You are on page 1of 17

ชุดทดลองที่ ...

รถจอมพลัง

สาระสำคัญ

ในการจัดกิจกรรมสะเต็มศึกษาเป็ นการมุ่งเน้นให้มีการนำศาสตร์ของแขนง
วิชาวิทยาศาสตร์, เทคโนโลยี, วิศวกรรมศาสตร์ และคณิตศาสตร์เข้ามา
ประยุกต์ใช้ในการทำกิจกรรมต่างๆ เพื่อให้เด็กสามารถนำความรู้มาใช้ในการ
ประยุกต์ และอธิบายสิ่งต่างๆ ที่เกิดขึน
้ รอบตัวได้ ในปั จจุบันการสร้างสิ่ง
ประดิษฐ์ขน
ึ ้ เองโดยอาศัยความรู้ต่างๆ มาเป็ นพื้นฐานสามารถช่วยพัฒนา
ศักยภาพให้เด็กได้มีการเรียนรู้แบบต่อยอดมากขึน
้ อย่างเช่นในการทำ
กิจกรรมสะเต็มชุดนีเ้ ป็ นการประดิษฐ์ รถจอมพลังเป็ นการออกแบบ และ
ประดิษฐ์รถยนต์โดยมีจุดมุ่งหมายของสิ่งประดิษฐ์นค
ี ้ ือ จะต้องสามารถ
บรรทุกนำหนักของสิ่งของบนรถ และต้องเคลื่อนที่ไปได้ไกลที่สุดโดยที่ของ
สิ่งนัน
้ ไม่ตกลงมาระหว่างทาง

ตัวชีว
้ ัด
วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี วิศวกรรม คณิตศาสตร์
ได้มีการศึกษา สามารถนำแอพ สามารถประยุกต์ สามารถนำความรู้
ความรู้เกี่ยวกับ พลิเคชั่น ใช้ความรู้ทางด้าน ทางด้านการวัด,
เรื่องแรงและการ สำหรับการวัด วิศวกรรมทางด้าน การคำนวณ
เคลื่อนที่ และ ระยะทางมาใช้ การออกแบบ รวม สัดส่วนของชิน

พลังงานศักย์ ในการวัดระยะ ไปถึงเลือกใช้วัสดุ งาน และระยะ
การเคลื่อนที่ ในการทำรถจอม ทางการเคลื่อนที่
ของรถที่ พลัง
เคลื่อนที่ได้
และใช้ในการ
บันทึกวีดีโอการ
เคลื่อนที่ของรถ
จอมพลัง

สาระการเรียนรู้
วิทยาศาสตร์
รถจอมพลังเป็ นการนำความรู้ทางด้านพลังงานศักย์ แรงและการเคลื่อนที่
เข้ามาใช้ในการอธิบายทฤษฎีของการรถวิ่ง พลังงานศักย์ คือพลังงานที่
สะสมอยู่ในตัววัตถุซึ่งอาจถูกปลดปล่อยออกมาเป็ นพลังงานรูปแบบอื่นๆได้
มีสองลักษณะคือ พลังงานศักย์โน้มถ่วง และพลังงานศักย์ยืดหยุ่น ซึง่ ในกรณี
นีเ้ ราจะใช้พลังงานศักย์ยืดหยุ่นมาใช้ในการอธิบายการทดลองสะเต็มศึกษา
พลังงานศักย์ยืดหยุ่น คือ เมื่อเรานำวัตถุติดไว้ที่ปลายด้านหนึ่งของยาง หาก
เราไม่ดึงยางให้ยืดหรือหรือปล่อยยางยุบ จุดที่วัตถุอยู่จะเรียกว่าจุดสมดุล ซึ่ง
จุดนีจ
้ ะไม่มีพลังงานศักย์อยู่ แต่ถ้าหากเรามีการยืดยาง วัตถุจะอยู่ห่างจาก
จุดสมดุล วัตถุ ณ จุดนีจ
้ ะมีพลังงานศักย์สะสมอยู่ หากพลังงานศักย์ที่สะสม
ไว้ยิ่งมาก การปล่อยให้ยางเด้งกลับจะทำให้เกิดพลังงานจลน์ส่งผลให้วัตถุ
เคลื่อนที่ไปได้ไกล
เนื่องจากงานเท่ากับแรงคูณด้วยระยะทาง (W = FS ) คือแรงโดย
เฉลี่ยที่ใช้ดึงยาง ถ้ายางที่ใช้ดึงให้ยืดยาวได้ยาก ( เช่นยางที่หนาและกว้าง )
จะทำให้ระยะทาง S ค่อนข้างสัน
้ เนื่องจากไม่มีแรงที่จะดึงยืดออกได้อีก
แม้ว่ายังมีระยะทางที่จะดึงออกได้อีก เมื่อเป็ นเช่นนีแ
้ ม้ว่า F จะมากที่สุด
แล้ว แต่ระยะทาง S กลับไม่ใช่ระยะที่มากที่สุด จึงอยู่ในสภาพที่ “มี
ระยะทางเหลือแต่แรงไม่พอ”
ในทางกลับกัน ถ้าหากใช้ยางที่ดึงให้ยืดยาวออกได้ง่าย ( เช่น ยางที่
เล็กและบาง ) เมื่อดึงหนังยางออกจนสุดแล้ว ยังมีแรงที่จะดึงหนังยางได้อีก
แต่ไม่สามารถออกแรงดึงออกไปได้อีก เมื่อเป็ นเช่นนีแ
้ ม้ว่าระยะทาง S จะ
ยาวที่สุดแล้วแต่แรง F กลับไม่ใช่แรงที่มากที่สุด จึงกลายเป็ นสภาพที่ “มี
แรงเหลือแต่ระยะทางไม่พอ”
จะเห็นได้ว่าความสัน
้ -ยาว และขนาดใหญ่-เล็ก ของหนังยางต้อง
สอดคล้องกัน จึงจะทำให้หนังสติ๊กมีพลังสูงสุด นั่นคือเมื่อดึงหนังยางให้ยืด
ออกไปมากที่สุดแล้วขณะเดียวกันก็ออกแรงมากที่สุดเช่นกัน ซึง่ ทำให้มีค่า
S และค่า F สูงสุดสำหรับผู้ยิงหนังสติ๊กนั่นเอง เนื่องจากค่า F และ S
ของแต่ละคนย่อมแตกต่างกัน ดังนัน
้ ควรจะเลือกใช้ยางที่เหมาะสมกับตัวผู้
ใช้นั่นเอง

เทคโนโลยี
การนำเทคโนโลยีเข้ามาประยุกต์ใช้ในการทำกิจกรรมสะเต็มจะมีการใช้แอพ
พลิเคชั่นวัดระยะทาง Smart distance มาใช้ในการวัดระยะทางจากจุดเริ่ม
ต้นของการปล่อยรถวิ่ง ไปจนถึงจุดสุดท้ายที่รถหยุดวิ่ง

วิศวกรรมศาสตร์
การวางแผนและออกแบบในการวัดและคำนวณสัดส่วนของชิน
้ งานที่จะนำ
มาใช้ในการประดิษฐ์จริงจำเป็ นจะต้องคำนวณสมดุลของโมเมนต์และคาน
เพื่อให้รถสามารถวิ่งได้ดี
โมเมนต์ (Moment)
ความหมาย : โมเมนต์ “M” คือ ผลของแรงที่กระทำต่อวัตถุเพื่อให้วัตถุหมุน
ไปรอบจุดคงที่ ซึ่งเรียกว่า “จุดหมุน” หรือ จุดฟั ลครัม (Fulcrum) โมเมนต์
มี 2 ชนิด คือ
โมเมนต์ตามเข็มนาฬิกา: ค่าโมเมนต์ที่เกิดจากแรงซึ่งกระทำต่อคานให้หมุน
ไปในทิศตามเข็มนาฬิกา
โมเมนต์ทวนเข็มนาฬิกา: ค่าโมเมนต์ที่เกิดจากแรงซึ่งกระทำต่อคานให้หมุน
ไปในทิศทวนเข็มนาฬิกา
สูตรการหาโมเมนต์
ค่าโมเมนต์ หาได้จากผลคูณของแรงที่กระทำกับระยะที่วัดจากจุดหมุนมาตัง้
ฉากกับแนวแรง M=FXL
เมื่อ M คือ ค่าโมเมนต์ มีหน่วยเป็ นนิวตัน-เมตร (N.m)
F คือ แรง มีหน่วยเป็ นนิวตัน (N)
L คือ ระยะจากจุดหมุนจนถึงแนวแรง มีหน่วยเป็ นเมตร (m)

จากรูปพบว่าไม้กระดานถูกวางไว้อยู่บนจุดหมุน โดยมีวัตถุมาวางไว้ด้านหนึ่ง
(W) จากนัน
้ ออกแรงกดปลายอีกด้าน (F) เพื่อให้วัตถุอยู่ในแนวระดับพอดี
(สมดุล) ดังนัน

โมเมนต์ของแรง F = F x L2 (M ทวน)
โมเมนต์ของน้ำหนัก W = W x L1 (M ตาม)
เมื่อไม้อยู่ในภาวะสมดุล โดยที่ O เป็ นจุดหมุน จะได้ว่า

ข้อควรรู้ : เมื่ออกแรงกระทำแล้ว โมเมนต์มีค่าเป็ นศูนย์หรือไม่เกิดการหมุนก็


ต่อเมื่อเกิดเหตุการณ์ต่อไปนี ้
1. เมื่อมีหลายๆแรงกระทำ และแรงลัพธ์ที่กระทำมีค่าเป็ นศูนย์
2. แนวแรงมีทิศทางผ่านจุดหมุน ระยะตัง้ ฉากจากจุดหมุนถึงแนวแรงเป็ น
ศูนย์

คาน (Lever)
หมายถึง : วัตถุแท่งยาว มีขนาดโตสม่ำเสมอหรือไม่ก็ได้ มีจุดที่เป็ นจุดหมุน
(จุดฟั ลครัม) เมื่อคานทัง้ สองเคลื่อนที่
คาน คือ เครื่องกลที่ใช้หลักการเรื่องโมเมนต์มาคำนวณ (จากรูป) แรง
พยายามทำให้เกิดโมเมนต์ตามเข็ม และแรงต้านทานทำให้เกิดโมเมนต์ทวน
เข็มรอบจุดหมุน
ข้อสังเกต : แขนของแรงทัง้ สอง คือ ระยะตัง้ ฉากจากจุดหมุน ไม่ใช่ความยาว
ของคานถึงจุดหมุน

คณิตศาสตร์
การวัดคำนวณสัดส่วนของชิน
้ งาน และการวัดระยะทางการเคลื่อนที่ และนำ
เสนอข้อมูลในรูปตารางเป็ นวิธีการนำเสนอข้อมูลที่นิยมกันอย่างแพร่หลาย
เพราะมีความละเอียด เป็ นระเบียบ สามารถแสดงข้อมูลได้เป็ นจำนวนมาก
และแบ่งประเภทของข้อมูลได้อย่างหลายประเภทอย่างเป็ นระบบ มีความ
ชัดเจนสะดวกต่อการคำนวณค่าต่างๆทางสถิติ

ผังมโนทัศน์
จุดประสงค์
1. เพื่อออกแบบ ประดิษฐ์ และศึกษารถบรรทุกที่สามารถรับน้ำหนักสิ่งของ
ได้มากที่สุด
2. เพื่อศึกษาระยะทางของรถบรรทุกที่สามารถบรรทุกน้ำหนักสิ่งของที่มาก
ที่สุดได้

วัสดุอุปกรณ์

วัสดุ ภาพประกอบ

1. โทรศัพท์มือถือ (smart phone)


วัสดุ ภาพประกอบ

2. แอพพลิเคชั่นการวัดระยะทาง (smart
distance)

3. ดินน้ำมัน

4. พลาสติกลูกฟูก

5. ฝาขวดน้ำ

6. หนังยาง

7. ไม้เสียบลูกชิน

8. กรรไกร คัตเตอร์
วัสดุ ภาพประกอบ

9. ปื นกาว

10. เทปกาว

11. ไม้บรรทัด

แนวทางการจัดกิจกรรมการเรียนรู้
จัดกิจกรรมเพื่อให้นักเรียนเกิดความรู้ ความเข้าใจ เกี่ยวกับความรู้ทางด้าน
แรงและการเคลื่อนที่ และพลังงานศักย์โดยนำมาประยุกต์ใช้ในการออกแบบ
และประดิษฐ์รถจอมพลังซึ่งสามารถบรรทุกสิ่งของเพื่อเพิ่มทักษะความรู้เชิง
วิศวกรรมได้
1. กิจกรรมพัฒนาผู้เรียน
ขัน
้ ที่ 1 กำหนดปั ญหาหรือความต้องการ
ให้นักเรียนแต่ละกลุ่มร่วมอภิปรายแนวคิดในการออกแบบ และประดิษฐ์รถ
จอมพลัง จากนัน
้ ร่วมกันสรุปขอบเขตการทดลอง โดยตัง้ สมมติฐานการ
ทดลองได้ดังนี ้ “รถที่จะวิ่งได้ระยะทางไกลที่สุดจะต้องไม่บรรทุกน้ำหนักของ
ดินน้ำมันมากเกินไป”

ขัน
้ ที่ 2 รวบรวมข้อมูล
ให้นักเรียนรวบรวมข้อมูลองค์ความรู้ในการออกแบบรถจอมพลัง โดยศึกษา
ลักษณะของฐานตัวรถ จุดศูนย์ถ่วงรถ และให้นักเรียนระดมความคิดเพื่อ
ทดสอบน้ำหนักของดินน้ำมันที่เหมาะสมที่จะทำให้รถสามารถวิ่งได้
ขัน
้ ที่ 3 เลือกวิธีการ
ให้นักเรียนแต่ละกลุ่มทำการเลือกวิธีการออกแบบรถจอมพลังที่ได้มาจาก
การเก็บข้อมูลและแนวคิดที่ได้จากการวิเคราะห์ เพื่อทำให้รถจอมพลัง
สามารถบรรทุกน้ำหนักของดินน้ำมัน และวิ่งได้ระยะทางไกลมากที่สุด

ขัน
้ ที่ 4 ออกแบบและปฏิบัติการ
ให้นักเรียนแต่ละกลุ่มทำการออกแบบรถจอมพลังตามแนวคิดของการศึกษา
ข้อมูลเบื้องต้น รวมถึงประดิษฐ์รถจอมพลังที่ได้วางแผนไว้ภายในระยะเวลา
ทีกำ
่ หนด

ขัน
้ ที่ 5 ทดสอบ
นำรถจอมพลังของนักเรียนแต่ละกลุ่มมาทดสอบด้วยการลองวิ่งโดย
วิเคราะห์จากการวัดระยะทางของรถที่วิ่งได้และจับเวลารถจากจุดเริ่มต้นถึง
จุดสุดท้ายด้วยการใช้แอพพลิเคชั่น smart distance บนโทรศัพท์สมาร์ท
โฟน และใช้แอพพลิเคชั่นการจับเวลาในโทรศัพท์มือถือสมาร์ทโฟน พร้อม
กับบันทึกข้อมูลการทดสอบ

ขัน
้ ที่ 6 ปรับปรุงแก้ไข
ให้นักเรียนแต่ละกลุ่มปรับปรุงชิน
้ งานโดยใช้ผลการทดลองที่ได้มาเป็ นข้อมูล
ในการหาแนวทางปรับปรุง เพื่อสามารถทำให้รถวิ่งได้ระยะทางไกลที่สุด
และบรรทุกน้ำหนักของดินน้ำมันได้มากที่สุด
ขัน
้ ที่ 7 ประเมินผล
เมื่อนักเรียนปรับปรุงแก้ไขชิน
้ งานแล้ว ให้ทำการทดลองและบันทึกผลการ
ทดลองใหม่อีกครัง้ เพื่อประเมินผลของระยะทางในการวิ่งที่สามารถบรรทุก
น้ำหนักของดินน้ำมันได้มากที่สุด

2. กิจกรรมรวมยอด
นักเรียนร่วมกันอภิปรายเพื่อสรุปประเด็นและความรู้ที่ได้จากการทดลองโดย
มีคำถาม ดังต่อไปนี ้
-นักเรียนได้ความรู้วิทยาศาสตร์อะไรบ้างจากการทำกิจกรรมนี ้ (สามารถ
อธิบายทฤษฎีของการเคลื่อนที่ของรถได้)
-นักเรียนได้ความรู้คณิตศาสตร์อะไรบ้างจากการทำกิจกรรมนี ้ (สามารถ
เรียนรู้และเข้าใจการคำนวณเชิงสถิติ และการคำนวณระยะทางของรถได้)
-นักเรียนได้ความรู้ทางวิศวกรรมอะไรบ้างจากการทำกิจกรรมนี ้ (สามารถ
เรียนรู้ความรู้ทางด้านการออกแบบ และการประดิษฐ์รถจอมพลัง)
-ในการแก้ปัญหาที่เกิดขึน
้ นักเรียนต้องทำอย่างไร (กำหนดปั ญหาหรือความ
ต้องการ รวบรวมข้อมูล เลือกวิธีการ ออกแบบและปฏิบัติการ ทดสอบ
ปรับปรุงแก้ไข ประเมินผล)
-ขัน
้ ตอนที่นักเรียนทำทัง้ 7 ขัน
้ ตอน รวมแล้วเรียกว่าอะไร (กระบวนการ
เทคโนโลยี หรือ กระบวนการออกแบบทางวิศวกรรม)

การวัดผลประเมินผล
1. อธิบายหลักการทางวิทยาศาสตร์เกี่ยวกับคลื่นรังสีอินฟาเรดและหลักการ
ทำรีโมทอัจฉริยะจากการสื่อสารผ่านอินฟาเรด
2. การเลือกไดโอดเปล่งแสงที่ถูกต้องจะสามารถวัดระยะห่างระหว่าง
โทรทัศน์และโทรศัพท์มือถือสมาร์ทโฟนได้ระยะห่างที่สุด
ใบกิจกรรม ชุดทดลองที่ ...

STEM ศึกษา เรื่อง รถจอมพลัง


หน่วยงานวิศวกรรมเพื่อความรับผิดชอบต่อสังคม คณะวิศวกรรมศาสตร์
มหาวิทยาลัยมหิดล

จุดประสงค์
1. เพื่อออกแบบ ประดิษฐ์ และศึกษารถบรรทุกที่สามารถรับน้ำหนักสิ่งของ
ได้มากที่สุด
2. เพื่อศึกษาระยะทางของรถบรรทุกที่สามารถบรรทุกน้ำหนักสิ่งของที่มาก
ที่สุดได้
วัสดุอุปกรณ์
จำนวนต่อ
ที่ รายการ
กลุ่ม
โทรศัพท์มือถือ (Smart phone) ที่โหลด
1 1 เครื่อง
แอพพลิเคชั่นการวัดระยะทาง
ดินน้ำมันขนาดเล็ก ขนาดกลาง และขนาด
2 3 ชิน

ใหญ่
3 พลาสติกลูกฟูก 1 แผ่น
4 ฝาขวดน้ำ 4 อัน
5 หนังยางขนาดเล็ก 20 วง
6 ไม้เสียบลูกชิน
้ 5 อัน
7 คัตเตอร์ 1 อัน
8 กรรไกร 1 เล่ม
9 ปื นกาว 1 อัน
10 เทปกาว 1 อัน
11 ไม้บรรทัด 1 อัน

คำถามก่อนทำกิจกรรม นักเรียนคิดว่าน้ำหนักของดินน้ำมันที่บรรทุก
บนรถจอมพลังมีผลกับระยะทางของรถจอมพลังที่วิ่งได้
หรือไม่ และเพราะอะไร

สมมติฐานการทดลอง น้ำหนักของดินน้ำมันขนาดกลาง และใช้หนัง


ยางขนาดเล็กจำนวน 5-10 วงจะสามารถทำให้รถวิ่งได้ระยะทางไกลที่สุด

ตัวแปรต้น น้ำหนักของดินน้ำมัน
ตัวแปรตาม ระยะทางที่รถจอมพลังวิ่งได้
ตัวแปรควบคุม โทรศัพท์มือถือ (Smart phone), ฝาขวดน้ำ

ขัน
้ ตอนการทำกิจกรรม
1) ให้แต่ละกลุ่มออกแบบรถที่จะสร้างในกระดาษ หลังจากนัน
้ เมื่อแต่ละกลุ่ม
ได้พลาสติกลูกฟูกมาให้ทำการตัดตามที่ออกแบบไว้ และเจาะรูตรงกลางของ
พลาสติกลูกฟูกบริเวณกึ่งกลางข้องแผ่นและส่วนตรงกลางของแกนล้อหลัง
เพื่อเอาไว้คล้องหนังยางกับตัวรถ
2) นำไม้เสียบลูกชิน
้ มาเสียบผ่านรูของพลาสติกลูกฟูกเพื่อใช้เป็ นแกนล้อ
และเจาะรูตรงกลางที่ฝาขวดน้ำเพื่อใช้เป็ นล้อหมุน
3) ประกอบล้อเข้ากับแกนล้อโดยเสียบไม้เสียบลูกชิน
้ เข้าไปในรูของฝาขวด
น้ำทีทำ
่ ไว้
4) ประกอบแกนล้อหน้าเข้ากับตัวฐานรถที่ออกแบบไว้ในขัน
้ ตอนที่ 1 โดยใช้
ไม้เสียบลูกชิน
้ เสียบผ่านรูพลาสติกลูกฟูกและปิ ดด้วยล้ออีกข้างหนึง่
5) ทำการเสียบไม้เสียบลูกชิน
้ ผ่านรูพลาสติกลูกฟูกตรงส่วนกลางของรถโดย
คล้องหนังยางผ่านช่องที่เจาะไว้ตรงช่วงกลางของรถและต่อหนังยางให้ยาว
ขึน
้ จนสามารถยึดไปที่ช่องด้านหลังโดยคล้องผ่านไม้เสียบลูกชิน
้ ด้านแกนล้อ
หลังผ่านช่องที่เจาะไว้
6) นำดินน้ำมันมาวางเพื่อทดสอบการบรรทุกน้ำหนัก และทำการทดสอบ
การวิ่งโดยการหมุนล้อหลังให้ยางตึงให้มากที่สุด แล้ววัดระยะทางโดยใช้แอพ
พลิเคชั่น smart distance บนโทรศัพท์สมาร์โฟน

ตัวอย่างผลการทำกิจกรรม

ระยะทางที่รถวิ่งได้ (เมตร)
ทดสอบ
ดินน้ำมันขนาด ดินน้ำมันขนาด ดินน้ำมันขนาด
ครัง้ ที่
เล็ก กลาง ใหญ่
1 1 1.2 0.8
2 1.2 1.25 0.82
3 1.1 1.27 0.85
เฉลี่ย 1.1 1.24 0.823

อภิปรายผลการทำกิจกรรม
1. การประกอบรถโดยที่เจาะแกนล้อไม่ได้อยู่ตรงกึ่งกลางทำให้สมดุลของล้อ
ไม่ดี จึงทำให้รถไม่ได้วิ่งไปทางทิศทางตรง
2. รถที่ประดิษฐ์ได้อาจจะวิ่งได้ระยะทางไม่ใกลเนื่องจากจำนวนของยางวงที่
ใช้น้อยเกินไป และการวางดินน้ำมันกระจายน้ำหนักไม่ดีจะทำให้รถไม่วิ่งไป
ในทิศทางตรง

สรุปผลการทำกิจกรรม
การออกแบบรถให้มีสมดุลของการหมุน และการบรรทุกน้ำหนักให้รถไม่มีน้ำ
หนักมากเกินไปจะทำให้รถวิ่งได้ระยะทางไกลขึน
้ นอกจากนีก
้ ารใช้จำนวน
ของหนังยางที่เหมาะสมก็จะสามารถทำให้รถที่วิ่งบรรทุกของสามารถวิ่งได้
ระยะทางไกลยิ่งขึน

รูปการดำเนินกิจกรรม

You might also like