You are on page 1of 12

เศรษฐกิจจีนครึ่งปีแรก ...

ช่วงเวลาของการปรับตัว

--------------------------------------------

คงจะไม่ผิดนักหากจะกล่าวว่า สถานการณ์เศรษฐกิจจีนในช่วง 6 เดือนแรกของปีก่อนช่างให้


อารมณ์ที่คล้ายคลึงกับของปีนี้เป็นอย่างมาก “ภาพเก่า ๆ” ผุดขึ้นเหมือนนั่งเครื่องย้อนเวลาไปหนึ่งปีก็ไม่ปาน
ยิ่งในช่วงหลายสัปดาห์หลังนี้ การได้สัมผัสและแลกเปลี่ยน
ข้อมูลกับนักวิชาการ ผู้ประกอบการ และสื่อมวลชนของไทย ก็
พบว่า หลายท่านดูจะกังวลใจอย่างมากต่อสถานการณ์
เศรษฐกิจของจีนที่ชะลอตัวลง ส่วนหนึ่งอาจเกิดขึ้นจากการตี
ข่าวใหญ่ของสื่อในบ้านเราจนทาให้หลายคนอกสั่นขวัญแขวน
กับตลาดที่อาจหดตัวลง อีกส่วนหนึ่งก็เพราะเกรงว่าหาก
เศรษฐกิจจีน “กระตุกตัว” ลดลงฮวบฮาบไปอีกประเทศหนึ่งจริง ก็อาจขยายวงส่งผลให้เศรษฐกิจโลกเข้าช่วงสู่
ช่วงของการหดตัวเป็นแน่แท้ หลายคนจึงตั้งคาถามสงสัยว่าเศรษฐกิจจีนในปีนี้จะเป็นอย่างไร
วันนี้ ผมจึงขอนาเสนอข้อมูลเศรษฐกิจจีนในครึ่งปีแรกของปี 2556 และแลกเปลี่ยนมุมมอง
ความคิดเห็นในเรื่องนี้และประเมินทิศทางแนวโน้มในช่วงครึ่งปีหลังกับท่านผู้อ่านกัน ...

ตัวเลขเศรษฐกิจ 6 เดือนแรก ... ชะลอตัวลงจริง?


ในช่วงเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมา สานักงานสถิติ
แห่งชาติ (National Bureau of Statistics) กระทรวงพาณิชย์
สานักงานจัดการด้านศุลกากร และหน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้อง
ของจีนได้ทยอยประกาศตัวเลขเศรษฐกิจสาคัญในช่วงครึ่งปีแรก
ของปี 2556 ซึ่งก็เป็นไปตามคาดที่เศรษฐกิจจีนในเกือบทุกมิติ
“ชะลอตัวลง” ในระดับหนึ่งสรุปได้ดังนี้
1. ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) ... ประคองสู่ซอฟท์แลนดิ้ง ในช่วงครึ่งแรก
ของปี 2556 GDP ของจีนมีมูลค่า 24.8 ล้านล้านหยวน (กว่า 4 ล้านล้านเหรียญสหรัฐฯ) ขยายตัวร้อยละ ๗.6
เมื่อเทียบกับของช่วงเวลาเดียวกันของปีที่ผ่านมา ทั้งนี้ GDP ของจีนในไตรมาสแรกขยายตัวในอัตราร้อยละ
7.7 และลดเหลือร้อยละ ๗.5 ในไตรมาสที่ ๒ เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน และยังไม่แน่ว่าจะลงถึง
จุดต่าสุดหรือยัง
2

อัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจของจีน ระหว่างปี 2546-2556


ช่วงเวลา อัตรา (ร้อยละ)
ปี 2546 10.0
ปี 2547 10.1
ปี 2548 9.9
ปี 2549 10.4
ปี 2550 13.0
ปี 2551 9.0
ปี 2552 8.7
ปี 2553 10.4
ปี 2554 9.2
ปี 2555 7.8
ปี 2556 (ครึ่งแรก) 7.6

หากพิจารณาจากทิศทางแนวโน้มของการเติบโตทางเศรษฐกิจของจีนแล้ว ก็เป็นที่ชัดเจน
ว่า เศรษฐกิจจีนในช่วงทศวรรษที่ผ่านมามีลักษณะเป็น “ลูกผสม” โดยก้าวขึน้ สูงสุดในปี 2550 และ “ชะลอ
ตัว” ลงอย่างช้า ๆ ในหลายปีต่อมา กล่าวคือ ในระหว่างปี 2546-2550 เศรษฐกิจจีนขยายตัวในอัตราเฉลี่ย
ร้อยละ 10.7 ต่อปี ขณะที่ในระหว่างปี 2551-2555 การเติบโตทางเศรษฐกิจลดลงเหลือเฉลี่ยร้อยละ 9 ต่อปี
นั่นหมายถึงความแตกต่างของการเติบโตทางเศรษฐกิจโดยรวมของสองช่วงเวลาที่สูงถึงร้อยละ 8.5 ของขนาด
เศรษฐกิจโดยรวมของจีน ซึ่งมีขนาดใหญ่เป็นอันดับสองของโลกในช่วงหลายปีที่ผ่านมา หรือมีขนาดรวมใหญ่
กว่าหนึ่งปีเต็ม ๆ ของการเติบโตทางเศรษฐกิจของจีนในปัจจุบัน ซึ่งสาเหตุสาคัญเนื่องจากวิกฤติเศรษฐกิจและ
การเงินโลกที่กระทบจีนในปี 2552
หากพิจารณาการขยายตัวทางเศรษฐกิจในปี 2556 เป็นรายไตรมาสก็พบว่า อัตราการ
เติบโตทางเศรษฐกิจจีนยังคงมีแนวโน้มชะลอตัวลง โดยอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจในไตรมาสที่ ๒
ดังกล่าวก็นับว่าต่่าที่สุดเป็นอันดับที่ 2 นับแต่ช่วงไตรมาสที่ 4 ของปี 2553 (ไตรมาสที่ 3 ของปี 2555 เติบโต
ร้อยละ 7.4) และลดลงต่อเนื่องกันเป็นไตรมาสที่ 3 อีกครั้งหนึ่ง (ไตรมาสที่ 4 ของปี 2555 ขยายตัวร้อยละ
7.9)
3

อย่างไรก็ดี ท่ามกลางหมอกควันที่หนาตาเพิ่มขึ้นในช่วงครึ่งแรกของปี 2556 การเติบโต


ทางเศรษฐกิจในหลายแห่งของจีนก็ยังพอมีแสงสว่างที่เจิดจรัสอยู่เช่นกัน กล่าวคือมีอยู่ 13 มณฑล/มหานคร/
เขตปกครองตนเองที่มีอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจสูงกว่าอัตราเฉลี่ยของจีน โดยนครเทียนจินเติบโตสูงสุด
ที่ร้อยละ 12.5 ขณะที่เขตเศรษฐกิจที่มีอัตราการเติบโตมากกว่าร้อยละ 10 ได้แก่ ยูนนาน (ร้อยละ 12.4) ส่าน
ซี (ร้อยละ 11) อันฮุย (ร้อยละ 10.9) และเสฉวน (ร้อยละ 10.1) ทั้งนี้ มณฑลหูหนานและหูเป่ยมีมูลค่าจีดีพี
ในช่วงครึ่งปีแรกทะลุ 1 ล้านล้านหยวนเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ โดยขยายตัวในอัตราราวร้อยละ 10 เมื่อ
เทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน และเขตเศรษฐกิจที่ขยายตัวในอัตราต่าสุด (แต่เกินกว่าค่าเฉลี่ย) ก็ได้แก่
กรุงปักกิ่ง ซึ่งอยู่ที่ร้อยละ 7.7
2. การบริโภคภายในประเทศ ... ยังขยายตัว เมื่อพิจารณาถึงการจับจ่ายใช้สอยของ
ผู้บริโภคจีนทีร่ ัฐบาลจีนมุ่งหวังให้เป็นหนึ่งในกลไกสาคัญที่จะช่วยขับเคลื่อนเศรษฐกิจของจีนในระยะหลัง และ
อนาคต พบว่า ในช่วง ๖ เดือนแรกของปี 2556 การบริโภคภายในประเทศที่วัดจากมูลค่ายอดค้าปลีก สินค้า
บริโภคมีมูลค่ารวม 11.1 ล้านล้านหยวน เพิ่มขึ้นร้อยละ 12.7 เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีที่ผ่านมา
และหากพิจารณามูลค่าการค้าปลีกรายเดือนก็พบว่าเติบโตอย่างมีเสถียรภาพ อย่างไรก็ดี การบริโภค
ภายในประเทศในช่วงดังกล่าวเติบโตในอัตราที่ต่ากว่าของช่วงเดียวกันของ 2 ปีที่ผ่านมาอย่างชัดเจน (เพิ่มขึ้น
ร้อยละ ๑๖.๘ และร้อยละ ๑๔.๔ ในช่วงครึ่งแรกของปี 2554 และปี 2555 ตามลาดับ)
4

อย่างไรก็ดี จีนยังไม่สามารถเพิ่มสัดส่วนของการบริโภคในประเทศต่อจีดีพีได้เร็วตามที่
ต้องการ เพราะไม่ต้องการเพิ่มปริมาณเงินสดในระบบเศรษฐกิจให้เร็วเกินไปและกดดันต่ออัตราเงินเฟ้อ ทั้งนี้
ดัชนีราคาสินค้าผู้บริโภค (Consumer Price Index) ของจีนในช่วงครึ่งแรกของปี 2556 สูงกว่าช่วงเดียวกัน
ของปีก่อน และมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 2 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา ณ เดือนมกราคมเป็น
ร้อยละ 2.7 ณ เดือนมิถุนายน อย่างไรก็ดี อัตราดังกล่าวก็ยังต่ากว่าอัตราเงินเฟ้อเป้าหมายในปี 2556 ที่รัฐบาล
กาหนดไว้ที่ร้อยละ 3.3 อยู่มาก

ขณะที่ดัชนีราคาสินค้าผู้ผลิต (Producer Price Index) ซึ่งเป็นตัวชี้อัตราเงินเฟ้อระดับค้า


ส่ง หดตัวต่อเนื่องจากปีที่ผ่านมาและยังไม่มีสัญญาณว่าจะฟื้นตัวที่ชัดเจนแต่อย่างใด โดย ณ เดือนมิถุนายน
ดัชนีฯ อยู่ที่ร้อยละ -2.7 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน

3. ภาคการผลิต ... อนาคตไม่สดใส ผลผลิตภาคอุตสาหกรรม (Industrial Added Value


Output) ของจีนในช่วงครึ่งแรกของปี 2556 ลดลงจากร้อยละ 9.9 ในช่วงต้นปี เหลือร้อยละ 9.3 ณ เดือน
มิถุนายน ขณะที่ผลผลิตภาคอุตสาหกรรมในช่วงครึ่งแรกของปีเฉลี่ยอยู่ที่ร้อยละ 9.3 ลดลงจากร้อยละ 10.5
ของครึ่งแรกของปี 2555 ซึ่งนับเป็นอัตราการขยายตัวที่ต่าสุดในช่วง 4 ปีที่ผ่านมา และยิ่งน่ากังวลใจมากขึ้น
เมื่อพบว่าอัตราการขยายตัวดังกล่าวเคยสูงถึงกว่าร้อยละ 20 เมื่อ 3 ปีที่ผ่านมา ซึ่งเท่ากับภาคอุตสาหกรรม
ของจีนเติบโตในอัตราที่ลดลงถึงกว่าครึ่งหนึ่งในช่วงเวลาเพียงไม่กี่ปีเท่านั้นเอง
5

ขณะเดียวกัน จากสถิติของสมาพันธ์ลอจิสติกส์และการจัดซื้อของจีน (China


Federation of Logistics and Purchasing) ระบุว่า ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (Purchasing Managers
Index) ของภาคอุตสาหกรรม ซึ่งเป็นตัวชี้สภาพการณ์ของภาคการผลิต ก็พบว่า ดัชนีฯ ณ เดือนมิถุนายนอยู่ที่
50.1 ซึ่งต่าสุดในรอบ 9 เดือน ซึ่งสะท้อนว่า ภาคการผลิตของจีนซึ่งมีอิทธิพลอยู่ราว 1 ใน 3 ของจีดีพีของจีน
กาลังหมินเหม่ต่อการก้าวเข้าสู่ช่วงของการชะลอตัว อันอาจส่งผลกระทบต่อการขยายตัวทางเศรษฐกิจและ
การจ้างงานในช่วงครึ่งหลังของปี

4. การค้าระหว่างประเทศ ... รถไฟเหาะตีลังกา การค้าฯ ในช่วงครึ่งแรกของปี 2556 มี


มูลค่า 2 ล้านล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นจาก 1.84 ล้านล้านเหรียญสหรัฐฯ ของช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน
หรือขยายตัวร้อยละ ๘.7 เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีที่ผ่านมา โดยในช่วงไตรมาสแรก การค้าฯ มี
มูลค่า 0.98 ล้านล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 13.5 เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน ขณะที่ใน
ไตรมาสที่ 2 มีมูลค่าแตะ 1.02 ล้านล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 4.0 เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของ
ปีก่อน
หากพิจารณามูลค่าการค้าฯ รายเดือนก็ซ่อนไว้ซึ่งความผันผวนและชะลอตัว แถมในช่วง
2 เดือนหลัง มูลค่าการค้าฯ ดูจะส่งสัญญาณเชิงลบ โดยมูลค่าการค้าลดลงอย่างต่อเนื่องในช่วง 4 เดือนหลัง
6

โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเดือนพฤษภาคมและมิถุนายนที่การค้าฯ มีเปลี่ยนแปลงร้อยละ 0.3 และร้อยละ -2 เมื่อ


เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ตามลาดับ
นอกจากนี้ ในช่วงครึ่งแรกของปี 2556 การส่งออกมีมูลค่า 1.05 ล้านล้านเหรียญ
สหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 10.4 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน แต่ก็แฝงไว้ซึ่งการขาดเสถียรภาพอย่างมาก
สาเหตุสาคัญเนื่องจากค่าใช้จ่ายแรงงานและเงินหยวนที่แข็งค่าขึ้น รวมทั้งภาวะการชะลอตัวของอุปสงค์และ
การกีดกันจากต่างประเทศ โดยเฉพาะสหภาพยุโรป สหรัฐฯ และญี่ปุ่น โดยมูลค่าการส่งออกในช่วง 3 เดือน
หลังลดลงอย่างต่อเนื่อง ขณะที่การนาเข้ามีมูลค่า 0.95 ล้านล้านเหรียญสหรัฐฯ ขยายตัวร้อยละ 6.7 เมื่อเทียบ
กับช่วงเดียวกันของปีก่อน ส่งผลให้จีนยังคงได้เปรียบดุลการค้าอยู่เกือบ 110,000 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ทั้งนี้
ดุลการค้าในเดือนมีนาคมก็ติดลบเป็นครั้งแรกในรอบหลายเดือน

5. ภาคการลงทุน ... ความหวังอีกครั้ง


5.1 การลงทุนในสินทรัพย์คงที่ในเมือง ... เติบโตอย่างน่าพอใจ ในช่วงครึ่งแรกของปี
2556 การลงทุนในสินทรัพย์คงที่ในเมือง (Urban Fixed-Assets Investments) ก็ยังมีสัญญาณเชิงบวกแม้ว่า
สถาบันการเงินในจีนจะชะลอการปล่อยสินเชื่อใหม่ตามนโยบายของแบ้งค์ชาติจีนในช่วงเวลาดังกล่าวก็ตาม
โดยการลงทุนฯ มีมูลค่าสะสมรวมอยู่ที่ 18.1 ล้านล้านหยวน ขยายตัวร้อยละ 20.1 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกัน
ของปีที่ผ่านมา ลดลงจากระดับการเติบโตที่ร้อยละ 20.4 ของช่วงเดียวกันของปีก่อน
7

5.2 การลงทุนโดยตรงของต่างประเทศ (FDI) สู่จีน ... พลิกฟื้น ในช่วงครึ่งแรกของปี


2556 การลงทุนฯ (ไม่รวมการลงทุนในภาคการธนาคาร และประกันภัย) มีมูลค่ารวมประมาณ 61,980 ล้าน
เหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 4.9 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน หลังจากที่ติดลบกว่าร้อยละ -๓ ในช่วง
ปี 2555 ขณะเดียวกัน กิจการต่างชาติจดทะเบียนเพิ่มขึ้น 10,630 ราย ลดลงร้อยละ -9.2 เมื่อเทียบกับช่วง
เดียวกันของปีก่อน ทั้งนี้ การลงทุนฯ ในภาคบริการมีมูลค่า 30,600 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 12.4
โดยเฉพาะอย่างยิ่งในธุรกิจวัฒนธรรมและงานศิลป์เพิ่มขึ้นร้อยละ 154 และธุรกิจวิทยุ ภาพยนต์ และโทรทัศน์
ขยายตัวร้อยละ 121 เมื่อเทียบช่วงเดียวกันของปีก่อน ขณะที่การลงทุนฯ ในภาคอุตสาหกรรมมีมูลค่า 26,400
ล้านเหรียญสหรัฐฯ ชะลอตัวร้อยละ -2.1 เมื่อเทียบช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา

นอกจากนี้ เมื่อพิจารณามูลค่าการลงทุนฯ รายเดือนก็ยังพบว่า การลงทุนฯ เริ่มพลิก


ฟื้นมาเป็นบวกนับแต่เดือนกุมภาพันธ์ และชะลอตัวลง 3 เดือนต่อเนื่อง (ขยายตัวเล็กน้อยในเดือนเมษายนและ
พฤษภาคม) ก่อนกระโดดขึ้นไปถึงกว่าร้อยละ 20 ในเดือนมิถุนายน ซึ่งนับเป็นอัตราที่สูงสุดนับแต่เดือนมีนาคม
2554 หรือในรอบ 27 เดือน
หากจาแนกตามแหล่งเงินทุนก็พบว่า การลงทุนฯ จากยุโรปมีมูลค่ากว่า 4,000 ล้าน
เหรียญสหรัฐฯ ขยายตัวร้อยละ 14.7 เมื่อเทียบช่วงเดียวกันของปีก่อน จากญี่ปุ่น มูลค่า 14,400 ล้านเหรียญ
สหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 14.4 สหรัฐฯ มูลค่ากว่า 1,800 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 12.3 และอาเซียน
และฮ่องกง มูลค่ารวม 53,800 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 5.3 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน
นอกจากนี้ ในเชิงภูมิศาสตร์ การลงทุน
โดยตรงจากต่างประเทศเข้าสู่จีนยังคงกระจายตัวเข้าสู่พื้นที่ด้านซีก
ตะวันตกและพื้นที่ตอนกลางเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยขยายตัวถึง
ร้อยละ 32.5 และร้อยละ 15.8 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่ผ่าน
มา ตามลาดับ อย่างไรก็ดี การลงทุนฯ สู่พื้นที่ด้านซีกตะวันออก
เพิ่มขึ้นเพียงร้อยละ 1.7 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน
8

5.3 การออกไปลงทุนต่างประเทศ (ODI) ของจีน ... พุ่งทะยาน ในช่วงครี่งปีแรก จีน


ออกไปลงทุนในต่างประเทศ (ไม่รวมภาคการเงิน) คิดเป็นมูลค่าราว 45,600 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นถึง
ร้อยละ 29 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา แม้ว่าการลงทุนฯ จะเติบโตในอัตราที่น้อยกว่าของปีก่อน
แต่ยังนับว่าอยู่ในระดับที่สูง และขยับเข้าใกล้ระดับของการลงทุนโดยตรงของต่างประเทศในจีนเข้าไปทุกที
ขณะเดียวกัน โครงสร้างการลงทุนฯ นับว่ากระจายตัวและเหมาะสมสอดคล้องกับยุทธศาสตร์ของจีนมากขึ้น
โดยเกือบร้อยละ 90 เป็นการลงทุนในเชิงพาณิชย์ การค้าปลีกและค้าส่ง การก่อสร้าง และภาคการผลิตและ
เหมืองแร่
นายฮั่ว เจี้ยนกั๋ว (Huo Jianguo) ประธาน
สถาบันแห่งการค้าและความร่วมมือทางเศรษฐกิจระหว่างประเทศ
ของจีน (Chinese Academy of International Trade and
Economic Cooperation) คาดการณ์ว่า การลงทุนฯ ของจีนจะมี
มูลค่าโดยรวมราว 550,000 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ในระหว่างปี 2554-
2558 หรือมีมูลค่าเฉลี่ยตกปีละ 110,000 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ต่อปี ซึ่งหากเป็นเช่นนั้นจริง ก็เท่ากับว่าการ
ลงทุนฯ ของจีนในช่วงปี 2557-2558 จะต้องพุ่งทะยานขึ้นเป็นเฉลี่ยกว่า 150,000 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ต่อปี

เศรษฐกิจจีนครึ่งปีหลัง ... จะไปทิศทางใด


รักษาเสถียรภาพ ... ยอมกลืนเลือดเพื่อระยะยาว ภายหลังความสาเร็จของการกระตุ้น
เศรษฐกิจให้ผงกหัวขึ้นเป็นรูปตัววี (V Shape) มาอีกระยะหนึ่ง
ในช่วงที่เผชิญวิกฤติเศรษฐกิจและการเงินโลกครั้งล่าสุด รัฐบาลจีนดู
เหมือนจะ “มองขาด” ถึงความอ่อนแอและเปราะบางของเศรษฐกิจ
โลก โดยเฉพาะอย่างยิ่งของประเทศพัฒนาแล้ว จีนประเมินไว้ว่า
เศรษฐกิจโลกจะต้องใช้เวลานานอีกหลายปีกว่าจะฟื้นตัวและกลับมา
มีเสถียรภาพดังเดิมอีกครั้ง
ภายใต้สภาพการณ์ทางเศรษฐกิจโลกในยุคหลังวิกฤติฯ ที่หลายประเทศพัฒนาแล้ว “ปั้ม
เงิน” อัดเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจ และความคาดหวังให้ห้วงเวลาของการส่งต่ออานาจของผู้นาจีนเป็นไปอย่าง
ราบรื่นอย่างแท้จริง รัฐบาลจีนเลือกใช้แนวทางการฟื้นเศรษฐกิจที่เริ่มชะลอตัวลงครั้งนี้ที่แตกต่างไปจากเดิม
ประการแรก เพื่อคงระดับของเสถียรภาพทางเศรษฐกิจในระยะยาว รัฐบาลจีนต้องหันมา
มุ่งเน้นการพัฒนาเศรษฐกิจในเชิง “คุณภาพ” เพื่อพยายามประคองให้เครื่องบินเศรษฐกิจของประเทศที่ร่อน
ตัวอย่างหวือหวาในช่วงหลายปีที่ผ่านมา “ลงจอด” อย่างนุ่มนวล โดยยอม “อดเปรียวไว้กินหวาน” ปรับ
“ลดความเร็ว” ควบคู่ไปกับการ “ปรับเปลี่ยนทิศทาง” ในการพัฒนา ดังจะเห็นได้จากการยอมปล่อยให้
9

เศรษฐกิจเติบโตในอัตราที่ต่าลงและปรับโครงสร้างทางเศรษฐกิจควบคู่กันไป อาทิ การหันไปพึ่งพาการบริโภค


ภายในประเทศมากขึน้
รัฐบาลชุดใหม่ของจีนตระหนักดีว่า ภายใต้สถานการณ์เช่นนี้ หากจีนจะฝืนผลักดันให้
เศรษฐกิจพุ่งแรงพรวดพราดดังที่เคยเป็นโดยอาศัยกลไกเดิม ๆ คงเป็นเรื่องยากและจาเป็นต้องใช้ทรัพยากร
จากภายในประเทศเป็นจานวนมาก ซึ่งอาจไม่คุ้มค่าและนาไปสู่ผลกระทบเชิงลบอื่นมากมายตามมา ดังนั้น
รัฐบาลจีนจึงจาต้องยอม “กลืนเลือด” ปล่อยให้เศรษฐกิจเติบโตในอัตราที่ลดลง การเติบโตทางเศรษฐกิจของ
จีนจึงน่าจะมีลักษณะเป็นรูปตัวแอล (L Shape) หรือเครื่องหมาย “ถูกต้อง” ที่ปลายหางค่อนข้างลาดในระยะ
2-3 ปีข้างหน้า ว่าง่าย ๆ โอกาสที่เราจะเห็นเศรษฐกิจจีนขยายตัวในอัตราเกินกว่าร้อยละ 10 ต่อปีอีกครั้งใน
อนาคตอันใกล้จึงดูจะเป็นภาพที่เลือนรางยิ่ง
สาหรับปี 2556 เมื่อพิจารณาจากมติที่ประชุมคณะมนตรีแห่งรัฐ “ครม. จีน” การให้
สัมภาษณ์ของท่านหลี่ เค่อเฉียง (Li Keqiang) นายกรัฐมนตรียอด
ขยันของจีน และการประเมินของนักวิชาการหลายฝ่าย สรุปได้ว่า
รัฐบาลจีนพอใจกับอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจของจีนที่ร้อยละ
7.5 เมื่อเทียบกับของปีก่อน ซึ่ง ณ ระดับดังกล่าวก็จะเป็นอัตราการ
เติบโตทางเศรษฐกิจที่ต่าสุดนับแต่ปี 2552 อย่างไรก็ดี อัตราการ
ขยายตัวดังกล่าวก็จะสูงกว่าอัตราการเติบโตเฉลี่ยของโลกกว่า 3
เท่า ทัง้ นี้ หากปล่อยให้อัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจดิ่งไปอยู่ต่ากว่าร้อยละ 7 เมื่อเทียบกับของปีที่ผ่านมา จีน
อาจไม่สามารถรักษา “ความเชื่อมั่น” ในหมู่นักลงทุนได้
กลไกขับเคลื่อน ... ดันพระเอกหน้าใหม่ ปัดฝุ่นของเก่า โดยที่ในช่วงครึ่งแรกของปี 2556
ภาคการค้าระหว่างประเทศดูจะขยายตัวในอัตราที่ลดลงไปมาก ผมประเมินว่า การค้าระหว่างประเทศของจีน
ในปีนี้จะขยายในอัตราเลขตัวเดียวเป็นครั้งแรกในรอบหลายปี และแม้ว่าเราจะเห็นจีนเกินดุลการค้าต่อเนื่อง
อีกปีหนึ่ง แต่ก็อาจไม่สูงมากดังเช่นที่ผ่านมา
ขณะที่ภาคการบริโภคภายในประเทศก็ดูจะ “โตไม่ทันใช้” ส่วนหนึ่งเนื่องจาก “นโยบาย
ประหยัดแห่งชาติ” ของผู้นาใหม่ ทาให้การจับจ่ายใช้สอยของภาครัฐ เอกชน และประชาชนลดลงไปมาก
โดยเฉพาะอย่างยิ่งในอุตสาหกรรมการผลิตและธุรกิจบริการด้านอาหารและ
เครื่องดื่ม ขณะเดียวกัน กระทรวงการคลังจีนก็ยังแถลงว่า โครงการอุดหนุน
เครื่องใช้ไฟฟ้าเพื่อกระตุ้นอุปสงค์และปลูกจิตสานึกด้านสิ่งแวดล้อมที่รัฐบาล
จีนดาเนินมานับตัง้ แต่วันที่ 1 มิถุนายน 2555 และสิ้นสุดลงเมื่อสิ้นเดือน
มิถุนายน 2556 ก็จะไม่ได้รับการขยายเวลาโครงการ ซึ่งจะส่งผลเชิงลบต่อ
การจับจ่ายใช้สอยในช่วงครึ่งหลังของปีไม่มากก็น้อย
10

แต่ใช่ว่าจีนจะหมดหวัง เพราะผลจากการสารวจของนีลเซ่น (Nielsen) บริษัทวิจัยระดับโลก


ระบุว่า ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคของจีนในช่วงครึ่งปีแรกเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง และสูงสุดในไตรมาสที่ 2 ของ
ปีที่ระดับ 110 เพิ่มจากระดับ 108 ณ ไตรมาสแรก และหากเปรียบเทียบกับของสหรัฐฯ และของค่าเฉลี่ยของ
โลก ซึ่งเพิ่มจากระดับ 93 เป็น 94 แล้วก็พบว่า ดัชนีฯ ของจีนมีค่าสูงกว่ามาก ผมประเมินว่า ในช่วงครึ่งหลัง
ของปี 2556 รัฐบาลจีนจะพยายามหาช่องทางกระตุ้น “การบริโภคภายในประเทศ” ตามแนวทางเดิมที่
กาหนดไว้อยู่ต่อไป ซึ่งจะช่วยลดปัญหากาลังการผลิตส่วนเกินที่กระจายตัวอยู่ในหลายอุตสาหกรรมและกระตุ้น
การจ้างงานโดยรวมของจีนในอีกทางหนึ่งด้วย
ขณะเดียวกัน จีนยังจะต้องหันกลับมาดึงเอา “การลงทุนโดยตรงจากภายในประเทศ และ
จากต่างประเทศ” เป็น “ตัวชูโรง” ในการพยุงระดับการเติบโตทางเศรษฐกิจอีกครั้ง ใช่ว่ารัฐบาลจีนจะหมด
เงิน เพราะรัฐบาลจีนยังเกินดุลบัญชีเดินสะพัดอยู่มาก ขณะที่เงินเฟ้อก็
อยู่ในระดับที่ต่ากว่าของปีก่อน แต่การดาเนินมาตรการในครั้งนี้ รัฐบาล
จีนต้องเผชิญกับแรงกดดันจากปัญหาหนี้ “พอกหางหมู” ของรัฐบาล
ท้องถิ่นค้าคออยู่ จึงต้องลดบทบาทของภาครัฐและใช้ประโยชน์จาก
บทบาทของภาคเอกชนให้มากขึ้น
โดยสรุป ผมเห็นว่า รัฐบาลจีนจะใช้ “สามพระเอก” อันได้แก่ การบริโภคภายในประเทศ
การลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ และการลงทุนภายในประเทศเป็นตัวช่วยหลักในการกระตุ้นเศรษฐกิจจีน
ในช่วงปี 2556-2558 ให้เติบโตอย่างมีเสถียรภาพ โดยจะยอมให้ภาคเอกชนเพิ่มบทบาทขณะที่ภาคการผลิต
ได้รับการเอาใจมากขึ้น ท่ามกลางบทบาทที่ลดลงของภาคการส่งออก
เอกชนแหงนมองฟ้า ... หารูปแบบและมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ ภายใต้ความพยายามใน
การรักษาระดับการเติบโตทางเศรษฐกิจในเชิงคุณภาพ รัฐบาลจีนตามแนวทาง “หลี่โคโนมิกส์”
(Likonomics) ดูจะได้รับบทเรียนที่ดจี ากการออกมาตรการ
กระตุ้นเศรษฐกิจครั้งใหญ่ 4 ล้านล้านหยวน ซึ่งนาไปสู่ปัญหา
มากมายในเวลาต่อมา ไม่ว่าจะเป็นปัญหาเงินเฟ้อ ปัญหาฟองสบู่
ของภาคอสังหริมทรัพย์ และปัญหากาลังการผลิตส่วนเกินที่ตก
ทอดมาถึงปัจจุบัน รัฐบาลจึงเลือกใช้วิธี “ทยอยปล่อยของ”
ออกเป็นส่วน ๆ โดยรัฐบาลจีนในยุคนีเ้ ลือกที่จะออกมาตรการ
ความช่วยเหลือแก่บางอุตสาหกรรมและบางกลุ่มธุรกิจตามสถานการณ์เศรษฐกิจการเงินเท่าที่จาเป็นเท่านั้น
ตัวอย่างเช่น เมื่อเดือนกรกฎาคม ที่ผ่านมา คณะมนตรีแห่งรัฐของจีนได้อนุมัติการยกเว้นการ
เรียกเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มและภาษีการขาย และลดค่าธรรมเนียมการส่งออกแก่กิจการขนาดเล็กที่มียอดขายต่า
กว่า 20,000 หยวนต่อเดือน โดยเริ่มมีผลใช้บังคับนับแต่เดือนสิงหาคมเป็นต้นไป และประกาศรักษา
เสถียรภาพค่าเงินหยวน ภายหลังพบว่ากิจการขนาดเล็กและขนาดกลางของจีนประสบปัญหา “การขาด
11

สภาพคล่อง” และ “ความผันผวนและการเพิ่มค่า” ของเงินหยวนในช่วงครึ่งแรกของปี 2556 ซึ่งคาดว่า


นักวิชาการประเมินว่า มาตรการดังกล่าวจะเป็นประโยชน์ต่อกิจการที่เกี่ยวข้องถึงกว่า 6 ล้านรายและการจ้าง
แรงงานอีกหลายล้านตาแหน่ง
เพื่อเปิดให้กิจการขนาดเล็กมี “สภาพคล่อง” อย่างเหมาะสมและปรับตัว “เดินหน้า” ต่อไป
ได้ รัฐบาลจีนยังจาเป็นต้องกระโดดเข้ามากากับดูแลระดับ “การปล่อยสินเชื่อใหม่” และปัญหา “เงินกู้นอก
ระบบ” อย่างใกล้ชิด จริงจัง และนอกกรอบ รวมทั้งเร่งหามาตรการส่งเสริมและพัฒนาขีดความสามารถในการ
แข่งขันของกิจการขนาดเล็กเหล่านั้น มาตรการหนึ่งที่น่าสนใจได้แก่ การเปิดให้กิจการที่น่าเชื่อถือ ควบคุมได้
และมีเครือข่ายกว้างขวางอย่าง “เถาเป่า” (Taobao) มารับฝากและปล่อยสินเชื่อแก่กิจการรายย่อย
ในการดึงดูดการลงทุนจากต่างประเทศ จีนได้ทยอยประกาศเดินหน้าปฏิรูปสภาพแวดล้อม
ด้านการลงทุนและการเพิ่มการลงทุนในอุตสาหกรรมเป้าหมายตามแนวทางการปรับโครงสร้างเศรษฐกิจของ
ประเทศ เช่น การให้นครเซี่ยงไฮ้ “น่าร่อง” กาหนดเงื่อนไขการลงทุน
ใหม่ในเขตเสรีทางการค้า (Free Trade Zone) เพื่อดึงการลงทุนใน
อุตสาหกรรมที่มีศักยภาพสูงเข้ามาในพื้นที่ หรือการพัฒนา “เขต
ความร่วมมือในอุตสาหกรรมบริการสมัยใหม่ระหว่างเซินเจิ้น-
ฮ่องกง” (Shenzhen-Hong Kong Modern Service Industry
Cooperation Zone) ที่เริ่มทดลองใช้ในพื้นที่ 15 ตารางกิโลเมตรในเขตเฉียนไห่ (Qianhai) ที่ยอมเปิดให้
กิจการและบุคคลที่ได้รับใบอนุญาตในฮ่องกงสามารถเข้ามาประกอบการในเขตดังกล่าวได้โดยไม่ต้องขอรับ
ใบอนุญาตจากรัฐบาลจีนอีกครั้ง
นอกจากนี้ เรายังสังเกตเห็นรัฐบาลจีนพยายาม “รักษา” ฐานอุตสาหกรรมไว้ภายในประเทศ
โดยเดินหน้าผลักดันการพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตและโยกย้าย
โรงงานอุตสาหกรรมเข้าสู่พื้นที่ตอนกลางและ ซีกตะวันตกของจีน
แทนที่จะปล่อยให้ธุรกิจเหล่านั้นย้ายฐานการผลิตไปลงทุนใน
ประเทศเพื่อนบ้าน ซึ่งแตกต่างไปจากท่าทีของรัฐบาลจีนในอดีต
อย่างไรก็ดี การใช้กลไก “การลงทุน” ดังกล่าวก็จะยังอยู่ภายใต้
เงื่อนไขของการ “คุมเข้ม” ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์เพื่อป้องกัน
ปัญหาฟองสบู่ที่อาจเกิดแทรกซ้อนขึ้น
ขณะเดียวกัน จีนยังคงสานต่อการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและสิ่งอานวยความสะดวก
โดยเฉพาะการใช้การลงทุนในโครงข่ายการรถไฟเป็นกลไกสาคัญในการขับเคลื่อนการกระตุ้นเศรษฐกิจและ
พัฒนาประเทศ ควบคู่ไปกับการเพิ่มบทบาทการลงทุนของภาคเอกชนในการพัฒนาโครงข่ายการรถไฟ โดย
อนุมัตใิ ห้กิจการเอกชนสามารถเข้ามาลงทุนในโครงการก่อสร้างทางรถไฟและเร่งการก่อสร้างทางรถไฟในพื้นที่
12

ตอนกลางและด้านซีกตะวันตกของจีน โดยเฉพาะเส้นทางรถไฟระหว่างเมืองและภายในเมืองย่อย นอกจากนี้


รัฐบาลจีนยังวางแผนออกขายพันธบัตรเพื่อระดมทุนเพื่อขยายการก่อสร้างรถไฟความเร็วสูง
อย่างไรก็ตาม มาตรการดังกล่าวสอดคล้องกับการปรับโครงสร้างองค์กรที่ยุบรวมกระทรวง
การรถไฟ (The Railways Ministry) เข้ากับกระทรวงคมนาคม (Ministry of Transport) และจัดแบ่งแยก
งานด้านพาณิชย์ของกระทรวงการรถไฟ (เดิม) ให้บริหารจัดการโดยนิติบุคคลเชิงพาณิชย์ที่จดทะเบียนขึ้นใหม่
ตามมติคณะมนตรีแห่งรัฐเมื่อวันที่ 10 มีนาคม 2556

เมื่อธงแดงปลิวไสว ... อีกครั้ง


ท่ามกลางการส่งผ่าน “อ่านาจ” ของผู้บริหารระดับสูงที่ราบรื่นมากที่สุดในประวัติศาสตร์
หน้าหใม่ของจีน และกลไกทางเลือกในการกระตุ้นเศรษฐกิจที่เหลือน้อยลง จีนต้องใช้ห้วงเวลา “วิกฤติ”
ในช่วงนี้เป็น “โอกาส” แห่งอนาคต เร่ง “ฟิตเครื่องยนต์” เศรษฐกิจให้
พร้อมสาหรับการแข่งขันระลอกใหม่ โดยไม่สูญเสียเป้าหมายระยะยาวใน
ปี ค.ศ. 2020 (ครบรอบ 100 ของการก่อตั้งพรรคคอมมิวนิสต์) ที่ต้องการ
เห็นจีนเป็นสังคม “กินดีอยู่ดี” ระยะต้นที่คาดว่าเราจะได้เห็นขนาด
เศรษฐกิจของจีนขึ้นทาบชั้นสหรัฐฯ และปี ค.ศ. 2049 (ครบรอบ 100 ปี
ของการสถาปนาประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน) ที่ต้องการเป็นประเทศ
พัฒนาแล้ว มีสัดส่วนชนชั้นกลางเพิ่มขึ้น และให้ชาวจีนมีชีวิตความเป็นอยู่
ที่ดี
คาถามสาคัญคือ ทาอย่างไรประเทศและผู้ประกอบการไทยจะได้รับประโยชน์อย่างเต็มเม็ด
เต็มหน่วยจากการเติบโตทางเศรษฐกิจของจีนและคนชั้นกลางกว่า 500 ล้านคนของจีนในวันข้างหน้าได้ ...

--------------------------------------------

รวบรวมและเรียบเรียงโดย
ดร. ไพจิตร วิบูลย์ธนสาร
อัครราชทูต (ฝ่ายการพาณิชย์)
สานักงานพาณิชย์ในต่างประเทศ ณ กรุงปักกิ่ง

You might also like