You are on page 1of 35

รายงานการวิจัย

เรื่อง

ทัศนคติที่มีต่อการแพทย์แผนจีนของประชาชนในพื้นที่ภาคใต้
The Attitude of Traditional Chinese Medicine of People in the Southern
Area.

โดย

อาจารย์สุวรรณา หัดสาหมัด

วิทยาลัยสหเวชศาสตร์

ได้รับทุนอุดหนุนจากมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา

ปีงบประมาณ 2560

ISBN 978-93-86291-88-2
รายงานการวิจัย
เรื่อง
ทัศนคติที่มีต่อการแพทย์แผนจีนของประชาชนในพื้นที่ภาคใต้
The Attitude of Traditional Chinese Medicine of People in the Southern
Area.

โดย
คณะผู้วิจัย สังกัด

1. นางสาวสุวรรณา หัดสาหมัด วิทยาลัยสหเวชศาสตร์


2. นางสาวอาภาภรณ์ พุฒเอก วิทยาลัยสหเวชศาสตร์
3. นางสาวมุกดา โทแสง วิทยาลัยสหเวชศาสตร์
4. นางสาวอรวรรณ สินไพบูลย์เลิศ วิทยาลัยสหเวชศาสตร์
5. นางสาววันเพ็ญ บัวหอม วิทยาลัยสหเวชศาสตร์
6. นายจิรวัฒน์ สุดสวาท วิทยาลัยสหเวชศาสตร์

ได้รับทุนอุดหนุนจากมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
ปีงบประมาณ 2560

บทคัดย่อ
ชื่อรายงานการวิจัย :ทัศนคติที่มีต่อการแพทย์แผนจีนของประชาชนในพื้นที่ภาคใต้
ผู้วิจัย : นางสาวสุวรรณา หัดสาหมัด
ปีที่ทาการวิจัย : 2559
งานวิจัยนี้เป็นการศึกษา ทัศนคติที่มีต่อการแพทย์แผนจีนของประชาชนในพื้นที่ภาคใต้
เป็นการวิจัยเชิงสํารวจด้วยการใช้ แบบสอบถามชุดที่สร้างขึ้นมา เพื่อศึกษาทัศนคติที่มีต่อการแพทย์
แผนจีนของประชาชนในพื้นที่ภาคใต้จํานวน 100 คน
ผลการวิจัยพบว่าพื้นที่ส่วนใหญ่เป็นประชาชนในพื้นที่จังหวัดระนอง ส่วนใหญ่เป็นเพศ
หญิง มีอายุเฉลี่ย 35 ปี การศึกษาส่วนใหญ่ อยู่ระดับปริญญาตรี มีอาชีพหลักรับจ้างทั่วไป และเป็นผู้ที
มีครอบครัวแล้ว ผู้เข้ารับทําแบบสอบถามส่วนใหญ่เคยใช้บริการรักษาด้วยศาสตร์การแพทย์แผนจีน
มาก่อน การศึกษาความพึงพอใจของทัศนคติที่มีต่อการแพทย์แผนจีนของประชาชนในพื้นที่ภาคใต้ มี
ความพึงพอใจในด้านความสนใจในศาสตร์การแพทย์แผนจีนในระดับมาก มีความสนใจใช้บริการรักษา
ด้วยการใช้สมุนไพรจีนและตําหรับยาจีน พอใจที่ได้รับการบริการรักษาด้วยศาสตร์การแพทย์แผนจีน
และตลอดทั้งถ้ามีลูกหลานหรือคนรู้จักจะแนะนําให้มาเรียนการแพทย์แผนจีน แต่สิงทีควรปรับปรุง
และพัฒนาคือการใช้บริการรักษาโรคด้วยการครอบแก้ว
คาสาคัญ : ทัศนคติ, การแพทย์แผนจีน, พื้นที่ภาคใต้

Abstract
Research Title : The Attitude of Traditional Chinese Medicine of People in the
Southern Area.
Author : Miss Suwanna Hadsamad
Year : 2016
This research of the Attitude of Traditional Chinese Medicine of People in
the Southern Area was a survey research by using a questionnaire which aimed to
study the attitude of traditional Chinese medicine of 1 0 0 people in the southern
area.
The findings revealed that most people were in Ranong province, most of
them were females, their age was 3 5 and above, their educational attainment was
the bachelor’s degree, their occupation was the employee, and they are married.
Most of the participants used to treat by the traditional Chinese medicine, and the
study of satisfaction of the attitude of traditional Chinese medicine of people in the
southern area revealed that they interested in traditional Chinese medicine in the
high level, and interested in a treatment by Chinese herb and medicine and satisfied
with the traditional Chinese medicine. In addition, they would introduce the
traditional Chinese medicine to their children, but it should be improved in a cupping
treatment.
Keywords: Attitude, Traditional Chinese Medicine, Southern Area

กิตติกรรมประกาศ
รายงานวิจัย เรื่อง ทัศนคติที่มีต่อการแพทย์แผนจีนของประชาชนในพื้นที่ภาคใต้ (The
Attitude of Traditional Chinese Medicine of People in the Southern Area.)
ได้ รั บ ทุ น สนั บ สนุ น จากมหาวิ ท ยาลั ย ราชภั ฏ สวนสุ นั น ทา ปี ง บประมาณ 2560 ซึ่ ง การ
ดาเนินการวิจัยในครั้งนี้ สาเร็จลุล่วงได้ด้วยความช่วยเหลือจากผู้บริหาร ผู้อานวยการสถาบันวิจัยและ
พั ฒ นา และผู้ ท รงคุ ณ วุฒิ ที่ ให้ ค าแนะน าและข้ อ เสนอแนะเกี่ ย วกั บ วิ ธีก ารด าเนิ น การวิ จั ย ผู้ วิ จั ย
ขอขอบพระคุณมา ณ โอกาสนี้
ขอขอบพระคุ ณ ผศ. (พิ เศษ) ดร.นพ.ธวัช ชั ย กมลธรรม คณบดี วิท ยาลั ยสหเวชศาสตร์
มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา ที่ให้คาปรึกษา และให้ความช่วยเหลือเป็นอย่างดีด้วยอัธยาศัยไมตรี
ที่อบอุ่นเป็นกันเอง อีกทั้งยังเอื้ออานวยสถานที่ในการศึกษาวิจัย อันเป็นประโยชน์ต่อการศึกษาวิจัยใน
ครั้งนี้
คุณค่าและคุณประโยชน์ของงานวิจัยฉบับนี้ ขอมอบแก่บิดา มารดา ผู้มีพระคุณ และอาจารย์
ทุกท่าน เพื่อน และผู้ร่วมงาน ได้ให้กาลังใจ ช่วยเหลือให้คาปรึกษาแนะนาจนงานสาเร็จลุล่วงด้วยดีทุก
ประการ

สุวรรณา หัดสาหมัด
กรกฏาคม 2560

สารบัญ
หน้า
บทคัดย่อ ก
Abstract ข
กิตติกรรมประกาศ ค
สารบัญ ง
สารบัญตาราง ฉ
บทที่ 1 บทนา 1
ความสาคัญและที่มาของปัญหาที่ทาการวิจัย 1
วัตถุประสงค์ของโครงการวิจัย 2
ขอบเขตของโครงการวิจัย 2
ผลที่คาดว่าจะได้รับ 2
ระยะเวลาที่ทาการวิจัย 2
สถานที่ทาการวิจัย 2
บทที่ 2 วรรณกรรมที่เกี่ยวข้อง 3
แนวคิดและทฤษฎีเกี่ยวกับทัศนคติ 3
ความหมายของทัศนคติ 4
ประเภทของทัศนคติ 4
องค์ประกอบของทัศนคติ 5
แนวคิดและทฤษฎีของการแพทย์แผนจีน 6
การแพทย์แผนจีนในประเทศไทย 6
จุดเด่นพื้นฐานของการแพทย์แผนจีน 7
ทฤษฎีพื้นฐานของการแพทย์แผนจีน 8
การวินิจฉัยโรคตามหลักการแพทย์แผนจีน 10
หลักการของแพทย์แผนจีน 11
การรักษาโรคแบบแพทย์แผนจีน 11

สารบัญ (ต่อ)
หน้า
โรคใดบ้างที่สามารถรักษาด้วยศาสตร์การแพทย์แผนจีน 13
บทที่ 3 วิธีดาเนินการวิจัย 15
การรวบรวมข้อมูล 15
การวิเคราะห์ข้อมูล 15
บทที่ 4 ผลการศึกษาวิจัย 17
ข้อมูลทั่วไป 17
ข้อมูลเกี่ยวกับจานวนและร้อยละของผู้เข้าบริการด้วยศาสตร์การแพทย์แผน 19
จีน
วิเคราะห์ทัศนคติผู้ที่ทาแบบสอบถามที่มีต่อการแพทย์แผนจีน 20
บทที่ 5 สรุปและอภิปรายผลการศึกษาวิจัย 22
บรรณานุกรม 24
ประวัติผู้ทารายงานการวิจัย 25

สารบัญตาราง
ตาราง หน้า
ตารางที่ 1 แสดงจานวนและร้อยละจาแนกตามข้อมูลทัวไป 17
ตารางที่ 2 แสดงจานวนและร้อยละของผู้เข้ารับบริการรักษาด้วยศาสตร์การแพทย์ 19
แผนจีน
ตารางที่ 3 แสดงค่าเฉลีย ค่าเบียงเบนมาตรฐาน และระดับความคิดเห็น 20

1

บทที่ 1
บทนำ
ควำมสำคัญและที่มำของปัญหำที่ทำกำรวิจัย
ศาสตร์การแพทย์แผนจีน (Traditional Chinese Medicine) หมายถึงการศึกษาวิชาแพทย์ที่
สืบทอดจากบรรพบุรุษของประเทศจีนโดยมีประวัติการใช้ในการรักษายาวนาน มากกว่า 5,000 ปี วิธี
การศึกษาของแพทย์แผนจีน มีความคิดมุ่งเน้ นไปที่แนวคิดโดยองค์รวม โดยมีอวัยวะทางสรีระวิทยา
และเส้นลมปราณ พยาธิวิทยา เป็นพื้นฐานของความคิด และการรักษาจะขึ้นอยู่กับความแตกต่างของ
กลุ่มอาการของโรค รวมถึงการวินิจฉัยโรคและการป้องกัน การแพทย์แผนจีนเป็นวิทยาศาสตร์แขนง
หนึ่ง ซึ่งเป็นผลของการรวบรวมผลการศึกษาค้ นคว้าและประสบณ์การคลินิกทางด้านสรีรวิทยาพยาธิ
วิทยา การวินิจฉัยโรค และการป้องกันรักษาโรค
การแพทย์แผนจีนเป็นวิธีการรักษาโรคที่ถือกาเนิดในประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีนและ
และได้รับความนิยมแพร่หลายไปยังประเทศต่างๆทั่วโลก ในปัจจุบันองค์การอนามัยโลก (WHO) ได้ให้
การรับรองการดูแลรักษาสุขภาพตามแนวทางการแพทย์แผนจีน สาหรับในประเทศไทยนั้น การแพทย์
แผนจี น ได้ รั บ การยอมรั บ และนิ ย มมากขึ้ น ในปั จ จุ บั น ในปั จ จุ บั น มี ค วามเจริญ ก้ า วหน้ า ทางด้ า น
เศรษฐกิจ สังคม และเทคโนโลยีอย่างรวดเร็ว รวมทั้งโรคภัย และเชื้อโรคต่างๆก็มีจานวนเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ
ระบบการแพทย์ แ ผนปั จ จุ บั น เพี ย งระบบเดี ย วไม่ ส ามารถรัก ษาสุ ข ภาพ อาการเจ็ บ ป่ ว ยได้ อ ย่ า ง
ครอบคลุม จึงต้องการวิธีการหลากหลายในการแก้ปั ญ หาสุ ขภาพอนามัย (นายธีรยุทธ์ ขุนศรีแก้ว
,2547) ระบบการแพทย์แผนจีนซึ่งเป็นภูมิปัญญาท้องถิ่นที่สะสมกันมาหลายพันปีและถ่ายทอดมา
จนถึงปัจจุบัน จึงเป็นอีกทางเลือกหนึ่งในการดูแลบาบัดและรักษาสุขภาพของประชาชนซึ่งได้รับความ
นิยมเป็นอย่างมาก แนวทางในการรักษาผู้ป่วยโดยทั่วไปจะมีการใช้สมุนไพรจีน การกดจุด การนวดทุย
หนา การฝังเข็ม รมยา การครอบแก้วและการกัวซา (โกวิท คัมภีรภาพ 2544)
ในพื้นที่ภาคใต้ส่วนใหญ่จะมีคนจีนโพ้นทะเลที่เข้ามาอาศัยอยู่ในประเทศไทยเป็นจานวนมาก
และทั้งคนไทยสายเชื้อจีนก็ให้ความสนใจในด้านการแพทย์แผนจีนเป็นอย่างมาก ทัศนคติของผู้ที่สนใจ
การใช้บ ริการรักษาและมีความเข้าใจต่อศาสตร์การแพทย์แผนจีน ในจังหวัดภาคใต้ จึงเป็นเรื่องที่
น่าสนใจ ในการศึกษาครั้งนี้สามารถทาให้ภาครัฐมองเห็นความสาคัญการแพทย์แผนจีนและสร้างความ
มั่นใจให้กับผู้ใช้บริการเพื่อประโยชน์สูงสุดต่อสุขภาพอนามัยของประชาชนสืบไป
2

วัตถุประสงค์ของโครงกำรวิจัย
1. เพื่อต้องการศึกษา ทัศนคติ และความสนใจการใช้บริการด้านการแพทย์แผนจีนของ
ประชาชนในภาคใต้
2. เพื่อต้องการศึกษาทัศนคติและพฤติกรรมที่มีต่อการแพทย์แผนจีนของประชาชนในภาคใต้
3. เพื่อศึกษาความาต้องการทางด้านการแพทย์แผนจีนในภาคใต้

ขอบเขตของโครงกำรวิจัย
ในการศึ ก ษาครั้ ง นี้ จะท าการศึ ก ษาเชิ ง คุ ณ ภาพ โดยใช้ วิ ธี ก ารศึ ก ษาหลายรู ป แบบ
ผสมผสานกั น ได้ แ ก่ การศึ ก ษาจากเอกสาร การใช้ แ บบสอบถาม การสั ม ภาษณ์ ใ นภาคใ ต้
ระหว่างช่วงเดือนตุลาคม พ.ศ. 2559 - กรกฏาคม พ.ศ. 2560 จานวน 100 คน

ผลที่คำดว่ำจะได้รับ
1. ได้ทราบถึงทัศนคติของผู้ทสี่ นใจใช้บริการด้านการแพทย์แผนจีนของประชาชนในภาคใต้
2. ได้ทราบถึงความเข้าใจที่มีต่อการแพทย์แผนจีนของประชาชนในภาคใต้
3. สามารถนาข้อมูลที่ได้เผยแพร่ไห้กับผู้ที่สนใจการแพทย์แผนจีน

ระยะเวลำที่ทำวิจัย
วันที่ 1 ตุลาคม 2559 ถึง 31 กรกฎาคม 2560 รวมเป็นระยะเวลา 10 เดือน

สถำนที่ทำกำรวิจัย
เขตพื้นที่ภาคใต้
3

บทที่ 2
วรรณกรรมที่เกี่ยวข้อง

แนวคิดและทฤษฎีเกี่ยวกับทัศนคติ
1. ความหมายของทัศนคติ
ทัศนคติเป็นความเชื่อและความรู้เชิงประมาณค่าของบุคคลที่มีต่อสิ่งต่าง ๆ ซึ่งผ่านเข้า มาใน
ประสบการณ์ของบุคคล ความรู้เชิงประมาณค่านี้เป็นได้จากทางด้านบวกกับลบ ทาให้บุคคล พร้อมที่
จะแสดงออกตอบโต้ต่อส่งต่าง ๆ ดังนั้น จึงมีผู้ทาการศึกษาและให้ความหมายของทัศนคติไว้ มากมาย
ซึ่งแตกต่างกันไป ดังนี้
ทัศนคติหมายถึง แนวความคิดเห็น(พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน, 2556 : 562)
ทัศนคติ เป็นสิ่งที่เรียนรู้ ประกอบด้วยส่วนที่เป็นความรู้คิดหรือ สติปัญญา ความรู้สึก และ
พฤติกรรมที่แสดงออก(สุรางค์ โค้วตระกูล 2556 : 302; อ้างจาก Triandis, 1971)
ทัศนคติ (Attitude) เป็นลักษณะของแนวโน้มตามปกติของตัวบุคคลในการที่จะชอบ หรือ
เกลียดสิ่งของ บุคคล และปรากฏการณ์ต่าง ๆ(ธงชัย สันติวงษ์ 2546 : 167)
ทัศนคติ คือความโน้มเอียงที่เกิดจากการเรียนรู้ที่นาไปสู่พฤติกรรมที่ตรงกับวิถีทางที่ ชอบ
หรือไม่ชอบของสิ่งใด ๆ ที่บุคคลได้รับ (ศุภร เสรีรัตน์ 2544 : 171; อ้างจาก Schiffman and Kanuk.
1991 : 227)
ทัศนคติ (Attitude) หมายถึง ความรู้สึกของบุคคลต่าง ๆ อันเป็นผลเนื่องมาจากการ เรียนรู้
ประสบการณ์ และเป็นตัวกระตุ้นให้บุคคลแสดงพฤติกรรมต่อสิ่งต่าง ๆ ไปในทิศทางใด ทิศทางหนึ่งซึ่ง
อาจเป็นไปในทางสนับสนุนหรือทางต่อต้านก็ได้(พวงรัตน์ ทวีรัตน์ 2540 : 106)
ออลพอร์ต (Allport) ได้ให้นิยามของทัศนคติไว้ว่า ทัศนคติ คือสภาวะทางจิตใจ ซึ่งแสดงถึง
ความพร้ อมที่ จะตอบสนองต่อการกระตุ้น ก่อตัว ขึ้นมาโดยประสบการณ์ และส่ งอิทธิพ ลให้ มี การ
เปลี่ยนแปลงหรือชี้แนะต่อพฤติกรรม (อดุลย์ จาตุรงคกุล 2534 : 167)
ทัศนคติ เกี่ยวกับความรู้สึก อารมณ์ หรือความมากน้อยของการยอมรับหรือปฏิเสธ ขั้นตอน
ของการพัฒนาทัศนคติ ประกอบด้วย การรับฟัง การมีปฏิกิริยาโต้ตอบ การตีค่าหรือให้ค่า ของสิ่งนั้น
(ประภาเพ็ญ สุวรรณ 2522 : 11)
4

ทั ศ นคติ หมายถึ ง ความรู้ สึ ก หรื อ ความคิ ด ที่ บุ ค คลมี ต่ อ สิ่ ง ใดสิ่ ง หนึ่ ง ที่ เ ป็ น ผลมาจาก
ประสบการณ์หรือสิ่งแวดล้อม ความรู้สึก และความคิดดังกล่าวเป็นไปได้ในทางชอบหรือไม่ชอบ เห็น
ด้วยหรือไม่เห็ นด้วย อัน มี แนวโน้ มที่จะให้ บุคคลแสดงปฏิกิริยา และกระทาต่อสิ่ งนั้นๆ ทั้งในการ
สนับสนุนและต่อต้าน ทัศนคติ เป็นสิ่งที่ไม่สามารถมองเห็นได้อย่างชัดเจน การที่เราจะทราบทัศนคติ
ของบุ ค คลหนึ่ ง ได้ ก็ ต้ อ งใช้ วิ ธี แ ปลความหมายของการแสดงออก ซึ่ ง อาจจะเป็ น แบบหนึ่ ง ของ
องค์ประกอบของ ทัศนคติก็ได้ (ชัยวัฒน์ แสงศรี 2538 : 53)
Goodได้ให้ความหมายทัศนคติไว้ว่า ทัศนคติ หมายถึง ่ ความพร้อมที่จะแสดงออก ในลักษณะ
ใดลักษณะหนึ่ง อาจจะเป็นการยอมรับหรือปฏิเสธ ต่อสภาพการณ์บางอย่าง ในแต่ละ อย่างต่อบุคคล
ในแต่ล ะบุ คคลหรือสิ่งของในแต่ละอย่างเป็ นความรู้สึกในทางที่เป็นบวกและลบ รวมถึงความรู้สึ ก
กลางๆ ที่ทาให้บุคคลแสดงออกมาในรู้แบบของพฤติกรรมที่ถ่ายทอดมาจากจิตใจ ของบุคคลคนนั้น
จากความหมายของทัศนคติดังกล่าว สรุปได้ว่า ทัศนคติ (Attitude) เป็นความรู้สึกนึกคิด
หรือสภาพจิตใจ หรือความคิดเห็นและกริยาท่าทางการแสดงออกต่อสิ่งหนึ่งสิ่งใด ทั้งที่เป็น รูปธรรม
และนามธรรมในเชิงประมาณค่าว่ามีคุณหรือโทษ ที่อาจแสดงออกในรูปของความพึงพอใจ หรือไม่พึง
พอใจ และมีผลทาให้บุคคลนั้นพร้อมที่ตอบสนองหรือแสดงความรู้สึกโดยการสนับสนุนหรือ ต่อต้านสิ่ง
เหล่านั้น ในลักษณะความชอบหรือไม่ชอบ เห็นด้วยหรือไม่เห็นด้วย ยอมรับหรือไม่ยอมรับ ต่อบุคคล
สถานที่ สิ่งของ หรือเหตุการณ์สิ่งใดสิ่งหนึ่ง สร้างขึ้นจากประสบการณ์ในอดีตและปัจจุบัน ของบุคคล
หนึ่ง ๆ สามารถตรวจวัดและเปลี่ยนแปลงได้ ส่งผลต่ออารมณ์และพฤติกรรมของบุคคล
2. ประเภทของทัศนคติ
การศึกษาประเภทของทัศนคติ ศุภร เสรีรัตน์ (2544 : 173-175, อ้างจาก Walters. 1978 :
261) ได้แบ่งประเภทของทัศนคติไว้ 5 ประเภท ได้แก่
1. ความเชื่อ (Beliefs) คือความโอนเอียงที่ทาให้ต้องยอมรับ เพราะเป็นข้อเท็จจริง และเป็น
สิ่งที่มีการสนับสนุนโดยความเป็นจริง เป็นสิ่งที่มีเหตุผลที่ถาวรแต่อาจจะมีหรือไม่มี ความสาคัญก็ได้
2. ความคิด เห็ น (Opinions) คือ ความโน้ มเอีย งที่ ไม่ได้ อยู่ บ นพื้ น ฐานของความ แน่ น อน
ความคิดเห็นมักจะเกี่ยวข้องกับคาถามในปัจจุบันและง่ายที่จะเปลี่ยนแปลง
3. ความรู้สึก (Feelings) คือ ความโน้มเอียงซึ่งมีพื้นฐานมาจากอารมณ์โดยธรรมชาติ
4. ความโอนเอียง (Incilnation) คือ รูปแบบบางส่วนของทัศนคติเมื่อผู้บริโภค อยู่ในสภาวะที่
ตัดสินใจไม่ได้
5

5. ความมีอคติ (Bias) คือ ความเชื่อทางจิตใจที่ทาให้เกิดอคติหรือความเสียหายใน ทางตรง


ข้ามกับข้อเท็จจริง
3. องค์ประกอบของทัศนคติ
ในการศึกษาทัศนคติมีผู้ทาการศึกษาและให้คาอธิบายถึงองค์ประกอบของทัศนคติ พอที่จะ
นามาประกอบการศึกษาพอสังเขปได้ ดังนี้
ประภาเพ็ญ สุวรรณ (2526 : 3-4) แยกองค์ประกอบของทัศนคติเป็น 3 องค์ประกอบ คือ
1. องค์ ป ระกอบทางด้ านพุ ท ธิ ปั ญ ญา (Cognitive Component) ได้ แ ก่ ความคิ ด ซึ่ งเป็ น
องค์ประกอบที่มนุษย์ใช้ในการคิด ความคิดนี้อาจจะอยู่ในรูปใดรูปหนึ่งแตกต่างกัน
2. องค์ ป ระกอบทางด้ า นท่ า ที ค วามรู้ สึ ก (Affective Component) เป็ น ส่ ว นประกอบ
ทางด้านอารมณ์ ความรู้สึ ก ซึ่งเป็ นตั วเร้า “ความคิด ” อี ก ต่อหนึ่ง ถ้าบุ คคลมี ภ าวะความรู้สึ กที่ ดี
หรือไม่ดี ขณะที่คิดถึงสิ่งใดสิ่งหนึ่ง
3. องค์ ป ระกอบทางด้ า นการปฏิ บั ติ (Behavioral Component) เป็ น องค์ ป ระกอบที่ มี
แนวโน้มในทางปฏิบัติ หรือถ้ามีสิ่งเร้าที่เหมาะสม จะเกิดการปฏิบัติ
จากความหมาย ประเภท และองค์ประกอบของทั ศนคติ สรุปได้ว่า เป็นความรู้สึกนึก คิด
สภาพจิ ตใจ หรือความคิดเห็ น กริยาท่าทางการแสดงออกต่อสิ่ งหนึ่งสิ่งใด ทั้งที่เป็นรูปธรรม และ
นามธรรม ซึ่งอาจมีคุณหรือโทษ แสดงออกในรูปของความพึงพอใจหรือไม่พึงพอใจ และมีผลทาให้
บุคคลนั้นพร้อมที่ตอบสนองหรือแสดงความรู้สึกโดยการสนับสนุนหรือต่อต้านสิ่งเหล่านั้น ในลักษณะ
ความชอบหรื อไม่ช อบ เห็ น ด้ว ยหรือไม่เห็ นด้ ว ย ยอมรับ หรือ ไม่ ยอมรับ ซึ่งประเภทของ ทั ศนคติ
ดังกล่าวจะมีปัจจัยที่สาคัญที่ทาให้เกิดทัศนคติได้ คือ ความเชื่อ ความคิดเห็น ความรู้สึก ความโอน
เอียง และความมีอคติ โดยมีองค์ประกอบของทั ศนคติ เป็นตัวกระตุ้นให้บุคคลเกิดทัศนคติ ต่อสิ่งต่าง
ๆ แล้วจึงนาไปสู่การตอบสนองอย่างใดอย่างหนึ่ง ที่เป็นอารมณ์และความรู้สึก (Affective) ความคิด
(Cognitive) หรือพฤติกรรม (Behavioral) ดังนั้น การที่บุคคลมีทัศนคติที่ดีต่อสิ่งที่ตนเอง ปฏิบัติอยู่
จะเป็นสิ่งสาคัญที่จะช่วยให้การปฏิบัติหน้าที่ด้วยความใส่ใจและพร้อมที่จะปฏิบัติตาม ดังนั้น ผู้วิจัยจึง
ได้นาแนวคิดทฤษฏีเกี่ยวกับทัศนคติมาใช้ในการศึกษาวิจัยในครั้งนี้
สาหรับการศึกษาวิจัยในครั้งนี้ผู้ศึกษามีจุดมุ่งหมายที่จะศึกษาทัศนคติ เกี่ยวกับความ คิดเห็น
ความรู้สึก ความเชื่อ ในเรื่องทัศนคติที่มีต่อการแพทย์แผนจีนของประชาชนในภาคใต้ จึงเป็นเรื่องที่
น่าสนใจในการศึกษาความต้องการด้านการแพทย์แผนจีนของประชาชนในภาคใต้ สามารถทาให้
6

ภาครัฐมองเห็นความสาคัญการแพทย์แผนจีนและสร้างความมั่นใจให้กับผู้ใช้บริการเพื่อประโยชน์สูงสุด
ต่อสุขภาพอนามัยของประชาชนสืบไป
แนวคิดและทฤษฎีของการแพทย์แผนจีน
1. ความหมายของแพทย์แผนจีน
การแพทย์แผนจีน (Traditional Chinese Medicine) หมายถึง การแพทย์แผนโบราณของ
จีนซึ่งสืบทอดนานหลายพันปีและได้หลอมรวมเป็นส่วนสาคัญส่วนหนึ่งในวัฒนธรรมของชนชาติจีน
การแพทย์แผนจีนเป็นวิทยาศาสตร์แขนงหนึ่ง ซึ่งเป็นผลของการรวบรวมผลการศึกษาค้นคว้า
และประสบณ์ การคลินิ กทางด้านสรีรวิทยาพยาธิวิทยา การวินิจฉัยโรค และการป้องกันรักษาโรค
(โกวิท คัมภีรภาพ 2544)
การแพทย์แผนจีน ตามประกาศกระทรวงสาธารณสุขที่ 1/2543 ซึ่งออกตามพระราช บัญญัติ
การประกอบโรคศิลปะ พ.ศ. 2542 คาว่า การแพทย์แผนจีน หมายถึง การกระทาต่อมนุษย์เกี่ยวกับ
การตรวจวินิจฉัย การบาบัดโรค การป้องกันโรค หรือการฟื้นฟูสมรรถภาพของร่างกายตามศาสตร์
และความรู้ แ บบแพทย์ แ ผนจี น ที่ ถ่ า ยทอดและพั ฒ นาสื บ ต่ อ กั น มา หรื อ ตามการศึ ก ษาจาก
สถาบั นการศึกษาใน ระดับอุดมศึกษาในหลักสูตรการแพทย์แผนจีนไม่ต่ากว่า 5 ปีของประเทศนั้น
และคณะกรรมการการประกอบโรคศิลปะให้การรับรอง (วิลาวัณย์ จึงประเสริฐ 2536)
การแพทย์แผนจีนเป็นวิธีการรักษาโรคที่ถือกาเนิดในประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีนและและ
ได้รับความนิยมแพร่หลายไปยังประเทศต่างๆทั่วโลก ในปัจจุบันองค์การอนามัยโลก (WHO) ได้ให้การ
รับรองการดูแลรักษาสุขภาพตามแนวทางการแพทย์แผนจีน สาหรับในประเทศไทยนั้น การแพทย์
แผนจีนได้รับการยอมรับและนิยมมากขึ้นในปัจจุบัน
World Health Organization. Guidelines on basic training and safety in acupuncture
(http://www.aaom.info/docs/who_edm_trm_99.pdf)
2. การแพทย์แผนจีนในประเทศไทย
การแพทย์แผนจีนได้เข้ามามีบทบาทร่วมกับการแพทย์แผนปัจจุบันและการแพทย์แผนไทยใน
การดูแลสุขภาพ ของคนไทยโดยเข้ามาพร้อมคนจีนที่อพยพเข้ามาในประเทศไทยตั้งแต่ยุคกรุงสุโขทัย
โดยมีหลักฐานที่ใช้อ้างอิงดังนี้
1. ความคล้ ายคลึ งกัน ระหว่ างการแพทย์ล้ านนาและการแพทย์แผนไต ซึ่ งเป็นการแพทย์
พื้นบ้านของชนเผ่าไต ในเขตสิบสองปันนา มณฑลยูนนาน ประเทศจีน
7

2. คัม ภี ร์โอสถพระนารายณ์ ซึ่ งรวบรวมตารับยาที่ ใช้ในวั งหลวงของสมเด็จพระนารายณ์


มหาราชเมื่อ 400 ปี เศษที่ผ่านมา ปรากฏมีตารับยาจีนบรรจุอยู่ในคัมภีร์ดังกล่าว
3.โรงพยาบาลเทียนฟ้ามูลนิธิบนถนนเยาวราช กรุงเทพมหานคร เปิดให้บริการการแพทย์แผน
จีน ตั้งแต่ พ.ศ. 2446
4. ห้างขายยาไต้อันตึ๊งซึ่งเป็นร้านขายยาจีนที่เปิดดาเนิ นการในถนนวานิช1กรุงเทพมหานคร
ตั้งแต่ พ.ศ.2449
5. สมาคมแพทย์จีนในประเทศไทยที่ก่อตั้งตั้งแต่ พ.ศ.2468
6. ได้พบหลักฐานแพทย์จีนซึ่งได้รับอนุญาตให้ประกอบโรคศิลปะแผนโบราณสาขาการบาบัด
โรคทางยา ชั้น 2 เมื่อวันที่ 18 สิงหาคม พ.ศ.2473 ( เย็นจิตร เตชะดารงสิน, 2552)
30 มิ ถุ น ายน พ.ศ. 2543 รั ฐ มนตรี ว่ า การกระทรวงสาธารณะสุ ข โดยค าแนะน าของ
คณะกรรมการการประกอบโรคศิลปะ ได้ออกประกาศกระทรวงสาธารณะสุขฉบับที่ 1 (พ.ศ.2543)
รับรองการแพทย์แผนจีนเป็นสาขาหนึ่งของการประกอบโรคศิลปะ เพื่อควบคุมการประกอบโรคศิลปะ
ในสาขาการแพทย์แผนจีน และให้ มี ขึ้นทะเบียนและรับใบอนุญาตของบุคคลที่ ทาการประกอบโรค
ศิลปะโดยอาศัยศาสตร์การแพทย์แผนจีน(โกวิท คัมภีรภาพ 2544)
3. จุดเด่นพื้นฐานของการแพทย์แผนจีน
การแพทย์แผนจีนมีจุดเด่นพื้นฐาน 2 ประการ คือ
1. แนวคิดมนุษย์กับสิ่งแวดล้อม
แนวคิ ด มนุ ษ ย์ กั บ สิ่ ง แวดล้ อ มพั ฒ นามาจากแนวความคิ ด วั ต ถุ นิ ย มสมั ย โบราณผนวกกั บ
แนวความคิดการวินิ จ ฉัย แยกกลุ่ มอาการ แนวคิดมนุน ย์กับสิ่ งแวดล้ อมถือว่ามนุษ ย์ป ระกอบด้ว ย
อวัยวะตันทั้งห้าเป็นศูนย์กลางเชื่อมโยงกับอวัยวะและเนื้อเยื่อต่าง ผ่านทางระบบเส้นลมปราณ อวัยวะ
และเนื้ อ เยื้ อ ต่ างมี ห น้ าที่ เฉพาะและท างานพึ่ งพาและควบคุ ม ซึ่ งกั น และกั น โดยอาศั ย เลื อ ดและ
ลมปราณมาหล่อเลี้ยงภายใต้การควบคุมของจิตใจเพื่อให้สามารถดารงชีวิตได้เป็นปกติของอวัยวะหนึ่ง
จะมีผลกระทบต่อการทางานของอวัยวะอื่นด้วย
กล่ าวว่ามนุ ษ ย์ เป็ น ส่ ว นหนึ่ งของธรรมชาติ สิ่ งแวดล้ อม และมี ความสั มพั นธ์กั น อย่างใกล้ ชิ ด
การแพทย์แผนจีนได้ใช้แนวคิดมนุษย์กับสิ่งแวดล้อมมาศึกษาสาเหตุของโรคในการทาให้เกิดโรคและ
การดาเนินเปลี่ยนแปลงของโรค เช่น ตับมีความสัมพันธ์กับลม อารมณ์โกรธ รสเปรี้ยว เอ็น นัยน์ตา
และถุงน้าดี โดยลม อารมณ์โกรธ อาหารรสเปรียวจัด เป็นสาเหตุทาให้เกิดความผิดปกติที่ ตับ ความ
ผิดปกติของตับสามารถมีผลกระทบถึงอวัยวะและเนื้อเยื่อที่เกี่ยวข้องคือ เอ็น นัยน์ตา และถุงน้าดี
8

2. การวินิจฉัยและรักษาตามกลุ่มอาการ
อาการ คือ ความผิดปกติของร่างกายที่ผู้ป่วยรู้สึกเองหรือแสดงออกมา เช่น ปวดศีรษะ มีไข้
คลื่นไส้ อาเจียน
อาการแสดง คือ ข้อมูลสภาวะของร่างกายผู้ป่วยที่ได้จากการตรวจของแพทย์
กลุ่มอาการ คือ อาการและอาการแสดงที่ช่วงเวลาหนึ่ง เป็นการเปลี่ยนแปลงทางพยาธิวิทยา
ตามสาเหตุของโรค คุณลักษณะของโรค ตาแหน่งของโรค ความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับสิ่งแวดล้อม
และปฏิกิริยาของร่างกายต่อสาเหตุของโรคในเวลานั้นๆ ทาให้ทราบถึงแก่นแท้ของการเปลี่ยนแปลง
ทางพยาธิวิทยาในเวลานั้นอย่างครบถ้วน ลึกซึ่ง และถูกต้องมากกว่าการใช้อาการเพียงอย่างเดียว
โรคคือการเปลี่ยนแปลงทางพยาธิวิทยาเกิดจากสาเหตุของโรคทาให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทาง
โครงสร้างหรือการทางานของอวัยวะ จนเป็นอุปสรรคต่อการดาเนินชีวิตตามปกติโรคแสดงออกเป็น
อาการและอาการแสดง โรคจะมีกลุ่มอาการแตกต่างกันตามความแตกต่างของบุคคล สถานที่ เวลา
ทาให้การรักษาต่างกันไปด้วย
การวินิจฉัยตามกลุ่มอาการ คือ การนาข้อมูลอาการและอาการแสดงจากการดู การฟัง การ
ถามและการคล า มาวิเคราะห์ ห าสาเหตุ คุณ ลักษณะ ตาแหน่งของโรค และความส าพันธ์ระหว่าง
ลมปราณก่อโรคและลมปราณต้านโรค และแยกแยะออกมาเป็นกลุ่ มอาการ การวินิจฉัยตามกลุ่ ม
อาการจะเป็ นข้อมูล สาคัญที่ช่วยบอกถึงแนวทางการรักษาที่ถูกต้องต่อไป เช่นมีไข้ หนาวสั่น ปวด
ศีรษะ ปวดเมื่อยตัว เป็นอาการความผิดปกติอยู่ที่ส่วนนอกของร่างกายซึ่งจะต้องแยกแยะให้ชัดเจนว่า
เป็นกลุ่มอาการที่มีสาเหตุจากลมร้อน หรือลมเย็น มากระทบเพราะใช้ยารักษาต่างกัน (โกวิท คัมภีร
ภาพ 2544)
4. ทฤษฎีพื้นฐานของการแพทย์แผนจีน
โดยมีรายละเอียดดังนี้
1. ทฤษฎี อิ น -หยางและทฤษฎี ปั ญ จธาตุ คื อ แนวความคิ ด วั ต ถุ นิ ย มสมั ย โบราณ และ
แนวความคิดการวินิ จฉัยและการรักตามกลุ่มอาการ โดยใช้หลั กความสั มพันธ์ของอิน -
หยาง และปัญจธาตุ มาอธิบายการกาเนิดของร่างกาย การเปลี่ยนแปลงทางสรีรวิทยา การ
วินิ จ ฉั ย และการรั ก ษาโรค นอกจากนี้ ยั งได้ ก ล่ าวถึ งข้ อ จ ากั ด ของทฤษฎี นี้ ในแง่ ค วาม
ครอบคลุมของเนื้อหาทฤษฎี และการที่ยังไม่สามารถอธิบายปรากฏการณ์ที่ซับซ้อนทางสรี
รพยาธิวิทยาบางอย่างได้อย่างสอดคล้องกับหลักทางวิทยาศาสตร์
9

2. ทฤษฎีอวัยวะภายใน คือทฤษฎีเกี่ยวกับอวัยวะภายในและเนื้อเยื่อในแง่การทางานทาง
สรีรวิทยา การเปลี่ยนแปลงทางพยาธิวิทยา ความสัมพันธ์กันระหว่างอวัยวะภายใน และ
ความสัมพันธ์ระหว่างอวัยวะภายในกับส่วนต่างๆของร่างกายและกับธรรมชาติสิ่งแวดล้อม
ทฤษฎี อวัย วะภายในเป็ นส่ ว นประกอบส าคัญ ของทฤษฎี พื้ น ฐานการแพทย์ แผนจีน มี
ประโยชน์ในทางการวินิจฉัยและรักษาตามกลุ่มอาการ
3. ทฤษฎีสารจาเป็น ลมปราณ เลือด และของเหลวในร่างกาย กล่าวถึงการสร้าง ประโยชน์
และความสัมพันธ์กันของสารจาเป็น ลมปราณ เลือด และของเหลวในร่างกาย ซึ่งเป็น
สิ่งจาเป็นพื้นฐานต่อการทางานตามปกติของอวัยวะภายใน และเป็นผลจาการทางานของ
อวัยวะภายในด้วย
4. ทฤษฎี ร ะบบเส้ น ลมปราณ กล่ าวถึ ง ระบบเส้ น ลมปราณในร่ า งกาย ในแง่ ห น้ า ที่ ท าง
สรีรวิทยา การเปลี่ยนแปลงทางพยาธิวิทยา และความสัมพันธ์กับอวัยวะภายใน ระบบเส้น
ลมปราณเป็ น ระบบโคร่ งข่ า ยที่ ท าหน้ า ที่ ข่ น ส่ งลมปราณและเลื อ ดให้ มี ก ารไหลเวี ย น
เชื่อมโยงขึ้นลงเข้าออกระหว่างอวัยวะภายในและเนื้อเยื่อต่าง ทั่วร่างกาย
5. ทฤษฎีสาเหตุของโรค กล่าวถึงคุณลักษณะ จุดเด่น และอาการทางคลินิกของสาเหตุของ
โรคแต่ละชนิด
6. ทฤษฎีพ ยาธิ กาเนิ ด ของโรค กล่ าวถึงแก่น แท้ของโรคได้แก่ กฎเกณฑ์ การเกิดโรค การ
ดาเนินการเปลี่ยนแปลงโรค
7. หลักการป้องกันและรักษา
หลักการป้ องกัน โรคยึดหลัก “รักษาตั้งแต่ยังไม่เป็นโรค” เพื่อป้องกันไม่ให้ เกิดโรคหรือ
ป้องกันไม่ให้โรคเปลี่ยนแปลงเลวลง
หลักการรักษายึดหลัก “รักษาโรคที่แก่น” “เสริมลมปราณตานทานโรค ขจัดลมปราณก่อ
โรค” “ปรับการทางานของอวัยวะภายใน” “ปรับสมดุลหยิน-หยาง” “รักษาโดยคานึกถึง
เวลา สถานที่ บุคคล” เป็นต้น
ที่ ก ล่ าวมาข้ างต้ น ทั้ ง 7 ข้ อ เป็ น ส่ ว นส าคั ญ ของทฤษฎี พื้ น ฐานการแพทย์ แ ผนจี น ซึ่ งมี ก าเนิ ด จาก
ประสบการณ์การปฏิบัติ ทาให้เกิดทฤษฎีพื้นฐานการปฏิบัติอีกทีหนึ่ง การประยุกต์ใช้ความรู้ทฤษฎี
พื้นฐานการแพทย์แผนจีน คือ เอาทฤษฎีไปสัมพันธ์กับความเป็นจริงสามารถเปรียบเทียบกับแพทย์
แผนปัจจุบัน โดยไม่ต้องแยกแยะฝ่ายใดถูกฝ่ายใดผิด ถือเอาผลการรักษาเป็นสาคัญ (โกวิท คัมภีรภาพ
2544)
10

4.1 ลักษณะเด่นของการรักษาโรคทางแพทย์จีนคืออะไร
• จากทฤษฎีที่เป็นพื้นฐาน:อินหยาง(หยินหยาง) อู่สิง (ปัญธาตุ) (ไม้(ตับ) ไฟ(หัวใจ)
ดิน(ม้าม) ทอง(ปอด) น้า (ไต))
• วิธีการวินิจฉัย :ไดแก่ การดู การดม การถาม การจับชีพจร ท้งั 4วิธีรวมเป็นหนึ่งเดียว
เพื่อตรวจหาสาเหตุ ชนิดของโรค ตา แหน่งของโรค การวิเคราะห์เพื่อแยกแยะกลไกการ
เกิดโรค
• วิธีการรักษา:อายุรกรรม(ยาจีน) ฝังเข็ม การนวดทุยหนา ครอบแกว้ การโภชนาการ
การกวาซารวมไปถึงการใช้โกฐจุฬาลัมพา
• วั ต ถุ ป ระสงค์ ใ นการรั ก ษา :เพื่ อ ใหอิ น และหยางของร่ า งกายสมดุ ล และฟื้ น ฟู
สมรรถภาพ
• การรักษาโรคทางแพทย์แผนจีน เพื่อต้องการให้ร่างกายมีการฟื้นฟูที่สมดุลของอินและห
ยาง เพื่ อลดภาวะเสี่ ย งที่ จะ กลายเป็น โรคร้ายแรงยิ่ งขึ้น แล้ ว ยังค นึ งถึงชีวิตและเพื่ อ
คุณภาพของชีวิตมนุษย์

5. การวินิจฉัยโรคตามหลักแพทย์แผนจีน
มีแนวทางดังต่อไปนี้
· การดู สังเกตสิ่งผิดปกติที่เกิดขึ้นภายนอก เช่น ดูลิ้น สีหน้า ท่าทาง ลักษณะการนั่ง ยืน
เดิน เป็นต้น
· การฟัง ฟังเสียงพูด เสียงไอ เสียงลมหายใจ
· ดมกลิ่ น ดมกลิ่ น ปาก กลิ่ น ตั ว กลิ่ น อุ จ จาระ และกลิ่ น ปั ส สาวะของผู้ ป่ ว ย
· การถาม ถามถึ ง อาการที่ ผู้ ป่ ว ยรู้ สึ ก ไม่ ส บาย ประวั ติ ชี วิ ต ความเป็ น อยู่ ประวั ติ
ครอบครัว เป็นต้น
· การแมะ (จับชีพจร) แพทย์จะใช้นิ้วชี้ นิ้วกลาง นิ้วนาง สัมผัสที่ข้อมือของคนไข้ทั้ง
สองข้าง ซึ่งข้อมือแต่ละข้างจะสะท้อนถึงความผิดปกติของระบบอวัยวะภายในที่แตกต่างกัน การแมะ
จะช่ วยให้ แพทย์ ทราบว่ามี อวัย วะใดในร่างกายที่ ท างานมากเกิน ไปหรือน้ อยเกิ นไป ถ้ามีแสดงว่า
ร่างกายเกิดภาวะเสียสมดุลขึ้นแล้ว เมื่อได้ข้อมูลจากการตรวจวินิจฉัย แพทย์จะวิเคราะห์ว่าอาการ
ของผู้ป่วยจัดอยู่ในกลุ่มใด หรือเป็นโรคใด จากนั้นจึงจะดาเนินการรักษาตามศาสตร์แพทย์แผนจีน
ต่อไป
11

6. หลักการของการแพทย์แผนจีน
เน้น “การปรับสมดุล” ของร่างกายเป็นหลัก ศาสตร์แพทย์แผนจีนเชื่อว่า การที่ร่างกาย
ของคนเราเกิดโรคหรืออาการเจ็บป่วยขึ้นนั้นเป็นเพราะร่างกายเกิดภาวะเสียสมดุล ดังนั้นหากสามารถ
ทาให้ร่างกายกลับคืนสู่ภาวะสมดุลได้ ร่างกายก็จะกลับมาแข็งแรงจนสามารถกาจัดโรคได้ด้วยตนเอง
โรคหรืออาการผิดปกติต่างๆ ก็จะหายไป
การบาบัดโรคตามศาสตร์แพทย์แผนจีนเพื่อให้ร่างกายคืนสู่สมดุลนั้นมีหลายวิธี อาทิ การ
ฝังเข็ม, รมยา, ครอบแก้ว , การนวดทุยหนา เป็นต้น ซึ่งแพทย์จะเลือกใช้วิธีใด อาจใช้วิธีเดียวหรือ
ผสมผสานหลายๆ วิธี ก็ขึ้นกับโรคหรืออาการที่ผู้ป่วยเป็น
7. การรักษาโรคแบบการแพทย์แผนจีน
การรักษาแบบแพทย์แผนจี นจะเป็นการรักษาสุขภาพที่เราจะเรียกได้ว่าเป็นการรักษาแบบ
องค์รวม คือเป็นการรักษาอาการทั้งทางร่างกายและจิตใจร่วมกัน โดยแพทย์แผนจีนจะมองทุกสาเหตุ
ที่ทาให้เกิดอาการป่วยทั้งหมด การรักษาแบบนี้อยู่ในหลักของความคิดที่ถูกปลูกฝั่งกันมาว่าทุกสิ่งมี
พลังที่เรียกว่า ชี่ (chi) ไหลผ่าน ถ้าพลังชี่ไหลผ่านไม่สะดวกหรือถูกปิดกั้นจะทาให้เกิดภาวะไม่สมดุลใน
ร่างกาย ซึ่งเป็ นสาเหตุที่ทาให้สุขภาพร่างกายและจิตใจของผู้ ป่วยอ่อนแอ วัตถุประสงค์สาคัญของ
การแพทย์แผนจีนคือการที่ต้องทาให้พลังชี่ไหลเวียนดีและสม่าเสมอ แพทย์แผนจีนเป็นทางเลือกหนึ่ง
ของการบ บัดรักษาโรคด้วยศาสตร์การแพทย์แผนจีน เช่น การฝังเข็ม รมยา การนวดทุยหนา การใช้
สมุนไพรจีน การครอบแก้ว การกัวซา เป็นต้น
แหล่งทื่มา: http://health.kapook.com/view3321.html
การฝังเข็ม
การใช้ เข็ ม ปั ก ลงไปบนจุ ด ฝั งเข็ ม ตามร่างกาย การฝั งเข็ ม เผยแพร่ไปทั่ ว โลก ทั้ งในยุ โรป
อเมริกา และญี่ปุ่น เป็นเวลาหลายร้อยปี องค์การอนามัยโลกได้จัดประชุมเมื่อ พ.ศ. 2522 และ 2538
ให้การรับรองโรคที่ใช้ฝังเข็มเป็นทางเลือกหนึ่งในการรักษาจานวน 57 โรค การฝังเข็มรักษาโรคให้หาย
ได้ โดยผ่านจุดฝังเข็มที่อยู่บนเส้นลมปราณ ซึ่งเป็นเส้นทางไหลเวียนและลาเลียงของพลัง, เลือด และ
ของเหลวในร่างกาย รวมทั้งเชื่อมโยงอวัยวะภายในและเนื้อเยื่อต่างๆทาให้การไหลเวียนและลาเลียง
ไม่ติดขัด อวัยวะและเนื้อเยื่อทางานประสานกลมกลืนกัน แพทย์แผนปัจจุบันศึกษาพบว่าการฝังเข็มมี
ผลต่อระบบประสาทอัตโนมัติ ซึ่งควบคุมการทางานของอวัยวะต่างๆ และมีผลต่อการหลั่งสารหลาย
ชนิดในร่างการ ซึ่งช่วยระงับอาการปวดและลดอาการอักเสบได้ดี การฝังเข็มสามารถ แก้ไขการ
ไหลเวี ย นของเลื อ ดลมปราณที่ ติ ด ขั ด ,ปรั บ สภาพความสมดุ ล อวัย วะต่ า งๆ ในร่ างกาย ,กระตุ้ น
12

ภูมิคุ้มกันในร่างกาย ,ช่วยบรรเทาความเจ็บปวด และช่วยในการหดเกร็งตัวของกล้ามเนื้อ โดยไม่ต้อง


รับ ประทานยา โดยในปั จ จุบั น มีการใช้เครื่องอบความร้อนและเครื่องกระตุ้นไฟฟ้าเพื่ อช่ว ย เสริม
ประสิทธิภาพในการฝังเข็ม เข็มที่ใช้มีหลายขึ้นอยู่กับกล้ามเนื้อบริเวณที่ฝังเข็ม มีทั้งเข็มขนาด สั้น
กลาง ยาว รวมไปถึง เข็มแปะหู และเข็มดอกเหมย
การเปิดตารับยาจีน
การใช้ ย าจี น เกิ ด จากการลองผิ ด ลองถู ก การจดบั น ทึ ก ฤทธิ์ ต่ า งๆของยาแต่ ล ะตั ว ไว้ โดย
ปรมาจารย์ของยาจีนจนเกิดเป็น คัมภีร์ เสิ่นหนงเปิ่นเฉ่าจิง อธิบายถึงรูปร่าง ลักษณะของยา การ
ออกฤทธิ์และรสของยา สรรพคุณที่ใช้ในการรักษา โดยการเปิดตารับยาจีนแพทย์จะเลือกใช้ยาจีนเพื่อ
รักษาโรคตามสาเหตุปั จจัยการ ก่อโรคโดยการเลือกใช้ยาหลายๆตัว ทั้งยาที่มีสรรพคุณเหมือนกัน
ใกล้เคียงกันเพื่อช่วยเสริมฤทธิ์ยา และยาที่ฤทธิ์ตรงข้ามกันเพื่อลดพิษที่เกิดจากยาตัวอื่น มาเข้าตารับ
เพื่อให้มีคุณสมบัติในการรักษาโรคต่างๆ ยาจีนในปัจจุบันมีทั้งยาต้ม ยาเม็ดลูกกลอน ยาแคปซูล และ
ยาผง
การครอบแก้ว (Cupping)
ใช้แก้วครอบลงบนผิวจากนั้นจึงลดความดันภายใน โดยการใช้ความร้อนหรือการดูดอากาศ
ออก จนผิวหนั งและกล้ามเนื้ อถูกดูดเข้าไปในแก้ว สามารถช่ วยกระตุ้นการไหลเวียนของเลือดใน
บริ เวณที่ มีก ารติ ดขั ดท าให้ เลื อ ดและ พลั งมีก ารไหลเวียนที่ ดี ขึ้น เสมื อนเป็น ดี ท็ อกซ์ท างผิ ว หนั ง
สามารถรักษาอาการปวด โดยฉพาะบริเวณ บ่า หลัง และเอว (เหมาะสาหรับผู้ที่ทางานนั่งโต๊ะหรือใช้
คอมพิวเตอร์เป็นระยะเวลานาน ) และสามารถใช้การด้านการส่งเสริมความงามช่วยให้ผิวพรรณดูเปล่ง
ปลั่ง มีเลือฝาด หลังจากการทาครอบแก้วแล้ว บริเวณผิวหนังอาจมีรอยคล้า แต่ไม่มีอันตราย รอยจะ
หายเองในเวลาประมาณ 5 – 7 วันและสามารถทาได้อีกเมื่อรอยจางหายการครอบแก้วก็ยังแบ่งได้
หลายประเภท อาทิเช่น โจ่วก้วน ส่านก้วน หลิวก้วน หลิวเจินป๋าก้วน เป็นต้น
การนวดทุยหน่า
ทุยคือการผลัก หนาคือการหยิบกล้ามเนื้อ รวมแล้วคือการนวดตามศาสตร์แพทย์แผนจีนใช้
วิธีการนวดโดยเฉพาะในจุดตาแหน่งบน ร่างกายเทคนิคที่จาเป็น จะต้องทาไปอย่างต่อเนื่องมีพลัง ใช้
แรงสม่าเสมอ ละมุนละม่อมและลุ่มลึก วิธีการนวดนั้น มีหลายอย่างที่นิยมใช้กันมี วิธีการผลัก การ
กด การกดด้วยนิ้วเดียว การคลึง การหยิบ การสั่น การตบ การถู เป็นต้น การนวดทุยหน่าและการ
กดจุดสามารถใช้ในการบารุงสุขภาพ เช่นการนวดตา การนวดแขนขา การนวดเพื่อบารุงกระเพาะ
อาหารและการนวดเพื่อสงบจิตใจเป็นต้น สรรพคุณ ของการนวดทุยหน่า คือ เสริมสมรรถนะของ
13

อวัย วะภายในร่างกาย , ทาให้ เลื อดลมหมุนเวียนได้ดี , ปรับและเสริมกล้ามเนื้อ เอ็นและไขข้อให้


แข็งแรงขึ้น และสามารถเพิ่มภูมิต้านทานร่างกายได้อีกด้วย
การกวาซา
การบาบัดด้วยการขูดผิวหนังใช้เขาสัตว์หรือหยก มาขูดผิวหนังเพื่อขั บพิษ กวาซาจะช่วย
กระตุ้นการหมุนเวียนของโลหิตภายใต้ผิวหนัง ขยายรูขุมขนให้เปิดกว้าง ทาให้ร่างกายผลัดเซลล์เก่า
สร้างเซลล์ใหม่ และขับพิษออกทางต่อมเหงื่อ ทาให้ร่างกายมีการปรับสมดุล ช่วยฟื้นฟูสมรรถนะของ
ระบบภู มิ ต้ า นทานโรคให้ แ ข็ ง แรง ได้ ผ ลดี ในการรั ก ษา เป็ น ไข้ ตั ว ร้ อ น ปวดเมื่ อ ย หรื อ ชาตาม
ร่างกาย หลังจากการทาแล้ว บริเวณผิวหนังอาจมีรอยแดงคล้า แต่ไม่มีอันตราย รอยจะหายเองใน
เวลาประมาณ 5 – 7 วันและสามารถทาได้อีกเมื่อรอยจางหาย ทั้งนี้การกวาซายังใช้ในศาสตร์ความ
งามอีกด้วย คือ การกวาซาใบหน้าซึ่งจะช่วยให้ผิวน่าเต่งตึง สามารถลดร้อยเหี่ยวย่นบนใบหน้าได้
อย่างชัดเจน การกวาซาประเภทนี้จะไม่เกิดรอยแดง
โกฐจุฬาลัมพา
เป็นไม้ล้มลุก สูงได้ถึง 1.5 เมตร รากมีกลิ่นหอม ใบเดี่ยว ใช้ใบตากแห้งมาบดอัดแท่ง การ
รักษาใช้ไฟจุดที่ปลายแท่งโกฐฯ และนาปลายแท่งโกฐฯไปรมบริเวณจุดฝังเข็มและจุดที่ต้องการ โดย
ให้ความร้อน และน้ามันหอมระเหยจากแท่งโกฐฯออกฤทธิ์ในการรักษา โกฐจุลัมพาในปัจจุบันมีให้
เลือกตามความเหมาะสมในการใช้หลายรูปแบบ เช่น แบบแท่งยาว แบบสั้น และแบบผง การใช้โกฐ
จุฬาลัมพารมตามจุดฝังเข็มเฉพาะนอกจากการรักษาโรคแล้วยังสามารถใช้ ดูแล สร้างเสริมสุขภาพให้
แข็งแรง ชาวจีนจึงมีความเชื่อว่าจะทาให้มีอายุวัฒนะได้อีกด้วย(shixuemin,2007)

8. โรคใดบ้างที่สามารถรักษาด้วยศาสตร์การแพทย์แผนจีน
การแพทย์แผนจีน สามารถรักษาได้เกือบทุกโรค การรักษาแบบแพทย์แผนจีนนั้นจริง
แล้ว ก็คือการรักษาตามหลักธรรมชาติ เพราะการรั กษาแบบแพทย์แผนจีนจะมุ่งสร้างสมดุล ให้ กับ
ร่างกาย ทาให้ร่างกายแข็งแรงจนสามารถเยียวยาตนเองได้ ดังนั้นท่านที่มีปัญหาสุขภาพไม่ว่าจะเป็น
อาการผิ ดปกติที่ระบบใด สามารถปรึกษาแพทย์เพื่อรับการรักษาตามศาสตร์แพทย์แผนจีนได้ ขอ
ย ก ตั ว อ ย่ า ง โ ร ค ห รื อ อ า ก า ร ต่ า ง ๆ พ อ สั ง เ ข ป ดั ง นี้
· อาการปวดบริเวณต่างๆ ของร่างกาย อาทิ กล้ามเนื้ออักเสบ ปวดเส้น สะบักจม ปวด
ต้นคอบ่าไหล่ ปวดหลัง ปวดเอวร้าวลงขา หมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท ปวดเข่า ข้อเข่าเสื่อม
ป ว ด ฝ่ า เท้ า (โร ค ร อ ง ช้ า ) ป ว ด ข้ อ ไห ล่ ไห ล่ ติ ด ป ว ด ข้ อ ศ อ ก โร ค ไข ข้ อ อั ก เส บ
14

· โรคที่เกี่ยวกับระบบการสืบพันธุ์ของสตรี อาทิ ปวดประจาเดือน รอบเดือนมาไม่ปกติ


มีบุตรยาก อาการวัยทอง
· โรคเกี่ยวกับระบบลาไส้
· เบาหวาน ความดันโลหิตสูง
· ปวดศีรษะ ไมเกรน ภูมิแพ้
· โรคซึมเศร้า โรคเกี่ยวกับความเครียด คิดมาก วิตกกังวล นอนไม่หลับ
· โรคเกี่ยวกับระบบประสาท อัมพฤกษ์ อัมพาต เส้นเลือดตีบ
· อ่อนเพลียเรื้อรัง ฯลฯ
เมื่อผู้ ป่ วยมาพบแพทย์ด้ว ยโรคหรืออาการต่างๆ ก่อนที่ แพทย์จะทาการบาบั ดรักษา
แพทย์จะต้องทาการตรวจวินิจฉัยตามหลักแพทย์แผนจีนก่อน
http://th.yanhee.net/operation/312/61/TH
15

บทที่ 3
วิธีการดาเนินงาน (Methodology)

ในการศึกษาครั้งนี้ จะทาการศึกษาเชิงคุณภาพ โดยใช้แบบสอบถาม (Questionnaire) เป็น


เครื่ องมือโดยแบ่ งเนื้ อหาของแบบสอบถาม ออกเป็น 3 ส่ วน คือ ส่ วนที่ 1 ข้อมูลทั่ วไปของผู้ ตอบ
แบบสอบถาม ส่วนที่ 2 แบบสารวจความพึงพอใจในทัศนคติที่มีต่อการแพทย์แผนจีนของประชาชนใน
พื้นที่ภาคใต้ ส่วนที่ 3 ข้อเสนอแนะ เป็นแบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ จานวน
12 ข้อ มีความหมายดังนี้
5 หมายถึง ระดับมากที่สุด
4 หมายถึง ระดับมาก
3 หมายถึง ระดับปานกลาง
2 หมายถึง ระดับน้อย
1 หมายถึง ระดับน้อยที่สุด
1. การรวบรวมข้อมูล
การรวบรวมข้อมูลที่ต้องการศึกษาจากเอกสาร โดยการสืบค้น และรวบรวมองค์ความรู้ที่มี
การจดบันทึกไว้ในตารายา จารึกต่างๆ วารสาร บทความ และรายงานการวิจัยต่างๆ ที่เกี่ยวข้องทั้งใน
ประเทศและต่างประเทศ รวมทั้งทบทวนแนวความคิด ทฤษฎี และวรรณกรรมอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับ
ทัศนะคติการแพทย์แผนจีน
2. การวิเคราะห์ข้อมูล
กระบวนการในการวิเคราะห์ ข้อมูลจากการศึกษา ผู้วิจัยจะได้ดาเนินวิธีการวิเคราะห์ และ
ประมวลผลของข้ อ มู ล ต่ า งๆ ที่ ไ ด้ เก็ บ รวบรวมตามแนวทางของการศึ ก ษาวิ จั ย เชิ ง คุ ณ ภาพ
(Qualitative Research) โดยวิธีการวิจัยเชิงเอกสาร (Documentary Research) หลังจากการเก็บ
รวบรวมข้อมูลดังกล่ าวเรียบร้อยแล้ว จึงทาการวิเคราะห์ข้อมูลโดยนามาเสนอในลักษณะบรรยาย
ความ (Description) และใช้ เทคนิ ค การวิ เคราะห์ เนื้ อ หา (Content Analysis) เพื่ อ สรุ ป ผลการ
ศึกษาวิจัยต่อไป
16

3. ประชากร
การท าวิจั ย ครั้งนี้ มุ่งประชากรคือ ประชากรทั่ ว ไปที่ มีค วามสนใจต่อทั ศนะคติ ที่ มีต่ อ
การแพทย์แผนจีนในพื้นที่ภาคใต้ จานวน 100 คน
3.1 ในการศึกษาวิจัยครั้งนี้คือประชากรทั่วไปที่มีความสนใจต่อทั ศนคติที่มีต่อการแพทย์
แผนจีนในพื้นที่ภาคใต้ จานวน 100 คน
การดาเนินการเก็บรวบรวมข้อมูล ผู้วิจัยดาเนินการนาแบบสอบถามไปเก็บรวบรวมข้อมูลด้วย
ตนเองจานวน 100 ชุด โดยใช้เวลาในการเก็บรวบรวมข้อมูล 4 สัปดาห์จากนั้นทาการตรวจสอบความ
สมบูรณ์ของข้อมูลก่อนนามาวิเคราะห์และประมวลผล การวิเคราะห์ข้อมูล ผู้วิจัยดาเนินการวิเคราะห์
ข้อมูลดังนี้
1) วิเคราะห์สถานภาพส่วนบุคคลโดยใช้ค่าร้อยละ
2) ข้อมูลเกียวกับจานวนและร้อยละของผู้เข้ารับบริการรักษาด้วยศาสตร์การแพทย์แผนจีน
3) วิเคราะห์ ทั ศนคติของผู้ ที่ส นใจที่มีต่อแพทย์แผนจีนของประชาชนในพื้ นที่ภ าคใต้ โดย
พิจารณาจากค่าเฉลี่ย (mean) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (standard deviation) โดยใช้เกณฑ์ของ
เบสท์เป็นเครื่องวัดดังนี้
คะแนนเฉลี่ย 4.51 - 5.00 หมายถึง อยู่ในระดับมากที่สุด
คะแนนเฉลี่ย 3.51 - 4.50 หมายถึง อยู่ในระดับมาก
คะแนนเฉลี่ย 2.51 - 3.50 หมายถึง อยู่ในระดับปานกลาง
คะแนนเฉลี่ย 1.51 - 2.50 หมายถึง อยู่ในระดับน้อย
คะแนนเฉลี่ย 1.00 - 1.50 หมายถึง อยู่ในระดับน้อยที่สุด
17

บทที่ 4
ผลการศึกษาวิจัย

ผู้วิจัยดําเนินการศึกษาปัจจัยทีมีผลต่อทัศนคติที่มีต่อการแพทย์แผนจีนของประชาชนในพื้นที่
ภาคใต้ โดยรวบรวมกลุ่มตัวอย่างจํานวน 100 คน ทําการเก็บ ข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามทีสร้างขึ้น
ระหว่างวันที 1 ตุลาคม พ.ศ. 2559 - กรกฏาคม พ.ศ. 2560 และนําผลมา วิเคราะห์ข้อมูล ปรากฏ
ผลการวิจัย ดังนี้
4.1 ข้อมูลทั่วไป
ตารางที่ 1 แสดงจํานวนและร้อยละจําแนกตามข้อมูลทัวไปทีมีผลต่อทัศนคติที่มีต่อการแพทย์แผนจีน
ของประชาชนในพื้นที่ภาคใต้
ข้อมูลทัวไปทีมีผลต่อทัศนคติที่มีต่อการแพทย์แผนจีนของ จํานวน ร้อยละ
ประชาชนในพื้นที่ภาคใต้ (คน)
N=100 คน
1. จังหวัด
1.1 ยะลา 5 5
1.2 สงขลา 5 5
1.3 สุราษฎร์ธานี 10 10
1.4 ภูเก็ต 10 10
1.5 พัทลุง 10 10
1.6 ตรัง 10 10
1.7 นครศรีธรรมราช 10 10
1.8 ระนอง 30 30
1.9 ชุมพร 10 10
2. เพศ
2.1 ชาย 11 11
2.2 หญิง 89 89
3. อายุ
3.1 ต่ํากว่า 20 ปี 14 14
3.2 21-30 16 16
3.3 31-40 28 28
3.4 41-50 23 23
3.5 51 ปีขึ้นไป 19 19
18

4. สถานภาพ
4.1 โสด 40 40
4.2 สมรส/คู่ 51 51
4.3 หม้าย 6 6
4.4 หย่า 3 3
5. ระดับการศึกษา
5.1 ประถมศึกษา 11 11
5.2 มัธยมศึกษาตอนตน 8 8
5.3 มัธยมศึกษาตอนปลาย 16 16
5.4 ปวส./อนุปริญญา/ปวช. 14 14
5.5 ปริญญาตรี 45 45
5.6 สูงกว่าปริญญาตรี 6 6
6. อาชีพ
6.1 ทําไร/ทํานา/ทําไร่/เลี้ยงสัตว์ 3 3
6.2 รับจ้างทั่วไป 20 20
6.3 รับราชการ/รัฐวิสาหกิจ 18 18
6.4 ทํางานโรงการ/บริษัทเอกชน 11 11
6.5 ค้าขายทําธุรกิจส่วนตัว 8 8
6.6 ทํางานบ้าน/แม่บ้าน/พ่อบ้าน 15 15
6.7 ไม่มีงานทํา/ว่างการ -
6.8 อื่นๆ 25 25

1) วิเคราะห์สถานภาพส่วนบุคคลโดยใช้ค่าร้อยละ ผลการวิเคราะห์ข้อมูลพบว่าประชากรที่มี
ความสนใจต่อทัศนคติที่มีต่อการแพทย์แผนจีนในพื้นที่ภาคใต้ มีประชากรในพื้นที่จังหวัดยะลา จํานวน
5 คน คิดเป็นร้อยละ 5 ประชากรในพื้นที่จังหวัดสงขลา จํานวน 5 คน คิดเป็นร้อยละ 5 ประชากรใน
พื้นที่จังหวัดสุราษฎร์ธานี จํานวน 10 คน คิดเป็นร้อยละ10 ประชากรในพื้นที่จังหวัดภูเก็ต จํานวน 10
คน คิดเป็นร้อยละ 10 ประชากรในพื้นที่จังหวัดพัทลุง จํานวน 10 คน คิดเป็นร้อยละ 10 ประชากร
ในพื้นที่จังหวัดตรัง จํานวน 10 คน คิดเป็นร้อยละ10 ประชากรในพื้นที่จังหวัดนครศรีธรรมราชจํานวน
10 คน คิ ด เป็ น ร้ อ ยละ 10 ประชากรในพื้ น ที่ จั ง หวั ด ระนอง จํ า นวน 30 คน คิ ด เป็ น ร้ อ ยละ 30
ประชากรในพื้นที่จังหวัด ชุมพร จํานวน 10 คน คิดเป็นร้อยละ 10 เป็นเพศหญิง จํานวน 89 คน คิด
เป็นร้อยละ 89 และเป็นเพศชาย จํานวน 11 คน คิดเป็นร้อยละ 11 มีอายุเฉลี่ย 35 ปี อายุต่ําสุด 19
ปี และอายุสูงสุ ด 83 ปี ส่วนใหญ่มีช่วงอายุระหว่าง 31 - 40 ปี จํานวน 28 คน คิดเป็นร้อยละ 28
สถานภาพโสด จํานวน 40 คน คิดเป็นร้อยละ 40 สมรส จํานวน 51 คน คิดเป็นร้อยละ 51 เป็นหม้าย
จํานวน 6 คน คิดเป็นร้อยละ 6 หย่าร้าง จํานวน 3 คน คิดเป็นร้อยละ 3 ระดับสูงกว่าปริญญาตรี
19

จํานวน 6 คน คิดเป็นร้อยละ 6 ปริญญาตรี จํานวน 45 คน คิดเป็น ร้อยละ 45 จบปวส./อนุปริญญา/


ปวช.จํานวน 14 คน คิดเป็ นร้อยละ 14 มัธยมศึกษาตอนปลาย จํานวน 16คน คิด เป็นร้อยละ 16
มัธยมศึกษาตอนตนจํานวน 8คน คิด เป็นร้อยละ 8 และ ประถมศึกษา จํานวน 11คน คิดเป็ นร้อย
ละ 11 ผู้ทีเข้ารับการตอบแบบสอบถามมีอาชีพหลักรับจ้างทั่วไป จํานวน 25คน คิดเป็นร้อยละ 25 ทํา
ไร/ทํานา/ทําไร่/เลี้ยงสัตว์ จํานวน 3 คน คิดเป็นร้อยละ 3 รับราชการ/รัฐวิสาหกิจ จํานวน 18 คน คิด
เป็นร้อยละ 18 รับ ทํางานโรงการ/บริษัทเอกชน จํานวน 11 คน คิดเป็นร้อยละ 11 ค้าขายทําธุรกิจ
ส่วนตัว จํานวน 8 คน คิดเป็นร้อย ละ 8 ทํางานบ้าน/แม่บ้าน/พ่อบ้านจํานวน 15 คน คิดเป็นร้อยละ
15 นักเรียน นักศึกษา จํานวน 20 คน คิดเป็นร้อยละ 20
ตารางที่ 2 แสดงจํานวนและร้อยละของผู้เข้ารับบริการรักษาด้วยศาสตร์การแพทย์แผนจีน

2) ข้อมูลเกี่ยวกับจํานวนและร้อยละของผู้เข้ารับบริการรักษาด้วยศาสตร์การแพทย์แผนจีน
พบว่าผู้ที่ทําแบบสอบถาม เคยใช้การบริการรักษาด้วยศาสตร์การแพทย์แผนจีน จํานวน 52 คน คิด
เป็นนร้อยละ 52 และไม่เคยใช้การบริการรักษาด้วยศาสตร์การแพทย์แผนจีน จํานวน 48 คน คิดเป็น
ร้อยละ 48
20

ตารางที่ 3 แสดงค่าเฉลี ย ค่าเบี ย งเบนมาตรฐาน และระดับความคิดเห็ นของผู้ ตอบแบบสอบถาม


ทัศนคติที่มตี ่อแพทย์แผนจีนของประชาชนในพื้นที่ภาคใต้
ทัศนคติที่มีต่อการแพทย์แผนจีนของประชาชน ค่าเฉลีย ค่าเบียงเบน แปลผล
ในพื้นที่ภาคใต้ มาตรฐาน
1.ท่านสนใจในศาสตร์การแพทย์แผนจีน 4.21 0.82 เห็นด้วยระดับมาก
2. ท่านสนใจใช้บริการรักษาด้วยการใช้สมุนไพรจีน 4.18 0.67 เห็นด้วยระดับมาก
และตําหรับยาจีน
3. ท่านสนใจใช้บริการรักษาโรคด้วยการฝังเข็ม 3.92 0.83 เห็นด้วยระดับมาก
4. ท่านสนใจใช้บริการรักษาโรคด้วยการครอบแก้ว 3.79 0.72 เห็นด้วยระดับมาก
5. ท่านสนใจใช้บริการรักษาโรคด้วยการกัวซา 3.90 0.80 เห็นด้วยระดับมาก
6. ท่านสนใจใช้บริการรักษาโรคด้วยการนวดทุย 3.88 0.69 เห็นด้วยระดับมาก
หนา
7. ท่านคิดว่าผลการรักษาด้วยศาสตร์การแพทย์ 4.01 0.70 เห็นด้วยระดับมาก
แผนจีนมีประสิทธิผล
8. ถ้ามีสถานที่บริการ เช่น คลินิกหรือโรงพยาบาล 3.97 0.90 เห็นด้วยระดับมาก
ด้านการรักษาด้วยแพทย์แผนจีนท่านสนใจจะใช้
บริการ
9. การแพทย์แผนจีนเป็นการรักษาแบบองค์รวมใน 3.87 0.72 เห็นด้วยระดับมาก
การดูแลสุขภาพ
10. แพทย์แผนจีนเป็นแพทย์ทางเลือกหนึ่งที่ท่าน 3.98 0.71 เห็นด้วยระดับมาก
เลือกใช้บริการ
11. ถ้าท่านมีลูกหลานหรือคนรู้จักท่านจะแนะนํา 4.13 0.73 เห็นด้วยระดับมาก
ให้มาเรียนการแพทย์แผนจีน
12. ท่านพอใจที่ได้รับการบริการรักษาด้วยศาสตร์ 4.17 0.68 เห็นด้วยระดับมาก
การแพทย์แผนจีน

3) วิเคราะห์ทัศนคติผู้ที่ทําแบบสอบถามที่มีต่อแพทย์แผนจีนของประชาชนในพื้นที่ภาคใต้
โดยพิ จ ารณาจากค่ า เฉลี่ ย (mean) และส่ ว นเบี่ ย งเบนมาตรฐาน (standard deviation) พบว่ า
ทัศนคติที่มีต่อการแพทย์แผนจีนของประชาชนในพื้นที่ภาคใต้มีความพึงพอใจในการสนใจในศาสตร์
การแพทย์แผนจีนในระดับมาก มีค่าเฉลียเท่ากับ 4.21 ค่าเบียงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.82 รองลงมา
คือ มีความสนใจใช้บ ริก ารรั กษาด้วยการใช้ส มุ นไพรจีน และตําหรับยาจีน มีค่าเฉลี ยเท่ากับ 4.18
ค่าเบียงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.67 พอใจที่ได้รับการบริการรักษาด้วยศาสตร์การแพทย์แผนจีน มีค่าเฉ
ลียเท่ากับ4.17 ค่าเบียงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.68 พอใจถ้ามีลูกหลานหรือคนรู้จักจะแนะนําให้มา
เรียนการแพทย์แผนจีน พอใจคิดว่าผลการรักษาด้วยศาสตร์การแพทย์แผนจีนมีป ระสิทธิผล พอใจถ้า
มีสถานที่บริการ เช่น คลินิกหรือโรงพยาบาลด้านการรักษาด้วยแพทย์แผนจีน พอใจแพทย์แผนจีนเป็น
21

แพทย์ทางเลือกหนึ่งที่ท่านเลือกใช้บริการ สนใจใช้บริการรักษาโรคด้วยการฝังเข็ม สนใจใช้บริการ


รักษาโรคด้วยการกัวซา สนใจใช้บริการรักษาโรคด้วยการนวดทุยหนา พอใจการแพทย์แผนจีนเป็น
การรั กษาแบบองค์รวมในการดูแลสุ ขภาพ และพอใจการใช้บริการรักษาโรคด้ว ยการครอบแก้ ว
ตามลําดับ
22

บทที่ 5
สรุปและอภิปรายผลการศึกษาวิจัย

รายงานผลการวิ จั ย ฉบั บ นี้ เป็ น การศึ ก ษาวิจั ย เชิ ง คุ ณ ภาพ โดยใช้ วิ ธีก ารวิจั ย เชิ งสํ ารวจ
(SURVEY METHOD) ทัศนคติที่มีต่อแพทย์แผนจีนของประชาชนในพื้นที่ภาคใต้ โดยจําแนกตัวแปรที
ใช้ในการ วิจัย ได้แก่ ลักษณะทัวไปของของประชาชน ประกอบด้วยเพศ อายุ การศึกษา สถานภาพ
สมรส และอาชีพหลัก ข้อมูลเกียวกับการรับรู้และพฤติกรรมของผู้ตอบ แบบสอบถามทีมีทัศนคติต่อ
แพทย์แผนจีน ข้อมูลทัศนคติของประชาชนที่มีต่อแพทย์แผนจีน ตลอดทังศึกษาความสัมพันธ์ ระหว่าง
ปัจจัยส่วนบุคคลกับทัศนคติของประชากรที่มีต่อการแพทย์แผนไทย โดยเก็บ ข้อมูลภาคสนามจากผู้ที่
สนใจและผู้ที่เคยรับการรักษาและไม่เคยรับการรักษาด้วยศาสตร์การแพทย์แผนจีนในพื้นที่ภ าคใต้
ตั ว อย่ า ง ดั ง ที่ ได้ เสนอผลการวิ เคราะห์ ข้ อ มู ล ไว้ ในบทที่ 4 ซึ่ ง สามารถสรุ ป อภิ ป รายผล และ
ข้ อ เสนอแนะ ตามลํ าดั บ ต่ อ ไปนี้ งานวิ จั ย นี้ เป็ น การศึ ก ษา ทั ศ นคติ ที่ มี ต่ อ การแพทย์ แ ผนจี น ของ
ประชาชนในพื้นที่ภาคใต้ เป็นการวิจัยเชิงสํารวจด้วยการใช้ แบบสอบถามชุดที่สร้างขึ้นมา เพื่อศึกษา
ทัศนคติที่มีต่อการแพทย์แผนจีนของประชาชนในพื้นที่ภาคใต้จํานวน 100 คน
5.1 สรุปผลการวิจัย
1) ลักษณะทั่วไป
ผลการวิเคราะห์ข้อมูลพบว่ามีประชากรในพื้นที่จังหวัดยะลา จํานวน 5 คน คิดเป็นร้อยละ 5
ประชากรในพื้นที่จังหวัดสงขลา จํานวน 5 คน คิดเป็นร้อยละ 5 ประชากรในพื้นที่จังหวัดสุราษฎร์ธานี
จํานวน 10 คน คิดเป็นร้อยละ10 ประชากรในพื้นที่จังหวัดภูเก็ต จํานวน 10 คน คิดเป็นร้อยละ 10
ประชากรในพื้ น ที่จั งหวัดพัทลุ ง จํ านวน 10 คน คิดเป็นร้อยละ 10 ประชากรในพื้ นที่จังหวัดตรัง
จํานวน 10 คน คิดเป็นร้อยละ10 ประชากรในพื้นที่จังหวัดนครศรีธรรมราชจํานวน 10 คน คิดเป็น
ร้อยละ 10 ประชากรในพื้น ที่จังหวัดระนอง จํานวน 30 คน คิดเป็นร้อยละ 30 ประชากรในพื้นที่
จังหวัด ชุมพร จํานวน 10 คน คิดเป็นร้อยละ 10 เป็นเพศหญิง จํานวน 89 คน คิดเป็น ร้อยละ 89
และเป็นเพศชาย จํานวน 11 คน คิดเป็นร้อยละ 11 มีอายุเฉลี่ย 35 ปี อายุต่ําสุด 19 ปี และอายุสูงสุด
83 ปี ส่ ว นใหญ่ มี ช่ว งอายุ ร ะหว่าง 31 - 40 ปี จํานวน 28 คน คิด เป็ น ร้อยละ 28 สถานภาพโสด
จํานวน 40 คน คิดเป็นร้อยละ 40 สมรส จํานวน 51 คน คิดเป็นร้อยละ 51 เป็นหม้าย จํานวน 6 คน
คิดเป็นร้อยละ 6 หย่าร้าง จํานวน 3 คน คิดเป็นร้อยละ 3 ระดับสูงกว่าปริญญาตรี จํานวน 6 คน คิด
23

เป็นร้อยละ 6 ปริญญาตรี จํานวน 45 คน คิดเป็น ร้อยละ 45 จบปวส./อนุปริญญา/ปวช.จํานวน 14


คน คิดเป็นร้อยละ 14 มัธยมศึกษาตอนปลาย จํานวน 16คน คิด เป็นร้อยละ 16 มัธยมศึกษาตอนตน
จํานวน 8คน คิด เป็นร้อยละ 8 และ ประถมศึกษา จํานวน 11คน คิดเป็ นร้อยละ 11 ผู้ทีเข้ารับการ
ตอบแบบสอบถามมีอาชีพหลักรับจ้างทั่วไป จํานวน 25คน คิดเป็นร้อยละ 25 ทําไร/ทํานา/ทําไร่/
เลี้ยงสัตว์ จํานวน 3 คน คิดเป็นร้อยละ 3 รับราชการ/รัฐวิสาหกิจ จํานวน 18 คน คิดเป็นร้อยละ 18
รับ ทํางานโรงการ/บริษัทเอกชน จํานวน 11 คน คิดเป็นร้อยละ 11 ค้าขายทําธุรกิจส่วนตัว จํานวน 8
คน คิ ดเป็ น ร้ อ ย ละ 8 ทํ างานบ้ าน/แม่ บ้ าน/พ่ อบ้ านจํ านวน 15 คน คิด เป็ น ร้อยละ 15 นั ก เรีย น
นักศึกษา จํานวน 20 คน คิดเป็นร้อยละ 20
2) จํานวนและร้อยละของผู้เข้ารับบริการรักษาด้วยศาสตร์การแพทย์แผนจีน
จากผลการวิจัยพบว่า ผู้ทําแบบสอบถามเคยใช้การบริการรักษาด้วยศาสตร์การแพทย์แผนจีน จํานวน
52 คน คิดเป็นนร้อยละ 52 และไม่เคยใช้การบริการรักษาด้วยศาสตร์การแพทย์แผนจีน จํานวน 48
คน คิดเป็นร้อยละ 48
3) ทัศนคติของประชาชนที่มีต่อแพทย์แผนจีนของประชาชนในพื้นที่ภาคใต้
พบว่า ทัศนคติที่มีต่อการแพทย์แผนจีนของประชาชนในพื้นที่ภาคใต้ มีความพึงพอใจในการสนใจใน
ศาสตร์การแพทย์แผนจีน ในระดับ มาก มีค่าเฉลียเท่ากับ 4.21 ค่าเบียงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.82
รองลงมา คือ มีความสนใจใช้บริการรักษาด้วยการใช้สมุนไพรจีนและตําหรับยาจีน พอใจที่ได้รับการ
บริ การรักษาด้วยศาสตร์การแพทย์แผนจีน พอใจถ้ามี ลู กหลานหรือคนรู้จัก จะแนะนําให้ มาเรีย น
การแพทย์แผนจีน พอใจคิดว่าผลการรักษาด้วยศาสตร์การแพทย์แผนจีนมีประสิทธิผล พอใจถ้ามี
สถานที่บริการ เช่น คลินิกหรือโรงพยาบาลด้านการรักษาด้วยแพทย์แผนจีน พอใจแพทย์แผนจีนเป็น
แพทย์ทางเลือกหนึ่งที่ท่านเลือกใช้บริการ สนใจใช้บริการรักษาโรคด้วยการฝังเข็ม สนใจใช้บริการ
รักษาโรคด้วยการกัวซา สนใจใช้บ ริการรักษาโรคด้วยการนวดทุยหนา พอใจการแพทย์แผนจีนเป็น
การรั กษาแบบองค์รวมในการดูแลสุ ขภาพ และพอใจการใช้บริการรักษาโรคด้ว ยการครอบแก้ ว
ตามลําดับ
ข้อเสนอแนะ (Suggestions)
จากการศึกษาทัศนะคติที่มีต่อการแพทย์แผนจีนของประชาชนในพื้นที่ภาคใต้ ภาครัฐควรให้
การสนับสนุนและส่งเสริมการบริการด้านการแพทย์แผนจีนในแต่ละพื้นที่ให้มากยิ่งขึ้น และให้มีการจัด
อบรมให้ความรู้เพิ่มเติมแก่ผู้สูงอายุในชุมชน จะได้นํามาประยุกต์ใช้ในชีวิตประจําวันได้
25

บรรณานุกรม

1. พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตสถาน พ .ศ. 2554. (2556). พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ :


ราชบัณฑิตยสถาน.
2. สุรางค์ โค้วตระกูล. (2556). จิตวิทยาการศึกษา. พิมพ์ครั้งที่ 11. กรุงเทพฯ : สานักพิมพ์
แห่ง จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
3. ธงชัย สันติวงษ์. (2546). พฤติกรรมผู้บริโภคทางการตลาด. พิมพ์ครั้งที่ 10. กรุงเทพฯ :
บริษัท ประชุมช่าง จากัด.
4. ศุภร เสรีรัตน์. (2544). พฤติกรรมผู้บริโภค. พิมพ์ครั้งที่สาม. กรุงเทพฯ : บริษัท เอ.อาร์.
บิซิเนส เพรส จากัด.
5. พวงรัตน์ ทวีรัตน์. (2540). วิธกี ารวิจัยทางพฤติกรรมศาสตร์และสังคมศาสตร์. พิมพ์ครั้งที่
7. กรุงเทพฯ : ศูนย์หนังสือจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
6. อดุลย์ จาตุรงคกุล. (2534). พฤติกรรมผู้บริโภค. ฉบับปรับปรุงครั้งที่ 4. กรุงเทพฯ : โรง
พิมพ์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
7. ประภาเพ็ญ สุวรรณ. (2526). พฤติกรรมศาสตร์พฤติกรรมสุขภาพและสุขศึกษา.
กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก.
8. ชัยวัฒน์ แสงศรี . ทัศนคติต่อการปฏิบัติงานในฐานะเลขานุการคณะทางานสนับสนุนการ
ปฏิบัติการพัฒนาชนบท ระดับตาบล(คปต.) ของพัฒนาการจังหวัดเลย. วิทยานิพนธ์พัฒ
นบริหารศาสตรมหาบัณฑิต. พัฒนาสังคม. กรุงเทพฯ: สถาบัน บัณฑิตพัฒนบริหาร
ศาสตร์. ถ่ายเอกสาร. 2538.
9. Good, Dictionary of Education. (3 rd) (New York: Mc Hill Book Company,
1973), p 43.
10. โกวิท คัมภีรภาพ. ทฤษฎีพื้นฐานการแพทย์แผนจีน .- -กรุงเทพ : นิวไวเต็กการพิมพ์,
2544.
11. วิลาวัณย์ จึงประเสริฐ. คู่มือดูแลสุขภาพด้วยการแพทย์แผนไทยและแพทย์ทางเลือก.
นนทบุรี : กรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก กระทรวงสาธารณสุข,
2536.
12. World Health Organization. Guidelines on basic training and safety in
acupuncture
(http://www.aaom.info/docs/who_edm_trm_99.pdf)
26

13. เย็นจิตร เตชะดารงสิน (2552). การแพทย์แผนจีนในประเทศไทย. พิมพ์ครั้งที่ 2.


กรุงเทพมหานคร : ร้านพุ่มทองทอง
14. http://health.kapook.com/view3321.html
15. 针灸学/石学敏主编.一北京:中国中医药出版社,2002.8(2007.10 重印)
16. http://th.yanhee.net/operation/312/61/TH
24

ประวัติผู้ทำรำยงำนกำรวิจัย

ชื่อ - นามสกุล (ภาษาไทย) : นางสาวสุวรรณา หัดสาหมัด


ชื่อ - นามสกุล (ภาษาอังกฤษ) : Miss. Suwanna Hadsamad
เลขหมายบัตรประจาตัวประชาชน : 1900500021775
ตาแหน่งปัจจุบัน : อาจารย์
หน่วยงานและสถานที่อยู่ที่ติดต่อได้สะดวก : สาขาวิชาการแพทย์แผนแผนจีน วิทยาลัยสหเวชศาสตร์
มหาวิทยาลัยราชภัฎสวนสุนันทา ศูนย์การศึกษาสมุทรสงคราม เลขที่ 111/1-3 หมู่ 7 ตาบล
บางแก้ว อาเภอเมือง จังหวัดสมุทรสงคราม 75000
อิเล็กทรอนิกส์ (e-mail) : Suwanna.ha@ssru.ac.th
หมายเลขโทรศัพท์ : โทรศัพท์ 0 2160 1387 ต่อ 202
โทรสาร 0 2160 1387 ต่อ 111
มือถือ : 092-5582295
ประวัติการศึกษา :
ค.ศ. 2014 M.CM.(Master of Traditional Chinese medicine-Acupuncture
&Moxibustion and Tuina) Tianjin University of Traditional Chinese Medicine, China
พจ.ม (ฝังเข็มและการนวดทุยหนา) มหาวิทยาลัยแพทย์แผนจีนเทียนจิน
ประเทศจีน
ค.ศ. 2011 B.CM. (Bachelor of Traditional Chinese Medicine ) Tianjin
University of Traditional Chinese Medicine , China
พจ.บ (การแพทย์แผนจีน) มหาวิทยาลัยแพทย์แผนจีนเทียนจิน ประเทศจีน

งานวิจัยที่สนใจ : การแพทย์แผนจีน ยาสมุนไพรจีน ตาหรับยาจีน การฝังเข็มและนวดทุยหนา


ประวัติการนาเสนอผลงานวิจัยทั้งภายในและภายนอกประเทศ โปรดระบุชื่อเรื่องของผลงาน ชื่อการ
ประชุม สถานที่ วัน เวลา ตามระบบสากล :
ไม่มี

You might also like