You are on page 1of 12

รายงานเชิงวิชาการ

การอ่านและพิจารณาวรรณคดีเรื่อง สามก๊ก ตอนกวนอูไปรับราช การกับโจโฉ

นายองศา จันทะยาสาคร ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5/2 เลขที่ 7


นางสาวชัญญา โกยสุขโข ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5/2 เลขที่ 10
นางสาวปุณยนุช จิรพงษ์ธนาเวช ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5/2 เลขที่ 12
นายพสธร ศุจิพิศุทธิ์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5/2 เลขที่ 20

เสนอ
อ.พนมศักดิ์ มนูญปรัชญาภรณ์

ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2563


โรงเรียนสาธิตนานาชาติ มหาวิทยาลัยมหิดล

รายงานนี้เป็นส่วนหนึ่งของกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้โครงงานเป็นฐาน (Project Based Learning) รายวิชา


ภาษาไทยและวัฒนธรรม ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5
คานา
รายงานฉบับนี้เป็นส่วนหนึ่งกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้โครงงานเป็นฐาน (Project Based Learning)
วิชา ภาษาไทยและวัฒนธรรม ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ การอ่านและพิจารณา
วรรณคดีเรื่อง สามก๊ก ตอนกวนอูไปรับราชการโจโฉ ทั้งนี้ ในรายงานฉบับนี้มีเนื้อหาประกอบด้วย การ
พิจารณาวรรณคดีทั้ง เนื้อหา ภาษา และด้านคุณค่า
คณะผู้จัดทาหวังเป็นอย่างยิ่งว่ารายงานนี้จะเป็นประโยชน์ต่อผู้ที่สนใจในวรรณคดีเรื่อง สามก๊ก และ
คณะ ผู้จัดทาขอขอบคุณอาจารย์ พนมศักดิ์ มนูญปรัชญาภรณ์ ผู้ให้คาปรึกษาตลอดจนรายงานเสร็จสิ้น

คณะผู้จัดทา

2
สารบัญ

1. การอ่านและพิจารณาเนื้อหาและกลวิธีในวรรณคดีและวรรณกรรม หน้า
1.1 เนื้อเรื่อง หรือเนื้อเรื่องย่อ 4
1.2 โครงเรื่อง 5
1.3 ตัวละคร 5
1.4 ฉากท้องเรื่อง 5
1.5 บทเจรจาหรือราพึงราพัน 5
1.6 แก่นเรื่องหรือสารัตถะของเรื่อง 6

2. การอ่านและพิจารณาการใช้ภาษาในวรรณคดีและวรรณกรรม
2.1 การสรรคา 7
2.2 การเรียบเรียงคา 8
2.3 การใช้โวหาร 8

3. การอ่านและพิจสรณาประโยชน์หรือคุณค่าในวรรณคดีและวรรณกรรม
3.1 คุณค่าด้านอารมณ์ 10
3.2 คุณค่าด้านคุณธรรม 10
3.3 คุณค่าด้านอื่นๆ 10

บรรณานุกรม 12

3
1. การอ่านและพิจารณาเนื้อหาและกลวิธีในวรรณคดีและวรรณกรรม
1.1 เนื้อเรื่อง และเนื้อเรื่องย่อ
โจโฉจะไปรบกับเล่าปี่ที่เมืองชีจิ๋วเมื่อเล่าปี่ได้ทราบข่าวของโจโฉจึงขอความช่วยเหลือจากอ้วนเสี้ยว
เพื่อตีเมืองฮูโต๋แต่อ้วนเสี้ยวไม่ช่วยเพราะลูกป่วยเล่าปี่กับเตียวหุยจึงคิดจะไปปล้นค่าย ของโจโฉ โจโฉรู้เรื่อง
ของเล่าปี่จึงวางแผนเตรียมรับมือ
เมื่อถึงถิ่นของโจโฉ เตียวหุยโดนทัพของโจโฉล้อม ส่วนเล่าปี่สามารถหนีออกมาได้และขอ ความ
ช่วยเหลือจากอ้วนเสี้ยว เล่าปี่ถูกต้อนรับและพักอยู่ที่เมืองกิจิ๋วของอ้วนเสี้ยวโจโฉต่อว่าจะ ไปตีเมืองแห้ฝือที่ก
วนอูคุมและอยากให้เขามาร่วมทัพของตนแต่ก็กลัวว่าจะโดนปฏิเสธ เตียวเหลี้ยว จึงอาสาเป็นคนไปเจรจากับ
กวนอูโดยได้รับความช่วยเหลือจากเทียหยก
กวนอูไม่อยากทรยศเล่าปี่ จึงปฏิเสธข้อเสนอของเตียวเลี้ยว เตียวเลี้ยวบอกเหตุผลที่กวนอู ไม่ควรตาย
ว่า ถ้าเขาตายเล่าปี่และเตียวหุยก็จะตายด้วยตามสัญญาที่ให้ไว้ อีกอย่างกวนอูต้อง ดูแลครอบครัวเล่าปี่ และ
กวนอูควรมีชีวิตจนกว่าเล่าปี่กลับมา เมื่อฟังแล้วกวนอูเลยยอมเข้าร่วม กับโจโฉ แต่มีข้อแม้คือ เขาต้องได้รับใช้
พระเจ้าเหี้ยนเต้ เขาจะเป็นคนดูแลพี่สะใภ้ทั้งสองคนเอง และถ้าเขารู้ว่าเล่าปี่อยู่ที่ใดก็จะไปหาเล่าปี่ทันทีไม่ว่า
จะอณุญาติหรือไม่ก็ตาม
เตียวเลี้ยวรีบเอาข้อเสนอไปบอกโจโฉทันที แต่โจโฉก็ไม่เห็นด้วยกับข้อที่สามอย่างไรก็ตาม พอเตียว
เลี้ยวโน้มน้าวว่ากวนอูนั้นเป็นคนซื่อสัตย์ต่อเจ้านาย ถ้าโจโฉดูแลกวนอูดี เขาจะ ซื่อสัตย์และกตัญญูต่อโจโฉมาก
โจโฉจึงยอมรับข้อเสนอและรีบให้เตียวเลี้ยวพากวนอูมา กวนอู รู้ข้อตกลงของโจโฉแล้วจึงบอกว่าจะรีบตามไป
ขอไปบอกพี่สะใภ้ก่อน กวนอูกลับไปเมืองแห้ฝือ และบอกเรื่องราวทั้งหมดแก่พี่สะใภ้ทั้งสอง
วันต่อมาทัพของโจโฉ กวนอูและภรรยาของเล่าปี่ได้เดินทางไปเมืองฮูโต๋โจโฉเตรียมอาหาร หญิงงาม
หลายสิบคนนาเครื่องเงินเครื่องทองมาให้กวนอูแต่กวนอูก็เอาของเหล่านั้นไปให้ พี่สะใภ้ทั้งสองแทน โจโฉจึง
เอาเสื้อใหม่มาให้กวนอูแทนเสื้อที่ขาดกวนอูใส่เสื้อใหม่ไว้ด้านในด้วย เพราะกลัวคนจะนินทาว่าได้ใหม่แล้วลืม
เก่า โจโฉจึงน้อยใจเตียวเลี้ยวจึงอาสาตามหาความ ต้องการของกวนอู เตียวเลี้ยวได้ฟังกวนอูจึงบอกโจโฉว่า
กวนอูยังซื่อสัตย์ต่อเล่าปี่อยู่แต่ก็จะหา โอกาสตอบแทนโจโฉ ก่อนที่จะไป โจโฉนับถือในตัวกวนอูและไม่อยาก
เสียทหารอย่างเขาไป

4
1.2 โครงเรื่อง
วรรณคดีเรื่อง สามก๊กตอนกวนอูไปรับราชการกับโจโฉ กล่าวถึง สงครามทางการเมือง และ การแย่ง
ชิงอานาจโดยใช้ความฉลาดในการสู้ตอนนี้นั้นได้เล่าถึงลูกน้องที่มีความซื่อสัตย์ต่อ เจ้านายแม้จะต้องไปอยู่กับ
ฝั่งศัตรู ไม่ว่าจะเป็นสิ่งของมีค่าหรือเงินทองนั้นไม่สามารถซื้อ ความจงรักภักดีของลูกน้องต่อเจ้านายไปได้
1.3 ตัวละคร
กวนอู: กวนอูเป็นคนที่ซื่อสัตย์และภักดีต่อเจ้านาย เมื่อจะทาอะไรก็จะคิดถึงเล่าปี่อยู่เสมอ เห็นได้จาก
การที่กวนอูดูแลภรรยาของเล่าปี่ตามที่บอก ถึงจะอยู่กับโจโฉแต่ก็ยังคงภักดีต่อเจ้านาย เก่า กวนอูเป็นคนไม่ลืม
บุญคุณเช่น ตอนที่กวนอูจากโจโฉไปก็ได้สัญญากับโจโฉว่าจะทดแทน บุญคุณ เขาไม่เคยปิดปังความในใจต่อ
ใคร เช่น ตอนที่กวนอูได้เสื้อใหม่จากโจโฉกวนอูสวมเสื้อ นั้นไว้ด้านในเสื้อที่เล่าปี่ให้ ตอนที่กวนอูได้ม้าเซ็กเธาว์
จากโจโฉกวนอูรู้สึกดีใจมากและบอกโจโฉ ว่าม้าตัวนี้จะทาให้เขาไปหาโจโฉเร็วขึ้น
โจโฉ: โจโฉเป็นมหาอุปราชของพระเจ้าเหี้ยนเต้เป็นขุนพลผู้มีฝีมือมีกลยุทธ์พอจะทา อะไรก็ปรึกษากับ
ขุนนางก่อนเสมอ โจโฉตัดสินใจด้วยเหตุผลเช่นตอนที่เตียวเลี้ยวนาข้อเสนอของ กวนอูมาบอกโจโฉ โจโฉเห็นว่า
ที่ได้กวนอูมาเป็นข้าพระเจ้าเหี้ยนเต้นั้นเท่ากับมาอยู่ใต้บัญชาของ เขา โจโฉจึงรับข้อเสนอ นอกจากนี้โจโฉยัง
เป็นผู้รักษาน้าใจของผู้ที่ตัวเองปกครองเช่นตอนที่ กวนอูขอดูแลภรรยาทั้งสองของเล่าปี่ โจโฉก็กล่าวว่า “ทุก
วันนี้อย่าว่าแต่ภรรยาเล่าปี่เลยถึงภรรยา ผู้น้อยลงไปเราก็มิได้ให้ทาหยาบช้า” และเมื่อตอนที่โจโฉอยากให้กวน
อูมีภักดีต่อตนเขาจึงเอาใจ ทุกเมื่อ เช่น เมื่อเชิญมากินอาหารก็ ให้กวนอูนั่งที่สูงกว่าขุนนางและให้เครื่องเงิน
เครื่องทองแก่ กวนอู
1.4 ฉากท้องเรื่อง
สามก๊กคือเรื่องที่เกิดขึ้นในประเทศจีนเมื่อตอนที่แผ่นดินจีนถูกแบ่งออกเป็น ก๊กใหญ่ๆ สามก๊ก ใน
สมัยของ พระเจ้าเหี้ยนเต้
1.5 บทเจรจาหรือราพึงราพัน
สามก๊กมีบทสนทนาที่เป็นตัวอย่างการใช้วาทศิลป์ในการเจรจาความซึ่งจะเห็นได้จาก ตอนที่เตียวเลี้ยว
ได้เกลี้ยกล่อมให้กวนอูมาเข้าร่วมกับโจโฉ เตียวเลี้ยวชี้ให้เห็นถึงโทษทั้ง 3 ประการเพื่อที่จะเกลี้ยกล่อมกวนอู
อีกตัวอย่างหนึ่งคือตอนที่เตียวเลี้ยวเกลี้ยกล่อมให้กวนอู คิดถึงบุญคุณของโจโฉ เนื่องจากกวนอู กล่าวว่าตนยัง
คิดถึงเล่าปี่แม้โจโฉจะเลี้ยงดูตนอย่างดี เตียวเลี้ยวจึงเตือนว่าไปว่า “ธรรมดาเกิดมา เป็นชายให้รู้จักที่หนักที่เบา
ถ้าผู้ใดมิได้รู้จักที่หนัก ที่เบา คนทั้งปวงก็จะล่วงติเตียนว่าผู้นั้นหา สติปัญญาไม่”กวนอูนั้นต้องตริตรอง
ใคร่ครวญและ เปรียบเทียบ ระหว่างบุญคุณของโจโฉกับของ เล่าปี่ เพื่อจะตอบแทนได้ตามที่ควรหลังจากนั้น
เตียวเลี้ยวได้แนะนาต่อไปว่า “อันมหา อุปราช (โจโฉ) นี้มีน้าใจเมตตาท่านทานุบารุงท่านยิ่ง กว่าเล่าปี่อีก เหตุ
ใดท่านจึงมีใจคิดถึงเล่าปี่อยู่” แต่ทว่ากวนอูก็ ตอบเตียวเลี้ยวไปอย่างสมเหตุ สมผลว่า “ซึ่งมหาอุปราชมีคุณแก่
เราก็จริงอยู่ แต่จะเปรียบเล่าปี่นั้นยังมิได้ ด้วยเล่าปี่นั้นมีคุณ แก่เราก่อนประการหนึ่งก็ได้สาบานไว้ต่อกันว่าเป็น
พี่น้อง เราจึงได้ตั้งใจรักษาสัตย์อยู่” คาพูด ของกวนอูทาให้ผู้อ่านสามารถเข้าใจเหตุผลของ กวนอูว่าเหตุใดจึง
ยังคงภักดีต่อเล่าปี่ อย่างมั่นคงทั้งๆที่เหตุการณ์บ้านเมืองได้เกิดการเปลี่ยนแปลง

5
1.6 แก่นเรื่องหรือสารัตถะของเรื่อง
เรื่องนี้เน้นที่จะมุ่งให้เห็นถึง ความซื่อสัตย์ ความจงรักภักดีสานึกและตอบแทนบุญคุณของ ผู้มีพระคุณ
อาทิเช่น เนื้อเรื่องนี้ได้แสดงให้เห็นว่ากวนอูมีความจงรักภักดีต่อเจ้านายของตนเอง ซึ่งเห็นได้จาก การที่กวนอู
ได้กล่าวไว้อย่างซึ่งหน้าว่ายังจงรักภักดีต่อเจ้านายเก่าอยู่จากคากล่าว ที่ว่า “ครั้นจะเอาเสื้อใหม่นั้นใส่ ชั้นนอก
คนทั้งปวงจะครหานินทาว่าได้ใหม่แล้วลืมเก่า”ซึ่งมี ความหมายโดยนัยว่าถึงจะมีเจ้านายคนใหม่ก็ยังไม่ลืม
เจ้านายเก่าซึ่งจริงๆแล้วกวนอูสานึกในบุญคุณของโจโฉเหมือนกัน แต่ไม่เท่ากับเล่าปี่ กวนอูเห็นว่า “เล่าปี่นั้น มี
คุณแก่เราก่อน”นอกจาก นี้ยังมุ่งให้เห็นว่าแม่ทัพควรให้ความสาคัญกับผู้ร่วมงาน ดั่งที่โจโฉกล่าวไว้ว่า “ท่านทั้ง
ปวงจะ เห็นประการใด”

6
2. การอ่านและพิจารณาการใช้ภาษาในวรรณคดีและวรรณกรรม
2.1 การสรรคา
มีการยกตัวละครมาแทรกระหว่างเล่าเรื่องเพื่อสื่อถึงการมีส่วนร่วมของตัวละครในหลาย บทบาทและ
มีชื่อเมืองและตัวละครฟังแล้งวดูมีความสมจริง ในบทร้อยแก้วได้มีตัวอย่างของการ เลือกใช้สานวนและภาษา
ในสมัยโบราณประกอบกัน แสดงถึงความเก่าแก่ของนิทาน จึงทาให้ นิทานนี้สามารถเลือกใช้คาเพื่อสื่อ
ความหมายได้อย่างชัดเจน
ตัวอย่างที่สาคัญ
“พอพบลิเตียนคุมทหารสกัดทางอยู่ เล่าปี่ตกใจมิได้คิดอ่านสู้รบประการใดจึงทิ้งทหาร สามสิบเศษเสีย
ขับม้าหนีเอาตัวรอด ลิเตียนนั้นจับเอาทหารเล่าปี่ไว้ได้สิ้น” คาว่าสิ้นเป็นคาที่ ขยายความถึงการตายใน
สมัยก่อน
“ครั้นเวลาสามยาม โจโฉจึงให้แฮหัวตุ้นคุมทหารห้าพันเป็นกองชุ่ม” เวลาสามยามนั้นเป็น ตัวอย่าง
ของการบอกเวลา ของสมัยสามก๊ก
“เตียนห้องจึงตอบว่า คนทั้งปวงก็ลือชาปรากฏว่า ท่านเป็นใหญ่อยู่ในหัวเมืองฝ่ายเหนือ เหตุใดท่านมา
คิดย่อท้อจะมาตีตัวตายก่อนไข้นั้นไม่ควร” สานวนตีตัวก่อนไข้หมายถึงความกังวล หรือหวาดกลัวในเรื่องที่ยัง
ไม่ได้เกิดขึ้น
-เสียน้า แปลว่า น้อยใจ
“โจโฉมีความยินดีก็คุมทหารเข้าเมืองแห้ฝือ แล้วให้เอาเพลิงเผาเมืองขึ้น หวังจะให้กวนอูเสียน้าใจ”
-ทหารเลว แปลว่า พลทหาร
“แฮหัวตุ้นมิได้เห็นกวนอูยกออกมารบจึงให้ทหารเลวร้องต่อล้อด่ากวนอูเป็นข้อหยาบช้า ”
-ผืน คือ ลักษณะนามของเสื้อ
“ข้าพเจ้าจึงเอาเสื้อผืนนี้ใส่ชั้นนอก”
-ห่มเสื้อ แปลว่า สวมเสื้อ
“โจโฉให้เชิญกวนอูมากินโต๊ะ เห็นกวนอูห่มเสื้อขาด โจโฉจึงเอาเสื้ออย่างดีมาให้กวนอู”

7
2.2 การเรียบเรียงคา
การเรียบเรียงส่วนใหญ่เป็นการขึ้นต้นด้วยประธานเนื่องจากเป็นการประพันธ์แบบร้อยแก้วจึงไม่
ปรากฏฉันทลักษณ์ตามมาโดยกริยาที่กระทาซึ่งถือว่าเป็นการบรรยาย แบบเบื้องต้น
ส่วนใหญ่เหตุการณ์แบบเบื้องต้นเป็นประโยคที่อธิบายว่าใครทาอะไรที่ไหนอย่างไร เพื่อป้องกันความ
ซับซ้อนของเนื้อหาเนื่องจากเป็นการแปลเรื่องมาจากประเทศจีนจึงนาประโยคมาเรียบเรียงใหม่ประโยค
ปรากฎการเรียงข้อความโดยกาหนดสารสาคัญไว้หลังสุดดังตัวอย่าง
“เตียวหุยเห็นคนในค่ายนั้นน้อย แล้วได้ยินเสียงทหารภายนอกโห่ร้องอื้ออึงทั้งคบเพลิงก็ สว่างขึ้นเป็น
อันมาก จึงคิดว่าดีร้ายโจโฉจะคิดกลอุบาย ก็พาทหารออกมาหาเล่าปี่” การดาเนินเรื่องซึ่งมีการแทรกเนื้อหา
เข้าไปให้ดูมีศิลปะในการประพันธ์เล่าเรื่องคือสารสาคัญที่ปรากฏนั้น
มีการเรียบเรียงประโยคให้เนื้อหาเข้มข้นขึ้นไปตามลาดับจนถึงท้ายประโยคที่สาคัญที่สุด
ตัวอย่าง
“โจโฉจึงเอาเสื้ออย่างดีให้กวนอู กวนอูรับเอาเสื้อแล้ว จึงเอาเสื้อใหม่ใส่ชั้นใน เอาเสื้อเก่าใส่ชั้นนอก โจโฉเห็น
ดังนั้นก็หัวเราะแล้วถามว่า เอาเสื้อใหม่ใส่ชั้นในนั้นกลัวจะเก่าไปหรือ กวนอูจึงว่า เสื้อเก่านี้ของเล่าปี่ให้มา บัดนี้
เล่าปี่จะไปอยู่ที่ใดมิได้แจ้ง ข้าพเจ้าจึงเอาเสื้อผืนนี้ ใส่ชั้นนอกหวัง จะดูต่างหน้าเล่าปี่ ครั้นจะเอาเสื้อใหม่นั้นใส่
ชั้นนอก คนทั้งปวงจะครหานินทาว่าได้ใหม่แล้วลืม เก่าโจโฉได้ยินดังนั้น ก็สรรเสริญกวนอูว่ามีกตัญญูนักแต่คิด
เสียใจอยู่”ตัวอย่างนี้แสดงถึงการ ค่อยๆอธิบายเหตุผลว่าทาไมกวนอูถึงใส่เสื้อไว้ด้านในโดยมีการเล่าแสดง
เหตุผล และจึงแสดง เหตุผลในตอนสุดท้าย
2.3 การใช้โวหาร
มีการใช้อุปมาโวหารในการเปรียบเทียบเล่าปี่กับลูกนก
“เล่าปี่นั้นเป็นคนมีสติปัญญา ถ้าละไว้ช้าก็จะมีกาลังมากขึ้น เหมือนลูกนกอันขนปีก ยังไม่ขึ้นพร้อมแม้
เราจะนิ่งไว้ให้อยู่ในรังฉะนั้น ถ้าขนขึ้นพร้อมแล้วก็จะบินไปทางไกลได้ ซึ่ง จะจับตัวนั้นเห็นจะได้ความขัดสน”
ใช้เพื่อการเปรียบเทียบคู่ต่อสู้ทั้งสองคน แสดงถึงการใช้ภาษาอย่างงามเนื่องจากเป็นการอธิบาย อย่างเห็นภาพ
เห็นได้ชัดเจนว่าเล่าปี่ตอนนี้ยังไม่เก่งกล้า เเต่หากปล่อยเวลาผ่านไป การจะทา อะไรนั้นจะยากซึ่งการ
เปรียบเทียบแบบอุปมาดังที่ยกมานี้ถือว่าเป็นตัวอย่างการใช้ที่ดีและงดงาม
การใช้สานวนโบราณ
เอาไว้ในการอธิบายการกระทาและแสดงการเปรียบเทียบในร้อยแก้ว
ตัวอย่างสานวน
สามก๊กนั้นใช้สานวนไทยเพื่ออธิบายความรู้สึกและการกระทาของตัวละคร

8
ตัวอย่างเช่น
“อันความตายอุปมาเหมือนนอนหลับ”
ตัวอย่างนี้เป็นการเลือกคามาประพันธ์ซึ่งเลือกคาว่านอนหลับมาแสดงถึงความตายหรือ ความไม่รู้สึก

9
3. การอ่านและพิจารณาประโยชน์หรือคุณค่าในวรรณคดีและวรรณกรรม
3.1 คุณค่าด้านอารมณ์
สามก๊กตอนกวนอูไปรับราชการโจโฉเป็นตัวอย่างของวรรณกรรมที่สามารถทาให้ผู้อ่านได้รู้สึกถึงความ
เฉียบคมและหนักแน่นของแต่ละตัวละครของเรื่องในการวางแผนและตัดสินใจรวม ถึง ความผู้มีพระคุณของ
ท่านอย่างเล่าปี่ด้วยความกลัวที่ตนนั้นจะต้องเสียศักดิ์ศรีของลูกผู้ชาย จาก การทอดทิ้งพี่น้องและลืมคาสัญญา
ที่มีให้ไว้กับเล่าปี่ก่อนมาอยู่กับโจโฉและความแน่วแน่ของ ตัวละครอย่างกวนอูที่แม้จะต้องอยู่กับโจโฉก็ยังคงยืน
กรานที่จะไม่ลืมพี่น้องของตัวเอง วรรณกรรมเรื่องนี้ยังเป็นเรื่องที่ดีในการทาให้ผู้อ่านรู้สึกถึงความเรียบง่ายใน
การใช้คาเพื่อแต่ง เรื่องซึ่งส่วนใหญ่นั้น จะเป็นคาที่เรียบง่ายและมีความหมายที่ตรงตัวซึ่งจะแตกต่างจาก
วรรณกรรมหลายเรื่องที่อาจแต่งโดยใช้คาที่ซับซ้อน และมีความหมายที่ลึกซึ้งซึ่งอาจมาจากว่า สามก๊กนั้นถูก
แต่งให้เป็นเชิงเรื่องเล่าทางประวัติศาสตร์ที่ไม่เป็นทางการ พรรณนาในเรื่องนี้ มีมากมายและการใช้คาที่เรียบ
ง่ายเพื่อความง่ายต่อการทาความเข้าใจ แม้อาจจะมีสานวน หรือคาบางคาที่มีความหมายไม่คุ้นหูกับคนรุ่นใหม่
เช่นตอนที่กวนอูบอกเตียวเลี้ยวว่า “อันความตายอุปมาเหมือนนอนหลับ” ก็เป็นการเปรียบเทียบว่าความตาย
นั้นก็เป็นเรื่องปกติของ มนุษย์เช่นเดียวกับการหลับตาแล้ว นอนในตอนกลางคืนซึ่งเรียบง่ายและไม่ยากสาหรับ
การเข้าใจ
3.2 คุณค่าด้านคุณธรรม
เรื่องสามก๊กตอนกวนอูไปรับราชการกับโจโฉให้ข้อคิดสาคัญกับผู้อ่านหลายข้อที่บงชี้ คุณธรรมต่างๆ
โดยข้อคิดที่เห็นได้ชัดเจนคือความกตัญญูและการรักษาสัจจะต่อผู้มีพระคุณ ในเรื่องเมื่อกวนอูได้ไปอยู่กับโจโฉ
เจ้านายคนใหม่ผู้พร้อมที่จะมอบความสุขให้กวนอูทั้งปวงด้วย จุดประสงค์หลักที่จะให้กวนอูย้ายมาอยู่ฝั่ง
เดียวกับตนเองอย่างไรก็ตามกวนอูก็ยังคงรักษา คาสัญญาที่ให้ไว้กับเล่าปี่และคงความเป็นตัวของตัวเองไว้แม้โจ
โฉนาอาหารและเสื้อผ้าใหม่มา ให้เป็นประจาแต่กวนอูก็ยังคงใส่เสื้อเก่าของท่านและส่งคนใช้ที่โจโฉจัดไว้ให้ไป
ให้กับพี่สะใภ้ของเล่าปี่เป็นการแสดงให้เห็นถึงความจงรักภักดีต่อเล่าปี่ในอีกเหตุการณ์นึงในตอนที่โจโฉส่ง เตียว
เลี้ยวไปคุยกับกวนอูเตียวเลี้ยวก็ได้ถามกวนอูว่าเหตุใดยังคงภักดีต่อเล่าปี่แม้โจโฉเลี้ยงดูอย่างดี กวนอูได้ให้
คาตอบว่าตัวท่านนั้นภักดีต่อโจโฉแต่เล่าปี่เป็นพี่ร่วมสาบานและเป็นผู้มีพระคุณ ของกวนอูก่อนโจโฉจึงไม่อาจ
ลืมเล่าปี่ได้ เหตุการณ์นี้เป็นอีกจุดที่แสดงให้ถึงเห็นความซื่อสัตย์และ จงรักพักดีของกวนอูเมื่อผู้อ่านได้ข้อคิด
เหล่านี้ก็จะสามารถนามาทบทวนกับตนเองและสื่อต่อให้ผู้อื่นได้รู้ตนเองว่าควรจงรักภักดีและแสดงความ
กตัญญูให้กับผู้มีบุญคุณแก่เราเพราะสิ่งเหล่านี้เป็นความมั่นคงในชีวิตและไม่เบียดเบียนผู้อื่น เป็นคนดีต่อสังคม
3.3 คุณค่าด้านอื่นๆ
นอกเหนือจากคุณค่าในด้านอารมณ์และคุณธรรมแล้วสามก๊กตอนกวนอูไปรับราชการกับโจโฉได้แสดง
ให้เห็นคุณธรรมด้านประวัติศาสตร์ โดยเป็นหนึ่งในเรื่องเล่าของวรรณกรรมสามก๊ก ที่มีการเขียนขึ้นเพื่อเล่า
เหตุการณ์ในประวัติศสาสตร์ในสมัยก่อนที่ประเทศได้รวมกันเป็นหนึ่ง ตอนกวนอูไปรับราชการกับโจโฉ เป็น
ส่วนขยายของวรรณกรรมสามก๊กที่ให้ผู้อ่านสามารถรู้ลึกขึ้น เกี่ยวกับเหตุผลเบื้องหลังว่าเหตุไดกวนอูจึงไปเป็น
ข้าราชการฝ่ายทหารให้กับโจโฉ และไปทาอะไร รายละเอียดในเรื่องนี้ต่างจากที่มีในวรรณกรรมแม่ การละเว้น
รายละเอียดอาจทาให้ ผู้อ่านข้าม ส่วนสาคัญและอาจไม่เข้าใจในภายหลังว่าทาไมเหตุการณ์นึงจึงเกิดขึ้น
อย่างไรก็ตาม เรื่องราว สามก๊กตอนกวนอูไปรับราชการโจโฉยังคงส่งเสริมความเป็นเอกลักษณ์ของการเขียน

10
สามก๊ก โดยเป็นการแต่งเรื่องที่เล่าประวัติศาสตร์ประเทศจีนออกมาในรูปแบบร้อยแก้ว ที่มีความลึกซึ้ง ใน
ความหมายของคาศัพท์และสานวนที่ใช้ในขณะที่ใช้ภาษาที่เรียบง่ายและไม่ซับซ้อน แสดงให้เห็นถึงคุณธรรม
ด้านประวัติศาสตร์ที่วรรณกรรมชิ้นนี้ได้บันทึกเอาไว้ นอกจากนี้ วรรณกรรมเรื่องนี้ยังบ่งชี้คุณธรรมของคุณค่า
ด้านการใช้ภาษา ซึ่งเห็นได้จากคาพูดของตัวละครที่ จากที่กล่าวไว้เบื้องต้น มีการใช้คาเรียบง่ายและไม่ซับซ้อน
แต่สามารถประทับใจผู้อ่านได้โดยมีตัว อย่างที่ เห็นได้ อย่างชัดเจน คือเมื่อตอนที่กวนอูสนทนากับเตียวเลี้ยว
และกล่าวว่า “ตัวเราเกิดมาเป็นชาย รักษาสัตย์มิให้เสียวาจาถึงมาตรว่าเล่าปี่จะถึงแก่ความตาย เราก็จะขอตาย
ไปตามความที่ได้สาบานไว้”

11
บรรณานุกรม
ศึกษาธิการ, กระทรวง. สานักงานคณะกรรมการศึกษาขั้นพื้นฐาน. หนังสือเรียน รายวิชาพื้นฐาน ภาษาไทย
วรรณคดีวิจักษ์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๖. ๒๒๔๙ ถนนลาดพร้าว แขวงสะพานสอง เขตวังทองหลาง
กรุงเทพมหานคร ๑๐๓๑๐ : สกสค. ลาดพร้าว, ๒๕๕๗. ๑๖๙ หน้า

12

You might also like