You are on page 1of 3

แบตเตอรี่ แช่แข็ง (CRYO-BATTERY)

ผมเคยคุยให้ ฟังแล้ วในครั้งก่ อนๆ ว่ า การเปลีย่ นผ่ านของพลังงานจากเชื้อเพลิงฟอสซิลสู่ พลังงานหมุนเวียนนั้น

 สิ่ งที่สำคัญที่สุดคือการกักเก็บพลังงานไฟฟ้ าในวันที่ไม่มีแดด ไม่มีลม เนื่องจากแผงโซลาร์หรื อกังหันลมไม่สามารถปั่ นไฟฟ้ าได้ การกักเก็บดังกล่าว


ทำได้หลายวิธี แต่ปัญหาใหญ่ๆ คือ ความสามารถที่จะตอบโจทย์เรื่ องของขนาด (scalability) ความมัน่ คงของระบบ (reliability) และ
ความไวในการตอบสนอง (response time) ของระบบเมื่อไฟฟ้ าดับ

เทคโนโลยีในปั จจุบนั ที่สามารถตอบโจทย์ท้ งั สามข้อได้และมีการพัฒนามาอย่างต่อเนื่องคือ แบตเตอรี่ ลิเธียมไอออน ซึ่ งเป็ นที่นิยมใช้ต้ งั แต่อุปกรณ์
เล็กๆ จนถึงโทรศัพท์มือถือและรถยนต์ไฟฟ้ า เพราะนอกจากจะสามารถตอบสนองได้ภายในระยะเวลาอันรวดเร็ วเป็ นเสี้ ยววินาที หรื อ micro-
second (การตอบสนองต้องเร็ ว ไม่เช่นนั้นอาจมีผลทำให้ไฟฟ้ าดับ แล้วส่ งผลที่สำคัญทำให้เกิดความเสี ยหายได้ เช่นโรงกลัน่ น้ำมันหรื อห้อง
ผ่าตัด เป็ นต้น) เรายังเห็นใช้งานตั้งแต่แบตเตอรี่ มือถือขนาดไม่กี่ Wh (วัตต์-ชัว่ โมง) จนถึงแบตเตอรี่ รถยนต์ที่ 60-100 KWh (กิโลวัตต์-
ชัว่ โมง) จนถึงแหล่งพลังงานสำรองที่ใหญ่ที่สุดในโลก Hornsdale Power Reserve

ที่รัฐออสเตรเลียใต้ ประเทศออสเตรเลีย ที่มีขนาดถึง 129 MWh (เมกะวัตต์-ชัว่ โมง) (แน่นอนครับ ติดตั้งโดยบริ ษทั เทสลา) จึงถือว่าเป็ น
เทคโนโลยีที่น่าจะตอบโจทย์มากที่สุด

แต่ในประเทศอังกฤษได้มีสตาร์ทอัพชื่อ Highview Power ได้ทำวิจยั ร่ วมกับ University of Birmingham แล้วได้สร้างสิ่ งที่


เรี ยกว่า แบตเตอรี่ แช่แข็ง (cryo-battery) เพื่อมาตอบโจทย์เดียวกัน และดูเหมือนว่ากำลังเดินหน้าได้ดีทีเดียว หลักการง่ายๆ คือ การทำให้
อากาศเป็ นของเหลว (อากาศที่เราหายใจนี่เลยนะครับ ไม่ใช่ก๊าซอะไรพิเศษ) โดยที่อุณหภูมิ -196 เซลเซี ยส อากาศจะถูกเปลี่ยนสถานะเป็ น
ของเหลวและถูกอัดเล็กลงประมาณ 700 เท่า ซึ่ งกระบวนการอัดอากาศดังกล่าวเป็ นกระบวนการผลิตที่เราเห็นได้เป็ นปกติ โดยเฉพาะ LNG ที่
เรารู้จกั กันดี หลังจากนั้น เมื่อเราเริ่ มให้ความร้อนกับอากาศเหลวที่เก็บอยู่ มันก็จะคลายตัวอย่างรุ นแรง และแรงผลักที่เกิดจากการคลายตัวดังกล่าวของ
มันสามารถที่จะปั่ นกังหัน (turbine) เพื่อผลิตไฟฟ้ าได้ ซึ่ งก็เป็ นกระบวนการต่างๆ ทางวิศวกรรมที่เราคุน้ เคยกันอยูแ่ ล้ว และน่าจะสามารถตอบ
โจทย์ท้ งั สามข้อข้างต้นอีกด้วย

ในเบื้องต้น ที่เมือง Bury ใกล้ๆ กับ Manchester ได้มีการติดตั้งเครื่ องดังกล่าวขนาด 15 MWh ซึ่งมีขนาดใหญ่เพียงพอที่จะจ่ายไฟฟ้ า
ให้บา้ นเรื อน 3,000 หลัง ได้ประมาณ 5 ชัว่ โมง เพียงแต่ประสิ ทธิภาพของเครื่ องดังกล่าวอยูท่ ี่ 50% กล่าวคือ ใช้ไฟฟ้ า 100 หน่วยเพื่อแปลง
อากาศให้เป็ นของเหลวที่อุณหภูมิ -196 องศาเซลเซี ยส แต่เมื่อนำอากาศเหลวมาปั่ นไฟฟ้ า จะปั่ นได้ 50 หน่วย ก็ยงั ต่ำไปเล็กน้อย ทาง
University of Birmingham จึงกำลังอยูใ่ นการวิจยั เพิ่มเติม โดยใช้วิธีการเก็บความร้อนที่คายออกมาตอนอากาศแปลงสภาพเป็ น
ของเหลวไว้ในน้ำมันหรื อเกลือ แล้วใช้ความร้อนที่เก็บไว้ในน้ำมันหรื อเกลือมาอุ่นอากาศเหลวตอนปั่ นไฟ ก็คือการรี ไซเคิลพลังงาน และจะเพิ่ม
ประสิ ทธิภาพจนอยูท่ ี่ระดับ 60% ซึ่งก็จะใกล้เคียงหรื อดีกว่ากระบวนการผลิตไฟฟ้ าจากเครื่ องปั่ นไฟที่ใช้เชื้อเพลิงฟอสซิ ลทีเดียว

ในขณะเดียวกัน ตอนที่อากาศคลายตัว เพื่อปั่ นไฟฟ้ า ก็จะมีความเย็นหลงเหลืออยู่ เมื่อใช้เทคโนโลยีของเครื่ องทำความเย็น (Air


Conditioning) เก็บความเย็นไว้ใช้ตอนอัดอากาศให้เป็ นของเหลวอีกครั้งหนึ่ง ก็จะประหยัดพลังงานได้อีก และทำให้เพิ่มประสิ ทธิภาพของ
ระบบขึ้นถึงระดับ 69% ซึ่งใกล้เคียงกับประสิ ทธิภาพของแบตเตอรี่ ลิเธียมไอออน จึงมองว่าน่าจะแข่งขันได้

Highview Power มีแผนที่จะสร้างโรงกักเก็บพลังงานดังกล่าวขนาด 250 MWh (ใหญ่กว่าโรงแบตเตอรี่ ที่ออสเตรเลียกว่าเท่าตัว) ที่


อังกฤษในปี นี้ ที่อเมริ กาและอิตาลีในอีก 2 ปี ข้างหน้านี้ ซึ่ งก็คาดว่าจะเป็ นคู่แข่งที่สำคัญของแบตเตอรี่ ลิเธียมไอออนในอนาคต ถ้าราคาของแบตเตอรี่
แช่แข็งและประสิ ทธิภาพเป็ นไปดังที่กล่าวไว้ และการเปลี่ยนผ่านทางพลังงานเพื่อโลกที่ยงั่ ยืนก็คงจะเร็ วขึ้นอีก 

EVERLASTING BATTERY
แม้ ว่าเศรษฐกิจโลกยังคงตั้งหลักอยู่กบั ผลกระทบจากโควิด-19 แต่ ผลจากกระตุ้นเศรษฐกิจสหรัฐจากธนาคารกลาง คือตลาดหุ้นสหรัฐ

สร้างสถิติใหม่วนั แล้ววันเล่า เช่นเราได้เห็นพาดหัวข่าวหุน้ Apple มีมูลค่าตลาดมากกว่า 2 ล้านล้านดอลลาร์ ใหญ่กว่า GDP ประเทศไทยถึง


4 เท่า ที่น่าสนใจไม่แพ้กนั คือมูลค่าตลาดของหุน้ Tesla ที่สูงถึง 380,000 ล้านดอลลาร์ หรื อประมาณ 80% ของเศรษฐกิจประเทศไทย
้ ตลาดอย่างโตโยต้าถึงเกือบเท่าตัว ขณะที่รถที่ส่งมอบโดยเทสลาในปี นี้มีประมาณ 100,000 คัน เมื่อเทียบกับโตโยต้าที่
และที่สำคัญคือสู งกว่าผูนำ
ส่ งมอบไปกว่า 10 ล้านคัน น่าศึกษาดูนะครับ

นอกจากที่เทสลาเป็ นบริ ษทั เทคโนโลยีแห่งอนาคตแล้ว อีก 2 เหตุผลที่น่าจะช่วยอธิบายเหตุการณ์น้ ีได้กค็ ือ การที่โรงงานที่เซี่ ยงไฮ้ส่งมอบรถได้ตาม


ที่คาดการณ์ ทำให้เริ่ มมีกำไร ไม่เหมือนสตาร์ทอัพทัว่ ไปที่ขาดทุนอย่างต่อเนื่อง แต่ที่สำคัญคือหลังจากลงทุนในประเทศจีน ได้มีการพัฒนาเทคโนโลยี
แบตเตอรี่ ร่วมกับผูผ้ ลิตแบตเตอรี่ ในจีนและก้าวหน้าอย่างรวดเร็ วจนมีการประกาศว่าสามารถผลิตแบตเตอรี่ ที่วิ่งได้ลา้ นไมล์หรื อ 1.6 ล้านกิโลเมตร
เป็ นที่ฮือฮาจนราคาหุน้ วิ่งไม่หยุด วันนี้ผมเลยจะมาชวนคุยเรื่ องวิวฒั นาการของแบตเตอรี่ สกั หน่อยครับ 

ผมคงจะไม่เท้าความถึงเบนจามิน แฟรงคลิน ผูค้ น้ พบแบตเตอรี่ ในปี 1780 หรื อในช่วงปี 1860 ที่มีการพัฒนาแบตเตอรี่ ที่สามารถชาร์จได้แบบ
Lead Acid ที่ยงั ใช้ในแบตเตอรี่ รถยนต์จนถึงทุกวันนี้ แม้กระทัง่ โทมัส เอดิสนั ที่คน้ พบแบตเตอรี่ แบบอัลคาไลน์ในปี 1890 ที่มีความจุและ
ความทนทานเพื่อใช้ในรถยนต์ขบั เคลื่อนด้วยไฟฟ้ าหรื อ BEV (ที่ผมเคยเล่าให้ฟังว่าเป็ นรถยนต์รุ่นแรกๆ หลังรถม้า คือรถที่ขบั เคลื่อนด้วยมอเตอร์
ไฟฟ้ า) แต่กช็ า้ ไป เมื่อบริ ษทั ฟอร์ด มอเตอร์ได้ออกรถโมเดล T ที่เป็ นที่นิยมไปก่อนแล้ว แต่ผมคงจะเน้นไปที่ลิเธียมไอออนแบตเตอรี่ เนื่องจากลิเธี
ยมเป็ นโลหะที่มีศกั ยภาพสู งสุ ดในการทำแบตเตอรี่ เพราะว่าโลหะที่มีขนาดอะตอมเล็กที่สุดและเบาที่สุด ทำให้สามารถเคลื่อนที่ได้เร็ ว ทำปฏิกิริยา
ทางเคมีได้ง่ายและสามารถเก็บพลังงานต่อน้ำหนักตัว (energy to weight ratio) ได้ดีที่สุด คาดกันว่าจะยังเป็ นแกนหลักที่สำคัญในการ
พัฒนาการกักเก็บพลังงานของโลกไปอีกนานครับ
วิวฒั นาการของแบตเตอรี่ ลิเธียมไอออนน่าจะเห็นได้ชดั ที่สุดในโทรศัพท์มือถือของพวกเรา ในทศวรรษที่ผา่ นมาที่โลกมีสมาร์ทโฟนที่ทำเราได้เห็นว่า
จากโทรศัพท์ที่ฟังเพลง ถ่ายรู ปได้ มาเป็ นดูหนังได้ เล่นเกมได้ แล้วยังสามารถอยูไ่ ด้เป็ นวัน ซึ่ งหมายถึงว่าแบตมีความจุมากขึ้น ใช้งานได้นานขึ้น และ
ยังสามารถชาร์จได้เร็ วขึ้น แต่เราก็เปลี่ยนมือถือเกือบทุก 1-2 ปี ไม่เช่นนั้นแบตก็จะเสื่ อม ซึ่ งนอกจากจะทำให้เราต้องคอยพก power bank
เมื่อเข้าสู่ ปีที่ 3-4 แล้ว การทำงานของเครื่ องโทรศัพท์กช็ า้ ลง

เหตุหลักๆ ที่ทำให้แบตเสื่ อมคือ 1) การทำ fast charging เป็ นประจำ 2) การปล่อยให้แบตหมดแล้วค่อยชาร์จ และชาร์จจนเต็ม (deep
charging) 3) การใช้งานภายใต้สภาพแวดล้อมที่ร้อนมากหรื อเย็นมาก 4) การทิ้งโทรศัพท์ไว้เฉยๆ เมื่อนำมาใช้ใหม่ แบตก็จะเสื่ อมเมื่อไม่มี
การใช้งาน หรื อเสื่ อมตามอายุขยั (degradation) ซึ่งปั ญหาต่างๆ เหล่านี้ลว้ นเป็ นประเด็นที่ตอ้ งพัฒนาอย่างต่อเนื่ อง โดยเฉพาะเมื่อไปใช้ใน
รถยนต์ที่มีความซับซ้อนและต้องการการตอบสนองอย่างรวดเร็ วและต่อเนื่อง พลังไม่ตกตลอดอายุใช้งาน

ผูป้ ระกอบการรถยนต์เข้าใจในความกังวลของผูบ้ ริ โภคในเรื่ องนี้ จึงมีการรับประกันเกิดขึ้น ไม่วา่ จะรับประกัน 8 ปี หรื อ 200,000 กม. แต่การ
ที่แบตเสื่ อมตามอายุขยั (ดังที่อธิบายข้างบนว่า เมื่อทิ้งไว้เฉยๆก็เสื่ อมได้) หรื อตามการใช้งาน (จากการชาร์จ ซึ่ งปกติจะสามารถชาร์จได้ระหว่าง
500-1,000 รอบ หรื อถ้าเราชาร์จทุกวันก็ประมาณ 3 ปี ) ล้วนแล้วแต่เป็ นข้อจำกัดที่ผผู้ ลิตรถยนต์ไฟฟ้ ากำลังหาทางออกกัน ซึ่งล่าสุ ด การที่ 2
พันธมิตรธุรกิจคือเทสลาจากสหรัฐและ CATL จากประเทศจีนได้ประกาศว่าจะสร้างแบตเตอรี่ ลา้ นไมล์กเ็ ป็ นที่จบั ตาว่าเทคโนโลยีที่มาตอบโจทย์
การเสื่ อมของแบตเตอรี่ ได้อย่างไร นักวิทยาศาสตร์ทราบดีวา่ ด้วยความที่ลิเธียมเป็ นสารที่ไวต่อการทำปฏิกิริยาเคมี ย่อมหมายถึงว่า จะจับกับสิ่ งปน
เปื้ อนได้ง่าย ยิง่ ถ้ากระบวนการผลิตไม่ได้มาตรฐาน จะทำให้เกิดสารคล้ายๆ กับสนิมที่ข้ วั แบตได้ง่ายมากขึ้น เมื่อสะสมมากพอก็อาจจะทำให้เกิดภาวะ
คล้ายๆ หิ นงอก หิ นย้อยในถ้ำ (dendrite) ถ้าถึงจุดที่เชื่อมขั้วบวกเข้ากับขั้วลบ ก็จะทำให้เกิดไฟฟ้ าลัดวงจรแล้วไฟไหม้หรื อระเบิดได้ และ fast
charging ก็เป็ นการเร่ งกระบวนการเกิดหิ นงอก หิ นย้อยที่วา่  

นักวิทยาศาสตร์หลายๆ สำนักก็หาทางแก้ปัญหาดังกล่าว ไม่วา่ จะเปลี่ยนองค์ประกอบของโลหะที่จบั ตัวกับลิเธียมเพื่อใช้ในการทำขั้วบวก ขั้วลบ ซึ่ ง


จะทำให้แบตเตอรี่ แรงขึ้น ใช้ได้นานขึ้น หรื อการที่ไม่ตอ้ งมีข้ วั บวก (anode free) เลย จะได้ไม่เกิดการสะสมของ dendrite จนถึงการ
เปลี่ยนของเหลวที่คนั่ ระหว่างขั้วบวกขั้วลบ (electrolyte) ให้เป็ นของแข็ง (solid state) ก็จะทำให้ dendrite ไม่สามารถก่อตัวแล้ว
เชื่อมขั้วบวกขั้วลบจนเกิดการลัดวงจรแล้วทำให้ติดไฟและระเบิดได้ และทำให้สามารถชาร์จได้เป็ นหมื่นๆ รอบหรื อ ใช้งานจริ งถึง 30 ปี โดยไม่มี
ปั ญหาใดๆ และถ้ารถวิ่งปี ละ 30,000 ไมล์ ก็น่าจะถึงล้านไมล์ได้ 

จากการที่แบตเตอรี่ ในรถยนต์ตอ้ งมีประสิ ทธิภาพสู ง เพื่อความปลอดภัยในการขับ จึงมีกฎง่ายๆ ว่า เมื่อแบตเสื่ อมไป 20% หรื อคือเหลือ 80%
ของความจุต้ งั ต้นก็จะถูกปลดระวาง อาจจะนำไปใช้งานอื่นแทน เช่น เป็ นพลังไฟฟ้ าสำรองตามบ้าน และแบตเตอรี่ ลิเธียมไอออนโดยปกติจะเสื่ อม
ประสิ ทธิภาพ (degradation) ประมาณ 2% ต่อปี ซึ่ งหมายถึงว่าเมื่อใช้งานไปประมาณ 7-8 ปี ก็จะเสื่ อมตามอายุขยั นักวิทยาศาสตร์
ต้องหาทางตอบโจทย์เช่นเดียวกัน

อย่างไรก็ตาม ในกลางเดือนกันยายนนี้ Elon Musk เจ้าของเทสลาจะมีการจัด Battery Day ซึ่งก็อาจจะไขความลับที่จะ


ทำให้แบตเตอรี่ วิ่งได้ลา้ นไมล์ คอยติดตามกันครับ

You might also like