
การปกครองจากญี่ปุ่น โดยทำ�พิธีส่งมอบอำ�นาจกันที่เกาะไถ้ผิง (หรือ Itu

39
Ibid.

41 การขยายบทบาททางทหารของจีนในทะเลจีนใต้
Aba) ณ ที่นั้นได้มีพิธีส่งมอบอำ�นาจ มีหลักศิลาจารึก และมีภาพถ่าย ซึ่ง
การรับ-ส่งมอบอำ�นาจการปกครองครั้งนี้ไม่มีการคัดค้านจากประเทศอื่น
4. ในปี ค.ศ. 1949 เมื่อจีนสถาปนาระบอบคอมมิวนิสต์ที่กรุง-
ปักกิ่ง รัฐบาลจีนออกประกาศย้ำ�หลายครั้งว่า หมู่เกาะพาราเซลและหมู่เกาะ
สแปรตลีย์เป็นของจีน เอกสารและแผนที่ของจีนก็ระบุอย่างชัดเจนว่า
หมู่เกาะในทะเลจีนใต้เป็นของจีน
5. ในการประชุ ม ทำ � สนธิ สั ญ ญาสั น ติ ภ าพระหว่ า งญี่ ปุ่ น กั บ
สั ม พั น ธมิ ต รผู้ ช นะสงคราม ซึ่ ง จี น ปั ก กิ่ ง มิ ไ ด้ รั บ เชิ ญให้ เ ข้ า ร่ ว มประชุ ม
ด้วย นายโจวอินไหล นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่าง-
ประเทศของจีนได้ประกาศเมื่อวันที่ 15 สิงหาคม ค.ศ. 1951 ว่า หมู่เกาะ
ในทะเลจีนใต้ทั้งหมดเป็นของจีน แม้ญี่ปุ่นจะยึดครองชั่วคราวก็ตาม และ
ในที่ประชุมที่ซานฟรานซิสโก นายอังเดร โกรมิโก รัฐมนตรีว่าการกระทรวง
การต่างประเทศของสหภาพโซเวียตในขณะนั้นก็ประกาศว่า ดินแดนที่เป็น
หมู่เกาะพาราเซลและหมู่เกาะสแปรตลีย์ที่ญี่ปุ่นสละสิทธิปกครอง แต่ไม่ได้
บอกว่าสละให้แก่ชาติใดนั้น เป็นดินแดนของจีนอันจะแบ่งแยกมิได้
6. ในการประชุ ม องค์ ก ารการบิ น พลเรื อ นที่ จั ด ขึ้ น ที่ ก รุ ง มะนิ ล า
ในเดือนตุลาคม ค.ศ. 1955 มีผู้แทนเข้าร่วมประชุมจากสหรัฐฯ อังกฤษ
ฝรั่งเศส ญี่ปุ่น แคนนาดา ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ ไทย ฟิลิปปินส์
เวียดนามใต้ และจีนไต้หวัน ที่ประชุมได้มีมติที่ 241 เรียกร้องให้รัฐบาล
ไต้หวันเพิ่มการตรวจการณ์ทางอุตุนิยมบนเกาะสแปรตลีย์ ซึ่งไม่มีผู้แทน
ประเทศใดคัดค้านเลย แสดงว่าในขณะนั้นทุกประเทศที่เข้าร่วมประชุม
ยอมรับว่าสแปรตลีย์เป็นส่วนหนึ่งของจีน
7. ในวันที่ 15 พฤษภาคม ค.ศ. 1966 จีนอ้างอำ�นาจกฎหมายทะเล
ค.ศ. 1982 ในการจัดระเบียบการบริหารงานในหมู่เกาะทะเลจีนใต้ เริ่มด้วย
หมู่เกาะสแปรตลีย์ โดยจีนได้ประกาศเขตเศรษฐกิจจำ�เพาะ 200 ไมล์ทะเล
(ประมาณ 371 กิโลเมตร) บริเวณไหล่ทวีป (Continental Shelves)
และพรมแดนทางทะเลที่ติดต่อกับประเทศข้างเคียง รวมทั้งกำ�หนดเส้นฐาน
ชายฝั่งทะเลด้วย (baselines)

การขยายบทบาททางทหารของจีนในทะเลจีนใต้ 42
ไต้ ห วั น ทางการไต้ ห วั น อ้ า งอำ � นาจอธิ ป ไตยเหนื อ หมู่ เ กาะใน
ทะเลจีนไต้ โดยอาศัยสิทธิ์สืบทอดมรดกจากรัฐบาลจีนในอดีตเช่นเดียว
กับจีนปักกิ่ง โดยส่วนที่ไต้หวันเน้นหรือเสริมสิ่งที่ปักกิ่งใช้อ้างกรรมสิทธิ์
สามารถสรุปได้ดังนี้
1. ไต้ ห วั น มี ห ลั ก ฐานทางประวั ติ ศ าสตร์ ที่ ส ามารถยื น ยั นได้ ว่ า
ไต้หวันเป็นเจ้าของหมู่เกาะในทะเลจีนใต้ย้อนกลับไปในอดีตถึง 2,000 ปี
ตั้งแต่สมัยราชวงศ์ฮั่น และมีหลักฐานทางโบราณวัตถุที่พิสูจน์ได้ว่า คนจีน
ได้ปรากฏตัวในอาณาบริเวณนั้นก่อนชนชาติอื่นใด และมีอำ�นาจอธิปไตย
เหนืออาณาบริเวณนั้นตามกฎหมายระหว่างประเทศ
2. ในอาณาบริ เ วณหมู่ เ กาะสแปรตลี ย์ ไต้ ห วั น ได้ ใ ช้ อำ � นาจ
อธิปไตยเหนือดินแดนนี้ตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 13 โดยส่งเรือลาดตระเวน
ไปตรวจการณ์ในบริเวณนั้น ครั้งแรกในปี ค.ศ. 1293 โดยกุบไลข่าน ผู้
สถาปนาราชวงศ์หยวน นอกจากนั้น ในสมัยราชวงศ์หมิง ขุนนางเจิ้งเหอ
นำ�กองเรือไปเยือนอาณาบริเวณหมู่เกาะสแปรตลีย์ถึง 7 ครั้ง ในช่วงปี ค.ศ.
1493-1433 ดังที่จีนปักกิ่งก็อ้างเช่นกัน
3. หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 และก่อนรัฐบาลก๊กมินตั๋งย้ายไปตั้งอยู่
ที่กรุงไทเปในปี ค.ศ. 1949 ประธานาธิบดีเจียงไคเชคได้ออกคำ�ประกาศ
ฝ่ายบริหารให้โอนอำ�นาจการปกครองหมู่เกาะสแปรตลีย์ จากมณฑลกวางตง
ไปเป็นของอำ�เภอปกครองพิเศษไหหลำ�
4. เมื่อรัฐบาลก๊กมินตั๋งย้ายไปตั้งอยู่ที่กรุงไทเปแล้ว ในปี ค.ศ.
1991 สำ�นักนายกรัฐมนตรี (Execultive Yuan) ได้ออกคำ�สั่งให้เกาะ
ตงซา (Pratas) และไถ้ผิง (Itu Aba) อยู่ภายใต้การบริหารงานของ
เทศบาลเมืองกาสง
ข้ออ้างกรรมสิทธิ์ดังกล่าวของรัฐบาลไต้หวัน และการปรากฏตัว
ของทหารในการครอบครองเกาะ 2 แห่งที่มีความหมายสำ�คัญ ทำ�ให้
ฐานะทางกฎหมายระหว่างประเทศของไต้หวันทัดเทียมกับจีนปักกิ่ง ซึ่ง
สงครามกลางเมืองระหว่างปักกิ่งและไทเป มิได้ขยายเข้าไปในหมู่เกาะ
ทะเลจีนใต้

43 การขยายบทบาททางทหารของจีนในทะเลจีนใต้
เวียดนาม เวียดนามใต้ได้ส่งทหารไปประจำ�ที่หมู่เกาะพาราเซล
แทนที่ฝรั่งเศสในปี ค.ศ. 1955 และยึดครองอยู่จนถึงปี ค.ศ. 1974 ภายหลัง
จากการรวมประเทศแล้ว ปัญหาการอ้างกรรมสิทธิ์เหนือหมู่เกาะพาราเซล
และหมู่เกาะสแปรตลีย์จึงเป็นผลต่อเนื่องมาจากสมัยเวียดนามใต้ โดยใน
ปี ค.ศ. 1975 เวียดนามได้ส่งทหารเข้าไปครอบครองหลายเกาะในหมู่เกาะ
สแปตรลีย์ตามที่กล่าวแล้ว เมื่อเวียดนามขัดแย้งกับจีนอย่างเปิดเผย ใน
ปี ค.ศ. 1978 รัฐบาลเวียดนามจึงประกาศ “สมุดปกขาว” ออกเผยแพร่
เพื่อสนับสนุนข้ออ้างกรรมสิทธิ์ของตนเหนือหมู่เกาะพาราเซลและหมู่เกาะ
สแปรตลีย์ (เวียดนามเรียก “ฮว่างซา” (Hoang Sa) และ “ตงซา”
(Truong Sa) ตามลำ�ดับ) ข้ออ้างกรรมสิทธิ์ของรัฐบาลเวียดนามใน “สมุด
ปกขาวของเวียดนาม” ที่สำ�คัญ คือ
1. “สมุ ด ปกขาวของเวี ย ดนาม” อ้ า งแผนที่ ข องเขตกวางงาย
(Quang Ngai) ซึ่งรวบรวมในศตวรรษที่ 17 โดยโดบา (Do BA) ใน
เชิงอรรถอธิบายแผนที่ ผู้รวบรวมได้อ้างถึง ไบ คัด วาง (Bai Cat Vang)
โดยบรรยายถึงที่ตั้งของเกาะ ใน “สมุดปกขาวของเวียดนาม” สรุปว่าเป็น
“Golden Sandbank” อยู่ในหมู่เกาะพาราเซล และอ้างว่ามีหลักฐาน
บันทึกทางประวัติศาสตร์ของทางการเวียดนามว่า กษัตริย์ราชวงศ์เกีย ลอง
(Gia Long) ได้ปกครองหมู่เกาะพาราเซลในปี ค.ศ. 1816 และได้สร้าง
วัด (Temple) และหลักป้าย (markers) ไว้ที่เกาะในปี ค.ศ. 1825
2. ในปี ค.ศ. 1956 รัฐบาลเวียดนามใต้ในขณะนั้นได้ส่งเรือรบไป
ยึดครองส่วนหนึ่งของหมู่เกาะตงซา (สแปรตลีย์) และมีกฤษฎีกาประกาศ
ให้หมู่เกาะตงซาเป็นส่วนหนึ่งของจังหวัดพวกทุย (Phuoc Tuy)
สรุปได้ว่าเวียดนามได้ปรากฏตัวในอาณาบริเวณหมู่เกาะทะเลจีนใต้
และเป็ น ชาติ ที่ ส อง รองจากจี น ที่ อ้ า งอำ � นาจอธิ ป ไยเหนื อ หมู่ เ กาะบาง
เกาะในทะเลจีนใต้ และสามารครอบครองดินแดนบางส่วนของหมู่เกาะ
สแปรตลีย์ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1975
อย่างไรก็ตาม ก่อนหน้านั้นฝ่ายจีนอ้างว่ามีหลักฐานแสดงว่า ใน
ปี ค.ศ. 1958 เวียดนามเหนือ โดยนายกรัฐมนตรีฟามวันดงได้รับรองการ

การขยายบทบาททางทหารของจีนในทะเลจีนใต้ 44
ขยายเขตน่านน้ำ�ของจีน (territorial water) จาก 3 ไมล์ทะเลเป็น 12
ไมล์ทะเล ซึ่งจีนระบุไว้ด้วยว่าให้รวมถึงหมู่เกาะตงซา (Pratas) ซีซ่า
(Paracels) จงซา (Macclefield Bank) และหนานซา (Spratlys) ด้วย
ฟิลิปปินส์ หมู่เกาะสแปรตลีย์ที่อยู่ใกล้กับพาลาวันของฟิลิปปินส์
ที่สุด (Kalayaan) มีระยะทางประมาณ 400 กิโลเมตร เหตุผลที่ใช้อ้าง
กรรมสิทธิ์ที่สำ�คัญของฟิลิปปินส์ คือ ความใกล้ชิด (proximity) โดยการ
อ้างกรรมสิทธิ์ครั้งแรกเป็นการกระทำ�ของเอกชน ในปี ค.ศ. 1956 Thomas
Cloma ชาวฟิลิปปินส์ ได้แล่นเรือไปถึงอาณาบริเวณคาลายาอัน ซึ่งเป็น
เกาะดินทราย หินปะการัง เรียงรายกันประมาณ 33 แห่ง เมื่อทำ�การสำ�รวจ
แล้ว เขาได้ทำ�เรื่องแจ้งกระทรวงการต่างประเทศของฟิลิปปินส์ว่าเป็น
อาณาบริเวณที่ไม่มีเจ้าของ พร้อมกันนั้นเขาก็อ้างกรรมสิทธิ์โดยประกาศต่อ
สื่อมวลชนในวันที่ 15 พฤษภาคม ค.ศ. 1956 หลังจากที่เขาใช้อ้างกรรมสิทธิ์
คือ “การค้นพบและความใกล้เคียง” (discover and proximity) ต่อ
มารัฐบาลฟิลิปปินส์ได้อ้างสิทธิ์ครอบครองตามกฎหมายทะเล ค.ศ. 1982
มาเลเซีย เร่ิมอ้างกรรมสิทธิ์ในปี ค.ศ. 1979 โดยใช้กำ�ลังครอบ-
ครองอย่ า งฉั บไว มี ก ารสร้ า งลานบิ น และพั ฒ นาแหล่ง ท่อ งเที่ ยวเพื่ อ ทำ �
ธุรกิจ โดยเหตุผลที่รัฐบาลมาเลเซียใช้คือ หลักการได้ดินแดนไหล่ทวีป
(continental shelf) ซึ่งปฏิบัติก่อนอนุสัญญากฎหมายทะเล ค.ศ. 1982
บรูไน อ้างกรรมสิทธิ์เหนือ Rouisa Reef ซึ่งอยู่ใกล้เขตเศรษฐกิจ
จำ�เพาะภายใน 200 ไมล์ โดยอ้างกรรมสิทธิ์ตามกฎหมายทะเล ค.ศ. 1982
จากที่กล่าวในข้างต้นจะเห็นได้ว่า ทะเลจีนใต้เป็นอาณาบริเวณที่
กว้างขวางมากกว่า 800,000 ตารางกิโลเมตร เกาะต่างๆ ที่อยู่พ้นน้ำ�ตลอด
24 ชั่วโมงมีน้อย ท้ัง 4 หมู่เกาะที่กล่าวถึงอยู่ห่างจากชายฝั่งไกลเกินไปที่จะ
ใช้เป็นที่อยู่อาศัย เพราะไม่มีสิ่งจำ�เป็นในการยังชีพเพียงพอ แต่ชาวประมง
ได้อาศัยเกาะต่างๆ เป็นที่พักพิงชั่วคราวมานานแล้ว การใช้ดินแดนบาง
เกาะเพื่อกิจกรรมทางทหาร และทดลองวิทยาศาสตร์ได้เริ่มขึ้นในศตวรรษ
ที่ 19-20 นี้เอง ความสนใจของรัฐชายฝั่งใกล้เคียงที่จะอ้างหมู่เกาะต่างๆ
เป็นกรรมสิทธิ์นั้นไม่มีชาติใดให้ความสนใจก่อนจีน ขณะเดียวกันปัจจัยด้าน

45 การขยายบทบาททางทหารของจีนในทะเลจีนใต้
เศรษฐกิจ การประมง และทรัพยากรพลังงาน เป็นแรงกระตุ้นที่สำ�คัญให้รัฐ
ชายฝั่งช่วงชิงกันเข้าครอบครอง และหาเหตุผลหรือข้ออ้างสนับสนุนความ
ชอบธรรมของตน พฤติกรรมของรัฐดังกล่าวมีข้อที่น่าสังเกต คือ
1. จี น ปั ก กิ่ ง และจี นไต้ ห วั น มี ห ลั ก การ จุ ด ยื น หรื อ ข้ อ อ้ า งใน
กรรมสิทธิ์เหนือบริเวณทะเลจีนใต้เหมือนกัน และทั้งสองฝ่ายไม่พยายามที่
จะใช้กำ�ลังกำ�จัดอีกฝ่ายหนึ่งให้หายไป แต่อาจจะพอใจที่จะรักษาสถานภาพ
เดิ ม เอาไว้ ใ ห้ คู่ แ ข่ ง อี ก ฝ่ า ยหนึ่ ง แสดงบทบาทเสริ ม ในการต่ อ สู้ กั บ รั ฐ
คู่แข่งอื่นๆ ในฐานะสัมพันธมิตรอย่างไม่เป็นทางการ
2. ข้อได้เปรียบของจีน (ทั้งสอง) อยู่ที่หลักฐานทางประวัติศาสตร์
ที่อ้างอธิปไตยเหนือบริเวณหมู่เกาะทั้งหมดอย่างต่อเนื่อง แม้จะไม่ได้ใช้
อำ�นาจครอบครองตามความเป็นจริง การยอมรับจากต่างชาติว่าจีนมีอำ�นาจ
อธิปไตยเหนือดินแดนที่กล่าวถึงแม้จะไม่สมบูรณ์ แต่เก่าแก่ที่สุดในบรรดาคู่
แข่งทั้งหมด และในแง่กฎหมายระหว่างประเทศพบว่า จีนมีคุณสมบัติครบ
ถ้วนกว่าชาติอื่น
3. จุดอ่อนของจีนก็คือ เมื่อทำ�เครื่องหมายลงในแผนที่แสดงเขต
พรมแดนของจีนในทะเลจีนใต้แล้ว ดูเหมือนว่าทะเลจีนใต้อันกว้างใหญ่
ประกอบไปด้วยเกาะโขดดิน โขดหินมากมาย กลายเป็นของจีนทั้งหมด
ทำ�ให้ประเทศต่างๆ ในภูมิภาคยอมรับไม่ได้ที่จะให้อำ�นาจของจีนขยายมา
ประชิดพรมแดนของตนตามแผนที่จีนวาดไว้ โดยไม่ได้กล่าวถึงความจริง
ว่า ตามกฎหมายระหว่างประเทศ รัฐเอกราชสามารถมีดินแดนหรือเกาะที่
ตนมีอำ�นาจอธิปไตยอยู่ห่างไกลจากมาตุภูมิไม่ว่าจะไกลเท่าไรก็ตาม (เช่น
สหรัฐฯ เป็นเจ้าของอลาสกา ฮาวาย และกวม เป็นต้น)
4. เหตุ ผลของเวียดนามยังมีจุด อ่อนตามหลั กการของกฎหมาย
ระหว่างประเทศ การอ้างสิทธ์ิสืบมรดกการครอบครองหมู่เกาะสแปรตลีย์
ในบางส่วนของฝรั่งเศสเป็นการเผยจุดอ่อนของตนเอง ซึ่งเวียดนามและ
ประเทศอาณานิคมอื่นๆ ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ทั้งหมด (ยกเว้นไทย)
ปฏิเสธสิทธิ์ของประเทศจักรวรรดินิยมในการได้ดินแดนไปโดยนโยบาย
เรือปืนในอดีต

การขยายบทบาททางทหารของจีนในทะเลจีนใต้ 46
5. การอ้างอำ�นาจอธิปไตยเหนือดินแดนโดยอาศัยความใกล้เคียง
(proximity) และความมั่นคงหรือความอยู่รอดในทางเศรษฐกิจ (ตาม
ข้ออ้างของฟิลิปปินส์) ไม่ได้รับการรับรองในกฎหมายระหว่างประเทศ
หลักการได้ดินแดนไหล่ทวีปเพิ่มก็เช่นกัน (ตามที่มาเลเซียอ้าง) กฎหมาย
ระหว่างประเทศไม่ได้ให้อำ�นาจถึงขนาดไปล้ำ�เขตอำ�นาจอธิปไตยของรัฐอื่น
แต่ประการใด
สำ�หรับสถานการณ์ทะเลจีนใต้ในปัจจุบัน เวียดนามได้อ้างสิทธิ์
เหนือหมู่เกาะสแปรตลีย์จำ�นวน 22 เกาะ จีนครอบครอง 14 เกาะ ฟิลิปปินส์
11 เกาะ มาเลเซีย 10 เกาะ และไต้หวัน 1 เกาะ แต่ละประเทศต่างมี
น่านน้ำ�อาณาเขตและเขตต่อเนื่องที่ทับซ้อนกันไปมา โดยมีผลประโยชน์
เรื่องการทำ�ประมง และความต้องการที่จะครอบครองแหล่งพลังงานสำ�รอง
ขนาดใหญ่ในภูมิภาคที่มีปริมาณน้ำ�มันและก๊าซอยู่เป็นจำ�นวนมากให้มาก
ที่สุด ทำ�ให้เหตุการณ์ความขัดแย้งในทะเลจีนใต้ยากจะคลี่คลายได้โดย
ง่าย เพราะทะเลจีนใต้ไม่ได้เป็นเพียงปัญหาในระดับภูมิภาคที่เกี่ยวพันกับ
ผลประโยชน์ของหลายประเทศในเอเชียเท่านั้น แต่ยังส่งผลกระทบไปถึง
มหาอำ�นาจต่างๆ ด้วย โดยจีนได้ตระหนักถึงความสำ�คัญในเรื่องนี้ จึงได้
พัฒนากำ�ลังรบของตนอย่างต่อเนื่อง ควบคู่กับการพัฒนาเศรษฐกิจ พร้อม-
ทั้งมีนโยบายในการขยายอำ�นาจทางทะเลที่ครอบคลุมพื้นที่ต่างๆ โดยเฉพาะ
ในทะเลจีนใต้ ซึ่งอยู่ในพื้นที่ First Island Chain โดยในปัจจุบันจีนมี
ขีดความสามารถในการปฏิบัติการครอบคลุมพื้นที่ดังกล่าวอีกด้วย

ï บทบาทของจีนในทะเลจีนใต้ ï

 ผลประโยชน์และความขัดแย้งของจีนในทะเลจีนใต้
คนจีนเป็นชนชาติที่มีความสามารถด้านการค้าขาย โดยการค้าขาย
ทางทะเลที่สำ�คัญตามแนวคิด “สี่ทันสมัย” (Four Modernizations)
ที่ เ ป็ น นโยบายการสร้ า งความทั น สมั ย ด้ า นการเกษตร ด้ า นอุ ต สาหกรรม
ด้านเทคโนโลยี และด้านการป้องกันประเทศ เพื่อนำ�จีนไปสู่ความเป็น

47 การขยายบทบาททางทหารของจีนในทะเลจีนใต้
มหาอำ�นาจทางเศรษฐกิจในต้นศตวรรษที่ 21 บนพื้นฐานของการพึ่งพา
ตนเอง40 จึงส่งผลทำ�ให้จีนต้องเปิดประเทศ และปฏิรูปทางเศรษฐกิจ
ซึ่งธนาคารโลกได้คาดการณ์การเติบโตของเศรษฐกิจจีนไว้ว่าจะแซงหน้า
สหรัฐฯ ในปี ค.ศ. 2030 หากจีนสามารถรักษาการเจริญเติบโตของ GDP
ไว้ได้ในอัตราร้อยละ 8 โดยตลอด41 โดยปัจจุบันจีนเป็นประเทศที่บริโภค
น้ำ�มันมากเป็นอันดับ 2 รองจากสหรัฐฯ ซึ่งจากการที่จีนมีการขยายตัวของ
เศรษฐกิจสูงถึงร้อยละ 8-10 ต่อปี ทำ�ให้ความต้องการพลังงานของจีนเพื่อ
ขับเคลื่อนเศรษฐกิจจะขยายตัวอย่างรวดเร็ว ดังนั้นเพื่อให้การขยายตัว
ทางเศรษฐกิจคงที่ จีนจะต้องมีอัตราการบริโภคพลังงานมากขึ้น ทั้งนี้เมื่อ
ปี ค.ศ. 2011 จีนมีการส่งออกมูลค่ารวม 1.898 พันล้านเหรียญสหรัฐ มาก
เป็นอันดับ 1 ของโลก42 มีกำ�ลังการซื้อเป็นอันดับ 3 ของโลกมูลค่ารวม
11.29 พันล้านเหรียญสหรัฐ ซึ่งการขยายตัวอย่างรวดเร็วในด้านต่างๆ ของ
จีนนั้น เป็นการเชื่อมจีนเข้ากับโลกภายนอก และแน่นอนว่าทะเลและการ
ป้องกันทางทะเลจะทวีความสำ�คัญมากขึ้นเป็นอย่างยิ่ง ซึ่งโดยทั่วไปรัฐจะ
สามารถใช้ประโยชน์จากทะเลได้คือ การใช้ทะเลเป็นทางคมนาคมขนส่ง
การใช้ทะเลเป็นทรัพยากรธรรมชาติและแหล่งอาหาร และการใช้ทะเลเป็น
ฐานสำ�หรับแผ่กำ�ลังอำ�นาจสู่แผ่นดิน43 ซึ่งประโยชน์จากทะเลที่สำ�คัญยิ่งใน
ปัจจุบันคือเป็นเส้นทางคมนาคมขนส่ง เนื่องจากมหาสมุทรและทะเลเป็นตัว
เชื่อมแผนดินต่างๆ ติดต่อกันได้เกือบทั่วโลก ระบบเศรษฐกิจที่พึ่งพิงการ-

40
Wikipedia, “Four Modernizations,” [Online]. Available from: http://
en.wikipedia.org/wiki/Four_Modernizations [19 May 2009].
41
Voice TV, “เผย ปี 2573 เศรษฐกิจจีน จะแซงหน้าสหรัฐ,” [Online]. Available
from: http://news.voicetv.co.th/business/6696.html [22 February 2013].
42
Gal Luft, “Fueling the Dragon: China Race into the Oil Market,”
[Online]. Available from: http://www.iags.org/china.htm [7 February 2013].
43
พลเรือเอก โกมุท กมลนาวิน, “ทฤษฎีสมุททานุภาพ,” เอกสารประกอบการบรรยาย
วิทยาลัยการทัพเรือ, พ.ศ 2540.

การขยายบทบาททางทหารของจีนในทะเลจีนใต้ 48
ค้าระหว่างประเทศจะต้องใช้การขนส่งทางทะเลเป็นสำ�คัญ44 จากข้อมูลของ
กรมขนส่งทางน้ำ� กระทรวงคมนาคมของจีนระบุว่า ในปี ค.ศ. 2012 จีนมี
กองเรือพาณิชย์ใหญ่เป็นอันดับ 4 ของโลก นอกจากนี้ยังมีท่าเรือ 5 แห่ง
ที่มีขนาดใหญ่ติดอันดับหนึ่งในสิบของโลก และมีการเดินทางของสินค้าจาก
ประเทศต่างๆ ทั่วโลก มุ่งหน้าไปยังจีนครองอันดับต้นๆ ของโลกมาตลอด
หลายปี ไม่วา่ จะเป็นการเดินทางของเรือสินค้าทีอ่ อกมาจากสหรัฐฯ สหภาพ-
ยุโรป ตะวันออกกลาง และประเทศอื่นๆ ในเอเชีย ล้วนมุ่งหน้าเข้าสู่ท่าเรือ
ของจีน ในขณะที่เรือสินค้าก็เดินทางออกจากจีนมุ่งหน้าไปยังสหรัฐฯ และ
สหภาพยุโรปอย่างต่อเนื่องเช่นกัน

ตารางที่ 1 เส้นทางการค้าที่มีการลำ�เลียงสินค้ามากที่สุด
ในปี ค.ศ. 2009 และ 2010

Destination Origin 2009 TEUS* 2010 TEUS


(Millions) (Millions)
United States Greater China 7.1 8.5

European Greater China 5.8 6.9
Union

Other Asia Greater China 4.3 5.3

44
เพิ่งอ้าง.
*
TEUS ย่อมาจาก Twenty-foot คือ หน่วยนับสินค้าที่บรรจุในตู้คอนเทนเนอร์
ความยาว 20 ฟุต โดยตู้คอนเทนเนอร์ 20 ฟุตเท่ากับ 1 ทีอียู ตู้คอนเทอนเนอร์ 40 ฟุต เท่ากับ 2
ทีอียู ดูรายละเอียดใน ท่าเรือแหลมฉบัง, “DWT และ TEUs คืออะไร,” [ออนไลน์]. แหล่งที่มา:
http://www.laemchabangportphase3.com/know_02.html

49 การขยายบทบาททางทหารของจีนในทะเลจีนใต้
Other Asia Other Asia 4.5 5.0

Middle East European 3.1 3.4
and Africa Union

Greater China United States 3.2 3.4

Middle East Greater China 2.7 3.3
and Africa

European Other Asia 2.8 3.1
Union

Greater China European 2.9 3.1
Union
Other Asia European 2.6 2.9
Union
ที่มา: World Shipping Council, “Top 20 Containerized Trade Routes,
2009 and 2010,” [Online]. 2013. Available from: http://www.worldship-
ping.org /about-the-industry/global-trade/trade-routes [2 March
2013].

โดยในปี ค.ศ. 2011 ท่าเรือในเมืองเซ่ียงไฮ้ครองอันดับที่ 1 ของ


โลกในการขนถ่ายสินค้าทั้งหมด45 และเมื่อสำ�รวจในภาพรวมทำ�ให้พบว่า ใน
การจัดอันดับการขนถ่ายสินค้าในท่าเรือต่างๆ ทั่วโลกในปี ค.ศ. 2010 และ

45
“The Largest Container ports worldwide., [Online]. 2013. Available
from: http://www.statista.com/statistics/29697/turnover-volume-of-the-largest-
container-ports-worldwide/, [2 March 2013]

การขยายบทบาททางทหารของจีนในทะเลจีนใต้ 50
ค.ศ. 2011 นั้น ภายใน 20 อันดับแรกของท่าเรือที่มีการขนถ่ายสินค้ามาก
ที่สุดในโลกจะประกอบด้วย ท่าเรือของจีนจำ�นวน 10 ท่าเรือ ทำ�ให้เห็นว่า
จีนได้ใช้ประโยชน์จากทะเลในการเป็นเส้นทางคมนาคมขนส่งทางทะเล เพื่อ
ขับเคลื่อนเศรษฐกิจของตนเองเป็นอย่างมาก โดยมีการนำ�เข้าพลังงานกว่า
ร้อยละ 80 ที่อาศัยการลำ�เลียงขนส่งทางทะเล และกว่าร้อยละ 90 ของ
สินค้านำ�เข้าและส่งออกที่ใช้การขนส่งทางเรือ46 โดยที่ร้อยละ 80 ของการ
นำ�เข้าพลังงานของจีนต้องอาศัยการลำ�เลียงผ่านจากตะวันออกกลาง เดิน-
ทางสู่มหาสมุทรอินเดีย ช่องแคบมะละกา และทะเลจีนใต้ นอกจากนี้แล้ว
อุตสาหกรรมต่อเรือของจีน ในปี ค.ศ. 2008 หากเปรียบเทียบกันด้วยขนาด
ระวางขับน้ำ�รวมแล้วจะพบว่า อุตสาหกรรมต่อเรือของจีนมีส่วนแบ่งการ-
ตลาดร้อยละ 38 เป็นอันดับ 2 รองจากเกาหลีใต้ ซึ่งมีส่วนแบ่งการตลาด
ร้อยละ 44 ส่วนญี่ปุ่นและยุโรปมีส่วนแบ่งการตลาดร้อยละ 12 และร้อยละ
2 ตามลำ�ดับ แต่หากเปรียบเทียบด้วยจำ�นวนเรือที่ต่อใหม่ จะพบว่าจีนมี
มากเป็นอันดับที่ 1 ด้วยส่วนแบ่งการตลาดร้อยละ 37 โดยมีเกาหลีใต้เป็น
อันดับ 2 มีส่วนแบ่งการตลาดร้อยละ 29 ส่วนญี่ปุ่นและยุโรปมีส่วนแบ่ง
การตลาดเพียงร้อยละ 14 และร้อยละ 9 ตามลำ�ดับ47

46
กรมข่าวทหารเรือ, เอกสารประกอบการบรรยายสรุปเรื่อง “สาธารณรัฐประชาชนจีน,”
การประชุมสัมมนาการปฏิบัติงานและประสบการณ์ผู้ช่วยทูตทหารเรือ ประจำ�ปีงบประมาณ 2554,
หน้า 4.
47
David Tran, “China Shipbuilding on Top in Number,” Vietnam
Maritime Social Network., [Online]. 2013. Available from: http:// www.vinama-
so.net/news-events/shipbuilding-repair/china-shipbuilding-on-top-in-number.
html [3 February 2013].

51 การขยายบทบาททางทหารของจีนในทะเลจีนใต้
ตารางที่ 2 ท่าเรือที่สำ�คัญของโลก
Rank Port, Volume 2010 Volume 2011
Country (Million- (Million-
TEUS) TEUS)
1 Shanghai, China 29.07 31.74

2 Singapore, 28.43 29.94
Singapore
3 Hong Kong, China 23.70 24.38

4 Shenzhen, China 22.51 22.57

5 Busan, South Korea 14.18 16.17

6 Ningbo-Zhoushan, 13.14 14.72
China
7 Guangzhou Har- 12.55 14.26
bor, China
8 Qingdao, 12.01 13.02
China
9 Jebel Ali, Dubai, 11.60 13.01
UAE
10 Rotterdam, the 11.14 11.88
Netherlands
11 Tianjin, China 10.08 11.59
12 Kaohsiung, Taiwan, 9.18 9.64
China
13 Port Kelang, Ma- 8.87 9.60
laysia
14 Hamburg, Germa- 7.91 9.04
ny

การขยายบทบาททางทหารของจีนในทะเลจีนใต้ 52
15 Antwerp, Belgium 8.47 8.66

16 Los Angeles, 7.83 7.94
U.S.A.
17 Keihin Ports, Japan 7.48 7.64

18 Tanjung Pelepas, 6.47 7.50
Malaysia

19 Xiamen, China 5.82 6.47

20 Dalian, China 5.24 6.40

ที่มา: World Shipping Council, “Top 20 World Container Ports
Trade Statistics,” [Online]. 2013. Available from: http://www.
worldshipping.org/about-the-industry/global-trade/trade-statistics
[3 February 2013].

ในด้ า นภู มิ ศ าสตร์ จี น มี ฝั่ ง ทะเลยาวรวมกั น มากกว่ า 18,000


กิโลเมตร มีเกาะขนาดใหญ่น้อยรวมกันกว่า 5,400 เกาะ และมีอาณาเขต
ทางทะเลครอบคลุ ม ทะเลจีนตะวันออกและทะเลจี นใต้48 ซึ่ ง อาณาเขต
ทางทะเลบางส่วนนั้นทับซ้อนกับประเทศเพื่อนบ้าน โดยที่ต่างฝ่ายต่าง
อ้างกรรมสิทธิ์ของตน ทำ�ให้เกิดข้อพิพาทระหว่างกัน เพราะต่างฝ่ายต่าง
ต้องการครอบครองพื้นที่ในทะเลที่เป็นทั้งเส้นทางคมนาคมที่สำ�คัญและยัง
เป็นแหล่งทรัพยากรธรรมชาติในพื้นที่นั้นๆ ด้วย สำ�หรับในด้านการทหาร
ยังเป็นหลักการทั่วไปที่ใช้ทะเลเป็นฐานของการขยายกำ�ลังอำ�นาจจากทะเล
สู่ฝั่ง รวมไปถึงการมีเรือดำ�น้ำ�พลังงานนิวเคลียร์ (Nuclear Powered

48
สถานเอกอัครราชทูตสาธารณรัฐประชาชนจีนประจำ�ประเทศไทย, “อาณาเขต,” [ออน-
ไลน์]. แหล่งที่มา: http://www.chinaembassy.or.th/th/ztbd/zggk/t193197.htm

53 การขยายบทบาททางทหารของจีนในทะเลจีนใต้
Ballistic Missile Submarine-SSBN) ที่จะเป็นฐานยิงขีปนาวุธใน
ทะเล การขึ้นระวางประจำ�การเรือบรรทุกเครื่องบิน หรือแม้กระทั่งการจัด
โครงสร้างและกำ�ลังรบสำ�หรับการปฏิบัติการสะเทินน้ำ�สะเทินบกก็ดี แสดง
ให้เห็นว่าจีนมิได้ละเลยความสำ�คัญของทะเลในด้านการทหารเช่นกัน
ความสำ�คัญของทะเลกับผลประโยชน์แห่งชาติทางทะเลของแต่ละ
ชาติ อาจมีความแตกต่างกันไปตามแต่ข้อจำ�กัดของแต่ละชาติ ไม่ว่าจะ
เป็นกิจการพาณิชย์นาวี อุตสาหกรรมประมง การสำ�รวจขุดเจาะน้ำ�มัน
ก๊าซธรรมชาติ รวมถึงแร่ธาตุในทะเล แต่โดยทั่วไปแล้วการใช้ประโยชน์
จากทะเลเพื่อให้บรรลุผลประโยชน์แห่งชาติทางทะเล ก็ไม่ต่างจากไป
หลักการเพื่อให้เกิดความมั่นคง มั่งคั่ง มีสิทธิ อำ�นาจอธิปไตย ตลอดจน
มีเกียรติ ศักดิ์ศรีในการใช้ทะเล ส่วนข้อมูลด้านการขนส่งสินค้าทางทะเล
ของจีนที่ได้กล่าวไปแล้วก่อนหน้านี้ เป็นเครื่องบ่งชี้ได้ประการหนึ่งว่าจีนมี
ความสำ�คัญมากน้อยเพียงใดกับวงจรการค้าทางทะเล อันได้แก่ การผลิต
การขนส่ง และการนำ�เข้า ซึ่งสามารถพิจารณาความสำ�คัญของผลประโยชน์
ทางทะเลของจีนได้จากวิเคราะห์ผลประโยชน์แห่งชาติทางทะเลของจีนไว้
4 ประการ49 ดังนี้
1) เอกราช อำ�นาจอธิปไตย และสิทธิอธิปไตยทางทะเล (อธิปไตย
และบูรณภาพแห่งดินแดนทางทะเล)
2) ความสงบเรียบร้อย ความปลอดภัย และบรรยากาศที่เอื้อ
ประโยชน์ต่อการพัฒนาทางเศรษฐกิจของจีน
3) การมีเกียรติและศักดิ์ศรีในประชาคมระหว่างประเทศ
4) การใช้ ป ระโยชน์ จ ากทรั พ ยากรจากทะเล เพื่ อ ความมั่ ง คั่ ง
สอดคล้องกับยุทธศาสตร์การพัฒนาประเทศ
นอกจากนี้แล้วยังสามารถวิเคราะห์วัตถุประสงค์แห่งชาติทางทะเล
ของจีนได้ดังนี้50
49
นาวาเอก วิศาล ปัณฑวังกูร, “สาธารณรัฐประชาชนจีนกับความมั่นคงทางทะเลของไทย
ในทศวรรษหน้า,” เอกสารประจำ�ภาค วิทยาลัยการทัพเรือ รุ่นที่ 39, หน้า 53.
50
เพิ่งอ้าง, หน้า 63.

การขยายบทบาททางทหารของจีนในทะเลจีนใต้ 54
- เพื่ อให้ มี แ ละดำ � รงไว้ ซึ่ ง อำ � นาจอธิ ป ไตยและคุ้ ม ครองสิ ท ธิ
อธิปไตยของชาติโดยทางทะเล
- เพื่อให้พื้นที่ผลประโยชน์ของชาติทางทะเลมีความสงบเรียบร้อย
ปลอดภัย เอื้ออำ�นวยให้สามารถพัฒนาให้ใช้ประโยชน์ได้สูงสุด
- เพื่อให้ระบบการคมนาคมขนส่งทางทะเลสามารถใช้ประโยชน์
ได้อย่างเต็มที่และต่อเนื่อง
- เพื่อให้สามารถใช้ประโยชน์จากทรัพยากรทางทะเลได้อย่าง
เต็มที่
- เพื่ อให้ ไ ด้ รั บ เกี ย รติ แ ละการยอมรั บ จากประชาคมระหว่ า ง-
ประเทศ จากการแสวงหาและใช้ประโยชน์จากทะเล
จากการวิ เ คราะห์ ก ารกำ � หนดประโยชน์ แ ห่ ง ชาติ ท างทะเลและ
วัตถุประสงค์แห่งชาติทางทะเลของจีน ทำ�ให้เห็นถึงความสอดคล้องกันทั้ง
ในเชิงการสนับสนุนความมั่นคง ความมั่งคั่ง และในเชิงของการมีเกียรติ
ในเวทีระหว่างประเทศที่แสดงให้เห็นว่า จีนได้มีการใช้ประโยชน์จากทะเล
ทั้งในด้านการคมนาคมขนส่ง การแสวงหาทรัพยากรและการทหารอย่าง
ครบถ้วน

 การพัฒนากำ�ลังอำ�นาจทางทหารของจีน
งบประมาณทหารเป็นดัชนีชี้อันดับความสำ�คัญในมุมมองของรัฐบาล
จีน เป็นเครื่องวัดระดับหรือขนาดของกองทัพและแสนยานุภาพ งบประมาณ
ทหารของจีนในปี ค.ศ. 1998 และ ค.ศ. 1999 จากสมุดปกขาวของจีนระบุ
ว่าเป็น 93,470 ล้านหยวน และ 107,670 ล้านหยวนตามลำ�ดับ และในปี
ค.ศ. 2000 เพิ่มเป็น 121,290 ล้านหยวน โดยเพิ่มขึ้นเป็น 244,000 ล้าน
หยวนในปี ค.ศ. 2005 และในปี ค.ศ. 2009 รัฐบาลได้เพิ่มงบประมาณทาง
ทหารขึ้นเป็นสองเท่าของปี ค.ศ. 2005 กล่าวคือเพ่ิมเป็น 480,000 ล้าน

55 การขยายบทบาททางทหารของจีนในทะเลจีนใต้
หยวน51 ซึ่งจีนอ้างว่าการที่งบประมาณดังกล่าวเพิ่มมากขึ้นนั้น เนื่องจากค่า
ใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้นในการปฏิบัติหน้าที่ตามปกติ หลังจากที่กองทัพได้ยกเลิก
การประกอบธุรกิจต่างๆ การจ่ายเงินให้กับทหารที่เกษียณอายุราชการ การ
เพิ่มเงินเดือนทหาร ให้มีความเป็นอยู่ตามมาตรฐานของการพัฒนาทางสังคม
และเศรษฐกิจของประเทศ จีนก็ยังอ้างอีกว่างบประมาณทหารของจีนนั้น
ยังน้อยกว่าการใช้งบประมาณของสหรัฐฯ
งบประมาณที่มากขึ้นในแต่ละปีนั้น เมื่อนำ�มาพิจารณาร่วมกับราย-
ละเอียดของการใช้จ่ายในปี ค.ศ. 2012 ด้วยการมีกองกำ�ลังประมาณ 3 ล้าน
คน รถถังประมาณ 8,000 คัน เครื่องบินขับไล่และทิ้งระเบิดประมาณ 5,700
เครื่อง เรือดำ�น้ำ� 71 ลำ� เรือพิฆาตและเรือฟริเกต 322 ลำ� ขีปนาวุธข้าม-
ทวีป (Intercontinental Ballistic Missile-ICBM) 66 ระบบ และ
ขีปนาวุธพิสัยกลาง (Intermediat Range Balistic Missile-IRBM)
122 ระบบ52 และการขึ้นระวางประการเรือบรรทุกเครื่องบินอีกหนึ่งลำ�ใน
เดือนกันยายน ค.ศ. 2012 ทำ�ให้กองทัพจีนดูน่าเกรงขามมากขึ้น จีนซึ่ง
มีโ ครงการปรั บ ปรุงขีด ความสามารถของกองทั พ อากาศให้ ทั นสมั ย อย่ า ง
ต่อเนื่อง มีการพัฒนาหรือจัดหาลิขสิทธิ์ในการผลิตเครื่องบินรบทางยุทธวิธี
โดยจัดหาเครื่องบินขับไล่แบบ SU จากรัสเซีย พร้อมใบอนุญาตในการผลิต
รวมถึงระบบอาวุธและสงครามอิเล็กทรอนิกส์ รวมถึงการพัฒนาเครื่องบิน
โดยใช้เครื่องบินขับไล่ของอิสราเอลเป็นต้นแบบ นอกจากนั้น จีนยังอยู่ใน
ขั้นตอนของการพัฒนาเครื่องบินขับไล่เอนกประสงค์ ซึ่งออกแบบโดยใช้
เทคโนโลยี Stealth มีกำ�หนดเข้าประจำ�การในปี ค.ศ. 2015 ด้วย
สำ�หรับโครงการปรับปรุงกองทัพเรือจีนมุ่งเน้นในเรื่องขีดความ-
สามารถในการรบนอกประเทศ มีการต่อเรือพิฆาตและเรือฟริเกตรุ่นใหม่
โดยใช้ระบบขับเคลื่อนและระบบอาวุธใช้เทคโนโลยีตะวันตก มีโครงการ
ผลิตเรือดำ�น้ำ�อย่างต่อเนื่อง และกำ�ลังพัฒนาเรือดำ�น้ำ�นิวเคลียร์เพื่อทดแทน
51
International Institute for Strategic Studies (IISS), The Military Bal-
ance 2009. (London: Routledge Taylor and Francis Group, 2009), p. 232.
52
Ibid., p 233.

การขยายบทบาททางทหารของจีนในทะเลจีนใต้ 56
เรือดำ�น้ำ�เดิมที่ใกล้จะปลดระวาง ตลอดจนมีโครงการพัฒนาเรือส่งกำ�ลัง-
บำ�รุงและพัฒนาขีดความสามารถในการยกพลขึ้นบก ประกอบกับโครงการ
เรือบรรทุกเครื่องบินที่อยู่ในระหว่างการฝึกทำ�ให้จีนมีความพร้อมในการ
ปฏิบัติการในทะเลลึก
ในส่วนกองทัพบกเอง จีนมีแผนในการปรับปรุงอาวุธประจำ�กาย
และอาวุธปืนใหญ่ การพัฒนามุ่งเน้นไปในการขยายหน่วยตอบโต้เร่งด่วน
(Rapid Reaction Units: RRU) ซึ่งเป็นหน่วยที่ได้รับการฝึกและมี
ยุทโธปกรณ์ดีกว่าหน่วยกำ�ลังทั่วไป มีความพร้อมในการปฏิบัติการสูง มี
ทหารนาวิกโยธินและทหารพลร่มประมาณ 500,000 คน
จีนให้ความสำ�คัญด้านอาวุธนิวเคลียร์ด้วย โดยมีขีปนาวุธที่มีระยะ
ยิงถึงสหรัฐฯ คือ DF-1 ซึ่งมีการประมาณการว่ามีถึง 15 ระบบ ระบบ
อื่นๆ มีการพัฒนาและใช้เทคโนโลยีหลายหัวรบอิสระ MIRV (Multiple
Indepently-Tangeted Reentry Vehicle) โดยจัดหาส่วนประกอบ
ขีปนาวุธ SS-18 จากรัสเซีย จีนได้พัฒนาขีปนาวุธเคลื่อนที่ DF-41 ใช้
เชื้อเพลิงเหลวมีระยะยิง 12,000 กิโลเมตร ซึ่งใช้สำ�หรับการตอบโต้ได้
รวดเร็วและยังได้พัฒนาขีปนาวุธพิสัยใกล้ และปานกลาง โดยปกติจะติด
หัวรบธรรมดาเข้าประจำ�การบริเวณชายแดนฝั่งเกาะไต้หวันจำ�นวนมาก
ความตื่นตัวในโครงการอวกาศของจีน เพื่อการดำ�เนินการด้านข้อมูล
ข่าวสารได้รับความสนใจจากจีนเพิ่มขึ้น โดยในปัจจุบัน จีนได้ส่งดาวเทียม
โคจรในอวกาศมากกว่า 40 ดวง เพื่อใช้สำ�หรับเก็บข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ ติด
กล้องอิเล็กทรอนิกส์ เตือนภัยขีปนาวุธ การเดินเรือ การต่อต้านเทคโนโลยี
Stealth มีสถานีดักรับสัญญาณข่าวและยานลาดตระเวนทางยุทธวิธี และ
การปรับปรุงระบบส่งผ่านข้อมูลต่างๆ เพื่อรองรับการส่งภาพสถานการณ์
จากพื้นที่ห่างไกลในการปฏิบัติการร่วมต่างๆ

 การขยายสมุททานุภาพ
รัฐที่มีชายฝั่งทะเลติดต่อกับมหาสมุทร และมีความสนใจที่จะใช้
ทะเลและกิจการต่างๆ ในทะเลให้เป็นประโยชน์ในการเสริมสร้างความ

57 การขยายบทบาททางทหารของจีนในทะเลจีนใต้
มั่นคงและมั่งคั่งแก่ชาติของตน ย่อมจะต้องกำ�หนดนโยบายของชาติทาง
ทะเลขึ้น เพื่อใช้หาหนทางปฏิบัติของชาติเพื่อจะใช้ประโยชน์จากทะเล
ให้ได้มากที่สุด โดยการกำ�หนดหนทางในการปฏิบัตินั้นย่อมได้มาจากการ
วิเคราะห์สถานการณ์ สภาวะแวดล้อม และกำ�ลังอำ�นาจแห่งชาติทุกด้าน
ที่เกี่ยวกับกิจการในทะเลโดยละเอียดกับต้องพัฒนากำ�ลังทางเรือ หรือ
นาวิกานุภาพ (Naval Forces) เพื่อพิทักษ์ปกป้องประโยชน์และดำ�เนิน
กิจการทางทะเลควบคู่กันไปด้วย53 โดยมีสมุททานุภาพ (Sea Power) เป็น
ขีดความสามารถของรัฐ ที่จะสามารถดำ�เนินการนำ�เอาสิ่งที่เป็นคุณประโยชน์
จากทะเลมาใช้ให้เกิดเป็นพลังส่วนหนึ่งของกำ�ลังอำ�นาจแห่งชาติ54 หรืออีก
นัยหนึ่งก็คือ กำ�ลังอำ�นาจทางทะเลมีความสัมพันธ์กับยุทธศาสตร์ชาติและ
เกี่ยวข้องโดยตรงกับยุทธศาสตร์ทะเล ในฐานะที่ยุทธศาสตร์ทะเลก็เปรียบ
เสมือนยุทธศาสตร์แห่งสมุททานุภาพนั่นเอง นอกจากนี้ สมุททานุภาพยัง
ต้องเกี่ยวข้องกับยุทธศาสตร์ทางเรืออย่างหลีกเลี่ยงมิได้ เพราะยุทธศาสตร์
ทางเรืออาจนับได้ว่าเป็นส่วนหนึ่งของยุทธศาสตร์ทะเล โดยเหตุนี้ ไม่ว่าจะ
กล่าวถึงยุทธศาสตร์ทะเลหรือยุทธศาสตร์ทางเรือ ย่อมต้องมีความสัมพันธ์
แนบแน่นไปยังสมุททานุภาพ55 กล่าวคือยุทธศาสตร์ทะเลจะมีความมุ่ง-
หมายในการประกันให้มีการใช้ทะเลได้อย่างต่อเนื่องตลอดเวลา ซึ่งเป็น
ความมุ่งหมายของวัตถุประสงค์แห่งชาติ ในขณะที่หน่วยกำ�ลังทางเรือใช้
ยุทธศาสตร์ทางเรือเพื่อบรรลุความมุ่งหมายในการควบคุมทะเล และขัด-
ขวางข้าศึกในน่านน้ำ�บริเวณที่สำ�คัญอันมีผลต่อการปฏิบัติการทางเรือของตน
ด้ ว ยลั ก ษณะทางภู มิ ศ าสตร์ ข องประเทศซึ่ ง ตั้ ง อยู่ ท างตะวั น ออก
ของทวีปเอเชีย และอยู่ทางฝั่งมหาสมุทรแปซิฟิกตะวันตก จีนจึงมีชายฝั่ง
ทะเลต่อเนื่องตั้งแต่ทางเหนือบริเวณปากแม่น้ำ�ยาลู ในมณฑลเหลี่ยวหนิง

53
นาวาเอก สมบูรณ์ เนียมลอย, “ยุทธศาสตร์ทางทะเล,” เอกสารประกอบการบรรยาย
วิทยาลัยการทัพเรือ พ.ศ. 2524, หน้า 40.
54
พลเรือเอก เกตุ สันติเวชชกุล, “ทฤษฎีสมุททานุภาพ,” เอกสารประกอบการบรรยาย
วิทยาลัยการทัพเรือ พ.ศ. 2523, หน้า 1.
55
เพิ่งอ้าง, หน้า 28.

การขยายบทบาททางทหารของจีนในทะเลจีนใต้ 58
(Yalu River, Liaoning Province) ไปจรดใต้ที่ปากแม่น้ำ�เป่ยหลุน
ในเขตปกครองตนเองกว่างซีจ้วง (Beilun River, Guangxi Zhuang
Autonomous Region) โดยจรดทะเลต่างๆ เรียงตามลำ�ดับจากเหนือลง
ใต้ ได้แก่ ทะเลโป๋ไห่ ทะเลเหลือง ทะเลจีนตะวันออก และทะเลจีนใต้
มีชายฝั่งยาวรวมกันประมาณ 18,000 กิโลเมตร มีเกาะใหญ่น้อยรวมกัน
มากกว่า 5,400 เกาะ ชายฝั่งของเกาะใหญ่น้อยมีความยาวรวมกัน 14,000
กิโลเมตร เท่ากับว่าจีนมีความยาวชายฝั่งของแผ่นดินและเกาะรวมกัน
ประมาณ 32,000 กิโลเมตร นอกจากนี้ยังมีพื้นที่อาณาเขตทางทะเลในทะเล
โป๋ไห่ 80,000 ตารางกิโลเมตร และทะเลเหลือง 380,000 ตารางกิโลเมตร
ทะเลจีนตะวันออก 770,000 ตารางกิโลเมตรและทะเลจีนใต้ 3.5 ล้านตาราง-
กิโลเมตร รวมทั้งสิ้นประมาณ 4.73 ล้านตารางกิโลเมตร56 จึงทำ�ให้จีนต้อง
ให้ความสำ�คัญกับการดำ�เนินการกิจการต่างๆ ทางทะเล เพื่อให้สามารถ
ใช้ประโยชน์จากทะเลได้สูงสุด ทั้งยังต้องป้องกันมิให้ถูกขัดขวางการใช้
ประโยชน์จากทางทะเลด้วย
สมุททานุภาพที่เกื้อกูลต่อยุทธศาสตร์ทางเรือของจีน
- เป็นประเทศที่ตั้งอยู่ติดกับทะเล และง่ายต่อการเข้าหาเส้น-
ทางการค้าขายหลักของโลก ซึ่งจีนติดทะเลโป๋ไห่ ทะเลเหลือง ทะเลจีน
ตะวันออก และทะเลจีนใต้ มีอาณาเขตพื้นที่ทางทะเลจำ�นวนมาก นับว่า
เป็นประเทศที่อยู่ในเส้นทางเดินเรือของแปซิฟิกตะวันตก อันเป็นเส้นทาง
หลักที่จะไปยังญี่ปุ่นและเกาหลีใต้
- มีอัตราส่วนของพลเมืองสูง เมื่อเทียบกับความยาวชายฝั่งทะเล
- มีอัตราส่วนของพลเมืองที่ใช้ทะเลเพื่อการยังชีพสูง โดยจีนมี
เมืองชายฝั่งทะเล 15 เมือง (Open Ocean City) และเมืองชายทะเล
ที่เป็นเขตเศรษฐกิจพิเศษ (Special Economic Zone) อีก 4 เมือง
ได้แก่ เซินเจิ้น จูไห และซานโถว ในมณฑลกว่างตง และเซี่ยเหมิน ใน

56
ข้อมูลจากกรมข่าวทหารเรือ กองทัพเรือ พ.ศ. 2556.

59 การขยายบทบาททางทหารของจีนในทะเลจีนใต้
มณฑลฝู่เจี้ยน57
- มี ทั ศ นคติ ส นั บ สนุ น หรื อ ช่ ว ยเหลื อ การค้ า ทางทะเล จี น เป็ น
ประเทศที่มีกองเรือพาณิชย์ขนาดใหญ่ นอกจากนี้ยังมีท่าเรือ 10 แห่ง ที่มี
ขนาดใหญ่ติดอันดับหนึ่งในยี่สิบของโลก ในปลายปี ค.ศ. 2011
- รัฐมีนโยบายส่งเสริมการต่อเรือ การพัฒนาหรือขยายตลาด และ
สนับสนุนนโยบายด้านการทหารเรือ ในปี ค.ศ. 2008 หากเปรียบเทียบด้วย
ขนาดระวางขับน้ำ�รวมพบว่า อุตสาหกรรมต่อเรือของจีนมีส่วนแบ่งการตลาด
ร้อยละ 38 นับว่าเป็นอันดับ 2 รองจากเกาหลีใต้ สำ�หรับการสนับสนุน
นโยบายด้านการทหารเรือก็เป็นที่ปรากฏชัดเจนถึงนโยบายตั้งแต่ระดับผู้นำ�
ประเทศที่ให้ความสำ�คัญต่อการเสริมสร้างกำ�ลังทางเรืออยู่เสมอมา
จากที่กล่าวข้างต้นแสดงให้เห็นว่า จีนมีสมุททานุภาพที่เกื้อกูลต่อ
ยุทธศาสตร์ทางเรือของตน เป็นพื้นฐานของกำ�ลังอำ�นาจแห่งชาติและความ
มั่นคงทางการทหาร ซึ่งความมั่งคั่งทางเศรษฐกิจที่จะนำ�ไปสู่ความมั่นคง
ทางการทหารนั้น สามารถจะบรรลุได้ก็โดยการรุกทางการค้าในตลาดต่าง-
ประเทศหลายตลาด โดยจำ�เป็นต้องมีพาณิชย์นาวีแห่งชาติที่เข้มแข็งเพื่อ
การครอบงำ�และการหาประโยชน์จากตลาดโลก ทั้งนี้ การที่จีนมีองค์-
ประกอบของสมุททานุภาพที่ครบถ้วน จึงต้องมีกองทัพเรือที่เข้มแข็งไว้
สำ�หรับการป้องกันพาณิชย์นาวีและประกันการมีช่องทางไปสู่ตลาดโลกต้อง
มีฐานทัพในโพ้นทะเล

 การพัฒนาและการใช้กำ�ลังทางเรือของจีน
ความต้องการรักษาผลประโยชน์แห่งชาติทางทะเล ประกอบกับการ
ที่ยุทธศาสตร์การป้องกันประเทศของจีนเป็นการป้องกันในเชิงรุก (Active
Defense) ได้นำ�ไปสู่การกำ�หนดยุทธศาสตร์น่านน้ำ�ทะเลลึกของจีน ดังนั้น
กองทัพเรือแห่งกองทัพปลดปล่อยประชาชนจีน (People’s Liberation

57
พิษณุ เหรียญมหาสาร, “แหวกมานไมไผเจาะใจมังกร,” [ออนไลน์]. แหล่งที่มา:
http://www.km.moc.go.th/download/doc/china.pdf

การขยายบทบาททางทหารของจีนในทะเลจีนใต้ 60
Army-Navy: PLA Navy) หรือกองทัพเรือจีน จึงมีภารกิจที่สำ�คัญ
คือ58
1) รักษาความมั่นคงแห่งชาติ รักษาอธิปไตยของชาติเหนือหมู่เกาะ
และอาณาเขตทางทะเล และดำ�รงสิทธิตลอดจนผลประโยชน์ต่างๆ
2) รักษาความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันของรัฐ ขัดขวาง และปิด-
ล้อมการกระทำ�ใดๆ เพื่อประกาศอิสรภาพของไต้หวัน
3) ป้องกันภัยคุกคามทางทหารจากทางทะเล ต่อต้านและกำ�จัดการ
รุกรานทางทะเล
4) รักษาเสถียรภาพทางสังคม ระมัดระวัง และต่อต้านการก่อการ-
ร้าย การแบ่งแยกดินแดน และความรุนแรงในทุกรูปแบบ
5) สนับสนุนและร่วมในการเสริมสร้างระบอบสังคมนิยมแห่งชาติ
6) การป้องกันเส้นทางขนส่งทางทะเล สร้างสภาวะแวดล้อมด้าน
ความมั่นคงทางทะเลที่ดี ดำ�รงเสถียรภาพในภูมิภาคและความสงบของโลก
การพัฒนากำ�ลังทางเรือของจีน
กองทัพเรือจีนจะใช้ข้อมูลข่าวสารเป็นแนวทางในการพัฒนาให้
เป็นกองทัพสมัยใหม่ เน้นการพัฒนาระบบข้อมูลข่าวสารทางทะเลเป็นอันดับ
แรก เน้นการประกอบกำ�ลังทางเรือและเสริมสร้างขีดความสามารถในการ
ยุทธ์ทางทะเลภายในสภาวการณ์ของข้อมูลข่าวสารและการปฏิบัติการร่วม
ส่งเสริมการปรับปรุงอาวุธยุทโธปกรณ์รุ่นใหม่ ได้แก่ เรือดำ�น้ำ� เรือผิวน้ำ�
ขนาดกลางและใหญ่ อากาศนาวีเอนกประสงค์ และอาวุธโจมตีอย่างแม่นยำ�
ระยะไกล ปรับปรุงโครงสร้างการส่งกำ�ลังบำ�รุง ปฏิรูปการฝึก ส่งเสริมการ
บริหารทางวิทยาศาสตร์เพื่อเป็นหลักประกันในการพัฒนาที่ยั่งยืน ปรับปรุง
ทฤษฎี หลักนิยมของสงครามประชาชนทางทะเลในสภาวการณ์ใหม่ๆ59
นอกจากนี้จะให้ความสำ�คัญต่อการปฏิบัติการทางทหารนอกเหนือจากการ
58
กรมข่าวทหารเรือ, เอกสารประกอบการบรรยายสรุปเรื่อง “สาธารณรัฐประชาชนจีน,”
การประชุมสัมมนาการปฏิบัติงานและประสบการณ์ผู้ช่วยทูตทหารเรือ ประจำ�ปีงบประมาณ 2551,
(20-30 พฤษภาคม 2551), หน้า 9.
59
เพิ่งอ้าง.

61 การขยายบทบาททางทหารของจีนในทะเลจีนใต้
ทำ�สงคราม (Military Operation Other Than War-MOOTW)60
รวมทั้งการเข้าไปมีส่วนร่วมในการฝึกระดับทวิภาคีและพหุภาคี โดยแบ่ง
กองกำ�ลังทางเรือดังนี้
1. กองเรือทะเลเหนือ (North Sea Fleet) มีที่ตั้งกองบัญชาการ
กองเรือที่เมืองซิงเต่า ในมณฑลชานตง ในพื้นที่รับผิดชอบของภาคทหาร
จี้หนาน มีภารกิจป้องกันกรุงปักกิ่ง และที่ราบภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ซึ่ง
มีความสำ�คัญทางยุทธศาสตร์จากการรุกทีจ่ ะมาจากทางด้านทะเลเหลือง และ
อ่าวโป๋ไห่ (Bohai) พื้นที่รับผิดชอบเริ่มตั้งแต่ชายแดนจีน-เกาหลีเหนือ
ตามแนวเขตแม่น้ำ�ยาลู ไปจนถึงเมืองเหลียนหยุนก่าง (Lianyungang)
พื้นที่ดังกล่าวนี้รวมถึงทะเลโป๋ไห่ ตลอดจนตอนเหนือของทะเลเหลือง
2. กองเรือทะเลตะวันออก (East Sea Fleet) มีที่ตั้งกอง-
บัญชาการกองเรือที่เมืองหนิงโปในมณฑลเจ๋อเจียง ในพื้นที่รับผิดชอบ
ของภาคทหารนานจิง มีภารกิจป้องกันพื้นที่อุตสาหกรรมรอบเมืองเซี่ยงไฮ้
และบริเวณช่องแคบไต้หวัน สนับสนุนการปฏิบัติการสะเทินน้ำ�สะเทินบก
กรณีมีการใช้กำ�ลังต่อไต้หวัน พื้นที่รับผิดชอบเริ่มจากเมืองเหลียนหยุนก่าง
ไปเกาะนาเนา จนกระทั่งจรดมณฑลฝู่เจี้ยน (Lianyungang to the
Nanao Island, Fujian) ครอบคลุมตอนใต้ของทะเลเหลือง ทะเลจีน
ตะวันออกทั้งหมด และช่องแคบไต้หวัน
3. กองเรือทะเลใต้ (South Sea Fleet) มีที่ตั้งกองบัญชาการ
กองเรืออยู่ที่เมืองจ้านเจียงในมณฑลกวางตุ้ง มีภารกิจปฏิบัติการป้องกัน
ประเทศทางทะเลในชายฝั่ ง ทางตอนใต้ ป้ อ งกั น เขตการพาณิ ช ย์ เ มื อ ง
กวางโจวในมณฑลกวางตุ้ง และเกาะต่างๆ ทางด้านทะเลใต้ รวมทั้งผล-
ประโยชน์ของจีนในทะเลจีนใต้ พื้นที่รับผิดชอบเริ่มจากช่องแคบไต้หวัน
จรดชายแดนเวียดนาม พื้นที่รับผิดชอบจึงครอบคลุมทะเลจีนใต้ รวมทั้ง

60
Information Office of the State Council of the People’s Republic of
China. ดูรายละเอียดเพิ่มเติมใน “Reform and Development of the PLA,” [Online].
Available from: http://www.china.org.cn/archive/2009-01/21/content_17162870.htm

การขยายบทบาททางทหารของจีนในทะเลจีนใต้ 62
หมู่เกาะพาราเซล หมู่เกาะสแปรตลีย์ และอ่าวเป่ยปู้ (Beibu Gulf) และ
อาจขยายออกไปจรดเขตแดนทางทะเลของมาเลเซียและอินโดนีเซีย โดย
จีนได้วางแผนในการพัฒนากองทัพเรือตามพื้นที่ปฏิบัติการ ดังนี้
ขั้นตอนที่ 1 ระหว่าง ค.ศ. 2002-2010 “Green Water Active
Defence Strategy” สามารถปฏิบัติการครอบคลุมตอนเหนือจากเมือง
วลาดิวอสตอกของรัสเซีย ผ่านไปทางตะวันออกครอบคลุม “The First
Island Chain” ซึ่งประกอบด้วยหมู่เกาะ Aleutians หมู่เกาะ Kuriles
หมู่เกาะ Ryukyus ไต้หวัน ฟิลิปปินส์ และหมู่เกาะ Greater Sunda
Islands จนกระทั่งจรดช่องแคบมะละกาในทางตอนใต้
ขั้นตอนที่ 2 ระหว่าง ค.ศ. 2010-2020 สามารถปฏิบัติการครอบคลุม
“The Second Island Chain” ประกอบด้วย Bonins Guam Mari-
anas และ Palau Islands ในขั้นตอนนี้จีนมุ่งเน้นการจัดหาเรือบรรทุก
เครื่องบิน และจัดหาอากาศยานขึ้น-ลงทางดิ่ง และเรือคุ้มกันเรือบรรทุก
เครื่องบิน เพื่อสามารถดำ�รงความเป็น “Blue Water Navy” ที่สามารถ
ปฏิบัติการได้ทุกแห่งในโลก ภายใต้ยุทธศาสตร์ “Active Forward De-
ployment Scenario” พร้อมกันกับการมีฐานทัพเรือภายนอกประเทศใน
ปี ค.ศ. 2050
ในการเสริมสร้างกำ�ลังทางเรือเพื่อนำ�ไปสู่กองเรือทะเลลึก การ
พัฒนาขีดความสามารถในการปฏิบัติการทางเรือในแต่ละสาขา เช่น การ
รบผิวน้ำ� การปราบเรือดำ�น้ำ� และการต่อสู้อากาศยาน การใช้ประโยชน์จาก
ดาวเทียม มีการต่อเรือขึ้นเองในประเทศ และจัดหาจากประเทศอื่นควบคู่
กันไป ซึ่งกำ�ลังรบแต่ละประเภทจะมีขีดความสามารถด้านข้อมูลข่าวสาร
แบบ C4ISR (Command Control Communication Computer
Intelligence Surveillances and Reconnaissance) โดยมีการ
เสริมสร้างกำ�ลังทางเรือที่สำ�คัญ ดังนี้

63 การขยายบทบาททางทหารของจีนในทะเลจีนใต้
ภาพที่ 4 ฐานทัพเรือที่สำ�คัญของจีน

ที่มา: Chinese Naval Base. [Online]. 2013. Available from: http://www.


globalsecurity.org/military /world/china/ports.htm [3 April 2013].


เรือดำ�น้ำ� การสร้างเรือดำ�น้ำ�โดยอู่ต่อเรือในประเทศ ได้แก่ เรือ
ดำ�น้ำ�ขีปนาวุธพลังงานนิวเคลียร์ (SSBN Type 094) ชั้นจิ้น (Jin) ติด
ตั้งขีปนาวุธพิสัยไกล JL-2 ระยะยิง 8,000 กิโลเมตร ตามความต้องการ
รวม 5 ลำ� ใน ค.ศ. 2002 เรือดำ�น้ำ�นิวเคลียร์โจมตี (SSN Type 093)
ชั้น ซ่าง (Shang) เข้าประจำ�การแล้ว 2 ลำ�จากจำ�นวนที่ต้องการ 5 ลำ�
ในปี ค.ศ. 2020 เช่นกัน ในขณะที่เรือดำ�น้ำ�ดีเซลไฟฟ้า (SS Type 039)
ชั้นซ่ง (Song) ติดตั้งอาวุธปล่อยนำ�วิถีใต้น้ำ�สู่พื้น แบบ YJ-82 ทยอยเข้า

การขยายบทบาททางทหารของจีนในทะเลจีนใต้ 64
ประจำ�การตามแผนความต้องการ 20 ลำ� เรือดำ�น้ำ�ดีเซลไฟฟ้า (SS Type
041) ชั้นหยวน (Yuan) ติดตั้งอุปกรณ์ตรวจจับของบริษัท Thompson
ฝรั่งเศส เครื่องยนต์ของเยอรมนี และเชื่อว่าได้รับการติดตั้งระบบ AIP
ด้วย จำ�นวน 2 ลำ� นอกจากนี้แล้วยังจัดหาเรือดำ�น้ำ�ชั้น Kilo จากรัสเซีย
(ติดตัง้ อาวุธปล่อยนำ�วิถใี ต้น้�ำ สูพ่ ืน้ ความเร็วเหนือเสียง แบบ SS-N-27B ที่
มีระยะยิงไกลสุด 220 กิโลเมตร) โดยเข้าประจำ�การครบตามความต้องการ
12 ลำ� ตั้งแต่ปี ค.ศ. 2007
ดังนั้นในปี ค.ศ. 2012 จีนจึงขีดความสามารถโดยรวมที่สามารถ
ปฏิบัติการในพื้นที่ The First Island Chain ก็คือ การป้องปราม และ
การโจมตีระยะไกล โดยสำ�หรับในพื้นที่ The Second Island Chain
สามารถปฏิบัติการได้แต่ยังไม่ครอบคลุมทั้งหมด ซึ่งคาดว่าในการพัฒนา
กำ�ลังรบตามแผนนั้น จีนจะสามารถปฏิบัติการโดยใช้เรือดำ�น้ำ�ครอบคลุม
พื้นที่ The Second Island Chain ได้ในปี ค.ศ. 2020
เรือผิวน้ำ� การจัดหาเรือพิฆาตชั้น Sovremenny จำ�นวนรวม 4
ลำ�จากรัสเซีย และการสร้างเรือพิฆาตป้องกันภัยทางอากาศ Type 052B
จำ�นวน 2 ลำ� (ติด Anti Ship Cruise Missile (ASCM) แบบ YJ-
83 ระยะยิง 280 กิโลเมตรและอาวุธปล่อยนำ�วิถีพื้นสู่อากาศ แบบ SA-
N-7B Grizzly) เรือพิฆาต Type 052C จำ�นวน 2 ลำ� ติดอาวุธเช่น
เดียวกัน แต่มีระบบ Integrated Air Defense System และระบบ
VLS) จากความต้องการให้ครบ 6 ลำ� ในปี ค.ศ. 2020 เรือพิฆาต Type
051C จำ�นวน 2 ลำ� (ติดอาวุธปล่อยนำ�วิถีระยะปานกลางแบบ SA-N-6
และ Phase Array Radar แบบ 30N6E) จากความต้องการ 9 ลำ�
ในปี ค.ศ. 2020 นับเป็นก้าวแรกของการเสริมสร้างขีดความสามารถ
ในการป้องกันภัยทางอากาศลักษณะ Area Defense สำ�หรับกองเรือ
นอกจากนี้ยังได้ขึ้นระวางประจำ�การเรือฟริเกต Type 054 รวม 6 ลำ� จาก
ความต้องการ 28 ลำ� ใน ค.ศ. 2020 การพัฒนาสำ�คัญอีกประการหนึ่ง
คือการสร้างเรือ LPD Type 071 ขนาด 25,000 ตัน โดยอู่เรือภายใน
ประเทศ เช่นเดียวกับเรือส่งกำ�ลังบำ�รุงขนาดใหญ่ นอกจากนี้ยังมีการสร้าง

65 การขยายบทบาททางทหารของจีนในทะเลจีนใต้
เรือเร็วโจมตีติดอาวุธปล่อยนำ�วิถี Type 022 ที่มีตัวเรือแบบ Catamaran
(ติดอาวุธปล่อยนำ�วิถีพื้นสู่พื้น แบบ YJ-82 ระยะยิง 120 กิโลเมตร) โดย
จะทยอยเข้าประจำ�การจนครบ 60 ลำ� ในปี ค.ศ. 2020 อีกด้วย ดังนั้น
ขีดความสามารถโดยรวมของการเสริมสร้างกำ�ลังเรือผิวน้ำ�เหล่านี้ก็คือการ
ป้องกันภัยทางอากาศในลักษณะ Area Defense การโจมตีระยะไกล และ
การแผ่กำ�ลังอำ�นาจ (Power Projection) โดยมีเหตุผลที่สำ�คัญที่สุดคือ
การขึ้นระวางเรือบรรทุกเครื่องบินที่จีนจัดหามาได้ 1 ลำ� ในขณะที่สหรัฐฯ
มีอยู่แล้วถึง 12 ลำ� จีนจึงยังไม่สามารถมีความได้เปรียบเหนือสหรัฐฯ
ดังนั้นทางเลือกของจีนในการสร้างเรือผิวน้ำ�และเรือดำ�น้ำ� ที่มีทั้งปริมาณ
และคุณภาพ ตลอดจนการพัฒนาระบบการติดต่อสื่อสารที่เชื่อมต่อถึงกัน
ได้ เพื่อทำ�สงครามอสมมาตร (Asymmetric Warfare) จึงน่าจะมีความ
ได้เปรียบในการต่อต้านหมวดเรือบรรทุกเครื่องบินของสหรัฐฯ มากกว่า
โดยเฉพาะอย่างยิ่ง จำ�นวนและขีดความสามารถของเรือดำ�น้ำ�ที่ได้ทยอย
เข้าประจำ�การเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ จาก 62 ลำ�ในปี ค.ศ. 2007 และ 71 ลำ�ใน
ปี ค.ศ. 2012 โดยจะเพิ่มเป็น 78 ลำ�ใน ค.ศ. 2020
จึงพอสรุปการพัฒนากำ�ลังทางเรือที่สำ�คัญในตอนต้นของศตวรรษ
ที่ 21 ได้ว่าเป็นไปในภาพรวม 8 ด้าน61 คือ การป้องปรามนิวเคลียร์ ความ
แม่นยำ�ในการโจมตี การปฏิบัติการภายนอกประเทศ การป้องกันภัยทาง
อากาศ การคุ้มครองเส้นทางคมนาคมทางทะเล ระบบการส่งกำ�ลังบำ�รุงร่วม
กิจการอวกาศ และเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ที่สามารถปฏิบัติการได้ครอบคลุม
พื้นที่ The First Island Chain และ The Second Island Chain

การใช้กำ�ลังทางเรือของจีน
จากการศึกษาเอกสารการป้องกันประเทศของจีน ค.ศ. 201062
61
กรมข่าวทหารเรือ, เอกสารประกอบการบรรยายสรุปเรื่อง “สาธารณรัฐประชาชนจีน,”
การประชุมสัมมนาการปฏิบัติงานและประสบการณ์ผู้ช่วยทูตทหารเรือ ประจำ�ปีงบประมาณ 2551,
(20-30 พฤษภาคม 2551).
62
Information Office of the State Council of the People’s Republic of

การขยายบทบาททางทหารของจีนในทะเลจีนใต้ 66
ได้กล่าวถึงการใช้กำ�ลังกองทัพในการปฏิบัติการนอกเหนือจากการป้องกัน
ประเทศไว้หลายประการ ส่วนใหญ่เป็นการช่วยเหลือประชาชน และการ
มีส่วนร่วมในการรักษาความสงบเรียบร้อยภายในประเทศ ซึ่งในส่วนที่
เกี่ยวข้องกับการใช้กำ�ลังทางเรือก็เกี่ยวข้องกับการเสริมสร้างความร่วมมือ
กับนานาประเทศ ตลอดจนการแลกเปลี่ยนการเยือนกับมิตรประเทศ ซึ่งก็
คือบทบาทในทางการทูต ด้วยการแวะเยี่ยมเมืองท่าของมิตรประเทศ และ
การมีส่วนร่วมในการรักษาผลประโยชน์ทางทะเลร่วมกับมิตรประเทศอื่นๆ
เช่น การจัดเรือพิฆาต 2 ลำ� พร้อมเรือส่งกำ�ลังบำ�รุงขนาดใหญ่ 1 ลำ� จาก
กองเรือทะเลใต้ เดินทางไปคุ้มครองเรือพาณิชย์ในอ่าวเอเดนในภารกิจ
ต่อต้านโจรสลัด แต่ในลักษณะการปฏิบัติงานที่เปิดเผยนี้ จีนเองก็ค่อนข้าง
ระมัดระวังการปรากฏตัวที่อาจสร้างความหวาดระแวงแก่ประเทศในภูมิภาค
ดังเห็นได้จากการที่สำ�นักข่าวซินหัวของทางการจีนได้แถลงว่า “จีนได้อาศัย
ความรับผิดชอบในฐานะสมาชิกของประชาคมระหว่างประเทศดำ�เนินการ
ตามมติของคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติในการจัดการกับปัญหา
โจรสลัดในทะเลหลวง และคุ้มครองความปลอดภัยของเส้นทางคมนาคม
ทางทะเล”63 และ “การเคลื่อนย้ายกำ�ลังทางเรือของจีนมิได้มีเจตนาที่จะ
ท้าทายผลประโยชน์ด้านความมั่นคงหรือผลประโยชน์ทางการค้าของชาติ
อื่นใดในภูมิภาค จีนเพียงต้องการรักษาน่านน้ำ�สากลให้ปลอดภัยจากโจร
สลัดซึ่งถือเป็นศัตรูร่วมของพวกเรา”64
การจัดเรือไปปฏิบัติการในอ่าวเอเดนในปี ค.ศ. 2009 นับว่าเป็นบท
ทดสอบการปฏิบัติการระยะไกลจากประเทศ ซึ่งต้องมีการส่งกำ�ลังบำ�รุงใน
ทะเล และน่าจะถือได้ว่าเป็นการทดสอบการปฏิบัติงานแบบกองเรือทะเล
ลึกของจีน
ต่อมาใน ค.ศ. 2011 จีนได้เริ่มทำ�การฝึกปฏิบัติการทางเรือที่เข้มข้น
China, China National Defense 2010. 31 March 2011. p. 3.
63
Xinhua, “China Navy’s Main Goal Is To Escort Ships during Soma-
lia Mission,” January 1, 2009.
64
Ibid.

67 การขยายบทบาททางทหารของจีนในทะเลจีนใต้
มากขึ้นทั้งในพื้นที่ First Island Chain และ Second Island Chain
โดยเฉพาะการฝึกที่สร้างความสนใจให้กับประเทศต่างๆ ทั่วโลกคือ การฝึก
ของเรือบรรทุกเครื่องบินกับอากาศยาน ที่เป็นการแสดงถึงความพร้อมของ
จีนในการเริ่มออกปฏิบัติในทะเลลึก

ภาพที่ 5 เรือพิฆาตของกองทัพเรือจีน ขณะปฏิบัติการ


คุ้มครองเรือพาณิชย์ในอ่าวเอเดน

ที่มา: China Military Online, “Chinese Naval Taskforces Conduct


Joint Escort Mission,” [Online]. Available from: http://english.people.
com.cn/90786/7762862.html [4 April 2013].

ในปี ค.ศ. 2009 นับว่าเป็นช่วงเวลาที่มีความสำ�คัญต่อกองทัพเรือ


จีน เนื่องจากเป็นการครบรอบ 60 ปีแห่งการสถาปนากองทัพเรือจีน ใน
วันที่ 23 เมษายน โดยกองทัพเรือจีนได้เชิญมิตรประเทศส่งเรือเข้าร่วมใน
พิธีสวนสนามทางเรือซึ่งมีประธานาธิบดีหูจิ่นเทาเป็นประธาน ที่เมืองชิงเต่า

การขยายบทบาททางทหารของจีนในทะเลจีนใต้ 68
(Qingdao) มณฑลชานตง (Shandong) อันเป็นที่ตั้งของกองบัญชาการ
กองเรือทะเลเหนือของจีน ในการนี้ กองทัพเรือจีนได้จัดเรือเข้าร่วม 25 ลำ�
รวมถึงเรือดำ�น้ำ�ขีปนาวุธพลังงานนิวเคลียร์ และอากาศนาวีอีก 31 ลำ� ส่วน
มิตรประเทศ 14 ประเทศ ได้ส่งเรือเข้าร่วมพิธีฯ รวม 21 ลำ�65 ในจำ�นวน
นี้กองทัพเรือไทยได้จัดหมู่เรือฝึกนักเรียนนายเรือ ประกอบด้วย เรือหลวง
ตากสินและเรือหลวงบางปะกงเข้าร่วมในพิธีดังกล่าว ซึ่งวัตถุประสงค์ใน
การจัดสวนสนามทางเรือของจีนก็คือ เป็นการแสดงขีดความสามารถของ
จีนในการรักษาสันติภาพ และความสงบสุขแห่งห้วงมหาสมุทรร่วมกับชาติ
อื่นๆ โดยใช้โอกาสนี้กระชับความร่วมมือและแลกเปลี่ยนกับมิตรประเทศ
เพื่อร่วมกันคุ้มครองความปลอดภัยทางทะเล66 นอกจากนี้แล้วประธานาธิบดี
หูจิน่ เทา ในฐานะประธานคณะกรรมาธิการทหารกลางแห่งพรรคคอมมิวนิสต์
จีน ได้กล่าวในงานชุมนุมพบปะกับทหารผ่านศึก ผู้ได้รับเหรียญกล้าหาญ
และบุคคลตัวอย่างของกองทัพเรือในโอกาสฉลองครบรอบ 60 ปีแห่งการ
สถาปนากองทัพเรือในวันที่ 24 เมษายนว่า “ตลอดระยะเวลา 6 ทศวรรษ
กองทัพเรือจีนได้รับการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง และมีบทบาทสำ�คัญในการ
รักษาอธิปไตย ความมั่นคง และบูรณภาพแห่งดินแดนของประเทศ ส่ง-
เสริมการปฏิรูประบอบสังคมนิยมให้มีความทันสมัย ตลอดจนมีบทบาทใน
การรักษาสันติภาพและการพัฒนาของสังคมโลก กองทัพเรือจึงควรพัฒนา
ขีดความสามารถเพื่อสร้างกองทัพเรือที่เข้มแข็งในการปฏิบัติภารกิจทาง
ทหารในศตวรรษใหม่ต่อไป”67 และในโอกาสนี้ก็ได้เน้นย้ำ�ว่า “ทั้งในขณะ

65
People’s Daily Online, “China PLA Navy Urged to Beef Up Muscle
for National Security,” [Online]. Available from: http://english.people.com.
cn/90001/90776/90785/6645094.html. [3 March 2013].
66
People’s Daily Online, “China Concludes Celebration of Navy An-
niversary with Grand Fleet Review,” [Online]. Available from: http://english.
people.com.cn/90001/90776/90785/6643759.html. [3 March 2013].
67
China Daily Online, “Chinese President Urges Further Moderniza-
tion of PLA Navy,” [Online]. Available from: http://www. chinadaily.com.cn/

69 การขยายบทบาททางทหารของจีนในทะเลจีนใต้
นี้และในอนาคต จีนจะไม่แสวงความเป็นเจ้า ไม่ขยายอำ�นาจทางทหารหรือ
แข่งขันสะสมอาวุธกับชาติอื่นใด”68

 จีนกับมหาอำ�นาจต่างๆ ในทะเลจีนใต้
สหรัฐฯ กับนโยบายการปิดล้อมจีน เพื่อรับมือยุทธศาสตร์ของจีน
ที่จะขยายอานาจอธิปไตยทางทะเลในทะเลจีนใต้ โดยควบคุมพื้นที่ทาง
ทะเลในภูมิภาคที่ติดกับจีน ทั้งนี้จีนได้มีข้อพิพาททางทะเลกับประเทศ
เพื่อนบ้าน และทุกประเทศที่ปฏิบัติการในภูมิภาครอบๆ จีนโดยอ้างสิทธิ
ทางทะเลในน่านน้าของภูมิภาคเอเชียตะวันออกซึ่งอยู่นอกเหนือขอบเขต
ของกฎหมายทะเล (United Nations Convention on Law of the
Sea-UNCLOS 1982) ซึ่งข้อพิพาทที่เกิดขึ้นระหว่างประเทศต่างๆ กับจีน
ในทะเลจีนใต้ เป็นสิ่งที่ประเทศต่างๆ จะใช้เป็นข้อพิจารณาพื้นฐานในการ
พัฒนาขีดความสามารถทางการทหารของตน อย่างไรก็ตาม อำ�นาจอธิปไตย
ทางทะเลไม่ได้เป็นหัวข้อที่สำ�คัญที่สุดของจีนในขณะนี้ หากแต่จีนซึ่งถูก
ล้อมรอบโดยสหรัฐฯ โดยใช้นโยบายพันธมิตรของสหรัฐฯ จีนดำ�เนินกิจกรรม
ต่ า งๆ ในหมู่ เ กาะสแปรตลี ย์ แ ละหมู่ เ กาะพาราเซลมาตั้ ง แต่ อ ดี ต จนถึ ง
ปัจจุบนั รวมถึงเคยใช้ก�ำ ลังต่อเวียดนาม ฟิลปิ ปินส์ และสหรัฐฯ ทัง้ นี้ เพือ่ ลด
การเผชิญหน้าทางทหาร จีนจึงได้พัฒนารูปแบบของการใช้กำ�ลังที่มีทั้งการ
ใช้กาลังของกองทัพเรือ เรือประมง รวมทั้งเรือผิวน้ำ�ของ Maritime Sur-
veillance ซึ่งเป็นหน่วยงานพลเรือนให้สถานการณ์คลี่คลายลง อย่างไร-
ก็ตาม เรือของหน่วยงานเหล่านี้บางลำ�ติดอาวุธและมีเจ้าหน้าที่คล้ายทหาร
ปฏิบัติการอยู่บนเรือ ในขณะที่สหรัฐฯ กล่าวถึงยุทธศาสตร์การรักษาอำ�นาจ
อธิปไตยทางทะเลของจีนว่า การดำ�เนินกิจกรรมต่างๆ ของจีนในทะเลจีนใต้
แสดงให้เห็นว่า จีนเป็นประเทศที่ไม่น่าไว้วางใจ เนื่องจากการดำ�เนินการ
ดังกล่าว ก่อให้เกิดความขัดแย้งจนกลายเป็นกรณีพิพาท ประเทศต่างๆ ใน

china/2009-04/25/content_7716335.htm. [3 March 2013].


68
Ibid.

การขยายบทบาททางทหารของจีนในทะเลจีนใต้ 70
อาเซียนจึงควรเพิ่มความร่วมมือเพื่อแก้ไขปัญหาความขัดแย้งในทะเลจีนใต้
อย่างไรก็ดี จีนอาจมองว่าการกระทำ�ดังกล่าวเป็นการต่อต้านจีน
การแผ่ขยายอิทธิพลในภูมิภาคของจีนมีมาอย่างยาวนานกว่า 80
ปีโดยผ่านการวางแผนอย่างรอบคอบ ดังนั้น กรณีพิพาทต่างๆ ที่เกิดขึ้น
ในทะเลจีนใต้ อาจจะลามมาสู่มหาสมุทรอินเดียที่ซึ่งจีนกำ�ลังก้าวเข้ามามี
อิทธิพลและมีผลประโยชน์อันสำ�คัญยิ่งมากขึ้น ได้แก่ ทรัพยากรน้ำ�มันและ
แร่ธาตุบนในทะเล เพราะคู่กรณีในทะเลจีนใต้ก็มีอิทธิพลอยู่ในมหาสมุทร
อินเดียเช่นกัน สหรัฐฯ จึงเกรงว่าการที่จีนกำ�ลังขยายบทบาทในมหาสมุทร
อินเดียนี้ อาจเป็นการวางแผนอย่างรอบคอบและอาจนำ�วิถีทางแก้ปัญหา
ผลประโยชน์ของจีนในทะเลจีนใต้มาใช้กับมหาสมุทรอินเดียก็ได้
สำ � หรั บ ออสเตรเลี ย ซึ่ ง เป็ น ประเทศหนึ่ ง ที่ มี ค วามใกล้ ชิ ด กั บ
สหรัฐฯ มาช้านานนับตั้งแต่สหราชอาณาจักรเริ่มถอยออกไปจากเอเชียหลัง
ยุคอาณานิคมเมื่อปี ค.ศ. 1942 ซึ่งต่อมาความสัมพันธ์ระหว่างออสเตรเลีย
กับสหรัฐฯ ก็มีความแนบแน่นมากยิ่งขึ้นเมื่อสหรัฐฯ ออสเตรเลีย และ
นิวซีแลนด์ ได้ร่วมกันลงนามในสนธิสัญญาพันธมิตรทางทหารภายใต้กติกา
สัญญาแอนซัส (Australia, New Zealand and the United States
Treaty: ANZUS) และออสเตรเลียเป็นประเทศที่เข้าสู้รบเคียงบ่าเคียง-
ไหล่กับสหรัฐฯ ในสมรภูมิใหญ่ๆ นับตั้งแต่สงครามโลกครั้งที่ 2 เป็นต้นมา
ออสเตรเลียซึ่งมียุทธศาสตร์ที่ในการเสริมสร้างกำ�ลังกองทัพโดยจะพึ่งพา
ตนเองเป็นหลัก เพื่อป้องปรามและเอาชนะข้าศึกที่จะเข้าโจมตีออสเตรเลีย
นอกจากนี้ยังจะปกป้องเส้นทางคมนาคมและการเดินเรือของตนนโยบายใน
การป้องกันประเทศของออสเตรเลีย จึงไม่ใช่เชิงรับ (Defensive) หรือ
ตอบโต้การรุกรานแต่เพียงอย่างเดียว69 หากแต่ออสเตรเลียจะเตรียมตัว
เพื่อป้องกันตนเองและโจมตี ฐานทัพของฝ่ายตรงข้าม เพื่อป้องกันไม่ให้รุก
เข้าสู่ออสเตรเลียได้ และจะพยายามขัดขวางไม่ให้ ฝ่ายตรงข้ามก่อสงคราม
69
Commonwealth of Australia, “Defending Australia in the Asia Pa-
cific Century: Force 2030,” Australian Defense White Paper. (Canberra: De-
partment of Defence, 2009), p. 53.

71 การขยายบทบาททางทหารของจีนในทะเลจีนใต้
โดยจะทำ�ให้ฝ่ายตรงข้ามตระหนักว่า หากก่อสงครามขึ้นกับออสเตรเลีย ก็
จะได้รับบทเรียนราคาแพงเป็นการตอบแทน ดังนั้น ทะเลจีนใต้ ซึ่งเป็น
ทะเลหน้าด่านของออสเตรเลีย จึงเป็นพื้นที่ ที่มีความสำ�คัญต่อออสเตรเลีย
ทั้งในด้านความมั่นคงและเศรษฐกิจ ทำ�ให้จีนถูกจับตามองจากออสเตรเลีย
อยู่ตลอดเวลา ในปัจจุบันออสเตรเลียได้มุ่งเน้นความสนใจไปที่ การเสริม-
สร้างกำ�ลังทางเรือ โดยในกลางทศวรรษที่ 2030 ออสเตรเลีย จะมีกำ�ลัง
ทางเรือที่เข้มแข็งขึ้น โดยจะเพิ่มขนาดของกองกำ�ลังเรือดำ�น้ำ�เป็น 2 เท่า
คือจะมีเรือดำ�น้ำ�ใหม่ 12 ลำ� เข้ามาแทนที่ เรือดำ�น้ำ�ชั้น Collins 6 ลำ� ที่
ประจำ�การอยูใ่ นขณะนี้ ประกอบกับโครงการจัดหาเรือฟริเกตปราบเรือดำ�น้�ำ
ทดแทนเรือฟริเกตชั้น ANZAC เพิ่มขีดความสามารถในการทำ�สงคราม
ไกลฝั่ง คุ้มครองแนวเขตแดนทางทะเล และล่าทำ�ลายทุ่นระเบิด เพื่อพร้อม
ปฏิบัติการในพื้นที่ต่างๆ รวมทั้งในทะเลจีนใต้ โดยออสเตรเลียได้พยายาม
สร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับอินเดียและกำ�ลังขยายตัวไปยังประเทศต่างๆ ใน
ภูมิภาคอีกด้วย เช่น ความร่วมมือกันต่อต้านและปราบปรามเครือข่ายการ
ก่อการร้ายในประเทศ ความร่วมมือทางทหารที่มากขึ้น และช่วยเหลือในการ
เสริมสร้างขีดความสามารถด้านต่างๆ โดยเน้นนโยบายที่มีความมุ่งมั่นที่จะ
ดำ�รงไว้ซึ่งสันติภาพและความมั่งคงของภูมิภาค ป้องกันการเสริมสร้างอาวุธ
ทำ�ลายล้างสูง70 และช่วยเหลือให้โลกสามารถเข้าถึงแหล่งพลังงานสำ�รอง
ในตะวันออกกลางได้ และตะวันออกกลางนับเป็นพื้นที่ที่ออสเตรเลียได้ส่ง
กำ�ลังทางเรือเข้าปฏิบัติการอย่างต่อเนื่องนับตั้งแต่ปี ค.ศ. 1991 เป็นต้นมา
อินเดีย ความทะเยอทะยานทางการเมืองของอินเดียที่จะก้าวออก
ไปไกลเกินกว่ามหาสมุทรอินเดีย ตามยุทธศาสตร์ “Look East Policy”
ของอินเดียที่มีต่ออาเซียน (ASEAN) โดยอินเดียจะมุ่งเน้นความร่วมมือ
ทางเศรษฐกิจกับอาเซียนที่อาจจะขยายตัวไปสู่การเมืองและความมั่นคง
ทั้งนี้ความร่วมมือระหว่างอินเดียและอาเซียนตามยุทธศาสตร์ “Look East
70
David Walgreen, “China in the Indian Ocean Region: Lessons in
PRC Grand Strategy,” Comparative Strategy. (Virginia: Missouri State Univer-
sity, 2006), p. 59.

การขยายบทบาททางทหารของจีนในทะเลจีนใต้ 72
Policy” นี้ จะเป็นความร่วมมือด้านการต่อต้านการก่อการร้าย ความมั่นคง
ทางทะเล และการต่อสู้กับอาชญากรรมข้ามชาติ โดยทั้งหมดเป็นส่วนหนึ่ง
ของยุทธศาสตร์ของอินเดียที่ต้องการควบคุมมหาสมุทรอินเดีย โดยเฉพาะ
อย่างยิ่งช่องแคบมะละกา ส่งผลให้จีนมีความกังวลเกี่ยวกับการขยายภารกิจ
และขีดความสามารถของกองทัพเรือออกไปไกลจากชายฝั่งมากขึ้นเป็นการ
ปฏิบตั กิ ารโพ้นทะเล (Blue Water Navy) ซึง่ วัตถุประสงคใ์ นการปฏิบตั -ิ
การทางเรือของอินเดีย ได้แก่
1) การป้องกันประเทศ การป้องกันชายฝั่ง และการควบคุมเขต-
เศรษฐกิจจำ�เพาะ
2) การควบคุมพื้นที่ชายฝั่งที่อยู่ติดกับประเทศเพื่อนบ้าน
3) การควบคุมทะเลจากช่องแคบฮอร์มุซถึงช่องแคบมะละกาใน
ยามสงบ และการมีความสามารถในการปิดล้อม chokepoints ได้อย่าง
มีประสิทธิภาพในยามสงคราม
4) การจัดตั้งกองเรือที่มีความสามารถออกทะเลได้ระยะเวลานานๆ
(Oceangoing) สามารถแสดงกำ�ลังได้ไกลถึงมหาสมุทรแอตแลนติก ผ่าน
แหลมกู๊ดโฮป (Cape of Good Hope) และผ่านมหาสมุทรแปซิฟิกสู่
ทะเลจีนใต้

ï สรุป ï

ภายใต้ ก ารดำ � เนิ น นโยบายปฏิ รู ป ตามเป้ า หมายหลั ก ของจี น ที่


มุ่งเน้นการพัฒนาเศรษฐกิจตามแนวนโยบายสี่ทันสมัย ได้แก่ การพัฒนา
ด้านเกษตรกรรม ด้านอุตสาหกรรม ด้านการทหาร ด้านวิทยาศาสตร์และ
เทคโนโลยีอย่างต่อเนื่อง โดยได้เห็นความสำ�คัญถึงผลประโยชน์ของชาติ
ทางทะเลมากขึ้น เพราะทะเลเป็นแหล่งก่อเกิดถึงรายได้และความเจริญ-
รุ่งเรืองของประเทศอย่างมหาศาล การที่จะทำ�ให้การแสวงประโยชน์จาก
ทะเลได้อย่างเต็มที่นั้น จำ�เป็นต้องมีการเสริมสร้างอำ�นาจของชาติให้อยู่ใน
ระดับที่สามารถแข่งขันกับประเทศอื่นๆ ได้ โดยจีนได้พัฒนาองค์ประกอบ

73 การขยายบทบาททางทหารของจีนในทะเลจีนใต้
ที่เสริมสร้างความมั่งคั่ง คือ กำ�ลังรบทางทะเล ที่จะต้องออกไปปกป้อง
ผลประโยชน์ของชาติและเขตเศรษฐกิจสำ�คัญที่จีนอ้างในทะเลจีนใต้ที่มี
การพิพาทต่างๆ เช่น ไต้หวัน หมู่เกาะพาราเซล หมู่เกาะสแปรตลีย์ รวม-
ทั้งต้องการพัฒนาขีดความสามารถของกำ�ลังรบทางทะเลให้ก้าวหน้ากว่า
ประเทศอื่นๆ ในเอเชีย เพื่อเป็นเครื่องมือในการป้องปรามและถ่วงดุล
อำ�นาจในภูมิภาคเอเชีย จึงทำ�ให้จีนได้พัฒนากำ�ลังรบทางทะเลทั้งด้าน
ปริมาณและคุณภาพ โดยจีนมีการสร้างเสริมกำ�ลังรบทางทะเลในลักษณะ
พึ่งพาตนเอง ควบคู่ด้วยการจัดหาอาวุธยุทโธปกรณ์จากต่างประเทศเป็น
จำ�นวนมาก
จีนกำ�หนดยุทธศาสตร์ความมั่นคงทางทะเล เป็นยุทธศาสตร์การ
ป้องกันไกลฝั่ง มีเป้าหมายที่จะพัฒนากำ�ลังรบทางทะเลให้มีขีดความ-
สามารถสูงและทันสมัย และมีแผนพัฒนากองทัพเรืออย่างเป็นขั้นตอนตาม
ระยะเวลาอย่างต่อเนื่อง โดยกำ�ลังรบทางทะเลของจีนจะมีขีดความสามารถ
ปฏิบัติการได้ครอบคลุม The First Island Chain และ The Second
Island Chain รวมถึงไปในพื้นที่ที่มีกรณีพิพาทในทะเลจีนใต้ ภายในปี
ค.ศ. 2020 ทั้งนี้เพื่อที่ในอนาคตกำ�ลังรบทางทะเลของจีนจะมีขีดความ-
สามารถก้าวเป็นกองเรือทะเลลึก (Blue Water Navy) เพราะจีนเชื่อ
ว่าเมื่อเศรษฐกิจและอำ�นาจทางทะเลของจีนมีความเข้มแข็งแล้ว จะไม่มี
ชาติใดกล้าท้าทายผลประโยชน์ทางทะเลของจีน เป็นการป้องปรามโดยไม่
จำ�เป็นต้องใช้กำ�ลังในการแก้ปัญหา โดยกำ�ลังรบทางทะเลที่เข้มแข็งจะเป็น
เครื่องมือในการถ่วงดุลอำ�นาจกับประเทศต่างๆ ในภูมิภาคนี้ โดยมีแนว-
ความคิดในการปฏิบัติทางยุทธศาสตร์ 4 ประการ คือ การป้องปราม การ
ป้องกันทางลึก การแผ่กำ�ลังอำ�นาจทางทะเล และการแสดงกำ�ลังทางเรือ
ดังนั้นแล้ว ยุทธศาสตร์ความมั่นคงทางทะเลจึงถือเป็นสิ่งที่จีนต้อง
ปฏิบัติให้บรรลุผลสำ�เร็จ เพื่อเป็นหลักประกันในการใช้ประโยชน์จากทะเล
ทั้งการคมนาคมขนส่ง การแสวงหาทรัพยากร และการปฏิบัติการทางทหาร
ซึ่งจะนำ�ไปสู่ความสำ�เร็จในการมีกำ�ลังอำ�นาจทางทะเล การควบคุมทะเล
และขัดขวางการใช้ทะเลของฝ่ายตรงข้าม การที่จีนสร้างเสริมกำ�ลังทางเรือ

การขยายบทบาททางทหารของจีนในทะเลจีนใต้ 74
และอำ�นาจทางทะเลอย่างรวดเร็วทั้งปริมาณและคุณภาพ ทำ�ให้ประเทศ
ต่างๆ โดยเฉพาะประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งมีพื้นที่ทางทะเล
ติดต่อกับจีน และมีปัญหาขัดแย้งในเรื่องการอ้างกรรมสิทธิ์เหนือทะเลจีนใต้
ซึ่งบริเวณนี้เป็นพื้นที่ที่มีความสำ�คัญทางยุทธศาสตร์ เพราะอยู่ใกล้เส้น-
ทางคมนาคมทางทะเลหลักที่จะเป็นทางผ่านระหว่างมหาสมุทรอินเดียกับ
มหาสมุทรแปซิฟิก ซึ่งเป็นพื้นที่สำ�คัญด้านความมั่นคงและยังเป็นเส้นทาง
ลำ�เลียงน้ำ�มันที่สำ�คัญในภูมิภาค อีกทั้งเป็นแหล่งทรัพยากรที่สำ�คัญทาง
เศรษฐกิจมีทั้งน้ำ�มันและก๊าซธรรมชาติ จึงทำ�ให้ประเทศในเอเชียตะวัน-
ออกเฉียงใต้เกิดความวิตกกังวลเกี่ยวกับวัตถุประสงค์ทางทหารที่แท้จริงของ
จีน และหวาดระแวงในการสร้างเสริมกำ�ลังรบทางทะเลของจีน ว่าอาจจะ
เป็นภัยคุกคามต่อความมั่นคงในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งจะนำ�ไปสู่ความ
ไม่แน่นอนของความมั่นคง (Security Dilemma) และความเสี่ยงที่จะ
เกิดความเข้าใจผิดทางทหารในภูมิภาคนี้ได้ รวมทั้งเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำ�ให้
ประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เพิ่มงบประมาณทางทหารในการจัดซื้อ
อาวุธยุทโธปกรณ์ทางทหารมากขึ้น เนื่องจากกลัวภัยคุกคามจากจีน โดย
เฉพาะประเทศที่มีความขัดแย้งในการอ้างกรรมสิทธิ์เหนือทะเลจีนใต้กับจีน
อย่างไรก็ตาม จีนต้องการแสวงหาแนวร่วมจากประเทศในเอเชีย
ตะวันออกเฉียงใต้ เพื่อต่อต้านแรงกดดันจากประเทศมหาอำ�นาจอื่น ที่
พยายามเข้ามามีบทบาทในการรักษาสภาพแวดล้อมระหว่างประเทศให้มี
เสถียรภาพ ไม่ต้องการให้ประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เกิดความ-
รู้สึกหวาดระแวงจีน ซึ่งอาจจะเป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาประเทศของจีน
ได้ในระยะยาว เพราะภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มีความสำ�คัญต่อจีน
หลายด้าน มีความก้าวหน้า และมีพลวัตทางเศรษฐกิจสูง จีนจำ�เป็นต้องปรับ
นโยบายต่างประเทศไม่ให้ประเทศต่างๆ ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้คิดว่า
จีนเป็นภัยคุกคาม โดยดำ�เนินยุทธศาสตร์ที่ยึดหลักความเชื่อถือไว้วางใจ
หันมาร่วมมือกับจีนในลักษณะการเป็นหุ้นส่วนทางยุทธศาสตร์เพื่อให้ได้
ผลประโยชน์ร่วมกัน ซึ่งมีความสำ�คัญต่อการพัฒนาเศรษฐกิจของจีนเป็น
อย่างยิ่ง

75 การขยายบทบาททางทหารของจีนในทะเลจีนใต้
หากพิจารณาจากนโยบายความมั่นคง นโยบายต่างประเทศ และ
ยุทธศาสตร์ความมั่นคงทางทะเลของจีน จะเห็นว่าในภาพรวมการพัฒนา
กำ�ลังรบทางทะเลของจีนยังไม่มีผลกระทบด้านความมั่นคงในเอเชียตะวัน-
ออกเฉียงใต้ เนื่องจากจีนไม่มีความมุ่งหมายที่จะคุกคามต่อความมั่นคง
ของประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และจีนได้เพิ่มความโปร่งใสใน
ด้านการทหารของตนมากขึ้น ด้วยการเผยแพร่เอกสารการป้องกันประเทศ
และได้มีการเพิ่มระดับความร่วมมือกับประเทศสมาชิกอาเซียนด้วยการทำ�
ข้อตกลง ด้านความมั่นคงทั้งในระดับทวิภาคีและพหุภาคี รวมทั้งจีนได้
แสดงท่าทีประนีประนอมด้วยการประกาศว่าจะไม่ใช้กำ�ลังในการแก้ปัญหา
ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และจะไม่นำ�เรื่องอำ�นาจอธิปไตยเหนือหมู่เกาะ
สแปรตลีย์มาเจรจากันในการสร้างความร่วมมือด้านความมั่นคงระหว่าง
ประเทศในอาเซียนกับจีน โดยจีนได้ใช้เวทีระหว่างประเทศในการแก้ไข
ปัญหาความขัดแย้งด้วยการเจรจาโดยสันติวิธี มีกลไกต่างๆ ในการดำ�เนิน-
การ เช่น การให้ปฏิญญาทะเลจีนใต้ (Declaration on the South
China Sea) ในปี ค.ศ. 1992 การเข้าร่วมใน ASEAN Regional
Forum (ARF) ของจีนในปี ค.ศ. 1994 การลงนามในปฏิญญาว่าด้วย
วิถีปฏิบัติของฝ่ายที่เกี่ยวข้องในทะเลจีนใต้ (Declaration on the
Conduct of Parties in the South China Sea) ในปี ค.ศ. 2002
และจีนยอมรับสนธิสัญญาไมตรีและความร่วมมือในเอเชียตะวันออกเฉียง-
ใต้ (Trinity of Amity and Corporation-TAC) ในปี ค.ศ.
2003 รวมทั้งยังมีความร่วมมือในระดับผู้นำ�กองทัพเรือในภูมิภาคแปซิฟิก
ตะวันตก (Western Pacific Naval Symposium-WPNS) โดย
มีวัตถุประสงค์เพื่อเพิ่มความร่วมมืออย่างใกล้ชิดระหว่างกองทัพเรือของ
ประเทศในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก ผลการศึกษาพบว่า การเข้าร่วมมือ
ของจีนกับประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เป็นไปตามมาตรการสร้าง
ความเชื่อถือไว้วางใจ และแนวความคิดการสร้างความร่วมมือด้านความ-
มั่นคงในภูมิภาค เพราะจีนต้องการลดความหวาดระแวงของประเทศใน
เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งเป็นผลมาจากท่าทีที่แข็งกร้าวในปัญหาหมู่เกาะ

การขยายบทบาททางทหารของจีนในทะเลจีนใต้ 76
สแปรตลีย์ และการพัฒนากำ�ลังรบทางทะเลของจีน รวมทั้งประเทศใน
เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ได้ร่วมมือกันสร้างความมั่นคงในภูมิภาค เพื่อจำ�กัด
การขยายอิทธิพลของจีน จึงเป็นปัจจัยสำ�คัญที่จีนต้องดำ�เนินยุทธศาสตร์ที่
ยึดหลักความเชื่อถือไว้วางใจกับประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และ
พัฒนาการนำ�ไปสู่การสร้างความมั่นคงร่วมกันต่อไป
นอกจากนี้ ประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ได้ใช้โอกาส จาก
การที่จีนเข้ามาร่วมมือในด้านความมั่นคงและด้านเศรษฐกิจในการพัฒนา
เศรษฐกิ จ ของประเทศตนเองให้ ทั น สมั ย เนื่ อ งจากจี น เป็ น ประเทศที่ มี
เศรษฐกิจขนาดใหญ่มปี ระชากรมาก จึงเป็นแหล่งลงทุนทีส่ ำ�คัญของประเทศ
ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ซึ่งจะเห็นได้ว่าความร่วมมือกันอย่างมากเป็นผล
มาจากแรงผลักดันของความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ โดยเน้นประเด็นทาง
เศรษฐกิจมากกว่าความมัน่ คงทางทหาร จึงทำ�ให้เกิดกระบวนการพึง่ พาอาศัย
กัน เพื่อให้ได้รับผลประโยชน์ร่วมกันทุกฝ่าย อย่างไรก็ตาม ความร่วมมือ
ในการแก้ปัญหาด้านความมั่นคงระหว่างจีนกับประเทศในเอเชียตะวันออก
เฉียงใต้ ยังไม่ประสบความสำ�เร็จเท่าที่ควรด้วยปัจจัยหลายประการ ทั้งนี้
ความร่วมมือในระดับพหุภาคีจะประสบความสำ�เร็จน้อยกว่าความร่วมมือ
ในระดับทวิภาคีนอกจากนั้นยังมีประเด็นเกี่ยวกับ ความรู้สึกละเอียดอ่อน
ต่ออำ�นาจอธิปไตย ความรู้สึกละเอียดอ่อนทางการเมือง ลักษณะของความ
ร่วมมือ ข้อจำ�กัดเรื่องงบประมาณ ขีดความสามารถของกำ�ลังรบทางทะเล
และเหตุผลเรือ่ งความมัน่ คงของชาติซึง่ ทำ�ให้การเจรจาแก้ปญ
ั หาด้านความ-
มั่นคงในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ยังต้องใช้เวลา รวมทั้งความมุ่งมั่นของจีน
และประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ในการให้ความร่วมมืออย่างจริงใจ
เพื่อที่ทุกฝ่ายได้ผลประโยชน์ร่วมกัน อันจะนำ�ไปสู่ความมั่นคงในภูมิภาค
ต่อไป



77 การขยายบทบาททางทหารของจีนในทะเลจีนใต้
ï บรรณานุกรม ï

เกตุ สันติเวชชกุล, พลเรือเอก. “ทฤษฎีสมุททานุภาพ,” เอกสารประกอบ


การบรรยาย วิทยาลัยการทัพเรือ, พ.ศ. 2523.
โกมุท กมลนาวิน, พลเรือเอก. “ทฤษฎีสมุททานุภาพ,” เอกสารประกอบ
การบรรยาย วิทยาลัยการทัพเรือ, พ.ศ. 2540.
กรมข่าวทหารเรือ. เอกสารประกอบการบรรยายสรุปเรื่อง “สาธารณรัฐ
ประชาชนจีน,” การประชุมสัมมนาการปฏิบัติงานและประสบการณ์
ผู้ช่วยทูตทหารเรือ ประจำ�ปีงบประมาณ 2551.
กรมข่าวทหารเรือ. เอกสารประกอบการบรรยายสรุปเรื่อง “สาธารณรัฐ
ประชาชนจีน,” การประชุมสัมมนาการปฏิบัติงานและประสบการณ์
ผู้ช่วยทูตทหารเรือ ประจำ�ปีงบประมาณ 2554.
เขียน ธีระวิทย์. นโยบายต่างประเทศจีน. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ:
สำ�นักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัยและศูนย์จีนศึกษา สถาบันเอเชีย
ศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2541.
เขียน ธีระวิทย์. จีนในศตวรรษที่ 21: สรรนิพนธ์เรื่อง จีนช่วงปี ค.ศ.
1999-2005. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ: สำ�นักพิมพ์มติชน, 2549.
โคริ น เฟื่ อ งเกษม. แนวคิ ด และทฤษี ค วามสั ม พั น ธ์ ร ะหว่ า งประเทศ.
กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2548.
เฉียนชีเชิน (เขียน), อาทร ฟุ้งธรรมสาร (แปล). สถานการณ์โลกกับการ
ทูตจีน. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ: สำ�นักพิมพ์มติชน, 2554.
ช่อฉัตร กระเทศ, พลเรือตรี. “จีนกับมหาสมุทรอินเดีย,” จุลสารความ
มั่นคงศึกษา. ฉบับที่ 115-116 (ตุลาคม 2555) กรุงเทพฯ: สแควร์
ปริ๊นซ์ 93, 2555.
ธีระยุทธ นอบน้อม, นาวาเอก. “ปัญหาทะเลจีนใต้กับผลกระทบด้านความ-
มั่นคงของไทย,” บทความทางวิชาการ นักศึกษาวิทยาลัยการทัพ-
เรือ รุ่นที่ 45, กองทัพเรือ 2556.
ธีระ นุชเปี่ยม. “จีนกับเอเชียตะวันออกเฉียงใต้,” ใน ประทุมพร วัชร-

การขยายบทบาททางทหารของจีนในทะเลจีนใต้ 78
เสถี ย ร และไชยวั ฒ น์ คํ้ า ชู , จี นในโลกที่ กำ � ลั ง เปลี่ ย นแปลง.
กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2542.
ธีระ นุชเปี่ยม. “เอเชียยุคหลังสงครามเย็น,” เอเชียปริทัศน์. 2 พฤษภาคม
2535.
โรแซนน์ เกอริน. “จีนเพิ่มงบประมาณค่าใช้จ่ายทางการทหารปี 2556,”
[Online]. Available from: http://apdforum.com/
th/article/rmiap/articles/online/features/2013/03/15/
china-military-budget [27 March 2013].
โรแซนน์ เกอริน, “จีนใฝ่ฝันพัฒนากองทัพเรือน่านน้ำ�สีคราม,” [Online].
Available from: http://apdforum.com/th/article/
rmiap/articles/online/features/2013/01/29/china-blue-
water [29 January 2013].
วรศักดิ์ มหัทธโนบล. “จีนกับเศรษฐกิจการเมืองโลก 2010,” เอกสารประกอบ
การบรรยายในโครงการอบรมทางวิชาการ ณ หอประชุมจุฬาลงกรณ-์
มหาวิทยาลัย เมษายน 2545.
วรศักดิ์ มหัทธโนบล. จีนในกระแสโลกาภิวัตน์. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ:
Openbooks, 2550.
สถาบันวิชาการป้องกันประเทศ. “จีนเสริมสร้างศักยภาพของกองทัพเรือ
เพื่อรองรับผลประโยชน์ทางทะเล,” 2 มิถุนายน 2554.
วิบูรณ์ ตั้งกิจภาภรณ์, “นโยบายความมั่นคงของจีนในโลก 3 ยุค: จีน
กับความมั่นคงโลก,” กองวิชาประวัติศาสตร์ โรงเรียนนายร้อย
พระจุลจอมเกล้า, 16 กันยายน 2548.
วิศาล ปัณฑวังกูร,นาวาเอก, “สาธารณรัฐประชาชนจีนกับความมั่นคงทาง
ทะเลของไทยในทศวรรษหน้า” เอกสารประจำ�ภาค วิทยาลัยการ
ทัพเรือ รุ่นที่ 39.
สำ�นักงานคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ. “ทะเลจีนใต้และหมู่
เกาะสแปรทลีย์ ชนวนแห่งความขัดแย้งด้านสิทธิครอบครอง,”
วารสารนโยบายพลังงาน. 51 (มกราคม-มีนาคม 2544) . [On

79 การขยายบทบาททางทหารของจีนในทะเลจีนใต้
line]. Available from: http://www.eppo.go.th/vrs/
VRS51-07-Spratly.html [20 March 2013].
สำ� นั ก งานผู้ ช่ ว ยทูตทหารไทย-ปัก กิ่ง, “รายงานการพั ฒ นาข้ อพิ พ าทใน
ทะเลจีนใต้,” 8 สิงหาคม 2555.
สมบูรณ์ เนียมลอย, นาวาเอก. “ยุทธศาสตร์ทางทะเล,” เอกสารประกอบ
การบรรยาย วิทยาลัยการทัพเรือ, พ.ศ. 2524.
สุทธิชัย หยุ่น. “จีนเพิ่มงบทหาร มะกันปรับลด...นี่คือ สงครามอุ่นๆ รอบ
ใหม่,” กรุงเทพธุรกิจ. 6 มีนาคม 2555.
สุรชาติ บำ�รุงสุข, ค.ศ. 2000: ยุทธศาสตร์โลกหลังสงครามเย็น. กรุงเทพฯ:
มติชน, 2537.
AFP. “String of Pearls Military Plan to Protect China’s
Oil: US Report,” [Online]. Available from: http://
www.spacewar.com/2005/050118111727.edxbwxn8.html
Bateman, Sam and Joshua Ho. Southeast Asia and the
Rise of Chinese and Indian Naval Power: Between
Rising Naval Power. New York: Routledge, 2010.
Bateman, Sam. “The South China Sea: When the Elephant
Dance,” [Online]. 2011. Available from: http://www.
rsis.cdu.sg/publications/Perspective/RSIS0912010.pdf
[2 October 2012].
Buckley, Chris. “China Boosts Defense Budget 11 Percent
after U.S. “Pivot,”” [Online]. Available from: http://
www.reuters.com/article/2012/03/04/us-china-de-
fence- [24 April 2012].
“China’s String of Pearls,” [Online]. Available from: http://
www.marinebuzz.com/marinebuzzuploads/Week-
endViewUpdatedChineseStringofPearls_AC3/Chi-
nese_string_of_pearls.jpg [30 March 2013].

การขยายบทบาททางทหารของจีนในทะเลจีนใต้ 80
“China Fleet,” [Online]. 2013. Available from: http://eng-
lish.chinamil.com.cn/site2/special-reports/2009-01/07/
content_1610562.htm. [4 April 2013].
China Daily Online. “Chinese President Urges Further
Modernization of PLA Navy,” [Online]. 2013. Avail-
able from: http://www.chinadaily.com.cn/china/2009/
content_7716335.htm. [3 March 2013].
China Ministry of Foreign Affairs. “China’s View on the
Current International Situation,” [Online]. 2006. Avail-
able from: http://www.fmprc.gov.cn/eng/ljzg/3584/
t17921.htm [18 August 2012].
Commonwealth of Australia, “Defending Australia in the
Asia Pacific Century: Force 2030,” Australian Defense
White Paper. Canberra: Department of Defence, 2009.
Dewan, Sandeep. “Chinese Navy: From Coastal To Far Sea
Defense,” [Online]. Available from: http://www.
eurasiareview.com/11052010-chinese-navy-from-
coastal-to-far-sea-defence/ [12August 2012].
Embassy of the People’s Republic of China in the United
States of America, “Main Characteristics of China’s
Foreign Policy,” [Online]. Available from: http://
www.china-embassy.org/eng..htm [20 December 2012].
Fravel, M. Taylor. “Power Shifts and Escalation: Explaining
China’s Use of Force in Territorial Disputes,” In-
ternational Security. 32, 3 (Winter 2007/08).
Geng, Lixin. “Sino-Myanmar Relations: Analysis and
Prospects,” [Online]. Available from: http://www.
international-relations.com/CM7-2WB/Sino-Myan-

81 การขยายบทบาททางทหารของจีนในทะเลจีนใต้
mar.htm [28 February 2013].
Goodman, David S. G. and Gerald Segal. China Rising:
Nationalism and Interdependence. London: Rout-
ledge, 2010.
Hickley, Matthew. “Chinese Sub Pops Up Undetected Near
U.S.S. Kitty Hawk During Exercise,” National Terror
Alert. [Online]. 2007 Available from: http://www.
nationalterroralert.com/updates/2007/11/10/chinese-
sub-pops-up-undetected-nearuss-kitty-hawk-dur-
ing-exercise/ [20 November 2012].
Ho Khai Leong and Samuel C. Y. Ku. China and Southeast
Asia: Global Changes and Regional Challenges.
Singapore: Institute of Southeast Asian Studies, 2005.
Information Office of the State Council of the People’s
Republic of China. China National Defense 2010.
31 March 2011.
International Institute for Strategic Studies. The Military
Balance 2007. London: Routledge Taylor and Francis
Group, 2007.
International Institute for Strategic Studies. The Military
Balance 2009. London: Routledge Taylor and Francis
Group, 2009.
International Institute for Strategic Studies. The Military
Balance 2010. London: Routledge Taylor and Francis
Group, 2010.
International Institute for Strategic Studies. The Military
Balance 2011. London: Routledge Taylor and Francis
Group, 2011.

การขยายบทบาททางทหารของจีนในทะเลจีนใต้ 82
International Institute for Strategic Studies. The Military
Balance 2012. London: Routledge Taylor and Francis
Group, 2012.
Kivimaki. Timo, (ed.). War or Peace in the South China
Sea. Denmark: Nordic institute of Asian Studies,
2002.
Kostecka, Daniel J. “Places and Bases: The Chinese Navy’s
Emerging Support Network in the Indian Ocean,”
Naval War College Review. 64 (Winter 2011).
Lehman Brothers, “Global Oil Choke Points,” New York:
Lehman Brothers Inc., 2008.
Li Jijun, “Traditional Military Thinking and the Defensive
Strategy of China,” [Online]. Available from: http://
www.fas.org/ nuke/guide/china/doctrine/china-li.pdf
[12 February 2012].
Lu Ning, Flashpoint Spratlys. Singapore: Dolphin Trade
Press, 1995.
Luft, Gal. “Fueling the Dragon: China Race into the Oil
Market,” [Online] 2013. Available from: http://www.
iags.org/china.htm [7 February 2013].
Magno, Francisco A. “Environmental Security in the South
China Sea,” Security Dialogue. 28, 1 (1997).
Moreau, Ron. “Hello, Vietnam,” Newsweek. June 10, 1991.
Odgaard, Liselotte. Maritime Security between China and
Southeast Asia: Conflict and Cooperation in the
Making of Regional Order. United Kingdom: Ash-
gate, 2002.
Office of Naval Intelligence U.S. Navy, China’s Navy 2007.

83 การขยายบทบาททางทหารของจีนในทะเลจีนใต้
[Online]. Available from: http://www.fas.org/irp/
agency/oni/chinanavy2007.pdf
Pehrson, Christopher J. “String of Pearls: Meeting the
Challenge of China’s Rising Power across the Asian
Littoral,” Research Strategic Studies Institute, United
State of America, July 2006.
People’s Daily, “China’s Foreign Policy,” [Online]. Avail-
able from: http://pcopledaily.com.cn/ [28 February
2013].
People’s Daily Online. “China Concludes Celebration of
Navy Anniversary with Grand Fleet Review,” [On-
line]. 2013. Available from: http://english.people.com.
cn/90001 /90776/90785/6643759.html. [3 March 2013].
People’s Daily Online. “China PLA Navy Urged to Beef
Up Muscle for National Security,” [Online].
2013. Available from: http://english.people.com.cn/
90001/90776/90785/6645094.html. [3 March 2013].
San Pablo-Baviesa, Alieen. “The Kalayaan Island in Philip-
pines Policy,” Panorama. 2, 1999.
“The Largest Container Ports Worldwide,” [Online]. 2013.
Available from: http://www.statista.com/statistics, [2
March 2013].
Toledo, Ahmed. “A Century of Wrangling Yields No Clear
Claim,” The Nation. April 1994, A13.
Tran, David. “China Shipbuilding on Top in Number,”
Vietnam Maritime Social Network. [Online]. 2013.
Available from: http:// www.vinamaso.net/news-
events/shipbuilding-repair/china-shipbuilding-on-

การขยายบทบาททางทหารของจีนในทะเลจีนใต้ 84
top-in-number.html, [3 February 2013].
Tran, Hoong Kin. Economy of Vietnam: Reviews and
Statistics. Hanoi: Statistic Publishing House, 1992.
U.S. Department of Defense, Annual Report of Congress:
Military Power of People’s Republic of China 2009.
Washington: Office of the Secretary of Defense, 2009.
U.S. Energy Information Administration, “Strait of Ma-
lacca,” [Online]. Available from: http://205.254.135.7/
countries/regions-topics-cfm?fips=WOTC [28 Febru-
ary 2013].
Valencia, Mark J. Southeast Asian Oil under Trouble Wa-
ters. Singapor: Oxford University Press, 1985.
Voice TV, “เผย ปี 2573 เศรษฐกิจจีน จะแซงหน้าสหรัฐ,” [Online].
Available from: http://news.voicetv.co.th/busi-
ness/6696.html [22 February 2013].
Walgreen, David. “China in the Indian Ocean Region:
Lessons in PRC Grand Strategy,” Comparative
Strategy. Virginia: Missouri State University, 2006.
Waltz, Kenneth. Theory of International Politics. London:
Addison-Wesley, 1979.
World Shipping Council, “Top 20 World Container Ports
Trade Statistics,” [Online]. 2013. Available from:
http://www.worldshipping.org /about-the-industry/
global-trade/trade-statistics, [3 February 2013].
Xinhua. “China Navy’s Main Goal Is To Escort Ships dur-
ing Somalia Mission,” January 1, 2009.

85 การขยายบทบาททางทหารของจีนในทะเลจีนใต้

You might also like