You are on page 1of 4

AEC Blueprint 2015 และ AEC Blueprint 2025

เมื่อปี พ.ศ. 2550 หรือปี ค.ศ. 2007 ประเทศสมาชิกอาเซียน ทั้ง 10 ประเทศ (บรูไน กัมพูชา
อินโดนีเซีย สปป.ลาว มาเลเซีย เมียนมา ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ เวียดนาม และไทย) ได้ร่วมกันจัดทาแผนการจัดตั้ง
ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน 2015 หรือ ASEAN Economic Community Blueprint (AEC Blueprint 2015)
เพื่อใช้เป็นกรอบในการดาเนินการด้านเศรษฐกิจเพื่อเข้าสู่การเป็นประชาคมอาเซียน ในปี พ.ศ. 2558 หรือ ปี
ค.ศ. 2015 ปัจจุบัน ประเทศสมาชิกอาเซียนได้เข้าสู่การเป็นประชาคมอาเซียน (ASEAN Community) อย่างเป็น
ทางการเรียบร้อยแล้ว ตั้งแต่วันที่ 31 ธันวาคม 2558 เป็นต้นมา

ทั้งนี้ AEC Blueprint 2015 ประกอบด้วย 4 วัตถุประสงค์หลัก ได้แก่ 1. การเป็นตลาดและ


ฐานการผลิตเดียวกัน (Single Market and Production Base) 2. การเป็นภูมิภาคที่มีขีดความสามารถในการ
แข่งขันสูง (Competitive Economic Region) 3. การเป็นภูมิภาคที่มีพัฒนาการทางเศรษฐกิจที่เท่าเทียมกัน
(Equitable Economic Development) และ 4. การบูรณาการเข้ากับเศรษฐกิจโลก (Integration into the
Global Economy)

เพื่อให้เกิดความต่อเนื่องในการดาเนินการ ในการประชุมสุดอาเซียน (ASEAN Summit) ครั้งที่ 27


เมื่อวันที่ 21 – 22 พฤศจิกายน 2558 ณ กรุงกัวลาลัมเปอร์ ประเทศมาเลเซีย ผู้นาอาเซียนทั้ง 10 ประเทศ ได้รับรอง
แผนงานประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ค.ศ. 2025 (ASEAN Economic Community Blueprint 2025: AEC
Blueprint 2025) เพื่อกาหนดทิศทางการรวมตัวทางเศรษฐกิจของอาเซียน ในระยะ 10 ปีข้างหน้า (พ.ศ. 2559 -
2568)

สาหรับ AEC Blueprint 2025 ประกอบด้วย 5 เป้าประสงค์ ได้แก่ 1. การเป็นเศรษฐกิจที่มี


การรวมตัวและเชื่อมโยงในระดับสูง (A Highly Integrated and Cohesive Economy) 2. การมีความสามารถ
ในการแข่งขัน มีนวัตกรรม และมีพลวัต (A Competitive, Innovative, and Dynamic ASEAN) 3. ส่งเสริม
การเชื่อมโยงด้านเศรษฐกิจและการรวมตัวรายสาขา (Enhancing Economic Connectivity and Sectoral
Integration) 4. ความสามารถในการปรับตัว ครอบคลุมทุกภาคส่วน และมีประชาชนเป็นศูนย์กลาง (Resilient,
Inclusive and People-Oriented, People-Centered ASEAN) และ 5. การเป็นส่วนสาคัญของประชาคมโลก
(Global ASEAN)

ภายใต้ AEC Blueprint 2015 และ AEC Blueprint 2025 มีแผนงานและมาตรการที่มี


ความคล้ายคลึงกันมาก (หากแต่การแบ่งจัดกลุ่มที่แตกต่างกัน) กล่าวคือ AEC Blueprint 2025 เป็นการดาเนิน
มาตรการต่อเนื่องและต่อยอดจาก AEC Blueprint 2015 จึงทาให้มาตรการส่วนใหญ่จาก AEC Blueprint 2015
ได้ยกยอดมาดาเนินการต่อใน AEC Blueprint 2025 เพื่อให้มีความชัดเจนและเป็นรูปธรรมมากขึ้น ทั้งนี้ มาตรการ
ที่เพิ่มเติมส่วนใหญ่เป็นมาตรการที่อยู่ในความสนใจของเวทีโลก อาทิ มาตรการการส่งเสริมการมีส่วนร่วมในห่วงโซ่
อุปทานของโลก มาตรการการขับเคลื่อนการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจโดยการเพิ่มผลิตภาพการผลิต การนานวัตกรรม
การวิจัยและพัฒนา และการนาเทคโนโลยีมาใช้ในเชิงพาณิชย์ มาตรการธรรมาภิบาล มาตรการการพัฒนาเศรษฐกิจ
อย่างยั่งยืน มาตรการเสริมสร้างความเข้มแข็งแก่บทบาทของภาคเอกชนในอาเซียน มาตรากรความเป็นหุ้นส่วน
ระหว่างภาครัฐกับภาคเอกชน เป็นต้น โดยมาตรการต่าง ๆ ของ AEC Blueprint 2015 ที่ได้ยกยอดมาใน AEC
Blueprint 2025 และมาตรการใหม่ที่ได้เพิ่มเติมขึ้น ปรากฏตามภาพ
หากจะอธิบายให้เห็นภาพได้ง่ายยิ่งขึ้น AEC Blueprint 2015 เปรียบเหมือนกับประเทศสมาชิก
อาเซียนทั้ง 10 ประเทศ ร่วมกันเขียนแบบสาหรับสร้างบ้านที่ชื่อว่าประชาคมอาเซียน โดยเป็นการคาดว่าโครงสร้าง
ของบ้านจาเป็นต้องมีอะไรบ้าง เช่น เสา หลังคา ประตู หน้าต่าง เป็นต้น และหลังจากบ้านหลังดังกล่าวได้สร้างเสร็จ
เรียบร้อย และประเทศสมาชิกได้ย้ายเข้ามาอยู่กันครบทุกประเทศ ในวันที่ 31 ธันวาคม 2558 (บางประเทศได้ทยอย
ย้ายกันเข้ามาอยู่ก่อน ตั้งแต่ 2553 ได้แก่ ประเทศบรูไน สิงคโปร์ อินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ และไทย) ประเทศ
สมาชิกอาเซียนจึงได้เขียนแบบตกแต่งภายในตัวบ้านขึ้นมาอีกหนึ่งฉบับ นั่นคือ AEC Blueprint 2025 เพื่อให้บ้าน
สามารถอยู่อาศัยและใช้งานเฟอร์นิเจอร์ต่าง ๆ ภายในบ้านได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ

การจัดทา AEC Blueprint 2015 และ AEC Blueprint 2025 เป็นการวางแผนการดาเนินของ


ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ซี่ง AEC Blueprint 2025 ถือเป็นการต่อยอดการดาเนินจาก AEC Blueprint 2015
และเพิ่มเติมมาตรการใหม่ ๆ เพื่อให้ภูมิภาคอาเซียนเป็นภูมิภาคที่มีความเข้มแข็ง มีประสิทธิภาพ มีความสามารถ
แข่งขัน มีพลวัต มีความก้าวหน้าทางเศรษฐกิจ และมีบทบาทที่สาคัญในเวทีเศรษฐกิจโลก ทั้งนี้ หากต้องการทราบ
รายละเอียดเกี่ยวกับ AEC Blueprint 2025 สามารถดาวน์โหลดเอกสารจากกระทรวงการต่างประเทศ ได้ที่
http://www.mfa.go.th/asean/contents/files/asean-media-center-20160203-160850-836205.pdf
นายเดชชัย กุลวงศ์i
เศรษฐกรชานาญการ
สานักนโยบายเศรษฐกิจระหว่างประเทศ

i
ผู้เขียน นายเดชชัย กุลวงศ์ เศรษฐกรชานาญการ ส่วนความร่วมมืออาเซียนและอนุภูมภิ าค สานักนโยบายเศรษฐกิจระหว่างประเทศ
ขอขอบคุณ นางณัฐยา อัชฌากรลักษณ์ ผู้อานวยการส่วนความร่วมมืออาเซียนและอนุภูมภิ าค สาหรับคาแนะนา

You might also like