You are on page 1of 24

หน่ วยเรียนที่ 2

ทิศทางและอนาคตของอุตสาหกรรมอาหาร

2.1 การส่ งออกและนาเข้ าอาหารของตลาดโลก


2.1.1 การส่ งออกอาหารของตลาดโลก
มูลค่าการส่ งออกอาหารของโลกในปี พ.ศ. 2546 พบว่ากลุ่มประเทศยุโรปมีการส่ งออกอาหาร
สู งที่สุดคือประมาณ 35 % รองลงมาได้แก่ทวีปอเมริ กา เอเชียและออสเตรเลีย ตามลาดับ ประเทศ
สหรัฐอเมริ กาเป็ นประเทศที่มีการส่ งออกอาหารรายใหญ่ของโลกคือ 12.2 % รองลงมาคือฝรั่งเศส
เนเธอร์แลนด์ เยอรมันและแคนาดาคือ 7.5 6.3 5.2 และ 4 % ตามลาดับ ส่ วนประเทศไทยอยูใ่ นลาดับ
ที่ 14 คือ 2.4 % (ดังตารางที่ 2.1) และในปี 2550-2551 ถ้าจาแนกตามกลุ่มสิ นค้ามาตรฐานที่ไทยส่ งออก
แสดงดังตารางที่ 2.2 และสิ บอันดับแรกของประเทศที่นาเข้าอาหารจากประเทศไทยแสดงดังตารางที่ 2.3
ส่ วนยีส่ ิ บอันดับสิ นค้าส่ งออกมูลค่าสู งสุ ดปี 2551 ดังตารางที่ 2.4

ตารางที่ 2.1 ประเทศผูส้ ่ งออกอาหาร 15 อันดับแรกของโลก


ประเทศ มูลค่ า (พันล้ านเหรียญสหรัฐ)
1. สหรัฐอเมริ กา 53.9
2. ฝรั่งเศส 33.2
3. เนเธอร์แลนด์ 27.9
4. เยอรมัน 22.9
5. แคนาดา 17.6
6. เบลเยีย่ ม 17.0
7. สเปน 15.4
8. อังกฤษ 15.3
9. อิตาลี 14.4
10. จีน 13.6
11. บราซิล 12.8
12. ออสเตรเลีย 12.5
13. อาเจนตินา 11.5
14. ไทย 10.5
15. เดนมาร์ก 9.7
รวม ( 65.16%) 288.2
รวมประเทศอื่นๆทัว่ โลก (34.84%) 154.1
รวมทั้งหมดทัว่ โลก 442.3
ทีม่ า: บัญญัติ (2546)
35

ตารางที่ 2.2 สถิติส่งออกอาหารของประเทศไทยปี 2550-2551 จาแนกกลุ่มสิ นค้ามาตรฐาน

มูลค่ า/ล้ านบาท


ลาดับ ประเภท 2550 2551
1 กากน้ าตาล 1,257.70 1,701.31
2 ของเหลือจากการผลิตน้ ามันและอื่นๆ 4,845.85 2,829.55
3 ข้าวและธัญพืช 121,250.78 204,886.52
4 เครื่ องเทศ 1,255.24 1,289.98
5 เครื่ องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์ 5,947.91 7,214.36
6 เครื่ องดื่มแอลกอฮอล์ 4,580.83 6,876.85
7 เครื่ องปรุ งรส 9,628.72 11,687.49
8 ชา กาแฟ โกโก้และผลิตภัณฑ์ 4,629.57 5,397.78
9 ถัว่ เมล็ดแห้ง 1,061.11 1,469.49
10 น้ าตาล น้ าผึ้ง 45,084.52 49,063.47
11 น้ ามันและไขมัน 12,923.14 21,310.60
12 เนื้อสัตว์และผลิตภัณฑ์ 44,226.80 63,581.66
13 แป้ งและแป้ งหยาบจากเมล็ดพืชน้ ามัน 4.12 7.85
14 แป้ งและสตาร์ช 17,398.31 19,140.83
15 ผลไม้ 53,325.66 60,425.60
16 ผลิตภัณฑ์จากแป้ ง 11,767.43 15,619.75
17 ผลิตภัณฑ์นม 5,338.39 5,456.89
18 ผลิตภัณฑ์ประมง 192,060.75 214,177.08
19 ผัก 16,852.03 16,495.53
20 ฟาง แกลบ หญ้า 28.47 28.41
21 มันเทศและรากหรื อหัวที่คล้ายกัน 54.02 90.49
22 มันสาปะหลังอัดเม็ด เส้น อื่นๆ 19,314.43 15,889.69
23 เมล็ดพืชน้ ามัน 578.2 449.28
24 ลูกอม ขนมหวานจากน้ าตาล 2,807.13 4,116.06
25 อาหารสัตว์สาเร็ จรู ปอื่นๆ 4,669.31 5,803.23
26 อาหารสุนขั หรื อแมว 15,646.22 19,536.91
27 อาหารอื่นๆที่ยงั ไม่ได้ระบุ 21,005.66 23,505.61
รวม 617,542.30 778,052.25

ทีม่ า: สถาบันอาหาร (2551)


36

ตารางที่ 2.3 ตลาดส่ งออกอาหารของประเทศไทย ปี พ.ศ. 2550-2551

มูลค่ า/ล้านบาท
ลาดับ ประเทศ 2550 2551
1 JAPAN 86,913.29 111,326.49
2 U.S.A. 95,977.49 105,354.34
3 MALAYSIA 25,556.48 31,128.77
4 UNITEDKINGDOM 24,704.46 31,044.27
5 CHINA,PEOPLE'SREPUBLIC 35,889.39 28,889.79
6 INDONESIA 24,777.89 23,451.79
7 PHILIPPINES 12,423.80 22,431.52
8 NIGERIA 3,926.86 21,082.81
9 NETHERLANDS(HOLLAND) 17,544.60 20,574.55
10 AUSTRALIA 15,618.73 19,523.22

ทีม่ า: สถาบันอาหาร (2551)

ตารางที่ 2.4 20 อันดับสิ นค้าส่ งออกมูลค่าสู งสุ ดปี พ.ศ. 2550-2551

มูลค่ า/ล้านบาท
ลาดับ ประเภท 2550 2551
1 ปลาทูนาบรรจุภาชนะ 44,881.12 61,036.71
2 ข้าวนึ่ง 21,395.90 56,557.01
3 ไก่แกลลัสโดเมสติกสั แปรรู ปอื่นๆ 32,058.01 50,211.13
4 ข้าวเจ้าขาวหอมมะลิไทย 100 % ชั้น2 27,109.85 41,043.64
5 ข้าวเจ้าขาวอื่น 5 % 13,677.97 39,048.49
6 กุง้ ขาวแช่เย็นจนแข็ง 28,307.89 35,885.24
7 กุง้ ขาวไม่บรรจุภาชนะที่อากาศผ่านเข้าออกไม่ได้ 27,537.45 33,217.66
8 น้ าตาลที่ได้จากอ้อยอื่นๆ 17,216.44 25,525.08

ทีม่ า: สถาบันอาหาร (2551)


37

ตารางที่ 2.4 20 อันดับสิ นค้าส่ งออกมูลค่าสู งสุ ดปี พ.ศ. 2550-2551 (ต่อ)

มูลค่ า/ล้านบาท
ลาดับ ประเภท 2550 2551
9 สับปะรดบรรจุภาชนะที่อากาศผ่านเข้าออกไม่ได้ 13,294.51 17,052.48
10 น้ าตาลทรายขาวบริ สุทธิ์ สีขาวอื่นๆ 272.09 16,725.35
11 สตาร์ชทาจากมันสาปะหลัง 13,505.93 14,381.04
12 ข้าวเจ้าขาว 25 % 4,266.89 11,123.03
13 ข้าวเจ้าขาวอื่น 100 % ชั้น2 11,606.31 10,229.27
14 ปลายข้าวเจ้าขาวหอมมะลิเอ1เลิศ 9,075.54 9,800.44
15 น้ ามันปาล์มและแฟรกชัน-น้ ามันดิบ 5,023.90 8,717.25
16 มันสาปะหลังอัดเม็ด 7,195.99 8,681.13
17 ปลาบรรจุภาชนะที่อากาศผ่านเข้าออกไม่ได้ 6,063.21 7,800.44
18 ครี มเทียม 5,389.40 7,784.54
19 อาหารสุ นขั หรื อแมวเพื่อการขายปลีกอื่นๆ 5,383.38 7,418.41
20 สัตว์ปีกอื่นๆแปรรู ป 7,706.69 7,372.12

ทีม่ า: สถาบันอาหาร (2551)

ข้อมูลปี 2551 พบว่าไทยส่ งออกสิ นค้าอาหารมูลค่า 778,056 ล้านบาท หรื อ 13.3% ของมูลค่า
ส่ งออกสิ นค้าทั้งหมด จานวนโรงงานแปรรู ปอาหาร 8,250 โรงงาน แรงงานในภาคอุตสาหกรรมอาหาร
ประมาณ 1.4 ล้านคน มูลค่าส่ งออกอาหารไทยคิดเป็ น 2.3% ของมูลค่าส่ งออกอาหารของโลก (ประมาณ
การ) และไทยเป็ นผูน้ าในการส่ งออกอาหารของโลกที่สาคัญหลายรายการ ดังนี้
กุ้ง ไทยเป็ นผูส้ ่ งออกกุง้ อันดับ 1 ของโลก มูลค่าส่ งออก 84,196 ล้านบาท มีส่วนแบ่งตลาดโลก
ประมาณ 20%
ทูน่ากระป๋ องและทูน่าแปรรู ป ไทยเป็ นผูส้ ่ งออกทูน่ากระป๋ องและทูน่าแปรรู ปอันดับ 1 ของโลก
มูลค่าส่ งออก 64,555 ล้านบาท มีส่วนแบ่งตลาดโลกประมาณ 47 %
ไก่ แปรรู ป ไทยเป็ นผูส้ ่ งออกไก่แปรรู ปอันดับ 1 ของโลก มูลค่าส่ งออก 50,275 ล้านบาท มีส่วน
แบ่งตลาดโลกประมาณ 25 %
ข้ าว ไทยเป็ นผูส้ ่ งออกข้าวอันดับ 1 ของโลก ปริ มาณส่ งออก 10.2 ล้านตัน มูลค่าส่ งออก
203,255 ล้านบาท มีส่วนแบ่งตลาดโลกประมาณ 33 % (ปริ มาณ)
38

สั บปะรดกระป๋ องและสั บปะรดแปรรู ป ไทยเป็ นผูส้ ่ งออกสับปะรดกระป๋ องและสับปะรดแปร


รู ปอันดับ 1 ของโลก มูลค่าส่ งออก 24,237 ล้านบาท มีส่วนแบ่งตลาดโลกประมาณ 45 %
สิ นค้ าประมง ไทยเป็ นผูส้ ่ งออกสิ นค้าประมงอันดับ 3 ของโลก มูลค่าส่ งออก 214,177 ล้านบาท
มีส่วนแบ่งตลาดโลกประมาณ 8 %
ข้ าวโพดหวานแปรรู ป ไทยเป็ นผูส้ ่ งออกข้าวโพดหวานแปรรู ปอันดับ 3 ของโลก มูลค่าส่ งออก
4,843 ล้านบาท มีส่วนแบ่งตลาดโลกประมาณ 19 %
มูลค่าส่ งออกอาหารในปี 2551 คิดเป็ นสัดส่ วน 8.5 % ของมูลค่าผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ
โดยสิ นค้าอาหารส่ งออกคิดเป็ น 13.3 %ของมูลค่าส่ งออกสิ นค้าทั้งหมดของไทย

ภาพที่ 2.1 แสดงมูลค่าส่ งออกอาหารเทียบกับ GDP ของไทย (ปี 2545-2551)


ทีม่ า: สถาบันอาหาร (2551)

ภาพที่ 2.2 โครงสร้างการส่ งออกสิ นค้าของไทยปี 2551(รวม 5,853,628 ล้านบาท)


ทีม่ า: สถาบันอาหาร (2551)
39

2.1.2 การนาเข้ าอาหารของตลาดโลก


การนาเข้าอาหารของโลกพบว่ากลุ่มยุโรปตะวันตกมีการนาเข้ามากที่สุดคือ% 50 รองลงมาคือ
อเมริ กาเหนือและญี่ปุ่นคือ 13.9 และ 10.7 % ตามลาดับ รวมทั้ง 3 กลุ่มนี้มีมูลค่าถึง% 75
ประเทศที่นาเข้าอาหารรายใหญ่ของโลกคือสหรัฐอเมริ กาคือ 10.3 % รองลงมาคือญี่ปุ่น
เยอรมันและอังกฤษคือ 10.1 6.8 และ 5.6 % ตามลาดับ ดังนั้นในภาพรวมของประเทศที่นาเข้าอาหาร
รายใหญ่ของโลก 15 อันดับแรกคือประเทศที่พฒั นาแล้ว โดยสิ บอันดับแรกล้วนแล้วแต่เป็ นประเทศที่
พัฒนาแล้ว ดังตารางที่ 2.5

ตารางที่ 2.5 ประเทศผูน้ าเข้าอาหาร 15 อันดับแรกของโลก

ประเทศ มูลค่ า (พันล้านเหรียญสหรัฐ )


1. สหรัฐอเมริ กา 49.4
2. ญี่ปุ่น 48.6
3. เยอรมัน 32.9
4. อังกฤษ 26.8
5. ฝรั่งเศส 24.5
6. อิตาลี 19.9
7. เนเธอร์แลนด์ 17.3
8. เบลเยีย่ ม 15.1
9. สเปน 14.0
10. แคนาดา 12.0
11. ฮ่องกง 9.2
12. จีน 9.0
13. รัสเซีย 8.9
14. แมกซิโก 8.6
15. เกาหลีใต้ 6.7
รวม (% 65.16) 302.9
รวมประเทศอื่นๆทัว่ โลก (% 34.84) 139.4
รวมทั้งหมดทัว่ โลก 442.3
ทีม่ า: บัญญัติ (2546)
40

2.1.3 การขยายตัวของอุตสาหกรรมอาหารไทย
การพัฒนาและการขยายตัวของอุตสาหกรรมอาหารในประเทศไทย จากอดีตจนถึงปัจจุบนั
โดยอ้างอิงข้อมูลจากสภาอุตสาหกรรมไทย โดยลาดับเป็ นยุคได้ 5 ยุคคือ
1) ยุคแรก (ก่อนปี 2503) เป็ นการใช้เทคโนโลยีแบบชาวบ้าน เน้นการผลิตในท้องถิ่น เป็ นการ
ถนอมอาหารที่จาเป็ นและหายาก เช่น น้ าตาล อาหารแห้งและอาหารหมักดองที่แปรรู ปจากผักและผลไม้
2) ยุคที่สอง (ปี 2503-2513) มีการนาเทคโนโลยีจากไต้หวันหรื อจีนมาทาการแปรรู ปอาหาร
เช่นนมข้นหวาน ผักผลไม้กระป๋ องและน้ ามันพืช เป็ นต้น เพื่อทดแทนการนาเข้าบางส่ วน
3) ยุคที่สาม (ปี 2513-2523) เพื่อเพิ่มปริ มาณการผลิตไว้จาหน่ายในประเทศ ส่ วนที่เหลือจึง
ส่ งออก ซึ่ งระยะนั้นจะประสบปั ญหาด้านเทคโนโลยีการแปรรู ป การตลาดและสิ นค้ามีคุณภาพไม่
สม่าเสมอ จึงต้องมีการนาเข้าเทคโนโลยีมาจากประเทศสหรัฐอเมริ กาและยุโรป เพื่อปรับปรุ งคุณภาพ
ให้ดีสม่าเสมอเพื่อการส่ งออกโดยเฉพาะ
4) ยุคที่สี่ (ปี 2523-2533) ยุคนี้อุตสาหกรรมอาหารของไทยได้พฒั นาขึ้นอย่างรวดเร็ ว เน้นการ
ส่ งออกอย่างมีระบบ มีการผลิตตามความต้องการของลูกค้า มีการควบคุมปริ มาณและคุณภาพอย่าง
เข้มงวดให้ได้มาตรฐานตามประเทศที่สั่งสิ นค้า ผลิตอาหารแช่แข็งและแช่เย็น สามารถนารายได้เข้าสู่
ประเทศมูลค่าหลายล้านบาท
5) ยุคที่หา้ (ปี 2533 - ปัจจุบนั ) เป็ นยุคที่อุตสาหกรรมอาหารของไทยต้องแข่งขันกับตลาดโลก
ต้องพัฒนาปรับปรุ งหรื อนาเข้าเทคโนโลยีที่ทนั สมัยยิง่ ขึ้น อาจต้องมีการร่ วมลงทุนกับประเทศที่ส่งออก
มากขึ้น ต้องคานึงต้นทุนการผลิต คุณค่าทางโภชนาการ ข้อกาหนดของฉลากอาหาร การรับรองระบบ
คุณภาพโรงงาน มาตรฐานสิ นค้า และที่สาคัญที่สุดคือการคานึงถึงสิ่ งแวดล้อมตลอดจนกระบวนการ
แปรรู ปอาหาร ได้แก่ ภาชนะบรรจุอาหารที่คุม้ ครองผลิตภัณฑ์อาหารต้องปลอดภัยต่อผูบ้ ริ โภคและไม่
ทาลายสิ่ งแวดล้อม รวมไปถึงผลกระทบจากของเสี ยจากกระบวนการผลิตต่อสภาวะแวดล้อมบริ เวณ
โรงงานแปรรู ปอาหารนั้นๆ สาหรับความต้องการของตลาดผลิตภัณฑ์อาหารในอนาคตนั้นต้องเป็ น
ผลิตภัณฑ์ที่สะอาดน่ารับประทาน สะดวกและรวดเร็ วในการบริ โภค

2.2 การวิเคราะห์ จุดแข็ง จุดอ่ อน โอกาส และภัยคุกคามอุตสาหกรรมอาหารของไทย


การวิเคราะห์สถานการณ์แวดล้อมด้านอาหารของไทยโดยการวิเคราะห์ จุดแข็ง จุดอ่อน โอกาส
และภัยคุกคาม (SWOT Analysis) เพื่อวิเคราะห์หาปั จจัยภายในและภายนอกที่มีผลต่อมิติต่าง ๆ ด้าน
อาหารครอบคลุมด้านความมัน่ คงอาหาร ด้านคุณภาพและความปลอดภัยอาหาร ด้านอาหารศึกษา และ
ด้านการบริ หารจัดการ ซึ่ งจะทาให้สามารถวิเคราะห์ภาพรวมเพื่อกาหนดยุทธศาสตร์ การจัดการด้าน
อาหารของประเทศไทยได้อย่างมีประสิ ทธิ ภาพและประสิ ทธิ ผล
41

2.2.1 จุดแข็ง
1) ประเทศไทยมีทรัพยากรด้านการผลิตสิ นค้าเกษตรและอาหารที่มีความอุดมสมบูรณ์และ
หลากหลาย เป็ นประเทศผูส้ ่ งออกสุ ทธิ รายสาคัญ และสามารถส่ งออกอาหารในระดับคุณภาพมาตรฐาน
เป็ นที่ยอมรับในตลาดโลก
2) ภาคเกษตร และอาหารมีความสาคัญต่อเศรษฐกิจ สังคมการเมือง และความมัน่ คงของ
ประเทศ
3) วัฒนธรรมที่เกี่ยวกับการเกษตรและอาหารไทย มีลกั ษณะเฉพาะ มีเอกลักษณ์ สร้างชื่อเสี ยง
และจุดขายในระดับนานาชาติ อาหารไทยมีรสชาติดีเป็ นที่นิยมของผูบ้ ริ โภคในต่างประเทศ
4) ประเทศไทยมีการพัฒนาเกษตรและอาหารอย่างต่อเนื่อง มีประสบการณ์และยืดหยุน่ ในการ
ปรับเปลี่ยนการผลิตได้ตามสถานการณ์ และความต้องการของผูซ้ ้ื อและผูบ้ ริ โภค
2.2.2 จุดอ่ อน
1) มีหน่วยงาน และกฎหมายที่เกี่ยวข้องในห่วงโซ่อาหารจานวนมาก ทาให้ระบบการบริ หาร
จัดการ มีความซับซ้อนขาดเอกภาพ และขาดการบูรณาการในการดาเนินงานที่มีประสิ ทธิภาพสู ง
2) มีผผู ้ ลิตทั้งเกษตรกรและผูป้ ระกอบการรายย่อยจานวนมากที่ยงั ขาดแคลนปั จจัยการผลิตและ
ข้อมูลซึ่ งเป็ นข้อจากัดในการยกระดับการผลิตให้ได้อาหารที่มีมาตรฐานทั้งคุณภาพ และความปลอดภัย
3) ทรัพยากรในการผลิตอาหารมีการกระจุกตัวและผูกขาด ก่อให้เกิดความไม่เป็ นธรรม
ตลอดจนมีปัญหาความเสื่ อมโทรม ทาให้ประสิ ทธิ ภาพในการผลิตต่าและขาดความยัง่ ยืน
4) การลงทุนด้านวิจยั และพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรมด้านการเกษตรและอาหารยังต่ามาก
ทั้งจากภาครัฐและภาคเอกชน
5) ระบบโลจิสติกส์ในห่วงโซ่อาหารยังขาดการพัฒนาให้มีประสิ ทธิ ภาพสู ง ก่อให้เกิดการ
สู ญเสี ยและต้นทุนการจัดการสิ นค้าเกษตรและอาหารสู ง
6) วัตถุดิบทางการเกษตรมีคุณภาพและปริ มาณที่ไม่สม่าเสมอ มีการใช้สารเคมีการเกษตร
โดยเฉพาะยาปราบศัตรู พืชอย่างฟุ่ มเฟื อย ขาดความรู ้ความเข้าใจที่ถูกต้อง ทาให้มีปัญหาด้านสารพิษ
ตกค้างในพืชผักจานวนมาก ก่อให้เกิดภาพลักษณ์ที่ไม่ดีในสายตาของผูน้ าเข้า มีการลักลอบใช้สารเคมี
ที่หา้ มใช้ ซึ่ งมีการตรวจสอบพบสารดังกล่าวในอาหารส่ งออก
7) ขาดระบบมาตรฐานที่สมบูรณ์แบบ โดยเฉพาะอย่างยิง่ ห้องปฏิบตั ิการสอบเทียบมาตรฐาน
และห้องปฏิบตั ิการทดสอบ ทั้งในแง่คุณภาพและความเพียงพอของจานวน
8) ผูบ้ ริ โภคขาดความตระหนัก และพฤติกรรมที่พึงประสงค์ ในการเลือกซื้ อและบริ โภคอาหาร
2.2.3 โอกาส
1) ความต้องการอาหารที่มีคุณภาพ ปลอดภัย และมีคุณค่าทางโภชนาการมีเพิม่ ขึ้น ทั้งใน
ประเทศและต่างประเทศอย่างต่อเนื่อง
42

2) ประเทศไทยมีภาพลักษณ์ที่ดี เป็ นแหล่งผลิตอาหารที่สาคัญของภูมิภาคและของโลก จึงมี


โอกาสในการพัฒนาเพื่อเพิ่มรายได้ให้แก่เกษตรกร และผูเ้ กี่ยวข้องในห่วงโซ่อาหาร รวมทั้งการ
ท่องเที่ยว อย่างต่อเนื่องและยัง่ ยืน
3) อาหารเป็ นสิ นค้าจาเป็ นมีศกั ยภาพทางด้านการตลาดสู ง และจะมีความต้องการเพิม่ ขึ้นเมื่อ
เกิดภาวะวิกฤตและภัยพิบตั ิในภูมิภาคต่าง ๆ
4) ที่ต้ งั ของประเทศไทยเอื้ออานวยต่อการผลิตและการค้าด้านอาหาร
5) มีการพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรมใหม่ ๆ เกิดขึ้นในวงการเกษตรและอาหาร เป็ นโอกาส
ในการประยุกต์เพื่อเพิ่มประสิ ทธิ
2.2.4. ภัยคุกคาม
1) อาชีพเกษตรกรรมไม่เป็ นที่นิยมและจูงใจ ทาให้คนรุ่ นใหม่เข้าสู่ อาชีพนี้ลดลง และเกษตรกร
ที่มีอยูม่ ีแนวโน้มเป็ นผูส้ ู งอายุมากขึ้น นอกจากนี้เกษตรกรส่ วนใหญ่ยงั ยากจน และประสบภาวะหนี้สิน
2) มีภยั คุกคามใหม่ ๆ ที่มีผลต่อการเกษตรและอาหาร การค้า และสุ ขภาพ เช่น ภาวะโลกร้อน
ภัยพิบตั ิ และโรคอุบตั ิใหม่ของสัตว์สู่มนุษย์ รวมทั้งการก่อการร้ายทางชีวภาพโดยใช้อาหาร
3) มีคู่แข่งที่เป็ นประเทศผูส้ ่ งออกอาหารในตลาดโลกเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะประเทศที่มีตน้ ทุนการ
ผลิตรวมทั้งค่าแรงต่า
4) มีมาตรการที่เกี่ยวกับความปลอดภัยด้านอาหารเพิม่ ขึ้น และมาตรการที่ไม่ใช่ภาษี ทาให้เป็ น
อุปสรรคต่อการค้าอาหารระหว่างประเทศ
5) มีการแย่งทรัพยากรในการผลิตพืชเพื่อเป็ นพลังงาน และเป็ นอาหารสัตว์เพิ่มขึ้น ซึ่ งส่ งผล
กระทบต่อการผลิตอาหารเพื่อการบริ โภค และความมัน่ คงด้านอาหาร

2.3 กรอบยุทธศาสตร์ การจัดการด้ านอาหารของประเทศไทย


ตามที่ได้มีการตราพระราชบัญญัติคณะกรรมการอาหารแห่งชาติ พ.ศ. 2551 โดยมีผลบังคับใช้
ตั้งแต่วนั ที่ 9 กุมภาพันธ์ 2551 เพื่อให้มีคณะกรรมการอาหารแห่งชาติเป็ นองค์กรหลักในการดาเนินการ
หรื อจัดการด้านอาหารในทุกมิติให้เกิดประสิ ทธิ ภาพและประสิ ทธิ ผล สามารถประสานและบูรณา
การงบประมาณและทรัพยากรในการบริ หารจัดการด้านอาหารในทุกมิติท้ งั ภาวะปกติและภาวะฉุ กเฉิ น
โดยให้มีอานาจหน้าที่ในการเสนอนโยบายและยุทธศาสตร์ดา้ นคุณภาพอาหาร ความปลอดภัยด้าน
อาหาร ความมัน่ คง ด้านอาหาร และอาหารศึกษา รวมทั้งจัดทาแผนเผชิญเหตุและระบบเตือนภัยด้าน
อาหารต่อคณะรัฐมนตรี เพื่อพิจารณาให้ความเห็นชอบและมอบหมายหน่วยงานที่เกี่ยวข้องดาเนินการ
ตามอานาจหน้าที่ อันจะทาให้การบริ หารจัดการด้านอาหารในภาพรวมของประเทศให้มีความเป็ น
เอกภาพต่อไปนั้น
43

คณะกรรมการอาหารแห่งชาติได้มีการประชุมครั้งที่ 1/2552 เมื่อวันที่ 20 สิ งหาคม 2552 ซึ่งมี


มติเห็นชอบหลักการกรอบยุทธศาสตร์ การจัดการด้านอาหารของประเทศไทยและแต่งตั้งคณะกรรมการ
จัดทาแผนยุทธศาสตร์การจัดการด้านอาหารของประเทศไทย เพื่อศึกษาข้อมูลนโยบายและยุทธศาสตร์
ด้านอาหาร และจัดทาแผนยุทธศาสตร์ การจัดการด้านอาหารของประเทศไทยอย่างมีส่วนร่ วม
คณะกรรมการจัดทาแผนยุทธศาสตร์ฯ ได้ดาเนินการโดยพิจารณาและวิเคราะห์ขอ้ มูลสถานการณ์ดา้ น
อาหารภายในประเทศ รวมถึงนโยบายและยุทธศาสตร์ ดา้ นอาหารของหน่วยงานต่าง ๆ ภายในประเทศ
และต่างประเทศ โดยมีหลักการในการจัดทากรอบยุทธศาสตร์การจัดการด้านอาหาร ฯ คือ
1) เป็ นแผนชี้นาเพื่อให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องนาไปเป็ นแนวทางในการวางแผนปฏิบตั ิงานต่อไป
2) สร้างความมีส่วนร่ วมจากทุกภาคส่ วน
3) เป็ นแผนยุทธศาสตร์ ที่สร้างให้เกิดบูรณาการการดาเนินงาน
4) มีการวิเคราะห์จุดเสี่ ยง
5) มีหลักฐานทางวิชาการสนับสนุน
6) สร้างประโยชน์ที่ยงั่ ยืนให้กบั ประเทศไทย

จากสถานการณ์แต่ละด้านของอาหารทั้งด้านความมัน่ คงอาหาร ด้านคุณภาพและความ


ปลอดภัยอาหาร ด้านอาหารศึกษา และด้านการบริ หารจัดการ รวมทั้งการวิเคราะห์สถานการณ์แวดล้อม
ด้านอาหารของไทยทั้งในด้านจุดแข็ง จุดอ่อน โอกาส และภัยคุกคามแล้ว สามารถกาหนดประเด็น
วิสัยทัศน์ วัตถุประสงค์ ระยะเวลาดาเนินงาน ประเด็นยุทธศาสตร์ และผลที่คาดว่าจะได้รับ ดังนี้

2.3.1 วิสัยทัศน์
“ประเทศไทยผลิตอาหารที่มีคุณภาพและปลอดภัย มีความมัน่ คงด้านอาหารอย่างยัง่ ยืน เพื่อชาว
ไทยและชาวโลก”

2.3.2 วัตถุประสงค์
1) เพื่อเพิ่มประสิ ทธิ ภาพการบริ หารจัดการฐานทรัพยากรในการผลิตอาหารของประเทศให้เกิด
ประโยชน์อย่างยัง่ ยืน
2) เพื่อให้อาหารที่ผลิตได้ในทุกระดับนับตั้งแต่ในระดับครัวเรื อน ระดับชุมชน และในระดับ
อุตสาหกรรมเชิงพาณิ ชย์มีความพอเพียง มีคุณภาพ ปลอดภัยและมีคุณค่าทางโภชนาการที่ดี
3) เพื่อสร้างกระบวนการศึกษา ค้นคว้า วิจยั ที่เกี่ยวข้องกับอาหารเพื่อให้ได้องค์ความรู ้ตลอด
ห่วงโซ่อาหาร รวมถึงการนาไปเผยแพร่ เพื่อให้ผทู ้ ี่เกี่ยวข้องสามารถใช้ประโยชน์ได้อย่างมีประสิ ทธิ ภาพ
4) เพื่อพัฒนาระบบการบริ หารจัดการด้านอาหารให้มีประสิ ทธิภาพ ทั้งด้านโครงสร้างกฎหมาย
สารสนเทศและอื่น ๆ
44

5) เพื่อก่อให้เกิดความมัน่ คงด้านอาหารในระดับครัวเรื อน ระดับชุมชน และระดับชาติท้ งั ใน


ภาวะปกติและภาวะวิกฤต

2.3.3 ระยะเวลาดาเนินงาน
5 ปี (2555-2559 )

2.3.4 ประเด็นยุทธศาสตร์
เพื่อให้บรรลุวตั ถุประสงค์ดงั กล่าว จึงกาหนดประเด็นยุทธศาสตร์ การจัดการด้านอาหารของ
ประเทศไทย เป็ น 4 ยุทธศาสตร์ คือด้านความมัน่ คงอาหาร ด้านคุณภาพและความปลอดภัยอาหาร ด้าน
อาหารศึกษา และด้านการบริ หารจัดการ ดังนี้

ยุทธศาสตร์ ที่ 1 ด้ านความมั่นคงอาหาร


หลักการ : เพื่อให้ประเทศไทยมีความมัน่ คงด้านอาหารอย่างยัง่ ยืน บริ หารจัดการทรัพยากร เพื่อ
การผลิตอาหารอย่างมีประสิ ทธิ ภาพโดยการมีส่วนร่ วมของทุกภาคส่ วน
กลยุทธ์ ที่ 1 เร่ งรัดปฏิรูปการถือครองที่ดินและการคุม้ ครองพื้นที่การเกษตร
เป้าหมาย : สร้างความเป็ นธรรมในการเข้าถึงปั จจัยการผลิตแก่เกษตรกรทุกระดับและรักษา
พื้นที่ทางการเกษตรด้านอาหาร
แนวทางดาเนินงาน
1) ปรับปรุ งกฎหมายเกี่ยวกับการถือครองกรรมสิ ทธิ์ ที่ดินและการเช่าที่ดิน
2) บังคับใช้กฎหมายที่มีอยูใ่ ห้เข้มงวดขึ้น เช่น การเก็บภาษีที่ดินเพื่อการเกษตรที่ไม่ได้ใช้
ทาการเกษตร การบุกรุ กพื้นที่สงวน การครอบครองที่ดินของต่างชาติ เป็ นต้น
3) ผลักดันกฎหมายการคุม้ ครองพื้นที่ทางการเกษตรให้มีผลบังคับใช้โดยเร็ ว
4) หามาตรการไม่ให้เกษตรกรขายพื้นที่ทางเกษตรในพื้นที่ที่เหมาะสมทางการเกษตรไปเพื่อ
วัตถุประสงค์อื่น ซึ่ งอาจกาหนดเป็ นมาตรการทางกฎหมาย หรื อสร้างแรงจูงใจทางเศรษฐกิจ
กลยุทธ์ ที่ 2 จัดการทรัพยากรน้ าและดิน เพื่อการเกษตรและป่ าชุมชน
เป้าหมาย : เพิ่มประสิ ทธิ ภาพการบริ หารจัดการน้ าและดินเพื่อการเกษตรและสร้างการมีส่วน
ร่ วมในการบริ หารจัดการในระดับชุมชน
แนวทางดาเนินงาน :
1) เพิ่มประสิ ทธิ ภาพการบริ หารจัดการน้ า รวมทั้งการจัดหาแหล่งกักเก็บน้ าใหม่ เพื่อให้มี
ทรัพยากรน้ าเพียงพอกับการเกษตร โดยการลงทุนและการบริ หารจัดการน้ าให้เน้นเพื่อการเกษตรและ
อาหารเป็ นความสาคัญลาดับแรก
45

2) สนับสนุนและผลักดันให้ชุมชนมีส่วนร่ วมในการอนุรักษ์ป่าต้นน้ า ป่ าชายเลน และป่ าชุมชน


ในท้องถิ่นนั้น ๆ โดยส่ งเสริ มปราชญ์ชาวบ้านให้เป็ นผูน้ าในการดาเนินการ
3) ฟื้ นฟูและปรับปรุ งทรัพยากรดินในพื้นที่การเกษตร
กลยุทธ์ ที่ 3 สร้างความสมดุลระหว่างพืชอาหารกับพืชพลังงาน
เป้าหมาย : เพื่อให้ประเทศสามารถมีความมัน่ คงด้านอาหารและความมัน่ คงด้านพลังงานได้ใน
ระดับที่เหมาะสมและยัง่ ยืน
แนวทางดาเนินงาน :
1) กาหนดนโยบายเศรษฐกิจที่ชดั เจนเกี่ยวกับการส่ งเสริ มพลังงานทางเลือกในส่ วนของพืช
พลังงาน เพื่อมิให้เกิดปั ญหาการแย่งพื้นที่เพาะปลูกพืชอาหารจนส่ งผลกระทบด้านลบต่อความมัน่ คง
ด้านอาหารของประเทศ
2) นาเรื่ องการกาหนดเขตการผลิต (Zoning) พืชอาหารและพืชพลังงานมาใช้
3) เน้นการใช้พืชที่มีปัญหาด้านราคา หรื อพืชที่ผลิตเพื่อการส่ งออกเป็ นเป้ าหมายสาหรับการ
เป็ นพืชพลังงาน
กลยุทธ์ ที่ 4 พัฒนาประสิ ทธิภาพการผลิตอาหาร
เป้าหมาย : เพื่อเพิ่มผลผลิตให้ประชาชนมีอาหารบริ โภคที่เพียงพอ มีคุณภาพ และความ
ปลอดภัยและมีคุณค่าทางโภชนาการ
แนวทางดาเนินงาน :
1) สนับสนุนการจัดเขตการผลิต (Zoning) สิ นค้าเกษตรที่เหมาะสมเพื่อให้สามารถพัฒนา
ประสิ ทธิ ภาพการผลิตในสิ นค้าเกษตรที่เป็ นอาหารในแต่ละด้านได้อย่างมีประสิ ทธิ ภาพสู งสุ ด
2) สร้างนวัตกรรมและนาเทคโนโลยี รวมถึงปั จจัยการผลิตต่าง ๆ ในห่วงโซ่อาหารที่เหมาะสม
ในแต่ละพื้นที่มาใช้ในการเพิ่มประสิ ทธิ ภาพในการผลิต
3) สนับสนุนการรวมกลุ่มเพื่อสร้างความเข้มแข็งในการผลิต รวมทั้งนาการผลิตด้านเกษตร
ไปเชื่อมโยงกับเรื่ องอื่น ๆ เพื่อสร้างรายได้ให้ชุมชน เช่น การส่ งเสริ มการท่องเที่ยวด้านการเกษตรของ
ชุมชนผ่านวัฒนธรรมด้านการเกษตรและอาหาร
กลยุทธ์ ที่ 5 สร้างแรงจูงใจในการทาการเกษตร และเพิ่มจานวนเกษตรกรรุ่ นใหม่
เป้าหมาย : เพื่อสร้างความมัน่ คงและรายได้ในการทาอาชีพเกษตรกรรม
แนวทางดาเนินงาน :
1) ส่ งเสริ ม และสนับสนุนการเรี ยนรู้การทาเกษตร และผลิตอาหารในโรงเรี ยนและชุมชน
2) ส่ งเสริ ม และสนับสนุนยุวเกษตรกร และเกษตรกรให้มีโอกาสทางการศึกษาอย่างต่อเนื่อง
เพื่อให้สามารถประยุกต์ความรู ้ดา้ นอาหารศึกษาในการเพิ่มประสิ ทธิ ภาพของการผลิตอาหาร และ
เชื่อมโยงกับวัฒนธรรม จริ ยธรรม และการค้า
3) สนับสนุนให้เกษตรกรรายย่อย และกลุ่มเกษตรกรผลิตอาหารที่มีคุณภาพและปลอดภัย
46

ในระบบพันธะสัญญากับผูซ้ ้ื อ เช่น โรงพยาบาล โรงเรี ยน โรงแรม และภาคอุตสาหกรรม


4) บูรณาการการจัดสรรที่ดินเพื่อการเกษตร การฝึ กอบรม และการให้สินเชื่อทางการ
เกษตร และการตลาดเพื่อให้เกษตรกรมีความมัน่ คงในอาชีพ
5) ส่ งเสริ มบทบาทสถาบันการศึกษาที่เกี่ยวกับการเกษตรและอาหาร ในการเพิม่ ความรู ้
และประสิ ทธิภาพของเกษตรกร
6) พัฒนาระบบประกันรายได้ และสวัสดิการสังคมให้ครอบคลุมเกษตรกรทั้งหมด
7) ยกย่อง เชิดชูเกษตรกรดีเด่นในทุกระดับ ให้เกิดความภูมิใจในวิชาชีพ และให้มีการดูแล
เกษตรกรต่างด้าวด้วยความเป็ นธรรม
กลยุทธ์ ที่ 6 ส่ งเสริ มการเข้าถึงอาหารในระดับชุมชนและครัวเรื อน
เป้าหมาย : ประชาชนในระดับชุมชนสามารถเข้าถึงอาหาร สร้างความมัน่ คงด้านอาหารให้
เกิดขึ้นในระดับชุมชน
แนวทางดาเนินงาน :
1) สนับสนุนให้ประชาชนในระดับชุมชนทาการเกษตรของท้องถิ่น เช่น ปลูกพืชประจาถิ่น
รวมทั้งพืชอาหารที่มีคุณค่าโภชนาการสู ง เลี้ยงสัตว์พ้นื เมือง ประมงหมู่บา้ น เพื่อเป็ นแหล่งอาหารของ
ชุมชน (Food bank) ลดการพึ่งพาอาหารจากภายนอกและมีอาหารสารองเมื่อเกิดภาวะวิกฤต
2) ส่ งเสริ มการทาการเกษตรในปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง เพื่อให้ครัวเรื อนสามารถพึ่งพา
ตนเองได้ และเป็ นฐานในการพัฒนาเศรษฐกิจ และสังคมอย่างยัง่ ยืน
3) สร้างองค์ความรู้ และเสริ มสร้างให้ประชาชน และชุมชนมีความรู้และพฤติกรรมการบริ โภค
อาหารเพื่อมีโภชนาการ และสุ ขภาวะที่ดีท้ งั ประชาชนในชนบทและในเมือง
4) สนับสนุนให้หน่วยงานของรัฐหรื อของท้องถิ่นในพื้นที่มีบทบาทในการสนับสนุนหรื อ
ดาเนินการให้เกิดความมัน่ คงด้านอาหารในมิติต่าง ๆ รวมถึงการดูแลโภชนาการของประชาชนวัยต่าง ๆ
5) กาหนดมาตรการในการสร้างเสถียรภาพทางด้านรายได้ของเกษตรกรจากการผลิตอาหาร
และอาชีพที่เกี่ยวกับการเกษตร รวมทั้งการแก้ไขปั ญหาหนี้สิน เพื่อให้เกษตรกรเข้าถึงอาหารอย่าง
เพียงพอและเหมาะสม
กลยุทธ์ ที่ 7 ปรับปรุ งและพัฒนาระบบโลจิสติกส์ดา้ นสิ นค้าเกษตรและอาหาร
เป้าหมาย : เพื่อสนับสนุนการกระจายอาหารอย่างมีประสิ ทธิ ภาพ และรักษาคุณภาพ และความ
ปลอดภัยอาหาร
แนวทางดาเนินงาน :
1) เร่ งรัดการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานในการรวบรวมและการกระจายสิ นค้าเกษตรและอาหาร
ให้เชื่อมโยงกับการพัฒนาการขนส่ งทั้งทางบก ทางน้ า ระบบราง และทางอากาศ
47

2) เชื่อมโยงอุปสงค์และอุปทาน โดยการวางแผนการผลิต การตลาดให้ตรงความต้องการของผู้


ซื้ อทั้งระดับชุมชน ระดับชาติ และนานาชาติ เช่น ระบบสหกรณ์ ระบบการซื้ อขายล่วงหน้า ตลาดกลาง
สิ นค้าเกษตร
3) ส่ งเสริ มและสนับสนุนการวิจยั พัฒนาเทคโนโลยี และนวัตกรรมในการเพิม่ ประสิ ทธิ ภาพ
ของระบบโลจิสติกส์ท้ งั ระบบ รวมถึงอาหารและผลิตภัณฑ์ ตูข้ นส่ ง ระบบขนส่ ง และระบบเทคโนโลยี
สารสนเทศเพื่อการค้าและการตลาด
4) ส่ งเสริ มให้มีการพัฒนาระบบการตลาดชุมชนที่มีประสิ ทธิ ภาพ และเชื่อมโยงกับตลาดชุมชน
อื่น เพื่อการรวมพลัง และเสริ มการค้าด้านอาหาร และการท่องเที่ยวชุมชน
กลยุทธ์ ที่ 8 สร้างความร่ วมมือระหว่างภาครัฐ เอกชน และภาคประชาชนในการรักษาความ
มัน่ คงด้านอาหาร
เป้าหมาย : สร้างเครื อข่ายความร่ วมมือในการดาเนินงานในทุกระดับเพื่อผลักดันและสร้าง
บทบาทการมีส่วนร่ วมในการดาเนินงาน
แนวทางดาเนินงาน :
1) ใช้กฎหมายต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง เช่น พระราชบัญญัติสภาองค์กรชุมชน พระราชบัญญัติ
สภาเกษตรแห่งชาติ ในการผลักดันความร่ วมมือ
2) ส่ งเสริ มให้ภาคเอกชนดาเนินการด้านความรับผิดชอบต่อสังคมในการลักษณะการเข้าไป
ร่ วมมือกับชุมชนในการพัฒนาการผลิตเพื่อสร้างความมัน่ คงด้านอาหาร
3) ผลักดันให้องค์กรปกครองส่ วนท้องถิ่นมีบทบาทและจัดสรรงบประมาณในเรื่ องการ
พัฒนาการเกษตร และการแปรรู ปผลิตภัณฑ์มากขึ้น
4) แสวงหาความร่ วมมือกับประเทศเพื่อนบ้านในการผลิตอาหาร และอาหารสัตว์ที่ขาดแคลน
กลยุทธ์ ที่ 9 วิจยั และพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรมตลอดห่วงโซ่อาหาร
เป้าหมาย : เพิม่ ประสิ ทธิ ภาพการวิจยั และพัฒนาเพื่อเพิม่ ประสิ ทธิ ภาพการผลิตตลอดห่วงโซ่
อาหาร
แนวทางดาเนินงาน :
1) ส่ งเสริ มงานวิจยั ในห่วงโซ่อาหาร เช่น การจัดการเรื่ องดินและน้ าเพื่อการผลิตอาหาร วิจยั
ปรับปรุ งพันธุ์ โภชนาการ และการควบคุมป้ องกันโรคของพืช สัตว์และประมง ตลอดจนการปฏิบตั ิการ
เกษตรที่ดีในการผลิตอาหารชนิดต่าง ๆ รวมทั้งการบริ โภคอาหารเพื่อโภชนาการ และสุ ขภาพ
2) สนับสนุนงานวิจยั เพื่อพัฒนาศักยภาพการผลิตทั้งในระดับชุมชนและระดับเชิงพาณิ ชย์
3) ส่ งเสริ มและสนับสนุนให้เอกชนลงทุนงานวิจยั หรื อร่ วมทุนวิจยั เชิงพาณิ ชย์เพื่อเพิม่
ประสิ ทธิ ภาพการผลิตอาหารเพิ่มขึ้น
4) วิจยั นวัตกรรมและเทคโนโลยีที่เหมาะสมกับเกษตรกรรายย่อยและเร่ งรัดการถ่ายทอด
เทคโนโลยีให้เกษตรกรรายย่อย
48

5) ศึกษาพันธุกรรมพืช สัตว์ ประมงเพื่อการอนุรักษ์และใช้ประโยชน์พนั ธุกรรมและจีโนม


ในการเพิ่มประสิ ทธิ ภาพการผลิตอาหาร
กลยุทธ์ ที่ 10 จัดระบบเพื่อรองรับความมัน่ คงด้านอาหารในภาวะวิกฤติ
เป้าหมาย : เพื่อให้มีอาหารเพียงพอรองรับการเกิดภาวะวิกฤติได้ในระยะเวลาที่เหมาะสม
แนวทางดาเนินงาน :
1) ใช้พระราชบัญญัติคณะกรรมการอาหารแห่งชาติในการบริ หารจัดการความมัน่ คงด้านอาหาร
ในภาวะวิกฤติ โดยกาหนดแนวทางและกลไกในการดาเนินงานที่ชดั เจน เพื่อให้นาไปบังคับใช้ได้อย่าง
เป็ นรู ปธรรม
2) วางแผนป้ องกันการขาดแคลนวัตถุดิบอาหารและอาหารสัตว์ที่ตอ้ งพึ่งพาการนาเข้าสู งอย่าง
เหมาะสม เช่น การส่ งเสริ มการทดแทนการนาเข้า การกระจายแหล่งนาเข้า การหาสิ นค้าทางเลือก
ทดแทน การวางแผนปรับตัวด้านการผลิตและการค้าให้เกิดความสมดุล การสารองสต๊อค เป็ นต้น
3) ผลักดันและขยายความร่ วมมือเครื อข่ายความมัน่ คงด้านอาหารในระดับภูมิภาคโดยเฉพาะ
อย่างยิง่ ประเทศเพื่อนบ้านเพื่อใช้ประโยชน์ยามขาดแคลนในภาวะวิกฤติ เช่น สารองข้าวในภูมิภาค
อาเซียน

ยุทธศาสตร์ ที่ 2 ด้ านคุณภาพและความปลอดภัยอาหาร


หลักการ : ดูแลคุณภาพและความปลอดภัยอาหารในห่วงโซ่อาหาร เพื่อการคุม้ ครองผูบ้ ริ โภค
และการค้าทั้งในและต่างประเทศ ซึ่ งเป็ นพื้นฐานของการแก้ไขปั ญหาความยากจนของเกษตรกรและผูท้ ี่
เกี่ยวข้อง
กลยุทธ์ ที่ 1 สร้างมาตรฐานด้านความปลอดภัยอาหารให้เป็ นมาตรฐานเดียวและส่ งเสริ มการ
บังคับใช้
เป้าหมาย : เพื่อสร้างความเชื่อมัน่ ในความปลอดภัยอาหาร
แนวทางดาเนินงาน :
1) จัดทามาตรฐานของไทยให้สอดคล้องกับมาตรฐานสากลและให้ครอบคลุมห่วงโซ่อาหาร
2) สนับสนุนให้ผทู ้ ี่เกี่ยวข้องสามารถปฏิบตั ิตามมาตรฐานที่กาหนดได้ เช่น จัดทาคู่มือ ข้อ
กาหนดหรื อแนวทางปฏิบตั ิที่ชดั เจน และส่ งเสริ มให้ผผู ้ ลิตในทุกระดับเข้าสู่ ระบบมาตรฐาน ทั้งโดย
สมัครใจและการบังคับใช้ตามกฎหมาย
3) ประสานการดาเนินงานเรื่ องการบังคับใช้กฎหมาย โดยใช้กฎหมายที่แต่ละหน่วยงาน
รักษาการอยู่ โดยประสานการดาเนินงานให้เกิดประสิ ทธิ ภาพสู งสุ ด
กลยุทธ์ ที่ 2 พัฒนาการผลิตสิ นค้าเกษตรขั้นต้น (Primary Product) ให้มีคุณภาพและความ
ปลอดภัยตามมาตรฐานและคุณค่าทางโภชนาการเพิ่มขึ้น
49

เป้าหมาย : เพิ่มคุณภาพและยกระดับมาตรฐานสิ นค้าเกษตรทั้งเพื่อการบริ โภคโดยตรงและเพื่อ


เป็ นวัตถุดิบป้ อนโรงงานอุตสาหกรรม
แนวทางดาเนินงาน :
1) วิจยั พัฒนาพันธุ์ และการควบคุมป้ องกันโรคในพืช สัตว์ และประมง รวมถึงคุณภาพดิน น้ า
ปุ๋ ย เพื่อพัฒนาสิ นค้าเกษตรคุณภาพรายสิ นค้าทั้งด้านคุณภาพ ความปลอดภัยและคุณค่าทางโภชนาการ
เพิ่มขึ้น
2) สนับสนุนการปฏิบตั ิทางการเกษตรที่ดี (Good Agricultural Practices: GAP) ขยายจานวน
ฟาร์มมาตรฐาน GAP ที่ได้รับการรับรองให้มากขึ้นและเร็ วขึ้น โดยเน้นการรับรองแบบกลุ่มมากขึ้น
และสนับสนุนการเกษตรที่เกื้อหนุนต่อสุ ขภาพ เช่นเกษตรชีวภาพ เกษตรอินทรี ย ์ และระบบการเกษตรที่
มีการจัดการศัตรู พืชโดยวิธีผสมผสาน (Integrated Pest Management System) เป็ นต้น
3) สร้างต้นแบบสาหรับการผลิตที่ได้มาตรฐานในระดับฟาร์ มเพื่อให้เกิดการเรี ยนรู ้ แลกเปลี่ยน
และถ่ายทอดการปฏิบตั ิระหว่างเกษตรกร
4) สร้างแรงจูงใจด้านต่าง ๆ เช่น ด้านการตลาด ด้านความรับผิดชอบต่อสังคมให้เกษตรกรเข้าสู่
ระบบมาตรฐานมากขึ้น เน้นแรงจูงใจทางเศรษฐกิจ
5) รวมกลุ่มเกษตรกรผูผ้ ลิตสิ นค้าคุณภาพในพื้นที่ใกล้เคียงกันเพื่อให้สามารถดาเนินการ
ส่ งเสริ มในลักษณะเขตพื้นที่ได้
กลยุทธ์ ที่ 3 เสริ มสร้างความเข้มแข็งภาคการผลิตในระดับชุมชน (Community based) เพื่อ
ป้ องกันการสู ญเสี ยและเพิ่มมูลค่าเบื้องต้นให้กบั ผลผลิต
เป้าหมาย : เพื่อให้ชุมชนมีบทบาทและเป็ นรากฐานของการผลิตอาหารที่มีคุณภาพและ
ปลอดภัย
แนวทางดาเนินงาน :
1) ศึกษา วิจยั และพัฒนาเพื่อสร้างองค์ความรู้ นวัตกรรม และเทคโนโลยีที่เหมาะสม โดย
คานึงถึงภูมิปัญญาท้องถิ่น ทั้งการดูแลก่อน ระหว่าง และหลังการเก็บเกี่ยว เน้นการดูแลหลังการเก็บ
เกี่ยว การยืดอายุเก็บรักษา และการสร้างมูลค่าเพิ่มในระดับครัวเรื อนและชุมชน
2) สนับสนุนการรวมกลุ่ม สร้างช่องทางในการถ่ายทอดองค์ความรู ้สู่ชุมชนเพื่อนาไปสู่ การ
ปฏิบตั ิที่มีประสิ ทธิภาพ
3) พัฒนาการถนอมอาหารและแปรรู ปในระดับครัวเรื อนและชุมชนเพื่อป้ องกันการสู ญเสี ย
และเพิ่มมูลค่าเบื้องต้น เช่น การแปรรู ปผัก ผลไม้
4) ส่ งเสริ มการใช้วฒั นธรรมท้องถิ่นด้านอาหารมาสร้างมูลค่าเพิ่ม เป็ นจุดเด่น และจุดขาย
ของผลิตภัณฑ์อาหาร
5) สนับสนุนและยกระดับแหล่งหรื อสถานีรวบรวม และคัดบรรจุผลผลิตในระดับพื้นที่และ
ระดับภูมิภาคเพื่อให้มีบทบาทในการปรับปรุ งและตรวจสอบคุณภาพผลผลิต
50

6) ส่ งเสริ มการนาของเหลือใช้จากการเกษตรไปใช้ประโยชน์และรักษาคุณภาพสิ่ งแวดล้อม


ในท้องถิ่น เช่น การทาปุ๋ ย และพลังงานชีวภาพ เป็ นต้น
กลยุทธ์ ที่ 4 เสริ มสร้างความเข้มแข็งภาคการผลิตในระดับอุตสาหกรรม (Industrial based) ทุก
ระดับ
เป้าหมาย : เพิ่มขีดความสามารถในระดับอุตสาหกรรม เพื่อให้อาหารมีคุณภาพความปลอดภัย
แนวทางดาเนินงาน :
1) ส่ งเสริ มการผลิตให้อาหารมีคุณภาพตามเกณฑ์มาตรฐานของประเทศและสากล
2) ส่ งเสริ มการใช้ระบบประกันคุณภาพการผลิตระดับอุตสาหกรรม (เช่น GMP HACCP
เป็ นต้น)
3) วิจยั ในการสร้างมูลค่าเพิ่ม (Value added) ของอาหารทุกประเภท ทั้งการเพิ่มคุณภาพ
การยืดอายุเก็บรักษา การพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ให้มีความหลากหลาย บรรจุภณั ฑ์ และส่ งเสริ มการนา
ผลงานไปใช้เชิงพาณิ ชย์ รวมทั้งสนับสนุนให้เอกชนลงทุนในงานวิจยั และพัฒนาด้านอาหารในด้านต่าง
ๆ มากขึ้น ทั้งการลงทุนวิจยั เองหรื อการร่ วมทุนวิจยั กับภาครัฐ
4) สร้างแรงจูงใจเพื่อการเสริ มสร้างความเข้มแข็งในการยกระดับมาตรฐานการผลิตในทุกระดับ
โดยเฉพาะอย่างยิง่ มาตรการในการส่ งเสริ มและสนับสนุนผูผ้ ลิตและผูป้ ระกอบการขนาดกลางและ
ขนาดย่อมเข้าสู่ ระบบมาตรฐาน ทั้งมาตรการด้านการเงิน มาตรการด้านภาษี และอื่น ๆ
กลยุทธ์ ที่ 5 ส่ งเสริ มการค้าและการตลาดผลิตภัณฑ์มาตรฐานทั้งที่มาจากการผลิตในระดับ
ชุมชนและอุตสาหกรรม
เป้าหมาย : ผูบ้ ริ โภคทั้งในและต่างประเทศมีการยอมรับและเชื่อมัน่ ในอาหารไทย ทั้งด้าน
คุณภาพความปลอดภัย และคุณค่าทางโภชนาการ ลดอุปสรรคทางการค้าจนทาให้มีการขยายตลาดได้
มากขึ้น
แนวทางดาเนินงาน :
1) เพิ่มความเข้าใจและมัน่ ใจให้กบั ผูบ้ ริ โภคในเรื่ องมาตรฐาน กระบวนการผลิต เพื่อการเลือก
ซื้ อ เลือกบริ โภคอาหารที่ผลิตในประเทศไทย โดยการรณรงค์เผยแพร่ ขอ้ มูลที่เกี่ยวกับอาหารทั้งในและ
นอกประเทศ ผ่านสื่ อทุกรู ปแบบ
2) ส่ งเสริ มให้ผบู ้ ริ โภคตระหนักถึงความสาคัญของการปกป้ องสิ ทธิ ของตนเองและส่ งเสริ ม
ความเข้มแข็งขององค์กรผูบ้ ริ โภค
3) สร้างเครื อข่ายผูผ้ ลิตสิ นค้าคุณภาพเชื่อมโยงกับโรงงาน ตลาด และแหล่งรับซื้ อต่าง ๆ
เพื่อสร้างความแน่นอนด้านตลาดให้กบั ผูผ้ ลิตและสร้างความแน่นอนด้านแหล่งและ
ปริ มาณวัตถุดิบให้กบั แหล่งรับซื้ อ
4) ส่ งเสริ มการตลาดสิ นค้ามาตรฐาน โดยจัดนิทรรศการ การเดินสาย (Road show)
เจรจาจับคู่ธุรกิจ ตลอดจนการจัดมหกรรมด้านอาหารตามฤดูกาล ตามภูมิภาคต่าง ๆ
51

ทั้งในและต่างประเทศ เพื่อเผยแพร่ และประชาสัมพันธ์คุณภาพ ความปลอดภัยความ


หลากหลาย รสชาติ คุณค่าทางโภชนาการ ตลอดจนวัฒนธรรมที่เกี่ยวข้องกับอาหาร
ของไทยในมิติต่าง ๆ
5) ศึกษาแนวโน้มและความต้องการของตลาด ตลอดจนพฤติกรรมของผูบ้ ริ โภค และ
กฎเกณฑ์กติกาทางการค้า
6) ส่ งเสริ มให้ผผู ้ ลิตเน้นภาพลักษณ์และจุดขายด้านคุณภาพ ความปลอดภัยของสิ นค้า
อาหารไทยมากกว่าจุดขายด้านราคา เช่น การใช้ตราสิ นค้า สิ่ งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์
เป็ นต้น
7) ส่ งเสริ มให้ผบู ้ ริ โภคเลือกซื้ อสิ นค้าที่มีตราสัญลักษณ์การรับรองมาตรฐานต่าง ๆ
กลยุทธ์ ที่ 6 เสริ มสร้างความเข้มแข็งในการควบคุมคุณภาพและความปลอดภัยของอาหารของ
ประเทศ
เป้าหมาย : เพื่อคุม้ ครองผูบ้ ริ โภคและสร้างความเป็ นธรรมตลอดจนอานวยความสะดวกใน
การค้า
แนวทางดาเนินงาน :
1) เสริ มสร้างความเข้มแข็งระบบการตรวจสอบรับรองและการเฝ้ าระวังตามแนวทางสากล
เพื่อการควบคุมดูแลคุณภาพมาตรฐานสิ นค้าทั้งในประเทศและการส่ งออก
2) สนับสนุนการขยายบทบาทหน่วยตรวจสอบรับรองภาคเอกชนที่ได้มาตรฐาน รวมทั้ง
สนับสนุนผูป้ ระกอบการให้จดั ทาระบบการเฝ้ าระวังความปลอดภัยสิ นค้าที่ตนผลิตนาเข้า หรื อส่ งออก
ด้วย ตลอดจนสนับสนุนให้ชุมชนที่มีความเข้มแข็งหรื อกลุ่มผูบ้ ริ โภคสร้างระบบเฝ้ าระวังสิ นค้าอาหาร
3) เพิ่มขีดความสามารถของห้องปฏิบตั ิการตรวจสอบทั้งภาครัฐและเอกชน โดยขยายบทบาท
ห้องปฏิบตั ิการภาคเอกชนสาหรับการตรวจสอบเชิงพาณิ ชย์
4) นาระบบการตามสอบหรื อการตรวจสอบย้อนกลับมาใช้เพื่อเป็ นเครื่ องมือในการติดตาม
สาเหตุและแก้ไขปั ญหาความปลอดภัยด้านอาหารได้อย่างรวดเร็ ว
5) เพิ่มขีดความสามารถของหน่วยงานประเมินความเสี่ ยงด้านอาหาร เพื่อให้ได้มาซึ่งหลัก
ฐานทางวิทยาศาสตร์ สาหรับเป็ นเครื่ องมือในการต่อรอง และลดข้อโต้แย้งในการค้า
6) ปรับปรุ งกฎระเบียบหรื อข้อกาหนดเพื่อการปฏิบตั ิเกี่ยวกับอาหารนาเข้าโดยให้มีความ
สมดุลระหว่างการคุม้ ครองผูบ้ ริ โภคและการอานวยความสะดวกทางการค้าตลอดจนสอดคล้องกับ
พันธกรณี ขององค์การการค้าโลก
7) บูรณาการการตรวจสอบคุณภาพและความปลอดภัยของสิ นค้าเกษตรและอาหารนาเข้า
ของหน่วยงานต่าง ๆ โดยเน้นการประสานการบังคับใช้ตามกฎหมายต่าง ๆ ที่มีอยูใ่ ห้เกิดประโยชน์
สู งสุ ด
52

8) จัดทาความเท่าเทียมกันในการตรวจสอบรับรองสิ นค้าเกษตรและอาหารกับหน่วยงาน
ระหว่างประเทศและประเทศคู่คา้ สาคัญเพื่อสร้างการยอมรับระบบตรวจสอบรับรองของไทยและอานวย
ความสะดวกด้านการค้า

ยุทธศาสตร์ ที่ 3 ด้ านอาหารศึกษา


หลักการ : เน้นกระบวนการส่ งเสริ มพัฒนา และวิจยั เพื่อให้เกิดความรู ้ ความตระหนักในการใช้
ทรัพยากรเพื่อผลิต และกระจายอาหารในห่วงโซ่อาหาร ตลอดจนพฤติกรรมที่พึง
ประสงค์ในการบริ โภคอาหาร
กลยุทธ์ ที่ 1 ส่ งเสริ มให้เกิดความร่ วมมือและบูรณาการของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทุกภาคส่ วนใน
เรื่ องอาหารศึกษา
เป้าหมาย : เกิดการบูรณาการการทางาน สามารถใช้ทรัพยากรที่มีจากัดให้มีประสิ ทธิ ภาพ
แนวทางดาเนินงาน :
1) บูรณาการภาครัฐ และเอกชนในเรื่ องอาหารศึกษาทั้งเรื่ องของนโยบาย การใช้ทรัพยากร
ทั้งบุคลากร สื่ อ และงบประมาณ ตลอดจนการดาเนินงานรวมทั้งเรื่ องการให้ทุนและ
การปฏิบตั ิการในการวิจยั
2) ส่ งเสริ มให้องค์กรปกครองส่ วนท้องถิ่นและหน่วยงานในพื้นที่มีบทบาทด้านอาหารศึกษา
ในระดับพื้นที่
3) ส่ งเสริ มบทบาทของภาคเอกชนในการเข้ามาสนับสนุนด้านอาหารศึกษา
กลยุทธ์ ที่ 2 สนับสนุนให้มีการวิจยั ที่สามารถนาไปประยุกต์ใช้ดา้ นอาหารได้
เป้าหมาย : เกิดการบริ หารจัดการงานวิจยั ให้ที่มีประสิ ทธิ ภาพ ใช้ทรัพยากรที่มีอยูใ่ ห้เกิด
ประโยชน์สูงสุ ด
แนวทางดาเนินงาน :
1) มุ่งเน้นงานวิจยั ที่ใช้ศาสตร์ ในหลายสาขาเพื่อร่ วมแก้ไขปั ญหาเดียวกัน สร้างความร่ วมมือใน
การร่ วมวิจยั หลายหน่วยงานและผูใ้ ช้งานวิจยั มีส่วนร่ วมในการงานวิจยั
2) สนับสนุนให้มีการศึกษาเรื่ องอาหารเพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงด้านเทคโนโลยี
การเปลี่ยนแปลงของสถานการณ์ของโลกในด้านต่าง ๆ เช่น การเปลี่ยนแปลงสภาพ
ภูมิอากาศ การค้าสากลรวมทั้งการรวมกลุ่มเศรษฐกิจต่าง ๆ*
3) สนับสนุนให้มีการใช้องค์ความรู ้เดิมที่มีอยูร่ วมทั้งภูมิปัญญาท้องถิ่น และให้มีการศึกษา
เพื่อพัฒนานวัตกรรม และสร้างองค์ความรู ้ใหม่ ๆ
กลยุทธ์ ที่ 3 ให้มีการจัดการองค์ความรู ้ในเรื่ องอาหารศึกษาและเผยแพร่ ความรู ้ทุกรู ปแบบอย่าง
ต่อเนื่อง
53

เป้าหมาย : มีการประมวล วิเคราะห์ สังเคราะห์และเผยแพร่ ความรู ้เพื่อนาไปใช้พฒั นาด้าน


อาหารในมิติต่าง ๆ
แนวทางดาเนินงาน :
1) ให้มีการประมวลความรู ้และการปฏิบตั ิดา้ นอาหารศึกษาจากงานวิจยั ทั้งในและต่างประเทศ
เพื่อง่ายต่อการค้นหาและเผยแพร่
2) ส่ งเสริ มให้มีการนาองค์ความรู ้ดา้ นต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับอาหารในห่วงโซ่ ไปใช้ให้เกิดผล
สัมฤทธิ์ ในเชิงประจักษ์
3) ส่ งเสริ มให้ระบบการศึกษามีการดาเนินงานหรื อกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับอาหารศึกษาและ
สนับสนุนการดาเนินงานในห่วงโซ่อาหาร
กลยุทธ์ ที่ 4 ส่ งเสริ มให้เกษตรกรและชุมชนมีความรู ้ดา้ นอาหารศึกษาอย่างเหมาะสม
เป้าหมาย : เกษตรกรและชุมชนสามารถพัฒนาและใช้นวัตกรรมและเทคโนโลยีที่เกี่ยวกับ
อาหารเพื่อเพิ่มประสิ ทธิ ภาพและความยัง่ ยืน
แนวทางดาเนินงาน :
1) ส่ งเสริ มให้เกษตรกรเป็ นผูม้ ีความรู ้และทักษะในมิติต่าง ๆ ของอาหารศึกษา สามารถ
ผสมผสาน ภูมิปัญญาท้องถิ่นและเทคโนโลยี หรื อองค์ความรู้ปัจจุบนั
2) สนับสนุนกลไกการรวมกลุ่มของเกษตรกรในชุมชน เพื่อการเรี ยนรู้และพัฒนางานด้าน
อาหารศึกษา และการประยุกต์ใช้
3) สนับสนุนให้มีการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในชุมชน เพื่อนาความรู ้ดา้ นอาหารศึกษาไปสู่
การปฏิบตั ิ
กลยุทธ์ ที่ 5 ส่ งเสริ มพฤติกรรมการบริ โภคที่เหมาะสมของบุคคลและชุมชน
เป้าหมาย : บุคคลมีความรู้ ความเข้าใจในการเป็ นผูผ้ ลิตอาหารที่มีคุณภาพ ปลอดภัย และเป็ น
ผูเ้ ลือกซื้ อ เลือกบริ โภคอาหารที่เหมาะสมตามวัยและสภาวะต่าง ๆ และชุมชน มีภาวะแวดล้อมที่เกื้อ
หนุนการบริ โภคอาหารที่ดี
แนวทางดาเนินงาน :
1) ส่ งเสริ มบทบาทของบุคลากรในท้องถิ่น ในการพัฒนาพฤติกรรมการบริ โภคที่เหมาะสม
ของประชาชน เช่น ผูน้ าชุมชน ปราชญ์ชาวบ้าน เกษตรกรดีเด่น อาสาสมัครสาธารณสุ ขประจาหมู่บา้ น
เป็ นต้น
2) ส่ งเสริ มให้มีกิจกรรม โครงการ ในการแก้ไขปั ญหาด้านพฤติกรรมการบริ โภคที่เหมาะสม
ทั้งในเมืองและในท้องถิ่น เน้นการสร้างบทบาทของโรงเรี ยนและชุมชน
3) เพิ่มช่องทางและประสิ ทธิ ภาพการสื่ อสารและการศึกษาเพื่อส่ งเสริ มให้ผบู ้ ริ โภคมีจิตสานึก
และพฤติกรรมการบริ โภคที่ให้ความสาคัญกับคุณภาพชีวติ และการหาข้อมูลความรู ้เพื่อการบริ โภคที่
เหมาะสมกับภาวะสุ ขภาพของตน
54

4) มีการพัฒนาเครื่ องชี้วดั พฤติกรรมการบริ โภคที่เหมาะสม


5) ส่ งเสริ มสนับสนุนให้มีการประเมินภาวะโภชนาการ อันเป็ นผลของพฤติกรรมการบริ โภค
และพฤติกรรมสุ ขภาพที่ไม่เหมาะสม เพื่อแก้ไขภาวะโภชนาการที่ไม่ปกติ

ยุทธศาสตร์ ที่ 4 ด้ านการบริหารจัดการ


หลักการ : พัฒนาการจัดการด้านอาหารของประเทศตลอดทั้งห่วงโซ่อาหารอย่างเป็ นระบบ ให้
มีความเหมาะสม สร้างความเข้มแข็งของการดาเนินงานทุกภาคส่ วน ให้สามารถรองรับการเปลี่ยนแปลง
ของกระแสโลกาภิวตั น์ รองรับภัยคุกคามต่าง ๆ ได้อย่างมีประสิ ทธิ ภาพ ประสิ ทธิผล และสอดคล้องกับ
กติกาการค้าสากล
กลยุทธ์ ที่ 1 ปรับปรุ งและเสริ มความเข้มแข็งโครงสร้างองค์กรในห่วงโซ่
เป้าหมาย : เกิดการมีส่วนร่ วม ประสานงานและบูรณาการการดาเนินงานด้านอาหารทุกมิติ
ตลอดห่วงโซ่ จากภาคส่ วนทุกระดับ
แนวทางดาเนินงาน :
1) ทบทวนภารกิจของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อกาหนดบทบาทที่ชดั เจน ลดช่องว่างหรื อความ
ซ้ าซ้อนในการดาเนินงาน และศึกษาความเป็ นไปได้ของการจัดตั้งองค์กรถาวรในการขับเคลื่อน
ยุทธศาสตร์ การจัดการด้านอาหารของประเทศอย่างต่อเนื่อง
2) สร้างกลไกเชื่อมโยงระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในทุกภาคส่ วน
3) สนับสนุนและเร่ งรัดให้เกิดการกระจายอานาจ มอบหมายอานาจ และผสมผสานการทางาน
เพื่อให้เกิดความครอบคลุมในการคุม้ ครองผูบ้ ริ โภค ลดช่องว่างและความซ้ าซ้อนในการจัดการด้าน
อาหารของประเทศ
4) วางแผนด้านบุคลากรหน่วยงานภาครัฐและให้เหมาะสมกับภารกิจทั้งจานวน และการพัฒนา
ขีดความสามารถ รวมทั้งการจัดสรรงบประมาณ ทั้งนี้ให้คานึงถึงการปรับเปลี่ยนภารกิจรวม ทั้งให้
สอดคล้องกับการถ่ายโอนภารกิจด้วย
5) สร้างระบบการติดตามประเมินผลที่มีประสิ ทธิ ภาพรวมทั้งตัวชี้วดั เพื่อพัฒนาและปรับปรุ ง
นโยบายและแผนดาเนินงานให้มีความต่อเนื่องและเหมาะสม
กลยุทธ์ ที่ 2 พัฒนาและปรับปรุ งกฎหมายในห่วงโซ่
เป้าหมาย : พัฒนาและปรับปรุ งกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับอาหารให้มีความสมบูรณ์ ครอบคลุม
และทันสมัย สอดคล้องกับสากล ทาให้การดาเนินงานในทุกมิติบรรลุผลได้อย่างเหมาะสม ทันการณ์
ภายใต้พลวัตรที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ ว
แนวทางดาเนินงาน :
1) พัฒนาและปรับปรุ งกฎหมาย และกฎระเบียบที่เกี่ยวข้องกับอาหารของหน่วยงานต่าง ๆ
55

เพื่อให้กฎหมายมีความสมบูรณ์ ครอบคลุม มีความทันสมัย สอดคล้องกับสากลและเหมาะสมกับการ


ปฏิบตั ิ โดยเน้นการมีส่วนร่ วมและเป็ นที่ยอมรับของทุกภาคส่ วนที่เกี่ยวข้อง เช่น ร่ างพระราชบัญญัติการ
คุม้ ครองพื้นที่เกษตรกรรม พ.ศ. …..
2) ติดตาม ประเมินปัญหาและอุปสรรคจากการใช้กฎหมาย เพื่อปรับปรุ งให้เหมาะสมกับ
สถานการณ์
3) ส่ งเสริ มการบังคับใช้กฎหมาย เพื่อให้เกิดการบูรณาการการใช้กฎหมายที่มีอยูใ่ นหน่วยงาน
ต่าง ๆ เพื่อเพิ่มประสิ ทธิ ภาพการบังคับใช้กฎหมาย
กลยุทธ์ ที่ 3 การพัฒนาฐานข้อมูลและการจัดการ
เป้าหมาย : เกิดระบบการประสานงานและเชื่อมโยงเครื อข่ายข้อมูลด้านอาหารของประเทศใน
ทุกมิติ ทาให้หน่วยงานและภาคส่ วนต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องสามารถเข้าถึงและนาข้อมูลไปใช้
ประโยชน์ได้อย่างถูกต้องและทันการณ์
แนวทางดาเนินงาน :
1) กาหนดทิศทาง และสนับสนุนให้เกิดการประสาน เชื่อมโยงและใช้ประโยชน์ขอ้ มูลในการ
แก้ไขปั ญหาด้านอาหารของประเทศ
2) จัดระบบการจัดการข้อมูลสารสนเทศด้านอาหาร สร้างเครื อข่ายเชื่อมโยงข้อมูลที่มีอยู่
เดิมจากหน่วยงานต่าง ๆ ทัว่ ประเทศ ให้มีความทันสมัย หน่วยงานที่เกี่ยวข้องสามารถเข้าถึงข้อมูล และ
สะดวกต่อการนาไปใช้
3) พัฒนาและนาไปใช้ประโยชน์ระบบการเตือนภัยด้านอาหารในมิติต่าง ๆ ที่มีอยูข่ อง
หน่วยงานต่าง ๆ เพื่อให้เกิดการเตือนภัยที่มีประสิ ทธิ ภาพแก่ผเู ้ กี่ยวข้อง
4) ติดตามการวิเคราะห์ และสังเคราะห์ขอ้ มูลสถานการณ์ดา้ นอาหารของประเทศในทุกมิติเพื่อ
นาไปใช้ในการกาหนดนโยบายและพัฒนาปรับปรุ งระบบงาน

2.3.4 ผลทีค่ าดว่าจะได้ รับ


1) ประเทศไทยมีฐานทรัพยากรในการผลิตอาหารที่สมบูรณ์และยัง่ ยืน
2) ชุมชนเกษตรกรมีการผลิตอาหารที่เข้มแข็ง มีระบบเศรษฐกิจและการจัดการอาหารที่เป็ น
ธรรมสร้างรายได้ให้แก่เศรษฐกิจของประเทศและท้องถิ่น
3) ผูบ้ ริ โภคเข้าถึงอาหารที่มีคุณภาพ และปลอดภัย มีคุณค่าทางโภชนาการ ทั้งอาหารที่ผลิตใน
ประเทศ และอาหารนาเข้า
4) มีกลไกและระบบการจัดการด้านอาหารที่มีประสิ ทธิภาพประสิ ทธิผล สามารถตอบสนองได้
ทันต่อสถานการณ์ต่าง ๆ ทั้งภาวะปกติและภาวะวิกฤติ
5) สร้างความเชื่อมัน่ ให้กบั อาหารส่ งออก เพิ่มศักยภาพและขยายโอกาสด้านการตลาดให้กบั
อาหารไทยผ่านทางวัฒนธรรมและคุณค่าทางโภชนาการ
56

2.4 หน่ วยงานรับผิดชอบตามยุทธศาสตร์ การจัดการด้ านอาหารของประเทศไทย

ตารางที่ 2.6 หน่วยงานรับผิดชอบตามยุทธศาสตร์ การจัดการด้านอาหารของประเทศไทย

ยุทธศาสตร์ ที่
หน่ วยงานรับผิดชอบ 1 2 3 4
1. กระทรวงกลาโหม (กห) /
2. กระทรวงการคลัง (กค) / /
3. กระทรวงการต่างประเทศ (กต) / /
4. กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา (กก) /
5. กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (กษ) / / / /
6. กระทรวงคมนาคม (คค) /
7. กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่ งแวดล้อม (ทส) /
8. กระทรวงพลังงาน (พน) /
9. กระทรวงพาณิ ชย์ (พณ) / / /
10. กระทรวงมหาดไทย (มท) / / / /
11. กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (วท) / / /
12. กระทรวงศึกษาธิการ (ศธ) / / /
13. กระทรวงสาธารณสุ ข (สธ) / / / /
14. กระทรวงอุตสาหกรรม (อก) / / /
15. สานักงานสภาความมัน่ คงแห่งชาติ (สมช) / / /
16. สานักงานคณะกรรมการวิจยั แห่งชาติ (วช)
/ / /
17. สานักงานกองทุนสนับสนุนการวิจยั (สกว)
/ /
18. สานักงานพัฒนาการวิจยั การเกษตร (องค์การมหาชน) (สวก)
/ /
19. ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธกส)
/ /
20. สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย
/ /
21. สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย
/ /
22. กระทรวงวัฒนธรรม (วธ)
/

ทีม่ า: ดัดแปลงจากคณะกรรมการอาหารแห่งชาติ (2552)


57

ตารางที่ 2.6 หน่วยงานรับผิดชอบตามยุทธศาสตร์ การจัดการด้านอาหารของประเทศไทย (ต่อ)

ยุทธศาสตร์ ที่
หน่ วยงานรับผิดชอบ 1 2 3 4
23. สานักงานคณะกรรมการคุม้ ครองผูบ้ ริ โภค (สคบ) / /
24. สานักงานคณะกรรมการสุ ขภาพแห่งชาติ (สช) /
25. สานักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริ มสุ ขภาพ (สสส) /
26. สานักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา /
27. สานักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรื อน (กพ) /
28. สานักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ (กพร) /
29. สานักงบประมาณ /
30. ทุกหน่วยงานที่มีกฎหมายเกี่ยวข้อง /

ทีม่ า: ดัดแปลงจากคณะกรรมการอาหารแห่งชาติ (2552)

You might also like