You are on page 1of 20

รายงานเชิงวิชาการ

การอ่านและพิจารณาวรรคดีเรื่อง สามัคคีเภทคำฉันท์

โดย

นางสาว ธนพร ตันติพิสิทธิ์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5/1 เลขที่ 14


นางสาว วรามาศ กรรมารวนิช ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5/1 เลขที่ 9
นางสาว ฌีน ฉันตระกูลเกษม ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5/1 เลขที่ 5

เสนอ

อาจารย์ พนมศักดิ์ มนูญปรัชญาภรณ์

ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2562


โรงเรียนสาธิตนานาชาติ มหาวิทยาลัยมหิดล

รายงานนี้เป้นะส่วนหนึ่งของกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้โครงงานเป็นฐาน
(Project Based Learning)
รายงานวิชาภาษาไทยและวัฒนธรรม ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีท5ี่
คำนำ
รายงานเล่มนี้เป็นส่วนหนึ่งของวิชาภาษาไทยและและวัฒนธรรมของระดับชั้นมัธยมศึกษาที่ 5
โดยมีจุดประสงค์เพื่อวิเคราะห์และพิจารณาวรรณคดี เรื่อง สามัคคีเภทคำฉันท์ ทางคณะ
ผู้จัดทำต้องการจะเสนอข้อมูลเชิงวิชาการในด้าน เนื่อหาคำประพันธ์และคุ้ณค่าของเรื่อง
เพื่อวังว่าผู้ที่ความสนใจและอยากเรียนรู้จะได้รับประโยชน์ไม่มากก็น้อย
ทั้งนี้ถ้าคณะผู้จัดทำสิ่งผิดพลาคประการใด ต้องขออภัยไว้ ณ ที่นี้ด้วยและขอน้อมรับทุกคำแนะนำไปปรับปรุง

รายงานเล่นนี้จะไม่สำเร็จ ถ้าไม่มีความช่วยเหลือของ อาจารย์พนมศักดิ์ มนูญปรัชญาภรณ์


คณะผู้จัดขอขอบคุณอาจารย์ที่ให้คำแนะนำและข้อเสนอแนะได้คณะผู้จัดทำได้นำไปใช้จนรายงานเล่นนี้ออกมา
อย่างสมบูรณ์แบบ
คณะผู้จัดทำ
25/05/2563

1
สารบัญ
1. การอ่านและพิจารณาเนื้อหาและกลวิธีในวรรณคดีและวรรณกรรม 1
1.1 เนื้อเรื่อง 1
1.2 โครงเรื่อง 1
1.3 ตัวละคร 2
1.4 ฉากท้องเรื่อง 7
1.5 บทเจรจาหรือราพึงราพัน 8
1.6 แก่นเรื่อง 8
2. การอ่านและพิจารณาการใช้ภาษาในวรรณคดีและวรรณกรรม 9
2.1 การสรรคา 9
2.2 การเรียบเรียงคา 11
2.3 การใช้โวหาร 13
3. การอ่านและพิจารณาประโยชน์หรือคุณค่าในวรรณคดีและวรรณกรรม 15
3.1 คุณค่าด้านคุณธรรม 15
3.2 คุณค่าด้านอื่นๆ 15
บรรณานุกรม 17

1

การอ่านและพิจารณาเนื้อหาและกลวิธีในวรรณคดีและวรรณกรรม
เนื้อเรื่อง
พระเจ้าอชาตศัตรูผู้ครองแคว้นมคธอยากจะขยายอณาจักรของตนให้กว้างใหญ่ขึ้นโดยหมายจะชิงแคว้นวัช
ชีของเหล่ากษัตริย์ลิจฉวีซึ่งเป็นแคว้นที่เจริญรุ่งเรืองมากกว่าแคว้นใดในสมัยนั้นและมีความสามมัคคีมากการจะชิง
แคว้นนี้จึงเป็นเรื่องยากพระเจ้าอชาตศัตรูจึงได้ปรึกษากับปุโรหิตวัสสการพราหมณ์ ปุโรหิตมีแผนว่าให้ส่งตนเป็นไส้
ศึกในแคว้นวัชชีทาให้เกิดความแตกแยก พระเจ้าอชาตศัตรูเห็นด้วยและเริ่มแผนการทันที
โดยขั้นแรกจะให้พระเจ้าอชาตศัตรูแกล้งทาเป็นโกรธและลงโทษวัสสการพราหมณ์อย่างหนักแล้วสั่งให้ถูก
เนรเทศออกจากเมืองหลังจากนั้นวัสสการพราหมณ์ได้ดาเนินแผนการต่อโดยการมุ่งหน้าไปยังแคว้นวัชชีเพื่อจะขอ
เป็นวาทศิลป์กับเหล่ากษัตริย์วัชชีโดยโน้มน้าวเหล่ากษัตริย์ด้วยเหตุผลต่างๆจนในที่สุดวัสสการพราหมณ์ก็ได้หน้าที่
พิจารณาคดีในเมืองและสอนวิชาความรู้ต่างๆ
ให้พระกุมารของเหล่ากษัตริย์ พอวัสสการพราหมณ์เห็นว่าได้เวลาอันสมควรแล้วจึงพากุมารแต่ละคนมา
คุยด้วยแบบส่วนตัวแล้วบอกว่ากุมารคนอื่นๆได้ล้อปมด้อยของตนและเหล่ากุมารนั้นก็ได้นาเรื่องนี้ไปพูดกับบิดาของ
แต่ละองค์ ผ่านไปสามปีที่วัสสการพราหมณ์ทาเช่นนี้ทาให้เหล่ากษัตริย์แตกแยกกัน วัสสการพราหมณ์ลองตีกลอง
นัดประชุมเพื่อวางแผนป้องกันเมืองแต่ก็ไม่มีใครมาและนั้นเป็นข้อพิสูจน์ว่าเหล่ากษัตริย์ไม่มีความสามัคคีกันอีก
แล้ววัสสการพราหมณ์เลยส่งข่าวให้พระเจ้าอชาตศัตรูส่งกองทัพมาโจมตี กองทัพจึงสามารถยึดครองแคว้นลิจฉวี
อย่างง่ายดาย

โครงเรื่อง
มีพระราชาองค์หนึ่งต้องการที่จะขยายอณาเขตของตนเองโดยตั้งใจจะไปโจมตีเมืองต่างๆ เพื่อทาให้เมืองที่
จะบุกอ่อนแอลงนั้นจะต้องให้ผู้นาในเมืองเสียความสามัคคีเสียก่อนเลยส่งคนไปเป็นไส้ศึกไปสร้างความแตกแยก
จากข้างในจนในที่สุด เมืองของศัตรูก็ล่มสลายเพราะความแตกแยก

1
ตัวละคร
วัสสการพราหมณ์
- เป็นผู้มีปัญญามากพร้อมไปกับความรอบรู้ด้านศิลปะศาสตร์ดั่งคาประพันธ์ที่ว่า
อันอัครปุโรหิตาจารย์ พราหมณ์นามวัสสการ
ฉลาดเฉลียวเชี่ยวชิน
กลเวทโกวิทจิตจินต์ สาแดงแจ้งศิล
ปศาสตร์ก็จบสบสรรพ์

- เป็นผู้มีความจงรักภักดีต่อประเทศชาติบ้านเมืองและพระราชาของตนแม้จะต้องแลกมาด้วยความลาบาก
โดยการให้พระเจ้าอชาตศัตรูแกล้งโกรธตนแล้วลงโทษตนอย่างแสนสาหัสแล้ว เนรเทศตนแต่ทั้งหมดนี้เพื่อ
แผนการอันยิ่งใหญ่ที่จะทาให้ชาติของตนเจริญรุ่งเรืองดังฉันท์ที่ว่า
โดยเต็มกตัญญู กตเวทิตาครัน
ใหญ่ยิ่งและยากอัน นรอื่นจะอาจทน
หยั่งชอบนิยมเชื่อ สละเนื้อและเลือดตน
ยอมรับทุเรศผล ขรการณ์พะพานกาย
ไป่เห็นกะเจ็บแสบ ชิวแทบจะทาลาย
มอบสัตย์สมรรถหมาย มนมั่นมิหวั่นไหว
หวังแผนเพื่อแผ่นดิน ผิถวิลสะดวกใด
เกื้อกิจสฤษฎ์ไป บมิเลี่ยงละเบี่ยงเบือน

2
- มีความรอบคอบ แม้ว่าเหล่ากษัตริย์ลิจฉวีจะเสียความสามมัคคีไปแล้วแต่เพื่อความแน่ใจ ตนเลยตีกลองนัด
ประชุมอีกครั้งดังคาประพันธ์ที่ว่า
วัชชีภูมีผอง สดับกลองกระหึมขาน
ทุกไท้ไป่เอาภาร ณกิจเพื่อเสด็จไป
ต่างทรงรับสั่งว่า จะเรียกหาประชุมไย
เราใช่คนใหญ่ใจ ก็ขลาดกลัวบกล้าหาญ

- มีความเพียรพยายามและความอดทนที่สูงมากเพราะใช้เวลาในการดาเนินแผนการนี้ยาวนานถึงสามปีดังที่
กล่าวไว้ว่า
ครั้นล่วงสามปีประมาณมา สหกรณประดา
ลิจฉวีรา ชทั้งหลาย
สามัคคีธรรมทาลาย มิตรภิทนะกระจาย
สรรพเสื่อมหายน์ ก็เป็นไป

พระเจ้าอชาตศัตรู
- มีความเมตตาต่อผู้คนของท่านจากข้อความที่ว่า
แว่นแคว้นมคธนครรา- ชคฤห์ฐานบูรี
สืบราชวัตวิธทวี ทศธรรมจรรยา
เลื่องหล้ามหาอุตตมลาภ คุณภาพพระเมตตา
แผ่เพียงชนกกรุณอา ทรบุตรธิดาตน

3
- ช่วยให้บ้านเมืองเจริญรุ่งเรืองและความสงบสุขดั่งที่กล่าวไว้ว่า
หอรบจะรับริปุผิรอ รณท้อหทัยหมาย
มุ่งยุทธย่อมชิวมลาย และประลาตมิอาจทน
พร้อมพรั่งสะพรึบพหลรณ พยุห์พลทหารชาญ
อามาตย์และราชบริวาร วุฒิเสวกากร
เนืองแน่นขนัดอัศวพา หนชาติกุญชร
ชาญศึกสมรรถสุรสมร ชยเพิกริปูภินท์
กลางวันอนันตคณนา นรคลาคละไลเนือง
กลางคืนมหุสสวะประเทือง ดุริยศัพทดีดสี
บรรสานผสมสรนินาท พิณพาทย์และเภรี
แซ่โสตสดับเสนาะฤดี อุระล้าระเริงใจ

- เป็นผู้ที่มีความรอบคอบที่ในการวางแผนโจมตีข้าศึกตามที่ได้กล่าวไว้ว่า
ศึกใหญ่ใคร่จะพยายาม รบเร้าเอาตาม
กาลังก็หนักนักหนา
จาจักหักด้วยปัญญา รอก่อนผ่อนหา
อุบายทาลายมูลความ

4
- เป็นผู้ที่มีความต้องการที่จะครอบครองดินแดนต่างๆตามที่กล่าวไว้ว่า
ศึกใหญ่ใคร่จะพยายาม รบเร้าเอาตาม
กาลังก็หนักนักหนา
จาจักหักด้วยปัญญา รอก่อนผ่อนหา
อุบายทาลายมูลความ

กษัตริย์ลิจฉวี
- เป็นผู้ที่ตั้งมั่นในอปริหานิยธรรมเจ็ดประการตามบทประพันธ์ที่ว่า
หนึ่ง เมื่อมีราชกิจใด ปรึกษากันไปบ่วายบ่หน่ายชุมนุม
สอง ย่อมพร้อมเลิกพร้อมประชุม พร้อมพรักพรรคคุม
ประกอบณกิจควรทา
สาม นั้นถือมั่นในสัม มาจารีตจา
ประพฤติมิตัดดัดแปลง
สี่ ใครเป็นใหญ่ได้แจง โอวาทศาสน์แสดง
ก็ยอมและน้อมบูชา
ห้า นั้นอันบุตรภริยา แห่งใครไป่ปรา-
รภประทุษข่มเหง
หก ที่เจดีย์คนเกรง มิย่ายาเยง
ก็เซ่นก็สรวงบวงพลี
เจ็ด พระอรหันต์อันมี ในรัฐวัชชี
ก็คุ้มก็ครองป้องกัน
5
- เป็นคนหูเบา เชื่อคนง่ายโดยไม่ใช้วิจารณญาณเลย
ต่างองค์นาความมิงามทูล พระชนกอดิศูร
แห่ง ธ โดยมูล ปวัตติค์ วาม
แตกร้าวก้าวร้ายก็ป้ายปาม ลุวรบิดรลาม
ทีละน้อยตาม ณเหตุผล

- เป็นคนที่โกรธจนมากเกินไป ไม่ยอมทาอะไรที่จะเตรียมรับมือกับศัตรูเลย
ศัพทอุโฆษ ประลุโสตท้าว
ลิจฉวีด้าว ขณะทรงฟัง
ต่างธก็เฉย และละเลยดัง
ไท้มิอินัง ธุระกับใคร
ต่างก็บคลา ณสภาคาร
แม้พระทวาร บุรทั่วไป
รอบทิศด้าน และทวารใด
เห็นนรไหน สิจะปิดมี

6
ฉากท้องเรื่อง
สามัคคีเภทคาฉันท์มีเรื่องเกี่ยวกับ พระเจ้าอชาตศัตรูแห่งแคว้นมคธ มีประสงค์จะขยายอาณาจักรให้
กว้างขวาง แคว้นที่ทรงหมายตาคือแคว้นวัชชีของเหล่ากษัตริย์ลิจฉวี นอกจากนี้ยังมีการพรรณาความงดงาม เช่น
บทชมเมืองราชคฤห์ในแคว้นมคธของพระเจ้าอชาตศัตรู ดังนี้

อาพนพระมนทิรพระราช สุนิวาสน์วโรฬาร์
อัพภันตรไพจิตรและพา- หิรภาคก็พึงชม
เล่ห์เลื่อนชะลอดุสิตฐา- นมหาพิมานรมย์
มารังสฤษฏ์พิศนิยม ผิจะเทียบก็เทียมทัน
สามยอดตลอดระยะระยับ วะวะวับสลับพรรณ
ช่อฟ้าตระการกลจะหยัน จะเยาะยั่วทิฆัมพร
บราลีพิลาสศุภจรูญ นภศูลประภัสสร
หางหงส์ผจงพิจิตรงอน ดุจกวักนภาลัย
รอบด้านตระหง่านจัตุรมุข พิศสุกอร่ามใส
กาญจน์แกมมณีกนกไพ- ฑุรย์พร่างพะแพรวพราย
บานบัฏพระบัญชรสลัก ฉลุลักษณ์เฉลาลาย
เพดานก็ดารกะประกาย ระกะดาษประดิษฐ์ดี
เพ่งภาพตลอดตะละผนัง ก็มลังเมลืองศรี
มองเห็นสิเด่นประดุจมี ชิวแม่นกมลครอง

7
บทเจรจาหรือราพึงราพัน
โดยเต็มกตัญญู กตเวทิตาครัน
ใหญ่ยิ่งและยากอัน นรอื่นจะอาจทน
หยั่งชอบนิยมเชื่อ สละเนื้อและเลือดตน
ยอมรับทุเรศผล ขรการณ์พะพานกาย
ไป่เห็นกะเจ็บแสบ ชิวแทบจะทาลาย
มอบสัตย์สมรรถหมาย มนมั่นมิหวั่นไหว
เป็นบทที่แสดงถึงความจงรักภักดีของวัสสการพราหมณ์ที่มีต่อพระเจ้าอชาตศัตรู โดยในบทประพันธ์กล่าว
ว่า ด้วยความกตัญญูที่ยิ่งใหญ่เเละยากที่จะมีบุคคลใดทนได้ โดยยอมสละเนื้อเเละเลือดของตนเองยอมรับผลอันน่า
เวทนา เเละเหตุร้ายที่เกิดขึ้นกับตนเอง เเม้ชีวิตจะสูญสิ้นก็ไม่เห็นจะเจ็บเเสบเเต่อย่างใดเพราะมั่นใจในความ
ซื่อสัตย์อย่างไม่เเปรผัน

แก่นเรื่อง
สามัคคีเภทคาฉันท์มีเเก่นเรื่องคือ การโทษของการแตกความสามัคคี ซึ่งนาหมู่คณะไปสู่ความหายนะ

8
การอ่านและพิจารณาการใช้ภาษาในวรรธคดีและวรรณกรรม
การสรรคา
ผู้ประพันธ์เลือกสรรคาที่นามาใช้ได้ตรงกับความหมายที่ต้องการสื่อ ชัดเจน เข้าใจได้ง่าย เหมาะสมกับเนื้อ
เรื่องและบุคคลในเรื่อง คาที่นามาใช้สอดคล้องกับเนื้อหาได้อย่างดี โดนการสรรคาในเรื่องมีดังต่อไปนี้

1. การเลือกใช้คาให้เหมาะสมกับเรื่องและฐานะของบุคคลในเรื่อง
ผู้ประพันธ์สามารถเลือกสรรคาได้เหมาะสมกับฐานะของตัวละครในเรื่อง

พราหมณ์ครูรู้สังเกต ตระหนักเหตุถนัดครัน
ราชาวัชชีสรร พจักสู่พินาศสม
ยินดีบัดนี้กิจ จะสัมฤทธิ์มนารมณ์
เริ่มมาด้วยประกรม และอุตสาหะแห่งตน

ในเหตุการณ์นี้ เป็นการบรรยายเกี่ยวกับการกระทาของพรามหณ์ซึ่งเป็นบุคคลธรรมดาในเรื่อง การใช้คา


กิริยาธรรมดาโดยไม่ต้องเติมคานาหน้าเป็นการเลือกใช้คาได้ตรงกับฐานะของพราหมณ์ เช่นในบทกลอนที่เขียนไว้
ว่า พราหมณ์ครูรู้สังเกต

ราชาลิจฉวี ไป่สักองค์
อันนึกจานง เพื่อจักเสด็จไป
ต่างองค์ดารัส เรียกนัดทาไม
ใครเป็นใหญ่ใคร กล้าหาญเห็นดี

ในเหตุการณ์นี้ เป็นการบรรยายเกี่ยวกับราชาลิจฉวีซึ่งมีฐานะเป็นกษัตริย์ จึงมีการใช้คาราชาศัพท์สาหรับ


กษัตริย์เช่น ดารัส ซึ่งแปลว่า สั่งหรือพูด และ เสด็จ ซึ่งแปลว่าไป

9
2. การใช้คาได้อย่างกระชับและชัดเจน
ข่าวเศิกเอิกอึง ทราบถึงบัดดล
ในหมู่ผู้คน ชาวเวสาลี
แทบทุกถิ่นหมด ชนบทบูรี
อกสั่นขวัญหนี หวาดกลัวทั่วไป
ตื่นตาหน้าเผือด หมดเลือดสั่นกาย
หลบลี้หนีตาย วุ่นหวั่นพรั่นใจ
ซุกครอกซอกครัว ซ่อนตัวแตกภัย
เข้าดงพงไพร ทิ้งย่านบ้านตน

ในบทประพันธ์ข้างต้นมีการคาที่เหมาะสมและทาให้เห็นภาพเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นได้อย่างชัดเจน โดยในบท
ประพันธ์ได้อธิบายถึงสงครามที่กาลังจะเกิดขึ้นซึ่งทาให้ชาวบ้านหวาดกลัว เราสามารถเห็นถึงการอธิบายสีหน้าและ
การกระทาต่างๆของชาวบ้านได้อย่างชัดเจนผ่านการสรรคาที่ถูกไตร่ตรองอย่างดีโดยผู้ประพันธ์

3. การเลือกใช้คาโดยคานึงถึงเสียง
4.1 การใช้สัมผัสใน

ตระบัดวัสสการมา สถานราชการเรียนพลัน
ธ แกล้งเชิญกุมารฉัน สนิทหนึ่งพระองค์ไป

ในบทที่ยกตัวอย่างมาข้างต้น มีการใช้สัมผัสในหรือสัมผัสภายในวรรคเพื่อให้เกิดความไพเราะภายในบท
ประพันธ์ คือ ตระบัดวัสสการมา เป็นการใช้สัมผัสระหว่างคาว่า ตระบัด และ วัสสการ พยางค์ บัดและวัส- ใช้สระ
และตัวสกดเดียวกัน

4.2 การใช้คาพ้องเสียงและคาซ้า

ก็เท่านั้น ธ เชิญให้ นิวัตในมิช้านาน


ประสิทธิ์ศิลป์ประศาสน์สาร สมัยเลิกลุเวลา

10
ไฉนเลยพระครูเรา จะพูดเปล่าประโยชน์มี
เลอะเหลวนักละล้วนหนี รผลเห็น บ เป็นไป

ในทั้งสองบทที่ยกตัวอย่างมา มีการใช้คาพ้องเสียงภายในบาทเพื่อให้เกิดความไพเราะในการประพันธ์บท
ประพันธ์ ดังนี้ ในบทแรก ประสิทธิ์ศิลป์ประศาสน์สาร มีการใช้เสียง /ป/ และ /ส/ และในบทที่สอง เลอะเหลวนัก
ละล้วนหนี มีการใช้เสียง /ล/ และ /น/ รวมทั้งการเล่นเสียงสูงโดยใช้ ห นา

4.3 การใช้คาเล่นเสียงหนักเบาหรือการใช้คาครุลหุ

สะพรึบสะพรั่ง ณ หน้าและหลัง
ณ ซ้ายและขวา ละหมู่ละหมวด
ก็ตรวจก็ตรา ประมวลกกะมา
สิมากประมาณ

ในบทประพันธ์ที่หยิบยกมาเป็นการใช้บทประพันธ์ในรูปแบบของกาพย์สุรางคนางค์ ๒๘ โดยมีการเพิ่ม
ลักษณะบังคับในการใช้คาครุซึ่งเป็นคาเสียงหนักสลับกับคาลหุซึ่งเป็นคาเสียงเบาเพื่อให้เกิดความไพเราะของเสียง
ในการอ่านบทประพันธ์ คาครุคือคาที่มีตัวสะกดในทุกมาตราส่วนคาลหุคือคาที่ใช้สระเสียงสั้นโดยไม่มีตัวสกด

การเรียบเรียงคา
1. สารสาคัญไว้ท้ายสุด
ในบทประพันธ์จะมีการเรียบเรียงคาหรือประโยคให้เกิดความสละสลวย โดยการนาสารสาคัญไว้ท้ายสุด
เป็นหนึ่งในวิธีการเรียบเรียงคาอย่างสละสลวย ในบทประพันธ์มีตัวอย่าง ดังนี้

บัดนี้สิแตก คณะแผกและแยกพรรค์
ไป่เป็นสหฉัน ทเสมือนเสมอมา
โอกาสเหมาะสมัย ขณะไหนประหนึ่งครา
นี้หากผิจะหา ก็ บ ได้สะดวกดี

11
ขอเชิญวรบาท พยุห์ยาตรเสด็จกรี
ธาทัพพลพี ริทยุทธโดยไว ฯ

ในบทประพันธ์เป็นการกล่าวถึงเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นโดยสารสาคัญคือการเชิญกษัตริย์เพื่อไปนาทัพโดยที่
สารนั้นอยู่ในบาทท้ายสุดของบทประพันธ์

2. เรียบเรียงประโยคให้มีเนื้อหาเข้มข้นขึ้นไปตามลาดับ
2.1 จนถึงขั้นสุดท้ายที่สาคัญที่สุด
เหี้ยมนั้นเพราะผันแผก คณะแตกและต่างมา
ถือทิฐิมานสา หสโทษพิโรธจอง
แยกพรรคสมรรคภิน ทนสิ้น บ ปรองดอง
ขาดญาณพิจารณ์ตรอง ตริมหลักประจักษ์เจือ
เชื่ออรรถยุบลเอา รสเล่าก็ง่ายเหลือ
เหตุหาก ธ มากเมือ คติโมหเป็นมูล
จึ่งดาลประการหา ยนภาวอาดูร
เสียแดนไผทสูญ ยศศักดิเสื่อมนาม

2.2 คลายความเข้มข้นลงในช่วงหรือประโยคสุดท้ายอย่างฉับพลัน

แท้ทั้งท่านวัสสการใน กษณะตริเหมาะไฉน
เสริมเสมอไป สะดวกดาย
หลายอย่างต่างกล ธ ขวนขวาย พจนยุปริยาย
วัญจโนบาย บ เว้นครา
ครั้นล่วงสามปีประมาณมา สหกรณะประดา
ลิจฉวีรา ชทั้งหลาย
สามัคคีธรรมทาลาย มิตรถิทนะกระจาย
สรรพเสื่อมหายน์ ก็เป็นไป
ต่างองค์ทรงแคลงระแวงใน พระหฤททยวิสัย

12
ผู้พิโรธใจ ระวังกัน ฯ

เหตุการณ์ค่อยๆเข้มข้นขึ้นเรื่อยๆโดยเข้มข้นที่สุดในบทประพันธ์ก่อนสุดท้ายและคลายความเข้มข้นลงใน
บทสุดท้าย

การใช้โวหาร
1. บรรยายโวหาร
บรรยายโวหาร คือ โวหารที่ใช้บอกกล่าว เล่าเรื่อง อธิบาย หรือบรรยายเรื่องราว เหตุการณ์ต่างๆที่เกิดขึ้น
ในเรื่อง เพื่อให้ผู้อ่านเข้าใจเนื้อหาอย่างชัดเจนแจ่มแจ้ง เช่น

ข่าวเศิกเอิกอึง ทราบถึงบัดดล
ในหมู่ผู้คน ชาวเวสาลี
แทบทุกถิ่นหมด ชนบทบูรี
อกสั่นขวัญหนี หวาดกลัวทั่วไป
ตื่นตาหน้าเผือด หมดเลือดสั่นกาย
หลบลี้หนีตาย วุ่นหวั่นพรั่นใจ
ซุกครอกซอกครัว ซ่อนตัวแตกภัย
เข้าดงพงไพร ทิ้งย่านบ้านตน

ในบทประพันธ์ข้างต้น มีการอธิบายเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นอย่างชัดเจนและเข้าใจง่าย โดยกล่าวถึงผู้คนที่กลัว


ศึกสงครามจนต้องละทิ้งบ้านของตนหนีเข้าป่าไป

2. อุปมาโวหาร
คือ โวหารที่ใช้การกล่าวเปรียบเทียบ เพื่อให้ผู้อ่านเข้าใจความหมาย อารมณ์ความรู้สึก หรือเห็นภาพ
ชัดเจนยิ่งขึ้น

13
กลกะกากะหวาดขมังธนู บห่อนจะเห็นธวัชริปู
สิล่าถอย
ตอนพระเจ้าอชาตศัตรูกริ้ววัสสการพราหมณ์

3. อุปลักษณ์โวหาร
คือ การเปรียบเทียบโดยนัยหรือความหมายของบทประพันธ์ ไม่กล่าวเปรียบเทียบตรงๆ เช่น

ลูกข่างประดาทา รกกาลขว้างไป
หมุนเล่นสนุกไฉน ดุจกันฉะนั้นหนอ

ในบทประพันธ์ พนะเจ้าอาชาตศัตรูได้พูดถึงการแตกสามัคคีของกษัตริย์ลิจฉวี โดยเปรียบกับลูกข่างที่


กาลังหมุนเหมือนการแตกสามัคคี

4. บุคคลวัตหรือบุคคลสมมุติ
คือ การสมมุติสิ่งไม่มีชีวิตให้มีกิริยาอาการ ความรู้สึก ความคิดและการแสดงออกเหมือนมนุษย์ ให้
แสดงออกเหมือนกับมนุษย์ เช่น

วัชชีผู้มีผอง สดับกลองกระหึมขาน
ทุกไท้ไป่เอาภาร ณ กิจเพื่อเสด็จไป

ในบทประพันธ์ มีการกล่าวถึงกษัตริย์ผู้ได้ยินเสียงกลอง แต่ในบทประพันธ์ข้างต้น มีการใช้คาว่ากลอง


กระหึมขาน ซึ่งคาว่าขานเป็นคาที่ใช้กับมนุษย์ โดยหมายความว่าเรียก

5. อติพจน์
เป็นการกล่าวผิดไปจากที่เป็นจริงหรือกล่าวเกินจริง เช่น

ตื่นตาหน้าเผือด หมดเลือดสั่นกาย
หลบลี้หนีตาย วุ่นหวั่นพรั่นใจ

14
ซุกครอกซอกครัว ซ่อนตัวแตกภัย
เข้าดงพงไพร ทิ้งย่านบ้านตน

ในบทประพันธ์มีการกล่าวผิดไปจากจริงหรือเกินจริง คือ ตื่นตาหน้าเผือด หมดเลือดสั่นกาย แสดงให้เห็น


ถึงความกลัวของชาวเมืองแต่เป็นการกล่าวผิดไปจากจริง

การอ่านและพิจารณาประโยชน์หรือคุณค่าในวรรณคดีและวรรณกรรม

1. คุณค่าด้านคุณธรรม
- ความสาคัญของการใช้สติปัญญาและวิจารณญาณในการไตร่ตรองเรื่องราว
o การที่กุมารลิจฉวีไม่ได้ใช้วิจารณญาณในการไตร่ตรองเรื่องราวที่พราหมณ์กล่าว จึงเป็นเหตุทาให้
กุมารโกรธเคืองซึ่งกันและกันจนเกิดความแตกแยก
- ความสาคัญของความสามัคคีและโทษของการแตกความสามัคคีในหมู่คณะ
o การอยู่ร่วมกันเป็นหมู่คณะ ความสามัคคีถือเป็นสิ่งที่สาคัญที่ทาให้คนทุก ๆ คนสามารถอยู่ร่วมกัน
ได้อย่างมีความสุข การแตกความสามัคคีของกษัตริย์ลิจฉวี จึงทาให้เป็นจุดอ่อนของแคว้นวัชชี
เป็นเหตุให้พระเจ้าอชาตศัตรูสามารถมาโจมตีและยึดครองแคว้นวัชชีได้อย่างง่ายดาย

2. คุณค่าด้านอื่น ๆ
- คุณค่าด้านสังคม

- ความจงรักภักดีต่อกษัตริย์และบ้านเมือง
o การที่วัสสการพราหมณ์ใช้ปัญญา ความเฉลียวฉลาดและความอดทนที่ตนมี ทาอุบายเพื่อ
ทาลายความสามัคคีของกุมารและกษัตริย์ลิจฉวี เป็นเหตุให้พระเจ้าอชาตศัตรูสามารถตี
แคว้นวัชชีได้สาเร็จ แสดงให้เห็นถึงความจงรักภักดีของวัสสการพราหมณ์ที่มีต่อพระเจ้า
15
อชาตศัตรูและบ้านเมือง เนื่องจากวัสสการพราหมณ์ต้องยอมเสียสละ อาศัยความกล้าและ
ความอดทนเป็นอย่างมาก ในการที่จะต้องเข้าไปอยู่ในเมืองของศัตรู

16
บรรณานุกรม
กัลยาณี ถนอมแก้ว. 2553. คุณค่าด้านวรรณศิลป์ในสามัคคีเภทคาฉันท์. [ออนไลน์]. สืบค้นได้จาก
https://www.gotoknow.org/posts/329717. (23 พฤษภาคม 2562).
กัมปนาท โมยะดี. สามัคคีเภทคาฉันท์: วัสสการพราหมณ์ใช้ความไว้ใจเป็นอุบายทาลายค. [ออนไลน์]. สืบค้นได้
จาก https://prezi.com/ft0fkkzow7bi/presentation/. (23 พฤษภาคม 2562).
กาญจนา บิณฑวิหค. 2559. สามัคคีเภทคาฉันท์. [ออนไลน์]. สืบค้นได้จาก https://www.gotoknow.org/posts
/406381. (23 พฤษภาคม 2562).
ทิพวัลย์ ขาวคง. 2562. สามัคคีเภทคาฉันท์. [ออนไลน์]. สืบค้นได้จาก https://nidkawkong.wordpress.com/
%E0%B8%AA%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B8%B1%E0%B8%84%E0%B8%84%E0%B8%
B5%E0%B9%80%E0%B8%A0%E0%B8%97%E0%B8%84%E0%B8%B3%E0%B8%89%E0%B
8%B1%E0%B8%99%E0%B8%97%E0%B9%8C/. (23 พฤษภาคม 2562).
… 2556. วิเคราะห์เรื่องสามัคคีเภทคาฉันท์. [ออนไลน์]. สืบค้นได้จาก http://samakkeepeatchant.blog
spot.com/. (27 พฤษภาคม 2562).
วิชญาดา วรรณะ. 2560. สามัคคีเภทคาฉันท์. [ออนไลน์]. สืบค้นได้จาก https://www.scribd.com/document
/381109904/%E0%B8%AA%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B8%B1%E0%B8%84%E0%B8%
84%E0%B8%B5%E0%B9%80%E0%B8%A0%E0%B8%97%E0%B8%84%E0%B8%B3%E0%B
8%89%E0%B8%B1%E0%B8%99%E0%B8%97. (27 พฤษภาคม 2562).
ศึกษาธิการ, กระทรวง. สานักคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. หนังสือเรียนรายวิชาขั้นพื้นฐานภาษาไทย
วรรณคดีจักษ์. พิมพ์ครั้งที่5. กรุงเทพฯ : สกสค.ลาดพร้าว, 2557. 102 – 127.

17

You might also like