You are on page 1of 36

วารสารมนุษยศาสตร์สาร ปีที่ 13 ฉบับที่ 2

จาก “ทุนนิยมโดยรัฐ” สู่ “รัฐทุนนิยม”


ความเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจและสังคม กับการเมืองไทย
ภายหลังสงครามโลกครั้งที่ 2
ณัฏฐพงษ์ สกุลเลี่ยว1

บทคัดย่อ
บทความนี้นี้มีวัตถุประสงค์เ พื่อศึกษาความเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจและสังคมที่
เกิดขึ้นหลังสงครามโลกครั้งที่สอง อันส่งผลต่อการเมืองไทยในช่วงทศวรรษ 2490 และต้น
ทศวรรษ 2500 เพื่อแสดงให้เห็นว่า กลุ่มคนจานวนมากในสังคมไทยมีบทบาทสาคัญในการก่อ
รูปสังคมการเมืองไทยใน “ยุคพัฒนา”
การศึ ก ษาเน้ น มุ ม มองจากพื้ น ฐานของสั ง คม อั น ได้ แ ก่ ความเปลี่ ย นแปลงทาง
เศรษฐกิจ ซึ่ ง เมื่ อ เศรษฐกิจ เปลี่ ย นแปลง กลุ่ ม ทางสั ง คมก็ย่ อ มเปลี่ ย นแปลงไปด้ วย ความ
เปลี่ยนแปลงที่สาคัญได้แก่ การปรับตัวของนายทุนต่างๆ เพื่อตอบสนองต่อความเปลี่ยนแปลง
ทางเศรษฐกิจ ที่เกิดขึ้น โดยเฉพาะกิจการที่ต้ องเกี่ ยวข้องกับระบบเศรษฐกิจ สมัย ใหม่ เช่ น

1
อาจารย์ประจามหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ , นักศึกษาปริญญาเอก สาขาวิชาประวัติศาสตร์ ภาควิชามนุษยศาสตร์
คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
(Lecturer, Nakhon Sawan Rajabhat University and Ph.d. Student in History, History Division, Department of
Humanities, Faculty of Humanities, Chiang Mai University)

1
วารสารมนุษยศาสตร์สาร ปีที่ 13 ฉบับที่ 2

ธนาคารพาณิชย์ นอกจากจะยอมรับ “ความเป็นไทย” มากขึ้นแล้ว นายทุนชาวจีนยังสร้าง


เครือข่ายนักธุรกิจที่กว้างขวาง พร้อมกับปรับเปลี่ยนการบริหารองค์กรให้ทันสมัย รวมทั้งมี
การนาเอาผู้ชานาญการเฉพาะด้านเข้ามาทางาน นอกจากนี้ การขยายตัวทางเศรษฐกิจได้ส่งผล
ให้ “ชนชั้นกลาง” ก่อตัวขึ้นเป็นกลุ่มก้อน คนกลุ่มนี้ไม่พอใจนโยบายเศรษฐกิจแบบทุนนิยม
โดยรัฐที่ไร้ประสิทธิภาพและเต็มไปด้วยการทุจริตคอรัปชั่น ในช่วงปลายทศวรรษ 2490 จึงมี
การเคลื่ อ นไหวต่ อ ต้ านและวิ พ ากษ์ วิจ ารณ์ รั ฐ บาลจอมพล ป. อย่ า งกว้ างขวาง พร้ อ มกั บ
เรียกร้องให้ใช้นโยบายทางเศรษฐกิจที่เปิดเสรีมากขึ้น จนมีส่วนทาให้รัฐบาลจอมพล ป. สูญเสีย
ความชอบธรรมทางการเมือง
ความเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจที่เกิดขึ้ นนี้ ไม่เพียงแต่จะทาให้ “ภาคสังคม” ต้อง
ปรั บ ตั ว เท่ า นั้ น แต่ ยั ง เป็ น พลั ง ที่ ผ ลั กดั น ให้ เ กิด การปรั บ ตั ว ของรั ฐ ด้ ว ย เห็ น ได้ จ ากการ
เคลื่อนไหวของกลุ่ม “ขุนนางนักวิชาการ” โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกระทรวงการคลังและธนาคาร
แห่งประเทศไทย ที่พยายามจะสร้างระเบียบในการใช้จ่ายเงิ น งบประมาณของรัฐบาลและ
ปรับปรุงการบริหารการเงินและการคลังให้มีความ “ทันสมัย” และถูกต้องตาม “หลักวิชา” มาก
ขึ้น จนส่งผลให้เกิดความขัดแย้งกับผู้นาทางการเมืองหลายครั้ง แต่ความพยายามดังกล่าวก็
บังเกิดผลลัพธ์ที่ชัดเจนขึ้นในปี พ.ศ.2498 เป็นต้นมา จนกลายเป็นพลังสาคัญพลังหนึ่งที่ผลักดัน
ให้เกิด “ยุคพัฒนา” ขึ้นมาในเวลาต่อมา
จะเห็นได้ว่าการอธิบายเศรษฐกิจและการเมืองไทยในช่วงทศวรรษ 2490 ด้วยแนวคิด
“ทุนนิยมโดยรัฐ” และการอธิบาย “ยุคพัฒนา” ในทศวรรษ 2500 ด้วยบทบาทของจอมพลสฤษดิ์

2
วารสารมนุษยศาสตร์สาร ปีที่ 13 ฉบับที่ 2

และสหรัฐอเมริกานั้นไม่เพียงพอที่จะเข้าใจความเปลี่ยนแปลงสาคัญที่เกิดขึ้นในยุคดังกล่าว
เพราะความเปลี่ยนแปลงของสังคมการเมืองย่อมเป็นผลผลิตของพัฒนาการทางประวัติศาสตร์
ที่มาจากพลังอันหลากหลายและซับซ้อนในยุคก่อนหน้าทั้งสิ้น
ABSTRACT
This article aims to study the socio-economic changes that have affected Thai
politics from after the Second World War up until the coup of field marshal Sarit Thanarat to
show that many groups in Thai society had an important role in the formation of Thai
political society in the “Development Era”.
The study emphasizes socially based perspectives especially economic changes as
when the economy changes social groups also change. The significant changes are the
adaptation of the capitalists to respond to the economic changes which were occurring
especially those enterprises related to the modern economic system such as the commercial
bank. Aside from more strongly accepting “Thainess”, Chinese Thai capitalists also
constructed wide networks of business people as well as adjusting administration of
organizations to modernize it. In addition, they (also) imported specialists to work for them.
Apart from this economic expansion caused the “middle class” to cluster. The “middle class”
were unsatisfied with state capitalism policies that had lost efficiency and were riddled with

3
วารสารมนุษยศาสตร์สาร ปีที่ 13 ฉบับที่ 2

corruption. Consequently in the late 1950s there was widespread movement opposing and
criticizing the government of Field Marshal Phibun Songkhram and calling for more liberal
economic policy to the extent that this had a role in causing the government of Field Marshal
Phibun Songkhram to lose political legitimacy.
These economic changes not only caused the “social sector” to have to adapt but
were also a force pushing the government to reorganize itself. This can be seen from the
movements of “Technocrats,” especially those in the ministry of finance and in the National
Bank, to try to create regulations for use of the government budget and to adjust financial
administration and treasury affairs to make them more “modern” and more correct according
to “academic theory”. This resulted many times in conflict with the political leader but the
endeavors achieved clear outcomes from 1955 and become an important force pushing for the
subsequent emergence of the “Development Era”.
It can be seen that explaining the economics and politics of Thailand in the era after
the Second World War using the “state capitalism” concept and explaining the “Development
Era” through reference to the role of Field Marshal Sarit and US policy is insufficient to
understand the important changes that occurred in this era. This is because socio-political
changes are a product of historical development which always results from multiple complex
forces in the previous eras.

4
วารสารมนุษยศาสตร์สาร ปีที่ 13 ฉบับที่ 2

ความนา
คงไม่ใครปฏิเสธว่า การเดินทางเข้าสู่ “ยุคพัฒนา” ในสมัยรัฐบาลจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์
ตั้งแต่ประมาณต้นทศวรรษ 2500 เป็นต้นไปนั้น เป็นการเปลี่ยนผ่านจากยุคหนึ่งไปสู่อีกยุคหนึ่ง
ที่เกิดความเปลี่ยนแปลงขึ้นในทุกมิติของสังคมการเมืองไทยอย่างมหาศาล แต่ในทางตรงกัน
ข้าม ผลงานทางวิชาการที่ผ่านมากลับ ไม่สามารถสร้างคาอธิบายที่จะทาให้เราเข้าใจกระแส
ความเปลี่ยนแปลงนี้ได้อย่างลึกซึ้ง เพราะผลงานส่วนใหญ่มักจะให้ความสาคัญกับแรงกดดัน
จากอิ ทธิ พลภายนอก (สหรัฐ อเมริ กาและธนาคารโลก) และการตั ดสิ นใจของ “ผู้ นา” ทาง
การเมืองซึ่งก็คือจอมพลสฤษดิ์ในการนามาซึ่ง “ยุคพัฒนา” มากเกินไป
แม้ว่าจะมี ผลงานทางวิชาการบางชิ้นที่พยายามอธิบายการเกิดขึ้นของ “ยุคพัฒนา”
อย่ างสลั บ ซั บ ซ้ อน โดยการเพิ่ม บทบาทให้ กับตั วแสดงใหม่ ๆ อาทิ เ ช่ น งานของ รั ง สรรค์
ธนะพรพันธุ์ ที่พยายามค้นหาความสัมพันธ์และพลังของกลุ่มต่างๆ ที่มีต่อการกาหนดนโยบาย
ทางเศรษฐกิจการเมือง ไม่ว่าจะเป็นนักการเมือง ขุนนางนักวิชาการ ราษฎร สื่อมวลชล รวมทั้ง
กลุ่มผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจต่างๆ (รังสรรค์, 2532) ส่วนงานของอภิชาติ สถิตนิรามัย ได้ให้
ความส าคั ญ ไปที่ บ ทบาทของกลุ่ ม ขุ น นางนั ก วิ ช าการในการสร้ า งสรรค์ รั ฐ ทุ น นิ ย มสมั ย
พัฒนาขึ้น (อภิชาติ, 2551) และงานของภิญญพันธุ์ พจนะลาวัณย์ ได้แสดงให้เห็นว่ายังมีตัว
ละครอีกหลายกลุ่ม ที่มีส่วนร่วมสร้างสรรค์ “ยุคพัฒ นา” ขึ้น ไม่ไ ด้มีเ พียงแค่ จอมพลสฤษดิ์
เทคโนแครต ธนาคารโลก และสหรัฐอเมริกาเพียงเท่านั้น (ภิญญพันธุ,์ 2552)

5
วารสารมนุษยศาสตร์สาร ปีที่ 13 ฉบับที่ 2

แต่อย่างไรก็ตาม ผู้เขียนเองก็ยังเห็นว่าคาอธิบายดังกล่าวยังไม่เพียงพอต่อการทาความ
เข้าใจช่วงเวลาเปลี่ยนผ่านที่มีความสาคัญอย่างยิ่งนี้ ด้วยเหตุดังกล่าว ผู้เขียนจึงต้องการนาเสนอ
คาอธิบายใหม่ ด้วยการมองการเกิดขึ้นของ “ยุคพัฒนา” อย่างเป็นองค์รวม และมองว่า “ยุค
พัฒนา” นั้น เป็นผลสืบเนื่องมาจากพัฒนาการความเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจและสังคมไทย
ตั้งแต่สมัยหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 เป็นต้นมา โดยที่ความเปลี่ยนแปลงดังกล่าวได้ก่อให้เกิด
พลังที่มีบทบาทสาคัญในการผลักดันให้เกิด “ยุคพัฒนา” ขึ้นอยู่ 3 ส่วนด้วยกัน อันได้แก่ พลัง
ทางเศรษฐกิจ พลังทางสังคม และพลังของกลุ่มขุนนางนักวิชาการ
ความเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจหลังสงครามโลกครั้งที่ 2
แม้ว่าระบบเศรษฐกิจในทศวรรษ 2490 จะถูกเรียกว่า “ทุนนิยมโดยรัฐ” แต่ว่าภายใต้
ระบบดังกล่าวนี้ก็ได้เกิดความเปลี่ยนแปลงอย่างใหญ่หลวงและจะมี “นัยสาคัญ” ต่อระบบ
เศรษฐกิจการเมืองไทยในเวลาต่อมา นั่นก็คือการขยายตัวของ “ทุนภายใน” ที่เติบโตขึ้นอย่าง
ต่อเนื่อง
การขยายตัวของ “ทุนภายใน” นั้น ได้เริ่มกระบวนการมาตั้งแต่ช่วงสงครามโลกครั้ง
ที่ 2 เนื่องจากสงครามโลกครั้ง นี้ นามาซึ่งความเปลี่ ยนแปลงขนานใหญ่ นั่ นคือ ท าให้ทุ น
ภายในประเทศมีความเข้ มแข็ง มากขึ้ น และความสั มพันธ์ ระหว่ างนั กธุรกิจกับ รัฐบาลก็ไ ด้
เปลี่ยนแปลงไป การแผ่ขยายของธุรกิจฝรั่งหยุดชะงัก บ้างก็ต้องถอนตัวออกไป ทาให้เกิดสภาพ
“สุญญากาศทางเศรษฐกิจ” ขึ้น เท่ากับเป็นการเปิดโอกาสให้ผู้ประกอบการในประเทศที่เพิ่งก่อ
ร่างสร้างตัว รวมทั้งพวกพ่อค้าข้าวหรือ “เจ้าสัว” ได้เข้าไปครอบครองกิจการธนาคารและการ

6
วารสารมนุษยศาสตร์สาร ปีที่ 13 ฉบับที่ 2

ขนส่งสินค้าทางเรือที่พ่อค้ายุโรปเคยครองความเป็นเจ้ าของอยู่ นอกจากนี้ ยังขยายกิจการไปสู่


ธุรกิจอื่น ๆ เช่น ธุรกิจนาเข้าและขายปลีก การสร้างโรงงานใหม่ๆ และกิจการประเภทตัวแทน
การค้าสินค้าต่างๆ อีกด้วย (ผาสุก และเบเคอร์, 2546)
เศรษฐีสงคราม
ในระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 2 นั้น ความสัมพันธ์ระหว่างชาวญี่ปุ่นกับพ่อค้าชาวจีน
ในประเทศไทยมีอยู่หลายลักษณะ เช่น ชาวจีนบางกลุ่มไม่ค้าขายกับชาวญี่ปุ่น บางกลุ่มถึงกับ
ต่อต้ านญี่ปุ่น และไม่ยอมบริโ ภคสิ นค้ าญี่ปุ่ น แต่ ชาวจีน อีกกลุ่ม หนึ่ งก็ร่ วมมือ กับญี่ ปุ่น โดย
สามารถสร้างผลประโยชน์มากมายจากความร่วมมื อในทางธุรกิจ ขณะเดียวกันก็มีชาวจีนบาง
กลุ่มที่หน้าฉากทาธุรกิจกับญี่ปุ่น แต่หลังฉากทาการต่อต้านญี่ปุ่น หรือส่งเงินสนับสนุนการ
ต่อต้านญี่ปุ่น และอีกบางกลุ่มหน้าฉากทาการต่อต้านญี่ปุ่นเพื่อแสดงความรักชาติให้ชาวจีน
ด้วยกัน รั บ รู้ แต่ ห ลั ง ฉากแอบค้ าขายกับ ญี่ ปุ่ น อย่ างไรก็ต าม ในระหว่ างสงคราม โรงงาน
อุตสาหกรรมของชาวจีนจานวนมากยินดีที่จะผลิตสินค้าให้บริษัทเอกชนญี่ปุ่นในประเทศไทย
ทั้งนี้เพราะได้ผลกาไรอย่ างมาก จนสะสมทุนได้อ ย่างเป็นกอบเป็นกา (พรรณี, 2540) ดั ง
ตั วอย่ างเช่ น นายสหั ส มหาคุ ณ นั กธุ ร กิจ ชาวจี น สยามและหั วหน้ าสมาคมพาณิ ชย์ จี น ใน
ระหว่างสงครามได้เข้าไปขอประมูลย่อยหินส่งกองทัพญี่ปุ่นในหลายครั้ง นายแผน สิริเวชชะ
พันธ์ พ่อค้าในจังหวัดกาญจนบุรีได้รับจัดหาวัสดุบางอย่างส่งให้กองทัพญี่ปุ่นโดยตรง บริษัท
บ้วนฮงที่มี นายตันซิวเม้ง หวั่งหลี ถือหุ้นและมีทุนญี่ปุ่นร่วมอยู่ด้วย เป็นอีกบริษั ทหนึ่งที่รับ
จัดหาข้าวให้บริษัทของญี่ปุ่นที่โชนัน นอกจากนั้น พ่อค้าจีนอีกหลายคนก็ร่วมมือในการจัดหา

7
วารสารมนุษยศาสตร์สาร ปีที่ 13 ฉบับที่ 2

ไม้และต่อเรือไม้ให้กับกองทัพญี่ปุ่นใช้ปฏิบัติการในน่านน้าเขตนี้ เช่น นายเทียน ทวีสิน และ


นายมา บูลกุล ประธานกรรมการและกรรมการบริษัทไทยนิปปอนเดินเรือ
ด้วยลักษณะเช่นนี้เอง จึงทาให้มีนายทุนจานวนไม่น้อยที่สามารถสะสมทุนจากการค้า
ขายในช่วงสงครามจนกลายเป็น “เศรษฐีสงคราม” และสามารถพัฒนาไปสู่การเป็นผู้นาใน
ธุรกิจและอุตสาหกรรมต่างๆ ของประเทศในเวลาต่อมา อาทิ นายสุกรี โพธิรัตนังกูร นายถาวร
พรประภา นายเทียม โชควัฒนา นายชิน โสภณพนิช นายเกียรติ ศรีเฟื่องฟุ้ง นายอุเทน เตชะ
ไพบูลย์ ตระกูลจิราธิวัฒน์ เป็นต้น (ผาสุก, 2546) นอกจากนั้น ในช่วงทศวรรษ 2480 ยังได้เกิด
การขยายตัวของระบบเศรษฐกิจทุนนิยมออกไปสู่ท้องถิ่นต่างๆ มากขึ้น และทาให้เกิด “นายทุน
ท้องถิ่น” ขึ้นมาจานวนไม่น้อย ซึ่งนายทุนเหล่านี้เป็นผู้ที่มีบทบาทในการค้าขายหรือทาธุรกิจจน
ประสบความสาเร็ จ สะสมทุ น อยู่ ต ามหั วเมื อ งใหญ่ ๆ และสามารถก้าวขึ้น มามี บทบาทใน
ระดับประเทศได้ในเวลาต่อมา
ในภาคใต้ นายจุติ บุญสูง ผู้ทาเหมืองแร่ดีบุกที่สาคัญที่ตะกั่วป่า จังหวัดพังงา นาย
ปัญญา งานทวี นายทุนท้องถิ่นค้ายางที่สาคัญในจังหวัดภูเก็ต หลวงอนุภาษภูเก็ตการ หรือ
จินหงวน หงษ์หยก นายทุนภูเก็ตคนสาคัญอีกคนหนึ่ง ขุนเศรษฐภักดี เป็นนายทุนใหญ่ท้องถิ่นผู้
ประกอบกิจการหลายอย่างในจังหวัดนครศรีธรรมราชและจังหวัดสุราษฎร์ธานี และยังดาเนิน
กิจการค้ายางในจังหวัดทั้ง 2 นอกจากนี้ยังทาธุรกิจค้าข้าวโรงสีด้วย (พรรณี, 2543)
ในภาคเหนือตอนล่างที่จังหวัดนครสวรรค์ซึ่งเป็นชุมทางการค้าที่สาคัญอีกแห่งหนึ่ง
ของประเทศไทยมาแต่เดิม และมักจะเรียกกันว่า “ปากน้าโพ” ในสมัยนั้น ก็พบว่ามีนายทุน
การค้าที่สะสมทุนกับการค้าขายกับญี่ปุ่นในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 ได้แก่ นายสวัสดิ์ ไม้ไทย

8
วารสารมนุษยศาสตร์สาร ปีที่ 13 ฉบับที่ 2

ที่ทาการรับเหมาก่อสร้างกับญี่ปุ่นจนกลายเป็นเจ้าของโรงแรมสวัสดิ์ไม้ไทยในอดีต ซึ่งปัจจุบัน
ได้ขยายกิจการและกลายเป็นที่ตั้ งของของโรงแรมไอราวัณในปัจจุบันนี้ นายเฮงหลิมและนาย
ชุ่นเส็ง (อโนดาต) ก็รับเหมาก่อสร้างกับญี่ปุ่นเช่นเดียวกัน ตระกูลศิริวิริยะกุล สะสมทุนจากการ
ตั้งร้านขายของชาทั้งค้าปลีกและค้าส่ง เมื่อสบโอกาสจึงรับซื้อโรงงานน้าตาลที่กาลังขาดทุน
และเจ้าของคิดจะเลิกกิจการที่ตาบลท่ามะเกลือ แล้วตั้งเป็นบริษัท รวมผลอุตสาหกรรม จากัด
ต่อมาเมื่อได้กาไรจากอุตสาหกรรมน้าตาลกลายเป็นนายทุนอุตสาหกรรมและสามารถก้าวไปสู่
ทุนการเงินโดยได้ตั้ง บริษัทร่วมทุนและการเครดิตนครสวรรค์ จากัด ขึ้นมา เป็นต้น (สุภรณ์,
2527)
ในภาคเหนือ พ่อค้าชาวจีน ในจังหวัด ลาปางก็ร่ ารวยมาจากภาวะความขาดแคลน
สินค้าจาเป็นในระหว่างสงคราม เนื่องจากราคาสินค้าเพิ่มมากขึ้น อาทิ เกลือที่กรุงเทพฯ
กระสอบละประมาณ 20 บาทเศษ แต่ที่ลาปางขายราคาประมาณ 80-120 บาทเศษ หรือข้าวสาร
ซื้อมากระสอบละ 650 บาท ขายได้ราคา 1000-1200 บาท ส่วนสินค้าประเภทอุปโภคบริโภคที่
จาเป็นอื่น ๆ เช่น น้ามันก๊าด น้ามันเบนซิน น้าตาล ไม้ขีดไฟ ยารักษาโรค ฯลฯ ก็ขาดแคลนอย่าง
หนัก และมีพ่อค้าหลายคนที่ได้กาไรอย่างงามจากการนาสินค้าเหล่านี้มาขาย (ชัยวัฒน์, 2541)
ที่เชียงใหม่นอกจากการค้าขายสินค้าทั่วไปแล้ว พ่อค้าและผู้มีทุนบางกลุ่มได้กว้านซื้อ
สินค้าที่มีราคาถูกในช่วงสงครามเพื่อขายในราคาแพงเมื่อสงครามยุติลง เช่น นายริ้ว ศักดาทร
หันมาลงทุนผลิตสินค้าที่ขาดแคลนในช่วงสงคราม เช่น สบู่ เทียนไข และสินค้ารัฐนิยม เช่น
หมวก ร่ ม พร้ อ มกับ ได้ กว้ านซื้ อ หนั ง สั ต ว์ เช่ น หนั ง วั ว เก็บ สะสมไว้ เ ป็ นจ านวนมาก เมื่ อ

9
วารสารมนุษยศาสตร์สาร ปีที่ 13 ฉบับที่ 2

สงครามโลกสิ้นสุดลงนายริ้วขายหนังฟอกให้ตลาดฮ่องกงได้กาไรอย่างมาก ธุรกิจการค้าของ
ตระกูลศักดาทรจึงขยายตัว ส่วนตระกูลมินมานเหมินท์ก็เช่นเดียวกัน คือ ได้นาทุนที่มีอยู่และ
ไม่ได้หมุนเวียนไปซื้อไม้ซุงมาเก็บไว้ เพราะพ่อค้าไม่สามารถขนย้ายซุงและขายได้เนื่องจาก
รถยนต์ขนไม้และช้างลากซุงได้ถูกเกณฑ์ไปช่วยราชการสงคราม เมื่อสงครามสิ้นสุดลงตระกูล
นี้จึงขายไม้คืนให้แก่เจ้าของเดิมทากาไรเป็นอย่างมาก (ปลายอ้อ, 2529)
การขยายตัวทางเศรษฐกิจหลังสงคราม
สภาพเศรษฐกิจหลังสงครามก็ค่อยๆ ฟื้นตัวขึ้นเรื่อยๆ โดยการดาเนินนโยบายต่างๆ
ของรัฐบาลและการกระตุ้นโดยสงครามเกาหลี ทั้งนี้ก็เพราะภาวะสงครามเป็นสาเหตุสาคัญที่
ก่อให้เกิดความต้องการสินค้าออกต่างๆ อย่างกว้างขวาง นับตั้งแต่สินค้ายุทธปัจจัย เช่น ยางและ
ดีบุก ข้าวซึ่งเป็นอาหารหลักอย่างหนึ่ง ตลอดจนผลิตผลเกษตรอื่นๆ ด้วย ทั้งหมดนี้ได้ก่อให้เกิด
ความเฟื่องฟูทางเศรษฐกิจและการค้าต่างประเทศที่เรียกกันว่า “Korean Boom” (ธนาคาร
กรุงเทพฯ จากัด, 2524)
ด้วยสภาวการณ์เช่นนี้ส่งผลให้ผลิตภัณฑ์ทั้งมวลในภาคพื้นประเทศไทยเพิ่มขึ้นทุกปี
ในระยะหลังสงคราม ใน พ.ศ.2493 ผลิตภัณฑ์ทั้งมวลมีมูลค่าเท่ากับ 25,895.4 ล้านบาท หรือ
เป็นจานวนกว่า 25 เท่าของมูลค่าในปี พ.ศ.2482 ผลิตภัณฑ์สุทธิในราคาทุนในปี พ.ศ.2493 มี
มูลค่าเท่ากับ 23,377.1 ล้านบาท ซึ่งเป็นการเพิ่มขึ้นร้อยละ 16.51 ของปีก่อนและเพิ่มขึ้นกว่า 26
เท่าของมูลค่าในปี พ.ศ.2482 (หจช.น.มท.02014)

10
วารสารมนุษยศาสตร์สาร ปีที่ 13 ฉบับที่ 2

แม้ว่าสงครามเกาหลีจะสงบลงแล้ว แต่สภาพเศรษฐกิจของประเทศไทยก็ยังขยายตัว
อยู่ อ ย่างต่อ เนื่อ ง ดั ง ปรากฏในรายงานเรื่ อง “การค้าและการชาระเงิ น กับ ต่ างประเทศของ
ประเทศไทย ปี 2494-2503” ที่จัดทาโดยธนาคารแห่งประเทศไทย ได้รายงานให้เห็นถึงการ
ขยายตัวทางเศรษฐกิจของประเทศไทยในทศวรรษ 2490 เป็นอย่างดี เพราะปรากฏว่าในระยะ
10 ปี ระหว่าง พ.ศ.2494-2503 อันเป็นระยะก่อนที่จะมีแผนพัฒนาเศรษฐกิจแห่งชาตินั้น การค้า
กับต่างประเทศได้ขยายตัวขึ้นมาก สินค้าออกมีมูลค่าเพิ่มขึ้นจาก 4,413 ล้านบาทในปี พ.ศ.2494
มาเป็น 8,614 ล้านบาทในปี พ.ศ.2503 หรือเพิ่มขึ้นในอัตราเฉลี่ยร้อยละ 8 ต่อปี โดยมีข้าว
ยางพารา ดีบุก และไม้สักเป็นสินค้าส่งออกที่สาคัญของประเทศไทย (หจช.กค.0301.5.2/3)
การขยายตัวทางเศรษฐกิจช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ได้ส่งผลให้ธุรกิจต่างๆ ต้อง
ปรับรูปแบบ “การบริหารจัดการองค์กร” ที่แตกต่างออกไปจากเดิม ที่ส่วนใหญ่ใช้รูปแบบที่
เรียกกันว่า “การบริหารแบบธุรกิจตระกูล” คือการที่ใช้เครือญาติของตนไปทางานในตาแหน่ง
ต่างๆ ในกิจการของตระกูลและจะไม่เปิดโอกาสให้คนนอกที่มีความสามารถเข้ามามีบทบาท
มากนั ก ซึ่ ง การบริ ห ารจั ด การธุ ร กิ จ แบบตระกู ล นี้ เ หมาะสมกั บ กิ จ การเล็ ก ๆ ที่ ไ ม่ ค่ อ ย
สลับซับซ้อนเท่านั้น แต่ด้วยการขยายตัวอย่างรวดเร็วของระบบเศรษฐกิจทาให้กิจการต่างๆ
ขยายตัวออกไปมากขึ้น การบริหารจัดการกิจการก็จะต้องสลับซับซ้อนขึ้นอย่างเลี่ยงไม่ได้
โดยเฉพาะนายทุนชั้นแนวหน้าทั้งหลายที่จะต้องเข้าไปยุ่งเกี่ยวกับธุรกิจที่จาเป็นต้องอาศั ย
ความรู้และความชานาญเป็นอย่างสูง
ด้วยเหตุนี้เราจึงเห็นความเปลี่ยนแปลงการบริหารจัดการกิจการของธุรกิจต่างๆ ใน
สมัยนี้ได้ค่อนข้างชัดเจน ซึ่งมีลักษณะลดรูปแบบการบริหารงานแบบตระกูลลง และเปลี่ยนมา

11
วารสารมนุษยศาสตร์สาร ปีที่ 13 ฉบับที่ 2

เปิดรับผู้ชานาญการเฉพาะด้านหรือผู้ที่มีความรู้ความสามารถสมัยใหม่มากขึ้น การที่นายบุญชู
โรจนเสถียรกล้าที่จะออกจากงานที่ธนาคารแห่งประเทศไทยมาเปิดสานักตรวจสอบบัญชีอิสระ
และสามารถเลี้ยงตัวเองได้ ด้วยมีลูกค้ามาใช้บริการอย่างไม่ขาดสาย (นาวี, 2548) สะท้อนให้
ความต้องการ “นักบัญชีอาชีพ” ของบริษัทห้างร้านต่างๆ ได้เป็นอย่างดี
การปฏิ รู ป องค์ ก รของธนาคารกรุ ง เทพเป็ น อี ก ตั ว อย่ า งที่ แ สดงให้ เ ห็ น ความ
เปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจในทศวรรษ 2490 ได้อย่างชัดเจน กล่าวคือ ธนาคารกรุงเทพต้องปรับ
รูปแบบการบริหารจัดการภายในให้ทะมัดทะแมงและทันสมัย รวมทั้งเปิดรับพนักงานที่มี
ความรู้และ “ความชานาญเฉพาะด้าน” จนทาให้กิจการขยายตัวก้าวหน้าไปอย่างรวดเร็วมากกว่า
ธนาคารอื่นๆ (ณัฏฐพงษ์, 2551) แต่นอกจากนั้น เรายังพบการปรับตัวของธุรกิจอื่นๆ ในช่วงนี้
อีก อาทิเช่น นายสมยศ กลิ่นสุคนธ์ ผู้จัดการโรงแรมรัตนโกสินทร์ ซึ่ง ในระยะที่เริ่มกิจการ
ใหม่ ๆ ฐานะทางการเงิ น ของโรงแรมไม่ ค่ อ ยมั่ น คงนั ก จึ ง ขอร้ อ งให้ น ายบุ ญ ชู เ ข้ าไปช่ ว ย
จัดระบบการบริหารงานและการเงินภายในเสียใหม่ และหลังจากที่นายบุญชูได้เข้าไปช่วยแก้ไข
สถานการณ์อยู่เพียงไม่กี่เดือน ก็ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นผู้ตรวจการขององค์การโรงแรม หรือผู้
ตรวจสอบบัญชีโรงแรม ซึ่งก็ทาให้ฐานะทางการเงินของโรงแรมดีขึ้น
อี ก ตั ว อย่ า งหนึ่ ง ที่ เ ห็ น ได้ ชั ด ก็ คื อ การปรั บ ปรุ ง การบริ ห ารงานของบริ ษั ท ล่ าซ า
ประกันภัยและคลังสินค้าเมื่อนายบัญชา ล่าซา เข้ามารับผิดชอบเมื่อปี พ.ศ.2495 ในขณะนั้น
กิจการของบริษัทอยู่ในภาวะย่าแย่และกาลังจะตัดสินใจเลิกกิจการ แต่นายบัญชาสามารถเข้า
ปรับปรุงการบริหารจนบริษัทสามารถดาเนินงานต่อไปได้ ซึ่งนายบัญชาได้กล่าวถึงวิธีการ
แก้ไขปัญหาของบริษัทไว้ดังนี้คือ “ตอนนั้นมันมีปัญหา ล่่าซ่าประกันภัยทำไม่ถูกต้องตำมหลัก

12
วารสารมนุษยศาสตร์สาร ปีที่ 13 ฉบับที่ 2

วิชำประกันภัย คือต้องกระจายความเสี่ยง สมัยนั้นขอให้รับมามากๆ นะ แล้วก็ได้เบี้ยประกัน


แยะๆ แล้วไม่มีไปใช้เขา นี่มันผิดหลัก หลักการประกันภัยนี่ต้องเอาไว้พอตัว แล้วที่เหลือต้อง
สร้างคอร์ทต่อไป” นอกจากนั้น ในปี พ.ศ.2505 เมื่อนายบัญ ชาเข้ารับตาแหน่งกรรมการ
ผู้ จั ด การธนาคารกสิ ก รไทย ก็ เ ห็ น ว่ า สิ่ ง ที่ ค ณะกรรมกำรชุ ด ก่ อ นไม่ ค่ อ ยคิ ด ถึ ง กั น ก็ คื อ
“ทรัพยำกรบุคคล” เขำจึงเปลี่ยนนโยบำยหลักของธนำคำรจำกเดิมที่เร่งกำรขยำยสำขำมำเป็น
นโยบำยเร่งสร้ำงและขยำยบุคลำกรที่มีคุณภำพ โดยการไปตั้งโต๊ะรับสมัครนักศึกษาจบใหม่
ตามมหาวิทยาลัยต่างๆ ซึ่งเท่ากับเป็นการรับคนโดยไม่เน้นพรรคเน้นพวก และได้คนที่มีความรู้
ความชานาญตามหลักวิชามาอีกด้วย (ธนวัฒน์, 2543)
ส่วนธุรกิจดั้งเดิมก็เริ่มมี “คนรุ่นใหม่” กลับเข้ามาทางานพร้อมวิชาความรู้ที่ร่าเรียนมา
เฉพาะด้าน ดังเช่น นายชาตรี โสภณพนิช กลับจากการศึกษาที่อังฤษมาเริ่มงานครั้งแรกใน
เมืองไทย ในบริษัทเอเชียทรัสต์ (ขณะนั้นเป็นของนายชินโสภณพนิชด้วย) ในปี พ.ศ.2501 นาย
สุวิทย์ หวั่งหลี ผู้นาตระกูลหวั่งหลีรุ่นที่ 5 จบวิชาบริหารธุรกิจจาก WHARTON เข้ารับช่วงเพื่อ
ฟื้นฟูธุรกิจครอบครัวซึ่งปล่อยให้ซบเซานานปี ขณะเดียวกัน นายปกรณ์ ทวีสินก็จบการศึกษา
ด้านกิจกรรมธนาคารจากอังกฤษ เริ่มเข้าทางานในธนาคารไทยทนุในปี พ.ศ.2508 นายสุรัตน์
โอสถานุเคราะห์ สืบต่อกิจการจากบิดาในบริษัทโอสถสภาในปี พ.ศ.2500 อันเป็นเวลาใกล้เคียง
กับไพโรจน์ ไชยพร ซึ่งเรียนการบริหารธุรกิจสถาบันเดียวกันกับสุรัตน์ ก็รับช่วงกิจการแพปลา
และอุตสาหกรรมห้องเย็นกลุ่มไทยเสรีห้องเย็นในปี พ.ศ.2501 (ไม่ปรากฏผู้เขียน, 2543)

13
วารสารมนุษยศาสตร์สาร ปีที่ 13 ฉบับที่ 2

จากที่กล่าวมาทั้งหมดย่อมแสดงให้เห็นได้อย่างชัดเจนว่า ในยุคสมัยแห่งทุนนิย มโดย


รัฐสภาพเศรษฐกิจภายในประเทศมีความเปลี่ยนแปลงอย่างมหาศาล ทั้งระบบการค้าภายในและ
การค้าระหว่างประเทศขยายตัวขึ้น ความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจ ทวีความสลับซับซ้อน ธุรกิจ
กิจการต่างๆ ย่อมต้องปรับตัวเพื่อความอยู่รอดและเพื่อก้าวตามยุคสมัย โดยเฉพาะอย่างยิ่งธุรกิจ
การธนาคารซึ่งเป็น “ตัวจักร” สาคัญในระบบเศรษฐกิจสมัยใหม่ ย่อมต้องเปลี่ยนแปลงปรับปรุง
ให้ทันยุคสมัยอยู่เสมอ
สิ่งสาคัญที่ต้องตระหนัก ก็คือ พลังแห่งความเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจไม่ได้กดดัน
ให้เกิดการปรับตัวในธุรกิจภาคเอกชนเพียงเท่านั้น แต่ความเปลี่ยนแปลงดังกล่าวยังได้ กดดัน
และสั่ นคลอนโครงสร้ างการบริห ารจัด การในระดับ รั ฐ จนท าให้ เ กิดการ “ปฎิ รู ป ” ระบบ
ราชการ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในหน่วยงานทางด้านเศรษฐกิจการคลัง ครั้งใหญ่ในปี พ.ศ.2498
ทั้งนี้ โดยมีเหล่าขุนนางนักวิชาการรุ่นใหม่เป็นแรงขับดันสาคัญ ซึ่งนักเศรษฐศาสตร์ การเมือง
บางท่าน รวมทั้งขุนนางนักวิชาการของธนาคารแห่งประเทศไทยเอง ถือว่าปีนี้เป็นจุดเปลี่ยน
สาคัญ เป็นจุดสิ้นสุดของยุคสมัยแห่งทุนนิยมโดยรัฐ และเป็นจุดเริ่มต้นแห่งรัฐทุนนิยม การก้าว
ขึ้นสู่อานาจของจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ในปี พ.ศ.2500 หรือการเกิดแผนพัฒนาเศรษฐกิจฉบับ
แรก (พ.ศ.2503) จึงมิใช้หมุดหมายแห่งการเปลี่ยนผ่านของยุคสมัย ดังที่ผู้ คนส่วนใหญ่มักกล่าว
อ้างกัน ซึ่งในประเด็นนี้ผู้เขียนจะอภิปรายไว้ในหัวข้อถัดไป

14
วารสารมนุษยศาสตร์สาร ปีที่ 13 ฉบับที่ 2

ความเปลี่ยนแปลงทางสังคม: การก่อตัวและพลังของชนชั้นกลาง
ความเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ได้ส่งผลให้เกิดการขยายตัว
ของ “ชนชั้นกลาง” ขึ้นอย่างกว้างขวางและเป็นกลุ่มก้อนมากขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งกลุ่ม “ชนชั้น
กลางในเมือง” คนกลุ่มนี้ได้กลายเป็นกลุ่มประชากรที่สาคัญของกรุงเทพฯ ตั้งแต่ทศวรรษ 2490
เป็นต้นมา จากการศึกษาของ วิลเลียม สกินเนอร์พบว่าในปี พ.ศ.2495 ทั้งชาวไทยและชาวจีนที่
ประกอบอาชีพที่มีสถานะสูงปานกลาง (ได้แก่ ข้าราชการชั้นผู้น้อย เจ้าของกิจการค้าเล็กๆและ
ผู้ จั ด การ ผู้ ป ระกอบอาชี พ เล็ กๆ ข้ าราชการธุ ร การ เสมี ย นธุ ร กิ จ การค้ า พนั กงานโรงงาน
อุตสาหกรรมตาแหน่งสูง) ในกรุงเทพฯ มีจานวนถึง 175,350 คน ส่วนผู้ที่ประกอบอาชีพสถานะ
ต่าปานกลาง (ได้แก่ พวกช่างต่างๆ คนขับรถโดยสาร กลุ่มผู้ชานาญงานเบ็ดเตล็ด และพนักงาน
ตามโรงแรมและร้านอาหาร) ก็มีอยู่มากถึง 75,380 คนด้วยกัน (สกินเนอร์, 2548)
ในรายงาน “สถานการณ์เศรษฐกิจของประเทศไทย ตั้งแต่สิ้นสงครามจนถึง พ.ศ.
2493” โดย สานั กเลขาธิ การสภาเศรษฐกิจแห่ งชาติ ได้ให้ข้ อมู ลไว้ ว่า ภายหลั งสงครามจ านวน
ร้านค้าได้เพิ่มมากขึ้นเป็นลาดับ ร้านค้าในเขตจังหวัดพระนคร ธนบุรี สมุทรสาครและสมุทรปราการ
ซึ่ ง ได้ จ ดทะเบี ย นต่ อ สานั กงานกลางทะเบี ย นพาณิ ชย์ มี จ านวนดั ง ต่ อ ไปนี้ (หจช., (2) สร.
0201.22.1)
พ.ศ.2489 จานวน 44,872 ร้าน
พ.ศ.2490 จานวน 50,344 ร้าน
พ.ศ.2491 จานวน 54,970 ร้าน

15
วารสารมนุษยศาสตร์สาร ปีที่ 13 ฉบับที่ 2

พ.ศ.2492 จานวน 59,172 ร้าน


พ.ศ.2493 จานวน 63,481 ร้าน
ส่วนข้อมูลจากกระทรวงเศรษฐการก็ได้ให้ภาพการขยายตัวอย่างต่อเนื่องของกิจการ
ร้านค้าในปีต่อๆ มา ดังนี้ (ป๋วย และสุภาพ, 2504)
พ.ศ.2494 จานวน 67,351 ร้าน
พ.ศ.2495 จานวน 73,563 ร้าน
พ.ศ.2496 จานวน 78,793 ร้าน
พ.ศ.2497 จานวน 84,018 ร้าน
การที่บริษั ทร้านค้าจดทะเบียนเพิ่มขึ้นในระยะหลัง สงครามนี้ เป็นเครื่อ งแสดงว่ า
การค้าภายในประเทศได้เจริญขึ้น มีผู้นิยมประกอบอาชีพทางการค้ามากขึ้น ดังปรากฏในตัวเลข
ผลิตภัณฑ์ของประชาชาติขั้นต้นการค้าส่งและการค้าปลีกก็เพิ่มจากจานวน 5.2 พันล้านบาทใน
ปี พ.ศ.2495 เป็น 8.0 พันล้านบาทในปี พ.ศ.2499 การบริการอื่นๆ ก็เพิ่มจาก 3.0 พันล้านบาทใน
ปี พ.ศ.2495 เป็น 4.3 พันล้านบาทในปี พ.ศ.2499 ด้วยเช่นกัน (สภาพัฒนาการเศรษฐกิจแห่งชาติ
, 2503) ซึ่ ง สอดคล้ อ งกั บ ข้ อ มู ล การขยายตั ว ของธุ ร กิ จ การค้ า รายย่ อ ยในรายงานเกี่ ย วกั บ
สถานการณ์ทางเศรษฐกิจของประเทศที่ทางกรมประมวลราชการแผ่นดินได้ทาขึ้นมาฉบับหนึ่ง
เพื่อเสนอต่อคณะรัฐมนตรีในปี พ.ศ.2497 และได้กล่าวถึงสภาพการค้าของประเทศไทยใน
ขณะนั้นไว้อย่างน่าสนใจว่า

16
วารสารมนุษยศาสตร์สาร ปีที่ 13 ฉบับที่ 2

“...ในระยะ 2-3 ปีมานี้จ ะเห็นได้ว่ามีตึกแถวค้าย่อยเพิ่ มขึ้นทั้งใน


กรุงเทพฯ และต่างจังหวัดไม่ต่ากว่า 10,000 ห้อง...ประเทศไทยมีนักอุตสา
หกรย่อยๆ ซึ่งเลื่อนขึ้นเป็นชนชั้นกลางมากขึ้น ได้แก่โรงสีเล็ก 10,000 โรง
ทั่วประเทศ...โรงงานต่างๆ โรงกลึง โรงกลั่นสุรา โรงเหล้า โรงน้่าแข็ง
โรงเลื่อย โรงงานน้่าอัดลม โรงงานท่าแก้ว มากขึ้น...ทำให้มีเศรษฐีชั้นกลำง
มำกขึ้น...” (หจช., (3) สร.0201.45/27)
สังคมวัฒนธรรมแบบ ‘ชาวกรุง’
ชนชั้นกลางระดับกลางและระดับล่างกลายเป็นส่วนสาคัญของสังคมกรุงเทพฯ มี
รายได้และทาการจับจ่ายใช้สอยเพื่อการดารงชีวิต กาลังซื้อของคนกลุ่มนี้จึงส่งผลกระทบต่อ
การขยายตัวของตลาด และเป็นปัจจัยสาคัญที่กระตุ้นให้เกิดการแพร่หลายของวัฒนธรรมความ
บันเทิงรูปแบบใหม่ๆ (ภัทรวดี, 2549) ช่วงปลายทศวรรษ 2490 ภาพยนตร์กลายเป็นความ
บันเทิงของคนกรุงเทพฯ ที่โดดเด่นกว่ามหรสพประเภทอื่น โรงภาพยนตร์ชั้นหนึ่ง แข่งขันกัน
สร้างความหรูหราและต้อนรับการหย่อนใจของประชาชนเป็นอย่างดีด้วยราคานับเป็นล้านๆ
หรือกว่า 10 ล้านขึ้นไป จนมีประชาชนเรียกโรงภาพยนตร์ชั้น 1 บางโรงว่า ‘กระทรวง
ภาพยนตร์’ และเมื่อธุรกิจภาพยนตร์ได้รับความนิยมมากขึ้นละครเวทีก็เสื่อมความนิยมลงไป
ประมาณปี พ.ศ.2496-2497 มีการนาภาพยนตร์จากต่างประเทศและภาพยนตร์ที่สร้างโดยคน
ไทยเข้ า มาฉายแทนการเปิ ด แสดงละคร โรงละครที่ เ คยเปิ ด แสดง ไม่ ว่ า จะเป็ น เฉลิ ม

17
วารสารมนุษยศาสตร์สาร ปีที่ 13 ฉบับที่ 2

นคร เฉลิมไทย ต่างก็ปิดโรงเพื่อฉายภาพยนตร์ไทยและภาพยนตร์จากต่างประเทศ พวกดารา


ละครทีวีก็เปลี่ยนไปแสดงภาพยนตร์กันเป็นส่วนใหญ่ด้วย (ศิริพร, 2547)
ด้วยความนิยมอย่างล้นหลามดังกล่าวทาให้จานวนโรงภาพยนตร์ จานวนที่นั่ง และ
รายได้ของโรงภาพยนตร์ต่างๆ โดยเฉพาะในกรุงเทพฯ มีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นทุกปี รายได้ของ
โรงภาพยนตร์ใหญ่ในจังหวัดพระนครเพิ่มขึ้นกว่า 3 เท่าในเวลาเพียง 8 ปี คือจากจานวน
9,001,127 บาทในปี พ.ศ.2490 มาเป็นจานวน 29,670,882 ล้านบาทในปี พ.ศ.2498 ส่วนจานวน
โรงก็เพิ่มขึ้นจาก 91 โรงในปี พ.ศ. 2496 มาเป็น 373 โรงในปี พ.ศ.2507
นอกจากรสนิย มทางด้ านความบั นเทิงแล้วการใช้ เครื่องอุป โภคบริ โภคในสมั ยนี้ ก็
เปลี่ ย นไปด้ ว ยเช่ น กั น ความนิ ย มใช้ สิ่ ง ฟุ่ ม เฟื อ ยจากต่ า งประเทศมี ม ากขึ้ น จนจอมพล ป .
ตระหนักและได้กล่าวไว้ในการประชุมสภาวัฒนธรรมแห่งชาติเมื่อวันที่ 10 กรกฎาคม พ.ศ.
2497 ว่า
“การส่งเสริมวัฒนธรรมความนิยมไทยว่าเป็นเรื่องจ่าเป็นเพราะราษฎรสมัย
นี้เจริญขึ้นมาก...ของบางอย่างเมื่อสมัยก่อนเห็นเป็นของไม่จ่าเป็น เช่น วิทยุ
นาฬิกา เครื่องท่าความเย็น เป็นต้น แต่สมัยนี้กลับเป็นของจ่าเป็นจึงท่าให้ราษฎร
สั่งซื้อของต่างประเทศมากขึ้น...” (ป., 2497)
ครอบครัวจิราธิ วัฒน์ เจ้าของ “ห้างเซ็นทรัลเทรดดิ้ง ” เป็นนักธุรกิจตระกูลหนึ่งที่
สามารถจับกระแสความเปลี่ยนแปลงของรสนิยมในการอุปโภคสิ่งของเครื่องใช้ของคนในยุค
สมัยนั้นได้ จนเป็นปรากฏการณ์ใหม่ในธุรกิจค้าปลีกที่สัมพันธ์อย่างลึกซึ้งกับการขยายตัวของ

18
วารสารมนุษยศาสตร์สาร ปีที่ 13 ฉบับที่ 2

ชนชั้นกลางในเมือง ซึ่งมีความต้องการความแปลกใหม่และความสวยงามในการจัดร้าน รวมทั้ง


การกาหนดราคาที่แน่นอนตายตัว เมื่อบวกกับสินค้าที่มีมาตรฐานและมีคุณภาพ ห้างเซ็นทรัลจึง
ได้รับความเชื่อถือจากคนในสังคมเมือง จนกลายเป็น “เจ้ายุทธจักร” ในวงการห้างสรรพสินค้า
อักทั้งเป็นห้างสรรพสินค้ามาตรฐานรายแรกของประเทศไทย (ธนวัฒน์, 2543)
นอกจากความเปลี่ยนแปลงที่เกิดแก่สิ่งของเครื่องใช้เบ็ดเตล็ดแล้ว การซื้อขายสินค้า
ประเภทเครื่องดื่มโดยเฉพาะชนิดที่ผสมแอลกอฮอล์ก็เฟื่องฟูขึ้นโดยมีกลุ่มคนชั้นกลางเป็นผู้
อุดหนุนหรือเป็นฐานทางตลาดสาคัญ มูลค่าของสินค้าขาเข้ าประเภทเบียร์ ไวน์ และสุราต่างๆ
ในปี พ.ศ.2494 เพิ่มขึ้นจากปี พ.ศ.2493 กว่าเท่าตัว คือ 112% (จาก 17,332,719 บาทมาเป็น
36,743,829 บาท) และมีความสาคัญเพิ่มขึ้นด้วย กล่าวคือ ในปี พ.ศ.2493 มูลค่าของสินค้า
ประเภทนี้เป็นเพียง 0.59% ของสินค้าเข้าทั้งหมด แต่ในปี พ.ศ.2494 สินค้าเบียร์ ไวน์ และสุรา
ต่ า งๆ มี ค วามส าคั ญ ถึ ง 0.99% ของสิ น ค้ าขาเข้ า ซึ่ ง นั บ เป็ น สั ด ส่ ว นที่ สู ง ที่ สุ ด นั บ ตั้ ง แต่
สงครามโลกครั้งที่ 2 ยุติเป็นต้นมา (หจช. (3) สร.0201.45/15)
กิจการที่ขยายตัวติดตามมาพร้อมกับการบริโภคเครื่องดื่มก็คือกิจการโรงน้าแข็ง ซึ่ง
เป็นอุตสาหกรรมขนาดย่อมที่นายทุนชั้นกลางในทศวรรษ 2490 สนใจลงทุนกันมาก เพราะ
สั ง คมมี ค วามต้ อ งการน้ าแข็ ง เพิ่ ม ขึ้ น อย่ า งรวดเร็ ว แต่ ก ารเข้ า มาลงทุ น ในกิ จ การนี้ มี ม าก
จนเกินไปจนสินค้าล้นตลาด ดังปรากฏว่าในปี พ.ศ.2500 จานวนโรงน้าแข็งในเขตจังหวัด
กรุงเทพฯ และธนบุรี มีจานวนถึง 35 โรง ซึ่งผลิตน้าแข็งได้ประมาณวันละ 30 ถังถึง 400 ถัง
(ถังหนึ่งมีน้าแข็ง 300 ปอนด์) ถ้าคิดถัวเฉลี่ยว่าโรงน้าแข็งโรงหนึ่งผลิตได้วันละ 200 ถัง ก็จะได้

19
วารสารมนุษยศาสตร์สาร ปีที่ 13 ฉบับที่ 2

น้าแข็งวันละ 60,000 ปอนด์ ฉะนั้นทั้ง 35 โรงก็จะผลิตน้าแข็งได้ประมาณวันละ 2,100,00


ปอนด์ ซึ่งถือว่าเกินกาลังที่ประชาชนในเขตนี้จะบริโภคได้หมด (หจช. (3) สร.0201.74/14)
ชนชั้นกลางกับนโยบายเศรษฐกิจแบบ “ทุนนิยมโดยรัฐ”
กลุ่มชนชั้นกลางที่กล่าวไว้ข้างต้น สร้างเนื้อสร้างตัวอยู่นอกของระบบราชการ ส่วน
ใหญ่จะทาการค้าขาย รับจ้าง และอาชีพบริการต่างๆ ดังนั้น ความมั่นคงในชีวิตของตนเองและ
ครอบครัวจึงขึ้นอยู่สภาพเศรษฐกิจการค้าของประเทศ ซึ่งถ้าเศรษฐกิจขยายตัวไปด้วยดี ชีวิต
ของคนกลุ่มนี้ก็จะมั่นคงไปด้วย แต่ในทางตรงกันข้าม การบริหารงานทางเศรษฐกิจของรัฐบาล
ในช่วงทศวรรษ 2490 ได้สร้างความเดือดร้อนให้แก่กลุ่ม “ชนชั้นกลางในเมือง” คือพวกพ่อค้า
นายทุนระดับกลางและระดับล่าง รวมถึง “มนุษย์เงินเดือน” และพวกพ่อค้า-แม่ค้าทั่วไปอย่าง
มาก (โดยเฉพาะมาตรการควบคุมการค้าและการผูกขาดการค้าข้าว) เนื่องจากนโยบายต่างๆ
ของทางรัฐบาลจอมพล ป. มักจะหาความแน่นอนอะไรไม่ได้และไม่ได้ดาเนินการต่าง ๆ ตาม
หลักวิชา แต่มักขึ้นอยู่กับผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจและการเมืองของผู้มีอานาจและอิทธิพล
ในขณะที่การแก้ปัญหาก็เป็นไปในลักษณะฉาบฉวยหรือเป็นการแก้ปัญหาเฉพาะหน้า โดยขาด
มาตรการระยะยาวที่เกิดจากการมองการณ์ไกล ทาให้ชนชั้นกลางหั นมาตั้งคาถามกับนโยบาย
การบริหารราชการแผ่นดินของรัฐบาลมากยิ่งขึ้น ข้ออ้างที่รัฐบาลท่องกันมาตั้งแต่ทศวรรษ
2480 ไม่ว่าจะเป็นการทาเพื่อดึงเศรษฐกิจให้ตกมาอยู่ในมือของคนไทย หรือเพื่อกาจัดอิทธิพล
ของชาวต่างด้าวที่เปรียบดั่ง “ปลิง” ที่เข้ามาเกาะกินเลือดเนื้อของชาวไทย อะไรต่างๆ เหล่านี้ก็
เริ่มเสื่อมมนตร์ขลัง เนื่องจากเป็น “...ข้ออ้างที่อ้างกันเสมอ...เพื่อกีดกันคนต่างด้าว เพื่อสงวน

20
วารสารมนุษยศาสตร์สาร ปีที่ 13 ฉบับที่ 2

อาชีพให้คนไทย แต่เมื่อท่าไปกลายเพื่อเพิ่มภาระการครองชีวิตของทุกคนในเมืองไทย เพื่อ


ความร่่ารวยของคนเปนจ่านวนน้อย” (ไม่ปรากฏผู้เขียน, 2497)
การบริหารราชการที่คาดเดาและคาดหวังไม่ได้ เอาเหตุผลทางด้ านการเมืองและ
ผลประโยชน์ของตนเป็นตัวตั้ง ส่วนเหตุผลทางด้านหลักวิชาและประสิทธิภาพเก็บไว้ทีหลัง
แถมยังเต็มไปด้วยการทุจริตคอรัปชั่น เรียกสินบนและค่าน้าร้อนน้าชา คากล่าวของประชาชน
ที่ว่า “ซื้อข้าวสารเสียค่ากาแฟ” “รังวัดที่ดินเสียค่ากาแฟ” “ข้ออนุญาตตัดฟันไม้เสียค่ากาแฟ”
“ไปซื้อข้าวเปลือกข้าวสารต่างจังหวัดเสียค่ากาแฟตามรายทาง” ฯลฯ จึงได้ยินทั่วไปตามร้าน
ก๋วยเตี๋ยว ร้านสุรา ร้านกาแฟและสถานที่อื่นๆ (สร. 0201.25/1096)
มีการเรียกร้องให้รัฐบาลฟังเสียงของ “ผู้เชี่ยวชาญ” เพื่อให้การดาเนินนโยบายต่างๆ
เป็นไปตาม “หลักวิชา” โดยเห็นว่า “ภาวะอันสับสนเกี่ยวกับการบริหารราชการในเมืองไทยที่
วุ่นวายอยู่ทุกวันนี้...เป็นผลส่วนหนึ่งจากการที่ข้าราชการฝ่ายการเมืองเข้าไปมีอ่านาจก้าวก่าย
ข้าราชการประจ่า” (สยามรัฐ ฉบับวันที่ 1 ตุลาคม 2498) ซึ่งถ้าหากให้ “ผู้เชี่ยวชาญ” เข้ามาหา
ทางแก้ไขปัญหาแทนข้าราชการฝ่ายการเมืองแล้ว “ภาวะอันสับสนเกี่ยวกับการบริหารราชการ”
ก็ จ ะหมดไป อี ก ทั้ ง ยั ง สามารถบริ ห ารราชการรวมทั้ ง จั ด การปั ญ หาต่ า ง ๆ ได้ อ ย่ า งมี
ประสิทธิภาพอีกด้วย
ระบบบริษัทอภิสิทธิ์ที่ฟันกาไรแบบ “เสือนอนกิน ” และมีอยู่ทั่วทุกวงการค้าตั้งแต่
การฆ่าหมูไปจนถึงการส่งออกข้าวล้วนถูกประณาม เพราะแทนที่ “...จะใช้อภิสิทธิ์ที่ได้รับให้
เป็นประโยชน์แก่ส่วนรวม กลับประพฤติเป็นเสือนอนกิน ...” (ไม่ปรากฏผู้เขียน, 2502) และ
“...ระบบที่ จ ะขนข้ าว ขนหมู ขนไม้ คนเดี ย วได้ ท่ าลายพวกอี ส านให้ ย่ อ ยยั บ ...” (อ้ า งใน

21
วารสารมนุษยศาสตร์สาร ปีที่ 13 ฉบับที่ 2

เรืองวิทย์ ลิ่มปนาท, 2537) “...พวกพ่อค้าที่วิ่งเข้าออกบ้านผู้ใหญ่ได้ พวกนี้ท่าการค้าไม่กี่เดือนก็


มีเงินตั้งหลายล้านบาท พวกนี้แหละท่าให้ของแพงขึ้น ...” (หจช. (2) สร.0201.6) หรือ “ต้น
เหตุนัมเบอร์ 1 ที่ท่าให้ของแพงนั้นเกิดจากบริษัทอิทธิพล…” (ประชาธิปไตย ฉบับวันที่ 31
พฤษภาคม 2498) ก็เป็นอีกสิ่งหนึ่งที่ได้รับการวิพากษ์วิจารณ์กันมาก
จากปัญหามากมายที่มาจากนโยบายของรัฐบาลและการใช้อานาจของบุคคลในคณะ
รัฐบาลเพื่อแสวงหาผลประโยชน์โดยมิชอบ โดยที่การแก้ไขปัญหาต่างๆ ไม่บรรลุผล จนรัฐบาล
ได้รับการวิพากษ์วิจารณ์อย่างรุนแรงตามหน้าหนังสือพิมพ์ อันเป็นสื่อที่เข้าถึงชนชั้นกลางอย่าง
กว้างขวาง ดังที่กล่าวมานี้ ทาให้สังคมรับรู้ว่ารัฐบาลไร้ประสิทธิภาพและขาดธรรมาภิบาล ไม่
สมควรที่จะมีอานาจในการปกครองประเทศอีกต่อไป และพร้อมกับการโจมตีการแสวงหา
ผลประโยชน์ จ ากรั ฐ วิ สาหกิจ และปั ญ หาความเดื อ ดร้ อ นต่ าง ๆ ที่ ห ลายฝ่ ายได้ รั บ จากการ
ดาเนินงานของรัฐวิสาหกิจ กระแสการเรียกร้องนโยบายทางเศรษฐกิจที่เปิดให้เอกชนค้าขาย
แบบเสรีโดยที่รัฐเข้ามาเกี่ยวข้องน้อยที่สุดก็ดังขึ้น และกลายเป็นเรื่องที่คนชั้นกลางในเมืองเห็น
ว่ามี “ความจาเป็น” มากที่สุดในการแก้ไขปัญหาต่างๆ
ภายใต้ “อารมณ์” และ “ความรู้สึก” ของชนชั้นกลางดังกล่าวข้างต้นนี้ ทาให้ประเด็น
“การเลื อ กตั้ ง สกปรก” ในช่ ว งต้ น ปี พ.ศ.2500 ที่ ถู ก โหมประโคมขึ้ น มา โดยเฉพาะใน
หนังสือพิมพ์สยามรัฐที่ทรงอิทธิพลในหมู่คนชั้นกลาง ประเด็นนี้จึงกลายเป็นจุดสิ้นสุดของ
ระบอบทุนนิยมโดยรัฐ เนื่องจากกลุ่มชนชั้นกลางในเมืองลุกฮือขึ้นแสดงความไม่พอใจต่อการ
กระทาของรัฐบาลในระหว่างการเลือกตั้ง ประกอบกับความขัดแย้งในหมู่ผู้นาทางการเมืองก็ตึง
เครี ย ดถึ ง ขี ด สุ ด จนไม่ อ าจที่ จ ะประนี ป ระนอมได้ อี ก ต่ อ ไป คณะผู้ น าทางการเมื อ งที่ ไ ร้

22
วารสารมนุษยศาสตร์สาร ปีที่ 13 ฉบับที่ 2

เสถียรภาพจึงไม่อาจจะควบคุม “อารมณ์” “ความรู้สึก” ของฝูงชนเอาไว้ได้ ความชอบธรรมใน


การปกครองที่ตกต่าอยู่แล้วจากเสียงวิพากษ์วิจารณ์ก่อนหน้ า นี้ ได้ตกต่าลงไปจนถึงขีดสุ ด
ในทันที จอมพลสฤษดิ์ประสบโอกาสเหมาะที่จะยึดอานาจการบริหารมาเป็นของกลุ่มตนทั้งนี้
โดยได้รับความสนับสนุนจาก “มติมหาชน” ทาให้การรัฐประหารเมื่อวันที่ 16 กันยายน พ.ศ.
2500 ประสบความสาเร็จอย่างง่ายดาย
ภายหลังการรัฐประหาร จอมพลสฤษดิ์ได้ทาการปรับปรุงระบบการบริหารประเทศ
อย่างใหญ่หลวงและรวดเร็ว อานาจการปกครองถูกรวมมาอยู่ในมือของนายกรัฐมนตรีอย่าง
เด็ดขาด ส่วนนโยบายด้านเศรษฐกิจนั้นก็ไม่เน้นระบบทุนนิยมโดยรัฐอีกต่อไป แต่นาประเทศ
เข้าสู่การค้าแบบทุนนิยมเสรี ทั้งนี้โดยเปิดพื้นที่ให้กับกลุ่ม “ขุนนางนักวิชาการ” อันเป็นผู้นา
ทางความคิดรุ่นใหม่ในหมู่ชนชั้นกลาง ได้เข้ามาใช้ความรู้ความสามารถในการกาหนดนโยบาย
และโครงการต่างๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเรื่องเศรษฐกิจ (และจอมพลสฤษดิ์ได้รับความร่วมมือ
อย่างแข็งขันจากคนกลุ่มนี้ ) จนนามาซึ่งการปรับปรุงระบบกลไกอานาจรัฐหลายด้าน อาทิ
การงบประมาณ การคลัง การควบคุมธนาคารพาณิชย์ เป็นต้น จนเป็นโครงสร้างพื้นฐานที่สร้าง
เสริมให้อัตราการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจของไทยขยายตัวขึ้นอย่างรวดเร็วและส่งผลโดยตรง
ต่อเสถียรภาพทางการเมือง

23
วารสารมนุษยศาสตร์สาร ปีที่ 13 ฉบับที่ 2

บทบาทของกลุ่มขุนนางนักวิชาการ
“ขุนนางนักวิชาการ” เป็นคนอีกกลุ่มหนึ่งที่เคลื่อนไหวอย่างมีสีสันในยุคสมัยแห่ง
ความเปลี่ยนแปลงนี้ และมีบทบาทอันสาคัญอย่างยิ่งในการก่อร่างสร้างสรรค์ “รัฐทุนนิยม” ใน
สมัยทศวรรษ 2500 เป็นต้นไป
ย้อนกลับไปภายหลังที่สงครามโลกครั้งที่ 2 สิ้นสุดลง คนกลุ่มนี้เริ่มมีบทบาทมากขึ้น
ทั้งนี้เนื่องจากปัจจัย 2 ประการ คือ ประการที่หนึ่ง ปัญหาทางด้านเศรษฐกิจภายหลังสงคราม
โดยเฉพาะปัญหาเงินเฟ้อและปัญหาความขาดแคลนเงินตราต่างประเทศได้ทาให้ฝ่ายการเมือง
จาเป็ นต้อ งดาเนินนโยบายทางการเงิ นและการคลัง ตามที่ขุนนางนั กวิชาการเสนอมาอย่าง
เข้มงวด ประการที่สอง ในช่วงหลังสงครามไปจนถึงปี พ.ศ.2495 เป็นอย่างน้อย ความขัดแย้ง
แย่งยิงอานาจทางการเมืองของประเทศไทยเป็นไปอย่างเข้มข้น การเมืองไทยอยู่ในสภาวะยุ่ง
เหยิง ไม่มีกลุ่มใดมีอานาจสูงสุดเด็ดขาด ดังนั้น ในช่วงก่อนปี พ.ศ.2495 ไม่ว่ากลุ่มการเมืองใด
ขึ้นมามีอานาจก็ไม่มีเวลาและพลังมากพอที่จะเข้าแทรกแซงในทางเศรษฐกิจ ในช่วงนี้นโยบาย
ต่างๆ ของขุนนางนักวิชาการจึงดาเนินไปอย่างได้ผลเต็มที่ สภาพการเงินการคลังของประเทศ
ได้รับการฟื้นฟูขึ้นอย่างรวดเร็ว
จุดเปลี่ยนสาคัญของประวัติศาสตร์เศรษฐกิจ การเมือง และสังคมในช่วงทศวรรษ
2490 อยู่ในปี พ.ศ.2495 เมื่อคณะรัฐประหาร พ.ศ.2490 สามารถกาจัดศัตรูทางการเมืองได้อย่าง
เด็ดขาด และรวบอานาจทางการเมืองเข้ามาอยู่ในมือของกลุ่มตน ทันทีที่มีอานาจฝ่ายการเมือง
การเข้าแทรกแซงการกาหนดนโยบายเศรษฐกิจ สิ่งที่ส่งผลกระทบมากที่สุดก็คือการที่รัฐบาล

24
วารสารมนุษยศาสตร์สาร ปีที่ 13 ฉบับที่ 2

สั่งให้ธนาคารแห่งประเทศไทยเปลี่ ยนแปลงอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศในปี พ.ศ.


2495 ซึ่งได้สร้างความปั่นป่วนให้แก่สภาพเศรษฐกิจการค้าของประเทศอย่างรุนแรง เนื่องจาก
เมื่อเงินบาทแข็งค่าขึ้น พ่อค้าจึงนิยมสั่งสินค้าเข้ามาขายกันมาก ประเทศไทยจึงขาดดุลการค้า
ทันที เงินตราต่างประเทศที่เก็บสะสมมาตั้ งแต่ช่วงหลังสงครามลดลงอย่างรวดเร็วจนกระทั่ง
ต้องใช้นโยบายควบคุมการค้าในที่สุด
รัฐบาลเริ่มใช้นโยบายการจากัดสินค้าเข้าอย่างเข้มงวด ตั้งแต่วันที่ 16 พฤศจิกายน
2496 โดยกาหนดให้ผู้นาเข้าสินค้าทุกประเภทต้องขอใบอนุญาตนาเข้าจากกระทรวงเศรษฐการ
เสียก่อน และธนาคารแห่งประเทศไทยก็ต้องตัดทอนรายการสินค้าที่ขายเงินตราต่างประเทศใน
อัตราเสรีให้ลดลงเป็นลาดับ จนในที่สุด ในปลายปี พ.ศ. 2497 ก็มีการยกเลิกรายการสินค้าที่
ธนาคารแห่งประเทศไทยขายเงินตราต่างประเทศทั้งสองสกุลในอัตราเสรีเพื่อการนาเข้าโดย
สิ้นเชิง(ธนาคารแห่งประเทศไทย, 2505) การที่รัฐบาลดาเนินนโยบายจากัดสินค้าเข้าอย่าง
เข้ ม งวดเช่ น นี้ มี ผ ลท าให้ ค่ าครองชี พ พุ่ ง สู ง ขึ้ น เนื่ อ งจากสิ น ค้ าต่ างๆ ขาดตลาดอย่ างมาก
ประชาชนเดื อดร้อ นทุกหย่ อมหญ้ าซึ่ งประทุผ่านการวิพ ากษ์วิจารณ์ต ามหน้ าหนัง สือ พิม พ์
จนกระทั่งถึงการไฮด์ปาร์คและการเดินขบวนต่อต้านการเลือกตั้งสกปรก ในปี พ.ศ.2500
นอกจากผลเสียของการปล่อยให้ฝ่ายการเมืองเข้ามากาหนดนโยบายทางเศรษฐกิจ
อย่างไร้หลักวิชาแล้ว ระบอบการเมืองแบบเผด็จการที่อานาจตกอยู่ในมือของ “นายทุนขุนศึก”
ทาให้มีการใช้อานาจเพื่อแสวงหาผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจอย่างกว้างขวาง และมีการนา
ทรัพยากรของประเทศไปใช้เพื่อประโยชน์ส่วนบุคคลโดยปราศจากกลไกควบคุมตรวจสอบที่มี
ประสิทธิภาพ ในสถานการณ์เช่นนี้ขุนนางนักวิชาการได้มองเห็นความจาเป็นที่จะต้องสถาปนา

25
วารสารมนุษยศาสตร์สาร ปีที่ 13 ฉบับที่ 2

วินัยทางการคลังและการเงินขึ้น เพื่อดึงอานาจมาสู่ข้าราชการประจา โดยเฉพาะอย่างยิ่งกลุ่มขุน


นางนักวิชาการ เพื่อให้พวกเขามีอานาจทั้งในการกาหนดนโยบายทางการเงิน นโยบายการคลัง
และนโยบายหนี้สาธารณะ กล่าวได้ว่าความหวั่นวิตกว่าจะเกิดปัญหาความไร้เสถียรภาพทาง
เศรษฐกิจที่เนื่องมาจากพฤติกรรมของผู้นาฝ่ายทหาร ทาให้กลุ่มขุนนางนักวิชาการเห็นความ
จาเป็นที่จะต้องมีมาตรการที่จะป้ องกันมิให้เกิดมหันตภัยทางเศรษฐกิจขึ้นในประเทศไทย
(รังสรรค์, 2532)
จากความพยายามต้ านทานนายทุนขุนศึก ดังกล่าว เราจึงพบความขัดแยงระหว่าง
บุคคลทั้งสองกลุ่มในช่วงทศวรรษ 2490 นี้อยู่หลายครั้งด้วยกัน กลุ่มขุนนางนักวิชาการต้องถูก
แทรกแซงจากฝ่ายการเมืองอยู่เนือง ๆ ในช่วงนี้จึงมีการเปลี่ยนตัวผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศ
ไทยและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังอยู่หลายครั้ง โดยในระหว่างเดือนพฤศจิกายน พ.ศ.
2485 ถึงเดือนพฤษภาคม พ.ศ.2502 มีผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย 9 คน ดารงตาแหน่ง
เฉลี่ยคนละ 1 ปี 10 เดือน และมีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังถึง 18 คน (รังสรรค์, 2546)
กล่ าวได้ ว่าพฤติกรรมการใช้ จ่ ายเงิน เกินตั วของรั ฐบาล ความบกพร่ อ งในวิธีการ
งบประมาณและการบริหารการคลัง และความผิดพลาดในนโยบายควบคุมอัตราแลกเปลี่ยน
เงินตราต่างประเทศในปี พ.ศ.2495 เป็นสาเหตุสาคัญที่ทาให้เกิดวิกฤตเศรษฐกิจที่รุนแรงที่สุด
ในทศวรรษ 2490 จนส่งผลให้นโยบายทุนนิยมโดยรัฐไม่สามารถที่จะขับเคลื่อนประเทศต่อไป
ได้ รัฐบาลและข้าราชการการเมืองหมดหนทางที่จะแก้ไขปัญหาและไม่สามารถที่จะดิ้นรน
ดาเนินนโยบาย “ตามใจฉัน” ได้อีกต่อไป จนต้องยอมรับการเคลื่อนไหวเพื่อสร้างระเบียบและ

26
วารสารมนุษยศาสตร์สาร ปีที่ 13 ฉบับที่ 2

ปรั บ เปลี่ ย นรู ป แบบการบริ ห ารจั ด การการเงิ น และการคลั ง ของประเทศโดยกลุ่ ม ขุ น นาง


นักวิชาการ ซึ่งได้เคลื่อนไหวกันมาเป็นเวลานาน แต่จะเริ่มเห็นผลได้ชัดตั้งแต่ปี พ.ศ.2498 และ
ชัดเจนมากขึ้นภายหลังการทาการปฏิวัติโดยจอมพลสฤษดิ์ในปี พ.ศ.2501 เป็นต้นมา
ความเปลี่ยนแปลงครั้งสาคัญล้วนเกิดขึ้นในปี พ.ศ.2498 ไม่ว่าจะเป็นการดาเนินการ
สารวจสถานะทางเศรษฐกิจของประเทศ การปรับปรุงวิธีการงบประมาณ การปรับปรุงนโยบาย
การแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ และการปรับปรุงวิธีการทางการค้าต่างๆ ที่มีลักษณะของ
การลดบทบาทของรัฐและเปิดให้เอกชนมีโอกาสทาการค้าโดยเสรีมากขึ้น ทั้งนี้เนื่องจากรัฐบาล
จาเป็นที่จะต้อง “ฟัง” และยินยอมตามวิธีการที่เสนอโดยขุนนางนักวิชาการ เพราะนอกจากจะ
เพื่อฟื้นฟูฐานะทางการเงินของประเทศแล้ว ยังมีผลไปถึงการขอความช่วยเหลือทางด้านการเงิน
จากองค์การระหว่างประเทศอีกด้วย ซึ่งนายอานวย วีรวรรณ ขุนนางนักวิชาการที่เข้ามาทางาน
ในช่วงปลายทศวรรษ 2490 ได้กล่าวถึงบรรยากาศในสมัยนั้นไว้ได้อย่างน่าสนใจว่า “ผมเข้า
ท่างานในช่วงที่กรมบัญชีกลางและกระทรวงการคลังก่าลังปรับปรุงเปลี่ยนแปลงองค์กร รวมทั้ง
ระบบงานอย่างมากมาย ถือว่าเป็นการยกเครื่องหรือ Re-engineering ก็ว่าได้ เพราะเป็นยุค
เริ่มต้นของการปฏิรูประบบการคลังอย่างแท้จริง ไม่ว่าด้านการงบประมาณ การเงินการบัญชี
และกฎหมายระเบียบการเงินการคลัง ซึ่งเริ่มมีการปฏิรูประบบบริหารงบประมาณด้วยการน่า
เทคโนโลยีสารสนเทศเข้ามาใช้เพื่อให้ระบบการเงินและการบัญชีของแผ่นดินทันสมัยมาก
ยิ่งขึ้น” (อานาย, 2547)

27
วารสารมนุษยศาสตร์สาร ปีที่ 13 ฉบับที่ 2

บทสรุป: จอมพลสฤษดิ์ไม่ได้เป็นผู้นามา แต่เป็นผู้ก้าวตามความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น


จอมพลสฤษดิ์ขึ้นมามีอานาจ ท่ามกลางความเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจและสังคมที่
กาลังดาเนินไปอย่างรวดเร็ว รวมทั้งการขยายตัวของนายทุนกับชนชั้นกลาง และการเคลื่อนไหว
ของกลุ่มขุนนางนักวิชาการเพื่อสถาปนาระบบระเบียบการบริหารจัดการทางด้านการเงิน การ
คลัง และนโยบายทางด้านเศรษฐกิจของรัฐโดยการประสานงานกับสหรัฐอเมริกาและองค์กร
ระหว่างประเทศ ดังนั้น ภายหลังการปฏิวัติเมื่อวันที่ 16 กันยายน พ.ศ.2501 นอกจากจอม
พลสฤษดิ์จะต้องทาการควบคุมอานาจทางการเมืองมาไว้ที่กลุ่มของตนเองอย่างเด็ดขาด จอม
พลสฤษดิ์ยังจาเป็นที่จะต้องเร่งปรับรูปแบบการบริหารราชการแผ่นดิน เพื่อเหมาะสมกับความ
เปลี่ยนแปลงต่างๆ ที่เกิดขึ้น ซึ่งการปรับปรุงที่สาคัญมีอยู่ 2 ด้านด้วยกัน นั่นคือ การเปิด “พื้นที่”
ให้กับขุนนางนักวิชาการ และการจัดตั้งหน่วยงานและมาตรการเพื่อบริหารจัดการทางด้าน
เศรษฐกิจ
ท่ามกลางความสลับซับซ้อนทางเศรษฐกิจและสังคมที่เกิดขึ้น สิ่งหนึ่งที่มีความจาเป็น
ในการนาพาประเทศเข้าสู่ระบบทุนนิยมสมัยใหม่ ก็คือ “คน” โดยเฉพาะอย่างยิ่งคนที่มี “ความรู้
ความชานาญเฉพาะด้าน” นั่นก็คือกลุ่มที่เราเรียกกันทั่วไปว่า “ขุนนางนักวิชาการ” หรือ “เทค
โนแครต”
ในบรรดาขุนนางนักวิชาการสายต่างๆ ขุนนางสายเศรษฐกิจดูจะมีบทบาทมากที่สุด
เนื่องจากเรื่องพัฒนาเศรษฐกิจเป็นจุดประสงค์และโครงการอันยิ่งใหญ่ที่สุดของคณะปฏิวัติ อีก
ทั้งคนกลุ่มนี้ยังได้เคลื่อนไหวอย่างแข็งขันมากว่าทศวรรษแล้วดังที่ได้กล่าวไว้ในตอนต้น ด้วย

28
วารสารมนุษยศาสตร์สาร ปีที่ 13 ฉบับที่ 2

เหตุนี้เองการวางแผนและโครงการพัฒนาการเศรษฐกิจก็ดี การปฏิบัติงานในเรื่องนี้ก็ดี จึงได้ทา


กั น เป็ น งานใหญ่ ม าก สภาพั ฒ นาการเศรษฐกิ จ แห่ ง ชาติ มี ก รรมการถึ ง 45 คน และมี
กรรมการบริหารอีก 9 คน ส่วนราชการที่ปฏิบัติงานนี้ซึ่งเรียกชื่อว่า “สานักงานสภาพัฒนาการ
เศรษฐกิจแห่งชาติ ” นั้น แบ่งออกเป็นส่วนใหญ่ๆ เท่ากับ 3 กรมรวมอยู่เป็นสานักงานเดียว มี
จานวนข้าราชการเจ้าหน้าที่ถึง 725 คน ใหญ่กว่ากระทรวงบางกระทรวง และข้าราชการ
เจ้าหน้าที่ส่วนมากที่สุดมีคุณภาพสูง มีผู้เชี่ยวชาญที่เป็นชาวต่างประเทศอยู่ถึง 5 คน (สฤษดิ์,
จอมพล, 2502-2504)
อีกสิ่งหนึ่งที่แสดงให้เห็นถึงการให้ความสาคัญกับขุ นนางนักวิชาการในสมัยจอม
พลสฤษดิ์ก็คือ การเพิ่มขึ้นของจานวนข้าราชการ โดยส่วนราชการที่เห็นการเพิ่มจานวนขึ้น
ชัดเจนที่สุด ก็คือ สานักนายกรัฐมนตรี ที่เพิ่มจากจานวน 1,967 คน ในปี พ.ศ.2502 เป็น 4,822
คนหรือเพิ่มขึ้น 145.15% นอกจากนี้ก็มีกระทรวงการคลังที่เพิ่มจาก 3,365 คนในปี พ.ศ.2501
เป็น 9,306 คนในปี พ.ศ.2502 หรือเพิ่มขึ้นกว่า 176.55% แต่หากพิจารณาโดยรวมแล้วจะเห็น
ได้ว่าปี พ.ศ.2502 อันเป็นปีที่จอมพลสฤษดิ์ปรับปรุงหน่วยราชการเพื่อการพัฒนาเศรษฐกิจและ
สังคมให้ทันสมัยนั้น เป็นปีที่มีการเพิ่มจานวนข้าราชการอย่างเห็นได้ชัด คือ จาก14,659 คนใน
ปี พ.ศ.2501 เป็น 24,525 คนในปี 2502 หรือเพิ่มขึ้น 67.3% (อรศรี งามวิทยาพงศ์, 2530)
นอกจากกาลังคนที่มีความรู้ความชานาญเฉพาะด้านสมัยใหม่แล้ว รัฐบาลคณะปฏิวัติ
จาเป็นจะต้องใช้กลไกใหม่ๆ ในการบริห ารราชการแผ่นดินท่ามกลางความเปลี่ยนแปลงทาง
เศรษฐกิจไทยและเศรษฐกิจโลกที่ทวีความสลับซับซ้อนขึ้นอย่างมาก หน่วยงานต่างๆ จึงถูก

29
วารสารมนุษยศาสตร์สาร ปีที่ 13 ฉบับที่ 2

ตั้งขึ้นมาเพื่อเติมเต็มช่องว่างตรงนี้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในสังกัดของสานักนายกรัฐมนตรีที่เกิด
หน่วยราชการขึ้นหลายหน่วยงาน
พ.ร.บ.จัดระเบียบราชการสานักนายกรัฐมนตรี พ.ศ.2502 ซึ่งมีการแก้ไขเปลี่ยนแปลง
7 ครั้ง ก่อนที่จะมีการปรับปรุงครั้งใหญ่ในปี พ.ศ.2505 นั้น ก็ล้วนแล้วแต่เป็นการแก้ไขเพราะมี
การเพิ่มหรือลดจานวนหน่วยราชการในสานักนายกรัฐมนตรีทั้งสิ้น และที่ควรสังเกตก็คือ
นับตั้งแต่ พ.ศ.2502 ซึ่งมีหน่วยราชการในสังกัดสานักนายกรัฐมนตรีเพียง 15 หน่วยงาน ในปี
พ.ศ.2504 ได้มีหน่วยงานเพิ่มขึ้นถึง 23 หน่วยงาน ส่วนพ.ร.บ.จัดระเบียบราชการสานัก
นายกรัฐมนตรี พ.ศ.2505 นั้นก็มีการเพิ่มหน่วยงานขึ้นเป็น 24 หน่วยงาน (ชัยอนันต์, 2541)
นอกจากจะมีการเพิ่มหน่วยราชการขึ้นเป็นจานวนมากแล้ว สานักนายกรัฐมนตรียังเต็มไปด้วย
หน่วยงานที่มีบทบาทสาคัญต่อการตัดสินใจและดาเนินนโยบายทางเศรษฐกิจและการพัฒนา
ประเทศ อาทิเช่น สานักงบประมาณ กรมประมวลราชการแผ่นดิน กรมตรวจราชการแผ่นดิน
สานักงานคณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน สานักงานสภาเศรษฐกิจแห่งชาติ สานั กงานสภาวิจัย
แห่งชาติ เป็นต้น
ในหลายหน่ วยงานที่ ตั้ ง ขึ้ น ใหม่ นี้ หน่ วยงานสาคั ญ ในการท าหน้ าที่ กาหนดและ
บริหารนโยบายทางเศรษฐกิจและการคลัง ได้แก่ สานักงบประมาณ ในสังกัดสานักนายกรัฐใน
ตรี และสานักเศรษฐกิจการคลัง ในสังกัดกระทรวงการคลัง โดยที่สานักงานเศรษฐกิจการคลัง
ทาหน้ าที่เ ป็น เสนาธิการในการกาหนดนโยบายการคลั ง ส่ วนสานั กงบประมาณท าหน้ าที่

30
วารสารมนุษยศาสตร์สาร ปีที่ 13 ฉบับที่ 2

กาหนดและบริหารนโยบายงบประมาณ ซึ่งงานทั้งสองด้านดังกล่าวมีความจาเป็นอย่างมากใน
การธารงรัฐนาวาให้ดารงอยู่ได้ท่ามกลางเศรษฐกิจและสังคมสมัยใหม่
ดั ง นั้ น เราจะเห็ น ได้ ว่ า “ยุ ค พั ฒ นา” เป็ น ผลผลิ ต ของความเปลี่ ย นแปลงทาง
ประวัติศาสตร์ที่สืบเนื่องยาวนาน และประกอบด้วยแรงผลักดันของพลังต่าง ๆ หลายฝ่าย ไม่ว่า
จะเป็นพลังของความเปลี่ยนแปลงเชิงโครงสร้าง แรงผลักดันจาก “ชนชั้นกลาง” ตลอดจน
แรงผลักดันจากกลุ่มขุนนางนักวิชาการ กระแสความเปลี่ยนแปลงจึงเป็นไปอย่างเปี่ยมด้วยพลัง
ดังนั้น ไม่ว่า “ผู้ นา” ทางการเมืองคนใดที่ปรารถนาจะดารงอานาจในบริบ ททางเศรษฐกิ จ
สังคม และการเมืองเช่นนี้ ย่อมไม่สามารถที่จะปฏิเสธแรงผลักดันของ “สังคม” ที่ต้องการจะให้
“ยุคพัฒนา” เกิดขึ้นได้ มีแต่จะต้ องตอบสนองกระแสความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นอย่างเต็มที่
เท่านั้น

31
วารสารมนุษยศาสตร์สาร ปีที่ 13 ฉบับที่ 2

บรรณานุกรม
จารึก สุดใจ. (2529). นโยบายพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศไทยภายใต้รัฐบาลของจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์
2501-2506. วิทยานิพนธ์อักษรศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาประวัติศาสตร์เอเชียตะวันออกเฉียงใต้
ภาควิชาประวัติศาสตร์ บัณฑิตมหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร.
จี. วิลเลียม สกินเนอร์. (2548). สังคมจีนในประเทศไทย: ประวัติศาสตร์เชิงวิเคราะห์. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ:
โครงการตาราสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์.
ชัยวัฒน์ ศุภดิลกลักษณ์. (2541). พ่อค้ากับการพัฒนาเศรษฐกิจ: ล่าปาง พ.ศ.2459-2512. วิทยานิพนธ์ปริญญา
มหาบัณฑิต คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
ชัยอนันต์ สมุทวณิช. (2541). 100 ปีแห่งการปฏิรูประบบราชการ วิวัฒนาการของอานาจรัฐและอานาจการเมือง.
พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ: สถาบันนโยบายศึกษา.
ณัฏฐพงษ์ เลี่ยววิวัฒน์อุทัย. (2551 ก.). การ “ปรับตัว” ของ “นายทุนจีน” ภาพสะท้อนความเปลี่ยนแปลงทาง
เศรษฐกิจ และสังคมไทยในทศวรรษ 2490. ศิลปวัฒนธรรม ปีที่ 29 ฉบับที่ 10 สิงหาคม.
ณัฏฐพงษ์ สกุลเลี่ยว. (2551 ข.). การก่อตัวของ “คนชั้นกลาง” กับการเสื่อมสลายของรัฐบาลจอมพล ป.
พิบูลสงคราม และ “ทุนนิยมโดยรัฐ. ใน ศิลปวัฒนธรรม ปีที่ 30 ฉบับที่ 2 ธันวาคม.
ธนวัฒน์ ทรัพย์ไพบูลย์. (2543 ก.). เรือชีวิตเจ้าสัวเลือดมังกร ตระกูลล่าซา. กรุงเทพฯ: กรุงเทพธุรกิจ.
ธนวัฒน์ ทรัพย์ไพบูลย์. (2543 ข.). 55 ตระกูลดัง ภาค 1. กรุงเทพฯ: สานักพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ.
ธนาคารกรุงเทพ จากัด. (2524). ก่อนจะถึงวันนี.้
ธนาคารแห่งประเทศไทย. (2505). ที่ระลึกวันครบรอบปีที่ยี่สิบ 10 ธันวาคม.
นาวี รังสิวรารักษ์. (2548). บนถนนสายการเมืองของบุญชู โรจนเสถียร. กรุงเทพฯ: สานักพิมพ์ปะการัง.

32
วารสารมนุษยศาสตร์สาร ปีที่ 13 ฉบับที่ 2

นันทนา กปิลกาญจน์. (2529). รายงานผลการวิจัย แนวคิดทางการเมืองของจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์: ผลที่มีต่อ


การพัฒนาประเทศ. กรุงเทพฯ: สถาบันวิจัยและพัฒนาแห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
นินนาท สินไชย. (2545). สหรัฐอเมริกากับการเปลี่ยนแปลงนโยบายการพัฒนาเศรษฐกิจของไทย ในสมัยจอม
พลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ : ศึกษาผลกระทบที่มีต่อโครงสร้างความสัมพันธ์ระหว่างรัฐ ทุนเอกชนใน
ประเทศ และทุนเอกชนต่างประเทศ. วิทยานิพนธ์รัฐศาสตรมหาบัณฑิตภาควิชาความสัมพันธ์
ระหว่างประเทศ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
บุญชู โรจนเสถียร. (มปป.). แนวทางแก้ปัญหาเศรษฐกิจและการเมืองไทย. กรุงเทพฯ: สานักพิมพ์ อ. อิทธิพล.
ป. พิบูลสงคราม, จอมพล. (2497). สารเสรี ฉบับวันที่ 14 กรกฎาคม.
ปฏิมากร คุ้มเดช. (2538). ระบอบเผด็จการกับการพัฒนาเศรษฐกิจในประเทศไทย ศึกษากรณีรัฐบาล
จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์. วิทยานิพนธ์รัฐศาสตรมหาบัณฑิต ภาควิชาการปกครอง จุฬาลงกรณ์
มหาวิทยาลัย.
ปลายอ้อ ชนะนนท์. (2529). บทบาทนายทุนพ่อค้าที่มีต่อการก่อและขยายตัวของทุนนิยมภาคเหนือของ
ประเทศไทย พ.ศ.2464-2523. วิทยานิพนธ์เศรษฐศาสตรมหาบัณฑิต ภาควิชาเศรษฐศาสตร์
บัณฑิตวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ป๋วย อึ๊งภากรณ์ และสุภาพ ยศสุนทร. (2504). เศรษฐกิจแห่งประเทศไทย (พิมพ์ครั้งที่ 3). พระนคร: ประมวล
มิตร.
ผาสุก พงษ์ไพจิตร และ คริส เบเคอร์. (2546). เศรษฐกิจการเมืองไทยสมัยกรุงเทพ (พิมพ์ครั้งที่ 3). เชียงใหม่:
สานักพิมพ์ซิลค์เวอร์ม.
พรรณี บัวเล็ก. (2540). จักรวรรดินิยมญี่ปุ่นกับพัฒนาการทุนนิยมไทย ระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 1-2 (พ.ศ.
2457-2484). กรุงเทพฯ: สานักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย.
พรรณี บัวเล็ก. (2543). วิเคราะห์นายทุนธนาคารพาณิชย์ไทย พ.ศ.2475-2516. กรุงเทพฯ: สานักพิมพ์สยาม.
ภัทรวดี ภูชฎาภิรมย์. (2549). วัฒนธรรมบันเทิงในชาติไทย. กรุงเทพฯ: มติชน.

33
วารสารมนุษยศาสตร์สาร ปีที่ 13 ฉบับที่ 2

ภิญญพันธุ์ พจนะลาวัณย์. (2552). การผลิตความหมาย “พื้นที่ประเทศไทย” ในยุคพัฒนา (พ.ศ.2500-2509).


วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาประวัติศาสตร์ บัณฑิตวิทยาลัย
มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
ไม่ปรากฏผู้เขียน. (2497). ประชาธิปไตย. ฉบับวันที่ 30 มกราคม.
ไม่ปรากฏผู้เขียน. (2543). ผู้จัดการรายเดือน. สิงหาคม. ใน http://www.gotomanager.com/news/
printnews.aspx?id=8039.
ไม่ปรากฏผู้เขียน. (2502). สยามรัฐ. ฉบับวันที่ 21 กุมภาพันธ์.
รายงานของคณะสารวจเศรษฐกิจ ของธนาคารระหว่างประเทศเพื่อการบูรณะและวิวัฒนาการ. (2503).
โครงการพัฒนาการของรัฐ ส่าหรับประเทศไทย. สภาพัฒนาการเศรษฐกิจแห่งชาติ.
รังสรรค์ ธนะพรพันธุ.์ (2532). กระบวนการกาหนดนโยบายเศรษฐกิจในประเทศไทย : บทวิเคราะห์เชิง
ประวัติศาสตร์ เศรษฐกิจการเมือง พ.ศ. 2475-2530. กรุงเทพฯ : สมาคมสังคมศาสตร์แห่ง
ประเทศไทย.
รังสรรค์ ธนะพรพันธุ์. (2546). การบริหารนโยบายเสถียรภาพเศรษฐกิจในอนาคต. กรุงเทพฯ:
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. พิมพ์ครั้งที่ 2.
เรืองวิทย์ ลิ่มปนาท. (2537). บทบาทของรัฐในระบบทุนนิยมของไทย (พ.ศ.2475-2500). วิทยานิพนธ์อักษร
ศาสตรมหาบัณฑิต ภาควิชาประวัติศาสตร์ บัณฑิตวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สกินเนอร์, วิลเลียม จี. (2548). สังคมจีนในประเทศไทย. กรุงเทพฯ: มูลนิธิโครงการตาราสังคมศาสตร์และ
มนุษยศาสตร์.
สฤษดิ์ ธนะรัชต์, จอมพล. (2502-2504). ประมวลสุนทรพจน์. ฉบับวันที่ 30 มกราคม.
สายชล สัตยานุรักษ์. คึกฤทธิ์กับประดิษฐกรรม “ความเป็นไทย” เล่ม 2. กรุงเทพฯ: มติชน. 2550.
สินีนาฏ เวชแพทย์. (2539). แนวคิดของจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ เกี่ยวกับการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม
วิทยานิพนธ์ อักษรศาสตรมหาบัณฑิต ภาควิชาประวัติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

34
วารสารมนุษยศาสตร์สาร ปีที่ 13 ฉบับที่ 2

สุธาชัย ยิ้มประเสริฐ. (2547). การเมืองไทยสมัยจอมพล ป. ครั้งที่ 2 พ.ศ.2491-2500 ใน 3 ทศวรรษ 14


14 ตุลากับประชาธิปไตยไทย. กรุงเทพฯ: มูลนิธิโครงการตาราสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์.
สุภรณ์ โอเจริญ บรรณาธิการ. นครสวรรค์: รัฐกึ่งกลาง. รายงานการสัมมนาประวัติศาสตร์และวัฒนธรรม
ท้องถิ่นจังหวัดนครสวรรค์. วิทยาลัยครูนครสวรรค์ โดยการสนับสนุนขององค์การบริหารส่วน
จังหวัดนครสวรรค์.
ศิริพร กรอบทอง. ( 2547). วิวัฒนาการเพลงลูกทุ่งในสังคมไทย. กรุงเทพฯ: สานักพิมพ์พันธกิจ.
อภิชาติ สถิตนิรามัย. (2551). โครงการเศรษฐศาสตร์การเมืองเรื่องว่าด้วยการปฏิรูปเศรษฐกิจของไทย:
การศึกษาเปรียบเทียบ พ.ศ.2497-2506 กับ พ.ศ.2540-2550. รายงานการวิจัยฉบับสมบูรณ์ สนับสนุน
โดยทบวงมหาวิทยาลัยและสานักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย.
อุกฤษฎ์ ปัทมานันท์. (2526). สหรัฐอเมริกากับนโยบายเศรษฐกิจไทย: 1960-1970. วิทยานิพนธ์ รัฐศาสตร
มหาบัณฑิต ภาควิชาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
อรศรี งามวิทยาพงศ์. (2530). ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศในการพัฒนาเศรษฐกิจ: การพึ่งพาอาศัยกันหรือ
การพึ่งพิง ศึกษากรณีแผนพัฒนาการเศรษฐกิจแห่งชาติ ฉบับที่ 1 (พ.ศ.2504-2509). วิทยานิพนธ์
รัฐศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาการระหว่างประเทศและการทูต คณะรัฐศาสตร์
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
อานวย วีรวรรณ. (2547). เล่าเรื่องสมมติในอดีต. กรุงเทพฯ : สานักพิมพ์บ้านพระอาทิตย์.
หจช., กค.0301.5.2/3 เรื่อง การค้าและการชาระเงินกับต่างประเทศของประเทศไทย ปี 2494-2503.
หจช. กค (2) สร 0201.22.1 เรื่อง การเศรษฐกิจ สภาเศรษฐกิจแห่งชาติกล่องที่ 2 ปึกที่ 6.
หจช., น. มท. 0201/4
หจช.บัญชีประมวลข่าวเหตุการณ์สาคัญ พ.ศ.2497 กค.1.1 เรื่อง การควบคุมราคาของ (ประชาธิปไตย ฉบับวันที่
30 มกราคม 2497)

35
วารสารมนุษยศาสตร์สาร ปีที่ 13 ฉบับที่ 2

หจช. บัญชีประมวลข่าวเหตุการณ์สาคัญ พ.ศ.2497 กค.1.2.2 เรื่อง ส่งเสริมสินค้าไทย (สารเสรี ฉบับวันที่ 14


กรกฎาคม 2497)
หจช. บัญชีประมวลข่าวเหตุการณ์สาคัญ พ.ศ.2498 บ 4.3.118 เรื่อง จอมพล ป. ยื่นใบลาออกจากข้าราชการ
ประจาคือตาแหน่งจเรทหารทั่วไป (สยามรัฐ ฉบับวันที่ 1 ตุลาคม 2498)
หจช.บัญชีประมวลข่าวเหตุการณ์สาคัญ พ.ศ.2498 บ.4.7.70 ปึกที่ 5 ในจานวน 6 ปึก เรื่อง การลดค่าครองชีพ
และมูลเหตุที่ทาให้ค่าครองชีพสูง (ประชาธิปไตย ฉบับวันที่ 31 พฤษภาคม 2498)
หจช.บัญชีประมวลข่าวเหตุการณ์สาคัญ พ.ศ.2502 สร.2.1.24 เรื่อง การเลิกอภิสิทธิ์ (สยามรัฐ ฉบับวันที่ 21
กุมภาพันธ์ 2502)
หจช. สร. 0201.25/1096 เรื่องนายเหลือม จตุรโชติ เสนอวิธีแก้ไขและปราบปรามข้าราชการที่รับสินน้าใจ
หจช. (2)สร 0201.6 เรื่อง เบ็ดเสร็จกระทรวงเศรษฐการ กล่องที่ 3/17 ปึกที่ 2 ในจานวน 2 ปึก แผ่นที่ 191.
หจช. (3) สร.0201.45/15 ปึกที่ 1 ในจานวน 2 ปึก เรื่อง เลขดัชนีค่าครองชีพหรือเปรียบเทียบราคาสินค้า (31
สิงหาคม 2491-18 พฤศจิกายน 2496)
หจช. (3) สร.0201.45/27 เรื่อง สาเหตุที่ทาให้การค้าตกต่าและวิธีแก้ไข. (เน้นโดยผู้เขียน)
หจช. (3) สร.0201.74/14 เรื่อง น้าแข็งนอกเขต (ราคา การค้า การควบคุม โรงงาน)

36

You might also like