You are on page 1of 15

ประวิตร จันทรานุภาพ, ยิ่งพิศ พรพัฒน์กุล. (2560). ระเบียบวิธีวิจัย.

กรุงเทพฯ : ภาควิชาเคมีอุตสาหกรรม
คณะวิทยาศาสตร์ประยุกต์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ.

การนำเสนอผลการวิจัย
ในการทำงานของนักวิทยาศาสตร์และนักวิจัยมักมีการนำเสนอผลงาน โดยบรรยากาศในการ
นำเสนอผลงานอาจเป็นห้องประชุมเล็ก ๆ ภายในองค์กร หรือในห้องประชุมขนาดใหญ่ที่มีคนฟังจำนวนมาก
เช่น การประชุมวิชาการ (conference) ระดับชาติหรือนานาชาติ วัตถุประสงค์ของการนำเสนอผลงานคือ
เพื่อเป็นการรายงานหรือเผยแพร่ผลการวิจัย ลักษณะของการนำเสนอผลงานที่ดีคือ ผู้ฟังสนใจ เข้าใจ และ
ได้ประโยชน์ ซึ่งเกิดจากผลงานวิจัยและการเตรียมตัวที่ดีของผู้นำเสนอ ในบทนี้จะได้กล่าวถึงวิธีการเตรียม
สื่อและการนำเสนอเพื่อใช้เป็นแนวทางในการปฏิบัติ รูปแบบการนำเสนอผลงานมี 2 แบบ คือ (1) การ
นำเสนอผลงานแบบบรรยาย (oral presentation) ที่นิยมใช้สไลด์ที่เตรียมจากโปรแกรมคอมพิวเตอร์เป็น
สื่อประกอบการอธิบาย และ (2) การนำเสนอผลงานแบบโปสเตอร์ (poster presentation) ที่มีสื่อเป็น
แผ่นโปสเตอร์

1. การนำเสนอผลงานแบบบรรยาย (Oral presentation)


การนำเสนอผลงานแบบบรรยายเป็นรูปแบบที่ใช้ในการสัมมนา (seminar) สอบโครงงานพิเศษ
สอบป้องกันวิทยานิพนธ์ การรายงานในที่ประชุม และการประชุมวิชาการ ลักษณะห้องบรรยายจะมีจอฉาย
ภาพขนาดใหญ่อยู่หน้าห้อง ซึ่งทุกคนภายในห้องสามารถมองเห็นได้ และผู้พูดจะยืนบรรยายอยู่หน้าห้อง
พร้อมกับมีการฉายสไลด์ประกอบคำบรรยาย และถ้าเป็นการประชุมวิชาการจะมีประธานและรองประธาน
ดำเนินการประชุมอยู่หน้าห้องด้วย ดังรูปที่ 1

การนำเสนอผลการวิจัย
2

รูปที่ 1 ภาพจำลององค์ประกอบในห้องประชุมที่มีการนำเสนอผลงานแบบบรรยาย

การบรรยายจะมีการกำหนดระยะเวลาที่แน่นอน รวมทั้งมีการซักถามในช่วงท้ายด้วย บรรยากาศ


ในห้องประชุม ผู้ฟังจะตั้งใจฟังคำอธิบายพร้อมกับดูสื่อสไลด์ประกอบ และอาจจดบันทึกประเด็นสำคัญหรือ
สิ่งที่สนใจไปพร้อม ๆ กัน ดังนั้น ผู้พูดต้องมีการนำเสนอที่ดี ผู้ฟังจึงสามารถเข้าใจสาระสำคัญของเรื่องได้
หากผู้ฟังไม่เข้าใจ ตามไม่ทัน หรือรู้สึกเบื่อหน่าย ก็จะไม่สนใจฟังอีกต่อไป แนวทางปฏิบัติที่จะทำให้การ
นำเสนอผลงานแบบบรรยายประสบความสำเร็จมีดังต่อไปนี้

1.1 การเตรียมตัวเบื้องต้น
สิ่งแรกที่ผู้พูดควรคำนึงถึงคือ ผู้ฟังเป็นใคร มีพื้นความรู้เพียงใด มีกำหนดเวลาพูดเท่าไร เพื่อการ
เตรียมตัวเบื้องต้นคือ กำหนดโครงสร้างและขอบเขตของเนื้อหา ถ้าผู้ฟังเป็นกลุ่มที่มีพื้นความรู้ในเรื่องนั้น ๆ
อยู่แล้วก็สามารถนำสู่ประเด็นที่จะนำเสนอได้เร็ว ไม่ต้องกล่าวนำมาก และควรนำเสนอข้อมูลเชิงลึกพร้อม
กับการวิเคราะห์ข้อมูลอย่างละเอียด เพื่อให้ผู้ฟังสนใจและได้ประโยชน์ แต่โดยทั่วไปในที่ประชุมวิชาการมัก
มีผู้ฟังที่มีพื้นความรู้ในเรื่องนั้นแตกต่างกัน จึงจำเป็นต้องให้ความรู้โดยกว้างเกี่ยวกับเรื่องที่จะพูดก่อนสั้นๆ
แล้วจึงเข้าสู่งานวิจัยที่ทำ และควรให้ผู้ฟังจำนวน 90-95 % เข้าใจในเรื่องที่นำเสนอ ไม่ใช่มีเพียง 5-10 % ที่
เข้าใจ ดังนั้น โครงสร้างคือต้องมีวิธีการนำเสนอที่ง่ายต่อการเข้าใจและมีความลึกซึ้งของเนื้อหาเหมาะสม
ต้องไม่ใส่ข้อมูลมากเกินไปจะทำให้ผู้ฟังตามไม่ทันและอาจไม่มีเวลาพอ ทำให้ต้องพูดเร็วหรือพูดข้าม
บางอย่างไป ในทางตรงกันข้าม หากให้ข้อมูลน้อยและเป็นระดับพื้นฐานมากเกินไป ผู้ฟังจะไม่สนใจและรู้สึก
เสียเวลาเพราะฟังแล้วไม่ได้ความรู้เพิ่มและไม่ได้ประโยชน์ แต่ถ้าเป็นการพูดเพื่อสอบปริญญานิพนธ์หรือ

การนำเสนอผลการวิจัย
3

วิทยานิพนธ์ ซึ่งจะมีเวลาพูดนาน และผู้ฟังเป็นกรรมการสอบ จะเป็นการพูดเนื้อหาสำคัญ ๆ ของงานวิจัย


อย่างลึกซึ้งและครบถ้วน

1.2 การจัดการ
การพูดต้องมีการวางแผนและจัดการเนื้อหาที่จะนำเสนออย่างเหมาะสม เพื่อให้บรรยายเนื้อหา
จบก่อนเวลาเล็กน้อย และมีเวลาสำหรับผู้ฟังที่จะซักถามได้ในช่วงท้าย การพูดที่กำหนดเวลาพูดน้อย ยิ่งต้อง
ใช้เวลาเตรียมตัวมากขึ้น โดยทั่วไปเนื้อหาที่พูดจะประกอบด้วย
• การแนะนำตัวสั้น ๆ
• บอกเรื่องที่จะพูด
- บอกหัวข้อที่จะพูดคร่าว ๆ (outline) เช่น บทนำ วัตถุประสงค์ เนื้อหา (การ
ทดลอง ผลการทดลองและวิจารณ์ผล) สรุป
• บรรยายตามหัวข้อต่าง ๆ
• ตอบคำถาม
• กิตติกรรมประกาศ ผู้ให้การสนับสนุน
• กล่าวขอบคุณผู้ฟัง

ต้องมีการกำหนดเนื้อหาในแต่ละหัวข้อ โดยการเขียนร่างลงบนกระดาษก่อน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง


ในส่วนงานวิจัย มีการทดลองใดบ้างที่ต้องการนำเสนอ และผลการทดลองเป็นอย่างไร เนื้อหาในแต่ละส่วน
ต้องเชื่อมโยงและต่อเนื่องกัน เพื่อเป็นข้อมูลในการเตรียมสื่อสไลด์ต่อไป ลำดับเนื้อหาการบรรยายมีดังนี้

การนำเสนอผลการวิจัย
4

1 2
ชื่อเรื่อง .......................... หัวข้อ (Outline)
(ไทย) ................... o บทนำ (Introduction)
o วัตถุประสงค์ (Objectives)
(อังกฤษ) .................
o การทดลอง (Experimental)
ผู้นำเสนอ / ผู้วิจัย
o ผลการทดลอง และวิจารณ์ (Results and
ที่อยู่ / สังกัด Discussion)
o สรุปผล และข้อเสนอแนะ (Conclusion)
o (รายการเอกสารอ้างอิง Reference)
o กิตติกรรมประกาศ (Acknowledgements)

3 4
บทนำ (Introduction) วัตถุประสงค์ (Objectives)
o แสดงที่มา ความสำคัญของปัญหา หรือโจทย์
o ทำวิจัยเพื่ออะไร ต้องชัดเจน และสอดคล้องกับโจทย์
วิจัย มีปัญหาอะไร ปัญหานั้นสำคัญอย่างไร จึง
วิจัย
ทำให้เกิดงานวิจัยนี้ขึ้น
o ต้องเป็นแนวทางแก้ปัญหาที่กล่าวนำไว้
o สมมุติฐาน

(1 – 3 สไลด์)
5 6
การทดลอง (Experimental) ผลการทดลองและวิจารณ์ (Results and Discussion)
o ต้องสอดคล้องกับวิธีการทดลอง
o วิธีการดำเนินงาน ทำอะไร อย่างไร o ควรแสดงเป็นกราฟ รูปภาพ ตาราง ที่ชัดเจน ตัวเลข
o ควรทำแผนผังแสดงลำดับขั้นตอน หรือ และ ตัวหนังสือมีขนาดเหมาะสม ไม่เล็กเกินไป อาจใช้
o ควรวาดรูป หรือมีรูปถ่ายประกอบบ้าง
สีช่วยด้วย
(เพื่อให้เข้าใจง่ายและน่าสนใจ)
o มีเฉพาะผล ไม่เขียนคำอธิบาย เพราะเป็นสิ่งที่ต้องพูด

การนำเสนอผลการวิจัย
5

7 8
สรุปผล (Conclusion) กิตติกรรมประกาศ (Acknowledgements)

o สรุปประเด็นสำคัญเท่านั้น o ขอบคุณผู้ช่วยเหลือหรือสนับสนุน เช่น แหล่งให้ทุน


o บรรลุวัตถุประสงค์หรือไม่ เพียงใด วิจัย หรือหน่วยงานที่ให้ความอนุเคราะห์
o อาจมีขอ้ เสนอแนะว่าควรทำอะไรต่อหรือ o รายการเอกสารอ้างอิง (Reference) อาจไม่มี หรือใส่
เพิ่มเติม ไว้ตอนท้ายสไลด์ที่มีการอ้างถึง

1.3 การเตรียมสื่อประกอบการบรรยาย
การนำเสนอแบบบรรยาย สิ่งที่มีความสำคัญมากคือการเตรียมสื่อประกอบคำบรรยาย ปัจจุบัน
นิยมใช้สไลด์ที่เตรียมจากโปรแกรม Microsoft PowerPoint หรืออื่น ๆ เพราะผู้ฟังจะรับการสื่อสารจาก
การนำเสนอได้ทั้งจากการดูสไลด์และฟังเสียงบรรยาย การอ่านหรือดูภาพประกอบจะทำให้เข้าใจได้ง่ายและ
รวดเร็วขึ้น เสริมความเข้าใจได้เป็นอย่างดี การเตรียมสื่อที่ดีจึงช่วยการบรรยายได้มาก พึงระลึกเสมอว่า
สไลด์ที่ดูแล้วเข้าใจง่ายที่สุดคือสไลด์ที่ดีที่สุด ส่วนความสวยงามของสไลด์จะช่วยดึงดูดความสนใจของผู้ฟัง
หลักในการเตรียมสไลด์ มีดังนี้
o ให้เข้าใจได้ง่ายที่สุด (simplicity)
o เห็นได้ชัดเจนที่สุด (visibility)
o เป็นเอกภาพ (unity)
o มีคุณภาพ (quality)
o เป็นไปได้ตามที่ตั้งใจ (feasibility)

วิธีการเตรียมสไลด์ เพื่อให้เป็นไปตามหลักการข้างต้น มีแนวทางในการเตรียมสไลด์ดังนี้


1) เพื่อให้ผู้ฟังเข้าใจได้ง่ายและรวดเร็ว อย่ามีข้อมูลหรือตัวหนังสือมากเกินไปในแต่ละสไลด์ และ
ควรเป็นคำ หรือวลี ไม่ใช่ประโยค โดยทั่วไปประมาณ 6-8 Bullet line ในหนึ่งสไลด์ ดังตัวอย่าง
รูปที่ 2
2) การมีข้อมูลหรือตัวหนังสือมากเกินไป ผู้ฟังจะใช้เวลาอ่านนาน ขาดสมาธิในการฟังได้ง่าย จึง
ควรย่อให้สั้นที่สุด และควรมีเพียง 1 ประเด็นหรือ 1 หัวข้อในแต่ละสไลด์ (ยกเว้น ในกรณีที่
การนำเสนอผลการวิจัย
6

ต้องการเปรียบเทียบหรือเป็นข้อมูลที่ใช้ร่วมกันควรอยู่บนสไลด์เดียวกัน ไม่ควรแยกสไลด์แล้ว
เปิดกลับไป-มาในขณะบรรยาย) ดังตัวอย่างสไลด์ในรูปที่ 3 สไลด์ทางซ้ายมือเต็มไปด้วย
ตัวหนังสือ ผู้ฟังต้องเสียเวลาอ่านมาก ไม่น่าสนใจ จับประเด็นสำคัญได้ยาก ควรเตรียมแบบ
สไลด์ด้านขวา แต่เนื้อหาในคำพูดขณะบรรยายจะเป็นแบบด้านซ้าย

รูปที่ 2 ตัวอย่างสไลด์ในส่วนบทนำ

การนำเสนอผลการวิจัย
7

รูปที่ 3 ตัวอย่างสไลด์ในส่วนบทนำที่มีตัวหนังสือมากเกินไป (ซ้าย) และที่เหมาะสม (ขวา)

3) ควรแสดงผังหรือภาพขั้นตอนหรือกระบวนการแทนการเขียนบรรยายเป็นตัวหนังสือ เพื่อให้
เข้าใจง่ายและน่าสนใจ ดังตัวอย่างสไลด์ในรูปที่ 4
4) รูปแบบตัวอักษรอ่านง่ายชัดเจน จึงควรใช้แบบพิมพ์ หลีกเลี่ยงการใช้แบบเขียน ตัวเอียง หรือ
ตัวหนา ยกเว้นเพื่อเน้น ดังตัวอย่างในตารางที่ 1 ถ้าเตรียมสไลด์เป็นภาษาอังกฤษไม่ควรใช้
ตัวพิมพ์ใหญ่ทั้งหมด (capital letters) เพราะอ่านยาก
5) เพื่อให้ทุกคนในห้องเห็นได้ชัดเจน ต้องมีขนาดอักษรใหญ่พอ ขนาดของตัวอักษรขึ้นกับสีพื้น
สไลด์ด้วย ถ้าพื้นสีเข้มตัวหนังสือสีอ่อน ต้องมีขนาด 28 ขึ้นไป แต่ถ้าตัวหนังสือสีดำบนพื้นขาว
ขนาด 36 ก็อ่านได้ชัดเจน เพราะโดยทั่วไปตัวหนังสือสีเข้มบนพื้นสีอ่อนจะอ่านง่ายและสบาย
ตากว่าตัวหนังสือสีอ่อนบนพื้นสีเข้ม

การนำเสนอผลการวิจัย
8

ขั'นตอนการผลิตและทดสอบสีผง
ชัBงวัตถุดิบ Dry Extruder Hammer
ตามสูตรสี blending mill
(80-110oC)

Electrostatic
Test Spraying Sieve
1.การยึดติด

2.การทนต่อการพับงอ
Size measurement
3.การทนต่อแรงกระแทก เหล็ก ไม้
4. การทนต่อสารเคมี

5.ความแข็ง
Curing Curing
(Oven) (MW-IR)
6.การวัดค่าความเงา

7.การวัดค่าความหนา
11

Oxidant “Ô®æAPS
HA “Ô®æHCl
Polyaniline (emeraldine salt ; PAn.HA)
Aniline )An*
øíœõı : [An] = [HA] = 0.2 M ”óı APS 0.24 M

Aniline
Êõæ“è‰æ“õóœ
8 hr ÊñûÑ ó¯œÑâıÊûæ á¯õï
APS
Methanol : H2O )1:1*
HA

An+HA
û®œÑæ!›œ”Ë‰Ñ û®œÑæ!›œ”Ë‰Ñ æ!œâıÊûæ‡èûç
䈋û˜àùí–îƒ 70oC “è‰æ“õóœ
24 hr
1

รูปที่ 4 ตัวอย่างสไลด์ในส่วนวิธกี ารทดลอง

การนำเสนอผลการวิจัย
9

รูปที่ 4 (ต่อ) ตัวอย่างสไลด์ในส่วนวิธีการทดลอง

การนำเสนอผลการวิจัย
10

ตารางที่ 1 แบบตัวอักษรที่ควรและไม่ควรใช้ในสไลด์
แบบตัวอักษรที่ควรใช้ แบบตัวอักษรที่ไม่ควรใช้
TH Sarabun New ไทยสารบัญใหม่ Lily UPC สวัสดี
Cordia New คอร์เดียใหม่ Brush Script สวัสดี
Browallia New โบวาเลียใหม่ Algerian สวัสดี
Freestyle Script สวัสดี

6) มีรูปแบบเหมือนกันทั้งหมด เช่น พื้นหลัง (background) รูปแบบตัวอักษร การจัดวางข้อมูลบน


สไลด์ให้เหมาะสม ไม่ชิดขอบสไลด์ทั้ง 4 ด้านจนเกินไป เพราะระบบจอหรือเครื่องฉายสไลด์แต่
ละเครื่องไม่เหมือนกัน อาจมีข้อมูลบริเวณขอบสไลด์ขาดหายไปได้ หากมีภาพเป็นพื้นหลัง ควร
สัมพันธ์กับเรื่อง แต่ต้องไม่ทำให้รกตาเกินไป ดังรูปที่ 5
7) สะอาด เรียบร้อย สวยงาม น่าสนใจ มีการจัดเรียงลำดับที่ดี เนื้อหาดี ชัดเจน และดึงดูดความ
สนใจ และควรหลีกเลี่ยง animation และ sound effect เพราะจะทำลายสมาธิและเบนความ
สนใจของผู้ฟัง ยกเว้น animation ที่เป็นการเสริมการพูดให้เข้าใจได้ง่ายขึ้นหรือชัดเจนขึ้น
8) ดูน่าเชื่อถือ จึงไม่ควรมีภาพการ์ตูนหรือ clip art (รูปที่ 6) เพราะจะทำให้ดูเป็นเรื่องเล่น ๆ ไม่
จริงจัง
9) มีเลขที่ลำดับสไลด์กำกับชัดเจน เพื่อให้ผู้ฟังจดบันทึกไว้ได้หากมีข้อสงสัยเกี่ยวกับสไลด์นั้น ๆ
10) ทำได้ เป็นไปตามที่ตั้งใจ ไม่เกิดปัญหาหรืออุปสรรคในการใช้อุปกรณ์ต่าง ๆ เมื่อทำการ
บรรยาย เช่น วีดีทัศน์ หรือคลิปเสียง ต้องทดลองจนแต่ใจว่าไม่มีปัญหา จึงต้องระวังไม่ควรใช้
สื่อหลายรูปแบบเกินไป เพราะเป็นการเพิ่มโอกาสที่จะเกิดอุปสรรคในระหว่างการบรรยาย

การนำเสนอผลการวิจัย
11

การอนุ รักษ์ ป่ าต้ นนํ G าบริ เวณอุ ทยานแห่ งชาติ เขาใหญ่




โดย
นายวิ จัย รั กวิ ชาการ

รูปที่ 5 ตัวอย่างพื้นหลังสไลด์ที่รกตาเกินไป

การทํ าการเกษตรแบบพอเพี ยงภายใต้ การอนุ รักษ์ สิ9 งแวดล้ อม


ของชาวเขา จั งหวั ดแม่ ฮ่ องสอน

โดย
นางสาวจิ ตดี แสนขยั น

รูปที่ 6 ตัวอย่างสไลด์ที่มีภาพการ์ตูน (ไม่ควรใช้)

การนำเสนอผลการวิจัย
12

1.4 การเตรียมการพูด
ขั้นตอนแรกของการเตรียมตัวพูดคือ เขียนร่างประเด็นสำคัญที่คิดว่าจะพูดในแต่ละหัวข้อว่ามี
อะไรบ้างลงบนกระดาษ แล้วประเมินว่าเนื้อหามากหรือน้อยเกินไปหรือไม่ จากนั้นปรับแก้ให้เหมาะสม อาจ
มีการตัดสิ่งที่ไม่จำเป็นออกหรือเพิ่มเนื้อหาที่เห็นว่าสำคัญ โดยเตรียมเนื้อหาในส่วนการวิจัยที่มีลำดับการพูด
ดังนี้

1) มูลเหตุที่ทำให้เกิดงานวิจัยนี้ขึ้น
2) วัตถุประสงค์ของงานวิจัยคืออะไร มีขอบเขตการทำวิจัยอย่างไร ทำแล้วจะได้ประโยชน์อะไร
3) วิธีการดำเนินงานวิจัย ทำอะไร อย่างไรบ้าง เฉพาะประเด็นที่สำคัญ
4) ผลการวิจัยเป็นอย่างไร ตรงกับที่คาดหวังไว้หรือไม่ อย่างไร
5) สรุปผลการทดลอง บรรลุตามวัตถุประสงค์หรือไม่ เพียงใด
6) ผลงานวิจัยนี้จะนำไปใช้ประโยชน์ต่อไปอย่างไรได้บ้าง หรือต้องการทำอะไรเพิ่มเติม

ทำการซ้อมพูดประกอบสื่อสไลด์และจับเวลาพูดด้วย เมื่อเห็นข้อบกพร่องให้รีบปรับแก้ ทั้งส่วน


สไลด์และเนื้อหาคำบรรยาย แล้วซ้อมจนสามารถพูดได้โดยไม่ต้องดูกระดาษโน้ต และควบคุมเวลาตามที่
กำหนดได้

1.5 การเตรียมตัวในวันบรรยาย
o ไปถึงสถานที่ก่อนเวลา โดยเผื่อเวลาที่อาจเกิดเหตุที่ไม่คาดคิดด้วย เช่น การจราจรติดขัด
อย่างผิดปกติ
o ควรแต่งกายสุภาพเรียบร้อย เพื่อเป็นการให้เกียรติผู้ฟัง
o ไม่ควรแต่งกายเด่นหรือแปลกเกินไป ไม่สวมเครื่องประดับที่สะท้อนแสงวูบวาบ เพราะจะ
ดึงความสนใจของผู้ฟังไปอยู่ที่การแต่งกาย
o ควรเตรียมไฟล์สไลด์การนำเสนอมาหลายรูปแบบ เช่น บันทึกลงแผ่น CD และ handy
drive ในกรณีที่ไฟล์มีปัญหาจะได้ใช้แทนกันได้ และควรนำข้อมูลใส่ในเครื่องคอมพิวเตอร์
แล้วตรวจเช็คก่อนถึงเวลาพูด
o นำกระดาษโน้ตย่อการบรรยายติดตัวไว้ เผื่อตื่นเต้นแล้วลืม
การนำเสนอผลการวิจัย
13

o เมื่อใกล้เวลาพูดให้คิดว่าวันนี้เป็นวันดีของตนเองที่ได้มีโอกาสนำเสนอข้อมูลที่น่าสนใจที่
เป็นผลงานของตนเอง และมีความภูมิใจในการนำเสนอ

1.6 การบรรยาย
เทคนิคในการบรรยายที่จะทำให้ผู้ฟังสนใจในเรื่องที่พูด โดยมีสิ่งที่ควรทำและไม่ควรทำดังนี้
สิ่งที่ควรทำ
1) ผู้พูดควรแสดงความสนใจในเรื่องที่พูดนั้นให้มาก โดยแสดงออกที่สีหน้า ท่าทาง และน้ำเสียง ผู้ฟังก็
จะคิดว่าเรื่องนั้นสำคัญและน่าสนใจไปด้วย แต่ก็ไม่ควรเน้นจนดูผิดธรรมชาติ
2) ใช้ภาษาพูด คือประโยคสั้นๆ ศัพท์ง่ายๆ ที่ใช้พูดในชีวิตประจำวัน และพูดให้กระชับ ตรงประเด็น
3) เสียงพูดต้องดังพอให้ทุกคนในห้องได้ยินอย่างชัดเจนทุกคำพูด ดังนั้น ถ้าโดยปกติเป็นคนพูดเบา เร็ว
รัว ต้องมีการซ้อมและปรับแก้
4) การพูดในเชิงวิชาการไม่ควรพูดให้ตลกขบขัน เพราะจะเบี่ยงเบนประเด็นได้
5) ไม่ควรพูดคำที่ไม่มีความหมาย เช่น เอ่อ... อือ... แบบว่า... โอเค... นะคะ... นะครับ ซึ่งผู้พูดอาจพูด
ออกมาโดยไม่รู้ตัว การซ้อมพูดจะช่วยลดคำเหล่านี้ลงได้
6) ใช้ภาษากายเหมาะสม คือมีการยกมือประกอบ สบตาผู้ฟัง มองไปรอบห้อง
7) แสดงสีหน้ายิ้มแย้ม ผ่อนคลาย ทำบรรยายกาศให้ผู้ฟังรู้สึกสบาย
8) ควรมีการชี้ข้อมูลบนสไลด์เพื่อดึงความสนใจของผู้ฟัง การชี้อาจใช้ไม้ชี้ เลเซอร์พอยต์เตอร์ mouse
cursor หรือใช้ animation แบบลูกศรก็ได้
9) รักษาเวลาและเผื่อเวลาให้ตอบคำถามของผู้ฟังด้วย เช่น กำหนดเวลานำเสนอ 15 นาที รวมการ
ตอบคำถามสำหรับ 2-3 คำถาม

การนำเสนอผลการวิจัย
14

สิ่งที่ไม่ควรทำ
1) ไม่เป็นการอ่านตามสไลด์ ควรเป็นการพูดออกมาเลยและมีจังหวะการพูดที่ดูเป็นธรรมชาติ
ไม่ใช่การท่อง
2) ไม่ยืนบังข้อมูลบนสไลด์ ไม่ยืนหันหลังให้ผู้ฟัง ไม่ยืนพิงแท่นบรรยาย
3) ไม่มีสไลด์ที่ฉายนิ่งนานเกินไป โดยที่คำพูดไม่เกี่ยวกับสไลด์นั้นแล้ว ต้องแก้ไขโดยเพิ่มสไลด์ให้มี
เนื้อหาสอดคล้องกับสิ่งที่พูด โดยทั่วไปสไลด์เนื้อหาจะใช้เวลาประมาณ 30-60 วินาทีต่อสไลด์
4) ไม่ล้วงกระเป๋าหรือแสดงท่าทางที่มากเกินไป ไม่เดินไปเดินมาตลอดเวลา เพราะจะทำให้ผู้ฟังเสีย
สมาธิ
5) ไม่เคี้ยวหมากฝรั่ง หรืออมลูกอมขณะบรรยาย นอกจากจะทำให้พูดไม่ชัดแล้วยังดูไม่สุภาพอย่าง
ยิ่ง
6) ไม่กล่าวคำขอโทษหรือแก้ตัวว่าไม่มีเวลาเตรียมตัว ทำให้พูดไม่ดีหรือสไลด์ไม่ดีพอ เพราะจะทำ
ให้ผู้ฟังรู้สึกแย่ลงไปอีก

ถึงเวลาบรรยายต้องควบคุมสติ ไม่ตื่นเต้น มีกริยาที่สำรวม ดำเนินการตามที่ได้จัดเตรียมและ


ซ้อมไว้ เมื่อขึ้นบนเวที มีลำดับการพูดดังนี้
• กล่าวสวัสดีทักทายผู้ฟัง และอาจแนะนำตัวเองสั้นๆ
• บอกชื่อเรื่อง
• บรรยายเนื้อหา ตามที่ได้เตรียมไว้ ตามหัวข้อ 1.4
• สรุ ป เรื ่ อ งที ่ พ ู ด ไปแล้ ว อย่ า งย่ อ ๆ (summary) แล้ ว สรุ ป ประเด็ น สำคั ญ
(conclusion) ว่าได้อะไร เป็นการแสดงการจบการรายงาน
• กิตติกรรมประกาศ
• ช่วง ถาม –ตอบ
• กล่าวขอบคุณผู้ฟัง

การนำเสนอผลการวิจัย
15

1.7 ช่วงตอบคำถาม
ช่วงตอบคำถามตอนท้ายถือเป็นช่วงสำคัญที่อาจบ่งชี้ว่าการนำเสนอผลงานนี้ประสพความสำเร็จ
หรือไม่ เพียงใด สามารถประเมิณได้จากช่วงนี้ เพราะผู้พูดได้มีโอกาสปฏิสัมพันธ์กับผู้ฟัง ในการพูดบางช่วง
อาจไม่ชัดเจน หรือก่อให้เกิดข้อสงสัยตามมา เมื่อผู้ฟังมีการตั้งคำถาม แล้วผู้พูดสามารถอธิบายให้กระจ่างได้
ในเวลาอันสั้น ผู้ฟังจะรู้สึกดี เมื่อมีคำถาม ผู้พูดต้องตั้งใจฟังคำถามอย่างมาก เพื่อให้เข้าใจ ป้องกันการตอบ
ไม่ตรงประเด็นคำถาม
การตอบคำถามต้องรักษาเวลาด้วย จึงควรตอบอย่างรวดเร็ว กระชับ ตรงประเด็นคำถาม หากไม่
เข้าใจคำถามหรือฟังไม่ทันให้ถามกลับได้ ไม่ควรอธิบายหรือตอบคำถามยาวเกินไป ไม่ควรย้อนกลับไปเปิด
สไลด์เพราะจะทำให้เสียเวลา ยกเว้นมีคำถามเกี่ยวกับข้อมูลในสไลด์โดยตรง และที่สำคัญคือถ้ารู้คำตอบที่
ถูกต้องควรแสดงความมั่นใจในการตอบ แต่หากไม่รู้คำตอบไม่ควรเดา และถ้าเป็นการคาดการณ์ หรือคาดว่า
น่าจะเป็นคำตอบได้ ควรแสดงความไม่มั่นใจให้ผู้ฟังทราบด้วย และถ้าเป็นคำถามที่ต้องอธิบายนาน หรือมีข้อ
ขัดแย้งในบางประเด็นจากผู้ฟัง ควรบอกให้มาพบเพื่อสนทนาแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกันเป็นการส่วนตัว
หลังการบรรยาย และไม่ควรแสดงกิริยาโกรธเคืองเมื่อมีข้อโต้แย้งจากผู้ฟัง

1.8 หลังการบรรยาย
หลังการบรรยายควรคิดทบทวนและประเมินผลงานตนเองในการบรรยายครั้งนี้ว่าเป็นอย่างไร
บรรลุตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้เพียงใด มีข้อบกพร่องหรือควรปรับปรุงในส่วนไหนบ้าง โดยพิจารณาอย่าง
ละเอียดเป็นส่วนๆ ตั้งแต่สไลด์ การพูด การอธิบาย การตอบคำถาม เพื่อใช้เป็นแนวทางในการพัฒนาตนเอง

การนำเสนอผลการวิจัย

You might also like