You are on page 1of 1

บทสรุป

พระเจ้าอู่ทองทรงสถาปนากรุงศรีอยุธยาแล้ว จึงโปรดให้สร้างวัดในพระราชฐานเดิมของ
พระองค์ คือวัดพุทไธสวรรย์ ซึ่งใช้ปรางค์เป็นประธานของวัด ตลอดจนสมัยอยุธยาตอนต้นจึงนิยมสร้างปรางค์
ให้เป็นประธานของวัด
ต่อมาในสมัยกลาง ความนิยมน้อยลง หันไปสร้างเจดีย์เป็นประธานของวัดมากขึ้น จนในสมัย
ปลายเริ่มมีการสร้างปรางค์ขึ้นอีกครั้ง เช่นตั้งแต่สมัยพระเจ้าปราสาททอง สร้างวัดไชยวัฒนาราม และปรางค์
ประธานวัดมหาธาตุ จนมาถึงสมัยพระเพทราชารูปแบบของปรางค์พัฒนาไปจนเกือบไม่เหลือเค้าของความเป็น
ปรางค์ในยุคต้นไว้เลย กลายมาเป็นปรางค์ขนาดย่อม ที่เราเรียกกันว่า เจดีย์ทรงปราสาทยอดปรางค์ และส่ง
อิทธิพลมาจนถึงสมัยรัตนโกสินทร์
ส่วนรูปทรงในสมัยอยุธยาต้นนิยมจะเป็นแบบงาเนียมผสมฝักข้าวโพด คือจะไม่สูงและไม่ต่ํา
เกินไป รูปทรงแบบ “ศิขร” แบบเขมรหรือก่อนอยุธยาไม่ปรากฏเลยในยุคนี้
ส่วนทรงแบบฝักข้าวโพดมาเด่นชัดขึ้นในสมัยปลาย รูปแบบทรงเจดีย์ทรงปราสาทยอดปรางค์
ซึ่งเป็นพัฒนาการขั้นสุดท้ายของปรางค์แล้ว
ปรางค์ประธานในยุคต้นจะมีขนาดใหญ่ และมีศักดิ์สูง ในส่วนที่พระมหากษัตริย์ทรงสร้างจะมี
กลีบขนุน 7 กลีบในแต่ละมุม และฐานปรางค์จะสูงสมเป็นเขาพระสุเมรุ (แม้กระทั่งในยุคปลายสมัยพระเจ้า
ปราสาททอง กลีบขนุนยังคงมี 7 กลีบอยู่เช่นเดิม แต่ไม่มีชั้นครุฑแบกแล้ว)
คติปรางค์สามยอดแบบศิลปะขอม คงมีอยู่ในสมัยอยุธยาตอนต้น ต่อจากนั้นก็หายไป
ส่วนวัสดุในการก่อสร้างคือ อิฐ ศิลาแลง และไม้ ตามลําดับ

You might also like