You are on page 1of 16

แรงจูงใจและทัศนคติของนักท่องเที่ยวชาวไทยต่อด้านสภาพแวดล้อมและ

ด้านการจัดการ ในอุทยานประวัติศาสตร์พิมาย
The Motivations and Attitudes of Thai Tourists towards The Environmental
and Management of Phimai Historical Park


นายธรา สุขคีรี และรองศาสตราจารย์ ดร. เลิศพร ภาระสกุล
หลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการจัดการการท่องเที่ยว มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์



บทคัดย่อ
การวิจยั ในครัง้ นีม้ วี ตั ถุประสงค์ 5 ประการ คือ 1) เพือ่ ศึกษาแรงจูงใจในด้านต่างๆ ของนักท่องเทีย่ ว

ชาวไทยในการเดินทางมาท่องเที่ยวในอุทยานประวัติศาสตร์พิมาย 2) เพื่อศึกษาทัศนคติของนักท่องเที่ยว
ชาวไทยที่มีต่อคุณลักษณะด้านสภาพแวดล้อมและการจัดการการท่องเที่ยวในอุทยานประวัติศาสตร์พิมาย
อำเภอพิมาย จังหวัดนครราชสีมา 3) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยทางด้านประชากรศาสตร์ของ

นักท่องเที่ยวชาวไทยกับทัศนคติต่อคุณลักษณะด้านสภาพแวดล้อมและการจัดการการท่องเที่ยวในอุทยาน
ประวั ติ ศ าสตร์ พิ ม าย 4) เพื่ อ ศึ ก ษาความแตกต่ า งของแรงจู ง ใจในการเดิ น ทางมาท่ อ งเที่ ย วในอุ ท ยาน
ประวัติศาสตร์พิมายกับปัจจัยด้านประชากรศาสตร์ของนักท่องเที่ยวชาวไทย 5) เพื่อศึกษาอิทธิพลระหว่าง
แรงจูงใจในแต่ละด้านกับทัศนคติต่อคุณลักษณะด้านสภาพแวดล้อมและการจัดการการท่องเที่ยวในอุทยาน
ประวัตศิ าสตร์พมิ าย อำเภอพิมาย จังหวัดนครราชสีมา โดยกลุม่ ตัวอย่างทีใ่ ช้ในการวิจยั ในครัง้ นี้ คือ นักท่องเทีย่ ว

ชาวไทยที่เดินทางมาท่องเที่ยวในอุทยานประวัติศาสตร์พิมาย อำเภอพิมาย จังหวัดนครราชสีมาที่มีอายุ

ตั้งแต่ 15 ปีขึ้นไป จำนวน 400 คน ได้จากการสุ่มแบบตามสะดวกสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ

ค่าแจกแจงความถี่ (Frequency) ค่าร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (Mean) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน


(Standard Deviation) ส่วนสถิติเชิงอนุมานใช้วิธีการวิเคราะห์ปัจจัยหรือการวิเคราะห์องค์ประกอบ
(Factor Analysis) สถิติค่าความแตกต่างแบบ (t-test) สถิติความแปรปรวนทางเดียว (One-way ANOVA)
สถิ ติ ไ คสแควร์ (Chi-square) และสถิติวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ (Multiple Regression Analysis)

ผลการวิจัย พบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง อายุระหว่าง 15-25 ปี มีระดับการศึกษาต่ำกว่า


ปริญญาตรี เป็นผู้ไม่ได้ประกอบอาชีพ มีสถานภาพโสดมีรายได้ต่อเดือน 5,000-10,000 บาท และมี

ปีที่ 12 ฉบับที่ 3 ประจำเดือนกันยายน - ธันวาคม 2559 233


ภูมิลำเนาภาคตะวันออกเฉียงเหนือ แรงจูงใจของนักท่องเที่ยวมีอยู่ด้วยกัน 3 แรงจูงใจ ได้แก่ 1. แรงจูงใจใน
ด้านการเรียนรู้ทางวัฒนธรรม 2.แรงจูงใจในด้านเกียรติภูมิ และ 3. แรงจูงใจในด้านการพักผ่อน นักท่องเที่ยว
มี ทั ศ นคติ อ ยู่ ใ นระดั บ ที่ ดี ม าก เพศของนั ก ท่ อ งเที่ ย วไม่ มี ค วามสั ม พั น ธ์ กั บ ทั ศ นคติ ต่ อ คุ ณ ลั ก ษณะด้ า น

สภาพแวดล้อมและการจัดการการท่องเที่ยวในอุทยานประวัติศาสตร์พิมาย ปัจจัยทางด้านประชากรศาสตร์
ที่แตกต่างกันทำให้เกิดแรงจูงใจในด้านการเรียนรู้ทางวัฒนธรรมแตกต่างกัน ได้แก่ อายุ อาชีพ สถานภาพ
และรายได้ปัจจัยทางด้านประชากรศาสตร์ที่แตกต่างกันทำให้เกิดแรงจูงใจในด้านเกียรติภูมิแตกต่างกัน
ได้แก่ อายุ และภูมิลำเนา ปัจจัยทางด้านประชากรศาสตร์ที่แตกต่างกันทำให้เกิดแรงจูงใจในด้านการพักผ่อน
แตกต่างกัน ได้แก่ อาชีพ แรงจูงใจในด้านการเรียนรู้ทางวัฒนธรรมมีอิทธิพลต่อทัศนคติมากที่สุด (β 0.321)
รองลงมาคือ แรงจูงใจในด้านการพักผ่อน (β 0.170) และแรงจูงใจในด้านเกียรติภูมิ (β 0.029)

Abstract
The objectives of this research are to study : 1) the motivations of domestic
tourists visiting Phimai Historical Park. 2) the attitudes towards the environment and
management of Phimai Historical Park. 3) the relationship between the demographical
characteristics and attitudes towards the environment and management of Phimai
Historical Park. 4) the differences in the motivations for visiting Phimai Historical Park of the
differential demographical characteristics. 5) the influences of the motivations on the
attitudes of the thai domestic tourists towards the environmental attributes and tourism
management. The samples for this research were domestic tourists visiting Phimai
Historical Park. They were chosen at random, and 400 copies of questionnaires were
selected and analyzed. The tools used in this research were questionnaires. Descriptive
statistics were analyzed using frequency, percentage, mean and standard deviation.
Inferentail statistics were analyzed using factor analysis, t-test, F-test, chi-square and
multiple regression analysis.
The results of the analysis revealed that most of the respondents were single
female, between 15-25 years old with education lower than a bachelor’s degree. Most of
them had an incomes between 5,000-10,000 bath/month. Most of the respondents were
from northeast of Thailand. The motivation of domestic tourists consisted of 3 factors :
motivation to study culture, motivation for prestige and motivation for relaxation. Most of
them had very good attitudes towards the environment and management. Toursists’
gender had no relationship with the attitudes towards the environment and management.
Demographical characteristics that were significant to differences in the motivation to

234 บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยสวนดุสิต


study culture were ages occupations status and incomes. Demographical characteristics
that were significant to differences in prestige motivation were ages and tourists’ regions.
Demographical characteristics that were significant to differences in the motivation for
relaxation were occupations. Motivations also had influences on the attitudes towards the
environment and management. Motivation to study culture was the most influential to
attitude towards environmental and management (β 0.321), motivation to relax ranked
second (β 0.170) and prestige motivation ranked third (β 0.029)

บทนำ
อุ ท ยานประวั ติ ศ าสตร์ พิ ม าย อำเภอพิ ม าย จั ง หวั ด นครราชสี ม า เป็ น สถานที่ ท่ อ งเที่ ย วทาง
วัฒนธรรมที่มีชื่อเสียงและมีความสำคัญมากแห่งหนึ่งของจังหวัดนครราชสีมา ถ้าพูดถึงสถานที่ท่องเที่ยวทาง
วั ฒ นธรรมที่ เ ป็ น เอกลั ก ษณ์ ข องจั ง หวั ด นครราชสี ม า นั ก ท่ อ งเที่ ย วจะนึ ก ถึ ง สถานที่ แรก คื อ อุ ท ยาน
ประวัติศาสตร์พิมาย ซึ่งสถานที่แห่งนี้มีจุดเด่น เช่น เป็นปราสาทหินที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย ตัวปราสาท
โดยรอบมีความโดดเด่นด้วยสถาปัตยกรรมที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะ การท่องเที่ยวถูกยกให้เป็นปรากฏการณ์
ทางเศรษฐกิจที่สำคัญที่สร้างรายได้ให้กับจังหวัดนครราชสีมาอย่างมากมาย โดยที่การวิจัยเรื่องนี้จะขอ

มุ่งประเด็นการศึกษาในเรื่องการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม ซึ่งได้จำกัดพื้นที่ไปยังอุทยานประวัติศาสตร์พิมาย
อำเภอพิมาย จังหวัดนครราชสีมา ซึ่งเป็นแหล่งท่องเที่ยวทางวัฒนธรรมที่สำคัญและมีชื่อเสียงของจังหวัด
นครราชสีมา ซึ่งตัวปราสาทหินพิมายนั้นมีความสำคัญยิ่งในด้านความเป็นเอกลักษณ์ทางด้านสถาปัตยกรรม
เรื่องราวของความเป็นอยู่และรวมไปถึงวิวัฒนาการการก่อสร้างสิ่งปลูกสร้างของผู้คนในสมัยก่อน นอกจาก
ตัวปราสาทหินพิมายที่เป็นสิ่งที่ดึงดูดให้นักท่องเที่ยวชาวไทยได้เดินทางมาท่องเที่ยวแล้ว สภาพแวดล้อมโดย
รอบที่มีความอุดมสมบูรณ์มีความร่มรื่นและรวมไปถึงระบบการจัดการการท่องเที่ยวในอุทยานประวัติศาสตร์
พิมายก็ถือได้ว่าเป็นองค์ประกอบหลักที่มีความสำคัญเช่นเดียวกัน ในการดึงดูดให้นักท่องเที่ยวชาวไทย

ได้เดินทางเข้ามาสัมผัส ซึง่ สังเกตได้จากจำนวนของนักท่องเทีย่ วชาวไทยในช่วงเดือนมกราคม-เดือนธันวาคม 2557

มีจำนวนทั้งสิน 203,322 คน (สำนักศิลปากรที่ 12 นครราชสีมา, 2557) เพราะฉะนั้นแล้วผู้วิจัยจึงได้

ทำการตั้งข้อสังเกตเกี่ยวกับนักท่องเที่ยวชาวไทยที่เดินทางมาท่องเที่ยวในอุทยานประวัติศาสตร์พิมายว่า

มีแรงจูงใจในการเดินทางมาท่องเทีย่ วอะไรบ้างทีท่ ำให้เดินทางมาท่องเทีย่ วสถานทีท่ อ่ งเทีย่ วแห่งนี้ และนักท่องเทีย่ ว

ชาวไทยนั้นมีแรงจูงใจในการท่องเที่ยวด้านใด โดยการจำแนกตามแรงจูงใจในการเดินทางมาท่องเที่ยว
นอกจากนี้แล้วผู้วิจัยยังต้องการศึกษาทัศนคติของนักท่องเที่ยวชาวไทยต่อด้านสภาพแวดล้อมและด้าน

การจัดการบริเวณอุทยาน ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยทางด้านประชากรต่างๆ กับแรงจูงใจในการเดินทาง

มาท่องเที่ยว และศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างแรงจูงใจในแต่ละด้านกับทัศนคติที่มีต่อด้านสภาพแวดล้อมและ
ด้านการจัดการ เพื่อให้งานวิจัยชิ้นนี้เป็นข้อมูลพื้นฐานกับทางสำนักศิลปากรที่ 12 จังหวัดนครราชสีมาและ
อุทยานประวัติศาสตร์พิมาย รวมไปถึงหน่วยงานที่มีส่วนเกี่ยวข้องเพื่อให้ได้ทราบถึงข้อมูลดังกล่าว เพื่อให้

ปีที่ 12 ฉบับที่ 3 ประจำเดือนกันยายน - ธันวาคม 2559 235


ผู้บริหารหรือผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องได้นำไปวางแผนพัฒนาและเป็นนโยบาย เพื่อการปรับปรุง แก้ไขและ

การรักษามาตรฐานด้านสถานที่ท่องเที่ยวแห่งนี้

วัตถุประสงค์
1. เพื่อศึกษาแรงจูงใจในด้านต่างๆ ของนักท่องเที่ยวชาวไทยในการเดินทางมาท่องเที่ยวในอุทยาน
ประวัติศาสตร์พิมาย
2. เพื่ อ ศึ ก ษาทั ศ นคติ ข องนั ก ท่ อ งเที่ ย วชาวไทยที่ มี ต่ อ คุ ณ ลั ก ษณะด้ า นสภาพแวดล้ อ มและ

การจัดการ การท่องเที่ยวในอุทยานประวัติศาสตร์พิมาย อำเภอพิมาย จังหวัดนครราชสีมา


3. เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยทางด้านประชากรศาสตร์ของนักท่องเที่ยวชาวไทยกับ
ทัศนคติต่อคุณลักษณะด้านสภาพแวดล้อมและการจัดการการท่องเที่ยวในอุทยานประวัติศาสตร์พิมาย
4. เพื่อศึกษาความแตกต่างของแรงจูงใจในการเดินทางมาท่องเที่ยวในอุทยานประวัติศาสตร์พิมาย
กับปัจจัยด้านประชากรศาสตร์ของนักท่องเที่ยวชาวไทย
5. เพื่อศึกษาอิทธิพลระหว่างแรงจูงใจในแต่ละด้านกับทัศนคติต่อคุณลักษณะด้านสภาพแวดล้อม
และการจัดการการท่องเที่ยวในอุทยานประวัติศาสตร์พิมาย อำเภอพิมาย จังหวัดนครราชสีมา

แนวคิดทฤษฎี
1. ประวัติความเป็นมาและข้อมูลทั่วไปของอุทยานประวัติศาสตร์พิมาย อำเภอพิมาย จังหวัด
นครราชสีมา
2. ความหมาย แนวคิดและทฤษฎีเกี่ยวกับแรงจูงใจของนักท่องเที่ยว
3. ความหมาย แนวคิดและทฤษฎีเกี่ยวกับทัศนคติ
4. ความหมาย แนวคิดและทฤษฎีการจัดการการท่องเที่ยว

สมมติฐานการวิจัย
1. เพศของนักท่องเที่ยวไม่มีความสัมพันธ์กับทัศนคติต่อคุณลักษณะด้านสภาพแวดล้อมและ

การจัดการการท่องเที่ยวในอุทยานประวัติศาสตร์พิมาย
2. นักท่องเที่ยวที่มีปัจจัยทางด้านประชากรศาสตร์ต่างกันมีแรงจูงใจในการเดินทางมาท่องเที่ยว
อุทยานประวัติศาสตร์พิมายไม่แตกต่างกัน
3. แรงจูงใจทีแ่ ตกต่างกันไม่มอี ทิ ธิพลต่อทัศนคติดา้ นสภาพแวดล้อมและด้านการจัดการการท่องเทีย่ ว

ในอุทยานประวัติศาสตร์พิมาย

236 บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยสวนดุสิต


กรอบแนวคิดในการวิจัย

ในอุทยานประวัติศาสตร์พิมาย

ขอบเขตการวิจัย
การวิจัยครั้งนี้ได้กำหนดขอบเขตของการวิจัยไว้ ดังนี้
1. ขอบเขตด้านพื้นที่
การวิจัยในครั้งนี้จะทำการศึกษาในบริเวณอุทยานประวัติศาสตร์พิมาย อำเภอพิมาย จังหวัด
นครราชสีมา
2. ขอบเขตด้านประชากร
ประชากรที่ทำการศึกษาในครั้งนี้ คือ นักท่องเที่ยวชาวไทยที่เดินทางมาท่องเที่ยวอุทยาน
ประวัติศาสตร์พิมาย อำเภอพิมาย จังหวัดนครราชสีมา ที่มีอายุตั้งแต่ 15 ปีขึ้นไป โดยจะทำการเก็บ
แบบสอบถามช่วงเวลาที่นักท่องเที่ยวเดินทางมาเที่ยวทั้งหมด จำนวน 400 คน
3. ขอบเขตด้านเนื้อหา
การวิจัยในครั้งนี้จะทำการศึกษาวิจัยเนื้อหาโดยมุ่งไปที่การศึกษาแรงจูงใจในแต่ละด้านของ

นักท่องเที่ยวชาวไทยโดยใช้แรงจูงใจในการเดินทางมาท่องเที่ยวเป็นตัวกำหนด ทัศนคติของนักท่องเที่ยว

ชาวไทยต่อด้านสภาพแวดล้อมและด้านการจัดการ ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยทางด้านประชากรศาสตร์กับ
ทัศนคติต่อด้านสภาพแวดล้อมและการจัดการ ความแตกต่างของแรงจูงใจกับปัจจัยด้านประชากรศาสตร์
และอิทธิพลระหว่างแรงจูงใจในแต่ละด้านกับทัศนคติด้านสภาพแวดล้อมและด้านการจัดการ

ปีที่ 12 ฉบับที่ 3 ประจำเดือนกันยายน - ธันวาคม 2559 237


วิธีการวิจัย
เพื่อให้การวิจัยเป็นไปตามวัตถุประสงค์และเพื่อให้ได้กลุ่มตัวอย่างที่สามารถเป็นตัวแทนประชากร
ได้ ดังนั้น การเลือกกลุ่มตัวอย่างจึงมีความจำเป็นต้องระบุขอบเขตเฉพาะในอุทยานประวัติศาสตร์พิมาย
อำเภอพิมาย จังหวัดนครราชสีมา เนื่องจากไม่ทราบจำนวนประชากรนักท่องเที่ยวที่มาท่องเที่ยวที่แน่ชัด

ผู้วิจัยจึงใช้การเลือกสุ่มตัวอย่างแบบตามสะดวกหรือแบบบังเอิญ (Convenient or accidental sampling)


เป็นจำนวน 400 คน โดยเก็บในช่วงเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2558 และนำข้อมูลที่ได้จากการเก็บแบบสอบถาม
นำมาวิ เ คราะห์ โ ดยใช้ ส ถิ ติ ได้ แ ก่ ค่ า แจกแจงความถี่ , ค่ า ร้ อ ยละ, ค่ า เฉลี่ ย , ส่ ว นเบี่ ย งเบนมาตรฐาน,

การวิเคราะห์องค์ประกอบ (Factor Analysis), t-test, F-test (One-way ANOVA), Chi-square และ

การวิเคราะห์ถดถอยพหุคณ ู (Multiple Regression Analysis) และนำผลทีไ่ ด้มาเพือ่ ตอบในแต่ละวัตถุประสงค์



เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย
เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ได้แก่ แบบสอบถามที่ผู้วิจัยได้สร้างขึ้น โดยศึกษาแนวคิด ทฤษฎีและ
ทบทวนวรรณกรรมที่เกี่ยวข้อง พร้อมทั้งกำหนดนิยามเชิงปฏิบัติการของตัวแปรที่เกี่ยวข้อง โดยมีทั้งหมด

5 ตอน ดังนี้
ตอนที่ 1 ข้อมูลทั่วไปของผู้ตอบแบบสอบถาม ได้แก่ เพศ อายุ สถานภาพ อาชีพ ระดับการศึกษา
รายได้ต่อเดือนและภูมิลำเนา จำนวน 7 ข้อคำถาม
ตอนที่ 2 แรงจูงใจในการเดินทางมาท่องเที่ยวในอุทยานประวัติศาสตร์พิมาย โดยมีลักษณะแบบ
ประมาณค่า (Rating scale) 5 ระดับ ซึ่ง 5 หมายถึง สำคัญมากที่สุด และ 1 หมายถึง สำคัญน้อยที่สุด
จำนวน 12 ข้อคำถาม
ตอนที่ 3 ระดับทัศนคติต่อคุณลักษณะด้านสภาพแวดล้อมและการจัดการการท่องเที่ยวในอุทยาน
ประวัติศาสตร์ พิมาย โดยมีลักษณะแบบประมาณค่า (Rating scale) 5 ระดับ ซึ่ง 5 หมายถึง เห็นด้วย

อย่างยิ่ง และ 1 หมายถึง ไม่เห็นด้วยอย่างยิ่ง จำนวน 24 ข้อคำถาม


ตอนที่ 4 ระดับความคิดเห็นต่อการปรับปรุงการจัดการในอุทยานประวัติศาสตร์พิมาย โดยมี
ลักษณะแบบประมาณค่า (Rating scale) 5 ระดับ ซึ่ง 5 หมายถึง เห็นด้วยอย่างยิ่ง และ 1 หมายถึง

ไม่เห็นด้วยอย่างยิ่ง จำนวน 6 ข้อคำถาม


ตอนที่ 5 ข้อเสนอแนะต่อคุณลักษณะต่อสภาพแวดล้อมและการจัดการการท่องเที่ยวในอุทยาน
ประวัติศาสตร์พิมาย โดยมีลักษณะแบบปลายเปิด (Open ended questionnaire) จำนวน 1 ข้อคำถาม

238 บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยสวนดุสิต


ผลการศึกษา
ผลการวิจัยมีดังนี้
1. ผลการสำรวจแรงจูงใจในการเดินทางมาท่องเที่ยวอุทยานประวัติศาสตร์พิมายในภาพรวม

พบว่า นักท่องเที่ยวมีแรงจูงใจในการเดินทางมาท่องเที่ยว ซึ่งสามารถจำแนกตามระดับความสำคัญได้ดังนี้


1) แรงจูงใจที่มีความสำคัญมากที่สุด ได้แก่ แรงจูงใจชมสถานที่ที่มีชื่อเสียง (χ = 4.51)

แรงจูงใจเพื่อแรงจูงใจชมความสวยงามของปราสาทหินพิมาย (χ = 4.31) และเยี่ยมชมสถาปัตยกรรมของ


ปราสาทหินพิมาย (χ = 4.23)
2) แรงจูงใจที่มีความสำคัญมาก ได้แก่ แรงจูงใจท่องเที่ยวในสถานที่แปลกใหม่ (χ = 4.09)
แรงจู ง ใจพั ก ผ่ อ นหย่ อ นใจ/เปลี่ ย นบรรยากาศ ( χ = 3.97) แรงจู ง ใจเพิ่ ม พู น ประสบการณ์ ใ ห้ แ ก่ ชี วิ ต

(χ = 3.92) แรงจูงใจเพื่อศึกษาค้นคว้าทางด้านวัฒนธรรมและโบราณคดี (χ = 3.89) แรงจูงใจเพื่อศึกษา


โบราณวัตถุในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติพิมาย (χ = 3.86) และแรงจูงใจหลีกหนีความจำเจในชีวิตประจำวัน
(χ = 3.78)
3) แรงจูงใจที่มีความสำคัญปานกลาง ได้แก่ แรงจูงใจกราบไหว้ขอพรสิ่งศักดิ์สิทธิ์ (χ = 3.32)
4) แรงจู ง ใจที่ มี ค วามสำคั ญ น้ อ ย ได้ แ ก่ แรงจู ง ใจเพื่ อ ความมี ห น้ า มี ต าไม่ น้ อ ยหน้ า ผู้ อื่ น

(χ = 2.58)
2. ผลการสำรวจทัศนคติต่อด้านสภาพแวดล้อมและด้านการจัดการในภาพรวม พบว่า มีทัศนคติที่
ดีมากที่สุด เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า นักท่องเที่ยวที่มีทัศนคติอยู่ในระดับดีมากที่สุดต่อด้านโบราณ
สถาน/โบราณวัตถุ ด้านทรัพยากรบุคคล ด้านประชาสัมพันธ์และด้านราคา ในขณะที่นักท่องเที่ยวที่มี
ทัศนคติอยู่ในระดับดีต่อด้านสิ่งอำนวยความสะดวก
3. ผลการสำรวจความคิดเห็นต่อการปรับปรุงการจัดการในอุทยานประวัติศาสตร์พิมาย พบว่า

นักท่องเที่ยวเห็นด้วยกับประเด็นต่างๆ ได้แก่ การจัดให้นักท่องเที่ยวเข้าชมปราสาทหินเป็นรอบเวลาเพื่อ


ความเป็ น ระเบี ย บ การจั ด ให้ มี มั ค คุ เ ทศก์ อ ธิ บ ายนำนั ก ท่ อ งเที่ ย วชมตามรอบเวลา การจั ด ทำแผนที่

เส้นทางการเดินชมสำหรับนักท่องเที่ยว การจำกัดจำนวนนักท่องเที่ยวแต่ละรอบเพื่อความเป็นระเบียบและ
การนำเทปบันทึกเสียง/เครื่องเล่นซีดีแบบพกพาแนะนำตัวปราสาทให้นักท่องเที่ยวยืม ในขณะที่การเพิ่ม

ค่าเข้าชมเป็นรายบุคคล นักท่องเที่ยวมีความเห็นที่ไม่เห็นด้วย
4. ผลการวิเคราะห์ปัจจัย (Factor analysis) การจำแนกแรงจูงใจออกเป็นด้านต่างๆ สามารถ
จำแนกออกได้เป็น 3 ด้าน ดังนี้
1) แรงจูงใจในด้านการเรียนรู้ทางวัฒนธรรม มีองค์ประกอบที่เป็นแรงจูงใจ ได้แก่ แรงจูงใจเพื่อ
การศึกษาค้นคว้าทางด้านวัฒนธรรมและโบราณคดี (factor loading = 0.809) แรงจูงใจเพื่อศึกษาโบราณ
วัตถุในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ (factor loading = 0.757) แรงจูงใจเพื่อเยี่ยมชมสถาปัตยกรรมของ
ปราสาทหินพิมาย (factor loading = 0.731) แรงจูงใจชมสถานที่ที่มีชื่อเสียง (factor loading = 0.588)
และแรงจูงใจท่องเที่ยวในสถานที่แปลกใหม่ (factor loading = 0.569)

ปีที่ 12 ฉบับที่ 3 ประจำเดือนกันยายน - ธันวาคม 2559 239


2) แรงจูงใจในด้านเกียรติภูมิ มีองค์ประกอบที่เป็นแรงจูงใจ ได้แก่ แรงจูงใจเพื่อความมีหน้า

มีตาไม่น้อยหน้าผู้อื่น (factor loading = 0.798) แรงจูงใจหลีกหนีความจำเจในชีวิตประจำวัน (factor


loading = 0.708) แรงจูงใจกราบไหว้ขอพรจากสิ่งศักดิ์สิทธิ์ (factor loading = 0.680) แรงจูงใจเพิ่มพูน
ประสบการณ์ให้แก่ชีวิต (factor loading = 0.572) และแรงจูงใจเพื่อกระชับความสัมพันธ์ในหมู่คณะหรือ
เครือญาติ (factor loading = 0.522)
3) แรงจูงใจในด้านการพักผ่อน มีองค์ประกอบที่เป็นแรงจูงใจ ได้แก่ แรงจูงใจชมความสวยงาม
ของปราสาทหินพิมาย (factor loading = 0.648) และแรงจูงใจพักผ่อนหย่อนใจ/เปลี่ยนบรรยากาศ
(factor loading = 0.522)
5. ผลการวิเคราะห์ข้อมูลระดับความสำคัญที่มีต่อแรงจูงใจในแต่ละด้าน จำแนกตามปัจจัยด้าน
ประชากร สามารถอธิบายได้ดังนี้
1) แรงจูงใจในด้านการเรียนรู้ทางวัฒนธรรม เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า
นักท่องเที่ยวเพศหญิงมีแรงจูงใจสูงกว่าเพศชาย
นักท่องเที่ยวอายุ 15-25 ปี มีแรงจูงใจสูงกว่านักท่องเที่ยวอายุ 26-35 ปี, 36-45 ปี, 56 ปี
ขึ้นไป และ 46-55 ปี
นักท่องเที่ยวระดับการศึกษาสูงกว่าปริญญาตรีมีแรงจูงใจสูงกว่าระดับต่ำกว่าปริญญาตรี
และปริญญาตรี
นั ก ท่ อ งเที่ ย วอาชี พ วิ ช าชี พ ชั้ น สู ง มี แรงจู ง ใจสู ง กว่ า ผู้ ไ ม่ ไ ด้ ป ระกอบอาชี พ , ผู้ บ ริ ห าร,

พนักงาน, เกษตรกร และพนักงานใช้ฝีมือ/กึ่งฝีมือ


นักท่องเที่ยวสถานภาพโสดมีแรงจูงใจสูงกว่านักท่องเที่ยวสถานภาพอย่าร้าง/หม้าย/แยกกัน
อยู่ และสมรส
นักท่องเที่ยวรายได้ 20,000 บาทขึ้นไป มีแรงจูงใจสูงกว่านักท่องเที่ยวรายได้ 5,000-
10,000 บาท 15,001-20,000 บาท และ 10,001-15,000 บาท
นั ก ท่ อ งเที่ ย วภู มิ ล ำเนา กทม. มี แรงจู ง ใจสู ง กว่ า นั ก ท่ อ งเที่ ย วภู มิ ล ำเนาภาคกลาง,

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ, ภาคเหนือ และภาคใต้


2) แรงจูงใจในด้านเกียรติภูมิ เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า
นักท่องเที่ยวเพศชายมีแรงจูงใจสูงกว่าเพศหญิง
นักท่องเที่ยวอายุ 56 ปีขึ้นไป มีแรงจูงใจสูงกว่านักท่องเที่ยวอายุ 26 - 35 ปี, 15-25 ปี,

36-45 ปี และ 46-55 ปี


นักท่องเที่ยวระดับการศึกษาปริญญาตรี มีแรงจูงใจสูงกว่าระดับสูงกว่าปริญญาตรี และ

ต่ำกว่าปริญญาตรี
นักท่องเที่ยวอาชีพผู้บริหารมีแรงจูงใจสูงกว่าผู้ไม่ได้ประกอบอาชีพ, พนักงาน, เกษตรกร
วิชาชีพชั้นสูง และพนักงานใช้ฝีมือ/กึ่งฝีมือ

240 บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยสวนดุสิต


นักท่องเที่ยวสถานภาพอย่าร้าง/หม้าย/แยกกันอยู่ มีแรงจูงใจสูงกว่าสถานภาพโสด และ
สมรส
นักท่องเที่ยวรายได้ 20,000 บาทขึ้นไป มีแรงจูงใจสูงกว่ารายได้ 5,000-10,000 บาท,
15,001-20,000 บาท และ 10,001-15,000 บาท
นักท่องเที่ยวภูมิลำเนาภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคใต้ มีแรงจูงใจสูงกว่าภาคเหนือ,
ภาคกลาง และ กทม.
3) แรงจูงใจในด้านการพักผ่อน เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า
นักท่องเที่ยวเพศชายมีแรงจูงใจสูงกว่าเพศหญิง
นักท่องเที่ยวอายุ 36-45 ปี มีแรงจูงใจสูงกว่าอายุ 56 ปีขึ้นไป, 26-35 ปี, 15-25 ปี และ
46-55 ปี
นั ก ท่ อ งเที่ ย วระดั บ การศึ ก ษาสู ง กว่ า ปริ ญ ญาตรี มี แรงจู ง ใจในด้ า นการพั ก ผ่ อ นสู ง กว่ า
ปริญญาตรี และต่ำกว่าปริญญาตรี
นักท่องเที่ยวอาชีพพนักงานใช้ฝีมือ/กึ่งฝีมือ มีแรงจูงใจสูงกว่าอาชีพผู้บริหาร, วิชาชีพชั้นสูง
และพนักงาน, ผู้ไม่ได้ประกอบอาชีพ และเกษตรกร
นักท่องเที่ยวสถานภาพอย่าร้าง/หม้าย/แยกกันอยู่ มีค่าเฉลี่ยแรงจูงใจในด้านการพักผ่อน

สูงกว่าสถานภาพโสดและสมรส
นักท่องเที่ยวรายได้ 15,001-20,000 บาท มีแรงจูงใจสูงกว่ารายได้ 20,000 บาทขึ้นไป,
10,001-15,000 บาท และ 5,000-10,000 บาท
นักท่องเที่ยวภูมิลำเนา กทม. มีแรงจูงใจสูงกว่าภาคเหนือ, ภาคกลางและภาคใต้ และ

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
6. ผลการสำรวจข้อเสนอแนะด้านสภาพแวดล้อมและด้านการจัดการในอุทยานประวัติศาสตร์
พิมายพบประเด็นดังนี้ 1) ที่จอดรถของทางอุทยานไม่เพียงพอ 2) อยากให้มีร่มไว้บริการนักท่องเที่ยว 3) ควร
มีการประชาสัมพันธ์ผ่านเสียงตามสาย 4) ควรมีป้ายบอกข้อมูลแต่ละจุดให้ชัดเจนยิ่งขึ้น 5) ควรมีแผ่นพับที่
เป็นข้อมูลของอุทยานประวัติศาสตร์พิมายฉบับภาษาไทยและ 6) ควรมีช่องทางไว้สำหรับผู้พิการ
7. ผลการแสดงระดับทัศนคติของนักท่องเที่ยวต่อคุณลักษณะด้านสภาพแวดล้อมและการจัดการ
การท่องเที่ยวในอุทยานประวัติศาสตร์พิมาย เพื่อให้สะดวกแก่การวิเคราะห์ผู้วิจัยจึงได้จัดกลุ่มทัศนคติให้
เหลือ 2 กลุ่ม คือ นักท่องเที่ยวที่มีค่าเฉลี่ยระหว่าง 3.25 ถึง 4.19 หมายถึง นักท่องเที่ยวที่มีทัศนคติอยู่ใน
ระดับดีปานกลางและค่าเฉลี่ยระหว่าง 4.20 ถึง 5.00 หมายถึง นักท่องเที่ยวที่มีทัศนคติอยู่ในระดับดีมาก
พบว่า นักท่องเที่ยวที่มีทัศนคติในระดับดีปานกลาง คิดเป็นร้อยละ 45.25 ในขณะที่นักท่องเที่ยวที่มีทัศนคติ
ดีมาก คิดเป็นร้อยละ 54.75 ปี

ปีที่ 12 ฉบับที่ 3 ประจำเดือนกันยายน - ธันวาคม 2559 241


ผลการทดสอบสมมติฐาน
สมมติฐานที่ 1 การหาความสัมพันธ์ด้านเพศของนักท่องเที่ยวกับทัศนคติต่อคุณลักษณะด้าน

สภาพแวดล้อมและการจัดการการท่องเที่ยวในอุทยานประวัติศาสตร์พิมาย ผลการทดสอบ พบว่า เพศของ


นักท่องเที่ยวไม่มีความสัมพันธ์กับทัศนคติต่อคุณลักษณะด้านสภาพแวดล้อมและการจัดการการท่องเที่ยวใน
อุทยานประวัติศาสตร์พิมาย (Sig มีค่าเท่ากับ 0.633)
สมมติฐานที่ 2 การหาความแตกต่างของแรงจูงใจในการเดินทางมาท่องเที่ยวอุทยานประวัติศาสตร์
พิมายกับปัจจัยด้านประชากรศาสตร์ สามารถอธิบายผลการทดสอบได้ดังนี้
1) แรงจูงใจในด้านการเรียนรู้ทางวัฒนธรรม พบว่า ปัจจัยทางด้านประชากรศาสตร์ที่แตกต่างกัน
ได้แก่ อายุ (Sig = 0.000), อาชีพ (Sig = 0.000), สถานภาพ (Sig = 0.000) และรายได้ (Sig = 0.007)

มีแรงจูงใจในด้านการเรียนรู้ทางวัฒนธรรมแตกต่างกัน
2) แรงจูงใจในด้านเกียรติภูมิ พบว่า ปัจจัยทางด้านประชากรศาสตร์ที่แตกต่างกัน ได้แก่ อายุ

(Sig = 0.010) และภูมิลำเนา (Sig = 0.001) มีแรงจูงใจในด้านเกียรติภูมิแตกต่างกัน


3) แรงจูงใจในด้านเพื่อการพักผ่อน พบว่า ปัจจัยทางด้านประชากรศาสตร์ที่แตกต่างกัน ได้แก่
อาชีพ (Sig = 0.000) มีแรงจูงใจในด้านการพักผ่อนแตกต่างกัน
สมมติฐานที่ 3 การหาอิทธิพลของแรงจูงใจที่มีต่อทัศนคติด้านสภาพแวดล้อมและด้านการจัดการ
การท่องเที่ยวในอุทยานประวัติศาสตร์พิมาย พบว่า แรงจูงใจในการท่องเที่ยวทั้ง 3 ด้าน มีอิทธิพลต่อ
ทัศนคติด้านสภาพแวดล้อมและด้านการจัดการ สามารถอธิบายได้ดังนี้
อันดับที่ 1 คือ แรงจูงใจในด้านการเรียนรู้ทางวัฒนธรรม (Sig = 0.000) มีอิทธิพลต่อทัศนคติด้าน
สภาพแวดล้อมและด้านการจัดการ โดยมีค่า Beta อยู่ที่ 0.321
อั น ดั บ ที่ 2 คื อ แรงจู ง ใจในด้ า นเพื่ อ การพั ก ผ่ อ น (Sig = 0.000) มี อิ ท ธิ พ ลต่ อ ทั ศ นคติ ด้ า น

สภาพแวดล้อมและด้านการจัดการ โดยมีค่า Beta อยู่ที่ 0.170


และอั น ดั บ ที่ 3 คื อ แรงจู ง ใจในด้ า นเกี ย รติ ภู มิ (Sig = 0.047) มี อิ ท ธิ พ ลต่ อ ทั ศ นคติ ด้ า น

สภาพแวดล้อมและด้านการจัดการ โดยมีค่า Beta อยู่ที่ 0.029



สรุป และอภิปรายผล
1) นักท่องเที่ยวส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง จำนวน 235 คนและเพศชาย 165 คน มีอายุระหว่าง 15-
25 ปี การศึกษาต่ำกว่าปริญญาตรี สถานภาพโสด มีรายได้ 5,000-10,000 บาท มีภูมิลำเนาภาคตะวันออก
เฉียงเหนือซึ่งสอดคล้องกับ ปวีณา ทวีวงศ์โอฬาร (2552) ที่กล่าวว่า นักท่องเที่ยวที่เดินทางมาท่องเที่ยวใน
จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง อายุ 21-30 ปี การศึกษาปริญญาตรี สถานภาพโสด มีรายได้

ต่ำกว่า 10,000 บาท และยังมีความสอดคล้องกับ ดิฐพวิไลซ์ อ่อนยิ้ม (2557) ที่ศึกษาทัศนคติและพฤติกรรม


ต่อการท่องเที่ยวอุทยานเมืองเก่าพิจิตร พบว่า ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง อายุ 18-24 ปี เป็นนักเรียน/นักศึกษา
มีรายได้น้อยกว่า 10,000 บาท และสอดคล้องกับนงลักษณ์ และคนอื่นๆ (2555) ที่กล่าวว่า นักท่องเที่ยว

242 บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยสวนดุสิต


ที่มาท่องเที่ยวอุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัยเป็นเพศหญิง อายุ 25-34 ปี โสด การศึกษาปริญญาตรีและ

มีรายได้ต่ำกว่า 15,000 บาท


2) แรงจูงใจในการเดินทางมาท่องเที่ยวของนักท่องเที่ยวในอุทยานประวัติสาสตร์พิมาย ได้แก่

ชมสถานที่ที่มีชื่อเสียง ชมความสวยงาม เพื่อศึกษาโบราณวัตถุ เพื่อศึกษาค้นคว้าทางด้านวัฒนธรรมและ


โบราณคดี ท่องเที่ยวสถานที่แปลกใหม่ เพิ่มพูนประสบการณ์ให้แก่ชีวิต หลีกหนีความจำเจ เพื่อการพักผ่อน
เพื่อกระชับความสัมพันธ์ซึ่งสอดคล้องกับแนวคิดของ Crompton, J. L. (1997) ที่กล่าวว่า แรงจูงใจภาวะ
ซ่อนเร้นมี 7 ประเภท คือ หลีกหนีสิ่งแวดล้อมที่จำเจ เพื่อการสำรวจและประเมินตัวเอง เพื่อการพักผ่อน
ต้องการเกียรติภูมิ ต้องการถอยกลับไปสู่สภาพเดิม กระชับความสัมพันธ์ทางเครือญาติและสร้างการปะทะ
สังสรรค์ทางสังคม
3) ทัศนคติต่อด้านสภาพแวดล้อมและด้านการจัดการจำแนกเป็นรายด้าน พบว่า ด้านโบราณ
สถาน/โบราณวัตถุ ด้านทรัพยากรบุคคล ด้านประชาสัมพันธ์ ด้านราคาอยู่ในระดับเห็นด้วยอย่างยิ่ง แต่ใน
ขณะที่ด้านสิ่งอำนวยความสะดวกอยู่ในระดับเห็นด้วย ซึ่งไม่สอดคล้องกับ มณีรัตน์ ภาจันทร์คู (2553)

ที่กล่าวว่า ภูมิทัศน์ยังขาดการดูแลเท่าที่ควร องค์ประกอบภูมิทัศน์ทางธรรมชาติและองค์ประกอบภูมิทัศน์ที่


สร้างขึ้นบางส่วนยังไม่เหมาะสมกับสภาพพื้นที่และที่จอดรถมีเพียงด้านหน้าของอุทยานประวัติศาสตร์พิมาย
ทั้ ง นี้ ยั ง ไม่ มี พื้ น ที่ ส ำหรั บ จอดรถบั ส ขนาดใหญ่ จึ ง ต้ อ งนำไปจอดบริ เวณประตู ชั ย และเนื่ อ งจากที่ จ อดรถ

ไม่เพียงพอทำให้นักท่องเที่ยวที่เดินทางมาด้วยรถส่วนตัวต้องนำไปจอดบริเวณด้านข้างขอบถนนชิดกับ

รั้วอุทยานด้านนอก นอกจากนี้ยังสอดคล้องกับงานวิจัยของ กฤษณะ เดชาสุรักษ์ชน (2552) ที่ศึกษาเรื่อง


พฤติกรรมและทัศนคติของนักท่องเทีย่ วอิสระชาวต่างชาติทมี่ ตี อ่ วัดพระเชตุพนวิมลมังคลารามราชวรมหาวิหาร

กรุงเทพมหานคร ที่กล่าวว่า นักท่องเที่ยวชาวต่างชาติส่วนใหญ่มีทัศนคติต่อการท่องเที่ยววัดโพธิ์ด้านโบราณ


สถาน/โบราณวัตถุและด้านการบริการและสิ่งอํานวยความสะดวกในระดับดี ส่วนในด้านอื่นๆ อยู่ในระดับ
ปานกลาง
4) การจำแนกแรงจูงใจในแต่ละด้านตามแรงจูงใจในการเดินทางมาท่องเที่ยว สามารถจำแนก

แรงจูงใจออกเป็น 3 ด้าน คือ แรงจูงใจในด้านการเรียนรู้ทางวัฒนธรรม แรงจูงใจในด้านเกียรติภูมิและ

แรงจูงใจในด้านการพักผ่อน ซึง่ ได้สอดคล้องกับ ชวัลนุช อุทยาน (2552) ทีก่ ล่าวว่า จุดมุง่ หมายในการเดินทาง

ท่ อ งเที่ ย วมี 8 ประการ คื อ เพื่ อ พั ก ผ่ อ น เพื่ อ วั ฒ นธรรมและศาสนา เพื่ อ การศึ ก ษา เพื่ อ บั น เทิ ง

เพื่อประวัติศาสตร์และสนใจพิเศษ เพื่องานอดิเรก เพื่อเยี่ยมญาติมิตรและเพื่อธุรกิจ


5) ระดับความสำคัญต่อแรงจูงใจในแต่ละด้าน สามารถอธิบายได้ดังนี้
- แรงจูงใจในด้านการเรียนรู้ทางวัฒนธรรม พบว่า
นักท่องเที่ยวเพศหญิงมีแรงจูงใจสูงกว่าเพศชาย
นักท่องเที่ยวอายุ 15-25 ปี มีแรงจูงใจสูงกว่านักท่องเที่ยวอายุ 26-35 ปี, 36-45 ปี, 56 ปี
ขึ้นไป และ 46-55 ปี
นักท่องเที่ยวระดับการศึกษาสูงกว่าปริญญาตรี มีแรงจูงใจสูงกว่าระดับต่ำกว่าปริญญาตรี
และปริญญาตรี

ปีที่ 12 ฉบับที่ 3 ประจำเดือนกันยายน - ธันวาคม 2559 243


นักท่องเที่ยวอาชีพวิชาชีพชั้นสูงมีแรงจูงใจสูงกว่าผู้ไม่ได้ประกอบอาชีพ, ผู้บริหาร, พนักงาน,
เกษตรกร และพนักงานใช้ฝีมือ/กึ่งฝีมือ
นั ก ท่ อ งเที่ ย วสถานภาพโสดมี แรงจู ง ใจสู ง กว่ า นั ก ท่ อ งเที่ ย วสถานภาพอย่ า ร้ า ง/หม้ า ย

แยกกันอยู่ และสมรส
นักท่องเที่ยวรายได้ 20,000 บาทขึ้นไป มีแรงจูงใจสูงกว่านักท่องเที่ยวรายได้ 5,000-10,000
บาท 15,001-20,000 บาท และ 10,001-15,000 บาท
นักท่องเทีย่ วภูมลิ ำเนา กทม. มีแรงจูงใจสูงกว่าภูมลิ ำเนาภาคกลาง, ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ,

ภาคเหนือ และภาคใต้ สอดคล้องกับโครงการวิจัยของ เลิศพร ภาระสกุล (2558) ที่ศึกษาแรงจูงใจและ


ทัศนคติต่อความพึงพอใจของนักท่องเที่ยวชาวจีนต่อการท่องเที่ยวประเทศไทย พบว่า ปัจจัยแรงจูงใจด้าน
ปัจจัยผลักซึ่งเป็นแรงผลักดันภายในที่ทำให้เกิดการเดินทางมายังประเทศไทยที่สำคัญมากที่สุดหรือแรงจูงใจ
ขั้ น สู ง สุ ด สำหรั บ นั ก ท่ อ งเที่ ย วชาวจี น คื อ แรงจู ง ใจที่ จ ะเรี ย นรู้ แ ละเห็ น วั ฒ นธรรมใหม่ ที่ แ ตกต่ า งจาก
วัฒนธรรมจีน
- แรงจูงใจในด้านเกียรติภูมิ พบว่า
นักท่องเที่ยวเพศชายมีแรงจูงใจสูงกว่าเพศหญิง
นักท่องเที่ยวอายุ 56 ปีขึ้นไป มีแรงจูงใจสูงกว่าอายุ 26-35 ปี, 15-25 ปี, 36-45 ปี และ

46-55 ปี
นักท่องเที่ยวระดับการศึกษาปริญญาตรี มีแรงจูงใจสูงกว่าระดับสูงกว่าปริญญาตรี และ

ต่ำกว่าปริญญาตรี
นักท่องเที่ยวอาชีพผู้บริหาร มีแรงจูงใจสูงกว่าผู้ไม่ได้ประกอบอาชีพ, พนักงาน, เกษตรกร,
วิชาชีพชั้นสูง และพนักงานใช้ฝีมือ/กึ่งฝีมือ
นักท่องเที่ยวสถานภาพอย่าร้าง/หม้าย/แยกกันอยู่ มีแรงจูงใจสูงกว่าสถานภาพโสด และ
สมรส
นักท่องเที่ยวรายได้ 20,000 บาทขึ้นไป มีแรงจูงใจสูงกว่ารายได้ 5,000-10,000 บาท,
15,001-20,000 บาท และ 10,001-15,000 บาท
นักท่องเที่ยวภูมิลำเนาภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคใต้ มีแรงจูงใจสูงกว่าภาคเหนือ,
ภาคกลาง และ กทม. ซึ่งสอดคล้องกับทฤษฎีแรงจูงใจซ่อนเร้นของ Crompton (1979) ที่กล่าวว่า แรงจูงใจ
ซ่อนเร้นมี 7 ประเภทดังนี้ หลีกหนีความจำเจ ประเมินตนเอง พักผ่อน ต้องการเกียรติภูมิ ต้องการกลับไปสู่
สภาพดั้งเดิม กระชับความสัมพันธ์และเสริมสร้างทางสังคม
- แรงจูงใจในด้านการพักผ่อน พบว่า
นักท่องเที่ยวเพศชายมีแรงจูงใจสูงกว่าเพศหญิง
นักท่องเที่ยวอายุ 36-45 ปี มีแรงจูงใจสูงกว่าอายุ 56 ปีขึ้นไป, 26-35 ปี, 15-25 ปี และ

46-55 ปี

244 บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยสวนดุสิต


นักท่องเที่ยวระดับการศึกษาสูงกว่าปริญญาตรี มีแรงจูงใจสูงกว่าปริญญาตรี และต่ำกว่า
ปริญญาตรี
นักท่องเที่ยวอาชีพพนักงานใช้ฝีมือ/กึ่งฝีมือ มีแรงจูงใจสูงกว่าอาชีพผู้บริหาร วิชาชีพชั้นสูง
และพนักงาน, ผู้ไม่ได้ประกอบอาชีพ และเกษตรกร
นักท่องเที่ยวสถานภาพอย่าร้าง/หม้าย/แยกกันอยู่ มีแรงจูงใจสูงกว่าสถานภาพโสดและ
สมรส
นักท่องเที่ยวรายได้ 15,001-20,000 บาท มีแรงจูงใจสูงกว่ารายได้ 20,000 บาทขึ้นไป,
10,001-15,000 บาท และ 5,000-10,000 บาท
นักท่องเที่ยวภูมิลำเนา กทม. มีแรงจูงใจสูงกว่าภาคเหนือ, ภาคกลางและภาคใต้ และ

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
ซึ่ ง ผลการวิ เ คราะห์ ใ นข้ า งต้ น สอดคล้ อ งกั บ งานวิ จั ย ของ ฉั น ทั ช วรรณถนอม (2549)

ได้ศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจให้นักท่องเที่ยวชาวไทยเลือกเดินทางมาท่องเที่ยวภายในประเทศ
ผลการศึกษา พบว่า นักท่องเที่ยวชาวไทยเดินทางมาท่องเที่ยวเพื่อมาพักผ่อนเป็นเหตุผลสำคัญที่สุดและ

เห็นว่าประเทศไทยมีจุดเด่นและแหล่งท่องเที่ยวมีความหลากหลาย
6) ข้อเสนอแนะต่อด้านสภาพแวดล้อมและด้านการจัดการ โดยนักท่องเที่ยวได้ให้ข้อเสนอแนะ

ในประเด็ น ต่ า งๆ ดั ง นี้ อยากให้ มี บ ริ เ วณที่ จ อดรถเพิ่ ม มากขึ้ น อยากให้ มี ร่ ม ไว้ ค อยบริ ก าร ควรมี

การประชาสัมพันธ์ผ่านเสียงตามสายควรมีป้ายบอกข้อมูลในแต่ละจุดให้ชัดเจนและควรมีทางเดินสำหรับ

ผู้พิการ
7) ทัศนคติของนักท่องเทีย่ วต่อด้านสภาพแวดล้อมและด้านการจัดการภาพรวม พบว่า นักท่องเทีย่ ว

มีทัศนคติอยู่ในระดับดีมาก คิดเป็นร้อยละ 54.75 ในขณะที่ทัศนคติดีปานกลาง คิดเป็นร้อยละ 45.25

ซึ่งสอดคล้องกับ ดิฐพวิไลซ์ อ่อนยิ้ม (2557) ที่ศึกษาเรื่องทัศนคติและพฤติกรรมของนักท่องเที่ยวชาวไทย

ต่อการท่องเที่ยวอุทยานเมืองเก่าพิจิตร ผลการศึกษาพบว่า นักท่องเที่ยวมีทัศนคติว่าอุทยานเมืองเก่าพิจิตร


เป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่น่าสนใจมาก เพราะเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่มีคุณค่าทางวัฒนธรรม ภายในอุทยาน

มีจุดท่องเที่ยวต่างๆ ที่น่าสนใจ ความคุ้มค่าจากการท่องเที่ยวและรู้สึกดีต่อการท่องเที่ยวเป็นอย่างมาก


8) ความแตกต่างของแรงจูงใจกับปัจจัยด้านประชากรศาสตร์ ซึ่งสามารถอธิบายได้ดังนี้
- นักท่องเที่ยวที่มีแรงจูงใจในด้านการเรียนรู้ทางวัฒนธรรม พบว่า อายุ อาชีพ สถานภาพและ
รายได้ที่แตกต่างกันมีแรงจูงใจแตกต่างกัน สามารถอภิปรายได้ดังนี้
ด้านอายุ จะเห็นได้ว่าในด้านอายุนั้นส่วนใหญ่จะเป็นกลุ่มนักท่องเที่ยวที่มีอายุน้อยและ

กลุ่มสูงอายุ ซึ่งกลุ่มอายุน้อยจะให้ความสนใจในด้านการเรียนรู้เพื่อการศึกษาเล่าเรียน ส่วนผู้สูงอายุนั้น

ส่วนใหญ่จะเป็นกลุ่มคนว่างงาน จึงเป็นเหตุให้ใช้เวลาว่างเดินทางมาท่องเที่ยว ซึ่งจะมีแรงจูงใจแตกต่างจาก


กลุ่มวัยกลางคนที่จะใช้เวลาดังกล่าวในการประกอบอาชีพ

ปีที่ 12 ฉบับที่ 3 ประจำเดือนกันยายน - ธันวาคม 2559 245


ด้ า นอาชี พ นั ก ท่ อ งเที่ ย วที่ มี แรงจู ง ใจสู ง สุ ด คื อ นั ก ท่ อ งเที่ ย วที่ ป ระกอบวิ ช าชี พ ชั้ น สู ง
เนื่องจากเป็นกลุ่มอาชีพที่สังคมให้การยอมรับ นับถือและมีคุณวุฒิ และมีความต้องการที่จะสนใจในด้าน

เรื่องราวประวัติศาสตร์ และจะมีแรงจูงใจที่สูงกว่านักท่องเที่ยวที่มีอาชีพที่สังคมให้การยอมรับลงมา
ด้านสถานภาพ นักท่องเที่ยวสถานภาพโสดมีแรงจูงใจสูงสุด เนื่องจากเป้นกลุ่มนักท่องเที่ยว
ที่เป็นนักเรียน/นักศึกษา ซึ่งล้วนแล้วแต่เป็นกลุ่มนักท่องเที่ยวที่ยังไม่มีครอบครัวทั้งสิ้น
ด้านรายได้ นักท่องเทีย่ วรายได้สงู และนักท่องเทีย่ วรายได้นอ้ ยมีแรงจูงใจสูงกว่านักท่องเทีย่ ว

รายได้ปานกลาง เนื่องจากนักท่องเที่ยวรายได้สูงจะหมายถึงผู้ที่ประกอบอาชีพ มีหน้าที่การงานที่ดี ทำให้

มีเงินเพียงพอที่จะทำการใช้จ่ายในด้านการท่องเที่ยว แต่ในขณะที่นักท่องเที่ยวรายได้น้อยส่วนใหญ่จะอยู่ใน
กลุ่มนักเรียน/นักศึกษา จะมีความสนใจที่จะศึกษาหาความรู้เพื่อการศึกษา
- นักท่องเที่ยวที่มีแรงจูงใจในด้านเกียรติภูมิ พบว่า อายุและภูมิลำเนาที่แตกต่างกันมีแรงจูงใจ
แตกต่างกัน สามารถอภิปรายได้ดังนี้
ด้านอายุ นักท่องเที่ยวที่มีอายุมากมีแรงจูงใจสูงสุด อาจจะเป็นเพราะนักท่องเที่ยวที่มีอายุ
มากจะเป็นผู้ว่างงาน ทำให้มีเวลาหากิจกรรมทำในยามว่าง แต่จะสังเกตเห็นได้ว่านักท่องเที่ยวอายุน้อยจะมี
แรงจูงใจสูงกว่านักท่องเที่ยวอายุวัยกลางคน แต่มีแรงจูงใจน้อยกว่ากลุ่มวัยที่เป็นผู้ใหญ่ อาจเป็นเพราะวัยนี้
เป็นวัยที่อยากเก็บเกี่ยวประสบการณ์ เพื่อหลีกหนีความจำเจ
ด้านภูมิลำเนา นักท่องเที่ยวภูมิลำเนาภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคใต้มีแรงจูงใจสูงสุด
ในส่วนของภูมลิ ำเนาทีม่ าจากภาคตะวันออกเฉียงเหนือนัน้ นักท่องเทีย่ วสามารถเดินทางได้สะดวก ส่วนภาคใต้

นั้นจะต้องเดินทางมาด้วยเหตุผลที่สำคัญและมีจุดมุ่งหมายที่แน่นอน แต่ในขณะเดียวกันภูมิลำเนาภาคกลาง
จะมีแรงจูงใจสูงกว่านักท่องเที่ยวที่มีภูมิลำเนากรุงเทพมหานครแต่ยังน้อยกว่าภาคเหนือ อาจจะเป็นเพราะ
นักท่องเที่ยวที่อยู่กรุงเทพมหานครนั้นจะไม่ค่อยให้ความสนใจในการเดินทางมาท่องเที่ยวเท่าที่ควร เนือ่ งจาก
สถานทีท่ อ่ งเทีย่ วทีอ่ ยูโ่ ดยรอบกรุงเทพมหานครอาจจะมีความน่าสนใจและการเดินทางทีส่ ะดวกกว่า
- นักท่องเที่ยวที่มีแรงจูงใจในด้านเพื่อการพักผ่อน พบว่า อาชีพที่แตกต่างกันมีแรงจูงใจ

แตกต่างกัน สามารถอภิปรายได้ดังนี้ นักท่องเที่ยวอาชีพพนักงานใช้ฝีมือ/กึ่งฝีมือมีแรงจูงใจสูงสุด ในขณะที่


นักท่องเที่ยวที่มีอาชีพวิชาชีพชั้นสูงและพนักงานมีแรงจูงใจสูงกว่าผู้ที่ไม่ได้ประกอบอาชีพ แต่ยังมีแรงจูงใจ
น้อยกว่าอาชีพผู้บริหาร เนื่องจากเป็นอาชีพที่ใช้ร่างกาย สติปัญญา ใช้ความคิดในการประกอบอาชีพเป็น
อย่างมาก ทำให้เกิดความเครียด ซึ่งอาจจะเป็นเหตุผลที่ทำให้เกิดการเดินทางท่องเที่ยวเพื่อปรับเปลี่ยน
บรรยากาศ/พักผ่อน
9) แรงจูงใจทั้ง 3 ด้าน มีอิทธิพลต่อทัศนคติด้านสภาพแวดล้อมและด้านการจัดการ Sig 0.000,
0.000 และ 0.047 ซึ่งมีค่าน้อยกว่านัยสำคัญทางสถิติ (0.05) โดยที่แรงจูงใจในด้านการเรียนรู้ทางวัฒนธรรม
มีอิทธิพลมากที่สุด (β = 0.321) รองลงมา คือ นักท่องเที่ยวมีแรงจูงใจในด้านการพักผ่อน (β = 0.170)
และนักท่องเทีย่ วทีม่ แี รงจูงใจในด้านเกียรติภมู ิ (β = 0.029) สามารถอภิปรายได้วา่ อาจเป็นเพราะนักท่องเทีย่ ว

ที่เดินทางมาท่องเที่ยวในอุทยานประวัติศาสตร์พิมายส่วนใหญ่จะเป็นนักท่องเที่ยวที่มีแรงจูงใจในด้าน

246 บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยสวนดุสิต


การเรียนรู้ทางวัฒนธรรม เพราะเป็นกลุ่มนักท่องเที่ยวที่มีความสนใจในด้านสถาปัตยกรรม โบราณสถาน
โบราณวัตถุ ต้องการที่จะทำการศึกษาหาความรู้ ศึกษาเรื่องราวความเป็นมา รวมไปถึงการศึกษาวัฒนธรรม
ของผู้คนในสมัยก่อน ซึ่งจะมีความแตกต่างจากนักท่องเที่ยวที่มีแรงจูงใจในด้านการพักผ่อนกับแรงจูงใจใน
ด้านเกียรติภูมิที่มีต้นทุนในด้านความสนใจในเรื่องราว ต่างๆ ของอุทยานประวัติศาสตร์พิมายน้อยกว่า

โดยนักท่องเที่ยวที่มีแรงจูงใจทั้ง 2 ด้านนี้ไม่จำเป็นที่จะต้องได้รับความรู้จากแหล่งท่องเที่ยวมากเท่าที่ควร
อาจจะเพียงแค่เดินทางมาท่องเที่ยวเพื่อการพักผ่อนเท่านั้น

ข้อเสนอแนะ
ข้อเสนอแนะที่ได้จากการวิจัย
1. จากการสำรวจ พบว่า แรงจูงใจของนักท่องเที่ยวที่มากที่สุด คือ ด้านชมสถานที่ที่มีชื่อเสียง
เยี่ยมชมสถาปัตยกรรม และชมความสวยงามของปราสาทหินพิมาย ดังนั้นผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องไม่ว่าจะเป็น
หน่วยงานในท้องถิ่น เช่น หน่วยงานการประชาสัมพันธ์ด้านการท่องเที่ยว หน่วยงานขององค์กรปกครอง

ส่วนท้องถิน่ คนในชุมชนรวมไปถึงการท่องเทีย่ วจังหวัดนครราชสีมา ได้เข้ามามีสว่ นร่วมและบูรณาการทำงาน

ร่วมกันและตระหนักในคุณค่าของทรัพยากรหลักในด้านการท่องเที่ยวแห่งนี้ และให้การประชาสัมพันธ์

มากยิ่งขึ้น
2. จากการศึกษาอิทธิพลของแรงจูงใจแต่ละด้านกับทัศนคติด้านการจัดการการท่องเที่ยว พบว่า
แรงจูงใจในด้านการเรียนรู้ทางวัฒนธรรมมีอิทธิพลมากที่สุด รองลงมา คือ แรงจูงใจในด้านการพักผ่อน และ
แรงจูงใจในด้านเกียรติภูมิ อาจเป็นเพราะนักท่องเที่ยวที่เดินทางมาท่องเที่ยวส่วนใหญ่จะเป็นนักท่องเที่ยวที่มี
แรงจูงใจด้านเรียนรู้วัฒนธรรม ต้องการศึกษาหาความรู้ เรื่องราวความเป็นมา และรวมไปถึงการศึกษาถึง
วัฒนธรรมของผู้คนในสมัยก่อน ซึ่งจะแตกต่างกับนักท่องเที่ยวที่มีแรงจูงใจอีกทั้ง 2 ประเภท ที่มีต้นทุนด้าน
ความสนใจน้อยกว่า ดังนั้นสิ่งที่จะทำให้แรงจูงใจทั้ง 2 นั้นมีอิทธิพลเพิ่มขึ้นมา ผู้ที่มีส่วนที่เกี่ยวข้องควรหัน
กลับไปมองนักท่องเที่ยวทั้ง 2 กลุ่มนี้ ต้องหากิจกรรมการท่องเที่ยวอื่นๆ เพื่อเป็นการกระตุ้นให้นักท่องเที่ยว
ได้เดินทางเข้ามาท่องเที่ยวเพื่อการพักผ่อนให้มากยิ่งขึ้น
ข้อเสนอแนะสำหรับการวิจัยครั้งต่อไป
1. การศึกษาในเนื้อหาเดียวกันแต่กลุ่มตัวอย่างเป็นนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติ เพื่อการเปรียบเทียบ
ระหว่างนักท่องเที่ยวชาวไทยกับนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติว่ามีแรงจูงใจและทัศนคติด้านสภาพแวดล้อมและ
ด้านการจัดการเป็นอย่างไร และเพื่อให้การศึกษานั้นมีเนื้อหาที่ครอบคลุมกลุ่มนักท่องเที่ยวทั้งหมด
2. การศึกษาด้านความสามารถในการรองรับนักท่องเที่ยว เนื่องจากมีการคาดว่าในอนาคตจะมี
จำนวนนักท่องเที่ยวเดินทางมาท่องเที่ยวเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ พร้อมทั้งยังศึกษาในเรื่องของผลกระทบจาก

การท่องเที่ยว เพื่อการประเมินและทำการป้องกันไม่ให้สถานที่ท่องเที่ยวได้รับผลกระทบจากการท่องเที่ยว
มากจนเกินไปจนเกิดความเสื่อมโทรม

ปีที่ 12 ฉบับที่ 3 ประจำเดือนกันยายน - ธันวาคม 2559 247


3. การศึกษาเกี่ยวกับความพึงพอใจของนักท่องเที่ยวจากการท่องเที่ยวในอุทยานประวัติศาสตร์
พิมาย เพือ่ หาสิง่ ทีย่ งั เป็นปัญหาหรือข้อทีค่ วรทำการปรับปรุง เพือ่ เป็นการสร้างความพึงพอใจให้กบั นักท่องเทีย่ ว

ในรุ่นหลังที่เดินทางมาท่องเที่ยว

เอกสารอ้างอิง
กฤษณะ เดชาสุรักษ์ชน. (2552). พฤติกรรมและทัศนคติของนักท่องเที่ยวอิสระชาวต่างชาติที่มีต่อ

วัดพระเชตุพนวิมลมังคลารามราชวรมหาวิหาร กรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจ
มหาบัณฑิต สาขาวิชาการตลาด คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
ฉันทัช วรรณถนอม. (2549). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจให้นักท่องเที่ยวชาวไทยเลือกเดินทาง

ท่องเทีย่ วภายในประเทศ. วิทยานิพนธ์ศลิ ปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการอุตสาหกรรม

การท่องเที่ยว คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.


ชวัลนุช อุทยาน. (2552). เอกสารประกอบการสอนวิชาพฤติกรรมนักท่องเที่ยว. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตร
มหาบัณฑิต สาขาวิชาการท่องเที่ยว คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพ.
ปวีณา ทวีวงศ์โอฬาร. (2552). ความพึงพอใจของนักท่องเที่ยวชาวไทยในการท่องเที่ยวในจังหวัด
พระนครศรี อ ยุ ธ ยา. วิ ท ยานิ พ นธ์ บ ริ ห ารธุ ร กิ จ มหาบั ณ ฑิ ต สาขาวิ ช าบริ ห ารธุ ร กิ จ คณะ
บริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.
มณีรัตน์ ภาจันทร์คู. (2553). แนวทางการปรับปรุงภูมิทัศน์อุทยานประวัติศาสตร์พิมาย. วิทยานิพนธ์

ภูมิสถาปัตยกรรมศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาภูมิสถาปัตยกรรม คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์


มหาวิทยาลัยศิลปกร.
เลิศพร ภาระสกุล. (2558). แรงจูงใจและทัศนคติที่ส่งผลต่อความพึงพอใจโดยรวมของนักท่องเที่ยว

ชาวจีนต่อการท่องเที่ยวประเทศไทย. รายงานการวิจัย มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.
ศรินทิพย์ คาวาโนเบะ. (2554). แรงจูงใจและพฤติกรรมของนักท่องเที่ยวชาวไทย กรณีศึกษา อำเภอเมือง
จั ง หวั ด น่ า น. วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาวิชาการตลาด คณะบริหารธุรกิจ
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.
Crompton, J. L. (1979). Motivations for Pleasure Vacation. Annals of Tourism Research, 6
(4), pp. 408-424.
ดิฐพวิไลซ์ อ่อนยิ้ม. (2557). ทัศนคติและพฤติกรรมของนักท่องเที่ยวชาวไทยต่อการท่องเที่ยวอุทยาน

เมืองเก่าพิจิตร. วารสารวิชาการการท่องเที่ยวไทยนานาชาติ, 10 (2), หน้า 61.

248 บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยสวนดุสิต

You might also like