You are on page 1of 4

เรียงความเรี่อง สังคมออนไลน์เป็ นภัยร้ายใกล้ตัว

โดย เด็กชายธิษณ์ทักษ์ สมานุหัตถ์ นักเรียนชัน


้ มัธยมศึกษาปี ที่ ๑

ปั จจุบันอินเตอร์เน็ต หรือโลกออนไลน์เป็ นส่วนหนึ่งของชีวิตเรา


ตัง้ แต่การสื่อสาร ศึกษา ค้าขาย หรือเพื่อการบันเทิง ทุกๆเรื่องที่
เกี่ยวข้องกับชีวิตประจำวันของคนเรา จะมีอินเตอร์เน็ตเข้ามาเกี่ยวข้อง
ไม่มากก็น้อย ด้วยเหตุผลที่สะดวกเข้าถึงง่ายและราคาถูก เมื่อเข้าถึง
ง่าย โอกาสจะเป็ นภัยต่อผู้ใช้ก็มีมาก นอกจากนี ้ กลุ่มคนที่ใช้
อินเตอร์เน็ตมีหลากหลายทัง้ เพศ วัย ความรู้ มีทงั ้ คนดี คนไม่ดี ซึ่งไม่
ง่ายเลยที่เราจะแยกแยะได้โดยง่าย เมื่อเราไม่สามารถที่จะตัด
อินเตอร์เน็ตออกจากชีวิตประจำวันเราได้ ทำอย่างไรเราจะอยู่และ ใช้
มันให้เกิดประโยชน์สงู สุดและปลอดภัยได้ จึงเป็ นเรื่องที่เราทุกคนต้อง
เรียนรู้และตระหนัก

อินเตอร์เน็ตคือระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ที่เกิดจาก
การรวมตัวกันของหลายเครือข่ายย่อยทัง้ จากส่วนบุคคลหรือจากองค์กร
ถึงในปั จจุบันจะมีจำนวนผู้ใช้อินเตอร์เน็ตทั่วโลกโดยประมาณ 2.095
พันล้านคนหรือ 30.2% ของประชากรทั่วโลก แต่อินเตอร์เน็ตกลับเป็ น
เครือข่ายที่ไม่มีใครเป็ นเจ้าของเป็ นสังคมที่ใหญ่มากหรือเรียกได้ว่าเป็ น
สังคมออนไลน์ ในสังคมแห่งนี ้ เราสามารถสร้างตัวตนของเราให้มี
คุณลักษณะอย่างไรก็ได้ แสดงตนเป็ นคนที่มีอุดมการณ์ ค่านิยมอย่างไร
ก็ได้ซึ่งอาจไม่ตรงกับความเป็ นจริงแม้แต่นิดเดียว และยิ่งเราคุ้นชินกับ
โลกออนไลน์มากเท่าไร เข้าถึงง่ายและสะดวกมากเท่าไร โอกาสที่เราจะ
มีภัยจากเจ้าสิ่งนีก
้ ็ยิ่งมีโอกาสสูงมากขึน
้ เท่านัน

ภัยจากสื่อสังคมออนไลน์มีแนวโน้มทีเป็ นภัยคุกคามเด็กและ
เยาวชนมากขึน
้ อนุกรรมการส่งเสริมการป้ องกันการคุ้มครองเด็กเผย
ผลการสำรวจเยาวชนผ่านทางออนไลน์พบว่ามีผู้ใช้งานอานุ 6-18 ปี
จำนวน 15,318 คน ทัง้ ประเทศ ปี 2562 พบว่า เด็กเกือบทัง้ หมดเห็น
ว่าอินเตอร์เน็ตมีประโยชน์ แต่ในเวลาเดียวกันก็ตระหนักถึงเรืองภัย
อันตรายและความเสี่ยงหลากหลายรูปแบบ แต่ที่น่าเป็ นห่วงคือร้อยละ
86 เชื่อว่าตนเองสามารถให้คำแนะนำช่วยเหลือเพื่อนที่ประสบภัย
ออนไลน์ได้ ร้อยละ 83 ใช้อินเตอร์เน็ตผ่านแท็บเล็ตหรือสมาร์ทโฟน
โดยร้อยละ 38 ใช้เพื่อเล่นเกมออนไลน์มากกว่า 3 ชมต่อวัน

จากข้อมูลข้างต้น เมื่อเด็กและเยาวชนใช้ประโยชน์จาก
อินเตอร์เน็ตมากขึน
้ ภัยคุกคามทางสังคมออนไลน์ก็มีตามมาในหลายรูป
แบบเช่นเดียวกัน เช่นการใช้เวลาที่มากจนส่งผลกระทบต่อความ
สัมพันธ์ทางสังคม ครอบครัว การเรียน การนั่งอยู่กับที่เป็ นเวลานาน
ก่อผลเสียหายต่อกล้ามเนื้อ สายตา เป็ นโรคไม่ติดต่อ เช่น โรคอ้วน เบา
หวานตามมา การถูกล่อลวงข้อมูลส่วนตัวไปใช้ก่ออาชญากรรมในหลาย
รูปแบบ โดยที่เด็กและเยาวชนรู้เท่าไม่ถึงการ การล่อลวงทางเพศโดยใช้
อุบายหรือเข้าถึงสื่อลามกอนาจารก่อนถึงวัยอันควร การถูกติดตาม
คุกคามออนไลน์ ในสังคมออนไลน์เราสามารถสร้างตัวตนเป็ นใครที่เรา
ต้องการก็ได้ ด้วยเหตุผลดังกล่าว อาชญากรจึงมักก่ออาชญากรรมได้
ง่ายเนื่องจากไม่ใช่ตัวตนที่แท้จริง โดยล่อลวงในหลายรูปแบบเช่น การ
หลอกขายสินค้าที่ไม่มีอยู่จริง เมื่อเกิดความเสียหาย ไม่สามารถติดตาม
ได้ หรือบางครัง้ เด็กและเยาวชนเผลอไปละเมิดสิทธิของคนอื่น ด้วยหลง
เชื่อข้อมูลทางออนไลน์ที่ยังไม่ได้ตรวจสอบแล้วนำไปแสดงความเห็นจน
เกิดความเสียหาย อย่างไรก็ตามหากเด็กและเยาวชนได้รับคำแนะนำที่
เป็ นประโยชน์หรือความช่วยเหลืออย่างรวดเร็วก็จะสามารถป้ องกันภัย
คุกคามทางสังคมออนไลน์ได้อย่างดี
โดยวิธีการป้ องกันตัวจากภัยอันตรายในโลกออนไลน์มีหลายวิธี
เช่น ใช้เวลาในโลกออนไลน์อย่างเหมาะสมพอดีไม่สง่ ผลเสียต่อสุขภาพ
การงาน และ ชีวิตด้านอื่น มีความยืดหยุ่น เข็มแข็ง เพื่อรับมือกับการก
ลั่นแกล้งได้ดี หมั่นรักษาความปลอดภัยด้วยการตัง้ รหัสผ่าน ป้ องกัน
ไวรัสคอมพิวเตอร์ และการโจมตีระบบ รักษาความเป็ นส่วนตัว ปกป้ อง
ข้อมูลส่วนบุคคล ไม่ละเมิดลิขสิทธิ ์ คิดวิเคราะห์ สืบค้น แยกแยะ ไม่
เชื่อทุกอย่างที่เห็นหรือรับมาโดยทันที ใช้อินเตอร์เน็ตโดยเคารพสิทธิผู้
อื่น

จากที่กล่าวมาสรุปได้ว่า โลกออนไลน์ การใช้อินเตอร์เน็ตในชีวิต


ประจำวันที่มีคุณอนันต์นน
ั ้ มีภัยอันตรายแฝงอยู่มากมายทัง้ แบบที่เกิด
กับตัวเราเอง มีผลทัง้ ต่อสุขภาพ และด้านสังคม ยกตัวอย่างเช่นการ
โจรกรรมข้อมูลออนไลน์ การโดนรังแกออนไลน์ การถูกล่อลวงในด้าน
ต่างๆทัง้ การเงิน ทางเพศ และ อื่นๆ หลายๆครัง้ ที่อาจรุนแรงถึงชีวิต
เมื่อเราไม่อาจปฏิเสธความจำเป็ นและประโยชน์ของมันได้ เปรียบเหมือ
นหลายๆสิ่งที่เราจำเป็ นมีอยู่ใกล้ตัว ซึ่งหากไม่ระมัดระวังการใช้ก็อาจ
เกิดอันตรายได้เช่น ก๊าซหุงต้ม มีดทำครัว ไฟแช็คเป็ นต้น จึงควรศึกษา
วิธีการป้ องกันอันตรายต่างๆจากโลกออนไลน์เพื่อความปลอดภัยของ
เราเอง ซึ่งตัวเราเองก็ไม่ควรที่จะเป็ นภัยร้านในโลกออนไลน์เสียเอง
และคอยช่วยเหลือคนอื่นในสังคมที่มีปัญหาเกี่ยวกับภัยจากออนไลน์ต่อ
ไป

You might also like