You are on page 1of 153

พฤติกรรมทางพลศาสตร์ ของประตูระบายนา้ ล้ นแบบบานโค้ ง

ภายใต้ แรงกระทาจากแผ่ นดินไหว

ราชันย์ ขันทกสิกรรม

วิทยานิพนธ์ นีเ้ สนอต่ อมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เพื่อเป็ นส่ วนหนึ่งของการศึกษาตาม

หลักสู ตรปริญญาวิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต

สาขาวิชาวิศวกรรมโยธา

บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
ตุลาคม 2564
พฤติกรรมทางพลศาสตร์ ของประตูระบายนา้ ล้ นแบบบานโค้ ง
ภายใต้ แรงกระทาจากแผ่ นดินไหว

ราชันย์ ขันทกสิกรรม

วิทยานิพนธ์ นีเ้ สนอต่ อมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เพื่อเป็ นส่ วนหนึ่งของการศึกษาตาม

หลักสู ตรปริญญาวิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต

สาขาวิชาวิศวกรรมโยธา

บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
ตุลาคม 2564


พฤติกรรมทางพลศาสตร์ ของประตูระบายนา้ ล้ นแบบบานโค้ ง

ภายใต้ แรงกระทาจากแผ่นดินไหว

ราชันย์ ขันทกสิ กรรม

วิทยานิพนธ์น้ ีได้รับการพิจารณาอนุมตั ิให้นบั เป็ นส่ วนหนึ่ งของการศึกษาตามหลักสู ตร


ปริ ญญาวิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต
สาขาวิชาวิศวกรรมโยธา

คณะกรรมการสอบ คณะกรรมการที่ปรึกษา

……………………………… ประธานกรรมการ …………………………… อาจารย์ที่ปรึ กษาหลัก


(รศ.ดร. ชยานนท์ หรรษภิญโญ) (ผศ.ดร.พุทธรักษ์ จรัสพันธุ์กุล)

……………………………… กรรมการ
(ผศ.ดร. ชินพัฒน์ บัวชาติ)
……………………………… กรรมการ
(ผศ.ดร.ปานนท์ ลาชโรจน์)

27 ตุลาคม 2564
© ลิขสิ ทธิ์ ของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่


กิตติกรรมประกาศ
โครงการวิจยั งานนี้ ได้รับ การสนับ สนุ นจากส านัก งานกองทุ น สนับ สนุ น การวิ จยั แห่ ง ประเทศไทย
(MRG6080109) ในการดาเนินการศึกษาและวิจยั ในวิทยานิพนธ์เล่มนี้ ได้ศึกษาเกี่ยวกับพฤติกรรมทางพลศาสตร์
ของประตูระบายน้ าล้นภายใต้แรงแผ่นดินไหว โดยการสร้างแบบจาลองไฟไนต์เอลิเมนต์ของประตูระบายน้ าล้น
ด้วยโปรแกรม SAP2000 มาทาการวิเคราะห์ การตอบสนองไม่ เชิ งเส้ นแบบประวัติเวลา (Nonlinear Response
Time-History Analysis) โดยใช้คลื่ นแผ่นดิ นไหวที่มีความรุ นแรงที่ ระดับแผ่นดิ นไหวรุ นแรงสู งสุ ดที่ พิจารณา
(Maximum Considered Earthquake, MCE) และระดั บ แผ่ น ดิ น ไหวส าหรั บ การออกแบบ (Design Basis
Earthquake, DBE) ตามมาตรฐานการออกแบบอาคารต้า นทานการสั่ น สะเทื อ นของแผ่ น ดิ น ไหว (มยผ.
1301/1302-61) ผูศ้ ึ กษาได้ทุ่มเททั้งแรงกายและใจเพื่ อนามาซึ่ ง ผลการวิเคราะห์ให้เป็ นไปตามวัตถุประสงค์ที่
คาดหวัง ไว้ใ ห้ ส าเร็ จ ลุ ล่ วงไปได้ด้วยดี และมี คุณ ภาพถู ก ต้องตามหลัก การทางวิศ วกรรม อย่า งไรก็ ต ามการ
ดาเนิ นงานวิจยั นี้ ไม่อาจสาเร็ จลุล่วงไปได้หากปราศจากความอนุ เคราะห์ในด้านต่างๆ รวมไปถึงกาลังใจที่ดีจาก
บุคคลต่างๆ
งานวิจยั ครั้งนี้ สามารถสาเร็ จลุล่วงได้ เนื่ องด้วยได้รับความอนุ เคราะห์จาก ผศ.ดร. พุทธรักษ์ จรัสพันธุ์
กุลอาจารย์ที่ปรึ กษาโครงการที่ได้ให้คาปรึ กษาในด้านแนวคิด การแก้ไขปั ญหาข้อบกพร่ อง และคาแนะนาต่างๆ
ด้วยความเอาใจใส่ อย่างดี ย่ิงมาโดยตลอด จนกระทัง่ วิทยานิ พนธ์ เล่มนี้ สาเร็ จโดยสมบูรณ์ ผูศ้ ึกษาจึงขอกราบ
ขอบพระคุณเป็ นอย่างสู ง
ขอขอบพระคุณ รศ.ดร. ชยานนท์ หรรษภิญโญ ประธานกรรมการ ผศ.ดร. ชิ นพัฒน์ บัวชาติ กรรมการ
และ ผศ.ดร.ปานนท์ ลาชโรจน์ ผูท้ รงคุณวุฒิ ที่เสี ยสละเวลาเพื่อมาเป็ นกรรมการคุมสอบและช่วยให้คาแนะนา
เพื่อปรั บปรุ งแก้ไขโครงงานวิจยั นี้ ให้สมบู รณ์ ยิ่งขึ้ น และขอขอบคุ ณผูเ้ กี่ ยวข้องทุ กท่านที่ ช่วยเหลื อในแต่ล ะ
ขั้นตอนการทางาน ทั้งในด้านการให้ขอ้ มูลที่เป็ นประโยชน์ และการให้ความร่ วมมือในการทางานวิจยั จนทาให้
การวิจยั นี้สาเร็ จลุล่วงไปได้ดว้ ยดี
สุ ดท้ายนี้ ทางผูจ้ ดั ทามีความคาดหวังเป็ นอย่างยิง่ ว่างานวิจยั นี้ จะเป็ นประโยชน์ต่อผูศ้ ึกษาและสามารถ
นาไปประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อไปในอนาคต

นายราชันย์ ขันทกสิ กรรม


ผูจ้ ดั ทา


หัวข้ อวิทยานิพนธ์ พฤติกรรมทางพลศาสตร์ ของประตูระบายน้ าล้นแบบบานโค้ง

ภายใต้แรงกระทาจากแผ่นดินไหว

ผู้เขียน นายราชันย์ ขันทกสิ กรรม

ปริญญา หลักสู ตรปริ ญญาวิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต (วิศวกรรมโยธา)

อาจารย์ทปี่ รึกษา ผศ.ดร.พุทธรักษ์ จรัสพันธุ์กุล

บทคัดย่ อ
งานวิจ ัย นี้ เ ป็ นการศึ ก ษาพฤติ ก รรมทางพลศาสตร์ ข องประตู ระบายน้ า ล้น แบบบานโค้ง ภายใต้แรง
แผ่นดิ นไหว โดยมีวตั ถุประสงค์เพื่อประเมินความปลอดภัยของประตูระบายน้ าล้นว่ายังสามารถใช้งานในขณะ
เกิ ดและหลังเกิ ดเหตุ การณ์ แผ่นดิ นไหวได้หรื อไม่ ซึ่ งในปั จจุบนั ปั ญหาด้านความปลอดภัยของเขื่อนจากแรง
แผ่นดินไหวเป็ นที่ได้รับความสนใจและได้รับการประเมินตรวจสอบเป็ นอย่างดี แต่อย่างไรก็ตามนอกเหนือจาก
การประเมินความปลอดภัยของเขื่อนแล้วยัง มีความจาเป็ นต้องพิจารณาความปลอดภัยของอาคารประกอบเขื่อน
และอุปกรณ์ต่างๆ ร่ วมด้วย เนื่ องจากความผิดปกติของอาคารประกอบเขื่อนหรื ออุปกรณ์ ต่างๆ อาจส่ งผลทาให้
เกิดการพิบตั ิของเขื่อนหรื อก่อให้เกิดความสู ญเสี ยอย่างใหญ่หลวงต่อพื้นที่ทา้ ยน้ าได้เช่นกัน สาหรับงานวิจยั นี้ ได้
เลื อกอาคารประกอบเขื่ อนที่ จะศึ ก ษาคื อประตู ร ะบายน้ า ล้น เนื่ องจากเป็ นหนึ่ งในอาคารประกอบเขื่ อนที่ มี
ความสาคัญเป็ นลาดับแรกๆ ซึ่งหากประตูระบายน้ าล้นเกิดความเสี ยหายจากเหตุการณ์แผ่นดินไหวจะส่ งผลทาให้
ไม่สามารถกักเก็บหรื อควบคุมน้ าในอ่างกักเก็บได้และก่อให้เกิดน้ าท่วมแบบฉับพลันในบริ เวณพื้นที่ทา้ ยน้ า โดย
งานวิจยั นี้ ได้เลือกใช้ประตูระบายน้ าล้นที่เขื่อนกิ่วคอหมา อ.แจ้ห่ม จ.ลาปาง เป็ นตัวแทนสาหรับการศึกษาครั้งนี้
เนื่ องด้วยข้อมูลด้านแบบก่อสร้างที่มีอยูแ่ ละความสาคัญของเขื่อนแห่ งนี้ประกอบกับรู ปแบบของประตูระบายน้ า
ล้นมีรูปแบบคล้ายคลึงกับประตูระบายน้ าล้นของเขื่อนอื่นๆ ในประเทศไทย โดยเลือกประตู 1 บานจาก 3 บานที่
เกิ ดค่ าการเคลื่ อนที่ สู งสุ ดนามาสร้ างแบบจาลองไฟไนต์เอลิ เมนต์จากโปรแกรมวิเคราะห์โครงสร้ าง ซึ่ งเป็ น
แบบจาลอง 3 มิติของประตู ระบายน้ าล้นใช้องค์ประกอบของบานประตูก้ นั น้ าซึ่ งเป็ นแผ่นเหล็กโค้งเป็ น Shell
Element สาหรับองค์ประกอบของแขนประตูและองค์อาคารเหล็กรู ปพรรณที่เชื่ อมกับบานประตูใช้เป็ น Beam
Element โดยพิจารณาถึงการยึดเกาะกันอย่างสมบูรณ์แบบระหว่าง Shell Element กับ Beam Element ในส่ วนของ
ผนัง ก าแพงที่ สั ม ผัส กับ ตัวประตู ระบายน้ า ล้น ซึ่ ง เป็ นอาคารคอนกรี ต เสริ ม เหล็ ก ใช้อ งค์ป ระกอบเป็ น Solid


Element จากนั้นทาการวิเคราะห์การตอบสนองไม่เชิ งเส้นแบบประวัติเวลา (Nonlinear Response Time-History
Analysis) โดยใช้คลื่นแผ่นดินไหว 14 คลื่น ที่ได้ทาการคัดเลือกด้วยวิธี Time History Scaling ที่ระดับแผ่นดินไหว
รุ นแรงสู งสุ ดที่พิจารณา (Maximum Considered Earthquake, MCE) และระดับแผ่นดินไหวสาหรับการออกแบบ
(Design Basis Earthquake, DBE) ตามมาตรฐานการออกแบบอาคารต้านทานการสั่นสะเทื อนของแผ่นดิ นไหว
(มยผ.1301/1302-61) จากผลการวิเคราะห์ของงานวิจยั นี้พบว่าประตูระบายน้ าล้นเขื่อนกิ่วคอหมามีความปลอดภัย
จากแผ่นดินไหวที่คาดว่าจะเกิดขึ้นเนื่ องจากเกิดค่าการเคลื่ อนที่นอ้ ยมากหลังเกิดแผ่นดินไหวทาให้น้ าที่ควบคุ ม
ไม่ไ ด้ไ ม่ไ หลออกมาซึ่ ง เป็ นไปตามระดับความคาดหวังสาหรั บการออกแบบอาคารประกอบเขื่อนต้านทาน
แผ่นดิ นไหวจากการเสนอของคณะกรรมการเขื่ อนขนาดใหญ่ระหว่างประเทศ (International Commission on
Large Dams) และยัง พิ จ ารณาความเสี ย หายจากการต้า นทานแรงตามแนวแกน (Axial Force) โมเมนต์ดัด
(Bending Moment) ค่าความปลอดภัยจากพฤติกรรมแบบ คาน-เสา และความเค้นตามทฤษฎี (Von Mises Stress)
ซึ่ งคุณสมบัติดงั กล่าวอยูใ่ นเกณฑ์ที่กาลังของวัสดุที่ใช้ทาประตูระบายน้ าล้นสามารถรับได้

คาสาคัญ: การวิเคราะห์เชิงพลศาสตร์ , ความปลอดภัยจากแผ่นดินไหว, ประตูระบายน้ าล้น, แผ่นดินไหว


Title Dynamic Behavior Analysis of Spillway Radial Gate Under Seismic Load

Author Mr. Rachan Kanthakasikam

Degree Master of Engineering (Civil Engineering)

Advisor Asst. Prof. Dr. Bhuddarak Charatpangoon

ABSTRACT
This research studies the dynamic behavior of spillway radial gate under seismic loads. The objective is to the
seismic safety evaluation of a spillway radial gate whether it can be used during and after an earthquake. At
present, the seismic safety evaluation of the dam has been well assessed, but it seems to be insufficient. It is also
necessary to consider the safety of the dam-relevant and equipment because the damage or failure of dam-
relevant structures and their equipment could bring about the dam failure and cause disastrous losses to the cities
located downstream. Accordingly, the seismic safety of the dam-relevant structures and their related equipment
must be taken into account. Moreover, any damage of a spillway radial gate may cause the uncontrollable release
of the reservoir water and bring about flash floods to the downstream area. In this research, the spillway radial
gate at Kiew Kho Ma Dam (Amphoe Chae Hom, Lampang, Thailand) is selected as representative for this study
due to the existing construction information and the importance of this dam. Also at this type of the spillway
radial gate is the common type in Thailand, the study on its seismic safety can be applied to other dams. The
nonlinear response history analyses of selecting one spillway radial gate from the three gates with maximum
displacement are performed using finite element analysis from the structural analysis program. The 3D model of
the spillway radial gate consists of the leaf gate and steel profiles is modeled using Shell Element and Beam
Element respectively and considering the perfect bond between Shell Element and Beam Element. In the part of
the wall that contact with the spillway radial gate is modeled using Solid Element. For the input motions, were
use the Time History Scaling method, 7 recording earthquakes at the Maximum Considered Earthquake (MCE),
and 7 recording earthquakes at Design Basis Earthquake (DBE) are considered. The earthquake records were
then selected following Thailand, Seismic design criteria in National Standard DPT1301/1302-61. In conclusion,
the results of the analysis revealed that the spillway radial gate at Kiew Kho Ma Dam is safe against expected

earthquakes due to the very low displacement value after the earthquake cause the spillway radial gate can control
the uncontrollable release of the reservoir water meets the expectations of the International Commission on Large
Dams and considering the damage from internal force and Von Mises Stress where the strength of materials can
withstand the internal forces.

Keywords: Dynamic, Seismic safety, Spillway radial gate, Earthquake


สารบัญ

หน้า

กิตติกรรมประกาศ ค
บทคัดย่อภาษาไทย ง
ABSTRACT จ
สารบัญตาราง ฎ
สารบัญรู ปภาพ ฐ

บทที่ 1 บทนา 1

1.1 ที่มาและความสาคัญ 1
1.2 วัตถุประสงค์ 3
1.3 ขั้นตอนการศึกษา 3
1.4 ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ 4
1.5 ขอบเขตของการศึกษา 4

บทที่ 2 ทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง 6
2.1 เขื่อนและอาคารประกอบเขื่อน 6
2.2 แผ่นดินไหว 12
2.3 ทฤษฎีทางพลศาสตร์ (Dynamic Analysis) 19
2.4 ระเบียบวิธีไฟไนต์เอเลเมนต์ (Finite Element Method, FEM) 23
2.5 การวิเคราะห์แบบไม่เชิงเส้น (Nonlinear Analysis) 26
2.6 งานวิจยั ที่เกี่ยวข้อง 27

สารบัญ (ต่ อ)

หน้า
บทที่ 3 ระเบียบวิธีวจิ ยั 33
3.1 ขั้นตอนในการดาเนิ นงานวิจยั 33
3.2 การคัดเลือกอาคารประกอบเขื่อนเป้าหมาย 36
3.3 ประตูระบายน้ าล้นเขื่อนกิ่วคอหมา 36
3.4 แบบจาลองไฟไนต์เอลิเมนต์ของประตูระบายน้ าล้น 39
3.5 การวิเคราะห์ความถี่ธรรมชาติและลักษณะการสั่นไหว 47
3.6 คลื่นแผ่นดินไหว 47
3.7 การวิเคราะห์พฤติกรรมทางพลศาสตร์ 50
3.8 การประเมินสมรรถนะของประตูระบายน้ าล้น 51
บทที่ 4 ลักษณะการสั่นไหวของแบบจาลองและคลื่นแผ่นดินไหว 52
4.1 ความถี่ธรรมชาติและลักษณะการสั่นไหว 51
4.2 การตรวจสอบความถูกต้องของแบบจาลอง 56
4.3 ผลการคัดเลือกคลื่นแผ่นดินไหว 58
บทที่ 5 ผลการวิเคราะห์ประตูระบายน้ าล้นภายใต้แรงแผ่นดินไหว 73
5.1 พฤติกรรมของประตูระบายน้ าล้นภายใต้แรงแผ่นดินไหว 76
รุ นแรงสู งสุ ดที่พิจารณา (Maximum Considered Earthquake, MCE)
5.2 พฤติกรรมของประตูระบายน้ าล้นภายใต้แรงแผ่นดินไหว 99
สาหรับการออกแบบ (Design Basis Earthquake, DBE)


สารบัญ (ต่ อ)

หน้า
บทที่ 6 สรุ ปผลการวิจยั 123
6.1 ผลการตรวจสอบความถูกต้องของแบบจาลอง 123
6.2 ผลการคัดเลือกคลื่นแผ่นดินไหวเป้ าหมาย 123
6.3 ผลการวิเคราะห์พฤติกรรมทางพลศาสตร์ ภายใต้แรงแผ่นดินไหว 124
6.4 อภิปรายผลการวิจยั 126
6.5 ข้อเสนอแนะ 127

บรรณานุกรม 129

ประวัติผเู ้ ขียน 132


สารบัญตาราง

หน้า

ตารางที่ 3-1 ส่ วนประกอบของประตูระบายน้ าล้น 41


ตารางที่ 3-2 คุณสมบัติวสั ดุ 42

ตารางที่ 4-1 การเปรี ยบเทียบค่าความถี่ธรรมชาติ 57

ตารางที่ 4-2 คุณสมบัติของคลื่นแผ่นดินไหวระดับความรุ นแรง MCE 60


ตารางที่ 4-3 คุณสมบัติของคลื่นแผ่นดินไหวในแต่ละทิศทางที่ระดับความรุ นแรง MCE 61
ตารางที่ 4-4 คุณสมบัติของคลื่นแผ่นดินไหวระดับความรุ นแรง DBE 67
ตารางที่ 4-5 คุณสมบัติของคลื่นแผ่นดินไหวในแต่ละทิศทางที่ระดับความรุ นแรง DBE 68

ตารางที่ 5-1 สรุ ปการเคลื่อนที่และความเร่ งของแขนประตู (EQ6, MCE) 79


ตารางที่ 5-2 สรุ ปการเคลื่อนที่และความเร่ งของแขนประตู (7EQAvg, MCE) 81
ตารางที่ 5-3 สรุ ปการเคลื่อนที่และความเร่ งของบานประตู (EQ6, MCE) 85
ตารางที่ 5-4 สรุ ปการเคลื่อนที่และความเร่ งของบานประตู (7EQAvg, MCE) 88
ตารางที่ 5-5 แรงตามแนวแกนขององค์อาคารเหล็กรู ปพรรณ (EQ6, MCE) 90
ตารางที่ 5-6 โมเมนต์ดดั ขององค์อาคารเหล็กรู ปพรรณ (EQ6, MCE) 91
ตารางที่ 5-7 แรงตามแนวแกนขององค์อาคารเหล็กรู ปพรรณ (7EQAvg, MCE) 93
ตารางที่ 5-8 โมเมนต์ดดั ขององค์อาคารเหล็กรู ปพรรณ (7EQAvg, MCE) 94
ตารางที่ 5-9 การเปรี ยบเทียบแรงตามแนวแกนขององค์อาคารเหล็กรู ปพรรณ 94
ที่สภาวะสถิตกับพลวัต (MCE)


สารบัญตาราง (ต่ อ)

หน้า
ตารางที่ 5-10 การเปรี ยบเทียบโมเมนต์ดดั ขององค์อาคารเหล็กรู ปพรรณ 95
ที่สภาวะสถิตกับพลวัต (MCE)
ตารางที่ 5-11 ความเค้น Von Mises ของแผ่นเล็กบานประตู 99
จากแผ่นดินไหว 7 คลื่น (MCE)
ตารางที่ 5-12 สรุ ปการเคลื่อนที่และความเร่ งของแขนประตู (EQ5, DBE) 102
ตารางที่ 5-13 สรุ ปการเคลื่อนที่และความเร่ งของแขนประตู (7EQAvg, DBE) 104
ตารางที่ 5-14 สรุ ปการเคลื่อนที่และความเร่ งของบานประตู (EQ5, DBE) 108
ตารางที่ 5-15 สรุ ปการเคลื่อนที่และความเร่ งของบานประตู (7EQAvg, DBE) 111
ตารางที่ 5-16 แรงตามแนวแกนขององค์อาคารเหล็กรู ปพรรณ (EQ5, DBE) 113
ตารางที่ 5-17 โมเมนต์ดดั ขององค์อาคารเหล็กรู ปพรรณ (EQ5, DBE) 114
ตารางที่ 5-18 แรงตามแนวแกนขององค์อาคารเหล็กรู ปพรรณ (7EQAvg, DBE) 116
ตารางที่ 5-19 โมเมนต์ดดั ขององค์อาคารเหล็กรู ปพรรณ (7EQAvg, DBE) 117
ตารางที่ 5-20 การเปรี ยบเทียบแรงตามแนวแกนขององค์อาคารเหล็กรู ปพรรณ 117
ที่สภาวะสถิตกับพลวัต (DBE)
ตารางที่ 5-21 การเปรี ยบเทียบโมเมนต์ดดั ขององค์อาคารเหล็กรู ปพรรณ 118
ที่สภาวะสถิตกับพลวัต (DBE)
ตารางที่ 5-22 ความเค้น Von Mises ของแผ่นเล็กบานประตู 122
จากแผ่นดินไหว 7 คลื่น (DBE)


สารบัญภาพ

หน้า

รู ปที่ 1-1 การพังทลายของประตูระบายน้ าล้นที่เขื่อนฟอลซัมในแคลิฟอร์ เนีย 1

(Keiko Anami, 2013)

รู ปที่ 2-1 Dripping shutters or Permanent flashboards 8


(ที่มา https://www.slideshare.net/muralimohan100/spillway-gates)
รู ปที่ 2-2 Stop loge (ที่มา https://www.slideshare.net/muralimohan100/spillway-gates) 9
รู ปที่ 2-3 Radial gate or Tainter gates (ที่มา https://www.iolaregister.com/tag/tainter-gates) 9
รู ปที่ 2-4 Drum gates (ที่มา https://www.flickr.com/photos/jamesv34/12650140195) 10
รู ปที่ 2-5 หลักการทางานของ Drum gates 10
(ที่มา https://www.slideshare.net/muralimohan100/spillway-gates)
รู ปที่ 2-6 Vertical lift gates or Rectangle gates (ที่มา https://www.researchgate.net 11
/figure/Vertical-lift-spillway-gate-Elidon-Dam-Australia_fig4_267558137)
รู ปที่ 2-7 คลื่นปฐมภูมิ (P wave) และคลื่นทุติยภูมิ (S wave) 13
(ที่มา http://www.lesa.biz/earth/lithosphere/earth-structure/physical-structure)
รู ปที่ 2-8 แผ่นที่รอยเลื่อนมีพลังในไทย (กรมทรัพยากรธรณี , 2563) 17
รู ปที่ 2-9 ความเร่ งตอบสนองเชิงสเปกตรัมของคลื่นแผ่นดินไหว 19
จากการคัดเลือกด้วยวิธี Time History Scaling (Yasin M. Fahjan, 2017)


สารบัญภาพ (ต่ อ)

หน้า
รู ปที่ 2-10 แบบจาลองการคานวณทางพลศาสตร์ โครงสร้างอย่างง่าย 20
รู ปที่ 2-11 แรงกระทาต่อเอลิเมนต์ (f ) ที่ทาให้โหนดมีการเคลื่อนที่ (u) (Eugenio Onate, 2009) 24
รู ปที่ 2-12 จานวนโหนดในเอลิเมนต์แต่ละชนิตพื้นฐาน 26
(https://wjrider.wordpress.com/2014/12/01/are-choices-a-blessing-or-a-curse/)
รู ปที่ 2-13 แบบจาลองประตูระบายน้ า 3 มิติ (Wendy E DANIELL and Colin a TAYLOR, 2000) 28
รู ปที่ 2-14 ลักษณะการสั่นสะเทือนของประตูระบายน้ า 29
(Wendy E DANIELL and Colin a TAYLOR, 2000)
รู ปที่ 2-15 Beam element และ Shell element ของแบบจาลองไฟไนต์เอลิเมนต์ 30
โครงสร้างอาคารแบบโครงข้อแข็ง (Tagawa, 2017)
รู ปที่ 2-16 ลักษณะการสั่นไหวพื้นฐานของแบบจาลองไฟไนต์เอลิเมนต์ 30
โครงสร้างอาคารแบบโครงข้อแข็ง (Tagawa, 2017)
รู ปที่ 2-17 ลักษณะการเสี ยรู ปของแบบจาลองไฟไนต์เอลิเมนต์ 30
โครงสร้างอาคารแบบโครงข้อแข็ง (Tagawa, 2017)
รู ปที่ 2-18 แบบจาลองไฟไนต์เอลิเมนต์ของอาคารระบายน้ าล้น (เจนคณิ ต, 2562) 31

รู ปที่ 3-1 ผังขั้นตอนในการดาเนินงานวิจยั 35


รู ปที่ 3-2 เขื่อนกิ่วคอหมาและอาคารระบายน้ า 37
(ที่มา: https://www.google.com/maps/place/Kiew Kho Ma dam)


สารบัญภาพ (ต่ อ)

หน้า
รู ปที่ 3-3 อาคารระบายน้ าล้นเขื่อนกิ่วคอหมา 38
รู ปที่ 3-4 ประตูระบายน้ าล้นแบบบานโค้ง (Spillway radial gate) 38
รู ปที่ 3-5 แบบจาลอง 3 มิติของอาคารระบายน้ าล้นและประตูระบายน้ าล้น 39
รู ปที่ 3-6 บริ เวณที่เกิดการเคลื่อนที่ส่งผลกระทบต่อประตูระบายน้ าล้น 40
รู ปที่ 3-7 แบบจาลองไฟไนต์เอลิเมนต์ของประตูระบายน้ าล้น 40
รู ปที่ 3-8 ส่ วนประกอบของประตูระบายน้ าล้น 41
รู ปที่ 3-9 คุณสมบัติการเสี ยรู ปของ Multilinear Kinematic Model 43
ในโปรแกรม SAP2000 (Andrew Shaffu, 2011)
รู ปที่ 3-10 ความสัมพันธ์ของความเค้นและความเครี ยดของแบบจาลองแผ่นเหล็ก 43
รู ปที่ 3-11 ความสัมพันธ์ของความเค้นและความเครี ยดของแบบจาลองเหล็กรู ปพรรณ 44
รู ปที่ 3-12 ความสัมพันธ์ของความเค้นและความเครี ยด 44
ของ Mander Unconfined Concrete Model
ในโปรแกรม SAP2000 (Andrew Shaffu, 2011)
รู ปที่ 3-13 ความสัมพันธ์ของความเค้นและความเครี ยดของแบบจาลองคอนกรี ต 45
รู ปที่ 3-14 เงื่อนไขการเคลื่อนที่ของแบบจาลองไฟไนต์เอลิเมนต์ของประตูระบายน้ าล้น 46
รู ปที่ 3-15 ที่ต้ งั เขื่อนกิ่วคอหมากับเหตุการณ์แผ่นดินไหวที่แม่ลาว (พุทธรักษ์, 2563) 48
รู ปที่ 3-16 ผลตอบสนองเชิงสเปกตรัมสาหรับแผ่นดินไหวระดับ MCE (อ.แจ้ห่ม จ.ลาปาง) 49
รู ปที่ 3-17 ผลตอบสนองเชิงสเปกตรัมสาหรับแผ่นดินไหวระดับ DBE (อ.แจ้ห่ม จ.ลาปาง) 50


สารบัญภาพ (ต่ อ)

หน้า
รู ปที่ 4-1 ความถี่ธรรมชาติและการสั่นไหวรู ปแบบที่ 1 53
รู ปที่ 4-2 ความถี่ธรรมชาติและการสั่นไหวรู ปแบบที่ 2 53
รู ปที่ 4-3 ความถี่ธรรมชาติและการสั่นไหวรู ปแบบที่ 3 54
รู ปที่ 4-4 ความถี่ธรรมชาติและการสั่นไหวรู ปแบบที่ 4 54
รู ปที่ 4-5 ความถี่ธรรมชาติและการสัน่ ไหวที่ทาให้เกิดลูกคลื่นที่ส่วนบนของบานประตู 55
รู ปที่ 4-6 ความถี่ธรรมชาติและการสั่นไหวรู ปแบบที่ 5 56
รู ปที่ 4-7 ความถี่ธรรมชาติและการสั่นไหวรู ปแบบอื่นๆ 56
รู ปที่ 4-8 ความเร่ งตอบสนองเชิงสเปกตรัมที่ระดับความรุ นแรง MCE 59
รู ปที่ 4-9 คลื่นแผ่นดินไหว EQ1 (MCE) 62
รู ปที่ 4-10 คลื่นแผ่นดินไหว EQ2 (MCE) 62
รู ปที่ 4-11 คลื่นแผ่นดินไหว EQ3 (MCE) 63
รู ปที่ 4-12 คลื่นแผ่นดินไหว EQ4 (MCE) 63
รู ปที่ 4-13 คลื่นแผ่นดินไหว EQ5 (MCE) 64
รู ปที่ 4-14 คลื่นแผ่นดินไหว EQ6 (MCE) 64
รู ปที่ 4-15 คลื่นแผ่นดินไหว EQ7 (MCE) 65
รู ปที่ 4-16 ความเร่ งตอบสนองเชิงสเปกตรัมที่ระดับความรุ นแรง DBE 66
รู ปที่ 4-17 คลื่นแผ่นดินไหว EQ1 (DBE) 69
รู ปที่ 4-18 คลื่นแผ่นดินไหว EQ2 (DBE) 69


สารบัญภาพ (ต่ อ)

หน้า
รู ปที่ 4-19 คลื่นแผ่นดินไหว EQ3 (DBE) 70
รู ปที่ 4-20 คลื่นแผ่นดินไหว EQ4 (DBE) 70
รู ปที่ 4-21 คลื่นแผ่นดินไหว EQ5 (DBE) 71
รู ปที่ 4-22 คลื่นแผ่นดินไหว EQ6 (DBE) 71
รู ปที่ 4-23 คลื่นแผ่นดินไหว EQ7 (DBE) 72

รู ปที่ 5-1 อธิ บายการนาเสนอความสัมพันธ์ระหว่างการเคลื่อนที่สูงสุ ด ความเร่ งสู งสุ ด 73


กับความยาวของแขนประตู
รู ปที่ 5-2 อธิ บายการนาเสนอความสัมพันธ์ระหว่างการเคลื่อนที่สูงสุ ด ความเร่ งสู งสุ ด 74
กับความยาวตามแนวยาวของบานประตู
รู ปที่ 5-3 เหล็กรู ปพรรณที่มีส่วนต้านทานแรงตามแนวแกน (Axial Force) 75
รู ปที่ 5-4 เหล็กรู ปพรรณที่มีส่วนต้านทานโมเมนต์ดดั (Bending Moment) 76
รู ปที่ 5-5 การเคลื่อนที่สูงสุ ดของแขนประตูในแนวแกน X (EQ6, MCE) 77
รู ปที่ 5-6 การเคลื่อนที่สูงสุ ดของแขนประตูในแนวแกน Y (EQ6, MCE) 77
รู ปที่ 5-7 ความเร่ งสู งสุ ดของแขนประตูในแนวแกน X (EQ6, MCE) 78
รู ปที่ 5-8 ความเร่ งสู งสุ ดของแขนประตูในแนวแกน Y (EQ6, MCE) 78
รู ปที่ 5-9 การเคลื่อนที่สูงสุ ดเฉลี่ยของแขนประตูในแนวแกน X (7EQAvg, MCE) 79
รู ปที่ 5-10 การเคลื่อนที่สูงสุ ดเฉลี่ยของแขนประตูในแนวแกน Y (7EQAvg, MCE) 80


สารบัญภาพ (ต่ อ)

หน้า
รู ปที่ 5-11 ความเร่ งสู งสุ ดเฉลี่ยของแขนประตูในแนวแกน X (7EQAvg, MCE) 80
รู ปที่ 5-12 ความเร่ งสู งสุ ดเฉลี่ยของแขนประตูในแนวแกน Y (7EQAvg, MCE) 81
รู ปที่ 5-13 การเคลื่อนที่สูงสุ ดของบานประตูในแนวแกน X (EQ6, MCE) 82
รู ปที่ 5-14 การเคลื่อนที่สูงสุ ดของบานประตูในแนวแกน Y (EQ6, MCE) 83
รู ปที่ 5-15 ความเร่ งสู งสุ ดของบานประตูในแนวแกน X (EQ6, MCE) 84
รู ปที่ 5-16 ความเร่ งสู งสุ ดของบานประตูในแนวแกน Y (EQ6, MCE) 84
รู ปที่ 5-17 การเคลื่อนที่สูงสุ ดเฉลี่ยของบานประตูในแนวแกน X (7EQAvg, MCE) 85
รู ปที่ 5-18 การเคลื่อนที่สูงสุ ดเฉลี่ยของบานประตูในแนวแกน Y (7EQAvg, MCE) 86
รู ปที่ 5-19 ความเร่ งสู งสุ ดเฉลี่ยของบานประตูในแนวแกน X (7EQAvg, MCE) 87
รู ปที่ 5-20 ความเร่ งสู งสุ ดเฉลี่ยของบานประตูในแนวแกน Y (7EQAvg, MCE) 87
รู ปที่ 5-21 การเคลื่อนที่ลพั ธ์ของประตูระบายน้ าล้นที่เวลาสุ ดท้ายของแผ่นดินไหว (EQ6, MCE) 89
รู ปที่ 5-22 แรงตามแนวแกนขององค์อาคารเหล็กรู ปพรรณ (EQ6, MCE) 90
รู ปที่ 5-23 โมเมนต์ดดั ขององค์อาคารเหล็กรู ปพรรณ (EQ6, MCE) 91
รู ปที่ 5-24 แรงตามแนวแกน และโมเมนต์ดดั ของชิ้นส่ วนที่วกิ ฤติที่สุด (EQ6, MCE) 92
รู ปที่ 5-25 ความเค้น Von Mises ของแผ่นเล็กบานประตู (EQ6, MCE) 96
รู ปที่ 5-26 การเปรี ยบเทียบความเค้น Von Mises ของแผ่นเล็กบานประตู 97
ที่สภาวะสถิตกับพลวัต (EQ6, MCE)


สารบัญภาพ (ต่ อ)

หน้า
รู ปที่ 5-27 แนวโน้มความเสี ยหายของบานประตูจากคลื่นแผ่นดินไหว 98
ระดับความรุ นแรง (MCE)
รู ปที่ 5-28 การเคลื่อนที่สูงสุ ดของแขนประตูในแนวแกน X (EQ5, DBE) 100
รู ปที่ 5-29 การเคลื่อนที่สูงสุ ดของแขนประตูในแนวแกน Y (EQ5, DBE) 100
รู ปที่ 5-30 ความเร่ งสู งสุ ดของแขนประตูในแนวแกน X (EQ5, DBE) 101
รู ปที่ 5-31 ความเร่ งสู งสุ ดของแขนประตูในแนวแกน Y (EQ5, DBE) 101
รู ปที่ 5-32 การเคลื่อนที่สูงสุ ดเฉลี่ยของแขนประตูในแนวแกน X (7EQAvg, DBE) 102
รู ปที่ 5-33 การเคลื่อนที่สูงสุ ดเฉลี่ยของแขนประตูในแนวแกน Y (7EQAvg, DBE) 103
รู ปที่ 5-34 ความเร่ งสู งสุ ดเฉลี่ยของแขนประตูในแนวแกน X (7EQAvg, DBE) 103
รู ปที่ 5-35 ความเร่ งสู งสุ ดเฉลี่ยของแขนประตูในแนวแกน Y (7EQAvg, DBE) 104
รู ปที่ 5-36 การเคลื่อนที่สูงสุ ดของบานประตูในแนวแกน X (EQ5, DBE) 105
รู ปที่ 5-37 การเคลื่อนที่สูงสุ ดของบานประตูในแนวแกน Y (EQ5, DBE) 106
รู ปที่ 5-38 ความเร่ งสู งสุ ดของบานประตูในแนวแกน X (EQ5, DBE) 107
รู ปที่ 5-39 ความเร่ งสู งสุ ดของบานประตูในแนวแกน Y (EQ5, DBE) 107
รู ปที่ 5-40 การเคลื่อนที่สูงสุ ดเฉลี่ยของบานประตูในแนวแกน X (7EQAvg, DBE) 108
รู ปที่ 5-41 การเคลื่อนที่สูงสุ ดเฉลี่ยของบานประตูในแนวแกน Y (7EQAvg, DBE) 109
รู ปที่ 5-42 ความเร่ งสู งสุ ดเฉลี่ยของบานประตูในแนวแกน X (7EQAvg, DBE) 110
รู ปที่ 5-43 ความเร่ งสู งสุ ดเฉลี่ยของบานประตูในแนวแกน Y (7EQAvg, DBE) 110


สารบัญภาพ (ต่ อ)

หน้า
รู ปที่ 5-44 การเคลื่อนที่ลพั ธ์ของประตูระบายน้ าล้นที่เวลาสุ ดท้ายของแผ่นดินไหว (EQ5, DBE) 112
รู ปที่ 5-45 แรงตามแนวแกนขององค์อาคารเหล็กรู ปพรรณ (EQ5, DBE) 113
รู ปที่ 5-46 โมเมนต์ดดั ขององค์อาคารเหล็กรู ปพรรณ (EQ5, DBE) 114
รู ปที่ 5-47 แรงตามแนวแกน และโมเมนต์ดดั ของชิ้นส่ วนที่วกิ ฤติที่สุด (EQ5, DBE) 115
รู ปที่ 5-48 ความเค้น Von Mises ของแผ่นเล็กบานประตู (EQ5, DBE) 119
รู ปที่ 5-49 การเปรี ยบเทียบความเค้น Von Mises ของแผ่นเล็กบานประตู 120
ที่สภาวะสถิตกับพลวัต (EQ5, DBE)
รู ปที่ 5-50 แนวโน้มความเสี ยหายของบานประตูจากคลื่นแผ่นดินไหว 121
ระดับความรุ นแรง (DBE)


1

บทที่ 1
บทนำ
1.1 ทีม่ ำและควำมสำคัญ
ความเสี ยหายและการสู ญเสี ยที่เกิ ดจากการพังทลายของเขื่อนนั้นมีความสาคัญอย่างมากเพราะการ
พังทลายของเขื่อนส่ งผลกระทบต่อความอยูร่ อดของชุ มชนท้ายน้ า นอกจากนี้ เขื่อนยังเป็ นแหล่งทรัพยากรน้ า
และแหล่งพลังงานที่สาคัญ ทุกวันนี้ความปลอดภัยของเขื่อนจากแผ่นดินไหวได้รับความสนใจและได้รับการ
ประเมินตรวจสอบเป็ นอย่างดี อย่างไรก็ตามการศึกษาความปลอดภัยจากแผ่นดิ นไหวของอาคารประกอบ
เขื่อนเช่น ศูนย์ควบคุม ประตูระบายน้ า และอาคารระบายน้ าล้นจึงเป็ นสิ่ งที่มีความจาเป็ น
ในบางครั้งการทางานของเขื่อนอาจไม่สามารถดาเนิ นการต่อไปได้หลังเกิ ดแผ่นดิ นไหว เนื่ องจาก
อาคารประกอบเขื่อนได้รับความเสี ยหาย นอกจากนี้ ความเสี ยหายของอาคารประกอบเขื่อนอาจนาไปสู่ การ
พังทลายของเขื่อนและความเสี ยหายต่อชุมชนท้ายน้ า ตัวอย่างเช่นความเสี ยหายของประตูระบายน้ าและศูนย์
ควบคุ มอาจทาให้เขื่อนปิ ดท าการ (Keiko Anami, 2013) เนื่ องจากปั ญหาด้านความปลอดภัยและทาให้ไ ม่
สามารถควบคุมการปล่อยน้ าได้ ยกตัวอย่างเช่นเมื่อเมื่อวันที่ 17 กรกฎาคม ค.ศ.1995 หนึ่งใน 5 ประตูระบาย
น้ าล้นขนาดใหญ่ที่เขื่ อนฟอลซัมในแคลิ ฟอร์ เนี ย (Tainter gate) เกิ ดการพังทลายซึ่ งอาจเป็ นผลมาจากการ
สั่นสะเทือนที่เกิดจากการไหลของน้ าจากการอธิบายของ Ishii (1995) ดังแสดงในรู ปที่ 1-1

รู ปที่ 1-1 การพังทลายของประตูระบายน้ าล้นที่เขื่อนฟอลซัมในแคลิฟอร์เนีย

(Keiko Anami, 2013)


2

นักวิจยั หลายคนได้เสนอมาตรฐานการออกแบบอาคารต้านทานการสั่นสะเทือนของแผ่นดิ นไหว


สาหรับโครงสร้างดังกล่าว ตัวอย่างเช่น ICOLD (2002) และ Wieland (2012) กล่าวว่าการออกแบบโครงสร้าง
ดังกล่าวภายใต้แรงแผ่นดิ นไหวต้องทาให้มนั่ ใจว่าส่ วนประกอบและอุปกรณ์ ของโครงสร้ างดังกล่ าวต้อง
สามารถใช้งานได้ในระหว่างเกิดและหลังเกิดแผ่นดินไหว
ในปี ค.ศ.1996 องค์ก รวิ จ ัย เกี่ ย วกับ ผลกระทบจากภัย แผ่น ดิ น ไหวของประเทศสหรั ฐ อเมริ ก า
(Applied Technology Council) ได้ ตี พิ ม พ์คู่ มื อ การออกแบบโครงสร้ า งอาคารภายใต้แ รงแผ่ น ดิ น ไหว
(seismic evaluation and retrofit of concrete buildings, ATC-40) ซึ่ งมีการให้คาแนะนาการออกแบบอาคาร
ภายใต้แรงแผ่นดินไหวและรายละเอียดเกี่ยวกับการวิเคราะห์และการประเมินความปลอดภัยของอาคารจาก
แผ่นดิ นไหว วิธีการออกแบบตามประสิ ทธิ ภาพ ให้ขอ้ มูลเกี่ ยวกับพฤติ กรรมของโครงสร้างอาคารภายใต้
ระดับการสั่นไหวที่สอดคล้องกับค่าความถี่ธรรมชาติของอาคารเป้ าหมาย
โดยทัว่ ไปข้อก าหนดและมาตรฐานการประเมิ นโครงสร้ างภายใต้แรงแผ่นดิ นไหวส่ วนใหญ่ จะ
มุ่งเน้นไปที่อาคารทัว่ ไป แม้วา่ บางข้อกาหนดอาจให้แนวคิดการออกแบบเพิ่มเติมเพื่อประเมินความปลอดภัย
จากแผ่นดิ นไหวของโครงสร้างที่สาคัญอื่นๆ แต่สาหรับอาคารประกอบเขื่อนยังไม่ได้รับความสนใจในการ
ใช้ขอ้ กาหนดดังกล่าว ในปี ค.ศ. 2000 งานวิจยั ของ Wendy และ Colin ได้นาเสนอลักษณะการสั่นไหวของ
ประตูระบายน้ าล้นแบบบานโค้ง (Spillway Radial Gate)โดยใช้วิธีการวิเคราะห์แบบพลศาสตร์ ในรู ปแบบ 3
มิติ จากแรงแผ่นดินไหวที่เขื่อน Kilmorack เพื่อศึกษาเกี่ ยวกับความอ่อนแอของประตูระบายน้ าล้นและเพื่อ
ก าหนดวิธี ก ารที่ เหมาะสมส าหรั บ การวิเคราะห์ ค ลื่ นไหวสะเทื อนของประตู จากนั้น สามารถนาผลการ
วิ เ คราะห์ ไ ปใช้ก ับ ประตู ร ะบายน้ า ล้น ที่ อื่ น ที่ ค ล้า ยคลึ ง กัน ส่ ว นในประเทศไทย (เจนคณิ ต , 2562) ได้
ทาการศึกษาพฤติกรรมทางพลศาสตร์ และประเมินความปลอดภัยของโครงสร้างอาคารระบายน้ าล้นเขื่อนกิ่ว
คอหมาจากแผ่นดิ นไหว โดยท าการวิเคราะห์ ก ารตอบสนองของโครงสร้ า งไม่ เชิ ง เส้ นแบบประวัติเวลา
(Nonlinear Response History Procedure) ด้วยแบบจาลองไฟไนต์เอลิเมนต์ เพื่อประเมินความปลอดภัยของ
โครงสร้ างอาคารระบายน้ าล้นจากแรงแผ่นดิ นไหว อย่างไรก็ตามการศึกษาดังกล่าวยังไม่ได้ประเมินความ
เสี ยหายของประตูระบายน้ าล้นในเขื่อนเดียวกัน
ในประเทศไทยเกณฑ์การออกแบบอาคารภายใต้แรงแผ่นดิ นไหวถู กกาหนดไว้ในมาตรฐานการ
ออกแบบอาคารต้านทานการสั่นสะเทือนของแผ่นดิ นไหว (มยผ.1301/1302-61) โดยมีระดับความคาดหวัง
สาหรับเขื่อนต้านทานแผ่นดินไหวได้แก่ ระดับแผ่นดิ นไหวรุ นแรงสู งสุ ดที่พิจารณา (Maximum Considered
Earthquake, MCE) ที่มีโอกาสเกิดขึ้นได้ที่รอบการเกิดซ้ า 2475 ปี และระดับแผ่นดินไหวสาหรับการออกแบบ
(Design Basis Earthquake, DBE) ที่รอบการเกิดซ้ า 475 ปี โดย DBE คือ 2/3 ของ MCE
มีรายงานแผ่นดินไหวในระดับปานกลางถึงใหญ่ในภาคเหนื อของประเทศไทย (กรมทรัพยากรธรณี ,
2563) เมื่อวันที่ 5 พฤษภาคม ปี ค.ศ. 2014 แผ่นดิ นไหวขนาด 6.1 ที่ แม่ลาวและบริ เวณทางตอนเหนื อของ
ประเทศไทยและพม่า แผ่นดินไหวทาให้เกิดผูเ้ สี ยชีวิตและความเสี ยหายต่ออาคารถนนและวัด เหตุการณ์ครั้ง
นี้เป็ นแผ่นดินไหวที่รุนแรงที่สุดที่เคยบันทึกไว้ในประเทศไทย และเมื่อวันที่ 21 พฤศจิกายน ปี ค.ศ. 2019 เกิด
3

แผ่นดินไหวขนาด 6.4 ที่ประเทศลาว มีจุดศูนย์กลางของแผ่นดินไหวห่ างจากชายแดนไทยที่จงั หวัดน่าน ราว


20 กิ โ ลเมตร คนไทยในหลายจัง หวัดรวมถึ ง ผูอ้ ยู่ใ นตึ ก สู ง ในกรุ ง เทพมหานครรั บ รู ้ ถึ ง แรงสั่ น สะเทื อ น
แผ่นดิ นไหวดัง กล่ าวเป็ นเหตุ ท าให้เขื่ อนเซเปี ยน-เซน้ าน้อยพัง ทลายส่ ง ผลให้น้ า ปริ ม าณมหาศาลพัดพา
หมู่บา้ นหลายแห่งเสี ยหาย
ดังนั้นเพื่อแก้ปัญหาดังกล่าว วัตถุประสงค์ของงานวิจยั นี้ คือเพื่อเสนอแนวทางในการประเมินความ
ปลอดภัยของแผ่นดินไหวต่อโครงสร้างประตูระบายน้ าล้นซึ่ งส่ วนประกอบที่สาคัญอย่างยิง่ ในอาคารระบาย
น้ า เนื่ องจากหากมีความเสี ยหายเกิดขึ้นจากเหตุการณ์แผ่นดินไหวอาจจะส่ งผลทาให้ไม่สามารถกักเก็บหรื อ
ควบคุมน้ าในอ่างกักเก็บได้และก่อให้เกิดน้ าท่วมแบบฉับพลันในบริ เวณพื้นที่ทา้ ยน้ า เพื่อให้แน่ใจว่าประตู
ระบายน้ าสามารถทางานได้ตามปกติหลังจากเกิดแผ่นดินไหวขนาดใหญ่ในอนาคต
1.2 วัตถุประสงค์
1) เพื่อวิเคราะห์พฤติกรรมทางพลศาสตร์ของประตูระบายน้ าล้นภายใต้แรงแผ่นดินไหว
2) เพื่ อเสนอแนวทางและประเมิ นความปลอดภัยของโครงสร้ างประตู ระบายน้ า ล้นภายใต้แรง
แผ่นดินไหว
1.3 ขั้นตอนกำรศึกษำ
1) ศึกษางานวิจยั ที่เกี่ยวข้องเกี่ยวกับการประเมินความปลอดภัยของเขื่อนและอาคารประกอบเขื่อนที่
ตั้งอยูใ่ นบริ เวณพื้นที่ที่มีความเสี่ ยงต่อการเกิดแผ่นดินไหว
2) รวบรวมข้อมูลแบบก่อสร้าง สถานที่ต้ งั และคุณสมบัติของวัสดุของประตูระบายน้ าล้น
3) สร้างแบบจาลองไฟไนต์เอลิเมนต์ของประตูระบายน้ าล้น
4) วิเคราะห์ความถี่ ธรรมชาติและลักษณะการสั่นไหวของแบบจาลองไฟไนต์เอลิเมนต์ของประตู
ระบายน้ าล้น
5) คัด เลื อ กคลื่ น แผ่น ดิ น ไหวด้ว ยวิ ธี Time History Scaling ที่ ร ะดับ แผ่น ดิ น ไหวรุ น แรงสู ง สุ ด ที่
พิจารณา (Maximum Considered Earthquake, MCE) และ ระดับแผ่นดิ นไหวสาหรับการออกแบบ (Design
Basis Earthquake, DBE)
6) วิ เ คราะห์ ก ารตอบสนองไม่ เ ชิ ง เส้ น แบบประวัติ เ วลา (Nonlinear Response Time-History
Analysis) ของแบบจาลองไฟไนต์เอลิเมนต์ของประตูระบายน้ าล้นภายใต้แรงแผ่นดินไหว
7) ประเมินความปลอดภัยของประตูระบายน้ าล้น
4

1.4 ประโยชน์ ทคี่ ำดว่ำจะได้ รับ


1) ทราบค่าพารามิเตอร์ ที่เกี่ยวข้องและรับรู ้ ถึงพฤติกรรมทางพลศาสตร์ ที่เกี่ยวข้องกับองค์ประกอบ
ของประตูระบายน้ าล้นเมื่อเกิดเหตุการณ์แผ่นดินไหว
2) ทราบแนวทางและผลการประเมิน โครงสร้างประตูระบายน้ าล้นเพื่อตรวจสอบความปลอดภัย
ของประตูระบายน้ าล้นภายใต้แรงแผ่นดินไหว
1.5 ขอบเขตของกำรศึกษำ
1) เป็ นการวิเคราะห์ พฤติกรรมของประตูระบายน้ าล้นของเขื่อนกิ่วคอหมาซึ่ งเป็ นเขื่อนดินที่ต้ งั อยู่
ใน อาเภอแจ้ห่ม จังหวัดลาปาง ทางตอนเหนื อของประเทศไทย โดยเลือกประตู 1 บานจาก 3 บานที่เกิ ดค่า
การเคลื่อนที่สูงสุ ด อ้างอิงจากงานวิจยั การวิเคราะห์เชิงพลศาสตร์ ของอาคารระบายน้ าล้นเขื่อนกิ่วคอหมา
2) ส่ วนประกอบโครงสร้ างของอาคารระบายน้ าล้นและประตูระบายน้ าล้นอยูใ่ นสภาพที่สมบูรณ์
ไม่มีการเสื่ อมสภาพ สามารถควบคุมการปล่อยน้ าในอ่างเก็บน้ าได้ บานประตูระบายน้ าล้นตั้งอยูบ่ นสันฝาย
ที่ระดับต่าสุ ด และไม่มีแรงกระทาจากน้ าในอ่างเก็บน้ า โดยข้อมูลโครงสร้ างทั้งหมดนาข้อมูลมาจากแบบ
ก่อสร้างจริ ง
3) คุณสมบัติวสั ดุที่นามาใช้ในการวิเคราะห์ไม่เกิ ดความเสื่ อมสภาพของวัสดุ โดยนาข้อมูลวัสดุมา
จากแบบก่อสร้างจริ ง
4) คัด เลื อ กคลื่ นแผ่น ดิ น ไหวด้ว ยวิ ธี Time History Scaling ที่ ร ะดับ แผ่น ดิ น ไหวรุ น แรงสู ง สุ ด ที่
พิจารณา (Maximum Considered Earthquake, MCE) และ ระดับแผ่นดิ นไหวสาหรับการออกแบบ (Design
Basis Earthquake, DBE) ตามมาตรฐานการออกแบบอาคารต้านทานการสั่นสะเทือนของแผ่นดินไหว (มยผ.
1301/1302-61)
5) แบบจาลองไฟไนต์เอลิเมนต์ของประตูระบายน้ าล้นถูกวิเคราะห์โครงสร้างในรู ปแบบ 3 มิติ ด้วย
วิธีพลศาสตร์ ไม่เชิ งเส้นแบบประวัติเวลา (Nonlinear Response Time-History Analysis) ด้วยแบบจาลองไฟ
ไนต์เอลิเมนต์จากโปรแกรม SAP2000 โดยครอบคลุมความถี่ธรรมชาติของประตูระบายน้ าล้นเขื่อนกิ่วคอ
หมาที่ 0-30 Hz
6) ประเมินความปลอดภัยโดยพิจารณาความเสี ยหายจากการต้านทานแรงตามแนวแกน (Axial
Force) และโมเมนต์ดดั (Bending Moment) พร้อมกับตรวจสอบค่าความปลอดภัยจากพฤติกรรมแบบ คาน-
เสา สาหรับส่ วนขององค์อาคารเหล็กรู ปพรรณ ในส่ วนของบานประตูระบายน้ าล้นพิจารณาค่าความเค้นตาม
5

ทฤษฎี (Von Mises Stress) และประเมิ น ความปลอดภัย ตามความคาดหวัง ส าหรั บ การออกแบบอาคาร


ประกอบเขื่อนต้านทานแผ่นดินไหวตามเกณฑ์ของ ICOLD
บทที่ 2

ทฤษฎีทเี่ กี่ยวข้ อง
ในปั จจุบนั เขื่อนและอาคารประกอบเขื่อนมีความเกี่ยวข้องกับความเป็ นอยูข่ องมนุ ษย์ในหลายด้าน
ซึ่ งหากเกิดการพังทลายของเขื่อนหรื ออาคารประกอบเขื่อนเกิดขึ้นนั้นจะส่ งผลต่อการควบคุ มปริ มาณน้ าใน
อ่างเก็บน้ าส่ งผลกระทบต่อการจัดการแหล่งทรัพยากรน้ าและความอยูร่ อดของชุ มชนท้ายน้ าซึ่ งในสาเหตุที่
ทาให้เขื่อนหรื ออาคารประกอบเขื่อนได้รับความเสี ยหายอย่างหนักได้น้ นั ก็คือเหตุการณ์แผ่นดินไหว ดังนั้น
เพื่อให้แน่ใจว่าเขื่อนและอาคารประกอบเขื่อนจะยังสามารถควบคุมปริ มาณน้ าในอ่างเก็บน้ าได้ต่อหลังจาก
เกิ ดเหตุการณ์ แผ่นดิ นไหวจึงต้องมีการประเมินความปลอดภัยของเขื่อนหรื ออาคารประกอบเขื่อนเสี ยก่อน
โดยในบทนี้ จะเป็ นการอธิ บ ายถึ ง ทฤษฎี ที่ เกี่ ย วข้องกับ การวิเคราะห์ พ ฤติ ก รรมทางพลศาสตร์ และการ
ประเมินความปลอดภัยของเขื่อนหรื ออาคารประกอบเขื่อนจากแรงแผ่นดินไหวและงานวิจยั ที่เกี่ยวข้อง
2.1 เขื่อนและอาคารประกอบเขื่อน
2.1.1 เขื่อน
เขื่อนเป็ นสิ่ งก่อสร้างที่ใช้ขวางกั้นทางน้ าไว้ก่อให้เกิดแหล่งกักเก็บน้ าที่บริ เวณท้ายเขื่อน โดยเขื่อน
จะมีขนาดของโครงสร้างขึ้นอยูก่ บั ความกว้างของทางน้ าและลักษณะภูมิประเทศ ในปั จจุบนั แม่น้ าสายหลัก
มักจะมีการก่อสร้างเขื่อนขึ้นเพื่อใช้ประโยชน์ในด้านต่างๆ เช่นการป้ องกันอุทกภัยและยังเป็ นแหล่งพลังงาน
สาคัญสาหรับช่ วยผลิตกระแสไฟฟ้า โดยทัว่ ไปเขื่อนจะทาหน้าที่ ควบคุมปริ มาณน้ าให้สามารถไหลผ่านได้
ตามปริ มาณที่เหมาะสมและรักษาปริ มาณน้ าในอ่างเก็บน้ าให้อยูใ่ นระดับที่ปลอดภัยหรื อมีความจุของน้ าไม่
เกิ นปริ มาณความจุที่อ่างเก็บน้ าบรรจุได้โดยอาศัยการทางานของอาคารประกอบเขื่อนที่ เรี ยกว่าทางน้ าล้น
หรื ออาคารระบายน้ าล้น (Spillway) สาหรับกาหนดค่าระดับที่ยอมให้น้ าไหลผ่าน
2.1.2 ประโยชน์ ทสี่ าคัญของเขื่อน
วัตถุประสงค์หลักสาหรับการก่ อสร้ างเขื่อนคือเพื่อกักเก็บน้ าหรื อควบคุ มปริ มาณการไหลของน้ า
โดยเขื่อนจะทาหน้าที่กกั เก็บน้ าในช่วงฤดู น้ าหลากเพื่อใช้ประโยชน์ทางด้านอุปโภคบริ โภคเมื่อเกิดการขาด
แคลนน้ าและปล่อยให้น้ าไหลผ่านเมื่อมีความต้องการทาการเกษตร นอกจากนี้ เขื่อนยังสามารถป้ องกันน้ า
ท่ วมฉับ พลันเมื่ อเกิ ดน้ าป่ าไหลหลากโดยการท าหน้าที่ ชะลอความเร็ วของน้ าให้ไหลผ่านได้เฉพาะตาม
ปริ มาณที่ตอ้ งการ ในปั จจุบนั เขื่อนมีหน้าที่ ที่สาคัญอีกด้านหนึ่ งคือการผลิตกระแสไฟฟ้ าซึ่ งพลังงานไฟฟ้ า
ส่ วนหนึ่ งในประเทศไทยถูกผลิตมาจากแหล่งพลังงานน้ าจากเขื่อน นอกจากนี้ เขื่อนยังสามารถสร้างรายได้
ให้ชุมชนจากการเป็ นสถานที่ท่องเที่ยว

6
2.1.3 อาคารประกอบเขื่อน (Dam relevant structure)
อาคารประกอบเขื่อนเป็ นสิ่ งก่อสร้างที่ช่วยสนับสนุ นการทางานของเขื่อนร่ วมถึงช่วยเพิ่มประโยชน์
ในอีกหลายด้านให้กบั เขื่ อน ดังนั้นอาคารประกอบเขื่อนจึงมีความสาคัญในด้านการใช้งานและด้านความ
ปลอดภัยไม่น้อยไปกว่าตัวเขื่อน อาคารประกอบเขื่อนนั้นมีอยู่หลายประเภทซึ่ งมีหน้าที่และความสาคัญต่อ
เขื่อนแตกต่างกันออกไปดังต่อไปนี้
1) อาคารระบายน้ าล้น (Spillway) คืออาคารประกอบเขื่อนที่มีความสาคัญอย่างมากมีหน้าที่ระบาย
น้ าออกจากอ่างเก็บน้ าเพื่อบริ หารจัดการน้ าด้านความปลอดภัยของเขื่อน เมื่อระดับน้ าในอ่างเก็บน้ าสู งกว่า
ระดับน้ าที่กาหนดซึ่ งมักจะกาหนดไว้ที่ระดับน้ าเก็บกัก (Normal water level) น้ าในอ่างเก็บน้ าจะถูกระบาย
ออกทางอาคารระบายน้ าล้นซึ่ งเป็ นการปล่อยน้ าให้ไหลออกไปเองอย่างอิสระ (Free overflow) หรื อปล่อย
ออกทางประตู ระบายน้ า (Regulation flow) โดยทัว่ ไปอาคารระบายน้ าล้นส่ วนใหญ่ จะมีลกั ษณะเป็ นฝาย
โครงสร้างคอนกรี ตเสริ มเหล็กตั้งอยูบ่ นหิ นฐานรากที่มน่ั คงซึ่ งทางระบายน้ าล้นอาจจะมีประตูระบายน้ าล้น
(Gates) หรื อไม่มีก็ได้ข้ ึนอยูก่ บั ลักษณะอุทกวิทยาและวัตถุประสงค์ในการใช้งานเขื่อน
2) ประตูระบายน้ าล้น (Gates) คือสิ่ งก่อสร้างในบริ เวณทางน้ าที่ใช้ควบคุมการไหลของน้ าในแม่น้ า
คลอง ทะเลสาบ ฝาย ร่ วมถึ งอ่างเก็บน้ า โดยอาคารระบายน้ าล้นในบางประเภทจะมีการติดตั้งประตูระบาย
น้ าล้นไว้บนสันฝาย โดยประตูระบายน้ าล้นจะมีหน้าที่ในการปรับปริ มาณน้ าที่ตอ้ งการให้ไหลผ่านและปรับ
ความเร็ วของน้ าหรื อใช้ในการกักเก็บน้ าไว้ในอ่างได้ ประตูระบายน้ าล้นนั้นมี อยู่หลายประเภทขึ้ นอยู่กบั
ความเหมาะสมในการใช้งานในรู ปแบบต่างๆ ซึ่ งจะถูกนาเสนอต่อไปในหัวข้อที่ 2.1.4
3) อาคารระบายท้ายน้ า (Outlet Work) คืออาคารที่ใช้ควบคุมความดันน้ าหรื ออัตราไหลของน้ าให้มี
ความเหมาะสมเมื่อไหลผ่านโรงไฟฟ้าหรื อตัวอาคาร
4) อาคารรับน้ า (Intake Structure) คืออาคารที่ใช้กรองน้ าและส่ งต่อไปยังปั๊ มน้ าและท่อน้ าเพื่อทาให้
ปั๊ มน้ าและท่อน้ าไม่เกิดความเสี ยหายหรื อการอุดตันที่เกิดจากสิ่ งมีชีวิตหรื อตะกอนในน้ า
5) อาคารควบคุ ม (Control House) คือ อาคารควบคุ ม น้ าท าหน้าที่ ส าคัญ ในการเป็ นศูนย์รวบรวม
อุปกรณ์ควบคุม ตรวจวัด และการดาเนิ นการทั้งหมด เพื่อตรวจสอบความปลอดภัยและควบคุม การเปิ ดปิ ด
ของประตูระบายน้ าล้นได้อย่างถูกต้อง
6) โรงไฟฟ้ า (Hydroelectric power plants) คืออาคารที่ใช้ในการผลิ ตไฟฟ้ าจากพลังงานน้ าโดยใช้
แรงดันของน้ าจากอาคารระบายท้ายน้ าซึ่ งอยูใ่ นระดับที่สูงกว่าโรงไฟฟ้ าไปหมุนเพลาของกังหันน้ าซึ่ งจะทา
ให้เครื่ องกาเนิดไฟฟ้าผลิตไฟฟ้าตลอดเวลาที่มีการเปิ ดน้ าให้ไหลผ่าน

7
2.1.4 ประเภทของประตูระบายนา้ ล้ น
1) Dripping shutters or Permanent flashboards ประกอบด้วยแผงไม้ที่ มีบานพับสู ง 1.0-1.25 เมตร
และใช้โครงสร้าง Shutters falls flat สาหรับต้านแรงดันน้ า มีตวั เลื่อนที่สามารถยกขึ้นหรื อลดลงได้จากสาย
เคเบิลที่ติดตั้งไว้ ดังแสดงในรู ปที่ 2-1
2) Stop loge ประกอบด้วยแผ่นเหล็กแทรกตัวอยูใ่ นร่ องมักใช้เวลานานในการเปิ ดและปิ ดประตูจึง
ไม่เป็ นที่นิยม ดังแสดงในรู ปที่ 2-2
3) Radial gate or Tainter gates ประกอบด้ ว ยแผ่ น เหล็ ก โค้ง และแขนประตู ติ ด ตั้ง ที่ จุ ด รองรั บ
สามารถหมุนในแนวตั้งหรื อแนวนอน ดังแสดงในรู ปที่ 2-3
4) Drum gates เป็ นประตูที่ลอยอยูบ่ นน้ า ดังแสดงในรู ปที่ 2-4 โดยมีจุดหมุนที่ทาให้ประตูเคลื่อนที่
ขึ้นหรื อลงตามระดับน้ าในอ่างเก็บน้ า ดังแสดงหลักการทางานไว้ในรู ปที่ 2-5
5) Vertical lift gates or Rectangle gates ตัวประตูสามารถถู กยกขึ้นหรื อปล่อยลงด้วยกลไกการชัก
รอกที่ดา้ นบน โดยประตูอาจใช้วสั ดุเป็ นเหล็ก คอนกรี ต หรื อไม้ ดังแสดงในรู ปที่ 2-6

รู ปที่ 2-1 Dripping shutters or Permanent flashboards

(ที่มา https://www.slideshare.net/muralimohan100/spillway-gates)

8
รู ปที่ 2-2 Stop loge

(ที่มา https://www.slideshare.net/muralimohan100/spillway-gates)

รู ปที่ 2-3 Radial gate or Tainter gates

(ที่มา https://www.iolaregister.com/tag/tainter-gates)

9
รู ปที่ 2-4 Drum gates

(ที่มา https://www.flickr.com/photos/jamesv34/12650140195)

รู ปที่ 2-5 หลักการทางานของ Drum gates

(ที่มา https://www.slideshare.net/muralimohan100/spillway-gates)

10
รู ปที่ 2-6 Vertical lift gates or Rectangle gates

(ที่มา https://www.researchgate.net/figure/Vertical-lift-spillway-gate-Elidon-Dam-Australia_fig4_267558137)

2.1.5 สาเหตุที่ทาให้ เขื่อนพิบัติหรื อเสี ยหาย


1) สาเหตุ จากการรั่ วซึ ม (Seepage VS Leakage) การรั่ วซึ ม ของน้ าผ่านตัวเขื่ อนหรื อฐานรากเป็ น
ปั ญ หาส าคัญ ที่ มี ผ ลต่ อความมั่น คงของตัวเขื่ อ นโดยตรง โดยทั่วไปจะไม่ ส ามารถประเมิ น พฤติ ก รรมที่
แน่นอนของฐานรากเขื่อนหลังจากการก่อสร้างเสร็ จและเริ่ มเก็บกักน้ าแล้ว ซึ่งการเก็บกักน้ าในอ่างเก็บน้ าจะ
มี ผ ลโดยตรงท าให้ เกิ ดการซึ ม (Percolation) ของน้ าและท าให้ เกิ ดแรงดัน น้ า (Pore Pressure) ใต้ฐานราก
เขื่อนได้โดยหากถ้าอ่างเก็บน้ ามีความลึก มากก็จะส่ งผลให้เกิ ดการซึ มได้ง่ายขึ้ น ซึ่ งกรณี ดงั กล่ าวจะไม่ได้
เกิดขึ้นแค่เฉพาะบริ เวณฐานรากเท่านั้น แต่จะเกิดขึ้นได้กบั พื้นที่รอบๆ ขอบอ่างเก็บน้ าได้ดว้ ย
2) สาเหตุจากการกัดเซาะ (Erosion) เขื่อนดินและเขื่อนหิ นทิง้ เป็ นเขื่อนที่มีแนวโน้มที่จะได้รับความ
เสี ยหายจากการถูกกัดเซาะได้ง่ายหากไม่มีการป้ องกันที่เพียงพอ โดยเฉพาะบริ เวณลาดเขื่อนด้านเหนื อน้ าจะ
ถูกกัดเซาะโดยกระแสน้ าหรื อคลื่น ในส่ วนของบริ เวณลาดเขื่อนด้านท้ายน้ าจะถูกกัดเซาะโดยน้ าฝนที่ตกลง
มาชะล้างผิวหน้าของลาด โดยทัว่ ไปการป้ องกันการถู กกัดเซาะจะใช้วิธีการปลู กหญ้าคลุมดินไว้หรื อการ
เรี ยงหิน (Riprap)
3) สาเหตุการเคลื่อนตัวของเขื่อน (Movement) การประเมินการเคลื่อนตัวของเขื่อนและการสู ญเสี ย
รู ปร่ างไป (Displacement and Deformation) นั้นเป็ นเรื่ องที่ทาได้ยาก ทั้งนี้ ข้ ึนอยูก่ บั องค์ประกอบหลายอย่าง
เช่ น การที่ ไ ม่ มี ข ้อ มู ล ที่ ถู ก ต้อ งแน่ น อนส าหรั บ ใช้อ้างอิ ง (Reference and Base Reading) ในช่ วงของการ

11
ก่อสร้ างโดยเฉพาะเขื่อนที่ถูกก่อสร้ างไว้นานแล้วและไม่อาจทราบได้แน่ นอนถึ งคุณสมบัติของวัสดุ ทาง
วิศวกรรมที่ใช้ในการก่อสร้างเป็ นต้น
4) สาเหตุ จากการเกิ ดแผ่นดิ นไหว (Earthquake) แผ่นดิ นไหวอาจมีผลกระทบต่อเขื่ อนและอาคาร
ประกอบเขื่อน โดยเฉพาะอาคารที่ อยู่ในบริ เวณ Tectonic Zone เช่ น ประเทศญี่ ปุ่นและรัฐแคริ ฟอร์ เนี ยใน
สหรัฐอเมริ กา ซึ่ งถ้าเกิดความรุ นแรงเกิ นกว่าที่อาคารถู กออกแบบให้รับแรงแผ่นดิ นไหวไว้ก็อาจเกิ ดความ
เสี ยหายต่อโครงสร้างอาคารหรื อลดความแข็งแรงลงไปหลังจากการใช้งานอาคาร โดยบริ เวณ Tectonic ส่ วน
ใหญ่จะต้องพิจารณาออกแบบให้รับแรงจากแผ่นดินไหวได้อย่างเพียงพอในแง่วิศวกรรมและเศรษฐศาสตร์
หรื อในบริ เวณที่ไม่ใช่ Tectonic Zone ก็ควรต้องพิจารณาแนวโน้มที่อาจจะเกิ ดขึ้นและออกแบบเผื่อไว้ การ
เก็บน้ าในอ่างเก็บน้ าขนาดใหญ่บางแห่ งที่มีลกั ษณะฐานรากที่ไม่ดีพอก็อาจจะทาให้เกิ ดแผ่นดิ นไหวได้แต่
ความรุ นแรงโดยทัว่ ไปแล้วไม่มากและมักจะเกิดในช่วงแรกของการเก็บกักน้ า
2.1.6 ผลกระทบจากการพังทลายของอาคารประกอบเขื่อน
1) เกิดน้ าท่วมเนื่ องจากอาคารระบายน้ าล้นเกิดความเสี ยหายส่ งผลให้ไม่สามารถระบายน้ าส่ วนเกิน
ได้จนทาให้น้ าล้นสันเขื่อน
2) เกิดการพังของตัวเขื่อนจากการระบายน้ าของอาคารระบายน้ าล้นไม่สามารถใช้การได้จนการรับ
แรงของเขื่อนมากเกินไปจากน้ าที่เพิ่มขึ้นภายในเขื่อน
3) ไม่ ส ามารถควบคุ ม การปล่ อ ยน้ า หรื อ การเปิ ดปิ ดของประตู น้ าล้น ได้ส่ ง ผลให้ น้ า ท่ วมพื้ น ที่
ภายนอกเขื่อนจากการที่หอ้ งควบคุมเสี ยหาย
4) การทางานของโรงไฟฟ้ าขัดข้องเนื่ องจากอาคารรับน้ าเสี ยหายไม่สามารถกรองสิ่ งปนเปื้ อนได้
อย่างมีประสิ ทธิ ภาพ
5) โรงไฟฟ้ า เสี ย หายจากอาคารท้า ยน้ า ไม่ ท างานส่ ง ผลให้ เกิ ด กระแสน้ า ที่ ม ากเกิ น ไปภายใน
โรงไฟฟ้า
2.2 แผ่นดินไหว
แผ่นดิ นไหวเป็ นปรากฏการณ์ ธรรมชาติที่แสดงออกในรู ปแบบการสั่นสะเทื อนหรื อการเขย่าของ
พื้นผิวโลกเพื่อปรับตัวเองให้อยูใ่ นสภาวะสมดุล โดยแผ่นดินไหวสามารถก่อให้เกิดความเสี ยหายต่อสิ่ งปลูก
สร้ างขนาดใหญ่ รวมถึ งชี วิตและทรั พ ย์สิ นในส่ วนของสาเหตุ ก ารเกิ ดแผ่นดิ น ไหวนั้นส่ วนใหญ่ เกิ ดจาก
ธรรมชาติ โดยแผ่นดินไหวบางลักษณะสามารถ เกิ ดจากการกระทาของมนุ ษย์ได้ แต่จะมีความรุ นแรงน้อย

12
กว่าที่เกิ ดขึ้นเองจากธรรมชาติ นักธรณี วิทยาประเมินการว่าในหนึ่ งวันจะเกิ ดแผ่นดิ นไหวประมาณ 1,000
ครั้ ง ซึ่ งส่ วนใหญ่ จะเป็ นแผ่นดิ น ไหวที่ มี ก ารสั่ นสะเทื อนเพี ยงเล็ กน้อยเท่ านั้นซึ่ งคนทัว่ ไปจะไม่ รู้สึ ก ถึ ง
แรงสั่นสะเทือน
2.2.1 แหล่งกาเนิดแผ่ นดินไหว
แหล่ งกาเนิ ดแผ่นดิ นไหวหรื อบริ เวณตาแหน่ งศู นย์กลางแผ่นดิ นไหวส่ วนใหญ่ จะอยู่ตรงบริ เวณ
ขอบของแผ่นเปลือกโลก แนวรอยเลื่อนต่าง ๆ และบริ เวณที่มนุษย์มีกิจกรรมกระตุน้ ให้เกิดแผ่นดินไหว เช่น
เหมือง เขื่อน บ่อน้ ามัน บริ เวณที่มีการฉี ดของเหลวลงใต้พ้นื ดิน บริ เวณที่มีการเก็บกากรังสี เป็ นต้น
2.2.2 การวัดและหาตาแหน่ งแผ่นดินไหว
1) คลื่ นในตัวกลาง เป็ นคลื่ นที่ มีลกั ษณะแผ่กระจายเป็ นวงรอบ รอบจุดศูนย์กลางแผ่นดิ นไหวซึ่ ง
แบ่งได้เป็ น 2 ชนิด คือ คลื่นปฐมภูมิ (คลื่น P) หรื อคลื่นตามยาวโดยอนุ ภาคของคลื่นชนิ ดนี้ เคลื่อนที่ในแนว
ทิศทางการเคลื่อนที่ของคลื่นสามารถผ่านได้ในตัวกลางทุกสถานะ และคลื่นทุติยภูมิ (คลื่น S) คลื่นตามขวาง
อนุภาคของคลื่นมีทิศตั้งฉากกับทิศคลื่นเคลื่อนที่ผา่ นได้ในตัวกลางสถานะของแข็ง ซึ่ งคลื่นในตัวกลางทั้ง 2
ชนิดมีรายระเอียดดังแสดงในรู ปที่ 2-7

รู ปที่ 2-7 คลื่นปฐมภูมิ (P wave) และคลื่นทุติยภูมิ (S wave)

(ที่มา http://www.lesa.biz/earth/lithosphere/earth-structure/physical-structure)

2) คลื่นพื้นผิว เป็ นคลื่นที่แผ่จากจุดเหนื อศูนย์เกิ ดแผ่นดินไหว มี 2 ชนิ ด ได้แก่ คลื่นเลิฟ (Wave of


Love : Love wave) เป็ นคลื่นที่อนุภาคสั่นในแนวราบมีทิศทางตั้งฉากกับการเคลื่อนที่ของคลื่นและคลื่นเรลีย ์

13
(Wave of Rayleigh : Rayleigh wave) อนุ ภาคในคลื่ นนี้ สั่นเป็ นรู ปวงรี ในทิศทางการเคลื่อนที่ของคลื่น เป็ น
สาเหตุทาให้พ้นื โลกสั่นขึ้นลง
3) ขนาดของแผ่นดิ นไหว (Earthquake Magnitude) ขนาดของแผ่น ดิ นไหวหมายถึ ง จานวนหรื อ
ปริ มาณของพลังงานที่ ถู กปล่ อยออกมาจากศู นย์กลางแผ่นดิ นไหวในแต่ล ะครั้ง โดยการหาค่าขนาดของ
แผ่นดิ นไหวทาได้โดยวัดความสู งของคลื่ นแผ่นดิ นไหวที่ บนั ทึ กได้ด้วยเครื่ องตรวดวัดแผ่นดิ นไหว แล้ว
คานวณจากสู ตรการหาขนาด
4) ความรุ นแรงของแผ่นดิ นไหว (Earthquake Intensity) ต่างจากขนาดแผ่นดิ นไหว เนื่ องจากความ
รุ นแรงของแผ่นดินไหวที่เกิดขึ้นในแต่ละครั้งนั้นขึ้นอยูก่ บั ระยะทางจากศูนย์กลางแผ่นดินไหวมาถึงผูส้ ังเกต
ว่าห่ างมากน้อ ยเพี ย งใด ความเสี ย หายจะเกิ ด มากที่ สุ ด บริ เวณใกล้จุ ดศู น ย์ก ลางแผ่น ดิ น ไหวและค่ อยๆ
ลดทอนออกมาตามระยะทาง โดยมาตราวัดความรุ นแรงมีหลายมาตรา
5) ความเร่ ง สู งสุ ดของพื้ น ดิ น (Peak Ground Acceleration, PGA) หมายถึ ง ค่ า แอมพลิ จู ด ของ
ความเร่ งสัมบูรณ์สูงสุ ดที่บนั ทึกไว้จากการสัน่ บนพื้นดินบริ เวณที่เกิดแผ่นดินไหว โดยทัว่ ไปสามารถเกิดขึ้น
ได้ท้ งั สามทิศทาง ดังนั้น PGA จึงจะบอกแยกกันในแต่ละทิศทางได้แก่แนวนอนและแนวตั้ง ซึ่ งโดยทัว่ ไป
PGA แนวนอนจะมีค่ามากกว่าแนวตั้ง แต่ไม่เป็ นเช่นนี้ เสมอไปโดยเฉพาะการเกิดแผ่นดินไหวที่มีขนาดใหญ่
อย่างไรก็ตาม PGA ถือเป็ นตัวแปรสาคัญสาหรับวิศวกรรมแผ่นดินไหว
6) Arias Intensity คื อ การหาปริ ม าณพลังงานสะสมของความเร่ ง หรื อ ความแข็ ง แกร่ ง ของคลื่ น
แผ่นดินไหวจากการหาค่าปริ พนั ธ์ของความเร่ งของคลื่นแผ่นดินไหวแบบประวัติเวลาดังสมการที่ 2.1
𝜋 𝑡
𝐼𝑎 =
2𝑔
∫0
[𝑎(𝑡)]2 𝑑𝑡 (2.1)

7) คาบอิทธิ พลหลัก (Predominant Period) คือค่าพารามิเตอร์ ที่แสดงค่าคาบการสั่นไหวของชั้นดิ น


ที่ตอบสนองหลักภายใต้แผ่นดินไหว โดยถ้าหากคาบอิทธิพลหลักมีค่าใกล้เคียงกับคาบการสั่นไหวธรรมชาติ
ของอาคารจะส่ งผลให้เกิดการสั่นพ้อง (Resonance)
8) Significant Duration คือระยะเวลาที่มีนัยสาคัญของการสั่นไหวภาคพื้นดิ นของแผ่นดิ นไหวซึ่ ง
พิจารณาจากพลังงานสะสมของความเร่ งหรื อระยะเวลาการเกิดแผ่นดินไหวที่ถูกกาหนดตามเวลาทั้งหมดที่
ผ่านไปจากร้อยละ 5 ถึงร้อยละ 95

14
2.2.3 ความเสี่ ยงจากแผ่นดินไหวในประเทศไทย
เนื่องจากตาแหน่งศูนย์กลางแผ่นดินไหวส่ วนใหญ่จะเกิดขึ้นบริ เวณที่มีแนวรอยเลื่อน ดังนั้นบริ เวณ
ที่มีความเสี่ ยงต่อการเกิ ดเหตุการณ์ แผ่นดิ นไหวคือบริ เวณพื้นที่ที่อยูใ่ กล้รอยเลื่ อน โดยความหมายของรอย
เลื่ อนคือรอยแตกในหิ นที่แสดงการเลื่อน สามารถพบได้ทุกภูมิภาคในประเทศไทย ขนาดของรอยเลื่ อนมี
ตั้งแต่ระดับเซนติเมตรไปจนถึงหลายร้อยกิ โลเมตร รอยเลื่ อนขนาดใหญ่สามารถสังเกตได้ง่ายจากลักษณะ
ภูมิประเทศ อย่างไรก็ตามในบางพื้นที่รอยเลื่อนอาจถูกฝังอยูใ่ ต้ดิน ทาให้ไม่สามารถสังเกตได้จากบนพื้นผิว
ดิน ต้องอาศัยการสารวจทางธรณี ฟิสิ กส์ ช่วยในการแปลความหมาย รอยเลื่อน จัดแบ่งตามลักษณะการเลื่อน
ได้เป็ น รอยเลื่อนปกติ รอยเลื่อนย้อน และรอยเลื่อนตามแนวระดับ ในส่ วนของรอยเลื่อนที่มีหลักฐานยืนยัน
ว่าเคยเกิ ดการเลื่ อนหรื อขยับตัวมาแล้วในช่ วง 10,000 ปี จะถูกจัดว่าเป็ น รอยเลื่ อนมีพลัง (Active Fault) ซึ่ ง
มักจะพบอยูใ่ นพื้นที่ที่เกิ ดแผ่นดิ นไหวบ่อย หรื อตามรอยแนวต่อระหว่างแผ่นเปลือกโลก รอยเลื่อนมีพลังมี
โอกาสที่จะขยับตัวได้อีกในอนาคต (กรมทรัพยากรธรณี , 2563)
รอยเลื่ อนมีพลังในประเทศไทย เคยเกิ ดขึ้นแล้ว 9 แห่ งด้วยกัน จากการรายงานของกรมทรัพยากร
ธรณี วทิ ยา พบว่า ปั จจุบนั ประเทศไทยมีรอยเลื่อนที่มีพลังทั้งหมด 16 รอยเลื่อน โดยกระจายอยูใ่ น 22 จังหวัด
ดังแสดงในรู ปที่ 2-8 โดยมีรายชื่อดังต่อไปนี้
1) รอยเลื่อนแม่จนั พาดผ่านอาเภอฝาง อาเภอแม่อาย จังหวัดเชี ยงใหม่ อาเภอแม่จนั อาเภอเชียงแสน
และอาเภอเชียงของ จังหวัดเชียงราย ในแนวทิศตะวันออกเฉี ยงเหนือ -ตะวันตกเฉี ยงใต้ มีความยาวประมาณ
101 กิโลเมตร
2) รอยเลื่ อนแม่อิง พาดผ่านอาเภอเทิง อาเภอขุนตาล และอาเภอเชี ยงของ จังหวัดเชี ยงราย ในแนว
ทิศตะวันออกเฉียงเหนือ-ตะวันตกเฉียงใต้ มีความยาวประมาณ 57 กิโลเมตร
3) รอยเลื่อนแม่ฮ่องสอน พาดผ่านอาเภอเมืองแม่ฮ่องสอน จังหวัดแม่ฮ่องสอน ในแนวทิศเหนื อ-ใต้
มีความยาวประมาณ 29 กิโลเมตร
4) รอยเลื่อนเมย วางตัวในแนวตะวันตกเฉี ยงเหนื อ พาดผ่านตั้งต้นจากลาน้ าเมย ชายแดนพม่า ต่อไป
ยังห้วยแม่ทอ้ ลาน้ าปิ ง จังหวัดตาก ไปถึงจังหวัดกาแพงเพชร นครสวรรค์ และสิ้ นสุ ดที่จงั หวัดอุทยั ธานี ใน
แนวทิศตะวันตกเฉียงเหนือ มีความยาวประมาณ 250 กิโลเมตร
5) รอยเลื่อนแม่ทา พาดผ่านอาเภอแม่ทา จังหวัดลาพูน และอาเภอแม่ออน จังหวัดเชี ยงใหม่ ในแนว
โค้งไปทางทิศตะวันออก มีความยาวประมาณ 61 กิโลเมตร

15
6) รอยเลื่อนเถิน พาดผ่านอาเภอแม่พริ ก อาเภอเถิน จังหวัดลาปาง และอาเภอวังชิ้น จังหวัดแพร่ ใน
แนวโค้งในไปทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือ มีความยาวประมาณ 103 กิโลเมตร
7) รอยเลื่ อนพะเยา พาดผ่านอาเภองาว จังหวัดล าปาง และอาเภอเมื อง จังหวัดพะเยา ในแนวทิ ศ
ตะวัน ตกเฉี ย งเหนื อ -ตะวัน ออกเฉี ย งใต้ ทางด้า นทิ ศ เหนื อ ของรอยเลื่ อ นท่ า สี มี ค วามยาวประมาณ 23
กิโลเมตร
8) รอยเลื่อนปั ว พาดผ่านพื้นที่อาเภอสันติสุข อาเภอท่าวังผา อาเภอปั ว อาเภอเชี ยงกลาง และอาเภอ
ทุ่งช้าง ของจังหวัดน่านในแนวเหนือ-ใต้ ด้วยความยาวประมาณ 130 กิโลเมตร
9) รอยเลื่อนอุตรดิตถ์ พาดผ่านอาเภอเมือง อาเภอท่าปลา จังหวัดอุตรดิตถ์ อาเภอนาหมื่น อาเภอนา
น้อย อาเภอเวียงสา และอาเภอแม่จริ ม จังหวัดน่าน ในแนวทิศตะวันออกเฉี ยงเหนือ-ตะวันตกเฉี ยงใต้ มีความ
ยาวประมาณ 150 กิโลเมตร
10) รอยเลื่อนเจดียส์ ามองค์ พาดผ่านอาเภอทองผาภูมิ และอาเภอสังขละบุรี จังหวัดกาญจนบุรี ใน
แนวทิศตะวันตกเฉียงเหนือ-ตะวันออกเฉียงใต้ มีความยาวประมาณ 60 กิโลเมตร
11) รอยเลื่ อนศรี สวัสดิ์ พาดผ่านอาเภอบ้านไร่ จังหวัดอุทยั ธานี อาเภอศรี สวัสดิ์ และอาเภอหนอง
ปรื อ จังหวัดกาญจนบุรี ในแนวโค้งเล็กน้อยไปทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ มีความยาวประมาณ 62 กิโลเมตร
12) รอยเลื่อนระนอง พาดผ่านพื้นที่ต้ งั แต่ จังหวัดระนอง ชุ มพร ประจวบ คีรีขนั ธ์ และพังงา มีความ
ยาวประมาณ 270 กิโลเมตร
13) รอยเลื่อนคลองมะรุ่ ย พาดผ่านอาเภอบ้านตาขุน อาเภอพนม จังหวัดสุ ราษฎร์ ธานี อาเภอทับปุด
อาเภอเมือง จังหวัดพังงา พาดผ่านไปตามทะเลอันดามัน ระหว่างอาเภอเมือง จังหวัดภูเก็ต กับอาเภอเกาะยาว
จังหวัดพังงา ในแนวทิศตะวันออกเฉียงเหนือ-ตะวันตกเฉียงใต้ มีความยาวประมาณ 148 กิโลเมตรรอย
14) รอยเลื่ อนเพชรบูรณ์ พาดผ่านอาเภอหนองไผ่ อาเภอเมื อง อาเภอหล่ มสัก และอาเภอหล่ มเก่ า
จังหวัดเพชรบูรณ์ ประกอบด้วยรอยเลื่อนบริ วารในแนวทิศตะวันออกเฉี ยงเหนือ -ตะวันตกเฉี ยงใต้ กับแนว
ทิศตะวันตกเฉียงเหนือ-ตะวันออกเฉี ยงใต้สลับกัน มีความยาวประมาณ 110 กิโลเมตร
15) รอยเลื่ อนแม่ลาว มีความยาว 30 กิ โลเมตร พาดผ่าน อาเภอฝาง อาเภอแม่อาย จังหวัดเชี ยงใหม่
อาเภอแม่จนั อาเภอเชียงแสน อาเภอเชียงของ จังหวัดเชียงราย
16) รอยเลื่ อนเวียงแหง มีการวางตัวตามแนวเหนื อ -ใต้ บริ เวณใกล้ชายแดนประเทศเมี ยนมา จาก
อาเภอเวียงแหง ถึง อาเภอสะเมิง จังหวัดเชียงใหม่ มีความยาวประมาณ 100 กิโลเมตร

16
รู ปที่ 2-8 แผ่นที่รอยเลื่อนมีพลังในไทย

(กรมทรัพยากรธรณี , 2563)
17
2.2.4 ความคาดหวังสาหรับการออกแบบอาคารประกอบเขื่อนต้ านทานแผ่นดินไหว
ระดับความคาดหวังสาหรับการออกแบบอาคารประกอบเขื่อนต้านทานแผ่นดิ นไหวถู กเสนอจาก
คณะกรรมการเขื่อนขนาดใหญ่ระหว่างประเทศ (International Commission on Large Dams) (ICOLD, 1983
และ 1989) โดยเสนอให้พิจารณาความรุ นแรงของแผ่นดินไหวไว้ 2 ระดับ สาหรับออกแบบเขื่อนและอาคาร
ประกอบเขื่ อ นต้ า นทานแผ่ น ดิ น ไหว ได้ แ ก่ Operating Basis Earthquake (OBE) หรื อ Design Basis
Earthquake (DBE) หมายถึ งระดับความรุ นแรงของแผ่นดิ นไหวที่ ใช้สาหรับการออกแบบเพื่ อที่ใช้ในการ
จากัดความเสี ยหายที่จะเกิ ดขึ้นต่อเขื่อนและอาคารประกอบเขื่อนอย่างน้อย 1 ครั้งในช่วงอายุของเขื่อนและ
อาคารประกอบเขื่อนซึ่ งหมายถึงโอกาสเกิดแผ่นดินไหวที่ร้อยละ 10 ในรอบ 50 ปี หรื อที่รอบการเกิดซ้ า 475
ปี โดยเมื่ อมี ความเสี ยหายเกิ ดขึ้ นกับเขื่ อนและอาคารประกอบเขื่ อนแล้วต้องสามารถซ่ อมแซมเขื่อนและ
อาคารประกอบเขื่อนได้ง่ายและรวดเร็ วเพื่อให้สามารถใช้งานต่อได้ภายหลังเกิดเหตูการณ์แผ่นดินไหว และ
ความรุ นแรงของแผ่นดิ นไหวที่ได้เสนอไว้อีกระดับคือ Maximum Considered Earthquake (MCE) หมายถึง
ความรุ นแรงของแผ่นดินไหวที่ระดับรุ นแรงสู งสุ ดที่คาดว่าจะเกิดขึ้น โดยพิจารณาจากรอยเลื่อนมีพลังที่อยู่
ใกล้ที่ต้ งั เขื่อนและอาคารประกอบเขื่อนเป้ าหมาย มีโอกาสเกิดแผ่นดิ นไหวที่ร้อยละ 2 ในรอบ 50 ปี หรื อที่
รอบการเกิดซ้ า 2475 ปี ในกรณี ที่เขื่อนและอาคารประกอบเขื่อนเป้ าหมายตั้งอยูใ่ นเขตพื้นที่ที่มีความรุ นแรง
ของแผ่นดิ นไหวต่ าถึ งปานกลางจะถู กนิ ยามทางสถิ ติที่คาบการอุ บตั ิ ซ้ าเท่ากับ 10,000 ปี ในกรณี ดงั กล่าว
MCE จะถู ก นิ ยามเป็ น Maximum Design Earthquake (MDE) และ Safety Evaluation Earthquake (SEE)
แทน โดยระบุวา่ ภายใต้แผ่นดินไหวระดับความรุ นแรงดังกล่าวจะสามารถยอมให้มีการเกิดความเสี ยหายใน
ระดับรุ นแรงต่อโครงสร้างเขื่อนและอาคารประกอบเขื่อนได้แต่ความเสี ยหายต้องไม่ส่งผลกระทบต่อการ
ควบคุมการระบายน้ าในอ่างเก็บน้ า
2.2.5 การคัดเลือกคลื่นแผ่นดินไหวด้ วยวิธี Time History Scaling
สาหรับการคัดเลือกคลื่นแผ่นดินไหวด้วยวิธี Time History Scaling เป็ นหนึ่งในวิธีการคัดเลือกคลื่น
แผ่นดินไหวที่ได้รับความนิ ยม (Yasin M. Fahjan, 2017) โดยเป็ นการคัดเลือกจากคลื่นแผ่นดินไหวของจริ ง
จากทัว่ โลกที่ได้มีการบันทึกข้อมูลไว้ในฐานข้อมูลที่มีความน่าเชื่ อถือ การคัดเลือกคลื่นแผ่นดินไหวดังกล่าว
จะพิจารณาจาก ขนาดแผ่นดิ นไหว (Magnitude) ระยะทางจากจุดเหนื อศูนย์เกิ ดแผ่นดิ นไหวถึ งจุดตรวจวัด
แผ่นดินไหว (Epicentral Distance) และคุณสมบัติของดิน เป็ นต้น รวมถึงคุณสมบัติอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง จากนั้น
จึงได้ทาการเลือกคลื่ นแผ่นดิ นไหวที่เหมาะสมที่สุดจานวน 7 คลื่นที่มีค่าเฉลี่ ยของค่าสเปกตรัมตอบสนอง
ใกล้เคียงกับค่าสเปกตรัมบริ เวณพื้นที่ศึกษาหรื อสอดคล้องกับสเปกตรัมสาหรับการออกแบบหรื อสเปกตรัม
ที่มี ความอันตรายส าหรับ ระดับ ความรุ นแรงของคลื่ น แผ่นไหวที่ สนใจ ในส่ วนของผลการวิเคราะห์ การ

18
ตอบสนองของโครงสร้ างอาคารต่อคลื่ นแผ่นดิ นไหวนั้นจะใช้ค่าเฉลี่ ยจากทั้ง 7 กรณี สาหรับข้อดีของการ
คัดเลื อกคลื่ นแผ่นดิ นไหวด้วยวิธี น้ ี ได้แก่ เป็ นการใช้ค ลื่ นแผ่นดิ นไหวของจริ งที่ ย งั คงความสั่ นไหวตาม
ธรรมชาติไว้ สามารถให้ความสาคัญเฉพาะกับการตอบสนองที่คาบการสั่นไหวที่สนใจ และยังเป็ นวิธีที่ทา
ได้ง่ายด้วยเครื่ องมื อที่ เหมาะสม ส าหรั บ ข้อด้อยของวิธี น้ ี คื อใช้เวลานานในการวิเคราะห์ เนื่ องจากคลื่ น
แผ่น ดิ น ไหวจ านวนหลายคลื่ น ตัว อย่า งผลการคัด เลื อ กคลื่ น แผ่ น ดิ น ไหวที่ มี ค วามเหมาะสมที่ สุ ด กับ
สเปกตรัมตอบสนองของพื้นที่เป้ าหมายด้วยวิธี Time History Scaling ดังแสดงในรู ปที่ 2-9

รู ปที่ 2-9 ความเร่ งตอบสนองเชิงสเปกตรัมของคลื่นแผ่นดินไหวจากการคัดเลือกด้วยวิธี Time History Scaling

(Yasin M. Fahjan, 2017)

2.3 ทฤษฎีทางพลศาสตร์ (Dynamic Analysis)


แบบจาลองการวิเคราะห์ ทางพลศาสตร์ จะประกอบด้วยมวล ( 𝑚 ) ของตัวโครงสร้างอาคารและมี
ค่ า แข็ ง แกร่ งส าหรั บ ต้า นการเคลื่ อ นที่ (Stiffness, 𝑘 ) รวมถึ งมี ก ารจาลองการหน่ วงด้วยของเหลวหนื ด
(Wiscous damper) ดังแสดงในรู ปที่ 2-10 ในการวิเคราะห์จะจาลองให้มวล ( 𝑚 ) ที่ พิ จารณาจากน้ าหนัก
โดยรวมของอาคารเกิดการเคลื่อนที่ดว้ ยระยะเริ่ มต้นค่าหนึ่ งแล้วปล่อยให้แกว่งเองอย่างอิสระโดยไม่มีแรง
กระทา ต่อจากนั้นมวลอาคารจะสั่นกลับไปกลับมาพร้อมกับการสลับการถ่ายเทไปมาระหว่างพลังงานศักย์
กับ พลัง งานจลน์ อย่างไรก็ ตามการสั่ น จะค่ อยๆ หยุด ลงเนื่ องจากผลของการหน่ วง (Damping) ที่ ท าให้
พลังงานถูกสลายทิ้งไปเป็ นพลังงานรู ปแบบอื่น
19
รู ปที่ 2-10 แบบจาลองการคานวณทางพลศาสตร์โครงสร้างอย่างง่าย

สาหรับโครงสร้ างที่ อยู่ในสภาวะหยุดนิ่ งและรับแรงกระทาที่ มีขนาดคงที่ หรื อแปรผันค่าอย่างช้า


มากๆ ซึ่ งสามารถอนุ ม านเป็ นน้ าหนัก บรรทุ ก สถิ ต (Static loading) โดยการวิเคราะห์ แ รงกระท าและ
ผลตอบสนองของโครงสร้างดังกล่าวเป็ นไปตามสมการที่ (2.2)
𝑘𝑢 = 𝑝 (2.2)
เมื่อ 𝑘 คือ ความแข็งแกร่ งรวมของโครงสร้าง (Stiffness) 𝑢 คือ การเคลื่อนที่ของโครงสร้าง และ 𝑝
คือ น้ าหนักบรรทุกสถิตภายนอกที่กระทาต่อโครงสร้าง
สาหรับกรณี โครงสร้างที่มีแรงกระทาแบบพลวัต (dynamic loadings) ซึ่ งมีค่าแปรผันตามเวลาและ
ทาให้มวลโครงสร้างเกิดการเคลื่อนที่แกว่งไปมาตามเวลาที่เปลี่ยนไป โดยการวิเคราะห์โครงสร้างในกรณี น้ ี
เป็ นไปตามสมการที่ (2.3)
𝑚𝑢̈ + 𝑐𝑢̇ + 𝑘𝑢 = 𝑝(𝑡) (2.3)
เมื่อ 𝑚 คือ มวลรวมของโครงสร้าง 𝑐 คือ การหน่ วง (Damping) 𝑝(𝑡) คือ น้ าหนักบรรทุกที่แปร
ผันกับเวลา 𝑢̈ คือ ความเร่ งหรื ออนุ พนั ธ์อนั ดับสองของการเคลื่อนที่เทียบกับเวลา และ 𝑢̇ คือ ความเร็ วหรื อ
อนุพนั ธ์อนั ดับหนึ่งของการเคลื่อนที่เทียบกับเวลา โดยสมการดังกล่าวสามารถเรี ยกได้วา่ สมการการเคลื่อนที่
(Equation of Motion)
2.3.1 การวิเคราะห์ โครงสร้ างแบบประวัติเวลา (Time History Analysis)
การวิเคราะห์พฤติกรรมทางพลศาสตร์ ของโครงสร้างเมื่อ มีแรงกระทาเป็ นฟังก์ชนั ขึ้นอยูก่ บั เวลาจึง
ต้องใช้ระเบียบวิธีเชิ งตัวเลขในการแก้ปัญหาดังกล่ าว ซึ่ งระเบียบวิธีเชิ งตัวเลขที่ ใช้กนั อย่างแพร่ หลายคื อ

20
ระเบียบวิธีเชิงตัวเลขของนิวมาร์ก (Newmark-  method) เนื่ องจากเป็ นวิธีที่เหมาะสมและใกล้เคียงกับความ
เป็ นจริ งมากที่สุด โดยมีข้ นั ตอนดังต่อไปนี้
เริ่ มจากคานวณความเร่ งที่เวลาเริ่ มต้น t = 0 จากสมการที่ (2.4) โดยที่ 𝑝0 คือแรงที่ วินาทีที่ 0 𝑢0 คือ
การเคลื่อนที่ที่วนิ าทีที่ 0 𝑢̇ 0 คือความเร็ วที่วนิ าทีที่ 0 และ 𝑢̈ 0 คือความเร่ งที่วนิ าทีที่ 0
𝑝0 −𝑐𝑢̇ 0 −𝑘𝑢0
𝑢̈ 0 =
𝑚
(2.4)
จากนั้นกาหนดช่วงเวลา 𝛥𝑡 ต่อด้วยคานวณค่า 𝑘̂ จากสมการที่ (2.5)
𝛾 1
𝑘̂ = 𝑘 + 𝑐
𝛽∆𝑡
+𝑚
𝛽(∆𝑡)2
(2.5)
1 1 1 1
เมื่อ 𝛾 = 2 𝛽 = 4 ใช้สาหรับ Average acceleration method และใช้ 𝛾 = 𝛽=
6
สาหรับ
2
Linear acceleration method จากนั้นคานวณหาค่าคงที่ a และ b จากสมการที่ (2.6) และ (2.7)
1 𝛾
𝑎=𝑚
𝛽∆𝑡
+𝑐
𝛽
(2.6)
1 1
𝑏=𝑚
2𝛽
+ 𝑐(∆𝑡)(
2𝛽
− 1) (2.7)

คานวณหาค่าต่างๆ จากสมการ (2.8) – (2.12)


∆𝑝̂𝑖 = ∆𝑝𝑖 + 𝑎𝑢̇ 𝑖 +𝑏𝑢̈ 𝑖 (2.8)
∆𝑝̂𝑖
∆𝑢𝑖 =
𝑘
(2.9)
𝛾 𝛾 𝛾
∆𝑢̇ 𝑖 =
𝛽∆𝑡
∆𝑢𝑖 − 𝑢̇ 𝑖 + ∆𝑡(1 −
𝛽 2𝛽
)𝑢̈ 𝑖 (2.10)
1 1 1
∆𝑢̈ 𝑖 =
𝛽(∆𝑡) 2
∆𝑢𝑖 −
∆𝑡
𝑢̇ 𝑖 −
2𝛽
𝑢̈ 𝑖 (2.11)

𝑢𝑖+1 = 𝑢𝑖 + ∆𝑢𝑖 , 𝑢̇ 𝑖+1 = 𝑢̇ 𝑖 + ∆𝑢̇ 𝑖 , 𝑢̈ 𝑖+1 = 𝑢̈ 𝑖 + ∆𝑢̈ 𝑖 (2.12)


คานวณค่าต่างๆ ที่เวลาถัดไป i+1 จากสมการ (2.8) – (2.12) ทาซ้ าจนถึงเวลาสุ ดท้ายที่มรแรงกระทา
จะได้ผลตอบสนองของโครงสร้างเป็ นการเคลื่อนที่ ความเร็ ว และความเร่ ง
2.3.2 ระบบโครงสร้ างหลายดีกรีอสิ ระ
ระบบโครงสร้างโดยทัว่ ไปนั้นจะมีองค์ประกอบมวลหลายชิ้นส่ วน ทาให้เกิดการเคลื่อนที่มากกว่า 1
ทิ ศ ทางหรื อหลายรู ป แบบมากขึ้ น ซึ่ งเป็ นไปตามทฤษฎี ก ารวิเคราะห์ โครงสร้ างหลายดี ก รี อิส ระ (Multi

21
Degree of Freedom) ซึ่ งยังคงใช้ทฤษฎี เดียวกับกรณี ของระบบโครงสร้างอิสระ 1 ดี กรี แต่จะมี รูปแบบการ
สั่นที่ซบั ซ้อนและหลายรู ปแบบมากกว่า ร่ วมถึงมีสมบัติทางพลศาสตร์ ต่างกันออกไป
สมบัติท างพลศาสตร์ ข องระบบโครงสร้ างหลายดี ก รี จะท าการค านวณได้จากการวิเคราะห์ ก าร
เคลื่อนที่แบบโครงสร้างอิสระ 1 ดีกรี เพียงแต่จะมีจานวนรู ปร่ างของการสั่นไหวตามจานวนดีกรี ความอิสระ
ของโครงสร้ า ง ซึ่ งสามารถวิเคราะห์ ไ ด้จากสมการที่ (2.13) โดยสามารถศึ ก ษาเพิ่ ม เติ ม ได้จากหนังสื อ
Dynamics of Structures (Anil K. Chopra, 1995)
[𝑚]{𝑢̈ } + [𝑐]{𝑢̇ } + [𝑘]{𝑢} = {𝑝(𝑡)} (2.13)
เมื่ อ {𝑢} = [ф]{𝑞} โดยที่ [ф] คื อ เวกเตอร์ ข องโหมดรู ป ร่ าง (ไม่ ข้ ึ น กับ เวลา) และ {𝑞} คื อ
ป ริ ม า ณ ส เก ล า ร์ ต า ม เว ล า มี ค่ า คื อ 𝑞(𝑡) = 𝐴𝑛 𝑐𝑜𝑠𝜔𝑛 𝑡 + 𝐵𝑛 𝑐𝑜𝑠𝜔𝑛 𝑡 แ ล ะ 𝑞̈ (𝑡) =
−𝜔𝑛2 (𝐴𝑛 𝑐𝑜𝑠𝜔𝑛 𝑡 + 𝐵𝑛 𝑐𝑜𝑠𝜔𝑛 𝑡) เมื่ อ [ф] และ {𝑞} ต้องไม่เท่ากับศูน ย์ ดังนั้นสามารถคานวณหา
เวกเตอร์ ของโหมดรู ปร่ าง [ф] ของโครงสร้างและความถี่เชิ งมุมการสั่นธรรมชาติ (𝜔𝑛 ) ได้จากสมการที่
(2.14) และ (2.15) ตามลาดับ
|[𝑘] − 𝜔𝑛2 [𝑚]|[ф] = {0} (2.14)
|[𝑘] − 𝜔𝑛2 [𝑚]| = {0} (2.15)
2.3.3 สมการการเคลื่อนทีเ่ มื่อมีแรงแผ่นดินไหว
ในกรณี เมื่ อ แรงกระท า {𝑝(𝑡)} ในสมการที่ (2.13) เป็ นแรงแผ่น ดิ น ไหว ดัง นั้น แรงกระท าจะ
เท่ากับ – [𝑚]{1}𝑢̈ 𝑔 โดยที่ {1} คือ Column matrix ขนาดเท่ากับ 1 เป็ นไปตามสมการที่ (2.16)
[𝑀]{𝑞̈ } + [𝐶]{𝑞̇ } + [𝐾]{𝑞} = −[ф]𝑇 [𝑚]{1}𝑢̈ 𝑔 (2.16)
เมื่ อ [𝑀] คื อ Modal Mass [𝐶] คื อ Modal Damping และ [𝐾] คื อ Modal Stiffness โดยทั้ง 3 ตัว
แปรเป็ นไปตามสมการที่ (2.17) (2.18) และ (2.19) ตามลาดับ
[𝑀] = [ф]𝑇 [𝑚][ф] (2.17)
[𝐶] = [ф]𝑇 [𝑐][ф] (2.18)
[𝐾] = [ф]𝑇 [𝑘][ф] (2.19)
ในการแก้สมการการเคลื่อนที่เชิงโหมด (2.16) เมื่อได้ค่า 𝑞𝑖 ของแต่ละโหมดแล้วจะนากลับไปแทน
ในสมการ{𝑢} = [ф]{𝑞} เพื่อหาค่าของการเสี ยรู ปต่อไป

22
2.4 ระเบียบวิธีไฟไนต์ เอเลเมนต์ (Finite Element Method, FEM)

2.4.1 บทนาเกีย่ วกับระเบียบวิธีไฟไนต์ เอลิเมนต์


ระเบี ย บวิ ธี ไ ฟไนต์ เอเลเมนต์ (FEM) เป็ นวิ ธี ก ารวิ เคราะห์ เชิ ง ตัว เลขที่ ใ ช้ ใ น การหาค าตอบ
โดยประมาณของสมการเชิ งอนุ พนั ธ์ยอ่ ยพร้อมกับสมการปริ พนั ธ์ โดยผลลัพธ์ที่ได้จากระเบียบวิธีดงั กล่าว
จะมี พ้ื นฐานมาจากการก าจัด สมการเชิ งอนุ พนั ธ์ อย่างสมบู รณ์ สาหรับปั ญหาที่ อยู่ในสภาวะคงที่ หรื อการ
ปรับแก้สมการเชิ งอนุพนั ธ์ให้กลายเป็ นระบบโดยประมาณของสมการเชิงอนุพนั ธ์สามัญซึ่ งเป็ นปริ พนั ธ์ทาง
คณิ ตศาสตร์ดว้ ยการใช้วธิ ีการมาตรฐานทางคณิ ตศาสตร์ เช่น Euler method Runge–Kutta methods
FEM คือองค์ประกอบย่อยๆ ของโดเมนโครงสร้าง โดยจะใช้วิธีการแบ่งย่อยองค์ประกอบย่อยของ
โดเมนของโครงสร้างให้มีรูปร่ างอย่างง่ายขนาดเล็ก ซึ่ งองค์ประกอบย่อยดังกล่ าวจะถู กเรี ยกว่าเอลิ เมนต์
(Element) ซึ่ งแต่ละเอลิเมนต์จะมีการเชื่อมต่อกันด้วยจุดที่เรี ยกว่าโหนด (Node) ดังนั้นเพื่อให้ได้ผลลัพธ์ของ
ปั ญหาโดยประมาณจะต้องใช้สมการควบคุมระบบมาสร้างสมการไฟไนต์เอลิ เมนต์ของแต่ละเอลิเมนต์บน
โดเมนและจึงทาการแก้ปัญหาเพื่อให้ได้มาซึ่งผลเฉลยของปั ญหาที่จุดต่อบนโดเมน
2.4.2 ขั้นตอนพืน้ ฐานของระเบียบวิธีไฟไนต์ เอลิเมนต์
สาหรับการแก้ปัญหาเชิงตัวเลขด้วยระเบียบวิธีไฟไนต์เอลิเมนต์น้ นั โดยทัว่ ไปจะใช้ซอฟต์แวร์ ใน
การแก้ปัญหา (Finite Element Software) ซึ่งจะประกอบด้วย 3 ขั้นตอนใหญ่ๆ ดังต่อไปนี้
1) ขั้นตอนของการเตรี ยมแบบจาลอง (Preprocessing Phase)
- การสร้างรู ปร่ างของแบบจาลอง (Geometric Construction)
- การแบ่ ง โดเมนของแบบจ าลองออกเป็ นเอลิ เมนต์ ย่อ ยๆ ต่ อ กัน โดยแต่ เอลิ เมนต์ จ ะ
ประกอบไปด้วยโหนด (Discretization)
- การกาหนด shape function ซึ่ งแสดงถึงพฤติกรรมทางกายภาพของเอลิเมนต์หรื อผลเฉลย
ของเอลิเมนต์ซ่ ึงเป็ นค่าประมาณ
- สร้างสมการสาหรับเอลิเมนต์
- กาหนดค่าเงื่อนไขเริ่ มต้นของสภาวะโหลดและสภาวะขอบให้กบั ปั ญหา
- กาหนดคุณสมบัติของวัสดุ (Material Properties)

23
2) ขั้นตอนการหาคาตอบ (Solution Phase) เมื่อข้อมูลการสร้างแบบจาลองเอลิ เมนต์และเงื่อนไข
ขอบเขต ร่ วมถึ งข้อมูลอื่นๆ ที่ได้ถูกเตรี ยมการจากขั้นตอนการเตรี ยมกระบวนการจะถู กนามาใช้ป้อนเข้าสู่
ระเบี ยบวิธี ไ ฟไนต์เอลิ เมนต์และแก้ปั ญ หาแบบเชิ งเส้ น (Linear) หรื อ ไม่ เชิ งเส้ น (Nonlinear) ตามความ
เหมาะสมของปั ญ หา ด้วยสมการทางพี ช คณิ ตโดยสมการรู ป ทั่วไปของไฟไนต์เอลิ เมนต์แบบเมทริ ก ซ์
(Matrix) ดังแสดงในสมการที่ (2.17) (The Friction and Lubrication of Solids, 1971) และมี ความสั ม พัน ธ์
ระหว่างสมการดังกล่าวกับเอลิเมนต์และโหนดดังแสดงในรู ปที่ 2-11
f     d 1
 1   k 11 k 12 k 13 k 1n
  
 f 2   k 21 k k  k 2n d 2 
    
22 23

 f  = k 31 k k  k  d 3  (2.17)
 3   
32 33 3n
     
     
 f   k n1  k nn  d n 
 n

เมื่อ 𝑓 = ค่าแรงที่มากระทาต่อเอลิเมนต์

𝑘 = เมทริ กซ์ความแข็งเกร็ ง (Stiffness Matrix)

𝑑 = ความเคลื่อนที่อิสระของโหนด เอลิเมนต์ (DOF)

รู ปที่ 2-11 แรงกระทาต่อเอลิเมนต์ ( f ) ที่ทาให้โหนดมีการเคลื่อนที่ (u)

(Eugenio Onate, 2009)

3) การวิเคราะห์ผลลัพธ์ (Postprocessing phase) คือการวิเคราะห์หาผลลัพธ์ที่มีความสนใจเพิ่มเติม


หรื อเพื่อให้ง่ายต่อการเห็นผลลัพธ์เช่นการนาเสนอกราฟฟิ กส์ของแบบจาลองเป็ นระดับชั้นสี สาหรับค่าความ
เค้นหลักหรื อฟลักซ์ความร้อน เป็ นต้น

24
2.4.3 โหนด (Node)
โหนดคือจุดที่เชื่ อมต่อระหว่างโครงสร้างชิ้นย่อยๆ ที่เรี ยกว่าเอลิเมนต์ (Element) ให้ติดกันดังแสดง
ในรู ปที่ 2-11 โดยทัว่ ไปโหนดจะเป็ นตัวกาหนดรู ปร่ างทางเรขาคณิ ตของเอลิ เมนต์ที่รูปร่ างแบบอิสระ และ
โหนดมักอยูท่ ี่มุมหรื อจุดปลายของเอลิเมนต์ โหนดและเอลิเมนต์อยูต่ ิดกันเป็ นกลุ่มซึ่งเรี ยกว่าแบบจาลองไฟ
ไนต์เอลิ เมนต์ (Finite Element Model) ซึ่ งเป็ นตัวแทนของชิ้ น งานเพื่ อ น าไปจาลองเป็ นสมการเมทริ ก ซ์
(Matrix) สาหรับหาคาตอบของปัญหาที่ซบั ซ้อนต่อไป
2.4.4 เอลิเมนต์ (Element)
โดยทัว่ ไปเอลิ เมนต์พ้ืนฐานจะมีมิติอยู่ที่ 1 ถึง 3 มิติ ดังแสดงในรู ปที่ 2-12 และยังมีเอลิเมนต์ชนิ ด
พิ เศษที่ มี ล ัก ษณะเป็ นแบบ 0 มิ ติ เช่ น กลุ่ ม ของจุ ด (Lumped Springs) ซึ่ งเอลิ เมนต์แต่ ล ะมิ ติจะมี จุด ที่ ใ ช้
เชื่อมต่อกันซึ่ งเรี ยกว่า โหนด (Node) นอกจากนี้ในทางกลศาสตร์ เอลิเมนต์เหล่านี้จะมีการกาหนดพฤติกรรม
ของวัส ดุ ที่ มี ค วามชี้ เฉพาะยิ่ง ขึ้ น ตัวอย่างเช่ น เชิ ง เส้ น ยืด หยุ่น (Linear Elastic) และวัส ดุ ที่ เป็ นท่ อน (Bar
Element) โดยเอลิเมนต์ต่อกันหลายเอลิเมนต์จะกลายเป็ นกลุ่มของเอลิเมนต์ (Mesh)
1) เอลิเมนต์ 1 มิติ (Beam Element) มีลกั ษณะเป็ นเส้นตรงหรื อเส้นโค้ง เท่านั้นซึ่ งสามารถบ่งชี้ ความ
ยาวได้อย่างชัดเจนแต่ จะไม่ส ามารถมองเห็ น เป็ นรู ป แบบแผ่นที่ มีพ้ื นผิวที่ ชัดเจนได้ และเอลิ เมนต์ 1 มิ ติ
นอกจากเป็ นเส้นแล้วจะไม่สามารถบ่งบอกเป็ นรู ปทรงเรขาคณิ ตในรู ปแบบอื่นได้อีก
2) เอลิเมนต์ 2 มิติ (Shell Element) มีความเหมาะสมกับการวิเคราะห์ ชิ้นงานที่เป็ นแผ่นหรื อพื้นผิว
(Surface) มีลกั ษณะเป็ นรู ปร่ างรู ปสามเหลี่ ยมหรื อสี่ เหลี่ยมที่มีโหนด 3 และ 4 โหนด ตามลาดับ แต่จะมีไม่
น้อยกว่า 3 โหนด ตามลักษณะพื้นฐานทัว่ ไป ตัวอย่างชิ้นงานที่ใช้เอลิ เมนต์ชนิ ดนี้ เป็ นแบบจาลองเช่น ผนัง
บาง (Thin Sell) และผนังหนา (Thick Shell)
3) เอลิ เมนต์ 3 มิติ (Solid Element) จะมี ลกั ษณะโครงสร้างเป็ นแบบ 3 มิติ โดยทัว่ ไปมักมีรูปทรง
เป็ นแบบปริ ซึ ม (Prisms) หรื อ แบบอื่ น ๆ เช่ น Tetrahedral Pentahedral และ Hexahedral (Bricks) โดยเอลิ
เมนต์ชนิ ดนี้ จะใช้กบั ชิ้ นงานที่มีรูปทรงเป็ นปริ มาตรตัน (Solid) สามารถบ่งบอกความกว้าง ความยาว และ
ความสู งได้อย่างชัดเจนหรื อชิ้ นงานที่มีความหนา (Thick) มากเมื่ อเที ยบกับขนาดพื้นที่ ของพื้นผิว ซึ่ งโดย
พื้นฐานแล้วเอลิเมนต์ชนิดนี้จะมีโหนดตั้งแต่ 4 โหนดขึ้นไป

25
รู ปที่ 2-12 จานวนโหนดในเอลิเมนต์แต่ละชนิตพื้นฐาน

(https://wjrider.wordpress.com/2014/12/01/are-choices-a-blessing-or-a-curse/)

2.5 การวิเคราะห์ แบบไม่ เชิงเส้ น (Nonlinear Analysis)


การใช้ระเบียบวิธีไฟไนต์เอลิเมนต์ (Finite Element Method, FEM) มาวิเคราะห์ความแข็งแรงของ
โครงสร้าง (Structural Analysis) ไม่วา่ จะเป็ นการวิเคราะห์แบบสถิต (Static) หรื อ พลศาสตร์ (Dynamic) นั้น
สามารถใช้การวิเคราะห์ได้ท้ งั แบบเชิ งเส้น (Linear Analysis) และไม่เชิ งเส้น (Nonlinear Analysis) โดยต้อง
คานึ งถึงความเหมาะสมต่อชิ้นงานหรื อโครงสร้างของแบบจาลองไฟไนต์เอลิเมนต์ที่ใช้ในการวิเคราะห์น้ นั ๆ
ซึ่ งถ้ า หากคาดการว่ า แบบจ าลองไฟไนต์ เอลิ เมนต์ ไ ม่ เกิ ด การเปลี่ ย นแปลงรู ป ร่ า งอย่ า งมาก (Large
Displacements) ควรใช้ ก ารวิ เคราะห์ แ บบเชิ ง เส้ น เนื่ อ งจากวิ เคราะห์ ดัง กล่ า วจะไม่ มี ก ารเปลี่ ย นแปลง
คุณสมบัติทางกายภาพตลอดช่ วงเวลาของการวิเคราะห์ และถ้าหากคาดการว่าแบบจาลองไฟไนต์เอลิเมนต์
เกิดการเปลี่ยนแปลงรู ปร่ างอย่างมาก (Large Displacements) ควรใช้การวิเคราะห์แบบไม่เชิงเส้นที่ซ่ ึงมีความ
ซับซ้อนกว่า เนื่องจากการวิเคราะห์ดงั กล่าวมีการเปลี่ยนแปลงคุณสมบัติทางกายภาพเมื่อแบบจาลองไฟไนต์
เอลิ เมนต์เกิ ดการเสี ยรู ปร่ าง ณ ช่ วงเวลาหนึ่ งของการประมวลผลส่ งผลให้ตอ้ งใช้เวลาในการวิเคราะห์ ที่
ยาวนานเมื่อเปรี ยบเทียบกับการวิเคราะห์แบบเชิ งเส้น (Linear Analysis) อย่างไรก็ตามการวิเคราะห์แบบไม่
เชิงเส้น (Nonlinear Analysis) จะให้ผลการวิเคราะห์ที่ครอบคลุมมากกว่า
สาหรับ การวิเคราะห์ แบบไม่ เชิ งเส้ น (Nonlinear Analysis) สามารถบ่ งบอกความไม่ เชิ งเส้ นได้ 3
รู ปแบบดังต่อไปนี้ เมื่อแบ่งตามพฤติกรรมที่เกิดขึ้น ซึ่ งถ้าหากคาดว่าแบบจาลองไฟไนต์เอลิเมนต์สามารถเกิด
พฤติกรรมอย่างใดอย่างหนึ่ งใน 3 รู ปแบบดังกล่าวระหว่างการประมวลผลการวิเคราะห์ การวิเคราะห์แบบ
ไม่เชิงเส้น (Nonlinear Analysis) จึงจะมีความเหมาะสมกว่า

26
2.5.1 เรขาคณิตแบบไม่ เชิงเส้ น (Geometric Nonlinear)
เป็ นการเปลี่ยนแปลงแบบไม่เชิ งเส้นในด้านรู ปทรงทางเรขาคณิ ต (Geometry) ซึ่ งเป็ นการเสี ยรู ปร่ าง
หรื อรู ปทรงของแบบจาลองนั้นๆ โดยเกิดการเปลี่ ยนแปลงรู ปร่ างอย่างมาก (Large Displacements) หรื อเกิ ด
การหมุนขนาดใหญ่ (Large Rotation) ส่ งผลให้ค่าความแข็งเกร็ ง (Stiffness) ของวัสดุเกิดความเปลี่ยนแปลง
เมื่อเวลาผ่านไป
2.5.2 วัสดุแบบไม่ เชิ งเส้ น (Materials Nonlinear)
โดยทั่วไปการวิเคราะห์ พ ฤติ ก รรมของวัส ดุ จะเป็ นแบบเชิ งเส้ น (Elastic behavior) โดยตั้งอยู่บ น
สมมติฐานที่วา่ วัสดุจะเกิดการคืนรู ปอย่างสมบูรณ์และมีค่ามอดุลสั ของสภาพยืดหยุน่ (Elastic Modulus) คงที่
แต่ ถ้า หากวัส ดุ ไ ด้รับ แรงกระท าที่ ท าให้ ค วามเค้น (Stress) ของวัส ดุ มี ค่ า มากกว่า ความเค้น คราก (Yield
Stress) ส่ งผลให้วสั ดุ ไม่สามารถคืนรู ปได้อย่างสมบู รณ์ ซึ่ งพฤติกรรมดังกล่าวของวัสดุ จะเป็ นแบบไม่เชิ ง
เส้น (Plastic behavior)
2.5.3 การเปลีย่ นสถานะแบบไม่ เชิงเส้ น (Changing Status Nonlinear)
เป็ นการเปลี่ยนแปลงแบบไม่เชิ งเส้นในรู ปแบบของสถานะเป็ นการที่แบบจาลองได้รับความร้อน
หรื อความเย็นจนทาให้วสั ดุ เกิ ดการเปลี่ ยนแปลงทางด้านอุณหภูมิ ซึ่ งส่ งผลให้คุณสมบัติทางด้านกาลังของ
วัสดุเกิดการเปลี่ยนแปลงไปตามอุณหภูมิและเวลาที่เปลี่ยนไป
2.6 งานวิจัยทีเ่ กี่ยวข้ อง
Wendy E. และ Colin T. (2000) ได้ทาการวิเคราะห์คุณสมบัติทางพลศาสตร์ ของประตูระบายน้ าล้น
แบบบานโค้งติดตั้งบนสันฝายที่เขื่อน Kilmorack โดยใช้โปรแกรมสร้างแบบจาลอง 3 มิติ ในการตรวจสอบ
ความถี่ธรรมชาติของโครงสร้างประตูระบายน้ าล้น ซึ่ งประตูระบายน้ าล้นมีขนาดความกว้าง 7.9 เมตร และ
ความสู ง 8.2 เมตร รวมถึ ง ไม่ ไ ด้ออกแบบมาส าหรั บ ต้า นทานแรงแผ่น ดิ น ไหว โดยมี วตั ถุ ป ระสงค์เพื่ อ
วิเคราะห์คลื่นไหวสะเทือนของประตูและเพื่อใช้ขอ้ สรุ ปจากการศึกษาไปใช้กบั ประตูอื่นที่คล้ายกัน โดยรู ปที่
2-13 แสดงแบบจาลอง 3 มิติ ของประตูระบายน้ าล้น

27
รู ปที่ 2-13 แบบจาลองประตูระบายน้ าล้น 3 มิติ

(Wendy E DANIELL and Colin a TAYLOR, 2000)

ลักษณะการสั่นสะเทือน(Mode Shape)ที่วดั ได้บางส่ วนแสดงในรู ปที่ 2-14 ลักษณะการสั่นสะเทือน


ทั้งหมดแสดงให้เห็นถึงการเคลื่อนไหวที่ดา้ นข้างของแผ่นประตูโดยลักษณะการสัน่ ไหวของแขนประตูท้ งั 2
ข้างในทิศทางเดียวกันไปพร้อมกับบานประตูมีความถี่ธรรมชาติประมาณ 14.0 Hz ลักษณะการสั่นไหวของ
แขนประตูท้ งั 2 ข้าง ในทิศทางตรงข้ามกันโดยที่บานประตูยงั ไม่เสี ยรู ปมีความถี่ธรรมชาติประมาณ 19.8 Hz
และลักษณะการสั่นไหวของแขนประตูท้ งั 2 ข้าง ในทิศทางตรงข้ามกันส่ งผลให้บานประตูเสี ยรู ปมีความถี่
ธรรมชาติประมาณ 25.5 Hz แม้วา่ โหมด cross-stream sway จะระบุไว้ที่ 14.0 Hz แต่สเปกตรัม FRF นั้นระบุ
ว่ามีโหมดการสัน่ สะเทือนอื่นๆ ที่ความถี่ต่ากว่า เช่นการสัน่ สะเทือนในบางลักษณะมีค่าประมาณ 2.5 Hz 4.5
Hz และ 7.5 Hz บ่งบอกถึ งความอ่อนแอของประตูระบายน้ าล้น ซึ่ งอาจเกิ ดจากพฤติกรรมที่ไม่เป็ นเชิ งเส้น
ของแขนด้านข้างไปจนถึงแผ่นเหล็กประตู
งานวิจยั ดังกล่าวแสดงให้เห็ นว่าพฤติกรรมแบบพลศาสตร์ ของประตูประเภทนี้ มีความซับซ้อนและ
ประตูแสดงการสั่นสะเทือนหลายรู ปแบบสาหรับนาไปวิเคราะห์เมื่อมีการสั่นสะเทือนของแผ่นดินไหว

28
รู ปที่ 2-14 ลักษณะการสัน่ สะเทือนของประตูระบายน้ า

(Wendy E DANIELL and Colin a TAYLOR, 2000)

Tagawa (2017) ได้ทาการศึกษาผลกระทบจากแผ่นดิ นไหวต่ออาคารโครงสร้างเหล็กแบบโครงข้อ


แข็ง (frame structures) ซึ่ งถูกออกแบบมาเพื่อต้านทานโมเมนต์ดดั จากแรงแผ่นดินไหวในประเทศญี่ปุ่น โดย
ท าการวิเคราะห์ ก ารตอบสนองของโครงสร้ างไม่ เชิ งเส้ น แบบประวัติเวลา (Nonlinear Response History
Procedure) ด้วยการใช้โปรแกรม LS-DYNA สร้างแบบจาลองไฟไนต์เอลิเมนต์แบบ 3 มิติ
องค์ประกอบของอาคารดังกล่าวใช้ส่วนที่เป็ นโครงข้อแข็งซึ่ งใช้วสั ดุเป็ นเหล็ก เป็ น Beam element
และส่ วนของแผ่นพื้นคอนกรี ตเป็ น Shell element โดยเสาที่ช้ นั ล่ างสุ ดใช้องค์ประกอบเป็ น Beam element
ร่ วมกับ Shell element ดังแสดงในรู ปที่ 2-15 โครงสร้างอาคารนี้มีลกั ษณะการสั่นไหวพื้นฐานดังแสดงในรู ป
ที่ 2-16 และมีการเสี ยรู ปของโครงสร้างอาคารที่บริ เวณจุดต่อเสาของชั้นล่างสุ ดดังแสดงในรู ปที่ 2-17 พบว่า
เหล็กกล่ องที่ จุดต่ อที่ ท าหน้าที่ ตา้ นทานโมเมนต์ดัดจากแรงแผ่นดิ นไหวมี ค่าความเค้น Von Mises สู งสุ ด
เท่ากับ 450 เมกะปาสคาล จากนั้นได้นาผลการวิเคราะห์ไปประเมินหาคุณสมบัติของเหล็กที่เหมาะสมต่อไป

29
รู ปที่ 2-15 Beam element และ Shell element

ของแบบจาลองไฟไนต์เอลิเมนต์โครงสร้างอาคารแบบโครงข้อแข็ง (Tagawa, 2017)

รู ปที่ 2-16 ลักษณะการสัน่ ไหวพื้นฐานของแบบจาลองไฟไนต์เอลิเมนต์

โครงสร้างอาคารแบบโครงข้อแข็ง (Tagawa, 2017)

รู ปที่ 2-17 ลักษณะการเสี ยรู ปของแบบจาลองไฟไนต์เอลิเมนต์

โครงสร้างอาคารแบบโครงข้อแข็ง (Tagawa, 2017)


30
เจนคณิ ต (2562) ได้ทาการศึกษาพฤติกรรมทางพลศาสตร์และประเมินความปลอดภัยของโครงสร้าง
อาคารระบายน้ าล้นเขื่อนกิ่ วคอหมาจากแผ่นดินไหว โดยทาการวิเคราะห์การตอบสนองของโครงสร้างไม่
เชิงเส้นแบบประวัติเวลา (Nonlinear Response History Procedure) ด้วยแบบจาลองไฟไนต์เอลิเมนต์ โดยใช้
คลื่ นแผ่นดิ นไหวที่สอดคล้องกับแผ่นดิ นไหวรุ นแรงสู งสุ ดที่พิจารณา (Maximum Considered Earthquake,
MCE) ตามมาตรฐานการออกแบบอาคารต้านทานการสั่นสะเทือนของแผ่นดินไหว (มยผ.1302) โดยรู ปที่ 2-
18 แสดงแบบจาลองไฟไนต์เอลิเมนต์ของอาคารระบายน้ าล้นเขื่อนกิ่วคอหมา

รู ปที่ 2-18 แบบจาลองไฟไนต์เอลิเมนต์ของอาคารระบายน้ าล้น (เจนคณิ ต, 2562)

จากงานวิจยั ดังกล่าวทาในทราบความถี่ ธรรมชาติในรู ปแบบการสั่นพื้นฐานซึ่ งมีรูปแบบการสั่นใน


แนวแกน y มีค่าเท่ากับ 7.76 Hz และตรวจวัดจริ งได้ค่าความถี่ พ้ืนฐานในรู ปแบบเดียวกันกับการวิเคราะห์มี
ค่าเท่ากับ 8.25 Hz ในแนวแกน y โดยมีค่าความผิดพลาดเท่ากับ 5.9 %
การวิเคราะห์ พฤติกรรมทางพลศาสตร์ อาคารระบายน้ าล้นเขื่อนกิ่ วคอหมา พบว่าค่าความเร่ งสู งสุ ด
เกิดที่ที่บริ เวณฐานเสาโครงยกมีค่าเท่ากับ 3.943 เมตร/วินาที2 ส่ วนอัตราส่ วนขยาย (Ay,Max /PGA) มากที่สุดมี
ค่าเท่ากับ 1.156 เมตร/วินาที2 และเกิดการเคลื่อนที่สัมพัทธ์สูงสุ ดเทียบกับฐานของโครงสร้างมีค่าเท่ากับ 8.24
เซนติเมตร สาหรับการเคลื่อนที่สัมพัทธ์ระหว่างชั้นที่เป็ นอันตรายมากสุ ดเกิดจากคลื่ นแผ่นดิ นไหวหลังการ
ปรับแก้สเปกตรัม EQ2 มีค่าเท่ากับ 4.00 เซนติเมตร เมื่อเทียบกับค่าการเคลื่อนที่สัมพัทธ์ระหว่างชั้นที่ยอมให้
ตามมาตรฐาน มยผ.1302 ที่ มี ค่ า เท่ า กับ 4.4 เซนติ เมตร สรุ ป คื อ การเคลื่ อ นที่ สั ม พัท ธ์ ข องทั้ง สามคลื่ น
แผ่นดินไหวเป็ นไปตามมาตรฐานของ มยผ.1302 และผลความเค้นที่เกิดขึ้นจากการต้านทานแรงอัดและแรง
ดึ ง ของคอนกรี ต แสดงด้ ว ยค่ า น้ อ ยที่ สุ ด และมากสุ ด ของความเค้น หลัก (Minimum Principal Stress and
Maximum Principal Stress) ตรวจสอบกับความเค้นอัดประลัยและดึงประลัยของคอนกรี ตที่มีค่าเท่ากับ 32
31
และ 3.2 เมกะปาสคาล ตามลาดับ พบว่าคอนกรี ตเกิดความเสี ยหายเมื่อผลความเค้นเกินค่าดังกล่าวซึ่งผลความ
เค้นที่ เกิ ดขึ้ นจากทุ ก คลื่ นแผ่นดิ นไหวที่ ไ ด้ท าการประมวลผลให้ค่าความเค้นหลัก ไม่เกิ น ค่าความเค้นอัด
ประลัยและดึ งประลัยของคอนกรี ต ดังนั้นอาคารไม่เกิ ดการพิบตั ิ สามารถใช้งานได้ตามปกติโดยไม่มีน้ าที่
ควบคุมไม่ได้ไหลออกจากเขื่อน
อย่างไรก็ ตามการศึ กษาดังกล่ าวยังไม่ ไ ด้ป ระเมิ น ความเสี ยหายของประตู ระบายน้ าล้น ในเขื่ อน
เดียวกันซึ่ งหากประตูระบายน้ าล้นเกิ ดความเสี ยหายจะทาให้เกิดน้ ารั่วซึ มส่ งผลทาให้ไม่สามารถควบคุมน้ า
ในอ่างกักเก็บได้และก่อให้เกิดน้ าท่วมแบบฉับพลันในบริ เวณพื้นที่ทา้ ยน้ า ดังนั้นจึงต้องมีการศึกษาเกี่ยวกับ
ความปลอดภัยของประตูระบายน้ าล้นต่อในอนาคต

32
บทที่ 3
ระเบียบวิธีวจิ ัย
สำหรั บงำนวิจยั นี้ จะเป็ นกำรศึ กษำเกี่ ยวกับพฤติกรรมทำงพลศำสตร์ ของประตู ระบำยน้ ำล้นจำก
แผ่นดินไหว โดยกำรสร้ำงแบบจำลองไฟไนต์เอลิเมนต์ของประตูระบำยน้ ำล้นด้วยโปรแกรม SAP2000 มำ
ทำกำรวิเครำะห์ กำรตอบสนองไม่เชิ ง เส้ นแบบประวัติเวลำ (Nonlinear Response Time-History Analysis)
โดยใช้คลื่นแผ่นดินไหวที่มีควำมรุ นแรงที่ระดับแผ่นดินไหวรุ นแรงสู งสุ ดที่พิจำรณำ (Maximum Considered
Earthquake, MCE) และระดับ แผ่ น ดิ น ไหวส ำหรั บ กำรออกแบบ (Design Basis Earthquake, DBE) ตำม
มำตรฐำนกำรออกแบบอำคำรต้ำนทำนกำรสั่นสะเทือนของแผ่นดินไหว (มยผ.1301/1302-61)
3.1 ขั้นตอนในการดาเนินงานวิจัย
ขั้นตอนที่ 1 : คัดเลือกอำคำรประกอบเขื่อนที่มีควำมสำคัญอย่ำงมำก โดยงำนวิจยั นี้ ได้เลือกประตู
ระบำยน้ ำล้นที่เขื่อนกิ่วคอหมำมำวิเครำะห์พฤติกรรมทำงพลศำสตร์ และประเมินควำมปลอดภัย เนื่องจำก
ประตู ระบำยน้ ำล้นเป็ นหนึ่ งในอำคำรประกอบเขื่ อนที่ มีควำมสำคัญต่อเขื่ อนในระดับต้นๆ ร่ วมถึ งควำม
พร้อมในด้ำนข้อมูลที่มีอยูแ่ ละรู ปแบบที่คล้ำยคลึงกับประตูระบำยน้ ำล้นของเขื่อนอื่นๆ ในประเทศไทย
ขั้นตอนที่ 2 : รวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับส่ วนประกอบของประตูระบำยน้ ำล้น เช่น ลักษณะโครงสร้ำง,
วัสดุที่ใช้ และคุณสมบัติของวัสดุ จำกแบบก่อสร้ำงจริ งเพื่อให้พร้อมสำหรับกำรสร้ำงแบบจำลองไฟไนต์เอลิ
เมนต์ของประตูระบำยน้ ำล้นให้ใกล้เคียงกับของจริ งที่สุด
ขั้นตอนที่ 3 : สร้ำงแบบจำลองไฟไนต์เอลิเมนต์ของประตูระบำยน้ ำล้นโดยใช้โปรแกรม SAP2000
โดยเลือกชนิดของเอลิเมนต์ให้เหมำะสมกับส่ วนประกอบแต่ละส่ วนของโครงสร้ำงประตูระบำยน้ ำล้น
ขั้นตอนที่ 4 : วิเครำะห์ ค วำมถี่ ธ รรมชำติ และลัก ษณะกำรสั่นไหวโดยวิธีไ ฟไนต์เอลิ เมนต์ผ่ำ น
โปรแกรม SAP2000 และเปรี ยบเทียบควำมถี่ ธรรมชำติของประตูระบำยน้ ำล้นกับงำนวิจยั อื่ นที่มีลกั ษณะ
ประตูคล้ำยกัน หำกมีค่ำควำมถี่ธรรมชำติต่ำงกันมำกอำจทำให้สรุ ปควำมได้วำ่ แบบจำลองประตูระบำยน้ ำล้น
ไม่สำมำรถเป็ นตัวแทนในกำรวิเครำะห์พฤติกรรมทำงพลศำสตร์ ของประตูระบำยน้ ำล้นของจริ งได้ และอำจ
ต้องสร้ำงแบบจำลองประตูระบำยน้ ำล้นขึ้นมำใหม่อีกครั้ง
ขั้นตอนที่ 5 : คัดเลื อกคลื่ นแผ่นดิ นไหวด้วยวิธี Time History Scaling ที่ระดับแผ่นดิ นไหวรุ นแรง
สู งสุ ดที่พิจำรณำ (Maximum Considered Earthquake, MCE) และ ระดับแผ่นดิ นไหวสำหรับกำรออกแบบ

33
(Design Basis Earthquake, DBE) ตำมมำตรฐำนกำรออกแบบอำคำรต้ ำ นทำนกำรสั่ น สะเทื อ นของ
แผ่นดินไหว (มยผ.1301/1302-61)
ขั้นตอนที่ 6 : วิเครำะห์ พฤติกรรมทำงพลศำสตร์ ไม่เชิ งเส้นแบบประวัติเวลำ (Nonlinear Response
Time-History Analysis) ด้วยแบบจำลองไฟไนต์เอลิ เมนต์ของประตู ระบำยน้ ำล้นภำยใต้แรงแผ่นดิ นไหว
โดยใช้คลื่นแผ่นดินไหวที่ได้ทำกำรคัดเลือกไว้
ขั้น ตอนที่ 7 : เสนอแนวทำงและประเมิ น ควำมปลอดภัย ของประตู ร ะบำยน้ ำล้น ภำยใต้แ รง
แผ่นดิ นไหวโดยพิจำรณำควำมเสี ยหำยจำกค่ำแรงดึ ง (Tensile Force), แรงกด (Compression Force) และ
โมเมนต์ดดั (Bending Moment) พร้อมกับตรวจสอบค่ำควำมปลอดภัยจำกพฤติกรรมแบบ คำน-เสำ สำหรับ
ส่ วนขององค์อำคำรเหล็กรู ปพรรณ ในส่ วนของบำนประตู ระบำยน้ ำล้นพิจำรณำค่ำควำมเค้นตำมทฤษฎี
(Von Mises Stress) และประเมินควำมปลอดภัยตำมควำมคำดหวังสำหรับกำรออกแบบอำคำรประกอบเขื่อน
ต้ำนทำนแผ่นดินไหวของ ICOLD

34
โดยกำรดำเนินงำนจะเป็ นไปตำมขั้นตอนตำมผังต่อไปนี้ (รู ปที่ 3-1 )

คัดเลือกอำคำรประกอบเขื่อนที่มีควำมสำคัญสำหรับเป็ นตัวแทนในกำร
วิเครำะห์ โดยงำยวิจยั นี้ได้เลือกประตูระบำยน้ ำล้นที่เขื่อนกิ่วคอหมำ

รวบรวมข้อมูลแบบก่อสร้ำง, สถำนที่ต้ งั และคุณสมบัติของวัสดุของประตูระบำยน้ ำล้น

สร้ำงแบบจำลองไฟไนต์เอลิเมนต์ของประตู
ระบำยน้ ำล้นโดยใช้โปรแกรม SAP2000 ไม่ใช่

ควำมถี่ธรรมชำติของ
วิเครำะห์ควำมถี่ธรรมชำติและลักษณะกำรสัน่ ไหวของ แบบจำลองไฟไนต์เอ
แบบจำลองไฟไนต์เอลิเมนต์ของประตูระบำยน้ ำล้น ลิเมนต์ของประตู
ระบำยน้ ำล้นใกล้เคียง
กับงำนวิจยั อื่น

คัดเลือกคลื่นแผ่นดินไหวที่ใช้ในกำรวิเครำะห์
ใช่

วิเครำะห์กำรตอบสนองไม่เชิงเส้นแบบประวัติเวลำ (Nonlinear
Response Time-History Analysis) ของแบบจำลองไฟไนต์เอลิเมนต์
ของประตูระบำยน้ ำล้นจำกแผ่นดินไหว

ประเมินควำมปลอดภัยของประตูระบำยน้ ำล้น

รู ปที่ 3-1 ผังขั้นตอนในกำรดำเนินงำนวิจยั

35
3.2 การคัดเลือกอาคารประกอบเขื่อนเป้ าหมาย
ประเภทของอำคำรประกอบเขื่อน (Dam relevant structure) มีอยู่หลำยประเภท เช่ น อำคำรระบำย
น้ ำล้น (Spillway), ประตู ระบำยน้ ำล้น (Gates) และ อำคำรควบคุ ม (Control House) จึงมีควำมจำเป็ นต้อง
คัดเลื อกอำคำรประกอบเขื่อนที่มีควำมสำคัญสู งสุ ดต่อโครงสร้ ำงเขื่อนและควำมปลอดภัยต่อควำมอยู่รอด
ของพื้นที่ชุมชนท้ำยน้ ำ
พุ ท ธรั ก ษ์ จรั ส พัน ธุ์ กุ ล (2563) ได้ท ำกำรคัดเลื อ กอำคำรประกอบเขื่ อ นที่ มี ควำมส ำคัญ โดยใช้
ระเบี ย บวิธี ที่ ช่ ว ยในกำรสร้ ำ งกำรตัด สิ น ใจกับ กำรประเมิ น หลำยส่ ว น (multi-criteria decision making,
MCDM) สำหรับช่วยในกำรตัดสิ นใจ โดยกำหนดอำคำรประกอบเขื่อนที่พิจำรณำได้แก่ อำคำรระบำยน้ ำล้น
(Spillway), ประตูระบำยน้ ำล้น (Gate), อำคำรระบำยท้ำยน้ ำ (Outlet Work), อำคำรรับน้ ำ (Intake Structure),
อำคำรควบคุม (Control House) และโรงไฟฟ้ ำ (Hydroelectric power plants) โดยประเมินกำรตัดสิ นใจจำก
กำรสัมภำษณ์ วิศวกรผูเ้ ชี่ ยวชำญด้ำนโครงสร้ ำงและบริ หำรจัดกำรก่อสร้ ำงเกี่ ยวกับเขื่อน โดยพิจำรณำจำก
หลักเกณฑ์ดงั นี้ รำคำกำรก่อสร้ ำง, ก่อสร้ ำงตำมแบบมำตรฐำน, กำรตรวจสอบบำรุ งรักษำซ่ อมแซม, องค์
อำคำรที่มีควำมจำเป็ นต่อเขื่อน, ส่ งผลกระทบต่อควำมปลอดภัยของเขื่อนและควำมเสี ยหำยต่อชุมชนท้ำยน้ ำ,
และควำมซับซ้อนในกำรวิเครำะห์ พบว่ำอำคำรประกอบเขื่อนที่มีควำมสำคัญมำกที่สุด 2 อับดับแรกได้แก่
อำคำรระบำยน้ ำล้น (Spillway) และประตูระบำยน้ ำ (Gates) ตำมลำดับ งำนวิจยั นี้ได้เลือกใช้เขื่อนกิ่วคอหมำ
อ.แจ้ห่ ม จ.ล ำปำง เป็ นเขื่ อ นตัว แทนในกำรศึ ก ษำครั้ งนี้ เนื่ อ งด้ว ยข้อ มู ล ด้ำ นแบบก่ อ สร้ ำ งที่ มี อ ยู่แ ละ
ควำมส ำคัญ ของเขื่ อ นแห่ ง นี้ ประกอบกับ รู ป แบบของอำคำรระบำยน้ ำ ล้น (Gated Spillway) มี รู ป แบบ
คล้ำยคลึงกับอำคำระบำยน้ ำล้นของเขื่อนอื่นๆ ในประเทศไทย
อย่ำงไรก็ตำม เจนคณิ ต ขัดทองคำ (2562) ได้ทำกำรศึกษำพฤติกรรมทำงพลศำสตร์ และประเมิน
ควำมปลอดภัยของโครงสร้ ำงอำคำรระบำยน้ ำล้นเขื่ อนกิ่ วคอหมำภำยใต้แรงแผ่นดิ นไหวไปแล้ว พบว่ำ
อำคำรระบำยน้ ำล้น (Spillway) ที่เขื่อนดังกล่ำวสำมำรถต้ำนทำนแรงแผ่นดิ นไหวเป้ ำหมำยได้ แต่ยงั ไม่ได้
ประเมินควำมปลอดภัย ของประตูระบำยน้ ำล้น (Gates) ดังนั้นงำนวิจยั นี้ จึงเลือกประตูระบำยน้ ำล้น (Gates)
เป็ นตัวแทนของอำคำรประกอบเขื่อนสำหรับใช้ประเมิ นควำมปลอดภัยภำยใต้แรงแผ่นดิ นไหว เนื่ องจำก
ประตูระบำยน้ ำล้น (Gates) นั้นมีควำมสำคัญเป็ นอันดับ 2 รองจำกอำคำรระบำยน้ ำล้น (Spillway)
3.3 ประตูระบายนา้ ล้ นเขื่อนกิว่ คอหมา
เขื่ อนที่ ถู ก เลื อกในกำรศึ ก ษำครั้ งนี้ คื อเขื่ อนกิ่ วคอหมำ ซึ่ ง เป็ นเขื่ อนดิ นที่ ต้ งั อยู่ใ น อำเภอแจ้ห่ ม
จังหวัดลำปำง (ละติจูด 18-48’-24” N, ลองจิจูด 99-38’-48” E) โดยเขื่อนแห่ งนี้ ใช้กกั เก็บน้ ำจำกแม่น้ ำวังซึ่ ง
เป็ นสำยหนึ่ งของแม่น้ ำเจ้ำพระยำซึ่ งอยู่ห่ำงจำกลำปำง 61 กิ โลเมตรไปทำงทิศตะวันออกเฉี ยงเหนื อ เขื่อน
36
แห่ งนี้ ต้ งั อยูห่ ่ ำงจำกต้นกำเนิ ดแผ่นดิ นไหวแม่ลำวปี พ.ศ. 2557 เป็ นระยะ 90 กิ โลเมตร กำรก่ อสร้ ำงเขื่อน
เริ่ มต้นขึ้นในปี พ.ศ. 2548 และเสร็ จสมบูรณ์ในปี พ.ศ. 2553 โดยคณะรัฐมนตรี เป็ นผูอ้ นุ มตั ิกำรก่อสร้ำงเมื่อ
วันที่ 18 พฤศจิกำยน พ.ศ. 2546 ใช้งบประมำณในกำรดำเนินโครงกำรรวม 3670 ล้ำนบำท เขื่อนนี้ไม่เพียงแต่
สร้ ำ งขึ้ นเพื่ อ ป้ อ งกัน น้ ำท่ ว มแต่ ย ัง ให้ น้ ำเพื่ อ กำรชลประทำนกำรบริ โภคของมนุ ษ ย์แ ละกำรใช้ ใ น
อุตสำหกรรมในจังหวัดลำปำง ตัวเขื่อนมีพ้ืนที่อ่ำงเก็บน้ ำ 1275 ตำรำงกิ โลเมตร มีควำมจุ 170 ล้ำนลูกบำศก์
เมตร ปริ มำณน้ ำที่มีอยู่ในอ่ำงประมำณ 139 ล้ำนลู กบำศก์เมตร เขื่ อนกิ่ วคอหมำมี อำคำรประกอบเขื่อน 3
ส่ วนได้แก่ อำคำรระบำยน้ ำล้น (Spillway), อำคำรระบำยน้ ำลงลำน้ ำเดิ ม (River Outlet) และเครื่ องกำเนิ ด
ไฟฟ้ำกำลังผลิตไฟฟ้ำรวม 5.5 เมกะวัตต์ (กำรไฟฟ้ ำฝ่ ำยผลิตแห่งประเทศไทย, 2561) ในกำรศึกษำครั้งนี้จำก
ข้อมูลที่มีอยู่และควำมสำคัญของเขื่อนแห่ งนี้ ได้คดั เลือกประตูระบำยน้ ำล้น (Gates) สำหรับทำกำรประเมิน
ควำมปลอดภัยภำยใต้แรงแผ่นดินไหว
อำคำรระบำยน้ ำล้นตั้งอยู่ทำงด้ำนซ้ำยของเขื่อนหลัก (มองจำกด้ำนท้ำยน้ ำ) ดังแสดงในรู ปที่ 3-2
อำคำรดังกล่ำวเป็ นโครงสร้ำงคอนกรี ตเสริ มเหล็ก ควำมยำวโดยรวมของอำคำรระบำยน้ ำล้นคือ 800 เมตร
และควำมกว้ำ งของช่ องระบำยน้ ำ คื อ 42.54 เมตร ควำมจุ สู ง สุ ดของกำรกักเก็ บ น้ ำ คื อ 352.90 เมตร จำก
ระดับน้ ำทะเลปำนกลำง (MSL) อำคำรสำมำรถระบำยน้ ำได้สูงสุ ด 1,209 ลูกบำศก์เมตรต่อวินำที เพื่อรองรับ
อัตรำกำรระบำยน้ ำรอบกำรเกิ ดซ้ ำ 1,000 ปี (กำรไฟฟ้ ำฝ่ ำยผลิ ตแห่ งประเทศไทย, 2561) อำคำรดังกล่ ำว
ติดตั้งประตูระบำยน้ ำล้นเป็ นแบบบำนโค้ง (Spillway radial gate) ตั้งอยูบ่ นสันฝำย มีขนำดของแผ่นเหล็กกั้น
น้ ำคือ 12.5 x 7.00 เมตร และรัศมีของแขนนับจำกจุดรองรับแขนประตูถึงแผ่นเหล็กกั้นน้ ำคือ 10 เมตร ติดตั้ง
จำนวน 3 บำน ดังแสดงในรู ปที่ 3-3

รู ปที่ 3-2 เขื่อนกิ่วคอหมำและอำคำรระบำยน้ ำ

(ที่มำ: https://www.google.com/maps/place/Kiew Kho Ma dam)


37
รู ปที่ 3-3 อำคำรระบำยน้ ำล้นเขื่อนกิ่วคอหมำ

รู ปที่ 3-4 ประตูระบำยน้ ำล้นแบบบำนโค้ง (Spillway radial gate)


38
3.4 แบบจาลองไฟไนต์ เอลิเมนต์ ของประตูระบายนา้ ล้ น
กำรวิ เ ครำะห์ ด้ ว ยระเบี ย บวิ ธี ไ ฟไนต์ เ อลิ เ มนต์ ถู ก ใช้ ผ่ ำ นโปรแกรม SAP2000 (CSI Analysis
Reference Manual, 2007) โดยเป็ นแบบจำลอง 3 มิติของประตูระบำยน้ ำล้นที่ใช้องค์ประกอบของบำนประตู
กั้นน้ ำซึ่ งเป็ นแผ่นเหล็กโค้งเป็ น Shell Element เนื่ องจำกบำนประตู มีลกั ษณะเป็ นพื้นผิว มีควำมหนำคงที่
ตลอดแผ่น สำหรับองค์ประกอบของแขนประตูและองค์อำคำรโครงถักที่เชื่ อมกับบำนประตูซ่ ึ งเป็ นเหล็ก
รู ป พรรณใช้เป็ น Beam Element เนื่ องจำกเหล็ก รู ปพรรณมี ล ัก ษณะเป็ นเส้ นตรง มี ควำมยำวชัดเจนและ
คุณสมบัติของหน้ำตัดคงที่ตลอดควำมยำว โดยพิจำรณำถึ งกำรยึดเกำะกันอย่ำงสมบูรณ์แบบระหว่ำง Shell
Element กับ Beam Element ในส่ วนของบริ เวณที่สัมผัสกับตัวประตูระบำยน้ ำล้นซึ่ งก็คืออำคำรระบำยน้ ำล้น
(Spillway) ซึ่ งเป็ นอำคำรคอนกรี ตเสริ มเหล็กใช้องค์ประกอบเป็ น Solid Element เนื่ องจำกตัวอำคำรระบำย
น้ ำล้นมีลกั ษณะเป็ นรู ปทรงที่มีควำมกว้ำง, ยำว และสู ง ชัดเจน สำหรับคุณสมบัติของวัสดุ ท้ งั ในส่ วนที่เป็ น
เหล็ ก และคอนกรี ต ใช้แ บบจ ำลองที่ ส ำมำรถวิ เ ครำะห์ พ ฤติ ก รรมของวัส ดุ ไ ด้ท้ ัง แบบเชิ ง เส้ น (Elastic
behavior) และแบบไม่เชิ งเส้น (Plastic behavior) โดยแบบจำลอง 3 มิติของอำคำรระบำยน้ ำล้นและประตู
ระบำยน้ ำล้นแสดงในรู ปที่ 3-5

รู ปที่ 3-5 แบบจำลอง 3 มิติของอำคำรระบำยน้ ำล้นและประตูระบำยน้ ำล้น

อย่ำ งไรก็ ต ำมด้ว ยควำมพร้ อ มทำงด้ำ นอุ ป กรณ์ เ กี่ ย วกับ ประสิ ท ธิ ภ ำพในกำรประมวลผลของ
คอมพิวเตอร์ และควำมสะดวกในด้ำนกำรวิเครำะห์แบบจำลองที่มุ่งเน้นไปที่กำรประเมินควำมปลอดภัยของ
ประตูระบำยน้ ำล้นจึงได้ทำกำรเลือกประตูระบำยน้ ำล้น 1 บำนจำกทั้งหมด 3 บำน ที่มีกำรเคลื่อนที่ที่บริ เวณ
ผนังที่ สัมผัสกับตัวประตู ระบำยน้ ำล้นมำกที่สุดเมื่อรับแรงแผ่นดิ นไหว โดยนำข้อมูลมำจำกบทควำมวิจยั
เรื่ องกำรวิเครำะห์เชิงพลศำสตร์ ของอำคำรระบำยน้ ำล้นเขื่อนกิ่วคอหมำ (เจนคณิ ต, 2562) พบว่ำผนังที่ประตู
ระบำยน้ ำล้นบำนที่ติดตั้งด้ำนข้ำงของอำคำรระบำยน้ ำล้นมีกำรเคลื่อนที่มำกกว่ำประตูระบำยน้ ำล้นบำนที่
ติดตั้งที่กลำงอำคำรระบำยน้ ำล้นในทุกคลื่นแผ่นดินไหวที่ได้ทำกำรวิเครำะห์ ดังแสดงในรู ปที่ 3-6
39
รู ปที่ 3-6 บริ เวณที่เกิดกำรเคลื่อนที่ส่งผลกระทบต่อประตูระบำยน้ ำล้น

ดังนั้นด้วยเหตุผลดังกล่ำวแบบจำลองไฟไนต์เอลิเมนต์ของประตูระบำยน้ ำล้นจึงประกอบด้วยประตู
เพียง 1 บำน และส่ วนด้ำนซ้ำยของอำคำรระบำยน้ ำล้น (มองจำกด้ำนท้ำยน้ ำ) โดยแบบจำลองในส่ วนของตัว
ประตูประกอบด้วยองค์ประกอบของ Shell Element และ Beam Element จำนวน 5940 และ 1195 ชิ้ นส่ วน
ตำมล ำดับ มี จุดต่ อ (Node) ทั้ง หมด 5008 จุ ดต่ อ ในส่ วนของตัวอำคำรระบำยน้ ำล้นที่ สั ม ผัสกับ ประตู ที่
พิจำรณำประกอบด้วยองค์ประกอบของ Solid Element จำนวน 4722 ชิ้ นส่ วน และจุดต่อ (Node) ทั้งหมด
3644 จุดต่อ โดยเหตุผลที่ยงั คงต้องมีตวั อำคำรระบำยน้ ำล้นอยูเ่ นื่องจำกต้องกำรพิจำรณำผลของกำรเคลื่อนที่
ของผนังที่สัมผัสกับตัวประตูระบำยน้ ำล้นด้วย ทั้งนี้แบบจำลองไฟไนต์เอลิเมนต์ของประตูระบำยน้ ำล้นที่ใช้
ในกำรวิเครำะห์สำหรับงำนวิจยั นี้แสดงในรู ปที่ 3-7

รู ปที่ 3-7 แบบจำลองไฟไนต์เอลิเมนต์ของประตูระบำยน้ ำล้น


40
สำหรับรำยละเอียดของเหล็กโครงสร้ ำงของประตูระบำยน้ ำล้นนำข้อมูลมำจำกแบบก่อสร้ ำงจริ งมี
ส่ วนประกอบขององค์อำคำรเป็ นเหล็กรู ปพรรณ โดยส่ วนของแขนประตูใช้วสั ดุ เป็ นเหล็กรู ปพรรณแบบ
H250x250x14 มิลลิเมตร, เหล็กโค้งประตู ใช้วสั ดุเป็ นแผ่นเหล็กแบบ PL160x22 มิลลิเมตร, Bracingใช้วสั ดุ
เป็ นเหล็กรู ปพรรณแบบ L80x80x6 มิลลิเมตร, เหล็กครี บบำนประตูขอบนอกใช้วสั ดุเป็ นเหล็กรู ปพรรณแบบ
L470x90x8 มิลลิเมตร, เหล็กครี บบำนประตูใช้วสั ดุเป็ นเหล็กรู ปพรรณแบบ C200x90x9 มิลลิเมตร และ บำน
ประตูกบั แผ่นเหล็กโครงประตูใช้วสั ดุเป็ นแผ่นเหล็กขนำด 12.5x7.0 เมตร ดังแสดงในรู ปที่ 3-8 และตำรำงที่
3-1

รู ปที่ 3-8 ส่วนประกอบของประตูระบำยน้ ำล้น

ตำรำงที่ 3-1 ส่ วนประกอบของประตูระบำยน้ ำล้น


ส่ วนประกอบ วัสดุ
แขนประตู H250x250x14 mm
เหล็กโครงประตู PL160x22 mm
Bracing L80x80x6 mm
เหล็กครี บบำนประตูขอบนอก L470x90x8 mm
เหล็กครี บบำนประตู C200x90x9 mm
บำนประตูและแผ่นเหล็กโครงประตู Thick Steel Plate 22mm
41
3.4.1 กาหนดแบบจาลองคุณสมบัติของวัสดุ
ในกำรศึกษำครั้งนี้แบบจำลองวัสดุที่ใช้น้ นั สำมำรถวิเครำะห์พฤติกรรมของวัสดุได้ท้ งั ในช่วงที่วสั ดุ
มีพฤติกรรมแบบเชิ งเส้น (Elastic behavior) และแบบไม่เชิ งเส้น (Plastic behavior) โดยประตูระบำยน้ ำล้น
เป็ นโครงสร้ ำงเหล็ก ที่ มี ส่ วนประกอบของบำนประตู เป็ นแผ่นเหล็ กหนำ 22 มิ ลลิ เมตร มี คุณสมบัติตำม
มำตรฐำน JIS G 3101 ชั้นคุ ณภำพ SS400 องค์อำคำรของตัวประตู ทำจำกเหล็กรู ปพรรณมีคุณสมบัติตำม
มำตรฐำน มอก.1227-2539 ชั้นคุณภำพ SS400 และในส่ วนของบริ เวณที่สัมผัสกับประตูระบำยน้ ำล้น (ผนัง
กำแพงทั้ง 2 ด้ำน และฐำน) ใช้วสั ดุเป็ นคอนกรี ตที่มีกำลังอัดประลัย 326 ksc คุณสมบัติของวัสดุที่นำมำใช้ใน
กำรวิเครำะห์ครั้งนี้ นำข้อมูลมำจำกแบบก่อสร้ ำงจริ งและทำกำรกำหนดค่ำพำรำมิเตอร์ ตำมคู่มือกำรใช้งำน
โปรแกรม SAP2000 (CSI Analysis Reference Manual, 2007) ดัง แสดงในตำรำงที่ 3-2 โดยคุ ณ สมบัติ ที่
พิจำรณำได้แก่ โมดูลสั ควำมยืดหยุน่ (E) อัตรำส่ วนปั วซอง (υ) และควำมหนำแน่น (ρ) ในส่ วนของเหล็กมี
กำรกำหนดกำลังรับแรงดึงครำก (fy) และกำลังรับแรงดึงประลัย (fu) ในส่ วนของคอนกรี ตมีกำรกำหนดกำลัง
อัดประลัย (fc’)
ตำรำงที่ 3-2 คุณสมบัติวสั ดุ
โมดูลสั อัตรำส่ วน ควำม กำลังอัด กำลังดึง กำลังดึง
วัสดุ ยืดหยุน่ ปัวซอง หนำแน่น ประลัย ครำก ประลัย
(E, GPa) (υ) (ρ, kg/m3) (fc’, ksc) (fy , ksc) (fu ,ksc)
แผ่นเหล็ก 200 0.3 7850 - 2350 4000
เหล็ก
200 0.3 7850 - 2450 4000
รู ปพรรณ
คอนกรี ต 26.7 0.19 2400 326 - 32.6

ในส่ วนรำยละเอี ย ดของกำรก ำหนดค่ ำ พำรำมิ เตอร์ ข องแบบจำลองวัส ดุ (Andrew Shaffu, 2011)
โดยได้ใช้แบบจำลองวัสดุ 3 รู ปแบบได้แก่ แผ่นเหล็ก เหล็กรู ปพรรณ และคอนกรี ต สำหรับวัสดุ เหล็กทั้ง
แผ่นเหล็กและเหล็กรู ปพรรณใช้แบบจำลองวัสดุแบบ Multilinear Kinematic Model และวัสดุ คอนกรี ตใช้
แบบจำลองวัสดุแบบ Mander Unconfined Concrete Model
Multilinear Kinematic Model มี พ ฤติ ก รรมตำมแบบ Kinematic hardening ที่ พ บได้ท วั่ ไปในวัส ดุ
ประเภทโลหะ โดยแบบจำลองนี้ จะวิเครำะห์ ควำมสัมพันธ์ แบบไม่เชิ ง เส้ นของแรงกับกำรเปลี่ ย นแปลง
รู ปร่ ำงจำกพลังงำนที่ดูดซับภำยใต้แรงกระทำ (Monotonic loading) โดยอธิ บำยดังที่แสดงในรู ปที่ 3-9 ควำม
ชันแรกจำกด้ำนใดด้ำนหนึ่ งของจุ ดเริ่ มต้นเป็ นแบบยืดหยุ่น (Elastic) และส่ วนที่เหลื อของเส้ นโค้งจะเป็ น
42
รู ปแบบกำรเสี ยรู ป แบบพลำสติก (Plastic deformation) เมื่ อเกิ ดกำรย้อนกลับของกำรเปลี่ ยนแปลงรู ปร่ ำง
เส้นทำงของ Hysteresis จะเป็ นไปตำมเส้นโค้งยืดหยุน่ ทั้ง 2 เส้นจำกด้ำนใดด้ำนหนึ่ งของแหล่งกำเนิ ด ก่อนที่
จะเริ่ มกำรเปลี่ยนแปลงรู ปร่ ำงแบบพลำสติกในทิศทำงย้อนกลับ

รู ปที่ 3-9 คุณสมบัติกำรเสี ยรู ปของ Multilinear Kinematic Model

ในโปรแกรม SAP2000 (Andrew Shaffu, 20011)

กำรกำหนดค่ำพำรำมิเตอร์ ของคุ ณสมบัติวสั ดุ ในแบบจำลองแผ่นเหล็กและเหล็ กรู ปพรรณในโปรแกรม


SAP2000 เป็ นดังต่อไปนี้ สำหรับแบบจำลองแผ่นเหล็กได้กำหนดค่ำโมดูลสั ควำมยืดหยุ่น (E) เท่ำกับ 200
GPa อัตรำส่ วนปั วซอง (υ) เท่ำกับ 0.19 ควำมหนำแน่ น (ρ) เท่ำกับ 2400 kg/m3 กำลังรับแรงดึ งครำก (fy)
เท่ ำ กับ 2350 ksc ก ำลัง รั บ แรงดึ ง ประลัย (fu) เท่ ำ กับ 4000 ksc และได้ก ำหนดค่ ำ ก ำลัง รั บ แรงดึ ง ครำก
ประสิ ทธิ ผลและกำลังรับแรงดึงประลัยประสิ ทธิ ผล เท่ำกับ 2585 และ 4400 ksc ซึ่ งมีค่ำเป็ น 1.1 เท่ำของค่ำ
กำลังรับแรงดึงครำกและกำลังรับแรงดึงประลัย ตำมลำดับ โดยควำมสัมพันธ์ของควำมเค้นและควำมเครี ยด
(stresss-strain curves) ของแบบจำลองแผ่นเหล็กดังแสดงในรู ปที่ 3-10 โดยทิศทำงบวกเป็ นกำรรับแรงดึ ง
และทิศทำงลบเป็ นกำรรับแรงอัด

รู ปที่ 3-10 ควำมสัมพันธ์ของควำมเค้นและควำมเครี ยดของแบบจำลองแผ่นเหล็ก

43
สำหรับแบบจำลองเหล็กรู ปพรรณได้กำหนดค่ำโมดูลสั ควำมยืดหยุน่ (E) เท่ำกับ 200 GPa อัตรำส่ วนปั วซอง
(υ) เท่ำกับ 0.3 ควำมหนำแน่ น (ρ) เท่ำกับ 7850 kg/m3 กำลังรับแรงดึงครำก (fy) เท่ำกับ 2450 ksc กำลังรับ
แรงดึงประลัย (fu) เท่ำกับ 4000 ksc และได้กำหนดค่ำกำลังรับแรงดึงครำกประสิ ทธิ ผลและกำลังรับแรงดึ ง
ประลัยประสิ ทธิ ผล เท่ำกับ 2695 และ 4400 ksc ซึ่ งมีค่ำเป็ น 1.1 เท่ำของค่ำกำลังรับแรงดึงครำกและกำลังรับ
แรงดึ ง ประลัย ตำมล ำดับ โดยควำมสั ม พัน ธ์ ข องควำมเค้นและควำมเครี ย ด (stresss-strain curves) ของ
แบบจำลองเหล็กรู ปพรรณดังแสดงในรู ปที่ 3-11 โดยทิศทำงบวกเป็ นกำรรับแรงดึงและทิศทำงลบเป็ นกำร
รับแรงอัด

รู ปที่ 3-11 ควำมสัมพันธ์ของควำมเค้นและควำมเครี ยดของแบบจำลองเหล็กรู ปพรรณ

Mander Unconfined Concrete Model เป็ นแบบจำลองวัสดุที่อธิบำยควำมสัมพันธ์ของควำมเค้นและ


ควำมเครี ยด (stresss-strain curves) ของคอนกรี ตที่ไม่ถูกโอบรัด (unconfined concrete) ดังแสดงในรู ปที่ 3-
12 ซึ่งอธิบำยพฤติกรรมของคอนกรี ตทั้งในช่วงที่มีพฤติกรรมแบบเชิงเส้นและไม่เชิงเส้นเมื่อได้รับแรงอัด

รู ปที่ 3-12 ควำมสัมพันธ์ของควำมเค้นและควำมเครี ยดของ Mander Unconfined Concrete Model

ในโปรแกรม SAP2000 (Andrew Shaffu, 2011)


44
ควำมสัมพันธ์ ข องควำมเค้นและควำมเครี ยดของคอนกรี ตที่ ไม่ถู กโอบรั ด เมื่ อ 𝜀𝑐 ≤ 2𝜀′𝑐 ดังแสดงใน
สมกำรที่ (3.1)
𝑓′𝑐 𝑥𝑟
𝑓=
𝑟−1+𝑥 𝑟
(3.1)

เมื่อ 𝑓 คือ ควำมเค้นของคอนกรี ต 𝜀𝑐 คือ ควำมเครี ยดของคอนกรี ต 𝑓′𝑐 คือ ควำมเค้นอัดประลัย


ของคอนกรี ต และ 𝜀′𝑐 คือ ควำมเครี ยดอัดของคอนกรี ตที่ ควำมเค้นอัดประลัย สำหรับควำมสัมพันธ์ของ
ควำมเค้นและควำมเครี ยดของคอนกรี ตที่ไม่ถูกโอบรัด เมื่อ 2𝜀′𝑐 < 𝜀𝑐 ≤ 𝜀𝑢 ดังแสดงในสมกำรที่ (3.2)
2𝑓′ 𝑐 𝑟 𝜀𝑢 −𝜀𝑐
𝑓=(
𝑟−1+2𝑟
)(
𝜀𝑢 −2𝜀 ′ 𝑐
) (3.2)

เมื่อ 𝜀𝑢 คือ ควำมเครี ยดอัดประลัยของคอนกรี ต และตัวแปร 𝑥 และ 𝑟 เป็ นไปตำมสมกำรที่ (3.3)


และ (3.4) ตำมลำดับ
𝜀𝑐
𝑥=
𝜀′𝑐
(3.3)
𝐸𝑐
𝑟= 𝑓 ′ (3.4)
𝐸𝑐 − ′ 𝑐
𝜀 𝑐

เมื่ อ 𝐸𝑐 คื อ โมดู ล ัส ยื ด หยุ่ น ของคอนกรี ต กำรก ำหนดค่ ำ พำรำมิ เ ตอร์ ข องคุ ณ สมบัติ ว สั ดุ ใ น
แบบจำลองคอนกรี ตในโปรแกรม SAP2000 เป็ นดังต่อไปนี้ สำหรั บ แบบจำลองแผ่นเหล็กได้กำหนดค่ ำ
โมดู ลสั ควำมยืดหยุ่น (E) เท่ำกับ 26.7 GPa อัตรำส่ วนปั วซอง (υ) เท่ำกับ 0.3 ควำมหนำแน่ น (ρ) เท่ำกับ
7850 kg/m3 กำลังอัดประลัย (fc’) เท่ำกับ 326 ksc โดยควำมสัมพันธ์ของควำมเค้นและควำมเครี ยด (stresss-
strain curves) ของแบบจำลองแผ่นเหล็กดังแสดงในรู ปที่ 3-13 โดยทิศทำงบวกเป็ นกำรรับแรงดึงและทิศทำง
ลบเป็ นกำรรับแรงอัด

รู ปที่ 3-13 ควำมสัมพันธ์ของควำมเค้นและควำมเครี ยดของแบบจำลองคอนกรี ต

45
3.4.2 กาหนดเงื่อนไขการเคลื่อนทีข่ องแบบจาลอง (Boundary Condition)
สำหรับกำรกำหนดเงื่อนไขกำรเคลื่อนที่ของแบบจำลองไฟไนต์เอลิเมนต์ของประตูระบำยน้ ำล้นให้
มีเงื่ อนไขกำรเคลื่ อนที่ใกล้เคียงกับควำมเป็ นจริ งมำกที่สุด โดยมีกำรกำหนดจุดรองรับที่ฐำนของตัวอำคำร
ระบำยน้ ำล้น (Solid Element) เป็ นแบบยึดแน่ น (Fixed support) ซึ่ งมีคุณสมบัติคือมีกำรยึดรั้งไม่ให้เกิ ดกำร
เคลื่อนที่และหมุนได้ในทุกทิศทำง จำกนั้นได้กำหนดจุดรองรับแบบยึดโยง (Link support) สำหรับบริ เวณที่
ตัวประตู ระบำยน้ ำ ล้นสั ม ผัส กับ ตัวอำคำรระบำยน้ ำ ล้น ในส่ วนของจุ ดรองรั บ แขนประตู ท้ งั 2 ข้ำง ใช้
องค์ประกอบของแบบจำลองแบบ Link Element แบบเชิ งเส้น (Linear) ซึ่ งเป็ นกำรส่ งถ่ำยแรงโดยตรง โดย
กำหนดให้มีกำรยึดติดกันในทุกทิศทำงระหว่ำงแขนประตูกบั ผนังอำคำรระบำยน้ ำล้นในแต่ละฝั่ ง และใช้
องค์ประกอบของแบบจำลองแบบ Link Element ชนิด T/C Friction Isolator ที่บริ เวณด้ำนข้ำงของบำนประตู
ที่สัมผัสกับผนังอำคำรระบำยน้ ำทั้ง 2 ด้ำน และด้ำนล่ำงของบำนประตูที่ต้ งั อยูบ่ นสันฝำย ซึ่งมีคุณสมบัติแบบ
ไม่เชิ งเส้น (Nonlinear) และกำหนดให้มีกำรยอมรับกำรถ่ำยแรงเฉพำะแรงอัด (Compression) เท่ำนั้นไม่ยอม
ให้มีกำรถ่ำยแรงดึ ง (Tension) ในส่ วนของเงื่อนไขกำรเคลื่อนที่ ได้กำหนดให้มีกำรยึดติดกันในทุกทิศทำง
ระหว่ำงตัวประตูระบำยน้ ำล้นกับผนังอำคำรและยอมให้เกิ ดกำรถ่ ำยแรงเมื่ อมีกำรเคลื่อนที่ตำมแนวแกน
เกิ ดขึ้นเป็ นระยะ 10 มิลลิเมตร โดยมำจำกช่องว่ำงระหว่ำงผนังอำคำรระบำยน้ ำล้นกับบำนประตูระบำยน้ ำ
ล้นที่เหลืออยูโ่ ดยประมำณจำกกำรหักลบควำมหนำของแผ่นยำงกั้นน้ ำแล้วซึ่ งจะทำให้ไม่เกิดกำรส่ งถ่ำยแรง
โดยตรงระหว่ำงกันซึ่ งจะใกล้เคียงกับพฤติกรรมที่เกิดขึ้นจริ ง และค่ำควำมแข็งของกำรรับแรงอัด (Stiffness
for Compression) เท่ำกับ 2 ล้ำนจิกะปำสคำลซึ่ งมำจำกกำรตั้งสมมติฐำนที่วำ่ ผนังอำคำรระบำยน้ ำล้นมีควำม
แข็งเป็ นอย่ำงมำกสำมำรถส่ งถ่ำยแรงได้อย่ำงสมบูรณ์ โดยเงื่อนไขกำรเคลื่ อนที่ท้ งั หมดของแบบจำลองไฟ
ไนต์เอลิเมนต์ของประตูระบำยน้ ำล้นแสดงในรู ปที่ 3-14

รู ปที่ 3-14 เงื่อนไขกำรเคลื่อนที่ของแบบจำลองไฟไนต์เอลิเมนต์ของประตูระบำยน้ ำล้น

46
3.5 การวิเคราะห์ ความถี่ธรรมชาติและลักษณะการสั่ นไหว
ควำมถี่ ธ รรมชำติ (Natural frequency) เป็ นหนึ่ งในคุ ณสมบัติพ้ืนฐำนส ำคัญสำหรั บกำรวิเครำะห์
พฤติกรรมทำงพลศำสตร์ ของอำคำรทัว่ ไป โดยค่ำควำมถี่ ธรรมชำติของอำคำรจะสำมำรถบอกได้ว่ำอำคำร
เหล่ ำนั้นจะถู กทำให้ส่ั นไหวในลัก ษณะนั้นๆ ที่ค วำมถี่ เท่ ำใด ซึ่ งลัก ษณะกำรสั่นไหว (Mode Shape) ที่ มี
ค่ำควำมถี่ธรรมชำตินอ้ ยที่สุดจะเป็ นลักษณะกำรสั่นไหวที่อ่อนไหวมำกที่สุดของอำคำรนั้นและยังมีโอกำสที่
จะเกิดขึ้นก่อนสู งที่สุด สำหรับงำนวิจยั นี้ จะคำนวณหำควำมถี่ธรรมชำติและลักษณะกำรสั่นไหวของประตู
ระบำยน้ ำล้นโดยกำรสร้ำงแบบจำลองไฟไนต์เอลิเมนต์ดว้ ยโปรแกรม SAP2000
เนื่องจำกควำมไม่พร้อมทำงด้ำนเครื่ องมือที่ใช้สำหรับตรวจวัดควำมถี่ธรรมชำติของประตูระบำยน้ ำ
ล้นจริ งซึ่ งเป็ นโครงสร้ำงที่มีลกั ษณะทำงเลขำคณิ ตที่ มีควำมซับซ้อน ดังนั้นงำนวิจยั นี้ จึงไม่สำมำรถตรวจวัด
ควำมถี่ธรรมชำติของประตูระบำยน้ ำล้นได้ โดยจะทำกำรตรวจสอบควำมถูกต้องของแบบจำลองไฟไนต์เอลิ
เมนต์ดว้ ยกำรเปรี ยบเทียบควำมถี่ธรรมชำติของประตูระบำยน้ ำล้นกับงำนวิจยั อื่นที่มีลกั ษณะประตูคล้ำยคลึง
กัน หำกมีค่ำควำมถี่ ธรรมชำติที่ต่ำงกันไม่มำก จะทำให้สำมำรถอนุ มำนได้วำ่ แบบจำลองไฟไนต์เอลิเมนต์
ของประตูระบำยน้ ำล้นสำมำรถเป็ นตัวแทนในกำรวิเครำะห์พฤติกรรมทำงพลศำสตร์ ของประตูระบำยน้ ำล้น
ของจริ ง ได้ ซึ่ ง งำนวิจยั นี้ ไ ด้เลื อกใช้ค่ ำ ควำมถี่ ธ รรมชำติ ข องประตู ระบำยน้ ำ ล้นที่ เขื่ อน Kilmorack จำก
งำนวิจยั ของ Wendy และ Colin (2000) ซึ่งได้นำเสนอไว้ในบทที่ 2 โดยประตูระบำยน้ ำล้นที่เขื่อน Kilmorack
มีลกั ษณะโครงสร้ำงเป็ นแบบบำนโค้ง (Radial gate) คล้ำยคลึงกับประตูระบำยน้ ำล้นที่เขื่อนกิ่วคอหมำ
3.6 คลื่นแผ่นดินไหว
คลื่นแผ่นดินไหวที่นำมำวิเครำะห์พิจำรณำจำกแผ่นดินไหวที่มีคุณสมบัติใกล้เคียงกับแผ่นดินไหวที่
คำดว่ำจะมีโอกำสเกิ ดขึ้นได้จริ งในบริ เวณที่ต้ งั อำคำรระบำยน้ ำล้นเขื่อนกิ่ วคอมหมำ โดยกำรคัดเลือกคลื่น
แผ่นดินไหวจำกข้อมูลในฐำนระบบของ PEER Ground Motion Database - Pacific Earthquake Engineering
Research Center (https://ngawest2.berkeley.edu/) ซึ่ งเป็ นเว็บไซต์ที่เก็บรวบรวมข้อมูลคลื่ นแผ่นดิ นไหวใน
อดีตจำกทัว่ โลกสำหรับกำรคัดเลือกคลื่นแผ่นดินไหวที่มีลกั ษณะของรอยเลื่อน ระยะทำง ขนำดแผ่นดินไหว
และลักษณะอื่นๆ ที่คล้ำยคลึงกัน โดยค่ำสเปกตรัมตอบสนองของพื้นที่เป้ ำหมำย (อ.แจ้ห่ม จ.ลำปำง) ตำม
มำตรฐำนกรมโยธำธิ กำรและผังเมือง (มยผ.1301/1302-61) ด้วยวิธีแบบพลศำสตร์ โดยใช้วิธี Time History
Scaling สำหรับกำรคัดเลื อกคลื่ นแผ่นดิ นไหวซึ่ งเป็ นกำรคัดเลือกคลื่ นแผ่นดิ นไหว 7 คลื่นที่มีค่ำสเปกตรัม
ตอบสนองเฉลี่ ย ทั้ง 3 ทิ ศ ทำง (2 แนวรำบ และ 1 แนวดิ่ ง ) ใกล้เคี ย งกับ ค่ ำ สเปกตรั ม ตอบสนองที่ พ้ื น ที่
วิเครำะห์ที่ระดับคลื่นแผ่นดิ นไหวรุ นแรงสู งสุ ดที่พิจำรณำ (Maximum Considered Earthquake, MCE) และ
ระดับคลื่นแผ่นดินไหวสำหรับกำรออกแบบ (Design Basis Earthquake, DBE)

47
รอยเลื่อนมีพลัง (Active fault) ที่อยู่ใกล้เขื่อนกิ่ วคอหมำ (อ.แจ้ห่ม จ.ลำปำง) ตำมข้อมูลจำกแผนที่
จังหวัดลำปำง กรมทรัพยำกรธรณี ประเทศไทย (2553) คือรอยเลื่อนพะเยำ (Phayao fault) ซึ่งรอยเลื่อนพะเยำ
อยูห่ ่ำงจำกเขื่อนกิ่วคอหมำเป็ นระยะใกล้ กลำง และไกล ตำมลำดับ คือ 35.76 50.41 และ 71.37 กิโลเมตร มี
ควำมยำวของรอยเลื่อนประมำณ 28 กิ โลเมตร มีลกั ษณะรอยเลื่อนแบบปกติ (Normal fault) มีค่ำมุมเท (dip
angle) เท่ำกับ 60 องศำ วำงตัวในแนวเหนือ-ใต้ นอกจำกนี้ รอยเลื่อนพะเยำ (Phayao fault) ยังเคยปลดปล่อย
พลัง งำนเป็ นสำเหตุ ใ ห้ เ กิ ด เหตุ ก ำรณ์ แ ผ่ น ดิ น ไหวในอ ำเภอแม่ ล ำว จัง หวัด เชี ย งรำย (2014 Mae Lao
Earthquake) เมื่อวันที่ 5 พฤษภำคม พ.ศ. 2557 ซึ่ งเป็ นแผ่นดินไหวที่มีควำมรุ นแรงสู งสุ ดที่เคยมีกำรบันทึกไว้
ที่ขนำด 6.3 ริ กเตอร์ โดยมีจุดเหนื อศูนย์เกิดแผ่นดินไหว (Epicenter) อยูท่ ี่บริ เวณตำบลทรำยขำว อำเภอพำน
จังหวัดเชียงรำย แผ่นดินไหวครั้งนี้ สร้ำงควำมเสี ยหำยด้ำนอำคำรสถำนที่มำกมำยเช่นโบรำณสถำน สถำนที่
รำชกำร เส้นทำงคมนำคมและบ้ำนเรื อนของประชำชน ซึ่งเหตุกำรณ์แผ่นดินไหวที่แม่ลำวครั้งนั้นอยูห่ ่ำงจำก
ที่ต้ งั เขื่อนกิ่วคอหมำ (อ.แจ้ห่ม จ.ลำปำง) เป็ นระยะ 90 กิโลเมตร โดย รู ปที่ 3-15 จะแสดงให้เห็นที่ต้ งั ของรอย
เลื่ อนพะเยำ (Phayao fault) และรอยเลื่ อนอื่ นๆ ในเขตภำคเหนื อร่ วมถึ งที่ ต้ งั เขื่ อนกิ่ วคอหมำ (อ.แจ้ห่ม จ.
ลำปำง) และตำแหน่ งเกิ ดเหตุกำรณ์แผ่นดินไหวที่แม่ลำว โดยปั จจัยและคุ ณสมบัติที่ได้กล่ำวมำได้นำมำใช้
ประกอบกำรพิจำรณำกำรคัดเลือกคลื่นแผ่นดินไหว (กรมทรัพยำกรธรณี , 2563)

รู ปที่ 3-15 ที่ต้ งั เขื่อนกิ่วคอหมำกับเหตุกำรณ์แผ่นดินไหวที่แม่ลำว (พุทธรักษ์, 2563)


48
ค่ ำ พำรำมิ เ ตอร์ ที่ ค ำนวณจำกมำตรฐำนกรมโยธำธิ ก ำรและผัง เมื อ ง (มยผ.1301/1302-61) มี ค่ ำ
ดังต่อไปนี้ ค่ำควำมเร่ งเชิ งสเปกตรัมที่คำบสั้น (อ.แจ้ห่ม จ.ลำปำง) (Ss) = 0.811 g ค่ำควำมเร่ งเชิงสเปกตรัมที่
คำบ 1 วิ น ำที (อ.แจ้ห่ ม จ.ล ำปำง) (S1) = 0.160 g โครงสร้ ำ งตั้ง อยู่บ นชั้น ดิ น ประเภท D (ดิ น ปกติ ) ค่ ำ
สัมประสิ ทธิ์ สำหรับชั้นดิ น ณ ที่ต้ งั อำคำรสำหรับคำบกำรสั่น 0.2 วินำที (Fa) = 1.176 และ ค่ำสัมประสิ ทธิ์
สำหรั บชั้นดิ น ณ ที่ ต้ งั อำคำรสำหรั บคำบกำรสั่น 1.0 วินำที (FV) = 2.160 จำกข้อมูลข้ำงต้นสำมำรถนำไป
สร้ำงสเปกตรัมตอบสนองเป้ำหมำย (อ.แจ้ห่ม จ.ลำปำง)
3.6.1 คลื่นแผ่ นดินไหวรุ นแรงสู งสุ ดทีพ่ จิ ารณา (Maximum Considered Earthquake, MCE)
ควำมเร่ ง ตอบสนองเชิ งสเปกตรั ม ระดับ คลื่ นแผ่นดิ นไหวรุ นแรงสู ง สุ ดที่ พิ จำรณำถู ก ปรั บ แก้ค่ ำ
ควำมเร่ งตอบสนองเชิงสเปกตรัม (SMS , SM1 ) ตำมลักษณะของชั้นดิน โดยนำสัมประสิ ทธิ์ สำหรับชั้นดินของ
อำคำร (Fa , Fv ) มำใช้ตำมมำตรฐำนกรมโยธำธิ กำรและผังเมือง (มยผ.1301/1302-61) พบว่ำได้ค่ำควำมเร่ ง
ตอบสนองเชิ ง สเปกตรั ม ที่ ค ำบกำรสั่ น 0.2 วินำที (SMS ) เท่ ำ กับ 0.954 g และค่ ำ ควำมเร่ ง ตอบสนองเชิ ง
สเปกตรั มที่คำบกำรสั่น 1.0 วินำที (SM1 ) เท่ำกับ 0.346 g จำกนั้นนำข้อมู ลดังกล่ำวมำสร้ ำงกรำฟแสดงผล
ระหว่ำงค่ำควำมเร่ งตอบสนองเชิงสเปกตรัมระดับคลื่นแผ่นดินไหวรุ นแรงสู งสุ ดที่พิจำรณำ (MCE) กับคำบ
กำรสั่นธรรมชำติของอำคำร (Tn) ด้วยวิธีเชิงพลศำสตร์ (อ.แจ้ห่ม จ.ลำปำง) ดังแสดงในรู ปที่ 3-16

รู ปที่ 3-16 ผลตอบสนองเชิงสเปกตรัมสำหรับแผ่นดินไหวระดับ MCE (อ.แจ้ห่ม จ.ลำปำง)

49
3.6.2 คลื่นแผ่นดินไหวสาหรับการออกแบบ (Design Basis Earthquake, DBE)
ควำมเร่ งตอบสนองเชิ งสเปกตรั ม ระดับคลื่ นแผ่นดิ นไหวสำหรั บ กำรออกแบบจะเป็ นกำรนำค่ ำ
ควำมเร่ งตอบสนองเชิ งสเปกตรัม (SMS , SM1 ) มำลดค่ำลง 2/3 โดยจะได้ค่ำควำมเร่ งตอบสนองเชิ งสเปกตรัม
สำหรับกำรออกแบบที่คำบกำรสั่น 0.2 วินำที (SDS ) เท่ำกับ 0.636 g และค่ำควำมเร่ งตอบสนองเชิ งสเปกตรัม
สำหรับกำรออกแบบที่คำบกำรสั่น 1.0 วินำที (SD1 ) เท่ำกับ 0.231 g จำกนั้นนำข้อมูลดังกล่ำวมำสร้ ำงกรำฟ
แสดงผลระหว่ำงค่ำควำมเร่ งตอบสนองเชิ งสเปกตรัมระดับคลื่ นแผ่นดิ นไหวสำหรับกำรออกแบบ (DBE)
กับคำบกำรสัน่ ธรรมชำติของอำคำร (Tn) ด้วยวิธีเชิงพลศำสตร์ (อ.แจ้ห่ม จ.ลำปำง) ดังแสดงในรู ปที่ 3-17

รู ปที่ 3-17 ผลตอบสนองเชิงสเปกตรัมสำหรับแผ่นดินไหวระดับ DBE (อ.แจ้ห่ม จ.ลำปำง)

3.7 การวิเคราะห์ พฤติกรรมทางพลศาสตร์


งำนวิจยั นี้ ไ ด้วิ เครำะห์ พ ฤติ ก รรมทำงพลศำสตร์ ด้วยวิธี ไ ม่ เชิ ง เส้ นแบบประวัติเวลำ (Nonlinear
Response Time-History Analysis) โดยใช้โปรแกรม SAP200 ซึ่ งได้พิจำรณำว่ำแบบจำลองไฟไนต์เอลิเมนต์
ของประตูระบำยน้ ำล้นอำจเกิดกำรเปลี่ยนแปลงรู ปร่ ำงอย่ำงมำกเช่นผลของ กำรโก่งตัว (Deflection) กำรเซ
(Sway) หรื อกำรหมุ น (Rotation) เข้ำ มำเกี่ ย วข้อ ง (P-Delta plus Large Displacements) และวัส ดุ หลัก ของ
ประตู ระบำยน้ ำ ล้นคื อเหล็ ก ซึ่ ง มี พ ฤติ ก รรมแบบเชิ งเส้ น (Elastic behavior) และแบบไม่ เชิ ง เส้ น (Plastic
behavior) จำกเหตุ ผลข้ำ งต้น ดัง นั้นจึ ง เลื อ กใช้วิ ธี ก ำรวิเ ครำะห์ แ บบไม่ เ ชิ ง เส้ น และเลื อกกำรวิเ ครำะห์
โครงสร้ ำ งเป็ นแบบประวัติ เ วลำ (Time-History Analysis) และใช้ ก ำรค ำนวณผลลัพ ธ์ แ บบวิ ธี Direct
Integration ซึ่ งเป็ นวิธีกำรวิเครำะห์ พ ฤติ กรรมของโครงสร้ ำงเมื่ อได้รับผลกระทบจำกควำมเร่ งตลอดทุ ก

50
ช่ วงเวลำของคลื่ นแผ่นดิ นไหวที่ เกิ ดขึ้ นจริ ง ทำให้พฤติ กรรมทำงพลศำสตร์ ภำยใต้แรงแผ่นดิ นไหวของ
โครงสร้ำงมีควำมใกล้เคียงกับควำมเป็ นจริ งมำกยิ่งขึ้น โดยคลื่นแผ่นดินไหวจะถู กกำหนดในโปรแกรมใน
รู ปแบบของควำมเร่ ง 3 ทิศทำง (2 แนวรำบ และ 1 แนวดิ่ง) ซึ่งควำมเร่ งจำกคลื่นแผ่นดินไหวเกิดขึ้นที่ระนำบ
ต่ำสุ ดของแบบจำลองหรื อที่ฐำนของอำคำรระบำยน้ ำล้น และกำหนดค่ำอัตรำกำรหน่วงของระบบ (Damping
ratio, ξ) เท่ำกับ 0.02 โดยครอบคลุมควำมถี่ธรรมชำติของประตูระบำยน้ ำล้นเขื่อนกิ่วคอหมำที่ 0-30 Hz
3.8 การประเมินสมรรถนะของประตูระบายนา้ ล้ น
สำหรับกำรประเมินสมรรถนะหรื อควำมเสี ยหำยของประตูระบำยน้ ำล้นจะพิจำรณำจำกค่ำแรงดึ ง
(Tensile Force) แรงกด (Compression Force) และโมเมนต์ดัด (Bending Moment) ส ำหรั บ ส่ วนขององค์
อำคำรเหล็ก รู ปพรรณเนื่ องจำกใช้แบบจำลองในรู ปแบบของ Beam Element โดยจะนำผลลัพ ธ์ ที่ เกิ ดขึ้ น
สู งสุ ดของทั้ง 3 ค่ำ ที่กล่ำวมำ มำเปรี ยบเทียบกับค่ำกำลังของหน้ำตัดเหล็กรู ปพรรณที่รับได้จำกกำรคำนวณ
ตำมหลัก วิ ศ วกรรม รวมถึ ง ตรวจสอบค่ ำ ควำมปลอดภัย จำกพฤติ ก รรมแบบ คำน-เสำ ด้ว ยสมกำร
ควำมสัมพันธ์ระหว่ำงแรงอัดกับโมเมนต์สูงสุ ดที่เกิดขึ้นภำยในช่วงควำมยำวที่สนใจโดยใช้วธิ ี กำลังที่ยอมให้
(Allowable Strength Design, ASD) ตำมมำตฐำนของ AISC (American Institute of Steel Construction) และ
สำหรับบำนประตูระบำยน้ ำล้นจะพิจำรณำจำกค่ำควำมเค้นตำมทฤษฎี (Von Mises Stress) ซึ่ งเป็ นกำรบอก
ค่ำควำมเค้นของวัสดุในภำพรวม มักใช้ในกำรพิจำรณำกับวัสดุประเภทเหล็กหรื อโลหะที่มีควำมเหนียว ซึ่ ง
สำมำรถหำค่ำดังกล่ำวได้โดยกำรนำผลลัพธ์ของควำมเค้น ทั้ง 6 รู ปแบบ มำคำนวณจำกสมกำรที่ (3.5) โดย
งำนวิ จ ัย นี้ ใช้ค่ ำ ควำมเค้น Von Mises มำเปรี ย บเที ย บกับ ค่ ำ ควำมเค้นครำก (Yield Stress) ของวัส ดุ เ พื่ อ
ตรวจสอบเสี ยหำยของชิ้ นงำน และสรุ ปผลควำมปลอดภัยของประตู ระบำยน้ ำล้นที่ ระดับควำมคำดหวัง
สำหรับกำรออกแบบอำคำรประกอบเขื่อนต้ำนทำนแผ่นดินไหวจำกกำรเสนอของคณะกรรมกำรเขื่อนขนำด
ใหญ่ระหว่ำงประเทศ (ICOLD) ที่กล่ำวว่ำระดับควำมรุ นแรงของแผ่นดินไหวสำมำรถยอมให้มีกำรเกิดควำม
เสี ย หำยในระดับ รุ นแรงต่อโครงสร้ ำ งเขื่ อนและอำคำรประกอบเขื่ อนได้แต่ ควำมเสี ย หำยต้องไม่ ส่ ง ผล
กระทบต่อกำรควบคุมกำรระบำยน้ ำในอ่ำงเก็บน้ ำ
2 2 2
1
𝜎 = √ [(𝜎𝑥 − 𝜎𝑦 ) + (𝜎𝑦 − 𝜎𝑧 ) + (𝜎𝑦 − 𝜎𝑧 ) ] + 3( 𝜏𝑥𝑦 2 + 𝜏𝑦𝑧 2 + 𝜏𝑧𝑥 2 )
2
(3.5)

เมื่อ 𝜎𝑥 , 𝜎𝑦 , 𝜎𝑧 คือควำมเค้นตั้งฉำก (Normal Stress) ในแนวแกน x, y, z ตำมลำดับ


และ 𝜏𝑥𝑦 , 𝜏𝑦𝑧 , 𝜏𝑧𝑥 คือควำมเค้นเฉือน (Shear Stress) ในระนำบ xy, yz, xz ตำมลำดับ

51
บทที่ 4

ลักษณะการสั่ นไหวของแบบจาลองและคลื่นแผ่นดินไหว
ความถี่ ธ รรมชาติ (Natural frequency) และลัก ษณะการสั่ น ไหว (Mode Shape) เป็ นคุ ณ สมบัติ
พื้นฐานหรับการวิเคราะห์พฤติกรรมทางพลศาสตร์ ของโครงสร้ างอาคารทัว่ ไป โดยบทนี้ จะแสดงผลลัพธ์
คุณสมบัติพ้นื ฐานดังกล่าวของประตูระบายน้ าล้นเขื่อนกิ่วคอหมาจากการวิเคราะห์ดว้ ยแบบจาลองไฟไนต์เอ
ลิเมนต์จากโปรแกรม SAP2000 และแสดงผลการคัดเลือกคลื่นแผ่นดินไหวที่ระดับแผ่นดินไหวรุ นแรงสู งสุ ด
ที่พิจารณา (Maximum Considered Earthquake, MCE) และระดับแผ่นดินไหวสาหรับการออกแบบ (Design
Basis Earthquake, DBE) ที่ มีค่าสเปกตรัมตอบสนองเฉลี่ ยใกล้เคียงกับพื้นที่เป้ าหมาย (อ.แจ้ห่ม จ.ลาปาง)
ตามมาตรฐานกรมโยธาธิการและผังเมือง (มยผ.1301/1302-61) และมีการสั่นพ้อง (Resonance) กับค่าความถี่
ธรรมชาติของลักษณะการสั่นไหวที่อ่อนแอที่สุดและมีโอกาสเกิดขึ้นที่สุดของประตูระบายน้ าล้นเขื่อนกิ่วคอ
หมาภายใต้แรงแผ่นดินไหว
4.1 ความถี่ธรรมชาติและลักษณะการสั่ นไหว
จากผลการวิเคราะห์ ความถี่ ธรรมชาติ และลักษณะการสั่นไหวของประตูระบายน้ าล้นโดยการใช้
แบบจาลองไฟไนต์เอลิเมนต์จากโปรแกรม SAP2000 พบว่าประตูระบายน้ าล้นมีลกั ษณะการเคลื่อนและการ
สั่นไหวที่ หลากหลายรู ป แบบอย่า งมากเนื่ องจากโครงสร้ างขององค์อาคารที่ มี ล ัก ษณะทางเลขาคณิ ตที่
ซับซ้อน สาหรั บ งานวิจยั นี้ จึงได้นาเสนอลักษณะการสั่ นไหวที่ อ่อนแอที่ สุดและรู ปแบบการสั่ นไหวที่ มี
ความสาคัญต่อโครงสร้ างที่ซ่ ึ งสามารถเห็ นการเคลื่ อนที่ของโครงสร้ างประตูระบายน้ าล้นได้อย่างชัดเจน
โดยรายละเอียดของลักษณะการสั่นไหวในแต่ละรู ปแบบจะถูกนาเสนอในหัวข้อต่อไปนี้
ลักษณะการสั่นไหวของประตูระบายน้ าล้น (Mode Shape)ในรู ปแบบที่ 1 ซึ่ งเป็ นรู ปแบบที่มีความ
อ่อนแอมากที่สุดและมีโอกาสเกิ ดขึ้นมากที่สุดโดยมีค่าความถี่ ธรรมชาติเท่ากับ 7.39 Hz หรื อคาบการสั่น
ธรรมชาติเท่ากับ 0.14 วินาที ซึ่งสามารถอนุมานให้เป็ นความถี่หรื อคาบการสั่นเป้ าหมายของประตูระบายน้ า
ล้นเขื่อนกิ่วคอหมาได้ โดยลักษณะการสั่นไหวในรู ปแบบนี้ จะเป็ นการเคลื่อนที่กลับไปกลับมาในแนวราบ
ขวางทางน้ าหรื อตามทิศทางแกน Y โดยที่ส่วนประกอบที่อ่อนไหวที่เห็ นได้ชดั เกิ ดขึ้นที่แขนทั้ง 2 ข้าง ซึ่ ง
เคลื่อนที่ไปมาในทิศทางเดี ยวกันและเกิดการเคลื่อนที่ที่บริ เวณบานประตูส่วนบนเป็ นลูกคลื่นจานวน 1 ลูก
คลื่นหรื อ 2 ลูป ดังแสดงในรู ปที่ 4-1

52
รู ปที่ 4-1 ความถี่ธรรมชาติและการสัน่ ไหวรู ปแบบที่ 1

ลักษณะการสั่นไหวของประตู ระบายน้ าล้น (Mode Shape)ในรู ปแบบที่ 2 มี ค่าความถี่ ธรรมชาติ


เท่ากับ 12.05 Hz โดยส่ วนประกอบที่อ่อนไหวที่เห็นได้ชดั เกิดขึ้นที่แขนของประตูซ่ ึงเกิดการเคลื่อนที่ข้ ึนลง
ในแบบเดียวกันทั้ง 2 ข้าง ในแนวดิ่งตามทิศทางแกน Z และเกิดการเคลื่อนที่ที่บริ เวณบานประตูส่วนบนเป็ น
ลูกคลื่นจานวน 3 ลูป ดังแสดงในรู ปที่ 4-2

รู ปที่ 4-2 ความถี่ธรรมชาติและการสัน่ ไหวรู ปแบบที่ 2

ลักษณะการสั่นไหวของประตู ระบายน้ าล้น (Mode Shape)ในรู ปแบบที่ 3 มี ค่าความถี่ ธรรมชาติ


เท่ากับ 12.14 Hz โดยส่ วนประกอบที่อ่อนไหวที่ เห็ นได้ชดั เกิ ดขึ้นที่ แขนของประตู ซ่ ึ งเกิ ดการเคลื่อนที่ใน
แนวดิ่ งตามทิศทางแกน Z โดยที่แขนทั้ง 2 ข้าง เคลื่ อนที่ข้ ึ นลงสลับกันและเกิ ดการเคลื่ อนที่ ที่บริ เวณบาน
ประตูส่วนบนเล็กน้อย ดังแสดงในรู ปที่ 4-3

53
รู ปที่ 4-3 ความถี่ธรรมชาติและการสัน่ ไหวรู ปแบบที่ 3

ลักษณะการสั่นไหวของประตูระบายน้ าล้น (Mode Shape)ในรู ปแบบที่ 4 ปรากฏส่ วนประกอบที่


อ่อนไหวที่สุดเกิดขึ้นที่บริ เวณส่ วนบนของบานประตูโดยมีลกั ษณะเป็ นลูกคลื่นจานวน 3 ลูกคลื่นหรื อ 6 ลูป
ซึ่ งมีค่าความถี่ ธรรมชาติเท่ากับ 18.46 Hz ดังแสดงในรู ปที่ 4-4 นอกจากนี้ การวิเคราะห์ดว้ ยวิธีไฟไนต์เอลิ
เมนต์ที่ซ่ ึ งมีการแบ่งเอลิเมนต์ขององค์ประกอบบานประตูและส่ วนอื่นๆ แบบละเอียดทาให้ยงั มีลกั ษณะการ
สั่นไหวแบบลูกคลื่นที่ส่วนบนของบานประตูในรู ปแบบอื่นอีกหลายรู ปแบบแบบได้แก่แบบ 1 2 3 4 และ 6
ลูป โดยมีค่าความถี่ ธรรมชาติเท่ากับ 8.15 10.11 12.02 13.49 และ 15.72 Hz ตามลาดับ (โดย 3 ลูป เป็ นการ
สั่นไหวในรู ปแบบที่ 2) ดังแสดงในรู ปที่ 4-5

รู ปที่ 4-4 ความถี่ธรรมชาติและการสัน่ ไหวรู ปแบบที่ 4

54
รู ปที่ 4-5 ความถี่ธรรมชาติและการสัน่ ไหวที่ทาให้เกิดลูกคลื่นที่ส่วนบนของบานประตู

ลักษณะการสั่นไหวของประตู ระบายน้ าล้น (Mode Shape)ในรู ปแบบที่ 5 มี ค่าความถี่ ธรรมชาติ


เท่ากับ 25.75 Hz โดยส่ วนประกอบที่อ่อนไหวที่เห็นได้ชดั เกิดขึ้นที่แขนของประตูซ่ ึ งเกิดการเคลื่อนที่ข้ ึนลง
ในแบบเดียวกันทั้ง 2 ข้าง ในแนวดิ่งตามทิศทางแกน Z ดังแสดงในรู ปที่ 4-5 และนอกจากนี้ การเคลื่ อนที่ที่
บริ เวณแขนประตู ยงั มี รูป แบบอื่ นอี ก เช่ น การเกิ ดการบิ ดรอบรอบแกน X ของแขนประตู ท้ งั 2 ข้าง ซึ่ งมี
ค่าความถี่ธรรมชาติเท่ากับ 27.74 Hz ดังแสดงในรู ปที่ 4-6
อย่า งไรก็ตามลัก ษณะการสั่ นไหวของประตู ระบายน้ าล้นยัง มี อีกหลายรู ปแบบโดยมี ค่ า ความถี่
ธรรมชาติมากกว่า 30 Hz ซึ่ งอยูน่ อกขอบเขตของการศึกษาของงานวิจยั นี้ เนื่ องจากเมื่อลักษณะการสั่นไหว
ใดๆ ที่ให้ค่าความถี่ ธรรมชาติที่มีค่ามากขึ้นเรื่ อยๆ ก็จะยิ่งทาให้มีโอกาสที่จะเกิ ดลักษณะการสั่นไหวนั้นๆ
ภายใต้การรับแรงจากแผ่นดินไหวน้อยลง

55
รู ปที่ 4-6 ความถี่ธรรมชาติและการสัน่ ไหวรู ปแบบที่ 5

รู ปที่ 4-7 ความถี่ธรรมชาติและการสัน่ ไหวรู ปแบบอื่นๆ

4.2 การตรวจสอบความถูกต้ องของแบบจาลอง


สาหรับผลการวิเคราะห์ความถี่ธรรมชาติ และลักษณะการสั่นไหวพื้นฐานของประตูระบายน้ าล้น
พบว่ารู ปแบบการเคลื่อนที่ มีลกั ษณะการสั่นไหวที่ อ่อนแอที่สุดมีค่าความถี่ ธรรมชาติเท่ากับ 7.39 Hz หรื อ
คาบการสั่นธรรมชาติเท่ากับ 0.14 วินาที เมื่อนาค่าความถี่ ธรรมชาติไปเปรี ยบเทียบกับงานวิจยั ของ Wendy
และ Colin (2000) ที่ได้ทาการศึกษาเกี่ยวกับความถี่ธรรมชาติและลักษณะการสั่นไหวของประตูระบายน้ าล้น
แบบบานโค้ง (Spillway Radial Gate) ที่เขื่อน Kilmorack โดยประตูระบายน้ าล้นดังกล่าวมีขนาดและรู ปร่ าง
ใกล้เ คี ย งกับ ประตู ร ะบายน้ า ล้น ที่ เ ขื่ อ นกิ่ ว คอหมาแต่ มี ค วามแตกต่ า งตรงที่ ป ระตู ร ะบายน้ า ล้น เขื่ อ น
Kilmorack มี รูปร่ างของบานประตู มี ความเป็ นจัตุรัสมากกว่าบานประตู ข องเขื่ อนกิ่ วคอหมาท าให้ป ระตู
ระบายน้ าเขื่อนกิ่วคอหมามีการสั่นไหวที่บริ เวณแนวยาวของบานประตูมากกว่ารวมถึงลักษณะการสั่นไหวที่
มี ล ัก ษณะไม่ เหมื อนกันในหลายๆ ช่ วงความถี่ ดัง นั้นการเปรี ย บเที ย บลัก ษณะการสั่ นไหวและความถี่

56
ธรรมชาติของประตูระบายน้ าล้นทั้ง 2 แห่ ง จึงต้องเปรี ยบเทียบในลักษณะการสั่นไหวเดียวกัน ดังแสดงใน
ตารางที่ 4-1
ตารางที่ 4-1 การเปรี ยบเทียบค่าความถี่ธรรมชาติ
ความถี่ธรรมชาติ (Hz)
ลักษณะการสัน่ ไหว เขื่อน Kilmorack เขื่อนกิ่วคอหมา
ทดสอบ แบบจาลอง แบบจาลอง

การเคลื่ อ นที่ ที่ บ ริ เ วณ


บานประตู ส่วนบนเป็ น
ลูกคลื่นจานวน 1 ลูป
7.4 6.3 8.15

การเคลื่ อ นที่ ที่ บ ริ เ วณ


บานประตู ส่วนบนเป็ น
ลูกคลื่นจานวน 3 ลูป
14.6 13.6 12.05

การเคลื่ อ นที่ ข องแขน


ประตู ข้ ึ นลงในแนวดิ่ ง
โดยแขนทั้ง 2 ข้าง สลับ
ทิศกัน
14.0 13.9 12.14

การเคลื่ อ นที่ ข องแขน


ประตู ข้ ึ นลงในแนวดิ่ ง
ในแบบเดี ย วกั น ทั้ง 2
ข้าง
19.8 18.9 25.75

การเกิ ดก ารบิ ดรอบ


รอบแกน X ของแขน
ประตูท้ งั 2

25.5 22.8 27.74

57
ผลการเปรี ยบเทียบการวิเคราะห์แบบจาลองไฟไนต์เอลิเมนต์ของประตูระบายน้ าล้นพบว่าค่าความถี่
ธรรมชาติของประตูระบายน้ าล้นที่เขื่อนกิ่วคอหมามีค่าใกล้เคียงกับประตูระบายน้ าล้นที่เขื่อน Kilmorack ทั้ง
การวิเคราะห์ดว้ ยแบบจาลองและการทดสอบในลักษณะการสั่นไหวแบบเดี ยวกัน ซึ่ งอาจมีลกั ษณะการสั่น
ไหวบางรู ปแบบที่มีความแตกต่างกันมากแต่สาหรับงานวิจยั นี้โดยรวมถือว่าอยูใ่ นเกณฑ์ที่สามารถยอมรับได้
ท าให้ส ามารถอนุ ม านได้ว่า แบบจาลองไฟไนต์เอลิ เมนต์ข องประตู ระบายน้ า ล้นที่ เขื่ อนกิ่ วคอหมาจาก
โปรแกรม SAP2000 มีความน่าเชื่อถือและใช้เป็ นตัวแทนของประตูระบายน้ าล้นเขื่อนกิ่วคอหมาจริ งได้เพื่อ
ใช้ใ นการวิเคราะห์ พฤติ กรรมทางพลศาสตร์ ภายใต้แรงแผ่นดิ นไหวส าหรั บพื้ นที่ เป้ าหมาย (อ.แจ้ห่ม จ.
ลาปาง) ต่อไป
4.3 การคัดเลือกคลื่นแผ่นดินไหว
จากการวิเคราะห์การสั่นไหวของแบบจาลองไฟไนต์เอลิเมนต์ของประตูระบายน้ าล้นเขื่อนกิ่ วคอ
หมาพบว่าค่าความถี่ธรรมชาติที่มีลกั ษณะรู ปแบบการสั่นไหวที่อ่อนแอและมีโอกาสเกิ ดขึ้นมากที่สุดเมื่อมี
การสั่นไหวภายใต้แรงแผ่นดินไหวมีค่าความถี่เท่ากับความถี่ ธรรมชาติในรู ปแบบที่ 1 ที่ 7.39 Hz หรื อคาบ
การสั่นธรรมชาติเท่ากับ 0.14 วินาที โดยงานวิจยั นี้ จะถือว่าเป็ นความถี่ หรื อคาบการสั่นเป้ าหมายของอาคาร
ซึ่งจะนาไปพิจารณาในการคัดเลือกคลื่นแผ่นดินไหวทั้ง 7 คลื่น (ต่อ 1 ระดับความรุ นแรง) ที่มีค่าคาบอิทธิพล
หลัก (Predominant Period) ใกล้เคียงกับคาบการสั่นธรรมชาติของประตูระบายน้ าล้นเขื่อนกิ่วคอหมาซึ่ งทา
ให้มีโอกาสเกิ ดการสั่นพ้องมากขึ้นและค่าความเร่ งตอบสนองเชิ งสเปกตรัมเฉลี่ ยใกล้เคียงกับค่าความเร่ ง
ตอบสนองเชิงสเปกตรัมของพื้นที่เป้ าหมาย (อ.แจ้ห่ม จ.ลาปาง) ที่คาบการสั่นเป้ าหมาย ดังแสดงในรู ปที่ 4-8
และ 4-16 นอกจากนี้ ก ารคัดเลื อกคลื่ นแผ่นดิ นไหวจากข้อ มู ล ในฐานระบบของ PEER Ground Motion
Database - Pacific Earthquake Engineering Research Center ทั้ง 2 ระดับความรุ นแรง โดยใช้คุณสมบัติของ
คลื่นแผ่นดินไหวสาหรับการค้นหาได้แก่ จากัดรอยเลื่อนไว้ที่รอยเลื่อนปกติ (Normal fault) กับรอยเลื่อนตาม
แนวระดับ (Strike-slip fault) ตามลัก ษณะรอยเลื่ อ นพะเยา (Phayao fault) ก าหนดขนาดแผ่ น ดิ น ไหว
(Magnitude) อยูร่ ะหว่าง 4.5 ถึง 8 กาหนดระยะจากจุดเหนือศูนย์เกิดแผ่นดินไหวถึงจุดตรวจวัดแผ่นดินไหว
(Epicentral Distance) อยูร่ ะหว่าง 0 ถึง 80 กิโลเมตร ซึ่ งพิจารณามาจากระยะห่ างระหว่างรอยเลื่อนพะเยากับ
ที่ต้ งั เขื่อนกิ่วคอหมา กาหนดความเร็ วคลื่นเฉื อนเฉลี่ยของชั้นดินในช่วง 30 เมตรแรก (VS30) อยูร่ ะหว่าง 180
ถึง 360 เมตรต่อวินาที ซึ่ งอ้างอิงจากดินประเภท D จาก มยผ.1301/1302-61 และใช้สูตรการคานวณค่าเฉลี่ ย
แบบเลขคณิ ต (Arithmetic) โดยข้อมูลคลื่นแผ่นดินไหวที่คดั เลือกมาจะเป็ นคู่อนั ดับความเร่ งกับเวลาจานวน
3 ทิศทาง (2 แนวราบ และ 1 แนวดิ่ ง) สาหรับ 2 แนวราบจะมีการเลือกทิศทางที่มีโอกาสให้ความรุ นแรงสู ง
กว่าตรงกับทิศทางการเคลื่อนที่ของลักษณะการสั่นไหวของประตูระบายน้ าล้นที่อ่อนแอที่สุดโดยพิจารณา
จากความเร่ งสู งสุ ดของพื้นดิน (Peak Ground Acceleration, PGA) กับ Arias Intensity ประกอบกัน

58
4.3.1 ผลการคั ด เลื อ กคลื่ น แผ่ น ดิ น ไหวรุ น แรงสู ง สุ ด ที่ พิ จ ารณา (Maximum Considered Earthquake,
MCE)
สาหรับ ผลการคัดเลื อกคลื่ นแผ่นดิ นไหวทั้ง 7 คลื่ น ที่ ระดับ แผ่นดิ นไหวรุ นแรงสู งสุ ดที่ พิ จารณา
(Maximum Considered Earthquake, MCE) ที่มีค่าสเปกตรัมตอบสนองเฉลี่ ยใกล้เคียงกับพื้นที่เป้ าหมาย (อ.
แจ้ห่ม จ.ลาปาง) ตามมาตรฐานกรมโยธาธิ การและผังเมือง (มยผ.1301/1302-61) โดยรู ปที่ 4-8 ได้แสดงค่า
ความเร่ งตอบสนองเชิ งสเปกตรัมของทั้ง 7 คลื่น (EQ1-EQ7) ค่าความเร่ งตอบสนองเชิ งสเปกตรัมเฉลี่ยของ
ทั้ง 7 คลื่น (Mean pSa) และค่าความเร่ งตอบสนองเชิงสเปกตรัมของพื้นที่เป้ าหมาย (Target pSa)

รู ปที่ 4-8 ความเร่ งตอบสนองเชิงสเปกตรัมที่ระดับความรุ นแรง MCE

สาหรั บข้อมู ลคุ ณสมบัติของคลื่ นแผ่นดิ นไหวทั้ง 7 คลื่น ที่ระดับความรุ นแรง MCE ถู กเสนอดัง
ตารางที่ 4-2 และคุ ณสมบัติของคลื่นแผ่นดินไหวในแต่ละทิศจานวน 3 ทิศทาง (2 แนวราบ และ 1 แนวดิ่ง)
โดยทิศทาง Y คือแนวราบที่ต้ งั ฉากกับทางน้ าหรื อทิศทางเดียวกับทิศทางการสั่นไหวของประตูระบายน้ าล้น
ที่อ่อนแอที่สุด ทิศทาง X คือแนวราบที่ขนานกับทางน้ า และทิศทาง Z คือแนวดิ่ ง ดังแสดงในตารางที่ 4-3
สาหรับคลื่ นแผ่นดินไหวถูกนาเสนอในรู ปแบบของกราฟความเร่ ง (Acceleration) กับเวลา (Time) ดังแสดง
ในรู ปที่ 4-9 ถึง 4-15

59
ตารางที่ 4-2 คุณสมบัติของคลื่นแผ่นดินไหวระดับความรุ นแรง MCE
คลื่นแผ่นดินไหว
ข้อมูล
EQ1 EQ2 EQ3 EQ4 EQ5 EQ6 EQ7
El Mayor Darfield
Imperial Superstition Kobe Dinar Manjil
Cucapah New
ชื่อ Valley-02 Hills-02 Japan Turkey Iran
Mexico Zealand

ปี ที่เกิด 1940 1987 1995 1995 1990 2010 2010


ขนาด
7.0 6.5 6.9 6.4 7.4 7.2 7.0
แผ่นดินไหว
ความเร่ ง
สู งสุ ด 0.281 0.357 0.296 0.326 0.209 0.439 0.360
(g)
Arias
Intensity 1.6 1.1 1.4 2.0 1.9 3.5 1.6
(m/s)
Epicentral
Distance 6.09 18.2 31.69 0.00 75.58 28.53 30.53
(km)
ประเภท
ของรอย strike slip strike slip strike slip Normal strike slip strike slip strike slip
เลื่อน
VS30
213.44 192.05 312.00 219.75 302.64 264.57 255.00
(m/s)

60
ตารางที่ 4-3 คุณสมบัติของคลื่นแผ่นดินไหวในแต่ละทิศทางที่ระดับความรุ นแรง MCE
ข้อมูล
คลื่นแผ่นไหว ทิศทาง ความเร่ งสู งสุ ด Arias Intensity คาบอิทธิพล Significant
(g) (m/s) หลัก (s) Duration (s)
X 0.211 1.2 0.58 23.89
EQ1 Y 0.281 1.5 0.46 24.03
Z 0.178 0.2 0.12 21.38
X 0.259 0.6 0.46 14.98
EQ2 Y 0.357 1.0 0.22 12.76
Z 0.128 0.2 0.10 11.68
X 0.194 0.6 0.20 18.80
EQ3 Y 0.296 1.3 0.24 14.05
Z 0.139 0.3 0.06 19.54
X 0.279 1.6 0.34 16.73
EQ4 Y 0.326 2.0 0.30 15.51
Z 0.141 0.3 0.08 19.55
X 0.132 0.7 0.30 23.32
EQ5 Y 0.209 1.9 0.30 20.89
Z 0.077 0.1 1.00x10-6 22.51
X 0.291 1.8 0.12 17.35
EQ6 Y 0.439 3.5 0.14 16.15
Z 0.158 0.5 0.10 20.58
X 0.360 1.5 0.38 17.26
EQ7 Y 0.301 1.6 0.32 15.46
Z 0.088 0.1 1.00x10-6 22.36

61
รู ปที่ 4-9 คลื่นแผ่นดินไหว EQ1 (MCE)

รู ปที่ 4-10 คลื่นแผ่นดินไหว EQ2 (MCE)

62
รู ปที่ 4-11 คลื่นแผ่นดินไหว EQ3 (MCE)

รู ปที่ 4-12 คลื่นแผ่นดินไหว EQ4 (MCE)

63
รู ปที่ 4-13 คลื่นแผ่นดินไหว EQ5 (MCE)

รู ปที่ 4-14 คลื่นแผ่นดินไหว EQ6 (MCE)

64
รู ปที่ 4-15 คลื่นแผ่นดินไหว EQ7 (MCE)

65
4.3.2 ผลการคัดเลือกคลื่นแผ่นดินไหวสาหรับการออกแบบ (Design Basis Earthquake, DBE)
ส าหรั บ ผลการคัดเลื อ กคลื่ น แผ่น ดิ น ไหวทั้ง 7 คลื่ น ที่ ร ะดับ แผ่น ดิ น ไหวส าหรั บ การออกแบบ
(Design Basis Earthquake, DBE) ที่มีค่าสเปกตรัมตอบสนองเฉลี่ ยใกล้เคียงกับพื้นที่เป้ าหมาย (อ.แจ้ห่ม จ.
ลาปาง) ตามมาตรฐานกรมโยธาธิ การและผังเมือง (มยผ.1301/1302-61) โดยรู ปที่ 4-16 ได้แสดงค่าความเร่ ง
ตอบสนองเชิ งสเปกตรัมของทั้ง 7 คลื่น (EQ1-EQ7) ค่าความเร่ งตอบสนองเชิงสเปกตรัมเฉลี่ยของทั้ง 7 คลื่น
(Mean pSa) และค่าความเร่ งตอบสนองเชิงสเปกตรัมของพื้นที่เป้ าหมาย (Target pSa)

รู ปที่ 4-16 ความเร่ งตอบสนองเชิงสเปกตรัมที่ระดับความรุ นแรง DBE

สาหรั บข้อมู ลคุ ณสมบัติของคลื่ นแผ่นดิ นไหวทั้ง 7 คลื่ น ที่ ระดับความรุ นแรง DBE ถู กเสนอดัง
ตารางที่ 4-4 และคุ ณสมบัติของคลื่นแผ่นดินไหวในแต่ละทิศจานวน 3 ทิศทาง (2 แนวราบ และ 1 แนวดิ่ง)
โดยทิศทาง Y คือแนวราบที่ต้ งั ฉากกับทางน้ าหรื อทิศทางเดียวกับทิศทางการสั่นไหวของประตูระบายน้ าล้น
ที่อ่อนแอที่สุด ทิศทาง X คือแนวราบที่ขนานกับทางน้ า และทิศทาง Z คือแนวดิ่ ง ดังแสดงในตารางที่ 4-5
สาหรับคลื่ นแผ่นดินไหวถูกนาเสนอในรู ปแบบของกราฟความเร่ ง (Acceleration) กับเวลา (Time) ดังแสดง
ในรู ปที่ 4-17 ถึง 4-23

66
ตารางที่ 4-4 คุณสมบัติของคลื่นแผ่นดินไหวระดับความรุ นแรง DBE
คลื่นแผ่นดินไหว
ข้อมูล
EQ1 EQ2 EQ3 EQ4 EQ5 EQ6 EQ7
Imperial
Northwest Northern Mammoth Victoria
ชื่อ Parkfield Valley Westmorland
Calif 01 Calif 03 Lakes 01 Mexico
06
ปี ที่เกิด 1938 1954 1966 1979 1980 1980 1981
ขนาด
5.5 6.5 6.2 6.5 6.1 6.3 5.9
แผ่นดินไหว
ความเร่ ง
สู งสุ ด 0.150 0.203 0.444 0.220 0.324 0.151 0.165
(g)
Arias
Intensity 0.1 0.5 0.9 0.4 0.8 0.4 0.3
(m/s)
Epicentral
Distance 52.73 26.72 9.58 8.54 4.48 18.53 15.28
(km)
ประเภทของ strike strike strike Normal
strike slip strike slip strike slip
รอยเลื่อน slip slip slip Oblique
VS30
219.31 219.31 289.56 208.71 346.82 242.05 208.71
(m/s)

67
ตารางที่ 4-5 คุณสมบัติของคลื่นแผ่นดินไหวในแต่ละทิศทางที่ระดับความรุ นแรง DBE
ข้อมูล
คลื่นแผ่นไหว ทิศทาง ความเร่ งสู งสุ ด Arias Intensity คาบอิทธิพล Significant
(g) (m/s) หลัก (s) Duration (s)
X 0.090 0.1 0.20 9.77
EQ1 Y 0.150 0.1 0.30 9.76
Z 0.034 0.0 1.00x10-6 9.22
X 0.203 0.4 0.80 17.33
EQ2 Y 0.163 0.5 0.38 15.98
Z 0.042 0.1 1.00x10-6 16.69
X 0.368 0.6 6.49 6.49
EQ3 Y 0.444 0.8 5.66 5.66
Z 0.146 0.2 6.99 6.99
X 0.163 0.3 0.26 12.36
EQ4 Y 0.220 0.4 0.30 12.71
Z 0.153 0.3 0.10 10.79
X 0.324 0.7 0.14 7.63
EQ5 Y 0.243 0.8 0.14 7.84
Z 0.250 0.5 0.18 7.65
X 0.097 0.3 1.00x10-6 19.01
EQ6 Y 0.151 0.4 0.62 16.41
Z 0.097 0.1 1.00x10-6 16.76
X 0.165 0.2 0.14 7.52
EQ7 Y 0.155 0.3 0.14 7.12
Z 0.093 0.1 0.12 9.33

68
รู ปที่ 4-17 คลื่นแผ่นดินไหว EQ1 (DBE)

รู ปที่ 4-18 คลื่นแผ่นดินไหว EQ2 (DBE)

69
รู ปที่ 4-19 คลื่นแผ่นดินไหว EQ3 (DBE)

รู ปที่ 4-20 คลื่นแผ่นดินไหว EQ4 (DBE)

70
รู ปที่ 4-21 คลื่นแผ่นดินไหว EQ5 (DBE)

รู ปที่ 4-22 คลื่นแผ่นดินไหว EQ6 (DBE)

71
รู ปที่ 4-23 คลื่นแผ่นดินไหว EQ7 (DBE)

72
บทที่ 5

ผลการวิเคราะห์ ประตูระบายนา้ ล้ นภายใต้ แรงแผ่ นดินไหว


จากการวิเคราะห์พฤติกรรมทางพลศาสตร์ ไม่เชิ งเส้นแบบประวัติเวลา (Nonlinear Response Time-
History Analysis) ด้วยแบบจาลองไฟไนต์เอลิ เมนต์ของประตูระบายน้ าล้นภายใต้แรงแผ่นดิ นไหวโดยใช้
คลื่ น แผ่น ดิ นไหวที่ ไ ด้ท าการคัดเลื อกด้วยวิธี Time History Scaling ที่ ระดับ แผ่นดิ นไหวรุ นแรงสู ง สุ ด ที่
พิจารณา (Maximum Considered Earthquake, MCE) และ ระดับแผ่นดิ นไหวสาหรับการออกแบบ (Design
Basis Earthquake, DBE) ตามมาตรฐานการออกแบบอาคารต้านทานการสั่นสะเทือนของแผ่นดินไหว (มยผ.
1301/1302-61) โดยงานวิจยั นี้ จะนาเสนอผลการวิเคราะห์เป็ นการเคลื่อนที่และความเร่ งรวมถึงความเสี ยหาย
ที่เกิดขึ้นของแบบจาลองไฟไนต์เอลิเมนต์ของประตูระบายน้ าล้น
พฤติกรรมทางพลศาสตร์ ของประตูระบายน้ าล้นสาหรับในส่ วนขององค์อาคารเหล็กรู ปพรรณถูก
นาเสนอในรู ปแบบของผลการเคลื่ อนที่และผลของความเร่ งโดยจะเน้นไปที่ชิ้นส่ วนที่เกิ ดความอ่อนไหว
อย่างชัดเจนภายใต้แรงแผ่นดินไหว โดยจะแบ่งผลการเคลื่อนที่และผลของความเร่ งเป็ นของแขนประตูและ
บานประตู ในส่ วนของแขนประตูจะแสดงผลการตอบสนองที่จุด (Node) แบบเดี ยวกันโดยจะแสดงผลใน
รู ป แบบความสัม พันธ์ ระหว่า งการเคลื่ อนที่ สู งสุ ด ความเร่ ง สู งสุ ดที่ เลื อกมาหนึ่ ง ค่ า จากแขนทั้ง 2 ข้างที่
ตาแหน่งความยาวเดียวกันนับจากจุดรองรับแขนประตูจากตลอดช่ วงเวลาที่ประมวลผลทางพลศาสตร์ ของ
คลื่นแผ่นดินไหวนั้นๆ กับความยาวของแขนประตู ดังแสดงในรู ปที่ 5-1

รู ปที่ 5-1 อธิบายการนาเสนอความสัมพันธ์ระหว่างการเคลื่อนที่สูงสุด, ความเร่ งสูงสุด

กับความยาวของแขนประตู

73
สาหรับในส่ วนของบานประตูจะแสดงผลการตอบสนองที่จุด (Node) โดยแบ่งเป็ น 3 ระดับความสู ง
จากฐานตั้งบานประตูบนสันฝายจนถึงระดับสู งสุ ดที่บานประตูสามารถขวางกั้นการไหลของน้ าได้ดงั นี้ 0 3.2
และ 7 เมตร โดยในแต่ละระดับความสู งจะแสดงผลในรู ปแบบความสัมพันธ์ ระหว่างการเคลื่ อนที่ สูงสุ ด
ความเร่ งสู งสุ ดจากตลอดช่ วงเวลาที่ประมวลผลทางพลศาสตร์ ของคลื่ นแผ่นดินไหวนั้นๆ กับความยาวตาม
แนวยาวของบานประตู (ขวางทางน้ า) ดังแสดงในรู ปที่ 5-2

รู ปที่ 5-2 อธิบายการนาเสนอความสัมพันธ์ระหว่างการเคลื่อนที่สูงสุด ความเร่ งสูงสุด

กับความยาวตามแนวยาวของบานประตู

สาหรับผลการวิเคราะห์เพื่อประเมินสมรรถนะหรื อความเสี ยหายของประตูระบายน้ าล้นจะพิจารณา


จากค่าแรงตามแนวแกน (Axial Force) และโมเมนต์ดดั (Bending Moment) สาหรับชิ้นส่ วนขององค์อาคาร
เหล็กรู ปพรรณ และความเค้นตามทฤษฎี (Von Mises Stress) สาหรับชิ้ นส่ วนของแผ่นเหล็กบานประตู ที่
เกิ ดขึ้นจากการต้านทานการเคลื่อนที่ของประตูระบายน้ าล้นภายใต้แรงแผ่นดินไหว โดยความเสี ยหายของ
ประตูระบายน้ าล้นในส่ วนขององค์อาคารซึ่ งเป็ นเหล็กรู ปพรรณซึ่งใช้แบบจาลองเป็ น Beam Element พบว่า
เหล็กรู ปพรรณที่มีส่วนต้านทานแรงตามแนวแกน (Axial Force) จากการสั่นไหวของคลื่นแผ่นดินไหวได้แก่
แขนประตู (H250x250x14 mm) เหล็ ก โครงประตู (PL160x22 mm) และเหล็ ก ครี บ บานประตู ขอบนอก
(L470x90x8 mm) ในทุกคลื่นแผ่นดิ นไหว 14 คลื่น ดังแสดงในรู ปที่ 5-3 โดยพิจารณาความเสี ยหายจากการ
74
รั บ แรงตามแนวแกน(Axial Force) สู งสุ ดของหน้ า ตัด แบ่ ง เป็ นแรงดึ ง (Tensile Force) และแรงอัด
(Compression Force) ในส่ วนของการต้ า นทานโมเมนต์ ดั ด (Bending Moment) พบว่ า แขนประตู
(H250x250x14 mm) เพียงอย่างเดียวที่ตา้ นทานโมเมนต์สูงสุ ดในทุกคลื่ นแผ่นดินไหว 14 คลื่น ดังแสดงใน
รู ปที่ 5-4 โดยจะพิจารณา 2 แกน คือ Moment 2-2 และ Moment 3-3 โดยที่โมเมนต์ 2-2 เป็ นการต้านทาน
โมเมนต์ดดั รอบแกน Y ในขณะที่ประตูระบายน้ าล้นเกิดการเคลื่อนที่ข้ ึนลงในแนวดิ่ง (ตามแนวแกน Z) และ
โมเมนต์ 3-3 เป็ นการต้านทานโมเมนต์ดดั รอบแกน Z ในขณะที่ประตูระบายน้ าล้นเกิดการเคลื่อนที่ซ้ายขวา
ในแนวราบทิศขวางทางน้ า (ตามแนวแกน Y) จากนั้นนาค่าการต้านทานแรงสู งสุ ดทุกชนิดที่กล่าวมาข้างต้น
มาตรวจสอบความเสี ยหายกับค่ากาลังของหน้าตัดเหล็กรู ปพรรณที่รับได้ซ่ ึ งเกิ ดจากการคานวณตามหลัก
วิศ วกรรมจากคุ ณ สมบัติ ข องเหล็ ก รู ป พรรณตามมาตรฐาน มอก. 1227-2539 ชั้น คุ ณ ภาพ SS400 และ
ตรวจสอบค่ า ความปลอดภัย จากพฤติ กรรมแบบ คาน-เสา ด้วยสมการความสั มพันธ์ ระหว่า งแรงอัดกับ
โมเมนต์สูงสุ ดที่เกิ ดขึ้นภายในช่ วงความยาวที่สนใจโดยใช้วิธีกาลังที่ยอมให้ (Allowable Strength Design,
ASD) ตามมาตรฐานของ AISC (American Institute of Steel Construction) ในส่ วนของบานประตูระบายน้ า
ล้นจะพิจารณาจากค่าความเค้นตามทฤษฎี (Von Mises Stress) เพื่อตรวจสอบความเสี ยหายของแผ่นเหล็ก
บานประตู โดยการตรวจสอบกับความเค้นคราก (Yield Stress) ของเหล็กที่ ใช้ทาบานประตู ซ่ ึ งมี ค่าเท่ากับ
2350 ksc ตามมาตรฐาน JIS G 3101 ชั้นคุณภาพ SS400

รู ปที่ 5-3 เหล็กรู ปพรรณที่มีส่วนต้านทานแรงตามแนวแกน (Axial Force)

75
รู ปที่ 5-4 เหล็กรู ปพรรณที่มีส่วนต้านทานโมเมนต์ดดั (Bending Moment)

5.1 พฤติ ก รรมของประตู ร ะบายน้ า ล้ น ภายใต้ แ รงแผ่ น ดิ น ไหวรุ น แรงสู ง สุ ด ที่ พิ จ ารณา (Maximum
Considered Earthquake, MCE)
การวิเคราะห์พฤติกรรมทางพลศาสตร์ ของประตูระบายน้ าล้นภายใต้แรงแผ่นดินไหวที่ระดับความ
รุ นแรงสู งสุ ดที่ พิ จ ารณา (Maximum Considered Earthquake, MCE) จ านวน 7 คลื่ น ที่ มี ค่ า ความเร่ ง
ตอบสนองเชิ งสเปกตรัมเฉลี่ยใกล้เคียงกับค่าความเร่ งตอบสนองเชิ งสเปกตรัมของพื้นที่เป้ าหมาย (อ.แจ้ห่ม
จ.ลาปาง) โดยจะพิจารณาผลการตอบสนองในแนวราบทั้งในทิศขนานทางน้ า (แกน X) และขวางทางน้ า
(แกน Y) ซึ่ ง นาเสนอในรู ปแบบของการเคลื่ อนที่ และความเร่ ง รวมถึ งผลการขยายตัวของความเร่ ง จาก
ความเร่ งของคลื่นแผ่นดินไหวที่พ้ืนสู่ ความเร่ งที่ระดับความสู งนั้นๆ โดยแบ่งผลการวิเคราะห์เป็ น 2 ส่ วนคือ
แขนประตูและบานประตู สาหรับการประเมินความเสี ยหายจะตรวจสอบด้วยค่าแรงตามแนวแกน (Axial
Force) และโมเมนต์ดดั (Bending Moment) เปรี ยบเทียบกับกาลังของหน้าตัดเหล็กรู ปพรรณที่รับได้สาหรับ
ส่ วนของแขนประตู และในส่ วนของบานประตูตรวจสอบจากค่าความเค้นตามทฤษฎี (Von Mises Stress)
เปรี ยบเทียบกับความเค้นคราก (Yield Stress) จากผลการวิเคราะห์ท้ งั หมดจากคลื่นแผ่นดินไหวทั้ง 7 คลื่นจะ
ถูกนามาเฉลี่ยกันตามวิธีการคัดเลือกคลื่นแผ่นดินไหวแบบ Time History Scaling
5.1.1 ผลการเคลื่อนทีแ่ ละความเร่ งของแขนประตู (MCE)
สาหรับในส่ วนของแขนประตูระบายน้ าล้นซึ่ งมีวสั ดุหลักคือเหล็กรู ปพรรณ (H250x250x14 mm) มี
คุณสมบัติตามมาตรฐาน มอก.1227-2539 ชั้นคุ ณภาพ SS400 และเป็ นองค์ประกอบของ Beam Element ซึ่ ง
เป็ นหนึ่ งในชิ้ นส่ วนที่ เกิ ดการสั่ นไหวอย่างชัดเจนภายใต้คลื่ นแผ่นดิ นไหวทุ ก คลื่ นในงานวิจยั นี้ โดยจะ

76
นาเสนอการเคลื่อนที่และความเร่ งจากผลที่ได้จากการสั่นไหวภายใต้คลื่นแผ่นดิ นไหวที่ให้ค่าการเคลื่ อนที่
และความเร่ งมากที่สุด และผลที่ได้จากการเฉลี่ยของคลื่นแผ่นดินไหวทั้ง 7 คลื่น
ผลการเคลื่อนที่ที่มีค่ามากที่สุดเกิดจากการสั่นไหวภายใต้คลื่นแผ่นดินไหว EQ6 ระดับความรุ นแรง
MCE โดยผลการเคลื่อนที่ในแนวแกน X มีค่ามากที่สุด (UxMax) เท่ากับ 2.97 มิลลิ เมตร ซึ่ งเกิ ดขึ้นที่บริ เวณ
กึ่ ง กลางของแขนประตู ดัง แสดงในรู ป ที่ 5-5 และในส่ วนผลการเคลื่ อนที่ ใ นแนวแกน Y มี ค่ า มากที่ สุ ด
(UyMax) เท่ากับ 9.01 มิลลิเมตร ซึ่ งเกิดขึ้นที่บริ เวณใกล้จุดรองรับของแขนประตู ดังแสดงในรู ปที่ 5-6 จากผล
การเคลื่อนที่ขา้ งต้นทาให้ทราบว่าแขนของประตูระบายน้ าล้นมีความอ่อนไหวในทิศทางขวางทางน้ า (แกน
Y) มากกว่าในทิศขนานทางน้ า (แกน X)

รู ปที่ 5-5 การเคลื่อนที่สูงสุดของแขนประตูในแนวแกน X (EQ6, MCE)

รู ปที่ 5-6 การเคลื่อนที่สูงสุดของแขนประตูในแนวแกน Y (EQ6, MCE)

77
ผลความเร่ งที่ มีค่ามากที่ สุดเกิ ดจากการสั่นไหวภายใต้คลื่ นแผ่นดิ นไหว EQ6 ระดับความรุ นแรง
MCE โดยผลความเร่ งในแนวแกน X มีค่ามากที่สุด (AxMax) เท่ากับ 14.63 เมตร/วินาที2 โดยเกิดการขยายตัว
ของความเร่ ง (AxMax/PGA) เท่ากับ 5.12 เท่าจากความเร่ งสู งสุ ดของคลื่ นคือ 2.85 เมตร/วินาที 2 ซึ่ งเกิ ดขึ้นที่
บริ เวณใกล้จุดรองรับของแขนประตู ดังแสดงในรู ปที่ 5-7 และในส่ วนผลความเร่ งในแนวแกน Y มีค่ามาก
ที่สุด (AyMax) เท่ากับ 39.71 เมตร/วินาที2 โดยเกิดการขยายตัวของความเร่ ง (AyMax/PGA) เท่ากับ 9.22 เท่าจาก
ความเร่ งสู งสุ ดของคลื่นคือ 4.31 เมตร/วินาที2 ซึ่ งเกิ ดขึ้นที่บริ เวณใกล้จุดรองรับของแขนประตู ดังแสดงใน
รู ป ที่ 5-8 จากผลความเร่ ง ข้า งต้นท าให้ท ราบว่า แขนของประตู ระบายน้ า ล้นมี ค วามอ่อนไหวในทิ ศ ทาง
ขวางทางน้ า (แกน Y) มากกว่าในทิศขนานทางน้ า (แกน X) โดยสรุ ปค่าการเคลื่อนที่และความเร่ งดังกล่าวใน
ตารางที่ 5-1

รู ปที่ 5-7 ความเร่ งสูงสุดของแขนประตูในแนวแกน X (EQ6, MCE)

รู ปที่ 5-8 ความเร่ งสูงสุดของแขนประตูในแนวแกน Y (EQ6, MCE)

78
ตารางที่ 5-1 สรุ ปการเคลื่อนที่และความเร่ งของแขนประตู (EQ6, MCE)

Elevation X-Axis Y-Axis


(m) UxMax (mm) AxMax (m/s2) AxMax/PGA UyMax (mm) AyMax (m/s2) AyMax/PGA
4.6 2.97 14.63 5.12 9.01 39.71 9.22

ผลที่ได้จากการเฉลี่ยของคลื่นแผ่นดินไหวทั้ง 7 คลื่น ระดับความรุ นแรง MCE โดยผลการเคลื่อนที่


ในแนวแกน X มีค่ามากที่สุด (UxMax) เท่ากับ 0.99 มิลลิ เมตร ซึ่ งเกิ ดขึ้นที่บริ เวณกึ่ งกลางของแขนประตู ดัง
แสดงในรู ปที่ 5-9 และในส่ วนผลการเคลื่อนที่ในแนวแกน Y มีค่ามากที่สุด (UyMax) เท่ากับ 1.75 มิลลิเมตร
ซึ่ งเกิ ดขึ้ นที่ บริ เวณใกล้จุดรองรั บของแขนประตู ดังแสดงในรู ปที่ 5-10 จากผลการเคลื่ อนที่ขา้ งต้นทาให้
ทราบว่าแขนของประตูระบายน้ าล้นมีความอ่อนไหวในทิศทางขวางทางน้ า (แกน Y) มากกว่าในทิศขนาน
ทางน้ า (แกน X)

รู ปที่ 5-9 การเคลื่อนที่สูงสุดเฉลี่ยของแขนประตูในแนวแกน X (7EQAvg, MCE)

79
รู ปที่ 5-10 การเคลื่อนที่สูงสุดเฉลี่ยของแขนประตูในแนวแกน Y (7EQAvg, MCE)

ผลที่ได้จากการเฉลี่ยของคลื่นแผ่นดินไหวทั้ง 7 คลื่น ระดับความรุ นแรง MCE โดยผลความเร่ งใน


แนวแกน X มีค่ามากที่สุด (AxMax) เท่ากับ 3.50 เมตร/วินาที2 โดยเกิดการขยายตัวของความเร่ ง (AxMax/PGA)
เท่ากับ 1.41 เท่าจากความเร่ งสู งสุ ดของคลื่น ซึ่ งเกิดขึ้นที่บริ เวณใกล้จุดรองรับของแขนประตู ดังแสดงในรู ป
ที่ 5-11 และในส่ วนผลความเร่ งในแนวแกน Y มีค่ามากที่สุด (AyMax) เท่ากับ 9.15 เมตร/วินาที2 โดยเกิดการ
ขยายตัวของความเร่ ง (AyMax/PGA) เท่ากับ 2.50 เท่าจากความเร่ งสู งสุ ดของคลื่ น ซึ่ งเกิดขึ้นที่บริ เวณใกล้จุด
รองรับของแขนประตู ดังแสดงในรู ปที่ 5-12 จากผลความเร่ งข้างต้นทาให้ทราบว่าแขนของประตูระบายน้ า
ล้นมีความอ่อนไหวในทิศทางขวางทางน้ า (แกน Y) มากกว่าในทิศขนานทางน้ า (แกน X) โดยสรุ ปค่าการ
เคลื่อนที่และความเร่ งดังกล่าวในตารางที่ 5-2

รู ปที่ 5-11 ความเร่ งสูงสุดเฉลี่ยของแขนประตูในแนวแกน X (7EQAvg, MCE)

80
รู ปที่ 5-12 ความเร่ งสูงสุดเฉลี่ยของแขนประตูในแนวแกน Y (7EQAvg, MCE)

ตารางที่ 5-2 สรุ ปการเคลื่อนที่และความเร่ งของแขนประตู (7EQAvg, MCE)

Elevation X-Axis Y-Axis


(m) UxMax (mm) AxMax (m/s2) AxMax/PGA UyMax (mm) AyMax (m/s2) AyMax/PGA
4.6 0.99 3.50 1.41 1.75 9.15 2.50

สรุ ป ผลการเคลื่ อนที่ แ ละความเร่ ง ของชิ้ นส่ วนแขนประตู ร ะบายน้ า ล้น ซึ่ ง มี วสั ดุ ห ลัก คื อเหล็ ก
รู ป พรรณ (H250x250x14 mm) มี คุณ สมบัติ ตามมาตรฐาน มอก.1227-2539 ชั้น คุ ณภาพ SS400 มี ผลการ
วิเคราะห์ที่ระดับคลื่นแผ่นดิ นไหวรุ นแรงสู งสุ ดที่พิจารณา (Maximum Considered Earthquake, MCE) ทั้ง 7
คลื่น พบว่าแขนประตูเกิดความอ่อนไหวในทิศทางขวางทางน้ า (แกน Y) มากกว่าทิศทางขนานทางน้ า (แกน
X) และมีการเคลื่อนที่ในแนวราบเพียงหลักมิลลิเมตรเท่านั้น ซึ่ งถือว่าน้อยมากแต่กลับมีค่าความเร่ งค่อนข้าง
สู งเมื่อเปรี ยบเทียบกับความเร่ งสู งสุ ดที่พ้ืนดินของคลื่นแผ่นดินไหว โดยการเคลื่อนที่และความเร่ งของแขน
ประตูมีค่าสู งที่บริ เวณใกล้จุดรองรับของแขนประตู อย่างไรก็ตามความสัมพันธ์ ระหว่างการเคลื่ อนที่และ
ความเร่ ง ไม่ ไ ด้สั ม พัน ธ์ ก ัน แบบเชิ ง เส้ น แต่ จ ะขึ้ น อยู่ก ับ การตอบสนองของประตู ร ะบายน้ า ล้น ต่ อคลื่ น
แผ่นดินไหวแต่ละคลื่นนั้นๆ
5.1.2 ผลการเคลื่อนทีแ่ ละความเร่ งของบานประตู (MCE)
ส าหรั บ ในส่ ว นของบานประตู ร ะบายน้ า ล้น ซึ่ งมี ว สั ดุ ห ลัก คื อ แผ่น เหล็ ก หนา 22 มิ ล ลิ เ มตร มี
คุณสมบัติตามมาตรฐาน JIS G 3101 ชั้นคุ ณภาพ SS400 และเป็ นองค์ประกอบของ Shell Element ซึ่ งเป็ น

81
หนึ่ งในชิ้นส่ วนที่เกิดการสั่นไหวอย่างชัดเจนภายใต้คลื่นแผ่นดินไหวทุกคลื่นในงานวิจยั นี้ โดยจะนาเสนอ
การเคลื่อนที่และความเร่ งโดยแบ่งตามระดับความสู ง 3 ระดับ นับจากฐานตั้งบานประตูบนสันฝายที่ระดับ 0
3.2 และ 7 เมตร จากผลที่ได้จากการสั่นไหวภายใต้คลื่ นแผ่นดิ นไหวที่ให้ค่าการเคลื่ อนที่และความเร่ งมาก
ที่สุด และผลที่ได้จากการเฉลี่ยของคลื่นแผ่นดินไหวทั้ง 7 คลื่น
ผลการเคลื่อนที่ที่มีค่ามากที่สุดเกิดจากการสั่นไหวภายใต้คลื่นแผ่นดินไหว EQ6 ระดับความรุ นแรง
MCE โดยผลการเคลื่อนที่ในแนวแกน X มีค่ามากที่สุด (UxMax) เท่ากับ 12.23 มิลลิ เมตร ซึ่ งเกิ ดขึ้นที่ระดับ
ความสู ง 7 เมตร บริ เวณกึ่งกลางของบานประตู ดังแสดงในรู ปที่ 5-13 ในส่ วนผลการเคลื่อนที่ในแนวแกน Y
มี ค่ า มากที่ สุ ด (UyMax) เท่ ากับ 0.58 มิ ล ลิ เมตร ซึ่ งเกิ ดขึ้ นที่ ระดับ ความสู ง 7 เมตร บริ เวณขอบบานประตู
ด้านซ้าย (มองจากด้านท้ายน้ า) ดังแสดงในรู ปที่ 5-14 จากผลการเคลื่ อนที่ขา้ งต้นทาให้ทราบว่าแผ่นเหล็ก
บานประตูระบายน้ าล้นมีความอ่อนไหวในทิศทางขนานทางน้ า (แกน X) มากกว่าในทิศขวางทางน้ า (แกน
Y)

รู ปที่ 5-13 การเคลื่อนที่สูงสุดของบานประตูในแนวแกน X (EQ6, MCE)

82
รู ปที่ 5-14 การเคลื่อนที่สูงสุดของบานประตูในแนวแกน Y (EQ6, MCE)

ผลความเร่ งที่ มีค่ามากที่ สุดเกิ ดจากการสั่นไหวภายใต้คลื่ นแผ่นดิ นไหว EQ6 ระดับความรุ นแรง
MCE โดยผลความเร่ งในแนวแกน X มีค่ามากที่สุด (AxMax) เท่ากับ 32.74 เมตร/วินาที2 โดยเกิดการขยายตัว
ของความเร่ ง (AxMax/PGA) เท่ากับ 11.47 เท่าจากความเร่ งสู งสุ ดของคลื่นคือ 2.85 เมตร/วินาที 2 ซึ่ งเกิดขึ้นที่
ระดับความสู ง 7 เมตร บริ เวณกึ่ ง กลางของบานประตู ดังแสดงในรู ปที่ 5-15 และในส่ วนผลความเร่ งใน
แนวแกน Y มีคา่ มากที่สุด (AyMax) เท่ากับ 22.79 เมตร/วินาที2 โดยเกิดการขยายตัวของความเร่ ง (AyMax/PGA)
เท่ากับ 5.29 เท่าจากความเร่ งสู งสุ ดของคลื่นคือ 4.31 เมตร/วินาที2 ซึ่ งเกิดขึ้นที่ระดับความสู ง 7 เมตร บริ เวณ
ขอบบานประตูดา้ นซ้าย (มองจากด้านท้ายน้ า) ดังแสดงในรู ปที่ 5-16 จากผลความเร่ งข้างต้นทาให้ทราบว่า
แผ่นเหล็กบานประตูระบายน้ าล้นมีความอ่อนไหวในทิศทางขนานทางน้ า (แกน X) มากกว่าในทิศขวางทาง
น้ า (แกน Y) โดยสรุ ปค่าการเคลื่อนที่และความเร่ งดังกล่าวในตารางที่ 5-3

83
รู ปที่ 5-15 ความเร่ งสูงสุดของบานประตูในแนวแกน X (EQ6, MCE)

รู ปที่ 5-16 ความเร่ งสูงสุดของบานประตูในแนวแกน Y (EQ6, MCE)

84
ตารางที่ 5-3 สรุ ปการเคลื่อนที่และความเร่ งของบานประตู (EQ6, MCE)

Elevation X-Axis Y-Axis


(m) UxMax (mm) AxMax (m/s2) AxMax/PGA UyMax (mm) AyMax (m/s2) AyMax/PGA
0.0 0.88 5.42 1.90 0.25 2.63 0.61
3.2 1.43 15.34 5.37 0.26 7.06 1.64
7.0 12.23 32.74 11.47 0.58 22.79 5.29

ผลที่ได้จากการเฉลี่ยของคลื่นแผ่นดินไหวทั้ง 7 คลื่น ระดับความรุ นแรง MCE โดยผลการเคลื่อนที่


ในแนวแกน X มี ค่ามากที่ สุด (UxMax) เท่ากับ 5.40 มิลลิเมตร ซึ่ งเกิ ดขึ้ นที่ระดับความสู ง 3.2 เมตร บริ เวณ
กึ่งกลางของบานประตูโดยมีค่าไม่ต่างกับที่ระดับความสู ง 7 เมตร บริ เวณกึ่งกลางของบานประตู เท่ากับ 5.04
มิลลิเมตร ดังแสดงในรู ปที่ 5-17 และในส่ วนผลการเคลื่ อนที่ในแนวแกน Y มีค่ามากที่สุด (UyMax) เท่ากับ
0.39 มิลลิเมตร ซึ่ งเกิดขึ้นที่ระดับความสู ง 7 เมตร บริ เวณขอบบานประตูดา้ นซ้าย (มองจากด้านท้ายน้ า) ดัง
แสดงในรู ป ที่ 5-18 จากผลการเคลื่ อนที่ ข ้างต้นท าให้ท ราบว่า แผ่นเหล็ กบานประตู ระบายน้ า ล้นมี ค วาม
อ่อนไหวในทิศทางขนานทางน้ า (แกน X) มากกว่าในทิศขวางทางน้ า (แกน Y)

รู ปที่ 5-17 การเคลื่อนที่สูงสุดเฉลี่ยของบานประตูในแนวแกน X (7EQAvg, MCE)

85
รู ปที่ 5-18 การเคลื่อนที่สูงสุดเฉลี่ยของบานประตูในแนวแกน Y (7EQAvg, MCE)

ผลที่ได้จากการเฉลี่ยของคลื่นแผ่นดินไหวทั้ง 7 คลื่น ระดับความรุ นแรง MCE โดยผลความเร่ งใน


แนวแกน X มีค่ามากที่สุด (AxMax) เท่ากับ 12.63 เมตร/วินาที2 โดยเกิดการขยายตัวของความเร่ ง (AxMax/PGA)
เท่ากับ 5.39 เท่าจากความเร่ งสู งสุ ดของคลื่น ซึ่ งเกิดขึ้นที่บริ เวณใกล้จุดรองรับของแขนประตู ดังแสดงในรู ป
ที่ 5-19 และในส่ วนผลความเร่ งในแนวแกน Y มีค่ามากที่สุด (AyMax) เท่ากับ 3.62 เมตร/วินาที2 โดยเกิดการ
ขยายตัวของความเร่ ง (AyMax/PGA) เท่ากับ 0.90 เท่าจากความเร่ งสู งสุ ดของคลื่น ซึ่ งเกิดขึ้นที่ระดับความสู ง 7
เมตร บริ เวณขอบบานประตูดา้ นซ้าย (มองจากด้านท้ายน้ า) ดังแสดงในรู ปที่ 5-20 จากผลความเร่ งข้างต้นทา
ให้ทราบว่าแผ่นเหล็กบานประตูระบายน้ าล้นมีความอ่อนไหวในทิศทางขนานทางน้ า (แกน X) มากกว่าใน
ทิศขวางทางน้ า (แกน Y) โดยสรุ ปค่าการเคลื่อนที่และความเร่ งดังกล่าวในตารางที่ 5-4

86
รู ปที่ 5-19 ความเร่ งสูงสุดเฉลี่ยของบานประตูในแนวแกน X (7EQAvg, MCE)

รู ปที่ 5-20 ความเร่ งสูงสุดเฉลี่ยของบานประตูในแนวแกน Y (7EQAvg, MCE)

87
ตารางที่ 5-4 สรุ ปการเคลื่อนที่และความเร่ งของบานประตู (7EQAvg, MCE)

Elevation X-Axis Y-Axis


(m) UxMax (mm) AxMax (m/s2) AxMax/PGA UyMax (mm) AyMax (m/s2) AyMax/PGA
0.0 4.72 1.43 0.81 0.08 0.48 0.13
3.2 5.40 4.03 1.66 0.06 1.17 0.30
7.0 5.04 12.63 5.39 0.39 3.62 0.90

สรุ ปผลการเคลื่ อนที่และความเร่ งของชิ้ นส่ วนแผ่นเหล็กบานประตูระบายน้ าล้นซึ่ งมีวสั ดุหลักคือ


แผ่นเหล็กหนา 22 มิลลิเมตร มีคุณสมบัติตามมาตรฐาน JIS G 3101 ชั้นคุณภาพ SS400 มีผลการวิเคราะห์ที่
ระดับคลื่นแผ่นดินไหวรุ นแรงสู งสุ ดที่พิจารณา (Maximum Considered Earthquake, MCE) ทั้ง 7 คลื่น พบว่า
แผ่นเหล็กบานประตูเกิดความอ่อนไหวในทิศทางขนานทางน้ า (แกน X) มากกว่าทิศทางขวางทางน้ า (แกน
Y) และมีการเคลื่อนที่ในแนวราบเพียงหลักมิลลิเมตรเท่านั้น ซึ่ งถือว่าน้อยมากแต่กลับมีค่าความเร่ งค่อนข้าง
สู ง เมื่ อเปรี ย บเที ย บกับ ความเร่ ง สู ง สุ ดที่ พ้ืนดิ นของคลื่ นแผ่นดิ นไหว โดยบริ เวณที่ เกิ ดการเคลื่ อนที่ และ
ความเร่ งสู งเกิ ดขึ้นที่ก่ ึ งกลางด้านบนระดับความสู ง 7 เมตร จากพื้นบนสันฝายซึ่ งบริ เวณดังกล่าวไม่มีองค์
อาคารเหล็กรู ปพรรณค้ ายันอยู่ อย่างไรก็ตามความสัมพันธ์ระหว่างการเคลื่อนที่และความเร่ งไม่ได้สัมพันธ์
กันแบบเชิงเส้นแต่จะขึ้นอยูก่ บั การตอบสนองของประตูระบายน้ าล้นต่อคลื่นแผ่นดินไหวแต่ละคลื่นนั้นๆ
สาหรับการเสี ยรู ปของแบบจาลองไฟไนต์เอลิเมนต์ของประตูระบายน้ าล้นที่เวลาสุ ดท้ายของคลื่ น
แผ่นดินไหวพบว่าทุกคลื่นแผ่นดินไหวทั้ง 7 คลื่น ที่ระดับความรุ นแรง MCE เป็ นไปในแนวทางเดียวกันคือ
เกิ ดการเคลื่ อนที่ น้อยมากที่ บ ริ เวณด้า นข้า งและด้า นล้า งของบานประตู โดยรู ป ที่ 5-21 ได้แสดงผลการ
เคลื่ อนที่ ลพั ธ์ของประตู ระบายน้ าล้นที่ เวลาสุ ดท้ายของแผ่นดิ นไหว (EQ6, MCE) ซึ่ งให้ผลการเคลื่ อนที่
สู งสุ ดจากคลื่นทั้ง 7 คลื่น โดยมีค่าการเคลื่อนที่บริ เวณด้านข้างและด้านล้างของบานประตูซ่ ึ งเป็ นตาแหน่งที่
ใช้ป้องกันการรั่วซึ มของน้ ามีค่าสู งสุ ดเท่ากับ 0.16 มิลลิเมตร และที่ก่ ึ งกลางด้านบนของบานประตูที่ระดับ
ความสู ง 7 เมตร จากพื้นบนสันฝายมีค่าการเคลื่ อนที่สูงสุ ดเท่ากับ 1.6 มิลลิเมตร เท่านั้น ในส่ วนของแขน
ประตูพบว่าที่ตาแหน่งจุดรองรับแขนประตูไม่มีการเคลื่อนที่และมีการเคลื่ อนที่สูงสุ ดในช่วงความยาวแขน
ประตูเท่ากับ 0.01 มิลลิเมตร เท่านั้น จากผลการวิเคราะห์ที่กล่าวมาข้างต้นสามารถสรุ ปได้วา่ การเสี ยรู ปของ
ประตู ระบายน้ า ล้นเกิ ดขึ้ นน้อยมากซึ่ ง สามารถอนุ ม านประตู ระบายน้ า ล้นยัง คงสภาพและมี เสถี ย รภาพ
ตามเดิมหลังเกิดแผ่นดินไหว

88
รู ปที่ 5-21 การเคลื่อนที่ลพั ธ์ของประตูระบายน้ าล้นที่เวลาสุดท้ายของแผ่นดินไหว (EQ6, MCE)

5.1.3 ความเสี ยหายในส่ วนขององค์ อาคาร (MCE)


สาหรั บในส่ วนความเสี ยหายขององค์อาคารประกอบประตู ระบายน้ าล้นซึ่ งมี วสั ดุ หลักคื อเหล็ก
รู ปพรรณมีคุณสมบัติตามมาตรฐาน มอก.1227-2539 ชั้นคุ ณภาพ SS400 และเป็ นองค์ประกอบของ Beam
Element ซึ่ งเป็ นหนึ่ งในชิ้ นส่ วนที่เกิ ดการสั่นไหวอย่างชัดเจนภายใต้แรงแผ่นดินไหวทุกคลื่นในงานวิจยั นี้
ซึ่ งจะถูกเสนอในรู ปแบบผลของแรงตามแนวแกน (Axial Force) และโมเมนต์ดดั (Bending Moment) โดย
จะน าเสนอค่ า คุ ณสมบัติ ดัง กล่ า วจากผลที่ ไ ด้จ ากการสั่ น ไหวภายใต้ค ลื่ น แผ่น ดิ น ไหวที่ ใ ห้ ค่ า แรงตาม
แนวแกน (Axial Force) และโมเมนต์ดดั (Bending Moment) มากที่สุด และผลที่ได้จากการเฉลี่ยของคลื่ น
แผ่นดินไหวทั้ง 7 คลื่น
จากการวิเคราะห์ ความเสี ยหายขององค์อาคารในส่ วนของการต้านทานแรงตามแนวแกน (Axial
Force) พบว่ า ค่ า ดัง กล่ า วมี ค่ า มากที่ สุ ดภายใต้ค ลื่ น แผ่ น ดิ น ไหว EQ6 ระดับ ความรุ นแรง MCE โดย
ส่ วนประกอบขององค์อาคารเหล็กรู ปพรรณที่ มีส่วนต้านทานแรงตามแนวแกน (Axial Force) สู งสุ ดของ
หน้าตัดแบ่งเป็ นแรงดึง (Tensile Force) และแรงอัด (Compression Force) ได้แก่ แขนประตู (H250x250x14
mm) เหล็กโครงประตู (PL160x22 mm) และเหล็กครี บบานประตูขอบนอก (L470x90x8 mm) ดังแสดงใน
รู ปที่ 5-22 จากผลการวิเคราะห์ ดงั กล่าวได้ผลดังนี้ แขนประตู (H250x250x14 mm) มี ค่าแรงดึ งสู งสุ ดและ
89
แรงอัดสู งสุ ดเท่ากับ 584.60 400.34 kN ตามลาดับ เหล็กโครงประตู (PL160x22 mm) มีค่าแรงดึงสู งสุ ดและ
แรงอัดสู ง สุ ดเท่ า กับ 153.97 166.73 kN ตามล าดับ และเหล็ก ครี บบานประตู ขอบนอก (L470x90x8 mm)
ค่าแรงดึงสู งสุ ดและแรงอัดสู งสุ ดเท่ากับ 238.13 200.63 kN ตามลาดับ ซึ่ งผลการต้านทานแรงตามแนวแกน
ทั้งหมดขององค์อาคารเหล็กรู ปพรรณภายใต้แรงแผ่นดินไหวไม่พบว่ามีค่าแรงตามแนวแกนที่เกินกว่ากาลัง
ของเหล็กรู ปพรรณรับได้ ดังแสดงในตารางที่ 5-5

รู ปที่ 5-22 แรงตามแนวแกนขององค์อาคารเหล็กรู ปพรรณ (EQ6, MCE)

ตารางที่ 5-5 แรงตามแนวแกนขององค์อาคารเหล็กรู ปพรรณ (EQ6, MCE)


แรงตามแนวแกน (Axial Force)
ส่ วนประกอบ แรงดึงสู งสุ ด กาลังรับแรงดึง แรงอัดสู งสุ ด กาลังรับแรงอัด
(kN) (kN) (kN) (kN)
แขนประตู
584.60 2258.41 400.34 1388.22
(H250x250x14 mm)
เหล็กโครงประตู
153.97 862.40 166.73 728.93
(PL160x22 mm)
เหล็กขอบประตู
ด้านนอก 238.13 1081.92 200.63 1055.04
(L470x90x8 mm)

90
จากการวิ เคราะห์ ค วามเสี ย หายขององค์อาคารในส่ วนของการต้า นทานโมเมนต์ดัด (Bending
Moment) พบว่าค่าดังกล่าวมีค่ามากที่สุดภายใต้คลื่นแผ่นดินไหว EQ6 ระดับความรุ นแรง MCE โดยโมเมนต์
ดัด (Bending Moment) แบ่งเป็ น Moment 2-2 และ Moment 3-3 โดยที่โมเมนต์ 2-2 เป็ นการต้านทานโมเมนต์
ดัดรอบแกน Y ในขณะที่ประตูระบายน้ าล้นเกิดการเคลื่อนที่ข้ ึนลงในแนวดิ่ง (ตามแนวแกน Z) และโมเมนต์
3-3 เป็ นการต้า นทานโมเมนต์ดัดรอบแกน Z ในขณะที่ ป ระตู ระบายน้ า ล้นเกิ ดการเคลื่ อนที่ ซ้า ยขวาใน
แนวราบทิศขวางทางน้ า (ตามแนวแกน Y) โดยส่ วนประกอบขององค์อาคารเหล็กรู ปพรรณที่มีส่วนต้านทาน
โมเมนต์ดดั (Bending Moment) สู ง สุ ดของหน้าตัด คื อ แขนประตู (H250x250x14 mm) เพีย งอย่า งเดี ย วที่
ชัดเจนที่สุดซึ่ งมีค่า Moment 2-2 เท่ากับ 14.06 kN-m และมีค่า Moment 3-3 เท่ากับ 37.94 kN-m ดังแสดงใน
รู ปที่ 5-23 โดยผลการต้านทานโมเมนต์ดดั ทั้งหมดขององค์อาคารเหล็กรู ปพรรณภายใต้แรงแผ่นดิ นไหวไม่
พบว่ามีค่าโมเมนต์ดดั ที่เกินกว่ากาลังของเหล็กรู ปพรรณรับได้ที่สภาวะครากและพลาสติก ดังแสดงในตาราง
ที่ 5-6

รู ปที่ 5-23 โมเมนต์ดดั ขององค์อาคารเหล็กรู ปพรรณ (EQ6, MCE)

ตารางที่ 5-6 โมเมนต์ดดั ขององค์อาคารเหล็กรู ปพรรณ (EQ6, MCE)


โมเมนต์ดดั (Bending Moment)
แขนประตู
โมเมนต์ดดั สู งสุ ด โมเมนต์คราก โมเมนต์พลาสติก
(H250x250x14 mm)
(kN-m) (kN-m) (kN-m)
โมเมนต์ดดั 2-2 (kN-m) 14.06 74.48 114.17
โมเมนต์ดดั 3-3 (kN-m) 37.94 225.16 248.68

จากการวิเคราะห์ความเสี ยหายขององค์อาคารเหล็กรู ปพรรณสาหรับการต้านทานแรงตามแนวแกน


(Axial Force) และโมเมนต์ดดั (Bending Moment) ภายใต้คลื่ นแผ่นดิ นไหว EQ6 ระดับความรุ นแรง MCE

91
ซึ่ งก่อให้เกิ ดความเสี ยหายมากที่สุด พบว่าเกิ ดชิ้นส่ วนที่วิกฤติที่สุดเกิ ดขึ้นที่แขนของประตู (H250x250x14
mm) ในช่ วงระยะ 6.24 เมตร จากจุดรองรั บแขนประตู ดังแสดงในรู ปที่ 5-24 เมื่ อนาชิ้ นส่ วนดังกล่ าวมา
ตรวจสอบค่ า ความปลอดภัย จากพฤติ กรรมแบบ คาน-เสา ด้วยสมการความสั มพันธ์ ระหว่า งแรงอัดกับ
โมเมนต์สูงสุ ดที่เกิ ดขึ้นภายในช่ วงความยาวที่สนใจโดยใช้วิธีกาลังที่ยอมให้ (Allowable Strength Design,
ASD) พบว่ามี ค่าอัตราส่ วนความปลอดภัยเท่ากับ 0.94 ซึ่ งมี ค่าน้อยกว่า 1.0 จึ งถื อว่ามี ความปลอดภัยตาม
มาตรฐานของ AISC (American Institute of Steel Construction) และสาหรั บอัตราส่ วนความปลอดภัยของ
เหล็กรู ปพรรณชิ้นอื่นๆ มีค่าอยูร่ ะหว่าง 0.1 ถึง 0.5

รู ปที่ 5-24 แรงตามแนวแกน และโมเมนต์ดดั ของชิ้นส่วนที่วกิ ฤติที่สุด (EQ6, MCE)

จากการวิเคราะห์ ความเสี ยหายขององค์อาคารในส่ วนของการต้านทานแรงตามแนวแกน (Axial


Force) ส าหรั บ ผลที่ ไ ด้จ ากการเฉลี่ ย ของคลื่ น แผ่ น ดิ น ไหวทั้ง 7 คลื่ น ระดับ ความรุ น แรง MCE โดย
ส่ วนประกอบขององค์อาคารเหล็กรู ปพรรณที่ มีส่วนต้านทานแรงตามแนวแกน (Axial Force) สู งสุ ดของ
หน้าตัดแบ่งเป็ นแรงดึง (Tensile Force) และแรงอัด (Compression Force) ได้แก่ แขนประตู (H250x250x14
mm) เหล็กโครงประตู (PL160x22 mm) และเหล็กครี บบานประตูขอบนอก (L470x90x8 mm) จากผลการ
วิเคราะห์ ดังกล่ า วได้ผ ลดังนี้ แขนประตู (H250x250x14 mm) มี ค่า แรงดึ ง สู งสุ ดและแรงอัดสู ง สุ ดเท่า กับ
213.97 153.23 kN ตามลาดับ เหล็กโครงประตู (PL160x22 mm) มีค่าแรงดึ งสู งสุ ดและแรงอัดสู งสุ ดเท่ากับ

92
55.94 58.95 kN ตามลาดับ และเหล็กครี บบานประตูขอบนอก (L470x90x8 mm) ค่าแรงดึงสู งสุ ดและแรงอัด
สู งสุ ดเท่ากับ 85.28 82.98 kN ตามลาดับ ซึ่ งผลการต้านทานแรงตามแนวแกนทั้งหมดขององค์อาคารเหล็ก
รู ปพรรณภายใต้แรงแผ่นดินไหวไม่พบว่ามีค่าแรงตามแนวแกนที่เกินกว่ากาลังของเหล็กรู ปพรรณรับได้ ดัง
แสดงในตารางที่ 5-7
ตารางที่ 5-7 แรงตามแนวแกนขององค์อาคารเหล็กรู ปพรรณ (7EQAvg, MCE)
แรงตามแนวแกน (Axial Force)
ส่ วนประกอบ แรงดึงสู งสุ ด กาลังรับแรงดึง แรงอัดสู งสุ ด กาลังรับแรงอัด
(kN) (kN) (kN) (kN)
แขนประตู
213.97 2258.41 153.23 1388.22
(H250x250x14 mm)
เหล็กโครงประตู
55.94 862.40 58.95 728.93
(PL160x22 mm)
เหล็กขอบประตู
ด้านนอก 85.28 1081.92 82.98 1055.04
(L470x90x8 mm)

จากการวิ เคราะห์ ค วามเสี ย หายขององค์อาคารในส่ วนของการต้า นทานโมเมนต์ดัด (Bending


Moment) ส าหรั บ ผลที่ ไ ด้จ ากการเฉลี่ ย ของคลื่ น แผ่น ดิ นไหวทั้ง 7 คลื่ น ระดับความรุ น แรง MCE โดย
โมเมนต์ดดั (Bending Moment) แบ่งเป็ น Moment 2-2 และ Moment 3-3 โดยที่โมเมนต์ 2-2 เป็ นการต้านทาน
โมเมนต์ดดั รอบแกน Y ในขณะที่ประตูระบายน้ าล้นเกิดการเคลื่อนที่ข้ ึนลงในแนวดิ่ง (ตามแนวแกน Z) และ
โมเมนต์ 3-3 เป็ นการต้านทานโมเมนต์ดดั รอบแกน Z ในขณะที่ประตูระบายน้ าล้นเกิดการเคลื่อนที่ซ้ายขวา
ในแนวราบทิศขวางทางน้ า (ตามแนวแกน Y) โดยส่ วนประกอบขององค์อาคารเหล็กรู ปพรรณที่ มีส่วน
ต้านทานโมเมนต์ดดั (Bending Moment) สู งสุ ดของหน้าตัดคือ แขนประตู (H250x250x14 mm) เพียงอย่าง
เดี ยวที่ชดั เจนที่สุดซึ่ งมีค่า Moment 2-2 เท่ากับ 10.09 kN-m และมีค่า Moment 3-3 เท่ากับ 13.04 kN-m โดย
ผลการต้า นทานโมเมนต์ดดั ทั้ง หมดขององค์อาคารเหล็ก รู ปพรรณภายใต้แรงแผ่นดิ นไหวไม่ พบว่า มี ค่ า
โมเมนต์ดดั ที่เกินกว่ากาลังของเหล็กรู ปพรรณรับได้ที่สภาวะครากและพลาสติก ดังแสดงในตารางที่ 5-8

93
ตารางที่ 5-8 โมเมนต์ดดั ขององค์อาคารเหล็กรู ปพรรณ (7EQAvg, MCE)
โมเมนต์ดดั (Bending Moment)
แขนประตู
โมเมนต์ดดั สู งสุ ด โมเมนต์คราก โมเมนต์พลาสติก
(H250x250x14 mm)
(kN-m) (kN-m) (kN-m)
โมเมนต์ดดั 2-2 (kN-m) 10.09 74.48 114.17
โมเมนต์ดดั 3-3 (kN-m) 13.04 225.16 248.68

จากการวิเคราะห์ความเสี ยหายขององค์อาคารเหล็กรู ปพรรณพบว่าผลของแรงตามแนวแกน (Axial


Force) สู งสุ ด และโมเมนต์ดดั (Bending Moment) สู งสุ ด 7 คลื่นเฉลี่ยมีค่าไม่เกินค่ากาลังของหน้าตัดเหล็ก
รู ปพรรณรับได้ ดังนั้นจึงสรุ ปได้วา่ องค์อาคารเหล็กรู ปพรรณมีความปลอดภัยภายใต้แรงแผ่นดินไหวที่ระดับ
ความรุ นแรง MCE ทั้งนี้ ในส่ วนของการเปรี ยบเทียบผลของแรงตามแนวแกน (Axial Force) สู งสุ ด และ
โมเมนต์ดดั (Bending Moment) สู งสุ ดขององค์อาคารเหล็กรู ปพรรณประกอบประตูระบายน้ าล้นระหว่าง
สภาวะสถิ ต (Static) กับ สภาวะพลวัตภายใต้แรงแผ่นดิ นไหวสู ง สุ ด (Dynamic, EQ6) และสภาวะพลวัต
ภายใต้แรงแผ่นดินไหวเฉลี่ ย 7 คลื่น ระดับความรุ นแรง MCE (Dynamic, 7EQAvg) เพื่อให้เห็ นว่าองค์อาคาร
เหล็กรู ปพรรณขณะที่ไม่ได้ตา้ นทานแรงแผ่นดิ นไหวกับขณะที่ตอ้ งต้านทานแรงแผ่นดินไหวมีค่าแรงตาม
แนวแกนสู งสุ ดและโมเมนต์ดดั สู งสุ ดแตกต่างกันเพียงใด
ตารางที่ 5-9 การเปรี ยบเทียบแรงตามแนวแกนขององค์อาคารเหล็กรู ปพรรณที่สภาวะสถิตกับพลวัต (MCE)
แรงตามแนวแกน (Axial Force)
แรงดึงสู งสุ ด (kN) แรงอัดสู งสุ ด (kN)
ส่ วนประกอบ พลวัต พลวัต พลวัต พลวัต
สถิต สถิต
(Dynamic, (Dynamic, (Dynamic, (Dynamic,
(Static) (Static)
EQ6) 7EQAvg) EQ6) 7EQAvg)
แขนประตู
44.73 584.60 213.97 23.40 400.34 153.23
(H250x250x14 mm)
เหล็กโครงประตู
5.24 153.97 55.94 5.80 166.73 58.95
(PL160x22 mm)
เหล็กขอบประตู
ด้านนอก 7.44 238.13 85.28 22.30 200.63 82.98
(L470x90x8 mm)

94
ตารางที่ 5-10 การเปรี ยบเทียบโมเมนต์ดดั ขององค์อาคารเหล็กรู ปพรรณที่สภาวะสถิตกับพลวัต (MCE)
โมเมนต์ดดั (Bending Moment, kN-m)
แขนประตู
สถิต พลวัต พลวัต
(H250x250x14 mm)
(Static) (Dynamic, EQ6) (Dynamic, 7EQAvg)
โมเมนต์ดดั 2-2 (kN-m) 6.80 14.06 10.09
โมเมนต์ดดั 3-3 (kN-m) 2.40 37.94 13.04

โดยตารางที่ 5-9 และ 5-10 แสดงให้เห็นว่าเมื่อเกิดการสั่นสะเทือนจากคลื่นแผ่นดินไหวส่ งผลให้องค์อาคาร


เหล็กรู ปพรรณต้องรับภาระมากขึ้นอย่างชัดเจน
สรุ ปผลการประเมิ นความเสี ยหายของประตู ระบายน้ าล้นภายใต้คลื่ นแผ่นดิ นไหวระดับรุ นแรง
สู งสุ ดที่พิจารณา (Maximum Considered Earthquake, MCE) ในส่ วนขององค์อาคารซึ่ งเป็ นเหล็กรู ปพรรณมี
คุณสมบัติตามมาตรฐาน มอก.1227-2539 ชั้นคุ ณภาพ SS400 ซึ่ งใช้แบบจาลองเป็ น Beam Element พบว่า
เหล็กรู ปพรรณที่มีส่วนต้านทานแรงตามแนวแกน (Axial Force) จากการสั่นไหวของคลื่นแผ่นดินไหวได้แก่
แขนประตู (H250x250x14 mm) เหล็ ก โครงประตู (PL160x22 mm) และเหล็ ก ครี บ บานประตู ขอบนอก
(L470x90x8 mm) ในส่ วนของการต้านทานโมเมนต์ดดั (Bending Moment) พบว่าแขนประตู (H250x250x14
mm) เพียงอย่างเดี ยวที่ ตา้ นทานโมเมนต์สูงสุ ด โดยผลการต้านทานแรงตามแนวแกนเฉลี่ยขององค์อาคาร
เหล็กรู ปพรรณไม่พบว่ามีค่าแรงตามแนวแกนที่เกิ นกว่ากาลังของเหล็กรู ปพรรณรับได้และผลการต้านทาน
โมเมนต์ดดั เฉลี่ยขององค์อาคารเหล็กรู ปพรรณไม่พบว่ามีค่าโมเมนต์ดดั ที่เกินกว่ากาลังของเหล็กรู ปพรรณ
รับได้ที่สภาวะครากและพลาสติก และเมื่อตรวจสอบค่าความปลอดภัยจากพฤติกรรมแบบ คาน-เสา ด้วย
สมการความสัมพันธ์ระหว่างแรงอัดกับโมเมนต์สูงสุ ดที่เกิดขึ้นภายในช่วงความยาวที่สนใจโดยใช้วธิ ี กาลังที่
ยอมให้ (Allowable Strength Design, ASD) ส าหรั บ ในกรณี ค ลื่ น แผ่ น ดิ น ไหวที่ รุ น แรงที่ สุ ด พบว่า มี ค่ า
อัตราส่ วนความปลอดภัยของชิ้นส่ วนที่วิกฤติที่สุดเท่ากับ 0.94 ซึ่ งมีค่าน้อยกว่า 1.0 จึงถือว่ามีความปลอดภัย
ตามมาตรฐานของ AISC (American Institute of Steel Construction) และสาหรับอัตราส่ วนความปลอดภัย
ของเหล็กรู ปพรรณชิ้ นอื่นๆ มีค่าอยู่ระหว่าง 0.1 ถึง 0.5 ดังนั้นสามารถสรุ ปได้วา่ องค์อาคารเหล็กรู ปพรรณ
สามารถต้านทานแรงแผ่นดิ นไหวได้สาหรับการคัดเลื อกคลื่ นแผ่นดิ นไหวด้วยวิธี Time History Scaling ที่
ต้องนาผลการวิเคราะห์จากทั้ง 7 คลื่น มาเฉลี่ยกัน

95
5.1.4 ความเสี ยหายในส่ วนของบานประตู (MCE)
ส าหรั บ ในส่ ว นความเสี ย หายของบานประตู ร ะบายน้ า ล้นซึ่ งมี ว สั ดุ ห ลัก คื อ แผ่น เหล็ ก หนา 22
มิ ล ลิ เ มตร มี คุ ณ สมบัติ ต ามมาตรฐาน JIS G 3101 ชั้น คุ ณ ภาพ SS400 และเป็ นองค์ป ระกอบของ Shell
Element ซึ่ งเป็ นหนึ่ งในชิ้ นส่ วนที่เกิดการสั่นไหวอย่างชัดเจนภายใต้คลื่ นแผ่นดินไหวทุกคลื่นในงานวิจยั นี้
ซึ่ งจะถูกพิจารจากผลของความเค้นตามทฤษฎี (Von Mises Stress) สู งสุ ด เพื่อตรวจสอบความเสี ยหายของ
แผ่นเหล็กบานประตูโดยการตรวจสอบกับความเค้นคราก (Yield Stress) ของเหล็กที่ใช้ทาบานประตูซ่ ึ งมีค่า
เท่ากับ 2350 ksc โดยจะนาเสนอค่าคุณสมบัติดงั กล่าวจากผลที่ได้จากการสั่นไหวภายใต้คลื่นแผ่นดินไหวที่
ให้ค่าความเค้น Von Mises มากที่สุด และผลที่ได้จากการเฉลี่ยของคลื่นแผ่นดินไหวทั้ง 7 คลื่น
จากการวิเคราะห์ความเสี ยหายของบานประตู พบว่าค่าความเค้น Von Mises มี ค่ามากที่ สุดภายใต้
คลื่ นแผ่นดินไหว EQ6 ระดับความรุ นแรง MCE โดยตาแหน่ งที่ได้รับความเสี ยหายหรื อเกิดความเค้น Von
Mises สู งสุ ดจะเกิ ดขึ้นที่บริ เวณมุ มและขอบของบานประตู โดยรู ปที่ 5-25 จะแสดงกราฟฟิ กส์ จาลองเป็ น
ระดับชั้นสี ของความเค้น Von Mises ที่เวลา 24 วินาที ซึ่ งเป็ นเวลาที่ เกิ ดความเค้น Von Mises สู งสุ ด และ
แสดงผลความเค้น Von Mises ที่ ตาแหน่ ง A B และC โดยเป็ นตาแหน่ ง ที่ ได้รับความเสี ย หายสู งสุ ดแบบ
ประวัติเวลาตลอดการสั่นไหวของคลื่นแผ่นดินไหว (EQ6, MCE)

รู ปที่ 5-25 ความเค้น Von Mises ของแผ่นเล็กบานประตู (EQ6, MCE)

96
จากผลการวิเคราะห์ ดงั กล่ าวได้ผลดังนี้ ความเค้น Von Mises สู งสุ ดที่ ตาแหน่ ง A มี ค่าเท่ากับ 134.36 ksc
ความเค้น Von Mises สู งสุ ดที่ตาแหน่ง B มีค่าเท่ากับ 99.95 ksc และความเค้น Von Mises สู งสุ ดที่ตาแหน่ ง
C มีค่าเท่ากับ 1406.74 ksc ซึ่งผลของความเค้น Von Mises สู งสุ ดทั้งหมดของบานประตูระบายน้ าล้นภายใต้
แรงแผ่นดิ นไหวไม่พบว่ามีค่าความเค้น Von Mises สู งสุ ดที่เกิ นกว่ากาลังดึ งคราก (Yield Stress) และกาลัง
ดึงประลัย (Ultimate Tensile Stress) ของแผ่นเหล็กรับได้ที่ 2350 และ 4000 ksc ตามลาดับ
การเปรี ยบเทียบผลของความเค้นตามทฤษฎี (Von Mises Stress) สู งสุ ดของแผ่นเหล็กบานประตู
ระบายน้ าล้นระหว่างสภาวะสถิ ต (Static) กับสภาวะพลวัตภายใต้แรงแผ่นดิ นไหวสู งสุ ด (Dynamic, EQ6)
และสภาวะพลวัตภายใต้แรงแผ่นดิ นไหวเฉลี่ย 7 คลื่น ระดับความรุ นแรง MCE (Dynamic, 7EQAvg) เพื่อให้
เห็นว่าแผ่นเหล็กบานประตูขณะที่ไม่ได้ตา้ นทานแรงแผ่นดินไหวกับขณะที่ตอ้ งต้านทานแรงแผ่นดินไหวมี
ความเค้น Von Mises สู งสุ ดแตกต่างกันเพียงใด โดยรู ปที่ 5-26 แสดงให้เห็นว่าเมื่อเกิ ดการสั่นสะเทือนจาก
คลื่นแผ่นดินไหวส่ งผลให้แผ่นเหล็กบานประตูตอ้ งรับภาระมากขึ้นอย่างชัดเจนในรู ปแบบกราฟฟิ กส์จาลอง
เป็ นระดับชั้นสี ของความเค้น Von Mises

รู ปที่ 5-26 การเปรี ยบเทียบความเค้น Von Mises ของแผ่นเล็กบานประตูที่สภาวะสถิตกับพลวัต (EQ6, MCE)

97
ในส่ วนของความเสี ยหายที่เกิดขึ้นกับแผ่นเหล็กบานประตูระบายน้ าล้นภายใต้แรงแผ่นดินไหวจาก
คลื่ นแผ่นดิ นไหวที่ระดับความรุ นแรง MCE อีก 6 คลื่ นที่ เหลื อพบว่ามีรูปแบบความเสี ยหายไปในทิ ศทาง
เดียวกันคือมีค่าความเค้น Von Mises สู งที่บริ เวณขอบและมุมของแผ่นเหล็กบานประตู โดยจะเสี ยหายมากที่
ขอบหรื อมุ มฝั งไหนขึ้ นอยู่กบั ทิ ศทางลัพธ์ ของคลื่ นแผ่นดิ นไหวแต่ละคลื่ น (แกน X Y และZ) โดยแสดง
กราฟฟิ กส์ จาลองเป็ นระดับชั้นสี ของความเค้น Von Mises ของแผ่นเหล็กบานประตูภายใต้แรงแผ่นดินไหว
อีก 6 คลื่นที่เหลือ ดังแสดงในรู ปที่ 5-27

รู ปที่ 5-27 แนวโน้มความเสี ยหายของบานประตูจากคลื่นแผ่นดินไหวระดับความรุ นแรง (MCE)

จากการวิเคราะห์ความเสี ยหายของบานประตูพบว่าค่าความเค้น Von Mises สู งสุ ดจากการเฉลี่ยของ


คลื่ นแผ่นดิ น ไหวทั้ง 7 คลื่ น ระดับ ความรุ นแรง MCE ได้ผ ลความเค้น Von Mises สู งสุ ด ในแต่ ล ะคลื่ น
แผ่นดิ นไหวและผลของความเค้น Von Mises เฉลี่ ย 7 คลื่ น โดยความเค้น Von Mises เฉลี่ ย 7 คลื่ น มี ค่ า
เท่ากับ 386.34 ksc ซึ่ งไม่เกินกว่ากาลังดึงคราก (Yield Stress) และกาลังดึงประลัย (Ultimate Tensile Stress)
ของแผ่นเหล็กรับได้ที่ 2350 และ 4000 ksc ตามลาดับ ดังแสดงในตารางที่ 5-11 ดังนั้นจึงสรุ ปได้วา่ แผ่นเหล็ก
บานประตูสามารถต้านทานแรงแผ่นดินไหวที่ระดับความรุ นแรง MCE

98
ตารางที่ 5-11 ความเค้น Von Mises ของแผ่นเล็กบานประตูจากแผ่นดินไหว 7 คลื่น (MCE)
คลื่นแผ่นดินไหว ความเค้น Von Mises สู งสุ ด (ksc)
EQ1 307.19
EQ2 245.21
EQ3 188.68
EQ4 204.77
EQ5 161.71
EQ6 1406.74
EQ7 190.08
7EQAvg 386.34

5.2 พฤติกรรมของประตูระบายนา้ ล้ นภายใต้ แรงแผ่ นดินไหวสาหรับการออกแบบ (Design Basis


Earthquake, DBE)
การวิเคราะห์พฤติกรรมทางพลศาสตร์ ของประตูระบายน้ าล้นภายใต้แรงแผ่นดินไหวที่ระดับความ
รุ นแรงสาหรับการออกแบบ (Design Basis Earthquake, DBE) จานวน 7 คลื่น ที่มีค่าความเร่ งตอบสนองเชิ ง
สเปกตรัมเฉลี่ยใกล้เคียงกับค่าความเร่ งตอบสนองเชิ งสเปกตรัมของพื้นที่เป้ าหมาย (อ.แจ้ห่ม จ.ลาปาง) โดย
จะพิจารณาผลการตอบสนองในแนวราบทั้งในทิ ศขนานทางน้ า (แกน X) และขวางทางน้ า (แกน Y) ซึ่ ง
นาเสนอในรู ปแบบของการเคลื่อนที่และความเร่ ง รวมถึงผลการขยายตัวของความเร่ งจากความเร่ งของคลื่น
แผ่นดินไหวที่พ้ืนสู่ ความเร่ งที่ระดับความสู งนั้นๆ โดยแบ่งผลการวิเคราะห์เป็ น 2 ส่ วนคือ แขนประตูและ
บานประตู ส าหรั บ การประเมิ นความเสี ย หายจะตรวจสอบด้วยค่ าแรงตามแนวแกน (Axial Force) และ
โมเมนต์ดดั (Bending Moment) เปรี ยบเที ยบกับกาลังของหน้าตัดเหล็กรู ปพรรณที่ รับได้สาหรั บส่ วนของ
แขนประตู และในส่ วนของบานประตูตรวจสอบจากค่าความเค้นตามทฤษฎี (Von Mises Stress) เปรี ยบเทียบ
กับความเค้นคราก (Yield Stress) จากผลการวิเคราะห์ท้ งั หมดจากคลื่ นแผ่นดิ นไหวทั้ง 7 คลื่นจะถูกนามา
เฉลี่ยกันตามวิธีการคัดเลือกคลื่นแผ่นดินไหวแบบ Time History Scaling
5.2.1 ผลการเคลื่อนทีแ่ ละความเร่ งของแขนประตู (DBE)
สาหรับในส่ วนของแขนประตูระบายน้ าล้นซึ่ งมีวสั ดุหลักคือเหล็กรู ปพรรณ (H250x250x14 mm) มี
คุณสมบัติตามมาตรฐาน มอก.1227-2539 ชั้นคุ ณภาพ SS400และเป็ นองค์ประกอบของ Beam Element ซึ่ ง
เป็ นหนึ่ งในชิ้ นส่ วนที่ เกิ ดการสั่ นไหวอย่างชัดเจนภายใต้คลื่ นแผ่นดิ นไหวทุ ก คลื่ นในงานวิจยั นี้ โดยจะ

99
นาเสนอการเคลื่อนที่และความเร่ งจากผลที่ได้จากการสั่นไหวภายใต้คลื่นแผ่นดิ นไหวที่ให้ค่าการเคลื่ อนที่
และความเร่ งมากที่สุด และผลที่ได้จากการเฉลี่ยของคลื่นแผ่นดินไหวทั้ง 7 คลื่น
ผลการเคลื่อนที่ที่มีค่ามากที่สุดเกิดจากการสั่นไหวภายใต้คลื่นแผ่นดินไหว EQ5 ระดับความรุ นแรง
DBE โดยผลการเคลื่อนที่ในแนวแกน X มี ค่ามากที่สุด (UxMax) เท่ากับ 1.10 มิลลิ เมตร ซึ่ งเกิ ดขึ้ นที่บริ เวณ
กึ่ งกลางของแขนประตู ดังแสดงในรู ป ที่ 5-28 และในส่ วนผลการเคลื่ อนที่ ในแนวแกน Y มี ค่ ามากที่ สุ ด
(UyMax) เท่ากับ 1.03 มิลลิเมตร ซึ่ งเกิดขึ้นที่บริ เวณใกล้จุดรองรับของแขนประตู ดังแสดงในรู ปที่ 5-29

รู ปที่ 5-28 การเคลื่อนที่สูงสุดของแขนประตูในแนวแกน X (EQ5, DBE)

รู ปที่ 5-29 การเคลื่อนที่สูงสุดของแขนประตูในแนวแกน Y (EQ5, DBE)

100
ผลความเร่ งที่ มีค่ามากที่ สุดเกิ ดจากการสั่นไหวภายใต้คลื่ นแผ่นดิ นไหว EQ5 ระดับความรุ นแรง
DBE โดยผลความเร่ งในแนวแกน X มีค่ามากที่สุด (AxMax) เท่ากับ 5.61 เมตร/วินาที 2 โดยเกิ ดการขยายตัว
ของความเร่ ง (AxMax/PGA) เท่ากับ 1.76 เท่าจากความเร่ งสู งสุ ดของคลื่ นคือ 3.18 เมตร/วินาที 2 ซึ่ งเกิ ดขึ้นที่
บริ เวณใกล้จุดรองรับของแขนประตู ดังแสดงในรู ปที่ 5-30 และในส่ วนผลความเร่ งในแนวแกน Y มีค่ามาก
ที่สุด (AyMax) เท่ากับ 15.73 เมตร/วินาที2 โดยเกิดการขยายตัวของความเร่ ง (AyMax/PGA) เท่ากับ 6.60 เท่าจาก
ความเร่ งสู งสุ ดของคลื่นคือ 2.38 เมตร/วินาที2 ซึ่ งเกิ ดขึ้นที่บริ เวณใกล้จุดรองรับของแขนประตู ดังแสดงใน
รู ปที่ 5-31 จากผลความเร่ ง ข้างต้นทาให้ทราบว่าแขนของประตู ระบายน้ า ล้นมี ค วามอ่ อนไหวในทิ ศทาง
ขวางทางน้ า (แกน Y) มากกว่าในทิศขนานทางน้ า (แกน X) โดยสรุ ปค่าการเคลื่อนที่และความเร่ งดังกล่าวใน
ตารางที่ 5-12

รู ปที่ 5-30 ความเร่ งสูงสุดของแขนประตูในแนวแกน X (EQ5, DBE)

รู ปที่ 5-31 ความเร่ งสูงสุดของแขนประตูในแนวแกน Y (EQ5, DBE)


101
ตารางที่ 5-12 สรุ ปการเคลื่อนที่และความเร่ งของแขนประตู (EQ5, DBE)

Elevation X-Axis Y-Axis


(m) UxMax (mm) AxMax (m/s2) AxMax/PGA UyMax (mm) AyMax (m/s2) AyMax/PGA
4.6 1.10 5.61 1.76 1.03 15.73 6.60

ผลที่ได้จากการเฉลี่ยของคลื่นแผ่นดินไหวทั้ง 7 คลื่น ระดับความรุ นแรง DBE โดยผลการเคลื่อนที่


ในแนวแกน X มีค่ามากที่สุด (UxMax) เท่ากับ 0.58 มิลลิ เมตร ซึ่ งเกิ ดขึ้นที่บริ เวณกึ่ งกลางของแขนประตู ดัง
แสดงในรู ปที่ 5-32 และในส่ วนผลการเคลื่อนที่ในแนวแกน Y มีค่ามากที่สุด (UyMax) เท่ากับ 3.07 มิลลิเมตร
ซึ่ งเกิ ดขึ้ นที่ บริ เวณใกล้จุดรองรั บของแขนประตู ดังแสดงในรู ปที่ 5-33 จากผลการเคลื่ อนที่ขา้ งต้นทาให้
ทราบว่าแขนของประตูระบายน้ าล้นมีความอ่อนไหวในทิศทางขวางทางน้ า (แกน Y) มากกว่าในทิศขนาน
ทางน้ า (แกน X)

รู ปที่ 5-32 การเคลื่อนที่สูงสุดเฉลี่ยของแขนประตูในแนวแกน X (7EQAvg, DBE)

102
รู ปที่ 5-33 การเคลื่อนที่สูงสุดเฉลี่ยของแขนประตูในแนวแกน Y (7EQAvg, DBE)

ผลที่ได้จากการเฉลี่ยของคลื่นแผ่นดินไหวทั้ง 7 คลื่น ระดับความรุ นแรง DBE โดยผลความเร่ งใน


แนวแกน X มีค่ามากที่สุด (AxMax) เท่ากับ 3.93 เมตร/วินาที2 โดยเกิดการขยายตัวของความเร่ ง (AxMax/PGA)
เท่ากับ 2.85 เท่าจากความเร่ งสู งสุ ดของคลื่น ซึ่ งเกิดขึ้นที่บริ เวณใกล้จุดรองรับของแขนประตู ดังแสดงในรู ป
ที่ 5-34 และในส่ วนผลความเร่ งในแนวแกน Y มีค่ามากที่สุด (AyMax) เท่ากับ 7.90 เมตร/วินาที2 โดยเกิดการ
ขยายตัวของความเร่ ง (AyMax/PGA) เท่ากับ 3.80 เท่าจากความเร่ งสู งสุ ดของคลื่ น ซึ่ งเกิดขึ้นที่บริ เวณใกล้จุด
รองรับของแขนประตู ดังแสดงในรู ปที่ 5-35 จากผลความเร่ งข้างต้นทาให้ทราบว่าแขนของประตูระบายน้ า
ล้นมีความอ่อนไหวในทิศทางขวางทางน้ า (แกน Y) มากกว่าในทิศขนานทางน้ า (แกน X) โดยสรุ ปค่าการ
เคลื่อนที่และความเร่ งดังกล่าวในตารางที่ 5-13

รู ปที่ 5-34 ความเร่ งสูงสุดเฉลี่ยของแขนประตูในแนวแกน X (7EQAvg, DBE)

103
รู ปที่ 5-35 ความเร่ งสูงสุดเฉลี่ยของแขนประตูในแนวแกน Y (7EQAvg, DBE)

ตารางที่ 5-13 สรุ ปการเคลื่อนที่และความเร่ งของแขนประตู (7EQAvg, DBE)

Elevation X-Axis Y-Axis


(m) UxMax (mm) AxMax (m/s2) AxMax/PGA UyMax (mm) AyMax (m/s2) AyMax/PGA
4.6 0.58 3.93 2.85 3.07 7.90 3.80

สรุ ป ผลการเคลื่ อนที่ แ ละความเร่ ง ของชิ้ นส่ วนแขนประตู ร ะบายน้ า ล้น ซึ่ ง มี วสั ดุ ห ลัก คื อเหล็ ก
รู ป พรรณ (H250x250x14 mm) มี คุณ สมบัติ ตามมาตรฐาน มอก.1227-2539 ชั้น คุ ณภาพ SS400 มี ผลการ
วิเคราะห์ที่ระดับคลื่นแผ่นดินไหวสาหรับการออกแบบ (Design Basis Earthquake, DBE) ทั้ง 7 คลื่น พบว่า
แขนประตูเกิดความอ่อนไหวในทิศทางขวางทางน้ า (แกน Y) มากกว่าทิศทางขนานทางน้ า (แกน X) และมี
การเคลื่ อนที่ในแนวราบเพียงหลักมิลลิ เมตรเท่านั้น ซึ่ งถือว่าน้อยมากแต่กลับมีค่าความเร่ งค่อนข้างสู งเมื่อ
เปรี ยบเทียบกับความเร่ งสู งสุ ดที่พ้ืนดินของคลื่นแผ่นดินไหว โดยการเคลื่อนที่และความเร่ งของแขนประตูมี
ค่าสู งที่บริ เวณใกล้จุดรองรับของแขนประตู อย่างไรก็ตามความสัมพันธ์ระหว่างการเคลื่ อนที่และความเร่ ง
ไม่ได้สัมพันธ์กนั แบบเชิ งเส้นแต่จะขึ้นอยูก่ บั การตอบสนองของประตูระบายน้ าล้นต่อคลื่นแผ่นดินไหวแต่
ละคลื่นนั้นๆ
5.2.2 ผลการเคลื่อนทีแ่ ละความเร่ งของบานประตู (DBE)
ส าหรั บ ในส่ ว นของบานประตู ร ะบายน้ า ล้น ซึ่ งมี ว สั ดุ ห ลัก คื อ แผ่น เหล็ ก หนา 22 มิ ล ลิ เ มตร มี
คุณสมบัติตามมาตรฐาน JIS G 3101 ชั้นคุ ณภาพ SS400 และเป็ นองค์ประกอบของ Shell Element ซึ่ งเป็ น

104
หนึ่ งในชิ้นส่ วนที่เกิดการสั่นไหวอย่างชัดเจนภายใต้คลื่นแผ่นดินไหวทุกคลื่นในงานวิจยั นี้ โดยจะนาเสนอ
การเคลื่อนที่และความเร่ งโดยแบ่งตามระดับความสู ง 3 ระดับ นับจากฐานตั้งบานประตูบนสันฝายที่ระดับ 0
3.2 และ 7 เมตร จากผลที่ได้จากการสั่นไหวภายใต้คลื่ นแผ่นดิ นไหวที่ให้ค่าการเคลื่ อนที่และความเร่ งมาก
ที่สุด และผลที่ได้จากการเฉลี่ยของคลื่นแผ่นดินไหวทั้ง 7 คลื่น
ผลการเคลื่อนที่ที่มีค่ามากที่สุดเกิดจากการสั่นไหวภายใต้คลื่นแผ่นดินไหว EQ5 ระดับความรุ นแรง
DBE โดยผลการเคลื่ อนที่ในแนวแกน X มี ค่ามากที่ สุด (UxMax) เท่ากับ 6.69 มิ ลลิ เมตร ซึ่ งเกิ ดขึ้ นที่ ระดับ
ความสู ง 7 เมตร บริ เวณกึ่งกลางของบานประตู ดังแสดงในรู ปที่ 5-36 ในส่ วนผลการเคลื่อนที่ในแนวแกน Y
มีค่ามากที่ สุด (UyMax) เท่ากับ 0.31 มิลลิเมตร ซึ่ งเกิ ดขึ้นที่ ระดับความสู ง 7 เมตร บริ เวณกึ่ งกลางของบาน
ประตู ดังแสดงในรู ปที่ 5-37 จากผลการเคลื่ อนที่ขา้ งต้นทาให้ทราบว่าแผ่นเหล็กบานประตูระบายน้ าล้นมี
ความอ่อนไหวในทิศทางขนานทางน้ า (แกน X) มากกว่าในทิศขวางทางน้ า (แกน Y)

รู ปที่ 5-36 การเคลื่อนที่สูงสุดของบานประตูในแนวแกน X (EQ5, DBE)

105
รู ปที่ 5-37 การเคลื่อนที่สูงสุดของบานประตูในแนวแกน Y (EQ5, DBE)

ผลความเร่ งที่ มีค่ามากที่ สุดเกิ ดจากการสั่นไหวภายใต้คลื่ นแผ่นดิ นไหว EQ5 ระดับความรุ นแรง
DBE โดยผลความเร่ งในแนวแกน X มีค่ามากที่สุด (AxMax) เท่ากับ 19.17 เมตร/วินาที2 โดยเกิดการขยายตัว
ของความเร่ ง (AxMax/PGA) เท่ากับ 6.03 เท่าจากความเร่ งสู งสุ ดของคลื่ นคือ 3.18 เมตร/วินาที 2 ซึ่ งเกิ ดขึ้นที่
ระดับความสู ง 7 เมตร บริ เวณกึ่ ง กลางของบานประตู ดังแสดงในรู ปที่ 5-38 และในส่ วนผลความเร่ งใน
แนวแกน Y มีค่ามากที่สุด (AyMax) เท่ากับ 1.42 เมตร/วินาที2 โดยเกิดการขยายตัวของความเร่ ง (AyMax/PGA)
เท่ากับ 0.59 เท่าจากความเร่ งสู งสุ ดของคลื่นคือ 2.38 เมตร/วินาที2 ซึ่ งเกิดขึ้นที่ระดับความสู ง 7 เมตร บริ เวณ
ขอบบานประตูดา้ นซ้าย (มองจากด้านท้ายน้ า) ดังแสดงในรู ปที่ 5-39 จากผลความเร่ งข้างต้นทาให้ทราบว่า
แผ่นเหล็กบานประตูระบายน้ าล้นมีความอ่อนไหวในทิศทางขนานทางน้ า (แกน X) มากกว่าในทิศขวางทาง
น้ า (แกน Y) โดยสรุ ปค่าการเคลื่อนที่และความเร่ งดังกล่าวในตารางที่ 5-14

106
รู ปที่ 5-38 ความเร่ งสูงสุดของบานประตูในแนวแกน X (EQ5, DBE)

รู ปที่ 5-39 ความเร่ งสูงสุดของบานประตูในแนวแกน Y (EQ5, DBE)

107
ตารางที่ 5-14 สรุ ปการเคลื่อนที่และความเร่ งของบานประตู (EQ5, DBE)

Elevation X-Axis Y-Axis


(m) UxMax (mm) AxMax (m/s2) AxMax/PGA UyMax (mm) AyMax (m/s2) AyMax/PGA
0.0 4.01 8.01 2.52 0.08 0.53 0.22
3.2 0.61 6.45 2.03 0.08 0.53 0.22
7.0 6.69 19.17 6.03 0.31 1.42 0.59

ผลที่ได้จากการเฉลี่ยของคลื่นแผ่นดินไหวทั้ง 7 คลื่น ระดับความรุ นแรง DBE โดยผลการเคลื่อนที่


ในแนวแกน X มี ค่ า มากที่ สุ ด (UxMax) เท่ า กับ 4.13 มิ ล ลิ เมตร ซึ่ ง เกิ ดขึ้ นที่ ระดับ ความสู ง 7 เมตร บริ เวณ
กึ่ งกลางของบานประตู ดังแสดงในรู ป ที่ 5-40 และในส่ วนผลการเคลื่ อนที่ ในแนวแกน Y มี ค่ามากที่ สุ ด
(UyMax) เท่ากับ 0.56 มิลลิเมตร ซึ่ งเกิดขึ้นที่ระดับความสู ง 7 เมตร บริ เวณกึ่งกลางของบานประตู ดังแสดงใน
รู ปที่ 5-41 จากผลการเคลื่อนที่ ขา้ งต้นทาให้ทราบว่าแผ่นเหล็กบานประตูระบายน้ าล้นมีความอ่อนไหวใน
ทิศทางขนานทางน้ า (แกน X) มากกว่าในทิศขวางทางน้ า (แกน Y)

รู ปที่ 5-40 การเคลื่อนที่สูงสุดเฉลี่ยของบานประตูในแนวแกน X (7EQAvg, DBE)

108
รู ปที่ 5-41 การเคลื่อนที่สูงสุดเฉลี่ยของบานประตูในแนวแกน Y (7EQAvg, DBE)

ผลที่ได้จากการเฉลี่ยของคลื่นแผ่นดินไหวทั้ง 7 คลื่น ระดับความรุ นแรง DBE โดยผลความเร่ งใน


แนวแกน X มีค่ามากที่สุด (AxMax) เท่ากับ 11.00 เมตร/วินาที2 โดยเกิดการขยายตัวของความเร่ ง (AxMax/PGA)
เท่ากับ 6.16 เท่าจากความเร่ งสู งสุ ดของคลื่น ซึ่ งเกิดขึ้นที่บริ เวณใกล้จุดรองรับของแขนประตู ดังแสดงในรู ป
ที่ 5-42 และในส่ วนผลความเร่ งในแนวแกน Y มีค่ามากที่สุด (AyMax) เท่ากับ 0.62 เมตร/วินาที2 โดยเกิดการ
ขยายตัวของความเร่ ง (AyMax/PGA) เท่ากับ 0.32 เท่าจากความเร่ งสู งสุ ดของคลื่น ซึ่ งเกิดขึ้นที่ระดับความสู ง 7
เมตร บริ เวณขอบบานประตูดา้ นซ้าย (มองจากด้านท้ายน้ า) ดังแสดงในรู ปที่ 5-43 จากผลความเร่ งข้างต้นทา
ให้ทราบว่าแผ่นเหล็กบานประตูระบายน้ าล้นมีความอ่อนไหวในทิศทางขนานทางน้ า (แกน X) มากกว่าใน
ทิศขวางทางน้ า (แกน Y) โดยสรุ ปค่าการเคลื่อนที่และความเร่ งดังกล่าวในตารางที่ 5-15

109
รู ปที่ 5-42 ความเร่ งสูงสุดเฉลี่ยของบานประตูในแนวแกน X (7EQAvg, DBE)

รู ปที่ 5-43 ความเร่ งสูงสุดเฉลี่ยของบานประตูในแนวแกน Y (7EQAvg, DBE)

110
ตารางที่ 5-15 สรุ ปการเคลื่อนที่และความเร่ งของบานประตู (7EQAvg, DBE)

Elevation X-Axis Y-Axis


(m) UxMax (mm) AxMax (m/s2) AxMax/PGA UyMax (mm) AyMax (m/s2) AyMax/PGA
0.0 0.72 1.22 0.60 0.04 0.17 0.10
3.2 2.51 3.64 1.97 0.04 0.26 0.14
7.0 4.13 11.00 6.16 0.56 0.62 0.32

สรุ ปผลการเคลื่ อนที่และความเร่ งของชิ้ นส่ วนแผ่นเหล็กบานประตูระบายน้ าล้นซึ่ งมีวสั ดุหลักคือ


แผ่นเหล็กหนา 22 มิลลิเมตร มีคุณสมบัติตามมาตรฐาน JIS G 3101 ชั้นคุณภาพ SS400 มีผลการวิเคราะห์ที่
ระดับคลื่ นแผ่นดิ นไหวสาหรับการออกแบบ (Design Basis Earthquake, DBE) ทั้ง 7 คลื่น พบว่าแผ่นเหล็ก
บานประตูเกิดความอ่อนไหวในทิศทางขนานทางน้ า (แกน X) มากกว่าทิศทางขวางทางน้ า (แกน Y) และมี
การเคลื่ อนที่ในแนวราบเพียงหลักมิลลิ เมตรเท่านั้น ซึ่ งถือว่าน้อยมากแต่กลับมีค่าความเร่ งค่อนข้างสู งเมื่อ
เปรี ยบเทียบกับความเร่ งสู งสุ ดที่พ้ืนดินของคลื่นแผ่นดินไหว โดยบริ เวณที่เกิดการเคลื่อนที่และความเร่ งสู ง
เกิ ดขึ้นที่ก่ ึ งกลางด้านบนระดับความสู ง 7 เมตร จากพื้นบนสันฝายซึ่ งบริ เวณดังกล่าวไม่มีองค์อาคารเหล็ก
รู ปพรรณค้ ายันอยู่ อย่างไรก็ตามความสัมพันธ์ระหว่างการเคลื่ อนที่และความเร่ งไม่ได้สัมพันธ์กนั แบบเชิ ง
เส้นแต่จะขึ้นอยูก่ บั การตอบสนองของประตูระบายน้ าล้นต่อคลื่นแผ่นดินไหวแต่ละคลื่นนั้นๆ
สาหรับการเสี ยรู ปของแบบจาลองไฟไนต์เอลิเมนต์ของประตูระบายน้ าล้นที่เวลาสุ ดท้ายของคลื่ น
แผ่นดินไหวพบว่าทุกคลื่นแผ่นดินไหวทั้ง 7 คลื่น ที่ระดับความรุ นแรง MCE เป็ นไปในแนวทางเดียวกันคือ
เกิ ดการเคลื่ อนที่ น้อยมากที่ บ ริ เวณด้า นข้า งและด้า นล้า งของบานประตู โดยรู ป ที่ 5-44 ได้แสดงผลการ
เคลื่ อนที่ ลพั ธ์ ของประตู ระบายน้ า ล้นที่ เวลาสุ ดท้า ยของแผ่นดิ นไหว (EQ5, DBE) ซึ่ งให้ผลการเคลื่ อนที่
สู งสุ ดจากคลื่นทั้ง 7 คลื่น โดยมีค่าการเคลื่อนที่บริ เวณด้านข้างและด้านล้างของบานประตูซ่ ึ งเป็ นตาแหน่งที่
ใช้ป้องกันการรั่วซึ มของน้ ามีค่าสู งสุ ดเท่ากับ 0.16 มิลลิเมตร และที่ก่ ึ งกลางด้านบนของบานประตูที่ระดับ
ความสู ง 7 เมตร จากพื้นบนสันฝายมี ค่าการเคลื่ อนที่สูงสุ ดเท่ากับ 1.6 มิลลิ เมตร เท่านั้น ในส่ วนของแขน
ประตูพบว่าที่ตาแหน่งจุดรองรับแขนประตูไม่มีการเคลื่อนที่และมีการเคลื่ อนที่สูงสุ ดในช่วงความยาวแขน
ประตูเท่ากับ 0.01 มิลลิเมตร เท่านั้น จากผลการวิเคราะห์ที่กล่าวมาข้างต้นสามารถสรุ ปได้วา่ การเสี ยรู ปของ
ประตู ระบายน้ า ล้นเกิ ดขึ้ นน้อยมากซึ่ ง สามารถอนุ ม านประตู ระบายน้ า ล้นยัง คงสภาพและมี เสถี ย รภาพ
ตามเดิมหลังเกิดแผ่นดินไหว

111
รู ปที่ 5-44 การเคลื่อนที่ลพั ธ์ของประตูระบายน้ าล้นที่เวลาสุดท้ายของแผ่นดินไหว (EQ5, DBE)

5.2.3 ความเสี ยหายในส่ วนขององค์ อาคาร (DBE)


สาหรั บในส่ วนความเสี ยหายขององค์อาคารประกอบประตู ระบายน้ าล้นซึ่ งมี วสั ดุ หลักคื อเหล็ก
รู ปพรรณมีคุณสมบัติตามมาตรฐาน มอก.1227-2539 ชั้นคุ ณภาพ SS400 และเป็ นองค์ประกอบของ Beam
Element ซึ่ งเป็ นหนึ่ งในชิ้ นส่ วนที่เกิ ดการสั่นไหวอย่างชัดเจนภายใต้แรงแผ่นดินไหวทุกคลื่นในงานวิจยั นี้
ซึ่ งจะถูกเสนอในรู ปแบบผลของแรงตามแนวแกน (Axial Force) และโมเมนต์ดดั (Bending Moment) โดย
จะน าเสนอค่ า คุ ณสมบัติ ดัง กล่ า วจากผลที่ ไ ด้จ ากการสั่ น ไหวภายใต้ค ลื่ น แผ่น ดิ น ไหวที่ ใ ห้ ค่ า แรงตาม
แนวแกน (Axial Force) และโมเมนต์ดดั (Bending Moment) มากที่สุด และผลที่ได้จากการเฉลี่ยของคลื่ น
แผ่นดินไหวทั้ง 7 คลื่น
จากการวิเคราะห์ ความเสี ยหายขององค์อาคารในส่ วนของการต้านทานแรงตามแนวแกน (Axial
Force) พบว่ า ค่ า ดั ง กล่ า วมี ค่ า มากที่ สุ ด ภายใต้ ค ลื่ น แผ่ น ดิ น ไหว EQ5 ระดับ ความรุ นแรง DBE โดย
ส่ วนประกอบขององค์อาคารเหล็กรู ปพรรณที่ มีส่วนต้านทานแรงตามแนวแกน (Axial Force) สู งสุ ดของ
หน้าตัดแบ่งเป็ นแรงดึง (Tensile Force) และแรงอัด (Compression Force) ได้แก่ แขนประตู (H250x250x14
mm) เหล็กโครงประตู (PL160x22 mm) และเหล็กครี บบานประตูขอบนอก (L470x90x8 mm) ดังแสดงใน
รู ปที่ 5-45 จากผลการวิเคราะห์ ดงั กล่าวได้ผลดังนี้ แขนประตู (H250x250x14 mm) มี ค่าแรงดึ งสู งสุ ดและ
112
แรงอัดสู งสุ ดเท่ากับ 216.87 159.37 kN ตามลาดับ, เหล็กโครงประตู (PL160x22 mm) มีค่าแรงดึงสู งสุ ดและ
แรงอัดสู งสุ ดเท่ากับ 61.78 61.81 kN ตามลาดับ และเหล็กครี บบานประตูขอบนอก (L470x90x8 mm) ค่าแรง
ดึงสู งสุ ดและแรงอัดสู งสุ ดเท่ากับ 92.89 100.15 kN ตามลาดับ ซึ่ งผลการต้านทานแรงตามแนวแกนทั้งหมด
ขององค์อาคารเหล็กรู ปพรรณภายใต้แรงแผ่นดิ นไหวไม่พบว่ามีค่าแรงตามแนวแกนที่ เกิ นกว่ากาลังของ
เหล็กรู ปพรรณรับได้ ดังแสดงในตารางที่ 5-16

รู ปที่ 5-45 แรงตามแนวแกนขององค์อาคารเหล็กรู ปพรรณ (EQ5, DBE)

ตารางที่ 5-16 แรงตามแนวแกนขององค์อาคารเหล็กรู ปพรรณ (EQ5, DBE)


แรงตามแนวแกน (Axial Force)
ส่ วนประกอบ แรงดึงสู งสุ ด กาลังรับแรงดึง แรงอัดสู งสุ ด กาลังรับแรงอัด
(kN) (kN) (kN) (kN)
แขนประตู
216.87 2258.41 159.37 1388.22
(H250x250x14 mm)
เหล็กโครงประตู
61.78 862.40 61.81 728.93
(PL160x22 mm)
เหล็กขอบประตู
ด้านนอก 92.89 1081.92 100.15 1055.04
(L470x90x8 mm)

113
จากการวิ เคราะห์ ค วามเสี ย หายขององค์อาคารในส่ วนของการต้า นทานโมเมนต์ดัด (Bending
Moment) พบว่าค่าดังกล่าวมีค่ามากที่สุดภายใต้คลื่นแผ่นดินไหว EQ5 ระดับความรุ นแรง DBE โดยโมเมนต์
ดัด (Bending Moment) แบ่งเป็ น Moment 2-2 และ Moment 3-3 โดยที่โมเมนต์ 2-2 เป็ นการต้านทานโมเมนต์
ดัดรอบแกน Y ในขณะที่ประตูระบายน้ าล้นเกิดการเคลื่อนที่ข้ ึนลงในแนวดิ่ง (ตามแนวแกน Z) และโมเมนต์
3-3 เป็ นการต้า นทานโมเมนต์ดัดรอบแกน Z ในขณะที่ ป ระตู ระบายน้ า ล้นเกิ ดการเคลื่ อนที่ ซ้า ยขวาใน
แนวราบทิศขวางทางน้ า (ตามแนวแกน Y) โดยส่ วนประกอบขององค์อาคารเหล็กรู ปพรรณที่มีส่วนต้านทาน
โมเมนต์ดดั (Bending Moment) สู ง สุ ดของหน้าตัด คื อ แขนประตู (H250x250x14 mm) เพีย งอย่า งเดี ย วที่
ชัดเจนที่สุดซึ่ งมีค่า Moment 2-2 เท่ากับ 10.86 kN-m และมีค่า Moment 3-3 เท่ากับ 13.22 kN-m ดังแสดงใน
รู ปที่ 5-46 โดยผลการต้านทานโมเมนต์ดดั ทั้งหมดขององค์อาคารเหล็กรู ปพรรณภายใต้แรงแผ่นดิ นไหวไม่
พบว่ามีค่าโมเมนต์ดดั ที่เกินกว่ากาลังของเหล็กรู ปพรรณรับได้ที่สภาวะครากและพลาสติก ดังแสดงในตาราง
ที่ 5-17

รู ปที่ 5-46 โมเมนต์ดดั ขององค์อาคารเหล็กรู ปพรรณ (EQ5, DBE)

ตารางที่ 5-17 โมเมนต์ดดั ขององค์อาคารเหล็กรู ปพรรณ (EQ5, DBE)


โมเมนต์ดดั (Bending Moment)
แขนประตู
โมเมนต์ดดั สู งสุ ด โมเมนต์คราก โมเมนต์พลาสติก
(H250x250x14 mm)
(kN-m) (kN-m) (kN-m)
โมเมนต์ดดั 2-2 (kN-m) 10.86 74.48 114.17
โมเมนต์ดดั 3-3 (kN-m) 13.22 225.16 248.68

จากการวิเคราะห์ความเสี ยหายขององค์อาคารเหล็กรู ปพรรณสาหรับการต้านทานแรงตามแนวแกน


(Axial Force) และโมเมนต์ดดั (Bending Moment) ภายใต้คลื่ นแผ่นดิ นไหว EQ5 ระดับความรุ นแรง DBE
114
ซึ่ งก่อให้เกิ ดความเสี ยหายมากที่สุด พบว่าเกิ ดชิ้นส่ วนที่วิกฤติที่สุดเกิ ดขึ้นที่แขนของประตู (H250x250x14
mm) ในช่ วงระยะ 6.24 เมตร จากจุดรองรั บแขนประตู ดังแสดงในรู ปที่ 5-47 เมื่ อนาชิ้ นส่ วนดังกล่ าวมา
ตรวจสอบค่ า ความปลอดภัย จากพฤติ กรรมแบบ คาน-เสา ด้วยสมการความสั มพันธ์ ระหว่า งแรงอัดกับ
โมเมนต์สูงสุ ดที่เกิ ดขึ้นภายในช่ วงความยาวที่สนใจโดยใช้วิธีกาลังที่ยอมให้ (Allowable Strength Design,
ASD) พบว่ามี ค่าอัตราส่ วนความปลอดภัยเท่ากับ 0.35 ซึ่ งมี ค่าน้อยกว่า 1.0 จึ งถื อว่ามี ความปลอดภัยตาม
มาตรฐานของ AISC (American Institute of Steel Construction) และสาหรับอัตราส่ วนความปลอดภัยของ
เหล็กรู ปพรรณชิ้นอื่นๆ มีค่าอยูร่ ะหว่าง 0.1 ถึง 0.3

รู ปที่ 5-47 แรงตามแนวแกน และโมเมนต์ดดั ของชิ้นส่วนที่วกิ ฤติที่สุด (EQ5, DBE)

จากการวิเคราะห์ ความเสี ยหายขององค์อาคารในส่ วนของการต้านทานแรงตามแนวแกน (Axial


Force) ส าหรั บ ผลที่ ไ ด้ จ ากการเฉลี่ ย ของคลื่ น แผ่ น ดิ น ไหวทั้ง 7 คลื่ น ระดับ ความรุ นแรง DBE โดย
ส่ วนประกอบขององค์อาคารเหล็กรู ปพรรณที่ มีส่วนต้านทานแรงตามแนวแกน (Axial Force) สู งสุ ดของ
หน้าตัดแบ่งเป็ นแรงดึง (Tensile Force) และแรงอัด (Compression Force) ได้แก่ แขนประตู (H250x250x14
mm) เหล็กโครงประตู (PL160x22 mm) และเหล็กครี บบานประตูขอบนอก (L470x90x8 mm) จากผลการ
วิเคราะห์ ดังกล่ า วได้ผ ลดังนี้ แขนประตู (H250x250x14 mm) มี ค่า แรงดึ ง สู งสุ ดและแรงอัดสู ง สุ ดเท่า กับ
141.65 102.21 kN ตามลาดับ เหล็กโครงประตู (PL160x22 mm) มีค่าแรงดึ งสู งสุ ดและแรงอัดสู งสุ ดเท่ากับ
35.60 22.81 kN ตามลาดับ และเหล็กครี บบานประตูขอบนอก (L470x90x8 mm) ค่าแรงดึงสู งสุ ดและแรงอัด
115
สู งสุ ดเท่ากับ 56.10 48.47 kN ตามลาดับ ซึ่ งผลการต้านทานแรงตามแนวแกนทั้งหมดขององค์อาคารเหล็ก
รู ปพรรณภายใต้แรงแผ่นดินไหวไม่พบว่ามีค่าแรงตามแนวแกนที่เกินกว่ากาลังของเหล็กรู ปพรรณรับได้ ดัง
แสดงในตารางที่ 5-18
ตารางที่ 5-18 แรงตามแนวแกนขององค์อาคารเหล็กรู ปพรรณ (7EQAvg, DBE)
แรงตามแนวแกน (Axial Force)
ส่ วนประกอบ แรงดึงสู งสุ ด กาลังรับแรงดึง แรงอัดสู งสุ ด กาลังรับแรงอัด
(kN) (kN) (kN) (kN)
แขนประตู
141.65 2258.41 102.21 1388.22
(H250x250x14 mm)
เหล็กโครงประตู
35.60 862.40 22.81 728.93
(PL160x22 mm)
เหล็กขอบประตู
ด้านนอก 56.10 1081.92 48.47 1055.04
(L470x90x8 mm)

จากการวิ เคราะห์ ค วามเสี ย หายขององค์อาคารในส่ วนของการต้า นทานโมเมนต์ดัด (Bending


Moment) สาหรับผลที่ได้จากการเฉลี่ยของคลื่นแผ่นดินไหวทั้ง 7 คลื่น ระดับความรุ นแรง DBE โดยโมเมนต์
ดัด (Bending Moment) แบ่งเป็ น Moment 2-2 และ Moment 3-3 โดยที่โมเมนต์ 2-2 เป็ นการต้านทานโมเมนต์
ดัดรอบแกน Y ในขณะที่ประตูระบายน้ าล้นเกิดการเคลื่อนที่ข้ ึนลงในแนวดิ่ง (ตามแนวแกน Z) และโมเมนต์
3-3 เป็ นการต้า นทานโมเมนต์ดัดรอบแกน Z ในขณะที่ ป ระตู ระบายน้ า ล้นเกิ ดการเคลื่ อนที่ ซ้า ยขวาใน
แนวราบทิศขวางทางน้ า (ตามแนวแกน Y) โดยส่ วนประกอบขององค์อาคารเหล็กรู ปพรรณที่มีส่วนต้านทาน
โมเมนต์ดดั (Bending Moment) สู ง สุ ดของหน้าตัด คื อ แขนประตู (H250x250x14 mm) เพีย งอย่า งเดี ย วที่
ชัดเจนที่ สุดซึ่ ง มี ค่ า Moment 2-2 เท่ากับ 9.89 kN-m และมี ค่า Moment 3-3 เท่า กับ 8.62 kN-m โดยผลการ
ต้านทานโมเมนต์ดดั ทั้งหมดขององค์อาคารเหล็กรู ปพรรณภายใต้แรงแผ่นดินไหวไม่พบว่ามีค่าโมเมนต์ดดั ที่
เกินกว่ากาลังของเหล็กรู ปพรรณรับได้ที่สภาวะครากและพลาสติก ดังแสดงในตารางที่ 5-19

116
ตารางที่ 5-19 โมเมนต์ดดั ขององค์อาคารเหล็กรู ปพรรณ (7EQAvg, DBE)
โมเมนต์ดดั (Bending Moment)
แขนประตู
โมเมนต์ดดั สู งสุ ด โมเมนต์คราก โมเมนต์พลาสติก
(H250x250x14 mm)
(kN-m) (kN-m) (kN-m)
โมเมนต์ดดั 2-2 (kN-m) 9.89 74.48 114.17
โมเมนต์ดดั 3-3 (kN-m) 8.62 225.16 248.68

จากการวิเคราะห์ความเสี ยหายขององค์อาคารเหล็กรู ปพรรณพบว่าผลของแรงตามแนวแกน (Axial Force)


สู งสุ ด และโมเมนต์ดดั (Bending Moment) สู งสุ ด 7 คลื่นเฉลี่ยมีค่าไม่เกินค่ากาลังของหน้าตัดเหล็กรู ปพรรณ
รับได้ ดังนั้นจึงสรุ ปได้ว่าองค์อาคารเหล็กรู ปพรรณมีความปลอดภัยภายใต้แรงแผ่นดิ นไหวที่ระดับความ
รุ นแรง DBE ทั้งนี้ ในส่ วนของการเปรี ยบเทียบผลของแรงตามแนวแกน (Axial Force) สู งสุ ด และโมเมนต์
ดัด (Bending Moment) สู งสุ ดขององค์อาคารเหล็กรู ปพรรณประกอบประตูระบายน้ าล้นระหว่างสภาวะสถิต
(Static) กับ สภาวะพลวัต ภายใต้แ รงแผ่น ดิ น ไหวสู ง สุ ด (Dynamic, EQ5) และสภาวะพลวัต ภายใต้แ รง
แผ่น ดิ น ไหวเฉลี่ ย 7 คลื่ น ระดับ ความรุ น แรง MCE (Dynamic, 7EQAvg) เพื่ อ ให้ เห็ น ว่า องค์อาคารเหล็ ก
รู ป พรรณขณะที่ ไ ม่ ไ ด้ต้า นทานแรงแผ่น ดิ น ไหวกับ ขณะที่ ต้อ งต้า นทานแรงแผ่น ดิ น ไหวมี ค่ า แรงตาม
แนวแกนสู งสุ ดและโมเมนต์ดดั สู งสุ ดแตกต่างกันเพียงใด
ตารางที่ 5-20 การเปรี ยบเทียบแรงตามแนวแกนขององค์อาคารเหล็กรู ปพรรณที่สภาวะสถิตกับพลวัต (DBE)

แรงตามแนวแกน (Axial Force)


แรงดึงสู งสุ ด (kN) แรงอัดสู งสุ ด (kN)
ส่ วนประกอบ พลวัต พลวัต พลวัต พลวัต
สถิต สถิต
(Dynamic, (Dynamic, (Dynamic, (Dynamic,
(Static) (Static)
EQ5) 7EQAvg) EQ5) 7EQAvg)
แขนประตู
44.73 216.87 141.65 23.40 159.37 102.21
(H250x250x14 mm)
เหล็กโครงประตู
5.24 61.78 35.60 5.80 61.81 22.81
(PL160x22 mm)
เหล็กขอบประตู
ด้านนอก 7.44 92.89 56.10 22.30 100.15 48.47
(L470x90x8 mm)

117
ตารางที่ 5-21 การเปรี ยบเทียบโมเมนต์ดดั ขององค์อาคารเหล็กรู ปพรรณที่สภาวะสถิตกับพลวัต (DBE)
โมเมนต์ดดั (Bending Moment, kN-m)
แขนประตู
สถิต พลวัต พลวัต
(H250x250x14 mm)
(Static) (Dynamic, EQ5) (Dynamic, 7EQAvg)
โมเมนต์ดดั 2-2 (kN-m) 6.80 10.86 9.89
โมเมนต์ดดั 3-3 (kN-m) 2.40 13.22 8.62

โดยตารางที่ 5-20 และ 5-21 แสดงให้เห็นว่าเมื่อเกิดการสั่นสะเทือนจากคลื่นแผ่นดินไหวส่ งผลให้องค์


อาคารเหล็กรู ปพรรณต้องรับภาระมากขึ้นอย่างชัดเจน
สรุ ปผลการประเมินความเสี ยหายของประตูระบายน้ าล้นภายใต้คลื่นแผ่นดินไหวระดับสาหรับการ
ออกแบบ (Design Basis Earthquake, DBE) ในส่ วนขององค์อาคารซึ่ งเป็ นเหล็กรู ปพรรณมีคุณสมบัติตาม
มาตรฐาน มอก.1227-2539 ชั้นคุณภาพ SS400 ซึ่ งใช้แบบจาลองเป็ น Beam Element พบว่าเหล็กรู ปพรรณที่
มี ส่ วนต้า นทานแรงตามแนวแกน (Axial Force) จากการสั่นไหวของคลื่ นแผ่นดิ นไหวได้แก่ แขนประตู
(H250x250x14 mm) เหล็ก โครงประตู (PL160x22 mm) และเหล็ก ครี บบานประตู ขอบนอก (L470x90x8
mm) ในส่ วนของการต้านทานโมเมนต์ดดั (Bending Moment) พบว่าแขนประตู (H250x250x14 mm) เพียง
อย่า งเดี ย วที่ ต้า นทานโมเมนต์สู ง สุ ด โดยผลการต้านทานแรงตามแนวแกนเฉลี่ ย ขององค์อ าคารเหล็ ก
รู ป พรรณไม่ พ บว่า มี ค่ า แรงตามแนวแกนที่ เกิ นกว่า ก าลัง ของเหล็ ก รู ป พรรณรั บ ได้และผลการต้านทาน
โมเมนต์ดดั เฉลี่ยขององค์อาคารเหล็กรู ปพรรณไม่พบว่ามีค่าโมเมนต์ดดั ที่เกินกว่ากาลังของเหล็กรู ปพรรณ
รับได้ที่สภาวะครากและพลาสติก และเมื่อตรวจสอบค่าความปลอดภัยจากพฤติกรรมแบบ คาน-เสา ด้วย
สมการความสัมพันธ์ระหว่างแรงอัดกับโมเมนต์สูงสุ ดที่เกิดขึ้นภายในช่วงความยาวที่สนใจโดยใช้วธิ ี กาลังที่
ยอมให้ (Allowable Strength Design, ASD) ส าหรั บ ในกรณี ค ลื่ น แผ่ น ดิ น ไหวที่ รุ น แรงที่ สุ ด พบว่า มี ค่ า
อัตราส่ วนความปลอดภัยของชิ้นส่ วนที่วกิ ฤติที่สุดเท่ากับ 0.35 ซึ่ งมีค่าน้อยกว่า 1.0 จึงถือว่ามีความปลอดภัย
ตามมาตรฐานของ AISC (American Institute of Steel Construction) และสาหรับอัตราส่ วนความปลอดภัย
ของเหล็กรู ปพรรณชิ้ นอื่นๆ มีค่าอยูร่ ะหว่าง 0.1 ถึง 0.3 ดังนั้นสามารถสรุ ปได้ว่าองค์อาคารเหล็กรู ปพรรณ
สามารถต้านทานแรงแผ่นดิ นไหวได้สาหรับการคัดเลื อกคลื่ นแผ่นดิ นไหวด้วยวิธี Time History Scaling ที่
ต้องนาผลการวิเคราะห์จากทั้ง 7 คลื่น มาเฉลี่ยกัน

118
5.2.4 ความเสี ยหายในส่ วนของบานประตู (DBE)
ส าหรั บ ในส่ ว นความเสี ย หายของบานประตู ร ะบายน้ า ล้นซึ่ งมี ว สั ดุ ห ลัก คื อ แผ่น เหล็ ก หนา 22
มิ ล ลิ เ มตร มี คุ ณ สมบัติ ต ามมาตรฐาน JIS G 3101 ชั้น คุ ณ ภาพ SS400 และเป็ นองค์ป ระกอบของ Shell
Element ซึ่ งเป็ นหนึ่ งในชิ้ นส่ วนที่เกิดการสั่นไหวอย่างชัดเจนภายใต้คลื่ นแผ่นดินไหวทุกคลื่นในงานวิจยั นี้
ซึ่ งจะถูกพิจารจากผลของความเค้นตามทฤษฎี (Von Mises Stress) สู งสุ ด เพื่อตรวจสอบความเสี ยหายของ
แผ่นเหล็กบานประตูโดยการตรวจสอบกับความเค้นคราก (Yield Stress) ของเหล็กที่ใช้ทาบานประตูซ่ ึ งมีค่า
เท่ากับ 2350 ksc โดยจะนาเสนอค่าคุณสมบัติดงั กล่าวจากผลที่ได้จากการสั่นไหวภายใต้คลื่นแผ่นดินไหวที่
ให้ค่าความเค้น Von Mises มากที่สุด และผลที่ได้จากการเฉลี่ยของคลื่นแผ่นดินไหวทั้ง 7 คลื่น
จากการวิเคราะห์ความเสี ยหายของบานประตู พบว่าค่าความเค้น Von Mises มี ค่ามากที่ สุดภายใต้
คลื่ นแผ่นดิ นไหว EQ5 ระดับความรุ นแรง DBE โดยตาแหน่ งที่ได้รับความเสี ยหายหรื อเกิ ดความเค้น Von
Mises สู งสุ ดจะเกิ ดขึ้นที่บริ เวณมุ มและขอบของบานประตู โดยรู ปที่ 5-48 จะแสดงกราฟฟิ กส์ จาลองเป็ น
ระดับชั้นสี ของความเค้น Von Mises ที่เวลา 8.6 วินาที ซึ่ งเป็ นเวลาที่ เกิ ดความเค้น Von Mises สู งสุ ด และ
แสดงผลความเค้น Von Mises ที่ ตาแหน่ ง A B และC ซึ่ ง เป็ นตาแหน่ ง ที่ ไ ด้รับ ความเสี ย หายสู ง สุ ดแบบ
ประวัติเวลาตลอดการสั่นไหวของคลื่นแผ่นดินไหว (EQ6, MCE)

รู ปที่ 5-48 ความเค้น Von Mises ของแผ่นเล็กบานประตู (EQ5, DBE)

119
จากผลการวิเคราะห์ ดงั กล่ าวได้ผลดังนี้ ความเค้น Von Mises สู งสุ ดที่ ตาแหน่ ง A มี ค่าเท่ากับ 128.82 ksc
ความเค้น Von Mises สู งสุ ดที่ตาแหน่ง B มีค่าเท่ากับ 99.83 ksc และความเค้น Von Mises สู งสุ ดที่ตาแหน่ ง
C มีค่าเท่ากับ 301.48 ksc ซึ่ งผลของความเค้น Von Mises สู งสุ ดทั้งหมดของบานประตูระบายน้ าล้นภายใต้
แรงแผ่นดิ นไหวไม่พบว่ามีค่าความเค้น Von Mises สู งสุ ดที่เกิ นกว่ากาลังดึ งคราก (Yield Stress) และกาลัง
ดึงประลัย (Ultimate Tensile Stress) ของแผ่นเหล็กรับได้ที่ 2350 และ 4000 ksc ตามลาดับ
การเปรี ยบเทียบผลของความเค้นตามทฤษฎี (Von Mises Stress) สู งสุ ดของแผ่นเหล็กบานประตู
ระบายน้ าล้นระหว่างสภาวะสถิ ต (Static) กับสภาวะพลวัตภายใต้แรงแผ่นดิ นไหวสู งสุ ด (Dynamic, EQ5)
และสภาวะพลวัตภายใต้แรงแผ่นดิ นไหวเฉลี่ ย 7 คลื่น ระดับความรุ นแรง DBE (Dynamic, 7EQAvg) เพื่อให้
เห็นว่าแผ่นเหล็กบานประตูขณะที่ไม่ได้ตา้ นทานแรงแผ่นดินไหวกับขณะที่ตอ้ งต้านทานแรงแผ่นดินไหวมี
ความเค้น Von Mises สู งสุ ดแตกต่างกันเพียงใด โดยรู ปที่ 5-49 แสดงให้เห็นว่าเมื่อเกิ ดการสั่นสะเทือนจาก
คลื่นแผ่นดินไหวส่ งผลให้แผ่นเหล็กบานประตูตอ้ งรับภาระมากขึ้นอย่างชัดเจนในรู ปแบบกราฟฟิ กส์จาลอง
เป็ นระดับชั้นสี ของความเค้น Von Mises

รู ปที่ 5-49 การเปรี ยบเทียบความเค้น Von Mises ของแผ่นเล็กบานประตูที่สภาวะสถิตกับพลวัต (EQ5, DBE)

120
ในส่ วนของความเสี ยหายที่เกิดขึ้นกับแผ่นเหล็กบานประตูระบายน้ าล้นภายใต้แรงแผ่นดินไหวจาก
คลื่ นแผ่นดิ นไหวที่ ระดับความรุ นแรง DBE อีก 6 คลื่ นที่เหลื อพบว่ามีรูปแบบความเสี ยหายไปในทิ ศทาง
เดียวกันคือมีค่าความเค้น Von Mises สู งที่บริ เวณขอบและมุมของแผ่นเหล็กบานประตู โดยจะเสี ยหายมากที่
ขอบหรื อมุ มฝั งไหนขึ้ นอยู่กบั ทิ ศทางลัพธ์ ของคลื่ นแผ่นดิ นไหวแต่ละคลื่ น (แกน X Y และZ) โดยแสดง
กราฟฟิ กส์ จาลองเป็ นระดับชั้นสี ของความเค้น Von Mises ของแผ่นเหล็กบานประตูภายใต้แรงแผ่นดินไหว
อีก 6 คลื่นที่เหลือ ดังแสดงในรู ปที่ 5-50

รู ปที่ 5-50 แนวโน้มความเสี ยหายของบานประตูจากคลื่นแผ่นดินไหวระดับความรุ นแรง (DBE)

จากการวิเคราะห์ความเสี ยหายของบานประตูพบว่าค่าความเค้น Von Mises สู งสุ ดจากการเฉลี่ยของ


คลื่ น แผ่น ดิ น ไหวทั้ง 7 คลื่ น ระดับ ความรุ น แรง DBE ได้ผ ลความเค้น Von Mises สู ง สุ ด ในแต่ ล ะคลื่ น
แผ่นดิ นไหวและผลของความเค้น Von Mises เฉลี่ ย 7 คลื่ น โดยความเค้น Von Mises เฉลี่ ย 7 คลื่ น มี ค่ า
เท่ากับ 237.43 ksc ซึ่ งไม่เกินกว่ากาลังดึงคราก (Yield Stress) และกาลังดึงประลัย (Ultimate Tensile Stress)
ของแผ่นเหล็กรับได้ที่ 2350 และ 4000 ksc ตามลาดับ ดังแสดงในตารางที่ 5-22 ดังนั้นจึงสรุ ปได้วา่ แผ่นเหล็ก
บานประตูสามารถต้านทานแรงแผ่นดินไหวที่ระดับความรุ นแรง DBE

121
ตารางที่ 5-22 ความเค้น Von Mises ของแผ่นเล็กบานประตูจากแผ่นดินไหว 7 คลื่น (DBE)

คลื่นแผ่นดินไหว ความเค้น Von Mises สู งสุ ด (ksc)


EQ1 154.90
EQ2 154.88
EQ3 395.62
EQ4 214.40
EQ5 301.48
EQ6 174.37
EQ7 266.37
7EQAvg 237.43

122
บทที่ 6

สรุ ปและอภิปรายผลการวิจัย
งานวิจยั เรื่ องพฤติกรรมทางพลศาสตร์ ของประตูระบายน้ าล้นแบบบานโค้งภายใต้แรงกระทาจาก
แผ่นดินไหวเป็ นหนึ่งในงานวิจยั ที่ศึกษาการประเมินความปลอดภัยของอาคารประกอบเขื่อนที่มีความสาคัญ
ภายใต้แรงแผ่นดิ นไหวในเขตพื้นที่ภาคเหนื อของประเทศไทย ซึ่ งประตู ระบายน้ าล้นคืออาคารประกอบ
เขื่อนที่มีความสาคัญเป็ นลาดับแรกๆ จากการศึกษาครั้งนี้สามารถสรุ ปผลได้ดงั นี้
6.1 ผลการตรวจสอบความถูกต้ องของแบบจาลอง
สาหรับงานวิจยั นี้ เนื่ องจากความไม่พร้อมทางด้านเครื่ องมือที่ใช้สาหรับตรวจวัดความถี่ธรรมชาติ
ของประตูระบายน้ าล้นจริ งซึ่ งเป็ นโครงสร้างที่มีลกั ษณะทางเลขาคณิ ตที่ มีความซับซ้อน ดังนั้นจึงได้ทาการ
ตรวจสอบความถูกต้องของแบบจาลองไฟไนต์เอลิเมนต์ของประตูระบายน้ าล้นโดยการตรวจสอบความถี่
ธรรมชาติ และลักษณะการสั่นไหวพื้นฐานของแบบจาลองกับประตู ระบายน้ าล้นที่ เขื่ อน Kilmorack จาก
งานวิจยั ของ Wendy และ Colin (2000) โดยจากผลการวิเคราะห์สามารถสรุ ปได้ว่าค่าความถี่ธรรมชาติของ
ประตูระบายน้ าล้นที่เขื่อนกิ่วคอหมามีค่าใกล้เคียงกับประตูระบายน้ าล้นที่เขื่อน Kilmorack ทั้งการวิเคราะห์
ด้วยแบบจาลองและการทดสอบในลัก ษณะการสั่ นไหวแบบเดี ย วกัน ซึ่ ง อาจมี ล ักษณะการสั่นไหวบาง
รู ปแบบที่มีความแตกต่างกันมากแต่สาหรับงานวิจยั นี้ โดยรวมถื อว่าอยู่ในเกณฑ์ที่สามารถยอมรับได้ทาให้
สามารถอนุ มานได้ว่าแบบจาลองไฟไนต์เอลิ เมนต์ของประตูระบายน้ าล้นที่เขื่อนกิ่ วคอหมาจากโปรแกรม
SAP2000 มีความน่าเชื่อถือและใช้เป็ นตัวแทนของประตูระบายน้ าล้นเขื่อนกิ่วคอหมาจริ งได้
6.2 ผลการคัดเลือกคลื่นแผ่นดินไหวเป้ าหมาย
จากการคัดเลือกคลื่นแผ่นดินไหวที่นามาใช้วิเคราะห์พฤติกรรมทางพลศาสตร์ ของประตูระบายน้ า
ล้นภายใต้แรงแผ่นดิ นไหว โดยการคัดเลือกมาจากข้อมูลฐานระบบของ PEER Ground Motion Database -
Pacific Earthquake Engineering Research Center (https://ngawest2.berkeley.edu/) ซึ่ งเป็ นเว็ บ ไซต์ ที่ เ ก็ บ
รวบรวมข้อมูลคลื่นแผ่นดินไหวในอดีตจากทัว่ โลกและใช้ค่าสเปกตรัมตอบสนองของพื้นที่เป้ าหมาย (อ.แจ้
ห่ ม จ.ล าปาง) ซึ่ ง ค านวณจากมาตรฐานกรมโยธาธิ ก ารและผังเมื อง (มยผ.1301/1302-61) ด้วยวิธี แบบ
พลศาสตร์ โดยใช้วธิ ี Time History Scaling สาหรับการคัดเลือกคลื่นแผ่นดินไหว 2 ระดับความรุ นแรง ได้แก่
ระดับคลื่นแผ่นดินไหวรุ นแรงสู งสุ ดที่พิจารณา (Maximum Considered Earthquake, MCE) และระดับคลื่น
แผ่นดิ นไหวสาหรับการออกแบบ (Design Basis Earthquake, DBE) พบว่าผลการคัดเลื อกคลื่นแผ่นดิ นไหว
สาหรับพื้นที่เป้ าหมาย (อ.แจ้ห่ม จ.ลาปาง) ทั้ง 2 ระดับความรุ นแรงให้ค่าสเปกตรัมตอบสนองเฉลี่ยใกล้เคียง

123
กับพื้นที่เป้ าหมายและยังคอบคลุมคาบการสั่นธรรมชาติของประตูระบายน้ าล้นเขื่อนกิ่ วคอหมาที่ลกั ษณะ
การสั่นไหวอ่อนแอที่สุด นอกจากนี้ ยงั สามารถนาคลื่ นแผ่นดินไหวจากผลการคัดเลือกของงานวิจยั นี้ ไปใช้
วิเคราะห์กบั โครงสร้ างอาคารอื่นๆ ที่ต้ งั อยู่บนพื้นที่เป้ าหมายและมีคาบการสั่นธรรมชาติอยู่ในช่ วงที่คอบ
คลุมได้
6.3 ผลการวิเคราะห์ พฤติกรรมทางพลศาสตร์ ภายใต้ แรงแผ่นดินไหว
ผลการวิเคราะห์พฤติกรรมทางพลศาสตร์ ของประตูระบายน้ าล้นสาหรับการตรวจสอบเสถียรภาพ
ขององค์อาคารเหล็กรู ป พรรณและแผ่นเหล็ ก บานประตู เนื่ องจากเกิ ดความอ่ อนไหวอย่า งชัดเจนซึ่ ง ถู ก
นาเสนอในรู ปแบบของผลการเคลื่อนที่และผลของความเร่ ง
โดยชิ้ นส่ วนของแขนประตู ระบายน้ าล้นซึ่ งมี วสั ดุ หลักคื อเหล็กรู ปพรรณ (H250x250x14 mm) มี
คุณสมบัติตามมาตรฐาน มอก.1227-2539 ชั้นคุณภาพ SS400 มีผลการวิเคราะห์ท้ งั 2 ระดับความรุ นแรงร่ วม
คลื่นแผ่นดินไหวทั้งหมด 14 คลื่น พบว่าแขนประตูเกิดความอ่อนไหวในทิศทางขวางทางน้ ามากกว่าทิศทาง
ขนานทางน้ าและมีการเคลื่อนที่ในแนวราบเพียงหลักมิลลิเมตรเท่านั้น (สู งสุ ดเท่ากับ 9.01 มิลลิเมตร) ซึ่ งถือ
ว่าน้อยมากแต่กลับมีค่าความเร่ งค่อนข้างสู งเมื่อเปรี ยบเทียบกับความเร่ งสู งสุ ดที่พ้นื ดินของคลื่นแผ่นดินไหว
โดยการเคลื่ อนที่ และความเร่ งของแขนประตูมีค่าสู งที่บริ เวณใกล้จุดรองรับของแขนประตู อย่างไรก็ตาม
ความสัมพันธ์ระหว่างการเคลื่อนที่และความเร่ งไม่ได้สัมพันธ์กนั แบบเชิงเส้นแต่จะขึ้นอยูก่ บั การตอบสนอง
ของประตูระบายน้ าล้นต่อคลื่นแผ่นดินไหวแต่ละคลื่นนั้นๆ สาหรับการเสี ยรู ปของแขนประตูที่เวลาสุ ดท้าย
ของคลื่นแผ่นดินไหวพบว่าที่ตาแหน่งจุดรองรับแขนประตูไม่มีการเคลื่อนที่และมีการเคลื่อนที่สูงสุ ดในช่วง
ความยาวแขนประตูเท่ากับ 0.01 มิลลิเมตร เท่านั้น ดังนั้นสามารถสรุ ปได้วา่ การเสี ยรู ปของแขนประตูระบาย
น้ าล้นเกิดขึ้นน้อยมาก
ในส่ วนของแผ่นเหล็ กบานประตู ระบายน้ าล้นซึ่ งมีวสั ดุ หลักคื อ แผ่นเหล็ก หนา 22 มิ ล ลิ เมตร มี
คุณสมบัติตามมาตรฐาน JIS G 3101 ชั้นคุณภาพ SS400 มีผลการวิเคราะห์ท้ งั 2 ระดับความรุ นแรงร่ วมคลื่น
แผ่นดินไหวทั้งหมด 14 คลื่น พบว่าแผ่นเหล็กบานประตูเกิดความอ่อนไหวในทิศทางขนานทางน้ ามากกว่า
ทิศทางขวางทางน้ าและมีการเคลื่อนที่ในแนวราบเพียงหลักมิลลิเมตรเท่านั้น (สู งสุ ดเท่ากับ 12.23 มิลลิเมตร)
ซึ่ ง ถื อว่าน้อยมากแต่ก ลับมี ค่า ความเร่ งค่ อนข้า งสู ง เมื่ อเปรี ย บเที ยบกับความเร่ ง สู ง สุ ดที่ พ้ืนดิ นของคลื่ น
แผ่นดิ นไหว โดยบริ เวณที่เกิ ดการเคลื่ อนที่และความเร่ งสู งเกิ ดขึ้นที่ก่ ึ งกลางด้านบนระดับความสู ง 7 เมตร
จากพื้นบนสันฝายซึ่ งบริ เวณดังกล่าวไม่มีองค์อาคารเหล็กรู ปพรรณค้ ายันอยู่ อย่างไรก็ตามความสัมพันธ์
ระหว่างการเคลื่ อนที่และความเร่ งไม่ได้สัมพันธ์ กนั แบบเชิ งเส้ นแต่จะขึ้นอยู่กบั การตอบสนองของประตู
ระบายน้ าล้นต่อคลื่นแผ่นดินไหวแต่ละคลื่นนั้นๆ สาหรับการเสี ยรู ปของบานประตูที่เวลาสุ ดท้ายของคลื่น

124
แผ่นดินไหวพบว่ามีค่าการเคลื่อนที่บริ เวณด้านข้างและด้านล้างของบานประตูซ่ ึ งเป็ นตาแหน่งที่ใช้ป้องกัน
การรั่วซึ มของน้ ามีค่าสู งสุ ดเท่ากับ 0.16 มิลลิเมตร และที่ก่ ึ งกลางด้านบนของบานประตูที่ระดับความสู ง 7
เมตร จากพื้นบนสันฝายมีค่าการเคลื่อนที่สูงสุ ดเท่ากับ 1.6 มิลลิ เมตร เท่านั้น ดังนั้นสามารถสรุ ปได้ว่าการ
เสี ยรู ปของบานประตูระบายน้ าล้นเกิดขึ้นน้อยมาก
จากผลการวิ เ คราะห์ พ ฤติ ก รรมทางพลศาสตร์ ข องประตู ร ะบายน้ า ล้น ส าหรั บ การตรวจสอบ
เสถียรภาพสามารถสรุ ปได้ว่าการเสี ยรู ปของประตู ระบายน้ าล้นเกิ ดขึ้นน้อยมากซึ่ งสามารถอนุ มานได้ว่า
ประตูระบายน้ าล้นยังคงสภาพและมีเสถียรภาพตามเดิมหลังเกิดแผ่นดินไหว
ผลการวิเคราะห์เพื่อประเมินสมรรถนะหรื อความเสี ยหายของประตูระบายน้ าล้นจะพิจารณาจาก
ค่าแรงตามแนวแกน (Axial Force) และโมเมนต์ดดั (Bending Moment) ร่ วมถึงตรวจสอบค่าความปลอดภัย
จากพฤติกรรมแบบ คาน-เสา สาหรับชิ้นส่ วนขององค์อาคารเหล็กรู ปพรรณ และความเค้นตามทฤษฎี (Von
Mises Stress) สาหรั บชิ้ นส่ วนของแผ่นเหล็กบานประตู ที่เกิ ดขึ้ นจากการต้านทานการเคลื่ อนที่ ของประตู
ระบายน้ าล้นภายใต้แรงแผ่นดินไหว
โดยความเสี ยหายของประตูระบายน้ าล้นในส่ วนขององค์อาคารซึ่ งเป็ นเหล็กรู ปพรรณมีคุณสมบัติ
ตามมาตรฐาน มอก.1227-2539 ชั้น คุ ณ ภาพ SS400 ซึ่ งใช้แ บบจ าลองเป็ น Beam Element พบว่ า เหล็ ก
รู ปพรรณที่มีส่วนต้านทานแรงตามแนวแกน (Axial Force) จากการสั่นไหวของคลื่นแผ่นดินไหวได้แก่ แขน
ประตู (H250x250x14 mm) เหล็ ก โครงประตู (PL160x22 mm) และเหล็ ก ครี บบานประตู ข อบนอก
(L470x90x8 mm) ในส่ วนของการต้านทานโมเมนต์ดดั (Bending Moment) พบว่าแขนประตู (H250x250x14
mm) เพียงอย่างเดียวที่ตา้ นทานโมเมนต์สูงสุ ด โดยผลการต้านทานแรงของแต่ละชิ้ นส่ วนที่กล่าวมาเป็ นไป
ในทิศทางเดียวกันทั้ง 2 ระดับความรุ นแรงของแผ่นดินไหวทั้ง 14 คลื่น ซึ่ งผลการต้านทานแรงตามแนวแกน
เฉลี่ ย ของแต่ ล ะระดับ ความรุ น แรงของคลื่ น แผ่ น ดิ น ไหวขององค์ อ าคารเหล็ ก รู ป พรรณภายใต้แ รง
แผ่นดิ นไหวไม่พบว่ามีค่าแรงตามแนวแกนที่ เกิ นกว่ากาลังของเหล็กรู ปพรรณรั บได้และผลการต้านทาน
โมเมนต์ดดั เฉลี่ยของแต่ละระดับความรุ นแรงของคลื่นแผ่นดินไหวขององค์อาคารเหล็กรู ปพรรณภายใต้แรง
แผ่นดินไหวไม่พบว่ามีค่าโมเมนต์ดดั ที่เกิ นกว่ากาลังของเหล็กรู ปพรรณรับได้ที่สภาวะครากและพลาสติก
และเมื่อตรวจสอบค่าความปลอดภัยจากพฤติกรรมแบบ คาน-เสา ด้วยสมการความสัมพันธ์ระหว่างแรงอัด
กับ โมเมนต์สู ง สุ ด ที่ เ กิ ด ขึ้ น ภายในช่ ว งความยาวที่ ส นใจโดยใช้วิ ธี ก าลัง ที่ ย อมให้ (Allowable Strength
Design, ASD) ส าหรั บ ในกรณี ค ลื่ นแผ่น ดิ นไหวที่ รุ นแรงที่ สุ ด พบว่า มี ค่ า อัตราส่ วนความปลอดภัย ของ
ชิ้ นส่ วนที่ วิกฤติ ที่สุดเท่า กับ 0.94 ซึ่ งมี ค่าน้อยกว่า 1.0 จึ งถื อว่ามี ความปลอดภัยตามมาตรฐานของ AISC
(American Institute of Steel Construction) และสาหรับอัตราส่ วนความปลอดภัยของเหล็กรู ปพรรณชิ้นอื่นๆ

125
มี ค่ า อยู่ร ะหว่า ง 0.1 ถึ ง 0.5 ดัง นั้น สามารถสรุ ป ได้ว่า องค์อ าคารเหล็ ก รู ป พรรณสามารถต้า นทานแรง
แผ่นดินไหวได้สาหรับการคัดเลือกคลื่นแผ่นดินไหวด้วยวิธี Time History Scaling ที่ตอ้ งนาผลการวิเคราะห์
จากทั้ง 7 คลื่น มาเฉลี่ยกัน (ต่อ 1 ระดับความรุ นแรง)
โดยความเสี ยหายของประตูระบายน้ าล้นในส่ วนของบานประตูระบายน้ าล้นซึ่ งมีวสั ดุหลักคือแผ่น
เหล็กหนา 22 มิลลิเมตร มีคุณสมบัติตามมาตรฐาน JIS G 3101 ชั้นคุณภาพ SS400 และเป็ นองค์ประกอบของ
Shell Element จากผลการวิเคราะห์พบว่าผลของความเค้น Von Mises สู งสุ ด ภายใต้คลื่นแผ่นดินไหวสู งสุ ด
ของแต่ละระดับความรุ นแรงและความเค้น Von Mises สู งสุ ดเฉลี่ ยของแต่ละระดับความรุ นแรงของคลื่ น
แผ่นดินไหวของบานประตูระบายน้ าล้นภายใต้แรงแผ่นดิ นไหวไม่พบว่ามีค่าความเค้น Von Mises สู งสุ ดที่
เกิ นกว่ากาลังดึ งคราก (Yield Stress) และกาลังดึ งประลัย (Ultimate Tensile Stress) ของแผ่นเหล็กรับได้ที่
2350 และ 4000 ksc ตามลาดับ ดังนั้นจึงสรุ ปได้วา่ แผ่นเหล็กบานประตูสามารถต้านทานแรงแผ่นดินไหว
จากผลการประเมินเสถียรภาพและสมรรถนะของประตูระบายน้ าล้นสามารถสรุ ปได้วา่ ประตูระบาย
น้ าล้นเขื่อนกิ่ วคอหมาสามารถใช้งานได้ตามปกติในขณะที่เกิ ดและหลังเกิ ดแผ่นดิ นไหวทั้ง 2 ระดับความ
รุ นแรงและมีความปลอดภัยตามระดับความคาดหวังสาหรับการออกแบบอาคารประกอบเขื่อนต้านทาน
แผ่นดิ นไหวจากการเสนอของคณะกรรมการเขื่ อนขนาดใหญ่ระหว่างประเทศ (ICOLD) ที่ระบุ ว่าระดับ
ความรุ นแรงของแผ่นดินไหวสามารถยอมให้มีการเกิดความเสี ยหายในระดับรุ นแรงต่อโครงสร้างเขื่อนและ
อาคารประกอบเขื่อนได้แต่ความเสี ยหายต้องไม่ส่งผลกระทบต่อการควบคุมการระบายน้ าในอ่างเก็บน้ า
6.4 อภิปรายผลการวิจัย
จากผลการวิเคราะห์ จากงานวิจยั นี้ พบว่าการเคลื่ อนที่และความเร่ ง รวมถึงความเสี ยหายของประตู
ระบายน้ าล้นที่ระดับคลื่นแผ่นดินไหวรุ นแรงสู งสุ ดที่พิจารณา (Maximum Considered Earthquake, MCE) มี
ค่ามากที่สุดภายใต้คลื่นแผ่นดินไหว EQ6 อันเนื่ องมาจากคลื่นแผ่นดินไหว EQ6 มีค่าความเร่ งสู งสุ ดเท่ากับ
0.439 g และArias Intensity เท่ากับ 3.5 m/s ซึ่ งมีค่ามากกว่าค่าคุณสมบัติดงั กล่าวของคลื่นแผ่นดินไหวอื่นๆ
ในกลุ่ ม ระดับ ความรุ น แรง MCE อย่ า งชัด เจน รวมถึ ง ค่ า ความเร่ ง ตอบสนองเชิ ง สเปกตรั ม ของคลื่ น
แผ่นดินไหว EQ6 มีค่าสู งสุ ดใกล้เคียงกับที่คาบการสั่นเป้ าหมายของอาคารเท่ากับ 0.14 วินาที อย่างมากซึ่ ง
ใกล้เคียงมากกว่าคลื่นแผ่นดินไหวคลื่นอื่นๆ (ดูรูปที่ 4-8 ประกอบ) สาหรับการเคลื่อนที่ ความเร่ ง และความ
เสี ยหายของประตูระบายน้ าล้นที่ระดับแผ่นดิ นไหวสาหรับการออกแบบ (Design Basis Earthquake, DBE)
พบว่า มี ค่า มากที่ สุดภายใต้คลื่ นแผ่นดิ นไหว EQ5 โดยคลื่ นแผ่นดิ นไหว EQ5 มี ค่าความเร่ งสู งสุ ดเท่ากับ
0.324 g และArias Intensity เท่ากับ 0.8 m/s ซึ่ งค่าคุ ณสมบัติดงั กล่าวของคลื่ นแผ่นดิ นไหว EQ5 ยังไม่ใช่ ค่า
มากที่สุดในกลุ่มคลื่นแผ่นดินไหวระดับความรุ นแรง DBE โดยค่าความเร่ งสู งสุ ด และArias Intensity มีค่า

126
มากที่สุดเป็ นของคลื่ นแผ่นดิ นไหว EQ3 ซึ่ งมีค่าความเร่ งสู งสุ ดเท่ากับ 0.444 g และArias Intensity เท่ากับ
0.9 m/s ซึ่ งค่าคุณสมบัติดงั กล่าวของคลื่นแผ่นดินไหว EQ3 มีค่ามากกว่าของคลื่นแผ่นดินไหว EQ5 อย่างไร
ก็ตามค่าความเร่ งตอบสนองเชิ งสเปกตรัมของคลื่ นแผ่นดิ นไหว EQ5 มีค่าสู งสุ ดใกล้เคียงกับที่คาบการสั่น
เป้ า หมายของอาคารอย่า งมากซึ่ ง ใกล้เคี ย งมากกว่า คลื่ นแผ่นดิ นไหวคลื่ น อื่ นๆ (ดู รูป ที่ 4-16 ประกอบ)
นอกจากนี้ ค าบอิ ท ธิ พ ลหลัก (Predominant Period) ในทิ ศ ทางขวางทางน้ า (ทิ ศ ทางแกน Y ) ซึ่ งเป็ นทิ ศ
ทางการสั่นไหวของประตูระบายน้ าล้นที่อ่อนแอที่สุด ของคลื่นแผ่นดินไหว EQ6 ระดับความรุ นแรง MCE
และคลื่ นแผ่นดิ นไหว EQ5 ระดับความรุ นแรง DBE เท่ากับ 0.14 วินาที (ดังแสดงในตารางที่ 4-3 และ 4-5)
ซึ่ งเท่ากับคาบการสั่นเป้ าหมายพอดีทาให้เกิดการสั่นพ้อง (Resonance) จากการอภิปรายผลการวิจยั ดังกล่าว
ทาให้สามารถสรุ ปได้ว่าค่าความเร่ งตอบสนองเชิ งสเปกตรัมของคลื่ นแผ่นดิ นไหวที่มีความสอดคล้องกับ
ความถี่ หรื อคาบการสั่นเป้ าหมายของอาคารส่ งผลต่อการเคลื่ อนที่ ความเร่ ง และความเสี ยหายของอาคาร
นั้นๆ อย่างมาก
นอกจากนี้ยงั มีเรื่ องเกี่ยวกับค่ากาลังส่ วนเกินของวัสดุ (Overstrength factor) ซึ่ งในความเป็ นจริ งการ
ใช้ค่ากาลังของวัสดุ จากแบบก่อสร้ างจริ งในการวิเคราะห์น้ นั อาจยังไม่เหมาะสมเพียงพอ เนื่ องจากค่ากาลัง
ของวัสดุที่ใช้ในการก่อสร้างจริ งจะสู งกว่าเกณฑ์มาตรฐานที่ได้มีการกาหนดไว้ กล่าวคือกาลังของวัสดุที่ใช้
ในการก่อสร้างประตูระบายน้ าล้นเขื่อนกิ่วคอหมาของจริ งจะมีกาลังมากกว่ากาลังของวัสดุที่ใช้ในงานวิจยั นี้
หรื อทาให้อนุ มานได้วา่ ประตูระบายน้ าล้นของจริ งจะสามารถต้านทานการสั่นไหวจากคลื่นแผ่นดินไหวได้
ดีกว่าแบบจาลอง
6.5 ข้ อเสนอแนะ
จากผลการวิเคราะห์ของงานวิจยั เรื่ องพฤติกรรมทางพลศาสตร์ ของประตูระบายน้ าล้นแบบบานโค้ง
ภายใต้แรงกระทาจากแผ่นดิ นไหวนี้ ที่มีขอบเขตการวิจยั ดังที่ได้ระบุไว้ ทาให้ทราบเค้าโครงหรื อขอบข่าย
สาหรับจัดทาแผนงานเกี่ ยวกับการประเมินความปลอดภัยของอาคารประกอบเขื่อนหรื อโครงสร้ างอาคาร
อื่นๆ ภายใต้การสั่นไหวจากคลื่นแผ่นดินไหว โดยงานวิจยั นี้ ได้เสนอแนวทางสาหรับการวิเคราะห์ดงั นี้ โดย
เริ่ มจากการสร้างแบบจาลองของโครงสร้างอาคารที่สนใจตามด้วยวิเคราะห์ความถี่ ธรรมชาติและการสั่น
ไหวของอาคาร จากนั้นคัดเลื อกคลื่ นแผ่นดิ นไหวที่สอดคล้องหรื อมี ค่าสเปกตรั มตอบสนองใกล้เคี ยงกับ
พื้นที่ ที่ต้ งั อาคารด้วยวิธี Time History Scaling หรื อวิธีอื่นๆ ที่ น่าเชื่ อถื อที่ระดับรุ นแรงของแผ่นดิ นไหวที่
เหมาะสม และทาการวิเคราะห์พฤติกรรมทางพลศาสตร์ โดยใช้คลื่นแผ่นดินไหวที่ได้ทาการคัดเลือกไว้ และ
สรุ ปผลการประเมินความปลอดภัยด้วยการวิเคราะห์ เสถียรภาพและความเสี ยหายของโครงสร้างอาคารจาก
ค่าพารามิเตอร์ที่เหมาะสมกับองค์ประกอบของแบบจาลองของอาคาร

127
อย่างไรก็ตามเพื่อให้งานวิจยั นี้มีความสมบูรณ์ทางด้านเนื้อหาตามทฤษฎีหรื อหลักการทางวิศวกรรม
และให้เกิดความน่าเชื่ อถือมากขึ้น การศึกษาในอนาคตควรมีการทดสอบภาคปฏิบตั ิสาหรับการหาค่าความถี่
ธรรมชาติของประตูระบายน้ าล้นเขื่อนกิ่วคอหมาของจริ งเปรี ยบเทียบกับแบบจาลองไฟไนต์เอลิเมนต์เพื่อที่
แบบจาลองจะได้มีความหน้าเชื่ อถือยิ่งขึ้นและใช้ค่าคุณสมบัติของวัสดุที่ใช้ในการก่อสร้างจริ งซึ่ งมีค่ากาลัง
ของวัสดุสูงกว่าที่ใช้ในแบบก่อสร้างจริ งเพราะค่ากาลังของวัสดุที่มากขึ้นอาจส่ งผลกับพฤติกรรมของวัสดุที่
ตอบสนองต่อการสั่นไหวของโครงสร้ างประตู ระบายน้ าล้น รวมถึงอาจเพิ่มการวิเคราะห์พฤติกรรมทาง
พลศาสตร์ ของประตูระบายน้ าล้นภายใต้แรงแผ่นดินไหวในขณะที่มีแรงดันน้ าจากอ่างเก็บน้ าเต็มความจุหรื อ
สู งเท่ากับระดับน้ าเก็บกัก ร่ วมถึงมีการพิจารณาแรงดันดินด้านข้างที่ติดกับผนังของอาคารระบายน้ าล้นและมี
การตรวจวัดคุณสมบัติของวัสดุที่เวลาล่าสุ ด

128
บรรณานุกรม
Keiko A. (2013). Steel-Rod Breaking Excitation Method to identify Dynamic Instability of Full-Scale
Tainter-Gates, Paper Steel Rod Breaking As presented Hydrovision, at URLhttps:
https://www.researchgate.net/publication/281376045
ICOLD (2002). Seismic design and evaluation of structures appurtenant to dams, Commission
Internationale des Grands Barrages. Bulletin 123.
Wieland (2012). Seismic Hazard and Seismic Design and Safety Aspects of Large Dam Projects. Geological
and Earthquake Engineering 34.
Applied Technology Council (1996). Seismic Evaluation and Retrofit of Concrete Buildings (ATC 40).
Seismic safety commission state of California, lnc.
Wendy E. and Colin T. (2000). Seismic Analysis and Dynamic Testing of a Spillway Radial gate, 12th
World Conference on Earthquake Engineering, Auckland, New Zeland, Sunday 30 January -
Friday 4 February 2000.
กรมโยธาธิ การและผังเมืองกระทรวงมหาดไทย. (2561). มยผ. 1301/1302-61 มาตรฐานการออกแบบอาคาร
ต้ านทานการสั่ นสะเทือนของแผ่นดินไหว, กรุ งเทพฯ.
กรมทรัพยากรธรณี . (2563). แผนทีร่ อยเลื่อนมีพลังในประเทศไทย, ที่มา: http://www.dmr.go.th/index_.php
กรมชลประทาน กระทรวงเกษตรและสหกรณ์. (2557). ผลกระทบจากเหตุการณ์ แผ่นดิ นไหวที่มีต่อเขื่อน
หรื อ อาคารชลประทาน, ชุ ม ชนนั ก ปฏิ บั ติ ด้ า นการพั ฒ นาแหล่ ง น้ า การจั ด การความรู้ ส านั ก
ชลประทานที่ 15, จ.นครศรี ธรรมราช.
Yasin F., Ilknur K. and Aydin M. (2017). Selection and Scaling Time History Records for Performance-
Based Design, Performance-Based Seismic Design of Concrete Structures and
Infrastructures.

Anil C. (1995). Theory and Applications to Earthquake Engineering, Dynamics of Structures, University
of California at Berkeley.
Eugenio O. (2009). Structural Analysis with the Finite Element Method Linear Statics, Lecture Notes on
Numerical Methods in Engineering and Sciences.

129
Gang F., Pan Z. and Lulian L. (2002). Finite element simulation of effect of clearance on the forming quality
metals in blanking, Journal of material Technology, Netherlands.
Tagawa, H. (2017). Collapse Simulation of U.S. and Japanese Type Steel Moment-Resisting Frame
Structures Using Practical Macro Models, 16th World Conference on Earthquake, Santiago
Chile, January 9th to 13th 2017.
Bhuddarak, C., Chayanon, H. and Junji, K. (2020). seismic analysis of dam–relevant structures in Northern
Thailand, International Journal of GEOMATE, Jan., 2020, Vol.18, Issue 65, pp. 94-101, ISSN:
2186-2982 (P), 2186-2990 (O), Japan, DOI: https://doi.org/10.21660/2020.65.56966.
เจนคณิ ต ขัดทองคา, พุทธรักษ์ จรัสพันธุ์กุล, ชยานนท์ หรรษภิญโญ, ปิ ยะพงษ์ วงค์เมธา และ ชินพัฒน์ บัว
ชาติ . (2562). การวิเคราะห์ เชิ ง พลศาสตร์ ข องอาคารระบายน้ า ล้นเขื่ อนกิ่ วคอหมา, การประชุ ม
วิชาการวิศวกรรมโยธาแห่ งชาติ ครั้งที่ 24, จ.อุดรธานี, 9-10 ก.ค. 2562, หน้า 219 -227.
พุ ท ธรั ก ษ์ จรั ส พัน ธุ์ กุ ล . (2563). โครงการประเมิ น ความปลอดภัย ของอาคารประกอบเขื่ อ นจากแรง
แผ่ น ดิ น ไหว, สนั บ สนุ น โดยสา นั ก งานคณะกรรมการการอุ ด มศึ ก ษาและสา นั ก งานกองทุ น
สนับสนุนการวิจัย, หน้า 45 -57.

การไฟฟ้ า ฝ่ ายผลิ ต แห่ ง ประเทศไทย (กฟผ.). (2561). เขื่ อ นกิ่ ว คอหมา, สื บ ค้น 23 ส.ค. 2560, ที่ ม า:
https://www.egat.co.th/en/information/power-plants-and-dams?view=article&id=481.
CSI Analysis Reference Manual. (2007). SAP2000 is a registered trade mark of Computers and
Structures, Inc, University Avenue Berkeley, California.
Andrew, S. (2011). Comparison of Analysis Techniques for The Seismic Evaluation of an 88-Storey
Reinforced Concrete Building, Theses and dissertations by an authorized administrator of
Digital Commons, Ryerson University, Ontario Canada.
Pacific Earthquake Engineering Research Center (PEER) ground motion database, accessed August 23,
2017, at URL https://peer.berkeley.edu/peer -strong-groundmotion-databases.
Earthquake-Report.com (2014). Very strong deadly earthquake close to Chiang Rai, Thailand - At least
1 dead and 32 injuries + huge number of aftershocks, accessed August 23, 2017, at URL https:
//earthquakereport.com/2014/05/05/strong-earthquakethailand-on-may-5-2014/.

130
American Institute of Steel Construction (AISC). (2010). Specification for Structural Steel Buildings,
ANSI/AISC 360-10, Chicago.

131
ประวัติผู้เขียนวิทยานิพนธ์
ชื่ อผู้เขียน นาย ราชันย์ ขันทกสิ กรรม

ประวัติการศึกษา
กาลังศึกษาระดับปริ ญญาโท สาขาวิศวกรรมโครงสร้าง ภาควิชาวิศวกรรมโยธา
คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
พฤษภาคม 2562
สาเร็ จการศึกษาระดับปริ ญญาตรี วิศวกรรมศาสตรบัณฑิต (เกียรตินิยมอันดับ 2)
สาขา วิศวกรรมโยธา คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
มีนาคม 2558
สาเร็ จการศึกษาระดับมัธยมศึกษาจากโรงเรี ยนตากพิทยาคม
แผนการเรี ยน วิทย์- คณิ ต
การเผยแพร่ ผลงานวิจัย
ราชันย์ ขันทกสิ ก รรม, พุ ท ธรั ก ษ์ จรั ส พันธุ์ กุ ล และ ชยานนท์ หรรษภิ ญโญ.
(2563). คุ ณสมบัติเชิ ง พลศาสตร์ ข องประตู ระบายน้ า ล้น, การประชุ ม วิช าการ
วิศวกรรมโยธาแห่ งชาติ ครั้ งที่ 25, การประชุมออนไลน์, 15-17 ก.ค. 2563, หน้า
1245 -1252.
Rachan, K., Bhuddarak, C., Chayanon, H. and Junji, K. (2020). Dynamic
Analyses of Dam Relevant Structure in Northern Thailand, 17th World
Conference on Earthquake Engineering, Online conference, September 29,
2021, 2d-0034.

132

You might also like