You are on page 1of 6

MATHEMATICS

MATHEMATICS: CHAPTER 2 LOGIC

CHAPTER 2 LOGIC
CHAPTER OUTLINE
SECTION A ประพจน์ทสี่ มมูลกัน/ประพจน์ที่นิเสธกัน
A/1 ความหมายของสมมูลและนิเสธ
A/2 วิธีตรวจสอบสมมูลและนิเสธ
SECTION B สัจนิรันดร์
B/1 ความหมายของสัจนิรันดร์
B/2 วิธีตรวจสอบสัจนิรันดร์
SECTION C แบบฝึกหัด [ประพจน์ที่สมมูลกัน/ประพจน์ที่นิเสธกัน]
SECTION D แบบฝึกหัด [สัจนิรันดร์]

By AJ. FLUKE (อ.ฟลุ้ค) 1


MATHEMATICS: CHAPTER 2 LOGIC

SECTION A ประพจน์ที่สมมูลกัน/ประพจน์ที่นิเสธกัน
A/1 ความหมายของสมมูลและนิเสธ
สมมูล คือ มีค่าความจริง เหมือนกัน ทุกกรณี
นิเสธ คือ มีค่าความจริง ตรงข้ามกัน ทุกกรณี

A/2 วิธีตรวจสอบสมมูลและนิเสธ
1. สร้างตารางค่าความจริง (ไม่แนะนำให้ใช้วิธีนี้ในการทำข้อสอบ PAT 1 เพราะ “ช้า”)

𝑝 𝒒 𝒑→𝒒 ~𝒑 ∨ 𝒒
T T T T
T F F F
F T T T
F F T T

2. ใช้กฎพีชคณิต (แนะนำให้ใช้วิธีนี้ในการทำข้อสอบ PAT 1 เพราะ “เร็ว”)


1.) 𝑝∧𝑞 ≡𝑞∧𝑝 2.) (𝑝 ∧ 𝑞) ∧ 𝑟 ≡ 𝑝 ∧ (𝑞 ∧ 𝑟)

𝑝∨𝑞 ≡𝑞∨𝑝 (𝑝 ∨ 𝑞) ∨ 𝑟 ≡ 𝑝 ∨ (𝑞 ∨ 𝑟)
𝑝↔𝑞≡𝑞↔𝑝
3.) ∽ (∽ 𝑝) ≡ 𝑝 4.) 𝑝 ∧ (𝑞 ∨ 𝑟) ≡ (𝑝 ∧ 𝑞) ∨ (𝑝 ∧ 𝑟)
𝑝 ∨ (𝑞 ∧ 𝑟) ≡ (𝑝 ∨ 𝑞) ∧ (𝑝 ∨ 𝑟)
5.) ∽ (𝑝 ∧ 𝑞) ≡∽ 𝑝 ∨∽ 𝑞 6.) 𝑝 → 𝑞 ≡ ~𝑝 ∨ 𝑞 ≡ ~𝑞 → ~𝑝

∽ (𝑝 ∨ 𝑞) ≡∽ 𝑝 ∧∽ 𝑞
7.) 𝑝 ↔ 𝑞 ≡ (𝑝 → 𝑞) ∧ (𝑞 → 𝑝) ≡ ~𝑝 ↔ ~𝑞

By AJ. FLUKE (อ.ฟลุ้ค) 2


MATHEMATICS: CHAPTER 2 LOGIC

SECTION B สัจนิรันดร์
B/1 ความหมายของสัจนิรันดร์
ประพจน์ที่มีค่าความจริงเป็น จริงทุกกรณี

B/2 วิธีตรวจสอบสัจนิรันดร์
1. สร้างตารางค่าความจริง
Ex. 𝑝 → (𝑞 → 𝑝)
𝒑 𝒒 𝒒→𝒑 𝒑 → (𝒒 → 𝒑)
T T T T
T F T T
F T F T
F F T T

2. หาข้อขัดแย้ง
สมมติให้ประพจน์รวมเป็นเท็จ แล้วหาข้อขัดแย้งของประพจน์ย่อย
ถ้าขัดแย้งแสดงว่าเป็นสัจนิรันดร์
Ex. 𝑝 → (𝑞 → 𝑝)

3. พิสูจน์สมมูล

Ex. (𝒑 → 𝒒) ↔ (~𝒒 → ~𝒑) Ex. 𝒑 → (𝒒 → 𝒑)

By AJ. FLUKE (อ.ฟลุ้ค) 3


MATHEMATICS: CHAPTER 2 LOGIC

SECTION C แบบฝึกหัด [ประพจน์ที่สมมูลกัน/ประพจน์ที่นิเสธกัน]


1. (ข้อสอบเข้ามหาวิทยาลัย/2540) ถ้า p และ q เป็นประพจน์ แล้วประพจน์ 𝑝 → ~(𝑞 → 𝑝) สมมูลกับ
ประพจน์ในข้อใดต่อไปนี้
1.) ~𝑝 ∨ (∼ 𝑝 ∧ 𝑞) 2.) ∼ 𝑝 ∨ (𝑝 ∨ 𝑞) 3.) 𝑝 → (~𝑝 ∨ 𝑞) 4.) 𝑝 → ~(𝑝 ∧ 𝑞)
2. (ข้อสอบเข้ามหาวิทยาลัย/2537) ประพจน์ใดต่อไปนี้สมมูลกับประพจน์ (𝑝 → 𝑟) ∧ (𝑞 → 𝑟)
1.) (𝑝 ∧ 𝑞) ∨∼ 𝑟 2.) (𝑝 ∧ 𝑞) → 𝑟 3.) ~(𝑝 ∨ 𝑞) ∨ 𝑟 4.) ∼ (𝑝 ∨ 𝑞) → 𝑟
3. (ข้อสอบเข้ามหาวิทยาลัย/2521) ประพจน์ 𝑥 → (𝑦 → 𝑧) สมมูลกับประพจน์ในข้อใดต่อไปนี้
1.) 𝑥 → (𝑧 → 𝑦) 2.) 𝑦 → (𝑥 → 𝑧) 3.) 𝑦 → (𝑧 → 𝑥)
4.) 𝑧 → (𝑥 → 𝑦) 5.) (𝑥 → 𝑧) → 𝑦
4. (ข้อสอบเข้ามหาวิทยาลัย/2541) ประพจน์ ~𝑝 → (𝑞 → (𝑟 ∨ 𝑝)) สมมูลกับประพจน์ในข้อใดต่อไปนี้
1.) (∼ 𝑝) ∨ 𝑞 ∨ 𝑟 2.) 𝑝 ∨ (∼ 𝑞) ∨ 𝑟 3.) 𝑝 ∨ 𝑞 ∨ (∼ 𝑟) 4.) 𝑝 ∨ (∼ 𝑞) ∨ 𝑟
5. (ข้อสอบเข้ามหาวิทยาลัย/2542) ประพจน์ ~[(𝑝 ∧ 𝑞) → (∼ 𝑞 ∨ 𝑟)] สมมูลกับประพจน์ในข้อใดต่อไปนี้
1.) 𝑝 ∨∼ (𝑞 → 𝑟) 2.) ~𝑞 ∨ (∼ 𝑝 ∧ 𝑟)
3.) ∼ (𝑝 ∧ 𝑞) ∧ (𝑞 ∧ 𝑟) 4.) ∼ (𝑝 ∧ 𝑞) → (𝑞 ∧∼ 𝑟)
6. (ข้อสอบเข้ามหาวิทยาลัย/2554) ประพจน์ (𝑝 ∧ 𝑞) → 𝑟 ไม่สมมูลกับประพจน์ในข้อใดต่อไปนี้
1.) (𝑝 → 𝑟) ∧ (𝑞 → 𝑟) 2.) ∼ 𝑝 ∨∼ 𝑞 ∨ 𝑟 3.) 𝑞 → (𝑝 → 𝑟) 4.) ~𝑟 → (~𝑝 ∨∼ 𝑞)
7. (แนวข้อสอบความถนัดทางคณิตศาสตร์ PAT 1 พ.ศ. 2555) กำหนดให้ p, q, r เป็นประพจน์ จงพิจารณา
ข้อความดังต่อไปนี้
ก. ประพจน์ 𝑝 → (𝑝 → (𝑞 ∨ 𝑟)) สมมูลกับประพจน์ 𝑝 → (𝑞 ∨ 𝑟)
ข. ประพจน์ 𝑝 ∧ (𝑞 → 𝑟) สมมูลกับประพจน์ (𝑞 → 𝑝) ∨∼ (𝑝 → ~𝑟)
8. (แนวข้อสอบความถนัดทางคณิตศาสตร์ PAT 1 พ.ศ. 2555) กำหนดให้ p, q, r, และ s เป็นประพจน์ใดๆ แล้ว
ประพจน์ [(𝑝 ∨∼ 𝑞) ∧∼ 𝑝] → [(𝑟 ∧ 𝑠) ∨ (𝑟 ∧∼ 𝑠)] สมมูลกับประพจน์ในข้อใดต่อไปนี้
1.) (𝑞 ∧ 𝑝) ∨ 𝑟 2.) (𝑝 → 𝑞) ∨ 𝑟 3.) (𝑝 ∨ 𝑞) ∨ 𝑝 4.) (𝑞 ∨ 𝑟) ∧ 𝑝

By AJ. FLUKE (อ.ฟลุ้ค) 4


MATHEMATICS: CHAPTER 2 LOGIC

SECTION D แบบฝึกหัด [สัจนิรันดร์]


1. (โควตา มข./2540) ประพจน์ในข้อใดต่อไปนี้
1.) ~(𝑝 ↔ 𝑞) → ~(𝑝 ∧ 𝑞) 2.) [(𝑝 → 𝑞) → 𝑝] → 𝑝
3.) ~(𝑝 → 𝑞) → 𝑞 4.) [~𝑝 ∧ (𝑝 ∨ 𝑞)] → 𝑞
2. (ข้อสอบเข้ามหาวิทยาลัย/2521) ข้อใดต่อไปนี้มีค่าความจริงเป็นจริงเสมอ
1.) [𝑥 ∨ (∼ 𝑦)] → (𝑥 → 𝑦) 2.) [(~𝑥) → (~𝑦)] → (𝑥 → 𝑦)
3.) [(~𝑥) ∨ (∼ 𝑦)] → (𝑥 → 𝑦) 4.) [{𝑥 ∧ (∼ 𝑦)} → (~𝑥)] → (𝑥 → 𝑦)
5.) [{𝑥 ∧ (∼ 𝑦)} → (~𝑦)] → (𝑥 → 𝑦)
3. (ข้อสอบเข้ามหาวิทยาลัย/2541) กำหนดให้ p, q, r, s เป็นประพจน์ ประพจน์ในข้อใดต่อไปนี้ไม่เป็นสัจนิรันดร์
1.) [𝑝 ∨ (𝑞 ∧ 𝑟)] ↔ [(𝑝 ∨ 𝑞) ∧ (𝑝 ∨ 𝑟)] 2.) [𝑝 ∨ (𝑞 ∧ 𝑟)] ∨∼ [𝑝 ∨ (𝑞 ∨ 𝑟)]
3.) [(𝑝 ∨ 𝑞) → 𝑟] ↔ [~𝑟 → (~𝑝 ∧∼ 𝑞)] 4.) [(𝑝 → 𝑞) ∧ (𝑞 → 𝑟) ∧ (𝑠 ∨∼ 𝑟) ∧∼ 𝑠] ↔ 𝑝
4. (ข้อสอบสมาคมคณิตศาสตร์/2547) จงพิจารณาข้อความใดต่อไปนี้ถูกต้อง
1.) ประพจน์ (𝑝 ↔ 𝑞) ↔ (~𝑝 ∨ 𝑞) เป็นสัจนิรันดร์
2.) ประพจน์ 𝑝 → (𝑞 → 𝑝) สมมูลกับ (𝑝 ∧ 𝑞) → 𝑞
5. (ข้อสอบสมาคมคณิตศาสตร์/2546) จงพิจารณาข้อความใดต่อไปนี้ถูกต้อง
1.) ประพจน์ [(𝑝 → 𝑞) ∨ (𝑞 ∧∼ 𝑞)] → [(~𝑝 ∨ 𝑞) ∧ (𝑟 ∨∼ 𝑟)] เป็นสัจนิรันดร์
2.) ประพจน์ (𝑝 ∨∼ 𝑞) → (𝑟 ∧ 𝑞) สมมูลกับ (∼ 𝑝 ∨ 𝑟) ∧ 𝑞
6. (แนวข้อสอบความถนัดทางคณิตศาสตร์ PAT 1 พ.ศ. 2561) กำหนดให้ p และ q เป็นประพจน์ใดๆ ประพจน์
ในข้อใดต่อไปนี้เป็นสัจนิรันดร์
1.) ∼ 𝑝 ∨ (∼ 𝑝 ∧ 𝑞) 2.) (𝑞 ∨∼ 𝑞) → (𝑝 → ~𝑝) 3.) ~(𝑝 → ~𝑞) → 𝑝
4.) (~𝑝 ∨ 𝑞) → (~𝑝 ∧∼ 𝑞) 5.) (∼ 𝑝 ∧ 𝑞) → (~𝑞 ∧ 𝑝)

By AJ. FLUKE (อ.ฟลุ้ค) 5


MATHEMATICS: CHAPTER 2 LOGIC

7. (แนวข้อสอบความถนัดทางคณิตศาสตร์ PAT 1 พ.ศ. 2559) กำหนดให้ p และ q เป็นประพจน์ใดๆ


พิจารณาประพจน์ต่อไปนี้
ก.) 𝑝 → [(𝑝 → 𝑞) → 𝑞] เป็นสัจนิรันดร์

ข.) 𝑝 ↔ [(𝑝 ∧ (𝑞 → 𝑝)) → 𝑞] ไม่เป็นสัจนิรันดร์

ค.) ถ้า (𝑝 → 𝑞) ∧ (𝑞 → 𝑝) มีค่าความจริงเป็น จริง


แล้ว [𝑝 → (𝑝 → 𝑞)] → (𝑝 ∧ 𝑞) มีค่าความจริงเป็น เท็จ
ข้อใดต่อไปนี้ถูกต้อง
8. (แนวข้อสอบความถนัดทางคณิตศาสตร์ PAT 1 พ.ศ. 2559) กำหนดให้ p, q, และ r เป็นประพจน์ใดๆ
พิจารณาประพจน์ต่อไปนี้
ก.) (∼ 𝑝 → 𝑞) → (~𝑞 → 𝑝) เป็นสัจนิรันดร์

ข.) (𝑝 → 𝑞) ↔ (~𝑝 ∧ 𝑞) ไม่เป็นสัจนิรันดร์

ค.) (𝑝 → 𝑞) ∨ (∼ 𝑟 → ~𝑞) สมมูลกับ 𝑝 → 𝑟

ข้อใดต่อไปนี้ถูกต้อง

By AJ. FLUKE (อ.ฟลุ้ค) 6

You might also like