You are on page 1of 20

รายงานสถานการณ์เศรษฐกิจการค้าระหว่างประเทศ

สาธารณรัฐประชาชนจีน ประจาเดือนมีนาคม 2559


สานักงานส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ ณ เมืองกวางโจว
-------------------------------------------------
1. สรุปภาพรวมทั่วไปในสาธารณรัฐประชาชนจีน
ด้านเศรษฐกิจ
 ธนาคารกลางแห่งประเทศจีนประกาศจะลด “อัตราเงินสารองของธนาคารพาณิชย์ หรือ Reserve
requirement ratio (RRR)” ลงร้อยละ 0.5
การปรับลด RRR ในครั้งนี้มีเพื่อสร้างความมั่นใจว่าระบบการเงิน จะมีสภาพคล่องเพียงพอ อีกทั้งเป็นการ
ปูเส้นทางไปสู่การเติบโตที่มั่นคงและเหมาะสม รวมทั้งสร้างสภาพแวดล้อมทางการเงินที่เป็นมิตรสาหรับความต้องการ
ในการปฏิรูปโครงสร้างทางการเงิน การปรับลด RRR มีขึ้นหลังจากปิดการประชุม G20 Finance Ministers and
Central Bank Governors ในเมืองเซี่ยงไฮ้ เมื่อธนาคารกลางแห่งประเทศจีนได้มีการบรรยายถึงนโยบายการเงินว่า
จะต้อง “รัดกุมและเพิ่มความผ่อนคลาย” เพื่อสร้างความแตกต่างจากนโยบายการเงินที่รัดกุมในปีก่อนๆ ซึ่งการปรับ
ลด RRR ครั้งนี้จะมีการอัดฉีดเงินทั้งหมด 7 แสนล้านหยวน หรือเท่ากับ 1.07 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐฯ เข้าสู่ระบบ
การเงินและทางธนาคารกลางจีนได้หวังว่าเงินอัดฉีดนี้จะช่วยพยุงตลาดหุ้นได้ โดยการลด RRR ครั้งล่าสุดคือ เมื่อเดือน
ตุลาคมปี 2558 เนื่องจากธนาคารกลางของจีนต้องการลดอัตราดอกเบี้ยเพื่อลดต้นทุนการกู้ยืมของบริษัทต่างๆ การ
ปรับลด RRR เป็นเครื่องมือที่มีประสิทธิภาพในการเพิ่มสภาพคล่องมากกว่าการเปิดการดาเนินการในตลาดเงิน และ
จะช่วยกระตุ้นให้ธนาคารปล่อยกู้มากขึ้นเพื่อเป็นการช่วยประคองเศรษฐกิจที่แท้จริง และเพื่อการชะลอภาวะ
เศรษฐกิจตกต่าที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงระบบเศรษฐกิจที่เน้นไปใช้ในแนวทางการเจริญเติบโตแบบยั่งยืนมากขึ้นนั้น
ประเทศจีนได้ทาการปรับลดอัตราดอกเบี้ยหรือ RRR ทั้งหมด 5 ครั้งในปีที่ผ่านมา
นอกจากเครื่องมือทางการเงินดังกล่าวแล้ว การขยายภาคการคลังโดยการเพิ่มสัดส่วนของหนี้สาธารณะก็เป็น
ส่วนช่วยในการเพิ่มสภาพคล่องให้แก่ระบบเศรษฐกิจจีนด้วยเช่นกัน
 จีนเป็นประเทศที่มีสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการดาเนินธุรกิจ เป็นอันดับที่ 84 ของโลก ด้วยภาระด้านภาษี
ในสัดส่วนที่สูงมาก ส่งผลให้ธนาคารโลกจัดอันดับให้จีนเป็นประเทศที่มีสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่ อการดาเนินธุรกิจ (Ease
of Doing Business) เป็นอันดับที่ 84 ของโลกจาก 189 ประเทศ ดังนั้น “การปรับลดภาษี” ถือเป็นอีกหนึ่งนโยบายที่
จีนให้ความสาคัญเพราะมีผลช่วยให้ต้นทุนในการดาเนินธุรกิจนั้นลดลง ซึ่งได้รับเสียงตอบรับจากบรรดาบริษัทที่
ประกอบธุรกิจในจีนเป็นอย่างดี
กระทรงการคลังจีนได้แบ่งประเภทภาษีออกเป็น 18 ประเภท
อาทิ ภาษีมูลค่าเพิ่ม ภาษีอุปโภคบริโภค และ ภาษีศุลกากร ที่เป็นรายได้
ของรัฐบาลกลาง , ภาษีมูลค่าเพิ่มที่ดิน และ ภาษีเกี่ยวกับการถือครอง
ทรัพย์สิน ซึ่งเป็นรายได้ของรัฐบาลท้องถิ่น เป็นต้น โดยระบบการจัดเก็บ
ภาษีของจีนมีลักษณะ คือ มีการจัดเก็บภาษีทางอ้อมหลายรายการ เช่น
ภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) ภาษีธุรกิจ (Business Tax) และภาษีอุปโภคบริโภค
(Consumption tax) ซึ่งเมื่อมองรายได้ของรัฐบาลจีนตามโครงสร้างการ
จัดเก็บภาษี ปัจจุบันจีนมีรายได้จากภาษีทางตรง (Direct Tax) เช่น ภาษี
1
เงินได้บุคคล และ ภาษีเงินได้บริษัท ร้อยละ 24.6 และ มีรายได้จากภาษีทางอ้อม เช่น ภาษีมูลค่าเพิ่ม ภาษีธุรกิจ
และ ภาษีอุปโภคบริโภค ร้อ ยละ 47.5 จากรายได้ของบริษัทนั้นๆ ที่จะต้องเสียไปกับการชาระภาษี ค่าธรรมเนียม
ต่างๆและ ภาระด้านประกันสังคม
ทั้งนี้เมื่อมองระบบการจัดเก็บภาษีจีนในเชิงมหภาคนั้น จีนถือเป็นประเทศที่มีการจัดเก็บภาษีต่างๆ สูงมาก
จากข้อมูลในปี 2558 รัฐบาลจีนมีรายได้จากการจัดเก็บภาษีกว่า 2.3 ล้านล้านเหรียญสหรัฐฯ หรือคิดเป็นร้อยละ 34
ของอัตราการเติบโตของ GDP จีน ซึ่งถือว่าสูงมาก เนื่องจากธนาคารโลกได้ประเมินค่าเฉลี่ยสัดส่วนภาษีต่อ GDP
ของประเทศที่มีรายได้ระดับกลางไว้เพียงที่ร้อยละ 22 การเก็บภาษีของจีนเรียกได้ว่าสูงพอๆ กับประเทศพัฒนาแล้ว
เลยทีเดียว
จากการประชุมของรัฐบาลจีนในเดือนธันวาคม 2558 ทางการจีนมีมติเห็นชอบที่จะดาเนินนโยบาย ช่วย
ภาคธุรกิจลดต้นทุน โดยการผ่อนคลายภาระภาษี ได้แก่ การปรับลด VAT โดยในปัจจุบันมีการจัดเก็บภาษี VAT ใน
อัตราร้อยละ 17, 13, 11, 6 และ 3 ซึ่งในขณะนี้ยังไม่มีการประกาศอัตราการปรับลดออกมาอย่างแน่นอน แต่คาด
ว่าการเก็บ VAT สูงสุดจะปรับลงมาอยู่ที่ร้อยละ 15 ซึง่ เดิมอยูท่ ่ี ร้อยละ 17
นอกจากนี้จีนยังจะดาเนินยกเลิกการเก็บภาษี Business Tax ในภาคธุรกิจบริการ ธุรกิจสภาบันการเงิน
ธุรกิจที่เกี่ยวกับการก่อสร้าง และธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ ให้แล้วเสร็จภายในปี 2016 นี้ เพื่อหนุนภาคธุรกิจให้สามารถ
เติบโตได้อย่างต่อเนื่อง
การปรับโครงสร้างภาษีโดย ยกเลิกการเก็บ Business Tax และจะปรับลด VAT นั้นทาให้จีน เป็นประเทศที่
น่าลงทุนมากยิ่งขึ้นถึงแม้จีนจะได้ชื่อว่าเป็นตลาดปราบเซียน แต่ก็ยังคงไว้ซึ่งโอกาสทอง สาหรับนักลงทุนที่มีความ
พร้อมให้เข้ามาทาตลาดจีน
 การทีจ่ ีนออกมาตรการลดภาษีดังกล่าวข้างต้น หนึ่งในเปูาหมายหลักก็คือ เพื่อส่งเสริมธุรกิจ
บริการ )service trade) โดยจะอานวยความสะดวกแก่บริษัทต่างชาติที่สนใจลงทุนและเสนอการลดอัตราภาษีสาหรับ
บริษัทที่ให้บริการด้านเทคโนโลยีขั้นสูง การปรับลดอัตราภาษีดังกล่าว มีสาเหตุมาจากการที่จีนต้องเผชิญกับ
สถานการณ์การนาเข้า – ส่งออกที่ยากลาบากเมื่อปีที่แล้ว อุปสงค์ของการส่งออกลดลงอย่างเห็นได้ชัด อีกหนึ่งสาเหตุ
คือค่าแรงของแรงงานในจีนเพิ่มสูงขึ้น ด้วยเหตุนี้ ทาให้บริษัทต่างชาติจานวนมาก โดยเฉพาะในภาคอุตสาหกรรม
บริการ ต่างให้ความสนใจกับนโยบายที่เอื้อต่อการลงทุนในตลาดจีน
การเร่งพัฒนาด้านการค้าบริการจะช่วยก่อให้เกิดการเติบโตครั้งใหม่ของ GDP และการจ้างงาน ทั้งนี้ ขึ้นอยู่
กับช่วงเวลาที่จีนจะมีความพร้อมที่จะหยุดดาเนินการบริษัทที่มีกาลังผลิตมากเกินความต้องการ ซึ่งมีอยู่เป็นจานวน
มาก เช่น อุตสาหกรรมเหล็กและถ่านหิน
นอกจากนี้ จีนยังมีแผนโครงการนาร่องเขตการลงทุนที่จะประกาศใช้ใน 10 เมือง ควบคู่ไปกับ 5 เขตการ
ลงทุนใหม่ที่มีการจัดเตรียมให้การเข้ามาลงทุนสาหรับบริษัทต่างชาติสะดวกขึ้นและมีระบบการบริหารจัดการที่มีความ
ยืดหยุ่นมากขึ้น พร้อมทั้งเน้นรูปแบบการพัฒนาที่หลากหลาย
10 เมืองที่ได้รับการรับเลือกให้เป็นเมืองนาร่องเพื่อขานรับนโยบายดังกล่าว คือ เมืองเซี่ยงไฮ้ เมืองเทียนจิน
เมืองเซินเจิ้น เมืองกวางโจว เมืองหางโจว เมืองซูโจว มณฑลไห่หนาน เมืองหวู่ฮั่น เมืองเฉิงตูและเมืองเวยไห่ (มณฑล
ซานตง) ในส่วนของเขตการลงทุนระดับชาติ (The national-level investment area) ได้แก่ เมืองฮาร์บิ้น (มณฑล
เฮยหลงเจียง) เขตเจียงเปุย ( เมืองนานกิง) เขตเหลี่ยงเจียง ( เมืองฉงชิ่ง) เมืองกุ้ยหยาง-อันชุ่น ( มณฑลกุ้ยโจว) เมืองซี
อาน-เสียน หยาง (มณฑลซ่านซี) โครงการนาร่องดังกล่าวมีกาหนดจะดาเนินการในอีก 2 ปีข้างหน้า ทั้งนี้ยังมีการออก
2
นโยบาย Tailor-made เพื่อปรับเปลี่ยนให้สัมพันธ์กับการเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้นหลังจากใช้โครงการนาร่องอีกด้วย
นโยบายที่เกี่ยวข้องแบ่งเป็น 3 หมวดหมู่ ได้แก่
1.บริษัทที่ให้บริการด้วยเทคโนโลยีขั้นสูงจะได้รับการลดภาษี โดยอัตราภาษีจะปรับลดลงจาก 25% เหลือ
เพียง 15%
2. รัฐบาลจะจัดสรรงบประมาณเพื่อสนับสนุนด้านนวัตกรรมแก่ภาคการค้าบริการ (Service trade) โดยเฉพาะ
กลุ่ม SMEs ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับบริษัทนั้นตั้งอยู่ในพื้นที่ที่มีการจัดตั้งโครงการนาร่องดังกล่าวหรือไม่ นอกจากนี้ การ
ช่วยเหลือทางการเงินจะเป็นรูปแบบการช่วยเหลือในการทาวิจัยและพัฒนา ( R&D) ถือเป็นสิ่งที่มีความจาเป็นอย่าง
เร่งด่วนในตลาดในประเทศของจีนและการบริการด้านการปกปูองสิ่งแวดล้อม
3.รัฐบาลพร้อมสนับสนุนให้สถาบันการเงินช่วยขยายการบริการทางการเงินไปสู่บริษัทที่ให้บริการเฉพาะทาง
อุตสาหกรรมการบริการของจีนเติบโตอย่างรวดเร็วในช่วงหลายปีที่ผ่านมา และมีการแข่งขันสูง นอกจากนี้การ
ประชุมดังกล่าวยังมีการกล่าวถึงการยกระดับด้านนวัตกรรมสาหรับอุตสาหกรรมการแพทย์และเภสัชกรรม พร้อมทั้งให้
ความสาคัญกับการพัฒนาการแพทย์แผนจีนอีกด้วย
ด้านการลงทุน
 ปัจจุบันบริษัทต่างชาติหันไปลงทุนในอุตสาหกรรมการผลิตระดับสูงและภาคบริการมากขึ้น เนื่องจาก
นโยบายสนับสนุนของรัฐบาลจีน ที่เปิดโอกาสและสนับสนุนการลงทุนในการผลิตดังกล่าว
บริษัท Siemens AG บริษัทอิเล็กทรอนิกส์และวิศวกรรมของเยอรมนีได้ลงทุนเปิดศูนย์นวัตกรรมสาหรับการ
ผลิตอัจฉริยะ (Intelligent manufacturing) ในเมืองชิงเต่า มณฑลซานตง เพื่อเป็นแหล่งปรับปรุงและพัฒนาการ
ออกแบบ หุ่นยนต์ โลจิสติกส์ที่ทันสมัย การรักษาความปลอดภัยด้านข้อมูล เมืองอัจฉริยะ (smart city) และ Big
data ศูนย์นวัตกรรมแห่งนี้จะนาระบบเทคโนโลยีอัตโนมัติและระบบดิจิตอลขั้นสูงเพื่อให้เกิดการผลิตแบบอัจฉริยะ ทั้ง
ยังเป็นการสร้างแพลตฟอร์มนวัตกรรม เพื่อการบูรณาการทั้งในโลกเสมือนจริงและโลกความเป็นจริง (virtual and
real worlds) ซึ่งสร้างความกดดันให้กับอุตสาหกรรมดั้งเดิมที่ใช้แรงงานเข้มข้นในแง่ที่ต้องพัฒนาและยกระดับ
เทคโนโลยีการรับสมัครงานและอัตราการเปลี่ยนงานที่อยู่ในระดับสูง นอกจากนี้บริษัท Siemens จะทุ่มเงินลงทุนกว่า
300 ล้านยูโร (หรือประมาณ 326 ล้านเหรียญ) เพื่อการวิจัยและพัฒนาพร้อมทั้งเพิ่มการใช้ทรัพยากรและเทคโนโลยี
ในภูมิภาคสามเหลี่ยมปากแม่น้าจูเจียงในมณฑลกวางตุ้ง ในเขตพื้นที่เหิงฉินของเมืองจูไห่ ซึ่งเป็นหนึ่งในฐานการผลิต
แบบดั้งเดิมของจีน โดยแผนการขยายธุรกิจดังกล่าวนี้จะประกอบไปด้วยการสร้างฐานการผลิตอุปกรณ์สาหรับรถไฟใน
เมืองเจียงเหมิน เช่นเดียวกับการแนะนาอุปกรณ์ที่ทันสมัยสาหรับโรงงานและระบบควบคุมการจราจร การก่อสร้าง
อาคารสีเขียวที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมและกระบวนการบริหารจัดการ การผลิตอุปกรณ์สาหรับยานพาหนะ ไฟฟูาและ
โครงข่ายไฟฟูาอัจฉริยะ (smart grid) เพื่ออานวยความสะดวกให้เกิดขึ้น
นอกจากนี้บริษัท Boeing Co บริษัทผลิตเครื่องบินโดยสารของสหรัฐก็มีแผนที่จะสร้าง Completion
center สาหรับเครื่องบินรุ่น B737 ในประเทศจีน ภายหลังการสร้างสถิติด้วยการส่งมอบเครื่องบิน 200 ลาให้กับ
ตลาดจีนในปีที่ผ่านมา ซึ่งคิดเป็นสัดส่วนถึงร้อยละ 55 ของที่ส่งมอบให้กับตลาดการบินแห่งใหม่ สาหรับบริษัท Airbus
SAS บริษัทผลิตเครื่องบินโดยสารจากยุโรปก็ได้มีการส่งมอบเครื่องบินจานวน 160 ลา ให้กับจีนในปีที่ผ่านมาและเป็น
ปีที่ 6 ติดต่อกันที่บริษัทได้มีการส่งมอบเครื่องบินให้กับจีนมากกว่า 100 ลาต่อปี โดยบริษัทดาเนินการแค่เฉพาะตัว
เครื่องบินแต่สาหรับการประกอบชิ้นส่วนในขั้นสุดท้ายจะอยู่ที่มหานครเทียนจิน ทางภาคเหนือของจีน
3
และอีกหนึ่งบริษัทที่เป็นผู้ให้บริการด้านการเงินจากสาธารณรัฐเช็ก บริษัท Home Credit Group ซึ่งได้เข้ามา
ดาเนินธุรกิจในจีนตั้งแต่ปี 2007 ปัจจุบันมีทุนจดทะเบียนทั้งสิ้น 567 ล้านเหรียญสหรัฐฯ) บริษัทดาเนิน
ธุรกิจอยู่ในเมืองต่างๆกว่า 260 เมืองใน 24 มณฑล/เขตปกครองพิเศษของจีนและมีพนักงานของบริษัทมากกว่า
33,000 คน
ปัจจุบันจีนได้หันมาผลักดันและส่งเสริมอุตสาหกรรมการผลิตระดับสูง เพื่อเพิ่มศักยภาพของธุรกิจ โดยการ
การยกระดับทักษะ ความรู้ความสามารถของแรงงานจีนให้อยู่ในระดับที่สูงขึ้น จากนี้เป็นไปได้ว่าจะมีผลกระทบต่อ
ค่าแรงของจีน อย่างไรก็ตามการผลิตนั้นย่อมส่งผลให้สินค้าของจีนมีคุณภาพและเกิดความได้เปรียบเชิงแข่งขันมากขึ้น
ด้านอัตราภาษี
 อัตราภาษีนาเข้าสาหรับการค้าแบบ Cross-border จะมีกาหนดเริ่มต้นมีผลบังคับใช้ในวันที่ 8
เมษายน 2559 นโยบายนี้ใช้สาหรับการนาเข้าสินค้าเข้ามาในเขตสินค้าทัณฑ์บนและการนาเข้ามาโดยการจัดส่ง
โดยตรงจากต่างประเทศ ซึ่งอัตราภาษีใหม่มีใจความสาคัญ ดังนี้
1 . การจากัดมูลค่าสินค้า : เดิมมีการจากัดมูลค่าของสินค้าที่ซื้อขายเปลี่ยนจาก 1 ,000 หยวน เป็น 2 ,000
หยวน/ครั้ง ส่วนคนในประเทศจีนมีการจากัดมูลค่าการซื้อขายอยู่ที่ 20,000 หยวน/ปี
2. การเปลี่ยนแปลงของอัตราภาษี : สินค้าที่มีมูลค่าไม่เกินที่จากัดไว้ (2,000 หยวน) มีอัตราภาษีศุลกากร
เป็น 0 % แต่จะเก็บ 70 % ของภาษีมูลค่าเพิ่ม หากมูลค่าสินค้าเกิน 2,000 หยวน จะคานวณจากมูลค่าส่วนเกินเท่านั้น
และใช้การคานวณภาษีแบบการค้าทั่วไปในการเรียกเก็บภาษี แต่ในกรณีที่สินค้าเป็นสินค้าขนาดใหญ่ ชิ้นเดียว ไม่
สามารถแยกย่อยได้ และมีมูลค่ามากกว่า 2 ,000 หยวนก็จะ เรียกเก็บภาษีในอัตราเดียวกับการเก็บภาษีนาเข้าการค้า
ทั่วไป (เนื่องจากอัตราภาษีการนาเข้าการค้าทั่วไป สินค้าแต่ละชนิดมีพิกัดศุลกากรแตกต่างกันไป ด้วยเหตุนี้อาจทาให้
เกิดส่วนต่างเล็กน้อยในการเรียกเก็บภาษี)
2. การเปลี่ยนแปลงของภาษีมูลค่าเพิ่มและภาษีผู้บริโภค : ในอดีตหากสินค้ามีมูลค่าอยู่ในวงเงินจะไม่เรียก
เก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม ภาษีผู้บริโภครวมถึงภาษีศุลกากร แต่ในปัจจุบันสินค้าทุกชนิดจะมีการเรียกเก็บภาษีโดยเรียกเก็บ
70% จากผลรวมของภาษีมูลค่าเพิ่ม + ภาษีผู้บริโภค + ภาษีศุลกากร (นอกจากสินค้า ฟุุมเฟือยและเครื่องสาอางบาง
รายการแล้ว ส่วนใหญ่สินค้าทั่วไปมีอัตราภาษีผู้บริโภคเป็น 0% ภาษีมูลค่าเพิ่ม 17% และสินค้าที่ใช้เป็นวัตถุดิบมี
ภาษีมูลค่าเพิ่ม 13 %) ยกตัวอย่างวิธี คานวณอัตราภาษีการนาเข้า Cross-border สินค้าชนิดหนึ่งมี ภาษีมูลค่าเพิ่ม 17 %
ภาษีชนิดอื่นเป็น 0% วิธีคิดคือ 17%*70% = 11.9%
3. หลักฐานที่จะใช้คานวณภาษี : สาหรับแพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซ จะนาราคาขายจริงมาคานวณภาษี ส่วน
พัสดุจากต่างประเทศจะนาราคาขายปลีกของสินค้า + ค่าขนส่ง + ค่าประกันภัย มาคานวณ (วิธีคานวณนี้แตกต่างกับ
การคิดภาษีการนาเข้าแบบการค้าทั่วไป ที่จะนาราคาซื้อเพื่อนาเข้ามาคานวณภาษีนาเข้า ซึ่งวิธีการคานวณดังกล่าวจะ
ทาให้การนาเข้าแบบ Cross-border จะเรียกเก็บอัตราภาษีในบางสินค้าจะสูงขึ้นกว่าการค้าทั่วไป )
4. ขอบเขตข้อตกลงใหม่ : สาหรับแพลตฟอร์ม E-commerce ที่ได้รับการอนุญาตจากศุลกากรหรือมีการ
เชื่อมเครือข่ายกับศุลกากร ( 海关联网 ) และอีกหนึ่งรูปแบบ คือ E-commerce ที่ไม่ได้เชื่อมต่อออนไลน์กับ
เครือข่ายศุลกากร แต่ร่วมมือกันบริษัทขนส่งและรัฐวิสาหกิจไปรษณีย์ ที่ใช้ระบบ 3 เอกสาร กล่าวคือ ปกติระบบ 3
เอกสารนี้มักจะใช้ในบริษัทชิปปิ้ง แต่หากบริษัทขนส่งสินค้าหรือไปรษณีย์สามารถจัดเตรียมเอกสาร 3 ใบ ได้แก่
1. ใบรับของ ( 提单 ) 2. ใบยื่นดาเนินพิธีศุลกากร (报关单)3. หนังสือรับรองว่าของมาถึงท่าแล้ว ( 舱单 ) และบริษัท
4
ขนส่งสินค้านั้นจะต้องสามารถเป็นผู้รับผิดชอบทางด้านกฏหมายได้จึงสามารถใช้นโยบายนี้ได้
ด้าน E-commmerce
 ช่วงเวลาสองสามปีที่ผ่านมา กระทรวงพาณิชย์และกระทรวงการคลังของจีนได้ร่วมมือกันดาเนิน
โครงการพัฒนา E-commerce ชนบทด้วยงบประมาณ 4,800 ล้านหยวน ปัจจุบัน โครงการดังกล่าวสามารถดึงดูด
มูลค่าการลงทุนคิดเป็นมูลค่า 80,000 ล้านหยวน ครอบคลุมพื้นที่กว่า 1,000 อาเภอ ทั้งนี้ การดาเนินโครงการ
ดังกล่าวมีกิจกรรมหลัก 5 กิจกรรมที่จะต้องเร่งดาเนินการ ดังนี้
1. เร่งพัฒนา E-commerce ชนบท ปรับปรุงให้เขตชนบทมีความทันสมัยมากขึ้น ช่วยแก้ไขปัญหาการว่างงาน
รวมถึงแก้ไขปัญหาความยากจน ปัจจุบัน ได้ดาเนินโครงการฝึกอบรมบุครากรด้าน E-commerce ในชนบทกว่า
400,000 คน และโครงการพัฒนา E-commerce ชนบทได้ครอบคลุมพื้นที่กว่า 1,000 อาเภอ
2. สร้างระบบโลจิสติกส์และสิ่งอานวยความสะดวกต่างๆ ในชนบทเพื่อช่วยการขนส่งสินค้าเกษตร
3. กระตุ้นให้เกิดการใช้รถยนต์ในชนบท
4. ส่งเสริมการสงออกสินค้าเกษตรสู่ตลาดโลก
5. อาศัยนโยบายการสร้างเขตเศรษฐกิจกรุงปักกิ่ง มหานครเทียนจีน – มณฑลเหอเปุย –เขตเศรษฐกิจแม่น้า
แยงซีเกียง และเส้นทางเศรษฐกิจ “One Belt and One Road” โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมให้ตลาดชนบทมี
การพัฒนาเก้าหน้าอย่างพร้อมเพรียงกัน และเมื่อความเจริญเข้าไปทั่วถึง ส่งผลให้เกิดการค้าขาย ผู้คนมีคุณภาพชีวิต
ที่ดีตามมาเป็นการกระตุ้นเศรษฐกิจแบบยั่งยืน
 ในปี 2558 มูลค่าการซื้อขายทางอินเตอร์เน็ตของมณฑลกวางตุ้งครองอันดับหนึ่งในประเทศจีน เป็น
มูลค่าประมาณ 3.36 ล้านล้านหยวน กรมพาณิชย์ของมณฑลกวางตุ้งได้กาหนดร่างแผนพัฒนาธุรกิจ E-commerce
ของมณฑลกวางตุ้งในระยะกลางและระยะยาว (2559-2568) และวางแผนให้รักษาระดับการขยายตัวเป็นเลขสอง
หลักในอีกสิบปีข้างหน้า
โดยร่างแผนพัฒนาดังกล่าวกาหนดให้ในปี 2568 มูลค่าโดยรวมของการซื้อขายทางอินเตอร์เน็ตของมณฑล
กวางตุ้งยังคงรักษาอันดับหนึ่งในประเทศจีน มีการขยายตัวของมูลค่าการซื้อขายทางอินเตอร์เน็ตในมณฑลมากกว่า
ร้อยละ 25 ในช่วงสิบปีข้างหน้านี้ มณฑลกวางตุ้งจะเน้นการสนับสนุนสินค้าที่ได้เปรียบทางการตลาดเพื่อพัฒนาการ
ค้าทางอินเตอร์เน็ต ได้แก่ สินค้าประเภทอิเล็กทรอนิกส์สาหรับผู้บริโภค รถยนต์ เสื้อผ้า รองเท้า เฟอร์นิเจอร์เครื่อง
หนัง ใบชา โคมไฟ เครื่องประดับ อะไหล่อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ งานฝีมือและของเล่น เซรามิค ผลิตภัณฑ์ทาง
การเกษตรที่มีเอกลักษณ์ อาหารทะเลสด เป็นต้น ในขณะเดียวกันก็ส่งเสริมและยกระดับสินค้าประเภทพลาสติก
ปิโตรเลียมและเคมี ผลิตภัณฑ์โลหะ พลังงานถ่านหิน สินค้าทางการเกษตรและปุาไม้ สิ่งทอและเครื่องหนัง ในการค้า
ทางอินเตอร์เน็ต นอกจากนี้ ยังสนับสนุนธุรกิจประเภทบริการ ธุรกิจด้านวัฒนธรรม การท่องเที่ยว โลจิสติกส์ การ
ดูแลสุขภาพ การเงิน ในการค้าทางอินเตอร์เน็ตอีกด้วย
ร้านค้าทางอินเตอร์เน็ตของมณฑลกวางตุ้งครองอันดับหนึ่งในประเทศจีนมาโดยตลอด ตั้งแต่ปี 2556-2558
มูลค่าการซื้อขายทางอินเตอร์เน็ตของมณฑลกวางตุ้งโดยเฉลี่ยต่อปีมีการขยายตัวมากกว่าร้อยละ 30 ศักยภาพของ
ธุรกิจการค้าทางอินเตอร์เน็ตของมณฑลกวางตุ้งเพิ่มขึ้นอย่างเห็นได้ชัด การสนับสนุนร้านค้าทางอินเตอร์เน็ตก็ค่อยๆ
ได้รับการปรับปรุงให้ดีขึ้น ในปี 2558 การซื้อขายทางอินเตอร์เน็ตของทั้งมณฑลมีมูลค่าประมาณ 3.36 ล้านล้าน
หยวน ครองอันดับหนึ่งของประเทศ และในช่วงเทศกาลคนโสดธุรกิจทางอินเตอร์เน็ตของมณฑลกวางตุ้งก็ยังคง
รักษาอันดับต้นๆไว้ได้อย่างมั่นคง ในจานวนสถิติการขาย 9.12 หมื่นล้านรายการของเว็บไซต์ Alibaba มณฑล
กวางตุ้งครองสัดส่วนเกือบหมื่นล้านรายการ และได้รับการขนานนามว่าเป็นแหล่งรวมของ “นักช็อปออนไลน์”
5
สถานการณ์สาคัญรายมณฑล/เมือง
 เมื่อวันที่ 26 กุมภาพันธ์ ปี 2559 คณะกรรมการพัฒนาและ
ปฏิรูปแห่งชาติจีนได้ประกาศว่า สภาแห่งรัฐบาลกลางของจีนได้เห็นชอบให้มี
การจัดตั้งเขตคลังสินค้าทัณฑ์บนครบวงจร จานวน แห่ง ณ นคร 2คุนหมิง
และเมืองหนานชาง
1. เขตคลังสินค้าทัณฑ์บนครบวงจร ณ นครคุนหมิง
เขตคลังสินค้าทัณฑ์บนครบวงจรคุนหมิงได้แบ่งเป็น 2 เขต คือ เขตสินค้าทัณฑ์บน A ตั้งอยู่ในเขตแปรรูปเพื่อ
การส่งออกเมืองคุนหมิง( Economic Development Zone) มีพื้นที่58 0,000 ตารางเมตร และเขตสินค้าทัณฑ์บน B
ตั้งอยู่ใกล้สนามบินฉางสุ่ยเมืองคุนหมิง มีพื้นที่1 . 42ล้านตารางเมตร
ทั้งนี้ เขตคลังสินค้าทัณฑ์บน A จะมุ่งเน้นการพัฒนาอุตสาหกรรมทั้งการผลิตและการค้าเครื่องประดับ
ประเภทหยก ยาชีวภาพ และอุตสาหกรรมอาหาร เป็นต้น ซึ่งเป็นสินค้าท้องถิ่นที่มีชื่อเสียงของมณฑลยูนนานและ
ประเทศเพื่อนบ้าน โดยจะส่งเสริมให้มีการแปรรูปสินค้าวัตถุดิบที่อยู่ในคลังสินค้าทัณฑ์บน และใช้ระบบโลจิสติกส์ของ
คลังสินค้าทัณฑ์บนเป็นหลัก ส่วนเขตคลังสินค้าทัณฑ์บน B ที่อยู่ใกล้กับสนามบินฉางสุ่ย เมืองคุนหมิง จะเน้น
พัฒนาการขนส่งการค้าระหว่างประเทศ การ Re-Export คลังสินค้าและการแปรรูปวัถุดิบ เป็นต้น เพื่อให้การค้า
การบริการ การแปรรูปและระบบโลจิสติกส์ในเขตนี้ครบวงจร มีความเชื่อมโยงกันและทันสมัยมากขึ้น
รัฐบาลจีนมีแผนดาเนินการให้เขตคลังสินค้าทัณฑ์บนที่ครบวงจรของนครคุนหมิงได้ร่วมมือกับเขตพัฒนา
อุตสาหกรรมใหม่เตียนจง โดยจะก่อสร้างเขตคลังสินค้าทัณฑ์บน B ให้แล้วเสร็จสมบูรณ์ในปี นอกจากนี้ ใน 2559 ปี
2560 รัฐบาลจะเริ่มก่อสร้างโครงสร้างพื้นฐานเพื่อสนับสนุนการดาเนินงานของเขตคลังสินค้าทัณฑ์บนครบวงจรของ
นครคุนหมิง โดยตั้งเปูาหมายให้มูลค่าการค้าของเขตคลังสินค้าทัณฑ์บนทั้งเขต A และเขต B เพิ่มขึ้นให้ได้ถึงร้อยละ
20ของมูลค่าการค้าทั้งหมดของยูนนาน ภายในปี 2020
2. เขตคลังสินค้าทัณฑ์บนครบวงจร ณ เมืองหงเหอ
เขตคลังสินค้าทัณฑ์บนครบวงจร ณ เมืองหงเหอ ตั้งอยู่ใน
เมืองเหมิงจื้อ มีพื้นที่ 290,000 ตารางเมตร ได้รับอนุมัติการก่อสร้าง
จากสภาแห่งรัฐบาลกลางจีน เมื่อเดือนธันวาคม 2 556 และได้เปิดใช้
บริการ ตั้งแต่เมื่อวันที่ 8 พฤษภาคม 2558 ซึ่งเป็นเขตคลังสินค้าทัณฑ์
บนครบวงจรแห่งแรกของมณฑลยูนนาน โดยมีการลงทุน การก่อสร้าง
ทั้งหมด 2,045 ล้านหยวน
เขตคลังสินค้าทัณฑ์บนครบวงจรเมืองหงเหอจะเน้นการพัฒนาการค้าในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และ
ภูมิภาคเอเชีย -แปซิฟิก ซึ่งจะเป็นศูนย์กลางด้านโลจิสติกส์ระหว่างประเทศ ศูนย์กลางการจัดซื้อระหว่างประเทศ
ศูนย์กลางการนาเข้ามาเพื่อการแปรรูปและการส่งออก ศูนย์กลางแปรรูปสินค้าอุตสาหกรรมเพื่อการส่งออกที่สาคัญใน
มณฑลยูนนาน
เขตคลังสินค้าทัณฑ์บนครบวงจรเมืองหงเหอจะมีการลงทุนในสินทรัพย์ถาวรทั้งหมด 1 , 000ล้านหยวน และ
คาดว่าในปี2 563 จะมีมูลค่าการนาเข้าและการส่งออกในเขตนี้ไม่ต่ากว่า1 ,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐอต่อปี
6
 การแปลงโฉมเมืองจ้านเจียง (Zhanjiang) ให้มีโครงสร้างพื้นฐานเป็นแบบอุตสาหกรรมทันสมัย
รัฐบาลจากเมืองจ้านเจียง (Zhanjiang) ในมณฑลกวางตุ้ง ได้มีการจัดการประชุมกับองค์กรรัฐวิสาหกิจหลายองค์กร
เพื่อเพิ่มความเข้มแข็งทางเศรษฐกิจให้กับทางชายฝั่งของเมืองจ้านเจียง ในระหว่างการประชุมที่ได้จัดขึ้นในเมืองกวาง
โจว
ทางเมืองจ้านเจียงได้ตั้งงบเงินทุนประมาณกว่า 5.8 หมื่นล้านหยวน หรือ 8.86 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ
สาหรับ 16 โครงการ โดยลงนามข้อตกลงความร่วมมือเชิงกลยุทธ์กับตัวแทนจากองค์กรรัฐวิสาหกิจเหล่านั้น นักลงทุน
ใหญ่ที่เข้าร่วมโครงการ ซี่งประกอบด้วย China Huadian Corporation (CHD), China Metallurgical Group
Corporation, China MCC5 Group Corporation และ China Forestry Group Corporation
บริษัท CHD หนึ่งใน 5 บริษัทผู้ผูกขาดทางพลังงาน ที่ซึ่งเป็นรัฐวิสาหกิจของจีน จะสนับสนุนเงินทุนหนึ่ง
หมื่นล้านหยวนสาหรับการจัดตั้งระบบเครื่องกาเนิดไฟฟูาแบบกระจาย (genset) ในเมือง Lianjiang ในฐานะเป็นเมือง
สาคัญของเมืองจ้านเจียง นอกจากนี้ China MCC5 Group Corporation ก็จะให้เงินทุนหนึ่งหมื่นล้านหยวนเพื่อ
สนับสนุนในการสร้างโครงสร้างพื้นฐานในโครงการนี้ด้วยเช่นกัน
โครงการอื่นๆ ก็เกี่ยวข้องกับพลังงาน โลจิสติกส์ และอุตสาหกรรมเคมีหนักเป็นหลัก ซึ่งโครงการทั้งหมดนี้ก็
กาลังจะถูกสร้างขึ้นหรือดาเนินการในแผนพัฒนา 5 ปี ฉบับที่ 13 (2016-2020)
เมืองจ้านเจียง ได้มีการรักษาความสัมพันธ์ที่ดีกับองค์กรรัฐวิสาหกิจตลอดมา ซึ่งก็ส่งผลให้มีการพัฒนาเมือง
ได้อย่างรวดเร็วในไม่กี่ปีที่ผ่านมา ปัจจุบัน ทางชายฝั่งของเมืองจ้านเจียง จะเป็นพื้นที่หลักสาหรับสองโครงการภายใต้
ความร่วมมือกับรัฐวิสาหกิจ ตัวอย่างเช่น ท่าเรือขนส่งจ้านเจียง ซึ่งก็เป็นพื้นที่การลงทุนของ China CNOOC Oil
Nanhai West Group และ Zhanjian Baosteel Base ทั้งนี้ เพื่อเป็นไปตามแผนพัฒนา 5 ปี ฉบับที่ 13
(2016-2020) และยุทธศาตร์ Belt and Road เมืองจ้านเจียง ก็จะยกระดับความร่วมมือเชิงกลยุทธ์กับองค์กร
รัฐวิสาหกิจเหล่านี้ต่อไป เพื่อดึงดูดการลงทุนมากขึ้น ซึ่งก็จะทาให้มีการพัฒนาอุตสาหกรรมให้มีความก้าวหน้าขึ้นไป
สถานการณ์รายสินค้า
 International Grains Council (IGC) คาดการณ์ว่าปี 2559 จีนจะผลิตข้าวได้ 145.7 ล้านตัน ซึ่ง
เพิ่มขึ้นจากปีก่อนเล็กน้อย โดยผลผลิตข้าวของจีนในปี 2558 มีปริมาณ 145 ล้านตัน คาดการณ์ว่าจีนจะมีการนาเข้า
ข้าว 4.8 ล้านตัน ความต้องการข้าวในประเทศประมาณ 149.8 ล้านตัน และคาดว่ามีข้าวในสต๊อคประมาณ 52.1 ล้าน
ตัน ประกอบกับแหล่งผลิตข้าวที่สาคัญของจีนอยู่ในหลายพื้นที่ ได้แก่ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือใน มณฑลเฮยหลง
เจียง จี๋หลิน เหลียวหนิง และภาคใต้ มีแหล่งผลิตหลายแห่ง ส่งผลให้ผลผลิตของจีนไม่ขาดแคลน ทั้งนี้ทางภาค
ตะวันออกเฉียงเหนือของจีนเป็นแหล่งเพาะปลูกข้าวพันธ์เมล็ดสั้น ‘Gengmi’ (梗米) ทางด้านภาคใต้ของจีนเป็นแหล่ง
เพาะปลูกข้าวเมล็ดยาว ‘Xianmi’ (籼米)
จากการคาดการณ์หากเกิดภัยแล้งขึ้นในทางตอนเหนือ รัฐบาลจีนจะผันน้าจากตอนใต้เพื่อปรับสมดุลไปยังที่
ต่างๆ ที่เกิดภาวะแห้งแล้ง และได้สร้างระบบชลประทานรองรับไว้แล้ว เพื่อระบายน้าช่วยเหลือแหล่งเกษตรกรรมที่
สาคัญของจีนที่ประสบปัญหา อย่างไรก็ตามภัยแล้งไม่ได้เป็นปัจจัยเดียวที่จะส่งผลกระทบต่อผลผลิตของจีน ภัยหนาว
ซึ่งไม่อาจคาดการณ์ได้ก็อาจส่งผลกระทบได้เช่นกัน

7
 ผู้ส่งออกมะม่วงสาธารณรัฐเอกวาดอร์มุ่งเจาะตลาดจีน สานักงานตรวจสอบคุณภาพสินค้าแห่งประเทศ
จีน (AQSIQ) ได้ประกาศรายชื่อผู้ส่งออกมะม่วง สวนเพาะปลูกมะม่วง และผู้หีบห่อมะม่วงของสาธารณรัฐเอกวาดอร์
มายังประเทศจีนระหว่างปี 2558-2559
ปัจจุบัน สาธารณรัฐเอกวาดอร์ได้ส่งมะม่วงเข้ามาในตลาดจีนมากเป็นอันดับ 10 รองจากไทย พม่า
เวียดนาม ฟิลิปปินส์ ปากีสถาน อินเดีย ไต้หวัน ออสเตรเลีย และเปรู ปัจจุจัน ผู้ส่งออกมะม่วงของสาธารณรัฐ
เอกวาดอร์ให้ความสาคัญกับตลาดเอเชียเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งตลาดจีน แต่อย่างไรก็ตาม การส่งออก
มะม่วงจากสาธารณรัฐเอกวาดอร์มายังตลาดจีนยังคงเผชิญกับปัญหาต่างๆ เนื่องจากจีนเพิ่งอนุญาตให้นาเข้ามะม่วง
สาธารณรัฐเอกวาดอร์ และผู้ส่งออกไม่เคยประชาสัมพันธ์สินค้าดังกล่าวในตลาดจีน ทาให้ผู้บริโภคชาวจีนยังไม่รู้จัก
มะม่วงดังกล่าว ซึ่งจะมีผลต่อปริมาณการนาเข้ามะม่วงสาธารณรัฐเอกวาดอร์ นอกจากนี้ ประเทศจีนยังไม่ได้ลงนามใน
ข้อตกลงเขตการค้าเสรีกับสาธารณรัฐเอกวาดอร์ ขณะที่จีนได้เซ็นกับประเทศอื่นๆ ไปแล้ว ทาให้การนาเข้ามะม่วง
สาธารณรัฐเอกวาดอร์ต้องเสียภาษีนาเข้าร้อยละ 15 VAT อีกร้อยละ 13 จึงทาให้ราคามะม่วงสาธารณรัฐเอกวาดอร์สูง
กว่าประเทศอื่น และการตั้งราคาในตลาดจีนก็จะสูงขึ้นตามไปด้วย ซึ่งทาให้สถานะการแข่งขันด้านราคาอยู่ในระดั บ
ล่างสาหรับแหล่งผลิตและช่วงเวลาการออกสู่ตลาดของประเทศที่ส่งออกมะม่วงมาตลาดจีน มีดังนี้ ( แหล่งข้อมูล :
http://lohas.china.com.cn)
ประเทศ ช่วงเวลาที่ผลผลิตออกจากตลาด
ไทย ระหว่างเดือนมกราคม - พฤษภาคม
ฟิลิปปินส์ ระหว่างเดือนมกราคม - พฤษภาคม
ปากีสถาน ระหว่างเดือนกุมภาพันธ์ - พฤษภาคม
อินเดีย ระหว่างเดือนพฤษภาคม - กรกฎาคม
ไต้หวัน ระหว่างเดือนมิถุนายน - สิงหาคม
ออสเตรเลีย ระหว่างเดือนกันยายน - มีนาคมของปีถัดไป
เปรู ระหว่างเดือนมกราคม - กุมภาพันธ์
สาธารณรัฐเอกวาดอร์ ระหว่างเดือนกันยายน - มกราคมของปีถัดไป
พม่า -
เวียดนาม -

 จากการยกเลิกนโยบายลูกคนเดียวของจีน และการเพิ่มขึ้นของความต้องการสินค้าของเล่นที่มีคุณภาพ
มากขึ้น ทาให้คาดการณ์ว่าปัจจัยเหล่านี้จะช่วยเพิ่มยอดขายผลิตภัณฑ์ของเล่นเด็กและเกมส์ได้มากขึ้น โดยคาดว่า
ภายในปี 2562 ยอดขายในตลาดจีนจะเพิ่มขึ้นไปถึง 9.75 หมื่นล้านหยวน (1.5 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐ )
ปี 2558 ยอดขายของเล่นมีมูลค่า 5.8 หมื่นล้านหยวน และเพิ่มเป็น 6.34 หมื่นล้านหยวนในปี 2558 และมี
แนวโน้มจะเพิ่มขึ้นเป็น 6.98 หมื่นล้านหยวนในปี 2562
ยอดขายของเล่นและเกมส์ในรูปแบบดั้งเดิมยังคงมีการเติบโต แต่เป็นการเติบโตในอัตราที่ลดลง คือ ในปี
2556 เติบโต 9.7% และปี 2557 เติบโต 9% เป็นเพราะยอดขายของสินค้าสาหรับเด็กอย่าง ตัวการ์ตูนต่อสู้ อุปกรณ์
งานศิลปะ งานฝีมือ ตุ๊กตา เกมส์ puzzle และของเล่นทาจากผ้า มีการเติบโตที่ลดลงในปี 2557 เนื่องจากการชะลอ
ตัวลงของเศรษฐกิจ และการหันไปนิยมวีดีโอเกมส์มากขึ้น ผลิตภัณฑ์ที่กระตุ้นและส่งเสริมกิจกรรมกลางแจ้งของ
8
เด็กๆ กลับขายได้ดีในปี 2014 โดยเฉพาะผลิตภัณฑ์ของเล่นสาหรับกิจกรรมกลางแจ้ง ของเล่นที่เกี่ยวกับกีฬา วิทยุ
บังคับ และรถจักรยานซึ่งเป็นสินค้าเทรนด์ใหม่ที่เปลี่ยนแปลงไป
พ่อแม่ยุคปัจจุบันต่างตระหนักถึงความเครียดของลูกจากการเรียนอย่างหนัก พวกเขาจึงเชื่อว่าของเล่นเด็กที่
ทาให้เด็กๆ ออกมาเล่นกลางแจ้งจะสามารถช่วยบรรเทาความเครียดของเด็กๆ ได้ดี นอกจากนี้ การเล่นนอกบ้านก็จะ
ช่วยสร้างทีมเวิร์คและการเรียนรู้ที่จะเข้าสังคมให้แก่เด็กๆ อีกด้วย
ในปี 2557 ของเล่นที่เป็นแบรนด์ของจีนที่ยังคงครองตลาดเป็นอันดับหนึ่ง คือ บริษัท Guangdong Alpha
Animation & Culture มีส่วนแบ่งในตลาดค้าปลีกมากที่สุด คือ ร้อยละ 5.5% รองลงเป็นบริษัท Shanghai Yaoji
Playing Cards มีสัดส่วน 3.1% สาหรับกลุ่มบริษัท Lego จากประเทศเดนมาร์ก ถือว่าเป็นแบรนด์ต่างชาติที่
เหนือกว่าคู่แข่งจากชาติอื่นๆ ในตลาดจีน โดยมีสัดส่วนการคลองตลาดเป็นอันดับ 3 อยู่ที่ 2.3% ใน ปี 2014ทั้งนี้
บริษัท Lego กาลังสร้างโรงงานแห่งแรกที่เมือง Jiaxing มณฑลเจ้อเจียง ทางตะวันออกของจีน เพื่อรองรับความ
ต้องการผลิตภัณฑ์ของบริษัทที่เพิ่มขึ้นในตลาดเอเชีย โดยโรงงานแห่งนี้มีจานวนพนักงานแล้ว 230 คน และคาดว่า
เพิ่มขึ้นเป็น 600 คนภายในปีนี้ ในขณะที่โรงงานจะดาเนินการผลิตได้เต็มรูปแบบภายในปี 2560
บริษัทผลิตของเล่นต่างให้ความสาคัญกับตลาดเอเชีย โดยเฉพาะอย่างยิ่งตลาดจีนที่มีความสาคัญอย่างมาก
ต่อการเติบโตของบริษัทในอนาคต การสร้างโรงงานที่ Jiaxing จะช่วยสนับสนุนให้บริษัทฯตอบสนองความต้องการ
ของผู้บริโภคทั่วภูมิภาคเอเชียและตลาดจีนได้มากขึ้น
ในช่วงครึ่งปีแรกของปี 2558 กลุ่มบริษัท Lego มีรายได้ 2.11 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ รายได้ของบริษัทฯ
จากทุกๆ ตลาดทั่วโลกมีอัตราการเติบโตในระดับเลขสองหลัก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในตลาดเอเชีย ที่มีการเติบโตสูงสุด
ส่งผลให้บริษัทฯ ทุ่มเงินลงทุนอย่างมากเพื่อทาให้บริษัทไปสู่ระดับโลก แม้ว่าเด็กๆ ชาวจีนดูเหมือนว่าจะชื่นชอบการ
เล่นวีดีโอเกมส์มากขึ้น แต่ Lego ก็ยังคงเป็นของเล่นที่เด็กๆ จีนต้องการเสมอ แม้ว่าจะมีราคาสูงกว่าแบรนด์ท้องถิ่น
อย่าง Ban Bao และ Cogo ด้วยคุณภาพที่ดีกว่า วัสดุที่ปลอดภัยกว่า และคาแนะนาที่ชัดเจน ส่งผลให้ Lego มี
ยอดขายเพิ่มขึ้นในตลาดจีน
Lego ได้ทาการรวบรวมพื้นฐานต่างๆ ของ
จีนสู่ของเล่นและดาเนินการด้านการวิจัยและพัฒนา
อย่างต่อเนื่องเพื่อออกแบบผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพแก่
ผู้บริโภคจีน
นอกจากนี้ ยังมีแบรนด์ของเล่นต่างชาติ
อื่นๆ อย่างเช่น Mattel ซึ่งเป็นเจ้าของผลิตภัณฑ์
ยอดนิยมโดยเฉพาะตุ๊กตาบาร์บี้ และบริษัท Hasbro
ผู้ผลิตของเล่นในรูปแบบหุ่นยนต์ Transformers

อย่างไรก็ดี บริษัทผู้ผลิตของเล่นระดับโลกหลายรายไม่ได้ให้ความสาคัญกับตลาดจีนเท่าที่ควร และไม่มีการ


ปรับกลยุทธ์ให้เหมาะสมกับตลาดจีน แต่กลับใช้กลยุทธ์เดิมที่คิดว่าใช้แล้วประสบความสาเร็จในตลาดอื่นๆ ทาให้
บริษัทเหล่านั้นไม่ประสบความสาเร็จในตลาดจีน ยกตัวอย่างเช่น การเปิดร้านจาหน่ายตุ๊กตาบาร์บี้ของบริษัท Mattel
ในนครเซี่ยงไฮ้ เมื่อปี 2552 ซึ่งเป็นร้านขายของเล่นขนาดใหญ่รวม 6 ชั้นที่รวบรวมตุ๊กตาบาร์บี้ที่ถือว่าครบทุกรุ่นและมี

9
จานวนมากที่สุดในโลก แต่ในปี 2554 บริษัท Mattel กลับต้องปิดร้านแห่งนี้ลง เนื่องจากไม่สามารถกระตุ้นความ
ต้องการของเด็กๆ ชาวจีนได้ ซึ่งสาเหตุหนึ่ง มาจากการที่ตุ๊กตาบาร์บี้ไม่ได้มีการผสมผสานกับวัฒนธรรมจีนที่ดีพอ ทา
ให้ตุ๊กตาบาร์บี้เป็นเพียงแค่ตุ๊กตาธรรมดาที่รูปร่างหน้าตาเหมือนคนต่างชาติในมุมองของเด็กๆ ชาวจีน

 Baidu (ไป๋ตู้) ขยายธุรกิจบริการ Baidu Map มายังประเทศไทย ญี่ปุน เกาหลี และสิงคโปร์ โดยได้ขยาย
บริการ Baidu Map (บริการด้านแผนที่ ลักษณะบริการเช่นเดียวกับ Google Map) ไปยังต่างประเทศ เพื่อรองรับ
นักท่องเที่ยวชาวจีนที่เดินทางไปท่องเที่ยวยังต่างประเทศที่มีจานวนเพิ่มสูงขึ้น จากการเปิดเผยของผู้แทนบริษัท
ขณะนี้บริษัทได้เริ่มให้บริการแผนที่ผ่านทางคอมพิวเตอร์และโทรศัพท์ ใน 4 ประเทศ ได้แก่ ประเทศไทย ญี่ปุน เกาหลี
และสิงคโปร์ เพื่อดึงดูดนักท่องเที่ยวชาวจีนจากการใช้บริการแผนที่ของบริษัท Google เนื่องจาก ใน 4 ประเทศนี้ มี
จานวนนักท่องเที่ยวชาวจีนเพิ่มมากขึ้นในทุกๆ ปี โดยได้เริ่มให้บริการในวันที่ 8 กุมภาพันธ์ 2559 ซึ่งตรงกับเทศกาล
ตรุษจีน อันเป็นเทศกาลที่ยิ่งใหญ่ที่สุดของจีน เพื่อประเมินผลการใช้งานและสารวจการตอบรับจากกลุ่มผู้ใช้บริการ ซึง่
ข้อมูลที่ได้รับจะนากลับมาเพื่อปรับปรุงและพัฒนาการให้บริการอย่างรวดเร็วที่สุด จากข้อมูลของบริษัท Ctrip.com
ซึ่งเป็นบริษัทตัวแทนด้านการท่องเที่ยวออนไลน์ที่ใหญ่ที่สุดของจีน คาดการณ์ไว้ว่า เทศกาลตรุษจีนจะมีนักท่องเที่ยว
ชาวจีนออกไปท่องเที่ยว ใน 10 สถานที่ท่องเที่ยว จาก 4 ประเทศดังกล่าว จานวนประมาณ 6 ล้านคน ซึ่งการขยาย
ธุรกิจของ Baidu จะช่วยให้นักท่องเที่ยวสามารถวางแผนเส้นทางการท่องเที่ยวได้อย่างเหมาะสมที่สุด และบริษัทมี
ความคาดหวังในการขยายขอบเขตการให้บริการไปยังการบริการอื่นๆ เช่น การแนะนาเส้นทางและการจองร้านอาหาร
ในท้องถิ่น เป็นต้น คาดว่า Baidu จะสามารถดึงดูดผู้ใช้บริการชาวจีนจาก Google ได้ เนื่องจากนักท่องเที่ยว
ชาวจีนมีการใช้บริการแผนที่จาก Baidu ขณะอยู่เมืองจีนเป็นปกติอยู่แล้ว และเมื่อกลุ่มนักท่องเที่ยวชาวจีนที่ไม่
สามารถใช้ภาษาอังกฤษในการสื่อสารได้ ไปท่องเที่ยวยังต่างประเทศจะเลือกใช้บริการดังกล่าวซึ่งให้บริการเป็น
ภาษาจีนเป็นลาดับแรก และแม้ว่า Baidu จะมีผู้ใช้งานเป็นจานวน 300 ล้านรายต่อเดือน คิดเป็น 70 เปอร์เซ็นต์ของ
ตลาดผู้ให้บริการด้านแผนที่ของจีน แต่ Baidu ยังคงต้องมีการพัฒนาอีกมากในการที่จะแข่งขันกับ Google ใน
ตลาดโลก โดยเฉพาะอย่างยิ่งด้านความถูกต้องของตาแหน่งที่ตั้งในแผนที่
อย่างไรก็ตาม นักท่องเที่ยวชาวจีน ได้ให้ความเห็นว่า จะยังไม่เลือกใช้บริการแผนที่จาก Baidu หากยังไม่
สามารถพัฒนาการบริการให้เทียบเท่ากับ Google ได้

2. การค้าระหว่างประเทศของสาธารณรัฐประชาชนจีนในปี 2559
 
การค้าระหว่างประเทศรายเดือน ในเดือนม.ค. 2559 มีมูลค่า 4.06 แสนล้านหยวน (6.2 หมื่นล้าน
เหรียญสหรัฐฯ) เทียบกับเดือนก่อนหน้าซึ่งมีมูลค่า 3.82 แสนล้านหยวนมูลค่าการส่งออกของจีน คิดเป็นเงินหยวน
ลดลง 6.6% เมื่อเทียบกับเดือนม.ค. ของปี 2558 ขณะที่มูลค่าการนาเข้าลดลง 14.4% สถิติจากกรมศุลกากรจีน

 การนาเข้าและส่งออกสินค้าเกษตร
ในปี 2558 การนาเข้าและส่งออกสินค้าเกษตรของจีนมีมูลค่ารวม 187,560 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ในช่วง
หลายปีที่ผ่านมา ผลจากจานวนและรายได้ของประชากรจีนเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ประกอบกับต้นทุนการผลิตสินค้า
เกษตรของจีนเพิ่มสูงขึ้น ขณะที่การฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลกชะลอตัวลงและต้นทุนการผลิตสินค้าเกษตรในต่างประเทศ
10
ค่อนข้างต่า ส่งผลให้จีนมีความต้องการสินค้าอาหารเพิ่มขึ้นในแต่ละปี และการค้าสินค้าเกษตรระหว่างประเทศของจีน
ขยายตัวเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วด้วย ขณะที่ราคาจาหน่ายสินค้าเกษตรที่ผลิตในประเทศสูงกว่าราคาสินค้าเกษตรนาเข้า
ทาให้จีนนาเข้าสินค้าเกษตรจากต่างประเทศมากขึ้น และเกิดการขาดดุลการค้าอย่างต่อเนื่อง
ปัจจุบัน จีนได้กลายเป็นประเทศนาเข้าสินค้าเกษตรอันดับแรกของโลก แซงหน้าสหรัฐอเมริกา โดยแหล่ง
นาเข้าสินค้าเกษตรที่สาคัญของจีน ได้แก่ บราซิล อาร์เจนตินา อินเดีย แคนาดา ออสเตรเลีย สหรัฐอเมริกา มาเลเซีย
ไทย และฝรั่งเศส เป็นต้น
ตารางแสดง สถานการณ์การนาเข้าและส่งออกสินค้าเกษตรของจีนในปี 2558
ประเภท ปริมาณนาเข้า มูลค่านาเข้า ปริมาณส่งออก มูลค่าส่งออก ขยายตัวลดง/
)ล้านตัน( )ล้านเหรียญสหรัฐ( )ตัน( )ล้านเหรียญสหรัฐ( (%)

1. ธัญพืช 32.715 9,400 0.533 440 67.6 51.1 -30.8 -25.9


2. ฝ้าย 1.759 2,720 - - -34.1 -47.2 - -
น้าตาล 4.846 1,770 - - 39 18.7 - -
3. น้ามันเรพซีด 87.571 38,390 0.842 1,460 13 13.8 -3.5 2.4
น้ามันพืช 8.391 5,990 0.137 190 6.6 -15.1 1.2 -7.6
4. ผัก - 540 - 13,270 - 5 - 6.2
ผลไม้ - 5,870 - 6,890 - 14.7 - 11.5

5. ผลิตภัณฑ์ - 20,450 - 5,890 - 7.8 - -14


ปศุสัตว์
6. สัตว์น้า - 8,980 - 20,330 - 2.2- - - -6.3
อื่นๆ - 22,770 - 22,210 - ----- - - -

ข้อมูลสถิติจากศุลกากรจีนชี้ว่า ในปี 2558 การนาเข้าและส่งออกสินค้าเกษตรของจีนมีมูลค่า 187 ,560


ล้านเหรียญสหรัฐฯ หดตัวลงร้อยละ 3.6 โดยแบ่งเป็นการส่งออกมีมูลค่า 70 ,680 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หดตัวลง
ร้อยละ 1.8 หรือคิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 3.1 ของมูลค่าการส่งออกทั้งหมดของจีน การนาเข้ามีมูลค่า 116,880 ล้าน
เหรียญสหรัฐฯ หดตัวลงร้อยละ 4.6 จีนขาดดุลการค้า 46 ,200 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หรือคิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 6.9
ของมูลค่าการนาเข้าทั้งหมดของจีน ซึ่งแสดงให้เห็นว่า จีนมีความต้องการสินค้าเกษตรนาเข้าในปริมาณเพิ่มสูงขึ้น
แต่มูลค่าการนาเข้าสินค้าเกษตรกลับลดลง เนื่องจากสินค้าเกษตรที่นาเข้ามีราคาลดลง
ปัจจุบัน การพัฒนาการเกษตรของจีนยังคงเผชิญกับปัญหาต่างๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งส่วนต่างของราคา
สินค้าเกษตรในประเทศและต่างประเทศเพิ่มสูงขึ้น ซึ่งส่งผลบวกต่อการนาเข้าสินค้าเกษตร ปัจจุบัน ราคาสินค้า
เกษตรนาเข้าเมื่อรวมภาษีแล้วยังต่ากว่าร้อยละ 30-40 ของราคาจาหน่ายสินค้าเกษตรในจีน นอกจากนี้ หลังจาก
รายได้ของประชากรจีนที่เพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง และการเปลี่ยแปลงรูปแบบการบริโภคจากการกินเพื่อดารงชีวิตมา
เป็นการกินที่เน้นด้านโภชนาการ หรือสุขภาพ จะส่งผลให้ชาวจีนมีความต้องการบริโภคสินค้าเกษตรที่มีคุณภาพสูง
และอาหารเกษตรอินทรีย์มากขึ้นในอนาคต เชื่อว่า การนาเข้าสินค้าเกษตรของจีนจะเพิ่มสูงขึ้นเช่นกัน

11
สินค้าส่งออกหลักของจีน
สินค้าส่งออกหลักของจีนในช่วงเดือนมกราคม 2559 ได้แก่ เครื่องจักรไฟฟูาและเครื่องจักร ชิ้นส่วนเฟอร์นิเจอร์
และเครื่องนอน เสื้อผ้าถัก เสื้อผ้าทอ อุปกรณ์และเครื่องอุปกรณ์ที่ใช้ในทางทัศนศาสตร์ การถ่ายรูป การถ่ายทา
ภาพยนตร์ การวัด การตรวจสอบ การวัดความเที่ยง การแพทย์หรือศัลยกรรม และพลาสติก
ตลาดส่งออกหลักของจีน
ตลาดส่งออกหลักของจีน ได้แก่ สหรัฐอเมริกา ฮ่องกง ญี่ปุน เกาหลีใต้ เยอรมนี คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 17.96,
12.63, 6.34, 4 และ 3.31 ตามลาดับ
สินค้านาเข้าหลักของจีน
สินค้านาเข้าหลักของจีนในช่วงเดือน มกราคม 2559 ได้แก่ เครื่องจักรไฟฟูา เชื้อเพลิงที่ได้จากแร่ น้ามันแร่ และ
ผลิตภัณฑ์ที่ได้จากการกลั่นสิ่งดังกล่าว เครื่องจักรโรงงานและอุปกรณ์ กลุ่มแร่ตะกรันและเถ้า อุปกรณ์และเครื่อง
อุปกรณ์ที่ใช้ในทางทัศนศาสตร์ การถ่ายรูป การถ่ายทาภาพยนตร์ การวัด การตรวจสอบ การวัดความเที่ยง การแพทย์
หรือศัลยกรรม อุตสาหกรรมยานยนต์และชิ้นส่วนยานยนต์
แหล่งนาเข้าหลักของจีน
แหล่งนาเข้าหลักของจีน ได้แก่ เกาหลีใต้ สหรัฐอเมริกา ไต้หวัน ญี่ปุน และเยอรมนี คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ
11.27, 8.89, 8.87, 8.37และ 5.64 ตามลาดับของการนาเข้าทั้งหมด
สถานการณ์การนาเข้า/การส่งออกของจีน
จีนส่งออกประเทศคู่ค้า ช่วงเดือนมกราคม 2559 เรียงลาดับตามสัดส่วนการนาเข้า ดังนี้
มูลค่า (ล้านเหรียญ สัดส่วนการส่งออก อัตราการเติบโต
ลาดับที่ ชื่อประเทศ
สหรัฐฯ) (%) (%)
1 สหรัฐอเมริกา 31,810 17.96 -9.89
2 ฮ่องกง 22,360 12.63 -3.99
3 ญี่ปุน 11,226 6.34 -5.98
4 เกาหลีใต้ 7,086 4 -16.04
5 เยอรมนี 5,854 3.31 -12.42
6 อินเดีย 5,207 2.94 4.31
7 เวียดนาม 4,820 2.72 -24.13
8 สหราชอาณาจักร 4,795 2.71 -15.22
9 เนเธอร์แลนด์ 4,713 2.66 -14.67
10 สิงคโปร์ 3,397 2.39 -18.03
12 ไทย 38,296 1.92 -5.5
ทั่วโลก 177,089 100 -11.51

12
จีนนาเข้าจากประเทศคู่ค้า ช่วงเดือนมกราคม 2559 เรียงลาดับตามสัดส่วนการนาเข้า ดังนี้
มูลค่า (ล้านเหรียญ สัดส่วนการ อัตราการเติบโต
ลาดับที่ ชื่อประเทศ
สหรัฐฯ) นาเข้า(%) (%)
1 เกาหลีใต้ 12,353 11.27 -14.51
2 สหรัฐอเมริกา 9,748 8.89 -27
3 ไต้หวัน 9,721 8.87 -17.96
4 ญี่ปุน 9,174 8.37 -15.95
5 เยอรมนี 6,177 5.64 -20.97
6 ออสเตรเลีย 4,322 3.94 -27.2
7 มาเลเซีย 3,279 2.99 -20.99
8 บราซิล 2,737 2.5 26.82
9 ไทย 2,666 2.43 -7.95
10 รัสเซีย 2,266 2.07 -12.54
ทั่วโลก 109,623 100 -18.76
แหล่งข้อมูล : World Trade Atlas
3. การค้าระหว่างไทย - จีน เดือนมกราคม 2559
การค้าระหว่างไทย – จีนในช่วงเดือนมกราคม 2559 มีมูลค่าทั้งสิ้น 6,063 ล้านเหรียญสหรัฐฯ
โดยแบ่งเป็นมูลค่าการส่งออกไปจีนที่ 2,666 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงร้อยละ 7.95 ส่วนมูลค่าการนาเข้า
สินค้าจากจีนอยู่ที่ 3,397 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงร้อยละ 5.5
สินค้าที่จีนนาเข้าจากไทย ช่วงเดือนมกราคม 2559 เรียงลาดับตามสัดส่วนการส่งออก ดังนี้
มูลค่า (ล้าน สัดส่วนการ อัตราการเติบโต
ลาดับที่ ชื่อสินค้า
เหรียญหรัฐฯ) นาเข้า(%) (%)
1 เครื่องจักรไฟฟูา 615 23.09 5.99
2 เครื่องจักรกล 569 21.37 -3.35
3 ยางพารา 293 11.01 -16.32
4 พลาสติก 239 8.99 -25.32
5 เครื่องอุปกรณ์ที่ใช้ในทางทัศนศาสตร์ 144 5.42 38.51
รวมทั้งสิ้น 2,666 2.43 -7.95

13
สินค้าที่จีนส่งออกไปไทย ช่วงเดือนมกราคม 2559 เรียงลาดับตามสัดส่วนการนาเข้า ดังนี้
มูลค่า สัดส่วนการ
อัตราการเติบโต
ลาดับที่ ชื่อสินค้า (ล้านเหรียญ ส่งออก
(%)
สหรัฐฯ) (%)
1 เครื่องจักรไฟฟูา 790 23.26 25.87
2 เครื่องจักรกล 527 15.53 -12.63
3 ผลิตภัณฑ์จากเหล็กและเหล็กกล้า 200 5.9 30.48
4 เหล็กและเหล็กกล้า 146 4.32 -17.25
ยานบกนอกจากรถที่เดินบนรางรถไฟ
5 130 3.84 8.48
หรือรางรถราง
รวมทั้งสิ้น 3,397 1.92 -5.5
แหล่งข้อมูล : World Trade Atlas

4. ช่องทางการจาหน่ายสินค้าอาหารและเครื่องดื่มในตลาดจีน
4.1 ภาพรวมตลาดสินค้าอาหารและเครื่องดื่ม
ปี 2558 มูลค่าการค้าปลีกสินค้าอุปโภคบริโภคของจีนเท่ากับ 30 ล้านล้านหยวน เพิ่มขึ้นจากปีที่ผ่านมาร้อย
ละ 10.7 ในจานวนนี้ แบ่งเป็นมูลค่าการค้าปลีกในพื้นที่เขตเมืองและเขตชนบทเท่ากับ 25.89 ล้านล้านหยวน และ 4.1
ล้านล้านหยวน เพิ่มขึ้นร้อยละ 10.5 และร้อยละ 11.8 ตามลาดับ
4.2 ช่องทางการจาหน่ายสินค้าอาหารและเครื่องดื่มในจีน
4.2.1 Hotel and Restaurant
อุตสาหกรรมโรงแรมและภัตตาคารอาหารระดับไฮเอนด์เป็นหนึ่งช่องทางสาคัญที่ใช้อาหารนาเข้าเป็น
วัตถุดิบในการประกอบอาหาร ทางโรงแรมมีห้องอาหารต่างชาติแยกออกมาเฉพาะชาติและได้ใช้จุดนี้เน้นการ
ประชาสัมพันธ์เพื่อดึงดูดแขกให้เข้ามาใช้บริการของโรงแรม
4.2.2 Hypermarket และ Supermarket
Hypermarket เป็นแหล่งจาหน่ายหลักของสินค้านาเข้าและมีประสบการณ์ในการนาเข้าสินค้าจาก
ประเทศต่างๆ และให้ความสาคัญเป็นอย่างมากสาหรับแบรนด์ของสินค้าและคุณภาพของสินค้า เนื่องจากบริษัทจะ
คานึงถึงคุณค่าในการทาประชาสัมพันธ์ของสินค้าตลาด สาหรับ Supermarket ในจีน ส่วนใหญ่จะเป็น
Supermarket สัญชาติจีน และด้วยขนาดพื้นที่ที่ใหญ่ของประเทศจีน ทาให้มีการกระจายตัวของ Supermarket
อย่างแพร่หลาย แต่อย่างไรก็ตาม การประสบความสาเร็จของ Supermarket ในที่แห่งหนึ่ง ก็ไม่ได้หมายความว่า
Supermarket นั้นๆ จะสามารถดาเนินกิจการอยู่รอดได้ในพื้นที่อื่น Supermarket ชื่อดังในจีน เช่น Beijing
Hualian Group Lianhua (BHG) China Resources Vanguard Park’n’shop และ Yonghui เป็นต้น สินค้า
นาเข้าที่จาหน่ายใน Supermarket ส่วนมากจะเป็นสินค้าปกติและมีอยู่ทั่วไป เช่น เส้นพาสต้า ซอสพาสต้า ผลิตภัณฑ์
14
นม น้ามันพืช แยมผลไม้ เป็นต้น Supermarket เหล่านี้ส่วนใหญ่มีคนจีนเป็นเจ้าของและสินค้าที่นามาจาหน่ายจะ
จัดหาจากตัวแทนจาหน่ายหรือผู้ผลิตท้องถิ่นและห้างค้าส่ง เป็นส่วนน้อยที่มีการนาเข้าเองหรือซื้อโดยตรงจากผู้นาเข้า
ตารางแสดงสถานการณ์การค้าของบริษทั /ห้างร้านค้าปลีกชั้นนาของจีน
อันดับ ชื่อ ประเภทธุรกิจ
จีน
1 Vanguard Super/Hypermarket/ Convenience Stores
2 Lianhua Group Super/Hypermarket/ Convenience Stores
3 Yonghui Superstores Super/Hypermarket/ Convenience Stores
Co.,Ltd.
4 Nonggongshang Super/Hypermarket/ Convenience Stores
5 Wu Mart Holdings Co.,Ltd Super/ Convenience Stores
ต่างชาติ
1 RT - Mart Super/Hypermarket/ Convenience Stores
2 Wal – Mart China Super/Hypermarket/ Convenience Stores
3 Carrefour Super/Hypermarket/ Convenience Stores
4 Metro Super/Hypermarket
5 Lotte Mart Super/Hypermarket/ Convenience Stores
6 Auchan China Hypermarket/ Convenience Stores
7 Lotus Hypermarket/ Convenience Stores
ที่มา : China Chain Store and Franchise Association

4.2.3 Convenience Stores


แม้สินค้านาเข้าจะมีจาหน่ายในร้านสะดวกซื้อเป็นจานวนไม่มาก แต่อย่างไรก็ตามก็ยังคงมีแนวโน้มการ
เปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้นและเริ่มมีการนาเข้าเครื่องดื่มประเภทแอลกอฮอล์เข้ามาจาหน่ายในร้าน เช่น เบียร์ ไวน์ วิสกี้
หรือจะเป็นสินค้าประเภทขนมขบเคี้ยว เครื่องดื่มน้าผลไม้ เป็นต้น ร้านสะดวกซื้อที่มักพบเห็นบ่อยในจีน

15
ได้แก่ 7-Eleven Family Mart และ Lawson และมีแนวโน้มขยายสาขาอย่างรวดเร็ว แม้ร้านสะดวกซื้อเหล่านี้จะมี
ข้อจากัดในเรื่องชั้นวางสินค้าและพื้นที่ในการจัดเก็บสินค้า จึงต้องการสินค้านาเข้าที่มีแพ็คเกจเล็กๆ สะดวกในการ
หยิบซื้อและสามารถจัดเก็บสินค้าได้อย่างปกติ ไม่ต้องมีวิธีเก็บรักษาอย่างพิถีพิถัน แต่อย่างไรก็ตาม ร้านสะดวกซื้อ
เหล่านี้ก็ยังคงแสวงหาสินค้านาเข้าใหม่ๆ และมีความหลากหลายเข้ามาจาหน่ายในร้าน
4.2.4 Specialty/Boutiques Store
โดยทั่วไป Specialty/Boutiques Store นี้จะดึงดูดลูกค้าชาวต่างชาติ ทาให้สัดส่วนของสินค้านาเข้าใน
ร้านจะมีจานวนมากถึงร้อยละ 50-80 ดังนั้น สินค้านาเข้าบางประเภทจะเข้าสู่ตลาดจีนโดยผ่านร้านประเภทดังกล่าว
ก่อน จากนั้นสินค้าเหล่านี้จึงถูกนาเข้าไปจาหน่ายในห้าง Hypermarket/ Supermarket และในบางครั้ง ร้านประเภท
ดังกล่าวยังดาเนินการด้านการนาเข้า/การจัดจาหน่ายสินค้า ตลอดจนให้ความช่วยเหลือแก่ผู้ส่งออกในเรื่องการจด
ทะเบียนสินค้าและการขอเครื่องหมายการค้า ซึ่งถือเป็นขั้นตอนสาคัญในการนาสินค้าเข้ามาจาหน่ายในประเทศจีน
Specialty/Boutiques Store ชื่อดังในจีน เช่น BHG และ Ole เป็นต้น ร้านเหล่านี้จะจาหน่ายสินค้านาเข้าจาก
ต่างประเทศเป็นส่วนมากและจะเป็นทางเลือกแรกๆ ของผู้บริโภคชาวเมืองที่มีรายได้สูง แม้สินค้าจะมีราคาสูง แต่
ผู้บริโภคก็ยอมจ่ายแพงเพื่อแลกกับสินค้าคุณภาพและผู้บริโภคก็ให้ความไว้วางใจกับการซื้อสินค้าผ่าน
Specialty/Boutiques Store ดังจะเห็นได้จากสินค้าแบรนด์ต่างชาติแม้ว่าจะผลิตในประเทศจีน แต่ผู้บริโภคก็
ไว้วางใจในการซื้อมากกว่าการซื้อสินค้าแบรนด์จีนเอง
4.2.5 E-commerce
จานวนผู้ใช้อินเตอร์เน็ตที่เพิ่มมากขึ้นและความสะดวกสบาย
ของการช้อปปิ้งออนไลน์ยังคงเป็นสองปัจจัยผลักดันที่ทาให้การค้าบน
E-commerce เติบโตอย่างรวดเร็ว ข้อมูลตัวเลขจาก China Internet
Network Information Centre (CNNIC) เผยว่า ในปี 255 8 จีนมี
จานวนผู้ใช้อินเตอร์เน็ตทั้งสิ้น 6 88 ล้านคน ซึ่งคิดเป็นจานวนมากกว่า
ครึ่งหนึ่งของประชากรจีนทั้งประเทศที่สามารถเข้าถึงอินเตอร์เน็ตได้
โดยกลุ่มผู้บริโภควัยรุ่นมีแนวโน้มการช้อปปิ้งออนไลน์เพิ่มมาก
ขึ้นเนื่องจากสินค้ามีราคาไม่แพง สินค้ามีให้เลือกหลายหลาย สะดวกสบายในการสั่งซื้อและการชาระเงิน มีบริการส่ง
สินค้าแบบ door-to-door มีบริการเปลี่ยนคืนสินค้า เป็นต้น ในครึ่งปีแรกของปี 2558 มูลค่าการค้าบน
E-commerce ของจีนเท่ากับ 7.63 ล้านล้านหยวน เพิ่มขึ้นร้อยละ 30.4 จากช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน ในจานวนนี้
คิดเป็นการค้าแบบ B2B 5.8 ล้านล้านหยวน เพิ่มขึ้นร้อยละ 28.8 จากช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน มูลค่าการค้าปลีก
ออนไลน์เท่ากับ 1.61 ล้านล้านหยวน เพิ่มขึ้นร้อยละ 48.47 จากช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน โดยมูลค่าค้าปลีก
ออนไลน์นี้ครองสัดส่วนถึงร้อยละ 11.4 ของมูลค่าการค้าปลีกทั้งหมด เติบโตขึ้นจากช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อนร้อย
ละ 31

16
ตารางแสดงมูลค่าการค้าและสัดส่วนทางการตลาดของเว็บไซต์การค้าบน E-commerce (B2C) ปี 2558
เว็บไซต์ B2C ส่วนแบ่งทางตลาด (ร้อยละ)
Tmall 57.7
Jingdong 25.1
Suning 3.4
VIP.com 2.5
Guomei 1.6
Yihaodian 1.5
Dangdang 1.3
Amazon China 1.2
Jumei 0.5
Yixun 0.3
Others 4.9
ที่มา : E-commerce Research , China E-commerce Research Center

4.3 ปัจจัยที่ส่งผลต่อการเติบโตของตลาดสินค้าอาหารและเครื่องดื่ม
ปัจจัยสาคัญที่ทาให้เศรษฐกิจจีนเติบโตอย่างรวดเร็ว คือ การเพิ่มขึ้นของรายได้เฉลี่ยของประชากร ในช่วง
10 ปีที่ผ่านมา การเติบโตของ GDP จีนในแต่ละปี จะเติบโตในระดับร้อยละ 10 ด้วยเหตุนี้จึงเกิดกลุ่มผู้ที่มีรายได้ระดับ
ปานกลางขึ้นเป็นจานวนมาก นอกจากนี้ในช่วงเวลา 10 ปีที่ผ่านมา (2548-2558) จานวนประชากรในเขตเมืองมี
จานวนเพิ่มขึ้นประมาณ 153 ล้านคน และคาดว่าภายในปี 2568 และปี 2573 จะมีจานวนประชากรในเขตเมืองมาก
ถึง 822 ล้านคนและ 1,000 ล้านคนตามลาดับ สาหรับเมืองใหญ่อย่างปักกิ่งและเซี่ยงไฮ้ ยังคงเป็นศูนย์กลางการ
บริโภคของประเทศจีน และเมืองอื่นๆ อย่างฉงชิ่ง กวางโจว เซินเจิ้น ตงก่วน ฝอซาน หังโจว หนานจิง เทียนจินและเห
วินโจว ก็มีแนวโน้มที่จะเป็นเมืองแห่งการบริโภคสินค้าฟุุมเฟือย ( Luxury consumption) ซึ่งสินค้าฟุุมเฟือยเหล่านี้ก็
ได้รวมถึงสินค้าอาหารและเครื่องดื่มที่นาเข้ามาจากต่างประเทศตลอดจนสินค้าอุปโภคบริโภคอื่นๆ ด้วยเช่นกัน
นอกจากนี้ การพัฒนาอย่างรวดเร็วในเรื่องระบบคมนาคมขนส่งก็เป็นการเพิ่มศักยภาพทางเศรษฐกิจของ
พื้นที่ในเขตเมือง Tier2 และ Tier3 อีกทั้งเป็นการเพิ่มช่องทางในการจาหน่ายสินค้า เพิ่มประสิทธิภาพในการขนส่ง
17
และต้นทุนสินค้า จึงเป็นตัวกระตุ้นให้เกิดความต้องการซื้อของผู้บริโภคในเขตเมืองเหล่านี้ ปัจจัยที่ส่งผลต่อการนาเข้า
สินค้าอาหารและเครื่องดื่มในจีน มีดังนี้
4.3.1 การเพิ่มขึ้นของรายได้ที่ใช้จ่ายได้จริง
การใช้จ่ายเพื่อการบริโภคของผู้บริโภคชาวจีนในปัจจุบันมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นและเป็นไปในทิศทางเดียวกันกับ
การเพิ่มขึ้นรายได้ที่ใช้จ่ายได้จริง การเพิ่มขึ้นของรายได้ทาให้เกิดกลุ่มผู้บริโภคที่มีรายได้ระดับปานกลางเพิ่มมากขึ้นใน
เขตเมือง โดยในแต่ละปี ชาวจีนที่มีรายได้ต่อปีมากกว่า 5,000 เหรียญสหรัฐ/ปี มีเพิ่มมากขึ้นถึงร้อยละ 24 จึงทาให้
เกิดผู้บริโภคกลุ่มใหม่ที่เริ่มนิยมเลือกซื้อสินค้าที่มีคุณภาพสูงและสินค้านาเข้า นอกจากนี้รัฐบาลจีนยังมีนโยบายที่จะ
เพิ่มรายได้ของประชากรจีนให้เพิ่มเป็นสองเท่าภายในปี 2563 ทาให้การใช้จ่ายสาหรับสินค้าอาหารก็มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น
ในอนาคตเช่นเดียวกัน
4.3.2 ปัญหาภาพลักษณ์ความปลอดภัยด้านอาหารในจีน
ที่ผ่านมา จีนประสบกับปัญหาด้านความปลอดภัยของอาหาร ไม่ว่าจะเป็น ปัญหานมผงเด็ก ปัญหาการนา
น้ามันที่ใช้แล้วมาใช้ซ้า ปัญหาการปลอมปนอาหาร เป็นต้น จากผลสารวจขององค์การอาหารและยาของประเทศจีน
(China Food and Drug Administration) ในปี 2557 ผู้บริโภคทั้งหมด 4,258 ราย จาก 59 เมืองในจีนพบว่า มี
ผู้ตอบแบบสอบถามถึงร้อยละ 47.8 ที่แสดงความกังวล/ไม่พอใจกับความปลอดภัยของอาหารในจีน ซึ่งตัวเลขดังกล่าว
เพิ่มขึ้นจากปี 2555 ที่ร้อยละ 29.7 ปัญหาเหล่านี้ส่งผลให้กลุ่มผู้บริโภคชาวจีนที่มีรายได้ระดับปานกลางถึงสูง และ
กลุ่มผู้บริโภคที่เป็นชาวต่างชาติ หันมาให้ความสาคัญกับการเลือกซื้อสินค้าและสังเกตสินค้าที่มีสัญลักษณ์ “no food
additives” “no fragrance” “no preservatives” “organic” “green” เป็นต้น ความปลอดภัยของอาหารที่มี
ตรารับรองคุณภาพ อุดมไปด้วยสารอาหารที่มีคุณค่า ทาให้อาหารนาเข้าเป็นสิ่งที่ตอบโจทย์สาหรับผู้บริโภคกลุ่มนี้
4.3.3 การนาเข้าอาหารเพื่อใช้ในโรงแรม ร้านอาหาร บาร์และคาเฟ่
ในประเทศจีน อาหารและเครื่องดื่มที่นาเข้าจากต่างประเทศส่วนใหญ่จะถูกนามาใช้ในธุรกิจบริการ
ร้านอาหาร โรงแรม บาร์และคาเฟุ ซึ่งเป็นสถานที่ที่ผู้บริโภคชาวจีนจะเลือกออกไปสังสรรค์กับครอบครัว เพื่อนฝูงหรือ
ในช่วงโอกาสพิเศษต่างๆ โดยเฉพาะผู้บริโภคที่อาศัยอยู่ในเมือง มักจะเลือกร้านอาหารที่เป็นอาหารต่างชาติหรือ อาหาร
ฟิวชั่นระดับพรีเมี่ยมราคาแพง เนื่องจากมีเงินเดือนสูงขึ้น จึงนิยมยกระดับคุณภาพชีวิตเพื่อหน้าตาในสังคม ทั้งนี้ ชาว
จีนมีทัศนคติว่าการรับประทานอาหารเย็นร่วมกันเป็นการกระชับสัมพันธ์ทั้งกับเพื่อนฝูงและ ส่งเสริม หน้าที่การงาน ซึ่ง
ชาวจีน ประมาณร้อยละ 85 นิยมรับประทาน อาหารนอกบ้านอย่างน้อยสัปดาห์ละ 1 ครั้ง คาดว่าในปี 2562 มูลค่า
การค้าปลีกของร้านอาหารแบบครบวงจร (full-service restaurant) ในจีนมีมูลค่ามากถึง 2.7 ล้านล้านหยวน
4.3.4 การช้อปปิ้งออนไลน์หรือ E-commerce
ปัจจุบันการช้อปปิ้งออนไลน์ถือเป็นกิจวัตรอย่างหนึ่งของชาวจีน ในแต่ละวันจะมีผู้บริโภคประมาณ ร้อยละ
65 ของผู้บริโภคทั้งหมดเข้าเว็บไซต์เพื่อการเลือกซื้อสินค้า เว็บไซต์ที่ถือเป็นผู้นาเข้าสินค้าอาหารและเครื่องดื่มจาก
ต่างประเทศรายใหญ่ของจีน ได้แก่ เว็บไซต์ Taobao เว็บไซต์ Tmall เว็บไซต์ JD และเว็บไซต์ Yihaodian การช้
อปปิ้งออนไลน์ในจีนนี้ไม่เพียงแต่เป็นช่องทางในการเลือกซื้อสินค้า แต่ยังเป็นช่องทางในการแบ่งปันข้อมูลสินค้า การ
สื่อสารระหว่างผู้ซื้อผู้ขาย หรือแม้แต่การติดตามแนวโน้มสินค้าที่กาลังเป็นที่นิยม นอกจากนี้ การช้อปปิ้งออนไลน์ก็
สามารถเกิดได้ทุกที่ทุกเวลาเพียงแค่เชื่อมต่ออินเตอร์เน็ต ผู้บริโภคก็สามารถเลือกซื้อสินค้าและชาระเงินได้เพียงแค่
คลิ๊กผ่านโทรศัพท์มือถือ ดังนั้นช่องทางการจาหน่ายดังกล่าวถือเป็นช่องทางที่ผู้ประกอบการควรศึกษาและให้

18
ความสาคัญ เพราะถือเป็นช่องทางที่ผู้ขายและผู้ซื้อสามารถทาการค้าได้ตลอด 24 ชั่วโมงและมีแนวโน้มเติบโตอย่าง
มากในอนาคต
 Going Mobile มีมือถือ ก็ช้อปปิ้งได้ทุกเวลา
ความนิยมในการใช้มือถือสมาร์ทโฟน แท็บเล็ตและนวัตกรรมใหม่ๆที่ให้ความสะดวกในการชาระเงินเมื่อ
ซื้อสินค้าออนไลน์ เช่น ระบบชาระเงินผ่าน AliPay ผ่านแอพลิเคชั่น Wechat และ Tencent เป็นต้น ตัวกลาง
เหล่านี้ช่วยให้การซื้อสินค้าออนไลน์ทาได้ง่ายขึ้น ไม่เพียงเท่านี้ ปัจจุบันผู้ขายสินค้าหลายรายก็ได้เริ่มต้นในการขาย
สินค้าโดยตรงให้กับผู้บริโภคโดยผ่านแอพลิชั่น Wechat ทาให้มีการแชร์หรือส่งต่อสรรพคุณและภาพตัวอย่างสินค้า
ผ่านกลุ่มเพื่อนบนโลกออนไลน์ ซึ่งเปรียบเหมือนการบอกต่ออย่างเป็นเครือข่าย ถือเป็นการประชาสัมพันธ์สินค้าได้
อย่างกว้างขวางและต้นทุนต่า จึงทาให้การซื้อขายสินค้าออนไลน์โดยผ่านอุปกรณ์สมาร์ทโฟนคิดเป็นสัดส่วนหนึ่งใน
สามของการค้าบน E-commerce ทั้งหมดในจีน
 Cross-border E-commerce การซื้อสินค้านาเข้า ไม่ใช่เรื่องยากอีกต่อไป
การเติบโตของการค้าบน E-commerce นามาซึ่งการแข่งขันที่มากขึ้นของธุรกิจ ดังนั้น กลุ่มผู้ขายสินค้าบน
E-commerce ก็จาเป็นต้องสร้างความเป็นเอกลักษณ์ของสินค้าและการให้บริการ เพื่อขยายฐานลูกค้าของตนให้มาก
ยิ่งขึ้น ทาให้ลูกค้าสามารถเลือกซื้อสินค้านาเข้าได้มากขึ้นและซื้อในราคาที่ถูกลงแม้อาศัยอยู่ในจีน ทั้งนี้ รัฐบาลจีนมี
แผนที่จะปรับเปลี่ยนอัตราภาษีสาหรับการซื้อสินค้าผ่านรูปแบบ Cross-Border E-commerce โดยจะมีการจากัด
มูลค่าของสินค้าที่ซื้อขายแต่ละครั้งไว้ที่ 2,000 หยวน/คน/ครั้ง และไม่เกิน 20,000 หยวน/คน/ปี โดยอัตราภาษีที่เรียก
เก็บจะเรียกเก็บ 70 % ของผลรวมภาษีทุกประเภท ได้แก่ ภาษีมูลค่าเพิ่ม ภาษีผู้บริโภค (เก็บจากสินค้าฟุุมเฟือยบาง
ประเภท) และภาษีศุลกากร
เหตุผลอื่นๆ ที่ทาให้การซื้อสินค้าผ่านอินเตอร์เน็ตในจีนได้รับความนิยมมากขึ้น ได้แก่
1. การสื่อสารกับผู้ขายได้โดยตรงผ่านแอพลิเคชั่น ด้วยวิธีดังกล่าว ทาให้ผู้ซื้อสามารถสอบถามข้อมูลและ ข้อ
สงสัยกับทางผู้ขายได้อย่างทันที ซึ่งสามารถสอบถามได้ทั้งแบบออนไลน์หรือจะฝากข้อความทิ้งไว้กรณีที่ผู้ขายออฟไลน์
สามารถใช้ได้ทั้งบนคอมพิวเตอร์และบนมือถือ ซึ่งจะส่งผลต่อความรวดเร็วในการตัดสินใจซื้อสินค้าของผู้บริโภคนั่นเอง
2. การติดตามสินค้า เมื่อเริ่มมีการชาระเงินซื้อสินค้าและทางผู้ขายได้ส่งสินค้าออกมาแล้ว ทางผู้ซื้อสามารถ
ตรวจสอบผ่านระบบได้ว่าสินค้าดังกล่าวขนส่งถึงที่ไหนแล้ว แต่หากในระบบไม่ขึ้นการขนส่ง ทางผู้ซื้อก็สามารถติดตาม
สินค้าได้โดยผ่านทางผู้ขายหรือผ่านทางบริษัทขนส่งที่ผู้ขายส่งสินค้าออกมา ซึ่งถือเป็นสิ่งที่สะดวกสาหรับผู้บริโภคใน
การคานวณระยะเวลาที่จะได้รับสินค้า
3. การค้นหาสินค้าที่ต้องการทาได้ง่ายขึ้น ปัจจุบันการค้นหาสินค้าที่ต้องการไม่ใช่เรื่องยากอีกต่อไป เนื่องจาก
บนเว็บไซต์มีช่องค้นหาสินค้าด้วยรูปภาพ ทาให้ผู้บริโภคทั้งชาวจีน ชาวต่างชาติและผู้บริโภคทุกเพศทุกวัยต่างสามารถ
ค้นหาเพื่อเลือกซื้อสินค้าที่ต้องการได้
4. เทศกาลวันที่ 11 เดือน 11 ( 双11) ถือเป็นวันที่ชาวจีนเกือบทุกคนตั้งตารอคอยวันดังกล่าว เนื่องจากผู้ขาย
จะจัดโปรโมชั่นลดราคาสินค้าจนทาให้ผู้บริโภคตื่นตาตื่นใจและอดใจรอให้ถึงวันดังกล่าวเพื่อซื้อสินค้า ยอดขายในวันที่
11 เดือน 11 ในปีที่ผ่านมา แตะระดับสูงสุดเป็นประวัติการณ์ที่ 912.17 ร้อยล้านหยวน เติบโตอย่างก้าวกระโดดจากปี
ที่ผ่านมาร้อยละ 59.7

19
4.4 กลยุทธ์ในการเข้ามาทาตลาดในจีน
เนื่องจากประเทศจีนเป็นประเทศที่มีขนาดใหญ่และมีประชากรเป็นจานวนมาก ประชากรในแต่ละพื้นที่ก็มี
วัฒนธรรมและรสนิยมในการกินอาหารที่แตกต่างกัน ดังนั้นจึงไม่มีสูตรเดียวหรือสูตรสาเร็จในการเข้ามาทาตลาดในจีน
ผู้ส่งออกจึงต้องศึกษาและทาความเข้าใจตลาดหรือกลุ่มผู้บริโภคเปูาหมาย เพื่อจะได้ตอบสนองความต้องการของ
ผู้บริโภคชาวจีนได้อย่างตรงจุด
4.4.1 ศึกษาและติดตามข้อมูลข่าวสารและการเดินทางไปสารวจในตลาดเป้าหมาย
การศึกษาข้อมูลจากแหล่งต่างๆ จะช่วยให้ผู้ประกอบการเข้าใจได้ง่ายขึ้นว่าสินค้าของตนเหมาะสมกับกลุ่ม
ผู้บริโภคในพื้นที่ใดในจีน เนื่องจากจีนเป็นประเทศที่มีความหลายหลายทางด้านวัฒนธรรม รสนิยมในการบริโภค
ความแตกต่างทางด้านเศรษฐกิจ การศึกษา หรือแม้แต่กฏระเบียบต่างๆในการทาธุรกิจก็อาจมีความแตกต่างกันในแต่
ละมณฑล ดังนั้น การติดตามข้อมูลข่าวสารจะช่วยให้มองเห็นโอกาสและอุปสรรคในการเข้าตลาด ซึ่งจะช่วยให้
ผู้ประกอบการสามารถนาสินค้ามาปรับเพื่อตอบสนองผู้บริโภคชาวจีนได้ หลังจากนั้นจึงเดินทางไปสารวจในตลาด
เปูาหมาย กลยุทธ์ที่ดีประการหนึ่ง คือ การกาหนดตลาดเปูาหมายและเข้าไปทาความเข้าใจในตลาดนั้นๆ อย่างถ่องแท้
การเดินทางเข้ามาสารวจตลาดจะช่วยให้มองเห็นโอกาสใหม่ๆ และอุปสรรคในตลาดได้อย่างชัดเจนมากขึ้น
ขณะเดียวกันก็อาจเป็นการเข้ามาทาความรู้จักเพื่อสร้างสัมพันธ์ที่ดีกับคู่ค้าชาวจีน ความสัมพันธ์ที่ดีหรือที่เรียกว่า
“กวานซี” เป็นเหมือนการให้ความเคารพซึ่งกันและกัน การช่วยเหลือเกื้อกูลกัน และการนับหน้าถือตา รัษาหน้าตา
ถือเป็นการให้เกียรติกับอีกฝุาย ดังนั้น “กวานซี” จึงเปรียบเสมือนความไว้เนื้อเชื่อใจระหว่างกัน จึงถือเป็นสิ่งสาคัญ
อย่างยิ่งสาหรับการทาธุรกิจในจีน
4.4.2 การมองหาผู้นาเข้าหรือผู้จัดจาหน่ายที่ดี
ผู้นาเข้าหรือผู้จัดจาหน่ายที่ดีเหล่านี้จะมีเครือข่ายสาหรับการกระจายสินค้าไปยังห้าง/ร้านค้าส่งค้าปลีกต่างๆ
ในพื้นที่ตลาดเปูาหมาย ซึ่งเป็นการรับประกันว่าพวกเขาเหล่านี้สามารถกระจายสินค้าเข้าสู่ตลาดจีนได้และสามารถทา
ให้สินค้ามีการเติบโตในตลาดได้ด้วยเช่นกัน เนื่องจากพวกเขามีระบบการทางานที่ดีมีความชานาญในการทาธุรกิจ อีก
ทั้งยังมีประสบการณ์การทางานร่วมกับผู้ส่งออกต่างๆ สิ่งสาคัญอีกอย่างหนึ่ง คือ ผู้ประกอบการต้องมองหาผู้นาเข้า
หรือผู้จัดจาหน่ายที่เข้าใจวิสัยทัศน์ในการทางานเพื่อที่พวกเขาเหล่านั้นจะได้วางแผนการตลาดของสินค้าให้สอดคล้อง
ไปในทิศทางเดียวกัน
4.4.3 การเยี่ยมชม/เข้าร่วมงานแสดงสินค้าในจีน
การเยี่ยมชม/เข้าร่วมงานแสดงสินค้า ไม่เพียงแต่จะทาให้ผู้ประกอบการเข้าใจพฤติกรรมผู้บริโภคและ
แนวโน้มของสินค้าที่กาลังได้รับความนิยมแล้ว ยังเป็นอีกหนึ่งช่องทางในการทาความรู้จักและมองหาผู้นาเข้าหรือ ผู้จัด
จาหน่ายในพื้นที่ที่มีความชานาญในการทาธุรกิจ ได้พูดคุยแลกเปลี่ยนข้อมูลในด้านต่างๆที่เป็นประโยชน์ต่อการเข้ามา
ทาตลาดในจีน ไม่ว่าจะเป็นกฏระเบียบเกี่ยวกับการนาเข้า รูปแบบบรรจุภัณฑ์ของสินค้า เป็นต้น อีกทั้งยังเป็นการ
เริ่มต้นสร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับพวกเขาเหล่านี้ ซึ่งจะช่วยอานวยความสะดวกในการเข้ามาทาธุรกิจในจีนได้ในอนาคต
ทั้งนี้ สามารถสอบถามข้อมูลการค้าเพิ่มเติมได้ที่ สานักงานส่งเสริมการค้าระหว่างประเท ศ ณ เมืองกวางโจว
โทร. (86) 20-8384-9453 e-mail: thaitcgz@gmail.com
สานักงานส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ ณ เมืองกวางโจว
มีนาคม 2559
20

You might also like