You are on page 1of 52

บทที่ 8

กลศาสตร์ของไหล
(Fluid Mechanics)

ดร.ทักษกมนต วิจักษณธนาวุฒิ ฟสิกสประยุกต มทร. 1


อีสาน
สสาร(Matters)

ของแข็ง (Solids) ของไหล (Fluids)

ของเหลว (Liquids) กาซ (Gases)

บีบอัดได (Real fluids) บีบอัดไมได (Ideal fluids)

ของไหล คือ สสารที่มีโมเลกุลยึดกันแบบหลวมๆ สามารถเปลี่ยนแปลง


รูปร่าง เคลื่อนไหลไปตามสภาพที่ไม่ถูกจํากัดโดยภาชนะหรือบริเวณ
ดร.ทักษกมนต วิจักษณธนาวุฒิ ฟสิกสประยุกต มทร. 2
อีสาน
8.1 สถิตศาสตร์ของของไหล (Fluid Static)
เป็นการศึกษาคุณสมบัติของของเหลวและก๊าซทีอ่ ยูน่ ิ่ง
ณ อุณหภูมิปกติโดยจะศึกษาเกี่ยวกับความดัน หลักของอาร์คีมีดีส
ความตึงผิว และความหนืด
ความดันของของไหลและกฎของปาสคาล
แรงกระทําของระบบโมเลกุลต่อภายนอก จะปรากฏเฉพาะที่ผิว
ของสสารเท่านั้น แรงที่ผิวนี้ ถ้าเป็นของแข็ง แรงนี้สามารถแสดงออกได้
ทุกทิศทางของพื้นที่ผิว แต่สําหรับของไหล แรงที่พื้นที่ผิวจะเกิดในทิศ
ทางตั้งฉากกับพื้นผิวเท่านั้น ถ้าเกิดแรงที่ไม่ตั้งฉากขึ้น ของเหลวนั้นจะ
ไม่สมดุล และจะไหลเปลี่ยนรูปทรงจนทําให้แรงนี้ตั้งฉากกับพื้นผิว
จึงจะเกิดสมดุลและรักษารูปทรงไว้ได้
ดร.ทักษกมนต วิจักษณธนาวุฒิ ฟสิกสประยุกต มทร. 3
อีสาน
ความดัน (Pressure,P)
คือ ขนาดของแรงกระทําในแนวตั้งฉากกับพื้นผิวต่อหนึ่งหน่วยพื้นผิวนั้น
ถ้าแรงกระทําเป็น F และพื้นที่เป็น A เราสามารถเขียนสมการ
ความดันได้เป็น
F (1)
P=
A
หรือเขียนให้อยู่ในรูปของอนุพันธ์ได้เป็น
dF
P= (2)
dA
หน่วยของความดัน คือ แต่อาจบอกเป็นหน่วย บรรยากาศ(atm)
N / m2
ปาสคาล(Pa) บาร์(bar) ทอร์(Torr) หรือ มิลลิเมตรปรอท (mm.Hg)
ดร.ทักษกมนต วิจักษณธนาวุฒิ ฟสิกสประยุกต มทร. 4
อีสาน
โดยกําหนดความสัมพันธ์ดังนี้
ความดัน 1 บรรยากาศ = 760 mm.Hg
ความดัน 1 บรรยากาศ = 1.013 × 105 N/m2 = 1 bar
ความดัน 1.013 × 10 N/m = 1 bar
5 2

ความดัน 1 N/m2 = 1 Pa
ความดัน 1 mm.Hg = 1 Torr
การกําหนดความหนาแน่นของของไหลทุกครั้ง จะต้องกํากับด้วยว่า
ค่านั้นเป็นความหนาแน่นที่ความดันและอุณหภูมิเท่าไรด้วย

ดร.ทักษกมนต วิจักษณธนาวุฒิ ฟสิกสประยุกต มทร. 5


อีสาน
ตัวอย่าง 1 น้ํามันเครื่องมวล 1430 kg บรรจุในถังรูปทรงกระบอกซึ่งมี
เส้นผ่านศูนย์กลาง 0.7 m จงคํานวณหาความดันที่ก้นถังรูปทรงกระบอกนี้
วิธีทํา ขนาดของแรงที่กระทําต่อก้นถัง = 1430 × 9.8 = 14014 N
2
⎛ d ⎞ d 2

พื้นที่ก้นถังรูปทรงกระบอก = πr 2 = π ⎜⎜⎜ ⎟⎟⎟ = π


⎝ 2 ⎠⎟ 4
π (0.7 )
2

= = 0.385 m 2
4
ดังนั้น ความดันที่ก้นถัง
F 14014
P= = = 36, 400 N/m2 ตอบ
A 0.385
ดร.ทักษกมนต วิจักษณธนาวุฒิ ฟสิกสประยุกต มทร. 6
อีสาน
ความดันในของไหล ณ จุดใดๆ
จากรูป พิจารณาของไหลแผ่นบางๆ ซึ่งมี
(P+dP)A
ความหนา dy มีพื้นที่ผิว A มีความหนาแน่น ρ
dy
PA y
มวลของแผ่นของไหลนี้คือ ρAdy
dW
y=0 และมีน้ําหนัก dW = ρgAdy
(P+dP)A แรงที่กระทําต่อแผ่นของไหลเนื่องมาจากของ
ไหลที่ล้อมรอบย่อมตั้งฉากกับผิวของแผ่นของ
PA ไหลทุกจุด
dW
แรงลัพธ์ในแนวราบที่กระทําต่อแผ่นของไหลนี้
รูปที่ 8-1 จะเท่ากับศูนย์ แรงดันขึ้น จะอยู่ตรงผิวด้านล่าง
แรงกระทําต่อชิ้นเล็ก ๆ ของของไหลที่อยู่ใน
สมดุล ณ ระดับอ้างอิง y = 0 เท่ากับ PA และแรงดันลง คือ (P+dP)A
ดร.ทักษกมนต วิจักษณธนาวุฒิ ฟสิกสประยุกต มทร. 7
อีสาน
เนื่องจากแผ่นของไหลนี้อยู่ในสภาวะสมดุล คือ ไม่มีการไหล ดังนั้น
∑F y
=0
PA − (P + dP ) A − ρgAdy = 0
dP
= −ρg (3)
dy
จากสมการที่ (3) พบว่า
เมื่อความสูงเพิ่มขึ้น(dy ) ความดันจะมีค่าลดลง(dP )
ถ้า P1 และ P2 เป็นความดันที่ระดับ y1 และ y2 เหนือระดับอ้างอิงแล้ว
เมื่ออินทิเกรตสมการที่ (3) แล้วจะได้
P2 − ดร.ทัPก1ษกมนต=วิจักษณ−ธนาวุρฒิ gฟสิกส(ประยุyก2ต มทร.− y1 ) (4) 8
อีสาน
P2=Pa จากรูปกําหนดให้จุดที่ 1 มีความดันเป็น P และ
h = y2-y1 จุดที่ 2 อยูท่ ี่ผิวของของเหลวมีความดันเท่ากับ
P1=P y2 ความดันบรรยากาศ Pa ดังนั้นจากสมการที่ (4)
y1
เขียนได้เป็น
รูปที่ 8-2 Pa − P = − ρ g ( y2 − y1 )
แสดงตํ า แหน่ ง ความดั น ของ
ของเหลวที่ต้องการหา (5) P = Pa + ρ gh
เมื่อ h คือ ความลึกของของเหลวเมื่อวัดจากผิวของของเหลว
A B C D
ที่ความลึก h ใดๆ จะมีค่าแรงดันเท่ากันหมด
ไม่ว่าภาชนะนั้นจะมีรูปร่างเป็นอย่างไรก็ตาม
รูปที่ 8-3
ความดั น ไม่ เ ปลี่ ย นแปลงไป ดังแสดงในรูป
กับรูปร่างของภาชนะ ดร.ทักษกมนต วิจักษณธนาวุฒิ ฟสิกสประยุกต มทร. 9
อีสาน
กฎของปาสคาล (Pascal’s Law)
“ถ้าออกแรงกดของไหลที่อยูใ่ นพื้นที่ผิวทีแ่ น่นอน แรงกดนี้จะถูกถ่ายทอด
ไปทั่วทั้งของไหลนั้นโดยไม่ลดลงเลย และจะแสดงออกทีผ่ ิวหรือที่ผนัง
ของภาชนะด้วยความดันที่เท่ากันทุกๆจุด”
จากกฎของปาสคาลเรานํามาสร้างเครื่องอัดไฮโดรลิก ดังรูป
เมื่อออกแรงกดขนาด f ที่ลูกสูบเล็กจะเกิด
ความดัน P=f/a ส่งผ่านไปตลอกทุกส่วนของ
ของไหลจนถึงลูกสูบใหญ่ จะเกิดแรงขนาด
F=PA เมื่อความดันของลูกสูบทั้งสองเท่ากัน
ดังนั้น
f F A
P= = หรือ F = f (6)
ดร.ทักษกมนต วิจักษณธนาวุฒิ ฟสิกสประยุกต มทร. 10
a อีสาน A a
ตัวอย่าง 2 ลูกสูบเล็กและลูกสูบใหญ่ในเครื่องไฮดรอลิกซึ่งมีขนาดเส้นผ่า
ศูนย์กลาง 3 cm และ 24 cm ตามลําดับ ถ้าออกแรงกระทําทีล่ ูกสูบเล็ก
600 N จงคํานวณขนาดของแรงที่ลูกสูบใหญ่
วิธีทํา จากสมการที่ (6) แรงที่กระทําต่อลูกสูบใหญ่จะเท่ากับ
A
F= f
a
2
⎛ 24 −2 ⎞
π ⎜ ×10 ⎟
⎝ 2 ⎠ 600
2 ( )
F=
⎛3 −2 ⎞
π ⎜ ×10 ⎟
⎝2 ⎠
F = 38400 N ตอบ
ดร.ทักษกมนต วิจักษณธนาวุฒิ ฟสิกสประยุกต มทร. 11
อีสาน
เครื่องมือวัดความดัน
มาโนมิเตอร์ (Manometer)
จากรูป สมมติว่าบริเวณที่ต้องการวัดความ
ดันมีความดันเท่ากับ P และระดับของเหลว
ที่ปลายปิดอยู่ที่ y1 และปลายเปิดอยูท่ ี่ y2
จะได้
ความดันที่ก้นหลอดด้านซ้ายมือ = P + ρ gy1
ความดันที่ก้นหลอดด้านขวามือ = Pa + ρ gy2
เนื่องจากความดันที่ระดับเดียวกัน(ที่จุด a) ย่อมเท่ากัน ดังนั้น
P + ρ gy1 = Pa + ρ gy2
P − Pดร.ทัa กษ=กมนตρวิจักgษณธอี(นาวุสานyฒิ 2ฟสิก−สประยุyก1ต มทร.
) = ρ gh (7) 12
P เรียกว่า ความดันสัมบูรณ์ (Absolute Pressure) ส่วนผลต่างของ
ความดันสัมบูรณ์กับความดันบรรยากาศ คือ P − P เรียกว่า
a
ความดันเกจ (Gauge Pressure)
บารอมิเตอร์ (Barometer)
เป็นเครื่องที่ใช้วัดความดันของบรรยากาศ
2 มีลักษณะเป็นหลอดแก้วปิด บรรจุของเหลว
ความหนาแน่น ρ แล้วคว่ําลงในกระบะอ่าง
y2 − y1 =
ที่บรรจุของเหลวชนิดเดียวกัน ซึ่งทําให้จุด
1 y2
P2 มีความดันเป็นศูนย์ และจุด P1 = Pa
y1
ซึ่งเป็นค่าที่ต้องการทราบ
ดร.ทักษกมนต วิจักษณธนาวุฒิ ฟสิกสประยุกต มทร. 13
อีสาน
จากรูปจะได้
ความดันที่ก้นกระบะอ่างเนื่องจากตําแหน่งที่ 1 = Pa + ρ gy1
ความดันที่ก้นกระบะอ่างเนื่องจากตําแหน่งที่ 2 = 0 + ρ gy2
ความดันที่ระดับเดียวกันย่อมเท่ากัน นั่นคือ
Pa + ρ gy1 = 0 + ρ gy2
Pa = ρ g ( y2 − y1 ) = ρ gh (8)
ถ้าในกระบะอ่างบรรจุปรอท จะเห็นว่า ความสูงของลําปรอทแปรผันโดย
ตรงกับความดันบรรยากาศ เราจึงมักบอกความดันของบรรยากาศ และ
ความดันอื่นๆ เป็นความสูงของปรอท เช่น ความดัน 760 มิลลิเมตรปรอท
ดร.ทักษกมนต วิจักษณธนาวุฒิ ฟสิกสประยุกต มทร. 14
อีสาน
ตัวอย่าง 3 จงคํานวณหาความดันบรรยากาศในวันหนึ่งซึ่งความสูงของ
ปรอทในบาร์รอมิเตอร์อ่านได้ 76 cm กําหนดให้ความหนาแน่นของ
ปรอทเท่ากับ 13.6 ×103 kg/m3 และ อัตราเร่งเนื่องจากความโน้มถ่วง
ของโลกเท่ากับ 9.8 m/s 2
วิธีทํา จากสมการที่ (8) ความดันบรรยากาศ
Pa = ρ gh
Pa = 13.6 ×103 × 9.8 × 76 ×10−2
Pa = 1.013 × 10 N/m 5 2
ตอบ

ดร.ทักษกมนต วิจักษณธนาวุฒิ ฟสิกสประยุกต มทร. 15


อีสาน
ตัวอย่าง 4 จงคํานวณหาความดันเครื่องวัดที่พอดีใช้กับแม่แรงไฮดรอลิก
ซึ่งลูกสูบมีพื้นที่ 800 cm 2 เพื่อยกรถยนต์ที่มีมวล 1500 kg
วิธีทํา แรงสุทธิ = ความดันของเครื่องวัด x พื้นที่
1500 × 9.8 = Pg × 800 × (10 )
−2 2

1500 × 9.8
ดังนั้น Pg = −4
= 1.84 ×10 N/m
5 2

800 ×10

หรือ Pg = 184 kPa ตอบ

ดร.ทักษกมนต วิจักษณธนาวุฒิ ฟสิกสประยุกต มทร. 16


อีสาน
แรงลอยตัวและหลักของอาร์คิมีดิส
หลักของอาร์คิมิดิส กล่าวว่า “วัตถุใดๆจะมีบางส่วนหรือทัง้ หมดจมอยูใ่ น
ของเหลว วัตถุนั้นจะถูกแรงลอยตัวกระทําตลอดเวลา โดยแรงลอยตัวที่
กระทําต่อวัตถุนั้น จะเท่ากับน้ําหนักของของเหลวที่มีปริมาตรเท่ากับ
ปริมาตรของวัตถุส่วนที่อยูใ่ นของเหลวนั้น หรืออาจกล่าวอีกอย่างหนึ่ง
คือ ปริมาตรของของเหลวที่ถูกแทนที่นั่นเอง”
แรงลอยตัวที่ทําให้วัตถุลอยอยู่ในของเหลวนี้จะต้องผ่านจุดศูนย์
กลางมวลของวัตถุนั้นวัตถุจึงจะอยูใ่ นสภาวะสมดุลได้

ดร.ทักษกมนต วิจักษณธนาวุฒิ ฟสิกสประยุกต มทร. 17


อีสาน
พิจารณาจากรูป ถ้าวัตถุรูปทรงสี่เหลี่ยม
ซึ่งมีพื้นที่หน้าตัด A จมอยูใ่ นของเหลวที่
มีความหนาแน่น ρ ทีผ่ ิวด้านข้างมีแรง
h1 ดันจากของเหลวกระทําในแนวราบ ซึ่ง
h2
จะหักล้างกันหมด ส่วนผิวด้านบนของ
วัตถุจะได้รับแรงดัน F1 ซึ่งเป็นแรงดันลง
มีค่าเท่ากับ
F1 = P1 A = ( Pa + ρ gh1 ) A

และ แรงดันขึ้น คือ F2 = P2 A = ( Pa + ρ gh2 ) A


ดร.ทักษกมนต วิจักษณธนาวุฒิ ฟสิกสประยุกต มทร. 18
อีสาน
ดังนั้น
แรงลัพธ์ = F2 − F1 = ρ g ( h2 − h1 ) A
= ρ ghA

= น้ําหนักของของเหลวที่มีปริมาตรเท่าวัตถุ
แรงลัพธ์ = น้ําหนักของของเหลวที่ถูกแทนที่ (9)

ดร.ทักษกมนต วิจักษณธนาวุฒิ ฟสิกสประยุกต มทร. 19


อีสาน
ตัวอย่าง 6 อลูมิเนียมชิ้นหนึ่งหนัก 24 N ในอากาศ และ 15.1 N เมื่อจม
มิดในน้ํา จงหาปริมาตรของอลูมิเนียมชิ้นนี้ และ ความหนาแน่นของ
อลูมิเนียม
วิธีทํา น้ําหนักที่หายไปในน้ํา เท่ากับ 24-15.1 = 8.9 N ซึ่งเป็นน้ําหนัก
ของน้ําที่ถูกแทนที่
เนื่องจากน้ําปริมาตร 1 m3 หนัก 1000x9.8 = 9800 N
ดังนั้นน้ํา 8.9 N จะมีปริมาตร V = 8.9
9800
V = 9.1× 10−4 m3
ความหนาแน่นของอลูมิเนียม คือ
m 24 / 9.8
ρ = = ดร.ทักษกมนต วิ−จัก4ษณธ=นาวุฒ2.69 × 10 3
kg/m 3
ตอบ
V 9.1×10 อีสาน ิ ฟสิกสประยุกต มทร. 20
ตัวอย่าง 7 แท่งอลูมิเนียมหนัก 63 N เมื่อชั่งในอากาศ และหนัก 45 N
เมื่อจมอยูใ่ นของเหลวชนิดหนึ่ง ถ้าความหนาแน่นของอลูมิเนียมเท่ากับ
2.7 × 103 kg/m3 จงหาความหนาแน่นของของเหลวนั้น

วิธีทํา ปริมาตรของอลูมิเนียม คือ


63 / 9.8
m −3
V= = = 2.38 × 10 m 3

ρ 2.7 ×10 3

แรงลอยตัวของแท่งอลูมิเนียม = น้ําหนักของของเหลวที่ถูกแทนที่
63 − 45 = ρl × 2.38 ×10−3 × 9.8
63 − 45
ρl = −3
= 7.7 ×10 kg/m
2 3
ตอบ
2.38 × 10 × 9.8
ดร.ทักษกมนต วิจักษณธนาวุฒิ ฟสิกสประยุกต มทร. 21
อีสาน
ตัวอย่าง 8 อยากทราบว่าภูเขาน้ําแข็งลอยโผล่เหนือผิวน้ําทะเลร้อยละเท่า
ไรของปริมาตรทั้งก้อน เมื่อกําหนดให้ความหนาแน่นของน้ําแข็ง และ
น้ําทะเลเท่ากับ 9.2 ×102 kg/m3 และ 1.03 ×103 kg/m3 ตามลําดับ
วิธีทํา น้ําหนักของน้ําแข็ง Wi = mi g = ρi Vi g
น้ําหนักของน้ําทะเลปริมาตร Vs ทีถ่ ูกแทนที่ คือ แรงลอยตัว B = ρ s Vs g
เนื่องจาก Wi =B ดังนั้น ρ s Vs g = ρi Vi g
Vs ρi 9.2 ×10 2
จะได้ = = = 0.89
Vi ρ s 1.03 ×10 3

นั่นคือ ปริมาตรของน้ําที่ถูกแทนที่ คือ ปริมาตรของน้ําแข็งส่วนที่จม


เท่ากับ 89% หรือโผล่พ้นน้ํา 11% ตอบ
ดร.ทักษกมนต วิจักษณธนาวุฒิ ฟสิกสประยุกต มทร.
อีสาน
22
ความตึงผิว (Surface Tension)
คือ ความพยายามในการยึดผิวของของเหลว ซึ่งเป็นอัตราส่วนของ
แรงต่อความยาวของผิวสัมผัส และมีหน่วยเป็น N/m

(10)

ดร.ทักษกมนต วิจักษณธนาวุฒิ ฟสิกสประยุกต มทร. 23


อีสาน
รูปแสดงปรากฏการณ์ของความตึงผิวที่พบเห็นในชีวิตประจําวัน
ดร.ทักษกมนต วิจักษณธนาวุฒิ ฟสิกสประยุกต มทร. 24
อีสาน
รูปตัวจิงโจ้น้ํา วิ่งบนผิวน้ํา

ดร.ทักษกมนต วิจักษณธนาวุฒิ ฟสิกสประยุกต มทร. 25


อีสาน
ในของไหลทุกชนิดจะมีคุณสมบัติของแรงยึดเหนี่ยวระหว่างโมเลกุล
2 ชนิด คือ

1. แรงยึดติด (Cohesive Forces) คือแรงยึดเหนี่ยวระหว่างโมเลกุล


ของของเหลวชนิดเดียวกันแรงนี้สามารถรับความเค้นดึง(tensile stress)
ได้เล็กน้อย

2. แรงเกาะติด (Adhesive force) คือแรงยึดเหนี่ยวระหว่างโมเลกุล


ของของเหลวกับสารชนิดอื่น เช่น น้ํากับแก้ว ปรอทกับแก้ว เป็นต้น
ดร.ทักษกมนต วิจักษณธนาวุฒิ ฟสิกสประยุกต มทร. 26
อีสาน
คาพิลลาริตี้ (capillarity)
คือปรากฏการณ์ที่ของไหลที่สัมผัสกับวัตถุแล้วมีลักษณะสูงขึ้น
หรือต่ําลง เนื่องมาจากอิทธิพลของแรงยึดติดและแรงเกาะติด เช่น
บริเวณที่น้ําสัมผัสกับผิวแก้ว จะมีระดับน้ําสูงขึ้นเล็กน้อยเพราะ
แรงเกาะติดระหว่างโมเลกุลของน้ํากับโมเลกุลของแก้วมีมากกว่าแรงยึดติด
ระหว่างโมเลกุลของน้ํา แต่ถ้าเป็นบริเวณที่ปรอทสัมผัสกับผิวแก้ว
ระดับปรอทจะต่ําลงเล็กน้อย เนื่องจากยึดติดระหว่างโมเลกุลของปรอท
มีมากกว่าแรงเกาะติดระหว่างโมเลกุลของปรอทกับโมเลกุลของแก้ว

ดร.ทักษกมนต วิจักษณธนาวุฒิ ฟสิกสประยุกต มทร. 27


อีสาน
รูปแสดง ผิวสัมผัดร.ทัสกระหว่ างน้ํากับแก้ว และปรอทกับแก้ว
ษกมนต วิจักษณธนาวุฒิ ฟสิกสประยุกต มทร. 28
อีสาน
จากรูป (a) เมื่อนําหลอดแก้วขนาดเล็กที่มีรัศมี r
จุ่มลงในของไหลที่มีแรงเกาะติดมากกว่าแรงยึดติด
จะเห็นของไหลสูงขึ้นเป็นระยะ h โดยของเหลวมี
แรงตึงผิว F ทํามุม θ กับแนวดิ่ง
จากความตึงผิว คือ แรงต่อความยาวของผิวสัมผัส
จะได้ γ=
F
2π r
F = 2π rγ
ดังนั้น แรงดึงขึ้นทั้งหมด คือ F cos θ = 2π rγ cos θ
และแรงดึงลง คือ น้ําหนักของของเหลวในหลอดแก้ว
W = mg = ρVg = ρπ r hg 2
ดร.ทักษกมนต วิจักษณธนาวุฒิ ฟสิกสประยุกต มทร. 29
อีสาน
จาก แรงดึงขึ้น = แรงดึงลง

จะได้ 2π rγ cos θ = ρπ r hg 2

2γ cos θ
h= (11)
ρ gr
โดยเราเรียกมุม θ นี้ว่า มุมสัมผัส (contact angle)

แก้ว พาราฟิน
รูปแสดงมุมสัมผัสระหว่างของเหลวและของแข็งชนิดต่างๆ

แก้ว แก้วไพเรกซ์ ดร.ทักษกมนต วิจักษณธนาวุฒิ ฟสิกสประยุกต มทร.


อีสาน
30
ตัวอย่าง 9 จุ่มลวดวงแหวนซึ่งมีเส้นผ่าศูนย์กลาง 75 mm ลงในน้ํามันดิบ
ปรากฏว่าต้องออกแรง 8.62 ×10 N จึงจะดึงให้หลุดพ้นจากน้ํามันดิบนี้
−3

ได้ จงหาความตึงผิวของน้ํามันดิบนี้
วิธีทํา เส้นสัมผัสของโจทย์ข้อนี้ คือ เส้นรอบวงของลวดวงแหวน จะได้
⎛ 75 × 10−3 ⎞
L = 2π ⎜ ⎟ = 0.236 m
⎝ 2 ⎠
F
จาก γ=
2L
−3
8.62 × 10
=
2 × 0.236
= 0.0183
ดร.ทักษกมนต วิจักN/m ตอบ
ษณธนาวุฒิ ฟสิกสประยุกต มทร.
อีสาน
31
ตัวอย่าง 10 เมื่อเอาหลอดคาปิลลารีจุ่มลงในของเหลวชนิดหนึ่ง ปรากฏว่า
ระดับของเหลวนั้นสูงขึ้น 5 mm และผิวของเหลวส่วนที่ติดกับผนังหลอด
แก้วทํามุม 30 องศา ถ้าหลอดแก้วมีเส้นผ่าศูนย์กลางเท่ากับ 1 mm และ
ของเหลวนี้มีความหนาแน่นเท่ากับ 1.3 × 10 3
kg/m 3
จงหาความตึงผิว
ของของเหลวนี้
2γ cos θ
วิธีทํา จากปรากฏการณ์คาปิลลาริตี้ความสูง คือ h =
ρ gr
จะได้ ความตึงผิวของของเหลว คือ
ρ grh
γ=
2 cos θ
1.3 ×103 × 9.8 × 0.5 ×10−3 × 5 ×10−3
γ=
2 cos 30°
γ = 0.018ดร.ทัN/m ตอบ
กษกมนต วิจักษณธนาวุฒิ ฟสิกสประยุกต มทร.
อีสาน
32
8.2 พลศาสตร์ของของไหล (Fluid Dynamics)
ความหนืด (Viscosity)
เป็นความเสียดทานภายในของของไหล ซึ่งเป็นความเสียดทานระหว่าง
โมเลกุลของของไหลเวลาไหล หรือ ระหว่างวัตถุอื่นกับของไหลขณะ
เคลื่อนที่ไปในของไหลนั้น
c c′ d d′ จากรู ป ของไหลถู ก แรงกระทํ า ที ช
่ น
้ ั บนสุ ด และ
F
มีทิศไปทางขวามือ ของไหลชั้นบนจะพยายาม
Liquid Layer

L ไหลตามแรงที่กระทํา แต่ถูกแรงเสียดทานซึ่ง
a b
มีทิศตรงข้ามต้านไว้ ทําให้ของไหลชั้นถัดไป
F
ไหลตาม แต่มีความเร็วลดลง
ดร.ทักษกมนต วิจักษณธนาวุฒิ ฟสิกสประยุกต มทร. 33
อีสาน
c c′ d d′ F
จากรูปพิจารณาของไหลบริเวณ abcd เมื่อถูก

Liquid Layer
L แรง F กระทํา จะเปลี่ยนไปเป็น abd’c’
a b
จะได้
F
อัตราเฉลี่ยของแรงกระทําต่อพื้นที่เท่ากับ F/A
และ อัตราเฉลี่ยของการเปลี่ยนแปลงความเร็วต่อความหนาจะเท่ากับ v/L
ซึ่งอัตราทั้งสองนี้จะแปรผันตรงต่อกัน ดังนั้น
F v

A L
F v

A L
เมื่อ η คือ ค่าสัมประสิทธิ์ความหนืด หรือ ความหนืด
ดร.ทักษกมนต วิจักษณธนาวุฒิ ฟสิกสประยุกต มทร.
อีสาน
34
FL
ดังนั้นจะได้ η= (12)
vA
vA
หรือ F =η
L

หน่วยของ η คือ N/m 2 หรือ Poise

โดยกําหนดให้ 1 Poise = 1 N/m 2

ดร.ทักษกมนต วิจักษณธนาวุฒิ ฟสิกสประยุกต มทร. 35


อีสาน
จากรูปคือ ชุดการทดลองของสโตค (Stokes)
Ff เพื่อศึกษาเรื่องความหนืดของของไหล
B
จากการทดลองสามารถสรุปความสัมพันธ์ ที่
mg
เรียกว่า กฎของสโตค (Stokes’s Law) ได้ดังนี้
รูปแสดงวัตถุทรงกลมกําลัง Ff = 6πη rv (13)
เคลื่อนในของไหล

เมื่อ Ff คือ แรงเสียดทานภายในของเหลว


η คือ ความหนืด
r คือ รัศมีของทรงกลม
v คือ ความเร็วเฉลี่ยที่วัตถุทรงกลมเคลื่อนที่ไปในของเหลวนั้น
ดร.ทักษกมนต วิจักษณธนาวุฒิ ฟสิกสประยุกต มทร. 36
อีสาน
จากสมการที่ (13) สามารถหาค่าความเร็ว v ได้โดยเริ่มจาก
4 3
น้ําหนักของทรงกลม คือ W = mg = ρVg = π r ρ g
4
3
และ แรงลอยตัว คือ B = π r 3 ρ0 g
3
เมื่อ ρ คือ ความหนาแน่นของทรงกลม
ρ0 คือ ความหนาแน่นของของไหล
ถ้าวัตถุทรงกลมเคลื่อนที่ลง จากกฎข้อทีส่ องของนิวตัน จะได้
mg − B − Ff = ma (14)
B Ff ⎛ B + Ff ⎞
a=g− − = g −⎜ ⎟
m m ⎝ m ⎠
ดร.ทักษกมนต วิจักษณธนาวุฒิ ฟสิกสประยุกต มทร.
อีสาน
37
ถ้ากําหนดให้แรงเสียดทานภายในของเหลว Ff = 0 และเริ่มปล่อยวัตถุ
ทรงกลมในของเหลวที่ตําแหน่งจุดหยุดนิ่ง v=0 วัตถุทรงกลมตกลงมา
ด้วยความเร่ง a0 ดังนั้น
B
a0 = g −
m
4 3
π r ρ0 g
=g− 3
4 3
πr ρ
3
ρ0 g
=g−
ρ

=g
( ρ − ρ0 )
a (15)
ρ
ดร.ทัก0ษกมนต วิจักษณธนาวุฒิ ฟสิกสประยุกต มทร. 38
อีสาน
เมื่อทรงกลมเคลื่อนที่ไปในของไหลด้วยความเร่ง a0 ความเร็วจะเพิ่มขึ้น
เรื่อยๆเมื่อความเร็วเพิ่มขึ้น แสดงว่าแรงเสียดทานภายในของของเหลวก็
จะเพิ่มขึ้นด้วยเมือ่ ความเร็วเพิ่มขึ้นจนถึงค่าหนึ่งที่พอเหมาะหรือสมดุล
ความเร็วนั้นจะคงที่ ค่าความเร่งจะเป็นศูนย์ ดังนั้น สมการที่ (14) จะเป็น
mg − B − Ff = 0
4 3 4 3
π r ρ g − π r ρ0 g − 6πη rv = 0
3 3
4 3 4 3 4 3
6πη rv = π r ρ g − π r ρ0 g = π r g ( ρ − ρ0 )
3 3 3
4 3
π r g ( ρ − ρ0 ) 2
v= 3 = r 2
g ( ρ − ρ ) (16)
6πη 9η
ดร.ทักษกมนต วิจักษณธนาวุฒิ ฟสิกสประยุกต มทร. 0
r อีสาน
39
ตัวอย่าง 11 จงหาความเร็วปลายของลูกปืนทรงกลมรัศมี 2 mm ใน
กลีเซอรีน ถ้ากําหนดให้ความหนาแน่นของเหล็กเท่ากับ 7.9 ×103 kg/m3
และของกลีเซอรีนเท่ากับ 1.3 ×103 kg/m3 ส่วนความหนืดของกลีเซอรีน
เท่ากับ 0.833 N ⋅ s/m 2
2 2
วิธีทํา จากสมการที่ (16) v = r g ( ρ − ρ0 )

เมื่อแทนค่าสิ่งที่โจทย์ให้มา จะได้
2
v= × ( 2 ×10 ) × 9.8 × ( 7.9 − 1.3) ×103
−3 2

9 ( 0.833)
v = 0.069 m/s

ดังนั้นความเร็วปลายของลูกปืนขณะตกลงมาคือ 0.069 m/s


ดร.ทักษกมนต วิจักษณธนาวุฒิ ฟสิกสประยุกต มทร.
ตอบ
40
อีสาน
สมการต่อเนื่อง (The Equation of Continuity)
พฤติกรรมการไหลของของไหลที่เป็นระเบียบเรียบร้อย เราเรียกว่า
การไหลสม่ําเสมอ (Steady Flow) ถ้าการไหลของของไหลไม่เป็นระเบียบ
หรือไม่สม่ําเสมอ จะเรียกว่า การไหลแบบปั่นป่วน (Non Steady Flow)
การไหลแบบสม่ําเสมอ จะหมายถึงการไหลแบบเส้นกระแส ณ จุด
ใดจุดหนึ่งในบริเวณทีม่ ีการไหลนั้น ของไหลที่จุดนั้นจะมีความเร็วเท่ากับ v
และเมื่อของไหลจํานวนนี้ผ่านไปแล้ว ของไหลจํานวนใหม่ที่ผ่านมาแทนที่
ก็จะมีความเร็วเท่ากับ v เช่นเดิม

ดร.ทักษกมนต วิจักษณธนาวุฒิ ฟสิกสประยุกต มทร. 41


อีสาน
การไหลของของไหลแต่ละส่วนนั้น สามารถมีความเร็วแตกต่าง
กันไปตามจุดต่างๆ แต่จํานวนมวลของของไหลที่ผ่านไป ณ จุดใดจุดหนึ่ง
จะต้องเท่ากันกับจุดอื่นๆ ในช่วงเวลาเดียวกันเสมอ กล่าวคือ อัตราการ
เปลี่ยนมวลในหนึ่งหน่วยเวลา ซึ่งเรียกว่า มวลฟลักซ์ (Mass Flux) คงที่
dm
หรือ ก็คือ = constant (17)
dt
พื้นที่แรเงาแสดงปริมาณการไหล จากรูปพิจารณาสองบริเวณในการไหล
ของของไหลมวลของของไหลในหลอด
Q
กระแสจะไม่สูญเสียไปนอกบริเวณเลย
P ถ้าที่จดุ P ของไหลมีพื้นที่หน้าตัด A1
และมีความเร็วเป็น v1 ทีจ่ ุด Q ของ
ไหลมีพื้นที่หน้าตัด A2 และความเร็ว v2
ดร.ทักษกมนต วิจักษณธนาวุฒิ ฟสิกสประยุกต มทร.
อีสาน
42
ดังนั้นในช่วงระยะเวลา dt ทีจ่ ุด P จะมีมวลไหลผ่าน
⎛ dm ⎞
⎜ ⎟ = v1 ρ1 A1 (18)
⎝ dt ⎠ P
⎛ dm ⎞
และที่จุด Q ⎜ ⎟ = v2 ρ 2 A2 (19)
⎝ dt ⎠ Q
เนื่องจากในหลอดกระแสของการไหลเดียวกันมวลฟลักซ์จะต้องคงที่เสมอ
ดังนั้น
v1 ρ1 A1 = v2 ρ 2 A2 = constant (20)
ดร.ทักษกมนต วิจักษณธนาวุฒิ ฟสิกสประยุกต มทร. 43
อีสาน
สําหรับของไหลชนิดเดียวกัน ความหนาแน่นจะไม่เปลี่ยนแปลง
จากสมการ (20) จะได้

v1 A1 = v2 A 2 =constant (21)

ค่าของ vA นี้ อาจเรียกว่าเป็นอัตราปริมาตรของของไหล


(Volume Flux) หรือ อัตราการไหล (Volume Flow Rates) และ
เรียกสมการ (21) ว่า สมการต่อเนื่อง (Equation of Continuity)

ดร.ทักษกมนต วิจักษณธนาวุฒิ ฟสิกสประยุกต มทร. 44


อีสาน
ตัวอย่าง 12 น้ําในท่อตรงที่มีพื้นที่ภาคตัดขวาง 1.0 ×10−3 m 2 มีความเร็ว
1.2 m/s เมื่อไหลไปถึงท่อทีม่ ีพื้นที่ภาคตัดขวาง 2.0 ×10−4 m 2 จะมี
ความเร็วเท่าใด
วิธีทํา จากสมการต่อเนื่อง v1 A1 = v2 A2
v1 A2
=
v2 A1
A1
v2 = v1
A2
แทนค่าจากสิ่งที่โจทย์กําหนด จะได้
−3
1.0 ×10
v2 = 1.2 × −4
= 6.0 m/s ตอบ
ดร.ทักษก×
2.0 มนต 10
วิจักษณธนาวุฒิ ฟสิกสประยุกต มทร. 45
อีสาน
สมการเบอร์นูลี (Bernoulli’s Equation)

จากรูป พิจารณาของไหลที่ไหลในท่ออย่างสม่ําเสมอ ให้พื้นที่ภาคตัดขวาง


ของปลายท่อด้านซ้ายซึง่ อยู่สูงจากระดับอ้างอิง h1 คือ A1 ท่อนี้ค่อยๆ
แคบลงและสูงขึ้นจนอยูท่ ี่ความสูง h2 จากระดับอ้างอิง และมีพื้นที่หน้าตัด
เป็น A2 ดร.ทักษกมนต วิจักษณธนาวุฒิ ฟสิกสประยุกต มทร.
อีสาน
46
พิจารณาพื้นที่สีเขียวอ่อน และ
เรียกของไหลส่วนนี้ว่า “ระบบ
(System)” ทุกๆจุดในส่วนที่ท่อ
กว้างจะมีความดันเป็น P1 และ
ความเร็ว v1 ส่วนในท่อแคบจะมี
ความดันเป็น P2 และความเร็ว v2
จากรูป แรงที่กระทําต่อระบบ คือ P1 A1 และ P2 A2 ซึ่งกระทําทางซ้าย และ
ขวา ตามลําดับ กับแรงเนื่องจากแรงโน้มถ่วงของโลก ปริมาณของของ
ไหลจากจุดที่ 1 จะเท่ากันกับจุดที่ 2
ดร.ทักษกมนต วิจักษณธนาวุฒิ ฟสิกสประยุกต มทร. 47
อีสาน
เราสามารถหางานที่แรงลัพธ์กระทําต่อระบบได้ดังนี้ คือ
1. งานเนื่องจากแรงดัน P1 A1 คือ P1 A1Δx1
2. งานเนื่องจากแรงดัน P2 A2 คือ − P2 A2 Δx2 (เครื่องหมายลบหมายถึง
งานเนื่องจากระบบ)
3. งานเนื่องจากแรงโน้มถ่วงของโลก ซึ่งยกของไหลที่ระดับความสูง h1
ไปยังความสูง h2 คือ −mg ( h2 − h1 ) เมื่อ m เป็นมวลของของไหล
ส่วนสีเขียวอ่อน (เครื่องหมายลบแสดงถึงงานที่ระบบกระทําเพื่อต้าน
แรงโน้มถ่วง)
ดังนั้นงานลัพธ์ W ที่เกิดจาแรงลัพธ์กระทําต่อระบบจะหาได้จาก
ผลบวกของแต่ละเทอมข้างบน คือ
W = P1 A1Δx1 − P2 A2 Δx2 − mg ( h2 − h1 )
ดร.ทักษกมนต วิจักษณธนาวุฒิ ฟสิกสประยุกต มทร.
อีสาน
48
เนื่องจาก A1Δx1 เท่ากับ A2 Δx2 และเป็นปริมาตรของของไหล ส่วนที่
พิจารณาซึ่งมีค่าเท่ากับ m / ρ เมื่อ ρ เป็นความหนาแน่นของของไหล
ซึ่งคงที่ ดังนั้น
m
W = ( P1 − P2 ) − mg ( h2 − h1 )
ρ
เนื่องจากของไหลเคลื่อนที่จากตําแหน่งที่ 1 ซึ่งมีความเร็ว v1 ไปยังตํา
แหน่งที่ 2 ซึง่ มีความเร็ว v2 การเปลี่ยนแปลงพลังงานจลน์ของของไหล
ก็คือ งานที่ใช้ในการเคลื่อนที่ ดังนั้น
1 2 1 2
W = ( Ek )2 − ( Ek )1 = mv2 − mv1
2 2
ดร.ทักษกมนต วิจักษณธนาวุฒิ ฟสิกสประยุกต มทร. 49
อีสาน
เพราะฉะนั้น
1 2 1 2 m
mv2 − mv1 = ( P1 − P2 ) − mg ( h2 − h1 )
2 2 ρ
จัดรูปสมการใหม่ จะได้
1 2 1 2
P1 + ρ v1 + ρ gh1 = P2 + ρ v2 + ρ gh2
2 2
1 2
หรือ P + ρ v + ρ gh = constant (22)
2
สมการที่ (22) เรียกว่า สมการเบอร์นูลี ใช้ได้กับของไหลที่ไม่หนืด
อัดไม่ได้ และไหลสม่ําเสมอ
ดร.ทักษกมนต วิจักษณธนาวุฒิ ฟสิกสประยุกต มทร. 50
อีสาน
ตัวอย่าง 13 น้ําไหลในท่อด้วยอัตราการไหลเท่ากับ 10 ลูกบาศก์เมตรต่อน
ท่อนี้ผา่ นจุดสองจุดที่มีระดับต่างกัน 0.6 m ที่ระดับสูงท่อมีเส้นผ่าศูนย์
กลาง 0.3 m มีความดันน้ําเท่ากับ 10 N/m ส่วนที่ระดับต่ําท่อมีเส้นผ่า
5 2

ศูนย์กลางเท่ากับ 0.15 m ที่จดุ ระดับต่ํานี้จะมีความดันเท่าไร


วิธีทํา จากสมการต่อเนื่อง v1 A1 = v2 A2
เมื่ออัตราการไหลของน้ําเท่ากับ 10 ลูกบาศก์เมตรต่อนาที ซึง่ เท่ากับ
10 m3
= 0.167 m3 /s
60 s
ดังนั้น v1 A1 = v2 A2 = 0.167
0.167 0.167
v1 = = 2
= 9.05 m/s
A1
ดร.ทักษกมนต วิจักπ
⎛ 0.15 ⎞
⎜ ⎟
ษณธนาวุฒิ ฟสิกสประยุกต มทร. 51
⎝ 2 ⎠
อีสาน
0.167
และ v2 =
A2
0.167
= 2
= 2.26 m/s
⎛ 0.30 ⎞
π⎜ ⎟
⎝ 2 ⎠
สําหรับ h2 − h1 = 0.6 m , ρ = 10 kg/m
3 3
และ g = 9.8 m/s 2

จากสมการเบอร์นูลี
1 2 1 2
P1 + ρ v1 + ρ gh1 = P2 + ρ v2 + ρ gh2
2 2
แทนค่า หา P1 จะได้
1 3
P1 = 10 + (10 )( 2.262 − 9.052 ) + (103 × 9.8 × 0.6 ) = 6.79 × 104 N/m 2
5

2 ดร.ทักษกมนต วิจักษณธนาวุฒิ ฟสิกสประยุกต มทร. 52


อีสาน

You might also like