You are on page 1of 29

หน่วยการเรียนรู้ที่ ๒

พัฒนาการของภูมิภาคเอเชีย
เอเชียตะวันออก เป็นภูมิภาคที่มีพื้นที่กว้างใหญ่ที่สดุ ใน
ทวีปเอเชีย ประกอบด้วยประเทศ จีน
ญี่ปุ่น เกาหลีเหนือ เกาหลีใต้ และ
มองโกเลีย ภูมิภาคนี้มีลักษณะโดดเดี่ยว ไม่สามารถติดต่อกับภูมิภาคอื่นได้สะดวก
เพราะมีทะเล เทือกเขา ที่ราบสูง และทะเลทรายปิดล้อมอยู่
ส่งผลให้ประชากรที่ตงั้ ถิ่นฐานในภูมิภาคนี้ไม่ค่อยมีโอกาสแลกเปลี่ยนวัฒนธรรม
กับดินแดนอื่น จึงพัฒนาภูมิปัญญาและหล่อหลอมอารยธรรมที่มเี อกลักษณ์เฉพาะของตนเอง
ลั ก ษณะภู มิ ป ระเทศ เ อ เ ชี ย
ตะวั น ออกตั้ ง อยู่ ท างตะวั น ออกสุ ด ของทวี ป เอเชี ย
ลั ก ษ ณ ะ ภู มิ ป ร ะ เ ท ศ ส่ ว น ใ ห ญ่ ป ร ะ ก อ บ ด้ ว ย
เทือกเขาและที่ราบสูง ซึ่งเป็นต้นกาเนิดของ
แม่ น้ าสายส าคั ญ หลายสาย เช่ น แม่ น้ า หวางเหอ
(แม่น้าฮวงโห) แม่น้าเหล่านี้ทาให้เกิดที่ราบลุ่มแม่น้า
ซึ่งเหมาะสาหรับทาการเพาะปลูก ส่งผลให้มีการตั้ง
ถิ่นฐานในภูมิภาคนี้มาช้านาน
ลักษณะภูมิอากาศ พื้นที่ของภูมิภาค
เอเชียตะวันออก ส่วนใหญ่อยู่ในเขตอบอุ่น
ภู มิ อ ากาศเอื้ อ อ านวยต่ อ การเพาะปลู ก ท าให้ มี
ประชากรเข้ามาตั้งถิ่นฐานหนาแน่น
ส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรมเป็นหลัก
ส่วนพื้นที่ทางตอนเหนือและตะวันตกเฉียงเหนือเป็น
เขตทะเลทรายและกึ่ ง ทะเลทราย ซึ่ ง มี
ภู มิ อ ากาศแห้ ง แล้ ง และหนาวจั ด ในฤดู ห นาว
ไม่เอื้ออานวยต่อการเพาะปลูก จึงมีประชากรอาศัย
อยู่เบาบาง
เอเชียตะวันออก
จีน
จีนเป็นแหล่งอารยธรรมของโลกตะวันออกที่มี
ความเจริ ญ และมี เ อกลั ก ษณ์ เ ฉพาะ ทั้ ง ยั ง มี อิ ท ธิ พ ลต่ อ
ดินแดนในภูมิภาคเอเชียตะวันออกและดินแดนที่จีนติดต่อ
สัมพันธ์ด้วย พัฒนาการทางประวัติศาสตร์ของจีนยาวนาน
มากกว่ า ๓,๐๐๐ ปี ท าให้ ป ระเทศจี น มี ร ากฐานทาง
การเมือง เศรษฐกิจและสังคมที่แข็งแกร่ง
พัฒนาการทางประวัติศาสตร์ สังคม เศรษฐกิจ และการเมืองของจีน

แม่น้าหวางเหอเป็นแม่นาที
้ ่มคี วามสาคัญ
ทั้งทางด้านเศรษฐกิจ การเมือง และภูมิปัญญาของจีน

เอกสารจดหมายเหตุของราชวงศ์ชิง
เป็นหลักฐานทางประวัติศาสตร์
ที่ทาให้ผู้ศึกษาได้รับรูถ้ ึงพัฒนาการ
ของประวัติศาสตร์จีน
สาธารณรัฐประชาชนจีนเป็นประเทศที่มีประชากรมากที่สุดในโลก และ
มี ท รั พ ยากรธรรมชาติ ที่ อุ ด มสมบู ร ณ์ การตั้ ง ถิ่ น ฐานมี อ ยู่ ห นาแน่ น ในเขตที่ ร าบลุ่ ม แม่ น้ า
หวางเหอและแม่น้าฉางเจียงซึ่งเป็นเขตเพาะปลูกที่สาคัญที่สุดของประเทศ และเป็นที่ตั้งของ
เมืองส าคัญ ๆ ตลอดจนตลาดการค้ าขนาดใหญ่ พัฒนาการทางเศรษฐกิจ การเมือ ง และ
ภูมิปัญญาของจีนมีความผูกพันอย่างมากกับ แม่น้าทัง ๒ สาย กล่าวได้ว่า “หวางเหอ คือ
ต้นก้าเนิดของอารยธรรมจีน ส่วนฉางเจียง คือ อารยธรรมจีนที่สมบูรณ์”
พัฒนาการด้านการเมืองการปกครอง
ในอดีตจีนเรียกตนเองว่า “จุงกว๋อ” หมายถึง ศูนย์กลางของโลก
ที่มีอารยธรรม การปกครองสมัยสมบูรณาญาสิทธิราชย์ของจีนมีลักษณะสาคัญ คือ
การรวมอานาจอยู่ที่ศูนย์กลางการปกครองในเมืองหลวง จักรพรรดิจนี มีฐานะโอรส
แห่งสวรรค์
พัฒนาการด้านการเมืองการปกครอง
ส่วนขุนนางจีนแบ่งเป็น ขุนนาง ๓ ประเภท คือ ฝ่ายพลเรือน
ฝ่ายทหาร และฝ่ายตรวจสอบ ส่วนใหญ่ถูกเลือกสรรมา โดยการสอบแข่งขัน
การปกครองในส่วนภูมิภาค แบ่งเป็น มณฑล
มีข้าหลวงใหญ่หรือผู้สาเร็จราชการขึ้นตรงต่อจักรพรรดิ
ในระดับต่้าสุด คือ อ้าเภอ มีนายอาเภอ
ทาหน้าที่เก็บภาษีอากร ให้คาปรึกษา
และตัดสินคดีความ รวมถึงควบคุมทหารของท้องถิ่น
ภาพวาดการสอบจอหงวน
ในพุทธศตวรรษที่ ๒๔ ลัทธิจักรวรรดินิยมตะวันตกได้แผ่ขยายเข้าสู่
เอเชีย จีนพ่ายแพ้ต่ออังกฤษในสงครามฝิ่น จึงถูกบังคับให้เปิดเมืองท่า เขตเช่าพิเศษ และชดใช้
ค่าปฏิกรรมสงคราม รวมทั้งต้องสูญเสียอธิปไตยทางการศาลและทางเศรษฐกิจ การที่ต่างชาติ
เข้ามาย่ายีเอาเปรียบจีน ทาให้ชาวจีนเคลื่อนไหวต่อต้านเพื่อล้มล้างผู้ปกครองที่ไม่สามารถ
แก้ไขปัญหา และนาไปสู่การปฏิวัติเป็นประชาธิปไตย
ในกลางพุทธศตวรรษที่ ๒๕
ผู้นาในการปฏิวัติ คือ ซุน ยัตเซ็น (Sun Yat-sen)
แต่ความพยายามปฏิรูปประเทศหลังเปลี่ยนแปลง
การปกครองประสบความล้มเหลว
ทาให้ประเทศต้องแตกแยก
ซุน ยัตเซ็น
จีนมีการปกครองในระบอบสังคมนิยม ในช่วงแรกอานาจในการตัดสินใจด้านนโยบาย
การเมือง การปกครอง การทหาร การต่างประเทศ และเศรษฐกิจของประเทศได้รวมศูนย์อยู่ที่
พรรคคอมมิ ว นิ ส ต์ จี น ตามแนวคิ ด ของ เหมา เจ๋ อ ตง ต่ อ มาในยุ ค เติ้ ง เสี่ ย วผิ ง (Deng
Xiaoping) อานาจบริหารโดยรวมยังอยู่ภายใต้การควบคุมของพรรคคอมมิวนิสต์จีน

เหมา เจ๋อตง ประกาศจัดตั้งสาธารณรัฐประชาชนจีน


พัฒนาการด้านเศรษฐกิจ โดยพื้นฐานของสังคมจีนมีความเจริญรุ่งเรืองทาง
เศรษฐกิจ ชาวจีนจึงเชื่อว่าดินแดนของตนคือศูนย์กลางของโลกที่เจริญรุ่งเรือง ไม่จาเป็นต้อง
พึ่งสินค้าต่างชาติ แต่ก็ยังมีเส้นทางการค้ากับต่างประเทศของจีนทีส่ าคัญ คือ เส้นทาง
การค้าทางบกและเส้นทางการค้าทางทะเล
เส้นทางการค้าทางทะเล ตั้งแต่สมัยราชวงศ์ซ่งหรือซ้องทีส่ ามารถต่อเรือสาเภา
ขนาดใหญ่และได้พัฒนาการค้าทางทะเลกับเกาหลี ญี่ปุ่น
อาณาจักรต่าง ๆ ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ อินเดีย ตลอดถึง
ตะวันออกกลาง ต่อมาในสมัยราชวงศ์หมิง จีนมีนโยบายขยาย
การค้าทางทะเลอย่างกว้างขวาง จึงส่งกองเรือสารวจทางทะเล
ภายใต้การนาของเจิงเหอ (Zheng He) เดินทางไปไกล
ถึงชายฝั่งแอฟริกาตะวันออก
ตังแต่พุทธศตวรรษที่ ๒๒ พ่อค้าชาวยุโรปเข้ามาค้าขายกับจีนโดยตรง
อังกฤษได้นาฝิน่ ที่ทากาไรอย่างมหาศาลมาขายในจีน แต่ต่อมารัฐบาลจีนห้ามการค้าฝิ่นและ
ตัดสินใจปราบฝิ่น เป็นเหตุให้เกิดสงครามฝิ่นกับอังกฤษ จีนเป็นฝ่ายแพ้สงคราม
ตั้งแต่ปลายราชวงศ์ชิงจนถึงช่วงสงครามโลกครั้งที่ ๒ ประชาชนจีนได้รับความ
เดือดร้อนทางเศรษฐกิจจากภัยธรรมชาติและความล้มเหลวในการแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจ
ของรัฐบาล รัฐบาลจีนได้นาระบบเศรษฐกิจ แบบคอมมิวนิสต์หรือระบบคอมมูน
(Commune) มาใช้แก้ปัญหาเศรษฐกิจที่มีความอดอยากและขาดแคลนอย่างมาก
พัฒนาการด้านสังคม สังคมจีนเป็นสังคมขนาดใหญ่ ประชากรส่วนใหญ่เป็น
ชาวจีนเชือสายฮั่น ส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรม เป็นแรงงานในโรงงานอุตสาหกรรม
และทางานรับจ้าง
สังคมจีนมีความก้าวหน้าด้านภูมิปัญญาและอารยธรรมมาหลายพันปีแล้ว ทั้งด้าน
ปรั ช ญา ศาสนา ศิ ล ปกรรม การประดิ ษ ฐ์ ตั ว อั ก ษร ฯลฯ อี ก ทั้ ง ยั ง เป็ น สั ง คมที่ ยึ ด มั่ น ใน
ค้าสอนของลัทธิขงจื๊อ ที่เน้นในเรื่องหลักคุณธรรม การเคารพผู้อาวุโส และยึดถือจารีต
ประเพณีดั้งเดิม
ญี่ปุ่นเป็นหมู่เกาะในภูมิภาคเอเชียตะวันออก
ลักษณะภูมิป ระเทศที่โดดเดี่ยวจากโลกภายนอก ทาให้
ชาวญี่ปุ่นมีบุคลิกพิเศษ สามารถพึ่งพาตนเอง ทั้งยังยอมรับ

ญี่ปุ่น ความเจริญที่ก้าวหน้า
สามารถพัฒนาวัฒนธรรมให้มีเอกลักษณ์เฉพาะ
อั น เกิ ด จากการคิ ด ค้ น พั ฒ นา และการผสมผสานกั บ
อารยธรรมเอเชียตะวันออกของจีน ทาให้ประเทศเติบโต
อย่างรวดเร็ว
พัฒนาการด้านการเมืองการปกครอง ประวัติศาสตร์การปกครองของญี่ปุ่น
เริ่มมาเกือบ ๒,๐๐๐ ปี ผู้ปกครองมีสถานะเป็นจักรพรรดิ
ในพุทธศตวรรษที่ ๑๑ ญี่ปุ่นได้รับอิทธิพลทางอารยธรรมจากจีนทัง้ ทางปรัชญา
การปกครอง ภาษา และวัฒนธรรม โดยรับผ่านเกาหลีอกี ต่อหนึ่ง
ในปลายพุทธศตวรรษที่ ๑๒ หรือสมัยยะมะโตะ (Yamato) ตอนปลาย (พ.ศ. ๑๑๙๕-
๑๒๕๓) ญี่ปุ่นรับรูปแบบอารยธรรมของจีนเป็นส่วนใหญ่ หลังจากนั้นได้มีการสร้าง
เมืองหลวงแห่งแรกที่เมืองนะระ โดยยึดตามรูปแบบของนครฉางอานของจีน ต่อมาได้ย้าย
เมืองหลวงไปที่เฮอังเกียว (เกียวโต)
ตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ ๑๗ ญี่ปุ่นมีการปกครองแบบฟิวดัล อานาจการปกครอง
เป็นของชนชั้นนักรบ และ เกิดสถาบันโชกุน ซึ่งเป็นผู้นาสูงสุดของพวกขุนศึกหรือหัวหน้า
นักรบ (ไดเมียว) ที่ต่างมีกาลังนักรบ (ซามูไร) เป็นฐานอานาจ ส่วนจักรพรรดิยังคงประทับอยู่ที่
เกียวโตแต่ไม่มีพระราชอานาจ สมัยการปกครองของญี่ปุ่นในยุคนี้เรียกตามชื่อตระกูลของโชกุน
ที่บริหารประเทศ เช่น สมัยอะชิกะงะ (Ashikaga) สมัยโทะกุงะวะ (Tokugawa)
ญี่ ปุ่ น สามารถพั ฒ นาประเทศได้ อ ย่ า งรวดเร็ ว กระทั่ ง กลายเป็ น ผู้ น าทางด้ า น
อุตสาหกรรมและการทหาร ทาให้ญี่ปุ่นได้ขยายแสนยานุภาพทางการทหารยึดครองดินแดน
เกาหลีและแมนจูเรียของจีนในช่วงก่อนสงครามโลกครั้งที่ ๒ เมื่อเกิดสงครามโลกครั้งที่ ๒ ญี่ปุ่น
ได้เข้าร่วมกับฝ่ายอักษะ และทาสงครามมหาเอเชียบูรพา โดยโจมตีฐานทัพเรือสหรัฐอเมริกา
และยึดครองดินแดนจีน สงครามยุติลงเมื่อญี่ปุ่นยอมแพ้ต่อฝ่ายสัมพันธมิตร
พัฒนาการด้านเศรษฐกิจ ตั้งแต่สมัยฟื้นฟูพระราชอานาจเมจิเป็นต้นมา เศรษฐกิจ
ญี่ปุ่นเจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว โดยมีปัจจัยสาคัญคือความสามารถในการพัฒนาอุตสาหกรรม
ของชาวญี่ ปุ่ น ที่ เ รี ย นรู้ เ ทคโนโลยี จ ากชาติ ต ะวั น ตกและสามารถใช้ ป ระโยชน์ จ าก
ทรัพยากรธรรมชาติภายในประเทศ
ในการฟื้นฟูเศรษฐกิจด้วยความร่วมแรงร่วมใจของชาวญี่ปุ่นที่มีจิตวิญญาณของความ
รั ก ชาติ แ ละเสี ย สละ ท าให้ ส ามารถน าทรั พ ยากรที่ มี อ ยู่ ใ นประเทศมาพั ฒ นาเศรษฐกิ จ จน
กลายเป็นประเทศอุตสาหกรรมชั้นนา ทั้งด้านอุตสาหกรรมและการเกษตรของโลก จากนั้นจึง
ขยายฐานการลงทุนไปยังภูมิภาคต่าง ๆ ทั่วโลก ปัจจุบันญี่ปุ่นมีสถานะเป็นมหาอานาจทาง
เศรษฐกิจของโลกประเทศหนึ่ง
พัฒนาการด้านสังคม ความเจริญทางด้านสังคมและวัฒนธรรมของสังคมญี่ปุ่นมี
รากฐานมาจากการพัฒนาอารยธรรมของชาวญี่ปุ่น ประกอบด้วยการผสมผสานอารยธรรมจีน
และอารยธรรมของชาติ ต ะวั น ตก ญี่ ปุ่ น พั ฒ นาลั ท ธิ ป ระเพณี จ ากความเชื่ อ ดั้ ง เดิ ม ของตน
คือ แนวคิดเกี่ยวกับความตายและโลกใหม่หลังความตาย ความอุดมสมบูรณ์ และความเชื่อใน
เทพเจ้าหรือคามิ (Kami) ความเชื่อเหล่านี้ได้พัฒนาเป็นลัทธิชินโต ซึ่งเน้นพิธีกรรมที่เรียบง่าย
การบูชาธรรมชาติ การบูชาบรรพบุรุษ การให้ความเคารพต่อเทพเจ้า
ปั จ จุ บั น สั ง คมญี่ ปุ่ น เป็ น สั ง คมแบบเสรี นิ ย ม ประชาชนมี โ อกาสทางการศึ ก ษา
มีมาตรฐานการดารงชีวิตและความเป็นอยู่ที่ดีใกล้เคียงกับชาวตะวันตก อย่างไรก็ตาม แม้สังคม
ญี่ปุ่นได้พัฒนาและเจริญก้าวหน้าทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีอย่างรวดเร็ว ทั้งด้านการ
คมนาคมขนส่ง การก่อสร้าง การพัฒนาสิ่งอานวยความสะดวกต่าง ๆ แต่ชาวญี่ปุ่นก็ยังให้
ความส าคั ญ กั บ การอนุ รั ก ษ์ ศิ ล ปวั ฒ นธรรมที่ มี ค วามโดดเด่ น และมี เ อกลั ก ษณ์ เ ฉพาะที่
ชาวญี่ปุ่นภาคภูมิใจ
เกาหลีเหนือและเกาหลีใต้
เกาหลี เ หนื อ และเกาหลี ใ ต้ เ ดิ ม เป็ น ประเทศ

เกาหลี เดียวกันและมีพัฒนาการที่เจริญรุ่งเรืองมานานกว่า
๒,๐๐๐ ปี แต่หลังสงครามโลกครั้งที่ ๒ ได้ถูกแบ่งออกเป็น
สองประเทศ ทั้งสองประเทศมีภาษาและวัฒนธรรมเดียวกัน
แต่ มี พั ฒ นาการทางการเมื อ งการปกครองและเศรษฐกิ จ
แตกต่างกัน
เมื่อสงครามโลกครั้งที่ ๒ ยุติลง กองกาลังของสหภาพโซเวียตและสหรัฐอเมริกา
เข้าไปปลดอาวุธทหารญี่ปุ่นในเกาหลีและได้ตกลงแบ่งเขตปกครองเกาหลี โดยแบ่งดินแดนที่
เส้ น ขนานที่ ๓๘ องศาเหนื อ สหภาพโซเวี ยตเข้ า ควบคุ ม ดิน แดนส่ว นที่ อ ยู่เ หนื อ เส้ น ขนาน
ส่วนสหรัฐอเมริกาเข้าควบคุมดินแดนที่อยู่ใต้เส้นขนาน
ใน พ.ศ. ๒๔๙๑ สหภาพโซเวียตและสหรัฐอเมริกาต่างสนับสนุนให้มีการตั้งรัฐบาลใน
ดิ น แดนที่ ค วบคุ ม ซึ่ ง ดิ น แดนที่ ส หภาพโซเวี ย ตควบคุ ม ได้ ก ลายเป็ น ประเทศเกาหลี เ หนื อ
มีคิม อิล-ซ็อง ผู้ฝักใฝ่แนวทางสังคมนิยมเป็นประธานาธิบดี ส่วนสหรัฐอเมริกาได้สนับสนุนให้
อี ซึง-มัน (Yi Seung-man หรือ Syngman Rhee) ผู้มีนโยบายต่อต้านคอมมิวนิสต์เป็นผู้นา
ของประเทศเกาหลีใต้ ดินแดนเกาหลีจึงถูกแบ่งแยกเป็น ๒ ประเทศนับแต่นันมา
เกาหลีใต้
พัฒนาการด้านการเมืองการปกครอง ในช่วง ๓๕ ปีแรก เกาหลีใต้มีการปกครอง
แบบเผด็จการประชาธิปไตย ทาให้รัฐบาลประสบปัญหาด้านเสถียรภาพทางการเมือง เพราะ
รั ฐบาลเผด็ จ การถู ก ต่ อ ต้ า นจากนั ก ศึ ก ษาและประชาชน (โดยเฉพาะชาวนาและกรรมกร)
อยู่เสมอ
พัฒนาการด้านเศรษฐกิจ เกาหลีใต้มีการ
พัฒนาเศรษฐกิจให้เติบโตได้อย่างรวดเร็ว จนกระทั่ง
กลายเป็นหนึ่งในกลุ่มประเทศอุตสาหกรรมใหม่หรือ
NICS (Newly Industrial Countries) ความสาเร็จ
ของการพั ฒนาเศรษฐกิจ ทาให้เ กาหลีใ ต้ ไ ด้ รับ ความ
ไว้วางใจให้เป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกใน
พ.ศ. ๒๕๓๑ ที่กรุงโซล
พัฒนาการด้านสังคม สังคมเกาหลีใต้เป็นสังคมเสรีประชาธิปไตย ชาวเกาหลีใต้ได้
ผสมผสานวัฒนธรรมดั้งเดิมที่ได้รับอิทธิพลจากอารยธรรมจีนกับความเจริญของโลกตะวันตกที่
ก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ลักษณะสังคมโดยรวมประกอบด้วยสังคมเมืองที่มี
ความก้าวหน้าทางวัตถุและเทคโนโลยี และสังคมชนบทที่ประกอบอาชีพเกษตรกรรมเป็นหลัก
แต่ มี ม าตรฐานการครองชี พ และการด ารงชี วิ ต ที่ ดี โดยมี สิ ท ธิ ไ ด้ รั บ โอกาสทางการศึ ก ษา
การประกอบอาชีพ และการพัฒนาตนเอง
เกาหลีเหนือ
พัฒนาการด้านการเมืองการปกครอง
เกาหลีเหนือมีการปกครองระบอบสังคมนิยมมาตลอด
ผู้นาสูงสุด คือ คิม อิล-ซ็อง ซึ่งเป็นทั้งประมุขของพรรค
คอมมิวนิสต์เกาหลีและประมุขของประเทศ ตั้งแต่
การสถาปนาประเทศเกาหลีเหนือจนถึงแก่กรรม ใน
พ.ศ. ๒๕๓๗

คิม จ็อง-อึน
ประธานาธิบดีคนปัจจุบันของประเทศเกาหลีเหนือ
พัฒนาการด้านเศรษฐกิจ เกาหลีเหนือประสบปัญหาในการพัฒนาเศรษฐกิจต้องซื้อ
ข้าวและอาหารจากต่างประเทศ เนื่องจากพื้นที่ของเกาหลีเหนือมีภูมิอากาศหนาวเย็นและมัก
ประสบปัญหาภัยแล้งอย่างต่อเนื่อง ทาให้ไม่สามารถเพาะปลูกหรือผลิตอาหารเลี้ยงดูประชากร
ได้อย่างทั่วถึง
นอกจากนี้ การที่เกาหลีเหนือพยายามระดมทรัพยากรเพื่อพัฒนากองทัพและอาวุธ
นิวเคลียร์ให้มีศักยภาพเข้มแข็งอย่างต่อเนื่อง ซึ่งต้องเสียค่าใช้จ่ายสูง ส่งผลกระทบต่อการ
พัฒนาเศรษฐกิจ
พัฒนาการด้านสังคม สังคมของเกาหลีเหนือยังไม่เป็นที่รจู้ ักของโลกภายนอกมากนัก
เพราะยังไม่มีการเปิดประเทศอย่างเต็มที่ ประชาชนส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรมใน
ระบบคอมมูน การพัฒนาอุตสาหกรรมยังไม่ก้าวหน้า เพราะมีวัตถุดิบจากัดและขาดการส่งเสริม
ทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ประชาชนส่วนใหญ่ขาดการศึกษาและยากจน

You might also like