You are on page 1of 13

รายงานเชิงวิชาการ

การอ่านและพิจารณาวรรณคดีเรื่อง สามก๊ก ตอนกวนอูไปรับราชการกับโจโฉ

นาย ภูมิ แอลเบิร์ท อิงคามระธร ชั้นมัธยมศึกษาปี ที ่ 5/4 เลขที ่ 1


นาย รวิพล ประเสริ ฐบูรณ์ ชั้นมัธยมศึกษาปี ที ่ 5/4 เลขที ่ 8
นาย ภีมวัศ สัตตวัชราเวช ชั้นมัธยมศึกษาปี ที ่ 5/4 เลขที ่ 15
นาย ศุภณัฐ ศรี บูระไชย ชั้นมัธยมศึกษาปี ที ่ 5/4 เลขที ่ 20

เสนอ
อ.พนมศักดิ์ มนูญปรัชญาภรณ์

ภาคเรียนที ่ 2 ปี การศึกษา 2563


โรงเรียนสาธิตนานาชาติ มหาวิทยาลัยมหิดล

รายงานนี้เป็นส่วนหนึ่งของกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้โครงงานเป็นฐาน (Project Based Learning)


รายวิชาภาษาไทยและวัฒนธรรม ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5
คานา

รายงานฉบับนี้เป็นส่วนหนึ่งกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้โครงงานเป็นฐาน (Project Based Learning) วิชา


ภาษาไทยและวัฒนธรรม ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ การอ่านและพิจารณาวรรณคดีเรื่อง
สามก๊ก ตอนกวนอูไปรับราชการโจโฉ ทั้งนี้ ในรายงานฉบับนี้มีเนื้อหาประกอบด้วย การพิจารณาวรรณคดีทั้ง
เนื้อหา ภาษา และด้านคุณค่า

คณะผู้จัดทาหวังเป็นอย่างยิ่งว่ารายงานนี้จะเป็นประโยชน์ต่อผู้ที่สนใจในวรรณคดีเรื่อง สามก๊ก และคณะ


ผู้จัดทาขอขอบคุณอาจารย์ พนมศักดิ์ มนูญปรัชญาภรณ์ ผู้ให้คาปรึกษาตลอดจนรายงานเสร็จสิ้น

คณะผู้จัดทา
สารบัญ

1. การอ่านและพิจารณาเนื้อหาและกลวิธีในวรรณคดีและวรรณกรรม หน้า
1.1 เนื้อเรื่อง หรือเนื้อเรื่องย่อ 1
1.2 โครงเรื่อง 2
1.3 ตัวละคร 2
1.4 ฉากท้องเรื่อง 3
1.5 บทเจรจาหรือราพึงราพัน 3
1.6 แก่นเรื่องหรือสารัตถะของเรื่อง 3

2. การอ่านและพิจารณาการใช้ภาษาในวรรณคดีและวรรณกรรม
2.1 การสรรคา 4
2.2 การเรียบเรียงคา 5
2.3 การใช้โวหาร 6

3. การอ่านและพิจารณาประโยชน์หรือคุณค่าในวรรณคดีและวรรณกรรม
3.1 คุณค่าด้านอารมณ์ 6
3.2 คุณค่าด้านคุณธรรม 7
3.3 คุณค่าด้านอื่นๆ 7
1. การอ่านและพิจารณาเนื้อหาและกลวิธีในวรรณคดีและวรรณกรรม

1.1 เนื้อเรื่อง และเนื้อเรื่องย่อ

โจโฉได้ตัดสินใจยกทัพไปรบกับเล่าปี่ซึ่งอยู่ที่เมืองชีจิ๋วเมื่อเล่าปี่ได้ทราบข่าวการมาของทัพโจโฉจึงขอความ
ช่วยเหลือจากอ้วนเสี้ยวยกทัพไปโจมตีเมืองฮูโต๋ อ้วนเสี้ยวปฏิเสธให้ความช่วยเหลือเพราะต้องดูแลลูกที่ป่วย เล่าปี่
ได้วางแผนกับเตียวหุยว่าจะยกทัพไปปล้นค่ายของโจโฉ โจโฉรู้แผนของเล่าปี่จึงวางแผนต่อสู้กับทัพของเล่าปี่
เมื่อไปถึงค่ายของโจโฉเตียวหุยพลาดท่าถูกกองทัพของโจโฉล้อมส่วนเล่าปี่สามารถหนีออกจากค่ายของโจ
โฉและได้ขอความช่วยเหลือจากอ้วนเสี้ยว เล่าปี่ได้รับการต้อนรับอย่างดีและพักอยู่ที่เมืองกิจิ๋วของอ้วนเสี้ยว โจโฉ
คิดการต่อว่าจะยกทัพไปตีเมืองแห้ฝือซึ่งกวนอูดูแลอยู่และอยากให้กวนอูมาร่วมทัพของตนแต่ก็กลัวว่ากวนอูจะ
ปฏิเสธ เตียวเหลี้ยวจึงอาสาเป็นคนไปเจรจากับกวนอูโดยได้รับความช่วยเหลือจากเทียหยก
กวนอูไม่ยอมรับข้อเสนอของเตียวเลี้ยวเพราะไม่อยากทรยศเล่าปี่ เตียวเลี้ยวแจงเหตุผลที่กวนอูควรจะมี
ชีวิตอยู่ต่อว่า หนึ่ง ถ้ากวนอูตาย เล่าปี่และเตียวหุยก็จะตายด้วยตามคาสัตย์ที่ให้ไว้ สอง กวนอูต้องดูแลครอบครัว
เล่าปี่ สาม กวนอูควรรักษาชีวิตเพื่อรอเล่าปี่กลับมา เมื่อฟังดังนั้นแล้วกวนอูจึงยอมเข้าร่วมกับโจโฉโดยมีข้อแม้ว่า
หนึ่ง กวนอูต้องได้รับใช้พระเจ้าเหี้ยนเต้ สอง กวนอูต้องเป็นคนดูแลพี่สะใภ้ทั้งสองคนเอง สาม ถ้ากวนอูรู้ว่าเล่าปี่
อยู่ที่ใดก็จะไปหาเล่าปี่ทันทีแม้โจโฉจะไม่อนุญาตก็ตาม
เตียวเลี้ยวรีบนาข้อเสนอนี้ไปแจ้งแก่โจโฉทันที โจโฉไม่เห็นด้วยกับประการที่สาม แต่เมื่อเตียวเลี้ยวเกลี้ย
มกล่อมว่ากวนอูนั้นมีความซื่อสัตย์ต่อนายของตน หากโจโฉดูแลกวนอูอย่างดี กวนอูจะซื่อสัตย์และกตัญญูต่อโจโฉ
มาก โจโฉได้ฟังดังนั้นจึงยอมรับข้อเสนอและเร่งให้เตียวเลี้ยว พากวนอูเข้ามา กวนอูทราบข้อตกลงของโจโฉแล้วจึง
บอกแก่เตียวเลี้ยวว่าจะรีบตามไปแต่ขอไปบอกพี่สะใภ้ทั้งสองก่อน กวนอูกลับเข้าเมืองแห้ฝือและบอกเรื่องราว
ทั้งหมดแก่พี่สะใภ้ทั้งสอง
วันต่อมากองทัพของโจโฉ กวน อูและภรรยาของเล่าปี่เดินทางไปยังเมืองฮูโต๋ โจโฉเตรียมอาหารอย่างดี
หญิงงามหลายสิบคน เครื่องเงินเครื่อง ทองให้แก่กวนอู แต่กวนอูก็นาสิ่งของเหล่านั้นไปให้แก่พี่สะใภ้ทั้งสอง โจโฉ
จะเอาเสื้อตัวใหม่มาให้กวนอูแทน เสื้อที่ขาด กวนอูรับไว้แต่ก็ใส่เสื้อใหม่ไว้ด้านในด้วยเหตุที่ว่ากลัวคนจะนินทาว่าได้
ใหม่แล้วลืมเก่า โจโฉได้ฟัง ดังนั้นจึงเกิดความน้อยใจ เตียวเลี้ยวจึงอาสาตามหาความในใจของกวนอูมาให้ได้ เตียว
เลี้ยวได้ฟังคากวนอูจึง บอกความทั้งหมดแก่โจโฉใจความว่ากวนอูยังซื่อสัตย์ต่อเล่าปี่อยู่ แต่ก็จะหาโอกาสตอบแทน
คุณของโจโฉก่อนที่จะไป โจโฉนับถือในความกตัญญูของกวนอูต่อเล่าปี่มากและไม่อยากเสียทหารอย่างกวนอูไป

1
1.2 โครงเรื่อง

วรรณคดีเรื่อง สามก๊กตอนกวนอูไปรับราชการกับโจโฉ ได้กล่าวถึง สงครามทางการเมือง และ การแย่งชิง


อานาจของดินแดนต่างๆ โดยใช้กลยุทธ์ที่ชาญฉลาดในการรับมือกับอีกฝ่าย โดยในตอนนี้ได้เล่าถึง ลูกน้องที่มีความ
ซื่อสัตย์ จงรักภักดีต่อเจ้านายแม้ตัวเองจะต้องไปอยู่กับศัตรูที่มอบทุกอย่างให้ ไม่ว่าจะเป็นสิ่งของมีค่า หรือเงินทอง
ก็ไม่สามารถซื้อความจงรักภักดีของลูกน้องต่อเจ้านายไปได้

1.3 ตัวละคร

กวนอู: กวนอูเป็นคนที่สามิภักดิ์ต่อเจ้านายด้วยจิตใจที่มั่นคงแน่วแน่ เมื่อจะกระทาการใดก็จะคิดถึง


ประโยชน์ต่อเล่าปี่อยู่เสมอ ดังนั้นจะเห็นได้จากการที่กวนอูคุ้มครองดูแลภรรยาของเล่าปี่อย่างดีตามที่รับปากเล่าปี่
ไว้ แม้ว่ากวนอูมาอยู่กับโจโฉ แต่ก็ยังคงยึดมั่นมีความจงรักภักดีต่อเจ้านายเก่า นอกจากนี้กวนอูยังเป็นคนไม่ลืม
บุญคุณคน เช่น ตอนที่กวนอูจากโจโฉไป ก็ได้สัญญากับโจโฉว่าจะทดแทนบุญคุณอย่างแน่นอน เพราะโจโฉเคยดูแล
ตนเป็นอย่างดี กวนอูเป็นคนซื่อสัตย์มาก และไม่เคยปิดปังเจ้านายใหม่ว่าตนยังมีใจจงรักต่อเจ้านายเก่าอยู่ เช่น
ตอนที่กวนอูได้เสื้อใหม่จากโจโฉ กวนอูนาเสื้อมาสวมไว้ด้านในและสวมเสื้อที่เล่าปี่ให้ทับอีกทีหนึ่งและบอกโจโฉว่า
“ครั้นจะเอาเสื้อใหม่นั้นใส่ชั้นนอก คนทั้งปวงจะครหานินทาว่าได้ใหม่แล้วลืมเก่า” นอกจากนี้ตอนที่กวนอูได้รับม้า
เซ็กเธาว์จากโจโฉ กวนอูรู้สึกดีใจมากและบอกโจโฉว่า “ม้าเซ็กเธาว์ตัวน้มีกาลังมาก เดินทางวันละหมื่นเส้น แม้
ข้าพเจ้ารู้ว่าเล่าปี่อยู่ที่ใด ถึงมาตรว่าไกลก็จะไปหาโดยเร็ว”

โจโฉ: โจโฉเป็นมหาอุปราชของพระเจ้าเหี้ยนเต้ เป็นขุนพลผู้มีฝีมือ มีกลยุทธ์ และทะนงองอาจ แต่เมื่อจะ


ทาการใดก็ปรึกษาหารือขุนนางเสมอ จากที่โจโฉถามขุนนางว่า “ท่านทั้งปวงจะเห็นเป็นประการใด” การตัดสินใจ
ของโจโฉจะขึ้นอยู่กับเหตุผล ดังตอนที่เตียวเลี้ยวนาข้อเสนอของกวนอูมาเสนอแก่โจโฉ โจโฉเห็นว่าที่กวนอูขอเป็น
ข้าพระเจ้าเหี้ยนเต้เท่ากับมาอยู่ใต้บัญชาของตน “เราเป็นถึงมหาอุปราช กวนอูจะยอมเป็นข้าพระเจ้าเหี้ยนเต้ก็
เหมือนกับบ่าวเรา ถ้าเราบังคับบัญชาราชการประการใดกวนอูก็จะไม่ขัดได้” โจโฉจึงตัดสินใจรับข้อเสนอของกวนอู
นอกจากนี้ยังกล่าวได้ว่าโจโฉเป็นผู้รักษาน้าใจของผู้ที่อยู่ใต้ปกครอง ดังตอนที่กวนอูยื่นขอเสนอขอดูแลภรรยาทั้ง
สองของเล่าปี่ โจโฉก็กล่าวว่า “ทุกวันนี้อย่าว่าแต่ภรรยาเล่าปี่เลยถึงภรรยาผู้น้อยลงไปเราก็มิได้ให้ทาหยาบช้า”
มากไปกว่านั้นเมื่อตอนที่โจโฉต้องการให้กวนอูมีใจสามิภักดิ์ต่อตน โจโฉจึงพยายามเอาใจทุกโอกาส เช่น เมื่อเชิญ
มากินอาหารก็ “จัดแจงให้กวนอูนั่งที่สูงกว่าขุนนางทั้งปวง และให้เครื่องเงินเครื่องทองและแพรอย่างดีแก่กวนอู
เป็นอันมาก”

2
1.4 ฉากท้องเรื่อง

สามก๊กเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นในประเทศจีนเมื่อตอนที่แผ่นดินจีนถูกแบ่งออกเป็น สามก๊กใหญ่ๆ ในสมัยของ


พระเจ้าเหี้ยนเต้

1.5 บทเจรจาหรือราพึงราพัน

บทสนทนาในสามก๊กเป็นตัวอย่างการใช้วาทศิลป์ในการเจรจาความ ดังจะเห็นได้จากตอนที่เตียวเลี้ยว
เกลี้ยกล่อมให้กวนอูมาเข้าร่วมกับโจโฉ เตียวเลี้ยวชี้ให้เห็นถึงโทษ ๓ ประการเพื่อที่จะเกลี้ยกล่อมกวนอู อีกตัวอย่าง
หนึ่งคือตอนที่เตียวเลี้ยวเกลี้ยกล่อมให้กวนอูคิดถึงบุญคุณของโจโฉ เนื่องจากกวนอูกล่าวว่า แม้โจโฉจะเลี้ยงดูตน
อย่างดี แต่ตนก็ยังไม่วายคิดถึงเล่าปี่ เตียวเลี้ยวจึงเตือนว่า “ธรรมดาเกิดมาเป็นชายให้รู้จักที่หนักที่เบา ถ้าผู้ใด้มิได้
รู้จักที่หนักที่เบา คนทั้งปวงก็จะล่วงติเตียนว่าผู้นั้นหาสติปัญญาไม่” เป็นการแนะให้กวนอูใคร่ครวญเปรียบเทียบ
ระหว่างน้าหนักบุญคุณของโจโฉกับของเล่าปี่ เพื่อจะตอบแทนได้ตามที่ควร เตียวเลี้ยวแนะนาต่อไปว่า “อันมหา
อุปราช (โจโฉ) นี้ทีน้าใจเมตตาท่าน ทานุบารุงท่านยิ่งกว่าเล่าปี่อีกเหตุใดท่านจึงมีใจคิดถึงเล่าปี่อยู่” แต่ทว่ากวนอูก็
ตอบแก้กลับไปอย่างสมเหตุสมผลว่า “ซึ่งมหาอุปราชมีคุณแก่เราก็จริงอยู่ แต่จะเปรียบเล่าปี่นั้นยังมิได้ ด้วยเล่าปี่
นั้นมีคุณแก่เราก่อน ประการหนึ่งก็ได้สาบานไว้ต่อกันว่าเป็นพี่น้อง เราจึงได้ตั้งใจรักษาสัตย์อยู่” คาพูดของกวนอูทา
ให้ผู้อ่านสามารถเข้าใจเหตุผลของกวนอูได้ดีว่าเหตุใดจึงยังสวามิภักดิ์ต่อเล่าปี่อย่างมั่นคงทั้งๆที่เหตุการณ์บ้านเมือง
เปลี่ยนแปลงไปแล้ว

1.6 แก่นเรื่องหรือสารัตถะของเรื่อง

แก่นเรื่องนี้มุ่งให้เห็นถึง ความซื่อสัตย์ ความจงรักภักดี และการสานึกในบุญคุณของผู้มีพระคุณ ในเรื่อง


สามก๊กตอนกวนอูไปรับราชการกับโจโฉ เนื้อเรื่องแสดงให้เห็นว่ากวนอูมีความจงรักภักดีต่อเจ้านาย ซึ่งเห็นได้จาก
การที่กวนอูไม่ปิดบังเจ้านายใหม่ว่าตนยังจงรักภักดีต่อเจ้านายเก่าอยู่ จากคากล่าวที่ว่า “ครั้นจะเอาเสื้อใหม่นั้นใส่
ชั้นนอก คนทั้งปวงจะครหานินทาว่าได้ใหม่แล้วลืมเก่า” ซึ่งมีความหมายโดยนัยว่า ถึงจะมีเจ้านายคนใหม่ก็ยังไม่ลืม
เจ้านายเก่า อันที่จริงกวนอูก็สานึกในบุญคุณของโจโฉเหมือนกัน หากแต่ไม่เท่าเล่าปี่ จากที่กวนอูเห็นว่า “เล่าปี่นั้น
มีคุณแก่เราก่อน” นอกจากนี้ยังมุ่งให้เห็นว่าแม่ทัพควรให้ความสาคัญกับผู้ร่วมงาน ดั่งที่โจโฉกล่าว “ท่านทั้งปวงจะ
เห็นประการใด”

3
2. การอ่านและพิจารณาการใช้ภาษาในวรรณคดีและวรรณกรรม

2.1 การสรรคา
เลือกใช้คาเพื่อสื่อความหมายได้อย่างชัดเจน
มีการยกตัวละครมาแทรกระหว่างการเล่าเรื่องเพื่อสื่อถึงการมีส่วนร่วมของตัวละครให้หลายบทบาทและมี
ชื่อเมืองและตัวละครที่มีความสมจริงและมีความหลากหลาย
ในบทร้อยแก้วนั้นมีตัวอย่างของการเลือกใช้สานวนและภาษาโบราณประกอบกันแสดงถึงความเก่าแก่ของ
นิทานเนื่องจากเป็นเรื่องที่ประพันธ์มาตั้งแต่นานก่อนแล้ว

ตัวอย่างเช่น
“พอพบลิเตียนคุมทหารสกัดทางอยู่ เล่าปี่ตกใจมิได้คิดอ่านสู้รบประการใดจึงทิ้งทหารสามสิบเศษเสีย ขับ
ม้าหนีเอาตัวรอด ลิเตียนนั้นจับเอาทหารเล่าปี่ไว้ได้สิ้น”
คาว่าสิ้นนั้นเป็นคาที่ใช้ในสมัยก่อนขยายความถึงการตายอย่างสมบูรณ์

ตัวอย่าง
“ครั้นเวลาสามยาม โจโฉจึงให้แฮหัวตุ้นคุมทหารห้าพันเป็นกองชุ่ม”
เวลาสามยามนั้นเป็นตัวอย่างของการบอกเวลาแบบสมัยก่อน

ตัวอย่าง
“เตียนห้องจึงตอบว่า คนทั้งปวงก็ลือชาปรากฏว่า ท่านเป็นใหญ่อยู่ในหัวเมืองฝ่ายเหนือ เหตุใดท่านมาคิด
ย่อท้อจะมาตีตัวตายก่อนไข้นั้นไม่ควร”
สานวนตีตัวก่อนไข้นั้นหมายถึงความกังวลทุกข์ร้อนหรือหวาดกลัวในเรื่องที่ยังไม่เกิดขึ้น

-เสียน้าใจ แปลว่า น้อยใจ


ตัวอย่าง
“โจโฉมีความยินดีก็คุมทหารเข้าเมืองแห้ฝือ แล้วให้เอาเพลิงเผาเมืองขึ้น หวังจะให้กวนอูเสีย
น้าใจ”

-ทหารเลว แปลว่า พลทหาร


ตัวอย่าง
“แฮหัวตุ้นมิได้เห็นกวนอูยกออกมารบ จึงให้ทหารเลวร้องต่อล้อด่ากวนอูเป็นข้อหยาบช้า”

4
-ผืน แปลว่า ลักษณะนามของเสื้อ
ตัวอย่าง
“ข้าพเจ้าจึงเอาเสื้อผืนนี้ใส่ชั้นนอก”

-ห่มเสื้อ แปลว่า สวมเสื้อ


ตัวอย่าง
“โจโฉให้เชิญกวนอูมากินโต๊ะ เห็นกวนอูห่มเสื้อขาด โจโฉจึงเอาเสื้ออย่างดีมาให้กวนอู”

2.2 การเรียบเรียงคา
เนื่องจากเป็นการประพันธ์แบบร้อยแก้วจึงไม่ปรากฏฉันทลักษณ์
การเรียบเรียงคานั้นส่วนใหญ่เป็นการขึ้นต้นด้วยประธานแล้วตามมาโดยกริยาที่กระทาซึ่งถือว่าเป็นการบรรยาย
แบบเบื้องต้น
เนื่องจากเป็นการแปลเรื่องมาจากประเทศจีนจึงนาประโยคมาเรียบเรียงใหม่ประโยคส่วนใหญ่จึงเล่า
เหตุการณ์แบบเบื้องต้นซึ่งเป็นประโยคที่อธิบายว่าใครทาอะไรที่ไหนอย่างไร เพื่อป้องกันความซับซ้อนของเนื้อหา

ปรากฎการเรียงข้อความโดยกาหนดสารสาคัญไว้หลังสุดดังตัวอย่าง
“เตียวหุยเห็นคนในค่ายนั้นน้อย แล้วได้ยินเสียงทหารภายนอกโห่ร้องอื้ออึง ทั้งคบเพลิงก็สว่างขึ้นเป็นอัน
มาก จึงคิดว่าดีร้ายโจโฉจะคิดกลอุบาย ก็พาทหารออกมาหาเล่าปี”
สารสาคัญทีป่ รากฏนั้นคือการดาเนินเรื่องซึ่งมีการแทรกเนื้อหาเข้าไปให้ดูมีศิลปะในการประพันธ์เล่าเรื่อง

มีการเรียบเรียงประโยคให้เนื้อหาเข้มข้นขึ้นไปตามลาดับจนถึงท้ายประโยคที่สาคัญที่สุด
ตัวอย่าง
“โจโฉจึงเอาเสื้ออย่างดีให้กวนอู กวนอูรับเอาเสื้อแล้ว จึงเอาเสื้อใหม่นั้นใส่ชั้นใน เอาเสื้อเก่านั้นใส่ชั้นนอก โจโฉเห็น
ดังนั้นก็หัวเราะแล้วถามว่า เอาเสื้อใหม่ใส่ชั้นในนั้นกลัวจะเก่าไปหรือ กวนอูจึงว่า เสื้อเก่านี้ ของเล่าปี่ให้ บัดนี้เล่าปี่
จะไปอยู่ที่ใดมิได้แจ้ง ข้าพเจ้าจึงเอาเสื้อผืนนี้ ใส่ชั้นนอกหวังจะดูต่างหน้าเล่าปี่ ครั้นจะเอาเสื้อใหม่นั้นใส่ชั้นนอก
คนทั้งปวงจะครหานินทาว่าได้ใหม่แล้วลืมเก่า โจโฉได้ยินดังนั้น ก็สรรเสริญกวนอูว่ามีกตัญญูนักแต่คิดเสียใจอยู่”
ตัวอย่างนี้แสดงถึงเหตุผลว่าทาไมกวนอูถึงใส่เสื้อไว้ด้านในโดยมีการเล่าแสดงเหตุผล และค่อยๆอธิบายว่าทาไม
และจึงแสดงเหตุผลในตอนท้าย

5
2.3 การใช้โวหาร
การใช้บรรยายโวหาร (ประโยคไม่ซับซ้อน)
ใช้การบรรยายเหตุการจากปัจจุบันเพื่อให้ผู้อ่านติดตามและรู้สึกถึงสิ่งที่กาลังเกิดขึ้นในเรื่อง
“ครั้นอยู่มาวันหนึ่ง โจโฉจึงพากวนอูไปเฝ้า พระเจ้าเหี้ยนเต้แล้วทูลว่า กวนอูคนนี้มีฝีมือพอจะเป็นทหารได้
พระเจ้าเหี้ยนเต้ก็มีความยินดีจึงตั้งกวนอูเป็นนายทหาร โจโฉกับกวนอูก็ลากลับมาบ้าน”

การใช้สานวนโบราณ
ใช้สานวนโบราณในการอธิบายการกระทาหรือแสดงหารเปรียบเทียบในร้อยแก้ว
ตัวอย่างสานวน
วรรณกรรมสามก๊กนั้นมีการใช้สานวนไทยเพื่ออธิบายความรู้สึกและการกระทาของตัวละครดัง
ตัวอย่างเช่น
“อันความตายอุปมาเหมือนนอนหลับ”
เป็นตัวอย่างของการเลือกคามาประพันธ์ซึ่งเลือกคาว่านอนหลับแสดงถึงความตายหรือความไม่รู้สึก

มีการใช้โวหารเปรียบเทียบบุคคลกันสิ่งมีชีวิตดังตัวอย่างในตอน โจโฉยกทัพไปปราบเล่าปี่ดังว่า
“เล่าปี่นั้นเป็นคนมีสติปัญญา ถ้าละไว้ช้าก็จะมีกาลังมากขึ้น อุปมาเหมือนลูกนกอันขนปีกยังไม่ขึ้นพร้อม
แม้เราจะนิ่งไว้ให้อยู่ในรังฉะนี้ ถ้าขนขึ้นพร้อมแล้วก็จะบินไปทางไกลได้ ซึ่งจะจับตัวนั้นเห็นจะได้ความขัดสน”
การเปรียบเทียบคู่ต่อสู้เป็นดังนกนั้นแสดงถึงการใช้ภาษาอย่างงามเนื่องจากเป็นการอธิบายอย่างเห็นภาพ
ได้ชัดว่าเล่าปี่ปัจจุบันนั้นยังไม่เก่งกล้า เเต่หากปล่อยเวลาผ่านไปการจะทาอะไรนั้นยากซึ่งการเปรียบเทียบแบบ
อุปมาดังที่ยกมานี้ถือเป็นตัวอย่างการใช้ที่ดี

3. การอ่านและพิจารณาประโยชน์หรือคุณค่าในวรรณคดีและวรรณกรรม

3.1 คุณค่าด้านอารมณ์

สามก๊กตอนกวนอูไปรับราชการโจโฉนั้นเป็นตัวอย่างวรรณกรรมที่ดีที่สามารถทาให้ผู้อ่านได้รู้สึกถึงความ
หนักแน่นและเฉียบคมของตัวละครของเรื่องในการวางแผนและตัดสินใจรวมถึงความแน่วแน่ของตัวละครอย่างกวน
อูที่แม้จะต้องอยู่กับโจโฉก็ยังคงยืนกรานที่จะไม่ลืมพี่น้องและผู้มีพระคุณของท่านอย่างเล่าปี่ด้วยความกลัวที่ตนนั้น
จะ ต้องเสียศักดิ์ศรีของลูกผู้ชายจากการทอดทิ้งพี่น้องและลืมคาสัญญาที่มีให้ไว้กับเล่าปี่ก่อนมาอยู่กับโจโฉ
วรรณกรรมเรื่องนี้ยังเป็นเรื่องที่ดีในการทาให้ผู้อ่านรู้สึกถึงความเรียบง่ายในการใช้คาเพื่อแต่งเรื่องซึ่งส่วนใหญ่นั้น
จะ เป็นคาที่เรียบง่ายและมีความหมายที่ตรงตัวซึ่งจะแตกต่างจากวรรณกรรมหลายเรื่องที่อาจแต่งโดยใช้คาที่

6
ซับซ้อน และมีความหมายที่ลึกซึ้งซึ่งอาจมาจากว่าสามก๊กนั้นถูกแต่งให้เป็นเชิงเรื่องเล่าทางประวัติศาสตร์ที่ไม่มีการ
พรรณนาในเรื่องมากมาย,มีสานวนและการใช้คาที่เรียบง่ายเพื่อความง่ายต่อการทาความเข้าใจแม้อาจจะมีสานวน
หรือคาบางคาที่มีความหมายไม่คุ้นหูกับคนรุ่นใหม่ก็ตามเช่นในตอนที่กวนอูบอกเตียวเลี้ยวว่า “อันความตายอุปมา
เหมือนนอนหลับ”ก็เป็นการเปรียบเทียบว่าความตายนั้นก็เป็นเรื่องปกติของมนุษย์เช่นเดียวกับการหลับตาแล้ว
นอนในตอนกลางคืนซึ่งเรียบง่ายและไม่ยากสาหรับทาความเข้าใจ

3.2 คุณค่าด้านคุณธรรม

จากเรื่องราวของสามก๊กตอนกวนอูไปรับราชการโจโฉทาให้ได้ข้อคิดที่ดีอยู่หลายข้อด้วยกันโดยข้อที่เห็น ได้
ชัดนั้นคือความกตัญญูต่อผู้มีพระคุณและการรักษาสัจจะที่กวนอูมีต่อเล่าปี่แม้ตัวนั้นจะอยู่กับเจ้านายคนใหม่อย่าง
โจโฉที่พูนบาเหน็ดความสุขให้กวนอูทุกทางเพื่อยื้อให้กวนอูเปลี่ยนฝั่งมาอยู่กับโจโฉแม้ว่าตนเองนั้นต้องยอมไปอยู่
กับฝ่ายศัตรูแต่กวนอูก็ยังคงยืนกรานที่จะไม่ลืมพี่น้องตนเองและรักษาคาสัญญาที่ได้ให้ไว้กับเล่าปี่แม้โจโฉจะนาคน
รับใช้มาให้ปรนนิบัติกวนอูหรือแม้กระทั่งให้เสื้อผ้าและอาหารใหม่ทุกวันกวนอูก็ยังคงคงความเป็นตัวของท่านเอง
โดยใส่ เสื้อเก่าของท่านทับเสื้อใหม่ที่โจโฉให้และส่งคนรับใช้ไปให้กับพี่สะใภ้ของเล่าปี่แทนซึ่งเป็นตัวบ่งชี้ว่ากวนอู
นั้นยังคงจงรักภักดีต่อเล่าปี่อยู่และอีกช่วงหนึ่งของเรื่องในตอนที่โจโฉให้เตียวเลี้ยวไปคุยกับกวนอูแล้วเตียวเลี้ยว
ถามกวนอูว่า โจโฉก็เลี้ยงดูอย่างดีแต่ทาไมกวนอูยังคงภักดีต่อเล่าปี่ กวนอูจึงตอบเตียวเลี้ยวว่าตัวท่านนั้นภักดีต่อโจ
โฉอยู่แล้วแต่ เล่าปี่นั้นเป็นพี่ร่วมสาบานและเป็นผู้มีพระคุณของกวนอูก่อนโจโฉท่านจึงไม่อาจลืมเล่าปี่ได้ซึ่งก็เป็นอีก
จุดหนึ่งของ เรื่องที่บ่งชี้ถึงความซื่อสัตย์และจงรักภักดีของกวนอูคุณธรรมเหล่านี้เป็นสิ่งที่ผู้อ่านสามารถนาไป
พิจารณาตนเองและบอกต่อสู่ผู้อื่นได้ว่าเราควรมีความจงรักภักดีต่อผู้มีพระคุณของเราและแสดงความกตัญญูของ
เราสู่ท่านไม่ว่าเราจะอยู่ที่ใดก็ตามเพราะสิ่งเหล่านี้นั้นเป็นสิ่งที่ไม่ได้ซับซ้อนและเป็นสิ่งที่เป็นมงคลต่อชีวิตต่อตัว
ท่านเองในการฝึกตนเป็นคนที่ดีของสังคม

3.3 คุณค่าด้านอื่นๆ

นอกจากคุณค่าในด้านอารมณ์และคุณธรรมแล้วสามก๊กตอนกวนอูไปรับราชการโจโฉนั้นยังมีคุณธรรมด้าน
ประวัติศาสตร์โดยเป็นเรื่องเล่าตอนหนึ่งของวรรณกรรมสามก๊กที่เขียนขึ้นขึ้นเพื่อเล่าเรื่องราวของประวัติศาสตร์
ประเทศก่อนที่จะรวมตัวกันเป็นหนึ่งแผ่นดินซึ่งในตอนนี้ก็ได้ว่าด้วยของชีวิตของกวนอูในตอนที่ท่านได้ไปใช้ชีวิต
เป็น ข้าราชการฝ่ายทหารให้กับโจโฉเรื่องราวที่เขียนในตอนนี้นั้นเป็นการเขียนขยายเรื่องราวจากวรรณกรรมสาม
ก๊กเพื่อ ให้ผู้อ่านได้อ่านถึงเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในตอนนี้ว่ากวนอูไปทาอะไรเมื่ออยู่กับโจโฉและด้วยเหตุผลเช่นไร
อย่างละเอียดซึ่งจะแตกต่างจากวรรณกรรมแม่ที่อาจจะไม่ได้ให้ข้อมูลและเรื่องราวที่ครบและสาคัญและอาจทาให้

7
ผู้อ่านนั้นอ่าน ข้ามส่วนที่สาคัญไปและไม่เข้าใจภายหลังว่าทาไมเหตุการณ์ในสามก๊กตอนกวนอูไปรับราชการโจโฉ
นั้นได้เกิดขึ้นเมื่อผู้อ่านอ่านผ่านจุดนั้นไปการแต่งสามก๊กตอนกวนอูไปรับราชการโจโฉนั้นก็ยังคงความเป็น
เอกลักษณ์ของการเขียนสามก๊กนั้นคือการแต่งเรื่องราวโดยใช้ร้อยแก้วและเล่าเป็นเชิงประวัติศาสตร์ของประเทศ
จีนโดยใช้ภาษาที่เรียบง่ายและไม่ซับซ้อนแต่ยังคงความลึกซึ้งของความหมายคาศัพท์และสานวนที่ใช้แต่งเรื่องใน
วรรณกรรมชิ้นนี้ซึ่งสิ่งได้กล่าวมานั้น เป็นคุณธรรมด้านประวัติศาสตร์ที่วรรณกรรมชิ้นนี้ได้กล่าวบันทึกเอาไว้
นอกจากนี้วรรณกรรมชิ้นนี้ยังเป็นอีกตัวอย่างของคุณค่าด้านการใช้ภาษาจากการใช้ภาษาในคาพูดของตัวละครที่
กิน ใจผู้อ่านจากการเขียนที่เรียบง่ายและไม่ซับซ้อนดังที่ได้กล่าวไว้เบื้องต้นโดยตัวอย่างนั้นหาได้จากตอนที่กวนอู
คุยกับ เตียวเลี้ยวที่ว่า “ตัวเราเกิดมาเป็นชายรักษาสัตย์มิให้เสียวาจาถึงมาตรว่าเล่าปี่จะถึงแก่ความตาย เราก็จะขอ
ตายไปตามความที่ได้สาบานไว้”

8
บรรณานุกรม

ศึกษาธิการ, กระทรวง. สานักงานคณะกรรมการศึกษาขั้นพื้นฐาน. หนังสือเรียน รายวิชาพื้นฐาน ภาษาไทย


วรรณคดีวิจักษ์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๖. ๒๒๔๙ ถนนลาดพร้าว แขวงสะพานสอง เขตวังทองหลาง
กรุงเทพมหานคร ๑๐๓๑๐ : สกสค. ลาดพร้าว, ๒๕๕๗. ๑๖๙ หน้า

You might also like