You are on page 1of 108

 

 
การควบคุมอุปกรณ์ไฟฟ้าภายในบ้านแบบไร้สายโดยใช้เอ็กบี
Electric Appliance Wireless Control using Xbee 
 
 
 
 
 

นายอาทิตย์ อ่อนสําลี รหัส 55225010151 


นายสันสกฤต คันธี รหัส 55225010157
นายจิรวัฒน์ พุทธิพัฒน์ รหัส 55225010158
 
 
 
 
 
 

ปริญญานิพนธ์นี้เป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตรเทคโนโลยีบัณฑิต 
สาขาวิชาเทคโนโลยีวิศวกรรม แขนงวิชาเทคโนโลยีวิศวกรรมไฟฟ้า 
คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ 
ปีการศึกษา 2558 
 
 
กการควบคุมอุอปกรณ์ไฟฟ้ฟ้าภายในบ้านแบบไร้
น สายยโดยใช้เอ็กบี
Electric Appliance
A Wireless Control
C using Xbee 
 
 
 
 
 

นายอาทิตย์
ต อ่อนสํ
น าลี รหหัส 552225010151 
นายสันสกกฤต คันธี รหหัส 552225010157
นายจิรวัฒน์
ฒ พุทธิพัฒน์ รหหัส 552225010158
 
 
 
 
 
 

ปริญญาานิพนธ์นี้เป็นส่
น วนหนึ่งขอองการศึกษาาตามหลักสูตรเทคโนโลยี
ต ยีบัณฑิต 
สาขขาวิชาเทคโนนโลยีวิศวกรรม แขนงวิชาเทคโนโลยี
ช ยีวิศวกรรมไฟฟฟ้า 
คณ
ณะเทคโนโลลยีอุตสาหกรรรม มหาวิทยาลั
ย ยราชภัฏวไลยอลงก
ฏ รณ์ ในพระบบรมราชูปถัมภ์ 
ปีการศึกษา 25558 
หัวข้อปริญญานิพนธ์ การควบคุมอุปกรณ์ไฟฟ้าภายในบ้านแบบไร้สายโดยใช้เอ็กบี
Electric Appliance Wireless Control using Xbee

ผู้ร่วมโครงการ นายอาทิตย์ อ่อนสําลี รหัส 55225010151


นายสันสกฤต คันธี รหัส 55225010157
นายจิรวัฒน์ พุทธิพัฒน์ รหัส 55225010158

อาจารย์ที่ปรึกษา …………………………………………………
(อาจารย์พีรวัฒน์ อาทิตย์ตั้ง)

ปริญญานิพนธ์ฉบับนี้ผ่านการพิจารณาจากคณะกรรมการ มีรายชื่อดังต่อไปนี้

………………………………………………… …………………………………………………
(ผู้ช่วยศาสตราจารย์สุวิทย์ ฉุยฉาย) (อาจารย์วรพงษ์ ไพรินทร์)

………………………………………………… …………………………………………………
(อาจารย์องอาจ ทับบุรี) (อาจารย์กันยารัตน์ เอกเอี่ยม)

…………………………………………………
(อาจารย์บัญชา วัฒนะ)
 

บทคัดย่อ 
 
โครงงานเทคโนโลยีวิศวกรรมนี้ นําเสนอการควบคุมอุปกรณ์ไฟฟ้าภายในบ้านระยะไกลด้วย
ระบบเครือข่ายไร้สาย Zigbee เพื่ออํานวยความสะดวกสบายมากยิ่งขึ้น ลดการใช้สายไฟฟ้าและวัสดุ
อื่นๆที่เกี่ยวข้องกับการเดินสาย การทํางานจะเริ่มจากมีการสั่งการที่หน้าจอทัชสกรีน (Touch
Screen) เพื่อให้อุปกรณ์ไฟฟ้าเปิด/ปิดและใช้ไมโครคอนโทรลเลอร์ dsPIC เบอร์ 30F4011 เป็นตัว
ประมวลผลและควบคุมการทํางานทั้งหมด มีการสื่อสารข้อมูล รับ-ส่งสัญญาณระหว่างอุปกรณ์ฝั่งแม่
ข่าย (Sever) และฝั่งลูกข่าย (Client) ผ่านโมดูลรับ-ส่งสัญญาณไร้สายXbee-Pro เพื่อไปทําการเปิด-
ปิดหลอดไฟฟ้า และแสดงสถานะการทํางาน ณ ปัจจุบัน ส่งกลับไปแสดงผลยังจอแอลซีดี (LCD) ผล
การทดสอบพบว่า สามารถควบคุมการเปิด-ปิดหลอดไฟฟ้าแบบไร้สายได้ไกลสูงสุดถึง 100 เมตร และ
มีการแสดงผลสถานะการทํางาน สอดคล้องกับที่ได้ทําการออกแบบไว้
 
 
ABSTRACT 
 
This project of engineering technology is proposed the remote control of
household electric equipment with wireless network system, namely Zigbee. The
benefits for this project are to facilitate and gained more comfortable, reduce the
usage of electric cable and other materials related to wiring. The work will begin with
the command from touch screen to open/close the specified electric equipment.
The microcontroller dsPIC30F4011 using as the central processor unit and control all
of system. There is the data communication to receive-transmit signal between
server and client via Xbee-Pro module, for open/close the light bulb. And also
displays the real time operating status back to the LCD. The final result found that
the propose system able to control the household light bulb up to 100 meters and
can be displayed the operating status work fine as designed.


 
กิตติกรรมประกาศ
การดําเนินงานการควบคุมอุปกรณ์ไฟฟ้าภายในบ้านแบบไร้สายโดยใช้เอ็กบี ทางคณะผู้จัดทํา
ขอขอบพระคุณ อาจารย์พีรวัฒน์ อาทิตย์ตั้ง ที่ได้ช่วยให้คําแนะนําเกี่ยวกับการจัดทํารูปเล่มรายงาน
และโปรแกรมการทํางานต่างๆและการเขียนโปรแกรมและเป็นที่ปรึกษา คณะผู้จัดทําขอขอบพระคุณ
เพื่อนๆนักศึกษาทุกคน ที่ให้คําปรึกษาด้านชิ้นงาน การต่ออุปกรณ์ ให้ยืมเครื่องมือวัดทางไฟฟ้าต่างๆ
และช่วยในการอํานวยความสะดวกในการทําการทดลอง ในการสร้างการควบคุมอุปกรณ์ไฟฟ้าภายใน
บ้านแบบไร้สายโดยใช้เอ็กบี นอกจากนี้ยังมีอาจารย์ประจําคณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรมและเจ้าหน้าที่
ประจําคณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรมที่ร่วมให้คําแนะนําปัญหาและสถานที่การจัดทําโครงงาน ทางคณะ
ผู้จัดทําโครงงานจึงขอขอบพระคุณมา ณ ที่นดี้ ้วย

คณะผู้จัดทําโครงงาน

II
สารบัญ 
หน้า 
 
บทคัดย่อ I 
กิตติกรรมประกาศ II 
สารบัญ III 
สารบัญตาราง V 
สารบัญภาพ VI 
บทที่ 1 บทนํา 1 
1.1 ความเป็นมาและความสําคัญของปัญหา 1 
1.2 วัตถุประสงค์ 2 
1.3 เป้าหมาย 2 
1.4 ขอบเขตของโครงงาน 2 
1.5 ขั้นตอนการดําเนินงาน 2 
1.6 ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ 2 
1.7 งบประมาณในการทําโครงการ 3 
บทที่ 2 ทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง 4 
2.1 ระบบเครือข่ายไร้สาย (Wireless LAN Technology) 4
2.2 รูปแบบการเชื่อมต่อของระบบเครือข่ายไร้สาย 5 
2.3 มาตรฐานเครือข่ายไร้สาย 8 
2.4 ระบบโปรโตคอล 10 
2.5 เอ็กบี (Xbee) 14 
2.6 ไมโครคอนโทรลเลอร์ 20
บทที่ 3 ขั้นตอนการดําเนินงาน  
3.1 วงจรด้านแม่ข่าย (Server) 27 
3.2 วงจรด้านลูกข่าย (Client) 55 
3.3 การออกแบบระบบโปโตคอล 60 
3.4 การออกแบบแผ่นปริ้นวงจร ประกอบแผ่นปริ้นวงจรและติดตั้งอุปกรณ์ 61 
3.5 กล่องควบคุมการทํางาน 65
บทที่ 4 ผลการทดลอง  
4.1 การทํางานของระบบชุดสาธิตการควบคุมอุปกรณ์ไฟฟ้าภายในบ้านแบบไร้สาย
โดยใช้เอ็กบี 67 
4.2 ผลการทดลอง 69 
4.3 อภิปรายผลผลการทดลอง 80 

III 
 
สารบัญ (ต่อ)
หน้า 
 
4.4 กราฟแสดงการทํางานในการทดลอง 80 
บทที่ 5 สรุปผลการวิจัย  
5.1 บทสรุป 82 
5.2 ปัญหาที่เกิดขึ้น 82 
5.3 แนวทางการพัฒนา 82 
เอกสารอ้างอิง 83 
ภาคผนวก ก วงจรทั้งหมดสําหรับการควบคุมอุปกรณ์ไฟฟ้าภายในบ้านแบบไร้สายโดยใช้เอ็กบี ก-1 
ภาคผนวก ข โฟร์ชาร์ตโค้ดการทํางานของระบบชุดสาธิตการควบคุมอุปกรณ์ไฟฟ้าภายในบ้าน
แบบไร้สายโดยใช้เอ็กบี ข-1
ประวัติผู้วิจัย ค-1 
 
 
 
 
 
 

IV 
 
สารบัญตาราง 
หน้า 
 
ตารางที่ 1.1 งบประมาณในการทําโครงการ 3 
ตารางที่ 2.1 มาตรฐานเครือข่ายไร้สาย IEEE 9 
ตารางที่ 2.2 ขาพอร์ตหลักๆของไมโครคอนโทรลเลอร์ PIC เบอร์ dsPIC30F4011 23 
ตารางที่ 3.1 การจัดขาของโมดูล XBee-PRO และฟังก์ชั่นในการทํางาน 29 
ตารางที่ 3.2 รายละเอียดพินสําหรับใช้ควบคุมจีแอลซีดี (Control GLCD) 45 
ตารางที่ 3.3 รายละเอียดพินสําหรับใช้ควบคุมทัชสกรีน (Control Touch Screen) 46 
ตารางที่ 3.4 การเลือกโหมดอินเทอร์เฟสแอลซีดี (Mode Interface LCD) จาก DIP SW.2 48 
ตารางที่ 4.1 การทดลองชุดสาธิตการควบคุมอุปกรณ์ไฟฟ้าภายในบ้านแบบไร้สายโดยใช้เอ็กบี  
แบบหาระยะทางสูงสุดที่สามารถควบคุมการเปิด-ปิดได้ 78  
ตารางที่ 4.2 การทดลองชุดสาธิตการควบคุมอุปกรณ์ไฟฟ้าภายในบ้านแบบไร้สายโดยใช้เอ็กบี  
แบบหาแอมแปร์สูงสุดที่สามารถควบคุมการเปิด-ปิดได้ 79  
 
 


 
 

สารบัญภาพ 
หน้า 
 
รูปที่ 1.1 บล็อกไดอะแกรมชุดการพัฒนาการควบคุมเปิด-ปิดไฟฟ้าภายในบ้านแบบไร้สาย 1 
รูปที่ 2.1 ระบบเครือข่ายไร้สาย (Wireless LAN Technology) 4 
รูปที่ 2.2 รูปแบบการเชื่อมต่อระบบแลนไร้สายแบบเพียร์ทูเพียร์ (Peer-to-Peer) 5 
รูปที่ 2.3 รูปแบบการเชื่อมต่อระบบเครือข่ายไร้สายแบบไคลเอนท์/เซิร์ฟเวอร์ 6 
รูปที่ 2.4 รูปแบบการเชื่อมต่อระบบเครือข่ายไร้สายแบบแบบจุดเชื่อมต่อหลายจุด 6
รูปที่ 2.5 รูปแบบการเชื่อมต่อระบบเครือข่ายไร้สายแบบแบบขยายจุด 7
รูปที่ 2.6 รูปแบบการเชื่อมต่อระบบเครือข่ายไร้สายแบบแบบใช้เสาอากาศทิศทาง 7
รูปที่ 2.7 แบบอ้างอิง TCP/IP 12 
รูปที่ 2.8 โปรโตคอลแสตคของ TCP/IP 12 
รูปที่ 2.9 การห่อหุ้มข้อมูลตามลําดับโปรโตคอลแสตด 13
รูปที่ 2.10 เครือข่ายแบบเมช (Mesh) และสตาร์ (Star) 15 
รูปที่ 2.11 เครือข่ายแบบคลัสเตอร์ทรี (Cluster Tree Network) 15 
รูปที่ 2.12 โมดูล Xbee แบบชิป (Chip Antenna) 17 
รูปที่ 2.13 โมดูล Xbee แบบเสาอากาศ (Wire Antenna) 17 
รูปที่ 2.14 โมดูล Xbee แบบยูเอฟแอล (UFL Antenna) 18 
รูปที่ 2.15 โมดูล Xbee แบบเอสเอ็มเอ (SMA Antenna) 18 
รูปที่ 2.16 โหมดการทํางานของ Xbee 19 
รูปที่ 2.17 โครงสร้างหลักของไมโครคอนโทรลเลอร์ 21
รูปที่ 2.18 ขาพอร์ตของไมโครคอนโทรลเลอร์ PIC เบอร์ dsPIC30F401 21
รูปที่ 3.1 แผนผังขั้นตอนการทํางาน 26
รูปที่ 3.2 บล็อกไดอะแกรมวงจรด้านแม่ข่าย (Server) 27
รูปที่ 3.3 วงจรแบ่งแรงดัน (Voltage Divider) สําหรับลดแรงดันไมโครคอนโทรลเลอร์ 5 V 30
รูปที่ 3.4 การเชื่อมต่อ Xbee แบบสตาร์ (Star) 30 
รูปที่ 3.5 วงจรไฟฟ้าของชุดโมดูล Xbee 31 
รูปที่ 3.6 รายละเอียดของบอร์ดชุดโมดูล Xbee 31
รูปที่ 3.7 รายละเอียดของบอร์ด ZX-XBeeU 32 
รูปที่ 3.8 วงจรไฟฟ้าของบอร์ด ZX-XBeeU 33 
รูปที่ 3.9 หน้าต่างกําหนดการเชื่อมต่อของโปรแกรม X-CTU 34 
รูปที่ 3.10 หน้าต่างแจ้งผลการติดต่อของโมดูล XBee 35 
รูปที่ 3.11 ค่าพารามิเตอร์ต่างๆ ของ XBee 35 
รูปที่ 3.12 การตั้งค่าช่องสัญญาณและ PAN ID ของ Xbee เป็นแม่ข่าย 36 

VI 
 
 

สารบัญภาพ (ต่อ) 
หน้า 
 
รูปที่ 3.13 การตั้งค่า DH และ DL ของ Xbee เป็นแม่ข่าย 37 
รูปที่ 3.14 การตั้งค่า MY Xbee เป็นแม่ขา่ ย 38 
รูปที่ 3.15 อัพเดทเฟิร์มแวร์และเซตค่าพารามิเตอร์ของ Xbee เป็นแม่ข่ายเสร็จสมบูรณ์ 38
รูปที่ 3.16 การตั้งค่าช่องสัญญาณและ PAN ID ของ Xbee เป็นลูกข่าย 39
รูปที่ 3.17 การตั้งค่า DH และ DL Xbee เป็นลูกข่าย 40 
รูปที่ 3.18 การตั้งค่า MY Xbee เป็นลูกข่าย 41  
รูปที่ 3.19 อัพเดทเฟิร์มแวร์และเซตค่าพารามิเตอร์ของ Xbee เป็นลูกข่ายเสร็จสมบูรณ์ 41
รูปที่ 3.20 ลักษณะและโครงสร้างของบอร์ด ET-TFT240320TP-2.8 44 
รูปที่ 3.21 ตําแหน่งขาสัญญาณที่เฮดเดอร์ (Header 1x20) มองจากด้านหน้า 44 
รูปที่ 3.22 ตําแหน่งขาสัญญาณที่เฮดเดอร์ (Header 2x20) Parallel-Mode : 8 bit,16 bit 45
รูปที่ 3.23 การจัดเรียงบิตของคําสั่งที่รับเข้ามา 49 
รูปที่ 3.24 การจัดเรียงดาต้า (Data) บิตสีขนาด 16 bit 65K Colors ที่รบั เข้ามา 49 
รูปที่ 3.25 Timing Diagram การอ่าน-เขียนคําสั่งและข้อมูลไปยัง LCD ใน Parallel 16 bit 50
รูปที่ 3.26 วงจรการต่อในส่วนของทัชสกรีน (Touch Screen) เข้ากับ ADS7846 52
รูปที่ 3.27 การออกแบบหน้าจอทัชสกรีน (Touch Screen) และแอลซีดี (LCD) 53
รูปที่ 3.28 วงจร ET-TFT240320TP-2.8 54
รูปที่ 3.29 บล็อกไดอะแกรมวงจรด้านลูกข่าย (Client) 55
รูปที่ 3.30 ขั้วต่อสัญญาณ RS232 แบบ CPA-4PIN 56
รูปที่ 3.31 วงจรยูอาร์ท UART (RS232) 56
รูปที่ 3.32 เคเบิ้ล (Cable) ที่จะใช้ในการเชื่อมต่อ RS232 57
รูปที่ 3.33 วงจรและสัญญาณตามมาตรฐานของ ICD2 58
รูปที่ 3.34 ภาคจ่ายไฟและวงจรไฟฟ้าบอร์ดรีเลย์ (Relay) 1 ช่อง 59
รูปที่ 3.35 ลายปริ้นของบอร์ดชุดโมดูล Xbee ที่ไปกัดลายปริ้นแล้ว 61
รูปที่ 3.36 ติดตั้งอุปกรณ์จริงของบอร์ดชุดโมดูล Xbee 61
รูปที่ 3.37 ลายปริ้นของบอร์ด ZX-XBeeU ที่ไปกัดลายปริ้นแล้ว 62
รูปที่ 3.38 ติดตั้งอุปกรณ์จริงของบอร์ด ZX-XBeeU และทดสอบตั้งค่า Xbee 62
รูปที่ 3.39 ลายปริ้นของบอร์ดไมโครคอนโทรลเลอร์ 63
รูปที่ 3.40 ติดตั้งอุปกรณ์จริงของบอร์ดไมโครคอนโทรลเลอร์ และทําการทดสอบโปรแกรม 63
การทํางาน
รูปที่ 3.41 ติดตั้งอุปกรณ์จริงบนบอร์ดที่ต่อกับโหลดอุปกรณ์ไฟฟ้า 64

VII 
 
 

สารบัญภาพ (ต่อ)
หน้า 

รูปที่ 3.42 ติดตั้งบอร์ดหน้าจอทัชสกรีน 64


รูปที่ 3.43 กล่องฝั่งแม่ข่าย (Sever) 65
รูปที่ 3.44 กล่องฝั่งลูกข่าย (Client) 66
รูปที่ 4.1 การต่ออุปกรณ์ในชุดสาธิตการควบคุมอุปกรณ์ไฟฟ้าภายในบ้านแบบไร้สายโดยใช้เอ็กบี 67 
รูปที่ 4.2 การทดลองชุดสาธิตการควบคุมอุปกรณ์ไฟฟ้าภายในบ้านแบบไร้สายโดยใช้เอ็กบี 67
รูปที่ 4.3 การกดเปิดหลอดไฟฟ้าหลอดที่ 1 ที่หน้าจอทัชสกรีน 69
รูปที่ 4.4 แอลซีดีแสดงผลว่าหลอดไฟฟ้าหลอดที่ 1 ON 70
รูปที่ 4.5 การกดปิดหลอดไฟฟ้าหลอดที่ 1 ที่หน้าจอทัชสกรีน 71
รูปที่ 4.6 แอลซีดีแสดงผลว่าหลอดไฟฟ้าหลอดที่ 1 OFF 71
รูปที่ 4.6 แอลซีดีแสดงผลว่าหลอดไฟฟ้าหลอดที่ 1 OFF (ต่อ) 72
รูปที่ 4.7 กดเปิดหลอดไฟฟ้าหลอดที่ 2 ทีห่ น้าจอทัชสกรีน 72
รูปที่ 4.8 แอลซีดีแสดงผลว่าหลอดไฟฟ้าหลอดที่ 2 ON 73
รูปที่ 4.9 กดปิดหลอดไฟฟ้าหลอดที่ 2 ทีห่ น้าจอทัชสกรีน 74
รูปที่ 4.10 แอลซีดีแสดงผลว่าหลอดไฟฟ้าหลอดที่ 2 OFF 74
รูปที่ 4.10 แอลซีดีแสดงผลว่าหลอดไฟฟ้าหลอดที่ 2 OFF (ต่อ) 75
รูปที่ 4.11 กดเปิดหลอดไฟฟ้าทั้งหมดที่หน้าจอทัชสกรีน 75
รูปที่ 4.12 แอลซีดีแสดงผลว่าหลอดไฟฟ้าทั้งหมด ON 76
รูปที่ 4.13 กดปิดหลอดไฟฟ้าทั้งหมดที่หน้าจอทัชสกรีน 77
รูปที่ 4.14 แอลซีดีแสดงผลว่าหลอดไฟฟ้าทั้งหมด OFF 77
รูปที่ 4.14 แอลซีดีแสดงผลว่าหลอดไฟฟ้าทั้งหมด OFF (ต่อ) 78
รูปที่ 4.15 กราฟแสดงการรับ-ส่งสัญญาณทํางานในการทดลอง 80
รูปที่ 4.16 กราฟแสดงการรับ-ส่งสัญญาณทํางานในการทดลองกับโหลดไฟฟ้าหลายโหลด 81

 
 

 
 
 
 

VIII 
 
บทที่ 1
บทนํา
1.1 ความเป็นมาและความสําคัญของปัญหา
ในปัจจุบันอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ขนาดเล็กได้มีการพัฒนาไปอย่างรวดเร็วมาก โดยเฉพาะงาน
เทคโนโลยีเครือข่ายไร้สายที่ใช้ในงานตรวจจับ ควบคุมหรือสั่งการทํางานเป็นต้น ล้วนมีการพัฒนาไป
มาก ขนาดอุปกรณ์เล็กลงและใช้พลังงานในการทํางานต่ํา และปัจจุบันผูค้ นส่วนใหญ่มกั จะดําเนินชีวิต
ด้วยความเร่งรีบ จึงไม่ค่อยมีเวลาที่จะทําอะไรมากนัก แต่ก็ยังต้องการความสะดวกสบายในการใช้ชีวิต
ด้วยเหตุนี้จึงได้มีการผลิตอุปกรณ์ต่างๆออกมามากมาย เพื่อมาใช้ในการควบคุมการเปิด-ปิดไฟฟ้าโดย
ผ่านทางอินเตอร์เน็ตหรือผ่านทางเทคโนโลยีสื่อสารไร้สายแบบต่างๆเช่น Bluetooth Infrared Wi-Fi
เป็นต้น เพื่อให้สามารถควบคุมได้จากระยะไกล ซึ่งอุปกรณ์เหล่านี้จะช่วยในเรื่องความสะดวกสบายได้
แต่อุปกรณ์เหล่านี้เมื่อมีการใช้งานผ่านเทคโนโลยีสื่อสารไร้สายแบบต่างๆดังกล่าว ยังมีการใช้พลังงาน
ที่สูง และหากต้องนําไปประยุกต์ใช้กับระบบต่างๆก็จะทําได้ยุ่งยากซับซ้อนมาก ทําให้มีราคาแพงตาม
ไปด้วย
ดังนั้นจึงเป็นแนวคิดในการใช้ Xbee และ ไมโครคอนโทรลเลอร์ มาควบคุมการเปิด-ปิดไฟฟ้า
โดยผ่านเครือข่ายไร้สาย เพื่อที่ให้สามารถควบคุมได้จากระยะไกล และหากผลการทดสอบนี้ประสบ
ผลสําเร็จก็จะสามารถอํานวยความสะดวกสบายให้กับมนุษย์มากขึ้น และสามารถนําไปประยุกต์ใช้กับ
ระบบไฟฟ้าต่างๆหรือระบบอื่นๆที่ใหญ่ขึ้น เพื่อที่จะอํานวยความสะดวกสบายให้กับคนมากที่สุด

Sever Client

Touch Xbee Xbee


Screen Coordi ED
Power
Supply

รูปที่ 1.1 บล็อกไดอะแกรมชุดสาธิตการควบคุมอุปกรณ์ไฟฟ้าภายในบ้านแบบไร้สายโดยใช้เอ็กบี

จากรูปที่ 1.1 จะสั่งและแสดงผลการทํางานผ่านหน้าจอทัชสกรีน โดยจะรับ-ส่งข้อมูลแบบไร้


สายกับ Xbee (End Device) ของวงจรด้าน Client ผ่าน Xbee (Coordinator) โดยจะมี
ไมโครคอนโทรลเลอร์ไว้ควบคุมและสั่งการรีเลย์ทํางานตามที่ได้สั่งการทํางานที่หน้าจอทัชสกรีน และ
ประมวลผลการทํางานทั้งหมด เพื่อที่จะส่งสถานะการทํางานปัจจุบันกลับไปแสดงที่หน้าจอทัชสกรีน
อีกครั้งหนึ่ง
1
1.2 วัตถุประสงค์
1.2.1 เพื่อสร้างชุดสาธิตการควบคุมการเปิด-ปิดอุปกรณ์พื้นฐานไฟฟ้าภายในบ้าน ผ่านระบบ
อุปกรณ์แบบไร้สาย
1.2.2 เพื่อศึกษาและเขียนโปรแกรมการใช้งานในระบบอุปกรณ์แบบไร้สาย
1.2.3 เพื่อศึกษาและเขียนโปรแกรมเพื่อใช้งานไมโครคอนโทรลเลอร์ในการควบคุม
1.3 เป้าหมาย
1.3.1 สามารถควบคุมหลอดไฟฟ้าให้ทํางานแบบอัตโนมัติได้อย่างถูกต้อง โดยจะรับคําสั่งจาก
ไมโครคอนโทรเลอร์ผ่านระบบสื่อสารไร้สาย
1.3.2 ใช้หน้าจอทัชสกรีนเป็นตัวกําหนดการทํางานของหลอดไฟฟ้า
1.4 ขอบเขตของโครงงาน
1.4.1 ศึกษาหลักการทํางานหน้าจอทัชสกรีน
1.4.2 ศึกษาหลักการทํางานของระบบการสื่อสารไร้สาย
1.4.3 ศึกษารูปแบบวิธีการเขียนโปรแกรมด้วยภาษาซี เพื่อสั่งให้ไมโครคอนโทรลเลอร์ควบคุม
การทํางานของหลอดไฟฟ้า
1.4.4 ออกแบบระบบโครงสร้างของชุดสาธิตการควบคุมการเปิด - ปิดอุปกรณ์พื้นฐานไฟฟ้า
ภายในบ้านผ่านระบบอุปกรณ์แบบไร้สาย
1.5 ขั้นตอนการดําเนินงาน
1.5.1 ส่งหัวข้อและศึกษาทฤษฎีของโครงงานฯ พร้อมจัดทํารายงานนําเสนอ
1.5.2 ศึกษาโครงสร้างและออกแบบระบบต่างๆทั้งหมด
1.5.3 ปรับปรุงโครงสร้างและกลไกต่างๆของระบบ
1.5.4 สร้างระบบเครือข่ายไร้สายและชุดโมดูลอุปกรณ์การทํางานทั้งหมด
1.5.5 ตั้งค่าอุปกรณ์ไร้สาย
1.5.5 ทดลองระบบและอุปกรณ์ไร้สายบันทึกผลและปรับปรุงแก้ไข
1.5.5 จัดทํารายงานพร้อมนําเสนอรายงานต่อคณะกรรมการสอบโครงงานฯ
 
1.6 ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
1.6.1 ได้ศึกษาค้นคว้าหาวิธีการต่างๆ พร้อมนําระบบที่ได้จากการวิจัยไปทําการควบคุม เปิด-
ปิด อุปกรณ์พื้นฐานไฟฟ้าภายในบ้านผ่านระบบอุปกรณ์แบบไร้สาย
1.6.2 ได้ศึกษาและเรียนรู้การเขียนโปรแกรมการใช้งานในระบบอุปกรณ์แบบไร้สาย
1.6.3 ได้ศึกษาและเรียนรู้การเขียนโปรแกรมเพื่อใช้งานไมโครคอนโทรลเลอร์ในการควบคุม

2
1.7 งบประมาณในการทําโครงการ
ตารางที่ 1.1 งบประมาณในการทําโครงการ
ลําดับ รายการ จํานวน งบประมาณ
1 หน้าจอทัชสกรีน 1 1,000.00
2 รีเลย์ 2 400.00
3 ระบบสื่อสารไร้สาย (Xbee) 2 3,200.00
4 บอร์ดไมโครคอนโทรเลอร์ 2 1,400.00
5 หลอดไฟฟ้า 2 190.00
6 อื่นๆ 1 4,000.00
รวมทั้งสิ้น 10,330.00

3
บทที่ 2
ทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง
2.1 ระบบเครือข่ายไร้สาย (Wireless LAN Technology)

รูปที่ 2.1 ระบบเครือข่ายไร้สาย (Wireless LAN Technology)


จากรูปที่ 2.1 จะเป็นลักษณะรูปแบบระบบเครือข่ายไร้สาย (Wireless LAN Technology)
ที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบัน ซึ่งมีหลากหลายรูปแบบ หลากหลายระดับความถี่ ขึ้นอยู่กับการที่จะนําไปใช้งาน
โดยทุกรูปแบบ ทุกความถี่ จะมีลักษณะรูปแบบระบบเครือข่ายไร้สาย (Wireless LAN Technology)
ทั้งหมด ทําให้เวลาจะนําไปใช้งานไม่ต้องเดินระบบสายจากแม่ขายไปยังลูกข่าย
2.1.1 ประวัติความเป็นมา
ระบบเครือข่ายไร้สาย (Wireless LAN) ระบบเครือข่ายไร้สาย (Wireless LANs) ได้มีการ
เกิดขึ้นครั้งแรกในปี ค.ศ. 1971 บนเกาะฮาวาย โดยโปรเจกต์ของนักศึกษาของมหาวิทยาลัยฮาวาย ที่
ชื่อว่า “ALOHNET” ขณะนัน้ ลักษณะการส่งข้อมูลจะเป็นแบบ Bi-directional ส่งไป-กลับง่ายๆ ผ่าน
คลื่นวิทยุ สื่อสารกันระหว่างคอมพิวเตอร์ 7 เครื่อง ซึ่งตั้งอยู่บนเกาะ 4 เกาะโดยรอบ และมีศูนย์กลาง
การเชื่อมต่ออยู่ที่เกาะๆหนึ่งที่ชื่อว่า Oahu
2.1.2 ความหมายของระบบเครือข่ายไร้สาย
ระบบเครือข่ายไร้สาย (WLAN = Wireless Local Area Network) คือระบบการสื่อสาร
ข้อมูลที่มรี ูปแบบในการสื่อสารแบบไม่ใช้สาย โดยใช้การส่งคลื่นความถีว่ ิทยุในย่านวิทยุ RF และคลืน่
อินฟราเรด ในการรับและส่งข้อมูลระหว่างคอมพิวเตอร์แต่ละเครื่อง ผ่านอากาศ, ทะลุกําแพง, เพดาน
หรือสิ่งก่อสร้างอื่นๆ โดยปราศจากความต้องการของการเดินสาย นอกจากนั้นระบบเครือข่ายไร้สายก็
ยังมีคุณสมบัตคิ รอบคลุมทุกอย่างเหมือนกับระบบ LAN แบบใช้สาย ที่สําคัญก็คือการที่ไม่ต้องใช้สาย
ทําให้การเคลื่อนย้ายการใช้งานทําได้โดยสะดวก ไม่เหมือนระบบ LAN แบบใช้สายทีต่ ้องใช้เวลาและ
การลงทุนในการปรับเปลี่ยนตําแหน่งการใช้งานเครื่องคอมพิวเตอร์ และในปัจจุบันโลกของเราเป็นยุค
แห่งการติดต่อสื่อสารเทคโนโลยีต่างๆ เช่นโทรศัพท์มือถือ เป็นสิ่งจําเป็นต่อการดําเนินธุรกิจและการ
ใช้ชีวิตประจําวัน ความต้องการข้อมูลและการบริการต่างๆมีความจําเป็นสําหรับนักธุรกิจ เทคโนโลยีที่
4
สนองต่อความต้องการเหล่านั้นมีมากมาย เช่น โทรศัพท์มือถือ เครื่องคอมพิวเตอร์โน้ตบุ๊ก เครื่อง
ปาล์ม จึงได้ถูกนํามาใช้อย่างกว้างขวาง และผู้ที่น่าจะได้ประโยชน์จากการใช้ระบบเครือข่ายไร้สายมี
มากมาย
2.1.3 ประโยชน์ของระบบเครือข่ายไร้สาย
1) ช่วยเพิ่มผลผลิตและบริการ (Mobility Improves Productivity & Service) มี
ความคล่องตัวสูง ดังนั้นไม่ว่าเราจะเคลื่อนที่ไปที่ไหนๆหรือเคลื่อนย้ายคอมพิวเตอร์ไปที่ตําแหน่งใดๆก็
ตาม ก็ยังมีการเชื่อมต่อกับเครือข่ายตลอดเวลา ตราบใดที่ยังอยู่ในระยะการส่งข้อมูล
2) ติดตั้งได้ง่ายและรวดเร็ว (Installation Speed and Simplicity) สามารถติดตั้งได้
ง่ายและรวดเร็ว เพราะไม่ต้องเสียเวลาติดตั้งสายเคเบิลและไม่รกรุงรัง
3) มีความยืดหยุ่นในการติดตั้ง (Installation Flexibility) สามารถทําการขยายระบบ
เครือข่ายได้ง่าย เพราะเพียงแค่มีพีซกี าร์ดมาต่อเข้ากับโน๊ตบุ๊คหรือพีซีก็เข้าสู่เครือข่ายได้ทันที
4) ช่วยลดค่าใช้จ่าย (Reduced Cost- of-Ownership) เป็นการลดค่าใช้จ่ายโดยรวม
ที่ผู้ลงทุนต้องลงทุน ซึ่งมีราคาสูง เพราะว่าในระยะยาวแล้วระบบเครือข่ายไร้สายไม่จาํ เป็นต้องเสียค่า
บํารุงรักษาและการขยายเครือข่ายก็ลงทุนน้อยกว่าเดิมหลายเท่า เนื่องด้วยความง่ายในการติดตั้ง
5) เพิ่มประสิทธิภาพ (Scalability) เครือข่ายไร้สายนั้นทําให้องค์กรสามารถปรับขนาด
และความเหมาะสมได้ง่ายไม่ยุ่งยาก เพราะสามารถจะโยกย้ายตําแหน่งการใช้งานโดยเฉพาะระบบที่มี
การเชื่อมระหว่างจุดต่อจุด เช่น ระหว่างตึก

2.2 รูปแบบการเชื่อมต่อของระบบเครือข่ายไร้สาย
ระบบเครือข่ายไร้สายเป็นระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ขนาดเล็ก ที่ประกอบไปด้วยอุปกรณ์ไม่
มากนัก และมักจํากัดอยู่ในอาคารหลังเดียวหรืออาคารในละแวกเดียวกัน การใช้งานที่น่าสนใจทีส่ ดุ
ของเครือข่ายไร้สายก็คือ ความสะดวกสบายที่ไม่ต้องติดอยู่กับที่ ผูใ้ ช้สามารถเคลื่อนทีไ่ ปมาได้โดยที่ยัง
สื่อสารอยู่ในระบบเครือข่าย
2.2.1 เพียร์ทูเพียร์ (Peer-to-Peer)

รูปที่ 2.2 รูปแบบการเชื่อมต่อระบบแลนไร้สายแบบเพียร์ทูเพียร์ (Peer-to-Peer)

5
รูปแบบการเชื่อมต่อระบบแลนไร้สายแบบ Peer to Peer จะเป็นลักษณะการเชื่อมต่อแบบ
โครงข่ายโดยตรงระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์ จํานวน 2 เครื่องหรือมากกว่านั้น เป็นการใช้งานร่วมกัน
ของ wireless adapter cards โดยไม่ได้มีการเชื่อมต่อกับเครือข่ายแบบใช้สายเลย โดยที่เครือ่ ง
คอมพิวเตอร์แต่ละเครื่องจะมีความเท่าเทียมกัน สามารถทํางานของตนเองได้และขอใช้บริการเครื่อง
อื่นได้ เหมาะสําหรับการนํามาใช้งานเพื่อจุดประสงค์ในด้านความรวดเร็ว หรือติดตั้งได้โดยง่ายเมื่อไม่มี
โครงสร้างพื้นฐานที่จะรองรับ ยกตัวอย่างเช่น ในศูนย์ประชุม, หรือการประชุมที่จัดขึ้นนอกสถานที่
2.2.2 ไคลเอนท์/เซิร์ฟเวอร์ (Client/Server)

รูปที่ 2.3 รูปแบบการเชื่อมต่อระบบเครือข่ายไร้สายแบบไคลเอนท์/เซิร์ฟเวอร์

ระบบเครือข่ายไร้สายแบบ Client / Server หรือ Infrastructure mode เป็นลักษณะการ


รับส่งข้อมูลโดยอาศัย Access Point (AP) หรือเรียกว่า “Hot spot” ทําหน้าที่เป็นสะพานเชื่อมต่อ
ระหว่างระบบเครือข่ายแบบใช้สายกับเครื่องคอมพิวเตอร์ลูกข่าย (Client) โดยจะกระจายสัญญาณ
คลื่นวิทยุเพื่อ รับ-ส่งข้อมูลเป็นรัศมีโดยรอบ เครื่องคอมพิวเตอร์ที่อยู่ในรัศมีของ AP จะกลายเป็น
เครือข่ายในกลุม่ เดียวกันทันที โดยเครื่องคอมพิวเตอร์จะสามารถติดต่อกันหรือติดต่อกับ Server เพื่อ
แลกเปลี่ยนและค้นหาข้อมูลได้ โดยต้องติดต่อผ่าน AP เท่านั้น ซึ่ง AP 1 จุด สามารถให้บริการเครื่อง
ลูกข่ายได้ถึง 15-50 อุปกรณ์ของเครื่องลูกข่าย เหมาะสําหรับการนําไปขยายเครือข่ายหรือใช้ร่วมกับ
ระบบเครือข่ายแบบใช้สายเดิมในออฟฟิต ห้องสมุดหรือในห้องประชุม เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการ
ทํางานให้มากขึ้น
2.2.3 แบบจุดเชื่อมต่อหลายจุด (Multiple Access Points and Roaming)

รูปที่ 2.4 รูปแบบการเชื่อมต่อระบบเครือข่ายไร้สายแบบแบบจุดเชื่อมต่อหลายจุด


6
โดยทั่วไปแล้วการเชื่อมต่อสัญญาณระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์กับ Access Point ของ
เครือข่ายไร้สายจะอยู่ในรัศมีประมาณ 500 ฟุต ภายในอาคาร และ 1000 ฟุต ภายนอกอาคาร หาก
สถานที่ที่ติดตั้งมีขนาดกว้างมากๆ เช่นคลังสินค้า บริเวณภายในมหาวิทยาลัย สนามบิน จะต้องมีการ
เพิ่มจุดการติดตั้ง AP ให้มากขึ้น เพื่อให้การรับส่งสัญญาณในบริเวณของเครือข่ายขนาดใหญ่ เป็นไป
อย่างครอบคลุมทั่วถึง
2.2.4 แบบขยายจุด (Use of an Extension Point)

รูปที่ 2.5 รูปแบบการเชื่อมต่อระบบเครือข่ายไร้สายแบบแบบขยายจุด

กรณีที่โครงสร้างของสถานที่ติดตั้งเครือข่ายแบบไร้สายมีปัญหา ผู้ออกแบบระบบอาจจะต้อง
ใช้ Extension Points ที่มีคณ ุ สมบัติเหมือนกับ Access Point แต่ไม่ต้องผูกติดไว้กับเครือข่ายไร้สาย
เป็นส่วนที่ใช้เพิ่มเติมในการรับส่งสัญญาณ
2.2.5 แบบใช้เสาอากาศทิศทาง (The Use of Directional Antennas)

รูปที่ 2.6 รูปแบบการเชื่อมต่อระบบเครือข่ายไร้สายแบบแบบใช้เสาอากาศทิศทาง

ระบบแลนไร้สายแบบนี้เป็นแบบใช้เสาอากาศในการรับส่งสัญญาณ ระหว่างอาคารที่อยู่ห่าง
กัน โดยการติดตั้งเสาอากาศที่แต่ละอาคาร เพื่อส่งและรับสัญญาณระหว่างกัน

7
2.3 มาตรฐานเครือข่ายไร้สาย
2.3.1 มาตรฐานเครือข่ายไร้สาย IEEE 802.11 ได้รับการตีพิมพ์เผยแพร่ครั้งแรกเมื่อปี
พ.ศ. 2540 โดยสถาบัน IEEE (The Institute of Electronics and Electrical Engineers) ซึ่งมี
ข้อกําหนดระบุไว้ว่า ผลิตภัณฑ์เครือข่ายไร้สายในส่วนของ PHY Layer นั้นมีความสามารถในการ
รับส่งข้อมูลที่ความเร็ว 1, 2, 5.5, 11 และ 54 เมกะบิตต่อวินาที โดยมีสื่อนําสัญญาณ 3 ประเภทให้
เลือกใช้งานอันได้แก่ คลื่นวิทยุย่านความถี่ 2.4 กิกะเฮิรตซ์, 2.5 กิกะเฮิรตซ์และคลื่นอินฟาเรด ส่วนใน
ระดับชั้น MAC Layer นั้นได้กําหนดกลไกของการทํางานแบบ CSMA/CA (Carrier Sense Multiple
Access/Collision Avoidance) ซึ่งมีความคล้ายคลึงกับ CSMA/CD (Collision Detection) ของ
มาตรฐาน IEEE 802.3 Ethernet ซึ่งนิยมใช้งานบนระบบเครือข่ายแลนใช้สาย โดยมีกลไกในการ
เข้ารหัสข้อมูลก่อนแพร่กระจายสัญญาณไปบนอากาศ พร้อมกับมีการตรวจสอบผู้ใช้งาน
ในยุคเริ่มแรกนั้นให้ประสิทธิภาพการทํางานที่ค่อนข้างต่ํา ทั้งไม่มีการรับรองคุณภาพของการ
ให้บริการที่เรียกว่า QoS (Quality of Service) ซึ่งมีความสําคัญในสภาพแวดล้อมที่มีแอพพลิเคชัน
หลากหลายประเภทให้ใช้งาน นอกจากนั้นกลไกในเรื่องการรักษาความปลอดภัยที่นํามาใช้ก็ยังมีช่อง
โหว่จํานวนมาก IEEE จึงได้จัดตั้งคณะทํางานขึ้นมาหลายชุดด้วยกัน เพื่อจะทําการพัฒนาและปรับปรุง
มาตรฐานให้มศี ักยภาพเพิ่มสูงขึ้น
2.3.2 มาตรฐานเครือข่ายไร้สาย IEEE 802.11a เป็นมาตรฐานที่ได้รับการตีพิมพ์และเผยแพร่
เมื่อปี พ.ศ. 2542 โดยใช้เทคโนโลยี OFDM (Orthogonal Frequency Division Multiplexing) เพื่อ
พัฒนาให้ผลิตภัณฑ์ไร้สายมีความสามารถในการรับส่งข้อมูลด้วยอัตราความเร็วสูงสุด 54 เมกะบิตต่อ
วินาที โดยจะใช้คลื่นวิทยุทยี่ ่านความถี่ 5 กิกะเฮิรตซ์ ซึ่งเป็นย่านความถี่ที่ไม่ได้รับอนุญาตให้ใช้งาน
โดยทั่วไปในประเทศไทย เนื่องจากต้องสงวนไว้สําหรับกิจการทางด้านดาวเทียม ข้อเสียของผลิตภัณฑ์
มาตรฐาน IEEE 802.11a ก็คือจะมีรัศมีการใช้งานในระยะสั้นและมีราคาแพง ดังนั้นผลิตภัณฑ์ไร้สาย
มาตรฐาน IEEE 802.11a จึงได้รับความนิยมน้อย
2.3.3 มาตรฐานเครือข่ายไร้สาย IEEE 802.11b เป็นมาตรฐานที่ถูกนํามาตีพิมพ์และเผยแพร่
ออกมาพร้อมกับมาตรฐาน IEEE 802.11a เมื่อปี พ.ศ. 2542 ซึ่งเป็นที่รู้จกั กันดีและได้รับความนิยมใน
การใช้งานกันอย่างแพร่หลายมากที่สุด ผลิตภัณฑ์ที่ออกแบบมาให้รองรับมาตรฐาน IEEE 802.11b ใช้
เทคโนโลยีที่เรียกว่า CCK (Complimentary Code Keying) ร่วมกับเทคโนโลยี DSSS (Direct
Sequence Spread Spectrum) เพื่อให้สามารถรับส่งข้อมูลได้ด้วยอัตราความเร็วสูงสุดที่ 11 เมกะ
บิตต่อวินาที โดยใช้คลื่นสัญญาณวิทยุย่านความถี่ 2.4 กิกะเฮิรตซ์ ซึ่งเป็นย่านความถี่ที่อนุญาตให้ใช้
งานในแบบสาธารณะทางด้านวิทยาศาสตร์ อุตสาหกรรมและการแพทย์ โดยผลิตภัณฑ์ที่ใช้ความถี่
ย่านนี้มีชนิด ทั้งผลิตภัณฑ์ทรี่ องรับเทคโนโลยี Bluetooth, โทรศัพท์ไร้สายและเตาไมโครเวฟ จึงทําให้
การใช้งานนั้นมีปัญหาในเรื่องของสัญญาณรบกวนของผลิตภัณฑ์เหล่านี้ มาตรฐาน IEEE 802.11b มี
ข้อดีก็คือ สนับสนุนการใช้งานเป็นบริเวณกว้างกว่ามาตรฐาน IEEE 802.11a ผลิตภัณฑ์มาตรฐาน IEEE
8
802.11b เป็นที่รู้จักในเครื่องหมายการค้า Wi-Fi ซึ่งถูกกําหนดขึ้นมาโดย WECA (Wireless Ethernet
Compatability Alliance) โดยผลิตภัณฑ์ที่ได้รับเครื่องหมาย Wi-Fi ได้ผ่านการตรวจสอบและรับรอง
ว่าเป็นไปตามข้อกําหนดของมาตรฐาน IEEE 802.11b ซึ่งสามารถจะนํามาใช้งานร่วมกันกับผลิตภัณฑ์
ของผู้ผลิตรายอื่นๆ ได้
2.3.4 มาตรฐานเครือข่ายไร้สาย IEEE 802.11g เป็นมาตรฐานที่นิยมใช้งานกันมากในปัจจุบัน
และได้เข้ามาทดแทนผลิตภัณฑ์ที่รองรับมาตรฐาน IEEE 802.11b เนื่องจากสนับสนุนอัตราความเร็ว
ของการรับส่งข้อมูลในระดับ 54 เมกะบิตต่อวินาที โดยใช้เทคโนโลยี OFDM บนคลื่นสัญญาณวิทยุย่าน
ความถี่ 2.4 กิกะเฮิรตซ์ และให้รัศมีการทํางานที่มากกว่า IEEE 802.11a พร้อมความสามารถในการใช้
งานร่วมกันกับมาตรฐาน IEEE 802.11b ได้ (Backward-Compatible)
2.3.5 มาตรฐานเครือข่ายไร้สาย IEEE 802.11f มาตรฐานนี้เป็นที่รู้จักกันในนาม IAPP (Inter
Access Point Protocol) ซึ่งเป็นมาตรฐานที่ออกแบบมาสําหรับจัดการกับผู้ใช้งานที่เคลื่อนที่ข้ามเขต
การให้บริการของ Access Point ตัวหนึ่งไปยัง Access Point เพื่อให้บริการในแบบโรมมิงสัญญาณ
ระหว่างกัน
2.3.6 มาตรฐานเครือข่ายไร้สายIEEE 802.11h เป็นมาตรฐานที่ออกแบบมาสําหรับผลิตภัณฑ์
เครือข่ายไร้สายที่ใช้งานย่านความถี่ 5 กิกะเฮิรตซ์ เพื่อให้ทํางานได้ถูกต้องตามข้อกําหนดการใช้ความถี่
ของประเทศในทวีปยุโรป

ตารางที่ 2.1 มาตรฐานเครือข่ายไร้สาย IEEE


มาตรฐาน 802.11 802.11a 802.11b 802.11g

เริ่ม July 1997 September 1999 September Expected in 2002


ประกาศใช้ กรกฎาคม กันยายน 2542 1999 กันยายน 2545
2540 2542

แถบความถี่ที่ 83.5 MHz 300 MHz 83.5 MHz 83.5 MHz


สามารถใช้ได้

ช่วงความถี่ที่ 2.4-2.4835 5.15-5.35 GHz 2.4-2.4835


สามารถใช้ได้ GHz 5.725-5.825 GHz GHz 2.4-2.4835 GHz

อัตราการส่ง 1,2 Mbps 6,9,12,18,24,36,48,54 1,2,5.5,11 6,9,12,18,24,36,48,54


ข้อมูลต่อช่อง Mbps Mbps Mbps

ความเข้ากัน 802.11 Wi-Fi5 Wi-Fi Wi-Fi at 11 Mbps


ได้ and below

9
2.4 ระบบโปรโตคอล
2.4.1 ความหมาย
การเชื่อมโยงเครือข่ายที่มีฮาร์ดแวร์ต่างกันจําเป็นต้องกําหนดข้อตกลงร่วม เรียกว่าโปรโตคอล
(protocol) ซึ่งการกําหนด Protocol มีไว้เพื่อให้คอมพิวเตอร์สื่อสารกันตามข้อกําหนด TCP/IP ( ทีซี
พี/ไอพี ) จัดเป็นโปรโตคอลหนึ่งที่ออกแบบมาเพื่อแก้ปัญหาการเชื่อมโยงดังกล่าว
โปรโตคอลในความหมายของระบบเครือข่ายคือ ข้อกําหนดของการสื่อสารคอมพิวเตอร์หรือ
อุปกรณ์เครือข่าย จะมีซอฟต์แวร์ที่ปฏิบัติงานตามโปรโตคอลที่กําหนด พร้อมทั้งมีกรรมวิธีแก้ไขปัญหา
ที่เกิดขึ้น เช่น หากข้อมูลทีต่ ้องการขนถ่ายมีข้อผิดพลาด คอมพิวเตอร์จะดําเนินการตามแบบแผนใน
โปรโตคอลเช่น ส่งข้อมูลซ้ําใหม่
ในระบบเครือข่ายขนาดใหญ่ อาจมีเส้นทางเชื่อมโยงระหว่างกันได้เป็นจํานวนมาก ข้อมูลที่
ส่งออกไปอาจไม่ได้ใช้เส้นทางเดียวกันตลอด ข้อมูลทีส่ ่งออกไปก่อนอาจไปถึงปลายทางช้ากว่า กรณีนี้
เครื่องปลายทางจําเป็นต้องจัดลําดับข้อมูลใหม่ กรณีที่คอมพิวเตอร์ต้นทางสามารถส่งข้อมูลได้เร็วเกิน
กว่าปลายทางจะรับได้ทันนั้น โปรโตคอลจะกําหนดกรรมวิธีควบคุมการลําเลียงข้อมูลระหว่างต้นทาง
และปลายทางให้สัมพันธ์กัน โดยข้อกําหนดตามโปรโตคอลที่กล่าวถึงนี้จะอธิบายโดยละเอียดในแต่ละ
หัวข้อต่อไป
2.4.2 ชนิด Protocol
Protocol ในโลกนี้มีมาก 500 Protocol และมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง Protocol แต่ละ
ชนิดก็มีคุณสมบัติเด่น แตกต่างกันไปควรที่จะเลือกใช้ให้เหมาะสม Protocol ที่นิยมใช้ในระบบ
Network มีดังต่อไปนี้
1) โปรโตคอลทีซีพ/ี ไอพี (TCP/IP Protocol) เป็นโปรโตคอลที่นิยมใช้งานกันอย่าง
แพร่หลายในแทบทุกเครือข่ายไม่ว่าจะเป็นเครือข่ายเฉพาะที่ (LAN) หรือเครือข่ายในตรงบริเวณกว้าง
(WAN) TCP/IP ( ทีซีพี/ไอพี ) โดยจะเชื่อมกลุ่มเครือข่ายย่อยเข้าด้วยกันเป็นเครือข่ายขนาดใหญ่หรือ
อินเตอร์เน็ต (Internet) TCP/IP ผ่านการออกแบบให้เป็นอิสระจากชนิดคอมพิวเตอร์ ฮาร์ดแวร์ และ
ระบบปฏิบัติการ กลไกของโปรโตคอลมีความเชื่อถือได้สูงและทํางานได้ แม้ในบางภาวะที่การสื่อสารมี
ความผิดปกติ รวมทั้งสามารถเลือกเส้นทางส่งข้อมูลตามสภาพเครือข่ายได้ ในกรณีที่บางเส้นทางชํารุด
TCP/IP มีที่มาจากโปรโตคอลคือ ทีซีพี (TCP : Transmission Control Protoclo) และ ไอพี (IP :
Internet Protocol) IP ทําหน้าที่ในการกําหนดแอดเดรส จัดแบ่งขนาดข้อมูลให้พอเหมาะ และเลือก
เส้นทางส่งข้อมูล ส่วน TCP มีหน้าที่รับประกันความถูกต้องในการลําเลียงข้อมูล TCP และ IP ไม่ได้
เป็นเพียงสองโปรโตคอลที่มีอยู่เท่านั้น โดยที่ยังมีโปรโตคอลสนับสนุนอีกจํานวนมากจัดรวมกันเป็นชุด
โปรโตคอล ทีซพี ี/ไอพี (TCP/IP protocol suite)
2) ทีซพี ี/ไอพีและอินเทอร์เน็ต อินเทอร์เน็ตเป็นได้ทั้งเครือข่ายของคอมพิวเตอร์ และ
เครือข่ายของเครือข่าย เพราะอินเทอร์เน็ตในยุคปัจจุบันเป็นสังคมเครือข่ายขนาดใหญ่ที่ประกอบด้วย
เครือข่ายย่อยจํานวนมากต่อเชื่อมกัน TCP/IP คอมพิวเตอร์ที่ในอินเทอร์เน็ตทุกเครื่องจึงใช้โปรโตคอล
10
TCP/IP เพื่อสื่อสารระหว่างกัน อินเทอร์เน็ตได้มีพัฒนาการมาจากอาร์พาเน็ต (ARP Anet) ซึ่งเป็น
เครือข่ายคอมพิวเตอร์ภายใต้ความรับผิดชอบของอาร์พา (Advanced Research Projects Agency)
ในสังกัดกระทรวงกลาโหมของสหรัฐอเมริกา อาร์พาเน็ตในขั้นต้นนี้จะเป็นเครือข่ายทดลองที่ตั้งขึ้นเพื่อ
สนับสนุนงานวิจัยด้านการทหาร อาร์พาซึ่งต่อมาก็ได้เปลี่ยนชื่อมาเป็นดาร์พา (Defense Advanced
Research Projects Agency) ต้องการที่จะพัฒนาเครือข่ายที่สามารถสื่อสารกันได้ แม้ว่าอุปกรณ์
เครือข่ายบางจุดจะหยุดทํางานหรือเส้นทางสื่อสารบางเส้นทางถูกตัดขาด ดาร์พาได้วางแผนการขยาย
เครือข่าย และได้เปิดการเชื่อมต่อเข้ากับเครือข่ายกับเครือข่ายที่ต้องการโปรโตคอลที่ทํางานได้กับสาย
สื่อสารและฮาร์ดแวร์หลายรูปแบบ และสามารถรองรับ Host จํานวนมากได้ TCP/IP เป็นโปรโตคอล
ที่มีคุณสมบัติดังกล่าวครบถ้วน TCP/IP ยังไม่ได้เป็นชื่อที่ใช้อย่างเป็นทางการในช่วงเวลานั้น หากแต่
เรียกว่าคาห์น – เซอร์ฟ โปรโตคอล ตามชื่อผู้พัฒนาคือ โรเบิร์ต คาห์น (Robert Kahn) ซึ่งทํางานอยู่
ที่บริษัทบีบีเอ็น (BBN : Nolt Beranek and Newmann) และ วินตัน เซอร์ฟ (Vintom Cerf) แห่ง
สถาบันวิจัยสแตนฟอร์ด ดาร์พาได้ทําการว่าจ้างบีบีเอ็นพัฒนา TCP/IP ภายใต้ยูนิกซ์ของมหาวิทยาลัย
แคลิฟอร์เนียแห่งเบิร์คลีย์ และได้ให้ทุนเผยแพร่ระบบปฏิบัติการออกไปโดยไม่คิดมูลค่า ยูนิกซ์ที่ผนวก
TCP/IP และได้นํามาเผยแพร่ออกไปเมื่อปี พ.ศ. 2526 ได้ใช้ชื่อว่า 4.2BSD (4.2 Berkeley System
Distribution) และจากจุดนั้นเป็นต้นมาทีซีพ/ี ไอพีก็ได้แพร่หลายไปในมหาวิทยาลัยและหน่วยงานอื่น
และเป็นโปรโตคอลมาตรฐานซึ่งใช้เชื่อมโยงคอมพิวเตอร์ที่ทํางานภายใต้ยูนิกซ์ ซึ่งในปัจจุบันจะพบว่า
ระบบปฏิบัติการส่วนใหญ่ทั้งคอมพิวเตอร์ระดับใหญ่และไมโครคอมพิวเตอร์ จะเป็นการสนับสนุนการ
ทํางานตามข้อกําหนดของ TCP/IP เพื่อเชื่อมเข้าสู่อินเทอร์เน็ตได้โดยง่าย
3) แบบอ้างอิง TCP/IP ระบบการสื่อสารข้อมูลในเครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่ประกอบไป
ด้วยทั้งฮาร์ดแวร์ ซอฟต์แวร์ที่ซับซ้อน การมองภาพของระบบโดยรวมทั้งหมดเป็นหน่วยใหญ่ย่อมยาก
ต่อการทําความเข้าใจ การจะใช้แบบอ้างอิงที่แบ่งระบบออกเป็นส่วนย่อยจะช่วยลดความซับซ้อน และ
สร้างความเข้าใจได้ง่ายกว่า เครือข่ายคอมพิวเตอร์มีแบบอ้างอิงที่ใช้เป็นมาตรฐานคือ แบบอ้างอิงโอ
เอสไอ (OSI : Open Systems Interconnection Reference Model) ในขณะส่วน TCP/IP เป็น
โปรโตคอลที่กําเนิดก่อน OSI และมีแบบอ้างอิงเฉพาะตามรูปที่ 2.7 TCP/IP มีระดับชั้นจากล่างขึ้นบน
และลักษณะสมบัติประจําชั้นต่างๆ ดังต่อไปนี้
- ฟิสิคัล คือชั้นของการกําหนดคุณสมบัติฮาร์ดแวร์เช่น คุณสมบัติทางกล (หัวต่อ
และชนิดสายสือ่ สาร) และคุณสมบัติทางไฟฟ้า (ลักษณะของสัญญาณและอัตราเร็ว) กล่าวโดยรวมแล้ว
ระดับชั้นฟิสิคัลกําหนดวิธีการถ่ายโอนข้อมูลในระดับบิต
- เดทาลิงค์ คือชั้นของซอฟต์แวร์ (ดีไวซ์ไดรเวอร์) และฮาร์ดแวร์ซึ่งทํางานด้านการ
เชื่อมโยงเข้ากับสายสื่อสาร ตัวอย่างมาตรฐานในระดับชั้นนี้ได้แก่ อินเทอร์เน็ตและโทเค็นริง เป็นต้น
- เน็ตเวอร์ค คือชั้นที่ทําหน้าที่ในการกําหนดการเลือกเส้นทาง เพื่อทําการส่งข้อมูล
ระหว่างสถานีต้นทางและสถานีปลายทางตัวอย่างโปรโตคอลในระดับชั้นนี้ได้แก่ IP
- ทรานสปอร์ต คือชั้นที่ทําหน้าที่จัดเตรียมการส่งข้อมูล ระหว่างสถานีต้นทางและ
ปลายทางโดยสถาปนาการเชื่อมต่อและรักษาสภาพการเชื่อมต่อ และได้ทําการยกเลิกการเชื่อมต่อเมื่อ
11
สิ้นสุดกระบวนการ และมีหน้าที่เพิ่มเติมในการรับประกันความถูกต้องของข้อมูลที่จะจัดส่ง TCP/IP มี
โปรโตคอลประจําชั้นนี้จํานวนสองโปรโตคอลคือ TCP และ UDP
- แอพลิเคชั้น ระดับชั้นนี้จะทําหน้าที่กําหนดในส่วนของการทํางานของโปรโตคอล
ประยุกต์ ตัวอย่างโปรโตคอลในระดับชั้นนี้ได้แก่ เอฟอีพี (FTP) เอสเอ็มทีพี (SMTP) หรือ เทลเน็ต
(TELNET) เป็นต้น

Applicat ion TELENT, FTP , DNS

Transport TCP , UDP

Net w ork I P , I CMP

Driver and Net w ork


Dat a Link Equipment
I nt erface in Physical
Physical layer

รูปที่ 2.7 แบบอ้างอิง TCP/IP

4) โปรโตคอลแสตคของทีซีพี/ไอพี (TCP/IP) IP ซึ่งอยู่ในระดับชั้นเน็ตเวอร์ตามรูปที่


2.8 เป็นแกนสําคัญของโปรโตคอลแสตดเนื่องจากทั้ง TCP และ UDP ต้องใช้ IP เพื่อเลือกเส้นทางส่ง
Packet ในระดับชั้นเน็ตเวอร์คยังมี ICMP ทําการสนับสนุนการทํางานของ IP เพื่อรายงานข้อผิดปกติ
ที่เกิดขึ้นจากการส่งแพ็กเก็ตและมี IGMP ดูแลการจัดกลุม่ Host ในเครือข่ายมัลติคาสต์

Applicat ion

Ping TELNET FTP SPNM SMTP DNS TFTP NFS

Transport

TCP UDP

Net w ork

I CMP IP I GMP

Dat a Link

ARP I nt erface RARP

รูปที่ 2.8 โปรโตคอลแสตคของ TCP/IP

12
ระดับชั้นทรานสปอร์ต มีสองโปรโตคอลสําคัญ TCP และ UDP แอพลิเคชั้นจะ
เลือกใช้ TCP หรือ UDP ตามลักษณะงาน โปรโตคอลระดับล่างถัดจาก IP ได้แก่ โปรโตคอลระดับเด
ทาลิงค์ ซึ่งกําหนดการทํางานตามเทคโนโลยีเครือข่ายที่ใช้งานเช่นโปรโตคอล CSMA/CD ตามระบบ
มาตรฐาน Ethernet ที่ได้ใส่ระดับชั้นนี้มีโปรโตคอลในชุดของ TCP/IP โดยทําหน้าที่สนับสนุนการ
ทํางานอยู่สองโปรโตคอลคือ ARP และ RARP โดยทั้งสองโปรโตคอลทําหน้าที่แปลงค่าระหว่าง IP
Address กับ Hardware Address
5) การส่งถ่ายข้อมูลระหว่างชั้น โปรโตคอลที่ในแต่ละชั้นนั้นล้วนมีหน้าที่ๆเกี่ยวข้องใน
การส่งผ่านข้อมูลจากสถานีตน้ ทางไปยังสถานีปลายทาง ส่วนข้อมูลจะถูกส่งผ่านจากโปรโตคอลระดับ
บนสุดจากสถานีต้นทางไปยังระดับล่าง จนกระทั่งข้อมูลถูกแปลงให้อยู่ในรูปของสัญญาณไฟฟ้า แล้ว
จะเดินทางผ่านเครือข่ายไปยังสถานีปลายทาง โปรโตคอลระดับล่างสุดที่สถานีปลายทางจะทําการรับ
สัญญาณและส่งผ่านขึ้นไปยังโปรโตคอลระดับบนต่อไป เมื่อข้อมูลผ่านแต่ละระดับชั้น โปรโตคอลใน
ชั้นนั้นจะผนวกข่าวสารกํากับการทํางานประจําโปรโตคอลซึ่งเรียกว่า โปรโตคอลเฮดเดอร์ (protocol
header) เข้ากับข้อมูล เฮดเดอร์และตัวข้อมูลจากระดับบนจะถูกส่งผ่านไปยังระดับล่าง โปรโตคอล
ระดับล่างจะมองเฮดเดอร์หุ้มเป็นชั้นๆ กระบวนการนี้เรียกว่า การเอ็นแคปซูเลต ตัวอย่างในรูปที่ 2.9
แสดงการเอ็นแคปซูเลตแพ็กเก็ต TCP/IP ในส่วนอีเทอร์เน็ต เมื่อสถานีปลายทางได้รับแพ็กเก็ตก็จะ
ดําเนินการส่งไปตามลําดับชั้น โปรโตคอลประจําชั้นนี้จะถอดเฮดเดอร์ออกและส่งส่วนที่เหลือไปยังชั้น
ถัดไป เฮดเดอร์จะถูกถอดออกไปเหลือเฉพาะข้อมูลเมื่อถึงชั้นบนสุด กระบวนการนี้เรียกว่าดีแคบซูเลต
(decapsulation)

ข อ มู ล

applicat ion Appl เฮดเดอ ร ข อ มู ล

TCP TCP เฮดเดอ ร Appl เฮดเดอ ร ข อ มู ล

IP IP เฮดเดอ ร TCP เฮดเดอ ร Appl เฮดเดอ ร ข อ มู ล

Et hernet Et hernet เฮดเดอ ร IP เฮดเดอ ร TCP เฮดเดอ ร Appl เฮดเดอ ร ข อ มู ล Et hernet เท รล เล อ ร

รูปที่ 2.9 การห่อหุ้มข้อมูลตามลําดับโปรโตคอลแสตด

6) ไอพีแอดเดรส ( IP Address ) อินเทอร์เน็ตแยกแยะเครื่องโดยใช้ IP Address


ประจําฮาร์ดแวร์อินเทอร์เฟสที่เชื่อมเข้าเครือข่าย ตัวอย่างที่เป็นของฮาร์ดแวร์อินเทอร์เฟสได้แก่การ์ด
เครือข่าย คอมพิวเตอร์ที่มีมากกว่าหนึ่งอินเทอร์เฟสนั้น สามารถที่จะมี IP Address ได้ตามจํานวน
อินเทอร์เฟส แต่คอมพิวเตอร์โดยทั่วไปมักมีเพียงอินเทอร์เฟสเดียว จึงจะมักเรียกว่าไอพีแอดเดรสเป็น
13
แอดเดรสประจําเครื่อง ส่วนอุปกรณ์ฮาร์ดแวร์เช่น เรามักจะมีอินเทอร์เฟสจํานวนมากเพื่อนํามาใช้โยง
เครือข่ายเราเตอร์ (Router) จึงมี IP Address หลายค่าตามจํานวนอินเทอร์เฟสเทคโนโลยีเครือข่าย
คอมพิวเตอร์ TCP/IP ผ่านการออกแบบมาให้สามารถทํางานกับระบบการสื่อสารระดับล่าง โดยไม่
จํากัดประเภท ในปัจจุบันมีฮาร์ดแวร์เครือข่ายจํานวนมากทั้งในกลุ่มของ LAN และ WAN ที่รองรับ
การทํางานร่วมกับ TCP/IP อุปกรณ์เครือข่าย

2.5 เอ็กบี (Xbee)


Xbee คือชื่อของผลิตภัณฑ์ของบริษัท Digi ใช้สําหรับส่งข้อมูลแบบไร้สายและสามารถสร้าง
ระบบเครือข่ายได้โดยใช้มาตรฐานของ Zigbee (IEEE 802.15.4) Xbee เป็นอุปกรณ์ที่มีไมโครคอล
โทรลเลอร์และ RF IC อยู่ภายในตัว ทําหน้าที่เป็นอุปกรณ์ transeciver (อุปกรณ์รับ-ส่งสัญญาณ)
แบบ Half Duplex ย่านความถี่ 2.4 GHz มีการจัดการโดยใช้พลังงานต่ํา ใช้งานง่าย มี interface ที่
ใช้รับและส่งข้อมูลกับ Xbee เป็น UART (TTL) ซึ่งสําหรับทางด้านไมโครคอนโทรลเลอร์ สามารถนํา
ขาที่ใช้ในการติดต่อสื่อสาร UART ของ Xbee ต่อเข้ากับ UART ของไมโครคอนโทรลเลอร์ได้เลย
2.5.1 เหตุผลที่ได้นําระบบเครือข่ายไร้สายของ Xbee มาใช้ในโครงงานนี้คือ
1) เป็นเทคโนโลยีที่มีความสําคัญเกี่ยวกับการใช้ติดต่อสื่อสารหรือค้นหาข้อมูล
2) เทคโนโลยี Wireless มีความสะดวกและรวดเร็วในการใช้งาน
3) เป็นเทคโนโลยีที่ควรศึกษาหาความรู้และนําไปประยุกต์ใช้งานด้านต่างๆ
4) เพื่ออํานวยความสะดวกสบายในการควบคุมการเปิด-ปิดการทํางานหลอดไฟฟ้า
2.5.2 ความน่าสนใจของตัว Xbee
1) มีราคาที่ค่อนข้างถูก
2) ใช้พลังงานในวงจรน้อย
3) มีความทนทานทั้งที่ร่มและกลางแจ้ง
4) ใช้แบตเตอร์รี่ขนาดเล็ก
5) สามารถสื่อสารข้อมูลแบบไร้สายได้
6) มีโมดูลขนาดเล็ก
2.5.3 รูปแบบระบบเครือข่ายไร้สาย Xbee(Xbee Wireless LAN)
ในการสร้างโครงข่ายไร้สายของ Xbee นั้น จะต้องประกอบด้วยโหนด จํานวนอย่างน้อยที่สุด
2 ชนิด คือ Coordinator node และ node ลูกข่าย ชนิดใดชนิดหนึ่ง (Router/ End Device) จึงจะ
สามารถสื่อสารและทํางานในรูปแบบของ PAN (Personal area network) ได้ โดย Xbee สามารถ
แบ่งรูปแบบระบบเครือข่ายไร้สายได้ 3 รูปแบบดังนี้
1) แบบสตาร์ เป็นการรับ-ส่งข้อมูลแบบไม่เฉพะเจาะจงจุดหมายปลายทาง หรือแบบ
Xbee ทุกตัวทีอ่ ยู่ในระบบเครือข่ายเดียวกันสามารถรับ-ส่งข้อมูลได้ทุกตัวดังในรูปที่ 2.10
2) แบบเมช เป็นเครือข่ายที่มีประสิทธิภาพสูงมาก เนื่องจากข้อมูลสามารถที่จะส่งไป
เป้าหมายได้หลายเส้นทาง ทําให้ระบบนี้สามารถรับ-ส่งข้อมูลไปยังจุดหมายปลายทางได้ดี แม้จะเกิด
14
ความเสียหายกับระบบบางส่วนก็ตาม(ขึ้นอยู่กับการออกแบบระบบของผู้ใช้ด้วย) ดังนั้นระบบนี้จึงเป็น
ระบบที่ได้รับความนิยมอย่างมากดังในรูปที่ 2.10

รูปที่ 2.10 เครือข่ายแบบเมช (Mesh) และสตาร์ (Star)

3) แบบคลัสเตอร์ทรี (Cluster Tree Network) เป็นการรับ-ส่งข้อมูลแบบการส่งผ่าน


เช่น A ต้องการจะติดต่อกับ C แต่ C อยู่ไกลจาก A จน A ไม่สามารถติดต่อกับ C ได้ แต่พอดีมี B ที่ได้
อยู่ระหว่าง A กับ C ดังนั้น Cluster Tree จะใช้ B เป็นเหมือนตัวกลางเชื่อมการติดต่อ ระหว่าง A กับ
C ดังในรูปที่ 2.11

รูปที่ 2.11 เครือข่ายแบบคลัสเตอร์ทรี (Cluster Tree Network)

15
2.5.4 โหนดระบบโครงข่ายไร้สายของเอ็กบี (Xbee Network Node)
จะประกอบไปด้วยโหนดหลักๆ อยู่ 3 โหนด โดยแต่ละโหนดจะมีหน้าที่ในการทํางานแตกต่าง
กันไปดังต่อไปนี้
1) โหนดแม่ข่าย (Coordinator) เป็นอุปกรณ์ประเภท FFD (Full Function Device)
มีหน้าที่สร้างการสื่อสารเชื่อมโยงเครือข่ายระหว่าง End Device กับ Router หรือ Coordinator กับ
Coordinator หรือ Coordinator กับ Router โดยจะต้องกําหนด address ให้กับ device ที่อยู่ใน
วงเครือข่ายไม่ให้ซ้ํากัน และดูแลจัดการเรื่องการ Routing เส้นทาง และไม่สามารถ sleep และควร
จะเป็น Main Power
2) โหนดลูกข่าย (End Device) เป็นอุปกรณ์ประเภท FFD (Full Function Device)
หรือ RFD (Reduced Function Device) เมื่อเข้าร่วมเครือข่ายแล้วจะมีหน้าที่รับและส่งข้อมูล แต่ไม่
สามารถขยายสัญญาณไปให้ตัวอื่นๆได้อีก และจะไม่สามารถให้อุปกรณ์อื่นๆเข้าร่วมเครือข่ายได้ และ
สามารถเข้าสู่โหมด low power modes เพื่อประหยัดพลังงาน
3) โหนดกระจายสัญญาณ (Router) เป็นอุปกรณ์ประเภทแบบ FFD (Full Function
Device) เมื่อเข้าร่วมเครือข่ายแล้ว จะมีหน้าที่รับและส่งข้อมูลเหมือน End Device แต่สามารถที่จะ
กําหนดเส้นทางข้อมูลเพื่อกระจายสัญญาณต่อไปได้ และจะอนุญาตให้ Router และ End Device ตัว
อื่นๆเข้าร่วมเครือข่ายได้
2.5.5 คุณสมบัติโดยทั่วไปของเอ็กบี (Xbee)
1) Operating Frequency ISM Band 2.4 GHz (ISM Band หมายถึงย่านความถี่ที่
ใช้งาน เพื่อการวิจัยซึ่งจะอนุญาตให้ใช้กับอุตสาหกรรม (Industrial) วิทยาศาสตร์ (Scientifit) และ
ทางการแพทย์ (Medical)
2) จะมีสายอากาศให้เลือกใช้หลายแบบคือแบบ Chip Antenna, Whip Antenna,
U.FL connector และ SMA connector โดยแบบ U.FL connector และ SMA connector
สามารถใช้กับเสาอากาศย่าน 2.4 GHz ที่เป็น connector แบบ U.FL หรือ SMA ได้
3) Supply Voltage อยู่ที่ 2.8-3.4 โวลต์
4) ในโหมดประหยัดพลังงานใช้กระแสไฟฟ้า < 10 μA
5) อัตราถ่ายทอดข้อมูลผ่านคลื่นวิทยุ อยู่ที่ 250,000 บิตต่อวินาที
6) อัตราการถ่ายทอดข้อมูลอนุกรม (Baud rate) อยู่ระหว่าง 1,200-115,200 บิตต่อ
วินาที (เป็นส่วนที่ติดต่อสื่อสารกับไมโครคอนโทรลเลอร์)
7) เทคโนโลยีการกระจายคลื่นแบบ DSSS (Direct Sequence Spread Spectrum)
8) การกําหนด addressing มีลักษณะลําดับคือ กําหนด PAN ID สําหรับเครือข่าย
หนึ่งๆ กําหนด Channel และกําหนด address ของแต่ละตัว
2.5.6 แบบของสายอากาศ
1) แบบชิป (Chip Antenna) เหมาะกับการนําไปใช้งานในโครงงานที่ต้องการที่ขนาด
เล็ก เพราะการใช้สายอากาศแบบนี้ สายอากาศไม่เกะกะ นําไปใส่กล่องได้ แต่ได้เฉพาะกล่องพลาสติก
ไม่สามารถใช้กล่องเหล็กได้ เนื่องจากใส่กล่องเหล็กสัญญาณจะไม่สามารถส่งออกมานอกกล่องเหล็กได้
หากต้องการใช้กล่องเหล็กควรเลือกใช้สายอากาศที่ต่อออกมานอกกล่อง

16
รูปที่ 2.12 โมดูล Xbee แบบชิป (Chip Antenna)

2) แบบเสาอากาศ (Wire Antenna) สามารถส่งได้ไกลกว่าแบบ Chip Antenna แต่


หากนําไปประกอบใส่กล่องจะมีข้อเสียตรงที่ไม่สามารถใส่กล่องเล็กๆได้ เพราะต้องให้เหลือพื้นที่ให้กบั
สายอากาศ และด้วยสายอากาศที่ยืนออกมาลักษณะนี้ บางทีผู้ใช้อาจจะรู้สึกเกะกะ ทําให้ใส่กล่องที่
ออกแบบมาไม่ได้

รูปที่ 2.13 โมดูล Xbee แบบเสาอากาศ (Wire Antenna)

3) แบบยูเอฟแอล (UFL Antenna) เหมาะสําหรับงานที่จะออกแบบใส่ในกล่อง และ


ต้องการให้สายอากาศยื่นออกมานอกกล่อง และเนื่องจากการที่จะต้องต่อสายส่วนของ UFL to SMA
(Sub Miniature version A) ออกมาเพิ่มเติม ตรงจุดนี้จะทําให้เกิดการลดทอนสัญญาณบ้าง แต่ก็
อาจจะมีการขยายสัญญาณทีส่ ายอากาศอีกที จึงต้องไปพิจารณาเรื่องอัตราขยายที่สายอากาศต่อด้วย
(อัตราขยาย เรียกว่า Gain มีหน่วยเป็น dB หรือ dBi)

17
รูปที่ 2.14 โมดูล Xbee แบบยูเอฟแอล (UFL Antenna)

4) แบบเอสเอ็มเอ (SMA Antenna) ในการต่อใช้งานจริงการออกแบบกล่องใส่ Xbee


ที่ใช้สายอากาศแบบนี้จะต้องออกแบบให้มีตําแหน่งของ Xbee อยู่ใกล้กับรูที่เจาะ เพื่อให้สามารถต่อ
สายอากาศให้ออกมานอกกล่องได้ เมื่อนําไปต่อใช้งานร่วมกับสายอากาศแล้วจะมีการขยายสัญญาณที่
สายอากาศอีกที

รูปที่ 2.15 โมดูล Xbee แบบเอสเอ็มเอ (SMA Antenna)

2.5.7 การกําหนดค่าอ้างอิงประจําตัวของเอ็กบี (Xbee Addressing)


ตัว Xbee จะสามารถกําหนดค่าอ้างอิงประจําตัวของมัน (Address) ได้ 2 แบบคือ แบบ 16
bit Address และ 64 bit Address ปกติแล้ว Xbee ทุกตัว จะถูกกําหนดค่ามาจากโรงงานผู้ผลิตเป็น
Address 64 bit อยู่แล้ว ซึง่ จะสามารถอ่านค่าได้จาก parameter SH+SL การใช้งาน Address 64
bit สามารถทําได้โดยกําหนดค่า parameter MY ให้มคี ่า 0xFFFE และ 0xFFFF ส่วนการกําหนด
Address 16 bit นั้นทําได้โดย กําหนดค่า parameter MY ให้มีค่า 0x0000 ถึง 0xFFFD โดยจะเรียก
Mode การทํางานเป็น 2 ประเภทคือ
1) โหมดยูนิคาสต์ (Unicast Mode) คือการรับ-ส่งข้อมูล โดยทีจ่ ะต้องอาศัยหลักการ
Acknowledgement คือหากทางด้านส่งนั้นส่งข้อมูลไป แต่ไม่รับ Ack ตอบกลับจากตัวรับ ก็จะทํา
การส่งข้อมูลใหม่
2) โหมดบรอดแคส (Broadcast Mode) คือการส่งข้อมูลไปยังจุดปลายทางให้ได้รับ
ข้อมูลทุกตัว

18
2.5.8 การทํางานของเอ็กบี (Xbee)
1) โหมดไอดีแอลอี (Idle Mode) เป็นโหมดที่ไม่มกี ารรับ-ส่งข้อมูล และถือได้ว่าเป็น
โหมดกลางที่สามารถเปลี่ยนเป็นไปยังโหมดต่างๆได้
2) โหมดส่งข้อมูล (Transmit Mode) จะมีการส่งข้อมูลทั้งหมดได้ 2 วิธีคือ Direct
Transmission และ Indirect Transmission packet โดยที่แบบ Direct Transmission ข้อมูลจะ
ถูกส่งไปยัง Destination Address ทันที ส่วนแบบ Indirect Transmission packet ข้อมูลจะถูก
เก็บไว้จนกว่าจะถึงเวลาที่จะต้องส่งเท่านั้น และจะส่งไปยังที่ๆมีการตอบรับมา (Source Address =
Destination Address)
3) โหมดรับข้อมูล (Receive Mode) ข้อมูล RF จะถูกรับทางสายอากาศ
4) โหมดประหยัดพลังงาน (Sleep Mode) อยู่ในช่วงสถานะที่มีการใช้กําลังไฟฟ้าต่ํา
หรือไม่มีการใช้ การเข้าสู่โหมดนี้ค่าของตัวแปร SM ต้องไม่เป็น 0 และต้องเป็นไปตามเงื่อนไขต่อไปนี้
อย่างน้อยหนึ่งอย่างคือ มีการใช้งานที่ Sleep_RQ (pin 9) หรืออยู่ในโหมด Idle (ไม่มีการรับ-ส่ง
ข้อมูล) เป็นเวลานานมากกว่าที่กําหนดไว้ที่ตัวแปร ST (Time before Sleep)
5) โหมดลําดับข้อมูล (Command Mode) เป็นโหมดคําสั่งโดยจะใช้ลําดับเป็นสําคัญ

Transmit

Sleep Idle
Receive
Mode Mode
Mode

Command

รูปที่ 2.16 โหมดการทํางานของ Xbee

19
2.6 ไมโครคอนโทรลเลอร์
ไมโครคอนโทรลเลอร์คืออุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่ทําหน้าที่เสมือนคอมพิวเตอร์ขนาดเล็ก ที่ใช้
ควบคุมการทํางานของเครื่องใช้ไฟฟ้า หรือระบบควบคุมทางอิเล็กทรอนิกส์ ให้มีความสามารถในการ
ทํางานมากขึ้น โดยเราสามารถจะทําการเปลี่ยนแปลงลําดับการทํางานด้วยการเปลี่ยนแปลงหรือแก้ไข
โปรแกรมภายในหน่วยความจํา ทําให้เราสามารถนําไมโครคอนโทรลเลอร์มาประยุกต์ใช้ในการควบคุม
การทํางานของอุปกรณ์ไฟฟ้าต่างๆ
2.6.1 โครงสร้างโดยทั่วไปของไมโครคอนโทรลเลอร์
โครงสร้างโดยทั่วไปของไมโครคอนโทรลเลอร์นั้น สามารถแบ่งออกมาได้เป็น 5 ส่วนใหญ่ๆ
ดังต่อไปนี้
1) หน่วยประมวลผลกลางหรือซีพียู (CPU : Central Processing Unit) คือส่วนที่ทํา
หน้าที่คํานวณทางคณิตศาสตร์ คือการตัดสินใจแบบมีเงื่อนไข (Logic) ซึ่งจะมีการทํางานที่ซับซ้อน
โดยลําดับในการทํางานของส่วนประมวลผลจะขึ้นอยู่กับการจัดลําดับคําสั่งในการทํางาน
(Programming Code) ซึ่งจะบรรจุอยู่ภายในของส่วนพื้นที่เก็บข้อมูล
2) หน่วยความจํา (Memory) สามารถแบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ หน่วยความจําที่มีไว้
สําหรับเก็บโปรแกรมหลัก (Program Memory) เปรียบเสมือนฮาร์ดดิสก์ของเครื่องคอมพิวเตอร์ตั้ง
โต๊ะ คือข้อมูลใดๆ ที่ถูกเก็บไว้ในนี้จะไม่สูญหายไปแม้ไม่มไี ฟเลี้ยง อีกส่วนหนึ่งคือหน่วยความจําข้อมูล
(Data Memory) ใช้เป็นเหมือนกกระดาษทดในการคํานวณของซีพียู และยังเป็นที่พักข้อมูลชั่วคราว
ขณะทํางาน แต่ถ้าหากไม่มไี ฟเลี้ยงข้อมูลก็จะหายไปคล้ายกับหน่วยความจําแรม (RAM) ในเครื่อง
คอมพิวเตอร์ทั่วๆไป แต่สําหรับไมโครคอนโทรลเลอร์สมัยใหม่แล้ว หน่วยความจําข้อมูลนี้จะมีทั้งที่เป็น
หน่วยความจําแรม ซึ่งข้อมูลจะหายไปเมื่อไม่มีไฟเลี้ยง และเป็นแบบอีอีพรอม (EEPROM : Erasable
Electrically Read-Only Memory) ซึ่งสามารถเก็บข้อมูลได้แม้ไม่มไี ฟเลี้ยงก็ตาม
3) ส่วนติดต่อกับอุปกรณ์ภายนอกหรือพอร์ต (Port) มี 2 ลักษณะคือ พอร์ตอินพุต
(Input Port) และพอร์ตส่งสัญญาณหรือพอร์ตเอาต์พุต (Output Port) ส่วนนี้จะใช้ในการเชื่อมต่อ
กับอุปกรณ์ภายนอก ถือว่าเป็นส่วนที่สําคัญอย่างมาก ใช้ร่วมกันระหว่างพอร์ตอินพุต เพื่อรับสัญญาณ
อาจจะด้วยการกดสวิตช์ เพื่อนําไปประมวลผลและส่งไปพอร์ตเอาต์พุต เพื่อแสดงผลเช่น การติดสว่าง
ของหลอดไฟ เป็นต้น
4) ช่องทางเดินของสัญญาณหรือบัส (BUS) คือเส้นทางการแลกเปลี่ยนสัญญาณข้อมูล
ระหว่าง ซีพียู หน่วยความจําและพอร์ตต่างๆ เป็นลักษณะของสายสัญญาณจํานวนมากที่อยู่ภายในตัว
ไมโครคอนโทรลเลอร์ โดยแบ่งเป็นบัสข้อมูล (Data Bus),บัสแอดเดรส (Address Bus) และบัส
ควบคุม (Control Bus)
5) วงจรกําเนิดสัญญาณนาฬิกา เป็นส่วนประกอบที่สําคัญมากๆอีกส่วนหนึ่ง เนื่องจาก
การทํางานที่เกิดขึ้นในตัวไมโครคอนโทรลเลอร์ จะขึ้นอยูก่ ับการกําหนดจังหวะ หากสัญญาณนาฬิกามี
ความถี่สูง จังหวะการทํางานก็จะสามารถทําได้ถี่ขึ้น ส่งผลให้ไมโครคอนโทรลเลอร์ตัวนั้นมีความเร็วใน
การประมวลผลสูงตามไปด้วย

20
รูปที่ 2.17 โครงสร้างหลักของไมโครคอนโทรลเลอร์

สําหรับไมโครคอนโทรลเลอร์ที่นํามาใช้ในโครงงานนี้คือ ไมโครคอนโทรลเลอร์ PIC เบอร์


dsPIC30F4011 ของ Microchips เป็น MCU ซึ่งใช้การประมวลผลข้อมูลแบบ 16 บิต จากค่าย
Microchips ซึ่งมีจุดเด่นในด้านความสามารถการประมวลผลข้อมูลสัญญาณแบบดิจิตอลเหมาะอย่าง
ยิ่งสําหรับนําไปประยุกต์ใช้ในงานควบคุมต่างๆ โดยโครงสร้างภายในจะเป็นการผสมผสานกันระหว่าง
ไมโครคอนโทรลเลอร์ (MCU) และวงจร DSP (Digital Signal Processing) รวมเข้าไว้ด้วยกัน หรือ
อาจเรียก MCU ตระกูล dsPIC30F ว่าเป็น DSC หรือ Digital Signal Controller ก็ได้
ขาของไมโครคอนโทรลเลอร์ PIC เบอร์ dsPIC30F4011 มี 40 ขา มีขาพอร์ตอินพุตเอาต์พุต
อิสระจํานาน 30 ขา ประกอบไปด้วยขา RB, RC, RD, RE, RF และขาที่เกี่ยวข้องกับสัญญาณอนาล็อก
จํานวน 2 ขาพอร์ต คือ VREF+ และ VREF- รายละเอียดของขาทั้งหมดแสดงใน รูปที่ 2.18

รูปที่ 2.18 ขาพอร์ตของไมโครคอนโทรลเลอร์ PIC เบอร์ dsPIC30F401


21
2.6.2 รายละเอียดของขาพอร์ต
ดังในตารางที่ 2.2 มีรายละเอียดดังนี้
1) VDD ขาแรงดันไฟตรง
2) VSS ขา Ground
3) Port RB (RB0-RB8) ขาพอร์ตอินพุตเอาต์พุตดิจิตอล กําหนดการพลูอัพภายในขา
พอร์ตได้ (internal pull-up register) และสามารถกําหนดการใช้งานป็นพอร์ตอินพุตอนาล็อก (A/D
Converter) ได้
4) Port RC13-RC15 ขาพอร์ตอินพุตเอาต์พุตดิจิตอล กําหนดการพลูอัพภายในขา
พอร์ตได้ (internal pull-up register)
5) Port RD (RD0-RD3) ขาพอร์ตอินพุตเอาต์พุตดิจิตอล กําหนดการพลูอัพภายในขา
พอร์ตได้ (internal pull-up register)
6) Port RE0-RE5, RE8 ขาพอร์ตอินพุตเอาต์พุตดิจิตอล กําหนดการพลูอัพภายในขา
พอร์ตได้ (internal pull-up register)
7) Port RF (RF0-RF6) ขาพอร์ตอินพุตเอาต์พุตดิจิตอล กําหนดการพลูอัพภายในขา
พอร์ตได้ (internal pull-up register)
8) RESET ขารีเซตวงจร
9) OSC1 ขาต่อคริสตอลออสชิเลเตอร์ ช่องที่ 1 อินพุต
10) OSC2 ขาต่อคริสตอลออสชิเลเตอร์ ช่องที่ 2 เอาต์พุต
11) AVDD ขาแรงดันอนาล็อกสําหรับโมดูลแปลงสัญญาณอนาล็อกเป็นดิจิตอล
12) AVSS ขาแรงดันอนาล็อกอ้างอิงสําหรับโมดูลแปลงสัญญาณอนาล็อกเป็นดิจิตอล

22
ตารางที่ 2.2 ขาพอร์ตหลักๆของไมโครคอนโทรลเลอร์ PIC เบอร์ dsPIC30F4011

23
2.6.3 มาตรฐาน RS 232
เพื่อจะทําให้อุปกรณ์จากผู้ผลิตต่างกันสามารถทํางานร่วมกันได้ มาตรฐานหลายชนิดจึงได้รับ
การออกแบบขึ้นมา มาตรฐานที่ใช้กันอย่างกว้างข้างที่สุดในปัจจุบันคือมาตรฐาน RS 232 ซึ่งโดยปกติ
ไมโครคอมพิวเตอร์จะมีพอร์ตที่เป็นแบบอนุกรมอยู่ในตัวแล้ว และทําหน้าที่รับ - ส่งข้อมูลแบบอนุกรม
ตามจุดประสงค์ของมาตรฐาน RS 232 เพื่อที่จะสามารถเชื่อมต่อกันระหว่างอุปกรณ์รับ-ส่งปลายทาง
(Data Terminal Equipment) เช่น พอร์ตของคอมพิวเตอร์หลักหรืออุปกรณ์ปลายทางกับอุปกรณ์
RS 232 เป็นข้อกําหนดของการอินเตอร์เฟสมาตรฐาน และยังสามารถใช้เพื่อจุดประสงค์อื่นต่างกันไป
เช่นการสื่อสารแบบซิงโครนัส (Synchronous communication) และรูปแบบการสื่อสารที่ต้องการ
สัญญาณนาฬิกาและสัญญาณกําหนดจังหวะเพิ่มเติมขึ้นมา ในความเป็นจริงแล้วเรายังสามารถทําให้มี
การสนทนากันระหว่าง DTE และ DCE โดยการใช้สายสัญญาณเพียง 3 เส้นเท่านัน้ คือใช้สาย TD
และ RD และสายกราวด์เท่านั้น
RS232 คือ มาตรฐานการเชื่อมต่อข้อมูลแบบ Serial ใช้เพื่อเพิ่มระยะทางในการส่งข้อมูล
แบบ Serial ให้สามารถส่งได้ระยะทางที่มากขึ้น โดยมีการเปลี่ยนระดับแรงดัน ของ Logic (TTL) จาก
เดิมที่จะอยู่ในช่วง 0-5 V หรือ 0-3.3 V เป็นช่วง -15 ถึง 15 V ซึ่งถ้านํา RS232 ไปต่อตรงกับ Logic
(TTL) เลยจะเกิดความเสียหายกับอุปกรณ์ได้ เพราะฉะนั้นการที่ Logic (TTL) ต้องการติดต่อสื่อสาร
กับคอมพิวเตอร์ผ่านพอร์ตอนุกรมนั้น จะต้องมี IC เช่น MAX 232 ทําหน้าที่แปลงแรงดันที่เข้ามาจาก
Serial Port ตามมาตรฐาน RS 232 ให้เป็นระดับแรงดัน TTL หรือแปลงแรงดันที่เข้ามาจากระดับ
แรงดัน TTL ให้เป็นระดับแรงดัน Serial Port ตามมาตรฐาน RS 232 เพื่อให้สามารถติดต่อกับ
ไมโครคอนโทรลเลอร์ได้

24
25
บทที่ 3
ขั้นตอนการดําเนินงาน

การจัดทําชุดสาธิตการควบคุมอุปกรณ์ไฟฟ้าภายในบ้านแบบไร้สายโดยใช้เอ็กบี ให้บรรลุเสร็จ
สมบูรณ์ได้นั้น จําเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีการวางแผนการทํางานให้เป็นขั้นตอน เพื่อให้การดําเนินงาน
เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพตรงตามแผนที่กาํ หนด ซึ่งแผนผังขั้นตอนและวิธีการดําเนินงานแสดงดังรูป
ที่ 3.1 สามารถลําดับขั้นตอนได้ดังต่อไปนี้

หาข้อมูล

ออกแบบระบบเครื อ ข่ า ยไร้ ส าย ออกแบบ


วงจรไฟฟ้า Xbee ประกอบแผ่นปริ้นวงจร
ตั้งค่าการใช้งานของ Xbee และทดสอบ

ไม่ผ่าน
พบ อ.ที่ปรึกษา ปรับปรุงแก้ไข

ออกแบบระบบโปรโตคอล และทดสอบ

ไม่ผ่าน
พบ อ.ที่ปรึกษา ปรับปรุงแก้ไข

25
A

ออกแบบวงจรไฟฟ้ า ประกอบแผ่ น ปริ้ น วงจรของ


ไมโครคอนโทรลเลอร์ฝั่งด้าน Client เขียนโปรแกรม
การใช้งานพร้อมติดตั้งลงในไมโครคอนโทรลเลอร์ และ
ทดสอบ

พบ อ.ที่ปรึกษา ไม่ผ่าน
ปรับปรุงแก้ไข

ออกแบบวงจรไฟฟ้า ประกอบแผ่นปริ้นวงจรของชุด
ควบคุมการเปิด-ปิดอุปกรณ์ไฟฟ้าภายในบ้านแบบไร้
สาย และทดสอบ

ออกแบบวงจรไฟฟ้ า ประกอบแผ่ น ปริ้ น วงจรของ


ไมโครคอนโทรลเลอร์ฝั่งด้าน Server เขียนโปรแกรม
การใช้งานพร้อมติดตั้งลงในไมโครคอนโทรลเลอร์ และ
ทดสอบ

ออกแบบวงจรไฟฟ้ า ประกอบแผ่ น ปริ้ น วงจรของ


หน้าจอทัชสกรีน เขียนโปรแกรมการใช้งานพร้อมติดตั้ง
ลงหน้าจอทัชสกรีน และทดสอบ

ทดสอบการทํางาน
ทั้งหมด
ปรับปรุงแก้ไข
ได้ชุดสาธิตการควบคุมอุปกรณ์ไฟฟ้าภายในบ้านแบบ
ไร้สายโดยใช้เอ็กบี
รูปที่ 3.1 แผนผังขั้นตอนการทํางาน

26
ในส่วนของโครงงานนี้จัดรูปแบบการเชื่อมต่อระบบเครือข่ายไร้สายแบบ Client / Server

3.1 วงจรด้านแม่ข่าย (Server)

Sever

Touch Screen Xbee


Coordi

รูปที่ 3.2 บล็อกไดอะแกรมวงจรด้านแม่ข่าย (Server)

จากรูปที่ 3.2 วงจรด้าน Server มีอุปกรณ์ดังนี้


1. Touch Screen หน้าที่การทํางานคือ ไว้ให้ผู้ใช้กดเลือกการใช้งาน
2. LCD Display หน้าที่การทํางานคือ แสดงผลการทํางานต่างๆทาง LCD Display
3. ไมโครคอนโทรลเลอร์ หน้าที่การทํางานคือ ประมวลผลการทํางาน สั่งการและควบคุมการ
ทํางานของวงจรด้าน server ทั้งหมด
4. Xbee (Coordinator) หน้าที่การทํางานคือ ส่งและรับ Protocol ผ่านระบบเครือข่ายไร้
สาย
5. Power Supply หน้าที่การทํางานคือ จ่ายไฟเลี้ยงให้กับวงจร
หลักการทํางานของวงจรด้าน server
1. แสดง Display LCD
2. ไมโครคอนโทรลเลอร์จะรอรับค่าจาก Touch Screen (ว่ามีการกดหรือไม่ กดที่ตาํ แหน่ง
X,Y หรือไม่ แล้วใช่การกดตําแหน่ง ON/OFF หรือไม่)
3. ไมโครคอนโทรลเลอร์นําค่าที่ได้มาแปลงเป็น Protocol แล้วส่งให้ Xbee (Coordinator)
4. Xbee (Coordinator) จะนําค่า Protocol ส่งไปให้วงจร Client
5. เอา Protocol ที่ได้กลับมาจากวงจร Client มาแปลง แล้วแสดงผลที่ LCD Display
ในโครงงานนี้จะใช้ Xbee-Pro เพราะฉนัน้ เราควรรู้ศึกษาและทําความเข้าใจคุณสมบัติและ
การใช้งานเบื้องต้นของ Xbee-Pro ก่อน โดยคุณสมบัติและการใช้งานเบื้องต้นของ Xbee-Pro มี
รายละเอียดดังต่อไปนี้

27
คุณสมบัติโดยทั่วไป
1. ความถี่ในการทํางาน : 2.4 GHz
2. สายอากาศ : มีสายอากาศแบบ Whip
3. ระยะทําการในร่ม : สูงสุด 300 ฟุตหรือประมาณ 100 เมตร
4. ระยะทําการกลางแจ้ง (แบบ line-of-sight) : สูงสุดถึง 1 ไมล์ หรือประมาณ 1,500
5. กําลังส่ง : 60mW (18dBm)
6. ความไวในการรับสัญญาณ : -100 dBm (1% packet error rate)
7. การทํางานของขาพอร์ต : สามารถกําหนดผ่านทางซอฟต์แวร์ X-CTU เพื่อให้ทํางานเป็น
อินพุตอะนาลอกสําหรับวงจรแปลงสัญญาณอะนาลอกเป็นดิจิตอล ความละเอียด 10 บิตและอินพุต
เอาต์พุตดิจติ อล
8. ขนาด : 0.96 x 1.297 นิ้ว หรือ 2.438 x 3.294 เซนติเมตร
9. ไฟเลี้ยง : 2.8 ถึง 3.4 V
10. กระแสไฟฟ้า : เมื่อส่งข้อมูล 215 mA, รับข้อมูล 55 mA, น้อยกว่า 10 uA ในโหมดลด
พลังงานที่ไฟเลี้ยง +3.3 V
11. อุณหภูมิใช้งาน : -40 ถึง 85 องศาเซลเซียส
คุณสมบัติด้านการสื่อสารข้อมูล
1. สามารถทํางานเป็นอุปกรณ์มาสเตอร์และสเลฟได้
2. อัตราถ่ายทอดข้อมูลผ่านคลื่นวิทยุ : 250,000 บิตต่อวินาที
3. อัตราการถ่ายทอดข้อมูลอนุกรม (บอดเรต) : 1,200 ถึ ง 115,200 บิตต่อวินาที
4. รูปแบบโครงข่ายข้อมูลที่รองรับ : แบบจุดต่อจุด (Point-to-point) , และแบบจุดต่อหลาย
จุด (Point-to-multipoint) และเข้ากันได้กับอุปกรณ์ ตามมาตรฐานรหัส 802.15.4
5. ทางเลือกแอดเดรส : PAN ID , ช่อง (Channel) และแอดเดรส (Addresses) สําหรับ
โหมดแอดเดรสสามารถกําหนดรหัสแอดเดรสได้มากถึง 65,000 รหัส
6. เทคโนโลยี ในการกระจายคลื่น : DSSS (Direct Sequence Spread Spectrum)
7. รองรับการทํางานทั้งแบบ API และ AT command สามารถกําหนดได้ผ่านทางซอฟต์แวร์
X-CTU

28
ตารางที่ 3.1 การจัดขาของโมดูล XBee-PRO และฟังก์ชั่นในการทํางาน
ขาที่ ชื่อขา/การทํางาน
1 VCC : ขาต่อไฟเลี้ยง +3.3V
2 DOUT : ขาเอาต์พุตส่งข้อมูลอนุกรม
3 DIN : ขาอินพุตรับข้อมูลอนุกรม
4 D08 : ขาเอาต์พุตดิจิตอลช่อง 8
5 RESET : ขารีเซตหลัก(แอกทีฟ "0")
6 PWM0/RSSI : ขาเอาต์พุต PWM ช่อง 0 และเป็นขาเอาต์พุตแสดงความแรงของการรับ
สัญญาณ
7 PWM1 : ขาเอาต์พุต PWM ช่อง 1
8 ไม่ได้ใช้งาน
9 DTR/SLEER_RQ/DI8 : ขาอินพุตรับสัญญาณให้หยุดทํางานเข้าสู่โหมดสลีป หรือเป็นขา
อินพุตดิจิตอลช่อง 8
10 GND : ขากราวด์
PWM0/RSSI : ขาเอาต์พุต PWM ช่อง 0 และเป็นขาเอาต์พุตแสดงความแรงของการรับ
สัญญาณ
11 AD4/DIO4 : ขาอินพุตอะนาลอก 4 หรือ ขาอินพุตเอาต์พุตดิจิตอล 4
12 CTS/DIO7 : ขาอินพุตรับสัญญาณแจ้งการส่งข้อมูลจากโฮลต์(Clear-To-Send) ใช้ในการ
ควบคุมจังหวะการรับส่งช้อมูล หรือเป็นขาอินพุตเอาต์พุตดิจิตอล 7
13 ON/SLEEP : ขาแสดงสถานะการทํางาน
"1" อยู่ในโหมดทํางานปกติ
"0" อยู่ในโหมดสลีป
14 VREF : ขาต่อแรงดันอ้างอิงสําหรับโมดูลแปลงสัญญาณอะนาลอกเป็นดิจิตอลภายใน Xbee-
Pro
15 Associated/AD5/DIO5 : ขาแสดงสถานะการเชื่อมต่อหรือขาอินพุตอะนาลอก 5 หรือขา
อินพุตเอาต์พุตดิจิตอล 5
16 RTS/AD6/DIO6 : ขาเอาต์พุตแจ้งความพร้อมในการส่งข้อมูล(Ready-To-Send) ใช้ควบคุม
จังหวะการรับส่งช้อมูล หรือเป็นขาอินพุตอะนาลอก 6 หรือเป็นขาอินพุตเอาต์พุตดิจิตอล 6
17 AD3/DIO3 : ขาอินพุตอะนาลอก 3 หรือ ขาอินพุตเอาต์พุตดิจิตอล 3
18 AD2/DIO2 : ขาอินพุตอะนาลอก 2 หรือ ขาอินพุตเอาต์พุตดิจิตอล 2
19 AD1/DIO1 : ขาอินพุตอะนาลอก 1 หรือ ขาอินพุตเอาต์พุตดิจิตอล 1
20 AD0/DIO0 : ขาอินพุตอะนาลอก 0 หรือ ขาอินพุตเอาต์พุตดิจิตอล 0

ค่า Default ของเโมดูล Xbee-PRO ที่โรงงานผู้ผลิตกําหนดไว้คือ อัตราบอดเรตเป็น 9,600


บิตต่อวินาที 8 บิตข้อมูลไม่มกี ารตรวจสอบพาริตี้ และ 1 บิตหยุดหรือ 9600 8N1 นั่นเอง สามารถใช้
งานได้ทันที โดยไม่ต้องมีการตั้งค่าใดๆ ทั้งสิ้น การต่อใช้งานก็ง่ายมากเพียงต่อขา TxD ของ Xbee-
PRO เข้ากับขา RxD ของไมโครคอนโทรลเลอร์ หรือคอมพิวเตอร์ และต่อขา RxD ของ Xbee-PRO
เข้ากับขา TxD ของไมโครคอนโทรลเลอร์ หรือคอมพิวเตอร์ จ่ายไฟเลี้ยง +3V และต่อกราวด์ ก็
สามารถใช้งานได้แล้ว แต่เนื่องจาก XBee-PRO ต้องการไฟเลี้ยงในย่าน 2.8 ถึง 3.4V และขาสัญญาณ

29
ทั้งหมดทํางานในระบบบัส 3V ดังนั้นหากตัองการนําไปเชื่อมต่อกับไมโครคอนโทรลเลอร์ หรืออุปกรณ์
ภายนอกที่ใช้ระบบบัส 5V จะต้องมีการลดแรงดันที่ขาพอร์ตลงด้วย ตัวอย่างวงจรเป็นดังนี้

รูปที่ 3.3 วงจรแบ่งแรงดัน (Voltage Divider) สําหรับลดแรงดันไมโครคอนโทรลเลอร์ 5 V

ในรูปที่ 3.3 จะเป็นการต่อความต้านทาน 10k เพิ่มเข้าไปในส่วนของวงจรที่ไปต่อกับขาพอร์ต


ไมโครคอนโทรลเลอร์ที่มีระดับแรงดันของระดับลอจิก TTL หรือ 5V เพื่อลดระดับแรงดันก่อนเข้าที่ขา
พอร์ตโมดูล Xbee-Pro ให้เหลือ 2.8 ถึง 3.4 V
3.1.1 การออกแบบระบบเครือข่ายไร้สาย
การออกแบบระบบเครือข่ายไร้สายของ Xbee นั้น ในโครงงานนี้จะออกแบบเป็นแบบ Star
(Broadcast) คือ เป็นการรับ-ส่งข้อมูลแบบไม่เฉพะเจาะจงจุดหมายปลายทาง หรือ Xbee ทุกตัวที่อยู่
ในระบบเครือข่ายเดียวกันสามารถรับ-ส่งข้อมูลได้ทุกตัว ดังในรูปที่ 3.4

รูปที่ 3.4 การเชื่อมต่อ Xbee แบบสตาร์ (Star)

Xbee ตัวที่ 1 ให้เป็น Coordinator โดยเลือก Function set เป็น XBEE 802.15.4 ทํางาน
ในรูปแบบ AT Command แล้วกําหนดค่าตามพารามิเตอร์นี้ PAN ID=0x5555, MY=0xAB10,
DH=0x0000, DL=0xAB11
Xbee ตัวที่ 2 ให้เป็น End Device โดยเลือก Function set เป็น XBEE 802.15.4 ทํางาน
ในรูปแบบ AT Command แล้วกําหนดค่าตามพารามิเตอร์นี้ PAN ID=0x5555, MY=0xAB11,
DH=0x0000, DL=0xAB10

30
3.1.2 การออกแบบวงจรไฟฟ้าของชุดโมดูล

รูปที่ 3.5 วงจรไฟฟ้าของชุดโมดูล Xbee

ในรูปที่ 3.5 จะมีวงจรจ่ายไฟคือ 5VDC ผ่านวงจร IC เรกูเลเตอร์ +3.3V (เนื่องจากโมดูล


ของ Xbee ใช้ไฟเลี้ยง 2.8 ถึ ง 3.4 V เพราะฉะนั้นจึงต้องลดทอนแรงดันให้คงที่เหลือ +3.3V) แล้วไฟ
บวกก็จะไหลผ่าน C1 ซึ่งเป็นตัวกรองความถี่ให้เรียบขึน้ แล้วก็จะไหลไปเลี้ยงขาพอร์ตของชุดโมดูล
Xbee และก็จะมีส่วนไฟบวกไหลผ่าน R1 เข้ามาที่สวิตช์รีเซตที่ต่ออยู่กบั ชุดโมดูล Xbee เพื่อที่จะทํา
ให้สวิตช์รีเซตสามารถทํางานเป็นสวิตช์รีเซตการทํางานของชุดโมดูล Xbee ได้

รูปที่ 3.6 รายละเอียดของบอร์ดชุดโมดูล Xbee

31
ในรูปที่ 3.6 จะมีหลอดไฟ LED ที่ต่อกับชุดโมดูล Xbee เพื่อแสดงสถานะการทํางานต่างๆ
เช่น ไฟแสดงสถานะเปิด-ปิดการทํางาน ไฟแสดงการกระจายคลื่นและไฟแสดงความพร้อมในการ
รับส่งสัญญาณ และยังมีจุดต่อขาพอร์ต TxD และRxD สําหรับเชื่อมต่ออุปกรณ์ภายนอก โดยจัด
สัญญาณผ่านคอนเน็กเตอร์ JST แบบ 3 ขา และ IDC ทั้งแบบตัวผู้และตัวเมีย เพื่อต่อใช้งานกับ
ไมโครคอนโทรลเลอร์
3.1.3 การตั้งค่าการใช้งานของโมดูล Xbee
จะต้องใช้บอร์ด ZX-XBeeU และซอฟต์แวร์ X-CTU มาช่วยในการกําหนดค่าคอนฟิกูเรชั่น
หรือค่ากําหนดการทํางานทางฮาร์ดแวร์
บอร์ด ZX-XBeeU เป็นบอร์ดสําหรับติดตั้งโมดูล XBee-PRO เพื่อเชื่อมต่อกับคอมพิวเตอร์
สํา หรับตั้งค่าพารามิเตอร์ต่างๆ ในรูปที่ 3.7 แสดงรายละเอียดของบอร์ด ZX-XBeeU และการติดตั้ง
โมดูล XBee-PRO ลงบนบอร์ด สําหรับวงจรของบอร์ด ZX-XBeeU แสดงในรูปที่ 3.8

รูปที่ 3.7 รายละเอียดของบอร์ด ZX-XBeeU

ในรูปที่ 3.8 จะเป็นรายละเอียดของบอร์ด ZX-XBeeU จะมีจะมีหลอดไฟ LED ที่ต่อกับชุด


โมดูล Xbee เพื่อแสดงสถานะการทํางานต่างๆ เช่น ไฟแสดงสถานะเปิด-ปิดการทํางาน ไฟแสดงการ
กระจายคลื่นและไฟแสดงความพร้อมในการรับส่งสัญญาณ และยังมีจดุ ต่อขาพอร์ตไว้สําหรับเชื่อมต่อ
อุปกรณ์ภายนอกแบบ IDC

32
รูปที่ 3.8 วงจรไฟฟ้าของบอร์ด ZX-XBeeU

ในรูปที่ 3.8 สําหรับวงจรไฟฟ้าของบอร์ด ZX-XBeeU จะใช้ไฟเลี้ยง+5V ผ่านพอร์ต USB


ของคอมพิวเตอร์ และไฟบวกจะไหลผ่านสวิตช์ POWER (สวิตช์ไว้สําหรับ ON-OFF วงจร) ไหลผ่าน
C1 และ C2 ซึ่งเป็นตัวกรองความถี่ให้เรียบขึ้น แล้วก็ไหลเข้า IC MAX 232 ที่ขาพอร์ต Vcc เพื่อทํา
หน้าที่แปลงแรงดันที่เข้ามาจาก Serial Port ตามมาตรฐาน RS 232 ให้เป็นระดับแรงดัน TTL หรือ
แปลงแรงดันทีเ่ ข้ามาจากระดับแรงดัน TTL ให้เป็นระดับแรงดัน Serial Port ตามมาตรฐาน RS 232
และไหลเข้าไปที่ขาพอร์ต Vcc ของโมดูล XBee-PRO โดยที่จะมีขาพอร์ต TxD, RxD, CTS, RTS ของ
IC MAX 232 กับของโมดูล XBee ต่อกันอยู่ เพื่อไว้รับ-ส่งข้อมูลรหว่างโมดูล XBee กับ คอมพิวเตอร์
ผ่าน IC MAX 232 มีจุดต่อขาพอร์ต D0 ถึง D4 ของโมดูล XBee-PRO ซึ่งสามารถกํา หนดลักษณะ
การทํางานได้ผ่านทางซอฟต์แวร์ X-CTU และมี LED แสดงความพร้อมในการติดต่อสื่อสารข้อมูล
ASS. และLED แสดงความแรงของการส่งกระจายคลื่น 3 ระดับ (จะแสดงผลเมื่อมีการรับส่งข้อมูล
เท่านั้น)
ขั้นตอนในการตั้งค่า Xbee เป็นแม่ข่าย (Coordinator) โหมดการสื่อสารแบบ AT
1) ติดตั้งโปรแกรม X-CTU เวอร์ชั่นล่าสุด ดาวน์โหลดได้ฟรีจากเวบไซต์ของผู้ผลิตที่
www.digi.com
2) ติดตั้งโมดูล XBee-PRO ลงบนบอร์ด ZX-XBeeU ต้องระวังเรื่องตําแหน่งขาและ
ทิศทางของโมดูล
3) ต้องติดตั้งให้ถูกต้องและไม่เกิดการเหลื่อมกันเด็ดขาด เพราะหากติดตั้งผิดแล้ว
เมื่อจ่ายไฟ จะทําให้โมดูลเสียหายทันที

33
4) ต่อสายเชื่อมต่อพอร์ต USB ระหว่างบอร์ด ZX-XBeeU กับพอร์ต USB ของ
คอมพิวเตอร์ โดยที่จะต้องติดตั้ง Driver USB to Serial สําหรับบอร์ด ZX-XBeeU ก่อน
5) จ่ายไฟให้แก่บอร์ด ซึ่งใช้ไฟเลี้ยง +5V จากพอร์ต USB ของคอมพิวเตอร์ LED ใน
ตําแหน่ง POWER และ ON ติด และ LED ในตําแหน่ง ASS. กะพริบ หากไม่เป็นไปตามนี้ให้รีบปิด
สวิตช์ ปลดไฟเลี้ยง แล้วตรวจสอบการติดตั้งโมดูล XBee-PRO ทันที รวมทั้งตรวจสอบไฟเลี้ยงที่ขา
Vcc ของ XBee-PRO ว่าต้องอยู่ในช่วง +2.8 ถึง +3.3V โดยในการตรวจสอบนั้นต้องถอดโมดูล
XBee-PRO ออกมาก่อน แล้ววัดแรงดันที่คอนเน็กเตอร์ตัวเมียที่ใช้สําหรับติดตั้งโมดูล XBee-PRO
6) เปิดโปรแกรม X-CTU โดยดับเบิลคลิกที่ไอคอนบน Desktop ของคอมพิวเตอร์
หรือคลิกที่ Start All Programs Digi-Maxstream X-CTU หน้าต่างกําหนดการ
เชื่อมต่อจะปรากฏขึ้นมาดังรูปที่ 3.9

6
7

รูปที่ 3.9 หน้าต่างกําหนดการเชื่อมต่อของโปรแกรม X-CTU

7) ให้ทําการเลือกพอร์ตที่จะทําการเชื่อมต่อ เลือกอัตราบอดเรต (Baurate) เป็น


9600, Data 8 บิต, Parity ไม่มีการตรวจสอบ และ Stop เป็น 1 บิต
8) กดปุ่ม Test เพื่อทดสอบการติดต่อระหว่าง XBee-PRO กับโปรแกรม X-CTU
หากติ ดต่อกันได้จะปรากฏหน้าต่างแจ้งผลการติ ดต่อและข้อมู ลทางฮาร์ ดแวร์เบื้ องต้ นของโมดู ล
XBee-PRO ดังรูปที่ 3.10 หากมีการแจ้งความผิดพลาดใดๆ เกิดขึ้นในขั้นตอนนี้ ให้รีบปิดสวิตช์ ปลด
ไฟเลี้ยง แล้วตรวจสอบการติดตั้งโมดูล XBEe-PRO และการเชื่อมต่ออีกครั้ง รวมทั้งตําแหน่งขาพอร์ต
ด้วย และถ้าจําเป็นอาจต้องทดลองเลือกอัตราบอดเรตใหม่

34
8

รูปที่ 3.10 หน้าต่างแจ้งผลการติดต่อของโมดูล XBee

9) หลังจากนั้นคลิกไปที่แท็ป Modem Configuration แล้วกดตรงปุ่ม Read ใน


กรอบ Modem Parameters and Firmware จะปรากฏข้อมูลชื่อรุ่นของโมดูล XBee-PRO ชื่อ
ฟังก์ชั่น หมายเลขเวอร์ชันของเฟิร์มแวร์ และค่าพารามิเตอร์ต่างๆ ดังรูปที่ 3.11

9 9

รูปที่ 3.11 ค่าพารามิเตอร์ต่างๆ ของ XBee

35
10) หลังจากนั้นคลิกไปที่แท็ป Channel ใส่ค่า 11, PAN ID / Personal Area
Network ID ใส่ค่า 5555 ดังรูปที่ 3.12

10

10

รูปที่ 3.12 การตั้งค่าช่องสัญญาณและ PAN ID ของ Xbee เป็นแม่ข่าย (Coordinator)

36
11) หลังจากนั้นคลิกไปที่แท็ป DH (Destination Address High) ใส่ค่า 0 และ DL
(Destination Address Low) ใส่ค่า AB11 ดังรูปที่ 3.13

11

11

รูปที่ 3.13 การตั้งค่า DH และ DL ของ Xbee เป็นแม่ข่าย (Coordinator)

37
12) หลังจากนั้นคลิกไปที่แท็ป MY (16-bit Source Address) ใส่ค่า AB10 ดังรูปที่
3.14

12

รูปที่ 3.14 การตั้งค่า MY ของ Xbee เป็นแม่ข่าย (Coordinator)

13) เลือกรุ่น (Modem XBEE) ของ XBee เป็น XBP24 ที่ช่อง Function set
กําหนดให้ XBee PRO 802.15.4 โหมดการสื่อสารแบบ AT และเลือก Version เป็นรุ่น 10EC ดังรูป
ที่ 3.15 แล้วกดปุ่ม Write รอสักครู่ โปรแกรมจะอัพเดท Firmware และเซต Parameter ตามที่ได้
กําหนดก่อนหน้านี้

13

13

รูปที่ 3.15 อัพเดทเฟิร์มแวร์และเซตค่าพารามิเตอร์ของ Xbee เป็นแม่ข่ายเสร็จสมบูรณ์


38
ขั้นตอนในการตั้งค่า Xbee เป็นลูกข่าย (End Device) โหมดการสื่อสารแบบ AT
1) ถอด XBee ที่เซตเป็นแม่ข่าย (Coordinator) ออกแล้วใส่ XBee ที่ต้องการเซต
เป็นลูกข่าย(End Decive) เข้าไปแทน จากนั้นทําเหมือนขั้นตอนที่ 6-9
2) หลังจากนั้นคลิกไปที่แท็ป Channel ใส่ค่า 11, PAN ID / Personal Area
Network ID ใส่ค่า 5555 ดังรูปที่ 3.16

รูปที่ 3.16 การตั้งค่าช่องสัญญาณและ PAN IDของ Xbee เป็นลูกข่าย (End Device)

39
3) หลังจากนั้นคลิกไปที่แท็ป DH (Destination Address High) ใส่ค่า 0 และ DL
(Destination Address Low) ใส่ค่า AB10 ดังรูปที่ 3.17

รูปที่ 3.17 การตั้งค่า DH และ DL ของ Xbee เป็นลูกข่าย (End Device)

40
4) หลังจากนั้นคลิกไปที่แท็ป MY (16-bit Source Address) ใส่ค่า AB11 ดังรูปที่
3.18

รูปที่ 3.18 การตั้งค่า MY ของ Xbee เป็นลูกข่าย (End Device)

5) เลือกรุ่น (Modem XBEE) ของ XBee เป็น XBP24 ที่ช่อง Function set
กําหนดให้ XBee PRO 802.15.4 โหมดการสื่อสารแบบ AT และเลือก Version เป็นรุ่น 10EC ดังรูป
ที่ 3.19 แล้วกดปุ่ม Write รอสักครู่ โปรแกรมจะอัพเดท Firmware และเซต Parameter ตามที่ได้
กําหนดก่อนหน้านี้

รูปที่ 3.19 อัพเดทเฟิรม์ แวร์และเซตค่าพารามิเตอร์ของ Xbee เป็นลูกข่ายเสร็จสมบูรณ์


41
รีจิสเตอร์ที่ควรทราบของโมดูล Xbee-PRO
การส่งข้อมูลและควบคุมระหว่างไมโครคอนโทรเลอร์ หรือคอมพิวเตอร์กับโมดูล XBee-PRO
นั้น จะใช้การสื่อสารแบบอนุกรม UART ซึ่งโมดูล XBee-PRO สามารถใช้ความเร็วในการส่งข้อมูล
(Baud rate) ได้ตั้งแต่ 1,200 จนถึ ง 115,200 บิตต่อวินาที (bps : bit per second) โดยค่าที่กํา
หนดเป็นค่าเริ่มต้นคือ 9,600 บิตต่อวินาที และสามารถเปลี่ยนความเร็วในการส่งข้อมูลได้ที่รีจีสเตอร์
BD
ในการติดต่อสื่อสารระหว่างโมดูล XBee-PRO สามารถจัดเครือข่ายได้หลายรูปแบบ โดยการ
แยกช่องสัญญาณและเครือข่าย รีจีสเตอร์ทใี่ ช้สําหรับจัดการเกี่ยวกับเครืข่ายมีดังนี้
- รีจีสเตอร์ CH (Channel) ใช้กําหนดช่องสัญญาณ เลือกได้ตั้งแต่ช่องที่ 0x0C ถึ ง 0x17 แต่
ละช่องไม่สามารถส่งข้อมูลข้ามช่องสัญญาณกันได้
- รีจีสเตอร์ ID (PAN ID / Personal Area Network ID) ใช้กําหนดหมายเลขเครือข่าย
เลือกค่าได้ตั้งแต่ 0x0000 จนถึง 0xFFFE โดยแต่ละเครือข่ายจะไม่สามารถส่งข้อมูลข้ามเครือข่ายได้
ยกเว้นกําหนดด้วยค่า 0xFFFF จะสามารถส่งข้อมูลไปทุกเครือข่ายได้ แต่จะไม่สามารถรับข้อมูลจาก
เครือข่ายอื่นได้
- รีจีสเตอร์ MY (16-bit Source Address) ใช้กําหนดแอดเดรส 16 บิตของแต่ละโมดูล
เลือกค่าได้ตั้งแต่ 0x0000 ถึง 0xFFFD และสามารถยกเลิกแอดเดรส 16 บิตนี้ เพื่อไปใช้แอดเดรส
ขนาด 64 บิตที่รีจีสเตอร์ SH และ SL แทนได้ เพื่อขยายให้มีจํานวนโมดูลลูกข่ายได้มากขึ้น โดยกํา
หนด MY เป็ น 0xFFFE และ 0xFFFF
- รีจีสเตอร์ SH และ SL (Serial Number High / Low) เป็นรีจิสเตอร์เก็บค่าหมายเลข
เฉพาะหรือ Serial number ของแต่ละโมดูล สามารถใช้เป็นแอดเดรส 64 บิต (SH รวมกั บ SL) โดย
จะต้องยกเลิกแอดเดรส 16 บิตที่รีจีสเตอร์ MY ก่อน โดยค่าในรีจิสเตอร์ SH และ SL ไม่สามารถ
เปลี่ยนแปลงได้
- รีจีสเตอร์ DH และ DL (Destination Address High/Low) ใช้กําหนดแอดเดรสของโมดูล
ตัวรับ
- ถ้าโมดูลตัวรับใช้รีจีสเตอร์ MY (แอดเดรส 16 บิต) ให้ทําการกําหนดค่าของรีจิสเตอร์ DH
เป็น 0x0000 และ DL เป็นค่า MY ของโมดูลตัวรับ
- ถ้าโมดูลตัวรับใช้รีจีสเตอร์ SH ร่วมกับ SL (แอดเดรส 64 บิต) ให้กําหนดที่ค่าของรีจิสเตอร์
DH เป็นค่าของ SH และค่าของรีจิสเตอร์ DL เป็นค่าของ SL ของโมดูลตัวรับ
การตั้งค่าของโมดูล XBee-PRO ทําได้ 2 ทางคือ ใช้โปรแกรม X-CTU กับบอร์ด ZX-XBee
ต่อกับคอมพิวเตอร์ทางพอร์ตอนุกรม อีกทางหนึ่งคือใช้ AT Command และก่อนการใช้โมดูล XBee
PRO ควรจะทําการตรวจสอบตั้งค่าแอดเดรสต่างๆ และรูปแบบของการส่งข้อมูล ก่อนนําไปติดตั้งกับ
บอร์ดไมโครคอนโทรลเลอร์
3.1.4 ไมโครคอนโทรลเลอร์ของวงจรด้าน Server
ในโครงงานนี้ใช้ไมโครคอนโทรลเลอร์ PIC รุ่น dsPIC30F4011 โดยใช้วงจรความถี่ Crystal
7.3728 MHz และสามารถใช้ PLL คูณความถี่เพื่อ Run ความถี่ 29.4912 MHz ได้ ใช้การโปรแกรม
แบบ ICD2 หรือ Pickit2 ซึง่ สามารถที่จะทําการดีบักผ่าน ICD2 หรือ Pickit2 ได้ มี Switch Reset

42
สําหรับสั่ง Reset การทํางานของไมโครคอนโทรลเลอร์ต่ออยู่ที่ขา 1 มี Power AC/DC Input พร้อม
Regulate แบบ Switching เบอร์ LM2575 ขนาด 5V/1A ลดปัญหาความร้อนจากวงจร Regulate
และ LED แสดงสถานะแหล่งจ่าย Power และใช้ขาพอร์ต RB0- RB8 และขาพอร์ต RF0- RF6 ต่อใช้
งานกับบอร์ด ET-TFT240320TP-2.8 (บอร์ดหน้าจอทัชสกรีน)
สําหรับรายละเอียดวงจรไฟฟ้า วงจรภาคจ่ายไฟของบอร์ด การใช้งาน RS232 และการใช้งาน
ICD2 จะแสดงรายละเอียดในหัวข้อไมโครคอนโทรลเลอร์ด้าน Client เพราะเนื่องจากทั้งสองด้านใช้
ไมโครคอนโทรลเลอร์เบอร์เดียวกัน
3.1.5 หน้าจอทัชสกรีน
คุณสมบัติของบอร์ด ET-TFT240320TP-2.8
1) เป็นแบบ Display Module TFT LCD Color +Touch Screen ขนาด 240x320
Pixel
2) ขนาดของหน้าจอ TFT 2.8 ''
3) ใช้ Single Chip Driver เบอร์ HX8347-D
4) ความละเอียดของสีแสดงได้ 65536 เฉดสี (RGB =R:5bit , G:6bit , B:5bit)
5) เลือกการ Interface GLCD ผ่าน DIP SW2. (MODE) ได้ 2 Mode คือ Parallel
Mode 16-bit Interface และParallel Mode 8-bit Interface
6) ในส่วนของการควบคุม Touch Screen สามารถเลือก Interface ได้ 2 แบบด้วย
DIP SW1.TSC SEL คือการ Interface แบบ SPI โดยจะผ่านตัว Chip Touch Screen Controller
#ADS7846 (ADC มีความละเอียด 12 บิต) หรือ Interface โดยใช้ขา X-,X+,Y-Y+ ต่อเข้ากับขา ADC
ของ MCU โดยตรงก็ได้ (การเขียนโปรแกรมควบคุมจะยุ่งยาก)
7) ในการใช้งาน ถ้าไม่ต้องการใช้ Touch Screen สามารถ Control เฉพาะในส่วน
ของของตัว LCD อย่างเดียวก็ได้
8) จํานวน I/O ของ MCU สาหรับใช้ ควบคุมในส่วนของ GLCD และ Touch Screen
เมื่อใช้ใน Parallel Mode 16-bit Interface จะใช้ I/O ทั้งหมด 27 PIN แต่ถ้าใช้ใน Parallel Mode
8-bit Interface จะใช้ I/O ทั้งหมด 19 PIN
9) สามารถต่อ Interface ได้ทั้ง MCU ที่ใช้ไฟเลี้ยง 5V และ 3.3V
10) Connector สาหรับต่อใช้งานใน Parallel Mode 8 bit และ16 bit จะใช้ Pin
Header 2x20 ระยะ pitch 2.54 mm
11) ไฟเลี้ยงบอร์ด DC +5 V

43
3.1.6 ลักษณะและโครงสร้างของบอร์ด

ด้านหน้าบอร์ด ด้านหลังบอร์ด
รูปที่ 3.20 ลักษณะและโครงสร้างของบอร์ด ET-TFT240320TP-2.8

1) แอลซีดีและทัชสกรีน (LCD+Touch) : จะเป็นเนื้อที่ของจอ LCD ขนาด 240x320


Pixel โดยด้านบนของจอจะถูกฉาบทับด้วยแผ่นของ Touch Screen แบบ Resistance
2) เฮดเดอร์ (Header 1x20) : จะเป็นConnectorตัวผู้ขนาด 1x20 Pin ซึ่งจะต่อ
สัญญาณขา Control LCD และขาที่ใช้ควบคุม IC Touch Screen ออกมาให้อีกทางหนึ่ง ซึ่งขาต่างๆ
เหล่านี้จะต่อขนาดอยู่กับขาที่อยู่ทางด้าน Header 2x20

รูปที่ 3.21 ตําแหน่งขาสัญญาณที่เฮดเดอร์ (Header 1x20) มองจากด้านหน้า

44
รูปที่ 3.22 ตําแหน่งขาสัญญาณที่เฮดเดอร์ (Header 2x20) Parallel-Mode : 8 bit,16 bit

ตารางที่ 3.2 รายละเอียดพินสําหรับใช้ควบคุมจีแอลซีดี (Control GLCD)


No. PIN
Header2x20 Header1x20 PIN-NAME I/O รายละเอียด
(Parallel) (SPI)
Power ขา Ground
1 4 GND
LCD
Power ขาไฟเลี้ยงบอร์ด +5V
2 1 +5V
LCD
ขา Chip-Select ใช้ Enable LCD
Module (ใช้ทั้งแบบ SPI และ Parallel
3 8 LCD CS-H I Mode) โดย Low = LCD Module
Enable และ High = LCD Module
Disable
ขา Register-Select : Low = เลือกการ
เข้าถึง Index (IR) หรือ Status (SR)
4 - RS-H I
Register High = เลือกการเข้าถึง
Control Register (Address 00H-FFH)
ขา Write Strobe จะทําหน้าที่ write
5 7 WR-H I data เมื่อได้รับสัญญาณ Low ใน
Parallel Mode
ขา Read Strobe จะทําหน้าที่ read
6 8 RD-H I
data ออกมาเมื่อได้รับสัญญาณ Low
ขา Reset จะทําหน้าที่ Initial LCD
7 9 RES-H I
Module เมื่อได้รับสัญญาณ Low
ขา Black Light ไฟ black light ของ
8 10 BL-H I LCD จะติดเมื่อขานี้ได้รับสัญญาณเป็น
High
ขา data bus Bi-directional 16 bit ใช้
9-24 - DB0-DB15 I/O ส่งผ่านข้อมูลหรือชี้ตําแหน่งแอดเดรสของ
รีจิตเตอร์ จะใช้สําหรับ Parallel Mode

45
ในตารางที่ 3.2 จะป็นรายละเอียด PIN สําหรับใช้ Control GLCD โดยที่ PIN 3-8 (ช่อง
ตาราง Header 2×20 Parallel Mode) จะเป็นส่วนที่ใช้สําหรับ Control GLCD ทัง้ หมด ส่วน PIN
9-24 (ช่องตาราง Header 2×20 Parallel Mode) จะเป็นส่วนที่ใช้สําหรับส่งผ่านข้อมูลหรือชี้
ตําแหน่งแอดเดรสของรีจิสเตอร์ส่วนของ GLCD และ PIN 1-2 (ช่องตาราง Header 2×20 Parallel
Mode) จะเป็นส่วนขาไฟเลี้ยงบอร์ดและขา Ground

ตารางที่ 3.3 รายละเอียดพินสําหรับใช้ควบคุมทัชสกรีน (Control Touch Screen)


No. PIN
Header2x20 Header1x20 PIN-NAME I/O รายละเอียด
(Parallel) (SPI)
ขา Y-,X-,Y+,X+ เป็นขาใช้สําหรับอ่าน
ตําแหน่ง Touch Screen โดยตรง ไม่
25*-28* 11*-14* Y-,X-,Y+,X+ I ผ่าน Chip ADS7846 โดยจะต้อง
เลื่อน DIP SW1,TSC SCL มายัง
ตําแหน่ง OFF ทั้งหมด
เป็นขา DCLK ของ ADS7846 ใช้เพื่อ
29 15 TOUCH-SCLK I
Synchronizes serial data I/O
เป็นขา CS ของ ADS7846 เมื่อได้รับ
สัญญาณ Low จะเป็นการ Enable
30 16 TOUCH-CS I
Serial I/O Register ของตัว Chip
ให้เริ่มทํางาน
เป็นขา DIN ของ ADS7846 เมื่อขา
31 17 TOUCH-MOSI I CS เป็น Low ข้อมูลจะถูก Latch ที่
ขอบขาขึ้นของสัญญาณ DCLK
เป็นขา BUSY ของ ADS7846 จะเป็น
32* 18* TOUCH-BUSY O High impedance เมื่อขา CS เป็น
High
เป็นขา DOUT ของ ADS7846 เมื่อขา
CS เป็น Low ข้อมูลจะถูก Shift ที่
33 19 TOUCH-MISO O ขอบขาลงของ DCLK และ Output นี้
จะป็น High impedance เมื่อ CS
เป็น High
เป็นขา PENIRQ ของ ADS7846 เมื่อ
34 20 TOUCH-PEN O มีการสัมผัสจอ TOUCH Screen จะ
ให้สัญญาณ Logis ออกมาเป็น Low

46
ใน 3 พินนี้จะใช้เลือกไฟเลี้ยงให้กับตัว
Power ADS7846 โดยถ้าใช้กับ MCU 5V
35,36,37 1,2,3 VTSC,+5V,+3V TOUCH จะต้อง Jump ขา VTSC เข้ากับขา+
Screen 5V แต่ถ้าใช้กับ MCU 3.3V จะต้อง
Jump ขา VTSC เข้ากับขา +3V (37)
เป็นขา Vbat ของ ADS7846 ซึ่งจะไม่
38* - VBAT I
นํามาใช้ในส่วนของ Touch Screen
เป็นขา Vref ของ ADS7846 ซึ่งจะไม่
39* - VREF I/O
นํามาใช้ในส่วนของ Touch Screen
เป็นขา AUX input to ADC ของ
40* - AUX I
ADS7846 ซึ่งจะไม่นํามาใช้ในส่วนนี้
(*) = ขาที่ไม่ได้ถูกนํามาต่อใช้งาน

ในตารางที่ 3.3 จะป็นรายละเอียด PIN สําหรับใช้ Control Touch Screen โดยที่ PIN 25-
28 (ช่องตาราง Header 2×20 Parallel Mode) จะเป็นส่วนขา X-,X+,Y-Y+ ใช้สําหรับอ่านตําแหน่ง
Touch Screen โดยตรง ไม่ผ่าน Chip ADS7846 ส่วน PIN 29,30,34 (ช่องตาราง Header 2×20
Parallel Mode) จะเป็นส่วนที่ใช้สําหรับ Control Touch Screen ส่วน PIN 31-33 (ช่องตาราง
Header 2×20 Parallel Mode) จะเป็นส่วนที่ใช้สําหรับส่งผ่านข้อมูลหรือชี้ตําแหน่งแอดเดรสของ
รีจิสเตอร์ส่วนของ Touch Screen และ PIN 35,36,37 (ช่องตาราง Header 2×20 Parallel
Mode) จะเป็นส่วนขาไฟเลี้ยงให้กับตัว Chip ADS7846
3) DIP SW1. TSC SEL ด้านหลังบอร์ด : เป็น Dip SW.มีด้วยกัน 4 ตัว ซึ่งเมื่อต้องการ
ใช้งานในส่วนของ Touch Screen โดย Interface แบบ SPI ผ่าน Chip Touch Screen
Controller #ADS7846 ก็ให้เลื่อน Dip SW. ทั้ง4ไปที่ตําแหน่ง On (Default) ในกรณีที่ผใู้ ช้จะ
Interface โดยใช้ขา X-,X+,Y-Y+ ต่อเข้ากับขา ADC ของ MCU โดยตรง(ไม่ใช้งาน ADS7846) ก็ให้
เลื่อน DIP SW. ทั้ง 4 ลงมายังตําแหน่งตรงข้ามกับตําแหน่ง Default (Off)
4) DIP SW2.MODE ด้านหลังบอร์ด : เป็น Dip SW. มีด้วยกัน 4 ตัว โดยจะใช้งาน
เพียง 1 ตัว คือ S1 โดย Dip sw2. นี้จะมีไว้สาหรับให้ผู้ใช้เลือก Mode การ Interface ระหว่างบอร์ด
GLCD กับ MCU ที่นํามาต่อควบคุม โดยการเลือกโหมดจะเป็นไปตามตารางที่ 3.4

47
ตารางที่ 3.4 การเลือกโหมดอินเทอร์เฟสแอลซีดี (Mode Interface LCD) จาก DIP SW.2
DIP SW.2 MODE MODE
รูปการ Set SW.2
S1 S2 S3 S4 Interface

Parallel 8-bit
OFF X X X
Mode

Parallel 16-bit
ON X X X
Mode

X = เป็นอะไรก็ได้

ในตารางที่ 3.4 ถ้าต้องการ Parallel 8-bit Mode ให้เลื่อนตําแหน่ง DIP SW2 S1 มายัง
ตําแหน่ง OFF หรือถ้าต้องการ Parallel 16-bit Mode ให้เลื่อนตําแหน่ง DIP SW2 S1 มายัง
ตําแหน่ง On
การนําบอร์ด ET-TFT240320TP-2.8 ไปต่อใช้งานร่วมกับ MCU ต้องระวังในส่วนของขา
VTSC จะต้องเลือก Jump กับขาไฟ +5V หรือ +3V3 ให้ถูกต้องตรงกับระดับไฟเลี้ยงของ MCU ที่นา
มาต่อด้วย มิฉะนั้นอาจจะทาให้ MCU เสียหายได้ เช่น ถ้า MCU ทางานที่ระดับไฟเลี้ยง 5 V ก็จะต้อง
Jump ขา VTSC `เข้ากับขา +5V เป็นต้น
ในการต่อใช้งานนั้นผู้ใช้สามารถเลือกรูปแบบการต่อได้ 2 Mode Interface คือ Parallel
Interface 8-bit Mode และ Parallel Interface 16-bit Mode โดยการเลือกโหมด Interface
สามารถเลือกได้จาก DIP- SW2 ที่อยู่ด้านหลังบอร์ด โดยที่โครงงานนี้เลือกใช้ Interface แบบ
Parallel Interface 16-bit Mode สามารถสรุปการต่อใน Mode ได้ดังนี้

48
3.1.7 Interface Parallel 8-bit MODE
สําหรับในโหมดนี้ LCD จะมีการจัดเรียงในส่วนของคําสั่ง และ Data ภายในใหม่ การส่งคําสั่ง
หรือ data จะส่งครั้งละ 8 บิต (1Byte) ต่อสัญญาณ Write (WR) เพียง 1 ลูก ตาม Timing Diagram

รูปที่ 3.23 การจัดเรียงบิตของคําสั่งที่รับเข้ามา

จากรูปที่ 3.23 เมื่อมีการส่งคําสั่งหรือ data จะส่งครั้งละ 8 บิต (1Byte) ต่อสัญญาณ Write


(WR) เพียง 1 ลูก ตาม Timing Diagram คือ D0-D7 จะมีการจัดเรียงคําสั่งหรือ data ใหม่ที่
Register data เป็น CB0-CB7

รูปที่ 3.24 การจัดเรียงดาต้า (Data) บิตสีขนาด 16 bit 65K Colors ที่รบั เข้ามา

จากรูปที่ 3.24 เราจะเรียง Data บิตสี จากบิตสูงไปบิตต่ําเป็น RGB แต่ผู้ใช้สามารถจะเปลี่ยน


ให้เรียงบิตสีเป็น BGR ได้ โดยใช้คาสั่ง Memory Access Control (R16H) เพื่อทําการ Set การเรียง
บิตสีใหม่ซึ่งดูรายละเอียดเพิ่มได้ใน Data Sheet ของ HX8347-D
เวลาที่ผู้ใช้จะส่งข้อมูล เพื่อแสดงจุดบนจอ LCD ผู้ใช้ก็จะต้องผสมสีเอาเองโดยอ้างอิงการเรียง
บิตสีตามรูปด้านบนคือ Data D15-D11(5bit) จะเป็นส่วนของสีแดง , Data D10-D5(6bit) จะเป็น
ส่วนของสีเขียว , Data D4-D0(5bit) จะเป็นส่วนของสีน้าเงิน ซึ่งเมื่อผู้ใช้ส่ง Data เข้าไปยัง LCD แล้ว
Data ก็จะถูกจัดเรียงข้อมูลใหม่เป็น 18 บิต อัตโนมัติตามรูป โดยความสว่างของสีจะไล่จากมืดไป
สว่าง ซึ่งจะเรียงจากบิตต่ําไปหาบิตสูง เช่น ต้องการสีแดงที่มีความสว่างมากสุดก็จะได้ Data=0xF800
หรือต้องการสีเขียวที่มีความสว่างน้อยสุด Data=0x0020 เป็นต้น ถ้าต้องการสีอื่นนอกเหนือจาก 3 สี
หลัก ผู้ใช้ก็จะต้องกําหนดบิต data ที่อยู่ในช่วงของแต่ละสีให้เหมาะสมก็จะได้สีออกมาตามที่ผู้ใช้
ต้องการ เช่น ถ้าจะให้เป็นสีขาว ก็จะได้ Data = 0xFFFF หรือ สีดํา Data = 0x0000 เป็นต้น
สําหรับการส่งคําสั่ง หรือ Data จาก MCU ไปยัง LCD ในโหมดนี้ เราจะต้องส่งบิตข้อมูล
ออกไปที่ขา DB8-DB15 ของบอร์ด LCD โดยลําดับแรกนั้นจะต้องส่งคําสั่งหรือตําแหน่งแอดเดรส
Register จํานวน 1 Byte ออกไปก่อน จากนั้นถึงจะส่ง data ของคําสัง่ นั้นๆตามออกไปอีกจานวน 1
Byte หรือ 2 Byte ซึ่งจะขึ้นอยู่กับ Data ของคําสั่งนั้นๆ โดย Data ที่ต้องส่ง 2 Byte นั้น จะให้ Byte
49
แรกที่ส่งเป็น Byte High และ Byte ที่ 2 เป็น Byte Low โดยให้พิจารณาจังหวะการอ่าน-เขียน ของ
คําสั่ง หรือ Data ไปยัง LCD ได้จาก Timing Diagram ต่อไปนี้

รูปที่ 3.25 Timing Diagram ในการ Read-Write คําสั่ง และ Data ไปยัง LCD ใน Parallel 16-bit
Mode

จากรูปที่ 3.25 ก่อนอื่นเมื่อพิจารณาจาก Timing Diagram ในส่วนของการ Write อันดับ


แรก เราจะส่งในส่วนของคําสั่ง หรือค่า Register Address ออกไปก่อนเป็น Byte แรก ซึ่งในตัวอย่าง
Timing Diagram จะเป็นค่า 22H ซึ่งเป็นคําสั่ง Write SRAM จากนั้นถึงจะตามด้วย Data ของคําสั่ง
อีก 1-2 byte ซึ่งแล้วแต่คาํ สั่งที่ส่งว่าต้องตามด้วย Data กี่ Byte โดยเราสามารถสรุปขั้นตอนการ
Write คําสั่ง และ Data ได้ดังนี้
1) กําหนดขา RD,CS ให้เป็น 1 ไว้
2) กําหนดขา CS ให้เป็น 0 เพื่อ Enable LCD ให้รับข้อมูล
3) ส่ง Byte คําสั่งหรือ address register ออกมารอไว้ที่ขา DB8-DB15 (อ้างอิงขา
ต่างๆตามบอร์ดจริง)
4) กําหนดขา RS ให้เป็น 0 เพื่อกําหนดว่าข้อมูลที่สง่ ไปคือ คําสั่ง
5) กําหนดขา WR ให้เป็น 0 เพื่อเริ่มต้นการ Write คําสั่ง Byte แรก
6) กําหนดขา WR ให้เป็น 1 คําสั่ง Byte แรกก็จะถูกส่งเรียบร้อย
7) กําหนดขา RS ให้เป็น 1 เพื่อจบการเขียนคําสั่ง และเป็นการกําหนดให้ข้อมูลที่ส่ง
ต่อจากนี้คือ Data หลังจากส่งชุดคําสั่งไปแล้วต่อไปก็ตามด้วยการส่งชุด Data ของคําสั่งตาม
8) ให้ขา CS ยังคงเป็น 0 อยู่ ส่วนขา RS,RD ก็ยังคงเป็น 1 ค้างไว้
9) ส่ง Data Byte High ออกมารอไว้ท่ขี า DB8-DB15 (กรณีต้องส่ง Data 2 Byte)
50
10) กําหนดขา WR ให้เป็น 0 เพื่อเริ่มต้นการ Write Data Byte High
11) กําหนดขา WR ให้เป็น 1 Data Byte ก็จะถูกส่งเรียบร้อย
12) ส่ง Data Byte Low ออกมารอไว้ ที่ขา DB8-DB15
13) กําหนดขา WR ให้เป็น 0 เพื่อเริ่มต้นการ Write Data Byte low
14) กําหนดขา WR ให้เป็น 1 Data Byte low ก็จะถูกส่งเรียบร้อย
15) กําหนดขา CS ให้เป็น 1 เพื่อสิ้นสุดการส่งคําสั่งและ Data เมื่อจะส่งคําสั่งต่อไปก็
ให้กลับไปเริ่มขั้นตอนที่1ใหม่
จากขั้นตอนที่ได้กล่าวมา เมื่อต้องการจะส่งคําสั่งอื่นๆต่ออีกก็ให้วนกลับไปเริ่มในขั้นตอนแรก
ใหม่ ซึ่งในการเขียนโปรแกรมนั้นผู้ใช้อาจจะเขียนฟังก์ชันให้รับค่าคําสั่งและค่าของ Data เข้ามาใน
ฟังก์ชันพร้อมกันเลย แล้วทําการส่งคําสั่งกับ data ตาม Step ที่กล่าวข้างต้นก็ได้ หรือจะเขียนแยก
ออกเป็น 2 ฟังก์ชันคือ ฟังก์สาหรับส่งคําสั่งและฟังก์ชันสําหรับส่ง Data เป็นต้น
การ Interface Control Touch Screen ในส่วนของ Touch Screen นี้ จะแยกการ
Control ออกมาจาก LCD ซึ่งในการ Control นั้นสามารถเลือกรูปแบบการ Interface ได้ 2 แบบ
คือ Interface โดยใช้ขา Y-,Y+,X-,X+ ต่อเข้ากับขา ADC ของ MCU โดยตรงแล้วทําการเขียน
โปรแกรมควบคุมการอ่านค่าเอาเอง ซึ่งจะทาให้เขียนโปรแกรมยาก ผู้ใช้จะต้องเข้าใจหลักการทํางาน
ของตัว Touch Screen จึงจะเขียนโปรแกรมได้ถูกต้อง ดังนั้นจะไม่แนะนําให้ใช้การ Interface แบบ
นี้ สําหรับการ Interface ที่จะแนะนําให้ใช้ซึ่งก็คือการ Interface ผ่าน Chip ADS7846 เมื่อผู้ใช้เลือก
การ Interface แบบนี้ผู้ใช้จะต้องเลื่อน DIP SW1(S1-S4) ที่อยู่หลังบอร์ดไปที่ตําแหน่ง ON ทั้งหมด
เพื่อเป็นการเชื่อมต่อขา X+,Y+,X-,Y- ของ Touch Screen เข้ากับตัว Chip ADS7846 (ปกติจะถูก
Set เป็นตําแหน่ง default ไว้แล้ว) ในการ Interface โดยใช้ Chip ADS7846 นี้จะใช้การ Interface
แบบ SPI ระหว่าง MCU กับตัว Chip เพื่อความเข้าใจก่อนอื่นเราจะมาดูการทํางานร่วมกันของ
Touch Screen กับ ADS7846
การทํางานของ Touch Screen ร่วมกับ ADS7846 ในการอ่านค่าตําแหน่งของ Touch
Screen จะเริ่มจากเมื่อผู้ใช้สัมผัสที่จอ Touch Screen ตัว Chip ADS7846 ก็จะทําการ Convert
สัญญาณ Analog ที่รับเข้ามาทาง PIN X+,Y+,X-,Y- และส่งเป็นค่า Digital ออกมาทางขา Serial
Data Out ค่า ADC ที่อ่านได้นี้จะมีความละเอียดที่ 12 บิต ดังนั้นค่าที่อ่านได้ทั้งทางแกน X และ Y
จะอยู่ที่ 0-4095 ในขณะทีม่ ีการสัมผัส Touch Screen นั้น ที่ขา PENIRQ ของ Chip ก็จะส่ง
สัญญาณ Interrupt logic “0” ออกมาชั่วขณะ เวลาที่เขียนโปรแกรมเราจะต้องอ่านค่าสถานะของ
สัญญาณ Interrupt นี้มาใช้สาํ หรับคอยตรวจสอบว่ามีการสัมผัสจอ Touch Screen อยู่หรือไม่ เพื่อ
จะได้ไม่ต้องวนอ่านค่าตําแหน่งของ Touch Screen อยู่ตลอดเวลา จะอ่านเฉพาะเวลามีการสัมผัสจอ
เท่านั้นซึ่งจะทําให้โปรแกรมสามารถไปทํางานในส่วนอื่นๆได้

51
รูปที่ 3.26 วงจรการต่อในส่วนของทัชสกรีนเข้ากับ ADS7846

ในรูปที่ 3.26 จะเป็นวงจรการต่อในส่วนของ Touch Screen เข้ากับ ADS7846 โดยมีส่วน


ขาพอร์ตของ Touch Screen 3 ขาเข้าที่ตําแหน่ง Y-,Y+,X+ ของ ADS7846 ส่วนขา 12-16 ของ
ADS7846 จะนําไปต่อกับ MCU เพื่อนํามาใช้ Control Touch Screen และส่งผ่านข้อมูลหรือชี้
ตําแหน่งแอดเดรสรีจิสเตอร์ของ Touch Screen ส่วนไฟเลี้ยงของ ADS7846 นั้น จะมี 2 ส่วนคือ
ไฟเลี้ยง +5V เข้าที่ขา 1,10 และไฟเลี้ยงทีม่ าจากแบตเตอร์ร่เี ข้าที่ขา 7 และผ่าน Voltage Regulator
เข้าที่ขา 10 ส่วนขา 6 จะต่อลง GND
Timing Diagram การอ่านเขียนข้อมูลผ่าน ADS7846 หลังจากทราบหลักการทํางาน
เบื้องต้นในส่วนของ Touch Screen ไปแล้ว ในหัวข้อนี้เราจะมาดูวิธีการอ่านค่า ADC จาก Touch
Screen โดยใช้ Chip ADS7846 ต้องทําความเข้าใจก่อนว่าค่า ADC ทีอ่ ่านมาได้จากการสัมผัสหน้าจอ
นี้ จะยังไม่ใช่ค่าตําแหน่งแอดเดรสจริงๆที่จะใช้อ้างอิงกับตําแหน่งบนจอ LCD ผู้ใช้จะต้องนําค่าที่ได้ไป
เข้าสมาการหาตําแหน่งจริงๆ ของจอ LCD อีกที เมื่อได้ตําแหน่งแอดเดรสที่แท้จริงแล้ว ถึงจะนําค่า
ตําแหน่งจริงนั้นไปใช้แทนลงในคําสั่งควบคุมตําแหน่งของจอ LCD อีกทีหนึ่ง
3.1.8 การออกแบบหน้าจอทัชสกรีน (Touch Screen) และแอลซีดี (LCD)
การที่จะควบคุมหน้าจอทัชสกรีนและแอลซีดี สามารถที่จะควบคุมได้ทั้งแบบแนวตั้งและแบบ
แนวนอน ขึ้นอยู่กับผู้ใช้ว่าต้องการที่จะให้แสดงผลในแนวใด และการที่จะนําไปใช้งานครั้งแรกจะต้อง
ทําการแคลลีเบรท (Calibrate) ในส่วนของทัชสกรีนก่อน เพื่อเวลาใช้งานหลังแคลลีเบรทแล้วจะทําให้
เวลาที่ผู้ใช้สัมผัสกับส่วนหน้าจอทัชสกรีน ไมโครคอนโทรลเลอร์สามารถที่จะอ่านตําแหน่งแอดเดรสได้
ถูกต้องตรงกับตําแหน่งแอดเดรสจริงของแอลซีดี โดยโครงงานนี้ได้ทําการแคลลีเบรทหน้าจอทัชสกรีน
แบบทัชโพชิชั่น (Touch Position) โดยจะให้ผู้ใช้ทําการสัมผัสในตําแหน่งที่เป็นเครื่องหมาย +
จํานวน 3 จุด เพื่อทําการแคลลีเบรทในส่วนของทัชสกรีน และใช้การพล็อต (Plot) พิกเซล (Pixel)
แกน X,Y เป็นข้อความภาษาอังกฤษและตัวเลข ส่วนรูปภาพจะใช้การคอนเวิร์ท (Convert) มาจาก
ไฟล์ภายนอกที่เป็นนามสกุล jpg หรือ bmp แล้วทําการตั้งค่าทิศทางข้อมูล กําหนดความละเอียดของ
บิตสี กําหนดเอาต์พุตของรูป และกําหนดความกว้างและความสูงของรูป เพื่อทําการแปลงให้เป็นรูป
ของไฟล์นามสกุล Hex Code และการออกแบบการควบคุมหน้าจอทัชสกรีนและแอลซีดีจะเป็นแบบ
แนวนอน รายละเอียดและฟังก์ชั่นการทํางานต่างๆมีดังต่อไปนี้
52
8 3 1 2

5 5 6 7

รูปที่ 3.27 การออกแบบหน้าจอทัชสกรีน (Touch Screen) และแอลซีดี (LCD)

1) ส่วนแสดงโปรโตรคอลคําสั่งการทํางาน เป็นส่วนที่จะแสดงผลโปรโตรคอลคําสั่งการ
ทํางานจากแม่ข่ายส่งไปยังลูกข่าย
2) ส่วนแสดงโปรโตรคอลสถานะการทํางาน เป็นส่วนที่จะแสดงโปรโตคอลสถานะการ
ทํางานจากลูกข่ายส่งกลับไปยังแม่ข่าย
3) ส่วนแสดงจํานวนครั้งในการรับ-ส่งโปรโตคอล เป็นส่วนที่จะแสดงจํานวนครั้งในการ
รับ-ส่งโปรโตคอล
4) ส่วนแสดงตําแหน่งของปุ่ม เป็นส่วนที่จะแสดงว่าใช้ควบคุมหลอดไฟฟ้าหลอด 1,2
หรือทั้งหมด
5) ส่วนแสดงสถานะการทํางาน ณ ปัจจุบัน เป็นส่วนที่จะแสดงผลสถานะการทํางาน
ณ ปัจจุบันลูกข่ายส่งกลับไปยังแม่ข่าย
6) ปุ่ม ON หลอดไฟฟ้า เป็นส่วนไว้สําหรับ ON หลอดไฟฟ้า
7) ปุ่ม OFF หลอดไฟฟ้า เป็นส่วนไว้สําหรับ OFF หลอดไฟฟ้า
8) แสดงชื่อของโครงงาน

53
รูปที่ 3.28 วงจร ET-TFT240320TP-2.8

54
3.2 วงจรด้านลูกข่าย (Client)

Client

Xbee
EN
Power
Supply

รูปที่ 3.29 บล็อกไดอะแกรมวงจรด้านลูกข่าย (Client)

จากรูปที่ 3.29 วงจรด้าน Client มีอุปกรณ์ดังนี้


1. Relay หน้าที่การทํางานคือ ON/OFF หลอดไฟฟ้า
2. หลอดไฟฟ้า หน้าที่การทํางานคือ แสดงผลการทํางาน(ติด-ดับ)
3. ไมโครคอนโทรลเลอร์ หน้าที่การทํางานคือ ประมวลผลการทํางาน สั่งการและควบคุมการ
ทํางานของวงจรด้าน Client ทั้งหมด
4. Xbee (End Device) หน้าที่การทํางานคือ ส่งและรับ Protocol ผ่านระบบเครือข่ายไร้
สาย
5. Power Supply หน้าที่การทํางานคือ จ่ายไฟเลี้ยงให้กับวงจร
หลักการทํางานของวงจรด้าน Client
1. รับ Protocol มาจากวงจร Sever
2. ไมโครคอนโทรลเลอร์จะนําค่าที่ได้มาแปลงเป็น Protocol (ใช่การกดตําแหน่ง ON/OFF
หรือไม่แล้ว ON/OFF หลอดไฟฟ้า1หรือหลอดไฟฟ้า2)
3. ไมโครคอนโทรลเลอร์จะสัง่ การให้ Relay ทํางาน (ON/OFF หลอดไฟฟ้า1หรือหลอดไฟ
ฟ้า2)
4. เมื่อ Relay ทํางานตามคําสั่งการเสร็จสิน้ แล้ว (ON/OFF หลอดไฟฟ้า1หรือหลอดไฟฟ้า2)
ไมโครคอนโทรลเลอร์จะส่งสถานะการทํางาน โดยจะแปลงเป็น Protocol กลับไปให้วงจร Sever
5. Xbee (End Device) จะนําค่า Protocol ส่งไปให้วงจร Sever

55
3.2.1 ไมโครคอนโทรลเลอร์ด้าน Client
ในโครงงานนี้ใช้ไมโครคอนโทรลเลอร์ PIC รุ่น dsPIC30F4011 โดยใช้วงจรความถี่ Crystal
7.3728 MHz และสามารถใช้ PLL คูณความถี่เพื่อ Run ความถี่ 29.4912 MHz ได้ ใช้การโปรแกรม
แบบ ICD2 หรือ Pickit2 ซึง่ สามารถที่จะทําการดีบักผ่าน ICD2 หรือ Pickit2 ได้ มี Switch Reset
สําหรับสั่ง Reset การทํางานของไมโครคอนโทรลเลอร์ต่ออยู่ที่ขา 1 มี Power AC/DC Input พร้อม
Regulate แบบ Switching เบอร์ LM2575 ขนาด 5V/1A ลดปัญหาความร้อนจากวงจร Regulate
และ LED แสดงสถานะแหล่งจ่าย Power และใช้ขา RC13, RC14 เป็นขาเอาต์พุตดิจิตอลไปต่อกับขา
Common ของวงจรที่ต่อกับโหลดอุปกรณ์ไฟฟ้า เพื่อควบคุมการเปิด-ปิดอุปกรณ์ไฟฟ้า
สําหรับวงจรภาคจ่ายไฟของบอร์ด จะใช้วงจร Bridge Rectifier ร่วมกับ Switching
Regulate ขนาด 5V/1A สามารถใช้งานได้ทั้งกับไฟ AC และ DC ขนาดตั้งแต่ 7V-20V ได้
พอร์ต RS232 เป็นสัญญาณ RS232 ซึง่ ผ่านวงจรแปลงระดับสัญญาณจาก MAX3232
เรียบร้อยแล้ว จะมีวงจร UART ใช้งานจํานวน 2 ช่อง โดยสัญญาณของ RS232 แต่ละช่องจะจัดขั้ว
เป็นแบบ CPA-4PIN (RS232) โดยจะมีขาให้ตอ่ ไปใช้งานคือ ขั้ว UART1 (+VDD,RX1.TX1,GND)
และขั้ว UART2 (+VDD,RX2.TX2,GND) ดังรูปที่ 3.30

รูปที่ 3.30 ขั้วต่อสัญญาณ RS232 แบบ CPA-4PIN

โดยวงจรการทํางานของ UART(RS232) ทั้ง 2 ช่อง สามารถเลือกใช้งานหรือไม่ใช้งาน จาก


Jumper ได้ เพื่อใช้เลือกว่าจะให้สัญญาณของ MCU ทําหน้าที่เป็น I/O หรือ UART ดังวงจร

รูปที่ 3.31 วงจรยูอาร์ท (UART RS232)

56
ในรูปที่ 3.31 จะมีขาเป็น I/O จํานวน 4 ขา (RC13,RC14,RF4,RF5) และมี UART(RS232) 2
ช่อง ถ้าต้องการให้ MCU ทําหน้าที่เป็น I/O ให้เลือก Jumper ไปทาง I/O (ด้านซ้ายมือ) หรือถ้า
ต้องการให้ MCU ทําหน้าที่เป็น UART(RS232) ให้เลือก Jumper ไปทาง UART(RS232) (ด้าน
ขวามือ) เช่นถ้าต้องการให้ RC14 ทําหน้าที่เป็น I/O ให้เลือก Jumper ไปทาง RC14 (ด้านซ้ายมือ)
แต่ถ้าต้องการทําหน้าที่เป็น UART(RS232) ให้เลือก Jumper ไปทาง RX1 (ด้านขวามือ) โดยที่ RX1
นี้ จะไหลเข้า MAX232 เพื่อแปลงสัญญาณระดับแรงดัน TTL ให้เป็นสัญญาณระดับแรงดัน RS232
และออกมายังที่ตําแหน่ง RXD ของ UART1

สําหรับ Cable ที่จะใช้ในการเชื่อมต่อ RS232 ระหว่าง Comport ของเครื่องคอมพิวเตอร์


PC เข้ากับขั้วต่อ RS232 ของบอร์ดนั้น เป็นดังนี้

รูปที่ 3.32 เคเบิ้ล (Cable) ที่จะใช้ในการเชื่อมต่อ RS232

ในรูปที่ 3.32 จะเห็นว่าสายจาก Comport ของเครื่องคอมพิวเตอร์ PC จะต่อเข้าใช้งานกับ


ขั้วต่อ RS232 ของบอร์ดนั้น จะใช้เพียง 3 เส้นเท่านั้นคือ RXD,TXD,GND
ICD2 จะเป็น Connector แบบ RJ11 สําหรับ Interface กับเครื่องมือพัฒนาโปรแกรม
ตระกูล PIC ที่มีการจัดขั้วตามมาตรฐาน ICD2 ของ Microchips เช่น ICD2,ICD3,Pickit2 หรือ
Pickit3 ซึ่งสามารถใช้งานได้กับเครื่องมือพัฒนาของ Microchips หรือเทียบเท่า เช่น ET-PGMPIC
USB (เทียบเท่า Pickit2) หรือ ET-ICDX (เทียบเท่า ICD2) โดยจะมีสวิตช์สําหรับเลือกตัดต่อสัญญาณ
ของ RF2, RF3 และ MCLR สําหรับใช้ทาํ หน้าที่เชื่อมต่อกับ Programmer/Debugger หรือใช้งาน
ตามปรกติได้ พร้อม LED แสดงสถานะว่าการทํางานของสวิตช์อยู่ในตําแหน่งใด โดยถ้าเลือกสวิตช์ไว้
ทางด้าน Programmer/Debugger จะเห็น LED สีแดงของ PGM ติดสว่างให้เห็น แต่ถ้าตําแหน่งของ
สวิตช์อยู่ด้าน Run จะเห็น LED สีเขียว(RUN) ติดสว่างให้เห็น โดยมีการจัดวงจรและสัญญาณตาม
มาตรฐานของ ICD2 ดังนี้

57
รูปที่ 3.33 วงจรและสัญญาณตามมาตรฐานของ ICD2

ในรูปที่ 3.33 จะเป็นวงจรที่ใช้สําหรับการ RUN หรือ Programmer/Debugger จะมีไฟ


LED ไว้แสดงสถานะการทํางาน โดยที่ถ้าต้องการ Programmer/Debugger ก็ให้เลื่อนสวิตช์ไปที่
ตําแหน่ง PRDG ก็จะมีสญ ั ญาณจาก ICD2 เข้าที่ขา RF2,RF3,MCLR ของ MCU ทําให้สามารถ
Programmer/Debugger ได้และไฟ LED สีแดงจะติด และถ้าต้องการ RUN ก็ให้เลื่อนสวิตช์ไปที่
ตําแหน่ง RUN ก็จะทําให้หน้าสัมผัสเปลี่ยนตําแหน่งไป ขา RF2,RF3 ของ MCU ก็จะกลายป็นขา I/O
และขา MCLR ก็จะเป็นขา Reset ทําให้สามารถ RUN การทํางานได้ตามปกติและไฟ LED สีเขียวจะ
ติด
3.2.2 วงจรที่ต่อกับโหลดอุปกรณ์ไฟฟ้า
บอร์ด Relay เป็นชุด OPTO-ISOLATE OUTPUT แบบหน้าสัมผัส Relay ขนาด 2 ช่อง ใช้
สําหรับควบคุมการทํางานของอุปกรณ์ไฟฟ้า ในลักษณะของหน้าสัมผัส ON/OFF โดยใช้สัญญาณใน
การควบคุมการทํางานของ Relay ด้วยสัญญาณแบบโลจิก TTL จากส่วนขา RC13, RC14 ของ
ไมโครคอนโทรลเลอร์ ซึ่งวงจรสําหรับควบคุมการทํางานของ Relay นั้น จะใช้วงจรแบบ OPTO-
ISOLATE ในการควบคุมการทํางาน เพื่อจะไว้ป้องกันสัญญาณรบกวนต่างๆที่เกิดจากการทํางานของ
Relay และอุปกรณ์ Output ที่ควบคุมการทํางานจากหน้าสัมผัส Relay ที่จะย้อนกลับมารบกวนการ
ทํางานของวงจรควบคุมหรือส่วนไมโครคอนโทรลเลอร์ ทําให้ประสิทธิภาพการทํางานต่างๆของระบบ
ไมโครคอนโทรลเลอร์มีความน่าเชื่อถือมากยิ่งขึ้น โดยที่การทํางานของวงจรจะออกแบบให้การทํางาน
ของ Relay ทํางานด้วยสภาวะโลจิก “0” และหยุดทํางานด้วยสภาวะโลจิก “1” เพื่อป้องกันไม่ให้
Relay ทํางานในขณะที่ระบบไมโครคอนโทรลเลอร์เกิดการ RESET หรือสัญญาณควบคุมของบอร์ด
Relay ถูกปล่อยลอยอยู่

58
รูปที่ 3.34 ภาคจ่ายไฟและวงจรไฟฟ้าบอร์ดรีเลย์ (Relay) 1 ช่อง

ในรูปที่ 3.34 สําหรับวงจรภาคจ่ายไฟของบอร์ด จะใช้วงจร Bridge Rectifier ร่วมกับหม้อ


แปลงขนาด 9VDC/1A แล้วไฟบวกก็ไหลผ่าน IC 7805 เพื่อลดระดับแรงดันให้เหลือ 5VDC
ในการใช้งานบอร์ด Relay เพื่อนําไปใช้ควบคุมการทํางานของอุปกรณ์ไฟฟ้าในลักษณะของ
หน้าสัมผัสสวิตช์นั้น จะต้องมีการป้อนแรงดันไฟตรงขนาดแรงดัน +9VDC เพื่อใช้เป็นไฟเลี้ยงขดลวด
ของ Relay ด้วย ซึ่งแรงดัน +9VDC นี้ ควรเป็นแรงดันไฟตรงที่ได้จากหม้อแปลง ซึ่งแยกขดกับชุดที่
จะจ่ายให้กับบอร์ดไมโครคอนโทรลเลอร์ด้วย เพื่อที่ไว้ป้องกันสัญญาณการรบกวนที่จะเกิดขึ้นกับวงจร
ไมโครคอนโทรลเลอร์ในขณะที่ Relay หรืออุปกรณ์ Output ที่ถูกควบคุมจาก Relay ทํางาน ซึ่งการ
ทํางานของบอร์ดจะเริ่มจากเมื่อมีการป้อนสถานะโลจิก “0” ให้กับจุด OUTPUT ของวงจร และมี
แรงดัน +VCC(+5VDC) ซึ่งจะส่งผลให้หลอดLED 4N25 ติด และผ่านตัวต้านทาน 220 โอห์มเพื่อ
จํากัดกระแสให้กับ OPTO ISOLATE ซึ่งส่งผลให้วงจร OPTO ISOLATE ทํางาน ทําให้มีแรงดันและ
กระแสไหลจากแหล่งจ่าย +5VDC ผ่านภาค OUTPUT ของ OPTO ISOLATE โดยแรงดัน +5VDC นี้
จะถูกจํากัดขนาดของกระแสด้วยตัวต้านทานที่มีค่า 4.7KOHM ก่อนที่จะป้อนไปให้กับขา Base ของ
ทรานซิสเตอร์ BC547 เป็นผลให้ทรานซิสเตอร์ BC547 นํากระแส ซึง่ ก็จะทําให้มีกระแสไฟไหลผ่าน
ขดลวดของ Relay ทําให้ Relay ทํางาน โดยในการประยุกต์ใช้งานบอร์ดนี้ จะใช้สําหรับควบคุมการ
ทํางานของอุปกรณ์ไฟฟ้าด้วยวิธีการ ON/OFF ของหน้าสัมผัส โดยลักษณะของหน้าสัมผัส Relay นั้น
จะมีให้เลือกใช้งาน 2 แบบ คือ NO และ NC โดยในการต่อใช้งานจะต้องเลือกแบบใดแบบหนึ่ง โดย
จะต่อใช้งานร่วมกับขา COM (Common)
59
NO หรือ Normal Open ซึ่งหมายถึงหน้าสัมผัสแบบปรกติเปิด และจะทํางานเมื่อ Relay
เริ่มต้นทํางาน
NC หรือ Normal Close ซึ่งหมายถึงหน้าสัมผัสแบบปรกติปิด โดยจะหยุดทํางานเมื่อ Relay
เริ่มทํางาน
สําหรับการเชื่อมต่อสัญญาณ TTL ไปให้กับวงจรภาค Output ของไมโครคอนโทรลเลอร์นั้น
จะสามารถกระทําได้ โดยต่อสัญญาณผ่านขัว้ ต่อแบบ CPA ขนาด 4 Pin

3.3 การออกแบบระบบโปรโตคอล
3.3.1 ระบบการดําเนินการ (Operation Control)
Master to Slave ; ON : X1NZ, X2NZ, X3NZ, X4NZ, X5NZ, X6NZ
Master to Slave ; OFF : X1FZ, X2FZ, X3FZ, X4FZ, X5FZ, X6FZ
Slave to Master ; ON : Y1NZ, Y2NZ, Y3NZ, Y4NZ, Y5NZ, Y6NZ
Slave to Master ; ON : Y1FZ, Y2FZ, Y3FZ, Y4FZ, Y5FZ, Y6FZ
3.3.2 Status Control
ถ้า ID = 0 จะเป็นการตรวจความพร้อมในการรับ-ส่งข้อมูล
ถ้าพร้อมในการรับ-ส่งข้อมูลจะมีการแสดงแบบนี้
Master to Slave : X0SZ
Slave to Master : X0GZ
ถ้าไม่พร้อมในการรับ-ส่งข้อมูลจะมีการแสดงแบบนี้
Master to Slave : X0SZ
Slave to Master : X0BZ
ถ้า ID > 0 จะเป็นการตรวจสอบสถานะของหลอดไฟฟ้า
สถานะของหลอดไฟฟ้าที่ติด
Master to Slave : XIDSZ
: YIDNZ
สถานะของหลอดไฟฟ้าที่ดับ
Master to Slave : XIDSZ
: YIDFZ

60
3.4 การออกแบบแผ่นปริน้ วงจร ประกอบแผ่นปริน้ วงจรและติดตั้งอุปกรณ์
3.4.1 วงจรบอร์ดชุดโมดูล Xbee

รูปที่ 3.35 ลายปริ้นของบอร์ดชุดโมดูล Xbee ที่ไปกัดลายปริ้นแล้ว


ในรูปที่ 3.35 จะเป็นลายปริ้นของบอร์ดชุดโมดูล Xbee ที่ได้ออกแบบวงจรไว้และได้นําไปกัด
ลายปริ้นแล้ว

รูปที่ 3.36 ติดตั้งอุปกรณ์จริงของบอร์ดชุดโมดูล Xbee


ในรูปที่ 3.36 จะเป็นการติดตั้งอุปกรณ์ที่ใช้งานจริงลงบอร์ดชุดโมดูล Xbee เพื่อนําไปใช้งาน

61
3.4.2 วงจรบอร์ด ZX-XBeeU

รูปที่ 3.37 ลายปริ้นของบอร์ด ZX-XBeeU ที่ไปกัดลายปริ้นแล้ว


ในรูปที่ 3.37 จะเป็นลายปริ้นบอร์ด ZX-XBeeU ที่ได้ทําการออกแบบวงจรไว้และได้นําไปกัด
ลายปริ้นแล้ว

รูปที่ 3.38 ติดตั้งอุปกรณ์จริงของบอร์ด ZX-XBeeU และทดสอบตั้งค่า Xbee


ในรูปที่ 3.38 จะเป็นการติดตั้งอุปกรณ์ที่ใช้งานจริงลงบอร์ด ZX-XBeeU เพื่อนําไปใช้งานใน
การตั้งค่าโมดูล Xbee พร้อมทั้งทําการทดสอบการตั้งค่าโมดูล Xbee

62
3.4.3 วงจรบอร์ดไมโครคอนโทรลเลอร์

รูปที่ 3.39 ลายปริ้นของบอร์ดไมโครคอนโทรลเลอร์


ในรูปที่ 3.39 จะเป็นลายปริ้นของบอร์ดไมโครคอนโทรลเลอร์ที่ได้ออกแบบวงจรและได้นําไป
กัดลายปริ้นแล้ว

รูปที่ 3.40 ติดตั้งอุปกรณ์จริงของบอร์ดไมโครคอนโทรลเลอร์ และทําการทดสอบโปรแกรมการทํางาน


ในรูปที่ 3.40 จะเป็นการติดตั้งอุปกรณ์ที่ใช้งานจริงลงบอร์ดมโครคอนโทรลเลอร์ เพื่อนําไปใช้
งาน พร้อมทั้งนํามาทําการทดสอบกับโปรแกรมการทํางานที่เขียนไว้

63
3.4.4 บอร์ดที่ต่อกับโหลดอุปกรณ์ไฟฟ้า

รูปที่ 3.41 ติดตั้งอุปกรณ์จริงบนบอร์ดที่ต่อกับโหลดอุปกรณ์ไฟฟ้า


ในรูปที่ 3.41 จะเป็นการติดตั้งอุปกรณ์ที่ใช้งานจริงลงบอร์ดที่ต่อกับโหลดอุปกรณ์ไฟฟ้า เพื่อ
นําไปใช้งาน
3.4.5 บอร์ด ET-TFT240320TP-2.8 (บอร์ดหน้าจอทัชสกรีน)

รูปที่ 3.42 ติดตั้งบอร์ดหน้าจอทัชสกรีน


ในรูปที่ 3.42 จะเป็นการติดตั้งอุปกรณ์ที่ใช้งานจริงลงบอร์ด ET-TFT240320TP-2.8 (บอร์ด
หน้าจอทัชสกรีน) เพื่อนําไปใช้งาน

64
3.5 กล่องควบคุมการทํางาน
กล่องควบคุมการทํางานของระบบการควบคุมอุปกรณ์ไฟฟ้าภายในบ้านแบบไร้สายโดยใช้เอ็ก
บี แบบออกเป็น 2 ส่วน คือ ส่วนที่หนึ่งเป็นส่วนที่สั่งการทํางานและแสดงผลการทํางานทางหน้าจอ
ทัชสกรีน(ส่วนฝั่ง Sever) โดยส่งสัญญาณผ่าน Xbee ตัวหนึ่งไปยัง Xbee อีกตัวหนึ่ง และส่วนทีส่ อง
คือ ส่วนที่รับสัญญาณจาก Xbee ตัวแรกมาสั่งการทํางานของหลอดไฟฟ้า แล้วจะส่งสถานะของ
หลอดไฟฟ้ากลับไปให้ Xbee ตัวแรก(ส่วนฝั่ง Client)

บอร์ดหน้าจอทัชสกรีน

Power Bank 5VDC

บอร์ด Xbee

บอร์ด
ไมโครคอน
โทรลเลอร์

รูปที่ 3.43 กล่องฝั่งแม่ข่าย (Sever)

จากรูปที่ 3.43 ส่วนประกอบของกล่องฝั่ง Sever ประกอบด้วย


1. บอร์ดหน้าจอทัชสกรีน ทําหน้าที่ สั่งการทํางานและแสดงผลการทํางาน แบ่งออกเป็นดังนี้
ปุ่ม ON หมายถึง สั่งการทํางานเปิดหลอดไฟฟ้า
ปุ่ม OFF หมายถึง สั่งการทํางานปิดหลอดไฟฟ้า
ON แสดงที่หน้าสถานะ หมายถึง แสดงผลการทํางานว่าหลอดไฟฟ้าติดแล้ว
OFF แสดงที่หน้าสถานะ หมายถึง แสดงผลการทํางานว่าหลอดไฟฟ้าดับแล้ว
2. บอร์ดไมโครคอนโทรลเลอร์ ทําหน้าที่การทํางานคือ ประมวลผล สัง่ การและควบคุมการ
ทํางานทั้งหมดของฝั่ง Sever
3. บอร์ด Xbee ทําหน้าที่รับ-ส่งข้อมูลผ่านเคริอข่ายไร้สาย
4. Power Bank 5VDC ทําหน้าที่จ่ายไฟเลี้ยงให้กับอุปกรณ์ฝั่ง Sever ทั้งหมด

65
จุดต่อไฟฟ้า จุดต่อ
หม้อ รีเลย์ ไฟฟ้า
220VAC แปลงไฟฟ้า 220VAC
Bridge Rectifier

IC เรกูเลเตอร์ บอร์ด Xbee

บอร์ด
ไมโครคอน
โทรลเลอร์

รูปที่ 3.44 กล่องฝั่งลูกข่าย (Client) Adapter 5VDC

จากรูปที่ 3.44 ส่วนประกอบของกล่องฝั่ง Client มีส่วนประกอบดังต่อไปนี้


1. บอร์ดไมโครคอนโทรลเลอร์ ทําหน้าที่การทํางานคือ ประมวลผล สัง่ การและควบคุมการ
ทํางานทั้งหมดของฝั่ง Client
2. บอร์ด Xbee ทําหน้าที่รับ-ส่งข้อมูลผ่านเคริอข่ายไร้สาย
3 รีเลย์ ทําหน้าที่ตัดต่อการทํางานของหลอดไฟฟ้า
4. IC เรกูเลเตอร์ (DC-DC Step Down) แปลงแรงดันไฟฟ้าจาก 9 VDC ลงมาที่ 5 VDC เพื่อ
จ่ายให้บอร์ดไมโครคอนโทรเลอร์
5. หม้อแปลงไฟฟ้า (AC-AC Step Down) ทําหน้าที่แปลงแรงดันไฟฟ้าจาก 220VAC ลงมา
ที่ 9 VAC
6. Bridge Rectifier ทําหน้าที่แปลงแรงดันไฟฟ้ากระแสสลับให้เป็นไฟฟ้ากระแสตรง
7. Adapter 5VDC ทําหน้าทีจ่ ่ายไฟเลี้ยงให้กับอุปกรณ์ฝั่ง Sever ทั้งหมด

66
67
บทที่ 4
ผลการทดลอง
4.1 การทํางาานของระบบบชุดสาธิตการรควบคุมอุปกรณ์ไฟฟ้าภายยในบ้านแบบบไร้สายโดยใช้ช้เอ็กบี
การอออกแบบระบบบชุดสาธิตการควบคุมอุปกรณ์
ก ไฟฟ้าภายยในบ้านแบบไไร้สายโดยใช้เอ็
เ กบี

Supply
220_VAC

Supply Supply Supply


5 VDC 5__
VDC 5__
VDC

 
 

(ก) ฝั่ง Seveer (ข) ฝั่ง Client


รูปที่ 4.1 การต่
ก ออุปกรณ ณ์ในชุดสาธิตการควบคุ
ก มอุปกรณ์
ป ไฟฟ้าภายในบ้
ภ านแบบบไร้สายโดยใใช้เอ็กบี

รูปที่ 4..2 การทดลองงชุดสาธิตการรควบคุมอุปกรรณ์ไฟฟ้าภายใในบ้านแบบไรร้สายโดยใช้เอ็กบี

67
การทํางานส่วนเปิด - ปิดหลอดไฟฟ้า
4.1.1 การทํางานของส่วนฝั่ง Sever
1) กดเปิดหลอดไฟฟ้าหลอดที่ 1 และ 2 ทางหน้าจอทัชสกรีน
2) ข้อมูลการทํางานจะถูกส่งต่อไปที่ไมโครคอนโทรลเลอร์ฝั่ง Sever เพือ่ ประมวลผล
3) เมื่อประมวลผลถูกต้อง ไมโครคอนโทรลเลอร์ฝั่ง Sever จะสั่งการทํางานไปยังฝั่ง
Client ผ่าน Xbee ฝั่ง Sever
4) Xbee ฝั่ง Sever จะทําการรับข้อมูลการสั่งการทํางานมา แล้วจะส่งข้อมูลไป
ให้กับ Xbee ฝั่ง Client (ส่งข้อมูลการสั่งการทํางานแบบเครือข่ายไร้สาย)
4.1.2 การทํางานของส่วนฝั่ง Client
1) Xbee ฝั่ง Client จะทําการรับข้อมูลการสั่งการทํางานมา (รับข้อมูลการสั่งการ
ทํางานแบบเครือข่ายไร้สาย) แล้วส่งข้อมูลไปให้กับไมโครคอนโทรลเลอร์ฝั่ง Client เพื่อประมวลผล
2) เมื่อประมวลผลถูกต้อง ไมโครคอนโทรลเลอร์ฝั่ง Client จะสั่งการทํางานไปยัง
รีเลย์
3) รีเลย์จะทําการทริกหน้าสัมผัสตามคําสั่งการทํางาน เพื่อไปเปิด-ปิดหลอดไฟฟ้า
การทํางานส่วนแสดงสถานะหลอดไฟฟ้า
4.1.3 การทํางานของส่วนฝั่ง Client
1) เมื่อรีเลย์ทําการทริกหน้าสัมผัสตามคําสั่งการทํางาน เพื่อไปเปิด - ปิดหลอดไฟฟ้า
แล้ว ไมโครคอนโทรลเลอร์ฝั่ง Client จะประมวลผลสถานะการทํางานปัจจุบัน
2) เมื่อประมวลผลสถานะการทํางานปัจจุบันถูกต้องเสร็จแล้ว ไมโครคอนโทรลเลอร์
ฝั่ง Client ก็จะส่งข้อมูลสถานะการทํางานปัจจุบันกลับไปให้ไมโครคอนโทรลเลอร์ฝั่ง Sever ผ่าน
Xbee ฝั่ง Client
3) Xbee ฝั่ง Client จะทําการรับข้อมูลสถานะการทํางานปัจจุบันมา แล้วจะส่ง
ข้อมูลไปให้กับ Xbee ฝั่ง Sever (ส่งข้อมูลสถานะการทํางานปัจจุบันแบบเครือข่ายไร้สาย)
4.1.4 การทํางานของส่วนฝั่ง Sever
1) Xbee ฝั่ง Sever จะทําการรับข้อมูลสถานะการทํางานปัจจุบันมา (รับข้อมูล
สถานะการทํางานปัจจุบันแบบเครือข่ายไร้สาย) แล้วส่งข้อมูลไปให้กับไมโครคอนโทรลเลอร์ฝั่ง Sever
เพื่อประมวลผลสถานะการทํางานปัจจุบัน
2) เมื่อประมวลผลสถานะการทํางานปัจจุบันถูกต้องแล้ว ไมโครคอนโทรลเลอร์ฝั่ง
Sever จะสั่งการทํางานให้ไปแสดงผลทีห่ น้าจอทัชสกรีน

68
4.2 ผลการทดลอง
การทดสอบชุดสาธิตการควบคุมอุปกรณ์ไฟฟ้าภายในบ้านแบบไร้สายโดยใช้เอ็กบีนั้น เป็นการ
ทดสอบการควบคุมเปิด-ปิดไฟฟ้าภายในบ้านแบบไร้สายแบบมีอุปกรณ์ฝงั่ วงจรด้าน Server และฝัง่
วงจรด้าน Client อยู่ชั้นเดียวกัน และแบบมีอุปกรณ์ฝั่งวงจรด้าน Server และฝั่งวงจรด้าน Client อยู่
คนละชั้นกัน โดยระยะห่างระหว่างอุปกรณ์ฝั่งวงจรด้าน Server และฝั่งวงจรด้าน Client จะเริ่มต้นที่
5 เมตร แล้วค่อยเพิ่มระยะห่างไปเรื่อยๆจนกว่าจะไม่สามารถควบคุมเปิด-ปิดฟฟ้าภายในบ้านแบบไร้
สายได้ เพื่อทดสอบว่าสามารถควบคุมเปิด-ปิดไฟฟ้าภายในบ้านแบบไร้สายได้ไกลสุดที่ระยะทางเท่าไร
มีสิ่งกีดขวาง คือ การที่ไม่สามารถมองเห็นอุปกรณ์ฝั่งวงจรด้าน Client
ไม่มีสิ่งกีดขวาง คือ การทีส่ ามารถมองเห็นอุปกรณ์ฝั่งวงจรด้าน Client
การแสดงผลของหน้าจอทัชสกรีน (Touch Screen) และแอลซีดี (LCD) ในการทดลองจะ
เป็นดังรายละเอียดต่อไปนี้
1. กดเปิดหลอดไฟฟ้าหลอดที่ 1 ที่หน้าจอทัชสกรีน

รูปที่ 4.3 การกดเปิดหลอดไฟฟ้าหลอดที่ 1 ที่หน้าจอทัชสกรีน

69
2. แอลซีดีแสดงผลว่าหลอดไฟฟ้าหลอดที่ 1 ON

รูปที่ 4.4 แอลซีดีแสดงผลว่าหลอดไฟฟ้าหลอดที่ 1 ON

70
3. กดปิดหลอดไฟฟ้าหลอดที่ 1 ที่หน้าจอทัชสกรีน

รูปที่ 4.5 การกดปิดหลอดไฟฟ้าหลอดที่ 1 ที่หน้าจอทัชสกรีน

4. แอลซีดีแสดงผลว่าหลอดไฟฟ้าหลอดที่ 1 OFF

รูปที่ 4.6 แอลซีดีแสดงผลว่าหลอดไฟฟ้าหลอดที่ 1 OFF

71
รูปที่ 4.6 แอลซีดีแสดงผลว่าหลอดไฟฟ้าหลอดที่ 1 OFF (ต่อ)

5. กดเปิดหลอดไฟฟ้าหลอดที่ 2 ที่หน้าจอทัชสกรีน

รูปที่ 4.7 กดเปิดหลอดไฟฟ้าหลอดที่ 2 ทีห่ น้าจอทัชสกรีน

72
6. แอลซีดีแสดงผลว่าหลอดไฟฟ้าหลอดที่ 2 ON

รูปที่ 4.8 แอลซีดีแสดงผลว่าหลอดไฟฟ้าหลอดที่ 2 ON

73
7. กดปิดหลอดไฟฟ้าหลอดที่ 2 ที่หน้าจอทัชสกรีน

รูปที่ 4.9 กดปิดหลอดไฟฟ้าหลอดที่ 2 ที่หน้าจอทัชสกรีน

8. แอลซีดีแสดงผลว่าหลอดไฟฟ้าหลอดที่ 2 OFF

รูปที่ 4.10 แอลซีดีแสดงผลว่าหลอดไฟฟ้าหลอดที่ 2 OFF

74
รูปที่ 4.10 แอลซีดีแสดงผลว่าหลอดไฟฟ้าหลอดที่ 2 OFF (ต่อ)

9. กดเปิดหลอดไฟฟ้าทั้งหมดที่หน้าจอทัชสกรีน

รูปที่ 4.11 กดเปิดหลอดไฟฟ้าทั้งหมดที่หน้าจอทัชสกรีน

75
10. แอลซีดแี สดงผลว่าหลอดไฟฟ้าทั้งหมด ON

10

10

10

รูปที่ 4.12 แอลซีดีแสดงผลว่าหลอดไฟฟ้าทั้งหมด ON

76
11. กดปิดหลอดไฟฟ้าทั้งหมดที่หน้าจอทัชสกรีน

11

รูปที่ 4.13 กดปิดหลอดไฟฟ้าทั้งหมดที่หน้าจอทัชสกรีน

12. แอลซีดแี สดงผลว่าหลอดไฟฟ้าทั้งหมด OFF

12

12

12

รูปที่ 4.14 แอลซีดีแสดงผลว่าหลอดไฟฟ้าทั้งหมด OFF

77
รูปที่ 4.14 แอลซีดีแสดงผลว่าหลอดไฟฟ้าทั้งหมด OFF (ต่อ)

ตารางที่ 4.1 การทดลองชุดสาธิตการควบคุมอุปกรณ์ไฟฟ้าภายในบ้านแบบไร้สายโดยใช้เอ็กบี แบบ


หาระยะทางสูงสุดที่สามารถควบคุมการเปิด-ปิดได้
ระยะทาง ชั้นเดียวกัน คนละชั้นกัน
(เมตร) มีสิ่งกีดขวาง ไม่มีสิ่งกีดขวาง มีสิ่งกีดขวาง
หลอดไฟฟ้า หลอดไฟฟ้า หลอดไฟฟ้า หลอดไฟฟ้า หลอดไฟฟ้า หลอดไฟฟ้า
1 2 1 2 1 2
5 ติด ติด ติด ติด ติด ติด
10 ติด ติด ติด ติด ติด ติด
15 ติด ติด ติด ติด ติด ติด
20 ติด ติด ติด ติด ติด ติด
25 ติด ติด ติด ติด ติด ติด
30 ติด ติด ติด ติด ติด ติด
40 ติด ติด ติด ติด ติด ติด
50 ติด ติด ติด ติด ติด ติด
60 ติด ติด ติด ติด ติด ติด
80 ดับ ดับ ติด ติด ดับ ดับ
100 ดับ ดับ ติด ติด ดับ ดับ
120 ดับ ดับ ดับ ดับ ดับ ดับ

78
ตารางที่ 4.2 การทดลองชุดสาธิตการควบคุมอุปกรณ์ไฟฟ้าภายในบ้านแบบไร้สายโดยใช้เอ็กบี แบบ
หาแอมแปร์สูงสุดที่สามารถควบคุมการเปิด-ปิดได้ (โดยที่ในโครงงานนี้หน้าสัมผัสของรีเลย์สามารถทน
กระแสไฟฟ้าได้สูงสุด 5 A)
ระยะทาง ชั้นเดียวกัน คนละชั้นกัน
(เมตร) มีสิ่งกีดขวาง ไม่มีสิ่งกีดขวาง มีสิ่งกีดขวาง
โหลด 0.8 A โหลด 2.2 A โหลด 0.8 A โหลด 2.2 A โหลด 0.8 A โหลด 2.2 A
5 ทํางาน ทํางาน ทํางาน ทํางาน ทํางาน ทํางาน
10 ทํางาน ทํางาน ทํางาน ทํางาน ทํางาน ทํางาน
15 ทํางาน ทํางาน ทํางาน ทํางาน ทํางาน ทํางาน
20 ทํางาน ทํางาน ทํางาน ทํางาน ทํางาน ทํางาน
25 ทํางาน ทํางาน ทํางาน ทํางาน ทํางาน ทํางาน
30 ทํางาน ทํางาน ทํางาน ทํางาน ทํางาน ทํางาน
40 ทํางาน ทํางาน ทํางาน ทํางาน ทํางาน ทํางาน
50 ทํางาน ทํางาน ทํางาน ทํางาน ทํางาน ทํางาน
60 ทํางาน ทํางาน ทํางาน ทํางาน ทํางาน ทํางาน
80 ไม่ทํางาน ไม่ทํางาน ทํางาน ทํางาน ไม่ทํางาน ไม่ทํางาน
100 ไม่ทํางาน ไม่ทํางาน ทํางาน ทํางาน ไม่ทํางาน ไม่ทํางาน
120 ไม่ทํางาน ไม่ทํางาน ไม่ทํางาน ไม่ทํางาน ไม่ทํางาน ไม่ทํางาน

ระยะทาง ชั้นเดียวกัน คนละชั้นกัน


(เมตร) มีสิ่งกีดขวาง ไม่มีสิ่งกีดขวาง มีสิ่งกีดขวาง
โหลด 3.2 A โหลด 4.8 A โหลด 3.2 A โหลด 4.8 A โหลด 3.2 A โหลด 4.8 A
5 ทํางาน ทํางาน ทํางาน ทํางาน ทํางาน ทํางาน
10 ทํางาน ทํางาน ทํางาน ทํางาน ทํางาน ทํางาน
15 ทํางาน ทํางาน ทํางาน ทํางาน ทํางาน ทํางาน
20 ทํางาน ทํางาน ทํางาน ทํางาน ทํางาน ทํางาน
25 ทํางาน ทํางาน ทํางาน ทํางาน ทํางาน ทํางาน
30 ทํางาน ทํางาน ทํางาน ทํางาน ทํางาน ทํางาน
40 ทํางาน ทํางาน ทํางาน ทํางาน ทํางาน ทํางาน
50 ทํางาน ทํางาน ทํางาน ทํางาน ทํางาน ทํางาน
60 ทํางาน ทํางาน ทํางาน ทํางาน ทํางาน ทํางาน
80 ไม่ทํางาน ไม่ทํางาน ทํางาน ทํางาน ไม่ทํางาน ไม่ทํางาน
100 ไม่ทํางาน ไม่ทํางาน ทํางาน ทํางาน ไม่ทํางาน ไม่ทํางาน
120 ไม่ทํางาน ไม่ทํางาน ไม่ทํางาน ไม่ทํางาน ไม่ทํางาน ไม่ทํางาน

การทดลองชุดสาธิตการควบคุมอุปกรณ์ไฟฟ้าภายในบ้านแบบไร้สายโดยใช้เอ็กบี สามารถจะ
ดูได้ในแผ่น CD ROM โครงงานชุดสาธิตการควบคุมอุปกรณ์ไฟฟ้าภายในบ้านแบบไร้สายโดยใช้เอ็กบี
ชื่อไฟล์ MISC/Video

79
4.3 อภิปรายยผลการทดลออง
จากตารางที่ 4.1 การควบคุมเปิปิด-ปิดไฟฟ้าภายในบ้
ภ านแบบบไร้สาย แบบหาระยะทางงไกลสุดที่
สามารถควบคคุมการเปิด-ปิปดได้สรุปได้ว่า ในระยะทางง 0-50 เมตร สามารถทํางานได้ดีแม้อยูในสภาวะ ่ใ
ที่มีสิ่งกีดขวาง และมีสญญาณขาดหาย

ญ ยเมื่อระยะทาางในการส่งเพิพิม่ ขึ้น ในการควบคุมเปิด-ปิ
- ดไฟฟ้า
ภายในบ้านแบบไร้สายนี้ขึ้นอยู น ่กับสิ่งกรีดขวางและระ
ด ะยะทาง โดยทที่ถ้ามีสิ่งกีดขววางนั้นสามารรถควบคุม
เปิด-ปิดไฟฟ้าภายในบ้
า านแแบบไร้สายได้ระทางสู
ร งสุดที่ 60 เมตร แต่
แ ถ้าไม่มีสิ่งกีดขวางสามารรถควบคุม
เปิด-ปิดไฟฟ้าภายในบ้
า านแแบบไร้สายได้ระทางสู
ร งสุดที่ 100 เมตร
จากตารางที่ 4.2 การควบคุมเปิ เ ด-ปิดอุปกรรณ์ไฟฟ้าภายใในบ้านแบบไร้ร้สาย แบบหาาแอมแปร์
สูงสุดที่สามารรถควบคุมการรเปิด-ปิดได้สรุปได้ว่า เมื่อใช้ใ ในการควบคุมเปิด-ปิดโหหลดขนาดตั้งแต่ แ 0-3 A
สามารถทํางาานได้ดี และเววลาที่รีเลย์ตัดต่อวงจรที่หน้าสัมผัสจะเสียงดั ย งมากขึ้น เมื่อโหลดมีกระแสมาก

ขึ้น แอมแปร์ร์สงู สุดที่สามารถควบคุมการเปิด-ปิดได้นัน้นั จะขึ้นอยู่กับหน้
บ าสัมผัสขอองรีเลย์ ว่าสาามารถทน
กระแสสูงสุดได้ ไ เท่าไร(ในโคครงงานนี้หน้าสั
า มผัสของรีเลย์
ล สามารถทนนกระแสไฟฟ้าาได้สูงสุด 5 A) โดยที่
สามารถไปคววบคุมเปิด-ปิดอุ ด ปกรณ์ไฟฟ้าภายในบ้
า านแแบบไร้สายได้้แอมแปร์สูงสุดที่ 4.8 A กาารทดสอบ
แบบนี้จะเปลีลีย่ นแค่โหลดอุอุปกรณ์ไฟฟ้าที่ถูกนํามาใช้ในการควบคุมการเปิด-ปิดเทท่านั้น ส่วนดด้านที่เป็น
อุปกรณ์การรัรับ-ส่งข้อมูลแบบบเครือข่ายไไร้สายนั้นไม่ได้ดเปลี่ยนแปลงงเลย ส่งผลให้ห้ค่าระยะทางทที่สามารถ
ควบคุมเปิด-ปิปิดอุปกรณ์ไฟฟฟ้าภายในบ้านแบบไร้สายนนั้นจะไม่เปลี่ยนแปลง ย จะเเหมือนกับตารรางที่ 4.1
4.4 กราฟแสสดงการทํางานในการทดลลอง
ระยะททาง (เมตร)
1
120

1
100

80

60

40 หลอดไฟฟ้า 1
หลอดไฟฟ้า 2
20

รูปที่ 4.15
4 กราฟแสดงการรับ-ส่งสัญญาณทํางานในการทดลลอง

80
120
1

100
1

80

60
โหหลด 0.8 A
40 โหหลด 2.2 A
โหหลด 3.2 A
20
โหหลด 4.8 A
0

รูปที่ 4.16
4 กราฟแสสดงการรับ-ส่งสั
ง ญญาณทํางานในการทดลลองกับโหลดไไฟฟ้าหลายโหหลด

จากกราฟแสดงกาารทํางานในการทดลองทั้ง 2 รูปนั้นจะเเห็นได้ว่าระยะะทางที่สามารรถควบคุม
เปิด-ปิดอุปกรรณ์ไฟฟ้าภายใในบ้านแบบไรร้สายนั้นจะเทท่ากัน แม้ว่าโหลดที
โ ถ่ ูกนํามมาใช้ในการคววบคุมการ
เปิด-ปิดนั้นจะะไม่เท่ากันก็ตาม
ต โดยที่ถ้ามี
า สิ่งกีดขวางนนั้นสามารถคววบคุมเปิด-ปิดดไฟฟ้าภายในนบ้านแบบ
ไร้สายได้ระทางสูงสุดที่ 600 เมตร แต่ถ้าไม่มีสิ่งกีดขววางสามารถคววบคุมเปิด-ปิดดไฟฟ้าภายในนบ้านแบบ
ไร้สายได้ระทางสูงสุดที่ 1000 เมตร

81
82
 
 

บทที่ 5 
บทสรุปและข้อเสนอแนะ 
 
5.1 บทสรุป 
การดําเนินงานของโครงการนี้ได้ทําการศึกษาออกแบบวงจรต่างๆ เพื่อที่ทําการสร้างชุดสาธิต
การควบคุมอุปกรณ์ไฟฟ้าภายในบ้านแบบไร้สายโดยใช้เอ็กบีขึ้นมา โดยทีใ่ นผลการทดสอบนั้นสามารถ
ควบคุมเปิด-ปิดไฟฟ้าภายในบ้านแบบไร้สายได้สูงสุด 100 เมตร เกินกว่าวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ 20 เมตร
ซึ่งแสดงให้เห็นว่าชุดสาธิตการควบคุมอุปกรณ์ไฟฟ้าภายในบ้านแบบไร้สายโดยใช้เอ็กบี สามารถจะทํา
การควบคุมเปิด-ปิดไฟฟ้าภายในบ้านแบบไร้สายได้ไกลมากกว่า 20 เมตร ทําให้ผลการดําเนินงานนี้
สามารถทําได้ตามขอบเขตและวัตถุประสงค์คือ อํานวยความสะดวกสบาย  
จากการทดลองชุดสาธิตการควบคุมอุปกรณ์ไฟฟ้าภายในบ้านแบบไร้สายโดยใช้เอ็กบี การส่ง
สัญญาณแบบไร้สายสรุปได้ว่า ในระยะทาง 0-50 เมตร สามารถทํางานได้ดีแม้อยู่ในสภาวะที่มีสิ่งกีด
ขวาง และสภาพอากาศที่มีลมแรง และมีความสัญญาณขาดหายเมื่อระยะทางในการส่งเพิ่มขึ้น ในการ
ควบคุมเปิด-ปิดไฟฟ้าภายในบ้านแบบไร้สายนั้น ขึ้นอยู่กบั สิ่งกีดขวางและระยะทาง โดยที่ถ้ามีสิ่งกีด
ขวางสามารถควบคุมเปิด-ปิดไฟฟ้าภายในบ้านแบบไร้สายได้ระทางสูงสุดที่ 60 เมตร แต่ถ้าไม่มีสิ่งกีด
ขวางสามารถควบคุมเปิด-ปิดไฟฟ้าภายในบ้านแบบไร้สายได้ระทางสูงสุดที่ 100 เมตร  
5.2 ปัญหาที่เกิดขึ้น
ในการทํางานของชุดสาธิตการควบคุมอุปกรณ์ไฟฟ้าภายในบ้านแบบไร้สายโดยใช้เอ็กบี มีสิ่ง
ที่เป็นปัญหาและพบเจอคือแหล่งจ่ายไฟฟ้าฝั่ง Sever หมดเร็วทําให้ต้องเสียเวลาชาร์จบ่อย และไม่มี
โหมดแสดงปริมาณแหล่งจ่ายไฟฟ้า ณ ปัจจุบัน  
5.3 แนวทางการพัฒนา 
1. หาแหล่งจ่ายไฟฝั่ง Sever ที่สามารถใช้งานได้นานกว่านี้ ไม่ต้องชาร์จบ่อย
2. เพิ่มโหมดแสดงปริมาณแหล่งจ่ายไฟฟ้า ณ ปัจจุบัน  
 
 

82 
 
เอกสารอ้างอิง
[1] เครือข่ายเซนเซอร์ไร้สาย (Wireless_Sensor_Network). (ออนไลน์). เข้าถึงได้จาก :
http://WWW.thaitelecomkm.org/TTE/topic/attach/
Wireless_Sensor_Network/index.php,พ.ศ. 2555. (วันที่สืบค้น : 18 พฤษภาคม 2558)
[2] ระบบมาตรฐานโปโตรคอล (Protocal Standard System). (ออนไลน์). เข้าถึงได้จาก :
http://WWW.sn.ac.th/kru/network/network02,พ.ศ. 2554. (วันที่สืบค้น : 6 กรกฎาคม
2558)
[3] เอกสารประกอบการใช้งาน XBee-Pro โมดูลสื่อสารข้อมูลไร้สาย 2.4 GHz. กรุงเทพ :
บริษัทอินโนเวตีเอ็กเพอริเมนต์จํากัด, 2554
[4] ณัฎฐพล วงสุนทรชัย,ชัยวัฒน์ ลิ้มพรจิตรวิไล. เรียนรู้และปฏิบัติการไมโครคอนโทรลเลอร์
dsPIC 30F4011. กรุงเทพ : เจริญรุ่งเรืองการพิมพ์ : 2554
[5] เอกสารประกอบการใช้งานไมโครคอนโทรลเลอร์ dsPIC 30F4011. กรุงเทพ : บริษัทอีทีที
จํากัด, 2554

83
 

 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 

ภาคผนวก ก 
วงจรทั้งหมดสําหรับการควบคุมอุปกรณ์ไฟฟ้าภายในบ้านแบบไร้สายโดยใช้เอ็กบี 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 

ก-1 
 
 

รูปที่ ก.1 วงจรการทํางานฝั่ง Sever

ก-2 
 
 

รูปที่ ก.2 วงจรการทํางานฝั่ง Client


 

ก-3 
 
 

 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 

ภาคผนวก ข 
โฟร์ชาร์ตโค้ดการทํางานระบบชุดสาธิตการควบคุมอุปกรณ์ไฟฟ้าภายในบ้านแบบไร้สายโดยใช้เอ็กบี 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 

ข-1 
 
 

เริ่มต้นการทํางาน

รับค่าอินพุตจากการกดหน้าจอ
ทัชสกรีน (แกน X,Y)

คํานวณค่าแกน X,Y

ไม่ ตรวจเช็คแกน X,Y ว่าอยู่ในช่วง (X>=150)


&& (X<=202),(Y>=142) &&(Y<=194),
(Y>=78) &&(Y<=130), (Y>=14) &&
(Y<=66) หรือไม่(โค้ด ON)

ใช่

ส่งค่าเอาต์พุต X0NZ,X1NZ,X2NZ
ออกเอาต์พุต

C B A

ข-2 
 
 

C
B

ตรวจเช็คแกน X,Y ว่าอยู่ในช่วง (X>=240)


ไม่ &&(X<=292) , (Y>=142) &&(Y<=194)
,(Y>=78) &&(Y<=130) , (Y>=14) &&
(Y<=66)หรือไม่(โค้ด OFF)

ใช่
ส่งค่าเอาต์พุต X0FZ,X1FZ,X2FZ A
ออกเอาต์พุต

แสดงผลเปิด-ปิด
หลอดไฟฟ้า

ไม่

ตรวจสอบสถานะ ตรวจสอบสถานะ
ไม่ ของหลอดไฟฟ้า ของหลอดไฟฟ้า

ใช่ ใช่
ส่งค่าเอาต์พุต Y0FZ,Y1FZ,Y2FZ ส่งค่าเอาต์พุต Y0NZ,Y1NZ,Y2NZ
ออกเอาต์พุต ออกเอาต์พุต

แสดงผลที่หน้าจอ LCD

จบการทํางาน
รูปที่ ข.1 โฟร์ชาร์ตโค้ดการทํางาน

ข-3 
 
 

 
 

ข-4 
 
ประวัตผู้ทําการวิจัย

นายอาทิตย์ อ่อนสําลี
เกิดเมื่อวันที่ 28 เดือน กันยายน พ.ศ. 2529
ภูมิลําเนา จ.ชัยนาท
ที่อยู่ปัจจุบัน 16/13211 ม.10 ต.คลองหลวง อ.คลองหลวง จ.ปทุมธานี 12120
ประวัติการศึกษา
2535-2542 ประถมศึกษาปีที่1-6 จากโรงเรียนวัดบานาใน
2542-2545 มัธยมศึกษาปีที่ 1-3 จากโรงเรียนพระขโนงพิทยาลัย
2545-2548 ประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) จากวิทยาลัยเทคนิคชัยนาท
2549-2550 ประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวส.) จากวิทยาลัยเทคนิคชัยนาท
2555-ปัจจุบัน มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ในพระบรมราชูปถัมป์
ประวัตผู้ทําการวิจัย

นายสันสกฤต คันธี
เกิดเมื่อวันที่ 4 เดือน มีนาคม พ.ศ. 2530
ภูมิลําเนา จ.พังงา
ที่อยู่ปัจจุบัน 44/4 ม.5 ต.บางกรวย อ.บางกรวย จ.นนทบุรี 11130
ประวัติการศึกษา
2537 - 2543 ประถมศึกษาปีที่ 1-6 จากโรงเรียนเทศบาลบ้านย่านยาว
2543 - 2546 มัธยมศึกษาปีที่ 1-3จากโรงเรียนตะกั่วป่าคีรีเขต
2548 - 2551 ประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) จากวิทยาลัยการอาชีพตะกั่วป่า
2551 - 2553 ประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวส.) จากวิทยาลัยเทคนิคภูเก็ต
2553 - ปัจจุบัน มหาวิทยาลัยราชภัฎวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์
ประวัตผู้ทําการวิจัย

นายจิรวัฒน์ พุทธิพัฒน์
เกิดเมื่อวันที่ 30 เดือน กันยายน พ.ศ. 2522
ภูมิลําเนา จ.พระนครศีอยุธยา
ที่อยู่ปัจจุบัน 57/3 ม.2 ต. สามกอ อ.เสนา จ.พระนครศรีอยุธยา 13110
ประวัติการศึกษา
2530 - 2536 ประถมศึกษาปีที่ 1-6 จากโรงเรียนวัดสามกอ
2536 - 2539 ประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) จากวิทยาลัยการอาชีพเสนา
2539 - 2541 ประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวส.) จากวิทยาลัยเทคนิคพาณิชการอยุธยา
2555 - ปัจจุบัน มหาวิทยาลัยราชภัฎวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์

You might also like