You are on page 1of 12

-1-

ความรู้เรื่องวัคซีนป้องกันโรคโควิด 19
สำหรับอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน
ความรู้ที่จำเป็นสำหรับ อสม.
การสร้างภูมิคุ้มกันของร่างกาย เพื่อป้องกันการติดเชื้อโรคได้ 2 วิธี คือ วิธีที่ 1) สร้างจากคนติด
เชื้อโรคโดยธรรมชาติ และวิธีที่ 2) สร้างจากการฉีดวัคซีนเข้าไปในร่างกาย โดยมีหลักการเดียวกัน คือ จะไป
กระตุ้นให้ร่างกายสร้างภูมิคุ้มกันขึ้นมาเพื่อลดอาการเจ็บป่วยหรือลดความรุนแรงของโรค และลดการแพร่
ระบาดของโรค สามารถป้องกันการติดต่อเชื้อโรคได้ในภายหลัง แต่วิธีสร้างจากคนติดเชื้อโรคอาจต้องแลกมา
ด้วยชีวิต ดังนั้น การผลิตและการฉีดวัคซีนจึงต้องเน้นความปลอดภัย ปัจจุบันมีการผลิตวัคซีนป้องกันโรคโควิด-
19 ได้ที่ผ่านการวิจัยระยะที่ 3 โดยเน้นการประเมินและทดสอบความปลอดภัยของวัคซีน มาทุกๆ ระยะของ
การผลิตวัคซีน

ประเทศไทยจะนำวัคซีน 2 ชนิด เข้ามาใช้ในประเทศ คือ “วัคซีนที่ทำจากเชื้อโรคตายแล้ว


(inactivated vaccine)”และ วัคซีนที่ทำจากเชื้อโรคที่ทำให้อ่อนแอลงแล้วซึ่งจะไม่ทำให้เกิดโรค (viral
vector vaccine)
“วัคซีนชนิดเชื้อตาย (inactivated vaccine)” ได้แก่ วัคซีนโคโรนาแวค (CoronaVac) ซึ่งเป็นของ
บริษัทซิโนแวค (SinoVac) จากประเทศจีน ข้อดีของวัคซีนในกลุ่มนี้ คือ ใช้เทคโนโลยีการผลิตที่มีมานาน
มีประสบการณ์และความมั่นใจในการใช้เป็นอย่างดี แต่ข้อจำกัด คือ ราคาวัคซีนค่อนข้างสูง เนื่องจากกรรมวิธี
ในการผลิตต้องดำเนิน การในห้อ งปฏิบัติการ ที่มีระบบความปลอดภัยทางชีวภาพในระดับที่ 3 สำหรับ
ประสิทธิภาพของวัคซีนจากการศึกษาล่าสุดในประเทศบราซิล พบว่าประสิทธิภาพของวัคซีนเฉลี่ยอยู่ที่มากกว่า
50.3% (รวมอาสาสมัครที่ติดเชื้อทั้งที่มีอาการรุนแรงและไม่รุนแรง) โดยให้วัคชีน 2 ครั้ง ห่างกัน 2-4 สัปดาห์
ด้วยการฉีดเข้ากล้ามเนื้อ การเก็บรักษาวัคซีนในอุณหภูมิ 2-8 องศาเซลเซียส สำหรับผลข้างเคียงที่รุนแรงของ
วัคซีน ยังไม่มีรายงาน จากการวิจัยทดลองระยะที่ 3 วัคซีนนี้จะนำเข้าประเทศไทยล็อตแรกในเดือนกุมภาพันธ์
2564 จำนวน 2 แสนโด๊ส และเดือนมีนาคม 2564 อีก 8 แสนโด๊ส จากที่สั่งซื้อทั้งหมด 2 ล้านโดส
-2-

ส่วนวัคซีนชนิดที่ทำให้เชื้อโรคอ่อนแอลงแล้วซึ่งจะไม่ทำให้เกิดโรค (viral vector vaccine) ได้แก่


วั ค ซี น ของบริ ษ ั ท AstraZeneca ร่ ว มกั บ University of Oxford ของประเทศอั ง กฤษ ซึ ่ ง มี ข ้ อ ตกลงกั บ
รัฐบาลไทยจะต้องได้รับการถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิตจากมหาวิทยาลัย Oxford และบริษัท AstraZeneca
จากการศึกษาวิจัยพบว่าวัคซีนมีประสิทธิภาพเฉลี่ยโดยรวม 70% (โดยกลุ่มอาสาสมัครที่ได้รับวัคซี นครึ่งโด๊ส
ตามด้วย 1 โด๊ส ประสิทธิภาพของวัคซีนอยู่ที่ 90% และอาสาสมัครกลุ่มที่ได้รับวัคซีน 2 โด๊ส ประสิทธิภาพของ
วัคซีนอยู่ที่ 62%) โดยให้วัคซีน 2 ครั้ง ห่างกัน 4 สัปดาห์ ฉีดเข้ากล้ามเนื้อ การเก็บรักษาวัคซีนสามารถเก็บได้
ที่อุณหภูมิ 2-8 องศา (อย่างน้อย 6 เดือน) ด้านผลข้างเคียงพบว่าอาการที่รุนแรงที่เกิดขึ้นไม่พบว่าเกี่ยวข้อง
จากการรับวัคซีน ซึ่งคาดว่าจะทยอยส่งมอบล็อตแรก จำนวน 26 ล้านโดส เข้ามาในประเทศไทย

ในเดือนพฤษภาคม 2564 วัคซีนทั้งจากบริษัท AstraZeneca และบริษัทซิโนแวค (SinoVac)


2 ชนิดนี้ ที่จะนำเข้ามาใช้ในประเทศไทย ถือว่ามีความปลอดภัย การฉีดวัคซีนต้องเป็นไปตามความสมัคร
ใจ อาจมีผลข้างเคียงแต่ก็ไม่มาก และเมื่อนำเข้ามาแล้ว ทุกคนฉีดก็จะครอบคลุมประมาณ 50 - 60% ของคน
ไทย บวกกับคนจำนวนหนึ่งที่ติดเชื้อไปแล้วและมีภูมิคุ้มกัน ซึ่งน่าจะมีรวม ๆ ประมาณ 60-70% การฉีดวัคซีน
แล้วนั้นไม่ได้หมายความว่าจะป้องกันการติดแพร่เชื้อโรคโควิด-19 ได้ร้อยเปอร์เซ็นต์ วัคซีนอาจจะสร้าง
ภูมิคุ้มกันโรคของเราได้นานมาก หรืออาจอยู่ได้ไม่เกิน 1 ปี ต้องฉีดปีละครั้ง ซึ่งผลการวิเคราะห์วิจัยในขณะนี้
ส่วนใหญ่วัดผลลัพธ์ใน ‘ผู้ป่วยที่มีอาการ’ พบว่า วัคซีนสามารถป้องกันการเจ็บป่วย และป้องกันอาการเจ็บป่วย
รุนแรง, และหยุดการแพร่ระบาดได้
อาการข้างเคียงที่อาจจะเกิดขึ้นได้จากการวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19
บทเรียนจากต่างประเทศพบอาการข้างเคียง หรือผลข้างเคียงภายหลังได้รับ วัคซีนโควิด-19 อาจจะ
เกิดขึ้นได้ แต่เกือบทั้งหมดเป็นอาการเพียงเล็กน้อยสามารถดูแลได้ ตั้งแต่ระดับอาการไม่รุนแรงอย่างใด
อย่างหนึ่งหรือหลายอย่างรวมกัน ตั้งแต่มีไข้ต่ำ ๆ ปวดบวมแดงร้อนบริเวณที่ฉีดวัคซีน ปวดศีรษะ อ่อนเพลีย
ไม่มีแรง คลื่นไส้ อาเจียนน้อยกว่า 5 ครั้ง หรืออาการอื่นๆ เช่น ท้องเสีย ผื่นแดงเล็กน้อย
หากพบอาการรุนแรง เช่น ไข้สูง ปวดศีรษะรุนแรง ผื่นขึ้นทั้งตัว เหนื่อยแน่นหน้าอก หรือหายใจไม่
ออก ชัก หรือ หมดสติ อาเจียนมากกว่า 5 ครั้ง มีจุดเลือดออกจำนวนมาก ปากเบี้ยว หรือกล้ามเนื้ออ่อนแรง
อาการป่วยรุนแรงอื่นๆ ทำให้มีความกังวลมาก ควรรีบแจ้งเจ้าหน้าที่หรือ อสม. เพื่อพบแพทย์โดยด่วน
กลุ่มเป้าหมายที่ต้องฉีดวัคซีนโรคโควิด-19 ก่อนมีใครบ้าง?
การจัดลำดับความเร่งด่วนของกลุ่มเป้าหมายที่จะได้รับการฉีดวัคซีนโควิด -19 พิจารณาจากผู้ที่มี
ความเสี่ยงต่อการเจ็บป่วยโรคโควิด-19 จัดเป็น ๕ กลุ่ม ดังนี้ กลุ่มที่ 1 บุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุข
-3-

ที่ปฏิบัติงานด่านหน้าทั้งภาครัฐและเอกชน กลุ่มที่ 2 กลุ่มบุคลากรด่านหน้าที่ปฏิบัติงานเกี่ยวข้องกับควบคุม


โรคและมีโอกาสสัมผัสกับผู้ป่วยโรคโควิด-19 รวมทั้ง อสม. และเจ้าหน้าที่ฝ่ายความมั่นคง กลุ่มที่ 3 บุคคล
ที่มีโรคประจำตัว 7 โรค ได้แก่ โรคเบาหวาน โรคทางเดินหายใจเรื้อรัง โรคหัวใจและหลอดเลือด โรคไตวาย
เรื้อรังเรื้อรังที่อยู่ในระยะ 5 ขึ้นไป โรคหลอดเลือดสมอง โรคมะเร็งทุกชนิด และโรคอ้วนที่มีน้ำหนักตัวมาก
กลุ่มที่ 4 ผู้มีอายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไป และ กลุ่มที่ 5 ประชาชนทั่วไป

แผนปฏิบัติการฉีดวัคซีนโรคโควิด-19 ในประเทศไทย
แผนการฉีดวัคซีนโรคโควิด-19 ในประเทศไทย แบ่งออกเป็น 3 ระยะดังนี้
ระยะที่ 1 มีวัคซีนปริมาณจำกัด (ก.พ. – เม.ย. 64) ฉีดวัคซีนพื้นที่ที่มีการควบคุมการแพร่ระบาด
เพื่อลดการป่วยรุนแรงและเสียชีวิตจากโรคโควิด-19 เพื่อรักษาระบบสาธารณสุขของประเทศ กลุ่มเป้าหมาย
รับวัคซีนระยะที่ 1 ได้แก่
กลุ่มที่ 1 บุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุขด่านหน้า ทั้งภาครัฐและเอกชน และ อสม.
กลุ่มที่ 2 บุคคลที่มีโรคประจำตัว โรคเบาหวาน โรคทางเดินหายใจเรื้อรัง เช่น ปอดอุดกั้นเรื้อรัง และ
โรคหอบหืดที่ควบคุมได้ไม่ดี โรคหัวใจและหลอดเลือด โรคไตเรื้อรัง ที่อยู่ในระยะ 5 ขึ้นไป (ไตวายเรื้อรัง)
โรคหลอดเลือดสมอง โรคมะเร็งทุกชนิด ที่อยู่ระหว่างการรักษาด้วย เคมีบำบัด รังสีบำบัด และภูมิคุ้มกันบำบัด
และโรคอ้วน
กลุ่มที่ 3 ผู้มีอายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไป ด้วยธรรมชาติวัย 60 ปีขึ้นไปภูมิคุ้มกันร่างกายจะลดน้อยลง
กลุ่มที่ 4 เจ้าหน้าที่เกี่ยวข้องกับการควบคุมโควิดที่มีโอกาสสัมผัสกับผู้ป่วยโควิด
ระยะที่ 2 เมื่อมีวัคซีนมากขึ้น (พ.ค. – ธ.ค. 64) เพิ่มเติมกลุ่มเป้าหมายในระยะที่ 1 และขยายพื้นที่
ครอบคลุมทั้งประเทศ เพื่อรักษาเศรษฐกิจ สังคมและความมั่นคงของประเทศ กลุ่มเป้าหมายเพิ่มเติม ได้แก่
1)บุคคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุขที่นอกเหนือจากด่านหน้า 2) เจ้าหน้าที่ที่มีโอกาสสัมผัสผู้ป่วยโควิด
3) ผู้ประกอบอาชีพด้านการท่องเที่ยว เช่น พนักงานโรงแรม มัคคุเทศก์ พนักงานสถานบันเทิง 4) ผู้เดินทาง
ระหว่างประเทศ เช่น นักบิน/ลูกเรือ ผู้เดินทางต่างประเทศ
ระยะที่ 3 เมื่อมีวัคซีนเพียงพอ (ม.ค. 65 เป็นต้นไป) เพื่อสร้างภูมิคุ้มกันในระดับประชากรและฟื้นฟู
ประเทศกลับเข้าสู่ภาวะปกติ กลุ่มเป้าหมาย คือ ประชาชนทั่วไป
จากสถานการณ์ ก ารระบาดโรคโควิด-19 ในประเทศ ที่ผ่านมาอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน
(อสม.) มี บ ทบาทอย่างมากในการยั บ ยั้ งการแพร่ร ะบาดของโรค ในพื้นที่ต่าง ๆ และพื้นที่ที่ตนเองได้ รั บ
มอบหมาย โดย อสม.ต้ อ งเตรี ย มความพร้ อ มให้ บ ริ ก ารด้ า นสาธารณสุ ข อย่ า งต่ อ เนื่ อ งและเหมาะสม
กับสถานการณ์อยู่เสมอ การแพร่ระบาดโรคโควิด-19 ระลอกใหม่ในประเทศ รัฐบาลโดยกระทรวงสาธารณสุข
จะได้เตรียมให้บริการฉีดวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 แก่ประชาชน ประมาณเดือน กุมภาพันธ์ 2564 โดยมีแผน
จะเริ่มให้บริการฉีดวัคซีนในประชาชนกลุ่มเป้าหมายตามข้อกำหนดก่อน ด้วยเหตุดังกล่าว อสม.จึงจำเป็นต้องมี
ความรู้ ความเข้าใจ ในการให้ความรู้ และคัดกรองกลุ่มเป้าหมายรับวัคซีนโควิด-19 ดังนี้
-4-

อสม.มี 2 บทบาท คื อ 1) การให้ ค วามรู้ 2) คั ด กรองกลุ่ ม เป้ า หมายที่ จ ะรั บ วั ค ซี น โควิด-19


ดังนั้น อสม. ควรมีการเตรียมความพร้ อ มตนเอง ด้ า นความรู้ การดำเนินงานของ อสม. ในกาในการช่ ว ย
บริ ก ารรั บ วั ค ซี น โควิ ด -19 คื อ การออกเคาะประตู บ ้ า นให้ ค วามรู ้ ป ระชาชน และการคั ด กรอง
กลุ่ ม เป้ า หมาย (เน้ น ผู้ มี โ รคประจำตั ว 7 โรค ใน 2 กลุ่ ม ได้ แ ก่ กลุ่ ม อายุ 18-60 ปี และกลุ่ ม ผู้ มี อ ายุ
60 ปี ขึ้นไป ที่มีโรคประจำตัว 7 โรค (โรคเบาหวาน โรคทางเดินหายใจเรื้อรัง โรคหัวใจและหลอดเลื อ ด
โรคไตเรื้ อรั ง โรคหลอดเลือดสมอง โรคมะเร็งทุกชนิด และโรคอ้วน) การลงทะเบียนกลุ่มเป้าหมาย และ
การรายงานผลการดำเนิ น งาน (รายละเอี ย ดตามเอกสารบทบาท อสม.การให้ ค วามรู้ และคั ด กรอ ง
กลุ่มเป้าหมายผู้ ได้รั บวัคซีน โควิด-19)
แนวทางการสื่อสารสุขภาพและให้ค วามรู้ สำหรับประชาชน
อสม.ซึ่ ง เป็ น นั ก สื่ อ สารสุ ข ภาพ เป็ น ผู้ ส่ ง สารความรู้ เ รื่ อ งสุ ข ภาพที่ จ ำเป็ น แก่ ป ระชาชนเพื่ อ ให้
ประชาชนมีความรู้ความเข้ า ใจและสามารถสื่ อสารถ่ายทอดความรู้ที่จำเป็นสู่ ประชาชนได้อย่า งถู ก ต้ อ ง
โดยมีการจัดทำสื่ อเพื่อเป็น เครื่องมือให้ อสม.ใช้ประกอบ การลงพื้นที่ ดังนี้
1.ชุ ด ความรู้ อสม.รู้ แ ล้ ว บอกต่ อ ...ปลอดภั ย จากโควิ ด -19 ชุดที่ 1 ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับ
วัคซีนโควิด-19 ประกอบด้วย อินโฟกราฟิก จำนวน 4 แผ่น ได้แก่ (1)วั ค ซี น คื อ อะไร (2)ทำไมต้ อ งฉี ด
วัคซีน (3)คนไทยมั่นใจคุณภาพ ความปลอดภัย วัคซีนโควิด -19 (4)กลุ่มเสี่ยงที่ควรได้รับวัคซีนก่อน และ
คลิปวีดิทัศน์ เรื่อง “ฉีดวัคซีนโควิด -19 ปลอดภัยจริงไหม ใครควรฉีด” ดังมีรายละเอียดดังนี้
-5-

วัคซีน คือ สารที่ฉีดเข้าไปสู่ร่างกายเพื่อกระตุ้นให้ร่างกายสร้างภูมิคุ้มกันโรค ทำมาจากเชื้อโรค


ที่ตายแล้ว หรือทำมาจากเชื้อโรคที่อ่อนแอจนไม่ทำให้เกิดโรคได้ โดยเมื่อฉีดวัคซีนเข้าสู่ตัวเราแล้ว
ร่างกายเราก็จะสร้างภูมิคุ้มกันกับโรคนั้น ขึ้นมา

สาเหตุที่ประชาชนต้องฉีดวัคซีน คือ เพื่อสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคของร่างกายให้มีความพร้อม


สามารถใช้ต่อสู้กับเชื้อโรคที่ประชาชนเสี่ยงต่อการเจ็บป่วย และลดการแพร่ระบาดในชุมชน สามารถ
ป้องกันการเจ็บป่วยและเสียชีวิต และเป็นการหยุดการแพร่ระบาดของโรคติดต่อ ที่จะเป็นอันตราย
ต่อประชาชนในวงกว้างได้ ซึ่งอาจจะทำให้ภาพเศรษฐกิจของประเทศเสียหายได้
-6-

ด้ า นความปลอดภั ย ของวั ค ซี น โควิ ด -19 ประชาชนไทยสามารถมั ่ น ใจในคุ ณ ภาพ


ความปลอดภัยของวัคซีนโควิด -19 ที่รัฐบาลโดยกระทรวงสาธารณสุข ได้นำมาให้บริการฉีดเข้าสู่
ร่างกาย โดยมีผลการทดสอบประสิทธิภาพและความปลอดภัย ที่ได้มาตรฐาน ผ่านการรับรอง ความ
ปลอดภัยจากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา และมีการติดตามความปลอดภัย อย่ า ง
ต่อเนื่อง ในช่วงที่ประชาชนได้รับการฉีดวัคซีนโควิด-19

ใครที่มีสิทธิ์ได้รับการฉีดวัคซีนโควิด -19 “ประชาชนไทยทุกคน” มีสิทธิ์เข้าถึงและได้รับ


การฉีดวัคซีนโควิด-19 หากแต่ในระยะแรกรัฐบาลจะได้ดูแลให้บริการฉีดวัคซีนให้กับกลุ่มเสี่ยงก่อน
ได้แก่ บุคลากรทางการแพทย์ แ ละสาธารณสุ ขด่ านหน้า,กลุ่ ม อายุ 18-60 ปี ที่ มีโ รคประจำตั ว
-7-

7 โรค ผู้มีอายุ 60 ปี ขึ้นไป ที่มีโรคประจำตัว 7 โรค และเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องกับการควบคุม


โควิด-19 ที่มีโอกาสสัมผัสกับผู้ป่วย

คลิปวีดิทัศน์ เรื่ อง “ฉีดวัคซีนโควิด -19 ปลอดภัยจริงไหม ใครควรฉีด ”

สแกน QR Code ชมคลิปวีดิทัศน์ เรื่อง “ฉีดวัคซีนโควิด -19 ปลอดภัยจริงไหม ใครควรฉีด”

2.ชุ ด ความรู้ อสม.รู้ แ ล้ ว บอกต่ อ ...ปลอดภั ย จากโควิ ด -19 ชุดที่ 2 ความรู้ความเข้าใจในการ


รับวัคซีน และการปฏิบัติตนหลังการรับวัคซีนโควิด-19 ประกอบด้วย สื่ออินโฟกราฟิก จำนวน 7 แผ่น ได้แก่
(1) กลุ่มที่ได้รับวัคซีนระยะแรกโดยสมัครใจฉีด (2) ทำไมวัคซีนโควิด-19 ต้องฉีด 2 ครั้ง (3) ขั้นตอนของในการ
ขอรับการฉีดวัคซีน ของ อสม.และประชาชนกลุ่มเสี่ยง (4) ผลข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้นกับผู้ที่ได้รับดวัคซีนโควิด -
19 (5) การดูแลเบื้องต้นจากผลข้างเคียงในการฉีดโควิ ด-19 (6) การปฏิบัติตัวเมื่อมีอาการข้างเคียงรุนแรง (7)
คำแนะนำสำหรับผู้ที่ได้รับการฉีดวัคซีนโควิด-19 แล้ว ดังมีรายละเอียดดังนี้
-8-

บุคคลกลุ่มแรกที่ควรฉีดวัคซีนก่อน ในระยะแรกโดยการสมัครใจ คือ ฉีดวัคซีนพื้นที่ที่มีการ


ควบคุมการแพร่ระบาด เพื่อลดการป่วยรุนแรงและเสียชีวิตจากโควิด -19 เพื่อรักษาระบบสาธารณสุขของ
ประเทศ กลุ่มเป้าหมายรับวัคซีนระยะที่ 1 ได้แก่
กลุ่มที่ 1 ผู้ที่มีโรคประจำตัว โรคทางเดินหายใจเรื้อรัง เช่น ปอดอุดกั้นเรื้อรัง และโรคหอบหืด
ที่ควบคุมได้ไม่ดี โรคหัวใจและหลอดเลือด โรคไตเรื้อรัง ที่อยู่ในระยะ 5 ขึ้นไป (ไตวายเรื้อรัง) โรคหลอด
เลือดสมอง โรคมะเร็งทุกชนิด ที่อยู่ร ะหว่างการรักษาด้ว ย เคมีบำบัด รังสีบำบัด และภูมิคุ้มกันบำบัด
โรคเบาหวาน และโรคอ้วน
กลุ่มที่ 2 ผู้มีอายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไป เนื่องจากผู้สูงอายุเมื่อติดเชื้อแล้วโอกาสที่จะทำให้เกิด
ความรุนแรงของโรคและเสียชีวิตเป็นไปได้มาก
กลุ่มที่ 3 เจ้าหน้าที่ฝ่ายความมั่นคง เช่น ทหาร ตำรวจ ที่ทำการตรวจคัดกรองด่านหน้า
-9-

สาเหตุของการฉีดวัคซีนโควิด -19 ที่ต้องฉีด 2 ครั้ง คือ ปัจจุบันเทคโนโลยีในการผลิต


วัคซีนที่มีประสิทธิภาพตอนนี้ ทีมีผลการทดสอบแล้ว จำเป็ นต้องฉีด จำนวน 2 ครั้ง ดังนี้ ฉีดเข็มที่ 1 วัคซีนจะ
เริ่มได้ผลอย่างน้อย 2 อาทิตย์แต่จะได้ผลเพียง 50 % และหลังจากฉีดวัคซีนเข็มที่ 2 ต้องใช้เวลาอย่างน้อย
1 อาทิตย์ จึงจะได้ผลตามผลการวิจัยของวัคซีนแต่ละชนิดนั้น

ขั้นตอนของในการขอรับการฉีดวัค ซีน ของกลุ่ม อสม.และประชาชนกลุ่มเสี่ยง จะมี


ขั้น ตอนดังนี้ เจ้าหน้าที่สาธารณสุข และ อสม.ทำการสำรวจกลุ่มเป้าหมายในพื้นที่ที่รับผิดชอบ ได้แก่
ประชากรกลุ่มเสี่ย ง อสม.ด่านหน้าเตรียมระบบข้อมูล ข่าวสารแบบรายงาน หรือ ใช้ระบบ Line Official
Account “หมอพร้อม” เพื่อใช้ติดตามอาการหลังฉีดวัคซีนโควิด -19 โดยแจ้งนัดหมายกลุ่มเสี่ยงที่มีความ
ประสงค์ในการฉีดวั คซีน โดยจะต้องการเตรียมการ (1) ศึกษาข้อมูลความรู้เกี่ยวกับวัคซีนจากกระทรวง
สาธารณสุข หรือ อสม. (2) ผู้ที่จะฉีดจะต้องมีการเตรียมร่างกายให้แข็งแรงไม่มีไข้
ส่วนในขั้นการรับวัคซีน เมื่อฉีดเข็มที่ 1 แล้วให้สังเกตอาการประมาณ 30 นาที หลังจากนั้น
ถ้าไม่มีอาการผิดปกติ กลับไปสังเกตอาการที่บ้าน และรายงานเป็นระยะๆ 1 วัน 7 วัน และ 30 วัน ตามแบบ
รายงาน หรือใช้ระบบ Line Official Account “หมอพร้อม” หรือ ให้ อสม.Buddy ช่วยลงในระบบ Line
Official Account “หมอพร้อม”และนัดหมายแจ้งเตือนในการฉีดวัคซีน เข็มที่ 2 ซึ่งในระหว่างนี้จะต้องรักษา
มาตรการ สวมหน้ากาก เว้นระยะห่างทางสังคม และหมั่น ล้างมืออยู่เสมอ หลังจากนั้น เมื่อครบกำหนด
ในการฉีดวัคซีนเข็มที่ 2 ก็ปฏิบัติตามขั้นตอนเดียวกับการรับวัคซีนเข็มที่ 1 ทั้งนี้เมื่อได้รับการฉีดวัคซีนโควิด-19
ครบ 2 เข็ม จะได้รับใบยืนยันการฉีดวัคซีนโควิด-19
- 10 -

อาการที่อาจเกิดขึ้นได้จากการฉีดวัคซีนโควิด - 19 คือ โดยหลักการวัคซีนจะทำหน้าที่


กระตุ้นภูมิคุ้มกันของร่างกายให้รู้จักกับเชื้อโรคล่วงหน้าก่อนที่ร่างกายจะได้รับเชื้อเพื่อป้องกันการเจ็บป่วย หรือ
ไม่ให้เจ็บป่วยรุนแรงหรือเสียชีวิต แต่อาจมีผลข้างเคียงเล็กน้อย เช่น มีไข้ ปวด หรือระคายเคืองบริเวณ
ตำแหน่งที่ฉีด ปวดเมื่อยตามตัว หากเกิดผลข้างเคียงตั้งแต่เข็มแรก ในเข็มที่ 2 ก็อาจมีอาการมากขึ้นได้เล็กน้อย
ซึ่งเป็นเรื่องปกติที่แสดงให้เห็นว่าภูมิคุ้มกันกำลังถูกกระตุ้นจากวัคซีน

การดูแลเบื้องต้นจากผลข้างเคียงในการฉีดโควิด-19 คือ สำหรับผู้ที่มีประวัติการแพ้วัคซีน


หรือแพ้ยาแบบรุนแรงควรแจ้งให้แพทย์ทราบก่อนฉีดวัคซีน และหลังจากฉีดวัคซีนแล้วให้รออาการ ประมาณ
30 นาที ซึ่งโอกาสในการเกิดผลข้างเคียงมีเพียง 10-15 % ของผู้ที่ได้รับการฉีดวัคซีนซึ่งถือว่าน้อยมาก
แต่ถ้าหากมีอาการไข้ ปวดเมื่อย หรือปวดตำแหน่งที่ฉีด สามารถกินยาพาราเซตามอลได้ แต่ไม่ควรกินยา
แอสไพริน ซึ่งอาจทำให้เกิดอาการแทรกซ้อนได้ อาการแพ้วัคซีนซึง่ สามารถหายเองได้ ประมาณ 3-4 วัน
- 11 -

การปฏิบัติตัวเมื่อมีอาการข้างเคียงรุนแรง คือ หลังที่ได้รับการฉีดวัคซีนแล้วอาจมีอาการ


ข้างเคียงหรือผลข้างเคียงหลังจากฉีดวัคซีนโควิด -19 ซึ่งเกิดขึ้นได้ตั้งแต่อาการไม่รุนแรงอย่างใดอย่างหนึ่ง
หรือหลายอย่างรวมกัน ตั้งแต่มีไข้ต่ำ ๆ ปวดบวมแดงร้อนบริเวณที่ฉีดวัคซีน ปวดหัว อ่อนเพลีย ไม่มีแรง คลื่นไส้
อาเจียนน้อยกว่า 5 ครั้ง หรืออาการอื่นๆ เช่น ท้องเสีย ผื่นแดงเล็กน้อย แต่ถ้าพบว่ามีอาการรุนแรง เช่น ไข้สูง
ปวดศีรษะรุนแรง ผื่นขึ้นทั้งตัว เหนื่อยแน่นหน้าอก หรือ หายใจไม่ออก ชัก หรือ หมดสติ อาเจียนมากกว่า
5 ครั้ง มีจ ุดเลือดออกจำนวนมาก ปากเบี้ยว หรือกล้ามเนื้ ออ่อนแรง ควรรีบแจ้งเจ้า หน้า ที่ หรือ อสม.
เพื่อพบแพทย์โดยด่วน

คำแนะนำสำหรับผู้ที่ได้รับการฉีดวัคซีนโควิด -19 คือ ประชาชนส่วนใหญ่ควรได้รับวัคซีน


โควิด-19 อย่างครอบคลุมทั่วถึง แต่ถึงแม้ว่าจะได้รับการฉีดวัคซีนแล้วก็ไม่ควรประมาทต่อการติดเชื้อ คงยังต้อง
รั ก ษามาตรการของกระทรวงสาธารณสุ ข ต่ อ ไป โดย สวมหน้ า กากตลอดเวลา เว้ น ระยะห่ า งทางสั ง คม
- 12 -

หมั่นล้างมือ และออกกำลังกายสม่ำเสมอเพื่อให้ร่างกายแข็งแรง เพื่อลดโอกาสการติดเชื้อของตนเองในกรณีที่


วัคซีนยังออกฤทธิ์ไม่เต็มที่
*อสม.สามารถหาความรู้ด้านสุขภาพและศึกษาสถานการณ์ปัจจุบันเพิ่มเติมได้จากช่องทางต่างๆ
ของกระทรวงสาธารณสุข
- ความรู้สุขภาพ.com หรือ http://healthydee.moph.go.th/
(คลังความรู้สุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข)

- face book กองสุขศึกษา


- ไทยรู้สู้โควิด

ข้อควรจำ

1) เน้นให้ประชาชนมีการป้องกันไม่ให้เชื้อโรคเข้าร่างกาย “อยู่ห่างไว้ ใส่แมสก์กัน หมั่นล้างมือ”


2) ดูแลสนับสนุนให้ประชาชนกลุ่มเป้าหมายได้รับบริการฉีดวัคซีน และติดตามรายงานผล
3) ประสานงานกับบุคลากรสาธารณสุขอย่างใกล้ชิด “คนไทยทุกครอบครัวมีหมอประจำตัว 3 คน”

*******************************

You might also like